Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 1 การเงินธุรกิจสำหรับปี 2564

บทที่ 1 การเงินธุรกิจสำหรับปี 2564

Published by tharitsaya, 2021-11-24 00:25:13

Description: บทที่ 1 การเงินธุรกิจสำหรับปี 2564

Search

Read the Text Version

บทบาทและหน้าทข่ี องการบรหิ ารการเงิน 1บทที่ (Roles and functions of financial management) อาจารย์จริ าพัชร สทุ ธิ วิชาการเงินเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดของกิจการและของ บคุ คลให้มปี ระสิทธภิ าพ และให้เกดิ ประโยชน์สงู สุด ภายใตเ้ ง่ือนไขและข้อจำกัดของเวลาและความไม่แน่นอน ตา่ ง ๆ การบริหารการเงินคือการบริหารงานเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเงินผ่านองค์กรไม่วา่ องค์กรนั้นจะจัดตั้ง ในรูปแบบของกิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท องค์กรต่าง ๆ เหล่าน้ี จะมีการหมุนเวียนของ เงินผ่านองค์กร โดยรูปแบบการหมุนเงินเหล่านั้น เริ่มจากการกำหนดแหล่งที่มาของเงินทุน ซึ่งได้แก่ การก่อ หน้สี ินและการใช้ทุนสว่ นเจ้าของ จากนน้ั นำเงนิ ทุนที่ไดม้ าไปใช้ประโยชน์เรียกวา่ แหลง่ ใช้ไปของเงินทุน ได้แก่ การลงทุนและการบริหารสินทรัพย์ ท้ายสุดในวิชาการเงินจึงแสดงวิธีวัดผลความมีประสิทธิภาพของการ หมนุ เวียนเงนิ ดงั กล่าว อาทเิ ชน่ การประเมนิ งบลงทนุ หรืออตั ราส่วนทางการเงนิ เป็นต้น ซ่ึงการวดั มลู คา่ เหล่านี้ มีอยู่ทุกองค์กรทางธุรกิจและเป็นลักษณะสากล ฉะนั้นการหมุนเวียนของเงินและวิชาการเงินจึงเป็นจุดสำคัญ สำหรบั องคก์ รธรุ กิจตา่ ง ๆ ทีจ่ ะชว่ ยหล่อเลยี้ งกจิ การให้สามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดี ให้มีการเติบโตในอนาคต สามารถวัดผลการเตบิ โตเหล่านน้ั ได้อยา่ งเป็นรปู ธรรม ความสำคญั ของการบริหารการเงิน (Importance of Financial Management) กล่าวได้ว่า เงนิ หรือเงินทุน (Money) เปน็ หนง่ึ ในปัจจัยที่สำคัญปัจจยั หนึง่ ในการดำเนินธุรกิจซ่ึงปัจจัย ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมี 4 ปัจจัยได้แก่ เงินทุน (Money) , ทรัพยากรมนุษย์ (Man) , วัสดุ หรือวัตถุดิบ (Material) , ระบบการบริหารจัดการ (Management) เรียกว่า 4M ในโลกธุรกิจ เงินทุนถือว่า เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการทำธุรกิจทุกอย่างจะไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี หากขาดเงินทุน สนับสนนุ การดำเนนิ งาน กลา่ วได้วา่ การทำธุรกิจทุกประเภทเกดิ ขึน้ ไดต้ อ้ งอาศยั เงนิ ทนุ เพราะเปน็ ตวั ขบั เคล่ือน ธุรกิจและส่งเสริมปัจจัยในการดำเนินธุรกิจปัจจัยอื่น ๆ ให้ทำงานอย่างสอดคล้องกับเป็นระบบ เช่น การ วางแผนการทำงานนำไปสู่ การวางแผนการจัดซอื้ วัตถดุ ิบและการเกดิ แผนการจ้างงาน เป็นตน้ เมื่อเงินเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการประกอบธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจว่าจะเริ่มทำธุรกิจอะไร หรือจะเรม่ิ ทำธรุ กจิ ประเภทใด ขายสนิ ค้าอะไร ผลติ อยา่ งไรและขายให้กับใคร คำถามเหล่านี้หากผู้บริหารต้อง พิจารณาอย่างถ่ีถว้ นก่อนที่จะเรม่ิ ก่อต้ังธรุ กิจ ในกรณีทเ่ี ป็นธรุ กจิ จดั ต้ังใหม่ จะพบวา่ เร่ืองของการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพอยู่ในทุกมิติ เช่น สำหรับธุรกิจที่พึ่งจัดตั้ง จะคำนึงถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดรายได้ เพื่อมาหล่อเลี้ยงธรุ กิจใหม่ให้รอด สามารถดำเนินธุรกิจด้วยตนเองภายในระยะเวลา 2-3 ปี ถัดมาหากธุรกิจโต มาซักระยะแล้ว ธุรกิจยังคงต้องมีการบริหารการเงินอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจต้องมั่นใจว่าจะมี เงินทุนเพียงพอที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจได้หรือไม่ หรือธุรกิจจะมีสภาพคล่องที่เหมาะสมหรือไม่ หรือธุรกิจจะมี

2 การเงินธรุ กิจ เงินทุนเพียงพอที่จะเติบโตหรือไม่ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระยะยาวซึ่งทุกธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเติบโต คงอยู่ใน โลกธุรกิจไดน้ านท่สี ุดหรือตลอดไป ดังนั้นการเงินในระยะยาว จงึ เกย่ี วขอ้ งกบั การขยายธุรกจิ เพื่อสร้างโครงการ ใหม่ การเพมิ่ ผลติ ภัณฑ์ใหม่ การขยายกจิ การไปในทิศทางต่าง ๆ การลงทุนขา้ มชาติ เปน็ ตน้ ดังนัน้ ในระยะยาว จึงจำเป็นเป็นต้องศึกษาความคุ้มค่าของเงินที่ใช้ลงทุน เพื่อธุรกิจจะเติบโตแบบยั่งยืน (Sustainable growth) ตามแนวคิดของการบรหิ ารธุรกิจสมัยใหม่ (Modern management) สรุปได้ว่า การบริหารการเงินมีความสำคัญตลอดทุกช่วงเวลาของธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธุรกิจจนไปสู่ การเติบโตในระยะยาว ยิ่งธุรกิจมีแนวโน้มเติบโต ยิ่งต้องอาศัยการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพรัดกุมมาก ยง่ิ ขึ้นไป อาจกลา่ วไดว้ ่าธุรกิจสว่ นใหญ่ที่ไมป่ ระสบความสำเร็จหรือล้มละลาย มักจะเป็นธุรกิจท่ีบริหารการเงิน ผิดพลาดหรือเกิดข้อทุจริตทางการเงิน ดังนั้นองค์กรหรือธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องใช้ความสามารถในการบริหาร การเงิน เพอ่ื ใหเ้ กิดประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของการดำเนินธุรกจิ เพ่ือให้สอดคล้องกับเปา้ หมายทาง ธรุ กจิ (Goals) ทต่ี ้ังเอาไว้ อกี ท้ังยังเป็นสรา้ งมูลคา่ ให้กับธรุ กิจอีกดว้ ย (Value of the firm) ดังนัน้ ผู้ที่มีบทบาท สำคญั และเปน็ ผู้วิเคราะห์ประสทิ ธิภาพการการใชเ้ งินดงั กล่าวจึงเรยี กว่า ผู้บริหารการเงนิ หน้าท่ีหลักของผู้บริหารการเงนิ (Core Duties of Financial Managers) จากความสำคัญของการบริหารการเงินต่อองค์กรธุรกจิ ผู้บริหารการเงินจึงมีหน้าที่หลักในการบริหาร ประสิทธิภาพของการใช้เงินเพื่อให้สอดคล้องในแต่ละช่วงเวลาของธุรกิจ โดยที่ยังต้องสอดคล้องกับเป้าทาง ธุรกิจ (Goals) ที่วางไว้ เพื่อนำไปสู่การสร้างผลกำไรและความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้นหน้าที่ หลักของผู้บริหารการเงินเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เรียกว่า 3 A’s financial management ซึ่งสามารถจำลอง ได้ตามแผนภาพดังน้ี เปา้ หมายทางธุรกจิ (Goals) การจดั สรรเงนิ ทนุ การวางแผนทางการเงนิ สนิ ทรพั ย์ งบแสดงฐานะการเงิน สินทรพั ยห์ มุนเวยี น สนิ ทรพั ย์ไมห่ มนุ เวยี น การจดั หาเงินทุน หน้ีสนิ และส่วนของผูถ้ ือหุ้น หน้สี นิ หมุนเวยี น หนีส้ ินไม่หมุนเวียน (หนีส้ ินระยะยาว) สว่ นของผถู้ อื หุ้น

บทบาทและหนา้ ที่ของการบรหิ ารการเงนิ 3 ภาพที่ 1-1 แสดงหน้าทหี่ ลักที่สำคัญทางการเงนิ จากภาพจำลองงบแสดงฐานะการเงิน จากภาพที่ 1-1 แสดงเป้าหมายทางธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดหน้าที่สำคัญทางการเงินทั้ง 3 ด้าน อธิบายได้ว่า หลักการทำงานของผู้บริหารการเงินมีลักษณะการทำงานเป็นวงจรหรือเป็นวัฎจักร กล่าวคือเมื่อเริ่มต้นต้อง เข้าใจก่อนว่าเป้าหมายทางธุรกิจ (Goals) ขององค์กรตนเองเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นกรอบทิศทางขององค์กรว่าจะ เดินไปทางใด ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจ เมื่อเข้าใจเป้าหมายทางธุรกิจของตนเองแลว้ จากนั้นจึงจะสามารถวางแผนซึ่งในที่นี้ก็คือการวางแผนทางการเงินที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่นการวาง แผนการใช้เงินทุน การวางแผนการเงินระยะสั้นเป็นต้น เมื่อมีแผนการเงินแล้วจึงจะเริ่มพิจารณาถึงการจัดหา เงินทุนว่าควรมาจากแหล่งใด เพื่อที่จะนำมารองรับตามแผนการเงินที่เราได้วางไว้ ขั้นตอนถัดมาผู้บริหาร การเงินได้เงินทุนจากการจัดหาแล้วจึงนำไปสู่ข้ันตอนการจัดสรรเงินทนุ โดยนำเงินทุนที่ได้จากการจัดหามาไป เปลีย่ นเปน็ สินทรพั ย์ ซึ่งสามารถแบง่ เป็นการเปล่ียนเป็นสินทรัพยห์ มุนเวียน และสนิ ทรพั ย์ไมห่ มนุ เวยี น จากนน้ั ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้น เพื่อนำไปใช้สร้างมูลค่าทางธุรกิจต่อไป หากมีกระบวนการจัดการทางการ เงินอีกก็เริ่มกลับเข้าสู่กระบวนการวางแผนทางการเงินต่อไป โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ยังคงอยู่ภายใต้ เป้าหมายทางธุรกิจของตนเองเสมอ หากธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายทางธุรกิจออกไป แต่กระบวนการ ทำงานยังคงกลับเข้าสวู่ งจรในลักษณะเช่นนี้เสมอทุกรอบไป ในสว่ นรายละเอียดของหนา้ ท่ีสำคญั ทางการเงินท้ัง 3 ดา้ นมีรายละเอยี ดดงั น้ี 1. การวางแผนทางการเงนิ (Anticipation) งานที่สำคัญอันดับแรกทางด้านการเงินของผู้บริหารการเงิน คือ การวางแผนทางการเงิน ซึ่งเป็น ขั้นตอนแรกของงานด้านการเงิน ก่อนที่จะมีการวางแผนทางการเงิน ผู้บริหารการเงินต้องรวบรวมข้อมูลภาพ รวมทั้งธุรกิจ ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลประกอบให้ครบถ้วนให้มากที่สุด จากนั้นนำข้อมูลเหล่านั้นมา วิเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่การพยากรณ์ทางการเงิน เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายทางการเงินของธุรกิจ ทา้ ยทส่ี ุดจะกลายเปน็ แผนการเงนิ ภาพใหญ่ขององค์กร แล้วจงึ แตกแยกย่อยเปน็ แผนการเงนิ ระดบั ฝ่าย แผนก และหน่วยต่อไป การวางแผนทางการเงินจะมที ั้งแผนระยะสั้นและแผนระยะยาว สำหรับแผนการเงินระยะสั้น มีเปา้ หมายเพ่ือประเมินการรับและจา่ ยเงนิ สดของธรุ กจิ ภายในช่วงเวลาหนึ่งปีหรือเป็นการประเมนิ สภาพคล่อง ของธุรกิจในระยะสั้น ซง่ึ จะชว่ ยให้ผบู้ รหิ ารการเงินไดร้ บั ข้อมูลการรับและจ่ายเงินสดของธุรกิจในช่วง 12 เดือน ข้างหน้าว่าจะมีเดือนใดท่ีจะมีเงินสดขาดหรือเงินสดเกิน โดยมีเป้าหมายคือต้องการให้ธุรกิจมีกระแสเงินสด หมุนเวียนเพียงพอใช้ในแต่ละเดือน หากเดือนใดมีเงินสดขาดผู้บริหารการเงินจะต้องจัดหาเงินมาเติมเพื่อลด ความเส่ยี งจากการขาดสภาพคล่องทางธรุ กิจ หากเดือนใดมเี งนิ สดเกิน ผู้บรหิ ารการเงนิ จะพิจารณานำเงินไปใช้ ประโยชน์ในส่วนอ่ืนตอ่ ไป สว่ นแผนการเงินระยะยาวจะเปน็ การเลือกตัดสินใจลงทุน โดยมีเป้าหมายทางธรุ กิจ ที่จะต้องการสร้าง ขีดความสามารถหลักในอนาคต (Core competency) เพื่อสร้างการได้เปรยี บทางการแข่งขัน (Competitive advantage) และเพอ่ื สรา้ งมูลคา่ สูงสุดใหก้ ับธุรกิจ การลงทุนระยะยาว เชน่ การลงทนุ ในสนิ ทรพั ย์ไมห่ มนุ เวียน การลงทุนในสนิ ทรัพย์ทางการเงิน การวจิ ัยและพฒั นา เป็นต้น โดยเป็นเป้าหมายทางการเงินท่ีมีระยะเวลาเกิน

4 การเงนิ ธุรกจิ กวา่ 1 ปี มักจะตอ้ งใช้เงินทุนค่อนข้างสูงและเหน็ ผลตอบแทนในระยะยาว ฉะนนั้ จึงตอ้ งพิจารณาให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจลงทนุ ขอยกตวั อย่างแผนการเงนิ ระยะยาวของบริษัทกูเกลิ้ ซงึ่ เปน็ บริษัททม่ี ชี ่ือเสียงด้านการผลิต นวัตกรรม โดยบริษัทฯมักจะไปสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิเช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Self-Driving Car) โดรนขน ส่งสินค้า หุ่นยนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่แตกต่างจากธุรกิจหลัก แต่กลายเป็นต้นแบบของบริษัทไอทีทั่วโลก ในการ เลียนแบบผลิตภัณฑ์ของกูเกิ้ล บริษัทกูเกิ้ลจึงกลายเป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบทางธุรกิจสูง ก้าวเป็นบริษัท ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก ส่งผลใหร้ าคาหุ้นสามญั ของบริษัทสงู จึงส่งผลใหม้ ลู คา่ ธุรกจิ ของกูเกล้ิ สูงติดอันดับโลก มาโดยตลอด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้มาจากการที่บรษิ ัทฯ มีแผนการเงินระยะยาวสำหรับอุดหนนุ การวิจัยและ พัฒนานวัตกรรมของตนเองอย่างเหมาะสมมาโดยตลอด โดยแผนการเงินมักจะในรูปแบบของเครื่องมือทาง การเงิน ซึ่งหมายถึงเครื่องมือที่ผู้บริหารใช้ในการวางแผนทางการเงิน เช่น งบประมาณเงินสด เทคนิคการ ประเมินโครงการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ งบการเงินเพื่อเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนและการวิเคราะห์ จุดค้มุ ทนุ เปน็ ตน้ 2. การจดั หาเงนิ ทุน (Acquisition) ในทางธรุ กจิ เม่ือมีการวางแผนการเงินแลว้ ขั้นตอนถดั มา คอื การตัดสินใจในการหาแหล่งเงินทุนเข้าสู่ ธุรกจิ วา่ ควรจดั หาจากแหลง่ ใด หากมแี ตแ่ ผนการเงนิ แตไ่ มม่ ีการจดั หาเงินเข้าส่ธู รุ กิจ ถือว่ายังไมค่ รบหน้าที่หลัก ของผู้บริหารการเงิน การจดั หาเงินทุนแบง่ เป็น 2 ประเภท คือ แหลง่ เงนิ ทุนภายในและจากภายนอก 2.1 แหล่งเงินทุนจากภายใน คือ แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ กล่าวคือเป็นแหล่งเงินทุนท่ี รวบรวมมาจากผู้ท่เี ก่ยี วขอ้ งหลกั ในธรุ กิจเท่าน้ัน ไม่ได้มาจากบุคคลภายนอกที่ไม่ไดเ้ กี่ยวข้องโดยตรงแบง่ ไดเ้ ปน็ 1.แหลง่ เงนิ ทุนเรมิ่ แรก มกั จะมาจากเจ้าของกิจการ,ผกู้ ่อต้ัง,ผู้คดิ คน้ ,กรรมการ หรอื ผู้ถือหุ้นกลุ่มแรกท่ี ลงทุนเพื่อตั้งใจอยากจะสร้างธุรกิจน้ีให้เกิดขึ้นมาจริงๆ โดยนำเงินทุนมาลงขันกันเพื่อเป็นเงินลงทุนเริ่มแรกใน การประกอบธุรกิจ เรียกได้ว่าเป็นเงินลงทุนจากผู้ริเริ่มในธุรกิจ จำนวนเงินลงทุนเริ่มแรกจึงเป็นตัววัดถึงความ ตงั้ ใจจริงและความเชื่อม่ันของธรุ กิจน้ัน เงนิ ลงทุนเร่มิ แรกจะอยู่ในรูปของการลงทุนแบบการแบ่งเป็นอัตราส่วน หรือการแบ่งเป็นหุ้น โดยทั่วไปหากมีเริ่มธุรกิจใหม่หรือโครงการลงทุนใหม่ เงินลงทุนเริ่มแรกจึงเป็นตัวเลือก อนั ดับแรกของผบู้ ริหารการเงินทใี่ ช้พิจารณาในกระบวนการจดั หาเงินทุน 2.แหล่งเงินทุนพื้นฐาน เป็นแหล่งเงินทุนที่มาจากกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการ ในกรณีท่ีธุรกิจ ประกอบกิจการไปได้สักพักหนึ่งแล้วเกิดมียอดเงินจากการขายสินค้าหรือบริการเหลือมากกว่าต้นทุนขายหรือ คา่ ใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ธรุ กจิ เกดิ มผี ลกำไร เราเรยี กสว่ นน้ีวา่ “กำไรสุทธิ” เมอื่ ธุรกจิ เหลอื กำไรสุทธิแล้วนำเก็บไว้ ใช้หมุนเวียนในธุรกิจตนเองต่อไป เราเรียกกำไรส่วนนี้ว่า “กำไรสะสม” ในส่วนของกำไรสะสมส่วนนี้ถือเป็น แหล่งเงินทุนพื้นฐานภายในที่สำคัญส่วนหนึ่งของกิจการ ที่ผู้บริหารการเงินสามารถพิจารณาเลือกนำไปเป็น ตวั เลือกถัดไปสำหรับการเปน็ แหล่งเงินทนุ สำหรบั กระบวนการจดั หาเงนิ ทนุ ได้ 2.2 แหล่งเงินทุนจากภายนอก คือ แหลง่ เงนิ ทนุ จากหนส้ี ินและจากสว่ นของทนุ กล่าวคอื เป็นแหล่งเงิน ที่ได้รับมาจากบุคคลภายนอกธุรกิจหรือผู้ท่ีเกีย่ วข้องกับธุรกิจทางอ้อม จะไม่ใช่ผู้ริ่เริ่มผู้เกี่ยวข้องตั้งแตเ่ ร่ิมแรก

บทบาทและหน้าทข่ี องการบริหารการเงิน 5 โดยทั่วไปมักจะเกิดจากการพิจารณาแหล่งเงินทุนภายในแล้วไม่เพียงพอจึงทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องจัดหาเงิน ลงทุนจากภายนอก แบ่งออกได้เปน็ 1.แหลง่ เงนิ ทนุ จากหนี้สิน เรยี กว่า การก่อหน้ี ประกอบดว้ ย การกยู้ ืมเงินทนุ (Debt Issue) คือการระดม ทุนเพื่อไปใช้ในกิจการจากผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนจะอยู่ในฐานะเจ้าหน้ี ธุรกิจที่กู้ยืมเงินอยู่ในฐานะลูกหนี้มีภาระ ผกู พนั ในการชำระหน้ีคืนแก่ผ้ลู งทุน ผู้ลงทนุ จะได้รบั ผลตอบแทนเปน็ ดอกเบี้ยและจะไดร้ ับเงินต้นคืนตามที่ได้มี การกำหนดไว้ การกู้ยืมเงินทุนเช่น กู้ยืมเงินจากธนาคาร, กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือตลาดการเงิน,กู้ยืมเงิน สาธารณะหรือหุ้นกู้ แหล่งเงนิ ทุนจากภายนอกจากการก่อหนีส้ นิ สามารถแบ่งระยะการกู้ยมื ออกได้เป็น 1.หนี้สินระยะสั้น หมายถึง หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า,เงินเบิกเกิน บญั ชีธนาคาร,เงนิ กยู้ มื ท่ีมเี วลาชำระคนื ภายใน 1 ปี และต๋วั เงินจา่ ย เป็นต้น 2. หนี้สินระยะปานกลาง หมายถึง หนี้สินที่กำหนดชำระคืนภายในระยะเวลา 1-5 ปี ได้แก่ เงินกู้ยืม ระยะปานกลาง หุ้นกู้ระยะปานกลาง ต๋วั เงนิ จ่ายทม่ี ีอายุมากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกนิ 5 ปี เป็นตน้ 3. หนี้สินระยะยาว หมายถึง หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ได้แก่ เงินกู้ระยะยาว หรือ หุ้นกูท้ ่มี อี ายุมากกวา่ 5 ปี 2.แหล่งเงินทุนจากส่วนของทุน เรียกว่า การระดมเงินทุนจากบุคคลภายนอกด้วยการเพิ่มส่วนของผู้ถือ หุ้น หากกิจการต้องการเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้น ได้แก่ การระดมทุนด้วยการจำหน่ายหุ้นสามัญ การจำหน่ายหุ้นบุ ริมสิทธิ์ให้กับบุคคลภายนอกหรือรวมไปถึงการนำธุรกิจเข้าไประดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ การระดมทุน ดงั กลา่ วเปน็ การเพิ่มจำนวนผู้ถอื หนุ้ ให้แกบ่ รษิ ัทและจะเกิดการเปล่ยี นแปลงสดั ส่วนของการถือครองหุ้น ขอ้ พจิ ารณาในการจัดหาเงนิ ทนุ หากผบู้ ริหารทางการเงิน ต้องการพิจารณาถงึ การหาแหลง่ เงินทุนจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งย่อมเกิดข้อดี ขอ้ เสีย ที่ส่งผลกับธุรกจิ แตกตา่ งกนั พิจารณาได้ดังนี้ 1. ข้อพิจารณาหากผู้บริหารการเงินในการจัดหาเงินทุน ผู้บริหารการเงินควรเลือกพิจารณาแหล่ง เงินทนุ ทม่ี ี ต้นทุนทางการเงนิ ตำ่ ทส่ี ดุ ตน้ ทุนทางการเงิน หมายถงึ คา่ ใช้จา่ ยหรอื ตน้ ทนุ ทเี่ กดิ ข้ึนจากการจัดหา เงนิ ทนุ การระดมทุนจากสว่ นของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจา้ ของ เช่นการออกหนุ้ สามัญจะมีต้นทุนทางการเงินท่ี เรียกว่า เงินปันผลหรือผลกำไร การระดมเงินจากส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนมาก จะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยของ เงินลงทุนสูงเพราะต้นทุนจะเท่ากับผลตอบแทนที่เจ้าของกิจการใช้ลงทุน หากมีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนมาก ผู้ถือ หุ้นย่อมต้องการผลตอบแทนที่สูง เนื่องจากผู้ถือหุ้นคือเจ้าของธุรกิจ เจ้าของธุรกิจมักจะมีความคาดหวังใน ผลตอบแทนจากธุรกิจตนเองสูงเพราะนำเงินของตนเองมาลงทุนเอง หากธุรกิจขาดทุนและสูญเสียเงินทุน ทั้งหมดจะทำเจ้าของกิจการไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเลย แสดงว่าผู้ถือหุ้นจึงแบกรับความเสี่ยงสูง เม่ือมีความเสยี่ งสูงดังนั้น ผลตอบแทนท่ผี ู้ถอื หนุ้ ต้องการจึงต้องสงู ตามตวั

6 การเงินธุรกจิ ในขณะทก่ี ารก่อหนี้สนิ จะมีต้นทุนทางการเงินท่ีเรยี กว่า ดอกเบย้ี จา่ ย ตน้ ทนุ ของเงินทุนจากหน้ีสิน จะมตี ้นทนุ ต่ำกวา่ แหล่งเงินทุนทม่ี าจากส่วนของเจา้ ของ เนอ่ื งจากเจา้ ของธรุ กจิ ไมต่ ้องนำเงนิ มาลงทุนเอง ความ เสี่ยงลดลงและด้วยต้นทุนของเงินกู้ที่ต่ำกว่า กอปรกับผลประโยชน์ทางภาษีซึ่งสามารถนำค่าใช้จ่ายด้าน ดอกเบีย้ มาหักภาษีได้ จึงทำให้ตน้ ทุนจากการมีหนี้สินจึงต่ำกว่า ส่งผลให้แหลง่ เงินทนุ ท่ีมาจากส่วนของเจ้าของ สูง เพราะเจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบต่อองค์กรสูงกว่าเจ้าหนี้ส่งผลทำให้มีต้นทุนของเงินทุนสูงกว่าแหลง่ เงินทนุ จากหน้ีสิน ดังตารางท่ี 1-1 2. ข้อพจิ ารณาถัดมาคือ ความเส่ียงทางการเงินต่ำที่สุด ความเสยี่ งทางการเงนิ หมายถงึ ความเส่ียง ทธี่ ุรกจิ ไม่สามารถจ่ายชำระหน้ีคืนได้ตรงตามเวลา สง่ ผลตอ่ การผดิ นัดชำระหน้ี อาจทำใหไ้ ม่ได้รับการพิจารณา ให้กู้ยืมอีก การจัดหาเงินทุนจากหนี้สินมีภาระผูกพันทางการเงิน คือการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้แก่ เจ้าหน้ีตามงวดเวลา หากชำระคืนไม่ได้จะส่งผลต่อการทำผิดตามกฎหมาย จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทาง การเงินที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ แม้ว่าการกู้ยืมจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำ กวา่ แต่มภี าระผกู พันทต่ี อ้ งรับผิดชอบการชำระคนื ตามงวดเวลาจดั เป็นความเส่ียงที่ควรคำนงึ ถึง ในส่วนเงินทุนจากส่วนของเจ้าของนำมาลงทุนเป็นเงินทุนที่ธุรกิจไม่มีภาระต้องชำระคืนตามงวด เวลาและไม่มผี ลตามกฎหมาย เพราะหากมีการขาดทุนในธุรกจิ ธุรกจิ สามารถเลือกการไมจ่ ่ายเงินปันผลได้ อีก ทั้งการลงทุนในส่วนของเจ้าของ ผู้ลงทุนต้องรับรู้ถึงความเสี่ยงของตนเอง เพราะการลงทุนทุกประเภทมีความ เสี่ยงเสมอ หากนำเงินมาลงในธุรกิจนี้แล้วอาจจะสูญเสียเงินลงทุนและไม่ได้รับเงินคืนได้ ทำให้เพียงดำเนิน ธรุ กิจใหม้ ปี ระสิทธภิ าพเพ่อื ใหไ้ ดร้ บั ผลตอบแทนใหไ้ ดส้ งู ที่สุด ภายใตค้ วามเส่ียงของธุรกจิ ตนเอง ขอ้ พิจารณาทั้ง สองดา้ นสามารถสรปุ ไดด้ ังตารางท่ี 1-1 ตารางที่ 1-1 แสดงการเปรียบเทียบต้นทุนของเงินทุนและความเสี่ยงทางการเงินระหว่างหนี้สินระยะสั้นและ หน้สี นิ ระยะยาว แหล่งเงนิ ทุน ต้นทนุ ของเงินทนุ ความเสย่ี งทางการเงนิ หน้ีสิน ตำ่ สูง สว่ นของเจ้าของ สงู ตำ่ ผู้บริหารทางการเงินต้องทราบตำแหน่งและเข้าใจโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจของ ตนเองก่อนว่า เหมาะสมและสอดคล้องกับวิธีพิจารณาดังกล่าวใดมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงทางการเงินต่อธุรกิจ จึง ค่อยเลือกใช้สัดส่วนของแหล่งเงินทุนแต่ละแหล่งได้อย่างถูกต้อง ดังที่ได้กล่าวต้นทุนของแหล่งเงินทุนแต่ละ แหล่งมีความแตกต่างกัน ต้นทุนเฉลี่ยของแต่ละแหล่งก็แตกต่างกันด้วย ในช่วงเวลาหนึ่งอาจจะมีความ เหมาะสมที่จะใช้แหล่งทุนแหล่งใดแหล่งหนึ่งมากกว่าอีกแหล่ง ท้ายที่สุดผู้บริหารการเงิน ต้องทำให้โครงสร้าง เงินทนุ มีต้นทนุ ทางการเงนิ ตำ่ ทสี่ ุดและเหมาะสมกบั ธุรกจิ ระดบั ความเสย่ี งของธุรกจิ ของ ตนเองมากทสี่ ดุ ดว้ ย

บทบาทและหนา้ ทข่ี องการบริหารการเงิน 7 3. การจัดสรรเงินทุน (Allocation) ขั้นตอนสุดท้ายของหน้าท่ีผู้บริหารการเงิน คือ การนำเงินทุนที่หามาไปใช้ในธุรกิจ ซึ่งเรียกว่า การ จัดสรรเงินทุนหรือการใช้เงินทุน การจัดสรรเงินทุนต้องสอดคล้องกับแผนการเงินหลักของธุรกิจและบรรลุ เป้าหมายทางธุรกิจ นั่นก็คือ การบริหารการเงินเพื่อส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น (Maximized shareholder wealth) เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ (Value of the firm) การจัดสรรเงินทุน สามารถแบ่งไดเ้ ป็น 2 ประเภท คอื 3.1 การจัดสรรเงินทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน อาทิเช่น การนำเงินสดมาใช้ในธุรกิจ การผลิตสินค้าคง คลังไว้เพื่อจำหน่าย การสำรองเงินทนุ สำหรับลูกหนกี้ ารคา้ เปน็ ตน้ การลงทุนในสินทรพั ยห์ มนุ เวยี นเป็นจำนวน มากจะทำให้เกดิ สภาพคล่องในธรุ กิจสูง และส่งผลใหร้ ะดับความเสยี่ งทางการเงินอยใู่ นระดับตำ่ แตจ่ ะส่งผลต่อ ความสามารถทำกำไร (Profitability) ของธุรกิจลดลง ดังนั้นผู้บริหารการเงินต้องเลือกตัดสินใจลงทุนใน สินทรัพย์หมุนเวียนในระดับที่เหมาะสม โดยยังมีความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องอยู่ในระดับท่ี เหมาะสม 3.2 การจดั สรรเงินลงทนุ ในสินทรัพย์ไม่หมนุ เวยี น เป็นการลงทุนในสนิ ทรพั ยร์ ะยะยาว เช่น การสร้าง โรงงาน ซื้อที่ดินหรือเครื่องจักร ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น จัดได้ว่าเป็นการวางแผนการเงินในระยะยาว ดังนั้นการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกธุรกิจ ซึ่งจะ ส่งผลต่อความสามารถทำกำไร (Profitability) ของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหากมี การลงทุนเป็นจำนวนมากเกินไป อาจจะส่งผลต่อสภาพคล่องของธุรกิจเพราะธุรกิจต้องจ่ายเงินจำนวนก้อน ใหญ่ออกไปทำให้สภาพคล่องลดลง นำไปสู่การเกิดความเสย่ี งด้านการเงนิ ทส่ี งู ขึ้นตามมาเช่นกนั ความรบั ผดิ ชอบของผ้บู รหิ ารการเงิน นอกจากผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่หลักเพื่อเพิ่มความม่ังคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้ว ยังต้องให้ ความสำคัญกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ (Stakeholder) เพราะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการเหล่านี้เป็น ส่วนประกอบสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ (Goals) การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากจะเป็นสนับสนุนให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ยังจะช่วยลดความขัดแย้งหรืออุปสรรค (Obstacle) ของ ธรุ กิจลงได้ ผ้มู สี ว่ นเกีย่ วข้องกบั กจิ การ มีดังตอ่ ไปนี้ 1. ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ (Shareholder) จัดเป็นผู้เกี่ยวข้องสำคัญลำดับต้นๆ ที่ผู้บริหารต้องให้ ความสำคัญ เพราะผู้ถือหุ้นต้องการหวังในผลตอบแทนจึงเลือกที่เข้ามาลงทุนในธุรกิจนั้น ๆ ดังนั้นผู้บริหารจึง ต้องทำให้ธุรกจิ เกิดการจ่ายผลตอบแทนคนื กลับไปสู่ผถู้ ือหุน้ หรือนักลงทนุ ใหม้ ากทีส่ ดุ 2. ลูกค้า (Customer) คือผู้ที่ซื้อสินค้าหรือให้การสนับสนุนธุรกิจ รายได้หลักของธุรกิจมาจากการ ขายสนิ ค้าใหก้ ับลูกค้า ดงั นั้นผบู้ ริหารควรต้องคำนงึ ถึงการผลิตสินค้าท่ีมีคุณภาพดี ราคาท่ยี ตุ ิธรรม ไม่เอารัด เอาเปรียบลูกค้า โดยที่ธุรกิจก็ยังมีกำไรจากการขาย ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องบริการการเงินอย่างเหมาะสม เพื่อ ผลิตสนิ คา้ ท่ีสามารถตอบสนองความต้องการของลกู ค้าเสมอ

8 การเงินธรุ กจิ 3. เจ้าหนี้ (Creditor) คือผู้ที่ให้ยืมเงินทนุ เพื่อใช้ลงในธุรกิจ ดังนั้นเจ้าหนี้จึงคาดหวังผลตอบแทนจาก การให้ยืมดังกล่าวในรูปของดอกเบี้ย อีกทั้งยังต้องการได้รับชำระหนี้คืนได้ตรงตามกำหนดเวลา ผู้บริหาร การเงนิ จึงต้องแสดงความสามารถในการบริหารที่ก่อให้เกิดผลกำไร เพอ่ื นำกำไรเหล่านัน้ มาจ่ายดอกเบ้ียให้กับ เจา้ หนี้ท่ไี ดร้ ่วมลงทนุ ไปในธุรกิจ 4. พนักงานหรือลูกจ้าง (Employee) เป็นบุคคลกรที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจ เพราะทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองในแต่ละหน่วยงาน นอกจากต้องใช้เงินทุนในการสนับสนุนจูงใจให้พนักงานทั้งใน ด้านความกา้ วหน้าในหน้าท่ีในตำแหนง่ หน้าท่ีและด้านการเงิน มีความมั่นคงในการทำงาน ตลอดจนมสี วัสดิการ ที่ดี เพื่อให้พนักงานเกิดความรักและความจงรักภักดีต่อองค์กร ไม่ใช่เพียงแต่ต้องการใช้แรงงานของพนักงาน เทา่ น้ัน ยังตอ้ งส่งเสริมให้พนักงานเขา้ ใจและร้จู ักเปา้ หมายทางการเงนิ ของธรุ กจิ ด้วย 5. ผู้จำหน่ายสินค้า (Supplier) ปกติผู้ขายจะได้รับเงินค่าวัตถุดิบ สินค้า หรือค่าบริการท่ีจัดให้แก่ ธุรกิจ ผู้ขายสินค้าจะช่วยให้การผลิตไม่หยุดชะงัก ส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานต่อเนื่อง โลก ธุรกิจใน ปัจจุบัน การได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ผลิตสินค้า จัดได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะในปัจจุบันมีการ แข่งขันกันสูงมาก ฉะนั้นธุรกิจจึงต้องมีความด้านเงินทุนที่จะจ่ายชำระค่าสินค้าให้ครบถ้วนและตรงเวลา ส่วน หนงึ่ มาจากระบบการค้าขาย อีกส่วนคือการสร้างเครดิตทางการค้า เพื่อความนา่ เช่ือถือในธุรกจิ หากเกิดความ เสียหายดา้ นชอื่ เสยี งจะสง่ ผลต่อการดำเนินธุรกจิ ต่อ ผ้บู ริหารจึงควรคำนึงประเด็นเหลา่ น้ีและควรเตรียมพร้อม แผนการเงนิ ใหร้ ดั กมุ มากทีส่ ดุ 6. ชุมชนและสังคม (Community and Society) ผู้บริหารควรคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจที่อาจจะ ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในสังคมหรือชุมชนใกล้เคียง ดังนั้นการบริหารงานต้องดำเนินธุรกิจท่ีไม่เป็นภัยต่อ ประชาชนในชุมชน อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสังคมและประเทศชาติ ปัจจุบันกระบวนการทำความเข้าใจกับ ชุมชนและสังคมเรียกว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร Corporate Social Responsibility (CSR) แม้ว่าเป้าหมายของธุรกิจต้องการทำกำไรสูงสุดแต่ก็ต้องอาศัยบริหารการเงินโดย คำนงึ ถถึงความรบั ผิดชอบตอ่ สังคมและชมุ ชน เชน่ การสร้างงานบำบดั น้ำเสียกอ่ นปล่อยสธู่ รรมชาติ เปน็ ตน้ 7. รัฐบาล (Government) ธุรกิจมีความรับผิดชอบที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นติ ิบุคคลใหก้ ับรัฐบาลซง่ึ เกิดจากการแบ่งผลกำไรที่ได้จากการประกอบการเพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นผู้บริหารต้องปฏิบัติ หน้าที่ทางสังคมดว้ ยการเสียภาษี จงึ ต้องมีหนา้ ทบี่ รหิ ารเงนิ ทงั้ ต่อตนเองและต่อหนา้ ทีท่ างสังคมด้วย เปา้ หมายในการประกอบธุรกจิ (Goals of the Firm) ดังที่กล่าวไว้มาในข้างต้น เป้าหมายสูงสุดทางการเงิน คือ ต้องการให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือ หุ้น (Maximized shareholder wealth) เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ (Value of the firm) ในอดีตแนวคิดการบริหารธุรกิจมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างกำไรสูงสุด (Profit maximization) คำว่า “กำไร สงู สุด” นน้ั หมายถึงกำไรในปีตอ่ ปเี ท่านัน้ จึงไม่ไดค้ ำนงึ ถึงปจั จยั ที่เกี่ยวข้องกนั เชน่ กำไรอาจจะเกดิ จากการขาย สินค้าได้เกินความต้องการ การลดลงของต้นทุนขายหรือค่าใช้จ่าย การลดลงของค่าเสื่อมราคา เป็นต้น ดังนั้น กำไรในแตล่ ะปีจึงไม่ไดส้ ะท้อนภาพความสำเรจ็ ของธุรกิจเท่าที่ควร ดงั นัน้ จงึ เกดิ แนวคิดการบริหารสมัยใหม่ท่ีมี

บทบาทและหนา้ ที่ของการบรหิ ารการเงิน 9 เป้าหมายเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น (Maximized shareholder wealth) โดยแนวคิดดังกล่าว ถูกกล่าวขึ้นครั้งแรกเมื่อช่วงปี 1980s โดยนาย Jack Welch อดีตประธานผู้บริหารบริษัท General electric และได้รับความนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว ต่อมาแนวคิดนี้ได้ถูกยอมรับว่าได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยนัก เศรษฐศาสตร์ชาวอเมรกิ ันที่มีชื่อว่า Alfred Rappaport (1986) โดยกล่าวถึงหลักการที่จะทำให้เกิดความมง่ั คั่งสูงสุดได้และจะส่งผลทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุดนั้น (Maximized value of the firm) จะวัดได้จากราคา ตลาดของหุ้นสามัญของธุรกจิ วา่ มีราคาสงู หรือต่ำเพียงใด และแนวคิดดงั กล่าวนกี้ ลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการ วัดมูลคา่ ของธรุ กิจในยคุ ปจั จบุ ัน ขอยกตวั อยา่ งทีเ่ หน็ ไดช้ ดั เจน กรณีของบรษิ ัท กเู กิ้ล ภาพท่ี 1-2 แสดงราคาห้นุ บริษทั กเู กิล้ ตั้งแตเ่ ปิดทำการซือ้ ขายวนั แรกถึงราคา ณ ปีปัจจบุ ัน จากภาพที่ 1-2 แสดงราคาหุ้นกูเกิ้ลตั้งแต่เปิดให้มีการซื้อขายวันแรก (Initial public offering :IPO) เมื่อปี 2004 จนถึงปีปัจจุบัน 2018 (พ.ศ.2661) พบว่า ราคาหุ้นสามัญของบริษัทกูเกิ้ลมีการปรับตัวเติบโตขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ราคาเริ่มแรกที่เสนอซื้อขายให้กับประชาชนคือ 85 USD ต่อ 1 หุ้น เริ่มเปิดให้มีการซื้อขายผ่านไป เพียง 14 ปี ราคาหนุ้ สามญั ของบรษิ ทั กูเกิ้ลเพิ่มข้นึ แตะท่รี ะดบั 1,111 USD ต่อหุน้ เพิม่ ข้นึ หลายรอ้ ยลเทา่ หาก ผู้ถือหุ้นของบริษัทถือหุ้นไว้ตั้งแตเ่ ริ่มก่อตั้งบริษัทจนถึงวันนีผ้ ู้ถือหุ้นจะมีกำไรส่วนต่างอย่างมหาศาล สิ่งเหล่านี้ คือ การสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างชัดเจนที่สุด เกิดจากการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จ ของผบู้ รหิ าร หนงึ่ ในนั้นก็คือ ผบู้ รหิ ารการเงนิ ที่ต้องมองภาพอนาคตของธุรกิจใหช้ ดั เจนทสี่ ดุ นอกจากนี้ราคาหุ้นในปัจจุบันของบริษัทกูเกิ้ลยังคงได้รับความนิยมในการซื้อขาย และมีแนวโน้ม เตบิ โตขึ้นไดอ้ กี ยิ่งสร้างความม่งั คงั่ ได้อย่างต่อเน่อื ง ในทางกลับกันหากทา่ นเป็นนักลงทนุ ทา่ นมีความสนใจจะ ลงทุนในบริษัทท่ีเติบโตเช่นนหี้ รือไม่ เป็นการดงึ ดูดให้คนมาลงทนุ โดยมองถึงผลตอบแทนในระยะยาว และการ เติบโตของมูลค่าทางธรุ กิจมากกว่าที่จะกล่าวถึงการสรา้ งผลกำไรของบริษัทในแต่ละปี ปัจจุบันกูเกิ้ลกลายเปน็

10 การเงนิ ธรุ กจิ บริษัทช้นั นำระดับโลกด้านนวตั กรรมใหม่ ๆ และธรุ กิจหลักกลายเป็นวถิ ชี ีวติ ของสงั คมมนุษย์สมยั ใหม่ ทา้ ยท่ีสุด ยังตรงสอดคล้องเป้าหมายของการก่อตั้งธรุ กิจหรือ Business goals หลักของกูเกิ้ลตัง้ แตต่ ้น นั่นคือ “การเปน็ เสรทิ เอนจน้ิ ท่ีสำคัญ นำสง่ คณุ ภาพข้อมูลที่ดีท่สี ุดและประโยชน์ให้กบั ทุกคนเมื่อไรก็ตามท่ีคนเหล่านั้นเข้าสู่โลก ออนไลน์” มูลคา่ ของธุรกจิ (Value of the firm) การที่จะให้มูลค่าของธุรกิจหรือมูลค่ารวมของราคาตลาดของหุ้นสามัญของธุรกิจ ไม่ได้เกิดจาก ผบู้ รหิ ารการเงินเพยี งอย่างเดียวเท่านนั้ ยงั มีปจั จัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรุ กจิ โดยผู้บริหารต้อง คำนึงและประเมินปัจจัยดังกล่าวตลอดเวลา ปัจจัยที่กำหนดมูลค่าธุรกิจ เกิดจากปัจจัย 2 ประการเป็น ตวั กำหนด คอื (ดูจากภาพท่ี 1-2) ปัจจัยสำคญั ในการกำหนดมูลคา่ ธุรกจิ มีดงั น้ี 1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีส่งผลกระทบต่อกิจการ และผู้บริหารการเงินไม่ สามารถควบคุมผลกระทบได้ทั้งหมด หรือเป็นผลกระทบที่เกิดจากผู้อื่นเป็นผู้ก่อแต่ส่งผลต่อความสำเร็จของ องค์กร เรียกการวิเคราะห์นี้ว่า PESTEL (Political , Economy , Social , Technology , Environment , Law, 2018) ผลกระทบจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ประเภทของกิจการ ขนาดของ กิจการ ภาระการพง่ึ พิงของกจิ การและความเก่ยี วพันต่อเนื่องของกจิ การ ปัจจยั เหลา่ น้ัน ได้แก่ - สภาพเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกจิ ของโลก - สภาวะการแขง่ ขนั และความรนุ แรงของการแขง่ ขัน - กฎหมายและเงือ่ นไขตา่ ง ๆ ทางการค้าและการลงทุนของประเทศ - นโยบายทางดา้ นภาษีของรฐั บาลและกำแพงภาษี - การเปลยี่ นแปลงอตั ราดอกเบีย้ อตั ราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟอ้ - สถานการณ์การเมอื ง หรอื นโยบายของรฐั บาล - ราคาน้ำมัน ความผันผวนของราคาสนิ ค้าพ้ืนฐาน - นโยบายทางการคา้ ระบบการเงินขา้ มชาติ - การเปล่ยี นทางเทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรมใหม่ - การเปลย่ี นทางสงั คมและประชากร - การทำลายสิง่ แวดล้อม ขออธิบายตัวอย่างบางปัจจัยเช่น สถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมายเป็นการกระทบต่อ ธุรกิจในวงกว้างและส่งผลความสำเรจ็ หรือความล้มเหลวของธุรกิจโดยตรง ในบางปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ก็ส่งผล กระทบในระดบั แคบเช่น การได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนเร่ืองสิ่งแวดล้อมหรือการรับรองว่าส่ิงก่อสร้างไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) เพื่อให้ได้รับการอนมุ ัติโครงการก่อนหากไม่ได้ รับการยอมรับจะทำให้ก่อสร้างอาคารไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารการเงินตอ้ งพิจารณาและระมัดระวังปัจจัยดังกลา่ ว

บทบาทและหนา้ ทขี่ องการบริหารการเงิน 11 กอ่ นตัดสินใจทุกครั้ง หากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างแรงจะส่งผลทำให้ธุรกิจไมป่ ระสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ 2. ปจั จยั ที่ควบคมุ ได้ของกิจการ ได้แก่ - นโยบายของกิจการ - ผลประกอบการของกิจการ - นโยบายเงินปันผล - ทศั นคตขิ องผบู้ รหิ าร - ชื่อเสียงของธุรกจิ - ประเภทของธรุ กจิ - ชนดิ ของเครอ่ื งจักร - การจัดหาเงนิ ทุนโดยการก่อหนี้ - สภาพคล่องของกจิ การ ปัจจัยที่ควบคุมได้จะเป็นปัจจัยที่ธุรกิจสามารถจัดการบริหารได้ด้วยตนเองและมักจะไม่ได้รับอิทธิพล จากภายนอกใดเข้ามาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น สภาพคล่อง (Liquidity) ของกิจการ หากธุรกิจที่ลงทุนใน สินทรัพย์หมุนเวียนมากย่อมทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องมากกว่าธุรกิจที่ลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ส่งผลให้ ธุรกิจเกิดความเสี่ยงน้อยกว่า ในทางกลับกันหากธุรกิจใดเลือกลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมาก จะทำให้ สภาพคล่องตำ่ สง่ ผลให้เกดิ ความเสี่ยงสูงต่อธุรกิจ อกี ตวั อย่างคอื หากธรุ กจิ เลอื กใช้เครอื่ งจักรใช้เทคโนโลยีท่ีสูง และทันสมัย มีระบบอัตโนมัติเช่นการใช้ระบบจักรกลเข้ามาคุมการผลิตตลอดทั้งไลน์การผลิต แม้ว่าธุรกิจ จะต้องใช้เงินลงทุนสูงในช่วงแรก แต่ด้วยประสิทธิภาพในการผลิตท่ีสูง ทำให้ลดการใช้แรงงานคน เกิดการ ประหยัดต่อขนาดลง ต้นทุนสินค้าลดลง ส่งผลให้ธุรกจิ เกิดความสามารถในการทำกำไรที่สูง ความเสี่ยงต่ำกวา่ คู่แข่ง ดังนั้นการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยหรือเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยที่ธุรกิจสามารถเลือกและควบคุมได้ด้วย ตนเอง ประเด็นถัดมาที่ผู้บริหารการเงินจะต้องตัดสินใจโดยพิจารณาให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อนำไปสู่การ สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ (Value of the firm) จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงพิจารณาองค์ประกอบของปัจจัยเหล่านี้ เนอื่ งจากปัจจยั เหลา่ น้ีจะเปน็ ตวั สะท้อนและเป็นตัวกำหนดทิศทางและหนา้ ที่ทางการเงนิ ของแต่ละธรุ กจิ ไดแ้ ก่ 1. สภาพคลอ่ ง (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสิ่งของหรือสนิ ทรัพย์ไปเป็นเงินสดได้ เร็วและง่ายที่สุด ทรัพย์สินใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว จัดได้ว่าสินทรัพย์นั้นมีสภาพคล่องสูง ในทาง กลบั กันหากสนิ ทรัพยใ์ ดเปล่ยี นเป็นเงินสดไดย้ าก จะเรียกวา่ สนิ ทรพั ย์ท่มี สี ภาพคล่องตำ่ 2. ความเส่ียง (Risk) หมายถงึ โอกาสที่จะมเี กิดความผิดพลาด ความเสยี หาย การสญู เสีย การเสยี เปล่า ที่เกิดกับธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจจึงต้องพิจารณาว่า การกระทำใดที่จะเกิดความเสี่ยงสูงต้องควรพิจารณา ยิ่งเกิด

12 การเงินธรุ กจิ ความเสย่ี งมากขึ้นเร่ือย ๆ จะสง่ ใหผ้ ลให้ธุรกิจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของตนเองได้ ดังนน้ั ผูบ้ รหิ ารต้องเข้าใจ วา่ สงิ่ ใดคอื ความเส่ียงในธรุ กิจตนเองเช่นกนั ในแตล่ ะธรุ กจิ จะมคี วามเสย่ี งเหมอื นหรอื แตกต่างกันก็ได้ 3. ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) หมายถึง ขีดความสามารถของธุรกิจในการแสวงหา กำไรรวมถึงความได้เปรียบในทางการแข่งขันเช่นกัน ผู้บริหารการเงินจะต้องทราบถึงระดับขีดความสามารถ ของธุรกิจตนเอง เพื่อใช้ในการประเมินระดับของธุรกิจ ตัวอย่างประกอบเช่น หากธุรกิจเลือกจะถือเงินสดไว้ จำนวนมากเพราะไม่กล้าลงทุน แม้ว่าสภาพคล่องของธุรกิจจะมีสูงมาก ธุรกิจอาจจะผลิตสินค้าออกมาน้อย เกินไปเพราะกลัวความเสี่ยง เมื่อสินค้ามีน้อยเกินไปและไม่เพียงพอที่จะขาย ทำให้เกิดการเสียโอกาสจากการ ขายสนิ คา้ ลกู คา้ อาจจะไปซ้อื สินค้าที่อื่น ทำใหค้ วามสามารถในทำกำไรลดลงซง่ึ ส่งผลให้สินคา้ ของธุรกิจอาจจะ ไม่ได้รับการตอบรับต่อไป ในทางกลับกัน หากธุรกิจผลิตสินค้าออกมาในปริมาณมาก ทำให้มีโอกาสขายสินคา้ ได้มากขนึ้ ตามลำดับ สามารถทำกำไรได้สงู ขึ้น แตห่ ากผลิตเกนิ กวา่ ความตอ้ งการของลูกคา้ จะทำใหเ้ กดิ มีเงินทุน จมในสินค้าหรือขายสินค้าไม่ได้ ส่งผลสภาพคล่องของธุรกิจลดต่ำลง ทำให้ความเสี่ยงในธุรกิจสูงขึ้น ดังนั้น ผู้บริหารการเงินจึงต้องทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ให้ดี หากไม่สามารถบริหารได้จะกลายเป็นความเสี่ยงของ ธุรกจิ ได้ ปัจจัยทั้ง 3 นี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการเงินต้องพิจารณาโดยละเอียด เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวจะเป็น ตัวกำหนดขนาดหน้าที่ทางการเงินของผู้บริหารว่าจะเป็นเช่นไร เช่น ขนาดการลงทุนใหญ่หรือเล็ก ความหนัก เบาและความยากง่ายของแผนการเงิน เป็นต้น โดยจะเลือกใช้ตามลักษณะและความจำเป็นของธุรกิจตนเอง เป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่นการพิจารณาการจัดสรรการลงทุน เพื่อหาระดับความเหมาะสมในการลงทุนของ สินทรัพย์แต่ละประเภท ต้องไม่มากและไม่น้อยเกินไป ต้องมีความสมดุล (Balance) ขึ้นอยู่กับประเภทของ ธุรกิจ ยังต้องสอดคล้องกับช่วงเวลาจังหวะในการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของ การบริหารการเงนิ

บทบาทและหน้าที่ของการบริหารการเงิน 13 ปจั จยั ที่ควบคมุ ไม่ได้ - สถานการณท์ างการเมอื ง - ภาวะเศรษฐกจิ ของประเทศและ ความสามารถในการทำกำไร ของโลก - สภาวะการแขง่ ขนั - กฎหมายและภาษี - การเปล่ยี นแปลงทางเทคโนโลยี - การเปล่ยี นแปลงทางสงั คม - การเปลี่ยนแปลงอตั ราดอกเบีย้ - ผลกระทบตอ่ ส่ิงแวดล้อม ราคาตลาดของหนุ้ มลู ค่าของ - การเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยี สามัญ ธุรกจิ ปัจจยั ท่ีควบคุมได้ - สภาพคล่องของกิจการ - นโยบายของกิจการ - ผลประกอบการของกจิ การ - นโยบายเงนิ ปนั ผล - ผบู้ ริหาร - ความมีชอ่ื เสยี งของธุรกจิ - ประเภทของธรุ กจิ ความเสยี่ ง - ชนิดของเคร่ืองจักร - การจดั หาเงนิ ทนุ โดยการก่อหน้ี ภาพท่ี 1-3 แสดงปัจจัยท่ีมีผลตอ่ มลู คา่ ของธุรกิจ จากภาพที่ 1-3 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ควบคุมได้ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และสิ่งที่กำหนด ความสำเร็จของธุรกิจซึ่งทั้งหมดจะส่งผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญ ส่งผลไปสู่มูลค่าของมูลค่าของ ธรุ กจิ ปัจจยั ดงั กล่าวสง่ ผลกระทบต่อการดำเนนิ ธรุ กิจอยา่ งมาก ปัจจัยทง้ั สองเปน็ ตวั กำหนดใหธ้ ุรกิจน้ันประสบ ความสำเร็จหรือล้มเหลว มีลักษณะเป็นการรักษาสมดุล ธุรกิจใดที่ประสบความสำเร็จ คือธุรกิจที่สามารถ ควบคมุ ความเสยี่ งให้ต่ำท่สี ุด ในขณะเดยี วกนั ต้องสร้างขีดความสามารถในการทำไรให้สูงทสี่ ดุ เท่าท่ีทำได้หากมี ธุรกิจใดสามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าวได้อย่างดีแล้ว จะส่งผลให้ธุรกิจได้รับความสนใจ เกิดความน่าเชื่อถือ หากท่านเป็นผู้บริหารการเงิน จะถือว่าธุรกิจที่ท่านบริหารประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง หากท่านเป็นนัก ลงทนุ ท่านจะเกดิ ความสนใจอยากลงทนุ และร่วมเป็นเจา้ ของในธรุ กิจนั้น โดยคาดหวงั วา่ ธรุ กิจท่ีลงทุนจะสร้าง ผลตอบแทนที่สูงและสรา้ งความม่งั ค่งั ใหก้ ับผู้ลงทุนในระยะยาวได้

14 การเงนิ ธรุ กิจ เมื่อมีผู้ลงทุนเป็นจำนวนมากและธุรกิจสร้างผลตอบแทนได้ดีมาตลอด จะส่งผลให้มูลค่าหุ้นสามัญ เติบโตขึ้นต่อเนื่อง ผู้ลงทุนที่ร่วมลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการถือหุ้น คือ ผลกำไรต่อหุ้นและเงินปันผล ทา้ ยท่ีสุดจะสง่ ผลให้มลู คา่ ของธุรกิจเติบโตสูงขน้ึ เรื่อย ๆ ดังเชน่ ตัวอยา่ งจากบริษัทกูเกล้ิ ตามภาพประกอบท่ี 1- 2 หรอื ตัวอย่างเช่น บรษิ ทั ยักษ์ใหญ่ระดบั โลกหลายบริษทั เช่น อลั ฟา่ เบท สร้างนวัตกรรมปัญญาประดษิ ฐ์, แอป เปิ้ลคอมพานีผลิตอุปกรณ์สื่อสารแหง่ อนาคต, เทสล่าอิงค์สร้างรถยนต์ไฟฟ้า, อาลีบาบา พัฒนาระบบ ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งทั่วทั้งประเทศจีนและทั่วโลก แอร์บีเอ็นบี สร้างระบบการจองห้องพักทั้งระบบทั่งโลก ยิ่งเป็น แรง กระตุ้นให้ห้นุ สามัญของบริษัทเหล่านี้เตบิ โตมีมลู ค่าสูงข้ึนเร่ือย ๆ บรษิ ทั เหล่าน้ีมกั จะถูกจัดอนั ดับเป็นธุรกิจ ท่ีมี มูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรกของโลกเสมอ ดังนั้นหากท่านเป็นนักลงทุนและทราบข้อมูลทางการเงินของบริษัท เหล่านี้ ท่านสนใจอยากจะร่วมลงทุนในหุ้นสามัญและเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเหล่านี้หรือไม่ สาเหตุที่ผู้บริหาร การเงินไม่ใชก้ ำไรสงู สุดเป็นเปา้ หมายหลักในการวดั ความมลู คา่ ของธุรกิจ นอกจาก เหตผุ ลที่กล่าวไว้ขา้ งตน้ แล้ว ยงั มเี หตผุ ลอีกหลายประการที่ไมส่ ง่ เสรมิ การใชก้ ำไรมาเป็นตัววัด เหตุผลดงั กล่าวมี ดงั ตอ่ ไปน้ี สาเหตุที่ผู้บริหารการเงินไม่ใช้กำไรสูงสุดเป็นเป้าหมายหลักในการวัดความมูลค่าของธุรกิจ นอกจาก เหตผุ ลที่กลา่ วไวข้ า้ งตน้ แลว้ ยงั มเี หตุผลอกี หลายประการทไี่ ม่ส่งเสรมิ การใช้กำไรมาเป็นตวั วัด เหตผุ ลดงั กล่าวมี ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. ไม่ไดค้ ำนึงถงึ ค่าของเงนิ ตามเวลา (Time value of money) คอื การไมน่ ำความรู้เร่ืองค่าของ เงินท่ีมูลค่าเปลี่ยนไปตามเวลามาใช้คำนวณ ตัวอย่างเช่นโครงการท่ีหนึ่งและโครงการที่สอง มีกำไรตลอด โครงการเท่ากันแต่โครงการท่ีหนึ่งมีกำไรสม่ำเสมอตลอด 3 ปี ขณะที่โครงการท่ีสองจะได้รับกำไรในปีที่ 3 เพียงปเี ดียว กำไรสทุ ธิ (บาท) กำไรสุทธิ (บาท) ปีที่ โครงการทหี่ นึง่ โครงการที่สอง 1 3,000 - 2 3,000 - 3 3,000 9,000 รวม 9,000 9,000 ถ้าพิจารณาแนวคิดกำไรสูงสุดแล้ว จะเห็นว่าทั้งโครงการที่หนึ่งและโครงการที่สองมีกำไรเท่ากัน แตถ่ ้าคำนึงถงึ ค่าของเงินตามเวลา จะเหน็ วา่ โครงการท่ีหนึ่งดีกว่าโครงการทส่ี อง เพราะไดร้ ับผลตอบแทนเร็ว กว่าโครงการสอง ซึ่งมูลค่าของเงินตามเวลาจะไม่เท่ากัน เพราะเงินที่ได้รับก่อนย่อมมีค่ามากกว่าเงินที่ได้รับ ภายหลังเพราะผลกระทบจากภาวะเงนิ เฟ้อและเน่ืองจากสามารถนำเงนิ จำนวนนนั้ ลงทุนต่อได้ 2. ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของธุรกิจ ในแนวคิดแบบเก่าที่มองว่าธุรกิจต้องการกำไรสูงสุด ดังน้ัน ผู้บรหิ ารจงึ ยอมรับโครงการลงทุนที่ให้ได้กำไรสูงสดุ โดยไม่ได้สนใจในเร่ืองความเสี่ยงที่มากกวา่ ที่อาจจะเกิดข้ึน

บทบาทและหนา้ ที่ของการบริหารการเงนิ 15 ได้ โครงการที่มีผลกำไรสูงโดยทั่วไปมักจะมีความเส่ียงสงู เช่นช่วงที่ธุรกิจอสังหารมิ ทรพั ย์รุ่งเรือง การลงทุนใน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทำให้ธุรกิจมีกำไรจากการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าธุรกิจค้าปลีก แต่หาก เศรษฐกิจตกต่ำลงธุรกิจอสงั หาริมทรัพย์จะเป็นธรุ กิจที่มีความเสี่ยงกว่าธุรกิจค้าปลีก หากผู้บริหารมุ่งพิจารณา แต่กำไรย่อมทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ ธุรกิจที่มีกำไรต่อหุ้นเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงของ ธรุ กจิ จะเท่ากนั ดังตวั อย่าง บริษัท A บรษิ ัท B (ธรุ กจิ ค้าปลกี ) (ธุรกจิ อสังหาริมทรัพย)์ กำไรสุทธิ (บาท) 200,000 500,000 จำนวนหุน้ สามัญ (หุ้น) 20,000 50,000 กำไรต่อหนุ้ 200,000/20,000 = 10 บาทตอ่ หุ้น 500,000/50,000 = 10 บาทต่อหุน้ จากการเปรียบเทียบระหว่างบริษัท A ธุรกิจค้าปลีก และบริษัท B ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเห็นว่ามีกำไรต่อหุ้นเท่ากัน แต่บริษัท B ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงมากกว่าบริษัท A เนื่องจาก อสังหาริมทรัพย์มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงกว่าธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีรายได้หลักจากธุรกิจ ประเภทเดียว (พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย),แนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงข้ึนทุกๆปี,อัตราการขาย โครงการที่กำลังพัฒนาอยู่ได้และรวมถึงโครงการในอนาคต และความเสี่ยงด้านการต่อยอดในอนาคต จากการ จัดหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สำหรับโครงการต่อๆไปในอนาคต ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกอยู่คู่ กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ แม้ยอดกำไรจะไม่สูงแต่คนในประเทศยังต้องค้าขายจับจ่ายใช้สอยตลอด มี ความเสย่ี งต่ำกวา่ และได้รบั ผลกระทบจากการเปลยี่ นแปลงทางเศรษฐกิจน้อยกวา่ มาก 3. วิธีการบันทึกทางบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป มหี ลายวธิ ี เช่น การรับรรู้ ายได้ การ ตีราคาสินค้าคงเหลือและการคิดค่าเสื่อมราคา เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น หากมีบริษัทสองบริษัทซึ ่งมีวิธีการ บันทึกบัญชีแตกต่างกัน แม้ว่าข้อมูลการเงินของบริษัททั้งสองจะเหมือนกัน ยกตัวอย่างบริษัททั้งสองมีรายได้ จากการตน้ ทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายท่ีเท่ากนั กไ็ มส่ ามารถวัดได้ว่าบริษัทไหนมีมูลค่าทางธุรกิจดีกว่ากัน 4. นโยบายการจัดหาเงินทุนที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อกำไรสุทธิแตกต่างกันด้วย กรณีธุรกิจจัดหา เงิน(ดอกเบี้ยจ่าย) ถือเป็นก่อนคำนวณภาษี มีผลทำให้กำไรสุทธิของธุรกิจลดลง ดังตัวย่าง ถ้าบริษัท ก และ บรษิ ทั ข มกี ำไรก่อนหักตน้ ทนุ การเงนิ และภาษีเท่ากนั แตบ่ รษิ ทั ก ไม่มีหน้สี ิน บรษิ ทั ข มีหน้ีสิน และมีต้นทุน ทางการเงิน 2,000 บาท ดงั ตวั อยา่ ง

16 การเงนิ ธุรกิจ กำไรก่อนหักตน้ ทุนการเงนิ และภาษี บริษัท ก บรษิ ทั ข หกั ตน้ ทุนทางการเงิน 5,000 5,000 2,000 กำไรก่อนหักภาษี - 3,000 หกั ภาษี 20% 5,000 800 กำไรสุทธิ 1,200 2,200 3,800 กรณีที่บริษัท ก ไม่ได้จัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมจะมีกำไรสุทธสิ งู กว่าบริษทั ข เพราะจัดหาเงินทุนจาก การกู้ยืม แต่เมื่อพิจารณาจากความสามารถในการดำเนินงานจะเห็นว่าเป้าหมายกำไรสูงสุดจึงมีข้อบกพร่อง เพราะฉะนั้นในการบริหารธุรกิจยุคใหม่ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าธุรกิจของตนมากกว่า สนใจการสร้างผลกำไรท่ีได้รับในแตล่ ะปีทด่ี ำเนินธุรกจิ ยงิ่ ธุรกิจใดมแี นวโนม้ เติบโตในดา้ นมูลคา่ จะสง่ ผลให้หุ้น สามัญของบริษทั นนั้ เป็นท่ีต้องการสูงตามไปดว้ ย ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากตัวอย่างของบริษัทกูเก้ิลเปน็ ตน้ โครงสร้างองค์กรทางการเงิน (Organizational Structure for Finance Sectors) องค์กรธุรกจิ จะต้องเกยี่ วขอ้ งกบั บคุ คลหลายฝา่ ย การแบ่งหน้าทงี่ านการเงนิ ของธุรกิจจะแตกตา่ งกัน ตามขนาดธรุ กิจ บทบาททางการเงินในองค์การ ประกอบดว้ ย รองประธานฝ่ายการเงิน (Vice-president finance) จะข้นึ ตรงต่อประธานบรษิ ัท (President) และคณะกรรมการอำนวยการ (Board of directors) รอง ประธานทางการเงนิ จะมหี นา้ ที่บรหิ ารงานและควบคุมดูแล 2 ฝา่ ย คอื ผู้จัดการการเงนิ (Treasurer) และ ผจู้ ดั การทางการบัญชี (Controller) ดงั ภาพท่ี 1-3 และ ภาพที่ 1-4 แสดงตัวอยา่ งโครงสรา้ งองค์กรของบริษทั

บทบาทและหน้าทีข่ องการบริหารการเงนิ 17 ภาพท่ี 1-4 แสดงตวั อย่างโครงสร้างองค์กร บริษทั แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ทม่ี า https://investor.assetwise.co.th/th/company-information/general-information

18 การเงินธุรกิจ ภาพที่ 1-5 แสดงโครงสรา้ งองคก์ รทางการเงินของธรุ กิจ จากภาพที่ 1-4 และ 1-5 แสดงโครงสร้างของธุรกิจและโครงสร้างฝ่ายการเงิน ผู้บริหารการเงินคือ หัวหน้าสูงสุด ของฝ่ายการเงิน โดยทำหน้าที่ดูแลผู้จัดการอีก 2 คน คือ ผู้จัดการการเงินและผู้จัดการบัญชี ผ้จู ดั การทง้ั สองมีหนา้ ท่ีดังตอ่ ไปน้ี ผู้จัดการทางการเงิน (Treasurer) หน้าที่และความรับผิดชอบหลักคือด้านการเงินของธุรกิจ การใช้ จ่ายเงิน การหมุนเวียนของเงิน ดูแลแผนกสินเชื่อ แผนกวางแผนทางการเงิน แผนกรับจ่ายเงินของธุ รกิจ มี หน้าที่รับผิดชอบโดยตรงทางด้านงานบริหารการเงินของบริษัท การรับจ่ายเงินประจำงวด การวางแผน โครงสร้างของเงินทนุ การเพิ่มทนุ การบริหารความเสยี่ ง การบรหิ ารสินเชือ่ และการตดั สนิ ใจเก่ียวกับการลงทุน ในสินทรพั ย์ เป็นต้น

บทบาทและหน้าทขี่ องการบริหารการเงนิ 19 ผจู้ ดั การทางการบญั ชี (Controller) หน้าท่แี ละความรับผิดชอบหลกั คือดูแลระบบบัญชี ให้เปน็ ไปตาม ขอ้ บงั คับและกฎหมายต่าง ดูแลแผนกบัญชีต้นทุน แผนกจัดทำรายงานทางการเงิน แผนกภาษีท้ังหมด โดยจะ ดูแลควบคมุ รายการบัญชตี า่ ง ๆ เช่น บัญชีตน้ ทนุ บญั ชเี งนิ สด รายงานทางการเงนิ ตลอดจนงานดา้ นภาษที ุก ชนดิ ในธรุ กิจ รูปแบบของธรุ กจิ (Form of Business Organization) การดำเนินธรุ กจิ ในปัจจบุ ัน ผู้บริหารทางการเงินตอ้ งร้จู ักรูปแบบของธุรกิจในปจั จุบนั ก่อน รูปแบบของ ธุรกิจทสี่ ำคญั ตามประมวลกฎหมายเพง่ และพาณชิ ยแ์ บง่ ออกเป็น 3 ประเภท (ข้อมลู www.dbd.go.th กรม พัฒนาธรุ กจิ การค้า กระทรวงพาณิชย์) ดังนี้1. ธุรกิจเจา้ ของคนเดยี ว (Sole proprietorship) 2. ห้างหนุ้ ส่วน (Partnership) 3. บรษิ ทั จำกัด (Corporation) 1. ธรุ กิจเจา้ ของคนเดยี ว ธุรกจิ เจ้าของคนเดียวเปน็ ธุรกจิ ท่ีมีผ้ลู งทนุ เพียงคนเดียว ดำเนินธุรกิจท้ังหมด เจ้าของจะเปน็ ผู้ตัดสินใจ และกำหนดทิศทางของธุรกิจด้วยตัวคนเดียว ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียวมา ก่อน ดังนั้นธุรกิจผลกำไรหรือขาดทุนเจ้าของจึงผลดังกล่าวเพียงคนเดียว ทั่วไปการประกอบธุรกิจมักจะนำ ทรัพย์สินหรือเงินทุนส่วนตัวมาลงทุน จึงมีทุนจำกัดและมีขอบเขตการดำเนนิ ธุรกิจจำกัด หากธุรกิจเกิดการกอ่ หนี้สินขึ้น ผู้เป็นเจ้าของต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดเพียงคนเดียว ลักษณะธุรกิจจึงเหมาะสมกับธุรกิจท่ี สามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนเล็กน้อย บริหารงานอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มักอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เป็นหลัก เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ลักษณะของธุรกิจจึงเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เช่น ร้านขายอาหารเล็ก ๆ ร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ ร้านขายปลีก บริการต่าง ๆ ออนไลน์ การเป็นที่ปรึกษาออนไลน์ เป็นต้น ในปัจจุบัน ธุรกิจ การเติบโตด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการขายของออนไลน์ กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตและช่องทางการจัดจำหน่ายเอื้ออำนวย อีกทั้งยังไม่ต้องใช้พื้นที่หรือทำเลในทำ ธรุ กจิ มากนักและเจ้าของธุรกจิ ในลักษณะนี้มกั เป็นกจิ การเจา้ ของคนเดยี ว ข้อดีของกิจการเจา้ ของคนเดยี ว 1. เจา้ ของธรุ กิจได้ผลกำไรเพียงผ้เู ดียว ไมต่ อ้ งแบ่งผลกำไรใหก้ บั ใคร 2. จา่ ยภาษเี งนิ ได้บคุ คลธรรมดาเทา่ นั้นและไม่เสียภาษซี ้ำซ้อน 3. สามารถเรม่ิ ต้นธุรกิจไดด้ ้วยทนุ เพยี งเล็กน้อย 4. ต้นทนุ ขององคก์ รต่ำ ทำให้สามารถจดั ตงั้ ไดง้ ่าย 5. ขอ้ จำกดั ทางกฎหมายมนี อ้ ย 6. การเลกิ กิจการทำไดง้ ่ายเชน่ กนั ไม่จำเปน็ ตอ้ งแจง้ ยกเลกิ กจิ การ 7. มีอิสระในการดำเนินงานเต็มที่ การตัดสินใจต่าง ๆ จะทำโดยเจ้าของเพียงคนเดียวทำให้คลอ่ งตัว และสะดวกในการดำเนินงาน 8. เกบ็ รกั ษาความลบั ไดด้ ี เพราะธรุ กจิ ไม่จำเป็นตอ้ งเปิดเผยข้อมูลตามทกี่ ฎหมายระบุไว้

20 การเงินธุรกิจ ขอ้ เสยี ของกจิ การเจ้าของคนเดียว 1. ข้อจำกัดในการเพิ่มทุนและขยายกิจการ การกู้ยืมเงินจากผู้อื่นหรือจากสถาบันทางการเงินมา ขยายกิจการคอ่ นข้างทำไดย้ ากเพราะธรุ กิจของคนเดยี วมภี าพลักษณ์ของความไมม่ ั่นคงสงู 2. ต้องรบั ผดิ ในหนสี้ ินไมจ่ ำกัดจำนวน เพราะถือว่าเจ้าของกบั ธรุ กิจเปน็ บุคคลเดียวกัน 3. อายุการดำเนินงานของกิจการมีจำกัด ถ้าเจ้าของตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถธุรกิจก็จะ ส้นิ สุดลงดว้ ย 4. เจา้ ของจะตอ้ งเก่ง,ชำนาญและตอ้ งรู้ทุกอย่างในธุรกจิ ของตนซ่ึงเปน็ ไปได้ยาก 2. หา้ งหุ้นส่วน หา้ งหุ้นสว่ นประกอบด้วยบุคคลตงั้ แต่ 2 คนเปน็ ขึ้นไปตกลงเข้ารว่ มลงทุน เพ่ือประกอบธุรกจิ โดยมี วตั ถปุ ระสงค์จะแบ่งกำไรขาดทนุ ท่ีได้จากการดำเนินธุรกิจ ผเู้ ป็นห้นุ สว่ นจะบริหารงานและรบั ผดิ ชอบหนสี้ ิน ของห้างร่วมกัน เมื่อเป็นหนุ้ ส่วนคนหนง่ึ คนใดตายหรือถอนตวั ออกจากการเปน็ หนุ้ ส่วน ห้างหุ้นสว่ นน้นั จะตอ้ ง ยกเลกิ ยกเว้นแตจ่ ะตกลงไวเ้ ปน็ เง่ือนไขอนื่ ตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์( www.dbd.go.th) หา้ ง หุน้ ส่วนแบง่ เป็น 2 ประเภท คอื 2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary partnership) เป็นห้างหุ้นส่วนประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเข้าร่วมลงทุน เพื่อประกอบธุรกิจโดยไม่ จำกัดจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะมีอำนาจในการจัดการห้างร่วมกัน จะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือไม่ก็ได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญแบบที่ไม่ได้จดทะเบยี น จะถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญจด ทะเบยี น หรอื ห้างหุ้นส่วนสามญั นิติบคุ คลจะถอื วา่ เป็นนติ บิ ุคคล 2.2 หา้ งหุน้ ส่วนจำกดั (Limited partnership) หา้ งหนุ้ ส่วนจำกัดประกอบดว้ ย ผู้รว่ มลงทุน 2 ประเภท คอื ประเภททจ่ี ำกดั ความรบั ผิดชอบในหน้ีสนิ ของหา้ งกบั ประเภทที่ไม่จำกัดความรบั ผิดชอบในหน้ีสินของห้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง หุ้นส่วนท่ีรับผิดชอบจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินท่ี ตนได้ลงทุนและไม่มีสิทธิ์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินกิจการของห้าง ได้แก่ ผู้เป็น หนุ้ ส่วนคนเดยี วหรือหลายคน ซงึ่ รับผดิ จำกดั เพียงจำนวนเงนิ ทต่ี นรบั วา่ จะลงทุนในห้างหนุ้ ส่วนเท่านัน้ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรบั ผดิ หมายถึง เป็นหุ้นส่วนที่ ถ้าหากห้างหุ้นส่วนเกดิ มีหนี้สินท่ีเกิดขึ้นจากการ ประกอบกิจการ หุ้นส่วนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดก่อน โดยหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และเป็นหุน้ สว่ น ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องมีหุ้นส่วนประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างอย่างหนึ่งคน หุน้ ส่วนท่ีจำกดั ความรับผดิ ชอบในหน้สี นิ จะไม่มีสิทธิ์เขา้ ไปบริหารงานของหุ้นส่วน หา้ งหุ้นส่วนจำกัดจะเป็นนิติ บคุ คลเสมอ ขอ้ ดีของห้างหุน้ ส่วน 1. มคี วามสามารถในการลงทนุ ในธุรกจิ มากกวา่ ธรุ กจิ เจ้าของคนเดยี ว 2. ผลประโยชน์ด้านภาษี

บทบาทและหน้าที่ของการบรหิ ารการเงิน 21 3. มอี ำนาจในการระดมทนุ และการก้ยู ืมมากขน้ึ 4. จดั ตัง้ ได้ง่ายสามารถเลือกจดทะเบยี นหรือไม่จดทะเบยี นก็ได้ 5. ธุรกิจมีแนวโนม้ สามารถดึงดดู พนักงานดีไวไ้ ด้ เพราะมคี วามน่าเช่ือถอื มากขนึ้ 6. สามารถระดมความรู้ จากหลายฝ่ายมาช่วยบรหิ ารได้ ขอ้ เสียของหา้ งหุน้ สว่ น 1. อายกุ ารดำเนินงานของกจิ การมีจำกัด ถา้ เจา้ ของตายหรอื หุน้ สว่ นตายกจิ การก็จะสนิ้ สดุ ลงด้วย 2. การโอนความเป็นห้นุ ส่วนกิจการทำไดย้ าก 3. ถอนทุนคืนออกไดย้ าก 4. หุ้นสว่ นสามารถก่อหนี้ไดไ้ ม่จำกัด 5. การไมจ่ ำกดั การรับผิดชอบหนส้ี ินของหนุ้ ส่วน ทำให้ธุรกจิ ไมก่ ล้าเส่ียงลงทนุ ได้ 3. บริษทั บรษิ ทั เป็นกจิ การทีม่ วี ธิ กี ารระดมเงนิ ทุนโดยการแบง่ ทนุ เป็นหุ้น มลู ค่าของหุ้น ๆ และเทา่ กัน จำนวน หุ้นจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของบริษัท ได้รับความนิยมมาก ทส่ี ุด เน่อื งจากสามารถจดั หาหรือระดมเงินทุนได้ง่าย นอกจากนี้บรษิ ทั สามารถแบง่ ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ก. บริษัทจำกดั (Limited company) จะมีวิธีการระดมเงนิ ทุนเป็นมูลคา่ ของหุ้น หุน้ ละเทา่ ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นไม่ถึงร้อยคนรวมทั้งนิติบุคคล (ถ้ามี) มูลค่าของหุ้นจะไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท ซึ่งจะระบุไว้ใน การจดทะเบียนว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนท้ังหมดกี่หุ้น หุ้นละเท่าใด มูลค่าหุ้นทีร่ ะบุไว้ จะเรียกว่าราคาท่ตี รา ไว้ หรือ Par value ซึ่งเป็นมูลค่าที่ตายตัวไม่ขึ้นลงตามราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาด (Market value) ผู้ ถือหุ้นจะรับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัท จำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ นอกจากนี้จะมีการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบของบริษัท จำกัด จะมีขั้นตอนหรือหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกิจการ ดังน้ี - ต้องมีผู้ริเริ่มก่อการ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อร่วมกันจัดนำหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วนำไป จด ทะเบียน กรณีที่บริษัท มีสำนักงานใหญต่ ั้งอยู่ในกรุงเทพฯ จะจดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพฒั นาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณชิ ย์ แตถ่ ้าตง้ั อยู่ตา่ งจังหวดั จะต้องขอจดทะเบียน ณ สำนกั งานพาณิชย์ จังหวดั น้ัน - ผู้เร่มิ กอ่ การจะประกาศให้ผู้สนใจมาลงช่อื จองห้นุ ของบริษัทจนครบ - เมื่อมีผู้เข้าซือ้ หุ้นครบแล้ว ผู้ก่อการต้องนดั วันเรียกผูเ้ ขา้ ซ่ือซ้ือหุ้นมาประชุมจัดตัง้ บริษัทโดยจะแจ้ง ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจะต้องแจ้งระเบียบวาระการประชมุ และหนังสอื นัดประชมุ - ในการประชมุ จดั ตั้งบริษัท จะทำการเลือกตง้ั คณะกรรมการอำนวยการ (Board of directors) ของ บรษิ ัทชดุ แรก ผกู้ อ่ การก็จะทำการส่งมอบงานตา่ ง ๆ ให้แก่คณะกรรมการฯ เพือ่ ปฏิบัตกิ ารตอ่ ไป

22 การเงนิ ธรุ กิจ - คณะกรรมการฯ จะเรยี กใหผ้ ู้เขา้ ชื่อจองหุ้นมาแลว้ ชำระเงินค่าหุ้นคร้ังแรกไมต่ ำ่ กวา่ 25% ของมูลค่า หนุ้ ท่จี องไว้ (ทนุ ของบริษัทจะแบง่ เป็นกหี่ ุ้นก็ได้แต่ต้องมมี ูลค่าไม่ต่ำกวา่ หุ้นละ 5 บาท - หลังจากประชุมเสร็จสิ้น คณะกรรมการฯ จะต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ภายใน 3 เดือน หลังจากวนั ประชุม - คณะกรรมการฯ จะทำการแตง่ ตงั้ เจา้ หน้าท่บี รหิ าร มาช่วยในการปฏบิ ตั ิงาน ข้อดีของบริษัทจำกดั ด้านการเงนิ และทนุ 1. มีความสามารถในการลงทุนในธุรกจิ มากกว่าธรุ กจิ เจา้ ของคนเดยี ว 2. สามารถขยายกิจการใหม้ ขี นาดใหญโ่ ตได้ 3. มอี ำนาจในการระดมทนุ และการกู้ยมื มากข้ึน 4. ผู้ถือหุ้นรับผิดในหน้ีสินจำกัด ผู้ถือหุ้นจะรับผิดในหนี้สินของบริษัทจำกัดเฉพาะส่วนของหุ้นท่ตี น ค้างจ่ายอยูเ่ ทา่ นน้ั หนส้ี นิ ใด ๆ ของบรษิ ทั จำกดั ผู้ถอื หุ้นไม่ตอ้ งรับผดิ ชอบด้วย 5. มีความสามารถในการจ้างผู้เช่ยี วชาญมาทำงานได้ 6. ผถู้ อื หนุ้ สามารถขายหรอื โอนหุน้ ใหก้ บั ผ้อู นื่ ได้ 7. อายุของบริษัทจำกดั ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุของผูถ้ ือหุ้นบริษัทไมจ่ ำเปน็ ต้องเลิกลม้ กิจการ ดังเช่นการ ธรุ กจิ ประเภท เจา้ ของคนเดยี วและห้างห้นุ สว่ น ข้อเสียของบรษิ ัทจำกดั 1. เสียภาษซี ้ำซอ้ น เพราะบริษทั ตอ้ งเสียภาษจี ากกำไรสุทธขิ องบรษิ ัทและกำไรท่นี ำมาจ่ายเงนิ ปนั ผล กถ็ กู คดิ ภาษอี กี เชน่ กัน 2. ค่าใช้จา่ ยในการบรหิ ารสูง และมคี ่าใช้จ่ายในการจดั ทำรายงานทำการเงนิ ตอ้ งมีผ้สู อบบัญชที ่ไี ดร้ ับ อนญุ าต 3. ขัน้ ตอนจัดตง้ั ย่งุ ยากและมีหน่วยงานรฐั เขา้ มาตรวจสอบอยา่ งเข้มงวด 4. การรักษาความลบั ทางธุรกิจเปน็ ไปไดย้ าก ต้องเปดิ เผยข้อมูลประจำปใี ห้สาธารณชนทราบ ขน้ั ตอนในการจดทะเบียนจัดตงั้ บริษทั จำกัด

บทบาทและหน้าทีข่ องการบรหิ ารการเงิน 23 ภาพท่ี 1-6 ขน้ั ตอนการจดทะเบยี นบริษัท ข. บริษัทมหาชนจำกัด (Public limited company) คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความ ประสงคท์ จี่ ะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถอื หุ้นมคี วามรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงนิ ค่าหุ้นที่ต้องชำระและ บริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ จากเดิมที่บริษัทจำกัดมีความสามารถใน การประกอบธรุ กิจได้สูงข้ึน สง่ ผลให้บริษัทจำกัดต้องการเงนิ ทนุ หมนุ เวียนในการผลิตและการบริหารงานสูงข้ึน ตามลำดับ อีกทั้งผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) ได้กำหนด เป้าหมายอย่างชัดเจนในการระดมเงินทุนจากเอกชนให้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงบทบัญญัติของ กฎหมายในการให้ความคุ้มครองประชาชนรายย่อยในการถือหุ้นของบริษัท จึงได้มีการร่างพระราชบัญญัติ

24 การเงนิ ธรุ กจิ บริษัทจำกัดมหาชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 รวม 9 ปี ต่อมาได้ยกเลิกฉบบั ดังกล่าว ไปและยกร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้นมีชื่อว่า \"พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535” โดยมี คณะกรรมการตลาดหลกั ทรัพย์คอยกำกับดแู ล โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้ว ย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company) เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน นอกจากนี้ บรษิ ัทมหาชนจำกัดยงั มีลกั ษณะท่สี ำคัญพอสรุปได้ดังน้ี คือ - ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป เข้าชื่อร่วมกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว นำหนังสือ บริคณห์สนธิไปจดทะเบียน และมีกรรมการขั้นต่ำ 5 คนและกรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งจะต้องมีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศไทย - ไม่ไดก้ ำหนดจำนวนเงินของทนุ จดทะเบียน เป็นเท่าไรกไ็ ด้ - ผู้เริ่มก่อการจะต้องนำหุ้นของบริษัทออกเสนอขายให้ประชาชน โดยการออกหนังสือขี้ชวนเมื่อมี ผู้ จองหุน้ ครบหมดแล้ว ผ้เู ร่มิ ก่อการจะเรยี กประชมุ จดั ตัง้ บรษิ ัทและเลือกคณะกรรมการชดุ แรก - เมือ่ การประชุมเสร็จสิ้น ผู้เรมิ่ ก่อการจะมอบหมายการปฏิบตั ิงานทงั้ ปวงใหแ้ ก่คณะกรรมการชุดแรก ภายใน 7 วนั นับจากวนั ประชมุ ตัง้ บริษัท - คณะกรรมการชุดแรกจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้จองหุ้นมาชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนภายในกำหนด ณ ธนาคารที่ระบุไว้ในหนงั สือแจ้งภายใน 3 เดือน นับจากวันประชุมตัง้ บริษัท แล้วได้รับชำระค่าหุ้นครบถว้ นแลว้ คณะกรรมการชุดแรกจะดำเนนิ การจดทะเบียนเป็น บริษทั มหาชนจำกัด จะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญในการจัดตั้งบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้เริ่มก่อ การจะตอ้ งรว่ มกันจดั ทำหนังสอื บรคิ ณหส์ นธิ โดยมีขอ้ ความที่สำคัญดังต่อไปนี้ - ชื่อของบริษัท ต้องมคี ำวา่ “บรษิ ทั ” นำหน้า และ “จำกดั (มหาชน)” ตอ่ ทา้ ย หรอื จะใชอ้ ักษรย่อ ว่า “บมจ.” นำหน้า แทนคำว่า “บริษัท” และ “จำกัด (มหาชน)” ก็ได้ แต่ในกรณีที่ใช้ชื่อเป็นอักษร ภาษาต่างประเทศ จะใช้คำซึ่งมีความหมายว่าเปน็ “บริษัทมหาชนจำกัด” ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแทนก็ ได้ เช่น บริษัท สหยนต์ จำกดั (มหาชน) ซ่ึงตอ้ งระบชุ ่ือท้ังภาษาไทยและภาษาองั กฤษ - ที่ต้ังสำนักงาน ต้องแสดง ท่ตี งั้ สำนักงานและเลขทะเบยี นบรษิ ัทไวใ้ นจดหมายประกาศ ใบแจง้ ความ ใบสง่ ของและใบเสร็จรับเงนิ - แสดงชอื่ บริษัทไวใ้ นดวงตรา (ถา้ มี) - จดั ให้มีปา้ ยช่อื บริษัทไวห้ น้าสำนกั งานใหญ่และสำนกั งานสาขา (ถา้ มี) และดำเนินการมิให้มีป้าย ชอ่ื ดังกล่าวในกรณีท่ีไม่ใชส้ ถานทนี่ ้ันเป็นสำนักงานหรือสำนักงานสาขาหรือในกรณีที่จดทะเบียนเลิกบริษัทหรือ สาขาบริษัทแลว้ - วัตถุประสงค์ในการประกอบกจิ การของบรษิ ัท - ระบคุ วามรบั ผิดชอบของผู้ถอื หนุ้ ของบริษัท

บทบาทและหน้าท่ีของการบริหารการเงิน 25 - มลู คา่ ทุนจดทะเบียน โดยแบง่ ออกเป็นกห่ี ้นุ มูลคา่ หนุ้ ละเท่าไร - รายชื่อผู้ร่วมก่อการทั้งหมด พร้อมข้อมูลประวัติ (สัญชาติ อายุ ที่อยู่ อาชีพ และลงลายมือชื่อของผู้ รว่ มก่อการ) ข้อดขี องบรษิ ัทมหาชนจำกดั 1. บริษัทมหาชนจำกัดมีสิทธิเสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้ ทำให้บริษัทมหาชนจำกัด สามารถระดม เงินทุนเพื่อนำมาใช้ในธุรกิจตนเองได้เป็นจำนวนมาก เหมาะสำหรับการลงทุนที่ต้องใช้เม็ดเงิน จำนวนมหาศาล 2. หากต้องการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ หุ้นใหม่นี้จะเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิม หรือจะเสนอขาย ต่อประชาชนก็ได้ แล้วแต่จะลงมติกัน ซึ่งต่างกับบริษัทจำกัด ซึ่งต้องเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ก่อน ถ้าผูถ้ อื หนุ้ เดิมไมย่ อมรบั ซอ้ื กรรมการตอ้ งรบั ซ้ือไวเ้ อง 3. สำหรับประชาชนทว่ั ไปหากมเี งนิ ลงทุนเพยี งเลก็ นอ้ ยก็สามารถซ้ือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกดั ได้ 4. สามารถขยายกจิ การใหม้ ขี นาดใหญ่โตดว้ ยจำนวนเงนิ มหาศาลไดง้ า่ ย 5. มอี ำนาจในการระดมทุนและการกูย้ มื ได้สงู ท่สี ุด 6. การโอนหุ้นส่วนของบรษิ ทั มหาชนจำกดั ทำได้งา่ ยกว่าบริษทั จำกัด การโอนหุ้นชนดิ ระบุชอ่ื ลงใน ใบหุ้นของบริษัทจำกัดทั่วไปนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ส่วน การโอนหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด ย่อมสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้น โดยระบุชื่อผู้รับโอน และลงลายมอื ชอ่ื ของผโู้ อนและผรู้ บั โอน และสง่ ใบห้นุ น้ันให้แก่ผู้รับโอน ขอ้ เสยี ของบรษิ ทั มหาชนจำกัด 1. บริษัทมหาชนจำกัด เจ้าของมักอยากจัดหาเงินทุนเพิ่มจากหนี้สิน เพราะการคิดจัดตั้งบริษัท อยากจะเป็นเจา้ ของบรษิ ัท โดยตนเองหรอื เครือญาตมิ อี ำนาจในการบริหารกจิ การของบรษิ ัท ถ้า ให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยมามสี ่วนในการบริหารกิจการของบริษัทแลว้ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีทนุ รอนมาก มกั จะไม่พอใจ 2. มคี ่าใชจ้ ่ายในการรายงานทางการเงินสงู 3. เสียภาษีซ้ำซ้อน คือต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัท อีกทั้งกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผล ให้แก่ผถู้ อื หุน้ บรษิ ัทกต็ ้องเสียภาษีอกี ครง้ั หนง่ึ 4. บริษัทมหาชนจำกดั นัน้ มีกฎหมายควบคมุ เข้มงวดมากกวา่ บริษทั จำกดั มาก ทำให้ยากและใช้ เวลานานในการจดั ตง้ั ธุรกิจ 5. จะตอ้ งปฏิบตั ภิ ายใตข้ อ้ บงั คับตามกฎหมายเพราะเป็นธุรกจิ ท่ีเกิดจากเงนิ ลงทนุ จากคนจำนวนมาก ดงั นนั้ ทางการจึงตอ้ งเข้ามากำกับดูแลรกั ษาผลประโยชน์ของผลู้ งทนุ รายยอ่ ยเพื่อไม่ก่อให้เกิดการ ไดเ้ ปรยี บเสยี เปรยี บกันระหวา่ งผูล้ งทุน 6. การรักษาความลบั ทางธรุ กิจเปน็ ไปได้ยาก ต้องเปิดเผยข้อมลู ประจำปใี ห้สาธารณชนทราบ

26 การเงินธุรกิจ กลา่ วโดยสรุป จากความหมายของประเภทธุรกิจทุกประเภท ไมส่ ามารถสรุปไดว้ ่าประเภทธุรกิจดีกว่า อีกประเภท ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารทางการเงินว่าจะเลือกจัดตั้งธุรกิจประเภทใดที่เหมาะสมกับลักษณะของ ธุรกจิ ของตนเองมากที่สดุ หากตอ้ งการความมน่ั คง ความน่าเชือ่ ถอื และการประหยัดภาษีก็ควรเลือกรูปแบบจด ทะเบียนนิติบุคคล แต่หากยังไม่แน่ใจในการเติบโตของธุรกิจตนและไม่ต้องการมีภาระด้านการจัดทำรายงาน ทางการเงินกค็ วรเลอื ก ประเภทธรุ กจิ ทไี่ มต่ อ้ งจดทะเบยี น อาทเิ ช่น เจา้ ของคนเดียวหรือหา้ งหุ้นส่วนสามัญ ภาษอี ากร (Taxation) รูปแบบของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกดั ทตี่ ้งั ตามกฎหมาย จะตอ้ งเสยี ภาษอี ากรให้แก่รัฐบาล ความหมายของภาษอี ากร ภาษีอากร (Tax) มาจากภาษาละตนิ จากคำว่า taxo หมายถงึ “ขา้ ประเมิน” ซึง่ หมายถึง เงนิ หรือสิ่งที่ มีค่าแทนเงินที่รัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ประชาชน หน่วยธุรกิจภาคเอกชนและผู้มี หน้าทีเ่ สยี ภาษอี ืน่ ๆ ตามทกี่ ฎหมายระบุไว้ ภาษีประกอบดว้ ยภาษที างตรงและภาษีทางอ้อม ดังนั้นจะกล่าวถึง ภาษที เ่ี กี่ยวขอ้ งกับรูปแบบธุรกิจแตล่ ะประเภททธ่ี ุรกิจตอ้ งเสียใหก้ บั กรมสรรพากร ภาษเี งนิ ได้บคุ คลธรรมดา ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ธุรกิจเจ้าของคนเดียวและห้างหุ้นส่วนสามัญ โดย คำนวณภาษีจากเงนิ ได้พึงประเมนิ ตามประมวลรัษฎากร อตั ราภาษจี ะเป็นอัตราก้าวหนา้ ภาษีเงินไดน้ ติ ิบคุ คล ภาษีเงนิ ได้นติ ิบุคคล เป็นภาษเี งนิ ไดท้ รี่ ฐั บาลเก็บจากผเู้ สียท่ีมฐี านะเป็นนิติบคุ คล ซึง่ จดทะเบียนจัดต้ัง กิจการหรือมีรายได้จากการประกอบกิจการในประเทศ ธุรกจิ ทต่ี อ้ งเสียภาษีเงินไดน้ ติ บิ ุคคล ไดแ้ ก่ ห้างหุ้นส่วน จำกดั บริษัทจำกดั บรษิ ัทมหาชนจำกดั ผมู้ ีหน้าท่ีเสียภาษี ผู้มหี น้าท่เี สยี ภาษีเงินได้นติ ิบคุ คล ได้แก่ □ บริษัทหรอื หา้ งห้นุ ส่วนนติ บิ ุคคลท่ตี ัง้ ขึน้ ตามกฎหมาย □ กิจการทีด่ ำเนนิ การทางการค้าหรอื หากำไรในประเทศไทย โดยรัฐบาลต่างประเทศหรือองคก์ ารของ รฐั บาลตา่ งประเทศ □ กิจการร่วมคา้ ทีด่ ำเนินการในประเทศไทย □ มูลนธิ ิหรือสมาคมซ่งึ มรี ายได้ ภาษเี งนิ ได้ ไดม้ กี ารเปลี่ยนแปลงแก้ไขอัตราภาษเี งินไดส้ ำหรับนิตบิ ุคคลใหม่บางกรณี ตามพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบบั ท่ี 530) พ.ศ.2554 สรุปได้ดังน้ี (สามารถศกึ ษาเพ่มิ เติมได้ที่ www.rd.go.th)

บทบาทและหนา้ ทีข่ องการบริหารการเงนิ 27 ตารางท่ี 1-2 แสดงการเสยี ภาษีของธุรกิจแต่ละประเภท ประเภท กำไรสทุ ธิ อตั ราภาษีเงินได้นติ ิบคุ คล ปี 2561-2564 บัญชี บญั ชี บัญชี บัญชี 1.กรณนี ติ ิ ทง้ั หมดจำนวน ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 บคุ คลทวั่ ไป 20% 20% 20% 20% 0-300,000 บาท ยกเวน้ ยกเวน้ ยกเวน้ ยกเว้น 2.SMEs ทวั่ ไป 0-300,000 บาท 15% 15% 15% 15% (มีทนุ ชำระ 300,001- แล้วไม่เกิน 5 3,000,000 บาท 20% 20% 20% 20% ล้านบาท) > 3,000,001 20% 20% 20% 20% บาท 3.จดทะเบยี น ทัง้ จำนวน ในตลาด หลักทรพั ย์ ตารางที่ 1-3 แสดงการสรุปการเสียภาษีของธรุ กิจแตล่ ะประเภท ประเภทธรุ กิจ ภาษีเงนิ ได้บุคคลธรรมดา ภาษเี งินไดน้ ติ บิ ุคคล ธุรกจิ เจ้าของคนเดียว √ ห้างห้นุ สว่ นสามัญ √ √ หา้ งหนุ้ สว่ นจำกดั √ √ บรษิ ทั จำกดั บรษิ ทั มหาชนจำกัด

28 การเงนิ ธุรกิจ สาเหตุสำคัญที่ผู้บริหารทางการเงินต้องให้ความกับการภาษีอากร ความสำคัญประการแรกคือ การ วางแผนการเสียภาษี คือกระบวนการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่จะส่งผลกระทบต่อ รายการทางการเงิน (Financial Transaction) ในอนาคต ซึ่งได้แก่ รายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ท้ายสุดส่งผลกระทบต่อผล กำไรหรือขาดทุนของธุรกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประการถัดมาคือ ภาษีคือภาระ ผูกพนั หรอื ปัญหาดา้ นรายจ่ายของทุกประเภทธรุ กิจ เป็นภาระผูกพนั ที่ไม่อาจเลื่อนและหลีกหนีได้ เพื่อป้องกัน การเกิดปัญหาด้านภาษี ทุกธุรกิจจึงต้องการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามหลกั เกณฑ์ วิธกี าร และเงอ่ื นไขทก่ี ฎหมายภาษอี ากรกำหนดไว้ จรยิ ธรรมทางธรุ กิจ (Business ethics) หน้าที่ของผู้บริหารทางการเงินแล้วนอกจากต้องบริหารธุรกิจและองค์กรให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ แล้ว ยังต้องคำนึงความคุณธรรม ความถูกต้องและจริยธรรมทางธุรกิจ คำว่า จริยธรรม หมายถึง หลักธรรมท่ี เป็นขอ้ ประพฤติปฏิบตั ิในหมูค่ ณะ, ศีลธรรม, กฎศลี ธรรม เมอ่ื นำมาประยุกต์ใช้กบั ธุรกิจ จึงเรยี กว่า “จริยธรรม ทางธุรกิจ” (Business ethics) หมายถึงคุณความดี ความยุติธรรมและความถูกต้อง ที่เป็นข้อพึงปฏิบัติ สำหรับการประกอบธุรกจิ ปัจจุบนั มีความหมายที่แคบลงและได้สอดคล้องกับเป้าหมายของการประกอบธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน คือ แม้ว่าธุรกิจต้องสร้างมูลค่าสูงสุดหรือต้องการกำไรสูงที่สุดก็ตาม การกระทำดังกล่าวต้องมี ปัจจัยและคำถามทางจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เช่น ปัญหาค่าแรงงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้าน คุณภาพสินค้า ทำให้ธุรกิจในยุคปัจจุบนั ต้องประเมินและตัดสินใจเพือ่ พิจารณาต้นทนุ และค่าใชจ้ ่ายเพ่ือเทยี บ กับผลกระทบทางด้านจรยิ ธรรมทางธุรกจิ หรือกล่าวได้ว่าธรุ กิจจะต้องคำนึงถงึ ปัจจัยแวดล้อมอื่นนอกจากการ แสวงหากำไรและรับผดิ ชอบต่อผลสะเทือน (impact) ที่เกิดมาจากการตัดสินใจนั้น จริยธรรมทางธรุ กิจจึงเป็น การนำเรื่องของคุณค่า ความเหมาะสมและความถูกต้อง เข้าไปพิจารณาร่วมกับการตัดสินใจทางธุรกิจที่เน้น การแสวงหากำไร (Kurian, 2011: 521-524) ปัจจุบันองค์การธุรกิจต้องบริหารงานโดยคำนึงถึงจริยธรรมมา เป็นลำดบั แรก โดยธุรกจิ ต้องมคี วามผดิ ชอบตอ่ ลูกคา้ พนักงาน สิ่งแวดลอ้ มและสังคมเปน็ ต้น ในความหมายสำหรับผู้ปฏบิ ัตงิ านทางการเงนิ ผู้ปฏิบตั งิ านการเงินกับจริยธรรมทางธรุ กิจเป็นเร่ืองของ การเตือนสตใิ นการประกอบอาชีพของตนวา่ สิ่งใดพึงกระทำสิง่ ใดพึงละเว้น จรรยาบรรณทน่ี กั การเงินท่ีควรปฏิบัตมิ ดี ังนี้ 1. มีความซื่อสัตย์สุจริตและกระทำการตามหลักของคุณธรรมและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในวิชาชีพ ของตนเอง พึงระลึกถึงสิ่งใดทีส่ ามารถปฏิบัติได้และสิ่งใดที่ควรละเว้นการปฏิบัติ นำความซื่อสัตย์เพื่อ สามารถทำงานรว่ มกบั ผ้อู ่นื เพ่อื สร้างมาตรฐานในการทำงานตามวิชาชพี ของตนเองได้อย่างมืออาชีพ 2. ควรทำงานด้วยตนเอง พยายามสร้างแนวคิดของตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดการต่อ ยอดของระบบงาน นำไปสู่ความชำนาญเฉพาะด้านของตน ก่อให้เกิดการพัฒนางาน แม้ว่าโลกธุรกิจ หมุนเปล่ยี นไปอย่างรวดเรว็ แตค่ วามเชีย่ วชาญเฉพาะด้านยังจำเปน็ เสมอ

บทบาทและหน้าท่ขี องการบริหารการเงนิ 29 3. ทำงานบนขอ้ มูลท่ีเพยี งพอและมหี ลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้ อย่บู นพน้ื ฐานข้อมูลความจริงและข้อมูล มีความทันสมัย เพราะหากข้อมูลล้าหลังอาจส่งผลต่อการผิดกฎระเบียบได้ การทำงานข้อมูลดังกล่าว เพื่อเป็นสนับสนุนนักวิเคราะห์คนอื่นให้ทำงานอย่างมืออาชีพ และถูกต้องตามหลักจริยธรรมซึ่งเป็น การเพม่ิ ความน่าเช่ือถอื ให้กบั งานของตนเองและวิชาชพี ของตน 4. นักวิเคราะห์ทางการเงินควรตัดสินใจและกระทำการใด ๆ อย่างรอบคอบและมีอิสระ มีความ ระมัดระวัง ยึดหลักเหตุและผล ถือความถูกต้องของข้อมูลมากกว่าการใช้อารมณ์ของตนเองตัดสินใจ และการกระทำสิ่งใดก็ตามตอ้ งปราศจากอคติ (Bias) 5. ควรปฏิบัติต่อลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานและไม่ควรเลือกปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ ทางการเงนิ ท่คี าดหวังว่าจะไดร้ ับ มุ่งมั่นใชค้ วามรคู้ วามสามารถกบั บุคคลให้ถูกวิธี การบริหารการเงินยคุ สมยั ใหม่ (Modern Financial Management) สิ่งที่เป็นความท้าทายของผูบ้ ริหารการเงินในยุคปัจจุบัน ก็คือ การบริหารธุรกิจบนโลกของเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ปรับเปลี่ยนแบบฉับพลัน แนวโน้มในปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน เข้ามา เกี่ยวข้องกับศาสตร์การบริหารธรุ กิจในอย่างมากทั้งในตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบทางตรงของเทคโนโลยี เหล่านี้ ถูกเรียกว่า Disruptive technology ซึ่งหมายถึง นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีแบบใหม่ที่ทำให้เกิดตลาด ใหม่และเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง (Disrupt) และ ฉับพลันต่อสภาพตลาดของผลิตภัณฑ์เดิม ซึ่งความรวดเร็วอาจจะเกิดขึน้ เพียงไม่กี่เดอื นข้างหน้า ทำให้ธุรกิจที่ ใชเ้ ทคโนโลยีแบบเดมิ ๆ ต้องเลกิ กิจการและหายออกไปจากท้องตลาดได้ในทันที ยกตัวอยา่ งเชน่ ธุรกจิ ส่ิงพิมพ์ หรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ ถูกแทนที่โดยสื่อดิจิตอลในโลกออนไลน์ เพราะผู้อ่านนิยมอ่านบทความทางออนไลน์ มากกว่าการซื้อส่ิงพิมพ์ ทำให้ส่ิงพิมพต์ ่าง ๆ ท่ผี ลติ โดยกระดาษ ตอ้ งยกเลกิ การจัดพิมพ์แต่เปลี่ยนมาใช้เป็นสื่อ บันเทิงแทนแบบ Online content แทน เพื่อให้สอดคล้องเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับวิถีชีวิต ของผู้คนที่เปลี่ยนไป โดยเทคโนโลยีเหล่านี้แตกต่างจากนวัตกรรมทั่วไปที่อาจจะเพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพ่ิมคุณภาพของสินคา้ หรือลดต้นทนุ การผลิต เมื่อ Disruptive technology เริ่มเข้าไปมีบทบาทในทกุ ภาคส่วนของวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านมติ ิ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงในแวดวงธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการเงิน ( Financial business) อาทิเช่น การธนาคาร การลงทุน ระบบการชำระเงิน ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน จึงทำให้มี การนิยาม เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง (Disrupt) ระบบการเงินแบบเก่า เรียกเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า Fintech ซึ่งเปน็ การผสมคำมาจาก Finance และ Technology หรือหมายรวมถงึ นวตั กรรมทางการเงนิ หรือ เทคโนโลยีทางการเงิน โดยคำว่า Fintech มักถูกนำมาใช้ในการเรียกเทคโนโลยีที่ทันสมัย และรวมถึงกลุ่ม บริษัท กลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่คิดค้นนวัตกรรมทางการเงิน ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นเพอ่ื

30 การเงินธุรกิจ การพัฒนาให้เกิดสินค้า บริการด้านการเงินและการลงทุนแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความสะดวก รวดเรว็ ปลอดภัย และมปี ระสทิ ธิภาพมากย่งิ ข้นึ โดยเราสามารถจำแนก Fintech ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Traditional fintech และ Emergent fintech โดย Traditional fintech เป็นธุรกิจเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่คอยอำนวยความสะดวกและสนับสนุน ด้านเทคโนโลยใี หแ้ ก่ภาคการเงินโดยท่ัวไป เช่น บริษัทผู้พัฒนาบริการหรอื ซอฟต์แวร์ Internet banking หรือ Mobile banking ให้แก่สถาบันการเงิน เป็นต้น ซึ่งก็คือเป็นบริษัทที่เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้แกธ่ รุ กจิ การเงิน อีกรูปแบบคือ Emergent fintech เป็นธุรกิจหรือกลุ่มผู้ประกอบการที่คิดค้นนวัตกรรมทางการเงิน ใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อลดบทบาทหรือการจัดตัวกลางทางการเงินแบบดั้งเดิม อาทิเช่น Paypal หรือ E- Payment เปน็ ต้น โดยปจั จบุ นั Emergent fintech เปน็ ธุรกิจท่เี ตบิ โตและน่าจับตามอง และจะกลายเป็นการ ทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า Startup ซึ่งมีความหมายว่า ธุรกิจแบบใหม่ที่เน้นการเกิด “ไอเดียใหม่” โดย นำเสนอความคิด ท่ีเกดิ จาการใชเ้ ทคโนโลยีเพ่ือแก้ปัญหาทางธุรกจิ โดยอาจจะไม่มเี งินทนุ เริ่มต้นเลย มเี พียงแต่ ความคิดอย่างเดียวเท่านั้นก็ได้ แล้วจึงค่อยพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นให้มาเป็นแกนหลักของธุรกิจก็ได้ (Core business) ภาพที่ 1-7 แสดงระบบนเิ วศของหนว่ ยงานและธรุ กิจท่ีอยูใ่ นระบบฟนิ เทคในประเทศไทย ทีม่ า https://pantip.com/topic/36494907 ประโยชนข์ อง Fintech มดี งั ตอ่ ไปนี้ 1. ช่วยอำนวยความสะดวก ด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน การโอนเงิน การชำระเงินระหว่างบัญชี ท้งั ต่อระบบการเงนิ ในประเทศ รวมถึงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ จากเดมิ การทำธรุ กรรมการเงนิ ต้อง กระทำด้วยตนเองเท่านั้น การมี Fintech เป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้เทคโนโลยี เป็นผู้ดำเนินการเองได้เองทั้งหมด ผ่าน Mobile technology ดังนั้นแนวโน้มการทำธุรกิจในปัจจุบันจะกลายเป็นสังคมที่ใช้เงินสดน้อยลง หรือ เรยี กวา่ Cashless society จงึ หมดปัญหาอันตรายจากการถอื เงนิ สดไวเ้ ปน็ จำนวนมาก ๆ ลดคา่ ใชจ้ า่ ยและการ

บทบาทและหน้าทีข่ องการบริหารการเงิน 31 จัดการด้านเงินสดลงแต่มีความปลอดภัย มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการถือเอกสารสำคัญ การยืนยันตัวตน ทำใหร้ ะบบการเงนิ งา่ ยและสะดวกอยา่ งมาก 2. ลดค่าใช้จ่าย และเวลา จากเดิมการทำธุรกรรมการเงินมักจะต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าโอนเงิน ค่าธรรมเนียม ด้วย Fintech นี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนเหล่านี้ถูกลงและจะหายไปในที่สุด รวมถึงการ ประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถรองรับการทำธุรกรรม การเงินได้ทันทีและไม่เสียค่าธรรมเนียม ยังช่วยเป็นช่องทางการชำระเงินให้กับหน่วยธุรกิจได้อีกช่องทางหน่ึง เช่นกัน เม่อื ไมม่ ีค่าใช้จ่ายทำใหล้ กู ค้าสนใจในสินค้าได้งา่ ยมากขึน้ 3. ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนให้เติบโต Fintech จะช่วยเป็นตัวส่งเสริมให้หน่วย ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีที่ถูกลงหรืออาจจะไม่จำเป็นต้องเสียเงิน ทำให้เกิดแรงกระตุ้น หรือสนับสนุนให้เกิ ด ธุรกรรมการค้า การลงทุน และนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้ เช่น การเกิด E-Marketplace ของหลายผู้ให้บริการด้าน Fintech เป็นการสร้างช่องทางการตลาดแห่งใหม่ และจดั ได้ว่ามีศกั ยภาพมากทสี่ ดุ ในยุคนี้ ส่งผลให้ธรุ กจิ หลายรายประสบความสำเร็จจากการทำตลาดท่ีช่องทาง น้ี ทดแทนการทำตลาดในรปู แบบด้งั เดมิ ดงั น้นั ผูบ้ รหิ ารธรุ กิจจงึ ควรตอ้ งใช้ประโยชนจ์ าก Fintech ให้มากทส่ี ดุ 4. ลดความสำคัญและบทบาทของตัวกลางทางการเงิน และสร้างอำนาจต่อรองให้กับผู้เข้าถึง เทคโนโลยี ซึ่งจะสามารถลดการผกู ขาดความสามารถทางการเงินลงได้ 5. แก้ปัญหาข้อมูลมากเกินไป หรือ Information Overload ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจมีเยอะ การบรโิ ภคข้อมลู เกนิ ขนาดทำใหส้ ุดท้ายแล้วไม่สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างทันถ่วงที การมี Fintech จะ ชว่ ยจัดสรรขอ้ มลู และกรองข้อมลู ทางธุรกิจได้รวดเรว็ และงา่ ยข้ึนชว่ ยให้ผบู้ ริหาร นกั การเงนิ รวมไปถึงนกั ลงทุน ใช้เป็นเคร่ืองมือในเชิงเปรียบเทียบท่ชี ว่ ยจัดการและกรองข้อมลู ที่มีอยู่อย่างมากมาย หรือให้ข้อมูลในรูปแบบท่ี เข้าใจง่าย ตรงกับความต้องการและเหมาะกับธุรกิจของตนเอง ส่งผลไปสู่การตัดสินใจบนหลักเหตุผล สอดคล้องกับความจรงิ ท่สี ุดจะสร้างการตดั สินใจทางธรุ กจิ ไดอ้ ย่างแม่นยำ 6. การใช้ Fintech จะเชื่อต่อกันเปน็ ระบบฐานข้อมูล Database หรือ Big Data โดยข้อมูลเหล่านี้ถูก เชื่อมโยงกันอยู่ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ของ Fintech ดังนั้นเป็นข้อได้เปรียบในการนำข้อมูลเหล่านั้น เพื่อมา ใช้วิเคราะห์ธุรกิจ ลูกค้า คู่แข่ง วิเคราะห์ SWOT สามารถทำให้มีหลักการในการตัดสินใจทางธุรกิจถูกต้อง แม่นยำมากกว่าแบบดั้งเดิมที่ข้อมูลจะกระจายและต้องอาศัยการรวบรวม ถ้าเป็นนักการเงิน สามารถได้รับ ข้อมลู ขา่ วสารทร่ี วดเร็ว ขอ้ มลู ท่ีประมวลผลแลว้ สามารถนำมาวเิ คราะห์การลงทุน หรือวางแผนทางการเงินใน อนาคตได้รวดเรว็ ถกู ต้องแมน่ ยำ 7. ส่งเสริมให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี นวตั กรรมและงานวิจัยทเี่ ก่ยี วขอ้ ง ตลอดจนกอ่ ให้เกดิ การสร้างงานทงั้ ด้านการเงินและด้านเทคโนโลยใี นอนาคต ข้นึ ใหม่ และส่งผลต่อธุรกจิ ที่เก่ียวเนอ่ื งกัน และนำไปส่ปู ระเทศท่ผี ลติ และส่งออกเทคโนโลยี

32 การเงนิ ธรุ กิจ สรปุ การบริหารการเงินมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและมีความ เจริญเติบโต หน้าที่ของผู้บริหารการเงิน ได้แก่ การวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน และการจัดสรร เงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ โดยมีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจแนวคิดใหม่ คือ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีความ มั่งคงั่ สูงสดุ (Maximized wealth) วัดไดจ้ ากราคาตลาดของหุ้นสามัญสงู สุด นอกจากนกี้ ารบริหารการเงินต้อง ทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด ซึ่งวัดจากมูลค่ารวมของราคาตลาดของหุ้นส่วนสามัญที่ธุรกิจนำออกไปจำหน่าย ปจั จัยท่ีกำหนดมลู คา่ ของธรุ กิจ คอื ความสามารถในการทำกำไรและความเสี่ยง เหตุผลท่ผี ู้บรหิ ารการเงินไม่ใช้ กำไรสูงสุดเป็นเป้าหมายในการบริหารการเงินเพราะมีข้อบกพร่องคือ ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลา ไม่ได้ คำนึงถึงความเสี่ยง การบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีที่มีหลายวิธี นโยบายการจัดหาเงินทุน และไม่ได้คำนึงถึง นโยบายเป็นเงินปันผล ส่วนโครงสร้างองค์กรทางการเงิน งานของฝ่ายการเงินจะแบ่งเป็นงานการเงินและงาน บัญชี ซึ่งผู้บริหารระดับสูงทางการเงินจะต้องดูแลและรับผิดชอบงานทั้ง 2 ด้านของธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจในรูปแบบของธุรกิจและการเสียภาษีแต่ละประเภท ปัจจุบัน ผู้บรหิ ารจะตอ้ งดำเนนิ งานดว้ ยความโปรง่ ใสมจี ริยธรรมทางธุรกจิ เพ่ือธุรกิจก้าวไปสู่เป้าหมายทต่ี ง้ั ไว้ เพราะการ ขาดจริยธรรมทางธุรกิจจะส่งผลกระทบ (Impact) อย่างรุนแรงกลับมาเสมอ อีกทั้งยังต้องสอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบการเงินในโลกของธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งเรียกว่า Fintech เช่นเดียวกนั ส่ิงเหล่านีค้ อื หน้าท่หี ลกั ของผ้บู รหิ ารทางการเงินในยุคปัจจบุ ัน

บทบาทและหนา้ ทข่ี องการบริหารการเงิน 33 บรรณานุกรม กรมพัฒนาธุรกจิ การคา้ . (2563) กระทรวงพาณชิ ย.์ สืบค้นเมือ่ มกราคม 2563 จาก www.Dbd.go.th นภาพร นลิ าภรณก์ ลุ . (2551). บรหิ ารการเงนิ . พมิ พค์ รั้งที่ 4. กรงุ เทพฯ : ทรปิ เพล้ิ เอ็ดดูเคชนั่ พรรณณภุ า ธุวนิมิตรกุล. (2555). การเงนิ ธรุ กจิ . พมิ พ์ครัง้ ที6่ . มหาวทิยาลัยธรรมศาสตร,์ พมิ รักษ์ พรหมปาลิต. (2559). Fintechเทคโนโลยที างการเงินในโลกยคุ ดิจิตอล และประโยชนส์ ำหรบั นกั ลงทนุ ยุคใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2564 จาก. https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/ AttachFile_1456398364860.pdf. เพชรี ขุมทรัพย์. (2555). วิเคราะห์งบการเงินหลกั และการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ สุมาลี จิวะมิตร. (2562). สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรงุ 2562). กรงุ เทพฯ : www.fap.or.th สโุ ขทัยธรรมธริ าช, มหาวิทยาลัย. (2553). เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการการเงนิ หน่วยที่ 1-8, พิมพค์ ร้ัง ท7่ี , นนทบุรี: มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมมาธริ าช อภิรดา สทุ ธสิ านนทแ์ ละคณะ. (2558). การเงินธุรกจิ . กรุงเทพ : ทรปิ เพ้ิล เอ็ดดเู คชนั่ Brigham, Eugenc F.and Gapenski, Iouis C. (2011). Financial Management: Theory and Practice. 11th Ed. New York: Thomson South-Western 2011. Dickerson,Bodil, Campscy,B.J. and Brigham,Eugenc F. (2005). Introduction to Financial Management. 4th ed. New York: The Dryden Press. K. Pari. (2561). (2021). PESTEL Analysis คอื อะไร?(การวิเคราะห์ปัจจยั ภายนอก). [ออนไลน]์ . สืบค้นเม่ือ 1 พ.ค. 2564 จาก https://greedisgoods.com/pestel

34 การเงนิ ธุรกจิ แบบฝกึ หัดบทท่ี 1 1. ให้อธบิ ายหน้าทหี่ ลกั ของผู้บรหิ ารการเงนิ (The three A’s of financial management)มีอะไรบ้าง 2. ใหอ้ ธิบายหนา้ ท่ใี นการวางแผนทางการเงินของผู้บริหารมอี ะไรบา้ ง 3. ให้อธบิ ายข้อแตกต่างของการจัดหาเงนิ ทนุ ระหวา่ ง แหล่งเงินทนุ จากหนี้สนิ (ก้ยู ืม) และแหลง่ เงนิ ทนุ จากสว่ นของเจ้าของ 4. ถ้ากจิ การตอ้ งการสภาพคล่องสูง ความเส่ียงตำ่ ควรลงทุนในสินทรพั ย์ประเภทใดเพราะอะไร 5. ถา้ กจิ การต้องการผลกำไรสงู ควรลงทนุ ในสนิ ทรพั ย์ประเภทใด เพราะอะไร 6. เปา้ หมายทางการเงนิ ตามแนวคิดใหม่ คืออะไร 7. ใหบ้ อกข้อบกพร่องของการไม่ใช้กำไรสงู สดุ มาเปน็ เปา้ หมายทางการเงนิ (บอกมา2 ข้อ) 8. มลู ค่าของธุรกจิ (Value of the firm) หมายถึงอะไร และจะทำให้มูลค่าของธรุ กิจสูงสดุ ไดอ้ ย่างไร 9. ใหบ้ อกจรรยาบรรณของนักการเงนิ มา 3 ข้อ 10. ปัจจบุ ันบริษทั ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรพั ย์แห่งประเทศไทย ต้องเสยี ภาษีเงินได้นติ บิ ุคคลอัตรา เท่าใด 11. การบริหารการเงนิ ในยคุ ใหม่มีลกั ษณะอยา่ งไร 12. ความหมายของ Fintech คืออะไร 13. ประโยชน์ของ Fintech มีอะไรบา้ ง จงอธบิ าย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook