Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore plant structure

plant structure

Published by jaroonsak25.45, 2021-09-23 06:25:27

Description: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงเรื่อง โครงสร้างพืช ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างพืช ราก ลำต้น ใบ ดอก การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช และกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

Keywords: พืช,โครงสร้างพืช,ราก,ลำต้น,ใบ,ดอก

Search

Read the Text Version

ห นั ง สื อ อิ เ ล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ แ บ บ มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ด้ ว ย เ ท ค โ น โ ล ยี เ ส มื อ น จ ริ ง เรื่อง โครงสร้างพืช จ รู ญ ศั ก ดิ์ ส อ พ อ ง

คำนำ สื่อการเรียนรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง โครงสร้างพืช ผู้จัดทำมีเป้าหมายเพื่อ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของพืช และหน้าที่ของโครงสร้าง ของพืช ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างพืช ราก ลำต้น ใบ ดอก การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช และกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืช ได้จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความ สะดวกต่อการนำไปใช้และการเผยแพร่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง โครงสร้างพืช เล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ สนใจเกี่ยวกับพืช และด้านโครงสร้างของพืช ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ ต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติม จรูญศักดิ์ สอพอง ผู้จัดทำ

สารบัญ โครงสร้างพืช ราก......................................................... 1 หน้าที่ของราก โครงสร้างของราก ชนิดของราก ลำต้น...................................................... 3 ส่วนประกอบของลำต้น หน้าที่ของลำต้น การจำแนกลำต้น ใบ.......................................................... 5 ดอก........................................................ 6 การจำแนกดอก การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช.............. 9 การบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง................ 10

โครงสร้างพืช 1 ราก หน้าที่ พืชโดยทั่วไปมีส่วนประกอบ คือ ราก ลำต้น ใบ ส่วนดอก 1. ดูดและลำเลียงน้ำ และแร่ธาตุ จะพบเฉพาะในพืชดอกเท่านั้น 2. ค้ำจุนส่วนต่างๆของพืชให้ทรงตัวได้ 3. หน้าที่พิเศษ เช่น • รากสะสมอาหาร เช่น หัวแครอท, หัวไชเท้า, หัวผักกาด, กระชาย, มันเทศ • รากสังเคราะห์แสง เช่น • รากหายใจ เช่น รากลำพู รากกล้วยไม้ (ส่วนที่มีสีเขียว) แสม โกงกาง

2 โครงสร้างของราก การเจริญเติบโตของรากจะเจริญในทิศทางตามแรงโน้มถ่วง ชนิดของราก แบ่งได้เป็น 3 ชนิด 1. รากแก้ว (Primary Root/Tap Root) งอกออกจากเมล็ด รากแก้วจะ มีขนาดใหญ่ ช่วยยึดค้ำจุนต้น 2. รากแขนง (Secondary Root/Lateral Root) รากที่เจริญของรากแก้ว จะเจริญขนานไปกับพื้นดิน 3. รากพิเศษ (Adventitious Root) งอกจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกจากโคนลำต้นเพื่อแทนรากแก้วที่ฝ่อไป พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

โครงสร้างพืช 3 ลำต้น เป็นส่วนของพืชที่เจริญขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นทิศตรงข้ามกับแรงดึงดูดของโลก ส่วนประกอบของลำต้น • ข้อ คือ ส่วนประกอบของลำต้น บริเวณที่มีใบ กิ่งและตาเจริญงอกออกมา • ปล้อง คือ ส่วนของลำต้นที่อยู่ ระหว่างข้อ • ตา คือ มีลักษณะนูนโค้งคล้ายโดม ตาจะสามารถเจริญไปเป็น กิ่ง ใบหรือดอก

4 หน้าที่ของลำต้น 1. แกนพยุงชูกิ่ง ก้าน ใบและดอกให้ได้รับแสงอาทิตย์ 2. มีเนื้อเยื่อเป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากไปสู่ใบ และมีเนื้อเยื่อเป็น ท่อลำเลียงอาหารจากใบไปส่วนต่างๆของพืช 3. หน้าที่พิเศษ เช่น • ลำต้นขยายพันธุ์ เช่น คุณนายตื่นสาย ขิง ข่า ลีลาวดี • ลำต้นสังเคราะห์ด้วยแสง เฉพาะพืชที่มีลำต้นเป็นสีเขียว เช่น กระบองเพชร • ลำต้นสะสมอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น มันฝรั่ง เผือก การจำแนกลำต้น

โครงสร้างพืช 5 ใบ • เป็นส่วนที่เจริญมาจาก “ตา” ตรงข้อของลำต้นหรือกิ่ง • ส่วนใหญ่มีสีเขียวของ”คลอโรฟิลล์” (มีหน้าที่รับพลังงานแสงและนำปใช้ใน กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง) • ด้านที่หันเข้าหาแสงอาทิตย์เรียกว่า “ด้านท้องใบ” ส่วนอีกด้านเรียกว่า “ด้านหลังใบ” • พืชบกมักจะพบ “ปากใบ”ที่บริเวณด้านหลังใบมากกว่าด้านท้องใบ • ปากใบ คือ รูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุมที่ควบคุมการปิด-เปิดของปากใบ ปากใบ จะเป็นทางผ่านเข้าออกของ แก๊ส และ น้ำ (การคายน้ำ)

โครงสร้างพืช 6 ดอก นักวิทยาศาสตร์จำแนกพืชโดยใช้ “ดอก” เป็นเกณฑ์ในการจำแนก พืชชั้นสูง (พืชมีดอก) เช่น ชบา, กุหลาบ, มะลิ, บัว เป็นต้น พืชชั้นต่ำ (พืชไร้ดอก) เช่น ข้าวตอกฤาษี, ตะไคร่น้ำ, มอส, เฟิร์น, สน, ผักกูด, ผักแว่น เป็นต้น ดอก ส่วนใหญ่มีหน้าที่คือ “สืบพันธุ์” เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

7 • อับเรณู: ภายในมี “ละอองเรณู (ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้)” จำนวนมาก • ยอดเกสรตัวเมีย: จะมีขนเล็กๆ และมีน้ำหวานเหนียว สำหรับดัก จับ ละอองเรณูและน้ำหวานยังเป็น อาหารสำคัญสำหรับการงอก หลอดละอองเรณู • รังไข่: จะมีออวุลอยู่ ภายในออวุลจะเป็นที่สร้างเซลล์ไข่ การจำแนกดอก

8

9 การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช • พืชโครงสร้างที่ใช้ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ • พืชจะมีระบบเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เรียกว่า “ไซเล็ม (Xylem)” • พืชจะมีระบบเนื้อเยื่อสำหรับลำเลียงอาหาร เรียกว่า “โฟลเอ็ม (Phloem)”

10 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจัดเป็น “ผู้ผลิต” ในระบบนิเวศเพราะสามารถนำพลังงานแสง อาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารจากแร่ธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติ · การสังเคราะห์ด้วยแสง : เปลี่ยนพลังงานแสง เป็น พลังงานเคมี · การสังเคราะห์ด้วยแสงคือ กระบวนการสร้างอาหารของพืช · อาหารที่พืชสร้างได้คือ “น้ำตาลกลูโคส” ซึ่งพืชจะเก็บสะสมในรูป “แป้ง” และ แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็น “น้ำตาลกลูโคส” เมื่อพืชต้องการ สลายน้ำตาลเป็นพลังงาน · ตอนกลางวันที่มีแสง พืชจะใช้ “คาร์บอนไดออกไซด์” และปล่อย แก๊ส “ออกซิเจน” · พืชจะคาย “น้ำและแก๊สออกซิเจน” ออกมาทางปากใบ

คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ที่มา : www.thaiedujobs.com


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook