Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือระบบหายใจ ม.2

หนังสือระบบหายใจ ม.2

Published by anchalee sansgarkhu, 2022-03-13 04:30:58

Description: หนังสือระบบหายใจ

Keywords: ระบบหายใจ

Search

Read the Text Version

1 เร่ือง ระบบหายใจ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปล่ียนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เล้ียงลูกด้วยนมระบบ ทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและ คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ โดยนาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและ คาร์บอนไดออกไซดอ์ อกจากร่างกาย ระบบทางเดนิ หายใจแบ่งตามโครงสรา้ งได้ ดงั น้ี ระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract, URI) : ประกอบด้วยอวัยวะท่ี เก่ยี วขอ้ งกบั การหายใจเหนอื กลอ่ งเสยี งข้นึ ไป ไดแ้ ก่ จมกู , คอหอย เปน็ ตน้ ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract, LRI) : ประกอบด้วย กล่องเสียง, หลอดคอ, หลอดลมใหญ่ และปอด ระบบทางเดนิ หายใจแบ่งตามหนา้ ที่ได้ ดังนี้ ทาหน้าท่เี ปน็ การลาเลยี งอากาศ : มหี นา้ ที่นาอากาศจากภายนอกเข้าส่ปู อด เป็นทางผา่ นเขา้ ออกของอากาศเทา่ นนั้ ไมม่ หี น้าทีเ่ กย่ี วข้องกบั การแลกเปลี่ยนแกส๊ ได้แก่ จมกู , คอหอย, กล่องเสียง, หลอดคอ , หลอดลมใหญ่, หลอดลมฝอย, และปลายหลอดลมฝอย ทาหนา้ ทแี่ ลกเปล่ียนแก๊ส : เปน็ บริเวณทแ่ี ลกเปลีย่ นแกส๊ คาร์บอนไดออกไซด์และแกส๊ ออกซิเจนกบั เนื้อเยื่อ ได้แก่ หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแกส๊ , ทอ่ ลม, ถงุ ลม, ถุงลมเล็ก

2 1.จมกู (Nose) จมูกส่วนนอกเป็นส่วนท่ีย่ืนออกมาจากตรงก่ึงกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูก หรอื ดั้งจมกู มรี ูปรา่ งและขนาดต่างๆกนั ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้าน หนึ่งของรูปสามเหล่ียมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทาหน้าที่เป็นทางผ่าน ของอากาศทหี่ ายใจเข้าไปยงั ชอ่ งจมูกและกรองฝ่นุ ละอองดว้ ย 2. หลอดคอ (Pharynx) เมื่ออากาศผ่านรจู มกู แล้วกผ็ า่ นเข้าสู่หลอดคอ ซ่ึงเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาว ประมาณ 5 \" หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมเี พดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนน้ีออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญท่ ีสุด คือกระดกู ธัยรอยด์ ท่เี ราเรียกว่า \"ลกู กระเดอื ก\" ในผชู้ ายเห็นได้ชดั กว่าผ้หู ญงิ 3. หลอดเสยี ง (Larynx) เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียง เจริญเติบโตขึน้ มาเร่ือยๆ ตามอายุ ในวัยเร่ิมเปน็ หนมุ่ สาว หลอดเสียงเจรญิ ขึ้นอยา่ งรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนือ่ งจากสายเสยี ง (Vocal cord) ซ่ึงอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาข้ึนอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทาให้เสียง แตกพรา่ การเปลยี่ นแปลงนเี้ กดิ จากฮอรโ์ มนของเพศชาย 4. หลอดลม (Trachea) เป็นส่วนท่ีต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของ หลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซ่ึงมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้าน หลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ท่ีวางเรียงต่อกันมีเน้ือเยื่อและกล้ามเน้ือเรียบมายึด ติดกนั การที่หลอดลมมกี ระดกู อ่อนจงึ ทาให้เปดิ อย่ตู ลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจาก ภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนท่ีตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนง ออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอด หรอื ท่ีเรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสดุ ทถี่ ุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการท่ีอากาศอยู่ ใกล้กับเลือด ในปอดมากท่สี ุด จึงเปน็ บรเิ วณแลกเปล่ียนก๊าซออกซเิ จน กับคารบ์ อนไดออกไซด์ 5. ปอด (Lung) ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดช้ีข้ึนไป ข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆน้ีประกอบข้ึนด้วยซี่โครงบนของ กระดกู สันอกและกระดูกสนั หลงั ฐานของปอดแตล่ ะข้างจะใหญ่และวางแนบสนทิ กับกระบงั ลม ระหว่างปอด 2 ขา้ ง จะพบว่ามหี วั ใจอยู่ ปอดขา้ งขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซา้ ยมี 2 ก้อน หน้าที่ของปอดคอื การนาก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนาออกซิเจนเข้าสูเ่ ลือด ปอดจึงมีรปู ร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหย่นุ คลา้ ยฟองน้า ทีม่ า : http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/haijai.htm |

3 6. เยื่อหมุ้ ปอด (Pleura) เป็นเย่ือที่บางและละเอียดอ่อน เปียกช้ืน และเป็นมันล่ืน หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เย่ือหุ้ม ปอดซึ่งมี 2 ช้ัน ระหวา่ ง 2 ชนั้ น้ีมี ของเหลวอยู่นดิ หน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเย่ือหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่า ชอ่ งระหวา่ งเย่ือหุ้มปอด กระบวนการในการหายใจ ในการหายใจน้ันมีโครงกระดูกส่วนอกและ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทาให้ทรวงอกขยายออกไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลด ต่าลง การกระทาทั้งสองอยา่ งนท้ี าให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญม่ ากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหยุดทางานและหย่อน ตัวลง ทรวงอกยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะเดิม กระบวนการเช่นน้ี ทาให้ความดนั ในปอดเพม่ิ ข้นึ เมอ่ื ความดนั ในปอดเพม่ิ ขึ้นสงู กวา่ ความดนั ของบรรยากาศ อากาศจะถูกดันออก จากปอด ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่ทาให้ อากาศมีการเคล่ือนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกดิ จากความดันที่แตกตา่ งกนั นนั่ เอง การหายใจเข้า (INSPIRATION) การหายใจออก (EXPIRATION) กะ บัง ลม จ ะ เลื่อ น สูง ก ร ะดูก ซี่โ ค ร ง จ ะ กะบังลมจะเลื่อนต่าลง กระดูกซี่โครง เลื่อนต่าลง ทาให้ปริมาตรของช่องอกลด จะเล่ือนสูงขึ้น ทาให้ปริมาตรของช่องอก น้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ เพ่ิมขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอ ก อากาศ ปอดลดต่าลงกว่าอากาศภายนอก อากาศ ภ า ย ใ น ถุง ล ม ป อ ด จึง เ ค ลื ่ อ น ที่จ า ก ถุง ล ม ภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม ปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก และไปยังถุงลมปอด

4 โครงสรา้ งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแกส๊ ของคน อากาศเข้าสู่ปอดโดยเริ่มเข้าที่ช่องจมูก แล้วเข้าสู่บริเวณโพรงจมูกซ่ึงมีเย่ือบุผิวท่ีมีซิเลียและ เมือกสาหรับดักจับสิ่งสกปรกไว้ อากาศจะเคลื่อนที่ต่อไปยังคอหอยลงสู่กล่องเสียง ซึ่งภายในมีสาย เสียง (vocal cord) จากน้ันอากาศจึงเข้าสู่หลอดลม ปลายสุดของหลอดลมแยกออกเป็นขั้วปอดแยกไปสู่ ปอดซ้ายและขวาทั้ง 2 ข้างซึ่งจะแตกแขนงเล็กลงเร่ือยๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchiole) ผนังของ หลอดลมฝอยจะบางลงตามลาดับ ปลายสุดของหลอดสมฝอยเป็นถุงขนาดเล็ก และหลอดลมฝอยส่วนต้น ประกอบด้วยกระดูกออ่ น เพ่ือป้องกนั การแฟบจากแรงกดของเนือ้ เย่ือบรเิ วณรอบๆ ภาพส่วนตา่ งๆของทางเดินหายใจ (ก.) ถงุ ลม (ข.) ผนงั ด้านในของหลอดลมบุด้วยเซลล์บผุ วิ ที่มซี เิ ลยี และเซลลซ์ งึ่ ทาหนา้ ท่ีสร้างเมือกเพื่อคอยดัก จับส่ิงสกปรกไม่ให้เข้าไปถึงถุงลม เมื่ออากาศเข้าสู่ถุงลมซ่ึงมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่โดยรอบบริเวณนี้จะมี การแลกเปล่ียนแก๊สเกิดขึ้นเป็นตาแหน่งแรก โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย และ แกส๊ คาร์บอนไดออกไซดจ์ ากหลอดเลอื ดฝอยจะแพร่เขา้ สู่ถุงลม การแลกเปลยี่ นแก๊ส การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายของคนเกิดข้ึน 2 แห่ง คือท่ีปอดและที่เซลล์ของเน้ือเยื่อ ต่างๆ ที่ปอดเป็นการแลกเปล่ียนแก๊สระหว่างถุงลมกับหลอดเลือดฝอย โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่ เข้าสู่หลอดเลือดฝอยรอบๆถุงลม และจับกับฮีโมโกลบิน (hemoglobin : Hb) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง กลายเปน็ ออกซีฮีโมโกลบนิ (oxyhemoglobin ) ทมี่ า : http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/haijai.htm |

5 ซ่ึงมีสีแดงสด เลือดท่ีมีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเน้ือเย่ือส่วน ต่างๆท่วั รา่ งกายท่ีเนอ้ื เย่อื ออกซฮี ีโมโกลบินจะเปลยี่ นเปน็ ออกซเิ จน และฮโี มโกลบิน แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้า สู่เซลล์ทาใหเ้ ซลลข์ องเน้อื เย่อื ไดร้ บั แกส๊ ออกซเิ จน ดังสมการ ขณะที่เซลล์ของเนอื้ เยอ่ื รบั แกส๊ ออกซิเจนน้นั แกส๊ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดขึ้นในเซลล์จะ แพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทาปฏิกิริยากับน้าในเซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งจะแตกตัวได้ไฮโดรเจนไอออนและไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน ซึ่งจะถูกลาเลียง ออกสพู่ ลาสมาโดยวิธีการแพร่ การแลกเปลยี่ นแกส๊ กบั การลาเลียงแกส๊ เมื่อเลือดที่มีไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน และไฮโดรเจนไอออนมากไหลเข้าสู่หัวใจ เลือดจะถูกสูบ ฉดี ต่อไปยงั หลอดเลือดฝอยรอบถุงลม ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออนจะรวมตัวกันเป็นกรด คาร์บอนิกแล้ว จึงสลายตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้าในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลให้ความหนาแน่น ของคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดฝอยสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงล ม จึงเกิดการแพร่ของ คาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยเข้าสถู่ ุงลม ดังสมการ

6 ไฮโดรเจนไอออนน้ีถ้ามีมากจะทาให้น้าเลือดหรือพลาสมามีค่า pH ต่า คือมีความเป็นกรด สูง นักเรียนทราบมาแล้วว่าโดยปกติเซลล์ในร่างกายจะทางานได้ก็ต่อเม่ือ มีค่า pH ใกล้กับ 7 หรือมี สภาวะค่อนข้างเป็นกลาง เซลล์จึงพยายามรักษาสภาพความเป็นกรด - เบส ภายในเซลล์ให้คงท่ี ถ้าแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดไม่สามารถลาเลียงไปสู่ปอดได้เพียงพอ ปริมาณไฮโดรเจนในหลอดเลือดจะสูงข้ึน จะทาใหค้ า่ pH ต่ามาก คือมีความเปน็ กรดสงู ขนึ้ ทาใหม้ ีอนั ตรายต่อเซลล์ได้ แต่โดยทั่วไป ไฮโดรเจนไอออน สามารถจะไปรวมกบั สารอินทรยี อ์ ่นื ๆ ในร่างกายได้อีกหลายชนิด เป็นการควบคุมดุลยภาพของร่างกายอย่าง หนง่ึ คาร์บอนมอนอกไซด์ออกมาง่ายๆ นักเรียนคิดว่าจะเกิดผลอย่างไรถ้าร่างกายได้รับคาร์บอนมานอกไซด์ เปน็ ปริมาณมาก มผี ู้ศึกษาความหนาแน่นของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศและใน ส่วนต่างๆของรา่ งกาย การควบคมุ การหายใจ นักเรียนสามารถบังคับการหายใจของตนเองได้หรือไม่ บางครั้งนักเรียนอาจจะบังคับลม หายใจโดยการกลั้นหายใจ หรือหายใจยางและลึกได้ แต่จะสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น การ หายใจจะสัมพันธ์กับการรักษาสภาวะสมดุลของร่างกาย กลไกควบคุมการหายใจจะเกี่ยวข้องกับระบบ ประสาทโดยมกี ารควบคมุ 2 สว่ นคอื 1. การควบคุมแบบอัตโนวัติ ซ่ึงเป็นการหายใจท่ีไม่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนพอนส์ และเมดัลลาเป็นตัวสร้างและส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ามเน้ือท่ีเก่ียวข้องกับการหายใจ ทาให้การ หายใจเข้า-ออก เกิดขึ้นได้อย่างเป็นจังหวะสม่าเสมอทั้งในยามหลับและยามตื่น โดยไม่จาเป็นต้องพะวงกับ การส่ังการให้มกี ารหายใจ 2. การควบคุมภายใต้อานาจจิตใจ ซ่ึงเป็นการหายใจท่ีสามารถบังคับได้ โดยสมองส่วน หนา้ ส่วนที่เรยี กวา่ ซรี บี รัลคอร์เทกซ์ไฮโพทาลามัส แลพสมองส่วนหลังส่วนท่ีเรียกว่า ซีรีเบลลัม ซ่ึงจะทาให้ เราสามารถควบคุม บังคับ หรือปรับการหายใจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมต่างๆของร่างกาย เช่น การ พดู การรอ้ งเพลง การเลน่ เครือ่ งดนตรีประเภทเป่า การวา่ ยนา้ การดานา้ หรอื การกลนั้ หายใจได้ การวดั อัตราการหายใจ การหายใจเข้าและหายใจออกของคนเก่ียวข้องกับ เมแทบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งเป็นผลมา จากเมแทบอลิซึมของเซลล์ถ้าร่างกายมีอัตราการหายใจสูงแสดงว่าเซลล์ต่างๆ ของร่างกายใช้พลังงาน มาก น่ันหมายถึงร่างกายมีอัตราเมแทบอลิซึมสูง แต่การวัดอัตราเมแทบอลิซึมโดยตรงนั้นทาได้ยากจึง เปลี่ยนเป็นการวัดอัตราการใช้ออกซิเจนแทน โดยถือว่าเซลล์หรือร่างกายท่ีมีอัตราเมแทบอลิซึมสูงจะมีอัตรา การนาออกซเิ จนเขา้ สงู ด้วย นกั เรียนสามารถวัดอตั ราการใช้ออกซิเจน ท่ีมา : http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/haijai.htm |

7 อาการทเ่ี กีย่ วข้องกบั การหายใจ • การจาม - หายใจเขา้ ลึกและหายใจออกทนั ที เกิดจาก ร่างกายพยายามขับสง่ิ แปลกปลอมออกนอกรา่ งกาย • การหาว - หายใจเข้ายาวและลกึ เกิดจากรา่ งกายมี CO 2 สะสมอยู่ในเลือดมากเกนิ ไปจึงตอ้ งขับออก เพื่อรับ O 2 เข้าปอดแทน • การสะอึก - กะบงั ลมหดตัวเปน็ จังหวะ ขณะหดตัว อากาศจะถกู ดันผ่านลงส่ปู อดทนั ที ทาใหเ้ ส้นเสียงสน่ั เกิด เสยี ง • การไอ - หายใจเข้ายาวและออกอย่างรุนแรง เพือ่ ไม่ใหส้ ่ิง แปลกปลอมหลุดเข้าไปในกล่องเสยี งและหลอดลม การดูแลรกั ษา ระบบหายใจ 1. รกั ษาสุขภาพให้ดี โดยการ รับประทานอาหาร พักผ่อน และออกกาลงั กายอย่าง สม่าเสมอ 2. แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ เหมาะสมกบั ฤดกู าล เพอ่ื ป้องกนั การเป็นหวดั 3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกลช้ ดิ กบั ผปู้ ่วยโรคทางเดนิ หายใจ 4. ปดิ ปากและจมูกเวลาไอ หรือจาม 5. ไมใ่ ช้สิ่งของปนกับผู้อนื่ โดยเฉพาะอย่างยง่ิ ผปู้ ว่ ยโรคทางเดนิ หายใจ 6. อยใู่ นท่ีอากาศบริสทุ ธ์ิ ไม่อับชืน้ แออัด โดยเฉพาะสถานท่ีท่ีมคี วันบุหร่ี เพราะควนั บหุ รี่ มีก๊าซพิษ คือไนโตรเจนไดออกไซด์ ทาให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง 7. ระวงั การกระแทกอยา่ งแรงกับอวยั วะการหายใจ ได้แก่ หน้าอก และปอด ไมเ่ ลยี้ งสตั วต์ า่ ง ๆ ไวใ้ นบ้าน เพราะขนสตั วก์ อ่ ใหเ้ กิดโรค

ท่มี า : http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/haijai.htm |


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook