คู่มือ การเรียนรู้ มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา รายวิชาการผลิตและการนำเสนอ มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา (TN58621) จัดทำโดย นางสาวกนกวรรณ ศรีเจียม รหัสนักศึกษา 614179007 ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์การศึกษา
คำนำ ก E-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการผลิต และการนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษารหัสวิชา TN58621 ชั้นปีที่ 4 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง คู่มือการเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ความหมายของมัลติมีเดีย องค์ประกอบมัลติมีเดีย การสร้างหรือเทคนิค การสร้างมัลติมีเดีย ขั้นตอนการสร้างมัลติมีเดีย รูปแบบของมัลติมีเดีย การใช้งานประโยชน์มัลติมีเดีย การประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย ได้ศึกษา อย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหา ข้อมูลศึกษาเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ ขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ นางสาวกนกวรรณ ศรีเจียม
สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความหมายมัลติมีเดีย (Multimedia) 1 องค์ประกอบมัลติมีเดีย (Multimedia) 2 วิธีการสร้าง/เทคนิคการสร้างมัลติมีเดีย (Multimedia) 3 ขั้นตอนในการสร้างมัลติมีเดีย (Multimedia) 4-6 รูปแบบของมัลติมีเดีย (Multimedia) 7-10 การคำนึงถึงการนำเสนอมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ (Multimedia) 11-12 ประโยชน์ของมัลติมีเดีย (Multimedia) 13-15 สรุปมัลติมีเดีย (Multimedia) 16 เอกสารอ้างอิง 17
ความหมายมัลติมีเดีย 1 (Multimedia) ความหมายของมัลติมีเดีย มัลติ ( Multi ) มัลติ คือ หลาย ๆ อย่างผสมรวมกัน มีเดีย ( Media ) มีเดีย คือ สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการสื่อสารเพื่อนำมา รวมกัน เป็นคำว่า “มัลติมีเดีย” มัลติมีเดีย ( Multimedia ) มัลติมีเดีย คือ การนำองค์ประกอบของสื่อ ชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานรวมกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่าง มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)และได้บรรลุตามวัตถุประสงค์การใช้ งาน
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย 2 (Multimedia) ข้อความ ( Text ) ข้อความหรือตัวอักษร ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ สำคัญของมัลติมีเดีย ที่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจาก จะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยัง สามารถกำหนดคุณลักษณะของปฎิสัมพันธ์ ( โต้ตอบ ) ในระหว่างการนำ เสนอได้อีกด้วย ภาพนิ่ง ( Image ) ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพ วาด และภาพลายเส้น เป็นต้น แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุก ชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น ภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มี การเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล เป็นต้น เพื่อสร้างสรรค์ จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม เสียง ( Sound ) เสียง เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะ ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาดิจิตอล ซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดย โช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียงจะเกิดความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สร้างความน่าสนใจ น่าติดตาม เสียงจึงมีองค์ประกอบที่ จำเป็นสำหรับมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี เทปเสียง และวิทยุ เป็นต้น วีดีโอ ( Video ) เนื่องจากวีดีโอในระบบดิจิตอลจะสามารถนำเสนอข้อความ หรือรูปภาพ ( ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์ มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น ๆ ปัญหาหลักของการใช้วีดีโอในระบบ มัลติมีเดีย คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความทรงจำเป็น จำนวนมาก
วิธีการสร้าง/เทคนิคการสร้าง 3 มัลติมีเดีย (Multimedia) 1. การกำหนดหัวเรื่อง 2.เป้ าหมาย 3. วัตถุประสงค์ 4.กลุ่มเป้ าหมายผู้ใช้ 5.การวิเคราะห์ (Analysis) 6.การออกแบบ (Design) 7.การพัฒนา (Development) 8.การสร้าง (Implementation) 9.การประเมินผล (Evaluation) 10.นำออกเผยแพร่ (Publication)
ขั้นตอนในการสร้างมัลติมีเดีย 4 (Multimedia) ซึ่งการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ ง่ายมากๆ ซึ่งหมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้างสื่อ มัลติมีเดียได้ ในที่นี้จะกำหนดขั้นตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด 7 ขั้น ตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย (สุกรี รอดโพธ์ทอง 2538 : 25-33) ดังนี้ 1. ขั้นการเตรียม (Preparation) กำหนดเป้ าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives) ต้อง ทราบว่าศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่ม เป้ าหมายเสียก่อน เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้ าหมายและ วัตถุประสงค์ของการเรียน รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านของ เอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เนื้อหา (Meterials) ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ ภาพต่างๆ แบบสร้างสถานการณ์จำลอง การพัฒนาและออกแบบบทเรียน (Instructional Development) คือ หนังสือการ ออกแบบบทเรียน กระดาษวาดสตอรี่บอร์ดสื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรม ประมวลผลคำ เป็นต้น สื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Development System) ได้แก่ การนำเอาคอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content) เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือ หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน สร้างความคิด (Generate Ideas) คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมาย ถึงการกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ
ขั้นตอนในการสร้างมัลติมีเดีย 5 (Multimedia) 2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction) ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน เป็ นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด ทอนความคิด (Elimination of Ideas) วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis) ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description) ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design) 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson) เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้าง ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิด ขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่ กับประเภทของบทเรียนด้วย 4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard) เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำ เสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำ เสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป 5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson) เป็นกระบวนการ เปลี่ยนแปลงสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึง ฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบ ประมาณ
ขั้นตอนในการสร้างมัลติมีเดีย 6 (Multimedia) 6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials) เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้ เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่ม เติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน คู่มือ การแก้ปั ญหาก็จำเป็ นหากการติดตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก 7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise) บทเรียน และเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงาน ของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ใน การออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกต พฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่ เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้ าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบ นำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้ ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียน จากคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้ าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะ ครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้
รูปแบบของมัลติมีเดีย (Multimedia) 7 1. มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา (Education multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่ผลิต ขึ้นเพื่อใช้เป็ นสื่อการเรียนการสอนเริ่มได้รับความนิยมและนำมาใช้ในการฝึ กอบรมเฉพาะ งานก่อนที่จะนำมาใช้ในระบบชั้นเรียนอย่างจริงจัง เช่น โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานโปรแกรมพัฒนาภาษา โปรแกรมทบทวนสำหรับเด็ก มี 3 รูปแบบแบ่งประเภทตาม ลักษณะการใช้งาน ดังนี้ ฝึ กอบรมตนเอง (Self training) เป็นโปรแกรมการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้และพัฒนาตัวเองในด้านทักษะต่าง ๆ มีการนำเสนอหลายรูปแบบ เช่น การ ฝึ กหัดแบบสถานการณ์จำลองเน้นการเรียนการสอนรายบุคคลเป็ นสื่อที่มีทั้งการสอน ความรู้ การฝึกปฏิบัติและการประเมินผลภายในโปรแกรมเดียวผู้ใช้สามารถศึกษาได้ ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีครูผู้สอน ช่วยสอน (Assisted instruction) เป็นโปรแกรมการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ ข้อมูลหรือประกอบเนื้อหาต่าง ๆ หรือใช้เป็นสื่อในการศึกษาเพิ่มเติมและอำนวยความ สะดวกแก่ผู้เรียนในโปรแกรมอาจจะสร้างเป็ นรูปแบบไฮเปอร์เท็กซ์ให้สามารถโยงเข้าสู่ รายละเอียดที่นำเสนอไว้ช่วยให้การค้นคว้าง่ายขึ้น บันเทิงศึกษา (Edutaiment) โปรแกรมการศึกษาที่ประยุกต์ความบันเทิงเข้ากับ ความรู้มีรูปแบบในการนำเสนอแบบเกมหรือการเสนอความรู้ในลักษณะเกม สถานการณ์จำลองหรือการนำเสนอเป็ นเรื่องสั้น
รูปแบบของมัลติมีเดีย (Multimedia) 8 2. มัลติมีเดียเพื่อการฝึ กอบรม (Training multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่ ผลิตขึ้นเพื่อการฝึกอบรมช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของบุคคลด้านทักษะการทำงาน เจตคติ ต่อการทำงานในหน่วยงาน 3. มัลติมีเดียเพื่อความบันเทิง (Entertainment multimedia) เป็นโปรแกรม มัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน เพลง 4. มัลติมีเดียเพื่องานด้านข่าวสาร (Information access multimedia) เป็น โปรแกรมมัลติมีเดียที่รวบรวมข้อมูลใช้เฉพาะงานจะเก็บไว้ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) หรือมัลติมีเดียเพื่อช่วยในการรับส่งข่าวสารใช้เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่ง ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้ าหมายที่ต้องการ 5. มัลติมีเดียเพื่องานขายและการตลาด (Sales and marketing multimedia) เป็ นมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอและส่งข่าวสารเป็ นการนำเสนอและส่งข่าวสารในรูปแบบวิธี การที่น่าสนใจจะประกอบด้วยสื่อหลายอย่างประกอบการนำเสนอ เช่น ด้านการตลาด รวบรวมข้อมูลการซื้อขายแหล่งซื้อขายสินค้าต่าง ๆ นำเสนอข่าวสารด้านการซื้อขายทุก ด้าน ผู้ที่สนใจยังสามารถสั่งซื้อสินค้าหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนั้น ๆ ได้ทันที
รูปแบบของมัลติมีเดีย (Multimedia) 9 6. มัลติมีเดียเพื่อการค้นคว้า (Book adaptation multimedia) เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่รวบรวมความรู้ต่าง ๆ เช่น แผนที่ แผนผัง ภูมิประเทศของประเทศต่าง ๆ ทำให้การค้นคว้าเป็นไปอย่างสนุกสนานมีรูป แบบเป็นฐานข้อมูลมัลติมีเดีย โดยผ่านโครงสร้างไฮเปอร์เท็กซ์ เช่น สารานุกรม ต่าง ๆ 7. มัลติมีเดียเพื่อช่วยงานวางแผน (Multimedia as a planning aid) เป็นกระบวนการสร้างและการนำเสนองานแต่ละชนิดให้มีความเหมือนจริงมี 3 มิติ เช่น การออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมและภูมิศาสตร์หรือนำไปใช้ในด้าน การแพทย์การทหารการเดินทาง โดยสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้ใช้ได้ สัมผัสเหมือนอยู่ในสถานการณ์จริง ซึ่งบางครั้งไม่สามารถจะไปอยู่ใน สถานการณ์จริงได้
รูปแบบของมัลติมีเดีย (Multimedia) 10 8. มัลติมีเดียเพื่อเป็ นสถานีข่าวสาร (Information terminals) จะพบเห็นในงานบริการข้อมูลข่าวสารในงานธุรกิจจะติดตั้งอยู่ส่วนหน้าของ หน่วยงาน เพื่อบริหารลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเข้าสู่ระบบบริหารของหน่วยงาน นั้นด้วยตนเองสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่นำเสนอไว้โดยผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์สะดวกทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการมีลักษณะเป็นป้ ายหรือจอ อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ติดตามกำแพงเสนอภาพ เสียง ข้อความต่าง ๆ ที่น่า สนใจ 9. ระบบเครือข่ายมัลติมีเดีย (Networking with multimedia) คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปั จจุบันมีอยู่หลายประเภทคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการ ศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท (Dutton. 2002 : 9 - 10) ได้แก่ 1. ประเภทการสอนเสริมทางการศึกษา (Tutorials education) 2. ประเภทการฝึกและปฏิบัติ (Drill and practice) 3. ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulations) 4. ประเภทเกมการศึกษา (Educational games) 5. ประเภทการค้นพบ (Discovery)
การคำนึงการนำเสนอมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ 11 การประยุกต์ใช้งานทางด้านมัลติมีเดียการนำมัลติมีเดียไปประยุกต์ใช้งาน สามารถนำไปใช้งานได้ในหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ด้านการศึกษา ด้านการ อบรม จัดทำสื่อเพื่อการบันเทิง ประกาศประชาสัมพันธ์ทางด้านวิทยุและ โทรทัศน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ในทางธุรกิจ นำเสนอผ่านอุปกรณ์สมาร์ต โฟน เป็นต้น 1.ด้านการศึกษา : มัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทสำหรับการเรียนการสอนเป็น อย่างมาก จากในอดีตที่ผ่านมาผู้สอนใช้อุปกรณ์ในการสอนหนังสือเช่น กระดาน ดำและชอล์ก เครื่องฉายข้ามศีรษะ เพื่อช่วยในการเรียนการสอนหนังสือภายใน ห้อง มาจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการเขียนบนสิ่งที่เรียกว่า ไวบอร์ดและ ปากกา โปรเจคเตอร์แทน แต่การเรียนการสอนยังคงต้องใช้ห้องเรียนเป็น สำหรับจัดการเรียนการสอนเหมือนเช่นในอดีต ในอนาคตการเรียนการสอนจะ เป็นโลกที่ไร้พรมแดนจะไม่จำกัดการเรียนรู้แต่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น โดย การเรียนจะสามารถทำผ่านโลกออนไลน์หรือทุกที่ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตผ่าน หน้าจอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สมาร์ตโฟน เรียกการสอนแบบนี้ว่า E-Learning หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่าย 2.ด้านการอบรม : ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aid-Instruction) หรือ E-Training ช่วยในกระบวนการจัดสรรเวลา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เหมาะสำหรับการศึกษาในผู้ใหญ่ หรือผู้ที่สามารถควบคุมต้นเองได้และต้องการ พัฒนาความรู้ของตนเองแต่ไม่มีเวลาเดินทางไปศึกษาในที่ห่างไกลเช่น ต่าง ประเทศเป็ นต้น
การคำนึงการนำเสนอมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ 12 3.ด้านบันเทิง : เป็นการพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดทั้งในด้าน การชมภาพยนตร์หรือ ละคร การฟังเพลง และการเล่นเกม จากในอดีตการรับชมภาพยนตร์จะถูกจำกัดโดย ระยะเวลาของสถานีโทรทัศน์ การฟังเพลงจะจำกัดโดยระยะเวลาของสถานีวิทยุ การ เล่นเกมจะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะราคาแพงหาซื้ออยาก จะเล่นเวอร์ชันใหม่ต้องรอเป็น เวลานาน จำกัดจำนวนคน จำกัดเวลา จำกัดทางด้านสถานที่ ในปัจจุบันผู้ชม สามารถดูหนัง ฟังเพลงและเล่นเกมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สามาร์ต โฟน ซึ่งไม่มีขีดจำกัดทางด้านเวลา สถานที่และจำนวนผู้เล่นอีกต่อไป สามารถดู รายการได้ทั้งในและต่างประเทศ คุณภาพของภาพและเสียงมีความคมชัดเพราะเป็น ระบบดิจิตอล สำหรับการรับชมผ่านโทรทัศน์ผ่านทางสถานีจากในอดีตที่ผ่านมา แพร่ภาพในระบบอนาลอก ในปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการแพร่ภาพโดยระบบ ดิจิตอล โดยผู้ที่ต้องการรับชมการแพร่ภาพด้วยโทรทัศน์ก็จะต้องทำการซื้ออุปกรณ์ รับสัญญาณคือ Set top box ในการรับสัญญาณตามบ้าน เพื่อทำให้สามารถรับ สัญญาณเป็นระบบดิจิตอลได้ โดยคุณภาพของทั้งภาพและเสียงจะมีความคมชัดกว่า 4.ด้านธุรกิจ : เป็นส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์และการบริหารจัดการ ปั จจุบันโลกของสังคมออนไลด์เป็ นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงเป้ าหมายและสะดวกรวดเร็ว เช่น การใช้ Facebook, Twitter ข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (E-New) โฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Adventist) และการ ถ่ายทอดสด (E-Broadcast) เป็นต้นโดยสื่อดังกล่าวจะเป็นกระบอกเสียงทั้งกลางวัน และกลางคืน ค่าใช้จ่ายต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง ด้านการบริหารจัดการเช่น การ ประชุมทางไกลผ่าน Video Conference โดยที่ผู้ที่เข้าประชุมจะอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ จำเป็นต้องอยู่ในห้องประชุม โดยการประชุมจะทำผ่านสื่อทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างชัดเจน
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย (Multimedia) 13 แนวทางการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์มี หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตเป็นบทเรียนสำเร็จรูป (CD-ROMPackage) สำหรับ กลุ่มผู้ใช้ในแวดวงการศึกษาและฝึกอบรม สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อนำ เสนอผลิตภัณฑ์และบริการ(Product and Services) สำหรับการโฆษณาใน แวดวงธุรกิจ เป็นต้น นอกจากจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการดำเนิน งานแล้วยังเป็ นการเพิ่มประสิทธิผลให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนอีกด้วย โดยสามารถแยกแยะประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ ใช้งานได้ดังนี้ ง่ายต่อการใช้งาน โดยส่วนใหญ่เป็ นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรม คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผลผลิต ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูป ลักษณ์ที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานตามแต่กลุ่มเป้ าหมายเพื่อประโยชน์ใน การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น การใช้งานสื่อมัลติมีเดีย โปรแกรมการบัญชี สัมผัสได้ถึงความรู้สึก สิ่งสำคัญของการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ รับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากการสัมผัสกับวัตถุที่ปรากฎอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่ มและตัวอักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูล ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คลิกที่ปุ่ ม Play เพื่อชม วิดีโอและฟั งเสียงหรือแม้แต่ผู้ใช้คลิกเลือกที่รูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องการ เป็นต้น
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย (Multimedia) 14 สร้างเสริมประสบการณ์ การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย แม้ว่าจะมี คุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การ สั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ในแง่มุมที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้ สามารถเข้าถึงวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้เคย เรียนรู้วิธีการใช้ปุ่ มต่างๆ เพื่อเล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์มาก่อน และเมื่อได้มา สัมผัสเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆก็สามารถเล่นเกมส์ออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัด เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ สืบเนื่องจากระดับขีดความสามารถของผู้ใช้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา ดังนั้น การนำ สื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะใน การเล่นจากระดับที่ง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่งๆ ขึ้นไป เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น ด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ สามารถที่จะสื่อความหมาย และเรื่องราวต่างๆ ได้แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ กล่าวคือ หาก เลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพ มากกว่าการเลือกใช้ข้อความหรือตัวอักษร ในทำนองเดียวกัน หากเลือกใช้วิดีโอ การสื่อความหมายย่อมจะดีกว่าเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น ใน การผลิตสื่อ ผู้พัฒนาจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะ นำเสนอ
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย (Multimedia) 15 คุ้มค่าในการลงทุน การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ เดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่ การบริหารตารางเวลาและการ เผยแพร่ช่องทางเพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ได้ หักค่าใช้จ่ายที่เป็ นต้นทุนไปแล้วก็จะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนความคุ้มค่าใน การลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็ นต้องถ่ายทอดจินตนาการจาก สิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ นอกจากจะช่วย อำนวยความสะดวกในการทำงานแล้ว ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินใน การเรียนรู้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้(User)ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรมแม็คโครมีเดีย ดรีมวิเวอร์ (Macromedia Dreamweaver ) หรือผู้ใช้กำลังศึกษาสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
สรุปมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา 16 มัลติมีเดีย ( Multimedia ) มัลติมีเดีย คือ การนำองค์ประกอบของ สื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานรวมกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมาย กับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)และได้บรรลุตาม วัตถุประสงค์การใช้งาน ในการสร้างสื่อมัลติมีเดียจะเริ่มต้นด้วย การกำหนดหัวเรื่อง เป้ าหมาย วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้ าหมายผู้ใช้ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การสร้าง (Implementation) การประเมินผล (Evaluation) นำออกเผยแพร่ (Publication) การนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์มี หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ตัวอย่าง เช่น สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตเป็นบทเรียนสำเร็จรูป (CD-ROMPackage) สำหรับกลุ่มผู้ใช้ในแวดวงการศึกษาและฝึกอบรม สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ(Product and Services) สำหรับการ โฆษณาในแวดวงธุรกิจ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง 17 ความหมายของมัลติมีเดีย https://sites.google.com/site/pumztenten/-multimedia องค์ประกอบมัลติมีเดีย https://sites.google.com/site/pumztenten/-multimedia วิธีการสร้าง/เทคนิคการสร้างมัลติมีเดีย https://sites.google.com/site/maltimideiycc ขั้นตอนในการสร้างมัลติมีเดีย https://sites.google.com/site/maltimideiycc รูปแบบของมัลติมีเดีย https://sites.google.com/site/pumztenten/-multimedia การคำนึงถึงการนำเสนอมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ http://csmju.jowave.com/cs100_v2/lesson7-2.html ประโยชน์ของมัลติมีเดีย https://sites.google.com/site/bolearn15/prayochn-khxng-maltimideiy
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: