กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง ต อ น พ ร ร ณ น า สั ต ว์ ใ น ป่ า
คำนำ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ตอนพรรณนาสัตว์ป่า ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จัดทำขึ้นโดยยึดตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วรรณคดีเรื่องนี้ ผู้ทรงพระนิพนธ์คือ เจ้าฟ้าธร รมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) จัดทำ หนังสือเล่มนี้ เพื่ อประกอบกับรายวิชาวรรณคดีและ วรรณกรรม ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วยความเป็นมา ประวัติผู้แต่ง เนื้อเรื่อง ลักษณะคำประพันธ์ และ คุณค่าของวรรณดี ซึ่งเนื้อหาที่นำมาจัดทำ ผู้ที่ ศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ หรือ นำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ได้ หากผิดพลาด ประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย จัดทำโดย นิภาวรรณ แก้ววงษ์
สารบัญ หน้า ก เรื่อง ข คำนำ ๑ สารบัญ ๒ ความเป็นมา ๓ วัตถุประสงค์ ๕ ประวัติผู้แต่ง ๖ ลักษณะคำประพันธ์ ๙ เรื่องย่อ ๑๗ บทวิเคราะห์วรรณคดี ๒๐ เกร็ดความรู้ คำศัพท์น่ารู้ ๒๑ คุณค่าของวรรณคดี ๒๕ ๒๖ คำถามท้ายบท บรรณานุกรม
๑ ความเป็นมา หนังสือปริทรรศน์ วรรณคดีไทย ของนายตำรา ณ เมืองใต้ ธารทองแดง
๒ วัตถุประสงค์ เพื่อพรรณนาสิ่งที่ได้ทอดพระเนตรเห็น ในการเสด็จสถลมารด (ทางบก) จากท่า เจ้าสนุกถึงธารทองแดง
๓ ประวัติผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐสุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือขาน พระนามกันทั่วไปว่า “เจ้าฟ้ากุ้ง” ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๒๔๘ เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๓ กับกรมหลวงอภัยนุชิตพระมเหสีใหญ่ (สมเด็จ พระพันวัสสาใหญ่) ทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๒ พระองค์คือ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (พระเจ้าเอก ทัศน์) และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามะเดื่อ (ขุนหลวงหา วัด) เมื่อพระราชบิดาได้เสวยราชย์แล้วโปรดให้ สถาปนาเป็นเจ้าธรรมธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๗๖
๔ ประวัติผู้แต่ง(ต่อ) พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดย เฉพาะด้านวรรณกรรม พระองค์ทรงเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ สมัยกรุงศรีอยุธยา สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๘ โดย สาเหตุลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้านิ่มหรือเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่ง เป็นพระสนมของพระราชบิดาจึงต้องพระราชอาญาถูก โบยจนสิ้นพระชนม์พร้อมด้วยเจ้าฟ้าสังวาลย์ แล้วนำ ศพไปฝังวัดไชยวัฒนาราม
๕ ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี ๑ บท แล้วตามด้วย โคลงสี่สุภาพ ๑ บท ใจความเหมือนกัน กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง นั้นมีกาพย์ยานีและโคลงสี่สุภาพ รวม ๑๐๘ คู่ และโคลงปิดท้ายมี ๒ บท ที่มา http://babyratnakavi.blogspot.com/2018/10/blog-post_23.html
๖ เรื่องย่อ
๗ เรื่องย่อ(ต่อ) เมื่อขบวนเสด็จเคลื่อนคล้อยเข้าแนวป่า ทอดพระเนตรเห็นฝูงช้างใหญ่น้อยหลากหลายพันธุ์ ลงเล่นน้ำอยู่อย่างสำราญ พรรณนาถึงความงามของธรรมชาติรอบตัว พร้อมทั้งบอกสิ่งที่พบเห็นว่าประกอบไปด้วย กระบือ กวาง เนื้อทราย หมูป่า หมาใน(สุนัขจิ้งจอก) กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว ลมาด โค ฟาน ลมั่ง สิง คนัด เลียงผา งู เม่น
๘ เรื่องย่อ(ต่อ) กระต่ายป่าหลายพันธุ์ กระจง ลิง ชะนี ค่าง บ่าง งู เขียว ตุ๊กแก นกยูง นกเขา นกกด ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกหว้า พังพอน งูเห่า หนูป่า นกแก้ว นกสาลิกา นกกระตั้ว นกแขกเต้า นกโนรี นกกระจิบ นกกางเขน นกขมิ้น นกคุ่ม
๙ บทวิเคราะห์วรรณคดี ก า พ ย์ ห่ อ โ ค ล ง ประพาสธารทองแดง ต อ น พ ร ร ณ น า สั ต ว์ ใ น ป่ า
๑๐ ชมสัตว์สี่เท้า เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย อย่างแพะหมาย ขนเหม็นสาบหยาบเหมือนกัน เลียงผาอยู่พ่างพื้น ภูเขา หนวดพู่ดูเพราเขา ไปล่ท้าย รูปร่างอย่างแพะเอา มาเปรียบ ขนเหม็นสาบหยาบ กลิ่นกล้าเหมือนกัน\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : เลียงผา แพะ
๑๑ \"กระจงกระจิดเตี้ย วิ่งเรี่ยเรี่ยน่า เอ็นดูเหมือนกวางอย่างตาหู มีเขี้ยวน้อยสร้อยแนมสอง กระจงกระจิดหน้า เอ็นดู เดินร่อยเรี่ยงามตรู กระจ้อย เหมือนกวางอย่างตาหู ตีนกีบ มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย แนบข้างเคียงสอง\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : กระจง กวาง
๑๒ \"ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ๊ย ชะนีร้องอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง ฝูงลิงยวบยาบต้น พวาหนา ฝูงชะนีมี่กู่หา เปล่าข้าง ฝูงค่างหว่างพฤกษา มาสู่ ครอกแครกไล่ไขว่คว้าง โลดเลี้ยวโจนปลิว\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : ลิง ชะนี ค่าง
๑๓ ชมสัตว์ปีก \"ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง ปากหงอนอ่อนสำอาง ช่างรำเล่นเต้นตามกัน ยูงทองย่องย่างเยื้อง รำฉวาง รายร่ายฟ่ายเฟื่ องฟาง เฉิดหน้า ปากหงอนอ่อนสำอาง ลายเลิศ รำเล่นเต้นงามหง้า ปีกป้องเป็นเพลง\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : นกยูง
๑๓ \"ไก่ฟ้าอ้าสดแสง หัวสุกแดงแทงเดือยแนม ปีกหางต่างสีเแกม สีแต้มต่างอย่างวาดเขียน ไก่ฟ้าหน้าก่ำกล้า ปากแหลม หัวแดงแฝงเดือยแนม เนื่องแข้ง ปีกหางต่างสีแกม ลายลวด ตัวต่างอย่างคนแกล้ง แต่งแต้มขีดเขียน\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : ไก่ฟ้า
๑๔ \"นกแก้วแจ้วเสียงใส คลอไคล้คู่หมู่สาลิกา นกตั้วผัวเมียคลา ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี นกแก้วแจ้วรี่ร้อง เร่หา ใกล้คู่หมู่สาลิกา แวดเคล้า นกตั้วผัวเมียมา สมสู่ สัตวาฝ่าแขกเต้า พวกพ้องโนรี\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : นกแก้ว นกสาลิกา นกโนรี นกกระตั้ว นกสัตวา นกแขกเต้า
๑๕ ชมสัตว์เลื้อยคลาน \"ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู่รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปถู้มูทู\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : หนู งู
๑๖ \"งูเขียวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน กัดงูงูยิ่งพัน อ้าปากง่วงล้วงตับกิน งูเขียวแลเหลื้อมพ่น พิษพลัน ตุ๊กแกคางแข็งขยัน คาบไว้ กัดงูงูเร่งพัน ขนดเครียด ปากอ้างูจึงได้ ลากล้วงตับกิน\" สัตว์ที่พบในคำประพันธ์บทนี้คือ : งู ตุ๊กแก
๑๗ เกร็ดความรู้ เลียงผา ชื่อสามัญ: Serow ชื่อวิทยาศาสตร์: Capricornis sumatraensis ลักษณะ: เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาจำพวกแพะ ความสูง ที่ไหล่ 85 - 94 ซ.ม. หนักประมาณ 85 - 140 กิโลกรัม. อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผา หรือถ้ำ ตื้น ว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถว่ายน้ำ ข้ามระหว่างเกาะ และแผ่นดินได้ มีประสาทตา หู และรับกลิ่นได้ดีมาก ชอบกินพืชต่างๆ ออกลูก ครั้งละ 1 ตัว ที่มาhttps://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=334&c_id=
๑๘ เกร็ดความรู้ ค่าง ชื่อสามัญ: Langur ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus obscurus ลักษณะ: มีรูปร่างที่เพรียวบางกว่า ขาทั้ง 4 ข้าง เรียวยาวกว่า แต่มีนิ้วโป้งสั้นกว่า มีหางที่ยาวกว่า รวมถึงขนที่ยาวกินอาหารจำพวกพืชเป็นหลักและ อาจจะกินแมลงเป็นเพียงอาหารเสริมเท่านั้น ที่มา https://www.seub.or.th/bloging/news
๑๙ เกร็ดความรู้ นกโนรี ชื่อสามัญ: Lory ลักษณะ: นกปากขอในวงศ์ Loriidae คล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม ขน ส่วนใหญ่ เป็นสีแดงชอบบิน สูงเหนือยอดไม้ ไม่ส่งเสียง ร้องในขณะบินเหมือน นกแก้วชนิดอื่น อาหารโปรดปราน คือผลไม้สุกที่มี รสหวาน ส่วนหนอนกับแมลงเป็นบางมื้อ และ แปลกกว่านกแก้ว ชนิดใดๆ ตรงที่ ลิ้นของมันตอน ปลายจะม้วนเป็นหลอดได้ สำหรับดูดกินน้ำหวาน จากดอกไม้ ทีีมาhttp://www.farmthaionline.com/
๒๐ คำศัพท์น่ารู้ รางชาง หมายถึง งาม,สวย,เด่น ฉวาง หมายถึง ขวาง หง้า หมายถึง กางออก รายชายฟ่ายเฟืองหาง หมายถึง ฟายหาง (เป็นกริยาของนกยูง) คางแข็งขยัน หมายถึง อ้าปากงับได้แน่น พันขนดเครียด หมายถึง รัดให้แน่น ถู้ เป็นรูปโทโทษของ ทู่ หมายถึง ไม่เเหลม
๒๑ คุณค่าของวรรณคดี ก า พ ย์ ห่ อ โ ค ล ง ประพาสธารทองแดง ต อ น พ ร ร ณ น า สั ต ว์ ใ น ป่ า
๒๒ คุณค่าด้านเนื้อหา ๑. คุณค่าในด้านธรรมชาติวิทยา กวีได้บรรยายรายละเอียดต่างๆ ทังชื่อรูปร่าง ลักษณะ ขนาด สี เสียง พฤติกรรม และกลิ่น นอกจากนี้ยังบอกอาการอันเป็นธรรมชาติ ของสัตว์นั้ เช่น การหาอาหารของงู การต่อสู้ ของพังพอนกับงูเป็นต้น ผู้อ่านจะได้รู้อะไร เกี่ยวกับต้นไม้และสัตว์
๒๓ คุณค่าด้านสังคม และวัฒนธรรม ๒. คุณค่าในด้านวัฒนธรรม ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับประเพณีการเสด็จทางสถลชลมารค ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา การแต่งกายของสตรี สมัยอยุธยา การจัดกระบวน ทัพแบบจตุรัง คบาท เครื ่ องประดับช้าง เครื ่ องสูง เป็นต้น
๒๔ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คุณค่าในด้านวรรณศิลป์ การเดินความหรือ การใช้คําเนื้อความในแต่ละบทสร้างจินตภาพ ได้อย่างแจ่มชัด เลือกสรรคํามาใช้ได้เหมาะ กับเนื้อความและ เสียง การพรรณนาทําได้อย่าง แจ่มแจ้งจับใจ บอกรูปพรรณสัณฐาน สัตว์อย่าง ชัดเจน บอกให้รู้ถึงความเป็นอยู่ของสัตว์ประหนึ่ง ว่าผู้อ่าน ได้เห็นตัวจริงของสัตว์นั้ นๆ
๒๕ คำถามท้ายบท จงตอบคำถามให้ถูกต้อง ๑.ผู้แต่งกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงคือใคร ๒.”ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง” คำว่า “รางชาง” หมายถึงอะไร ๓. “นกแก้วแจ้วเสียงใส คลอไคล้คู่หมู่............ นกตั้ว...........คลา ฝ่าแขกเต้า…………….” จงเติมคำลงในช่องว่างได้ถูกต้อง ๔. คำว่า “ลิงห่ม” หมายถึงข้อใด ก.ลิงขย่ม ข.ลิงอยู่นิ่งๆ ค.ลิงกระโดด ง.ลิงวิ่งไล่กัน ๕. “ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง” คำประพันธ์ นี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใดและกล่าวถึงสัตว์ใด
๒๖ บรรณานุกรม ชัชฎาพรรณ พรมไพสน. (2563). วรรณคดีเรื่องกาพ์ห่อ โคลงประพาสธารทองแดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://chatchadapan.blogspot.com/p/blog- page_2.html. ณัฏฐ์นรินทร์ นาคเล็ก. (2562). 2.2 กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://sites.google.com/site/natnarin002/kaphy-hx- kholng-praphas-thar-thxngdaeng ไพฑูรย์ ศรีสุขา. (2560). บทเรียน กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง ตอน ๒ สัตว์ในกาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://sites.google.com/
นางสาวนิภาวรรณ แก้ววงษ์ รหัส 631102008115 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
Search
Read the Text Version
- 1 - 33
Pages: