มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-1 หนว่ ยท ่ี 2 การสมรสแ ละค วามสมั พันธ์ระหวา่ งสามีภรยิ า อาจารย์จริ าพ ร สุทนั ก ติ ระ มสธ มสธ มสธ มสธ มส ชอ่ื อาจารย์จิราพร สุทันกิตระ วฒุ ิ อ.บ., น.บ., LL.M. University of Sheffield ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ปรับปรงุ หน่วยที่ 2 ปรับปรุงจากต้นฉบับเดิม หน่วยที่ 2 การสมรสแ ละค วามส ัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา อาจารย์ประสพสุข บุญเดช
มส 2-2 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ แผนการสอนประจำหนว่ ยมสธ ชุดวิชา กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัวมรดก หนว่ ยท่ี 2 การส มรสแ ละความสัมพันธ์ร ะหว่างส ามีภริยา ตอนท ่ี 2.1 เงื่อนไขข องก ารสมรส 2.2 ความสัมพันธ์ร ะหว่างสามีภริยา แนวคดิ 1. ในกรณีที่ชายและหญิงจะสมรสกันนั้นกฎหมายกำหนดอายุขั้นต่ำของชายหญิงไว้ และยังกำหนด เงื่อนไขอื่นๆ เพื่อคุ้มครองคู่สมรสและให้เกิดความสงบเรียบร้อยในครอบครัวไม่ขัดต่อศีลธรรมและ ความรู้สึกของสังคมส่วนรวม หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายแล้วการสมรสเช่นว่า น ั้นอ าจถูกย กเลิกเพิกถอนในภายหลังได้ 2. ก ารสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ซึ่งมีผลทำให้ชายและ หญิงเป็นสามีภริยากันตั้งแต่วันที่จดทะเบียนสมรสกันนั้น แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินที่ชายหรือหญิง ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรืออยู่ในภาวะการรบ การสงคราม เมื่อมีการแสดงเจตนาขอทำการ สมรสกันแล้ว ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง การสมรสนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่แสดง เจตนาสมรสกัน 3. ก ารสมรสในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย แต่ถ้าคนไทยจะทำการสมรสในต่างประเทศ อาจทำการสมรสต ามแบบของต ่างประเทศก็ได้ 4. เมื่อการสมรสถูกต้องแล้ว ชายและหญิงก็เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายและก่อให้เกิดความสัมพันธ์ ระหว่างส ามีภริยาที่จะต ้องอยู่กินด้วยกันแ ละอุปการะเลี้ยงดูกันแ ละก ัน การสมรสอาจมีผลต่อการจะใช้ คำนำหน้านามของห ญิงแ ละก ารใช้ช ื่อสกุลของชายแ ละห ญิง 5. หากการที่ชายหญิงจะอยู่กินด้วยกันฉันสามีต่อไปจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือทำลายความ ผาสุกอย่างมากแล้ว อาจมีการขออนุญาตจากศาลให้สั่งให้แยกกันอยู่ต่างหากจากกันเป็นการชั่วคราว โดยยังไม่ถือว่าเป็นการขาดจากการสมรสก็ได้ ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความขัดข้องมิให้คู่สมรสต้องถึงกับ หย่าร้างเลิกรากันไป 6. ในระหว่างที่ชายหญิงอยู่กินด้วยกันนี้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถหรือวิกลจริต คู่ส มรสอีกฝ ่ายห นึ่งก ็จ ะต ้องค ุ้มครองด ูแลให้มีความป ลอดภัยตามส มควรด้วย มสธ มสธ มส
มสการสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-3 มสธ มสธ วตั ถปุ ระสงค์ มสธ เมื่อศึกษาห น่วยที่ 2 จบแ ล้ว นักศึกษาส ามารถ 1. อธิบายหลักเกณฑ์ วิธีก าร และเงื่อนไขในการท ี่ชายห ญิงจ ะทำการสมรสก ันได้ 2. วินิจฉัยป ัญหาเกี่ยวก ับผ ลของก ารสมรสโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กฎหมายบ ัญญัติไว้ 3. อธิบายได้ว ่าหากคนไทยจะท ำการสมรสในต่างป ระเทศจ ะต ้องปฏิบัติอ ย่างไร 4. อธิบายและวินิจฉัยป ัญหาที่เกี่ยวก ับความส ัมพันธ์ระหว่างส ามีภริยาในระหว่างท ี่อยู่กินด้วยกันได้ 5. อ ธิบายห ลักเกณฑ์ในก ารที่ส ามีภ ริยาจ ะขอแยกก ันอยู่ต ่างห ากจ ากก ันเป็นการชั่วคราว และการค ุ้มครอง คู่สมรสที่ตกเป็นคนไร้ค วามสามารถหรือวิกลจริตได้ กจิ กรรมร ะหว่างเรยี น 1. ทำแ บบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 2 2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 2.1-2.2 3. ฟังซีดีเสียงป ระกอบชุดวิชา 4. ทำก ิจกรรมในเอกสารการสอน 5. ชมร ายการวิทยุโทรทัศน์ 6. เข้าร ับบริการสอนเสริม 7. ทำแ บบประเมินผลตนเองห ลังเรียนหน่วยท ี่ 2 สือ่ การส อน 1. เอกสารก ารสอน 2. แบบฝึกป ฏิบัติ 3. ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา 4. รายการวิทยุโทรทัศน์ 5. การส อนเสริม การประเมนิ ผล 1. ประเมินผ ลจ ากแบบป ระเมินผลตนเองก ่อนเรียนและหลังเรียน 2. ประเมินผ ลจ ากก ิจกรรมและแ นวต อบท ้ายเรื่อง 3. ประเมินผ ลจ ากก ารสอบไล่ประจำภ าคก ารศึกษา เมอ่ื อ่านแ ผนการส อนแ ลว้ ขอใหท้ ำแ บบประเมนิ ผ ลตนเองกอ่ นเรียน หนว่ ยที่ 2 ในแบบฝ กึ ปฏบิ ัติ แลว้ จ งึ ศ ึกษาเอกสารก ารส อนต ่อไป มสธ มส
มส 2-4 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ตอนที่ 2.1มสธ เง่อื นไขของการส มรส โปรดอ่านห ัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนท ี่ 2.1 แล้วจ ึงศึกษาร ายล ะเอียดต่อไป หวั เร่ือง 2.1.1 ความส ามารถในการสมรส 2.1.2 ความย ินยอมในก ารสมรส 2.1.3 กรณีเกี่ยวกับศ ีลธ รรมและสังคม 2.1.4 การส มรสของห ญิงห ม้าย 2.1.5 แบบข องก ารส มรส แนวคิด 1. ก ารที่ชายหญิงจะทำการสมรสกันนั้น กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับอายุขั้นต่ำไว้ว่าจะต้อง มีอายุอ ย่างต ่ำ 17 ปีบริบ ูรณ์ และต ้องไม่เป็นบ ุคคลวิกลจริต นอกจากน ี้หากย ังเป็นผู้เยาว์อ ยู่ก็จะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองชายหญิง ผู้ท ำการสมรสนั้นเอง และก่อให้เกิดค วามสงบเรียบร้อยในสังคมส่วนร วม 2. ช ายและหญิงผู้ทำการสมรสจะต้องตกลงยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่ายจึงจะทำให้การสมรส มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ หากการสมรสได้กระทำไปโดยการสำคัญผิดตัวคู่สมรส โดยถูกหลอกลวง หรือถูกข ่มขู่ การส มรสเช่นว่าน ั้นอ าจจ ะถ ูกเพิกถ อนในภายห ลังได้ 3. เนื่องจากการสมรสก่อให้เกิดสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของสังคมส่วนรวม การสมรส จึงต ้องคำนึงถ ึงศีลธ รรมอ ันด ีข องป ระชาชนด ้วย กฎหมายจ ึงห ้ามญาติพ ี่น้องที่ใกล้ชิดกันมาสมรส กัน และจ ะทำการสมรสซ้อนก ็ไม่ได้ เพราะจะท ำให้เกิดความแ ตกร ้าวในครอบครัวเดิม 4. ในระยะเวลาที่ไม่แน่ใจว่าหญิงหม้ายมีทารกอยู่ในครรภ์หรือไม่ กฎหมายห้ามหญิงหม้ายทำการ สมรสใหม่ เพื่อเป็นการตัดปัญหาเกี่ยวกับทารกที่จะเกิดมาว่าจะเป็นบุตรของสามีเดิมหรือสามี คนใหม่ 5. ก ารสมรสที่สมบูรณ์จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน คนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ อาจจ ะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยก็ได้ โดยไปจดท ะเบียนต ่อพนักงานท ูตหรือกงสุลไทย 6. ใ นกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินที่ชายหรือหญิงตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบ หรือสงคราม ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้นั้น กฎหมายยินยอมให้ทำ การแสดงเจตนาขอทำการสมรสต่อบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วได้ แต่ทั้งนี้จะต้องมาจดทะเบียน สมรสภายใน 90 วันด้วย การส มรสนั้นจึงจ ะมีผล มสธ มสธ มส
มสการสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-5 มสธ มสธ วัตถปุ ระสงค์ เมื่อศ ึกษาต อนที่ 2.1 จบแ ล้ว นักศึกษาส ามารถ 1. อธิบายห ลักเกณฑ์แ ละเงื่อนไขในก ารที่ช ายและห ญิงจะท ำการส มรสกันได้ 2. อธบิ ายแ ละว นิ จิ ฉยั ป ญั หาในก ารท ชี่ ายแ ละห ญงิ ท ำการส มรสก นั โดยฝ า่ ฝนื เงือ่ นไขท กี่ ฎหมายกำหนด ไว้ไ ด้ 3. อธิบายแ ละวินิจฉัยป ัญหาในก ารจดท ะเบียนส มรสของชายหญิงได้ มสธ มสธ มส
มส 2-6 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เรอ่ื งที่ 2.1.1มสธ ความสามารถในการส มรส มสธ 1. ความห มายและหลกั เกณฑท์ ่ัวไปข องก ารส มรส การสมรสนั้น อาจารย์ประสพสุขห็นว่าเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่ง แต่แตกต่างจากสัญญาโดยทั่วๆ ไป เพราะน อกเหนือจากสัญญาแ ล้วก ารสมรสยังก ่อให้เกิดส ถาบันท างส ังคม (social institution) ขึ้นมาด้วย ในสัญญา ธรรมดาคู่สัญญาอาจจะกำหนดเงื่อนไข ข้อตกลงหรือข้อกำหนดอย่างใดๆ ก็ได้ เว้นแต่จะเป็นการขัดต่อกฎหมาย ขัดต ่อความส งบเรียบร้อยหรือศ ีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ในการส มรสนั้นสภาวะแ ละผลแ ห่งก ารส มรสส่วนใหญ่ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คู่สมรสไม่อาจตกลงกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เว้นแต่ในเรื่อง สัญญาก่อนสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินตามมาตรา 1465 เท่านั้น นอกจากนี้กฎหมายยังได้กำหนดเงื่อนไขแห่งการ สมรสในเรื่องความสามารถ ความยินยอมและแบบของการสมรสไว้อีกด้วย เงื่อนไขแห่งการสมรสตามที่กฎหมาย กำหนดไว้นี้ใช้บังคับในทุกกรณีที่การสมรสได้กระทำลงในประเทศไทย ไม่ว่าผู้ที่จะทำการสมรสนั้นจะเป็นคนไทย หรือคนต่างชาติ ฉะนั้นแม้บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสจะสมรสกับบุคคลสัญชาติสิงคโปร์ในประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขในบรรพ 5 เช่นเดียวกับคนไทย หรือชายสัญชาติอินเดีย นับถือศาสนาอิสลาม คนในบังคับอังกฤษ สมรส กับหญิงไทยในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย การสมรสนั้นย่อมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีพิธีตาม ศาสนาอ ิสลาม1 ประเทศไทยเราประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ได้ถือหลักการสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2478 ที่ได้มีการตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมออกมาใช้บังคับเป็นต้นมา แต่ในเรื่อง คำจำกัดค วามห รือค วามห มายของก ารส มรสน ั้นกฎหมายม ิได้มีกำหนดไว้ เพราะค งเห็นว ่าเป็นถ้อยคำธ รรมดาส ามัญ ที่เข้าใจกันได้ง่ายอยู่แล้ว กฎหมายของต่างประเทศส่วนใหญ่ก็มิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำนี้ไว้ มีแต่กฎหมายโรมัน สมัยพระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียนที่กำหนดว่า “การสมรสตามกฎหมายแพ่งเป็นสัญญาขึ้นเมื่อประชาชนชาวโรมัน มาอยู่รวมกันตามกฎหมาย โดยชายมีอายุถึงปีรุ่นหนุ่ม หญิงมีอายุที่จะสมรสได้ ทั้งนี้ไม่คำนึงว่าบุคคลเหล่านั้น จะบรรลุนิติภาวะหรือยังอยู่ในอำนาจปกครอง ถ้าหากเด็กที่ยังอยู่ในอำนาจปกครองนั้นจะต้องได้รับความยินยอม ของญาติฝ่ายบิดาแล้ว” หรือประมวลกฎหมายแพ่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ให้คำจำกัดความการสมรส ไว้ในมาตรา 4100 ว่า “การสมรสเป็นความสัมพันธ์ทางส่วนตัวที่เกิดจากสัญญาในทางแพ่งระหว่างชายหนึ่งและ หญิงหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีความยินยอมของคู่สัญญาที่มีความสามารถในการทำสัญญานั้นด้วย ความยินยอม แต่เพียงอย่างเดียวจะไม่ก่อให้เกิดการสมรสขึ้นได้ แต่จะต้องมีการออกใบอนุญาตและการทำพิธีตามที่ประมวล กฎหมายนี้ให้อำนาจไว้ติดตามมาด้วย เว้นแต่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4213” ฉะนั้นในปัจจุบันนี้ถ้าหากจะให้ ความหมายในทางกฎหมายแล้ว การสมรสหมายถึงการท่ีชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินฉันสามีภริยากันชั่วชีวิต โดยจ ะไม่เกี่ยวขอ้ งทางช ู้สาวก บั บคุ คลอ ่นื ใดอีก จากคำจำกัดค วามดังกล่าวจ ะเห็นได้ว ่าการส มรสจ ะต ้องประกอบด้วย หลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ 1. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายและอีกฝ่ายหน่ึงจะต้องเป็นหญิง (one party must be male and the other female) บุคคลเพศเดียวกันสมรสกันไม่ได้ บทบัญญัติในเรื่องเงื่อนไขแห่งการสมรสกำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิเช่น มาตรา 1448 บัญญัติว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเม่ือชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์” 1 ฎ. 463/2485 มสธ มส
มสการสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-7 เป็นต้น การที่กฎหมายห้ามมิให้บุคคลเพศเดียวกันสมรสกันไม่เป็นการขัดต่อสิทธิขั้นมูลฐานของประชาชนแต่มสธ อย่างใด ในสหรัฐอเมริกาศาลสูงแห่งรัฐมินิโซต้าได้เคยวินิจฉัยไว้ว่า การที่กฎหมายมิได้อนุญาตให้บุคคลเพศมสธ เดียวกันสมรสกันได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการห้ามบุคคลเพศเดียวกันสมรสกันนั้น กฎหมายดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มสธสหรัฐ2 ปัญหาที่ยุ่งยากอาจเกิดขึ้นในกรณีที่มีการแปลงเพศโดยการผ่าตัด ซึ่งในเรื่องนี้ศาลอังกฤษมีความเห็นว่า เนื่องจากส ภาพบ ุคคลเริ่มตั้งแต่บ ุคคลนั้นค ลอด สภาพบุคคลดังก ล่าวร วมท ั้งเพศข องบุคคลนั้นด้วย เพศจ ึงไม่อาจมี การเปลี่ยนแปลงภายหลังจากเมื่อคลอดออกมาแล้วได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ดังนั้นชายที่ผ่าตัดแปลงเพศโดยการตัด อวัยวะเพศชายออกแล้วสอดใส่อวัยวะเพศหญิงเทียมเข้าไปนั้นก็ยังคงเป็นชายอยู่นั่นเอง จึงไม่สามารถทำการสมรส กับชายอื่นได3้ แต่ในสหรัฐอเมริกา ศาลสูงแ ห่งรัฐนิวเจอร์ซี่วินิจฉัยว่า ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิงและได้ทำการ สมรสกับชายอื่นนั้น เพื่อประโยชน์แห่งการสมรสต้องถือว่าเป็นหญิง และชายอื่นนั้นต้องถือว่าเป็นสามีที่ชอบด้วย กฎหมาย ชายผู้เป็นสามีจึงมีหน้าที่ต้องให้ค วามอุปการะเลี้ยงดู4 สำหรับป ระเทศไทยน ั้นถือตามเพศที่ก ำเนิดม าไม่ว ่า จะเป็นการผ่าตัดจ ากหญิงเป็นชายหรือช ายเป็นหญิงก็ตาม ไม่มีในก ารเปลี่ยนแปลงเพศตามก ฎหมาย อทุ าหรณ์ ฎ. 157/2524 เพศของบุคคลธรรมดากฎหมายรับรองและถือเอาเพศตามเพศที่ถือกำเนิดมา หญิงตาม พจนานุกรมคือคนที่ออกลูกได้ ผู้ร้องเป็นชายรับการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศ แต่ก็ไม่สามารถมีลูกได้ ฉะนั้น โดยธรรมชาติและตามที่กฎหมายรับรองผู้ร้องยังคงเป็นเพศชายอยู่ ไม่มีกฎหมายให้ผู้ร้องขอเปลี่ยนแปลงเพศโดย ใช้ส ิทธิทางศาล ฎ. 3725/2532 โจทก์และจำเลยต่างเป็นหญิงด้วยกัน แต่โจทก์มีนิสัยและทำตัวอย่างผู้ชาย คนทั่วไปเข้าใจ โจทก์เป็นชาย โจทก์มีความรักใคร่จำเลยฉันชู้สาว จึงพาจำเลยมาอยู่กับโจทก์ในฐานะเป็นแม่บ้านของโจทก์เป็นเวลา เกือบ 20 ปี โดยโจทก์แ ละจำเลยได้ร่วมก ันทำม าห ากินแ สวงหาทรัพย์สิน ซึ่งไม่ว ่าจะเป็นด้วยแ รงห รือเงินของฝ ่ายใด ก็ตาม ดังนี้ถ ือได้ว่าทรัพย์ที่ได้ม านั้นเป็นทรัพย์ที่ท ั้งโจทก์จ ำเลยต ่างมีเจตนาท ี่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์แ ละจำเลย จึงมีส ่วนในท รัพย์สินท ี่พ ิพาทท ั้งหมดคนละกึ่งห นึ่ง 2. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจ (Voluntary) ของชายและหญิง หากชายหญิงไม่สมัครใจ ยินยอมส มรสก ัน การสมรสน ั้นเป็นโมฆะ ทั้งนี้พราะค วามสมัครใจยินยอมของทั้งชายและหญิงเป็นรากฐานแ ห่งการ สมรสที่สำคัญที่สุด แม้การสมรสตามหลักกฎหมายศาสนาคริสต์ก็ยังถือว่า หากชายหญิงมิได้สมัครใจยินยอมที่จะ สมรสกันถึงจะมีพิธีการสมรสทางศาสนาต่อหน้าพระและพยานอย่างน้อยสองคนแล้ว หรือชายและหญิงได้อยู่กิน ด้วยกันแล้วก็ตาม การสมรสนั้นก็เป็นโมฆะอยู่นั่นเอง ฉะนั้นในการจดทะเบียนสมรสชายและหญิงจะต้องแสดงการ สมัครใจยินยอมให้ปรากฏโดยเปิดเผยและในแบบคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าพนักงานจึงต้องมีช่องให้พยาน 2 คนล งลายมือชื่อร ับร ู้ในเรื่องค วามสมัครใจยินยอมของชายและห ญิงในการส มรสนี้ด้วย 3. การอยู่กนิ ดว้ ยก ันฉ ันสามีภรยิ าจ ะต้องเปน็ ระยะเวลาชั่วชีวิต (Union for Life) แต่ทั้งนี้มิได้หมายความ ว่าการสมรสจะสิ้นสุดลงเฉพาะแต่ด้วยความตายเท่านั้น กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา กันได้ การที่ชายหญิงทำการสมรสกันโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาใดเวลาหนึ่งแล้วให้การสมรส สิ้นสุดลง ข้อตกลงเช่นว่านี้ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงเป็นโมฆะตาม มาตรา 113 แต่ก ารส มรสนั้นส มบูรณ์ท ุกป ระการโดยถือเสมือนว่าไม่มีข้อตกลงด ังกล่าวเลย5 2 Baker v. Nelson (1971) 191 N.W. 2d 185. 3 Corbett v. Corbett (1970) 2 All E.R. 33. 4 M.V.J.T. (1976) 140 N.J. Super 77. 5 ทั้งนี้ตามหลักใน ปพพ. มาตรา 150 มสธ มส
มส 2-8 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ 4. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว (Monogamous) คู่สมรสจะสมรสใหม่ไม่ได้ตราบเท่าที่ยังไม่มสธ ขาดจากคู่สมรสเดิม แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะเชื่อโดยสุจริตว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงทำการ สมรสใหม่ หากปรากฏในภายหลังว่าคู่ส มรสเดิมยังมีชีวิตอ ยู่ การสมรสครั้งหลังน ี้เป็นโมฆะมสธ ตามกฎหมายโบราณ พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาจะทำการสมรสมีภริยาไม่ได้ ปัจจุบัน ปพพ. บรรพ 5 ไม่ได้ก ล่าวถ ึงเรื่องน ี้ไว้ แต่ก็เป็นท ี่เข้าใจว่าพระภ ิกษุ สามเณร ชี เป็นบ ุคคลที่ทำการส มรสไม่ได้ เพราะถ ือว่า เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ส่วนนักบวชในศาสนาอื่นจะทำการสมรสได้ หรือไม่ก็แล้วแ ต่ข้อห้ามท างศาสนาน ั้นๆ หากม ีข้อห้ามมิให้ทำการสมรสก็ถือว่าทำการส มรสไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่หญิงชายสมรสกันแล้ว ต่อมาชายไปบวชเป็นพระ ในพระพุทธศาสนาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย มาตรา 38 บัญญัติว่า “หญิงชายราษฎรอยู่กินเป็นผัวเมียกัน สามี ศรัทธาสละภริยาและทรัพย์ส่ิงของ บวชเป็นภิกษุสามเณรแล้วและสึกออกมาคืนอยู่กินด้วยหญิงอีกไซร้ ถ้าหญิงน้ัน มิสมัครเป็นภริยาชายน้ันต่อไปก็ตามใจหญิง เหตุว่าบวชแล้วขาดจากผัวเมียกัน” แต่ตาม ปพพ. บรรพ 5 การที่สามี ไปบวชเป็นพระไม่เป็นเหตุให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ทั้งนี้เพราะการสมรสจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุเพียง 3 ประการ คือ ความตาย การหย่า และก ารที่ศ าลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น อทุ าหรณ์ ฏ. 135/2498 เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ปพพ. บรรพ 5 สามีไปบวชเป็นพระภิกษุเมื่อใช้ประมวลกฎหมาย แพ่งและพ าณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ไม่เป็นการท ิ้งร้างถือว่ายังไม่ข าดจ ากก ารเป็นส ามีภ ริยา ทรัพย์สินท ี่ได้ม าระหว่างนั้น เป็นส ินส มรส6 2. ความสามารถในการส มรส กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขท ี่เกี่ยวกับความส ามารถในการส มรสไว้ 3 ประการ ในมาตรา 1448 มาตรา 1449 มาตรา 1454 มาตรา 1455 และมาตรา 1456 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตราดังกล่าวจะส่งผลให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ ห รือโมฆียะแล้วแ ต่กรณี เงื่อนไขในการส มรส 3 ประการ ได้แก่ (1) ชายแ ละหญงิ ตอ้ งม ีอายุ 17 ปบี ร บิ รู ณ์แลว้ ทัง้ สองค น มาตรา 1448 บัญญัติว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเม่ือชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีท่ีมี เหตอุ ันส มควร ศาลอ าจอ นญุ าตให้ท ำการส มรสกอ่ นนน้ั ได้” โดยทางสรีระวิทยาชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี มักจะยังไม่มีความเจริญเติบโตในร่างกายจิตใจ และ สมองอย่างเต็มที่ (immature) ยังขาดวุฒิภาวะในการครองเรือน การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันและการจัดการ ทรัพย์สิน มาตรา 1448 จึงกำหนดอายุขั้นต่ำ (minimum age) ของคู่สมรสไว้ว่าจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้โตพอที่จะรับผิดชอบในเรื่องการสมรสได้ หากชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายฝ่าฝืนเงื่อนไขไปทำ การสมรสโดยที่อายุย ังไม่ค รบ 17 ปีบริบ ูรณ์ การส มรสนั้นเป็นโมฆียะตามมาตรา 1503 ผู้มีส่วนได้เสียคือบิดาม ารดา และตัวชายหญิงนั้นเองมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลขอให้พิพากษาเพิกถอนการสมรสนั้นได้ตามมาตรา 1504 หากมิได้ เพิกถ อนก ารส มรสจ นช ายหญิงม ีอายุครบ 17 ปีบร ิบ ูรณ์ หรือหญิงเกิดม ีครรภ์ข ึ้นม าก่อนห ญิงอ ายุค รบ 17 ปีบร ิบ ูรณ์ 6 ฎ. 135/2498 ข้างต้นน ี้ภิกษุไม่ได้มรณภาพเมื่อห ย่าแล้วทรัพย์สินของพ ระภ ิกษุต้องแ บ่งให้แ ก่คู่สมรสเพราะการบวชเป็นภิกษุไม่ทำให้ การสมรสสิ้นสุดลง แต่หากภิกษุมรณภาพในระหว่างสมณเพศ ทรัพย์สินของพระภิกษุจะตกเป็นของทายาทหรือของวัดหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ว่า ทรัพย์สินน ั้นภ ิกษุได้ม าก ่อนหรือได้มาในระหว่างเป็นส มณเพศ ตามที่มาต รา 1623 ได้บัญญัติไว้ ซึ่งในเรื่องน ี้มี ฎ. 903/2536 ตัดสินว ่าทรัพย์สินท ี่ พระภ ิกษไุดเ้ช่าซ ื้อแ ละช ำระค ่าเช่าซ ื้อท ี่ดินจ นค รบถ ้วนแ ล้วก ่อนม าบ วชเป็นพ ระภ ิกษถุ ือเป็นท รัพย์สินท ีไ่ดม้ าก ่อนบ วชเป็นพ ระภ ิกษุ เมื่อท ี่ดินน ั้นม ิใช่ ทรัพย์สินท ี่ได้ม าในร ะหว่างเวลาท ี่อยู่ในส มณเพศจ ึงไม่ต กเป็นสมบัติของวัดตามมาตรา 1623 แต่ตกเป็นทรัพย์มรดกแก่ทายาทข องพระภ ิกษุ มสธ มส
มสการสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-9 กฎหมายถือว่าการสมรสที่เป็นโมฆียะนั้นสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส จะขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนไม่ได้อีกมสธ ต่อไป การที่กฎหมายกำหนดอายุขั้นต่ำของคู่สมรสไว้นี้เป็นหลักสากล ในประเทศอังกฤษสมัยโบราณถือว่าชายมสธ ต้องม ีอายุอย่างต ่ำ 14 ปี หญิงต้องม ีอายุอ ย่างต ่ำ 12 ปี จึงจะทำการส มรสกันได้ โดยถ ือว่าชายหญิงที่ม ีอายุต่ำก ว่านี้ มสธไม่ส ามารถอ ยู่กินด ้วยกันฉ ันสามีภ ริยาได้ ประเทศออสเตรเลียช ายต ้องอ ายุอ ย่างต ่ำ 18 ปี หญิง 16 ปี จึงจ ะสมรสกัน ได้ ในสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย กฎหมายกำหนดอายุขั้นต่ำของชายหญิงที่จะทำการสมรสไว้ 18 ปี แต่เปิด โอกาสใหช้ ายห ญงิ ท อี่ ายตุ ำ่ ก วา่ น สี้ มรสก ันไดห้ ากบ ดิ าม ารดาย ินยอมแ ละไดร้ ับอ นุญาตจ ากศ าล7 ในป ระเทศอ ินโดนีเซีย กฎหมายกำหนดไว้ว ่าช ายต้องม ีอายุอ ย่างต ่ำ 19 ปี หญิง 16 ปี จึงจ ะท ำการส มรสกันได้8 ประเทศมาเลเซียเพื่อนบ ้าน ของไทยเรากำหนดอายุช ายและหญิงไว้ 18 ปี9 อย่างไรก ็ดี หลักก ารที่ชายและห ญิงจะท ำการส มรสก ันได้ต่อเมื่อทั้งส องฝ่ายมีอายุค รบ 17 ปีบร ิบูรณ์แล้วนี้ มีข้อยกเว้นว่าศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้หากมีเหตุอันสมควร ซึ่งเป็นการให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะมี คำสั่งโดยคำนึงถ ึงประโยชน์ของบุคคลที่ย ื่นค ำขอและค วามม ั่นคงของก ารส มรส ทั้งนี้เพราะการสมรสของบุคคลที่ยัง อ่อนอายุนั้นมีแนวโน้มที่จะเลิกรากันได้ง่ายๆ ตัวอย่างในเรื่องเหตุที่จะมายื่นคำขออนุญาตจากศาลก็ เช่น ชายอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หญิงอายุ 15 ปีบริบูรณ์ลักลอบได้เสียกันจนหญิงตั้งครรภ์ เช่นนี้หญิงอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้ตนสมรสได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตนและแก่บุตรที่จะเกิดมา ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นดุลย- พินิจของศาล ในการยื่นคำร้องต่อศาล หญิงหรือชายที่อายุไม่ครบต้องเป็นฝ่ายยื่นคำร้องขอเอง ชายหรือหญิงอีก ฝ่ายจะยื่นคำร้องขอแทนไม่ได้ ในสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนีย คดี Re Barbara Haven (86 Pa. DC. 141) หญิงอายุ 14 ปี 8 เดือน ที่มีความเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างสมบูรณ์แล้วยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตทำการ สมรสกับหนุ่มอายุ 22 ปี โดยให้เหตุผลเพียงว่าเธอรักกับหนุ่มคนนี้ ศาลพิพากษาให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่า การ ต กอ ยู่ในห้วงความรักมิใช่เหตุผลอันส มควรที่ศ าลจะอนุญาตให้ทำการส มรสก่อนอายุครบกำหนดต ามก ฎหมายได้ อุทาหรณ์ ฎ. 6035/2541 เด็กหญิง ย. อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานต ามป ระเพณีกับ จ.แล้ว ก็ย ังไม่พ้นจ าก ภาวะการเป็นเด็กห รือผ ู้เยาว์ตาม ปพพ. มาตรา 20 เพราะการแต่งงานห รือการส มรสข องผู้เสียห ายม ิได้อยู่ในเงื่อนไข ตามบทบัญญัติแห่ง ปพพ. มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ อีกทั้งความไม่ปรากฏ ว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสหรือมีการจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ. มาตรา 1457 การที่บิดามารดา ผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายสมรสอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็ก หรือผู้เยาว์ให้ จ. ดูแลแทน ฎ. 1285/2544 ปอ.มาตรา 277 วรรคห้าบัญญัติว่า “...และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้น สมรสกันผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำผิดนั้นไป” หมายความว่า ชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้อง ขออนุญาตต่อศาลตาม ปพพ. มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรส กันในเวลาต่อมา ย่อมเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตาม ปอ. มาตรา 277 วรรคห้า (2) ชายห รอื ห ญงิ ต อ้ งไ มเ่ ปน็ ค นว กิ ลจรติ หรอื เปน็ บ คุ คลซ งึ่ ศ าลส ง่ั ใหเ้ ปน็ ค นไ รค้ วามส ามารถ บคุ คลว กิ ลจรติ ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้วก็ดี หรือศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ดี มาตรา 1449 บัญญัติว่า 7 Section 410, California Civil Code. 8 Article 7, Law of the Republic of Indonesia Number 1 of the year 1974 on Marriage. 9 Section 10, the Law Reform (Marriage and Divorce) Act 1976. มสธ มส
มส 2-10 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ “การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซ่ึงศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ”มสธ กฎหมายห้ามมิให้ทำการสมรสเพราะคนวิกลจริตเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบในการเป็นคู่ครองของกันและกัน และไม่สามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของสามีภริยาได้ นอกจากนี้ความวิกลจริตนี้เป็นกรรมพันธุ์ ที่จะถ่ายทอดมสธ ไปยังบุตรที่เกิดมา หากยอมให้มีการสมรสกับคนวิกลจริตแล้วประชากรที่จะเพิ่มขึ้นมาแทนที่จะเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติกลับกลายเป็นคนบ้าไปเสียหมด กฎหมายจึงห้ามมิให้คนวิกลจริตทำการสมรส ทั้งยังมีแนวความ คิดที่จะทำหมัน (sterilize) คนวิกลจริตเพื่อมิให้มีโอกาสเผยแพร่เผ่าพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์นี้ด้วย การฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ กฎหมายกำหนดไว้โดยทำการสมรสกับคนวิกลจริต การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ในขณะสมรส บุคคลวิกลจริตนั้นจะมีความรู้สึกผิดชอบอยู่ในระหว่างเวลานั้นก็ตาม ทั้งนี้เท่ากับว่ามาตรา 1495 เป็นกรณีที่ยกเว้น มาตรา 30 นั่นเอง ผู้มีส่วนได้เสียม ีสิทธิน ำคดีขึ้นสู่ศาลขอให้มีคำพิพากษาแ สดงว ่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งก็จะมี ผลทำให้การสมรสนั้นเสียเปล่ามาตั้งแต่แรกเริ่ม ในการขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะเพราะ เหตุวิกลจริตนี้ คู่สมรสฝ่ายโจทก์ที่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างย่อมมีหน้าที่นำสืบ ทั้งนี้เพราะถือว่าบุคคลทุกคนเป็นคนปกติ สามารถที่จ ะทำการสมรสได้ ฉะนั้นเมื่อม ีการกล่าว อ้างเหตุว ิกลจริตฝ่ายที่กล่าวอ้างจ ึงย่อมมีหน้าท ี่นำสืบ (3) ผู้เยาวจ์ ะทำการสมรสไ ดต้ อ่ เมื่อไดร้ บั ความย ินยอมข องบ ดิ ามารดาหรอื ผ ูป้ กครอง มาตรา 1454 “ผู้เยาว์จะท ำการส มรสให้นำความในม าตรา 1436 มาใช้บงั คบั โดยอ นุโลม” มาตรา 1456 “ถา้ ไม่มผี ทู้ ี่ม อี ำนาจใหค้ วามย นิ ยอมตามมาตรา 1454 หรือมแี ต่ไม่ใหค้ วามย ินยอม หรอื ไม่อยใู่ น สภาพที่อาจให้ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพ่ืออนุญาต ใหท้ ำการสมรส” ผู้เยาว์หรือบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ยังอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา บิดามารดา หรือผู้ปกครองอยู่ในฐานะที่จะตัดสินใจในการเลือกคู่ครองให้แก่บุตรที่ยังอ่อนอายุได้ดีกว่าตัวบุตรเอง นอกจากนี้ โดยส่วนใหญ่บิดามารดามักจะต้องให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเกี่ยวกับการสมรสของบุตร จึงสมควรที่จะต้อง รับรู้ในเรื่องน ี้ และทั้งยังเป็นการให้เกียรติแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองด ้วย มาตรา 1454 จึงกำหนดให้ผู้เยาว์จ ะทำ การสมรสได้ต่อเมื่อได้ร ับความยินยอมจ ากบิดามารดาหรือผ ู้ปกครองก ่อน ในการที่ผ ู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ทำการสมรสนั้น สรุปหลักเกณฑ์ ได้ด ังนี้ (1) ในกรณีท่ีผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดา จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาทั้งสองคน เพราะ บุคคลทั้งสองเป็นผู้ใช้อำนาจป กครองบุตรผู้เยาว์ (2) ในกรณีท่ีผู้เยาว์เหลือแต่บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว อีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจ ปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจาก มารดาหรือบิดาได้ ผู้เยาว์จึงได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองที่เหลืออยู่นั้นเพียง คนเดียวไ ด้ (3) ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับบุตรบุญธรรม เพราะบิดามารดา โดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไปแล้ว บุตรบุญธรรมมีฐานะ อย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/28 ฉะนั้น เมื่อบุตร บุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำการสมรสจึงต้องได้รับความยินยอมของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่ต้องขอความ ยินยอมจ ากบิดามารดาแต่อ ย่างใด (4) ในกรณีท ่ไี ม่มีบิดามารดาหรือผ ูร้ ับบุตรบ ญุ ธรรม หรอื ม ี แตบ่ คุ คลดังกล่าวถ ูกถอนอำนาจป กครองไ ปแ ล้ว จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพราะเมื่อบิดาและมารดาถึงแก่ความตายไปในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-11 มสธ หรือบิดาและมารดาประพฤติชั่วร้ายต่อบุตรผู้เยาว์จนถูกถอนอำนาจปกครอง จะต้องมีการตั้งผู้ปกครองโดยคำสั่งมสธ ศาล ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ การที่ผู้เยาว์จะทำการสมรสจึงต้องได้รับความยินยอมจาก ผ ู้ป กครอง บิดาม ารดาที่ถูกถ อนอ ำนาจปกครองไปแ ล้วนั้น ไม่มีสิทธิม าให้ความยินยอมอีกต ่อไปแล้วมสธ (5) ในกรณีท่ีมีบิดามารดาของผู้เยาว์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของมารดาแ ต่เพียงผ ู้เดียว จึงต ้องได้รับความยินยอมแ ต่เฉพาะจ ากม ารดาเพียงค นเดียว การท ี่บิดามารดา ผู้รับบุตรบ ุญธรรม หรือผู้ปกครองจะให้ค วามย ินยอมให้ผ ู้เยาว์ท ำการสมรสนั้น อาจทำได้ 3 วิธี ตามท ี่บัญญัติไว้ในมาตรา 1455 “การใหค้ วามย ินยอมให้ทำการสมรส จะกระทำได้แ ตโ่ ดย (1) ลงล ายมอื ช อื่ ในท ะเบยี นขณะจ ดทะเบียนส มรส (2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุช่ือผู้จะสมรสท้ังสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความ ยินยอม (3) ถา้ ม เี หตุจ ำเป็น จะให้ค วามยินยอมด ว้ ยวาจาต ่อหนา้ พยานอย่างน้อยส องคนกไ็ ด้ ความย ินยอมน้นั เมอ่ื ใหแ้ ล้วถอนไม่ได้” วิธีที่ 1 บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรสเพื่อ ให้เป็นห ลักฐ านไว้ อันเป็นว ิธีก ารป กติธ รรมดาที่ส ่วนใหญ่ปฏิบัติก ัน วิธีที่ 2 บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองทำหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรส ทั้งสองฝ่าย พร้อมลงลายมือชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอมไว้ด้วย เช่น นาย ไกรสร อายุ 19 ปี เป็นบุตรของนายแดงและนางดำ นายไกรสรจะสมรสกับนางสาวศิริรัตน์ นายไกรสรจะต้องได้รับ ความยินยอมจ ากนายแดงและนางดำ โดยทำหนังสือม ีข้อความในทำนองท ี่ว่า “ข้าพเจ้า นายแดงและนางดำยินยอม ให้นายไกรสร บุตรผู้เยาว์ของข้าพเจ้าสมรสกับนางสาวศิริรัตน์” แล้วลงชื่อนายแดงและนางดำทั้งสองคน พึงสังเกต ว่า ข้อความในหนังสือแสดงความยินยอมของนายแดงและนางดำ หากมีข้อความว่า “ข้าพเจ้านายแดงและนางดำ ยินยอมให้นายไกรสรบุตรผู้เยาว์ของข้าพเจ้าทำการสมรสได้” หนังสือแสดงความยินยอมนี้ใช้ไม่ได้ เพราะระบุชื่อ ผู้ที่จะสมรสไว้ด้วย เหตุที่กฎหมายไม่ยอมให้ใช้หนังสือแสดงความยินยอมเช่นว่านี้ก็เพราะเกรงว่านายไกรสรอาจจะ นำหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่นางสาวศิริรัตน์ อันเป็นการผิดจากความยินยอมของ นายแดงและนางดำได้ ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 ได้กำหนดแบบ พิมพ์หนังสือแ สดงค วามย ินยอมสำหรับให้บ ิดามารดาหรือผ ู้ปกครองล งล ายมือชื่อไว้ด้วยแล้ว วิธที ่ี 3 ถ้ามีเหตุจำเป็น บิดามารดา ผู้รับบ ุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองจ ะให้ความยินยอมด ้วยว าจาต ่อหน้า พยานอย่างน้อยสองคนก็ได้ แต่วิธีที่ 3 นี้ เป็นข้อยกเว้นใช้ได้แต่เฉพาะเมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น เกิดโรคระบาด เกิด สงคราม หรือผู้ให้ค วามยินยอมตกอ ยู่ในอ ันตรายใกล้ค วามตาย ตัวอย่างเช่น ก. ผู้เยาว์ขออนุญาตบิดาท ำการสมรส กับ ข. ปรากฏว่าในขณะนั้นบิดาของ ก. กำลังป่วยหนักเข้ารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล บิดาของ ก. อาจให้ความ ยินยอมอ นุญาตให้ ก. ทำการส มรสก ับ ข. ด้วยว าจาต ่อห น้าแ พทยแ์ ละพ ยาบาลได้ ซึ่ง ก. กต็ ้องน ำแ พทยแ์ ละพ ยาบาลท ั้ง 2 คนน ี้ ไปให้ถ้อยคำต่อนายทะเบียนตามที่บ ัญญัติไว้ใน พรบ.จดท ะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 12 ต่อไป ความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองที่ให้ผู้เยาว์ทำการสมรสนั้น เมื่อให้ความ ยินยอมโดยถ ูกต ้องต ามแ บบว ิธกี ารแ ล้วจ ะถ อนค วามย ินยอมน ั้นไมไ่ด้ เพราะเมื่อใหค้ วามย ินยอมถ ูกต ้องต ามก ฎหมาย แล้วนายทะเบียนย่อมต้องจดทะเบียนสมรสให้ หลังจากนั้นชายหญิงก็เกิดฐานะของการเป็นคู่สมรสและอาจมีบุตร ขึ้นมา ซึ่งถ้ามีการถอนความยินยอมในภายหลังก็อาจเกิดผลร้ายต่อคู่สมรสและต่อบุตรที่เกิดมาก็ได้ หากผู้เยาว์ ฝ่าฝืนเงื่อนไขเกี่ยวกับเรื่องความสามารถ ทำการสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองแล้ว การสมรสนั้นเป็นโมฆียะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1509 ความว่า “การสมรสที่มิได้รับความ มสธ มส
มส 2-12 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ยินยอมของบุคคลดังกล่าวในมาตรา 1454 การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ” แต่เฉพาะบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือมสธ ผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้มีสิทธิให้ความยินยอมเท่านั้น จึงจะมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะนี้ได้ ตัวชาย หรือหญิงคู่สมรสเองไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน และสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อชายมสธ หญิงคู่สมรสนั้นมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์แล้ว การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสในกรณีที่ผู้เยาว์ ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมนี้มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันทราบการสมรส กล่าวคือบิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรมหรือผู้ปกครอง ต้องจัดการฟ้องร้องขอเพิกถอนการสมรสเสียภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันทราบการ สมรส มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1510 “การสมรสท่ีเป็นโมฆียะ เพราะมิได้รับความ ยนิ ยอมของบ คุ คลด งั กล่าวในมาตรา 1454 เฉพาะบคุ คลทอ่ี าจให้ความยินยอมต ามม าตรา 1454 เท่านน้ั ขอให้เพกิ ถ อน การสมรสได้” สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเม่ือคู่สมรสนั้นมีอายุครบย่ีสิบปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิง มคี รรภ์ การฟ้องขอเพิกถอนการส มรสต ามม าตรานี้ ให้ม ีอายุค วามหนงึ่ ป ีน บั แ ต่ว นั ท ราบก ารสมรส” ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการสมรส แต่ผู้เยาว์ไม่มีบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองที่จะให้ ความยินยอมให้ตนทำการสมรสก็ดี หรือมี แต่บุคคลดังกล่าวปฏิเสธไม่ยอมให้ความยินยอมหรือไม่อยู่ในสภาพที่ อาจให้ความยินยอมก็ดี หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครองได้ก็ดี กฎหมายมาตรา 1456 บัญญัติทางแก้ไขไว้ดังนี้ “ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอ ความยินยอมได้ ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส” โดยให้ผู้เยาว์ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาต ทำการสมรสได้ ศาลจะทำการไต่สวนถึงเหตุแห่งการที่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองปฏิเสธไม่ให้ ความยินยอมในการที่ผู้เยาว์จะทำการสมรส หรือเหตุแห่งการที่ไม่อาจขอความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตร บุญธรรม หรือผู้ปกครองได้ และประโยชน์ของผู้เยาว์ที่จะทำการสมรสแล้วจึงวินิจฉัยว่าจะสมควรอนุญาตให้ผู้เยาว์ ทำการสมรสได้หรือไม่ เช่น บิดามารดาของผู้เยาว์ถึงแก่ความตายไปหมดแล้ว ผู้เยาว์จะทำการสมรสแต่ไม่มีใครจะ เป็นผู้ให้ความยินยอม หรือผู้เยาว์เหลือแต่บิดาคนเดียว แต่บิดาปฏิเสธไม่ยอมให้ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไร้เหตุผล หรือผู้เยาว์มีผู้ปกครองแต่ผู้ปกครองป่วยหนักเข้าขั้นโคม่าไม่ได้สติ ไม่อาจให้ความยินยอมได้ หรือผู้เยาว์เหลือแต่ มารดาคนเดียว มารดาเดินทางไปต่างประเทศปีเศษมาแล้วโดยไม่แจ้งข่าวคราวมาให้ทราบว่าอยู่ ณ ที่ใด ซึ่งเป็น พฤติการณ์ที่ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาได้ เหล่านี้ ผู้เยาว์จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมี คำสั่งอนุญาตให้ทำการสมรส จะทำการสมรสไปโดยลำพังโดยไม่ขออนุญาตศาลไม่ได้ แต่เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาต แล้วผู้เยาว์ก็สามารถทำการสมรสไปได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองอีก ฉะนั้นใน กรณีที่บิดาและมารดาของผู้เยาว์ถึงแก่ความตายไปแล้วทั้งสองคน หากผู้เยาว์จะทำการสมรสแต่ไม่มีผู้ให้ความ ยินยอม ผู้เยาว์ดังกล่าวมีทางเลือก 2 ทาง คือ ทางแรกขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองก่อนแล้วจึงขอความยินยอมจาก ผู้ปกครองนั้น หรือทางที่สอง ขออนุญาตศาลเพื่ออนุญาตให้ตนทำการสมรสตามมาตรา 1456 นี้เลยทันทีก็ได้ แล้ว แต่จ ะเลือก อทุ าหรณ์ ฎ. 761/2495 การจ ดท ะเบียนส มรสหรือไม่น ั้นเป็นหน้าที่ข องชายหญิงคู่ส มรสเอง บิดามารดาของห ญิงมีแต่ จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางมิให้บุตรสาวไปจดทะเบียน กับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิงใช้ค่าเสียหายแก่ตนใน การที่ต นไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับห ญิงไม่ได้ มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-13 มสธ กิจกรรม 2.1.1มสธ 1. นางสาวสุดา อายุ 18 ปี เป็นโรคจริตวิกลคุ้มดีคุ้มร้าย แต่ศาลยังมิได้ส่ังให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากนางสาวสุดาจ ะทำการสมรสจ ะทำได้หรือไม่ อยา่ งไร 2. นายไพโรจน์ อายุ 21 ปี ลักลอบไดเ้ สยี กบั นางสาวลลนา อายุ 16 ปี จนน างสาวลลนาต ้งั ค รรภ์ นาย ไพโรจนแ์ ละน างสาวล ลนาม คี วามป รารถนาอ ยา่ งแ รงก ลา้ ท จี่ ะท ำการส มรสก นั โดยบ ดิ าม ารดาข องน างสาวล ลนา ก็ให้ความยินยอมให้ทำการสมรสแล้ว แต่บิดามารดาของนายไพโรจน์ปฏิเสธไม่ยอมให้ความยินยอมให้ทำการ สมรส นายไพโรจน์และน างสาวลลนาจ งึ ม าป รึกษาท่านเก่ยี วกับเรอ่ื งน ี้ จงแ นะนำบ ุคคลท ้งั สอง 3. นายปาน อายุ 22 ปี มีนิสัยใจคอชอบเป็นหญิง จึงให้แพทย์ทำการผ่าตัดเปลี่ยนเพศเป็นหญิง และ ต้ังชื่อใหม่ว่า “ปานศรี” ต่อมาได้มีนายคิงคอง อายุ 25 ปี มาติดต่อรักใคร่ชอบพอกันจนถึงข้ันจะทำการสมรส แตบ่ คุ คลทง้ั สองเกรงว ่าบ ิดามารดาข องท ั้งสองฝ ่ายจะไม่ใหค้ วามย ินยอมให้ทำการสมรส และน ายทะเบียนจะไม่ ยอมจดทะเบียนส มรสให้ จงแนะนำบคุ คลท ั้งสอง 4. นายส อน อายุ 18 ปี บดิ าม ารดาถ งึ แกค่ วามต ายไปต งั้ แตน่ ายส อนอ ายุ 3 ขวบ ทงิ้ ใหล้ งุ เปน็ ผ อู้ ปุ การะ เลย้ี งดู หากน ายส อนจะท ำการสมรสจะต้องไดร้ ับความยินยอมจ ากใครหรอื ไม่ แนวต อบกิจกรรม 2.1.1 1. นางสาวสุดาแม้จะอายุเกิน 17 ปีแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นบุคคลวิกลจริต จึงทำการสมรสไม่ได้ ตอ้ งหา้ มต ามม าตรา 1449 2. นางสาวล ลนา อายเุ พยี ง 16 ปี ไมค่ รบ 17 ปบี ร บิ รู ณ์ แมบ้ ดิ าม ารดาจ ะใหค้ วามย นิ ยอมก ต็ ามจะท ำการ สมรสไมไ่ ด้ ตอ้ งห า้ มต ามม าตรา 1448 แต่เนื่องจากนางสาวล ลนาตงั้ ครรภแ์ ล้ว ถือได้ว่ามเี หตุอันสมควร จงึ อ าจ ยืน่ คำรอ้ งตอ่ ศาลข ออ นญุ าตให้ทำการส มรสได้ ส่วนนายไพโรจน์ อายุ 21 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว สามารถทำการสมรสได้โดยลำพัง โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจ ากบดิ าม ารดา 3. นายป านศ รี และนายค ิงคอง บรรลนุ ิตภิ าวะแล้ว สามารถทำการสมรสได้โดยลำพังโดยไม่ตอ้ งได้รบั ความย นิ ยอมจ ากบดิ าม ารดา แต่นายปานศ รแี ม้จะผ า่ ตัดเปล่ยี นเพศเปน็ หญงิ แ ล้วก็ตามในทางก ฎหมายต้องถ ือวา่ ยังเป็นชายอยู่ เพราะเพศของบุคคลไม่อาจเปล่ียนแปลงได้ การท่ีชายจะสมรสกับชายจึงทำไม่ได้ นายทะเบียน จะไม่ยอมรบั จ ดทะเบียนส มรสให้ 4. นายส อน อายุ 18 ปี ยงั ไมบ่ รรลนุ ติ ภิ าวะ หากจ ะท ำการส มรสต อ้ งไดร้ บั ค วามย นิ ยอมจ ากบ ดิ าม ารดา หรือผู้ปกครอง บดิ ามารดาข องนายส อนตายไปหมดแล้ว เหลอื แ ต่ลงุ ผอู้ ปุ การะเลยี้ งด ู ลุงม ิใช่ผู้ป กครองข องน าย สอน นายสอนตอ้ งร้องขอต่อศาลเพอื่ ข ออนุญาตให้ทำการสมรส ตามม าตรา 1456 มสธ มสธ มส
มส 2-14 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เรื่องท ่ี 2.1.2มสธ ความยนิ ยอมในการสมรส มสธ ความยินยอมเป็นเงื่อนไขประการสำคัญประการหนึ่งของการสมรส ในส่วนนี้จะได้กล่าวถึงการสมรสที่ ปราศจากความยินยอมของคู่สมรส และการสมรสที่เกิดจากการสำคัญผิด การฉ้อฉล และการข่มขู่ ซึ่งกฎหมาย กำหนดผลต่างกัน การสมรสที่ปราศจากความยินยอมนั้นเป็นการสมรสที่ชายและหญิงมิได้มีเจตนาจะมาเป็นสามี ภริยากันอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ส่วนการสมรสของคู่สมรสที่เกิดจากการสำคัญผิดของ คู่สมรส การฉ้อฉลหรือการข่มขู่นั้นเป็นการสมรสที่มีความยินยอมแต่มีความบกพร่องในการแสดงเจตนาบาง ประการ ผลจึงเป็นโมฆียะซ ึ่งเป็นเหตุให้ถ ูกเพิกถอนก ารสมรสได้ในภายห ลัง 1. การสมรสทปี่ ราศจากค วามยินยอมข องค สู่ มรส มาตรา 1458 “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ ปรากฏโดยเปดิ เผยต อ่ ห น้านายท ะเบียน และใหน้ ายทะเบยี นบ ันทกึ ค วามยนิ ยอมนั้นไวด้ ว้ ย” มาตรา 1495 “การส มรสทฝ่ี า่ ฝนื ม าตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เปน็ โมฆะ” การสมรสเป็นการทำสัญญาที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิงโดยสมัครใจ จึงจำเป็นต้องได้รับความ ยินยอมของชายและหญิงนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ และจะให้ความยินยอมแทนกันไม่ได้ หลัก การเรื่องความยินยอมของชายหญิงนี้มีอยู่เดิมตั้งแต่กฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 130 ซึ่งบัญญัติว่า “ชายหญิง พรหมจารีรักใคร่กันพ่อแม่มิรู้ และชายอื่นมาขอหญิงนั้นพ่อแม่ยกให้แก่ชายผู้สู่ขอ ได้แต่งงานมีขันหมาก ครั้นถึง กำหนดให้ส่งตัวหญิง แต่หญิงนั้นมิยินยอม ท่านให้เอาขันหมากนั้นตั้งไหมพ่อแม่ทวีคูณ แล้วให้ใช้ค่าหอและสิ่งของ ท่านจ งเต็ม เพราะพ่อแม่หญิงม ิได้ถ ามลูกสาวต น” ฉะนั้นบุคคลอื่น เช่น บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะตกลงย ินยอม เป็นส ามีภริยาแ ทนบุตรในการสมรสไม่ได้ การสมรสท ี่ป ราศจากความย ินยอมของคู่สมรสเป็นโมฆะตามม าตรา 1495 ทั้งนี้เพราะการสมรสเป็นเรื่องเฉพาะตัวและเป็นเสรีภาพของตัวชายและหญิงโดยแท้ (matrimonia debent esse libera) ทำนองเดียวกันการสมรสที่ชายและหญิงที่มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง แต่มี จุดประสงค์อื่น ก็ถือเป็นการสมรสที่ปราศจากความยินยอมและเป็นโมฆะเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชายหญิงไม่มีเจตนา ที่จะทำการสมรสแต่ต้องการเล่นตลก หลอกเพื่อนฝูงจึงไปจดทะเบียนสมรสกัน หรือนางคงรักใคร่ชอบพอกับ นายสมข้าราชการไทยที่เดินทางไปรับราชการที่ออสเตรเลีย แต่ไม่อาจจดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะนายสมมีภริยา อยู่แ ล้ว นางคงเกรงว่าจะต้องถูกส่งตัวก ลับประเทศไทย เพราะได้ร ับอนุญาตให้อ ยู่ในออสเตรเลียชั่วร ะยะเวลาจำกัด จึงทำการตกลงกับนายโรเบิร์ต ชาวออสเตรเลียให้จดทะเบียนสมรสกับตนเพื่อให้ตนมีสิทธิที่จะอยู่ในออสเตรเลีย ต่อไปอีกได้ โดยนางคงมิได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับนายโรเบิร์ต แต่ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนายสม เช่นนี้ การสมรสระหว่างนางคงกับนายโรเบิร์ตเป็นโมฆะ เพราะบุคคลทั้งสองมิได้ยินยอมเป็นสามีภริยากัน หรือหญิงชาว ญวนอพยพต้องการเดินทางออกจากประเทศไทย เพราะเกรงจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเข้าค่ายกักกัน จึงตกลง กับชายชาวฝรั่งเศสว่าให้ทำการจดทะเบียนสมรสกัน เพื่อที่ตนจะได้หนังสือเดินทางของฝรั่งเศสแล้วจะเดินทางออก นอกประเทศไทยไป โดยทั้งชายและหญิงต่างเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าการสมรสที่ทำไปเป็นการสมรสหลอก (sham marriage) เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ดังนี้ การสมรสดังกล่าวเป็นการส มรสท ี่ปราศจากความยินยอมเป็นโมฆะเช่นเดียว มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-15 มสธ กัน10 เป็นต้น การที่กฎหมายบัญญัติว่าชายหญิงจะต้องแสดงการยินยอมในการเป็นสามีภริยากันให้ปรากฏโดยมสธ เปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนก็เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องการตั้งตัวแทนไปทำการสมรส (marriage by proxy) และ รวมท ั้งการข ่มขู่ให้ทำการสมรสด้วยเพราะถ้าเป็นเรื่องการข ่มขู่กันแล้วเมื่อไปถึงเจ้าห น้าที่เพื่อทำการจดท ะเบียนสมรสมสธ ผู้ถูกข ่มขู่ก็ย่อมมีโอกาสท ี่จะร ้องบ อกกล่าวให้พ ้นจากก ารถ ูกข่มขู่ได้ หากม ีก ารต ั้งต ัวแทนให้ไปจ ดท ะเบียนส มรสและ นายทะเบียนย อมรับจดทะเบียนให้ การสมรสน ั้นเป็นโมฆะ อนึ่ง สำหรับเรื่องที่ชายหลอกลวงหญิงมาจดทะเบียนสมรสเป็นภริยาโดยรับรองว่าจะเลี้ยงดูให้สุขสบาย แต่ในภ ายหลังกลับทิ้งขว้าง เช่นนี้ จะถือว่าห ญิงม ิได้ยินยอมไม่ได้ การส มรสด ังกล่าวส มบูรณ์ทุกป ระการ อย่างไรก็ด ี การที่ชายหญิงทำการสมรสกัน โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสำคัญผิดในการกระทำ กล่าวคือไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ ตนกระทำลงไปนั้นเป็นการสมรสแล้ว จะถือว่าชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันไม่ได้ เช่นหญิงไทยพาชายชาวต่าง ประเทศที่เข้าใจภาษาไทยเพียงเล็กน้อย ไปจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนโดยชายชาวต่างประเทศนั้นไม่เข้าใจ ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการสมรส หรือชายให้หญิงเสพยาเสพติดจนเมามายไม่ได้สติแล้วพาไปจดทะเบียนสมรส เหล่านี้ ถือได้ว่าไม่มีการยินยอมเป็นสามีภริยากัน การสมรสดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม การที่ชายหญิงทำ สัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันที่อำเภอนั้นไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ เพราะคู่ก รณีอาจไปจดท ะเบียนสมรสได้ต ามที่ย อมค วามกัน11 อุทาหรณ์ ฎ. 577/2507 ชายหญิงสมัครใจรักใคร่กัน และได้ยินยอมจดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย แล้ว ต่อมาชายหญิงคู่นี้ผิดใจกัน เมื่อจะให้การสมรสขาดจากกันจะต้องขอหย่าและให้คู่สมรสลงชื่อในแบบพิมพ์ คำร้องขอจดทะเบียนหย่า จะมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนสมรสที่คู่สมรสได้จดทะเบียนสมรสไว้โดยชอบแล้ว หาได้ไม่ ฎ. 3471/2526 โจทก์ จำเลยได้เสียกัน ต่อมาได้ไปจดทะเบียนสมรสซึ่งกระทำต่อหน้าเจ้าพนักงานนาย ทะเบียน โจทก์จะอ้างภายหลังว่ามีเงื่อนไขอื่นที่จำเลยรับปาก เช่น ห้ามเปิดเผยว่าโจทก์เป็นสามี ห้ามยุ่งเกี่ยวกับ เงินเดือนแ ละงาน ซึ่งร ับฟังไม่ได้ม าเป็นเหตุให้การส มรสเป็นโมฆะหาได้ไม่ ฎ. 1127/2536 เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ยังอยู่กินฉันสามีภริยากับนาย บ. ส่วนจำเลยที่ 1 มีฐ านะเป็นเพียงล ูกจ้างของบ ุคคลทั้งสอง การท ี่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปข อจดท ะเบียนส มรสโดยแ จ้ง ต่อเจ้าพ นักงานว ่าม เีจตนาจ ะส มรสก ันแ ละต ่างไมเ่คยม คี ูส่ มรสม าก ่อนจ ึงผ ิดจ ากเจตนาท ี่แทจ้ ริง และไมน่ ่าเชื่อว ่าจ ำเลย ทั้งสองยินยอมเป็นสามีภ ริยากันอ ันเป็นเงื่อนไขแ ห่งก ารสมรสต าม ปพพ. มาตรา 1458 โจทก์จ ึงมีส ิทธิร้องขอให้ศ าล พิพากษาว่าการสมรสร ะหว่างจำเลยท ั้งสองเป็นโมฆะได้ การกล่าวอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะเพราะปราศจากความยินยอมของคู่สมรสนั้น ผู้กล่าวอ้างมีหน้าที่ต้อง นำสืบข้อเท็จจริงให้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลว่าเป็นการสมรสที่คู่กรณีไม่มีเจตนาจะอยู่กินฉันสามีภริยากันอย่างแท้จริง มิฉ ะนั้นศ าลอาจไม่พ ิพากษาให้ต ามที่ก ล่าวอ ้าง ฎ. 5351/2545 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอกๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทาง การค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่ จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตน มิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสอง ยังปล่อยเวลาให้ล ่วงเลยมาถ ึง 3 ปีเศษ จึงม ายื่นค ำร้องขอให้ศาลพ ิพากษาว่าการส มรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ท ี่นำสืบ 10 เทียบเคียงคำพิพากษาศ าลอังกฤษ H v. H. (1953) 2 All E.R. 1229. 11 ฎ. 44/2494 มสธ มส
มส 2-16 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เช่นน ี้แ สดงให้เห็นว่าผ ู้ร ้องท ั้งส องย ินยอมเป็นส ามีภ ริยากันตาม ปพพ. มาตรา 1458 แล้ว ไม่มีเหตุท ี่จะมายื่นคำร้องมสธ ขอให้ศาลพ ิพากษาว ่าการส มรสของผ ู้ร ้องทั้งส องตกเป็นโมฆะได้ มสธ ฎ.1067/2545 การส มรสจะทำได้ต ่อเมื่อชายแ ละห ญิงยินยอมเป็นสามีภ ริยากัน โดยท ั้งสองคนต กลงจะเป็น บุคคลในครอบครัวเดียวกัน ต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาทั้งในทางธรรมชาติและกฎหมาย ได้ดูแลความทุกข์สุข เจ็บป่วยซึ่งกันและกัน ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน การที่จำเลยจดทะเบียน สมรสกับ ช. แต่ไม่ได้พักอาศัยอยู่ด้วยกัน เมื่อ ช. ป่วย โจทก์เป็นผู้พา ช. ไปโรงพยาบาลและเสียค่ารักษาพยาบาล ให้ และยังให้ ช. ไปพักอาศัยอยู่ด้วย ส่วนจำเลยยังคงพักอาศัยอยู่กับน้องสาวและไม่เคยออกค่ารักษาพยาบาลทั้ง ไม่เคยมาเยี่ยมเยียน ช. เลย เห็นได้ช ัดว ่าจำเลยก ับ ช. มิได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภ ริยาแต่อย่างใด จำเลยเองก็ย ังรับ ว่าไม่อยากไปจดทะเบียนสมรส แต่ ช. เป็นผู้พาไปโดยบอกว่าถ้าไม่จดทะเบียนสมรสแล้วจะไม่มีผู้ใดมีสิทธิรับเงิน บำเหน็จตกทอด ซึ่งก็ปรากฏว่าเมื่อ ช. ถึงแก่กรรม จำเลยเป็นผู้ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดมาจริง แสดงว่าจำเลย จดทะเบียนสมรสกับ ช. โดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากันมาแต่แรก หากแต่เป็นการกระทำเพื่อให้มีสิทธิรับ เงินบำเหน็จตกทอดเท่านั้น การสมรสของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ปพพ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1495 2. การยินยอมส มรสโดยเกิดจ ากการสำคัญผิด ถูกก ลฉ อ้ ฉลแ ละถูกข่มขู่ การสมรสที่ชายและหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันแล้วนั้น หากปรากฏในภายหลังว่าความยินยอมของชาย หรือหญิงดังกล่าวเป็นเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรส ถูกหลอกลวงฉ้อฉลให้ทำการสมรส หรือถูกข่มขู่ให้กลัวว่าจะเกิด อันตรายจึงต้องทำการสมรสไป การสมรสเช่นว่านี้เป็นโมฆียะ และอาจถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนเสียได้ ซึ่งแยก พิจารณาได้ดังต ่อไปนี้ (1) การส มรสโดยสำคัญผิดตัวค่สู มรส มาตรา 1505 “การสมรสท ี่ได้กระทำไปโดยคสู่ มรสฝา่ ยหนง่ึ ส ำคญั ผ ิดต ัวค ู่สมรส การสมรสนน้ั เปน็ โมฆยี ะ สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับเม่ือเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับ แตว่ นั ส มรส” การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรส ได้แก่การเข้าใจผิดในตัวบุคคลอันเป็น ผลให้มิได้ทำการสมรสกับบุคคลตามที่ตนประสงค์ เช่น หญิงฝาแฝดพี่น้อง ชายต้องการสมรสกับพี่สาว แต่ตอน สมรสกันมีการเปลี่ยนตัวให้น้องสาวมาจดทะเบียนสมรสด้วย หรือชายไปขอลูกสาวเขาแต่เวลาทำการสมรสฝ่าย หญิงเอาหญิงรับใช้มาแต่งงาน ชายจำตัวผู้หญิงไม่ได้เพราะมีผ้าคลุมหน้าไว้จึงยอมแต่งงานไป เช่นนี้ เป็นการสำคัญ ผดิ ตวั ค ู่ส มรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ แต่ถ้าช ายไปเห็นห ญิงคนใช้อ ยู่ในบ้านน ึกว่าห ญิงน ั้นเป็นบุตรส าวข องเจ้าของ บ้านจึงสู่ขอหญิงและทำการสมรสด้วย อย่างนี้ไม่ใช่สำคัญผิดตัว แต่เป็นการสำคัญผิดในฐานะของหญิง การสมรส ไม่เป็นโมฆียะ เหตุที่ความสำคัญผิดในฐานะของบุคคลไม่ทำให้การสมรสต้องเสื่อมเสียไปก็เพราะชายหญิงที่มาทำ การสมรสกันก็เพื่อจะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันไม่ใช่เพื่อหากำไร เคยมีคดีในประเทศนิวซีแลนด์ ชายอวดอ้างตนเอง กับหญิงว่าตนเป็นนักมวยรุ่นเฟเธอร์เวทที่มีชื่อเสียง หญิงจึงทำการสมรสด้วย ต่อมาเมื่อรู้ความจริงหญิงจึงยื่น คำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการสมรส ศาลพิพากษาให้ยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่า โจทก์สำคัญผิดในฐานะของ จำเลยม ิใช่ส ำคัญผ ิดต ัว เพราะโจทก์ต ั้งใจท ี่จ ะสมรสก ับบุคคลที่มาอยู่ต่อหน้า ทั้งช ื่อเสียงของบุคคลก็มิใช่สาระส ำคัญ ในการสมรสแต่อย่างใด12 อย่างไรก็ดีกรณีจะเป็นตรงกันข้ามหากเกิดกรณีที่นางสาวดำใช้ชื่อเล่นว่า “เด็กฮาร์ด” ติดต่อกับนายแดงเฉพาะทางจดหมายโดยไม่เคยพบหน้ากันเลยจนถึงขั้นนัดหมายไปจดทะเบียนสมรสกัน ในวันนัด 12 C.v.C. (1942) N.Z. LR 356 มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-17 มสธ นางสาวขาวปลอมตัวไปพบนายแ ดง และอ ้างว ่าตนคือ “เด็กฮาร์ด” ที่ติดต่อก ับน ายแดงทางจ ดหมาย นายแ ดงจึงจดมสธ ทะเบียนสมรสด ้วย เช่นนี้การส มรสระหว่างน ายแดงกับน างสาวข าวเป็นโมฆียะเพราะสำคัญผิดตัวค ู่สมรส ทั้งนี้เพราะ นายแ ดงป ระสงค์ที่จ ะส มรสกับนางสาวด ำโดยเฉพาะเจาะจง นางสาวข าวห รือบุคคลอ ื่นใดจ ะม าส มรสแทนมิได้มสธ การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรสนั้น เฉพาะแต่คู่สมรสที่ สำคัญผิดตัวเท่านั้นท ี่จะมีส ิทธิข อให้ศาลพ ิพากษาเพิกถอนการสมรสได้ ทั้งนี้ตามที่บ ัญญัติไว้ในมาตรา 1505 ซึ่งเป็น ไปต ามหลักกฎหมายที่ว่าผ ู้ม าห าความย ุติธรรมต้องม าด ้วยมืออ ันบริสุทธิ์ และต้องฟ ้องค ดีเสียภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันสมรส เพราะหลังจากกำหนด 90 วันไปแล้วสิทธิขอให้เพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับสิ้นลง พึงสังเกตว่า อายุความเริ่มน ับต ั้งแต่ว ันที่ทำการสมรส มิใช่เริ่มน ับเมื่อทราบก ารสำคัญผิดตัว (2) การสมรสโดยถ ูกก ลฉ อ้ ฉล มาตรา 1506 “ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลอันถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้นจะไม่ทำการ สมรส การส มรสน้นั เปน็ โมฆียะ ความในว รรคห นง่ึ ไมใ่ ชบ้ งั คบั ในก รณที กี่ ลฉ อ้ ฉลน นั้ เกดิ ข น้ึ โดยบ คุ คลท ส่ี ามโดยค สู่ มรสอ กี ฝ า่ ยห นงึ่ ม ไิ ดร้ เู้ หน็ ดว้ ย สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับเม่ือเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันท่ีรู้ หรอื ค วรได้ร ้ถู ึงกลฉ อ้ ฉล หรอื เมือ่ เวลาไดผ้ า่ นไปแล้วห น่งึ ป ี นับแตว่ ันสมรส” การสมรสที่ได้กระทำโดยถูกกลฉ้อฉลถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้นจะไม่ทำการสมรสแล้ว การสมรส นั้นเป็นโมฆียะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1506 กลฉ้อฉลชนิดนี้คือการลวงให้เขาแสดงเจตนาสมรส ซึ่งมีน้อยมาก ในเรื่องการสมรสเพราะการสมรสมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่เป็นความ ผูกพันร ะหว่างบุคคลต ่อบุคคล หลักการของก ารส มรสโดยถูกห ลอกลวงน ี้ มีมาต ั้งแต่สมัยโบราณแ ล้ว ตามกฎหมาย ลักษณะผัวเมีย บทที่ 112 และบ ทท ี่ 141 นั้น ชายห ลอกลวงหญิงว ่าตนยังไม่มีภริยาก ็ดี หรือว ่าจ ะช่วยทุกข์ยากข อง หญิงก็ดี หญิงยอมเป็นภริยาแล้ว ปรากฏว่าชายมีภริยาแล้วหรือชายไม่ช่วยทุกข์ของหญิง ดังนี้ ถ้าหญิงยังไม่เกิด บุตรด้วยช าย หญิงฟ ้องหย่าเป็นเหตุสมควรให้ห ย่าได้ ตัวอย่างของการสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลก็เช่น หญิงตั้งครรภ์กับชายอื่นอยู่แล้วมาหลอกลวงชายว่ายังเป็น สาวบริสุทธิ์ ชายห ลงเชื่อท ำการสมรสด้วยเช่นน ี้ การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ หรือช ายต ้องการทายาทไว้สืบตระกูล หญิง รู้ตัวว่าเป็นหมันแต่มาหลอกลวงชายว่าสามารถให้กำเนิดบุตรได้ ชายหลงเชื่อจึงสมรสด้วย การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ การที่ชายหลอกลวงว่าตนเป็นลูกเศรษฐี หญิงหลงเชื่อจึงยินยอมทำการสมรสด้วยก็ดี หรือ หญิงหลอกลวงว่าตนเป็นสาวพรหมจารีไม่เคยมีสามีมาก่อนแต่ความจริงเคยสมรสมาแล้วก็ดี หรือหญิงหลอกลวง ว่าตนทำกับข้าวอร่อยแต่ความจริงทำกับข้าวไม่เป็นก็ดี เหล่านี้ ต้องแล้วแต่ว่าการหลอกลวงเช่นนั้นจะถึงขนาดว่า ถ้าไม่มีการฉ้อฉลเช่นนั้นจะไม่มีการสมรสหรือไม่ ถ้าถึงขนาดเช่นว่านั้นการสมรสก็เป็นโมฆียะเช่นเดียวกัน เช่น ชาย ต้องการสมรสกับสาวพรหมจารี หญิงเคยเป็นโสเภณีมาแล้วมาหลอกลวงชายว่าเป็นสาวบริสุทธิ์ ชายหลงเชื่อจึง สมรสไปด้วย ชายเพิ่งจ ะม าร ู้ค วามจริงภ ายห ลัง เช่นนี้ การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ แต่ถ ้าหญิงม ิได้หลอกลวงฉ ้อฉล ชาย สำคัญผิดไปเองว่าหญิงยังเป็นสาวพรหมจารี เช่น นายแดงเห็นนางสาวดำเป็นคนสงบเสงี่ยมเรียบร้อยอยู่กับเหย้า เฝ้ากับเรือน มั่นใจว่าต้องเป็นสาวบริสุทธิ์จึงจดทะเบียนสมรสด้วย ต่อมาภายหลังจึงทราบว่านางสาวดำเคยแอบไป ทำแท้งมาแล้วครั้งหนึ่ง เช่นนี้ การสมรสนั้นสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะเพราะความสำคัญผิดในความบริสุทธิ์ของหญิง หรือช ายเองก ็ดีไม่เป็นเหตุที่ท ำให้การสมรสเป็นโมฆียะ เป็นหน้าที่ของชายห รือหญิงน ั้นๆ ที่จะต้องต่างฝ ่ายตรวจส อบ ดูแลกันเองในเรื่องน ี้ มสธ มส
มส 2-18 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลต่างประเทศที่เกี่ยวกับการสมรสที่ถูกกลฉ้อฉลก็เช่นคดีของศาลอุทธรณ์แห่งมสธ รัฐนิวยอร์ก จำเลยหลอกลวงฉ้อฉลโจทก์โดยการปิดบังข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยเป็นทหารในกองทัพบกเยอรมัน เป็นสมาชิกของพรรคนาซีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงตามแนวคิดของฮิตเลอร์มสธ ที่จะต้องกำจัดชาวยิวให้หมดไปจากโลก นอกจากนี้จำเลยยังต้องการให้โจทก์เลิกคบค้าสมาคมกับเพื่อนชาวยิวด้วย การหลอกลวงฉ้อฉลดังกล่าวถึงขนาดที่หากโจทก์ได้ทราบข้อเท็จจริงเช่นว่านี้มาก่อนโจทก์จะไม่ยอมสมรสด้วย การ สมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉล13 การที่จำเลยปิดบังฉ้อฉลโจทก์เกี่ยวกับการที่ จำเลยเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนนั้น หากโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเช่นว่านี้โจทก์จะไม่ยอมสมรสด้วยกับจำเลย การสมรสดังกล่าวจึงเป็นการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉล14 คดีของศาลสูงแห่งรัฐนิวเจอร์ซี่ โจทก์เป็นหญิงนับถือ ศาสนาคริสต์น ิกายโรมันคาธอ ลิก ซึ่งตามความเชื่อท างศาสนาข องโจทก์ โจทก์จ ะส มรสกับพ ่อหม้ายม ิได้ จำเลยเคยมี ภริยามาแล้วแต่ย ังม าหลอกลวงโจทก์ว่าไม่เคยสมรสมาก ่อน เช่นนี้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรส เพราะถูกกลฉ้อฉล15 คดีศ าลสูงแ ห่งร ัฐแดลาแวร์ จำเลยห ลอกล วงโจทก์ว่าจำเลยต ั้งครรภ์กับโจทก์ โจทก์ห ลงเชื่อจึง ยอมส มรสกับจำเลย ต่อม าภายห ลังจ ึงท ราบว่าจำเลยม ิได้ตั้งครรภ์ เช่นนี้ การหลอกล วงว ่ามีครรภ์มิได้เป็นก ลฉ ้อฉล ที่ถึงขนาดอันจะถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของการสมรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์มิได้เอาใจใส่ที่จะตรวจสอบถึงการ หลอกล วงดังก ล่าวตามวิสัยที่ว ิญญูชนจ ะพึงก ระทำ จึงไม่ถือว่าเป็นการส มรสเพราะถ ูกก ลฉ้อฉล16 อย่างไรก็ดี หากกลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลภายนอก โดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย เช่นนี้ การ สมรสที่ได้กระทำโดยถูกกลฉ้อฉลนั้นไม่เป็นโมฆียะ เช่น หญิงยากจนบิดากำลังล้มละลาย มีบุคคลภายนอกมา หลอกลวงว่าชายเป็นคนร่ำรวยจะช่วยปลดเปลื้องหนี้สินให้โดยที่ชายนั้นไม่ได้รู้เรื่องถึงการหลอกลวงนั้น ความจริง แล้วชายเป็นคนยากจนและไม่ช่วยเหลือตามที่รับปากไว้ เช่นนี้ การสมรสนั้นไม่เป็นโมฆียะ แต่การสมรสจะเป็น โมฆียะต่อเมื่อชายน ั้นได้ร ู้เห็นถ ึงการห ลอกลวงนั้นด้วย การขอให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะเหตุถูกกลฉ้อฉลนี้ เฉพาะแต่คู่สมรสที่ถูกกลฉ้อฉลเท่านั้น จึงจะมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอน ทั้งนี้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1508 และจะต้องใช้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเสีย ภายในเวลา 90 วันน ับแต่ว ันที่ร ู้หรือค วรได้รู้ถ ึงก ลฉ้อฉล หรือภ ายใน 1 ปีน ับแต่วันส มรส ถ้าหากม ิได้รู้ถึงกลฉ้อฉล น ั้นอันเป็นร ะยะเวลาที่ยาวท ี่สุด มิฉะนั้นแ ล้วส ิทธิดังกล่าวเป็นอันระงับส ิ้นไปตามม าตรา 1506 วรรคส ามที่บัญญัติว ่า “สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวัน นับแต่วันท่ีรู้หรือ ควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล หรือเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหน่ึงปีนับแต่วันสมรส” เช่น สมรสแล้วเกินหนึ่งปีจึงมารู้ถึงกล ฉ้อฉล ดังนี้ จะม าฟ้องข อให้เพิกถ อนการสมรสไม่ได้แม้จ ะยังอยู่ในเวลาเก้าส ิบวันนับแต่ว ันร ู้ถ ึงกลฉ้อฉลนั้นก็ตาม อทุ าหรณ์ ฎ. 2185/2530 โจทก์ท ี่ 1 และจ ำเลยที่ 1 หมั้นและท ำการส มรสก ันในว ันน ั้นเอง หลังจากจ ดทะเบียนส มรส แล้วจำเลยท ี่ 2 ก็ม อบตัวจำเลยที่ 1 ให้ไปอยู่ก ินกับโจทก์ที่ 1 ทันที โจทก์ที่ 1 และจำเลยท ี่ 1 ได้พาก ันไปไหว้พระใน ที่ต่างๆ จนถึงตอนเย็นได้รับประทานอาหารด้วยกันแล้วจึงส่งตัวเข้าหอโดยจำเลยที่ 1 มิได้อิดเอื้อน แต่จำเลยที่ 1 ไม่ย อมให้โจทก์ที่ 1 ร่วมประเวณีด้วยเพราะเหน็ดเหนื่อย ไม่มีอารมณ์ที่จะร่วมเพศ ทั้งจ ำเลยที่ 1 เพิ่งม ีอายุได้เพียง 19 ปี ไม่เคยสมรสมาก่อน อาจจะยังกลัวต่อการร่วมประเวณีจึงได้ขอผัดผ่อนไปก็ได้ โจทก์ที่ 1 จึงควรให้โอกาส จำเลยที่ 1 ได้ผัดผ่อนตามที่ร้องขอ ไม่ควรวู่วามเอาแต่ใจตัวจะต้องร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ในคืนนั้นให้ได้ การ 13 Kober v. Kober (1965) 16 N.Y. 2d 191 14 Costello v. Porzelt (1971) 116 N.J. Sup. 380 15 Jordan v. Jordan (1975) 115 N.H. 545 16 Husband v. Wife (1970) 262 A. 2d 656 มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-19 มสธ ที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมประเวณีดังกล่าวจึงยังไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 และจะถือว่าจำเลยทั้งสองทำมสธ กลฉ้อฉลไม่ได้ การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิขอเพิกถอนและเรียก แหวนห มั้นก ับเงินสินสอดคืนจ ากจ ำเลยทั้งส องได้มสธ (3) การสมรสโดยถกู ข ่มขู่ มาตรา 1507 “ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซ่ึงถ้ามิได้มีการข่มขู่น้ันจะไม่ทำการสมรส การส มรสนน้ั เป็นโมฆยี ะ สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับ เม่ือเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหน่ึงปีนับแต่วันที่พ้นจาก การข ม่ ขู”่ การสมรสโดยถูกข่มขู่ เป็นการสมรสที่ได้ความยินยอมมาเพียงโดยคำพูด มิใช่โดยจิตใจ (a yielding of the lips, not of the mind) เพราะความเกรงกลัวจากการถูกข่มขู่มีอำนาจเหนือเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี การ ข่มขู่ที่จะทำให้การสมรสเป็นโมฆียะจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นจะไม่ทำการสมรส โดยความเกรงกลัว จากการถูกข่มขู่นี้จะต้องถึงขนาดที่วิญญูชน (person of ordinary prudence) มีมูลที่จะต้องเกรงกลัวว่าจะเกิด อ ันตรายหรือความเสียหาย จึงจำต้องท ำการสมรสไป ตัวอย่างเช่น ชายค ุมสมัครพ รรคพ วกบังคับให้หญิงจดทะเบียน สมรสกับตนโดยมีพรรคพวกเล็งปืนจ้องอยู่ และขู่ว่าถ้าไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยจะยิงเสียให้ตาย หรือจะไปยิง บิดามารดาหญิงให้ตาย หรือบิดาของหญิงถือปืนสั้นบรรจุกระสุนพร้อมไปหาชายพร้อมกับกล่าวถ้อยคำว่า “ไอ้คน ระยำ ลูกชาติหมาแกทำลายลูกสาวฉัน ฉันจะฆ่าแก ถ้าแกไม่ยอมแต่งงานกับลูกสาวฉัน” ชายมีความเกรงกลัวจึง ต้องยอมทำการสมรส (shotgun marriage) การสมรสเช่นว่านี้เป็นโมฆียะเพราะถูกข่มขู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความก ลัวเพราะน ับถือยำเกรงไม่นับว่าเป็นการข ่มขู่ เพราะฉะนั้นหากมีกรณีชายหญิงสมรสก ันโดยถูกพ่อแม่ของตน บังคับ จะนับว่าเป็นการข่มขู่ที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆียะไม่ได้ นอกจากนี้การขู่ว่าจะใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกติ นิยมก็ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ เช่น ข้าราชการช ายลักลอบได้เสียก ับห ญิงจ นห ญิงตั้งค รรภ์ บิดามารดาห ญิงจึงข ู่ว่า หาก หญิงคลอดบุตรออกมาแล้วจะนำคดีขึ้นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรชายก็ดี หรือขู่ว่าจะร้องเรียน ผู้บังคับบัญชาของชายก็ดี เหล่านี้เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ การสมรสจึงไม่เป็น โมฆียะ อย่างไรก็ดี การข่มขู่นั้นจะต้องถึงขนาดที่จะจูงใจผู้ถูกข่มขู่ให้มีมูลต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายเป็นภัย แก่ตัวเอง แก่ชื่อเสียง วงศ์สกุลแห่งตน หรือทรัพย์สินของตนและเป็นภัยใกล้จะถึงด้วย (a threat of immedi- ate danger to “life, limb or liberty”) ฉะนั้น การท ี่หญิงขู่ว่าหากช ายไม่ยอมส มรสด้วยหญิงจะฆ ่าต นเองให้ตาย ชายส งสารจ ึงสมรสด ้วย เช่นน ี้ ไม่เป็นการข่มขู่ การสมรสไม่เป็นโมฆียะ อนึ่ง แม้บุคคลภายนอกจ ะเป็นผ ู้ข ่มขู่ก็ทำให้ การสมรสตกเป็นโมฆียะได้เช่นกัน เช่น เพื่อนของหญิงขู่ให้ชายสมรสกับหญิง มิฉะนั้นจะฆ่าชายให้ตาย หากชาย เกรงกลัวทำการสมรสไป การสมรสก็เป็นโมฆียะ ซึ่งแตกต่างจากกรณีกลฉ้อฉลที่ถ้าหากกลฉ้อฉลเกิดขึ้นโดยบุคคล ภายนอก โดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้เห็นด้วยแล้ว การสมรสที่ได้กระทำเพราะถูกกลฉ้อฉลดังกล่าวไม่เป็นโมฆียะ แต่อย่างใด ในการขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะถูกข่มขู่นั้น เฉพาะแต่คู่สมรสที่ถูกข่มขู่เท่านั้น ที่จะ มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรส ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1508 และจะต้องใช้สิทธิขอเพิกถอนเสียภายในระยะ เวลา 1 ปีนับแ ต่ว ันพ้นจ ากการข ่มขู่ มิฉะนั้นส ิทธิดังก ล่าวเป็นอ ันระงับสิ้นไป คู่สมรสฝ ่ายท ี่มาข่มขู่ไม่มีสิทธิฟ ้องขอให้ ศาลเพิกถอนการสมรส นอกจากนี้คู่สมรสหรือบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ข่มขู่ยังอาจมีความผิดทางอาญาในความผิด ต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย ในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย การข่มขู่ให้ทำการสมรสเป็น มสธ มส
มส 2-20 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ความผิดทางอาญาฐานหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามพันเหรียญ หรือทั้งจำมสธ ทั้งปรับ17 มสธ อทุ าหรณ์ ฎ. 1776/2522 ชายมีปืนขู่พาหญิงไปร่วมประเวณีและจดทะเบียนสมรส หญิงเพิกถอนได้ การฟ้องคดีเป็น การบ อกล ้างโมฆียก รรมไปในตัว ฎ. 6868/2542 พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วัน และถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรส ก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่ พาโจทก์กลับบ้านจะทำร้ายร่างกายพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ใน ภาวการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตน ตามค ำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์ การส มรสร ะหว่างโจทก์ก ับจำเลยจึงเป็นการส มรสโดยถ ูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มี การข่มขู่น ั้นโจทก์จ ะไม่ท ำการสมรสกับจำเลย การส มรสจ ึงเป็นโมฆียะตาม ปพพ. มาตรา 1507 วรรคห นึ่ง กิจกรรม 2.1.2 1. นายสมพงษ์ลักลอบได้เสียกับนางสาวชูศรีจนนางสาวชูศรีต้ังครรภ์ นางสาวชูศรีรบเร้าให้พาไป จดท ะเบยี นส มรส นายส มพ งษก์ บ็ า่ ยเบย่ี งพ ยายามห าท างห ลบห นา้ แตน่ างสาวช ศู รไี มล่ ะค วามพ ยายามไดต้ ดิ ตาม เฝา้ น ายส มพ งษอ์ ยตู่ ลอดเวลา นายส มพ งษค์ ดิ ห าท างใหน้ างสาวช ศู รเี ลกิ ราไปจ ากต น จงึ ไดว้ า่ จ า้ งน างสาวม ยรุ ฉตั ร ให้แกล้งทำตัวเป็นภริยาและเพื่อให้ดูสมจริงได้ไปจดทะเบียนสมรสกันเพ่ือจะเอาใบทะเบียนสมรสไปแสดงต่อ นางสาวชูศรี โดยนายสมพงษ์และนางสาวมยุรฉัตรมิได้มีเจตนาจะทำการสมรสกันแต่อย่างใด หลังจากนางสาว ชูศรีเลิกราจากไปแล้ว นายสมพงษ์ต้องการท่ีจะเพิกถอนทะเบียนสมรสท่ีทำไว้กับนางสาวมยุฉัตร จึงมาปรึกษา ท่านว า่ จ ะมชี ่องทางทำได้หรือไม่ จงแ นะนำน ายส มพงษ์ 2. นายส รุ ช ยั พ นกั งานข บั ร ถยนตข์ องผ อู้ ำนวยก ารโรงพ ยาบาลเปาล นั ขบั ร ถต ดิ ต ราโรงพ ยาบาลไปจ อด ทหี่ น้าบา้ นน างส าวพ ลิ าศ ลักษณ์ ทกั ทายพ ูดคยุ กบั ประชาชนแถวน้นั วา่ ตนทำงานอยทู่ ีโ่ รงพ ยาบาลเปาลนั พรอ้ ม ทั้งเล่าเรื่องเก่ียวกับงานของโรงพยาบาล และการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นางสาวพิลาศลักษณ์เข้าใจว่านายสุร ชยั เปน็ ผ อู้ ำนวยก ารโรงพ ยาบาลเปาล นั จ งึ ย อมจ ดท ะเบยี นส มรสด ว้ ยก บั น ายส รุ ช ยั ตอ่ ม าภ ายห ลงั ท ราบค วามจ รงิ และประสงคจ์ ะเลกิ ก ารเป็นส ามีภรยิ ากับนายส ุรช ัย เช่นนี้ จงแ นะนำน างสาวพ ิลาศ ลักษณ์ 3. นางสาวก ตญั ญปู ระกาศห าค ใู่ นห นงั สอื พมิ พไ์ ทยส ยาม คอลมั น์ “ลงุ ห นวด” วา่ เศรษฐคี นใดส ามารถ ปลดเปลื้องหนี้สินของบิดาตนซึ่งมีหน้ีสินอยู่ 50,000 บาทได้ ตนเองจะยินยอมจดทะเบียนสมรสด้วย นาย ประกาศติ พ บน างส าว กตญั ญแ ละแ อบอ า้ งต นว า่ เปน็ เศรษฐี ทง้ั ร บั ว า่ จ ะช ว่ ยช ำระห นแี้ ทนบ ดิ าให้ นางสาวก ตญั ญู หลงเชอ่ื จ งึ ย อมท ำการส มรสด ว้ ย ภายห ลงั ป รากฏว า่ น ายป ระกาศติ ม ฐี านะย ากจน และไมม่ เี งนิ ท จี่ ะช ำระห นแี้ ทน ให้ได้ ดังนี้ นางสาวก ตญั ญูจะมที างบอกเลิกเพิกถ อนก ารสมรสได้หรอื ไม่ 17 Section 37, The Law Reform (marriage and Divorce) Act 1976. มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-21 4. นายเดน่ กับนางสาวราตรีลักลอบได้เสยี กันมานานแลว้ แต่นายเดน่ ยงั ไม่ยอมจดทะเบยี นสมรสด้วย นางสาวร าตรจี งึ ยื่นค ำขาดต ่อนายเดน่ ว่า (1) หากน ายเด่นไม่ย อมจ ดทะเบียนส มรสก บั ต นแลว้ ตนจะฆา่ ตวั ตายภายใน 3 วันก็ดี หรือ (2) หากน ายเดน่ ไมย่ อมจ ดท ะเบยี นส มรสก บั ต นแ ลว้ ตนจ ะใหน้ ายโพธนิ อ้ งช ายซ ง่ึ ข ณะน เ้ี ปน็ น กั โทษอ ยู่ ในค ุก อีก 2 ปีจะพน้ โทษ เมอ่ื พ น้ โทษม าแ ล้วจ ะให้มายงิ น ายเดน่ ให้ตายทันที ก็ดี หรอื (3) หากนายเด่นไมย่ อมจ ดทะเบยี นส มรสกับต นแ ลว้ ตนจะไมย่ อมห ลับน อนกบั นายเด่นอีก กด็ ี นายเดน่ ม ีค วามเกรงก ลวั ตามค ำข ู่ จงึ ท ำการสมรสก ับนางสาวร าตรี ดังนี้ การสมรสท ีไ่ ดก้ ระทำเพราะค ำข ู่ (1) (2) หรือ (3) ดังก ลา่ วม ีผลสมบรู ณเ์ พยี งใด หรือไม่ แนวตอบก จิ กรรม 2.1.2 1. การส มรสร ะหวา่ งน ายส มพ งษก์ บั น างสาวม ยรุ ฉตั รเปน็ โมฆะเพราะบ คุ คลท ง้ั ส องม ไิ ดย้ นิ ยอมส มรส กนั เปน็ การฝ า่ ฝนื มาตรา 1458 นายส มพงษจ์ งึ อาจขอใหศ้ าลม คี ำพพิ ากษาแสดงว า่ การสมรสด งั ก ลา่ วเปน็ โมฆะได้ 2. การส มรสร ะหวา่ งน ายส รุ ช ยั ก บั น างส าวพ ลิ าศ ล กั ษณส์ มบรู ณ์ ไมเ่ ปน็ โมฆยี ะ เพราะม ไิ ดส้ ำคญั ผ ดิ ต วั คสู่ มรสต ามม าตรา 1505 แตเ่ ปน็ การส ำคญั ผ ดิ ในฐ านะข องน ายส รุ ช ยั นางส าวพ ลิ าศ ล กั ษณจ์ งึ ไมม่ สี ทิ ธขิ อใหศ้ าล เพิกถอนการส มรสได้ 3. การสมรสร ะหวา่ งนางสาวก ตญั ญู กบั นายประกาศิต เป็นโมฆียะ ตามม าตรา 1506 เพราะนางสาว กตญั ญถู กู ก ลฉ อ้ ฉลห ลอกล วงถ งึ ข นาด ซง่ึ ถ า้ ม ไิ ดม้ กี ลฉ อ้ ฉลน น้ั จ ะไมท่ ำการส มรส นางสาวก ตญั ญจู งึ ม สี ทิ ธทิ จ่ี ะ ขอให้ศาลเพิกถอนก ารสมรสน ี้ได้ 4. การส มรสท ก่ี ระทำเพราะถ กู ข ม่ ขทู่ จ่ี ะท ำใหก้ ารส มรสเปน็ โมฆยี ะน น้ั ต อ้ งเปน็ ข ม่ ขอู่ นั ถ งึ ข นาดซ ง่ึ ถ า้ มไิ ด้มีการข ่มขู่นั้นจ ะไมท่ ำการส มรส (ตามม าตรา 1507) และก ารข่มขตู่ ้องถ งึ ข นาดทจ่ี ะจงู ใจให้ผถู้ กู ข ่มขใู่ ห้มีมูล ตอ้ งก ลวั จ ะเกดิ ค วามเสยี ห ายเปน็ ภ ยั แ กต่ นเอง แกส่ กลุ แ หง่ ต นห รอื แ กท่ รพั ยส์ นิ ข องต น เปน็ ภ ยั อ นั ใกลจ้ ะถ งึ และ อยา่ งนอ้ ยรา้ ยแ รงเทา่ กับที่จ ะพึงกลวั ต่อก ารอนั เขากรรโชกเอานน้ั ต าม ปพพ. มาตรา 126 และการข ูว่ ่าจ ะใช้สิทธิ อนั ใดอ นั ห นง่ึ ต ามป กตนิ ยิ มก ด็ ี เพยี งแ ตค่ วามก ลวั เพราะน บั ถอื ย ำเกรงก ด็ ี ทา่ นห าจ ดั ว า่ เปน็ การข ม่ ขไู่ มต่ ามปพพ. มาตรา 127 ดังนั้น (1) จะฆา่ ต วั ตายภ ายใน 3 วนั สมบูรณเ์ พราะมไิ ดข้ วู่ า่ จ ะทำร้ายผู้ถกู ข ่มขู่ (2) จะฆา่ ให้ตายอ กี 2 ปีข้างหนา้ สมบรู ณเ์ พราะมไิ ด้ขวู่ ่าจะท ำร้ายในท ันที (3) จะไม่ยอมหลับนอนด้วย สมบูรณ์เพราะมิได้ขู่ว่าจะทำร้ายหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตน หรือทรพั ยส์ ินอย่างใด มสธ มสธ มสธ มสธ มส
มส 2-22 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เรื่องท ่ี 2.1.3มสธ กรณีเกยี่ วกับศ ลี ธรรมแ ละสงั คม มสธ ในการที่ชายและหญิงจะทำการสมรสกันนั้นนอกจากจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เกี่ยวกับความสามารถ และความยินยอมในการสมรสตามที่กล่าวมาในเรื่องที่ 2.1.1 ความสามารถในการสมรสและเรื่องที่ 2.1.2 ความ ยินยอมในก ารสมรสแล้ว กฎหมายยังก ำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับศ ีลธรรมและสังคมอ ีก 3 ประการ ดังต ่อไปน ี้ มาตรา 1450 “ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสาโลหิต18 โดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรอื ร่วมแตบ่ ิดาหรือมารดาก ็ดี จะท ำการสมรสกนั ไม่ได้ ความเปน็ ญาติดังก ลา่ วมาน ี้ใหถ้ ือตามส าโลหิต โดยไม่คำนงึ วา่ จะเป็นญาตโิ ดยชอบด ว้ ยก ฎหมายห รอื ไม”่ มาตรา 1451 “ผรู้ บั บ ุตรบญุ ธรรมแ ละบุตรบ ุญธรรมจ ะสมรสกันไม่ได้” มาตรา 1452 “ชายหรือหญงิ จ ะท ำการส มรสในข ณะท ่ีต นม คี ่สู มรสอ ยไู่ ม่ได้” 1. ญาติสืบสายโลหติ หรอื พ ่ีนอ้ งรว่ มบ ิดาห รือม ารดาจะสมรสกันไม่ได้ มาตรา 1450 บัญญัติว่า “ชายหญิงซ่ึงเป็นญาติสืบสาโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพ่ีน้องร่วมบิดา มารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมาน้ีให้ถือตามสาโลหิต โดยไม่ คำนงึ ว ่าจ ะเปน็ ญ าติโดยช อบด ้วยกฎหมายห รือไม่” มาตรา 1450 บัญญัติห้ามชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป หรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วม บิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี ทำการสมรสกันเอง ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขนี้ก็ด้วยมีเหตุผลในทาง แพทย์ท ี่จะท ำให้บุตรท ี่เกิดมาจ ากก ารส มรสด ังก ล่าวเป็นโรคป ัญญาอ่อนห รือม ีสุขภาพไม่แ ข็งแรง เพราะบุคคลเหล่านี้ มียีนส์ (genes) ที่เหมือนกันมากเกินไป เช่น บิดากับบุตรสาวมีจีนส์ที่เหมือนกันถึงครึ่งหนี่ง ปู่และตากับหลานสาว มียีนส์ที่เหมือนกันหนึ่งในสี่เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในทางศีลธรรมประกอบด้วย เพราะการที่ญาติสืบสาย โลหิตหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาสมรสกันย่อมจะกระทบกระเทือนความรู้สึกของสังคมในทางศีลธรรม เป็นข้อห้าม ทางสังคม (social taboos) ที่เป็นสากลซึ่งยอมรับกันทั่วโลก ตามกฎหมายโบราณถือว่าเป็นการอุบาทว์จัญไร น้ำฟ้าน้ำฝนจะไม่ตกเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย กฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 36 ถึงกับบัญญัติว่า “พ่อ แม่ พี่ น้อง ยาย หลาน ลุง น้า หลานทำชู้กันไซร้ ท่านว่าละเมิดให้ลงโทษตามโทษานุโทษ” ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐ- อเมริกา มลรัฐนิวยอร์คและมลรัฐโอคลาโฮมาเป็นอาทิ ได้มีกฎหมายห้ามบุพการี และผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดา มารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ลุงกับหลานสาว และป้ากับหลานชายสมรสกัน การสมรสของบุคคลดังกล่าวเป็น โมฆะ19 นอกจากก ฎหมายต ่างป ระเทศจ ะห ้ามม ใิ หบ้ ุคคลท ีเ่ป็นญ าตสิ ืบสายโลหิตต ่อก นั ส มรสก ันแ ลว้ ก ารร ว่ มป ระเวณี กันระหว่างบิดาก ับบ ุตรสาว หลานส าว หรือน้องส าวยังเป็นความผ ิดตามอาญาท ี่เรียกว่า “incest” อีกด้วย กฎหมาย อิสลามเกี่ยวกับครอบครัว พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน บทที่ 4 โองการที่ 23 ก็ได้มีการบัญญัติบุคคลที่ถูกห้ามมิให้ ทำการสมรสไว้คือ ห้ามช ายมิให้ส มรสก ับห ญิงด ังต ่อไปนี้ 18 “สาโลหิต” เป็นค ำท ี่ใช้ในสมัยโบราณ ปัจจุบันนิยมใช้ว่า “สายโลหิต” 19 Section 5, New York Domestic Relation Law ; Section 2, Titla 43-2, Oklahoma Statutes. มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-23 มสธ 1. แม่ต ัว แม่เลี้ยงห รือแม่นม แม่ยายมสธ 2. พี่ส าว น้องส าว ลูกสาว 3. ป้า น้า อา หลานมสธ 4. พี่ส าวเลี้ยง หรือน ้องส าวเลี้ยง 5. บุตรส ะใภ้ ลูกเลี้ยง 6. พี่ส าวหรือน ้องส าวคราวเดียวกันส องคน ฐานะความเป็นญาติในทางสืบสายโลหิต (consanguinity) ที่กฎหมายห้ามมิให้ทำการสมรสกันนี้ก็คือ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลูก หลาน (ลูกของลูก) เหลน (ลูกของหลาน) พี่ น้อง ซึ่งสำหรับพี่น้องนี้แม้จะร่วมแต่บิดา หรือมารดาเพียงฝ่ายเดียวก็ห้ามมิให้สมรสกัน หากญาติทางสายโลหิตดังกล่าวฝ่าฝืนทำการสมรสกัน การสมรส ดังกล่าวเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1495 และศาลเท่านั้นจะพิพากษาว่าการสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะตาม มาตรา 1496 “คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 และมาตรา 1458 เปน็ โมฆะ” คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้า ไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้ ผู้มีส่วนได้เสียคือ คู่สมรส บิดา มารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลขอให้มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะได้ สำหรับฐานะความเป็นญาติที่กฎหมายห้ามมิให้ทำการสมรสกันนี้ให้ถือตามความเป็นจริง เช่น บิดากับบุตรสาวนอก กฎหมายแม้จะไม่ใช่ญาติกันตามกฎหมายแต่ก็เป็นญาติตามความเป็นจริง จึงทำการสมรสกันไม่ได้ บุตรบุญธรรม ถือว่ายังเป็นญาติสืบสายโลหิตของบิดามารดาโดยกำเนิดอยู่เสมือนเช่นก่อนมีการรับบุตรบุญธรรม ฉะนั้น พี่ชาย และน้องสาวร่วมแต่มารดาเดียวกัน แม้มารดาจะยกพี่ชายให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นตั้งแต่ยังแบเบาะอยู่ ก็ตาม เมื่อโตขึ้นมาพี่ชายและน้องสาวคู่นี้ก็สมรสกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี ลุง ป้า น้า อา ลูกของลุง ป้า น้า อา เหล่านี้ ไม่ใช่ญ าติส ืบสายโลหิตโดยตรง กฎหมายจ ึงมิได้ห ้ามไม่ให้ทำการสมรสก ัน และเท่าท ี่เป็นอ ยู่ในเวลาน ี้ก็มีกันอ ยู่บ่อย ไปท ี่อาทำการสมรสกับหลาน เช่น ในน ิยายเรื่องส ลักจ ิต ที่อ าเดียวแ ต่งงานก ับหลานจ อย เป็นต้น นอกจากนี้การเป็น ญาติโดยการสมรส (affinity) หรือการเป็นญาติโดยการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (adoption) ก็มิใช่ญาติสืบ- สายโลหิตโดยตรง กฎหมายจึงไม่ห้ามมิให้ทำการสมรสกัน เช่น บุตรชายที่เกิดจากภริยาเดิม แม้จะมีศักดิ์เป็นบุตร ของภริยาใหม่ของบิดาก็ตาม แต่หากบิดาถึงแก่ความตายบุตรชายจะสมรสกับภริยาใหม่ของบิดาก็ได้ หรือบุตร บุญธรรมที่เป็นชายจะสมรสกับบุตรสาวของผู้รับบุตรบุญธรรมก็ได้ หรือชายสมรสกับหญิงหม้ายที่มีบุตรสาวติดมา ด้วยเมื่อได้ขาดจากการสมรสกับหญิงหม้ายแล้วจะสมรสกับบุตรสาวเช่นว่านั้นก็ได้ แต่ในต่างประเทศ เช่น ประเทศ อินโดนีเซียกฎหมายห้ามญาติโดยการสมรสทำการสมรสกัน อาทิห้ามบิดากับบุตรสาวที่ติดมากับภริยาใหม่ทำการ สมรสกัน20 เป็นต้น อทุ าหรณ์ ฎ. 272/2488 ชายหญิงที่เป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารดาเดียวกัน สมรสกันก่อนใช้บรรพ 5 ย่อม เป็นส ามีภริยากันได้ 2. ผรู้ บั บุตรบ ญุ ธรรมและบตุ รบญุ ธรรมจะสมรสกนั ไมไ่ ด้ การร ับบุตรบุญธรรมน ั้นม าตรา 1598/19 กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าผ ู้รับบุตรบ ุญธรรมจ ะต ้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และจะต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ทั้งจะต้องมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมด้วย 20 Article 8, Law of the Republic of Indonesia Number I of the Year 1974 on Marriage มสธ มส
มส 2-24 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/27 แต่มาตรา 1451 บัญญัติว่าผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรมสธ บุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมเป็นบิดามารดาและบุตรต่อกัน ถ้ามีก ารสมรสก ันย่อมเป็นการกระทบก ระเทือนความรู้สึกทางสังคม และขนบธรรมเนียมป ระเพณี แต่เนื่องจากผู้รับมสธ บุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่มีความสัมพันธ์ในทางญาติสืบสายโลหิตกันเลยจึงไม่มีเหตุผลในทางการแพทย์ ที่ห้ามมิให้ทำการสมรส ทั้งยังน่าจะไม่ถึงขนาดขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น กฎหมายจึงมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้เป็นโมฆะหรือโมฆียะ หรือเสื่อมเสียแต่ประการใด แต่มี มาตรา 1598/32 บัญญัติว่าการรับบุตรบุญธรรมย ่อมเป็นอันยกเลิก เมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451 ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะถือว่าการสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมเช่นว่านี้เป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ มีผลเพียง แต่ว่าการรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกไปโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ชายหญิงจึงมีฐานะเพียงอย่างเดียวคือเป็น สามีภริยากันเท่านั้น หลักการที่ว่าบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกันไม่ได้นี้เป็นหลักสากลแต่ผลอาจ แตกต่างกัน ในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลียก็ถือหลักการนี้และหากบุตรบุญธรรมฝ่าฝืนทำการสมรสกับ ผู้รับบุตรบุญธรรมการสมรสด ังกล่าวเป็นโมฆะ21 3. ชายห รอื ห ญงิ ม ีคู่สมรสอ ยแู่ ลว้ จะท ำการส มรสซ ้อนอ กี ไ ม่ได้ ในสมัยโบราณชายไทยอาจมีภริยาได้หลายคน แต่หลังจากมีการใช้ ปพพ.บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้ว กฎหมายได้เปลี่ยนหลักก ารไปเป็นว่าให้ชายมีภริยาได้เพียงค นเดียว (monogamous union) จึงต ้องบัญญัติเงื่อนไข ไว้ในมาตรา 1452 ว่า “ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะท่ีตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้” ดังน ั้นชายหญิงจ ะทำการส มรส ได้ต่อเมื่อไม่มีภริยาหรือสามีอยู่ก่อน และเพื่อให้หลักการนี้มีประสิทธิภาพ กฎหมายจึงต้องบัญญัติไว้ด้วยว่าการ สมรสจะต้องจดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้นายทะเบียนสมรสได้มีโอกาสสอบถามว่ามีภริยาหรือสามีอยู่ ก่อนแล้วห รือไม่ หากม ีภริยาห รือส ามีอ ยู่ก ่อนแล้วน ายทะเบียนก็จ ะไม่จ ดทะเบียนสมรสให้และบุคคลนั้นถ้าม ีคู่สมรส อยู่แล้วแต่กลับไปแจ้งกับนายทะเบียนว่ายังเป็นโสดไม่มีคู่สมรส บุคคลที่แจ้งก็มีความผิดทางอาญาฐานแจ้งความ เท็จต่อเจ้าพนักงานต าม ปอ. มาตรา 137 คู่สมรสเดิมและคู่สมรสใหม่ที่ไม่ได้ร่วมกระทำผิดด้วยมีอำนาจฟ้องขอให้ ลงโทษได้เพราะถือว่าเป็นผู้เสียหาย22 การสมรสในขณะที่ชายหรือหญิงมีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เป็น การขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะเป็นการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายแย่ง คู่สมรสของบุคคลอื่น ก่อให้เกิดความแตกร้าวในครอบครัวเดิม การสมรสเช่นว่านี้จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งบัญญัติว่า “การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ” ผู้มีส่วนได้ เสียมีสิทธิกล่าวอ้างขึ้นว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะหรือจะนำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงว่าการ สมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 1497 ที่บัญญัติว่า “การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหน่ึงจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะ ก็ได้” เมื่อมีการกล่าวอ้างหรือเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วการสมรสซ้อนครั้งหลังนี้ย่อมเสียเปล่ามาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้ายังไม่มีการกล่าวอ้างหรือคำพิพากษาดังกล่าวก็ต้องถือว่า ชายหญิงในการสมรสครั้งหลังนั้นยังคงเป็นสามี ภริยาก ันตามกฎหมาย อุทาหรณ์ ฎ. 545/2545 ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2516 ในระหว่างสมรสผู้ร้องมา จดท ะเบียนส มรสซ้อนก ับจำเลยที่ 1 เมื่อว ันท ี่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ผู้ร้องซื้อและจดท ะเบียนร ับโอนที่ดินพิพาท 21 Section 51, Family Law Act 1975 22 ฎ. 2583/2522 มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-25 มสธ จาก จ. เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526 ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนมสธ หย่าขาดกันกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ปพพ. ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งแม้ผู้ร้องจะทำการ สมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วอันจะทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อในมสธ ระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมายังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะ ตามม าตรา 1495 (เดิม) ต้องถ ือว่าก ารส มรสร ะหว่างผ ูร้ ้องก ับจ ำเลยท ี่ 1 ยังม ผี ลส มบูรณอ์ ยู่ ที่ดินพ ิพาทจ ึงเป็นท รัพย์สิน ที่ผู้ร้องได้ม าระห ว่างส มรสกับ ร. และจำเลยท ี่ 1 จึงเป็นส ินสมรสร ะหว่างผ ู้ร้องก ับจ ำเลยท ี่ 1 ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่า จำเลยที่ 1 มีส ่วนเกี่ยวข้องร ู้เห็นหรืออ อกเงินช่วยผู้ร ้องชำระร าคาที่ดินพ ิพาทหรือไม่ แม้ภายห ลังผู้ร ้องก ับจ ำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ต้องจัดการแบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ตาม ปพพ. มาตรา 1532 และ 1533 การจดทะเบียนสมรสซ้อนนี้ แม้ชายหรือหญิงคู่สมรสจะกระทำการสมรสโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีการสมรส เดิมอยู่แล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้การสมรสสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ยังคงเป็นโมฆะอยู่นั่นเอง แต่คู่สมรสผู้ทำการโดย สุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้นก่อนที่ตนจะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ ในต่างประเทศที่ ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ เช่น ประเทศอังกฤษการจดทะเบียนสมรสซ้อนในระหว่างที่การสมรสครั้งแรกยังไม่ สิ้นสุดนี้เป็นความผิดทางอาญาที่เรียกว่า “bigamy”23 แต่โดยปกติมักไม่ค่อยมีการจับกุมฟ้องร้องกันในความผิด ฐานนี้ เว้นแต่จำเลยจะได้หลอกลวงให้เกิดมีการสมรสครั้งที่สองขึ้น นอกจากนี้จำเลยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชายยังอาจยก ข้อต่อสู้ว่าตนเชื่อโดยสุจริตว่าภริยาคนแรกของตนถึงแก่ความตายไปแล้ว หรือภริยาคนแรกได้หายสาปสูญไปเป็น เวลาอ ย่างน้อย 7 ปีต ิดต่อกันแล้วได้อีกด้วย ในส หรัฐอเมริกา มลรัฐเวอร์จิเนีย การจ ดท ะเบียนส มรสซ ้อนถือว่าเป็น โมฆะในต ัวเองโดยไม่ต ้องม ีค ำพิพากษาแ สดงว ่าการส มรสเป็นโมฆะแต่อย่างใด24 การสมรสซ้อนอันเป็นเหตุให้การสมรสครั้งที่สองเป็นโมฆะนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่ชายจดทะเบียน สมรสซ้อนกับภริยาคนที่สอง หรือหญิงจดทะเบียนสมรสซ้อนกับสามีคนที่สองก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่จะต้องมีการ สมรสที่สมบูรณ์อยู่แล้วจึงจะต้องห้ามมิให้ทำการสมรสซ้อนเข้ามาอีก ฉะนั้นหากชายและหญิงมาอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว ชายหญิงคู่นี้ก็มิได้เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามที่ชาย หรือหญิงจะไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่นอีก อย่างไรก็ดีในกรณีที่ชายหญิงเป็นสามีภริยากันก่อนใช้บรรพ 5 แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันก็นับว่าเป็นคู่สมรสกันตามกฎหมาย ชายจึงย่อมไม่มีสิทธิที่จะทำการการสมรสกับ หญิงอื่นได้อีกเพราะเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 1452 ถ้าชายจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น การสมรสครั้งที่สองนี้ เป็นโมฆะ ภริยาย่อมฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะได้25 นอกจากนี้การที่ชายมีภริยาอยู่ แล้วแต่ได้ขอหญิงมาเลี้ยงดูเป็นภริยาน้อย และได้ทำสัญญากับฝ่ายบิดาหญิงว่าจะให้ทรัพย์สินจำนวนหนึ่งแก่หญิง และบิดาหญิงนั้น สัญญาด ังกล่าวเป็นการอ ุดหนุนให้ชายมีภริยาอีกหนึ่งคน ต้องห้ามตามกฎหมาย ใช้บังคับไม่ได้26 และการที่ชายมีภริยาอยู่แล้ว แต่ยังไปตกลงกับหญิงอื่นอีกว่าจะอยู่กินป็นสามีภริยากัน ข้อตกลงนี้ย่อมมีวัตถุ- ประสงค์เป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 150 แม้หญิงนั้นจะไม่ปฏิบัติตาม ข ้อตกลงก ็ไม่มีน ิติส ัมพันธ์ท ี่จะต้องร ับผิดชอบต่อชายแ ต่อย่างใด27 23 Section 57, Offences Against the Person Act 1861 24 Section 20, Virginia Code 25 ฎ. 1269/2493 26 ฎ. 95/2489 27 ฎ. 1913/2505 มสธ มส
มส 2-26 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ อทุ าหรณ์มสธ ฎ. 69-70/2516 สามีภริยาอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ปพพ. บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียน บันทึกฐานะของภริยาน้อยได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 แต่ถ้าภริยามสธ หลวงย ังคงเป็นค ู่ส มรสอยู่ สามีก ับภ ริยาน้อยก ็ไม่มีสิทธิจ ดทะเบียนส มรสก ันตาม ปพพ. ฎ. 2614/2518 การที่ชายจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่หนึ่งแล้ว ยังมาจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่ สองอีกโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าไม่เคยสมรสมาก่อน เช่นนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานตาม ปอ. มาตรา 137 ภริยาคนที่สองซึ่งไม่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากก ารกร ะท ำผิดของชาย มีอำนาจฟ้องค ดีต่อศาลได้ พิพากษาให้ลงโทษจำค ุก 1 เดือน ฎ. 963/2519 โจทก์เป็นบุตรของบิดามารดาซึ่งจดทะเบียนสมรสกัน บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับ จำเลยอีก ต่อมาอีกหนึ่งปีเศษบิดามารดาโจทก์จึงจดทะเบียนหย่ากัน ดังนี้การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย จึงผิดบ ทบัญญัติม าตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ และโมฆกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแ ก่กันได้ต ามม าตรา 134 (ปัจจุบัน มาตรา 172) แม้ต่อมาภายหลังบิดามารดาโจทก์ได้จดทะเบียนหย่าก ันก็ไม่มีผลย ้อนหลังไปถึงก ารส มรสระหว่างบ ิดา โจทก์กับจ ำเลย ซึ่งต กเป็นโมฆะเสียเปล่าไปก ่อนแ ล้ว ฎ. 1221/2527 พ. จดทะเบียนสมรสก ับจ ำเลยท ี่ 1 ขณะท ี่ พ. มีโจทก์เป็นภ ริยาโดยชอบด ้วยก ฎหมายก ่อน ใช้ ปพพ. บรรพ 5 อยู่แ ล้ว เป็นการฝ ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการส มรสและเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 1452 โจทก์จึงค ง เป็นภ ริยาของ พ. แต่ผ ู้เดียว ฎ. 6077/2537 ขณะจ ำเลยจดทะเบียนสมรสก ับ น. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2522 น. จดทะเบียนส มรส กับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. จึงฝ่าฝืน ปพพ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 1496 เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในข ณะนั้น การต กเป็นโมฆะดังกล่าวม ีผ ลเท่ากับว ่าจำเลยแ ละ น. มิได้ทำการส มรส กัน ดังนั้นการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และ น. ในครั้งหลังจึงกระทำในขณะที่จำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่สมรส ของ น. การสมรสระหว่างโจทก์ และ น. จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ปพพ. มาตรา 133 เดิม และมาตรา 1497 เดิม มีอำนาจฟ้องข อให้ศ าลพ ิพากษาว ่าการส มรสระหว่างจ ำเลยก ับ น. เป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 1496 เดิมได้ ฎ. 1237/2544 ขณะที่จำเลยจดทะเบียนส มรสก ับ ส. ในว ันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จำเลยไม่มีคู่สมรส เพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน ค. ไปก่อนแล้วจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตาม ปพพ. มาตรา 1452 จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มี ผลอย่างเดียวกัน การที่นายทะเบียนจ ดทะเบียนส มรสให้จำเลยก ับ ส. โดยเชื่อว่า จำเลยไม่เคยสมรสม าก่อน จึงไม่ อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิด ตาม ปอ. มาตรา 137 และม าตรา 267 ฎ. 659/2545 เมื่อก ารสมรสร ะหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 1452 ประกอบม าตรา 1495 เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์ จึงมีผลเท่ากับโจทก์กับ จ. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก ไม่อาจถือเอาเงินได้ที่ จ. ได้รับมาเป็นเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์ไม่มีหน้าที่และ ความร ับผิดช อบในก ารยื่นร ายการและเสียภ าษีสำหรับเงินได้จำนวนด ังกล่าว ฎ. 6181/2545 ท. มีค ู่สมรสอยู่แ ล้ว การท ี่ ท. จดท ะเบียนส มรสกับจำเลยอ ีก โดยมิได้หย่าข าดจาก ป. เป็น การฝ่าฝืน ปพพ. มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ท. กับ จ. ภริยาอีกคนหนึ่งของ ท. แต่ก็เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. เมื่อ ท. ตายแล้วโจทก์ย่อมจะมีสิทธิได้รับทรัพย์ มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-27 มสธ มรดกของ ท. โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ท. และมสธ จำเลยเป็นโมฆะได้ต ามมาตรา 1497 โจทก์จึงม ีอำนาจฟ ้อง มสธ ฎ. 6365/2547 ขณะจ ำเลยจดทะเบียนสมรสกับพ ันโท ส. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 พันโท ส. จด ทะเบียนสมรสกับนาง ส. อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้น การสมรสระหว่างจำเลยกันพันโท ส. จึงฝ่าฝืน ปพพ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 1496 (เดิม) การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับจำเลยและพันโท ส. มิได้ทำการ สมรสกัน จึงไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ แม้ต่อมาภายหลังพันโท ส. จะได้จดทะเบียนหย่ากับนาง ส. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ก็ห าทำให้ก ารสมรสร ะหว่างจ ำเลยแ ละพันโท ส. กลับม ีผลเป็นการส มรสท ี่ชอบขึ้นม าไม่ ฎ. 3192/2549 ปพพ. มาตรา 1461 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งเป็นเรื่องภายหลังการสมรสตามหมวด 2 เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรส กล่าวคือ เมื่อสมรสกันแล้วหากฝ่ายใด ปฏิบัติฝ่าฝืนม าตรา 1461 ดังก ล่าวก ็จะเป็นเหตุฟ้องห ย่าตาม ปพพ. มาตรา 1516 (4) หรือ (6) ที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง อาจนำมาฟ้องร้องได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. และไม่มีคำพิพากษา ของศาลให้หย่ากัน การสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้หากโจทก์กับ พลตำรวจตรี ว. จะมิได้อยู่ด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันในระยะหลังก็มิได้มีผลต่อความสมบูรณ์ ของการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว.โจทก์จึงยังเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจตรี ว. อยู่ ตลอดมา เมื่อจำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจตรี ว. ขณะที่พลตำรวจตรี ว. มีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่จึงเป็น การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสในมาตรา 1452 และเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ต่อมาพลตำรวจตรี ว. ถึงแก่ความต าย โจทก์ก็เป็นผู้ม ีส่วนได้เสียที่ม ีอ ำนาจฟ ้องข อให้การสมรสระหว่างจ ำเลยกับต ำรวจต รี ว. เป็นโมฆะได้ กิจกรรม 2.1.3 1. นายเกรกิ จ ดท ะเบยี นส มรสก บั น างล ำดวน อยกู่ นิ ด ว้ ยก นั ท ก่ี รงุ เทพมหานคร ตอ่ ม าน ายเกรกิ ย า้ ยไปร บั ราชการท จี่ งั หวดั ส งขลาโดยน างล ำดวนไมไ่ดต้ ดิ ตามไปอ ยดู่ ว้ ย นายเกรกิ ไปร กั ใครช่ อบพอก บั น างท องด ที จ่ี งั หวดั สงขลา โดยนางทองดีเชื่อโดยสุจริตว่านายเกริกยงั เป็นโสดอยู่ และต่อมาบคุ คลทั้งสองก็ได้จดทะเบียนสมรสกนั เมอ่ื นางล ำดวนร ู้เรื่องเข้า จงึ ม าป รึกษาท า่ นว่าจ ะมีชอ่ งท างบอกเลกิ เพิกถ อนก ารสมรสร ะหวา่ งน ายเกรกิ และนาง ทองดีบ้างห รอื ไม่ จงแ นะนำนางลำดวน 2. นาย ก. แอบล กั ลอบไดเ้ สยี ก บั น าง ข. ครน้ั เมอ่ื น าง ข. ตงั้ ค รรภ์ นาย ก. หลบห นา้ ห นหี ายไมม่ าพ บอ กี เลย นาง ข. มีความเสยี ใจจงึ อ พยพไปอ ยู่จงั หวดั แ มฮ่ ่องสอนแ ละค ลอดบ ุตรมาเปน็ ช ายชอ่ื ส มาน ส่วนนาย ก. ได้ จดทะเบยี นสมรสก ับ นาง ค. และม บี ตุ รสาวช อื่ ส มศรี เมือ่ เวลาผ่านไป 25 ปี นายส มานและน างส มศรมี าพบก ัน เกดิ ร กั ใครช่ อบพอก นั และจ ดท ะเบยี นส มรสก นั โดยส จุ รติ หลงั จ ากจ ดท ะเบยี นส มรสแ ลว้ 1 ปี จงึ ท ราบค วามจ รงิ แต่ก็ยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อมาอีก 2 ปี หลังจากน้ันนายสมานได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับนางสนธยา นางส มศรจี งึ ม าป รกึ ษาท า่ นว า่ จ ะม ที างบ อกเลกิ เพกิ ถ อนก ารส มรสร ะหวา่ งน ายส มานแ ละน างส นธยาไดบ้ า้ งห รอื ไม่ จงแ นะนำน างส มศรี แนวต อบกิจกรรม 2.1.3 1. นายเกริกมีคู่สมรสคือนางลำดวนอยู่แล้ว จึงทำการสมรสอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 1452 เมื่อ ฝา่ ฝนื ท ำการสมรสก บั น างท องดอี ีก จงึ เปน็ การสมรสในขณะท ม่ี ีคสู่ มรสอ ยแู่ ล้ว (การสมรสซ อ้ น) แมน้ างท องดี จะกระทำโดยสุจริตก็ตาม การสมรสระหว่างบุคคลท้ังสองก็เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 นางลำดวนจึงมีสิทธิ มสธ มส
มส 2-28 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ กล่าวอ้างว่าการสมรสซ้อนดังกล่าวเป็นโมฆะหรือจะขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะได้ตามมสธ มาตรา 1497 มสธ 2. นายสมานและนางสมศรีเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน แม้จะมิได้เป็นญาติกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็เป็นญาติตามสายโลหิต จึงสมรสกันไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 1450 เม่ือฝ่าฝืนสมรสกันแม้จะทำการโดย สุจริต การสมรสนน้ั เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ต่อมาเม่ือนายสมานสมรสกับนางสนธยา นายสมานจงึ มไิ ด้มีคู่ สมรสท่ีชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1452 การสมรสระหว่างนายสมานและนางสนธยา จึงสมบูรณ์ ไม่เปน็ การสมรสซ้อน นางสมศรีจงึ ไมม่ ที างบ อกเลิกเพกิ ถ อนก ารสมรสร ะหวา่ งนายสมานก บั นางสนธยาไดเ้ลย เร่ืองที่ 2.1.4 การสมรสข องห ญิงหม้าย มาตรา 1453 “หญิงท่ีสามีตายหรือที่การสมรสส้ินสุดลงด้วยประการอ่ืนจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเม่ือการ สิน้ ส ดุ แหง่ การส มรสได้ผ่านพน้ ไปแ ลว้ ไม่น อ้ ยก วา่ สามร อ้ ยส ิบว ัน เวน้ แต่ (1) คลอดบตุ รแล้วในระหว่างน นั้ (2) สมรสกบั คู่สมรสเดิม (3) มีใบรับร องแ พทยป์ ระกาศนียบัตรห รือปรญิ ญา ซึง่ เป็นผ ้ปู ระกอบก ารร ักษาโรคในส าขาเวชกรรมไดต้ าม กฎหมายว่าม ไิ ด้มคี รรภ์ หรอื (4) มีคำส่งั ข องศ าลใหส้ มรสได”้ ในสมัยโบราณ ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 30 การที่หญิงหม้ายสามีตายมีสามีใหม่ในระหว่างที่ศพ สามียังหงายอยู่ในโลงถือเป็นเรื่องทำชู้เหนือผีอันเป็นการน่าบัดสีถึงขนาดให้มีการปรับไหมลงโทษ แต่มาถึงสมัยที่ ใช้ ปพพ. บรรพ 5 นี้ ข้อยับยั้งท ี่มิให้ห ญิงที่สามีต ายหรือที่การส มรสสิ้นส ุดลงด ้วยประการอ ื่นท ำการส มรสใหม่ก่อน สิ้นระยะเวลาสามร้อยสิบวัน น่าจะมิได้ถือว่าเป็นเรื่องน่าบัดสี แต่คงเป็นเพราะเกรงว่าเมื่อหญิงนั้นสมรสใหม่เกิดมี บุตรออกมาจะไม่รู้ว่าเป็นบุตรของสามีเก่าหรือสามีใหม่ ฉะนั้น มาตรา 1453 จึงบัญญัติว่า หญิงที่เคยสมรสมาแล้ว แต่สามีตายหรือหย่าขาดจากสามีเดิมจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน ได้ล่วงพ้นไปเสียก่อน ระยะเวลาสามร้อยสิบวันนี้ เป็นเวลานานที่สุดที่ทารกจ ะอยู่ในครรภ์ม ารดาได้ ระยะเวลาสามร้อยส ิบวัน นับจากการสิ้นส ุดลงแห่งการส มรสน ั้นน ับจาก (1) เมื่อส ามีถึงแก่ค วามต าย นับตั้งแต่วันต าย (2) เมื่อหย่าขาดจากสามี กรณีหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสให้นับแต่วันที่จดทะเบียนหย่า กรณีหย่า โดยคำพิพากษาของศ าลต้องน ับต ั้งแต่ว ันอ ่านค ำพิพากษาศ าลฎ ีกาหรือวันท ี่ส ิ้นสุดระยะเวลาอ ุทธรณ์ ฎีกา (3) เมื่อการสมรสถูกเพิกถอนเพราะเหตุโมฆียะและศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ ให้นับแต่วันอ่าน คำพ ิพากษาศาลฎ ีกาหรือว ันสิ้นส ุดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกา มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-29 มสธ อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กำหนดข้อยกเว้นให้หญิงหม้ายทำการสมรสได้ทันทีโดยไม่ต้องรอจนกว่าครบมสธ ส ามร้อยสิบวัน ในกรณีต ่อไปนี้ มสธ (1) หญิงนั้นได้คลอดบุตรแล้ว ทั้งนี้เพราะเป็นกรณีที่หมดข้อสงสัยว่าหญิงนั้นจะมีทารกจากสามีเดิมอยู่ใน ครรภ์หรือไ ม่ (2) หญิงน ั้นส มรสก ับสามีค นเดิม กรณีนี้ไม่มีปัญหาว่าท ารกในครรภ์เป็นบุตรข องสามีหรือไม่ (3) มีใบรับรองแพทย์ว่าหญิงนั้นไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อหญิงนั้นไม่ได้ตั้งครรภ์ก็ไม่มีปัญหาเรื่องความเป็นบิดา กับบ ุตร (4) มีคำสั่งศาลให้หญิงนั้นทำการสมรสได้ เป็นกรณีที่ศาลมีดุลพินิจสั่งให้หญิงหม้ายสมรสได้ทันที ไม่ว่า หญิงน ั้นจะม ีทารกอ ยู่ในครรภ์หรือไม่ก ็ตาม หากว่าม ีเหตุส มควร การสมรสของหญิงหม้ายที่ขัดต่อเงื่อนไขตามมาตรานี้ กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าผลจะเป็นอย่างไร ฉะนั้น จึงต้องถือว่าเป็นการสมรสที่สมบูรณ์ตลอดไปโดยไม่เป็นโมฆะหรือโมฆียะ และบุตรที่เกิดมาภายหลังสามร้อยสิบ วันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงนั้นมาตรา 1357 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย ผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น ในต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์มีบทบัญญัติห้ามหญิงหม้ายรีบทำการสมรสในทำนอง เดียวกับมาตรา 1453 แต่ถือระยะเวลาน้อยกว่า คือ ห้ามหญิงหม้ายทำการสมรสภายในสามร้อยวันนับแต่วันที่สามี ตาย เว้นแต่จะได้คลอดบุตรแล้วระหว่างนั้น28 หญิงหม้ายที่ทำการฝ่าฝืนทำการสมรสไปมีความผิดทางอาญาต้อง ระวางโทษปรับ29 กิจกรรม 2.1.4 นางด าวสมรสก บั น ายต ะวนั และอ ยู่กินดว้ ยกนั มาจนนางด าวตั้งครรภ์ได้ 2 เดอื น นางด าวก็หยา่ ก บั น าย ตะวนั ตอ่ ม าอ กี 1 เดอื น นางด าวเกดิ ร กั ใครช่ อบพอก นั น ายเดอื น และม คี วามจ ำเปน็ ในก ารค รองช พี ทง้ั น ายเดอื น ก็ยินดอี ุปการะเลีย้ งด ู นางดาวแ ละนายเดอื นจ ะทำการสมรสก ันไดห้ รอื ไม่ แนวตอบก จิ กรรม 2.1.4 โดยห ลกั จ ะท ำการส มรสไมไ่ ด้ เพราะต อ้ งห า้ มต ามม าตรา 1453 หญงิ ท ส่ี ามตี ายห รอื ก ารส มรสส นิ้ ส ดุ ล ง ดว้ ยป ระการอ น่ื จ ะท ำการส มรสใหมไ่ ดต้ อ่ เมอื่ ก ารส น้ิ ส ดุ แ หง่ ก ารส มรสไดผ้ า่ นพ น้ ไปแ ลว้ ไมน่ อ้ ยก วา่ ส ามร อ้ ยส บิ วนั แม้การท่นี างด าวหยา่ กบั นายต ะวนั เพียง 1 เดือนไม่ครบห ลักเกณฑ์ตามมาตรา 1453 ก็ตาม แต่เนอ่ื งจากก าร สมรสท่ีฝ่าฝืนมาตรานี้กฎหมายมิได้บัญญัติว่าผลจะเป็นอย่างไร ฉะน้ันถ้านายเดือนและนางดาวสมรสกันแล้ว การส มรสน้ันก ็สมบูรณ์ตามก ฎหมาย 28 Article 84, Civil Code of the Philippines 29 Article 351, Revised Penal Code of the Phillippines มสธ มส
มส 2-30 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เร่อื งที่ 2.1.5มสธ แบบของก ารสมรส มสธ 1. แบบของการส มรสต ามกฎหมายไทย มาตรา 1457 “การส มรสต ามป ระมวลกฎหมายนีจ้ ะมไีด้เฉพาะเมื่อได้จ ดทะเบียนแล้วเทา่ นั้น” การที่ชายหญิงจะทำการส มรสกันนั้น นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วยังต้องปฏิบัติตามแบบของ การสมรสที่กฎหมายมาตรา 1457 กำหนดไว้ด้วย คือจะต้องจดทะเบียนสมรสกันต่อนายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่ รับจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เมื่อชายหญิงจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ก็เกิดผลทำให้เป็นสามีภริยากันตาม กฎหมายทันทีโดยไม่ต้องมีพิธีการอย่างอื่นแต่ประการใด ส่วนพิธีการอื่นๆ เช่น การหลั่งน้ำสังข์ การกินเลี้ยง การ ส่งตัวเจ้าสาวต่อเจ้าบ่าว เหล่านี้เป็นเรื่องปฏิบัติตามประเพณีนิยม ไม่มีความสำคัญในกฎหมายแต่อย่างใดถึงแม้จะ มีการประกอบพิธีแต่งงานกันใหญ่โตเพียงใด และมีการส่งมอบเจ้าสาวให้อยู่กินฉันสามีภริยากับเจ้าบ่าวแล้ว หาก ยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสชายหญิงคู่นี้ก็ยังไม่มีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ตรงกันข้ามหากได้จด ทะเบียนสมรสกันแล้ว แม้จะไม่ได้มีพิธีแต่งงานกันตามประเพณีหรือชายหญิงยังไม่เคยอยู่กินด้วยกันเลย ชายหญิง ก็มีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการจดทะเบียนสมรสก็ เพื่อให้การสมรสนั้นเป็นที่รู้กันทั่วไป โดยให้มีทะเบียนสมรสที่เป็นเอกสารมหาชนอันมีผลทางกฎหมายต่อคู่สมรส ต่อบุคคลภายนอกและต่อรัฐ คู่สมรสได้ประโยชน์ในแง่ที่ตนได้มีหลักฐานทางราชการเกี่ยวกับการสมรสซึ่งสามารถ นำออกแสดงต่อบุคคลภายนอกได้ ส่วนบุคคลภายนอกได้ประโยชน์ที่ได้รู้ถึงฐานะของการสมรสเพื่อจะได้ปฏิบัติตน ได้ถูกต้องหากจำเป็นต้องติดต่อสัมพันธ์กัน และรัฐก็ได้ประโยชน์ในการที่มีข้อมูลของประชาชนอย่างถูกต้องเพื่อที่ จะจัดเก็บภาษีและจัดบริการทางสังคมให้อย่างเพียงพอ สำหรับนายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจดทะเบียน สมรสนั้น พรบ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 และกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้นาย อำเภอห รือปลัดอำเภอผ ู้เป็นหัวหน้าก ิ่งอำเภอเป็นนายท ะเบียน อทุ าหรณ์ ฎ. 772/2492 เมื่อจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ชายหญิงย่อมเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ฉะนั้นแม้จะ ได้ร้างกันไปตั้ง 20–30 ปี ไม่มีบุตรด้วยกัน ทรัพย์สมบัติแบ่งแยกกันไปเป็นสัดส่วน แต่ตราบใดที่ยังมิได้จด ทะเบียนหย่า หญิงนั้นยังเป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่นั่นเอง หากชายอื่นไปยุ่งเกี่ยวทางชู้สาวด้วยแล้ว สามีทางทะเบียนมีส ิทธิฟ ้องเรียกค่าส ินไหมทดแทนฐานช ายช ู้ได้ ฎ. 624/2503 หญิงต ่างด้าวท ำการสมรสก ับคนไทยต ามประเพณี ถือว่ายังไม่เป็นส ามีภ ริยากันต ามก ฎหมาย เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงนั้นจะอาศัยสิทธิในฐานะภริยาคนสัญชาติไทยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อได้รับสิทธิ การเป็นค นสัญชาติไทยตามมาตรา 8 แห่ง พรบ.สัญชาติไม่ได้ ฎ. 1285/2508 โจทก์ทำการสมรสโดยมิได้จดทะเบียน การสมรสนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย บุตรที่เกิด มาจึงเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์ เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรตาม ปพพ. โจทก์จึงมิใช่บิดาโดย ชอบด้วยกฎหมายของบุตร อำนาจปกครองจึงตกอยู่แก่มารดา และมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร โจทก์ ไม่มีอ ำนาจฟ้องผ ู้ท ี่ท ำให้บุตรตาย ฎ. 1319/2512 ผู้เยาว์อายุ 18 ปี มีภ ริยาแ ต่มิได้จดท ะเบียนส มรสย่อมย ังไม่บรรลุนิติภาวะ มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-31 มสธ ฎ. 3740/2525 การที่ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยยื่นคำร้องร่วมกับบุคคลสัญชาติญวนซึ่งเกิดที่จังหวัดมสธ อุบลราชธานี โดยบิดามารดาได้อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอจดทะเบียนสมรสกัน แต่ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนบอกปัดไม่รับจดทะเบียนสมรสให้ โดยถือปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยนั้นมสธ เนื่องจากคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับใด จึงเป็นเพียงระเบียบภายใน ระหว่างเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยด้วยกันเท่านั้น จะใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปเช่นกฎหมายหาได้ไม่ ผู้คัดค้าน จึงจะอ้างค ำสั่งดังก ล่าวม าเป็นเหตุไม่ย อมรับจดท ะเบียนสมรสข องผู้ร้องไม่ได้ ฎ. 1950/2529 ผู้ร้องที่ 1 เป็นคนญวนต่างด้าว ผู้ร้องที่ 2 มีบัตรประจำตัวเป็นคนญวนอพยพ ได้แต่งงาน กันและมีบุตรด้วยกัน ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนครอบครัว นายอำเภอ ปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสให้ ผู้ร้องจึงมาร้องต่อศาลขอให้สั่งนายอำเภอจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องนั้น ผู้ร้องไม่มีหน้าที่พิสูจน์ถึงความสามารถของบุคคล และเงื่อนไขแห่งการสมรสตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้องฝ่าย เดียว เมื่อไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่าตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้อง คือ ประเทศเวียดนามในเรื่องนี้อยู่อย่างไร กรณีจึง ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 กล่าวคือต้องบังคับตาม ปพพ. เมื่อ ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองมีเงื่อนไขที่จะทำการสมรสได้ครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว นายอำเภอผู้คัดค้านจะปฏิเสธไม่ ยอมจ ดท ะเบียนสมรสให้ผ ู้ร ้องไม่ได้ ฎ. 4152/2532 การที่โจทก์เองเป็นฝ่ายขอร้องจำเลยให้มีหนังสือสอบถามไปยังสถานทูตเกี่ยวกับความเป็น โสดข องโจทก์ เพราะโจทก์ไม่สามารถเอาห นังสือร ับรองค วามเป็นโสดจ ากส ถานท ูตมาแ สดงได้ จำเลยจ ึงได้ดำเนินการ ออกหนังสือดังกล่าวให้ แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำตอบจากสถานทูต จำเลยจึงยังไม่ได้พิจารณาว่าจะจดทะเบียนสมรส ให้โจทก์ตามคำร้องขอหรือไม่นั้น การที่จำเลยรอหนังสือรับรองความเป็นโสดของโจทก์จากสถานทูต เป็นวิธีการ อย่างหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานว่าโจทก์เป็นโสด ไม่ต้องห้ามสมรสตาม ปพพ.มาตรา 1452 อันเป็นเงื่อนไข ประการหนึ่งแห่งการสมรสซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธการขอจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ ยังไม่มีการโต้แย้งส ิทธิข องโจทก์ โจทก์จ ึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จ ำเลยจ ดทะเบียนส มรสให้แก่โจทก์ได้ ฎ. 235/2538 ปัญหาที่ว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับมารดาผู้ตายหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญ แห่งคดีซึ่งหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารใบสำคัญการสมรส การที่ ศาลอ ุทธรณ์รับฟ ังพยานเอกสารดังก ล่าวที่ย ื่นโดยผ ิดระเบียบจึงชอบด้วย ปวพ. มาตรา 87(2) ต้นฉบับใบสำคัญการ สมรสเป็นเอกสารมหาชนเพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ใช้อ ้างอิงจึงสันนิษฐานว่าเป็นของแ ท้จริงแ ละถูกต้องตาม ปวพ. มาตรา 127 ฎ. 2510/2545 ผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แต่ผู้ตายได้ที่ดินมาหลังจากอยู่กินด้วยกัน ฉันสามีภริยากับผู้ร้องและไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการให้โดยเสน่หา ที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและ ผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมกัน ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ปพพ. มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอ เป็นผ ู้จัดการม รดกผ ู้ต ายได้ การที่ชายหญิงแม้จะอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิในฐานะที่เป็นสามี ภริยากันตามก ฎหมายต่อก ันก็ตาม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับท รัพย์สินที่ช ายหญิงท ำม าหาได้ด้วยก ันนั้น ทั้งช ายแ ละหญิง มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อจะเลิกร้างกันจะต้องแบ่งกันคนละครึ่ง โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายทำได้มากน้อย กว่ากันอย่างไร ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2508 ซึ่งวินิจฉัยว่า “โจทก์จำเลยแต่งงาน ก ันต ามประเพณีไม่ได้จ ดท ะเบียน อยู่กินกันฉันส ามีภ ริยา ทำม าห ากินร่วมก ัน จำเลยม ีสิทธิข อแบ่งได้ครึ่งหนึ่ง” มสธ มส
มส 2-32 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ อทุ าหรณ์มสธ ฎ. 5252/2533 โจทก์จำเลยต ่างม ีคู่สมรสอ ยู่ก่อนแ ล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาแ ละช่วยกันประกอบ อาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสาร ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่าๆ กันมสธ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลย อยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นห ุ้นส่วนตาม ปพพ. มาตรา 1012 ไม่ ฎ. 5438/2537 โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ตามกฎหมายจะไม่ถือ ว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก็ตาม แต่ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิ ในทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ โจทก์กับจำเลยอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน 4 คน โจทก์เป็นแม่บ้านมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ส่วนจำเลยเป็นผู้ทำมาค้าขายแล้วออกเงินซื้อที่ดินและบ้านพิพาทใช้เป็นที่อยู่ อาศัยด้วยกันตลอดมา พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ ที่ทำม าหาได้ร่วมกัน ฎ. 620/2543 ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการ ปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหา ได้ร่วมกันในร ะหว่างอยู่ก ินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต ่างมีก รรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละ เท่าๆ กัน โดยเป็นทรัพย์ม รดกของ ช. กึ่งห นึ่ง และเป็นท รัพย์ม รดกของ ฉ. กึ่งหนึ่ง สำหรบั ช ายแ ละห ญงิ ท ไี่ ดจ้ ดท ะเบยี นส มรสต อ่ น ายท ะเบยี นโดยถ กู ต อ้ งต ามก ฎหมายแ ละไดป้ ฏบิ ตั ติ ามเงือ่ นไข ของการสมรสในเรื่องความสามารถในการสมรส ความยินยอมในการสมรส และไม่ขัดต่อศีลธรรมและสังคมแล้ว การสมรสข องชายห ญิงดังกล่าวเป็นอันส มบูรณ์ท ุกป ระการ เหต ุอ ื่นๆ นอกเหนือจ ากนี้หาได้มีผลกระท บกระเทือนถ ึง ความส มบูรณข์ องก ารส มรสท ีไ่ ดม้ กี ารจ ดท ะเบียนส มรสไปแ ล้วไม่ เช่น ในข ณะท ีจ่ ดท ะเบยี นส มรสส ามเี ป็นโรคห นองใน ระยะแพร่เชื้ออย่างร้ายแรง สามีภริยานับถือศาสนาแตกต่างกัน ซึ่งตามลัทธิศาสนานั้นๆ ชายหญิงจะสมรสกับคน ต่างศาสนาไม่ได้ หรือภริยามีค รรภ์กับช ายอื่นอยู่แ ล้ว เหล่าน ี้ หาได้เป็นเหตุที่จ ะทำให้ก ารส มรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ไม่ จะมีผลก ็แ ต่เพียงอาจเป็นเหตุฟ้องห ย่าในกรณีที่โรคห นองในยังร ักษาไม่หายและอ าจเป็นภัยแก่ภริยา ตามม าตรา 1516 (9) เท่านั้น ในต่างประเทศเช่นประเทศอังกฤษ กฎหมายยังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า การสมรสนั้นนอกจากจะได้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการสมรสที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว คู่สมรสจะต้องได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา (consum- mation) ด้วย มิฉะนั้นการสมรสดังกล่าวเป็นโมฆียะ การมิได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาหมายถึงการที่มิได้ร่วม ประเวณีกันโดยว ิธีธ รรมดาแ ละโดยส มบูรณ์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากก ารห มดสมรรถภาพทางเพศของค ู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายห นึ่งห รือก ารท ี่ค ู่ส มรสฝ ่ายท ี่เป็นจ ำเลยจ งใจป ฏิเสธไมย่ อมใหม้ ีก ารร ่วมป ระเวณีก ็ได้ ในส หรัฐอเมริกา มลรัฐย ทู ่าห ์ การสมรสของบุคคลที่เป็นโรคซิฟิลิสหรือโกโนเรียในระยะแพร่เชื้อเป็นการสมรสที่เป็นโมฆะ30 มลรัฐแคลิฟอร์เนีย บุคคลที่เป็นกามโรคในระยะแพร่เชื้อหากทำการสมรสหรือร่วมประเวณีกับบุคคลอื่นเป็นความผิดทางอาญาด้วย31 แต่ก ฎหมายไทยเราก ็ย ังไม่ก้าวไปไกลถึงข นาดนั้นเช่นเดียวกัน 2. แบบข องก ารสมรสในต า่ งประเทศ มาตรา 1459 “การส มรสในต่างประเทศระหวา่ งคนท ม่ี ีส ญั ชาตไิทยด ้วยกนั หรอื ฝ ่ายใดฝ่ายห นึง่ มสี ญั ชาตไิ ทย จะท ำตามแบบท ก่ี ำหนดไวต้ ามก ฎหมายไทยห รอื ก ฎหมายแห่งประเทศนัน้ ก ็ได้ 30 Section 30-1-2, Utah Code 31 Section 3198, California Health and Safety Code มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-33 มสธ ในกรณีท่ีคู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดมสธ ทะเบียน” มสธ การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยจะทำตาม แบบกฎหมายของประเทศที่ทำการสมรสนั้นก็ได้ หรือจะทำตามแบบแห่งกฎหมายไทยก็ได้ แล้วแต่จะเลือกแบบใด แบบหนึ่งตามความสะดวก การสมรสเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยทุกประการ เช่นบุคคลสัญชาติไทยสมรส กับบ ุคคลสัญชาติสเปนในป ระเทศสเปน หากกฎหมายของประเทศสเปนบัญญัติว่าการสมรสจะส มบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำ การสมรสในโบสถ์โดยพระและไม่ต้องมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว หากคู่สมรสได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเช่นว่านี้ การ สมรสนั้นก็สมบูรณ์ตามกฎหมายไทยด้วย แต่ถ้าบุคคลสัญชาติไทยและบุคคลสัญชาติสเปนดังกล่าวประสงค์จะทำ การสมรสตามกฎหมายไทยก็จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสโดยมาตรา 1459 กำหนดให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทย ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนสมรส ซึ่งในกรณีนี้ก็จะต้องจดทะเบียนสมรสกัน ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ ประเทศส เปน อทุ าหรณ์ ฎ. 45/2524 โจทก์สมรสในประเทศจีนเมื่อโจทก์อายุ 10 ปีกับหญิงอายุ 12 ปี ประเทศจีนไม่มีกฎหมาย บังคับเรื่องอายุของคู่สมรสและไม่ต้องจดทะเบียนสมรส ดังนี้โจทก์กับหญิงนั้นสมรสกันที่ประเทศจีนโดยชอบด้วย กฎหมายของประเทศจีนในขณะนั้น โจทก์จึงเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงจีนนั้นก่อนเดินทางมาอยู่ ประเทศไทย และถือว่าเป็นการสมรสที่ชอบตาม พรบ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 20 และ ไม่ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน บุตรที่เกิดจากโจทก์และหญิงนั้นจึงเป็นบุตรที่ ชอบด ้วยกฎหมายข องโจทก์ ฎ. 5887/2533 โจทก์คนสัญชาติไทย จำเลยคนสัญชาติอินเดีย จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามแบบที่ กำหนดไว้ตาม พรบ. การสมรส ค.ศ. 1949 ของประเทศอังกฤษ แม้มิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำ สำนักทะเบียน อำเภอ หรือ กิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูต หรือกงสุลไทยก็ตาม เมื่อได้ทำ หนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ทั้งตามกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์และจำเลยต่างก็ยินยอมให้คู่สมรสหย่ากัน โดยค วามย ินยอมได้ ศาลไทยจ ึงมีอำนาจพ ิจารณาพ ิพากษา การหย่าโดยทำห นังสือห ย่ากันเองม ีผลสมบูรณ์ใช้บังคับ กันได้แต่เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนหย่าแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 1515 หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าเท่ากับจำเลย โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ม ีอ ยู่ต ามหนังสือหย่า โจทก์จึงชอบท ี่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าข าดจากก ัน ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตาม ปพพ. มาตรา 1516 และการฟ้องของโจทก์เช่นนี้ก็เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้ นายทะเบียนบ ันทึกไว้ในท ะเบียนตามม าตรา 16 แห่ง พรบ.จดท ะเบียนค รอบครัวฯ 3. แบบของก ารส มรสในพฤตกิ ารณ์พเิ ศษ ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้เพราะชายหรือหญิงฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบการสงคราม กฎหมายยอมให้มี การสมรสในเหตุฉ ุกเฉิน (marriage in articulo mortis) ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1460 ดังนี้ “เม่ือม ีพ ฤติการณ์ พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือท้ังสองฝ่าย ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบหรือสงคราม ถ้าชายและหญิงน้ันได้แสดงเจตนาจะสมรสกัน ต่อหน้าบุคคลซ่ึงบรรลุนิติภาวะท่ีอยู่ ณ ท่ีนั้นแล้วให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการสมรสของชาย และหญิงน้ันไว้เป็นหลักฐาน และต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันท่ีอาจทำการ มสธ มส
มส 2-34 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ จดทะเบียนต่อนายทะเบียนได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนจดแจ้งวัน เดือน ปี สถานท่ีมสธ ที่แสดงเจตนาขอทำการสมรส และพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียนสมรส ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการสมรส ต่อบ คุ คลดังกลา่ วเป็นวนั จดท ะเบยี นส มรสต่อนายท ะเบียนแล้วมสธ ความในมาตราน้ีมิให้ใช้บังคับถ้าหากจะมีการสมรสในวันแสดงเจตนาขอทำการสมรส การสมรสน้ันจะตก เป็นโมฆะ” การสมรสในเหตุฉุกเฉินนี้จะต้องมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน ตามวิธีการปกติได้ เพียงแต่ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรืออยู่ในภาวะการรบหรือสงคราม ถ้ายังอาจจด ท ะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้แ ล้วก ็จะแ สดงเจตนาสมรสก ันโดยอาศัยมาตรา 1460 ไม่ได้ การตกอยู่ในอ ันตราย ใกล้ความตาย (on the point of death) แตกต่างจากการตกอยู่ในอันตรายที่อาจถึงตาย (in danger of death) เช่น ทหารที่กำลังจะออกไปสู่สมรภูมิเป็นเพียงตกอยู่ในอันตรายที่อาจถึงตาย แต่มิใช่ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความ ตาย จึงจะขอทำการสมรสในเหตุฉุกเฉินไม่ได้ การแสดงเจตนาสมรสของชายและหญิงในเหตุฉุกเฉินนี้ กฎหมาย กำหนดให้ต้องแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะที่อยู่ ณ ที่นั้น และบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะนี้จะต้องเป็นบุคคล ที่อ่านออกเขียนได้ด้วย เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องจดแจ้งการแสดงเจตนาของชายและหญิงไว้เป็นหลักฐานเพื่อ นำไปจดทะเบียนสมรสกันอีกภายใน 90 วันหลังจากที่ผ่านพ้นเหตุฉุกเฉินนั้นมาแล้ว ซึ่งจะทำให้การสมรสเช่นว่านี้ มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่แสดงเจตนาสมรสกัน มิใช่มีผลในวันจดทะเบียนสมรสเหมือนเช่นการสมรสตามปกติ ตัวอย่างเช่น ชายหญิงเดินทางในเรือเดินทะเล เรืออับปางว่ายน้ำขึ้นไปอยู่บนเกาะร้างพร้อมกับผู้โดยสารอื่นๆ ชาย หญิงคู่นั้นตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายจึงได้แสดงเจตนาสมรสกันต่อหน้าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และบุคคล ผู้บรรลุนิติภาวะได้จดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการสมรสของชายหญิงไว้เป็นหลักฐาน ต่อมามีเรือมารับขึ้นฝั่งมา ได้และมาจดทะเบียนสมรสกันต่อนายทะเบียนสมรสภายในกำหนด 90 วันแล้ว ต้องถือว่าการสมรสของชายหญิง คู่นี้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่แสดงเจตนาจะทำการสมรสเมื่ออยู่บนเกาะร้าง ฉะนั้นหากเกิดบุตรด้วยกันก็ต้อง ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างที่อยู่บนเกาะ เช่น ขุดเพชรได้บนเกาะร้างก็ต้องถือว่า เป็นส ินสมรสที่ท ั้งค ู่ม ีส่วนร่วมก ันต ามกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากในวันที่ชายและหญิงแสดงเจตนาขอทำการสมรสในเหตุฉุกเฉินนั้นชายหญิงคู่นี้ไม่อาจ สมรสกันได้ เพราะขัดต่อเงื่อนไขสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้ อันจะทำให้การสมรสนี้เป็นโมฆะแล้ว ชายและหญิงจะ ถือเหตุฉุกเฉินมาทำการสมรสกันไม่ได้ การสมรสนั้นยังคงเป็นโมฆะอยู่นั่นเอง เช่น กรณีเรืออับปาง ตามตัวอย่าง ข้างต้น หากชายมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วในวันที่แสดงเจตนาขอทำการสมรสบนเกาะร้าง แม้ต่อมา ภายหลังภริยาของชายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ชายจึงได้ไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงนั้นภายใน 90 วันก็ตาม การแสดงเจตนาจะสมรสบนเกาะร้างก็ไม่มีผลอะไรคงมีผลเป็นสามีภริยากันตั้งแต่เมื่อจดทะเบียนสมรสเท่านั้น ทั้งนี้ ตามท ี่บ ัญญัติไว้ในมาตรา 1460 วรรคสอง เพราะในว ันที่แสดงเจตนาท ำการส มรสบ นเกาะร้างน ั้นเป็นการส มรสซ้อน ซึ่งการสมรสที่ซ้อนกันนี้เป็นโมฆะ นอกจากนี้การสมรสในเหตุฉุกเฉินนี้เป็นการสมรสของคนที่ตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตายเช่นเกิดโรคระบาด เรือแตก หรือเกิดภาวะการรบหรือสงคราม มิใช่เป็นการสมรสของคนแก่ที่ใกล้ ความต าย เช่น ชายหญิงร ักก ันมาตั้งแ ต่ส าวๆ พอม ีอายุ 80–90 ปี แก่ใกล้จะต ายจ ึงแสดงเจตนาส มรสกัน เพียงเท่าน ี้ จะอ้างพฤติการณ์พิเศษเพื่อสมรสในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 1460 นี้ไม่ได้ ซึ่งในเรื่องนี้พอจะเทียบเคียงได้กับเรื่อง การทำพินัยกรรมด้วยวาจาในพฤติการณ์พิเศษ ตามม าตรา 1663 ได้ เช่น ฎ. 726/2496 ซึ่งว ินิจฉัยว่า “คนป่วยเป็น โรคลมจุกเสียด ไม่ใช่โรคร ะบาดอันจ ะเป็นเหตุให้ท ำพ ินัยกรรมด้วยวาจาได้” เป็นต้น อย่างไรก็ตามก ารส มรสในเหตุ ฉุกเฉินนี้จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสเช่นเดียวกับการสมรสตามปกติ คือจะต้องจดทะเบียนสมรสภายใน 90 วัน นับแต่วันที่อาจจดทะเบียนได้ หากไม่มีการจดทะเบียนสมรสก็ไม่มีผลเป็นการสมรสตามกฎหมายแต่อย่างใด และ ช ายห รือหญิงฝ่ายใดฝ่ายห นึ่งจะบังคับให้อ ีกฝ ่ายห นึ่งไปจดท ะเบียนส มรสกันก็ไม่ได้ มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-35 มสธ ในต่างประเทศเช่นประเทศฟิลิปปินส์ กฎหมายให้อำนาจกัปตันเรือและกัปตันเครื่องบินที่จะทำพิธีสมรสมสธ ในเหตุฉุกเฉินให้มีผลตามกฎหมายได้ หากเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ชายหญิงกำลังเดินทาง หรือในกรณีที่เกิด สงครามผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารก็มีอำนาจทำพิธีสมรสได้เช่นเดียวกัน32 ซึ่งแตกต่างจากของไทยเราที่กำหนดให้มสธ ชายหญิงแสดงเจตนาขอทำการสมรสในเหตุฉุกเฉินต่อบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะอันเป็นการเปิดกว้างกว่าและใน บางกรณีก็ให้อำนาจกัปตันเรือที่จะรับคำร้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยวาจา หรือด้วยกิริยาก็ได้ แต่ต้องมีการไป จ ดท ะเบียนส มรสอ ีกค รั้งห นึ่ง33 กิจกรรม 2.1.5 1. นายแ ดงแ ละนางสาวด ำสนทิ ส นมกันมาตั้งแต่เดก็ เพราะเกิดว ันเดียวกัน และอายเุท่าก ันเมอื่ อ ายุ 17 ปี บุคคลท้งั ส องเดินท างจ ากต่างจ งั หวัดเขา้ มาศ ึกษาตอ่ ขัน้ อดุ มศกึ ษาในกรงุ เทพมหานคร หลังจ ากศกึ ษาอยู่ 4 ปี กจ็ บก ารศ ึกษา นายแ ดงแ ละน างสาวด ำม คี วามป ระสงคท์ จี่ ะส มรสก ันจ ึงพ าก ันไปท สี่ ถานตี ำรวจนครบาลบ างซ่ือ และขอให้นายร้อยเวรบันทึกไว้ในสมุดบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจว่าบุคคลท้ังสองตกลงยินยอมเป็นสามี ภรยิ าก นั ต ง้ั แตบ่ ดั นเี้ ปน็ ตน้ ไป ซงึ่ น ายร อ้ ยเวรก บ็ นั ทกึ ใหต้ ามค วามป ระสงค์ ทงั้ นโ้ีดยบ ดิ าม ารดาข องน ายแ ดงแ ละ นางสาวด ำม ิได้รู้เหน็ ย นิ ยอมในก ารนีด้ ว้ ยแ ต่อย่างใด บคุ คลท ั้งส องอ ยูก่ ินด้วยกนั ฉนั ส ามภี รยิ าหลังจ ากนน้ั ตลอด มา ตอ่ ม าบ ดิ าม ารดาข องน ายแ ดงแ ละน างสาวด ำท ราบเรอื่ งจ งึ ม าป รกึ ษาท า่ นเพอื่ ท จี่ ะฟ อ้ งข อใหศ้ าลเพกิ ถ อนก าร สมรสครัง้ นี้ จงแนะนำบ ิดามารดาข องนายแ ดงและน างสาวด ำ 2. นายกำจรเดินทางไปเที่ยวประเทศจีนไปถึงเมืองเซ่ียงไฮ้ เกิดรักใคร่ชอบพอกับนางสาวหมีเซ้ียะ จึง ทำการสมรสกันตามแบบของประเทศจีน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน นายกำจรพานางสาวหมีเซี้ยะกลับมา อยู่ประเทศไทยและอยกู่ ินด ว้ ยก ันฉนั ส ามีภริยาม าได้ 2 ปีแล้ว โดยมไิ ดจ้ ดท ะเบียนสมรสก บั น างสาวห มีเซ้ยี ะตาม กฎหมายไทยแ ตอ่ ยา่ งใด ขณะน น้ี ายก ำจรส นิ้ ร กั น างสาวห มเี ซยี้ ะแ ลว้ แ ละม คี วามป ระสงคจ์ ะท ำการส มรสใหมก่ บั นางสาวอ มรา นายก ำจรจะมชี ่องท างกระทำไดต้ ามความป ระสงคห์ รือไม่ 3. นายกล้า และนายหาญ อายุ 22 ปี ไปเท่ียวดอยผาจิ เดินหลงทางเข้าไปในป่าลึก อดอาหารและน้ำ เป็นเวลา 3 วันแล้ว นายกล า้ ถูกงกู ัดใกลจ้ ะถงึ แก่ความต ายบังเอิญน างสาวแม้ว อายุ 16 ปี 9 เดอื น พบเห็นเขา้ จงึ ชว่ ยเหลอื ด ดู พ ษิ ง อู อกให้ แตน่ ายกล า้ ร สู้ กึ อ อ่ นเพลยี ม ากค ดิ ว า่ ต นเองจ ะต อ้ งต ายแ นจ่ งึ ข อท ำการส มรสก บั น างสาว แมว้ นางสาวแมว้ ย ินยอมส มรสด ้วย นายกล ้าแ ละนางสาวแมว้ ได้แสดงเจตนาจะสมรสก ันต่อหนา้ นายหาญ โดย นายหาญได้บันทึกการแสดงเจตนาขอทำการสมรสดังกล่าวไว้บนเปลือกไม้ บุคคลทั้งสามหลงทางอยู่ในป่าลึก เป็นเวลา 4 เดอื น จึงกลับม าส ู่ในเมืองได้ ดงั น้ี (1) ถ้านายกล้าและนางสาวแม้วได้ไปจดทะเบียนสมรสกัน โดยพานายหาญและนำเปลือกไม้ที่ บันทึกการแสดงเจตนาขอทำการสมรสไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วย เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้แล้ว การสมรสของบ คุ คลท ้ังสองม ผี ลเมอ่ื ใด (2) ถา้ น ายกล า้ ไมย่ อมท ำการจ ดท ะเบยี นส มรสก บั น างสาวแ มว้ นางสาวแ มว้ จ ะฟ อ้ งต อ่ ศ าลข อให้ บังคับใหน้ ายกล า้ จดทะเบียนส มรสกบั ต นไดห้ รอื ไม่ 32 Article 55, 56 The Civil Code of the Philippines. 33 มาตรา 14 พระราชบัญญัติจ ดท ะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มสธ มส
มส 2-36 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก แนวต อบกิจกรรม 2.1.5 1. นายแ ดงและน างสาวดำ อายุ 21 ปี บรรลนุ ิตภิ าวะแล้ว สามารถท ำการสมรสก นั ได้โดยไมต่ ้องไดร้ บั ความย นิ ยอมข องบิดามารดาห รือผู้ปกครอง แต่การสมรสจ ะต้องม กี ารจ ดทะเบียนสมรส ณ ทวี่ า่ การอำเภอ หรือ ทที่ ำการเขต การไปบ นั ทกึ ไว้ ณ สถานตี ำรวจไมม่ ผี ลเปน็ การส มรสต ามก ฎหมาย จงึ ไมจ่ ำเปน็ ต อ้ งด ำเนนิ ก ารอ ยา่ ง ใด 2. การส มรสร ะหวา่ งน ายก ำจรก บั น างสาวห มเี ซย้ี ะท เี่ มอื งเซยี่ งไฮ้ ตามแ บบข องป ระเทศจ นี ส มบรู ณใ์ ช้ บงั คบั ไดต้ ามม าตรา 1456 โดยไมจ่ ำเปน็ ต อ้ งจ ดท ะเบยี นส มรสต ามก ฎหมายไทยแ ตอ่ ยา่ งใด นายก ำจรจ งึ ม คี สู่ มรส อยู่แล้ว จะท ำการสมรสใหมก่ บั น างสาวอ มราไม่ได้ 3. (1) การสมรสระหว่างนายกล้าและนางสาวแม้ว มีผลย้อนหลังไปต้ังแต่วันที่บุคคลทั้งสองแสดง เจตนาขอทำการสมรสกันในปา่ เพราะเป็นการสมรสในเหตุฉุกเฉนิ ตามมาตรา 1460 การท่ีนางสาวแม้วอายุยงั ไมค่ รบ 17 ปี เป็นเพยี งก ารส มรสทเ่ีป็นโมฆยี ะเทา่ นนั้ ไมต่ ้องห ้ามตามมาตรา 1460 วรรคส อง (2) นางสาวแม้วจะฟ้องต่อศาลขอให้บังคับให้นายกล้าจดทะเบียนสมรสกับตนไม่ได้มาตรา 1460 มิไดใ้หอ้ ำนาจไว้ มสธ มสธ มสธ มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-37 มสธ ตอนท ่ี 2.2มสธ ความส ัมพนั ธ์ระหว่างสามีภ รยิ า มสธ โปรดอ่านห ัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของต อนที่ 2.2 แล้วจึงศ ึกษาร ายล ะเอียดต่อไป หวั เรอื่ ง 2.2.1 การอ ยู่ก ินและอ ุปการะเลี้ยงด ูก ัน 2.2.2 การแ ยกกันอ ยู่ช ั่วคราว 2.2.3 ความเป็นคนวิกลจริตห รือจิตฟ ั่นเฟือน 2.2.4 การใช้คำนำหน้านาม ชื่อส กุล และส ัญชาติ แนวคดิ 1. เมื่อชายและหญิงจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันแล้ว กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้ต้องอยู่กิน ด้วยกันแ ละช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูก ันตามค วามส ามารถแ ละฐานะของบุคคล 2. ในก รณที ีส่ ามภี ริยาไมอ่ าจอ ยูก่ ินด ้วยก ันโดยป กตสิ ุขได้ หรือห ากก ารอ ยูก่ ินด ้วยก ันจ ะเป็นอ ันตราย แก่กายหรือจิตใจ หรือทำลายความผาสุกอย่างมากแล้ว สามีหรือภริยามีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล เพื่อขออนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากจากอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการชั่วคราวก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหย่าขาด จากกัน 3. ในระหว่างที่อ ยู่ก ินด ้วยกัน หากสามีห รือภ ริยาเกิดวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน อีกฝ่ายหนึ่งจ ะต้อง อุปการะเลี้ยงด ู รักษาพ ยาบาลแ ละค ุ้มครองดูแลให้มีความปลอดภัยทางก าย จิตใจและท รัพย์สิน ตามสมควร และหากจำเป็นต้องถูกสั่งให้เป็นคนไร้ค วามส ามารถหรือเสมือนไร้ความส ามารถ อีก ฝ่ายห นึ่งจ ะต ้องเป็นผ ู้อ นุบาล หรือผู้พิทักษ์ 4. ห ญิงที่สมรสแล้วจะเลือกใช้คำนำหน้านามเป็น “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ คู่สมรสอาจใช้นาม สกุลของอีกฝ่ายหนึ่งหรือใช้นามสกุลเดิมของตนตามแต่สมัครใจ และหญิงต่างด้าวอาจขอถือ สัญชาติไทยต ามสามีได้ วัตถุประสงค์ เมื่อศ ึกษาต อนที่ 2.2 จบแ ล้ว นักศึกษาส ามารถ 1. อธิบายห น้าที่ข องสามีภริยาในก ารอยู่กินและอ ุปการะเลี้ยงด ูกันได้ 2. อธิบายแ ละว ินิจฉัยป ัญหาในการท ี่สามีภ ริยาจ ะขอแยกก ันอยู่ต่างห ากเป็นการชั่วคราวได้ 3. อ ธิบายวิธีปฏิบัติเมื่อสามีหรือภ ริยาเกิดว ิกลจริต หรือจ ิตฟ ั่นเฟือนหรือตกเป็นค นไร้ความส ามารถ ในระหว่างท ี่อยู่ก ินด้วยกันได้ 4. อธิบายการเปลี่ยนคำนำหน้านาม นามสกุล และส ัญชาติของห ญิงม ีสามีได้ มสธ มส
มส 2-38 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เรื่องท่ี 2.2.1มสธ การอ ยู่กนิ แ ละอุปการะเลีย้ งดกู นั มสธ มาตรา 1461 “สามภี ริยาต อ้ งอยู่กนิ ด้วยกันฉันส ามภี รยิ า สามภี รยิ าตอ้ งชว่ ยเหลอื อปุ การะเลย้ี งดกู นั ตามความ สามารถและฐ านะข องตน” กฎหมายก ำหนดให้สามีภริยาอยู่ร ่วมก ันโดยมีหน้าที่ 2 ประการ คือ 1. การอ ยู่ก ินด ้วยกันฉ ันสามีภริยา 2. การอ ุปการะเลี้ยงด ูกัน 1. การอ ยู่กินด ้วยก นั ฉนั สามีภริยา วัตถุประสงค์แห่งการสมรสก็เพื่อจะให้ชายหญิงได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาทำให้เป็นครอบครัวมีลูก มีหลานสืบตระกูลต่อไป กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาข้อแรกว่า สามีภริยาต้องอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยา การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตามประเพณีย่อมเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่าหมายถึงการอยู่ร่วม บ้านเดียวกัน (to share a common home) ร่วมชีวิตในการครองเรือน (domestic life) และทั้งร่วมประเวณี ต่อกันด้วย หากอยู่ด้วยกันพูดคุยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน แต่ไม่ได้ร่วมประเวณีด้วย ก็ไม่ถือว่าได้อยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยา การอยู่กินด้วยกันนี้ย่อมแล้วแต่ประเพณีของผู้เป็นสามีภริยาจะพึงประพฤติปฏิบัติต่อกัน โดยทั่วๆ ไป ทั้งนี้โดยคำนึงถึงอายุ สุขภาพ ฐานะทางสังคมและสภาวะทางการเงินของสามีภริยาด้วย เช่น สามีเป็น คนขับเครื่องบินโดยสาร 4–5 วัน จึงจะกลับมาเมืองไทยครั้งหนึ่ง อย่างนี้ถือได้ว่าได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แล้ว อย่างไรก ็ด ีก ารที่ค ู่สมรสฝ่ายห นึ่งไม่ยอมอ ยู่ก ินด ้วยกันก ับอีกฝ่ายหนึ่งน ั้น ไม่มีบ ทบัญญัติแ ห่งกฎหมายบัญญัติ ไว้โดยตรงว่าจะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่ แต่น่าจะฟ้องร้องไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวภายในครอบครัว เช่น ภริยาไม่ย อมอยู่ก ินด ้วยกันก ับส ามีโดยแยกไปอ ยู่กับญาติ สามีจะให้ส มัครพรรคพวกไปบังคับนำต ัวภ ริยากลับมาอยู่ ร่วมบ้านกับตน โดยอ้างว่าเพื่อบังคับตามสิทธิในการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาไม่ได้34 อย่างไรก็ดีแม้สามีภริยาจะ บังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งจำต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับตนไม่ได้ก็ตาม แต่ผลในทางกฎหมายทางอ้อมมีอยู่หลาย ประการ คือ ประการที่หนึ่ง การที่ภริยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีด้วยอาจเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) และ ประการที่สอง ถ้า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปีก็เป็นเหตุฟ้องหย่า ตามม าตรา 1516 (4) เป็นต้น ในการที่สามีภริยาจะร่วมประเวณีต่อกัน (sexual intercourse) นั้นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่จำต้องยอมทนต่อ การกระทำที่ผิดปกติธรรมชาติ วิปริต หรือเกินสมควร หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยอย่างใดๆ แก่ ตนเอง เช่น สามีก ำลังป ่วยเป็นกามโรค จะบ ังคับให้ภ ริยาจ ำต ้องร ่วมประเวณีก ับสามีไม่ได้35 นอกจากน ี้สามีน่าจ ะไม่มี สิทธิที่จะใช้ถุงยางอนามัยหรือใช้วิธีสำเร็จความใคร่นอกช่องคลอดเพื่อคุมกำเนิดโดยภริยาไม่ยินยอม สามีข่มขืน 34 คำพิพากษาศาลอังกฤษ R v. Jackson (1891) 1 QB 671, CA. 35 คำพิพากษาศาลอ ังกฤษ Foster v. Foster (1921) P 438, CA. มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-39 มสธ ภริยายังเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 276 วรรค หนึ่ง36 ด้วย การที่สามีหรือภริยามีความต้องการทางเพศสูงเกินมสธ ปกติจ นอีกฝ่ายทนไม่ได้ อันเป็นการท ำลายค วามผ าสุกอย่างม าก อีกฝ่ายหนึ่งน ั้นอาจร้องขอต ่อศ าลขอให้ส ั่งอนุญาต ให้ตนแยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 1462 ได้ อย่างไรก็ดี การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมมสธ เพศก ัน อยู่คนละบ้านแ ต่ในบริเวณเดียวกันไม่เป็นการทิ้งร ้างกัน37 อีกฝ่ายหนึ่งจ ึงน่าจะฟ ้องหย่าด้วยเหตุจ งใจละทิ้ง ร้างไม่ได้ แต่ถ้าถึงขนาดที่ภริยาแยกไปอยู่ต่างหากจากสามี ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกันอีกจนสามีตาย สามีภริยาเป็นสามี ภริยากันก่อนใช้บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งกำหนดเวลาทิ้งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียในขณะนั้นอย่างมากเพียง 1 ปี 4 เดือน จึงถ ือว่าเป็นการทิ้งร ้างกันแ ล้ว ทรัพย์สินที่เกิดในร ะหว่างร ้างกันไม่เป็นส ินสมรส เมื่อสามีต ายภ ริยาร ้าง ไม่มีส่วนแบ่งสินส มรสด ้วย38 2. การอ ุปการะเล้ยี งดกู ัน กฎหมายบ ัญญัตใิห้เป็นค วามส ัมพันธร์ ะหว่างส ามีภ ริยาในข ้อท ีส่ องโดยกำหนดใหส้ ามีภ ริยาจ ำต ้องช ่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตนนั้น ก็เพราะบุคคลที่เป็นสามีภริยากันเป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ด้วยกัน ถึงกับมีการกล่าวว่าเป็นบุคคลเดียวกันตามกฎหมาย การอุปการะเลี้ยงดูหมายถึงการให้ความช่วยเหลือ ในสิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภคหรือทรัพย์สินอื่นใดเพื่อเป็นปัจจัยใน การดำรงชีพ ตามปกติประเพณีถือว่าสามีเป็นฝ่ายมีหน้าที่หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว (breadwinner) ส่วนภริยา รับผิดช อบในการจัดการบ ้านเรือน แต่ถ ้าส ามีไม่ส ามารถป ระกอบอ าชีพเลี้ยงด ูภริยาได้ เช่น สามีไปร บเดินไปเหยียบ กับระเบิดขาขาดทั้งสองข้าง เช่นนี้ ภริยาอาจจะต้องเป็นฝ่ายอุปการะเลี้ยงดูสามีก็ได้ ในสังคมปัจจุบันที่สามีและ ภริยาต่างทำงานด้วยกันทั้งสองฝ่าย เช่นนี้ ทั้งสามีและภริยาต่างมีหน้าที่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ต้อง ร่วมกันไปทำหน้าที่ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวและหน้าที่ในการจัดการบ้านเรือน ในการพิจารณาถึงการอุปการะเลี้ยงดู นี้น ่าจะต้องคำนึงถึงอายุ สุขภาพ รายได้และทรัพย์สินของคู่สมรส ฐานะทางสังคม ภาระหน้าที่ของคู่สมรสในการให้ ความอุปการะเลี้ยงดูบุตร รวมทั้งความสามารถทั้งทางร่างกายและจิตใจของคู่สมรสในการประกอบกิจการงานด้วย หากสามีหรือภริยาไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสมควร อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตาม มาตรา 1598/38 ที่บัญญัติว่า “ค่าอุปการะเล้ียงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียก จากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเล้ียงดูไม่เพียงพอ แก่อัตภาพ ค่าอุปการะเล้ียงดูน้ีศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี” หรือหากประสงค์จะหย่าขาดจากกันก็อาจฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) และเรียกค ่าเลี้ยงช ีพได้ ค่าอ ุปการะเลี้ยงดู (maintenance) นั้นให้ช ำระเป็นเงินโดยวิธีช ำระเป็นค รั้งคราวต ามก ำหนด เว้นแต่จะมีการตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่น หรือโดยวิธีอื่น (มาตรา 1598/40) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จะ สละหรือโอนม ิได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งก ารบังคับค ดี (มาตรา 1598/41) การที่กฎหมายบัญญัติให้สามีหรือภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากกันได้นี้ เป็นการสอดคล้อง กับนโยบายสังคมส่วนรวมซึ่งไม่สนับสนุนให้ครอบครัวแตกแยกกัน หากไม่ยอมให้สิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จากกันได้แล้ว คู่สมรสที่ถูกคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติต่อตนโดยมิชอบด้วยหน้าที่ ก็จะมีทางเดียวที่จะหลีกพ้นได้ คือการฟ้องหย่าเท่านั้น ซึ่งการหย่านี้อาจเป็นการไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น อาจขัดต่อหลักการทาง 36 ปอ. มาตรา 276 ผู้ใดข ่มขืนก ระทำช ำเราผ ูอ้ ื่นโดยข ู่เข็ญด ้วยป ระก ารใดๆ โดยใชก้ ำลังป ระทุษร้าย โดยผูอ้ ื่นน ั้นอ ยูใ่นภ าวะท ีไ่มส่ ามารถ ขัดขืนได้ หรือโดยท ำให้ผ ู้อื่นน ั้นเข้าใจผิดว ่าตนเป็นบ ุคคลอื่น ต้องร ะวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ป ีถึงยี่สิบปี และป รับตั้งแต่แปดพันบาทถ ึงสี่ห มื่นบาท 37 ฎ. 882/2518 38 ฎ. 2510/2521 มสธ มส
มส 2-40 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ศาสนา ศีลธรรม และก่อให้เกิดผลเสียหายแก่บุตรได้ ในสหรัฐอเมริกา มลรัฐเวอร์จิเนีย การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่มสธ ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นความผิดทางอาญาด้วย39 แต่กฎหมายไทยเรายังไม่ไปไกลถึงขนาด นั้น อย่างไรก ็ดี การที่ส ามีม ีหน้าที่ต้องอ ุปการะเลี้ยงดูภ ริยา และภริยาก็มีหน้าท ี่ต้องอุปการะเลี้ยงดูสามีด ้วยนั้น ต้องมสธ เป็นกรณีที่ทั้งสามีและภริยามิได้ทำผิดหน้าที่ในฐานะที่เป็นสามีภริยาต่อกันแต่อย่างใด ฉะนั้นหากภริยาจงใจละทิ้ง ร้างสามี เช่น ภริยาไม่พอใจที่จะอยู่กับสามีจึงออกจากบ้านเสียเองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ภริยาก็หามีสิทธิเรียก ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามีไม่40 แต่ถ้าสามีภริยาตกลงกันแยกกันอยู่เอง เช่น ภริยาต้องแยกจากสามีโดยสามีอ้างว่า สถานการณ์ไม่ปลอดภัย เป็นการแสดงเจตนาของสามีว่าไม่ต้องการให้ภริยาอยู่ร่วมด้วย ภริยาก็ยังมีสิทธิเรียกร้อง ให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ในเมื่อภริยามีรายได้ไม่พอเลี้ยงตัวและบุตรและสามีมีรายได้พอที่จะจ่ายได้41 เป็นต้น ฎ. 8231/2549 ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุ ราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มตามคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่าย ค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์ พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะ เลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์ จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลง แต่มูลเหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ ระหว่างส ามีภริยาข องโจทก์จ ำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคส อง นั่นเอง จากก ารท ี่สามีภริยามีส ิทธิท ี่จ ะได้รับการอ ุปการะเลี้ยงดูซ ึ่งก ันและกัน (right to consortium) นี้เอง ดังน ั้น การท ี่บ ุคคลภายนอกมากระท ำล ะเมิดต่อสามีหรือภริยา ทำให้ได้รับบาดเจ็บห รือถ ึงแก่ความต าย คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมถูกกระทบก ระเทือนส ิทธิดังก ล่าว จึงมีส ิทธิท ี่จะได้รับค่าส ินไหมท ดแทน กล่าวคือ ก) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดแรงงาน ในกรณีกระทำละเมิดทำให้คู่สมรสถึงแก่ความตาย หรือ เสียห ายแ ก่ร่างกาย หรืออนามัย หรือเสียเสรีภาพ ทำให้ค ู่สมรสอ ีกฝ ่ายห นึ่งข าดแ รงงานในค รัวเรือน ผู้กระทำล ะเมิด จำต้องช ดใช้ค ่าสินไหมท ดแทนให้แก่คู่สมรสเพื่อที่เขาต้องขาดแ รงงานอ ันนั้นไปด้วย42 เช่น จำเลยข ับรถชนรถโจทก์ จนโจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย การที่ภริยาโจทก์ต้องตายลงในครั้งนั้น นอกจากโจทก์ ต้องขาดแรงงานจากการเย็บเสื้อของภริยาเพื่อช่วยค่าเลี้ยงชีพในครัวเรือนแล้ว โจทก์ยังต้องขาดผู้ช่วยดูแลกิจการ ร้าน ขาดแม่บ้านที่จะช่วยแก้ปัญหาและดูแลทุกข์สุขในครอบครัวด้วย จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะ และขาดแรงงานในครัวเรือนจากผู้ตายเป็นเงินวันละ 100 บาท รวมเป็นเงิน ปีละ 36,500 บาท ในระยะเวลา 10 ปี เป็นเงิน 365,000 บาท43 เป็นต้น ข) ค่าสินไหมทดแทนเพ่ือการขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ในกรณีกระทำละเมิดให้คู่สมรสถึงแก่ความ ตาย ทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ผู้กระทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ คู่สมรสที่ต้องขาดไร้อุปการะนั้น44 ซึ่งการเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ในกรณีบุคคล ภายนอกมากระทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาหรือสามีของตนถึงแก่ความตายนั้น ไม่คำนึงว่าภริยาหรือสามีที่ถึงแก่ 39 Section 20, Virginia code 40 ฎ. 313/2479 41 ฎ. 1598/2518 42 ปพพ. มาตรา 445 43 ฎ. 3585/2525 44 ปพพ. มาตรา 443 วรรคสาม มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-41 มสธ ความตายจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม เช่น จำเลยกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อครั้งภริยามสธ โจทก์ยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง ครั้นภริยาถึงแก่ความตายโจทก์ต้องจ้างคนมาทำหน้าที่ ซักผ้า ทำครัวและกวาดถูบ้านแทน ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ ตามมาตรา 443มสธ วรรคส าม ประกอบด ้วยม าตรา 1461 วรรคส อง ที่บัญญัติว ่า “สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความ สามารถและฐานะของตน” จนถึงว ันที่โจทก์ทำการสมรสใหม่45 เป็นต้น ฎ. 3822/2524 สามีมีอาชีพประกอบการค้าร่วมกับบิดา ภริยาไม่มีอาชีพอะไร สามีเคยจ่ายเงินเป็นค่า อุปการะเลี้ยงดูภริยาตลอดมา ครั้นเมื่อสามียินยอมให้ภริยาพาบุตรมาอยู่กับมารดาของภริยา สามีก็ยังจ่ายเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูภ ริยาอยู่ ต่อม าเมื่อข ้อเท็จจริงป รากฏว่าส ามีภริยาต ่างส มัครใจแยกก ันอยู่ โดยสามีมีค วามสามารถ และฐานะดีกว่าภริยา เช่นนี้ เมื่อคำนึงถึงความสามารถและฐานะของสามี สามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยา ตาม ปพพ. มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38 ซึ่งบัญญัติว่า “ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาหรือ ระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับอุปการะเลี้ยงดูหรือ ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึง ความส ามารถของผู้มีหน้าท ี่ต้องให้ ฐานะข องผู้รับและพฤติการณ์แ ห่งกรณี” ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์ผู้เป็น สามีจ ่ายค่าอุปการะเลี้ยงด ูจ ำเลยเดือนล ะ 1,500 บาท จึงเป็นการหมาะ สมแ ล้ว ฎ. 2395/2529 สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตาม ปพพ. มาตรา 1461 เมื่อ ภริยาเสียช ีวิตเพราะม ีการทำละเมิด สามีย่อมม ีส ิทธิได้รับค่าส ินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตาม ปพพ. มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมี และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ เพราะเป็น ส ิทธิข องสามีจะพ ึงได้รับชดใช้ตามกฎหมายโดยสมควรกำหนดค่าขาดไร้อ ุปการะเป็นเงิน 40,000 บาท ฎ. 3369/2540 จำเลยท ี่ 1 มิได้ใช้ความร ะมัดระวังดูแลบ ริเวณข ้างหลังให้ป ลอดภัยเสียก ่อน รถโดยสารชน และทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจาก ผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชี ค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของ ผู้ต ายแ ล้ว ที่ศาลล ่างท ั้งส องก ำหนดค่าใช้จ ่ายในก ารจ ัดการจ ัดงานศ พเป็นเงินจ ำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการส มควร ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ปพพ. มาตรา 1461 วรรคสองนั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ต ายม ีอายุ 50 ปีย ่อมเห็นได้ว ่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอ ุปการะต ามก ฎหมายได้ไม่น ้อยก ว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อ ุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปี จึงเป็นร ะยะเวลาท ี่สมควร กจิ กรรม 2.2.1 สามภี รยิ าม หี นา้ ท ี่ต่อก นั และกนั อ ยา่ งไร แนวตอบก จิ กรรม 2.2.1 มาตรา 1461 กำหนดใหส้ ามภี ริยาม หี นา้ ทีต่ ่อก นั 2 ประการ คอื 1. อยู่กนิ ด ว้ ยก นั ฉันสามภี รยิ า 2. การอ ุปการะเล้ียงด กู นั 45 ฎ. 2316/2515 มสธ มส
มส 2-42 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เรอ่ื งที่ 2.2.2มสธ การแ ยกกนั อยู่ชั่วคราว มสธ โดยหลักแล้วสามีภริยาต้องอยู่กินด้วยฉันสามีภริยา ซึ่งหมายถึงการกินอยู่หลับนอนในเรือนเดียวกัน และ มีความสัมพนธ์ทางประเวณีกัน อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่แม้สามีภริยาไม่ได้อยู่กินด้วยกัน แต่สถานภาพความเป็น สามีภ ริยายังคงม ีอยู่ ยังไม่ถ ือว่าข าดจากการสมรส กรณีเช่นนี้ได้แก่ การแยกกันอ ยู่ชั่วคราว การแยกก ันอยู่ช ั่วคราวเกิดขึ้นได้ เพราะ 1. ศาลมีคำสั่งให้แ ยกก ันอยู่ต ่างหากเป็นการช ั่วคราว 2. สามีภ ริยาทำข้อตกลงแ ยกก ันอยู่ต่างหาก 1. ศาลม ีคำสัง่ ให้แยกก ันอยู่ตา่ งหากเป็นการช ่ัวคราว มาตรา 1462 “ในกรณีที่สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้ หรือถ้าการอยู่ ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือทำลายความผาสุกอย่างมาก สามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่สามารถที่จะอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้หรือฝ่ายท่ีจะต้องรับอันตรายหรือถูกทำลายความผาสุก อาจร้องต่อศาลเพ่ือให้มี คำส งั่ อ นญุ าตใหต้ นอ ยตู่ ่างห ากในระหวา่ งท เี่ หตนุ น้ั ๆ ยงั ม อี ยกู่ ไ็ ด้ ในก รณเี ช่นน ศ้ี าลจ ะก ำหนดจ ำนวนค า่ อ ปุ การะเลยี้ งด ู ให้ฝา่ ยห นงึ่ จ า่ ยใหแ้ กอ่ ีกฝ า่ ยหนง่ึ ตามค วรแ กพ่ ฤติการณ์ก ไ็ ด้” มาตรานี้เป็นมาตรการในการบรรเทาความเดือดร้อนของคู่สมรส ลดความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่อาจอยู่ ด้วยกันได้อย่างปกติสุข แต่ยังไม่ประสงค์จะหย่าขาดจากกัน การแยกกันอยู่ชั่วคราวอาจเปิดโอกาสให้คู่สมรสได้มี โอกาสคิดทบทวนแก้ไขความประพฤติที่นำไปสู่ความร้าวฉานของชีวิตสมรสก่อนจะถึงขั้นแตกหักแล้วหันมาตกลง รอมชอมกันได้เพื่อที่จะไม่ต้องหย่าขาดจากกัน กฎหมายจึงให้คู่สมรสที่ได้รับความเดือดร้อนมีสิทธิยื่นคำร้องต่อ ศาลขอให้มีคำส ั่งอ นุญาตให้ตนแยกก ันอ ยู่ต่างห ากจ ากภ ริยาหรือส ามีข องตนเป็นการชั่วคราวได้ในกรณีต่อไปน ี้ (1) สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข เช่น สามีชอบรับประทานเนื้อสัตว์ แปลกๆ เช่น งู หมี จระเข้ ตุ๊กแก แล้วบังคับให้ภริยานำมาประกอบอาหารและรับประทานพร้อมกันถ้าภริยาไม่ทำ ตามก็จะน้อยใจและหนีหายไปจากบ้านเป็นเวลาหลายวัน เช่นนี้เป็นการที่สามีภริยาไม่อาจอยู่กินด้วยกันฉันสามี ภริยาโดยปกติสุขได้ (2) การอ ยู่ร่วมก นั จ ะเป็นอ นั ตรายแก่กายอ ย่างม ากของสามีหรอื ภ ริยา อนั ตรายแกก่ าย (injury to the body) หมายถึง การรบกวนอย่างรุนแรงต่อสภาพปกติของร่างกายหรือทำให้ความสมบูรณ์ของร่างกายลดน้อยถอยลง โดย กระทำต่ออวัยวะต่างๆ ของบุคคลตั้งแต่เส้นผมจนถึงปลายเล็บเท้า ตั้งแต่ผิวหนังจนถึงอวัยวะภายใน จนทำให้เกิด บาดแผล (wound) โลหิตไหล และจะต้องเป็นอันตรายอ ย่างมากต่อกายด ้วย เหตุในข้อน ี้น ่าจ ะเทียบเคียงได้ก ับเหตุ ฟ้องหย่าเพราะการทำร้ายร่างกายตามมาตรา 1516 (3) หรือความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ปอ.มาตรา 295 แต่มี ขอบเขตกว้างกว่าโดยรวมถึงการกระทำที่ไม่จงใจทำร้ายด้วย เช่น สามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงหากอยู่ร่วมกัน ภริยาจะได้รับเชื้อโรค ภริยาก็อาจมาร้องขอให้ศาลอนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราวได้ หรือภริยาเป็นโรคโลหิตจาง หากจะต้องอยู่กินกับสามีฉันภริยาแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ภริยาก็มีสิทธิขออนุญาตให้อยู่ต่างหากจากสามีจน กว่าโรคโลหิตจ างจะร ักษาห ายได้ เป็นต้น มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-43 มสธ (3) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา อันตรายต่อจิตใจ (injury to theมสธ mind) หมายถึง การกระทำที่กระทบถึงจิตใจอันเป็นที่เกิดแห่งความรู้สึก ความสำนึก ความคิดและอารมณ์ จน ทำให้จิตไม่ปกติ ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หมดสติ หรือหมดความรู้สึกไปเป็นเวลานาน โดยจะต้องเป็นอันตรายแก่มสธ จิตใจเป็นอย่างมากด้วยจึงจะเป็นเหตุมาร้องขอ แต่ทั้งนี้น่าจะรวมถึงการกระทำที่ไม่จงใจทำร้ายจิตใจด้วย เหตุข้อนี้ จึงกว้างกว่าเหตุฟ้องหย่าเพราะการทำร้ายจิตใจตามมาตรา 1516 (3) เช่นเดียวกัน เช่น สามีชอบพาหญิงอื่นมานอน ในบ้านเป็นประจำ เป็นการทำร้ายจิตใจของภริยาอย่างมาก หรือสามีข่มขู่บังคับให้ภริยาไปเป็นโสเภณี ทำให้ภริยา เกิดค วามอ ดสูชอกช้ำระกำใจเป็นอย่างมาก เป็นต้น (4) การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุกอย่างมากของสามีหรือภริยา ความผาสุก (happiness) หมายถึง ความสุขสำราญ ความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตโดยมีสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ การทำลายความผาสุกของสามีหรือภริยามีความหมายกว้างรวมถึงการก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (injury to health) ด้วย และต้องเป็นการกระทำที่ร้ายแรง (grave and weighty) โดยพิเคราะห์ถึงคู่สมรสแต่ละ คู่ต่างหากแตกต่างกันไป เช่น สามีเป็นคนวิกลจริตมีอาการดุร้ายเป็นที่หวาดกลัวแก่ภริยาและบุตร แต่เนื่องจากยัง ไม่ครบกำหนด 3 ปี ยังฟ้องหย่าไม่ได้ ภริยาก ็อาจมาร้องขอต่อศาล ให้สั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากจากสามีเป็นการ ชั่วคราวได้ หรือ สามีเสพสุราแล้วอาละวาดทุบตีภริยาอยู่เป็นประจำ หรือสามีตัณหาจัดผิดปกติคนธรรมดาสามัญ ภริยาย ่อมร้องขอแ ยกให้ต นอยู่ต ่างหากได้เพราะเป็นการท ำลายค วามผาสุกอ ย่างมากของภริยา การที่ศาลสั่งอนุญาตให้สามีภริยาแยกกันอยู่นี้เป็นการให้แยกกันชั่วคราวเท่านั้น คือแยกกันอยู่ในระหว่าง เหตุการณ์ท ี่จะเป็นอันตรายแ ก่กายหรือจิตใจ หรือทำลายความผาสุกอ ย่างม ากย ังมีอยู่ โดยไม่ถือว่าเป็นการข าดการ สมรส คู่สมรสจึงไม่อาจทำการสมรสใหม่ได้ เมื่อเหตุการณ์นั้นระงับลงแล้ว สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่น คำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหรือระงับคำสั่งที่ให้แยกกันอยู่ได้ ในระหว่างที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่นี้ สามี และภริยาต่างหมดหน้าที่ที่จะต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้างจากกัน จึงไม่เป็น เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (4) แต่หากสามีบุกรุกเข้าไปหาภริยาในยามวิกาลหรือข่มขืนกระทำชำเราภริยาใน ระหว่างนี้ สามีก็อาจมีความผิดฐานบุกรุกหรือความผิดต่อเสรีภาพและข่มขืนกระทำชำเราได้ อย่างไรก็ดีหากการ แยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลนี้เป็นระยะเวลานานเกินกว่า 3 ปีแล้ว สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (4/2) ซึ่งบัญญัติว่า “สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้” ในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่นี้ศาลมีอำนาจ ที่จะกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งชำระให้แก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ตามควรแก่พฤติ- การณ์ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีด้วย นอกจากนี้ศาล ยังน่าที่จะมีอำนาจออกคำสั่งเกี่ยวกับการปกครองบุตรและคำสั่งอื่นๆ ตามที่จำเป็น เช่น สั่งให้สามีชำระค่าเช่า คอนโดมิเนียมท ี่ภ ริยาแ ยกไปเช่าอยู่ก ็ได้ เป็นต้น อทุ าหรณ์ ฎ. 369/2509 จำเลยชอบดุด่า ชอบเสพสุรา เคยฟันโจทก์ 2 ครั้งที่แขนซ้ายและมือซ้าย เคยเอากาแฟร้อน สาดหน้าและต่อยโจทก์ และโจทก์ก็เคยฟันจำเลยถึงกระดูกนิ้วขาด แม้จะนับได้ว่าเป็นเรื่องรุนแรงอยู่มาก แต่ก็ เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวจากการที่ได้เป็นสามีภริยากันมารวม 2 ระยะเวลา เป็นเวลาประมาณ 7–8 ปีแล้ว ถือว่าไม่มี ลักษณะจะเป็นเหตุท ี่โจทก์จ ะข อให้ตนแยกอ ยู่ต ่างห ากจ ากจ ำเลย ดังท ี่บัญญัติไว้ในมาตรา 1462 มสธ มส
มส 2-44 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ 2. สามภี ริยาท ำข อ้ ตกลงแ ยกกันอยตู่ ่างหากมสธ นอกเหนือจากการขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนแยกกันอยู่ต่างหากแล้ว สามีภริยาอาจทำข้อตกลงมสธ ระหว่างกัน เพื่อแยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้ ข้อตกลงเช่นว่านี้ใช้บังคับได้ ทั้งนี้เพราะเมื่อเกิดมีเหตุจำเป็น ห รือเหตุขัดข้องช ั่วคราวท ี่ส ามีภริยาจำต้องอ ยู่ต ่างหากจากกันก็ดี หรือการส มรสได้แ ตกสลายไปจนไม่มีท างที่คู่ส มรส จะหวนกลับมาอยู่กินด้วยกันโดยปกติสุขต่อไปอีกแล้วก็ดี น่าจะเป็นการดีแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หรือต่อสังคมเป็น ส่วนรวมที่สามีภริยาจะสามารถยุติข้อพิพาทของตนระหว่างกันเอง โดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาลอันเป็นการนำเรื่อง ภายในครอบครัวมาเปิดเผยให้สังคมภายนอกทราบ ข้อตกลงเพื่อแยกกันอยู่ต่างหากนี้อยู่ในบังคับของหลักทั่วไป ในเรื่องก ารทำส ัญญา จึงอาจต กเป็นโมฆะหรือโมฆียะด ้วยเหตุเช่นเดียวกับการเป็นโมฆะห รือโมฆียะของสัญญาอื่นๆ ทั่วไป เช่น ความสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล ถูกข่มขู่ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น การที่สามีภริยาตกลงแยกกันอยู่และตกลงให้สามีหลุดพ้นจากหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นั้น ข้อตกลงที่ให้สามีหลุดพ้นจากหน้าที่ดังกล่าวจึงน่าจะตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม มาตรา 150 ในการทำข้อตกลงเพื่อแยกกันอยู่นี้สามีภริยาอาจทำข้อตกลงกันด้วยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยหลักการสำคัญก็คือสามีและภริยาตกลงที่จะแยกกันอยู่ต่างหากจากกัน นอกจากนี้อาจจะมีข้อตกลงอื่นมา ประกอบด้วยก็ได้ เช่น ข้อตกลงว่าจะไม่กระทำการรบกวนหรือก่อความยุ่งยากให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (non-mo- lestation clause) ข้อตกลงเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยาและบุตร ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามี ภริยา เป็นต้น ในต่างประเทศเช่นประเทศอังกฤษในการทำข้อตกลงเพื่อแยกกันอยู่นี้มีข้อตกลงประกอบที่เรียกว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูภริยาโดยมีข้อแม้ว่าภริยาจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวทางชู้สาวกับชายอื่น (dum casta clause) โดยสามีตกลงที่จะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูภริยาตลอดไปตราบเท่าที่ภริยายังครองชีวิตที่บริสุทธิ์ (chaste life) อยู่ หากภริยาไปร่วมประเวณีกับชายอื่นแล้ว สามีก็หมดหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ ภริยาอ ีกต่อไป ข้อตกลงเช่นว่านี้หากทำขึ้นในป ระเทศไทยก ็น่าจ ะใช้บังคับได้เช่นเดียวกัน เมื่อสามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหากจากกันแล้วสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหมดหน้าที่ที่จะต้องอยู่ กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อกัน แต่สถานะความเป็นสามีภริยายังคงมีอยู่ ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง สามีหรือ ภริยาแต่ละฝ่ายจึงจะทำการสมรสใหม่ไม่ได้ ผลของข้อตกลงนี้มีเพียงทำให้การแยกกันอยู่นี้แม้จะเป็นเวลาเกิน 1 ปี ก็ไม่ถ ือว่าเป็นการจ งใจล ะทิ้งร ้าง (desertion) คู่สมรสฝ่ายใดฝ ่ายหนึ่งจึงจ ะม าอ ้างเป็นเหตุฟ ้องหย่าต ามม าตรา 1516 (4) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการตกลงแยกกันอยู่นี้ เป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข และสามี ภริยาได้แ ยกก ันอ ยู่ม าแ ล้วเป็นเวลาเกินส ามป ี สามีห รือภ ริยาฝ ่ายใดฝ ่ายห นึ่งม ีสิทธิฟ ้องห ย่าได้ต ามม าตรา 1516 (4/2) นอกจากนี้ข้อตกลงแยกกันอยู่อาจสิ้นสุดลงได้ด้วยการที่สามีภริยาตกลงเลิกสัญญานี้ต่อกัน หรือหากภายหลังศาล ม ีค ำพ ิพากษาถึงที่ส ุดให้หย่าขาดจากก ันได้ ฎ. 3822/2524 ในชั้นแ รกจำเลยพาบุตรไปอ ยู่ก ับมารดาข องจำเลยน ั้น โจทก์เป็นผ ู้พ าไปส ่งแ ละได้ข นเสื้อผ้า ไปให้ ต่อมาได้ขอร้องให้จำเลยกลับแต่จำเลยไม่ยอมกลับ ในที่สุดได้มีการเจรจาปรองดองกัน โดยบิดาโจทก์จะให้ เงินมาซื้อตึกแถวเพื่อแยกมาตั้งครอบครัวและประกอบอาชีพเลี้ยงดูกันต่างหาก ทั้งปรากฏว่าฝ่ายโจทก์นำรถยนต์ เก๋งมาให้จำเลยใช้สอยเป็นส ่วนตัว ดังนั้นก ารท ี่จ ำเลยพ าบ ุตรไปอยู่กับม ารดาจ ำเลยจ ึงถือไม่ได้ว่าจำเลยม ีเจตนาจ งใจ ละทิ้งร้างโจทก์ แต่เป็นการที่โจทก์จ ำเลยต ่างสมัครใจแยกกันอ ยู่ แม้จะเกินก ว่าห นึ่งปี โจทก์ก็ฟ ้องหย่าจ ำเลยไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์มีความสามารถและฐานะดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตาม ปพพ. มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1498/38 ที่ศ าลล่างก ำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยเดือนละ 1,500 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-45 มสธ ฎ. 5627/2530 ค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่นั้น ฝ่ายที่มีความสามารถหรือฐานะมสธ น้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริต ชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์จำเลยต่าง สมัครใจแยกกันอยู่ชั่วคราวโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย และจำเลยไม่มีอาชีพหรือรายได้เพียงพอ โจทก์ซึ่งอุปการะมสธ เลี้ยงดูจำเลยม าตลอดและอยู่ในฐานะที่ส ามารถจะอุปการะเลี้ยงด ูจำเลยได้ จึงมีหน้าท ี่ต้องอ ุปการะเลี้ยงดูจำเลย กิจกรรม 2.2.2 นายสมบัติจดทะเบียนสมรสกับนางพิศมัยได้ 10 ปีมาแล้ว อยู่กินด้วยกันมาจนเกิดบุตร 2 คน เม่ือ ต้นปีนี้นายสมบัติเปล่ียนนิสัยไปเป็นคนชอบเสพสุราเมามายอาละวาดทุบตีด่าว่านางพิศมัยเป็นประจำทุกวัน นางพิศมัยได้รับความกดดันทางจิตใจจากการน้ีถึงกับป่วยเป็นโรคจิต จึงมาปรึกษาท่าน ขอให้ช่วยหาทางแก้ไข โดยแสดงความจ ำนงว ่าไมป่ ระสงคจ์ ะหยา่ ข าดจ ากนายส มบตั ิ เพราะเกรงว ่าบตุ รจะเกดิ ปมดอ้ ย ให้ทา่ นแ นะนำน างพ ิศม ัย แนวตอบก ิจกรรม 2.2.2 แนะนำใหน้ างพ ศิ ม ยั ย นื่ ค ำรอ้ งต อ่ ศ าล ขออ นญุ าตแ ยกก นั อ ยตู่ า่ งห ากจ ากน ายส มบตั เิ ปน็ การช ว่ั คราว ตาม มาตรา 1462 โดยอ ้างเหตวุ า่ การอ ยู่ร ว่ มก ันจะเปน็ การท ำลายความผ าสุกอ ย่างมาก เร่อื งท่ี 2.2.3 ความเป็นคนว ิกลจริตห รอื จติ ฟ่ันเฟือน 1. คู่สมรสเปน็ คนไ ร้ค วามสามารถหรอื เสมือนไร้ความส ามารถ มาตรา 1463 “ในกรณีท่ีศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยา หรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เม่ือมีผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอและถ้ามีเหตุสำคัญ ศาลจะต้ังผู้อ่ืน เปน็ ผ ้อู นุบาลห รือผ พู้ ิทักษ์กไ็ ด้” การที่สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกลายเป็นคนวิกลจริต จิตใจไม่สมประกอบเมื่อได้มีการร้องขอต่อศาล และศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถแล้วนั้น เนื่องจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้อง ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามมาตรา 1461 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อจะตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ มาตรา 1463 จึง กำหนดให้ต้องตั้งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งให้ทำหน้าที่นี้ อย่างไรก็ดีถ้ามีเหตุสำคัญ เช่น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นคน วิกลจริตหรือมีเรื่องโกรธเคืองกันทะเลาะตบตีกันเป็นประจำเมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาล อาจจะตั้งผ ู้อื่นเป็นผู้อ นุบาลหรือผู้พ ิทักษ์โดยไม่ตั้งคู่สมรสฝ ่ายนั้นก ็ได้ ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและแต่งตั้งให้ภริยาหรือสามีเป็นผู้อนุบาล ภริยา หรือสามีที่เป็นผู้อนุบาลนี้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครอง ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา มสธ มส
มส 2-46 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ 1598/15 ในกรณีท ี่ศาลสั่งให้ส ามีห รือภริยาเป็นค นไร้ความสามารถแ ละภ ริยาหรือส ามีเป็นผู้อนุบาล ให้น ำบ ทบัญญัติมสธ ว่าด้วยสิทธิแ ละห น้าที่ของผ ู้ใช้อำนาจป กครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตามม าตรา 1567(2) และ (3) กล่าว คือ ภริยาหรือสามีที่เป็นผู้อนุบาลต้องให้ความอุปการะเลี้ยงดูสามีหรือภริยาที่เป็นคนไร้ความสามารถ เช่น มีสิทธิมสธ กำหนดที่อยู่ให้ ฯลฯ แต่จะทำโทษหรือใช้ให้ทำการงานไม่ได้ ทั้งยังมีอำนาจในการจัดการสินส่วนตัวและสินสมรส ของสามีหรือภริยาที่เป็นคนไร้ความสามารถด้วย แต่สำหรับการจัดการสินส่วนตัวหรือสินสมรสของสามีหรือภริยาที่ เป็นค นไร้ความสามารถท ี่สำคัญ เช่น ขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน จำนอง ให้เช่าซ ื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ที่อาจจำนองได้ ให้กู้ยืมเงิน เหล่านี้ ภริยาหรือสามีผู้อนุบาลจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ทั้งนี้ ตามที่บ ัญญัติไว้ในม าตรา 1598/16 ที่บ ัญญัติว ่า “คู่ส มรสซ ง่ึ เปน็ ผ ู้อ นุบาลของค ู่ส มรสท่ถี ูกศ าลสั่งให้เปน็ ค นไรค้ วาม สามารถมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งและมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว แต่การจัดการสิน ส่วนต ัว และสนิ สมรสต ามก รณที รี่ ะบไุ ว้ในม าตรา 1476 วรรคหนึ่ง ค่สู มรสน นั้ จ ะจดั การไมไ่ ด้ เวน้ แตจ่ ะไดร้ บั อ นญุ าต จากศาล” อย่างไรก็ตาม หากศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถโดยมิได้แต่งตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาล แต่แต่งตั้งบิดาหรือมารดาหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาลนั้น ผู้อนุบาลเช่นว่านี้มีอำนาจที่จะจัดการสินสมรส ร่วมกันกับภริยาหรือส ามี เว้นแต่ศ าลจะส ั่งเป็นอย่างอ ื่น ทั้งนี้ตามท ี่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/17 อทุ าหรณ์ ฎ. 346/2509 ตามปกติสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลภริยา ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ใน ความอนุบาล เมื่อผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดคัดค้านต่อศาล ผู้คัดค้านชอบที่จะนำสืบแสดงเหตุสำคัญให้เห็นว่าศาลควรตั้ง ผู้อื่นเป็นผู้อนุบาล ฎ. 5827/2530 จำเลยเป็นบุตรย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้มารดาเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนไร้ความสามารถได้ตาม ปพพ. มาตรา 32 หรือ 28 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นบิดา จำเลยแ ละส ามขี องม ารดาจ ำเลยท ั้งศ าลม อี ำนาจแ ต่งต ั้งจ ำเลยเป็นผ ูพ้ ิทักษห์ รือผ ูอ้ นุบาลข องม ารดาไดต้ ามม าตรา 1463 แม้ต ามป กติคู่ส มรสจ ะเป็นผู้พ ิทักษ์ห รือผ ู้อ นุบาลตามก ฎหมายก็ตาม ฎ. 6939/2537 กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อน เพียงค นเดียว หากม ีผ ู้อ ื่นร้องขอแ ละมีเหตุส ำคัญศาลจะต ั้งผ ู้อ ื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจ ะต ั้งทั้งคู่สมรสแ ละบ ุคคลอื่น เป็นผ ู้อนุบาลร่วมกัน จะไม่ส อดคล้องกับ ปพพ. มาตรา 1463 2. คสู่ มรสว กิ ลจริต มาตรา 1464 “ในก รณที คี่ ูส่ มรสฝ ่ายใดฝ า่ ยหนึง่ เป็นค นว กิ ลจริตไม่วา่ ศ าลจ ะไดส้ ่ังให้เป็นคนไรค้ วามสามารถ หรอื ไม่ ถา้ ค สู่ มรสอ กี ฝ า่ ยห นงึ่ ไมอ่ ปุ การะเลยี้ งด ฝู า่ ยท วี่ กิ ลจรติ ต ามม าตรา1461 วรรคส อง หรอื ก ระทำก ารห รอื ไมก่ ระทำ การอ ยา่ งใด อันเป็นเหตใุ หฝ้ ่ายท ่ีวิกลจริตต กอยู่ในภ าวะอันน ่าจ ะเกิดค วามเสียห ายทางทรพั ยส์ ินถ งึ ขนาด บคุ คลต ามท ี่ ระบุไว้ในมาตรา 28 หรือผู้อนุบาลอาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริต หรือขอให้ ศาลม ีคำสั่งใดๆ เพ่ือค มุ้ ครองฝ ่ายท ีว่ ิกลจรติ นน้ั ได”้ ในกรณีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของศาลว่า คู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคน ไร้ความส ามารถ ก็ให้ขอต่อศาลในคดีเดียวกันให้ศาลมีคำส ั่งว่าคู่ส มรสซ ึ่งว ิกลจริตนั้นเป็นค นไร้ค วามส ามารถโดยขอ ให้ตั้งตนเองหรือผู้อื่นที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้อนุบาล หรือถ้าได้มีคำสั่งของศาลแสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็น คนไร้ค วามส ามารถอยู่แ ล้ว จะขอให้ถอดถอนผู้อนุบาลคนเดิมและแ ต่งตั้งผู้อนุบาลคนใหม่ก ็ได้ ในการขอให้ศาลมีคำสั่งใดๆ เพื่อคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตโดยมิได้เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วยนั้น จะไม่ขอให้ศ าลม ีค ำส ั่งให้คู่ส มรสฝ่ายท ี่ว ิกลจริตนั้นเป็นค นไร้ความสามารถ หรือจะไม่ข อเปลี่ยนผ ู้อนุบาลก ็ได้ แต่ถ ้า มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-47 มสธ ศาลเห็นว่าวิธีการคุ้มครองที่ขอนั้นจำต้องมีผู้อนุบาลหรือเปลี่ยนผู้อนุบาล ให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทำนองเดียวกับที่มสธ บัญญัติไว้ในว รรคสอง แล้วจ ึงม ีค ำสั่งค ุ้มครองตามท ี่เห็นสมควร” มสธ มาตรา 1464/1 “ในร ะหวา่ งก ารพ จิ ารณาค ดตี ามม าตรา 1464 ถา้ ม คี ำขอศ าลอ าจก ำหนดว ธิ กี ารช ว่ั คราวเกย่ี วก บั การอ ปุ การะเลยี้ งด หู รอื ก ารค มุ้ ครองค สู่ มรสฝ า่ ยท ว่ี กิ ลจรติ ไดต้ ามท เี่ หน็ ส มควรและห ากเปน็ ก รณฉี กุ เฉนิ ใหน้ ำบ ทบญั ญตั ิ เรื่องค ำขอในเหตฉุ กุ เฉนิ ตามประมวลกฎหมายวิธีพจิ ารณาความแพ่งม าใช้บ ังคบั ” การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกลายเป็นคนวิกลจริตไม่ว่าจะถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ ก็ตาม คู่ส มรสอ ีกฝ ่ายหนึ่งจ ะต้องให้ค วามอ ุปการะเลี้ยงดูแ ละก ระทำการต ามสมควรเพื่อให้ฝ ่ายที่ว ิกลจริตอยู่ในภาวะ ปลอดภัยทางทรัพย์สิน ทางกาย และทางจิตใจ ตามสมควร เช่น สามีเกิดวิกลจริต ภริยาก็ต้องดูแลรักษา พาไปหา หมอ จัดการป้องกันไม่ให้สามีเดินออกไปนอกถนนซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการถูกรถยนต์ชน เป็นต้น หากไม่กระทำ การดังกล่าว บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ลูก หลาน เหลน ลื้อ ผู้อนุบาล ผู้พ ิทักษ์ หรือพ นักงานอ ัยการ มีอ ำนาจ ฟ้องคู่สมรสฝ่ายที่ไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและขอให้ศาลมีคำสั่งใดๆ เพื่อคุ้มครองคู่ สมรสฝ่ายที่วิกลจริตได้ตามบัญญัติไว้ในมาตรา 1464 โดยในกรณีที่ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่คู่สมรสฝ่าย ที่วิกลจริตนั้น โจทก์อาจมีคำขอในคดีเดียวกันนี้ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถและ ตั้งโจทก์หรือบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ แต่ถ้าหากคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตนั้นถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ อยู่แ ล้ว โจทก์จ ะข อให้ศ าลถ อดถอนผ ู้อ นุบาลค นเดิมแ ละแ ต่งต ั้งผ ู้อ นุบาลค นใหม่ก ็ได้เพราะเห็นได้ช ัดเจนว ่าผ ู้อ นุบาล คนเดิมล ะเลยหน้าที่ท ี่จ ะอุปการะเลี้ยงด ูค ู่ส มรสที่เป็นคนไร้ความส ามารถนั้น อยา่ งไรก ด็ ี ถ้าโจทกฟ์ ้องเพียงข อใหศ้ าลม คี ำส ั่งค ุ้มครองค สู่ มรสฝ า่ ยท ีว่ กิ ลจรติ โดยไมไ่ ดเ้รยี กค า่ อ ุปการะเลี้ยง ดูเข้าม าด ้วย เช่น ฟ้องแต่เพียงข อให้พาค ู่สมรสฝ ่ายที่ว ิกลจริตไปร ับการร ักษาพ ยาบาลเท่านั้น โจทก์ม ีสิทธิท ี่จะท ำได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสที่วิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ หรือถ้าคู่สมรสที่วิกลจริตนั้น เป็นคนไร้ความสามารถอยู่แล้ว จะไม่ขอให้เปลี่ยนตัวผู้อนุบาลก็ได้ เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรที่จะสั่งเช่นว่านั้น ตัวอย่างเช่น นายมิตร และนางดาราจดทะเบียนสมรสกันมาหลายปีแล้ว ต่อมานางดาราเกิดวิกลจริตชอบเดินออก ไปเที่ยวเล่นนอกถนน นายมิตรเกรงว่าจะถูกรถยนต์ชน จึงล่ามโซ่นางดาราไว้ในบ้าน และจัดหาอาหาร เครื่องนุ่งหุ่ม และเครื่องใช้อย่างดีให้ตามที่นางดาราต้องการทุกอย่าง นายมิตรเคยไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลโรคจิตได้รับแจ้ง ว่าจะต้องรับตัวนางดาราไว้รักษาในโรงพยาบาลโรคจิตเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะหายขาด แต่เนื่องจากนาย มิตรท นความค ิดถึงนางดาราไม่ได้ จึงไม่ย อมให้น างดาราไปอยู่โรงพยาบาล บิดาน างด าราท ราบเหตุเข้า หากป ระสงค์ จะให้นางดาราเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโรคจิตก็สามารถทำได้ โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 1464 นี้ เพราะถือได้ว่านายมิตรมิได้กระทำการตามสมควรเป็นเหตุให้นางดาราซึ่งวิกลจริตตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเป็นภัย ท างจ ิตใจ เป็นต้น ในร ะหว่างท ีศ่ าลก ำลงั พ จิ ารณาค ดเีพื่อค ุ้มครองค ูส่ มรสฝ ่ายท ีว่ ิกลจริตอ ยูน่ ีโ้จกท อ์ าจร ้องขอต ่อศ าลใหก้ ำหนด ว ิธีก ารช ั่วคราวเกี่ยวก ับก ารอ ุปการะเลี้ยงด ู หรือก ารค ุ้มครองค ู่ส มรสฝ ่ายท ี่ว ิกลจริตได้ต ามท ี่เห็นส มควรต ามท ี่บ ัญญัติ ไว้ในมาตรา 1464/1 เช่น ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตเป็น รายเดือน เดือนละ 2,000 บาท เป็นการชั่วคราว หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำคู่สมรสที่วิกลจริตไปรับการบำบัดรักษา ที่โรงพยาบาลโรคจิตโดยเร็วก ็ได้ และถ้าห ากเป็นก รณีฉุกเฉินโจทก์จะม ีคำขอในเหตุฉ ุกเฉินตาม ปวพ.ให้ศ าลมีคำส ั่ง เพื่อคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตได้ในทันทีโดยไม่ต้องรอฟังคู่สมรสที่เป็นจำเลยแต่อย่างใด เช่น สามีจับภริยาที่ วิกลจริตล ่ามโซ่และให้รับประทานอาหารเพียงวันละมื้อเดียว บิดาของภริยาอาจขอในเหตุฉุกเฉินให้ศาลไต่สวนและ มคี ำส ั่งใหส้ ามปี ล่อยภ ริยาโดยใหภ้ ริยาม าอ ยูใ่นค วามด ูแลข องบ ิดาในท ันทใีนว ันน ั้นก ็ได้ หรือก รณใีชห้ วายอ าบน ้ำมนต์ เฆี่ยนภริยามาสามวันสามคืนแล้ว และกำลังจะเฆี่ยนต่อไปอีก ดังนี้ มารดาของภริยามีสิทธิร้องขอในเหตุฉุกเฉินให้ ศาลส ั่งห้ามสามีร ักษาโรคโดยวิธีก ารนี้ได้ เป็นต้น มสธ มส
มส 2-48 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก การเป็นบุคคลวิกลจริตมิได้หมายความเฉพาะบุคคลผู้มีจิตผิดปกติ หรือตามที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปว่าเป็นบ้ามสธ มสธ เท่านั้น แต่หมายรวมถึงบ ุคคลที่ม ีกริยาอาการผ ิดปกติ เพราะส ติวิปลาศ คือ ขาดความร ำลึก ขาดความร ู้สึก หรือขาด ความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวไม่สามารถประกอบกิจการของตน หรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนมสธ ได้ทีเดียว เช่น บุคคลอายุ 92 ปี ไม่รู้สึกตนเอง ไม่รู้จักสถานที่และเวลา พูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พอถือได้ว่า เป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว46 และลูกหลานเหลนของบุคคลดังกล่าวก็อาจจะฟ้อง ขอให้ศ าลม ีค ำสั่งค ุ้มครองตามมาตรา 1464 นี้ได้ กจิ กรรม 2.2.3 นายมิตรและนางอรัญญาจดทะเบียนสมรสกันมาหลายปีแล้ว ต่อมานางอรัญญาเกิดวิกลจริตชอบเดิน ออกไปนอกถนน นายมติ รเกรงวา่ จะถกู รถยนต์ชนจงึ ล่ามโซ่นางอรญั ญาไว้ในบา้ น และจดั อาหาร เครอื่ งน่มุ ห่ม และเครือ่ งใช้อยา่ งดีให้ตามที่นางอรัญญาต้องการทุกอยา่ ง นายมิตรเคยไปปรึกษาแพทย์ท่ีโรงพยาบาลโรคจติ ได้ รบั แ จง้ ว า่ จ ะต อ้ งร บั ต วั น าง อร ญั ญาไวร้ กั ษาในโรงพ ยาบาลเปน็ เวลาไมน่ อ้ ยก วา่ 6 เดอื น จงึ จ ะห ายขาด แตเ่ นอ่ื งจาก นายมิตรทนความคิดถึงนางอรัญญาไม่ได้จึงไม่ยอมให้นางอรัญญาไปอยู่โรงพยาบาล บิดานางอรัญญาทราบ เหตุเข้ามีความประสงค์จะให้นางอรัญญาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโรคจิต ดังนี้ บิดานางอรัญญาจะมี ชอ่ งท างทำไดต้ ามค วามป ระสงค์หรือไม่ แนวต อบก จิ กรรม 2.2.3 บดิ าข องน างอร ญั ญาส ามารถยนื่ ค ำรอ้ งต อ่ ศ าลตามม าตรา 1464 ขอใหส้ ่ังน ายมติ รนำน างอรญั ญาไปเข้า รับการรกั ษาตัวในโรงพยาบาลโรคจติ ได้ เพราะถือวา่ นายมติ รมิได้กระทำการตามสมควรเป็นเหตุให้นางอร ญั ญา ซง่ึ วกิ ลจริตอ ยู่ในภาวะอ นั น า่ จ ะเปน็ ภัยท างจ ติ ใจ 46 ฎ. 74/2527 มสธ มส
มส การสมรสและความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2-49 มสธ เรื่องท่ี 2.2.4มสธ การใช้คำนำห นา้ นาม ชอ่ื ส กุล และสัญชาติ มสธ ในป ัจจุบันได้ม ีการต ราพระราชบัญญัติค ำนำห น้านามห ญิง พ.ศ. 2551 ซึ่งม ีผลใช้บังคับเมื่อพ้นก ำหนดหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่ว ันประกาศในร าชกิจจาน ุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชก ิจจาน ุเบกษาว ันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) ในส่วนที่เกี่ยวกับหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว และหญิงมีสามีซึ่งต่อมาการสมรสสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด จะใช้ค ำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ ตามความสมัครใจ ทั้งนี้เพื่อม ิให้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในการดำรงชีวิตประจำวันของ หญิง ซึ่งปรากฏอ ยู่ในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่ง พรบ.ดังกล่าว ดังนี้ มาตรา 5 “หญิงซ งึ่ จ ดท ะเบยี นส มรสแ ลว้ จะใช้คำนำห นา้ น ามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ ตามค วามส มัครใจ โดยให้แจง้ ต อ่ นายท ะเบียนต ามก ฎหมายวา่ ด ว้ ยก ารจ ดทะเบียนค รอบครัว” มาตรา 6 “หญิงซ่ึงจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสสิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ ตามความส มัครใจโดยให้แจ้งต อ่ น ายท ะเบียนตามก ฎหมายวา่ ด ้วยการจ ดท ะเบียนครอบครัว” ในส่วนของการใช้นามสกุลของหญิงมีสามีนั้น แต่เดิม พรบ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดให้หญิงมีสามี ต้องใช้ชื่อส กุลของส ามี ต่อมาศ าลรัฐธรรมนูญมีคำว ินิจฉัยท ี่ 21/2546 ว่า มาตรา 12 แห่ง พรบ.ชื่อบ ุคคล พ.ศ. 2505 เดิมท ี่บัญญัติให้หญิงม ีสามีต้องใช้ช ื่อส กุลของส ามีนั้น ไม่ชอบด ้วยรัฐธรรมนูญ ใช้บ ังคับไม่ได้ จึงม ีการแ ก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548 มาตรา 12 บัญญัติให้คู่สมรสต่างมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันหรือ ต่างฝ่ายต ่างใช้ช ื่อส กุลเดิมของต นก็ได้ ซึ่งก ารตกลงกันเช่นน ี้จะก ระทำเมื่อมีการส มรสหรือในระหว่างส มรสก็ได้ และ จะตกลงเปลี่ยนแปลงกันอีกในภายหลังก็ได้ ซึ่งหากไม่มีการตกลงกันก็ต้องถือว่าต่างฝ่ายต้องใช้ชื่อสกุลเดิมของตน ต่อไ ป นอกจากนี้ใน มาตรา 13 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมในครั้งเดียวกันนี้ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับการใช้ชื่อสกุลของ คู่สมรสเมื่อก ารสมรสสิ้นส ุดไม่ว ่าจะโดยการตาย หย่า หรือศ าลพิพากษาให้เพิกถอนไว้เช่นเดียวกัน มาตรา 12 “คู่สมรสมีสิทธิใช้ช่ือสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ช่ือสกุลเดิมของ ตน การต กลงก ันตามวรรคห น่งึ จะกระทำเมอื่ ม ีก ารสมรสห รอื ในร ะหวา่ งส มรสก็ได้ ขอ้ ต กลงต ามวรรคห นึง่ ค่สู มรสจะต กลงเปลี่ยนแปลงภายหลังก ็ได้” มาตรา 13 “เมื่อก ารส มรสส้นิ ส ดุ ลงด ว้ ยก ารหยา่ หรือศ าลพ พิ ากษาให้เพิกถ อนก ารสมรส ให้ฝ่ายซึง่ ใชช้ ือ่ สกลุ ของอ ีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใชช้ ่อื สกุลเดมิ ของตน เมอ่ื ม กี ารส มรสส นิ้ สดุ ล งดว้ ยค วามต าย ใหฝ้ ่ายซ งึ่ ย งั ม ชี ีวติ อ ยแู่ ละใชช้ อ่ื ส กลุ ข องอ ีกฝ า่ ยห น่งึ มสี ทิ ธใิชช้ อื่ สกลุ นัน้ ไดต้ ่อไป แต่เมอื่ จะส มรสใหม่ ให้กลบั ไปใชช้ อื่ ส กลุ เดิมข องตน” ในด้านสัญชาตินั้น การสมรสไม่ทำให้สัญชาติของสามีภริยาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การที่หญิงต่างชาติ สมรสกับชายสัญชาติไทยไม่ทำให้หญิงนั้นได้สัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ และในทำนองเดียวกันการที่หญิงไทยยอม สมรสกับชายต่างชาติ หญิงนั้นก็มิได้เสียสัญชาติไทยไปด้วย อย่างไรก็ดีการที่หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวได้สมรสกับ ชายผู้มีส ัญชาติไทย หากป ระสงค์จะได้ส ัญชาติไทยก็อาจจะกระทำได้ โดยการย ื่นค ำขอพร้อมด้วยสำเนาท ะเบียนบ ้าน ต่อผ ู้บ ังคับการต ำรวจสันติบาลในก รณีที่ผู้ยื่นคำขอม ีภ ูมิลำเนาอ ยู่ในกรุงเทพมหานคร ถ้ามีภูมิลำเนาในจังหวัดอ ื่นให้ มสธ มส
มส 2-50 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ยื่นคำขอต่อผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น แต่ถ้าผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างประเทศ ก็ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานทูตหรือมสธ กงสุล ณ ที่ทำการสถานท ูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศน ั้น การอ นุญาตห รือไม่อ นุญาตให้ได้สัญชาติไทยอยู่ ในด ุลยพินิจของร ัฐมนตรีว่าการก ระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ตามที่บ ัญญัติไว้ใน พรบ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 9มสธ ตาม ปพพ. บรรพ 5 เดิม มีบ ทบัญญัติว ่า สามีเป็นห ัวหน้าในคู่ครอง เป็นผ ู้เลือกที่อยู่และเป็นผู้อำนวยก าร ในเรื่องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูและหญิงมีสามีย่อมถือเอาภูมิลำเนาของสามี แต่ต่อมามีการเรียกร้องสิทธิสตรี ให้เท่าเทียมก ับบ ุรุษกันแ พร่หลาย มีความเห็นกันว่าบ ทบัญญัติด ังก ล่าวเป็นการท ำให้ภ ริยาไม่มีสิทธิเท่าเทียมก ับสามี จึงได้มีต ราพระราชบ ัญญัติให้ใช้บ ัญญัติบ รรพ 5 แห่ง ประมวลก ฎหมายแพ่งแ ละพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระ พ.ศ. 2519 ซึ่งม ีผ ลใช้บ ังคับต ั้งแต่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา โดยตัดบทบ ัญญัติท ั้งส องนี้ออกเสีย เท่ากับว่าในป ัจจุบันน ี้ สามีและภริยาต่างเป็นหัวหน้าในคู่ครองด้วยกันทั้งคู่ จะทำอะไรต้องปรึกษากันการเลือกภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่จะ ต้องเห็นชอบด้วยกันทั้งสองฝ่าย คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิเหนือคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในการเลือกภูมิลำเนาหรือถิ่น ที่อยู่ การเลือกจะต้องกระทำโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของครอบครัวเป็นสำคัญ หากสามีภริยาไม่สามารถตกลงกัน เรื่องภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ได้ทำให้ต้องแยกกันอยู่ เช่นนี้ จะต้องดูว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดหรือปฏิบัติตนอย่างไร้ เหตุผล และต้องถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายจงใจละทิ้งร้างไปอันนับเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ทั้งคู่สมรสฝ่ายที่แยกไปอยู่ต่าง หากนี้ก็ไม่มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากคู่สมรสฝ่ายที่ยังอยู่ด้วย เช่น สามีรับราชการ ภริยาไม่ได้ประกอบ อาชีพอะไร ต่อมาสามีต้องถูกย้ายไปรับราชการต่างจังหวัดและประสงค์จะให้ภริยาตามไปอยู่ด้วย แต่ภริยาไม่ยอม ติดตามไป เช่นน ี้ การท ี่ภริยาปฏิบัติตนอย่างไร้เหตุผลด ังกล่าวถือได้ว่าเป็นการท ิ้งร ้างสามีได้ สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนซึ่งกันและกัน ในสมัยโบราณสามีมีสิทธิที่ จะเฆี่ยนตีสั่งสอนภริยาบ้างตามสมควร (to chastise his wife moderately) โดยกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 60 บัญญัติว่า “สามีภริยาอยู่ด้วยกัน ภริยามีความผิดสามีปราบปรามโบยตีหญิง หญิงจะเอาโทษแก่สามีน้ันมิได้ ถ้า ภริยาด่าว่าหยาบช้าแก่สามีให้ภริยาเอาข้าวตอกดอกไม้ขอโทษต่อสามีนั้นจ่ึงควร” แต่ในกฎหมายปัจจุบันสิทธิของ สามีเช่นว่านี้มิได้มีบัญญัติไว้ ตาม ปอ. มาตรา 71 บัญญัติแต่เพียงให้ ความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร ทำให้เสียทรัพย์ และบุกรุกที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำ ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งไม่รวมถึงความผิดฐานทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่สามีใช้กำลังทำร้ายภริยาของตน มีบาดแผล 6 แห่ง เป็นรอยช้ำแต่ไม่ปรากฏขนาดว่าใหญ่โตแค่ไหน และอาจรักษาหายได้ภายใน 5 วันเท่านั้น จึงไม่ ส่งผลให้เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของภริยา ไม่เป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 295 แต่ผิดตามมาตรา 391 ให้ปรับ 100 บาท47 ดังนี้ การว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนกันระหว่างสามีภริยา จึงกระทำได้เพียงแค่ใช้กิริยาวาจา จะถึงขั้นลงไม้ล งมือใช้ก ำลังไม่ได้ อนึ่ง หากว่ากล่าวตักเตือนถึงขั้นเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายนั้นมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญาไ ด้ 47 ฎ. 1078/2511 มสธ มส
Search