คู่มกืาอรใช้งานMiro รายวิชาวิธีการสอนคอมพิวเตอร์การศึกษา (TN58802) จัดทำโดย นางสาวกนกวรรณ ศรีเจียม รหัสนักศึกษา 614179007 ชั้นปี ที่ 4 ส า ข า วิ ช า เ ท ค โ น โ ล ยี ก า ร ศึ ก ษ า แ ล ะ ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ ก า ร ศึ ก ษ า
คำนำ ก เอกสารคู่มือการปฏิบัติงานเล่มนี้ เป็นการรวบรวมความรู้จากเอกสาร ตำรา แนวปฏิบัติที่ ดีโดยนำความรู้เหล่านี้มาประมวลเป็นคู่มือการปฏิบัติในการใช้งาน \"Miro\" สำหรับให้ผู้ที่รับผิด ชอบได้ศึกษาแนวทาง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดย แสดงแผนผังเส้นทางการทำงานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกระบวนการ ระบุถึงขั้นตอน และรายละเอียดของกระบวนการทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน หวังเป็นอย่างยิ่งเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานเเล่มนี้จะเป้นประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป ผู้จัดทำ นางสาวกนกวรรณ ศรีเจียม
สารบัญ ข เรื่อง หน้า ก คำนำ ข สารบัญ 1 Miro คืออะไร แนะนำ Template 2-7 การลงทะเบียนเข้าใช้งาน 8-12 วิธีใช้งานร่วมกับ Zoom 13-17 ข้อดีและข้อเสีย Miro ประโยชน์การใช้งาน Miro 18 การเริ่มต้นใช้งาน Miro 19 เอกสารอ้างอิง 20-28
Miro คืออะไร 1 โปรแกรม Miro เป็นโปรแกรมสำหรับคิดไอเดีย นำเสนองานบนกระดานบอร์ด (Collaboration Board) หรืออีกชื่อเดิมของโปรแกรมนี้ก็คือ RealtimeBoard เครื่องมือเสนอ งานแบบเรียลไทม์กับเพื่อนร่วมทีม เวลาประชุมในรูปแบบออนไลน์ มักจะต้องมีเครื่องมือที่จะเข้า มาช่วยให้ผู้ใช้งานใช้แทนกระดานไวท์บอร์ดในห้องประชุมได้ ทั้งเขียนหัวข้อ แตกประเด็นเรื่องที่ คุยกัน แสดงความคิดเห็นต่างๆ กับสมาชิกในทีมได้อย่างอิสระ เหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาก ระดานนำเสนอไอเดียร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ใช้งานรูปแบบดิจิทัล แปะกระดาษสติกเกอร์บน กระดาน / แปะรูปภาพ / เอกสาร และต่างๆ มีเทมเพลตให้เลือกใช้ เสนองานคุยรายละเอียด ประชุมกันได้อย่างไม่รู้จบ ทำงานกับเพื่อนพร้อมๆ กันได้ไม่ว่าที่ไหนในโลก สำหรับการใช้งาน โปรแกรมนำเสนองานบนกระดานร่วมกับเพื่อนในทีม Miro มีฟีเจอร์ต่างๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบอร์ด เปิดดูบอร์ด แก้ไขบอร์ดนำเสนอไอเดีย แชร์ ไอเดียต่างๆ และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถแชร์บอร์ดแบบสาธารณะ หรือเชิญเฉพาะคนในทีม ให้มาระดมไอเดีย พูดคุยประเด็นต่างๆ ที่ต้องการประชุมร่วมกันได้ แนบไฟล์งานสำหรับเปิด วาดรูป หรือ แผนผังความคิด แถมยังมีระบบแสดง อ่านความคิดเห็น ของคนในทีมได้อีกเช่นกัน
แนะนำ Template 2 แพลตฟอร์มช่วยระดมความคิดแบบเรียลไทม์ (real-time brainstorming) หรือ Miro ให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรี นอกจากจะเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้ามาเสนอไอเดียได้แบบเรี ยลไทม์แล้ว Miro ยังมี template ให้สามารถใช้งานมากมาย ตามจุดประสงค์ของงานนั้น ๆ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Agile Workflows สำหรับบริษัทไหนที่ทำงานแบบ agile ยังมี Kanban Board, Scrum Board ให้สามารถใช้งานกันแบบ online พร้อมกันได้ หรือจะใช้เป็นพื้นที่เพื่อ ทำ Daily Meeting ทุกเช้าก็ได้ Agile Workflows เปรียบเสมือนไวท์บอร์ดที่อยู่ กลางบริษัทว่าวันนี้มีทำอะไรต้องทำบ้าง? มีปัญหาอะไรมั้ย? แต่แค่เปลี่ยนมาอยู่บน ออนไลน์
3 Ideation & Brainstorming เป็นฟังก์ชั่นที่แนะนำมากๆ เพราะเป็นจุดเด่นของ โปรแกรม miro เลยเพราะมันคือพื้นที่สำหรับการสร้างและพัฒนาความคิดกับทีมหรือ พูดง่ายๆ นั้นก็คือการนำเสนอไอเดียกับเพื่อนในทีมนั้นเอง และมันสะดวกมากราวกับ ว่าคุณและสมาชิกในทีมอยู่ในห้องเดียวกันเหมือนตอนยังทำงานที่บริษัทปกติ
4 Mapping & Diagramming สำหรับใครที่กลัวว่าสมาชิกในทีมจะไม่เห็นภาพรวมของ โปรเจค ก็สามารถใช้แผนภาพเพื่ออธิบายกระบวนการ ขั้นตอน การทำงานหรือระบบ ได้
5 Meetings & Workshops คือ เราสามารถนัดเจอกันใน miro เพื่อประชุมงาน ธรรมดาหรือหากิจกรรมเพื่อทำร่วมกันในบริษัทได้ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น
6 Research & Design ในแต่ละโปรเจคมักจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ และในแต่ละ ส่วนก็จะมีข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความต้องการของลูกค้า ปัญหาของสินค้า หรือ ข้อมูลจากการวิจัย ฯลฯ ฟังก์ชั่นนี้จะเป็นตัวช่วยให้สมาชิกในทีมสามารถเห็นว่าใน แต่ละส่วนนั้นมีข้อมูลอะไรแล้วบ้าง สามารถเข้าไปดูข้อมูล ตรวจสอบ แก้ไขได้ และยังรู้ อีกว่าข้อมูลนี้ใครเป็นคนรับผิดชอบงาน
7 Strategy & Planning ทุกคนสามารถร่วมกันวางแผนงานของโปรเจคนั้นๆ ได้ว่า ใช้เวลาทำงานเท่าไหร่ ใครรับผิดชอบส่วนไหนบ้าง และทุกคนยังรู้แผนการทำงานของ ตนเองและสมาชิกในทีม
การลงทะเบียนเข้าใช้งาน Miro 8 ขั้นตอนแรก : ให้พิมพ์ค้นหาคำว่า Miro ในช่องค้นหา หลังจากนั้นให้กดไปที่คำว่า Login ในบรรทัดล่าง 1 2
การลงทะเบียนเข้าใช้งาน Miro 9 หลังจากนั้นให้เลือก ลงชื่อสมัครใช้ด้วย Google โดยการใช้ G-mail เป็นการลงชื่อ เข้าใช้งาน
การลงทะเบียนเข้าใช้งาน Miro 10 หลังจากนั้นให้เลือก G-mail ของตัวเอง
การลงทะเบียนเข้าใช้งาน Miro 11 หลังจากนั้นให้กดติ๊กถูกทั้งสองอย่าง เมื่อติ๊กถูกเสร็จแล้ว ให้กดไปที่คำว่า ลงทะเบียน ต่อไป ดังรูปภาพ
การลงทะเบียนเข้าใช้งาน Miro 12 เมื่อเราทำการสมัครลงชื่อเข้าใช้งานเรียบร้อยแล้ว จะพบหน้าต่างแบบนี้ขึ้นมา เป็นการ อันเสร็จสิ้นของการลงทะเบียนเข้าใช้งาน Miro
วิธีใช้งานร่วมกับ ZOOM 13 Miro เป็นแอปไวท์บอร์ดยอดนิยมที่คุณสามารถสร้างไวท์บอร์ดด้วยเทมเพลตและเชิญผู้ ทำงานร่วมกันให้ทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าคุณจะต้องการวาดแผนที่ความคิดหรือทำงานร่วมกัน บนผืนผ้าใบ คุณสามารถทำได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้งภายในการประชุม Zoom มันจะเปิด หน้าต่าง Miro ขึ้นที่นั่น และจะสามารถวาดหรือปักหมุดอะไรก็ได้บนผืนผ้าใบ Miro เป็นเครื่องมือสำคัญเพราะมันไม่เหมือนกระดานไวท์บอร์ดทั่วไป ที่นี่นำเสนอผ้าใบที่ ไม่มีที่สิ้นสุด การแสดงความคิดเห็น การฝังวิดีโอ การทำงานร่วมกันด้วยเมาส์โอเวอร์ การ ผสานรวมกว่า 20+ รายการเพื่อปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ และอีกมากมาย เมื่อใช้ฟีเจอร์ทั้งหมดของ Miro คุณจะสร้างเรื่องราวของผู้ใช้หรือแผนที่การเดินทางของลูกค้า โครงลวด แผนงานหรือ การวางแผนการวิ่ง ย้อนยุค และอื่นๆ อีกมากมาย
วิธีใช้งานร่วมกับ ZOOM 14 เริ่มต้นด้วยการสร้างบัญชีฟรีบน เว็บไซต์ Miro หลัก และหลังจากที่ทำการสร้างบัญชี เสร็จ เราจะต้องติดตั้งโปรแกรม Zoom ด้วย ไปที่โปรแกรม Zoom แล้วค้นหา Miro เพื่อเพิ่ม ไปยังการซูม ระบบจะขอให้เราอนุญาตบัญชี Zoom ของเรา เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย เมื่อเริ่มจัดการประชุม ถ้าเราต้องการใช้ไวท์บอร์ด ให้ไปที่ส่วน App ที่เพิ่มใหม่ใน หน้าต่างการประชุม จะพบกับแอป Miro ที่เพิ่งติดตั้งใหม่และเปิดใช้งานได้จากที่นี่
วิธีใช้งานร่วมกับ ZOOM 15 เมื่อเริ่มจัดการประชุม ถ้าเราต้องการใช้ไวท์บอร์ด ให้ไปที่ส่วน App ที่เพิ่มใหม่ใน หน้าต่างการประชุม จะพบกับแอป Miro ที่เพิ่งติดตั้งใหม่และเปิดใช้งานได้จากที่นี่
วิธีใช้งานร่วมกับ ZOOM 16 เราจะสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องลงชื่อสมัครใช้ แต่แนะนำว่าให้ลงชื่อเข้าใช้บัญชี Miro ของตัวเองก่อน เราจะเขียนกระดานที่มีอยู่แล้วที่นี่และบันทึกการเปลี่ยนแปลงกลับไปได้ และเราก็จะสามารถสร้างบอร์ดใหม่ได้เช่นกัน
วิธีใช้งานร่วมกับ ZOOM 17 สุดท้าย ให้เราเลือกกระดานแล้วคลิกปุ่ม”ส่ง”เพื่อส่งให้ผู้เข้าร่วมและพวกเขาสามารถเข้า ร่วมกับเราบนกระดานได้ เราสามารถดูเคอร์เซอร์ของผู้ใช้ทั้งหมดที่เข้าร่วมกระดาน และ จากนั้นเราสามารถทำอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ และทั้งหมดนี้สามารถทำได้เมื่อเราอยู่ใน สาย Zoom
ข้อดี ข้อเสียของ Miro 18 ข้อดีของ Miro สร้างบอร์ดแชร์ไอเดีย สามารถเปิดดูและแก้ไขบอร์ดเสนอไอเดียได้แบบ Realtime จัดเรียง ปรับโครงสร้าง แชร์ไอเดียกับเพื่อนในทีมได้ จะเห็นการเคลื่อนไหวของเพื่อน ในทีมตลอดเวลาเพราะตรง mouse cursor ของแต่ละคนจะมีชื่อแปะไว้อย่างชัดเจน ทันทีที่เข้าเว็บไซต์ แปะกระดาษไอเดีย แนบรูป เอกสารต่าง ๆ ลงบอร์ดได้อย่างอิสระ สามารถ import ข้อมูลเข้ามาได้ หรือเมื่อระดมไอเดียเสร็จแล้ว ก็สามารถ export ออกไปเป็นรูปภาพหรือ PDF แล้วส่งไปที่ email หรือช่องทางอื่น ๆ ได้ด้วย สามารถ เลือกแชร์ไอเดียแบบสาธารณะหรือแบบส่วนตัวก็ได้ พร้อมฟังก์ชั่นพิเศษ อื่น ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติเวลาเราประชุมงานจะต้องมีบอร์ดหรืออุปกรณ์ที่ทำให้ทุกคนเห็นภาพ เดียวกันแต่พอเราเริ่มทำงานจากที่บ้าน Miro ก็สามารถเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้ผู้ใช้งาน ใช้แทนกระดานไวท์บอร์ดในห้องประชุมได้ ทั้งเขียนหัวข้อ ไอเดียที่จะมานำเสนอ ปัญหาใน การทำงาน แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ การตามงานของแต่ละฝ่ายกับสมาชิกในทีมได้อย่าง อิสระ นอกจากเว็บไซต์ Miro แล้ว ก็ยังมีเวอร์ชั่น application บนมือถือให้ใช้งานได้ง่ายๆ และก็สะดวกไม่ต้องพกโน๊ตบุ๊คไปด้วยก็สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา เสริมความแข็งแกร่ง ให้การทำงานเป็นทีม ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสียของ Miro บางฟังก์ชัน มีการเก็บค่าบริการก่อนใช้งาน เครื่องมือแต่ละเครื่องมือเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจจะมีปัญหาตอนใช้งานสำหรับ คนไม่มีความรู้ทางด้านนี้
ประโยชน์การใช้งาน Miro 19 สำหรับการใช้งาน โปรแกรมนำเสนองานบนกระดานร่วมกับเพื่อน ในทีม Miro มีฟีเจอร์ต่างๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง บอร์ด เปิดดูบอร์ด แก้ไขบอร์ดนำเสนอไอเดีย แชร์ไอเดียต่างๆ และ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถแชร์บอร์ดแบบ สาธารณะหรือเชิญเฉพาะคนในทีม ให้มาระดมไอเดีย พูดคุยประเด็น ต่างๆ ที่ต้องการประชุมร่วมกันได้ แนบไฟล์งานสำหรับเปิด วาดรูป หรือ แผนผังความคิด แถมยังมีระบบแสดง อ่านความคิดเห็น ของคนในทีม ได้อีกเช่นกัน
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 20 เมื่อเราได้ลงทะเบียนในการสมัครเพื่อใช้งาน Miro แล้ว เราจะพบ หน้าต่างแบบนี้ขึ้นมา เพื่อให้เราได้ทำการสร้างกระดานไวท์บอร์ดเพื่อใช้ งาน
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 21 ทางด้านซ้ายมือ จะมีเมนูทีมของตนเอง เราจะสามารถเพิ่มทีม ที่สามารถเชิญสมาชิกในทีมมาทำงานเป็นกระดานนี้ได้ บอร์ดเป็นฟังก์ชันหลักของ Miro กระดานไวท์บอร์ดดิจิทัลสำหรับ ให้เพิ่มสิ่งที่ต้องการ
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 22 แม่แบบเทมเพลต หากคุณคลิกไอคอนเทมเพลตที่เมนูด้านข้าง คุณจะเข้าสู่เบราว์เซอร์เทมเพลต เบราว์เซอร์เทมเพลตจะปรากฏขึ้นและคุณสามารถค้นหาเทมเพลตหรือเรียกดูเทมเพลตตาม หมวดหมู่หรือกรณีใช้งาน
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 23 ข้อความ หนึ่งในวัตถุที่ง่ายที่สุดใน Miro คือข้อความ หาก ต้องการสร้างวัตถุข้อความ ให้คลิกที่Tเมนูด้านข้างหรือกดtบนแป้นพิมพ์ มีหลายวิธีในการเปลี่ยนวัตถุข้อความ คลิกวัตถุและแก้ไขจากเมนูที่ปรากฏด้านบน แบบอักษร ขนาด ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ การจัดตำแหน่ง รายการ ลิงค์ สีข้อความ สีพื้นหลัง เค้าร่าง ความทึบ
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 24 กระดาษโน้ตบนกระดาน เป็นสัญลักษณ์และใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการสร้างบันทึกย่อช่วยเตือน ให้คลิกไอคอนที่เมนูด้านซ้ายหรือ กดnบนแป้นพิมพ์ โน้ตยังมีตัวเลือกบางอย่าง ขนาดตัวอักษร ประเภทข้อความ การจัดตำแหน่ง ขนาดที่ตั้งไว้ล่วงหน้า แท็ก อิโมจิ ลิงค์
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 25 เมื่อคลิกไอคอนบันทึกย่อช่วยเตือนที่เมนูด้านซ้าย ให้เลือก bulk mode ที่ด้านล่าง นี่เป็นวิธีที่ดีการเพิ่มบันทึกย่อช่วยเตือนหากคุณรู้ว่าต้องการอะไร ล่วงหน้า
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 26 รูปร่าง เป็นหนึ่งในฟังก์ชันที่สามารถเพิ่มรูปร่างได้หลากหลายเพื่อสร้าง แผนผังของคุณ หากต้องการสร้างรูปร่าง ให้คลิกไอคอนสี่เหลี่ยมจัตุรัสในเมนู ด้านซ้ายหรือกด s บนแป้นพิมพ์ (หากต้องการแทนที่รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปร่างที่ เลือกในปัจจุบันจะแทนที่ไอคอนรูปร่างในเมนู) เมื่อคลิกไอคอนรูปร่าง จะแสดงรายการรูปขนาดย่อที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เลือกหนึ่งรายการจากภาพรวมหรือคลิก all shapes เพื่อดูรูปร่างที่มีอยู่ทั้งหมด
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 27 สายเชื่อมต่อ สามารถเชื่อมโยงวัตถุเกือบทุกชนิดเข้ากับวัตถุอื่นได้ เมนู สายเชื่อมต่อช่วยสร้างลูกศรที่แตกต่างกันสองสามแบบที่สามารถใช้เพื่อเชื่อมต่อ วัตถุ หากต้องการสร้างสายเชื่อมต่อ ให้คลิกไอคอนลูกศรที่เมนูด้านซ้าย (จำไว้ ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกล่าสุดของคุณ) หรือกด l บนแป้นพิมพ์
การเริ่มต้นการใช้งาน Miro 28 ปากกา สามารถใช้เครื่องมือปากกาเพื่อวาดบนไวท์บอร์ด วิธีนี้ใช้ได้ผลดี ที่สุดกับปากกาจริง เช่น Wacom หรือ Apple Pencil แต่คุณสามารถใช้เมาส์ ได้เช่นกัน หากต้องการใช้เครื่องมือปากกา ให้เลือกไอคอนปากกาจากเมนูด้าน ซ้ายหรือกด p บนแป้นพิมพ์
เอกสารอ้างอิง it24hrs008. Miro คืออะไร. สืบค้น 5 มกราคม 2565, จาก https://www.it24hrs.com/2020/what-is-miro-realtime-brainstorming/ it24hrs008. แนะนำ Template. สืบค้น 5 มกราคม 2565, จาก https://www.it24hrs.com/2020/what-is-miro-realtime-brainstorming/ IT Info. วิธีใช้งานร่วมกับ ZOOM. สืบค้น 7 มกราคม 2565, จาก https://br.atsit.in/th/?p=70531 it24hrs008. ข้อดีและข้อเสียของ Miro. สืบค้น 7 มกราคม 2565, จาก https://www.it24hrs.com/2020/what-is-miro-realtime-brainstorming/ it24hrs008. ประโยชน์ของ Miro. สืบค้น 7 มกราคม 2565, จาก https://www.it24hrs.com/2020/what-is-miro-realtime-brainstorming/ ICHI.PRO. การเริ่มต้นการใช้งาน Miro. สืบค้น 8 มกราคม 2565, จาก https://ichi.pro/th/withi-yk-radab-thaks-a-kar-cad-khxng-khun-xyang- makmay-dwy-miro-138737951472640
Search
Read the Text Version
- 1 - 35
Pages: