อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒-พ.ศ. ๒๓๖๗ ) พระราชสมภพ วันพุธ ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐ โอรสคนที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี
เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง อิเหนาได้พบรักกับนางจินตะหราวาตีธิดาของท้าวหมัน หยาในงานพระศพของพระอัยยิกา (ยาย) ทำให้อิเหนาไม่ ยอมกลับเมือง และได้ปฏิเสธการหมั้นกับนางบุษบาธิดา ของท้าวดาหา ทำให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศยก นางบุษบาให้กับคนที่มาสู่ขอ ระตูจรกาที่ได้ยินข่าวจึงพี่ ชายไปสู่ขอนางบุษบาให้กับตน ท้าวดาหายกนางบุษบาให้ ระตูจรกาด้วยความไม่เต็มใจเนื่องจากจรกานั้นรูปชั่วตัว ดำ ในเวลาเดียวกันวิหยาสะกำ โอรสของท้าวกะหมังกุหนิง ได้พบรูปวาดของนางบุษบาในขณะที่ออกเทียวป่า วิหยาสะกำจึงได้ให้พระบิดาไปสู่ขอนางบุษบาให้ตนเอง ท้าวกะหมังกุหนิงจึงได้ไปสู่ขอนางบุษบาจากท้าวดาหา แต่ก็โดนปฏิเสธเนื่องจากท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาให้จร กาไปแล้ว ทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธมากจึงยกกองทัพ ล้อมกรุ่งดาหาเอาไว้ ท้าวดาหาจึงได้ขอให้เมืองอื่น ๆ มา ช่วยโดยมีอิเหนาเข้ามาช่วยรบด้วย และท้ายที่สุดอิเหนา ก็รบชนะและได้สังหารท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบ ด้วยกริชเทวา
ลักษณะคำประพันธ์ เรื่องอิเหนานี้ใช้ลักษณะการแต่งแบบกลอน บทละคร โดยมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักจะขึ้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป ฯลฯ เรียกคำเหล่านั้นว่าคำขึ้น ต้น โดยมีวิธีใช้ดังนี้ -เมื่อนั้น ใช้กับ ตัวเอกของเรื่องหรือตัวละคร กษัตริย์ -บัดนั้น ใช้กับ ตัวบทละครสามัญหรือไม่สำคัญ -มาจะกล่าวบทไป ใช้กับ เมื่อขึ้นตอนใหม่หรือ ความใหม่ ทั้งนี้จำนวนคำในแต่ละวรรคจะมีไม่เท่ากัน เพราะจะต้องเหมาะสมกับท่ารำและทำนองเพลง นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดเพลงหน้าพาทย์ สำหรับประกอบกิริยาอาการของตัวละครด้วย
แผนผังฉันทลักษณ์ กลอนแปดหรือกลอนสุภาพ
ตัวละคร ๑. อิเหนา อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและ กระบี่เป็นอาวุธ เป็นคนรอบคอบ มีการวางแผน การกระทำไว้ล่วงหน้า และมองการณ์ไกล
๒. ท้าวกะหมังกุหนิง ท้าวกะหมังกุหนิงเป็นกษัตริย์ที่มีความหยิ่ง ในเกียรติและศักดิ์ศรีของตน มีนิสัยที่เด็ดเดี่ยว ไม่มีเหตุผล รักลูกมาก ยอมทำทุกอย่างเพื่อลูก และยอมตายเเทนลูกได้
๓. ท้าวดาหา ท้าวดาหาเป็นคนที่หยิ่งในศักดิ์ศรี ใจร้อน เป็นคนรักษาสัจจะ รักษาเกียรติยศชื่อเสียง เป็นอย่างยิ่ง
๔. วิหยาสะกำ วิหยาสะกำเป็นผู้มีความเอาแต่ใจตน และลุ่มหลงใน รูปลักษณ์ภายนอก ดูได้จาก การให้พ่อของตนไป สู่ขอนางบุษบามาแต่งงานกับตน ทั้งที่รู้ว่านาง บุษบามีคู่หมั้นแล้ว แต่ก็ยังต้องการแต่งกับนาง บุษบาอยู่ เพราะเกิดลุ่มหลงในรูป
๕. สังคามาระตา สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่งและกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวน เป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติ อิเหนาได้หลายครั้ง
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี เสาวรจนี เสาวรจนีเห็นได้จากตอนที่อิเหนาเข้าพิธีสรงสนาน อิเหนาได้ นึกถึงจินตะหราแล้วบรรยายถึงความงามของนางว่า ผิวหน้าของนาง จินตะหรามีแสงแจ่มแจ้งเหมือนกับแสงจันทร์ดังปรากฏในตัวบทว่า พระสุริยาสายัณห์สิ้นแสง ศศิธรแจ่มแจ้งเวหา พระดูเดือนเหมือนผิวพักตรา ระเด่นจินตะหรายาใจ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๖๑) พิโรธวาทัง พิโรธวาทังจะเห็นได้จากตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงเห็นว่าโอรสโดนอาวุธของ สังคาระมาตาจนตกลงจากหลังม้า ทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธจนแทบจะเสียสติ รีบเร่งม้าเข้าไปหาสังคาระมาตา ดังปรากฏในตัวบทว่า เมื่อนั้น ท้าวกะหมังกุหนิงใจกล้า เห็นโอรสต้องสาตรา ตกจากอาขาบรรลัย กริ้วโกรธโกรธาบ้าจิต จะรอรั้งยั้งคิดก็หาไม่ แกว่งหอกคู่ขับอาชาไนย เข้ารุกไล่สังคามาระตา ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๗๒)
สัลลาปังคพิสัย สัลลาปังคพิสัยเห็นได้จากตอนที่อิเหนาเข้าพิธีสรงสนาน แล้วได้มองเห็นดอกไม้หลากหลายสีที่อยู่ในสระน้ำ แล้วนึกถึง คร่ำครวญถึงมเหสีทั้งสามที่ได้จากมา ดังปรากฏในตัวบทว่า ชี้ชมโกสุมปทุมมาศ ขาวแดงเดียรดาษประหลาดหลาย ชูก้านบานกลีบคลี่คลาย เกสรร่วงรายเรณูนวล เหล่าระเด่นเล่นน้ำในสระนั้น ยิ้มแย้มหยอกกันเกษมสรวล พระทรงฤทธิ์คิดกระสันรัญจวน คะนึงนวลโฉมงามสามสุดา (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๗๐)
การใช้ภาพพจน์ อุปมา อุปมาจะเห็นได้จากตอนที่ทหารกองหน้าของท้าวกะหมังกุหนิง รายงานว่ามีกองทัพใหญ่ยกมาช่วยท้าวดาหา โดยบอกว่าเสียงแตร สังข์ดังก้องสนั่นป่า เสียงของโกลนที่กระทบกับแผงของม้าดัง เหมือนกับเสียงของพายุ ดังปรากฏในตัวบทว่า เซ็งแช่แตรสังข์ฆ้องกลอง ช้างร้องเรียกกันสนั่นป่า เสียงโกลนกระทบแผงข้างม้า ดังว่าเสียงพายุอึงอล (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๔๗) อุปลักษณ์ อุปลักษณ์เห็นได้จากตอนที่อิเหนาได้สั่งจัดทัพเพื่อเตรียม รบกับท้าวกะหมังกุหนิง โดยสั่งให้ทหารตั้งกระบวนเป็นฟันปลา ดังปรากฏในตัวบทว่า แล้วรีบรัดจัดพลรณยุทธ์ ตั้งที่นามครุฑปักษา วางกองเยื้องกันเป็นฟันปลา ให้โยธาคอยยิงชิงชัย ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๕๔)
อติพจน์ อติพจน์จะเห็นได้จากตอนที่ทหารกองหน้าของ ท้าวกะหมังกุหนิงรายงานว่ามีกองทัพใหญ่ยกมาช่วยท้าวดาหา โดยบอกว่าแสงที่กระทบกับหอกดาบนั้นแวววับไปทั่วท้องฟ้า ฝุ่นละอองมืดคลุ้มบดบังแสงอาทิตย์ ดังปรากฏในตัวบทว่า อันแสงอาวุธหอกดาบ ปลาบแปลบแวบวาบเวหา ผงคลีมืดคลุ้มโพยมบน บดบังสุริยนในท้องฟ้า (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๔๗)
การใช้โวหาร พรรณนาโวหาร พรรณนาโวหารเห็นได้จากบทที่พรรณนาให้เห็นถึงกระบวนกองทัพ ของท้าวกะหมังกุหนิงที่เตรียมจะรบกับกองทัพที่มาช่วยเมืองดาหา ที่กล่าวถึงกองทหารหอกปืนที่เป็นทหารเดินเท้ากองหน้า กองทหารซุ่ม เสือป่าแมวเซาที่รอลอบโจมตีศรัทตรู ทหารกองกลางที่มีถึงห้าหมื่นคน ทัพหน้านำทัพด้วยวิหยาสะกำ ทัพหลวงมีทหารมือดีหนึ่งแสนคน กองทัพ ของปาหยังกับประหมันเป็นปีกป้องกัน ทัพของตำมะหงงคอยรั้งท้าย กองปีกและกองหลังมีทหารกองละห้าหมื่นกว่านาย แล้วเตรียมม้าไว้คอย รับท้าวกะหมังกุหนิงเพื่อตรวจตราทัพ ดังปรากฏในตัวบทว่า เกณฑ์ทหารหอกปืนพื้นลำลอง เป็นกองสอดแนมให้เดินหน้า แล้วกองร้อยคอยหนุนเนื่องมา กระทั่งถึงโยธากองพัน อันกองซุ่มเสือป่าแมวเซา ให้ลอบเข้าโจมตีทัพขันธ์ กองกลางห้าหมื่นพื้นฉกรรจ์ หนักไหนช่วยนั่นให้ทันที เกณฑ์ถ้วนกระบวนทัพหน้า กองวิหยาสะกำเรืองศรี ทัพหลวงล้วนทหารตัวดี สิบหมื่นพื้นมีฝีมือรบ โยธาปาหยังกับประหมัน เป็นปีกป้องกองขันบรรจบ ตำมะหงงรั้งหลังตั้งครบ พลรบกองละห้าหมื่นปลาย แล้วให้ผูกสินธพอาชา คอยท่ารับเสด็จผันผาย พรั่งพร้อมพหลพลนิกาย ตัวนายตรวจตราในราตรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๔๘)
การเล่นคำ การซ้ำเสียงสระ เสียงพยัญชนะ การซ้ำเสียงสระและเสียงพยัญชนะ พบได้ในตอนที่สังคาระมาตา ต่อสู้กับวิหยาสะกำ ได้มีการเล่นคำโดยการซ้ำเสียงสระและเสียง พยัญชนะ ทำให้เห็นถึงภาพการเคลื่อนไหวในการต่อสู้ที่สังคาระมาตา ขี่ม้าเข้าปะทะกับวิหยาสะกำ ใช้ทวนแทงอย่างแข่งขัน วิหยาสะกำหลบ คมทวนหุนหัน แล้วทั้งสองก็เข้าปะทะกันตามกระบวนอย่างคลุกคลี ดังปรากฏในตัวบทว่า เมื่อนั้น สังคามาระตาแข็งขัน ขับม้าไวว่องป้องประจัญ เป็นเชิงชั้นชิงชัยในทีทวน ร่ายรับกลับแทงไม่แพลงพล้ำ วิหยาสะกำผัดผันหันหวน ต่างเรียงเคียงร่ายย้ายกระบวน ปะทะทวนรวนรุกคลุกคลี ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๖๐)
การใช้คำไวพจน์ การใช้คำไวพจน์เรียกแทนกษัตริย์ ในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงมีการใช้คำที่เรียกแทน ตัวละครกษัตริย์หลายคำ โดยจะมีคำดังต่อไปนี้ ๑) คำที่ใช้เรียกแทนอิเหนา - พระผู้พงศ์เทวา แปลว่า ผู้ที่อยู่ในตระกูลวงศ์ - พระองค์วงศ์อสัญแดหวา แปลว่า ผู้ที่อยู่ในตระกูลของ อสัญแดหวา (อสัญแดหวา คือต้นตระกูลของกษัตริย์ในวงศ์เทวา) - องค์สมเด็จพระปิ่ นเกล้า แปลว่า ผู้เป็นเจ้าเหนือหัว ๒) คำที่ให้เรียกแทนท้าวกะหมังกุหนิง - พระผู้ผ่านโภไคยไอศูรย์ แปลว่า ผู้ครองทรัพย์สมบัติของ สวรรค์ - ระตูผู้ผ่านไอศวรรย์ แปลว่า ผู้ที่เป็นกษัตริย์ - ระตูผู้ผ่านไอศวรรย์ แปลว่า ผู้ที่เป็นกษัตริย์ - ระตูผู้ผ่านอาณาจักร แปลว่า กษัตริย์ผู้ครองอาณาจักร - ภูวไนยธิบดี แปลว่า กษัตริย์ผู้นำทัพ
คุณค่าด้านสังคม ๑ จากตัวเนื้อเรื่องสะท้อนแสดงให้เห็นถึงการจัดทัพออก ศึก เห็นได้จากตอนที่อิเหนาสั่งให้เสนาจัดเตรียมทัพ โดย ได้มีการตั้งชื่อกองทัพเป็นชื่อสัตว์ในความเชื่อคือ ครุฑ และมีการจัดวางตำแหน่งกองทหารสลับกันเป็นรูปฝันปลา ดังปรากฏในตัวบทว่า บัดนั้น จึงมหาเสนาตำมะหงง รับราชบัญชาพระโฉมยง ให้หยุดธงสำคัญสัญญา แล้วรีบรัดจัดพลรณยุทธ์ ตั้งที่นามครุฑปักษา วางกองเยื้องกันเป็นฟันปลา ให้โยธาคอยยิงชิงชัย ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๕๔)
๒ จากตัวเนื้อเรื่องสะท้อนแสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยว กับลางบอกเหตุก่อนทีจะลงทำศึกจะเห็นได้จากตอนที่ ท้าวกะหมังกุหนิงกำลังเคลื่ อนทัพทำศึกกับอิเหนา ขณะเคลื่ อนทัพม้าที่ทรงขี่เกิดอาการเยื้ องย่างขาช้าเฉย แล้วมีกากับเหยี่ยวโฉบลงมาบนทางขวางหน้าของ ท้าวกะหมังกุหนิง ทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงคิดว่านี่เป็น ลางบอกเหตุที่อาจจะแจ้งให้รู้ว่าจะตายในการทำศึกได้ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงได้สั่งหยุดเคลื่ อนกองทัพไว้ก่อน ดังปรากฏในตัวบทว่า มิ่งม้าพาชีที่นั่งทรง เผอิญงงหงอยเงื่ องเยื้ องย่าง กาเหยี่ยวเฉี่ยวฉาบมาริมทาง ข้ามขวางหน้าฉานผ่านไป ให้อาเพศเหตุเห็นวิปริต ก็แจ้งจิตว่าจะม้วยไม่สงสัย ยิ่งคิดคร้ามครั่นพรั่นใจ พระสั่งให้หยุดพหลมนตรี ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๔๙)
๓ จากตัวเนื้อเรื่องสะท้อนแสดงเห็นความเชื่อเรื่องฤกษ์ งามยามดีและการสรงน้ำมนต์ โดยจะเห็นได้จากตอนที่ก่อน ที่จะออกทำศึกสงคราม อิเหนาเห็นว่าฤกษ์งามยามดีดวง อาทิตย์แจ่มแสง จึงได้ชวน กะหรัดตะปาตี สุหรานากง สังคามาระตา และดาหยันเข้าไปสรงน้ำทิพมนต์ ดังปรากฏ ในตัวบทว่า เมื่อนั้น พระผู้พงศ์เทวากระยาหงัน ครั้นฤกษ์ดีแจ่มดวงสุริยัน ทรงธรรม์ชวนกะหรัดตะปาตี ทั้งสุหรานากงอนุชา สังคามาระตาเรืองศรี กับระเด่นดาหยนผู้ภักดี มาเข้าที่สรงน้ำทิพมนต์ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๕๑-๓๕๒)
๔ จากตัวเนื้อเรื่องสะท้อนแสดงเห็นประเพณีของกษัตริย์ เมื่อก่อน ที่เมื่อทำศึกสงครามเสร็จแล้ว แม้ว่าจะแพ้ศึกก็ต้อง ไปสรงนามชำระร่างกายเพื่อเป็นสิริมงคล เห็นได้จากตอนที่ อิเหนารบชนะท้าวกะหมังกุหนิง เสนาได้เชิญอิเหนาไปสรง สนานที่สระเบญจบุษบง โดยบอกว่าเป็นประเพณีที่กษัตริย์ กระทำต่อกันมาหลังจากเสร็จศึกสงคราม ดังปรากฏในตัวบทว่า ประเพณีกษัตรามาแต่ก่อน รณรงค์ราญรอนศึกใหญ่ แม้นชนะไพรีมีชัย ย่อมไปสระสนานสำราญองค์ ขอเชิญเสด็จพระภูวนาถ ลีลาศไปชำระสระสรง ยังสระชื่อเบญจบุษบง ให้เป็นมงคลสวัสดี ฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย , ๒๕๕๘ , ๓๖๙)
ข้อคิดที่ได้รับ ๑. ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นต่อข้าศึกศัตรู ๒. ความรักในศักดิ์ศรี การมีขัตติยมานะหรือความ สำนึกในเกียรติแห่งวงศ์ตระกูลของตนเอง ๓. การรู้จักรักษาคำพูด เมื่อพูดไว้อย่างไรก็ต้องทำ ตาม แม้ว่าจะมีใครมาบีบบังคับหรือฝืนคำพูดหรือมี เหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นก็ไม่ควรเสียคำพูด ๔. การรู้จักให้อภัย การไม่ถือโทษโกรธแค้นกันและกัน เมื่อผิดพลาดไปก็สามารถอโหสิกรรมต่อกัน ๕. ความรักและความหลงใหล ควรรู้จักแยกแยะให้ ออกระหว่างความรักกับความหลงใหล
แบบทดสอบหลังเรียน
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: