Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 45 วิจัย_เสาวลักษณ์ กัณหวงศ์_

45 วิจัย_เสาวลักษณ์ กัณหวงศ์_

Published by stabun.dpm, 2022-02-15 04:39:58

Description: 45 วิจัย_เสาวลักษณ์ กัณหวงศ์_

Search

Read the Text Version

49 รายงานการศึกษา เร่อื ง ประสทิ ธผิ ลของการฝก อบรมโครงการเสรมิ สรางศกั ยภาพชมุ ชนดา นการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิ จงั หวดั ตรัง จดั ทาํ โดย นางสาวเสาวลกั ษณ กัณหวงศ รหสั ประจาํ ตัวนกั ศกึ ษา 45 เอกสารฉบับน้ีเปน สว นหนึ่งในการฝกอบรม หลักสตู รนักบริหารงานปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั (นบ.ปภ.) รนุ ที่ 10 วทิ ยาลัยปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย

50ก คาํ นํา เอกสารเชิงวิชาการฉบับนี้ เปนเอกสารประกอบการฝกอบรมหลักสูตรนักบริหารงานปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.) รนุ ที่ 10 วทิ ยาลยั ปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมปองกันและบรรเทา สาธารณภัย การศึกษาในคร้ังน้ี ผูศึกษาไดทําการศึกษาในหัวขอเรื่อง ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการ เสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ จังหวดั ตรัง เนือ่ งจากในปจ จุบนั สถานการณภยั พบิ ัตนิ บั วนั ยิ่งทวีความรนุ แรงขน้ึ เรื่อย ๆ และภัยจากสึนามิ กเ็ ปนภัยพบิ ตั ิประเภทหน่งึ ที่ทําใหเกิดความเสียหายอยางใหญหลวงตอท้ังชีวิตและทรัพยสินของประชาชน ซง่ึ หนวยงานทเ่ี กยี่ วขอ งกับการจัดการภัยพิบัติก็ไดพยายามหาแนวทางในการปองกันและบรรเทาความเสียหาย ใหลดนอยทีส่ ดุ กรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ไดจัดใหมีโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงคเพื่อใหคนในชุมชน/หมูบานในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู ความเขาใจ และตระหนักถึงความสาํ คัญของการมีสวนรวมในการบริหารจัดการสาธารณภัยในเบื้องตน ซง่ึ เปนการเตรียมความพรอมของชมุ ชน/หมูบ าน เพ่ือนําไปสูการเปนชุมชน/หมูบานท่ีเขมแข็ง สามารถพ่ึงพา ตนเองไดในการบริหารจัดการภัยพบิ ัตอิ ยา งตอเนอ่ื งและยั่งยืน การศึกษาเก่ียวกับประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนที่เส่ียงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง สามารถนําไปเปนขอมูลประกอบ เพื่อใหเกิดความรู ความเขาใจ ในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยและกอใหเกิดการตระหนักของ การมีสวนรวมในการฝกซอมแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบาน ใหสามารถรับมือกับ ภยั พบิ ัติที่เกิดขน้ึ ไดอยางมีประสทิ ธผิ ลตอไป เสาวลกั ษณ กัณหวงศ นกั บรหิ ารงานปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.) รุน ที่ 10 มนี าคม 2557

51ข กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภยั กรณศี ึกษา : พ้ืนที่เส่ียงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง ฉบับน้ีสําเร็จลุลวงไปดวยดี โดยไดรับ ความกรณุ าเปน อยา งดจี ากทานอาจารย ดร.ปยวัฒน ขนิษฐบุตร และทานอาจารยวรชพร เพชรสุวรรณ ท่ีไดสละเวลาใหคําปรึกษาและความรู พรอมท้ังตรวจสอบ ปรับปรุง แกไข ขอบกพรองตาง ๆ จึงขอกราบ ขอบพระคุณไวเปนอยางสูง และขอขอบคุณคณะผูบริหาร ผูอํานวยการโครงการ เจาหนาที่โครงการ ผูปฏิบัติงานโครงการ เจาหนาที่ท่ีเกี่ยวของ ผูใหสมั ภาษณทกุ ทา น รวมถึงเพือ่ น ๆ นบ.ปภ.10 ท่ีใหการสนับสนุน ใหค วามรว มมือ และใหความชวยเหลือในการใหข อมลู อนั เปน ประโยชนย ่ิงในการศกึ ษาคร้งั นี้ และสุดทายนี้ ผูศึกษาขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา และบุคคลในครอบครัวที่ใหกําลังใจ และเปน กาํ ลังใจทสี่ าํ คญั ทส่ี ดุ ตลอดมา เสาวลักษณ กณั หวงศ

5ค2 บทสรปุ ผบู รหิ าร การศึกษา ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง เพ่ือศึกษาถึงระดับความรูความเขาใจ ของประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิจากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย และเพื่อศึกษาถึงความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชนในชุมชน/หมูบาน ที่จะสามารถบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบาน ไดด วยตนเองในเบอื้ งตนกอ นท่จี ะไดร บั การชวยเหลือจากหนว ยงานอนื่ หลงั จากทีไ่ ดเขา รบั การฝกอบรม ผลการศึกษาครั้งน้ี พบวา การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและ บรรเทาสาธารณภัยน้นั กอใหเกิดประสิทธิผลในการจดั การความเสีย่ งจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน ไดในระดับหน่ึง เพราะทําใหประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิดังกลาวมีความรู ความเขาใจ ความตื่นตัว และตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญกับการจัดการภัยพิบัติ ประกอบกับการมีความพรอมในดานวัสดุ อุปกรณ และเคร่ืองมือตาง ๆ ภายในชุมชน/หมูบาน ทําใหเกิดการพัฒนาขีดความสามารถหรือศักยภาพ เพมิ่ มากข้นึ ในการจัดการกบั ภยั พิบัติสึนามิท่ีเกิดข้ึนในชุมชน/หมูบานในเบ้ืองตนไดดวยตนเอง ทําใหชุมชน/ หมูบานมีความปลอดภัย เปนชุมชน/หมูบานที่มีความเขมแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองไดกอนที่จะไดรับ ความชวยเหลือจากหนวยงานอื่น ท้ังนี้ เนื่องจากความเสียหายและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติสึนามิ สง ผลกระทบโดยตรงกับประชาชนท้ังตอ ชีวิตและทรัพยส นิ อยางไรก็ตาม ถึงแมวาภัยพิบัติจากสึนามิจะไมไดเกิดข้ึนอีกเลยในพื้นที่ดังกลาวของจังหวัดตรัง มาจนถงึ ปจจบุ ันนีน้ ับจากที่ไดเกิดสึนามิไปแลวเม่ือป 2547 แตภัยพิบัติอื่น ๆ ก็ยังคงเกิดขึ้นเกือบทุก ๆ ป เชน อุทกภัย เปนตน และก็ไดสรางความเดือดรอนและความเสียหายตอประชาชนในพื้นที่ตามระดับของ ความรุนแรงมาโดยตลอด เปนผลทําใหประชาชนก็ยังจําเปนตองหาวิธีรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเพื่อให มคี วามปลอดภยั ในชีวิตและทรัพยสินเชนเดียวกับภัยสึนามิ ดังนั้น การนําเอาความรู ความเขาใจ ที่ไดรับ จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยจากภัยสึนามิ ทั้งในเรอื่ งของพื้นทีเ่ ส่ยี งภยั เสนทางอพยพ และพน้ื ท่ีปลอดภัย รวมถึงหนาทคี่ วามรับผิดชอบของคณะกรรมการ ปองกนั และบรรเทาสาธารณภัยฝายตาง ๆ ท่ีชุมชน/หมูบานไดจัดต้ังข้ึน ประกอบกับความพรอมในดานวัสดุ อุปกรณ และเครื่องมือตาง ๆ ท่ีมีอยูภายในชุมชน/หมูบานมาปรับหรือประยุกตใชกับจัดการภัยพิบัติ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากภัยสึนามิ ผูศึกษาเห็นวา ก็สามารถที่จะนํามาพัฒนาขีดความสามารถหรือ ศักยภาพและนําไปปรับหรือประยุกตใชไดเปนอยางดีเชนกัน ซึ่งถาหากจะวัดคาความคุมทุนระหวาง เงินงบประมาณที่ใชในการฝกอบรมกับการนาํ ไปใชประโยชนในการจัดการภัยพิบัติสึนามิเพียงแคภัยเดียว กค็ งจะไมเกิดความคมุ ทุนอยางแนน อน เพราะระดับความถี่ของการเกิดสึนามิไมไดเกิดข้ึนบอยคร้ังเหมือนกับ ภัยพิบตั ิประเภทอืน่ ดังนั้น โอกาสในการจัดการกับภัยพิบัติสึนามิโดยตรงก็คงมีนอย แตมองวาการฝกอบรม โครงการดังกลาวจะมองกวางครอบคลุมลงไปในแงคุณคาชีวิตของประชาชนเปนหลักมากกวาที่จะมอง ในแงของงบประมาณทไี่ ดจ ายหรอื ลงทนุ ไป จึงกลาวไดว า การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีพื้นท่ีเส่ียงภัยสึนามิ จังหวัดตรังน้ัน กอใหเกิดประสิทธิผล เพราะถอื เปนการลงทนุ ท่ี “ขาดทุนแตก ําไร”

53ง สารบัญ หนา คาํ นํา ก กติ ติกรรมประกาศ ข บทสรุปผูบรหิ าร ค สารบญั ง-จ บทที่ 1 บทนํา 1-4 ความเปนมาของเร่ืองและสถานการณปจจบุ นั 1 เหตผุ ลและความจาํ เปนในการศกึ ษาและคําถามในการวจิ ยั 2 วัตถุประสงคของการศึกษา 2 วธิ ีการและขอบเขตการศึกษา 2 ประโยชนท ี่คาดวาจะไดรบั 4 บทท่ี 2 แนวคดิ ทฤษฎี ระเบียบกฎหมาย และงานวิจัยท่เี ก่ยี วขอ ง 5-20 แนวคดิ เก่ยี วกับประสทิ ธผิ ล 5 แนวคดิ เกีย่ วกับประสทิ ธิผลขององคการ 6 แนวคิดเกีย่ วกับสึนามิ 7 แนวคิดเก่ียวกับโครงการเสรมิ สรา งศกั ยภาพชุมชนดานการปอ งกนั และบรรเทา สาธารณภัย 9 ทฤษฎลี ําดบั ขั้นความตองการของมาสโลว (Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation) 11 ระเบียบกฎหมาย 14 งานวิจยั ท่ีเกี่ยวของ 17 กรอบแนวคิด 20 บทท่ี 3 ระเบยี บวิธวี จิ ัย 21-24 ประชากร 21 ตวั อยาง 23 เคร่อื งมอื ที่ใชในการศกึ ษา 23 การเก็บรวบรวมขอมลู 24 วธิ กี ารประมวลผลและวิเคราะหข อมลู 24 บทที่ 4 การวิเคราะหขอมลู 25-32 ผลการวเิ คราะหข อมลู - ประเด็นที่ 1 กอ นการจดั ฝกอบรม : เม่อื เกดิ สาธารณภัยข้ึนในพ้นื ที่ชมุ ชน/หมูบาน ของทาน มีการจัดการกบั สาธารณภยั ทเี่ กดิ ข้นึ อยา งไร 25

5จ4 สารบญั (ตอ) หนา - ประเด็นท่ี 2 กอนการจัดฝกอบรม : ชมุ ชน/หมูบานของทาน มีคณะกรรมการที่มี หนา ท่ีในการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือไม 26 - ประเดน็ ท่ี 3 ทา นไดรบั ความรู ความเขา ใจ จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรา ง ศกั ยภาพชมุ ชนดานการปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั มากนอยแคไ หนและเร่ืองใดบา ง 27 - ประเดน็ ที่ 4 หลังการจดั ฝกอบรม : ชมุ ชน/หมบู า นของทานมีการจดั ตัง้ คณะกรรมการ ปองกนั และบรรเทาสาธารณภัยจํานวนก่คี ณะ อะไรบาง 27 - ประเด็นที่ 5 ทา นคิดวาแผนการปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั ของชมุ ชน/หมบู าน สามารถนําไปใชประโยชนไดจ ริงหรอื ไม 28 - ประเดน็ ที่ 6 ชุมชน/หมบู า นของทา นมกี ารตดิ ตามเฝาระวังสถานการณและระวงั ภัย ในพ้ืนทีโ่ ดยวิธีใดบา ง 29 - ประเด็นท่ี 7 หากเกดิ ภัยข้นึ ในชุมชน/หมบู า นของทา น ทานมีวิธใี นการแจงเตือนภยั เพอ่ื การเตรียมความพรอมในการปองกันและเตรยี มการอพยพประชาชนโดยวิธใี ด 30 - ประเดน็ ท่ี 8 ชุมชน/หมูบานของทาน ไดจ ัดใหมกี ารฝกซอ มแผนไปแลว บางหรือไม เม่ือใด 30 - ประเด็นที่ 9 ทานมคี วามตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสาํ คญั ตลอดจนความพรอมทจ่ี ะบริหารจัดการภัยพิบตั ิของชุมชน/หมูบา นไดดวยตนเอง หลังจากที่ไดเขา รับการฝกอบรมโครงการเสรมิ สรา งศักยภาพชมุ ชนดานการปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั หรือไม และเพราะสาเหตุอะไร 31 - ประเด็นที่ 10 ทานมีขอคิดเห็น/ขอ เสนอแนะ/ปญหาอปุ สรรค อะไรบา งเกี่ยวกับการ ฝกอบรมโครงการเสริมสรา งศกั ยภาพชมุ ชนดา นการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย 31 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล 33-36 สรุปผลการศึกษา - สรปุ ขอมูลคุณสมบตั ิผตู อบแบบสมั ภาษณ 33 - สรปุ ขอ มลู ตามวตั ถุประสงค 34 การอภปิ รายผล 35 ขอ เสนอแนะ 35 บรรณานกุ รม ภาคผนวก ประวตั ิผูศกึ ษา

บทท่ี 1 บทนาํ ประสทิ ธิผลของการฝกอบรมโครงการเสรมิ สรา งศักยภาพชุมชนดา นการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั กรณีศกึ ษา : พืน้ ทเ่ี สย่ี งภัยสึนามิ จงั หวดั ตรัง 1. ความเปนมาของเรือ่ งและสถานการณปจจุบนั สถานการณภ ยั พิบัติคล่ืนสึนามิท่ีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 สงผลใหมีผูเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นับเปนภัยธรรมชาติที่มีผูเสียชีวิตมากเปนอันดับ 3 ของโลกเทาที่มีการบันทึกไว โดยภัยธรรมชาติที่มีผูเสียชีวิตมากเปนอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผานประเทศบังคลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2513 มีผูเสียชีวิตประมาณ 300,000 คน และภัยทางธรรมชาติท่ีมีผูเสียชีวิตมากเปนอันดับ 2 เกิดจากแผนดินไหวทางภาคตะวันออกเฉียงใต ของประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีผูเสียชีวิตประมาณ 255,000 คน คลื่นสึนามิดังกลาวเริ่มตนขึ้นที่จุดกําเนิดของแผนดินไหวนอกชายฝงดานตะวันตกของ หมเู กาะสมุ าตราในประเทศอนิ โดนเี ซีย แลวเคล่ือนตัวแผขยายไปท่ัวทะเลอันดามันจนถึงชายฝงตะวันออก ของทวีปแอฟริกาดวย รวมประเทศท่ีประสบภัยจากคลื่นสึนามิและมีผูเสียชีวิตในครั้งนั้น 11 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พมา อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในกรณขี องประเทศไทย พิบัติภัยจากคล่ืนสึนามิไดกอใหเกิดความต่ืนตระหนกแกประชาชนท่ัวทั้งประเทศ เพราะมีการสูญเสียท้ังชีวิตและทรัพยสินของผูคนเปนจํานวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต ที่มีพ้ืนท่ีอยูติดกับ ชายฝง ทะเลอนั ดามนั คือ ภเู กต็ พังงา ระนอง กระบ่ี ตรัง และสตูล โดยเฉพาะท่ีจังหวัดพังงา กระบ่ี และ ภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เปนพิบัติภัยทางธรรมชาติท่ีเกิดข้ึนอยางรวดเร็วและรุนแรง โดยไมมีผูใด คาดคดิ มากอน จงึ ไมไ ดม กี ารระมดั ระวงั และปอ งกนั ไวล วงหนา นกั ธรณวี ิทยาใหค วามเห็นวา คลื่นสนึ ามิที่เกดิ ขน้ึ ในทะเลอนั ดามนั คร้ังน้ีมีสาเหตุมาจากแผน เปลือกโลก อินเดียขยับตัวเลื่อนมาทางทิศตะวันออก และมุดลงใตขอบแผนเปลือกโลกยูเรเชีย ทําใหเกิดแผนดินไหว ตามแนวรอยตอของแผนเปลือกโลก ซ่ึงมีลักษณะเปนรอยเลื่อน (fault) ขนาดใหญเปนแนวยาวตั้งแต ทางตะวันออกของพมาและตะวันตกของไทย ลงไปตามแนวของหมูเกาะอันดามันและหมูเกาะนิโคบาร จนถงึ ทางเหนือของเกาะสุมาตรา และเน่ืองจากแผนดินไหวมีความรุนแรงมากถึงระดับ 9.0 ตามมาตราริกเตอร จึงเกิดเปนคลื่นสึนามิแผขยายออกไปโดยรอบในทะเลอันดามันและบางสวนของมหาสมุทรอินเดีย ดังกลาวแลวตอนตน หลังจากที่เกิดเหตุการณภัยพิบัติสึนามิขึ้นเม่ือปลายป พ.ศ. 2547 แลวนั้น สถานการณภัยพิบัติ คลื่นสึนามิก็ยังคงเกิดขึ้นอยางตอเนื่อง เพียงแตระดับความรุนแรงยังไมมากพอที่จะสงผลกระทบ เหมือนเชนเมื่อครั้งที่ผานมา แตจากบทเรียนที่ไดรับในครั้งน้ัน ทําใหประชาชนในพ้ืนที่เส่ียงภัยมีความต่ืนตัว เปนอยางมากท่จี ะปอ งกันตวั เองและครอบครวั ใหร อดพนจากภัยพิบตั ิ

2 การฝกอบรมจึงเปน วธิ กี ารหน่ึงท่จี ะทําใหประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยไดเกิดความรู และความเขาใจ ตลอดจนมีความพรอมในการบริหารจัดการภัยพิบัติที่อาจจะเกิดข้ึนในอนาคตขางหนาตอไปไดอยางมี ประสทิ ธิภาพและประสิทธิผล โดยคนในชุมชน/หมบู า นของตนเอง ดังนั้น จึงมีความจําเปนที่จะตองทําการศึกษาเกี่ยวกับระดับความรูความเขาใจ ความตื่นตัว การตระหนักถึงความจาํ เปนและความสาํ คัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ภายหลังจากท่ีไดรับการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อจะนําไปสูการบริหารจัดการภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยชุมชน/หมูบานของตนเองได อยา งมีประสทิ ธผิ ลตอไป 2. เหตุผลและความจาํ เปน ในการศกึ ษาและคําถามในการวิจยั 2.1 เพ่ือตองการทราบวา ประชาชนในพื้นที่เส่ียงภัยสึนามิดังกลาว ไดรับความรู ความเขาใจ มากนอยแคไหน และมีความต่ืนตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอม ในการบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานดวยตนเองหรือไม และเพราะสาเหตุอะไร ภายหลังจากการ ฝก อบรมโครงการเสรมิ สรางศักยภาพชุมชนดานการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภยั 2.2 คําถามการวิจยั 2.2.1 ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ไดรับความรู ความเขาใจ จากการฝกอบรม โครงการเสรมิ สรางศกั ยภาพชุมชนดา นการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย มากนอยแคไ หน 2.2.2 ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ มีความตื่นตัว และการตระหนักถึงความ จําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของการบริหารจัดการภัยพิบัติในชุมชน/หมูบานดวยตนเอง หรอื ไม และเพราะสาเหตุอะไร 3. วัตถุประสงคของการศกึ ษา 3.1 เพอ่ื ศึกษาถึงระดับความรูความเขาใจของประชาชนในพื้นที่เส่ียงภัยสึนามิ จากการฝกอบรม โครงการเสรมิ สรา งศกั ยภาพชมุ ชนดา นการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย 3.2 เพอ่ื ศึกษาถึงความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอม ของประชาชนในชุมชน/หมูบาน ที่จะสามารถบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง กอ นท่ีจะไดร บั การชว ยเหลือจากหนว ยงานอนื่ หลังจากทไี่ ดเ ขา รบั การฝกอบรม 4. วิธีการและขอบเขตการศึกษา การศึกษาน้ี เปนการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซ่ึงเปนการศึกษาขอมูลจาก เอกสารทีเ่ ก่ยี วขอ ง และรวบรวมขอ มูลการสัมภาษณ (Interviews) จากประชากรกลมุ เปา หมาย 4.1 ขอบเขตดา นเนอ้ื หา ศึกษารายละเอียด พระราชบัญญัติปองกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และคูมือ การจัดการภัยพิบัติสําหรับประชาชน : ตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) ประกอบดวย

3 4.1.1 ความเปนมาในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐานของกรมปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย 4.1.2 การจัดการภัยพิบัติในอดตี และปจ จบุ นั 4.1.3 การจัดการความเสีย่ งจากภยั พิบัตโิ ดยอาศัยชุมชนเปนฐานคอื อะไร 4.1.4 ขั้นตอนของการจดั การความเส่ียงจากภัยพบิ ัตโิ ดยอาศัยชุมชนเปน ฐาน 4.1.5 แผนปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยของชมุ ชน/หมบู าน 4.1.6 การแจงเตือน 4.1.7 ตวั อยางคาํ ประกาศแจง เตอื นภัยพบิ ัติสาํ หรับชุมชน/หมบู าน 4.1.8 การอพยพ 4.1.9 ความรเู กีย่ วกบั สาธารณภยั 4.1.10 การปฐมพยาบาลเบือ้ งตน 4.1.11 การใหความชวยเหลอื ผปู ระสบภยั พิบตั ิ 4.1.12 การเตรียมความพรอ มในระดับครัวเรอื น 4.1.13 ศูนยพ ักพงิ ชว่ั คราวระดับชุมชน/หมูบ า น 4.1.14 สายดว นตา ง ๆ ในประเทศไทย 4.2 ขอบเขตดา นประชากรและพื้นที่ศกึ ษา ประชากรที่ใชในการศึกษาน้ี เปนประชาชนในชุมชน/หมูบานพ้ืนที่เส่ียงภัยสึนามิ หมูท่ี 1-6 ตาํ บลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง จํานวน 6 คน ซึ่งเปนตัวแทนของแตละชุมชน/หมูบาน จากจํานวนประชาชนทง้ั หมด จํานวน 50 คน ประกอบดวย หมูท่ี 1 จํานวน 5 คน หมูท่ี 2 จํานวน 8 คน หมูท่ี 3 จาํ นวน 7 คน หมทู ี่ 4 จํานวน 13 คน หมูที่ 5 จาํ นวน 10 คน และหมทู ี่ 6 จาํ นวน 7 คน ท่ีเขา รบั การ ฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในชวงระหวางวันที่ 17-18 มกราคม 2556 4.3 ขอบเขตดานระยะเวลา ระยะเวลาในการศึกษา 3 เดอื น ต้ังแตเ ดอื นมกราคม – มนี าคม 2557 4.4 ขอบเขตดา นตวั แปร 4.4.1 ตัวแปรอิสระ ไดแก เพศ อายุ สุขภาพ ความพรอมและความตั้งใจตอการจัดการตนเอง และความสามารถในการถา ยทอดความรขู องวทิ ยากร 4.4.2 ตัวแปรตาม ไดแก ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดานการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้นื ท่เี ส่ยี งภยั สึนามิ จงั หวัดตรัง นิยามศพั ท ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสามารถขององคการท่ีกอใหเกิดผลการดําเนินงาน ซ่งึ บรรลตุ ามวตั ถุประสงคหรอื เปา หมายท่วี างไว และสามารถตอบสนองความตอ งการของสงั คม ประสทิ ธิผลขององคก าร หมายถึง สมรรถนะหรือความสามารถขององคการในการบรรลุเปาหมาย ทีไ่ ดก ําหนดไว โดยใชประโยชนจากทรัพยากรอยางคุมคา รักษาไวซ่ึงทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ และไมสราง

4 ความเครียดแกสมาชิก สมาชิกเกิดความพึงพอใจในงาน ทุกคนมีสวนรวมอยางกวางขวางในการกําหนด วัตถุประสงคขององคการ และรับผิดชอบตอปญหาหรือขอยุงยากที่เกิดขึ้น และองคการสวนรวมสามารถ ปรับตัวและพัฒนาเพื่อดํารงอยตู อ ไปได สึนามิ (tsunami) หมายถึง คลื่นทาเรือจะพัดจากทะเลเขาสูฝงอยางรวดเร็วและรุนแรงเกินกวา คนจะวง่ิ หนไี ดทัน จาํ นวนคลื่นท่ีเกิดมีหลายลูกและมีขนาดไมเทากัน เกิดข้ึนในมหาสมุทรแปซิฟก ซึ่งเปน แนวของภูเขาไฟใตนํ้าทะเล เกิดขึ้นไดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน สามารถเคลื่อนตัวสูแมนํ้าท่ีเชื่อม ทะเลและมหาสมทุ รได สึนามิเปน ภัยธรรมชาติท่ีกอใหเกิดความเสียหายอยางมหาศาล เกิดจากการเคล่ือนไหว เปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกบริเวณที่มีนํ้าทะเลจํานวนมหาศาล ทําใหนํ้าทะเลเหนือบริเวณดังกลาวและ บริเวณใกลเคียงมีการไหลเวียนอยางรวดเร็ว กอใหเกิดคล่ืนขนาดใหญบริเวณจุดศูนยกลางและกระจาย ออกไปทุกทิศทาง โครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายถึง โครงการ ท่ีจะชวยเพิ่มทักษะและขีดความสามารถใหกับประชาชนในพ้ืนที่เสี่ยงภัยใหสามารถปองกันและบรรเทา ความเดือดรอนหรือความเสียหายเพื่อลดความสูญเสียทั้งตอชีวิตและทรัพยสินจากสาธารณภัยตาง ๆ ทเ่ี กดิ ข้ึนได 5. ประโยชนทีค่ าดวาจะไดร ับ นําผลการศึกษาเสนอตอประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิดังกลาว เพ่ือใชเปนขอมูลท่ีกอใหเกิดความรู ความเขาใจเกี่ยวกับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และกอใหเกิดการตระหนักของการมีสวนรวมในการ ฝกซอ มแผนปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมบู า นใหสามารถรบั มือกบั ภยั พิบตั ทิ ี่เกดิ ข้ึนได

5 บทท่ี 2 แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบกฎหมาย และงานวิจยั ทเ่ี กยี่ วของ การศึกษาเร่ือง ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง เปนการศึกษาเกี่ยวกับระดับความรู ความเขาใจ ความต่ืนตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชน ในพนื้ ทีเ่ สี่ยงภัยในการบริหารจดั การภัยพิบัติในชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง หลังจากท่ีไดรับการฝกอบรม โครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยแบงเนื้อหาของบทน้ี เปน 7 สวนคอื 1. แนวคิดเกีย่ วกับประสทิ ธิผล 2. แนวคดิ เก่ยี วกบั ประสทิ ธผิ ลขององคการ 3. แนวคิดเก่ยี วกบั สนึ ามิ 4. แนวคดิ เกีย่ วกับโครงการเสริมสรา งศักยภาพชมุ ชนดานการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภยั 5. ทฤษฎีลาํ ดบั ขั้นความตองการของมาสโลว 6. ระเบียบกฎหมาย 7. งานวิจยั ที่เกย่ี วขอ ง รายละเอียดในแตละสวนทีก่ ลา วมาขางตน มีสาระสําคญั ดงั นี้ แนวคดิ เก่ยี วกับประสิทธิผล ภรณี กีรติบุตร รุง แกวแดง และชัยณรงค สุวรรณสาร (อางใน เสาวลักษณ กัณหวงศ, 2552, หนา 7) ไดกลาววา ประสิทธิผล หมายถึง ผลท่ีเกิดขึ้นของงานน้ันจะตองตอบสนองหรือบรรลุตามวัตถุประสงค ขององคก าร ซึ่งสอดคลองกับ สุพจน ทรายแกว ท่ีกลาววา ประสิทธิผล คือ การทํากิจกรรมการดําเนินงาน ขององคกร สามารถสรางผลงานไดสอดรับกับเปาหมาย/วัตถุประสงคท่ีกําหนดไวลวงหนาทั้งในสวนของ ผลผลิตและผลลัพธ เปนกระบวนการเปรียบเทียบผลงานจริงกับเปาหมายท่ีกําหนดไวกอใหเกิดผลผลิต และผลลัพธท่ีตรงตามความคาดหวังท่ีกําหนดลวงหนาไวมากนอยเพียงใด การมีประสิทธิผลจึงมีความ เกย่ี วของกับผลผลิตและผลลัพธ การดาํ เนินงานเปน กระบวนการวดั ผลงานท่เี นนดา นปจ จยั นาํ ออก สวนอรุณ รักธรรม ไดใหแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผลวา เปนความสามารถขององคการที่จะ ดําเนินการใหบรรลุเปาหมาย 4 ประการ คือ ความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันในองคการ (integration) การ ปรับตัวขององคการใหสอดคลองกับสภาพแวดลอม (adaptability) การปรับตัวขององคการใหสอดคลองกับ สังคม (social relevance) และผลผลติ ขององคการ (productivity) Bedeian and Zammuto (อางใน หรรษา สุภาพรเหมินทร, 2548, หนา 11) กลาววา ประสิทธิผล หมายถึง การบรรลุเปาหมายท่ีต้ังไว และทั้งสองยังกลาวอีกวา ประสิทธิผล เปนแนวคิดที่กํากวม แตเปน สิง่ ที่นํามาใชใ นการอางเก่ียวกบั แนวคดิ ทฤษฎีองคกรบอยที่สุด จึงสรุปไดวา ประสิทธิผล หมายถึง การทํา ในสิ่งท่ีถูกตอง ซ่ึงสอดคลองกับแนวคิดของ Lawless ท่ีกลาววา ประสิทธิผล หมายถึง เกณฑท่ีใชวัด วัตถุประสงคตามเปาหมายที่ไดตั้งเอาไววา เม่ือปฏิบัติแลวสามารถบรรลุวัตถุประสงคตามท่ีองคการไดต้ัง เอาไวห รอื ไม

6 จากแนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผลของนักวิชาการที่นํามากลาวถึงพอจะสรุปไดวา ประสิทธิผล หมายถึง ความสามารถขององคการที่กอใหเกิดผลการดําเนินงานซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงคหรือเปาหมายที่วางไว และสามารถตอบสนองความตองการของสังคม แนวคิดเกยี่ วกบั ประสทิ ธิผลขององคก าร Steer (อางใน เสาวลักษณ กัณหวงศ, 2552, หนา 11) กลาววา ประสิทธิผลขององคการ หมายถึง สิ่งทใี่ ชต ัดสินสมรรถนะขององคก ารในการจดั การกับสภาพแวดลอมไดอยางเรียบรอย และประสบความสําเร็จ ในการจัดหาทรัพยากรที่หายากมาใชประโยชน ซึ่งสอดคลองกับ Georgopoulos and Tannenbaum ทกี่ ลาววา ประสิทธิผลขององคการ (organizational effectiveness) คือการท่ีองคการในฐานะเปนระบบ ทางสังคมสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงคไดโดยใชทรัพยากรและหนทางที่มีอยู โดยไมทําใหทรัพยากร และหนทางเสยี หาย และไมสรา งความเครยี ดแกส มาชกิ พิทยา บวรวัฒนา และศริ ิชัย พพิ ัฒนรตั นกุล (อางใน เสาวลักษณ กัณหวงศ, 2552, หนา 11) ไดให แนวคิดเก่ียวกับประสิทธิผลขององคการวา เปนความสามารถขององคการในการบรรลุเปาหมายที่ได กาํ หนดไว โดยใชประโยชนจากทรัพยากรอยางคุมคา รักษาไวซึ่งทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ และไมสราง ความเครียดแกสมาชิก สมาชิกเกิดความพึงพอใจในงาน ทุกคนมีสวนรวมอยางกวางขวางในการกําหนด วัตถุประสงคขององคการและรับผิดชอบตอปญหาหรือขอยุงยากที่เกิดขึ้น และองคการสวนรวมสามารถ ปรับตัวและพัฒนาเพื่อดํารงอยูตอไป สวนกิบสัน และคณะ ไดอธิบายถึงการใชแนวความคิดพื้นฐาน ในทฤษฎีระบบเขามาเปน เครื่องมืออธบิ ายแนวความคดิ เรอื่ งประสทิ ธิผล ทฤษฎรี ะบบจะสามารถอธิบายถึง พฤติกรรมขององคการทั้งภายในและภายนอก การวิเคราะหภายในองคการจะชวยใหเขาใจวาคนภายใน องคการปฏิบัติงานเปนสวนบุคคลและเปนสวนรวมอยางไรและทาํ ไม สวนการวิเคราะหภายนอกองคการ ก็จะชวยใหเขาใจการกระทาํ ขององคก ารซ่ึงสัมพันธกับองคการอ่ืน ๆ ทั้งนี้ ผูบริหารองคการจะตองรับผิดชอบ กับการจัดการกบั พฤตกิ รรมองคก ารทั้งภายในและภายนอกองคการ และพบวาเคร่ืองบงชี้ถึงความมีประสิทธิผล ขององคการควรจะประกอบไปดว ยตัวแปรดังตอไปน้ี คอื 1. ความสามารถในการผลิต (productive) 2. ประสิทธภิ าพ (efficiency) 3. ความพงึ พอใจ (satisfaction) 4. การปรบั ตวั (adaptiveness) 5. การพฒั นา (development) Reddin (อางใน สุเนตร ชาคระธรรม, 2550, หนา 12) ไดกลาววา ประสิทธิผลขององคการสามารถ แบงได 3 ระดับ คือ ระดับองคการ (corporate) ระดับหนวยงาน (departmental) และระดับบุคคล (managerial) ประสทิ ธิผลระดบั องคการ จะเกีย่ วของกับผลประโยชนต อบแทนกําไร ตาํ แหนงในการแขงขัน การ เจริญเติบโตและขยายตัวขององคการ ผลิตภาพความยืดหยุน ตําแหนงทางวิชาการ การพัฒนาบุคคล ความสัมพันธร ะหวา งบุคลากร ความรบั ผิดชอบตอสาธารณะ และความสัมพนั ธกับหนว ยราชการ

7 ประสทิ ธิผลระดบั หนวยงาน เปนเรื่องท่ีหนวยงานในระดับยอยขององคการสามารถทําประโยชน ใหเกดิ แกอ งคการใหญใ นภาพรวมได ประสิทธิผลระดับบุคคล จะเกี่ยวของกับผลประโยชนท่ีเกิดขึ้นจากการดํารงตําแหนงในทาง บรหิ ารของบคุ คลใดบคุ คลหน่ึงโดยเฉพาะ ซ่ึงจากแนวคิดเก่ียวกับ “ประสิทธิผลขององคการ” ของนักวิชาการทั้งหลายที่นํามากลาว พอจะ สรุปไดวา “ประสิทธิผลขององคการ” หมายถึง สมรรถนะหรือความสามารถขององคการในการบรรลุ เปาหมายที่ไดก ําหนดไว โดยใชประโยชนจากทรัพยากรอยางคุมคา รักษาไวซึ่งทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ และไมสรางความเครียดแกสมาชิก สมาชิกเกิดความพึงพอใจในงาน ทุกคนมีสวนรวมอยางกวางขวาง ในการกําหนดวัตถุประสงคขององคการ และรับผิดชอบตอปญหาหรือขอยุงยากท่ีเกิดข้ึน และองคการ สว นรวมสามารถปรับตัวและพฒั นาเพื่อดํารงอยูต อ ไปได แนวคดิ เกี่ยวกับสึนามิ จากการสืบคนขอมูลในคูมือการจัดการภัยพิบัติสําหรับประชาชน : ตามหลักการจัดการความเส่ียง จากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) กรมปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ไดกลาววา สึนามิ (Tsunami) เปนภาษาญ่ีปุน แปลวา คลน่ื ทา เรือจะพัดจากทะเลเขาสูฝงอยางรวดเร็วและรุนแรงเกินกวาคนจะว่ิงหนีไดทัน จํานวนคลื่น ที่เกิดมีหลายลูกและมีขนาดไมเทากัน เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟก ซึ่งเปนแนวของภูเขาไฟใตนํ้าทะเล เกิดข้นึ ไดท้งั ในเวลากลางวนั และกลางคนื สามารถเคลอื่ นตัวสูแมน้ําที่เชื่อมทะเลและมหาสมุทรได สึนามิ เปนภัยธรรมชาติที่กอใหเกิดความเสียหายอยางมหาศาล เกิดจากการเคล่ือนไหวเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก บรเิ วณท่ีมีน้ําทะเลจํานวนมหาศาล ทาํ ใหน าํ้ ทะเลเหนอื บริเวณดงั กลาวและบริเวณใกลเคียงมีการไหลเวียน อยางรวดเร็ว กอใหเกิดคลื่นขนาดใหญบริเวณจุดศูนยกลางและกระจายออกไปทุกทิศทาง สาเหตุหลักของ การเปล่ยี นแปลงเปลือกโลกในปจ จบุ นั มี 4 ประการ คือ 1. แผน ดนิ ไหว 2. ภเู ขาไฟระเบดิ 3. แผน ดนิ ถลม 4. อุกกาบาตพุงชนโลก ซึ่งลักษณะของการเกิดสึนามินั้น โดยปกติหากเปลือกโลกไมมีรอยแตกและเคล่ือนไหวระดับนํ้าทะเล จะขึ้น-ลง ตามแรงดึงดูดของดวงจันทร โลก และดวงอาทิตย แตหากเปลือกโลก 2 ช้ันมีการเคล่ือนไหว เปล่ียนแปลงระดับจากเดมิ ในทิศทางท่ลี ดลงหรือเพ่มิ ขึ้น จะทําใหระดบั น้ําทะเลบริเวณชายฝงมีการเปล่ียนแปลง ลดลงอยางรวดเร็วไปรวมกันท่ีบริเวณจุดที่มีการเปล่ียนแปลงของเปลือกโลก หลังจากน้ันน้ําทะเลจํานวน มหาศาลจะไหลยอนกลับยังชายฝงทุกทิศทาง กอใหเกิดคล่ืนขนาดยักษมีความรุนแรงและรวดเร็วทําลาย ทุกสงิ่ ทก่ี ดี ขวาง คล่ืนสึนามิท่ีซัดเขาชายฝงทะเลในมหาสมุทรแปซิฟกมักเกิดจากแผนดินไหว โดยแผนดินไหวอาจ เกิดขึ้นใกลหรือไกลจากบริเวณชายฝง บางคร้ังกอนเกิดคลื่นสึนามิน้ําบริเวณชายฝงอาจลดลงจนเห็น พื้นมหาสมุทรได คลื่นสึนามิจะมีขนาดใหญมากในบริเวณชายฝงโดยอาจมีความสูงถึง 30 ฟุต (ในครั้งท่ี

8 รายแรงที่สุดเคยสูงถึง 100 ฟุต) นอกจากน้ี ยังเคล่ือนที่ไดรวดเร็วเกินกวาที่คนจะสามารถวิ่งหนีไดทัน คลื่นสึนามิหนึ่งลูกจะประกอบดว ยคลื่นจํานวนหลายระลอก ซ่ึงคล่ืนลูกแรกอาจจะไมใชคลื่นที่มีขนาดใหญ ท่ีสุด และหลงั จากคลน่ื ลูกแรกอาจจะกินเวลาหลายช่ัวโมงจึงจะเกิดคล่ืนลูกตอมา คลื่นสึนามิบางลูกมีพลัง ความแรงมหาศาลสามารถพัดพากอนหินขนาดใหญท่ีมีนํ้าหนักหลายตัน พรอมทั้งเรือและซากปรักหักพัง อ่ืน ๆ ขึ้นมาบนฝงไดในระยะหลายรอยฟุต สามารถซัดถลมบริเวณชายฝงทะเลที่อยูในระดับตํ่าไดท้ังหมด รวมทง้ั สามารถทาํ ลายอาคารบา นเรือน ท่อี ยูอาศยั และทาํ ใหมผี ูบ าดเจบ็ และเสยี ชวี ติ เปน จาํ นวนมาก สิ่งทค่ี วรปฏิบตั ิเมือ่ เกิดคลื่นสึนามิ ในกรณที ่ีอยูบนฝง 1. กรณีที่อยูในโรงเรียนและไดยินเสียงเตือนภัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ จะตองปฏิบัติตามคําแนะนํา ของอาจารย 2. กรณีที่อยูในบานและไดยินเสียงเตือนภัยเก่ียวกับคลื่นสึนามิ ควรแนใจวาสมาชิกในครอบครัว ทั้งหมดไดยินเสียงเตือนภัยน้ัน และถาอยูในบริเวณท่ีอาจจะไดรับอันตรายจากคล่ืนสึนามิควรรีบอพยพ ครอบครัวไปยังสถานทป่ี ลอดภัยนอกเขตอันตราย และควรปฏิบัติตามคําแนะนําของประกาศภาวะฉุกเฉิน ในทอ งถิน่ 3. กรณีท่ีอยูในบริเวณชายหาดหรือใกลมหาสมุทรและรูสึกวาแผนดินส่ันสะเทือน ควรรีบหนีหาง จากชายฝงไปยังพนื้ ท่ที สี่ งู กวาทันทีโดยไมตองรอใหม เี สียงประกาศเตือนภัย เน่ืองจากคลื่นสึนามิที่เกิดจาก แผน ดินไหวในทองถ่ินสามารถโจมตีในบางบริเวณกอนท่ีจะมีการประกาศเตือน และควรอยูหางจากแมน้ํา หรือลาํ ธารทีไ่ หลลงมหาสมุทร 4. คล่ืนสึนามิท่ีเกิดบริเวณสถานท่ีหางไกล ผูคนจะมีเวลาพอท่ีจะอพยพไปอยูบนท่ีสูง แตสําหรับ คลื่นท่ีเกิดภายในเมืองริมชายฝงทะเลจะมีเวลาเพียงไมกี่นาทีที่ผูคนจะหนีไปอยูบนท่ีสูง ดังนั้น ชั้นบนสุด ของโรงแรมหรืออาคารที่มีความสูงหลาย ๆ ช้ันจะเปนสถานท่ีท่ีปลอดภัยและสามารถใชหลบภัยได “คําแนะนําเมื่อมีการเตือนภัยเกี่ยวกับคล่ืนสึนามิ เพ่ือความปลอดภัยควรอยูหางจากบริเวณท่ีตํ่าชายฝง ทะเลใหไกลใหมากที่สุด” ในกรณีที่อยบู นเรอื ในมหาสมุทรเปดจะไมสามารถรับรูเกี่ยวกับการเกิดคลื่นสึนามิ เพราะคลื่นสึนามิจะกอใหเกิด การเปล่ียนแปลงระดับนํ้าอยา งรวดเร็วและเกิดกระแสน้ําท่ีอันตรายซึ่งไมสามารถคาดการณไดเฉพาะบริเวณ ทาเรือและชายฝงทะเลเทาน้ัน ดังนั้น หากมีประกาศเตือนภัยจากสึนามิขณะอยูบนเรือในทะเลจึงไมควร นําเรือกลับเขาฝง แตควรเคล่ือนยายเรือไปอยูบริเวณน้ําลึก สําหรับเรือขนาดเล็กหากมีเวลา วิธีท่ีจะปลอดภัย ที่สดุ คือ จอดเรอื เทียบทา แลวขนึ้ ฝงไปยงั พืน้ ทส่ี ูง “5 จง 5 หา ม” เพอ่ื ความปลอดภัยจากคลืน่ สนึ ามิ ประกอบดวย 5 จง คอื 1. จงฟง ขา วจากทางราชการและส่อื มวลชน หากมคี ําส่งั ใหอ พยพหนีภัยตอ งทําทนั ที 2. จงหนีข้ึนพื้นท่ีสูงทันทีเม่ือไดรับคําเตือน หรือสงสัยวาภัยจากคล่ืนอาจมาถึงตัวพรอมอุปกรณ สิง่ ของจาํ เปน ท่ีเตรยี มไวยามฉุกเฉิน 3. จงหนไี ปใหไ กลจากพ้ืนท่บี ริเวณชายฝง ใหมากที่สุด 4. จงรออยูใ นท่ปี ลอดภัยจนกวาจะมัน่ ใจวาคลนื่ หมดลงแลว จงึ ลงมาจากทหี่ ลบภยั 5. จงมีสติอยูเสมอและไมต น่ื ตระหนกจนเกินไป

9 5 หาม คือ 1. หา มรอแตคําประกาศจากทางราชการ เมื่อพบสัญญาณการเกิดสึนามิ เชน แผนดินไหวครั้งใหญ หรอื นํา้ ทะเลลดระดับฉับพลันใหห นที ันที 2. หา มสรางบานเรือนในบริเวณที่มคี วามเส่ยี งภยั สงู 3. หามประมาท และเตรยี มพรอมรับสถานการณอยูเสมอ 4. หา มลงไปชายหาดเพ่ือดูสึนามิ เพราะเมื่อทานเห็นคลื่นก็แสดงวาคล่ืนอาจจะอยูใกลทานเกินกวา ทจี่ ะหลบหนีทันแลว 5. หามนําเรือเขาฝงเม่ือไดรับวิทยุเตือนภัยคล่ืนสึนามิ ใหลอยตัวอยูในทะเลเพราะคลื่นจะมีขนาดเล็ก เมื่ออยูไกลชายฝงมาก ๆ แนวคดิ เก่ยี วกบั โครงการเสรมิ สรา งศกั ยภาพชุมชนดา นการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย จากการสืบคนขอมลู ทางอิเล็กทรอนิกส ไดกลาววา การเสริมสราง หมายถึง เพิ่มพูนใหดีขึ้นหรือ ม่ันคงย่ิงข้ึน และคําวา ศักยภาพ คือพลังหรือคุณสมบัติที่แฝงอยูในสิ่งตาง ๆ สามารถพัฒนาใหปรากฏ เปนทีป่ ระจักษไ ด คนที่มีศักยภาพคือคนท่ีมีความสามารถซอนอยูภายใน หากไดรับการสงเสริมอยางเต็มที่ และถกู ทาง ความสามารถสูงสุดก็จะปรากฏขน้ึ สว นคําวา สาธารณภัย หมายถงึ ภัยหรืออนั ตราย ที่ทําใหเกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยสินและ สิ่งอน่ื ๆ อยางรุนแรง ประกอบดวยลักษณะดังนี้ 1) ภัยท่ีเกิดขึ้นกับคนหมูมาก 2) อาจเกิดขึ้นไดทุกเวลา หรือทุกสถานที่อยางกะทันหันหรือคอย ๆ เกิดขึ้น 3) เปนอันตรายตอชีวิตและรางกายของประชาชน 4) เกิดความเสียหายแกทรัพยสินของประชาชนหรือรัฐ และ 5) เกิดความตองการในสิ่งจําเปนพื้นฐาน อยา งรีบดวนสําหรับผปู ระสบภัย ซง่ึ สาธารณภัยนั้นสามารถแบงตามลักษณะการเกิดหรือสาเหตุไดเปน 2 ประเภท คือ สาธารณภัยธรรมชาติ และสาธารณภัยจากมนษุ ย ไดแก 1. สาธารณภัยธรรมชาติ (Natural Disaster) เปนสาธารณภัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มักเกิดข้ึน ตามฤดูกาลเปนสวนใหญ แตบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยกะทันหัน กอใหเกิดความเสียหายแกชีวิต รางกาย จิตใจ ทรพั ยสนิ และสงิ่ แวดลอมตาง ๆ ซึง่ ไดแ ก 1.1 อุทกภัย เปนภัยอันเกิดจากภาวะน้าํ ทวมจากพายุ ฝนตกหนัก พายุหมุน การทําลายปา การทรุดตวั ของดิน ลักษณะอาจเปนนํา้ ทว มเฉียบพลันหรือแบบคอ ยเปนคอยไป 1.2 วาตภัย คือภัยท่ีเกิดจากแรงลมและพายุ สามารถแบงลักษณะของวาตภัยไดตามความเร็วลม สถานท่ีที่เกดิ วาตภัย เชน พายฟุ า คะนอง พายดุ ีเปรสชนั่ พายโุ ซนรอน พายุไตฝ ุน 1.3 อัคคีภัย คือภัยที่เกิดจากเพลิงไหม เปนภัยท่ีกอใหเกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพยสิน มีแนวโนม ในการเกดิ ขน้ึ บอยและสรา งความสญู เสยี มากขึน้ ทกุ ป 1.4 อากาศหนาวผิดปกติ เชน ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งมี ภูมิประเทศเปน ทีร่ าบสงู ประกอบกับไดรับอิทธพิ ลจากลมมรสุม ทพ่ี ดั พาความหนาวเย็นจากจีน เขาสูพ้ืนท่ี ดงั กลาว ทาํ ใหประชาชนทีอ่ ยูบรเิ วณหบุ เขา และเชงิ เขาไดรับความหนาวเย็น ซ่ึงพบวาในบางปของฤดูหนาว จะมอี ณุ หภูมิต่ํามาก

10 1.5 ภัยแลง เปน ภัยทที่ าํ ใหเ กิดความอดอยาก ขาดแคลน เน่ืองจากการขาดน้ํา ในประเทศไทย มักเกดิ จากขาดฝน ความแหง แลง ของพ้นื ท่ีกอใหเ กดิ ผลเสียในการผลิตผลทางการเกษตร 1.6 แผน ดินถลม ในประเทศไทยมกั พบแผนดินถลมเกิดขึ้นเนื่องจากมีฝนตกหนักมาก เกิดจาก ดินบริเวณภูเขาอุมนํ้าไวจนเกิดการอ่ิมตัว และไมสามารถอุมนํ้าไวไดอีกจึงพังทลายลงมา ซึ่งสวนมากจะเกิด พรอ มกบั อทุ กภยั 1.7 การระบาดของโรค เชน อหวิ าตกโรค โรคฉห่ี นู 1.8 ภัยจากฝงู สตั วและแมลง 2. สาธารณภยั จากมนุษย เปนสาธารณภยั ทเ่ี กิดจากการกระทาํ ของมนษุ ย โดยอาจเกิดจากส่ิงประดิษฐ ของมนุษย ทป่ี ระดิษฐเ พอ่ื ความสขุ สบาย หรอื เพือ่ ประหตั ประหารกนั เชน 2.1 ภยั จากการจราจร ไดแก ทางอากาศ ทางบก ทางนํ้า ทางราง 2.2 ภัยจากการประกอบอาชีพ ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เชน อุบัติเหตุจากการ ใชเคร่ืองมอื เคร่ืองจักร อุบัติเหตุจากความรอน อุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากความไมเปนระเบียบ เปนตน 2.3 ภยั จากความไมสงบของประเทศ เชน การจลาจล การปฏิวตั ิ การกอวินาศกรรม การกอการราย สงคราม ซ่ึงผลที่ทาํ ใหเกิดสาธารณภัยจากสงคราม จะรุนแรงหรือไมขึ้น อยูกับผลรายของอาวุธที่นํามา ประหตั ประหารกัน เชน นิวเคลยี ร เช้อื โรค หรอื สารเคมี เปนตน 2.4 ภัยจากไฟฟา อัคคีภัย ทําใหเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากแผลไหม ความรอน ควันไฟ การขาดอากาศ 2.5 ภัยจากวตั ถุอันตราย ไดแก ภัยจากวัตถุอันตรายท่ีใชในอุตสาหกรรม การเกษตร สาธารณสุข อปุ โภค 2.6 ภัยจากความเจริญทางเทคโนโลยี ความเจริญกาวหนาดังกลาว จะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น เม่ือเกิดสาธารณภัย เชน เม่ือเกิดไฟไหมของอาคารสูง ระบบการเคลื่อนยายยอมชา และมีความยุงยาก ซับซอนกวาอาคารปกติ รวมทั้งเกิดพิษจากสารเคมีที่ใชกับเฟอรนิเจอรของอาคาร หรือแมกระทั่ง เคร่ืองใชประจําสํานักงาน เชน คอมพิวเตอร นํ้ายาลบคําผิด ฯลฯ การมีมาตรการความปลอดภัยท่ีดี ก็อาจจะ เปนความเสี่ยงเมอ่ื เกดิ สาธารณภยั เชน ประตูทีใ่ ชระบบเปดปด อัตโนมตั ิ หรอื ลฟิ ทท ข่ี ดั ของ สรุปไดว า สาธารณภัย หมายถึง ภัยหรอื อนั ตรายทเ่ี กิดข้ึนกับคนหมูมากในทุกเวลาหรือทุกสถานท่ี อาจเกิดขน้ึ อยา งกะทันหันหรือคอย ๆ เกิดขึ้นก็ได มีทั้งภัยท่ีเกิดข้ึนเองตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นจากมนุษย เม่ือเกิดขึ้นแลวทาํ ใหเกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยสิน และสิ่งอื่น ๆ อยางรุนแรง เกิดความตองการ ในส่ิงจําเปนพ้นื ฐานอยา งรีบดว นสาํ หรับผปู ระสบภยั ซึ่งจากแนวคิดเกี่ยวกับ “การเสริมสราง ศักยภาพ และ สาธารณภัย” ท่ีไดใหไว ผูศึกษาจึงพอ สรุปไดว า “โครงการเสรมิ สรางศกั ยภาพชมุ ชนดา นการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย” หมายถึง โครงการ ท่ีจะชวยเพ่ิมทักษะและขีดความสามารถใหกับประชาชนในพื้นที่เส่ียงภัยใหสามารถปองกันและบรรเทา ความเดือดรอนหรือความเสียหายเพื่อลดความสูญเสียทั้งตอชีวิตและทรัพยสินจากสาธารณภัยตาง ๆ ท่ีเกิดข้นึ ได

11 ทฤษฎลี าํ ดบั ขน้ั ความตองการของมาสโลว (Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation) Maslow กลา ววา พฤติกรรมของมนุษยเปนจํานวนมากสามารถอธิบายโดยใชแนวโนมของบุคคล ในการคนหาเปาหมายท่ีจะทําใหชีวิตของเขาไดรับความตองการ ความปรารถนา และไดรับสิ่งที่มีความหมาย ตอตนเอง เพราะมนษุ ยเ ปน “สัตวท่ีมีความตองการ” (wanting animal) และเปนการยากท่ีมนุษยจะไป ถึงขั้นของความพึงพอใจอยางสมบูรณ น่ันคือ เม่ือบุคคลใดปรารถนาที่จะไดรับความพึงพอใจ และบุคคล น้นั ไดรับความพึงพอใจในส่งิ หน่งึ แลว กจ็ ะยังคงเรยี กรองความพงึ พอใจส่ิงอ่ืน ๆ ตอไป ถือเปนคุณลักษณะ ของมนุษยผูที่มีความตองการจะไดรับสิ่งตาง ๆ อยูเสมอ ซึ่งความปรารถนาของมนุษยนั้นมีติดตัวมาแตกําเนิด และจะเรยี งลําดับขัน้ ของความปรารถนาต้งั แตขนั้ แรกไปสูความปรารถนาขนั้ สงู ขนึ้ ไปเปน ลาํ ดับ ลําดับขั้นความตองการของมนุษย (The Need-Hierarchy Conception of Human Motivation) มาสโลว (Maslow) ไดจัดเรียงลําดับความตองการของมนุษยจากขั้นตนไปสูความตองการขั้นตอไป ไวเปนลาํ ดบั ดังน้ี 1. ความตองการทางดา นรา งกาย ( Physiological needs ) 2. ความตอ งการความปลอดภยั ( Safety needs ) 3. ความตอ งการความรักและความเปน เจา ของ ( Belongingness and love needs ) 4. ความตอ งการไดรบั ความนับถือยกยอง ( Esteem needs ) 5. ความตอ งการทจี่ ะเขา ใจตนเองอยางแทจริง ( Self-actualization needs ) มาสโลว (Maslow ) กลาววาความตองการท่ีอยูในข้ันตํ่าสุดจะตองไดรับความพึงพอใจเสียกอน บุคคลจึงจะสามารถผา นพนไปสูความตอ งการทอี่ ยใู นขน้ั สงู ขนึ้ ตามลําดับ 1. ความตองการทางรางกาย ( Physiological needs ) เปนความตองการข้ันพื้นฐานที่มีอํานาจ มากที่สุดและสังเกตเห็นไดชัดท่ีสุด จากความตองการท้ังหมดเปนความตองการท่ีชวยการดํารงชีวิต ไดแก ความตองการอาหาร น้ําดื่ม ออกซิเจน การพักผอนนอนหลับ ความตองการทางเพศ ความตองการความ อบอุน ตลอดจนความตองการที่จะถูกกระตุนอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของรางกายเหลาน้ีจะเก่ียวของโดยตรง กับความอยูรอดของรางกายและของอินทรีย ความพึงพอใจที่ไดรับในข้ันนี้จะกระตุนใหเกิดความตองการ ในขัน้ ท่สี ูงกวา และถา บคุ คลใดประสบความลมเหลวท่ีจะสนองความตองการพ้ืนฐานน้ีก็จะไมไดรับการกระตุน ใหเกิดความตองการในระดับที่สูงขึ้น อยางไรก็ตาม ถาความตองการอยางหน่ึงยังไมไดรับความพึงพอใจ บุคคลกจ็ ะอยภู ายใตค วามตอ งการน้นั ตลอดไป ซึ่งทําใหความตองการอื่น ๆ ไมปรากฏหรือกลายเปนความ ตองการระดับรองลงไป เชน คนทีอ่ ดอยากหิวโหยเปน เวลานานจะไมส ามารถสรางสรรคส ิ่งที่มีประโยชนตอ โลกได บคุ คลเชน น้จี ะหมกมุนอยกู บั การจัดหาบางส่ิงบางอยางเพ่ือใหมีอาหารไวรับประทาน บุคคลเหลาน้ี จะมีความรูสึกเปนสุขอยางเต็มที่เมื่อมีอาหารเพียงพอสําหรับเขาและจะไมตองการส่ิงอื่นใดอีก ชีวิติของเขา กลา วไดว าเปน เร่ืองของการรับประทาน สงิ่ อ่นื ๆ นอกจากน้ีจะไมมีความสําคัญไมวาจะเปนเสรีภาพ ความรัก ความรูสึกตอชุมชน การไดรับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเชนนี้มีชีวิตอยูเพื่อที่จะรับประทาน เพียงอยางเดียวเทานั้น ตัวอยาง การขาดแคลนอาหารมีผลตอพฤติกรรม ไดมีการทดลองและการศึกษา ชีวประวัตเิ พ่ือแสดงวา ความตองการทางดานรางกายเปนเรื่องสําคัญท่ีจะเขาใจพฤติกรรมมนุษย และไดพบผล วาเกิดความเสียหายอยางรุนแรงของพฤติกรรมซ่ึงมีสาเหตุจากการขาดอาหารหรือนํ้าติดตอกันเปนเวลานาน ตัวอยางคือ เม่ือสงครามโลกคร้ังที่ 2 ในคาย Nazi ซึ่งเปนท่ีกักขังเชลย เชลยเหลานั้นจะละท้ิงมาตรฐาน

12 ทางศีลธรรมและคานิยมตาง ๆ ท่ีเขาเคยยึดถือภายใตสภาพการณปกติ เชน ขโมยอาหารของคนอ่ืน หรือ ใชวิธีการตาง ๆ ที่จะไดรับอาหารเพ่ิมขึ้น อีกตัวอยางหนึ่งในป ค.ศ. 1970 เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝงอาวอเมริกาใตผูที่รอดตายรวมทั้งพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยูรอดโดย การกินซากศพของผทู ต่ี ายจากเคร่ืองบินตก จากปรากฏการณนี้ช้ีใหเห็นวาเมื่อมนุษยเกิดความหิวข้ึน จะมี อิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไมตองสงสัยเลยวามนุษยมีความตองการทางดานรางกายเหนือ ความตองการอ่ืน ๆ และแรงผลักดันของความตองการน้ีไดเกิดขึ้นกับบุคคลกอนความตอ งการอื่น ๆ 2. ความตองการความปลอดภัย (Safety needs) เม่ือความตองการทางกายภาพไดรับการตอบสนอง ในระดับที่พอเพียง ความตองการความม่ันคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถาไมมีความปลอดภัย ทางรางกาย (จากสาเหตุ เชน อาชญากรรม สงคราม การกอการราย ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือ ความรุนแรง ในครอบครัว) คนอาจมีอาการของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดท่ีสะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) และอาจมีสงผานความเครียดนี้ไปยังคนรุนหลังได ถาไมมีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เชน วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ การขาดโอกาสทางการงาน) ความตองการความม่ันคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฏออกมาในรูปของการนิยมงานที่มีความมั่นคง กระบวนการรองทุกขเพ่ือปกปองบุคคลจาก การกลั่นแกลงของผูบังคับบัญชา หรือ ปกปองบัญชีเงินฝาก เรียกรองนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตตาง ๆ การเรียกรองที่พักที่เหมาะสมสําหรับคนพิการ เปนตน ความตองการความม่ันคงปลอดภัย รวมถงึ 2.1 ความมั่นคงปลอดภยั สว นบคุ คล 2.2 ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงนิ 2.3 สขุ ภาพและความเปนอยู 2.4 ระบบรบั ประกัน-ชว ยเหลอื ในกรณีของอุบัตเิ หตุ/ความเจบ็ ปวย 3. ความตองการความรักและความเปนเจาของ (Belongingness and Love needs) ความตองการ ความรักและความเปนเจาของเปนความตองการขั้นที่ 3 ความตองการน้ีจะเกิดข้ึนเมื่อความตองการทางดาน รางกายและความตองการความปลอดภัยไดรับการตอบสนองแลว บุคคลตองการไดรับความรักและ ความเปน เจาของโดยการสรางความสัมพันธกับผูอื่น เชน ความสัมพันธภายในครอบครัวหรือกับผูอ่ืน สมาชิก ภายในกลมุ จะเปน เปา หมายสําคัญสําหรับบุคคล กลาวคือ บุคคลจะรูสึกเจ็บปวดมากเมื่อถูกทอดทิ้งไมมีใคร ยอมรับหรือถูกตัดออกจากสังคม ไมมีเพ่ือน โดยเฉพาะอยางย่ิงเมื่อจํานวนเพื่อน ๆ ญาติพ่ีนอง สามีหรือภรรยา หรือลูก ๆ ไดลดนอยลงไป นักเรียนที่เขาโรงเรียนที่หางไกลบานจะเกิดความตองการเปนเจาของอยางยิ่ง และจะแสวงหาอยา งมากท่ีจะไดร บั การยอมรบั จากกลุม เพือ่ น 4. ความตองการไดรับความนับถือยกยอง ( Self-Esteem needs) เม่ือความตองการไดรับความรัก และการใหความรักแกผูอื่นเปนไปอยางมีเหตุผลและทําใหบุคคลเกิดความพึงพอใจแลว พลังผลักดัน ในขนั้ ที่ 3 กจ็ ะลดลงและมคี วามตองการในขั้นตอไปมาแทนที่ กลาวคือมนุษยตองการที่จะไดรับความนับถือ ยกยองออกเปน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเปนความตองการนับถือตนเอง (self-respect) สวนลักษณะที่ 2 เปน ความตอ งการไดร บั การยกยองนับถือจากผอู ืน่ (esteem from others) 4.1 ความตองการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความตองการมีอํานาจ มีความเช่ือมั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธ์ิไมตองพึ่งพาอาศัยผูอ่ืน และมีความเปนอิสระ ทุกคน ตองการท่จี ะรสู ึกวาเขามีคณุ คาและมีความสามารถท่ีจะประสบความสาํ เร็จในงานภารกิจตาง ๆ และมีชีวิต ที่เดนดงั

13 4.2 ความตองการไดรับการยกยองนับถือจากผูอื่น (esteem from others) คือ ความตองการ มเี กียรติยศ การไดรับยกยอง ไดรับการยอมรับ ไดรับความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเปนที่กลาวขาน และเปนทีช่ ่นื ชมยนิ ดี มีความตอ งการที่จะไดรับความยกยอ งชมเชยในสิง่ ทีเ่ ขากระทําซึ่งทําใหรูสึกวาตนเอง มีคุณคาวาความสามารถของเขาไดรับการยอมรับจากผูอื่น ความตองการไดรับความนับถือยกยองก็เปน เชนเดียวกับธรรมชาติของลําดับช้ันในเรื่องความตองการดานแรงจูงใจตามทัศนะของ Maslow ในเรื่องอื่น ๆ ทเ่ี กิดข้นึ ภายในจิตน่ันคือ บุคคลจะแสวงหาความตองการไดรับการยกยองก็เม่ือภายหลังจาก ความตองการ ความรักและความเปนเจาของไดรับการตอบสนองความพึงพอใจของเขาแลว และ Maslow กลาววามัน เปนสิ่งที่เปนไปไดที่บุคคลจะยอนกลับจากระดับขั้นความตองการในขั้นที่ 4 กลับไปสูระดับขั้นที่ 3 อีก ถาความตองการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคลไดรับไวแลวนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดงั ตัวอยางที่ Maslow นาํ มาอา งคือหญิงสาวคนหนึ่งซ่ึงเธอคิดวาการตอบสนองความตองการความรักของ เธอไดด าํ เนินไปดว ยดีแลว เธอจึงทุม เทและเอาใจใสในธุรกิจของเธอ และไดประสบความสําเร็จเปนนักธุรกิจ ทมี่ ชี อ่ื เสยี งและอยา งไมคาดฝน สามีไดผ ละจากเธอไป ในเหตุการณเชนน้ีปรากฏวาเธอวางมือจากธุรกิจตาง ๆ ในการท่ีจะสงเสริมใหเธอไดรับความยกยองนับถือและหันมาใชความพยายามที่จะเรียกรองสามีใหกลับคืนมา ซึ่งการกระทําเชนน้ีของเธอเปนตัวอยางของความตองการความรักซึ่งครั้งหน่ึงเธอไดรับแลว และถาเธอไดรับ ความพงึ พอในความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเก่ียวของในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ความพึงพอใจ ของความตองการไดรับการยกยองโดยทั่ว ๆ ไป เปนความรูสึกและทัศนคติของความเช่ือมั่นในตนเอง ความรสู กึ วาตนเองมีคณุ คา การมีพละกาํ ลัง การมคี วามสามารถ และความรูสึกวามีชีวิตอยูอยางมีประโยชน และเปนบุคคลที่มีความจาํ เปนตอโลก ในทางตรงกันขามการขาดความรูสึกตาง ๆ ดังกลาวนี้ยอมนําไปสู ความรูสึกและทัศนคติของปมดอยและความรูสึกไมพอเพียง เกิดความรูสึกออนแอและชวยเหลือตนเองไมได ส่ิงตาง ๆ เหลา น้ีเปนการรับรตู นเองในทางนิเสธ (negative) ซึ่งอาจกอใหเกิดความรูสึกขลาดกลัวและรูสึก วาตนเองไมมีประโยชนและสิ้นหวังในส่ิงตาง ๆ ท่ีเก่ียวของกับความตองการของชีวิต และประเมินตนเอง ตํา่ กวาชวี ติ ความเปน อยกู บั การไดร บั การยกยองและยอมรบั จากผอู ่นื อยา งจริงใจมากกวาการมีช่ือเสียงจาก สถานภาพหรือการไดรับการประจบประแจง การไดรับความนับถือยกยองเปนผลมาจากความเพียรพยายาม ของบุคคล และความตองการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นไดถาบุคคลนั้นตองการคําชมเชยจากผูอ่ืนมากกวา การยอมรับความจริงและเปนที่ยอมรับกันวาการไดรับความนับถือยกยองมีพ้ืนฐานจากการกระทําของบุคคล มากกวา การควบคมุ จากภายนอก 5. ความตองการท่ีจะเขาใจตนเองอยางแทจริง (Self-Actualization needs) ถึงลําดับข้ันสุดทาย ถา ความตองการลําดบั ขั้นกอน ๆ ไดท าํ ใหเ กิดความพึงพอใจอยางมีประสิทธิภาพ ความตองการเขาใจตนเอง อยางแทจริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบายความตองการเขาใจตนองอยางแทจริงวาเปนความปรารถนา ในทุกส่ิงทุกอยางซงึ่ บคุ คลสามารถจะไดรับอยางเหมาะสม บุคคลที่ประสบผลสําเร็จในข้ันสูงสุดนี้จะใชพลัง อยางเต็มที่ในสิ่งท่ีทาทายความสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทาํ พฤติกรรมตรงกับความสามารถของตน กลาวโดยสรุป การเขาใจตนเอง อยางแทจริงเปนความตองการอยางหน่ึงของบุคคลที่จะบรรลุถึงจุดสูงสุดของศักยภาพ เชน “นักดนตรีก็ ตองใชความสามารถทางดานดนตรี ศิลปนก็จะตองวาดรูป กวีจะตองเขียนโคลงกลอน ถาบุคคลเหลาน้ีได บรรลุถงึ เปา หมายท่ตี นตงั้ ไวก เ็ ช่อื ไดวาเขาเหลา นัน้ เปน คนท่ีรูจ กั ตนเองอยางแทจริง” Maslow ( 1970 : 46)

14 ตามทฤษฎีลําดับข้ันความตองการของมาสโลว (Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation) เมื่อไดนํามาปรับใชกับการศึกษาเรื่อง “ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง” ผูศึกษาเห็นวา การศกึ ษาเรอ่ื งนม้ี คี วามสอดคลองตามหลกั ทฤษฎีลาํ ดับขัน้ ความตองการของ Maslow และสําหรับกรณีท่ี ไดนาํ เสนอนี้เห็นวา ลําดับขั้นความตองการลําดับแรกจะเปนในเรื่องของลําดับขั้นความตองการที่ 2 คือความตองการความปลอดภัย (Safety needs) เพราะเม่ือคนเราประสบกับสาธารณภัยไมวาจะเล็ก หรือใหญ ทกุ ๆ คนยอ มตอ งการที่จะใหต นเองอยูรอดปลอดภัยจากสาธารณภัยน้ัน ๆ และเม่ือผูประสบภัย เหลาน้ันไดรับการตอบสนองความตองการในขั้นนี้อยางพึงพอใจแลวก็อาจจะเกิดลําดับขั้นความตองการ ในขนั้ อืน่ ตอไป แตอ ยางไรกต็ าม ผศู ึกษามีความเหน็ เกีย่ วกบั คํากลาวของ Maslow ท่ีวาความตองการของ มนษุ ยในขั้นต่าํ สุดจะตอ งไดรับความพึงพอใจเสียกอน บุคคลจึงจะสามารถผานพนไปสูความตองการท่ีอยูใน ขั้นสูงข้ึนตามลําดับ ซ่ึงเห็นวาลําดับขั้นความตองการของมนุษยก็ไมจําเปนท่ีจะตองเร่ิมขึ้นตั้งแตข้ันแรก ไปสูความตองการข้ันสูงตามลําดับเสมอไป เน่ืองจากจะตองดูตามสภาวะของเหตุการณที่เกิดขึ้นวาเปน เหตุการณท่ีเปนไปโดยปกติหรือไมเปนไปโดยปกติ และสําหรับกรณีท่ีนําเสนอนี้ ผูศึกษาเห็นวาเปนกรณีท่ี ไมเ ปนไปโดยปกติ ดงั นัน้ ลาํ ดับข้นั ความตอ งการจงึ ไมจําเปน จะตอ งเริ่มตน ข้นึ ตัง้ แตข ัน้ แรก ระเบียบกฎหมาย 1. พระราชบัญญัติปองกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 (กรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย. 2550) พระราชบัญญัติปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ไดประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลม 124 ตอนที่ 52 ก วันที่ 7 กันยายน 2550 โดยมีผลใชบังคับตั้งแตวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 เปนตนไป โดย (มาตรา 2) กําหนดใหใชบังคับเมื่อพนกําหนดหกสิบวันนับแตวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เปนตน ไป มสี าระสําคัญดังนี้ คือ ขอบเขตของพระราชบัญญัติดังกลาว (มาตรา 3) กลาวถึง การดําเนินการ ปองกนั และบรรเทาสาธารณภัยครอบคลุมเรื่องอุบัติภัยและอัคคีภัย โดยยกเลิกพระราชบัญญัติปองกันภัย ฝายพลเรอื น พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติปองกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 (มาตรา 4) “สาธารณภัย” หมายความวา อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแลง โรคระบาดในมนุษย โรคระบาดสัตว โรคระบาดสัตวนํ้า การระบาดของศตั รพู ืช ตลอดจนภัยอ่นื ๆ อันมผี ลกระทบตอสาธารณชน ไมวาเกิดจากธรรมชาติ มีผูทําให เกิดขนึ้ อุบตั เิ หตุ หรอื เหตุอ่ืนใด ซง่ึ กอ ใหเกิดอนั ตรายแกชีวิต รางกายของประชาชน หรือความเสียหายแก ทรัพยสินของประชาชน หรือของรัฐ และใหหมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการกอวินาศกรรมดวย “ภัยทางอากาศ” หมายความวา ภยั อนั เกดิ จากการโจมตีทางอากาศ “การกอวินาศกรรม” หมายความวา การกระทาํ ใด ๆ อันเปนการมุงทาํ ลายทรัพยสินของประชาชนหรือของรัฐ หรือส่ิงอันเปนสาธารณูปโภค หรือการรบกวน ขัดขวางหนวงเหน่ียวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษรายตอบุคคลอันเปนการ กอใหเกิดความปนปวนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ โดยมุงหมายที่จะกอใหเกิด ความเสียหายตอความมั่นคงของรัฐ องคกรปกครองสวนทองถิ่นแหงพื้นที่ในพระราชบัญญัติฉบับน้ี หมายความวา องคการบริหารสวนตําบล เทศบาล เมืองพัทยา และองคกรปกครองสวนทองถิ่นอื่นท่ีมีกฎหมาย จดั ตัง้ แตไมหมายความรวมถงึ องคการบริหารสวนจังหวัดและกรุงเทพมหานคร และหนวยงานกลางของรัฐ

15 ในการดําเนินการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 11) ใหกรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย เปนหนวยงานกลางของรัฐ ในการดาํ เนินการเก่ียวกับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ โดยมีอาํ นาจหนาที่จัดทําแผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยแหงชาติ จัดใหมีการศึกษาวิจัยเพื่อ หามาตรการในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยใหมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ใหการสนับสนุน และชวยเหลือหนวยงานของรัฐ องคกรปกครองสวนทองถ่ิน และหนวยงานภาคเอกชน ในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และใหการสงเคราะหเบ้ืองตนแกผูประสบภัย ผูไดรับภยันตราย หรือผูไดรับความเสียหายจากสาธารณภัย พรอมทั้งแนะนํา ใหคําปรึกษา และอบรมเกี่ยวกับการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยแกหนวยงานของรัฐ องคกรปกครองสวนทองถิ่น และหนวยงานภาคเอกชน และติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินการตามแผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในแตละระดับ ไดมีการจัดใหมีศูนยปองกันและบรรเทาสาธารณภัยข้ึนในบางจังหวัดตามความจาํ เปน เพอื่ ปฏบิ ตั งิ านในจงั หวัดน้ันและจังหวัดใกลเคียง พรอมท้ังจัดใหมีสํานักงานปองกันและบรรเทาสาธารณภัย จงั หวดั ขึ้น เพ่ือกํากับดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัดหรือตามท่ี ผูอํานวยการจังหวัดมอบหมายก็ได (มาตรา 11) โดยใหศูนยปองกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเดิมเปน ศูนยปองกันและบรรเทาสาธารณภัยตาม พ.ร.บ. นี้ (มาตรา 57) กําหนดใหมีแผนการปองกันและบรรเทา สาธารณภัยในระดับตาง ๆ คือ แผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยแหงชาติ โดยกําหนดแนวทาง มาตรการ งบประมาณ ในการดําเนนิ การปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยอยางเปนระบบและตอเน่ือง และ แนวทาง วิธีการในการใหค วามชวยเหลือและบรรเทาความเดือดรอนของรัฐและองคกรปกครองสวนทองถิ่น ที่รับผิดชอบ การเตรียมความพรอมดานบุคลากร อุปกรณ และเครื่องมือเครื่องใช และจัดระบบการปฏิบัติการ ปองกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการฝกบุคลากรและประชาชน แนวทางในการซอมแซม บูรณะ และ ฟน ฟูเพื่อใหห นว ยงานของรัฐและองคกรปกครองสวนทองถ่ินที่เก่ียวของปฏิบัติ (มาตรา 11 และมาตรา 12) แผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตองมีความสอดคลองกับแผนการปองกันและบรรเทา สาธารณภัยแหงชาติ และมีสาระสําคัญ (มาตรา 16 และมาตรา 17) คือมีการจัดต้ังศูนยอํานวยการเฉพาะ กิจเม่อื เกิดสาธารณภัยขึน้ โครงสรางและผูม อี ํานาจสง่ั การดานตาง ๆ ในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย มแี ผนและขั้นตอนขององคกรปกครองสวนทองถิ่น ในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ เคร่ืองมือเคร่ืองใช และยานพาหนะ เพ่อื ใชใ นการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย มแี ผนและขั้นตอนขององคก รปกครองสวนทองถิ่น ในการจัด ใหมีเครื่องหมายสัญญาณหรือส่ิงอื่นใด ในการแจงใหประชาชนไดทราบถึงการเกิดหรือจะเกิดสาธารณภัย มีแผนปฏิบัติการในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน และแผนการ ประสานงานกับองคการสาธารณกุศล แผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ซึ่ง แผนดังกลาวจะตองสอดคลองกับแผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยแหงชาติ และมีสาระสําคัญ (มาตรา 33 และ 34) คือมีการจัดต้ังศูนยอํานวยการเฉพาะกิจเม่ือเกิดสาธารณภัยข้ึน โครงสราง และผูมีอํานาจ สั่งการดานตาง ๆ ในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย มีแผนและขั้นตอนในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ เครื่องมือเคร่ืองใช และยานพาหนะเพื่อใชในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย มีเครื่องหมายสัญญาณ หรือส่ิงอื่นใดในการแจงใหประชาชนไดทราบถึงการเกิดหรือจะเกิดสาธารณภัย มีแผนปฏิบัตกิ ารในการ ปอ งกันและบรรเทาสาธารณภยั ในเขตกรงุ เทพมหานคร และแผนการประสานงานกบั องคการสาธารณกุศล ในเขตกรุงเทพมหานคร (มาตรา 31) กําหนดใหมีการบัญชาการตามความรุนแรงของการเกิดสาธารณภัย

16 คอื กรณีเกิดสาธารณภยั รา ยแรงอยางยง่ิ ใหน ายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย เปน ผูบญั ชาการ โดยมรี ฐั มนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย เปนผูบัญชาการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย แหงชาติ มีอาํ นาจควบคุมและกาํ กับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยท่ัวราชอาณาจักรใหเปนไปตาม แผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยแหงชาติ และมีอํานาจบังคับบัญชาและสั่งการผูอํานวยการ รองผูอํานวยการ ผูชวยผูอํานวยการ เจาพนักงาน และอาสาสมัครไดทั่วราชอาณาจักร (มาตรา 13) และ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปนรองผูบัญชาการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยแหงชาติ มีหนาที่ชวยเหลือ ผูบญั ชาการในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และปฏิบัติหนาท่ีตามท่ีผูบัญชาการมอบหมาย โดยใหมี อาํ นาจบังคับบัญชาและส่ังการรองจากผูบัญชาการ (มาตรา 13) เม่ือเกิดสาธารณภัย อธิบดีกรมปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย เปนผูอํานวยการกลาง มีหนาที่ปองกันและบรรเทาสาธารณภัยท่ัวราชอาณาจักร (มาตรา 14) ผูวาราชการจังหวัด เปนผูอํานวยการจังหวัด รับผิดชอบในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในเขตจงั หวดั (มาตรา 15) นายกองคการบรหิ ารสวนจังหวัด เปนรองผูอํานวยการจังหวัด มีหนาท่ีชวยเหลือ ผอู าํ นวยการจงั หวดั ในการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 18) นายอําเภอ (รวมปลัดอําเภอผูเปน หัวหนาประจําก่ิงอําเภอ) เปนผูอํานวยการอําเภอ รับผิดชอบและปฏิบัติหนาที่ในการปองกันและบรรเทา สาธารณภยั ในเขตอําเภอ (มาตรา 4 ประกอบกับมาตรา 19) และผบู รหิ ารทองถน่ิ ขององคกรปกครองสว นทองถ่ิน แหงพ้ืนท่ี (นายกองคการบริหารสวนตําบล นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา และหัวหนาผูบริหารของ องคกรปกครองสวนทองถิ่นแหงพ้ืนที่อ่ืนท่ีมีกฎหมายจัดตั้ง) เปนผูอํานวยการทองถ่ิน มีหนาท่ีปองกันและ บรรเทาสาธารณภัยในเขตทองถ่ินของตน และมีหนาท่ีชวยเหลือผูอํานวยการจังหวัด และผูอํานวยการอําเภอ ตามท่ีไดรับมอบหมาย (มาตรา 4 ประกอบกับมาตรา 20) ใหผูอํานวยการมีอํานาจแตงตั้งเจาพนักงาน เพื่อปฏิบัติหนาท่ีในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตรับผิดชอบ โดยหลักเกณฑการแตงต้ังและ การปฏิบัติหนาที่ของเจาพนักงานใหเปนไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย (มาตรา 39) และจัดให อาสาสมัครในพ้ืนที่ที่รับผิดชอบเพื่อชวยเหลือเจาพนักงานในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และปฏิบัติ หนา ที่อืน่ ตามที่ผูอํานวยการมอบหมาย และตามที่กําหนดในระเบียบของกระทรวงมหาดไทย (มาตรา 41) ท้ังน้ี องคการสาธารณกุศลหรือบุคคลที่มาชวยเหลือการปฏิบัติหนาที่ของเจาพนักงานในระหวางเกิด สาธารณภัย สามารถชว ยเหลอื หรือบรรเทาสาธารณภัยไดตามท่ีผูอํานวยการหรือเจาพนักงานที่ไดรับมอบหมาย ไดมอบหมายภารกิจให (มาตรา 42) เม่อื เกิดสาธารณภัยข้ึนในเขตขององคกรปกครองสวนทองถ่ินแหงพื้นท่ีใด ใหเ ปน หนา ท่ขี องผอู าํ นวยการทอ งถน่ิ ขององคกรปกครองสว นทองถ่ินแหงพ้ืนที่น้ัน โดยผูอํานวยการอําเภอ และผูอํานวยการจังหวัดมีอาํ นาจหนาที่เชนเดียวกับผูอํานวยการทองถิ่นในเขตอาํ เภอพ้ืนท่ีของตนและ ในเขตจังหวัดแลวแตกรณี (มาตร 21 และมาตรา 22) กรณีท่ีพ้ืนที่ท่ีเกิดสาธารณภัยอยูในความรับผิดชอบ ของผูอาํ นวยการทองถ่ินหลายคน ผูอาํ นวยการทองถิ่นคนหนึ่งคนใดจะใชอํานาจหรือปฏิบัติหนาที่ตาม มาตรา 21 ไปพลางกอนก็ได แลวใหแจงผูอํานวยการทองถิ่นอื่นทราบโดยเร็ว และกรณีผูอํานวยการทองถิ่น มีความจําเปนตองไดรับความชวยเหลือจากเจาหนาที่ของรัฐหรือหนวยงานของรัฐท่ีอยูนอกเขตองคกรปกครอง สว นทอ งถนิ่ แหง พนื้ ทขี่ องตน ใหแ จง ใหผ ูอาํ นวยการอาํ เภอหรอื ผูอาํ นวยการจังหวัด แลวแตกรณีเพ่ือสั่งการ โดยเร็วตอ ไป (มาตรา 22) โดยผูอ าํ นวยการในเขตพื้นทท่ี ี่ติดตอหรือใกลเคียง มีหนาที่สนับสนุนการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยแกผูอํานวยการซึ่งรับผิดชอบในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นนั้น (มาตรา 23) และเจาพนักงานที่ประสบเหตุมีหนาท่ีตองเขาดําเนินการเบ้ืองตนเพ่ือระงับภัยน้ัน แลวรีบรายงาน

17 ใหผูอํานวยการทองถ่ินเพ่ือสั่งการตอไป และในกรณีจําเปนมีอํานาจดําเนินการใด เพ่ือประโยชนในการ คุมครองชีวิตหรือปองกันอันตรายท่ีจะเกิดแกบุคคลได (มาตรา 24) ผูอํานวยการในเขตพื้นที่ท่ีรับผิดชอบ สํารวจความเสียหายจากสาธารณภัยท่ีเกิดข้ึนและทําบัญชีรายช่ือผูประสบภัยและทรัพยสินท่ีเสียหายไว เปน หลักฐาน พรอ มทงั้ ออกหนงั สือรับรองใหผูประสบภัยไวเปนหลักฐานในการรับการสงเคราะหและฟนฟู (มาตรา 30) 2. คูมือการจัดการภัยพิบัติสําหรับประชาชน : ตามหลักสูตรการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยอาศัยชุมชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) ประกอบดวย 1) ความเปนมาในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐานของกรมปองกันและบรรเทา สาธารณภัย 2) การจัดการภัยพิบัติในอดีตและปจจุบัน 3) การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชน เปนฐานคอื อะไร 4) ขั้นตอนของการจัดการความเส่ียงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชน/หมูบาน 5) แผนปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบาน 6) การแจงเตือนภัย 7) ตัวอยางคําประกาศแจงเตือนภัยพิบัติ สาํ หรับชุมชน/หมูบาน 8) การอพยพ 9) ความรูเกี่ยวกับสาธารณภัย 10) การปฐมพยาบาลเบื้องตน 11) การใหความชว ยเหลือผูประสบภัยพิบัติ 12) การเตรียมความพรอมในระดับครัวเรือน 13) ศูนยพักพิง ช่ัวคราวระดับชมุ ชน/หมูบ าน และ 14) สายดวนตาง ๆ ในประเทศไทย งานวจิ ัยที่เกี่ยวขอ ง การศึกษาเร่ือง “ประสิทธผิ ลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง” ยังไมมีผูใดไดทําการศึกษา ในเรื่องดังกลาวโดยตรง ผูศึกษาจึงไดนาํ เอารายงานศึกษาวิจัยของนักบริหารงานปองกันและบรรเทา สาธารณภัย (นบ.ปภ.) สังกัดกรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และผลงานสารนิพนธของการศึกษา ตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะจากบุคคลภายนอก มาประยุกตใช พิจารณาเพ่ือหาขอสรุปในเร่ืองของ “ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง” ซ่ึงจะเปนประโยชน ในการปฏบิ ัติงานท่ีจะทาํ ใหเ กดิ ประสทิ ธิผลตามเปา หมายหรือวตั ถุประสงคทว่ี างไวต อไป นางสาวอรพิน หาญธรรม (2556) ศึกษาเรื่อง “การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการภัยพิบัติ โดยอาศัยชมุ ชนเปน ฐาน กรณีศึกษา : หมูที่ 1 บานตาดเสริม ตําบลบานมวง อําเภอสังคม จังหวัดหนองคาย” จากผลการศกึ ษาพบวา รูปแบบและวิธีดําเนินโครงการฝกอบรมการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน และการมีสว นรวมของชมุ ชนที่เขารับการฝกอบรมโครงการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน มีรูปแบบ ท่เี หมาะสมและประชาชนใหความสาํ คญั ในการจดั การภยั พบิ ัติโดยอาศัยชุมชนเปน ฐาน ทราบไดจากประชาชน ในชุมชนมีพฤติกรรมการมีสวนรวมในการบริหารจัดการภัยพิบัติในดานตาง ๆ และไดรับการตอบรับจาก ประชาชนในชุมชนเปนอยางดี เนอื่ งจากความเสียหายและผลกระทบท่ีเกิดจากภัยพิบัติสงผลกระทบโดยตรง กับประชาชนทีอ่ ยูในพน้ื ทีเ่ สย่ี งภยั ไมว าจะเปนผลกระทบตอ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ผลกระทบ ตอการประกอบอาชีพ ฉะนั้น ประชาชนจึงจาํ เปนตองทําทุกวิธีเพื่อปกปองชีวิตและทรัพยสินของตนเอง ซ่ึงมีความสอดคลองกับ วาท่ีรอยตรี มนตสงา ลีลาศสงางาม (2556) ศึกษาเร่ือง “การมีสวนรวมของ ประชาชนในการจัดการภัยพิบัติโดยอาศยั ชุมชนเปน ฐาน กรณีศึกษา : ชุมชนบานคูสวาง ตําบลหนองกินเพล

18 อําเภอวารินชาํ ราบ จังหวัดอุบลราชธานี” จากผลการศึกษาพบวา ประชาชนไดใหความสําคัญมากตอ การมสี วนรว มไมว า จะเปน ในเรอื่ งของการบริหารจัดการภยั พิบัติ การรับทราบขอมูลขาวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ การศกึ ษาขอมลู ของชุมชน การจดั การภัยพิบัติของชุมชน การแจงเตือนภัย การรวมแบงกลุมและหนาที่ ความรับผิดชอบ และการฝกซอมแผน ซึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับการมีสวนรวมในการจัดการภัยพิบัติ โดยอาศัยชุมชนเปนฐานพบวา เพศชายและเพศหญิง มีสวนรวมในการจัดการภัยพิบัติฯ ท่ีไมแตกตางกัน ถาพิจารณาจากอายุ พบวา การมีสวนรวมในการจัดการภัยพิบัติฯ น้ัน มีความแตกตางกัน สําหรับระดับ การศกึ ษา พบวา ประชากรที่มีระดับการศึกษาตางกันจะมีสวนรวมในการจัดการภัยพิบัติฯ ที่ไมแตกตางกัน แตเมื่อพิจารณาจากระดับการศึกษาของประชาชนที่เกี่ยวกับการรับทราบขอมูลขาวสารเก่ียวกับภัยพิบัติ, การจัดการเกี่ยวกับภัยพิบัติของชุมชน, การแจงเตือนภัย, การรวมแบงกลุมและหนาที่ความรับผิดชอบ และการฝก ซอมแผนแลว พบวา มีความแตกตา งกัน และประชาชนที่ประกอบอาชีพตางกัน พบวา การมีสวนรวม ในการจัดการภัยพิบตั ฯิ จะมีความแตกตางกัน และมีความสอดคลองกับนางสาวพรทิพย หนูปลอด (2552) ศึกษาเร่ือง “การบริหารจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน กรณีศึกษาพื้นที่หมูที่ 1 บานหนองเรียง ตําบลทาขาม อําเภอทาแซะ จังหวัดชุมพร” พบวา ปจจัยในการบริหารจัดการความเส่ียง อทุ กภยั โดยอาศัยชมุ ชนเปนฐาน โดยพจิ ารณาจากการระบคุ วามเส่ียง การตรวจสอบ การวเิ คราะหความเส่ยี ง และการจดั การความเสีย่ ง และการติดตามและรายงานผล สามารถสรุปผลการวิจัยไดดังน้ี 1) ดานระบุความเส่ียง พบวา สาเหตุของการเกดิ อทุ กภยั ของชุมชนเนือ่ งจากมีพายุฝนตกหนักติดตอกันเปนเวลานาน มีสาเหตุท้ังจาก ธรรมชาติซ่ึงเปนปรากฏการท่ีเกิดขึ้นเองไมสามารถเปลี่ยนแปลงไดและจากมนุษยแตสามารถหลีกเลี่ยงได เชน การไมต ดั ไมทําลายปา การไมต ัดไมบ รเิ วณปาตน นาํ้ ฯลฯ อุทกภัย เปนภัยธรรมชาติท่ีเกิดจากการที่มี ระดับนํ้าสงู กวา ปกติ ทําใหเกิดการสูญเสียแกชีวิตและทรัพยสินตาง ๆ และหาก มีฝนตกติดตอกันเปนเวลานาน บริเวณท่ีไมม พี ชื คลมุ ดนิ หรอื ไมม ตี นไมปกคลุมมโี อกาสทีจ่ ะเกิดอุทกภัย สวนลําหวย/คลองที่แคบและต้ืนเขินมาก เมอ่ื มีระดบั นํ้าเพ่ิมมากขน้ึ จะทําใหน้าํ ลน ตลิ่งซึ่งเปนสาเหตุของการเกิดอุทกภัย 2) ดานการวิเคราะหความเสี่ยง พบวา มกี ารตดั ไมท ําลายปาบนภเู ขา เม่ือมีฝนตกเกิดขึ้นทําใหการไหลของน้ําเพิ่มความรุนแรงในการทําลาย สาํ หรับการตงั้ บา นเรอื นหรือสิ่งกอสรางตาง ๆ ใกลแหลงนํ้าและอยูในพ้ืนที่ตํ่าจะทําใหมีความเส่ียงตอการไดรับ ผลกระทบจากอุทกภัยได การกอสรางสะพานและสิ่งกอสรางตาง ๆ ครอมลําหวย/คลองเปนจํานวนมาก ทําใหก ีดขวางตอการไหลของนํา้ สวนการออกแบบทางระบายนํ้าของถนนท่ีไมเพียงพอและไมไดมาตรฐาน ที่มีอยูรอบชุมชนทําใหนํ้าระบายไดชา เปนสาเหตุใหนํ้าลนเออในหมูบาน ตามลําดับ และการสรางคันดิน ก้นั ลาํ หว ยของเกษตรกรเปน จํานวนมากเพอ่ื ผนั เอานําไปใชในการเกษตร เปน สาเหตหุ นึ่งท่ที ําใหเปนอุปสรรค ตอ การไหลของน้าํ ทําใหเ กดิ อทุ กภัยได 3) ดา นจัดการความเส่ียง พบวา การเตือนภัยและพยากรณเกี่ยวกับ การเกิดอุทกภัยเปนวิธีหน่ึงท่ีสามารถบรรเทาความรุนแรงจากอุทกภัยได การสรางเข่ือนหรืออางเก็บนํา้ สว นทเ่ี กินไมใหไหลไปลนตลิ่ง การอนุรักษทรัพยากรปาไมบริเวณปาตนนํ้า การขุดลอกลําหวยและคูคลอง ที่มีความแคบและตื้นเขิน เปนวิธีหน่ึงท่ีสามารถบรรเทาความรุนแรงของการเกิดอุทกภัยได และการอพยพ ยายถิ่นไปอยูท่ีปลอดภัยจากอุทกภัยอยางถาวรเปนวิธีที่ดีท่ีสุดในการปองกันความสูญเสียท่ีจะเกิดข้ึนจาก อุทกภัย 4) ดานการติดตามและรายงานผล พบวา มีการติดตามขอมูลขาวสารเกี่ยวกับพยากรณอากาศ ปรมิ าณน้าํ ฝนและปริมาณน้าํ ทาจากสื่อตาง ๆ เปนประจํา มีการเตือนภัยและพยากรณเก่ียวกับการเกิดอุทกภัย ทมี่ ีประสิทธิภาพซ่งึ เปนวิธีหน่งึ ทีส่ ามารถบรรเทาความรนุ แรงจากอุทกภัยได มีคณะกรรมการติดตามเก่ียวกับ

19 การใหค วามชวยเหลือ และใหการติดตามเฝาระวังสถานการณและระวังภัยในพ้ืนที่ รวมท้ังมีการจดรายงาน ปริมาณนํ้าฝน เชน วัน สัปดาห และ 5) ดานการตรวจสอบ พบวา อุทกภัยท่ีมีระยะเวลาการเกิดเปนเวลานาน จะยงิ่ สง ผลตอ ความเสยี หายทางดานชีวิต สุขภาพ และทรัพยสินตาง ๆ มากข้ึน ซ่ึงบานเรือนที่อยูอาศัยที่ไดรับ ความเสียหายสวนใหญมีการตั้งบานเรือนและอาศัยอยูใกลบริเวณลําหวย/คลอง มีความรวมมือกับชุมชน ในการรวมกนั ขดุ ลอกปรบั ปรงุ ลาํ หว ย/คลองในสวนท่ีแคบและตื้นเขินเพ่ือใหนํ้าไหลไดสะดวกข้ึน และชุมชน มีการตรวจสอบสัญญาณการแจงเตือน รวมถึงการตรวจสอบสภาพของสะพาน เขื่อน กระสอบทราย (กอนเกิดภัย) สําหรับการบริหารจัดการความเส่ียงอุทกภัยจากอุทกภัย โดยอาศัยชุมชนเปนฐาน พบวา ปจจัยในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน โดยพิจารณาจากประสิทธิภาพ มคี าเฉล่ียสูงสุด รองลงมาคือ การอาํ นวยการและการประสานงานกับหนวยงานท่ีเกี่ยวของ ตามลําดับ สวนความรวดเร็วในการแกไขปญหา มีคาเฉล่ียตํ่าสุด สามารถสรุปผลการวิจัยไดดังน้ี 1) ดานประสิทธิภาพ ของการบริหารงาน พบวา ประชาชนในชุมชนมีความรแู ละมีการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการปองกันและบรรเทา ความรุนแรงจากอทุ กภัย โดยไมปลอยใหทางราชการดําเนินงานเพียงลําพัง ซ่ึงจะบรรเทาความรุนแรงจาก การเกิดอุทกภัยได การอบรมใหความรูเรื่องภัยตาง ๆ ดานการเฝาระวัง การใชเครื่องมือเตือนภัยตาง ๆ มีการจัดเตรียม เชน น้ําด่ืม อาหาร ยารักษาโรค และมีการเตรียมพรอมรับมือกับภัยที่เกิดได สนับสนุน จดั เตรียมอุปกรณเ ครอื่ งมือและมีการเตรียมพรอมรับมือกับภัยท่ีเกิดได และชวยเหลือไดตรงกับความตองการ ของประชาชน 2) ดานความรวดเร็วในการแกไขปญหา พบวา มีวิธีการประสานองคกรเครือขายภายนอก เชน ภาครฐั ภาคเอกชน มูลนิธิ เพ่ือขอความชวยเหลือ เชน แจงดวยตัวเอง ผานผูนําชุมชน และ ผาน อบต. ชมุ ชนมรี ะบบขอ มูลและแผนการจดั การกบั ภัย มีการสํารวจอุปกรณ เคร่ืองมือเคร่ืองใช เชน เรือ กระสอบทราย ระดบั ปานกลาง มีกําหนดเสนทางในการอพยพ และการชว ยเหลือของทีมกูชีพกูภัยเม่ือเกิดภัย 3) ดานการ อาํ นวยการและประสานงาน พบวา การจัดฝกอบรม/สรา งจิตสํานกึ /ซอมแผนปองกนั ภัย/แนะนํา ประชาสัมพันธ ใหค วามรูเรือ่ งภยั พิบตั ิ มีวิธกี ารประสานองคก รเครอื ขา ยภายนอก เชน ภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ เพ่ือขอ ความชวยเหลือโดยวิธีการแจงดวยตัวเอง ผานผูนําชุมชน หนวยงานที่ใหความรูเม่ือเกิดภัยและประสาน ใหความชวยเหลือคอื สาํ นกั งานปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด มีการประชาสัมพันธเมื่อเกิดภัยพิบัติ และเม่ือเกิดภัยพบิ ตั ิประสานขอความชวยเหลือจากทหาร เครือขา ยอาสาสมคั รกูภ ัย จากผลการศึกษาท่ีเกี่ยวของดังกลาว ทําใหทราบวา ประชาชนในพื้นที่เส่ียงภัยจะใหความสําคัญ กับการมีสวนรวมในการบริหารจัดการภัยพิบัติอยางมาก เนื่องจากความเสียหายและผลกระทบท่ีเกิดจาก ภยั พิบัติสงผลกระทบโดยตรงกบั ประชาชนที่อยูในพ้ืนที่เสี่ยงภัย ดังนั้น ผูศึกษาจึงมีความสนใจที่จะนําเอา ผลการศึกษาดังกลาวมาประยุกตใชกับการศึกษาถึงระดับของความรูความเขาใจ ตลอดจนความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชนในชุมชน/หมูบาน ในพนื้ ทเ่ี สย่ี งภัยสนึ ามิ หลงั จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทา สาธารณภัยวามีมากนอยแคไหน หรือไม อยางไร ตลอดจนนําผลการศึกษาเสนอตอประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียงภัย สนึ ามดิ ังกลาว เพอ่ื ใชเ ปน ขอมลู ทีก่ อใหเกิดความรู ความเขาใจ เก่ียวกับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่จะนําไปสูการมีสวนรวมในการฝกซอมแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานใหสามารถ รับมอื กบั ภัยพบิ ตั ทิ เ่ี กดิ ขึน้ ไดอยางมปี ระสิทธผิ ลตอไป

20 กรอบแนวคดิ กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ อาศัยหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) ซึ่งเปนการศึกษาเก่ียวกับระดับความรู ความเขาใจ ความต่ืนตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชน ในพน้ื ท่เี ส่ยี งภยั ในการบรหิ ารจัดการภัยพิบัติในชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง หลังจากที่ไดรับการฝกอบรม โครงการเสริมสรา งศกั ยภาพชุมชนดา นการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย ตวั แปรอสิ ระ ตวั แปรตาม ปจ จยั สวนบคุ คล ไดแก ประสทิ ธผิ ลของการฝก อบรมโครงการ 1. เพศ เสริมสรา งศกั ยภาพชมุ ชนดานการ 2. อายุ ปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย 3. สขุ ภาพ กรณีศึกษา : พนื้ ท่เี ส่ียงภยั สนึ ามิ 4. ความพรอมและความ จังหวัดตรัง ตัง้ ใจตอการจดั การตนเอง 5. ความสามารถในการถา ยทอด ความรูของวทิ ยากร กรอบแนวคิดขางตนแสดงถึงความสัมพันธระหวางตัวแปรอิสระ (เพศ อายุ สุขภาพ ความพรอม และความต้งั ใจตอ การจดั การตนเอง และ ความสามารถในการถายทอดความรูของวิทยากร) กับตัวแปรตาม (ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณศี ึกษา : พ้ืนทเ่ี สยี่ งภัยสึนามิ จังหวัดตรัง) ภายใตการทบทวนวรรณกรรมที่เก่ียวของเรื่อง “การมีสวนรวม ของประชาชนในการจดั การภยั พิบัตโิ ดยอาศยั ชุมชนเปนฐาน กรณศี ึกษา : หมทู ี่ 1 บา นตาดเสริม ตําบลบานมวง อาํ เภอสังคม จังหวัดหนองคาย” ของ นางสาวอรพิน หาญธรรม ประกอบกับวรรณกรรมที่เก่ียวของเร่ือง “การมสี ว นรว มของประชาชนในการจัดการภัยพิบตั ิโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน กรณีศึกษา : ชุมชนบานคูสวาง ตําบลหนองกินเพล อําเภอวารินชาํ ราบ จังหวัดอุบลราชธานี” ของ วาที่รอยตรี มนตสงา ลีลาศสงางาม และวรรณกรรมทีเ่ กยี่ วของเร่ือง “การบริหารจัดการความเส่ียงจากอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน กรณีศึกษา พ้ืนทห่ี มูที่ 1 บา นหนองเรยี ง ตําบลทา ขา ม อาํ เภอทา แซะ จังหวดั ชุมพร” ของ นางสาวพรทพิ ย หนูปลอด

21 บทที่ 3 ระเบียบวธิ ีวจิ ัย การศึกษาเรอ่ื ง “ประสิทธผิ ลของการฝก อบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง” เปนการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ทําการรวบรวมขอ มูลโดย 1. ศึกษาขอมูลพระราชบัญญัตปิ องกนั และบรรเทาสาธารณภยั พ.ศ. 2550 2. ศึกษาคูมือการจัดการภัยพิบัติสาํ หรับประชาชน : ตามหลักสูตรการจัดการความเสี่ยงจาก ภัยพบิ ตั โิ ดยอาศัยชมุ ชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) 3. เก็บขอ มูลจากการสัมภาษณเ จาะลึก (In-depth Interview) โดยผูใหขอมูลสําคัญ คือ ประชาชน ในชุมชน/หมูบานพ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิ หมูที่ 1-6 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ท่ีเขารับการ ฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในชวงระหวางวันที่ 17-18 มกราคม 2556 ประชากร ขอบเขตและพ้ืนที่การศกึ ษา การศึกษาคร้ังนี้ เปนการศึกษาถึงประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดา นการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภยั กรณศี กึ ษา : พื้นท่เี สย่ี งภยั สนึ ามิ จังหวัดตรัง โดยกลุมประชากร ท่ีทําการศึกษา คือ ประชาชนในชุมชน/หมูบานพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ หมูท่ี 1-6 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวดั ตรงั ที่เขารับการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในชว งระหวา งวันที่ 17-18 มกราคม 2556 ขอมลู พืน้ ฐานของชมุ ชน 1. ชื่อบานนาทะเล หมูที่ 1 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ตั้งอยูในเขต องคก ารบรหิ ารสวนตําบลตะเสะ มีอาณาเขตตดิ ตอดงั นี้ ทิศเหนือติดตอกับหมูที่ 2 ตําบลตะเสะ ทิศใตติดตอกับหมูที่ 5 ตําบลตะเสะ ทิศตะวันออก ติดตอ กบั หมทู ่ี 5 ตําบลตะเสะ ทศิ ตะวนั ตกติดตอ กับทะเลอนั ดามนั ประชากร/ศาสนา : ประชากรเปน ชาวไทย นบั ถือศาสนาอิสลามและศาสนาพทุ ธ จํานวนครวั เรอื น 134 ครวั เรือน จาํ นวนประชากรทั้งสิ้น 498 คน เพศหญิง 248 คน เพศชาย 250 คน สถานทสี่ าํ คัญในชมุ ชน ประกอบดว ย โรงเรียน 1 แหง สถานอี นามัย 1 แหง และมสั ยิด 1 แหง 2. ชื่อบานนาชุมเห็ด หมูที่ 2 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ตั้งอยูในเขต องคการบรหิ ารสว นตําบลตะเสะ มีอาณาเขตตดิ ตอ ดงั น้ี ทิศเหนอื ตดิ ตอกับหมูท่ี 10 ตําบลหาดสําราญ ทิศใตติดตอกับหมูที่ 1 ตําบลตะเสะ ทิศตะวันออก ติดตอ กบั หมูท ี่ 6 ตาํ บลตะเสะ ทศิ ตะวนั ตกตดิ ตอ กบั ทะเลอันดามัน

22 ประชากร/ศาสนา : ประชากรเปน ชาวไทย นับถือศาสนาอิสลาม จาํ นวนครวั เรือน 148 ครัวเรอื น จํานวนประชากรทง้ั สน้ิ 672 คน เพศหญงิ 335 คน เพศชาย 337 คน รายไดของชุมชน : ประชากรมีรายไดป ระมาณ 10,000 – 15,000 บาทตอครอบครวั ตอป สถานทสี่ ําคญั ในชุมชน ประกอบดวย โรงเรียน 1 แหง และมัสยดิ 1 แหง 3. ชื่อบานทุงเปลว หมูที่ 3 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ตั้งอยูในเขต องคก ารบริหารสวนตาํ บลตะเสะ มีอาณาเขตติดตอ ดงั นี้ ทิศเหนือติดตอกับหมูที่ 5 ตําบลตะเสะ ทิศใตติดตอกับหมูที่ 4 ตําบลตะเสะ ทิศตะวันออก ตดิ ตอ กบั ทะเลอันดามนั ทศิ ตะวนั ตกติดตอกับทะเลอนั ดามนั ประชากร/ศาสนา : ประชากรเปน ชาวไทย นบั ถือศาสนาอสิ ลาม จาํ นวนครวั เรือน 179 ครัวเรือน จาํ นวนประชากรทง้ั ส้ิน 706 คน เพศหญงิ 339 คน เพศชาย 367 คน รายไดของชมุ ชน : ประชากรมรี ายไดประมาณ 10,000 – 15,000 บาทตอ ครอบครวั ตอป สถานทส่ี าํ คัญในชุมชน ประกอบดวย ที่ทาํ การองคการบริหารสวนตาํ บล 1 แหง 4. ชื่อบานตะเสะ หมูที่ 4 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ตั้งอยูในเขต องคก ารบรหิ ารสวนตําบลตะเสะ มีอาณาเขตติดตอ ดังนี้ ทศิ เหนอื ติดตอ กับหมูที่ 3 ตาํ บลตะเสะ ทิศตะวนั ตกตดิ ตอ กับหมทู ่ี 3 ตําบลตะเสะ ประชากร/ศาสนา : ประชากรเปนชาวไทย นับถือศาสนาอสิ ลาม 98% จาํ นวนครวั เรอื น 297 ครวั เรือน จาํ นวนประชากรทง้ั สิ้น 1,081 คน เพศหญิง 531 คน เพศชาย 550 คน รายไดของชุมชน : ประชากรมรี ายไดประมาณ 35,000 บาทตอ ครอบครัวตอป สถานทส่ี าํ คญั ในชุมชน ประกอบดวย โรงเรียนบานตะเสะ 1 แหง และมัสยดิ 1 แหง 5. ชื่อบานนาควน (นานุย) หมูที่ 5 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ตั้งอยูในเขต องคการบริหารสวนตาํ บลตะเสะ มีอาณาเขตติดตอ ดงั นี้ ทิศเหนือติดตอกับหมูท่ี 1 ตําบลตะเสะ ทิศใตติดตอกับหมูที่ 3 ตําบลตะเสะ ทิศตะวันออก เปน ปา ชายเลน ตําบลตะเสะ ทิศตะวนั ตกติดตอกบั ทะเลอันดามัน ประชากร/ศาสนา : ประชากรเปน ชาวไทย นับถือศาสนาอิสลาม 98% จํานวนครวั เรอื น 190 ครัวเรอื น จํานวนประชากรทั้งสิน้ 738 คน เพศหญิง 375 คน เพศชาย 363 คน รายไดข องชมุ ชน : ประชากรมรี ายไดประมาณ 15,000 – 20,000 บาทตอครอบครวั ตอป สถานท่สี าํ คญั ในชุมชน ประกอบดว ย มสั ยดิ 1 แหง 6. ชื่อบานโคกออก หมูที่ 6 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ตั้งอยูในเขต องคการบริหารสวนตําบลตะเสะ มอี าณาเขตตดิ ตอ ดงั น้ี ทิศเหนือติดตอกับหมูที่ 8 ตําบลหาดสําราญ ทิศใตติดตอกับหมูที่ 5 ตําบลตะเสะ ทิศตะวันออก เปน ปา ชายเลน ตาํ บลตะเสะ ทิศตะวันตกติดตอ กับทะเลอนั ดามัน

23 ประชากร/ศาสนา : ประชากรเปนชาวไทย นบั ถือศาสนาอิสลาม 98% จํานวนครวั เรอื น 183 ครวั เรอื น จาํ นวนประชากรทงั้ สิน้ 779 คน เพศหญิง 399 คน เพศชาย 380 คน รายไดของชมุ ชน : ประชากรมรี ายไดป ระมาณ 20,000 – 25,000 บาทตอครอบครวั ตอป สถานทส่ี ําคัญในชุมชน ประกอบดว ย มสั ยดิ 1 แหง ตัวอยาง ประชากรกลุมตัวอยา งทีใ่ ชใ นการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในชุมชน/หมูบานพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ หมูที่ 1-6 ตําบลตะเสะ อาํ เภอหาดสาํ ราญ จังหวัดตรัง โดยวิธีการสัมภาษณเจาะลึกตามประเด็นคําถาม ท่ีผูศึกษาไดกําหนดไว และสุมตัวอยางโดยวิธีเจาะจงโดยมีคุณสมบัติเปนผูท่ีผานการฝกอบรมโครงการ เสริมสรางศกั ยภาพชมุ ชนดา นการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในชวงระหวางวันท่ี 17-18 มกราคม 2556 จํานวน 6 คน จากจํานวนประชาชนทั้งหมด 50 คน ประกอบดวย บานนาทะเล หมูที่ 1 จํานวน 5 คน บานนาชุมเห็ด หมูที่ 2 จาํ นวน 8 คน บานทุงเปลว หมูที่ 3 จํานวน 7 คน บานตะเสะ หมูที่ 4 จํานวน 13 คน บา นนาควน (นานยุ ) หมูท่ี 5 จาํ นวน 10 คน และบานโคกออก หมูท่ี 6 จาํ นวน 7 คน เคร่อื งมือท่ีใชในการศกึ ษา การศึกษาในคร้ังนี้เปนการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผูศึกษาไดใชเครื่องมือ ในการศึกษา ดังนี้ 1. ขอมูลจากระเบียบกฎหมาย คูมือการจัดการภัยพิบัติสําหรับประชาชนฯ และงานวิจัยที่เก่ียวของ กับการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย 2. แบบสัมภาษณ (Interviews) เพื่อเก็บรวบรวมขอมูลจากตัวอยาง โดยมีรายละเอียดของ การสมั ภาษณ ดังน้ี สวนท่ี 1 ขอมูลท่ัวไปของผูตอบแบบสัมภาษณ เปนการสัมภาษณขอมูลทั่วไปในสวนของชื่อ และนามสกุล อายุ เพศ ท่อี ยู ระดบั การศึกษา อาชีพ ของผตู อบแบบสมั ภาษณ สวนที่ 2 ขอมูลเก่ียวกับประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดา นการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง เปนการสัมภาษณ เกี่ยวกับ 1) ระดับความรู ความเขาใจของประชาชนที่ไดรับจากการฝกอบรมโครงการเสริมสราง ศกั ยภาพชมุ ชนดานการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย 2) ความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของ ประชาชนที่จะบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง หลังจากท่ีไดเขารับการฝกอบรม โครงการเสริมสรา งศกั ยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย

24 การประเมนิ คณุ ภาพเคร่ืองมือ ผศู กึ ษาไดดาํ เนินการตามขน้ั ตอนดังตอไปน้ี 1. การหาความตรงตอเน้ือหา (Content Validity) ผูศึกษาไดนําเสนอแบบสัมภาษณที่ไดสรางข้ึน ตออาจารยท่ีปรึกษาเพ่ือตรวจสอบความครบถวนและสอดคลองของเนื้อหาของแบบสัมภาษณที่ตรงกับ เรอื่ งที่จะศกึ ษา 2. นําแบบสัมภาษณที่ไดดําเนินการปรับปรุง แกไข ตามคําแนะนําโดยอาจารยที่ปรึกษาไปใช ในการเกบ็ รวบรวมขอมลู ตัวอยางตอไป การเก็บรวบรวมขอ มลู การเก็บรวบรวมขอ มลู ผศู ึกษาไดด าํ เนินการ ดังน้ี 1. รวบรวมขอ มูลจากการศึกษารายละเอยี ดของเอกสารทีเ่ กี่ยวของ (ระเบียบกฎหมาย คูมอื การ จัดการภัยพบิ ัตสิ าํ หรบั ประชาชนฯ และงานวิจยั /วรรณกรรมที่เก่ียวของ) 2. ประสานขออนุญาตทางโทรศัพทกับผูนําชุมชน หมูท่ี 1-6 เพื่อขอสัมภาษณประชาชนในพ้ืนที่ บานนาทะเล หมูที่ 1 จาํ นวน 1 คน บานนาชุมเห็ด หมูท่ี 2 จํานวน 1 คน บานทุงเปลว หมูท่ี 3 จํานวน 1 คน บานตะเสะ หมูท่ี 4 จาํ นวน 1 คน บานนาควน (นานุย) หมูที่ 5 จาํ นวน 1 คน และบานโคกออก หมูที่ 6 จํานวน 1 คน ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ทไ่ี ดผานการฝกอบรมโครงการเสริมสราง ศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ในชวงระหวางวันที่ 17-18 มกราคม 2556 ซง่ึ อาจจะเปน ผนู าํ ชุมชนเองหรือประชาชนในหมูบานน้ันก็ได แลว แตค วามเหมาะสม จํานวน 6 คน 3. รวบรวมขอมูลโดยการโทรศัพทไปสัมภาษณผูใหขอมูล (ประชาชน หมูที่ 1 - 6 ต.ตะเสะ อ.หาดสาํ ราญ จ.ตรัง) จํานวน 6 คน ดว ยตนเอง วิธีการประมวลผลและวิเคราะหข อมลู 1. ประมวลผลและวิเคราะหขอมูลจากการศึกษารายละเอียดของเอกสารที่เกี่ยวของ (ระเบียบ กฎหมาย คูมือการจัดการภัยพิบัติสําหรับประชาชนฯ และงานวิจัย/วรรณกรรมที่เกี่ยวของ) เกี่ยวกับ อาํ นาจ หนาที่ และความรับผิดชอบในการจัดฝกอบรมโครงการดังกลา ว 2. ประมวลผลและวิเคราะหขอมูลจากการใหสัมภาษณของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ หมูท่ี 1-6 ตาํ บลตะเสะ อาํ เภอหาดสําราญ จงั หวัดตรงั จากการฝก อบรมโครงการดงั กลาว 3. นาํ ขอมูลที่ไดจากการประมวลผลและวิเคราะหขอมูลในรายละเอียดของเอกสารที่เกี่ยวของ (ระเบียบกฎหมาย คูมือการจัดการภัยพิบัติสําหรับประชาชนฯ และงานวิจัย/วรรณกรรมที่เกี่ยวของ) และจากการใหสัมภาษณ มารวบรวมและสรุปผลวา การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดานการปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั กฎหมายไดใหอ ํานาจไวหรือไม สงผลใหประชาชนในพื้นที่เส่ียงภัย ไดรับความรูความเขาใจมากนอยแคไหน ประชาชนมีความตื่นตัวและการตระหนักถึงความจําเปนและ ความสาํ คัญ ตลอดจนความพรอมของการบริหารจัดการภัยพิบัติในชุมชน/หมูบานดวยตนเอง หรือไม และเพราะสาเหตอุ ะไร

25 บทท่ี 4 การวเิ คราะหข อ มลู ในการศึกษาเร่ือง ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภยั กรณีศึกษา : พน้ื ที่เสยี่ งภัยสนึ ามิ จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาถึงระดับความรู ความเขาใจของประชาชนจากการเขารับการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย และความตื่นตัวและการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจน ความพรอ มของประชาชนในชมุ ชน/หมบู าน ทจี่ ะสามารถบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวย ตนเองกอ นที่จะไดรบั การชว ยเหลือจากหนว ยงานอ่ืนหลังจากท่ีไดเขารับการฝกอบรมฯ เน่ืองจากความเสียหาย ที่เกิดจากภัยสึนามิสงผลกระทบโดยตรงกับประชาชนที่อยูในพ้ืนท่ีเส่ียงภัย ท้ังท่ีกระทบตอความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพยสิน ตลอดจนวิถกี ารดําเนนิ ชวี ิตประจาํ วัน และการประกอบอาชีพ ในขณะท่ีประชาชน หรือคนเหลาน้ันก็ไมสามารถที่จะอพยพออกไปจากชุมชน/หมูบานไดไมวาจะดวยเหตุผลเพราะความรัก ถนิ่ ฐานบา นเกิด เปน พื้นท่ีทํามาหากิน หรอื เพราะขาดแคลนทุนทรัพยในการยายถิ่นฐานก็ตาม ทําใหยังตอง ดํารงชีวิตอยูในชุมชน/หมูบานทั้ง ๆ ท่ีรูวาเปนพ้ืนท่ีเส่ียงภัย ดังน้ัน ความรู ความเขาใจ ความตื่นตัวและ การตระหนัก ตลอดจนความพรอมของประชาชนในการบริหารจัดการภัยพิบัติ (สึนามิ) ไดดวยตนเอง จึงเปนส่ิงจําเปนและสาํ คญั อยางย่งิ ท่จี ะทาํ ใหชมุ ชน/หมบู า นท่ีตนอยอู าศัย มคี วามปลอดภยั และไดรับผลกระทบ นอยที่สุด กอ นที่จะไดร บั ความชว ยเหลือจากหนว ยงานอื่น ขอมูลดังกลาวผูศึกษาไดเก็บรวบรวมจากแบบสัมภาษณจํานวนท้ังสิ้น 6 ชุด คิดเปนรอยละ 100 ของจาํ นวนแบบสัมภาษณทง้ั หมด ผลการวเิ คราะหขอมลู แบง ออกเปน 2 สวน ประกอบดวย สว นที่ 1 ขอมลู ทั่วไปของผูตอบแบบสมั ภาษณ ประกอบดวย ชื่อ–นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู ระดับ การศกึ ษา อาชีพ ท่เี คยผา นการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทา สาธารณภยั เพื่อเปนขอ มูลเบ้ืองตนในการวเิ คราะหขอมูลตอ ไป สวนที่ 2 ขอมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดา นการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง โดยผูใหสัมภาษณ แตล ะคนไดใ หขอ มูลในประเด็นสมั ภาษณ ดงั นี้ ประเด็นที่ 1 กอนการจัดฝกอบรม : เม่ือเกิดสาธารณภัยข้ึนในพ้ืนท่ีชุมชน/หมูบานของทาน มีการจดั การกับสาธารณภยั ทเ่ี กิดขึน้ อยางไร จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เม่ือวันท่ี 10 มีนาคม 2557 (10 มนี าคม 2557, การสมั ภาษณ) พบวา  หมทู ี่ 1 บา นนาทะเล : ชาวบานจะชวยเหลือกันเองโดยใชวัสดุอุปกรณท่ีมีอยูในชุมชน/หมูบาน คือ เสียงตามสาย/หอกระจายขาว และไดมีการเตรียมรถรถกระบะและรถเครื่องสามลอ สําหรับการอพยพ ประชาชนไปในพ้นื ทีป่ ลอดภยั  หมูที่ 2 บานนาชุมเห็ด : เน่ืองจากชุมชน/หมูบานไมมีเครื่องมือ อุปกรณในการปองกันและบรรเทา สาธารณภัย ชาวบานในชุมชน/หมูบานตางคนตางตองชวยเหลือตนเอง แตมีการเตรียมรถกระบะและ รถเคร่ืองสามลอ สําหรบั การอพยพประชาชนไปในพ้ืนทป่ี ลอดภัย

26  หมูที่ 3 บานทุงเปลว : ชาวบานบางสวนตางคนตางชวยเหลือตนเอง และบางสวนก็จะชวยเหลือ กนั เอง โดยใชวสั ดุอุปกรณท่ีมีอยูในชุมชน/หมูบาน คือ เสียงตามสาย/หอกระจายขาว และไดมีการเตรียม รถรถกระบะและรถเคร่ืองสามลอ สาํ หรับการอพยพประชาชนไปในพื้นทป่ี ลอดภยั  หมทู ่ี 4 บานตะเสะ : ประชาชนในพื้นที่ตา งคนตา งตอ งชวยเหลือตนเองเม่อื ไดย นิ เสียงตามสาย/ หอกระจายขา ยหมบู าน และมีรถกระบะและรถเครื่องสามลอ สําหรับการอพยพประชาชนไปในพนื้ ทป่ี ลอดภยั  หมทู ่ี 5 บา นนาควน : ชาวบานจะชวยเหลือกันเอง โดยใชวัสดุอุปกรณท่ีมีอยูในชุมชน/หมูบาน คอื เสียงตามสาย/หอกระจายขาว และไดมีการเตรียมรถรถกระบะและรถเครื่องสามลอ สําหรับการอพยพ ประชาชนไปในพื้นท่ปี ลอดภัย  หมูที่ 6 บานโคกออก : ประชาชนในพ้ืนท่ีตางคนตางตองชวยเหลือตนเอง เมื่อไดยินเสียงตามสาย/ หอกระจายขายหมูบาน และมีรถกระบะและรถเครื่องสามลอ สําหรับการอพยพประชาชนไปในพื้นที่ ปลอดภยั เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในชุมชน/หมูบาน กอนที่จะมีการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพ ชมุ ชนดา นการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับประชาชนตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยอาศัยชุมชนเปนฐาน ผูใหสัมภาษณจํานวน 6 คน มีความเห็นสอดคลองกันวา ประชาชนตางคน ตา งชวยเหลอื ตนเองกอ น หรือ/และคอยไปใหความชวยเหลือคนอ่ืน ๆ ในชุมชน/หมูบานดวยกันตามกําลัง ความสามารถตอไป โดยใชวัสดุอุปกรณที่มีอยูในชุมชน/หมูบาน ณ เวลานั้น เพ่ือใหรอดพนจากภัยพิบัติ ดังกลาว ผูศึกษาเห็นวา เปนเร่ืองปกติธรรมดา เพราะคนเราทุกคนยอมรักชีวิตของตน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ อะไรมากระทบตอความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ทุกคนก็ตองหาทางปองกันและพยายามชวยเหลือ ตนเองใหรอดพนจากเหตุการณเหลานั้นรวมท้ังเหตุการณของสาธารณภัยท่ีเกิดข้ึนดวย เพียงแตวาวิธีการ ในการชว ยเหลอื และความพรอมในการรับมอื และจัดการกบั ภัยพบิ ัตนิ ั้นไดเ กิดจากวิธีการและประสบการณ ท่ีตนเองรูและไดเคยปฏิบัติกันมา ไมไดใชหลักของการมีสวนรวมและหลักความรับผิดชอบของคนในชุมชน/ หมูบานที่เปนระบบ/ข้ันตอน จึงสงผลใหผูที่ออนแอหรือขาดความรูและประสบการณตองประสบกับ ความเสียหายท่ีเกดิ จากสาธารณภัยน้ัน ๆ ประเด็นที่ 2 กอนการจัดฝกอบรม : ชุมชน/หมูบานของทาน มีคณะกรรมการที่มีหนาที่ในการ ปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั หรือไม จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เม่ือวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มีนาคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา ท้ัง 6 หมูบาน ไมมีคณะกรรมการที่มีหนาที่ในการปองกันและ บรรเทาสาธารณภัยใด ๆ ทั้งส้ิน เมื่อเกิดสาธารณภัยข้ึนในชุมชน/หมูบาน กอนท่ีจะมีการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพ ชมุ ชนดา นการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับประชาชนตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยอาศัยชมุ ชนเปน ฐาน ผใู หส มั ภาษณจ าํ นวน 6 คน มีความเหน็ สอดคลองกันวา ไมเคยมีคณะกรรมการ ท่ีทําหนาท่ีในการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานแตอยางใด ผูศึกษาเห็นวา อาจจะมี สาเหตุเน่ืองมาจากชุมชน/หมูบานดังกลาว ยังไมมีหนวยงานใดเขาไปใหความรูเกี่ยวกับการปองกันและ บรรเทาสาธารณภัย จงึ ทาํ ใหใ นแตละชมุ ชน/หมูบ า นไมม คี ณะกรรมการดงั กลา ว

27 ประเดน็ ท่ี 3 ทานไดรบั ความรู ความเขา ใจ จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดา นการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย มากนอยแคไหนและเรอื่ งใดบา ง จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิทั้ง 6 หมูบาน เม่ือวันท่ี 10 มีนาคม 2557 (10 มีนาคม 2557, การสมั ภาษณ) พบวา  หมูท่ี 1 บานนาทะเล : รูเกี่ยวกับการจัดทําแผนท่ีชุมชน สามารถระบุในแผนท่ีไดวาจุดใดเปนพ้ืนที่ เสี่ยงภยั จดุ ใดท่ีจะรวมพลเพ่ือการอพยพ และจุดใดคือจุดปลอดภัยจากสึนามิ และรูเกี่ยวกับการ จัดตั้ง คณะกรรมการปองกันและบรรเทาสาธารณภยั ของชุมชน/หมบู าน  หมทู ี่ 2 บานนาชุมเหด็ : รเู กยี่ วกบั การจัดทาํ แผนทช่ี ุมชน และการจัดตั้งคณะกรรมการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบา น  หมูท่ี 3 บานทุงเปลว : รูเก่ียวกับการจัดทําแผนที่ชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการปองกันและ บรรเทาสาธารณภัยและการจัดทําแผนปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั ของชมุ ชน/หมูบา น  หมูที่ 4 บา นตะเสะ : รเู กี่ยวกับการจัดทําแผนท่ีชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการปองกันและบรรเทา สาธารณภยั ของชมุ ชน/หมบู าน และการจัดปฏิทนิ ฤดูกาล/ปฏิทนิ การเกิดภยั  หมูท่ี 5 บานนาควน : รูเกี่ยวกับการจัดทําแผนที่ชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการปองกันและ บรรเทาสาธารณภยั และการจัดทําแผนปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั ของชุมชน/หมูบ า น  หมูที่ 6 บานโคกออก : รูเก่ียวกับการจัดทําแผนที่ชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการปองกันและ บรรเทาสาธารณภยั ของชุมชน/หมูบ าน การจัดทําแผนปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบาน และการจัดปฏทิ ินฤดกู าล/ปฏทิ นิ การเกิดภยั การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลกั การจดั การความเส่ียงจากภยั พิบตั โิ ดยอาศัยชุมชนเปนฐานน้ัน เปนการใหความรูเก่ียวกับ การจัดทาํ แผนปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย เพ่ือการเตรียมความพรอมรับมือกับภัยพิบัติไดโดยคนในชุมชน/ หมบู า นตนเอง โดยผใู หส ัมภาษณจาํ นวน 6 คน มคี วามเหน็ สอดคลองกันวา การฝกอบรมทําใหเกิดความรู ความเขาใจ ในการจัดทําแผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานไดในรายละเอียดเก่ียวกับ การจัดทาํ แผนท่ีชุมชน ซ่ึงทําใหรูวาจุดใดของแผนที่คือพื้นท่ีเสี่ยงภัย พ้ืนที่ปลอดภัย หรือเสนทางอพยพ ตลอดจนสามารถจัดตั้งคณะกรรมการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชน/หมูบาน ไดรูเกี่ยวกับหนาที่ ความรับผิดชอบในแตละฝายวามีหนาที่อะไร และรูการจัดทําปฏิทินฤดูกาล/ปฏิทินการเกิดภัย เปนตน ผูศ กึ ษาเห็นวา เปน บทพสิ ูจนเ กยี่ วกับความสามารถในการถา ยทอดความรูของวทิ ยากรเก่ียวกับการจัดการ ภัยพิบัตแิ กป ระชาชนไดใ นระดบั หนง่ึ เพราะทําใหผเู ขา รบั การฝก อบรมเกดิ ความรู ความเขา ใจในเร่อื งดังกลาว ขางตน ซ่ึงทาํ ใหเ กิดการปฏิบัติท่ีกอใหเกิดการเตรียมความพรอมใหกับชุมชน/หมูบานของตนเองในการจัดการ กบั ภัยพบิ ัติทเี่ กิดขึน้ ไดอยางมีประสิทธผิ ลตอ ไป ประเดน็ ท่ี 4 หลังการจัดฝกอบรม : ชุมชน/หมูบานของทานมีการจัดต้ังคณะกรรมการปองกัน และบรรเทาสาธารณภยั จํานวนกคี่ ณะ อะไรบาง จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เมื่อวันท่ี 10 มีนาคม 2557 (10 มีนาคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา  หมูที่ 1 บา นนาทะเล : มี 2 คณะ คือ คณะกรรมการฝา ยอาํ นวยการ และ คณะกรรมการฝายเฝา ระวัง และแจงเตือนภัย  หมูท่ี 2 บานนาชุมเห็ด : มี 2 คณะ คือ คณะกรรมการฝายอํานวยการ และ คณะกรรมการ ฝายเฝาระวังและแจงเตอื นภยั

28  หมูท่ี 3 บานทุงเปลว : มี 9 คณะ คือ คณะกรรมการฝายอํานวยการ คณะกรรมการฝายเฝาระวัง และแจงเตือนภยั คณะกรรมการฝายอพยพ คณะกรรมการฝายปองกันและเตรียมความพรอม คณะกรรมการ ฝายสื่อสารและประชาสมั พันธ คณะกรรมการฝา ยคน หากูภัยและชว ยชีวิต คณะกรรมการฝายสงเคราะห คณะกรรมการฝายรกั ษาพยาบาล และคณะกรรมการฝา ยรกั ษาความสงบเรยี บรอย  หมทู ี่ 4 บานตะเสะ : มี 2 คณะ คือ คณะกรรมการฝายอํานวยการ และ คณะกรรมการฝายเฝาระวัง และแจง เตอื นภยั  หมูท่ี 5 บานนาควน : รูมี 2 คณะ คือ คณะกรรมการฝายอํานวยการ และ คณะกรรมการ ฝา ยเฝาระวงั และแจง เตือนภยั อืน่ ๆ เปน ตน  หมูที่ 6 บานโคกออก : มี 9 คณะ คือ คณะกรรมการฝายอํานวยการ คณะกรรมการฝายเฝาระวัง และแจงเตือนภัย คณะกรรมการฝายประสานงาน คณะกรรมการฝายอพยพ คณะกรรมการฝายส่ือสาร และประชาสมั พนั ธ คณะกรรมการฝายคนหากูภัยและชวยชีวิต คณะกรรมการฝายสงเคราะห คณะกรรมการ ฝา ยรกั ษาพยาบาล และคณะกรรมการฝา ยรกั ษาความสงบเรียบรอ ย การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลกั การจดั การความเสี่ยงจากภยั พิบตั โิ ดยอาศยั ชุมชนเปนฐานนั้น เปนการใหความรูเกี่ยวกับ การจดั ทํารายละเอียดตา ง ๆ ของแผนปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั เพ่ือการเตรียมความพรอมรับมือกับ ภยั พบิ ัตแิ ละใหสามารถรับมอื กับภัยพบิ ตั ทิ ่ีเกดิ ข้ึนไดน นั้ โดยผูใ หสัมภาษณจ ํานวน 2 คน มคี วามเห็นสอดคลอง กันวา เมอ่ื การฝกอบรมเสรจ็ สนิ้ ลงแตล ะชุมชน/หมบู า นจะมคี ณะกรรมการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ชุมชน (อาํ นวยการ) และคณะกรรมการฝายตาง ๆ อีก 9 คณะ ประกอบดวย คณะกรรมการฝายปองกัน และเตรียมความพรอ ม คณะกรรมการฝายเฝา ระวังและเตือนภัย คณะกรรมการฝายสื่อสารประชาสัมพันธ คณะกรรมการฝายอพยพ คณะกรรมการฝายคนหากูภัยและชวยชีวิต คณะกรรมการฝายสงเคราะห คณะกรรมการฝายรักษาพยาบาล คณะกรรมการฝายรักษาความสงบเรียบรอย และคณะกรรมการ ฝายประสานงาน สว นอีก 4 คน ไดระบุจํานวนคณะกรรมการไมครบถวน ผูศึกษาเห็นวา อาจจะเนื่องมาจาก เหตุผลของการปฏิบัติหนาท่ีของคณะกรรมการในบางฝายไมคอยมีบทบาทเพราะภัยสึนามิไมไดเกิดขึ้น บอยครั้งหรือเกิดขึ้นเปนประจําทุกป จึงทําใหบทบาทหนาที่ของคณะกรรมบางฝายลดบทบาทลงไป ประชาชนในพ้ืนทจ่ี ึงจดจําไดเ พียงแตค ณะกรรมการเพียงบางฝายทย่ี ังคงทาํ หนาท่ีอยูเ ทา น้นั ประเด็นที่ 5 ทานคิดวาแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบาน สามารถนําไปใช ประโยชนไ ดจริงหรอื ไม จากการสัมภาษณต วั แทนประชาชนในพื้นท่เี สี่ยงภัยสึนามิทั้ง 6 หมูบ า น เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มีนาคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา  หมูท่ี 1 บา นนาทะเล : ใชได  หมทู ี่ 2 บานนาชุมเหด็ : ใชไดก บั ทุกดาน  หมูท่ี 3 บา นทงุ เปลว : ใชไดกบั ดา นการใหค วามชวยเหลอื อพยพประชาชนในพ้ืนที่  หมูท่ี 4 บานตะเสะ : ใชไ ดกบั ทุกดาน  หมทู ่ี 5 บา นนาควน : ใชไดกับทุกดาน  หมทู ่ี 6 บานโคกออก : ใชไดก ับดา นการใหความชว ยเหลอื อพยพประชาชน การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน มีการจัดทําแผนปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานข้ึนเพื่อใหสามารถรับมือกับภัยพิบัติท่ีเกิดข้ึนไดนั้น ผูใหสัมภาษณ

29 จาํ นวน 6 คน มคี วามเหน็ สอดคลอ งกนั วา แผนปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานสามารถ นําไปใชป ระโยชนไดจรงิ และใชไ ดกบั ทุก ๆ ดานของการใหความชวยเหลือประชาชน โดยเฉพาะดานการอพยพ ประชาชน ผูศึกษาเห็นวา ประชาชนในพื้นท่ีเส่ียงภัยไดมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความจําเปนและ ความสําคัญกับการจัดการภัยพิบัติ และคงไดมีการศึกษาขอมูลของแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ของชุมชน/หมูบา นทาํ ใหไดร ูในรายละเอยี ดตา ง ๆ ทีไ่ ดระบไุ วใ นแผนซึ่งประกอบดวย รายละเอียดของขอมูล พ้ืนฐานของชุมชน/หมูบาน ขอมูลแผนท่ีชุมชน (แผนท่ีเสี่ยงภัยของชุมชน/หมูบาน) ขอมูลการจัดตั้ง คณะกรรมการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชน/หมูบาน และแผนผังคณะกรรมการฯ พรอมบทบาท หนาที่ตาง ๆ และขอมูลขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบาน ตลอดจนขอมูลในภาคผนวกของแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานในรายละเอียดตาง ๆ ท่จี ําเปน เชน แผนผังระบบแจง เตอื นภยั ของชุมชน บัญชีอุปกรณ เครือ่ งมือเคร่ืองใชและทรัพยากรในชุมชน ทจ่ี ะนํามาใชป ระโยชนในการจดั การภัยพบิ ัติ เปนตน จึงไดคิดวาแผนปองกันฯ น้ันสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อการจดั การภยั พบิ ัติไดจ รงิ ประเด็นท่ี 6 ชุมชน/หมูบานของทานมีการติดตามเฝาระวังสถานการณและระวังภัยในพื้นท่ี โดยวธิ ีใดบา ง จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพื้นที่เส่ียงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เม่ือวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มนี าคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา  หมูท่ี 1 บานนาทะเล : 1) ติดตามขาวและสถานการณดานภัยตาง ๆ จาก Internet, โทรทัศน และวิทยุ และ 2) ฟง คาํ แจงเตือนจากกรมอตุ ุนิยมวทิ ยา  หมูที่ 2 บานนาชุมเห็ด : 1) ติดตามขาวและสถานการณดานภัยตาง ๆ จากโทรทัศน และ 2) ฟง คําแจงเตอื นจากกรมอตุ นุ ิยมวทิ ยา  หมูที่ 3 บานทุงเปลว : 1) ติดตามขาวและสถานการณดานภัยตาง ๆ จากโทรทัศน, Internet และ 2) หอเตือนภยั สนึ ามิ  หมูท่ี 4 บานตะเสะ : 1) ติดตามขาวและสถานการณดานภัยตาง ๆ จาก Internet, โทรทัศน และ วทิ ยุ และ 2) ฟงคาํ แจงเตือนจากกรมอตุ นุ ิยมวิทยา  หมูท่ี 5 บานนาควน : 1) เฝาระวังกันเองในชุมชน โดยวิธีการจัดเวรยามเฝาระวังสถานการณ 2) ตดิ ตามขา วและสถานการณดานภัยตาง ๆ จาก Internet, โทรทัศน และวิทยุ และ 3) ฟงคําแจงเตือน จากกรมอุตนุ ยิ มวิทยา  หมูที่ 6 บานโคกออก : 1) ติดตามขาวและสถานการณดานภัยตาง ๆ จากโทรทัศนและวิทยุ และ 2) หอเตอื นภัยสึนามิ การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ทําให ประชาชนในพ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิ ไดรับความรู ความเขาใจ เกี่ยวกับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามหลกั การจดั การความเส่ียงจากภยั พิบตั โิ ดยอาศยั ชมุ ชนเปน ฐาน ผูใหสัมภาษณจํานวน 6 คน มีความเห็น สอดคลอ งกนั วา การตดิ ตามเฝา ระวงั สถานการณและระวังภยั ในพื้นที่ไมวาโดยวิธีเฝาระวังกันเองในชุมชน โดยวิธีการจัดเวรยามเฝาระวังสถานการณ การติดตามขาวและสถานการณดานภัยตาง ๆ จากสื่อตาง ๆ เชน Internet, โทรทศั นและวทิ ยุ และจากการฟง คําแจงเตอื นจากกรมอตุ นุ ิยมวทิ ยา ผูศ กึ ษาเห็นวา ประชาชน ในพ้นื ท่ีไดเลง็ เหน็ วาเปน เรอื่ งทมี่ คี วามจาํ เปน และสําคญั ท่จี ะตอ งกระทําเปนประจํา เพ่ือใหชุมชน/หมูบาน ของตนเองมีความพรอ มและสามารถรับมือกับภัยพิบัติท่ีเกิดข้ึนได เพ่ือใหเกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ของชุมชน/หมูบ า น

30 ประเด็นที่ 7 หากเกิดภัยข้ึนในชุมชน/หมูบานของทาน ทานมีวิธีในการแจงเตือนภัยเพ่ือการ เตรียมความพรอมในการปอ งกันและเตรยี มการอพยพประชาชนโดยวิธีใด จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เม่ือวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มนี าคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา  หมูที่ 1 บานนาทะเล : 1) แจงเตือนจากหอกระจายขาว 2) แจงขาวผานวิทยุสื่อสาร 3) คณะกรรมการดานการแจง เตอื นภัย ตระเวนแจง ขาวตามหมบู าน/ชุมชน และ 4) หอเตือนภยั สึนามิ  หมูท่ี 2 บานนาชุมเห็ด : 1) แจงเตือนจากหอกระจายขาว 2) แจงขาวผานวิทยุสื่อสาร 3) คณะกรรมการดา นการแจง เตือนภัย ตระเวนแจงขาวตามหมูบาน/ชมุ ชน และ 4) หอเตือนภัยสึนามิ  หมูท่ี 3 บานทุงเปลว : 1) แจงเตือนจากหอกระจายขาว 2) คณะกรรมการดานการแจงเตือน ภัย ตระเวนแจง ขา วตามหมบู าน/ชมุ ชน และ 3) หอเตือนภัยสนึ ามิ  หมูที่ 4 บานตะเสะ : 1) แจงเตือนจากหอกระจายขาว 2) แจงขาวผานวิทยุสื่อสาร 3) คณะกรรมการดา นการแจงเตือนภัย ตระเวนแจง ขา วตามหมูบาน/ชมุ ชน และ 4) หอเตือนภยั สึนามิ  หมูที่ 5 บานนาควน : 1) แจงเตือนจากหอกระจายขาว 2) แจงขาวผานวิทยุสื่อสาร 3) คณะกรรมการดานการแจง เตือนภยั ตระเวนแจง ขา วตามหมบู าน/ชมุ ชน และ 4) หอเตอื นภัยสึนามิ  หมูท่ี 6 บานโคกออก : 1) แจงเตือนจากหอกระจายขาว 2) คณะกรรมการดานการแจงเตือนภัย ตระเวนแจง ขา วตามหมบู า น/ชุมชน และ 3) หอเตือนภัยสนึ ามิ การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลักการจัดการความเส่ียงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน ประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียง ภัยสึนามิ มีวิธีในการแจงเตือนภัยในหลาย ๆ วิธีดวยกัน โดยผูใหสัมภาษณจํานวน 6 คน มีความเห็น สอดคลอ งกันวา มีวิธีแจง เตือนภัยจากหอกระจายขาว แจงขาวผานวิทยุส่ือสาร แจงเตือนภัยโดยคณะกรรมการ หมูบาน/ชุมชน และแจงเตือนจากหอเตือนภัยสึนามิ ผูศึกษาเห็นวา ประชาชนในพื้นท่ีดังกลาวเกิดความ ตระหนักและเห็นถึงความจําเปนและความสําคัญในขอมูลขาวสารที่จะไดรับการแจงเตือนจากส่ือตาง ๆ เพอื่ การเตรยี มความพรอมในการปองกันและเตรียมการอพยพประชาชนเมื่อเกิดภัยขึ้น ตลอดจนลดการสูญเสีย ใหน อ ยท่สี ุดท้ังตอชีวติ และทรัพยสนิ ของคนในชุมชน/หมูบ า น ประเด็นท่ี 8 ชุมชน/หมูบานของทาน ไดจัดใหมีการฝกซอมแผนไปแลวบางหรือไม เม่ือใด จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิทั้ง 6 หมูบาน เม่ือวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มีนาคม 2557, การสมั ภาษณ) พบวา ท้ัง 6 หมบู า น ยงั ไมไ ดฝก ซอ มแผนแตอยา งใด การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลักการจัดการความเส่ียงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน ประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียง ภัยสึนามิจะตองมีการจัดทําแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานขึ้นมา เพ่ือการเตรียม ความพรอมในการรับมือกบั ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ผูใหสัมภาษณจํานวน 6 คน มีความเห็นสอดคลองกันวา แผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานดังกลาว ยังไมไดรับการฝกซอมแตอยางใด ผูศึกษา เห็นวา ภัยสึนามิเปนภัยท่ีไมไดเกิดขึ้นบอยคร้ังเหมือนเชนภัยประเภทอ่ืน ๆ จึงทําใหประชาชนเล็งเห็น ความจําเปน และความสําคัญลดนอยลงและทําใหเกิดการละเลยในการฝกซอมแผนลงไป หรืออาจมาจาก สาเหตทุ ผ่ี นู ําชมุ ชนไมมคี วามจรงิ จังในการฝกซอมแผนใหแกประชาชนในชุมชน/หมูบานของตนเอง รวมท้ัง คนในชมุ ชนไมมีความพรอ มเพรยี งกนั สําหรบั การรวมตัวเพื่อการฝกซอมแผนอันเนื่องมาจากภารกิจ หนาท่ี การงานทแ่ี ตกตา งกนั ทําใหชวงเวลายามวางไมต รงกัน

31 ประเด็นท่ี 9 ทานมีความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจน ความพรอมที่จะบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง หลังจากที่ไดเขารับการ ฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือไม และเพราะสาเหตุอะไร จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เม่ือวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มนี าคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา  หมทู ่ี 1 บา นนาทะเล : มีความต่นื ตวั เพราะเห็นวามีความจําเปนและสําคัญในการท่ีชุมชน/หมูบาน ตอ งมีความพรอ มไมวาจะเปน เรอ่ื งของคนและอุปกรณ เครือ่ งไมเ ครอ่ื งมอื เพอ่ื ปอ งกันสึนามิ  หมูท่ี 2 บานนาชุมเห็ด : มี เพราะสึนามิทําใหเกิดความเสียหายตอการประกอบอาชีพของคน ในชุมชน/หมบู าน ทาํ ใหข าดรายได  หมูที่ 3 บานทุงเปลว : มคี วามต่นื ตวั และตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ เพราะถาคน ในชมุ ชนมคี วามพรอ มในทุกดา นเพื่อปอ งกันภยั สนึ ามิ ก็จะทําใหมีความปลอดภัยและลดการสูญเสียท้ังตอ ชีวติ และทรัพยสินได  หมูที่ 4 บานตะเสะ : มี เพราะเห็นวามีความจําเปนและความสําคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพยสนิ  หมูท ี่ 5 บานนาควน : มีความต่ืนตัว และตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญในการปองกัน สนึ ามิ เพราะเหน็ วา สงผลกระทบตอคนในชมุ ชน/หมบู านอยางมาก  หมูท่ี 6 บานโคกออก : มี เพราะเห็นวาเกี่ยวของกับชีวิตและทรัพยสินของเรา และคนในชุมชน/ หมบู าน ถาชมุ ชน/หมูบ า นมีความพรอ มท่ีจะจัดการภัยสึนามิไมวาจะเรื่องของกําลังคนและอุปกรณตาง ๆ กจ็ ะทาํ ใหร อดพนและปลอดภยั จากสึนามไิ ด การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐานก็เพื่อใหชุมชน/หมูบาน ในพ้ืนท่ีเสี่ยงภัยสึนามิไดมีความพรอมในการรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น โดยผูใหสัมภาษณจํานวน 6 คน มีความเหน็ โดยสว นใหญส อดคลองกนั วา การฝกอบรมโครงการดังกลาวทําใหเกิดความตื่นตัว และตระหนัก ถึงความจําเปนและความสําคัญ เพราะเปนเรื่องที่เก่ียวของกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสินของตนเอง และคนในชุมชน/หมูบาน ผูศึกษาเห็นวา เนื่องจากภัยพิบัตินั้นไดสงผลกระทบโดยตรงตอประชาชน ในพ้ืนทเ่ี ส่ียงภยั จงึ ทาํ ใหป ระชาชนเกดิ ความรสู กึ ดงั กลาวน่นั เอง ประเด็นท่ี 10 ทานมีขอคิดเห็น/ขอเสนอแนะ/ปญหาอุปสรรค อะไรบางเก่ียวกับการฝกอบรม โครงการเสรมิ สรา งศักยภาพชมุ ชนดานการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั จากการสัมภาษณตัวแทนประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิท้ัง 6 หมูบาน เม่ือวันที่ 10 มีนาคม 2557 (10 มีนาคม 2557, การสัมภาษณ) พบวา  หมูที่ 1 บานนาทะเล : วิทยากรท่ีมาใหความรู ควรมีเวลาของการฝกอบรมมากกวาน้ี คือประมาณ 5 วนั เพอื่ ใหเกิดความเขาใจและครอบคลมุ ทกุ ขน้ั ตอนมากยิ่งขนึ้  หมูท่ี 2 บานนาชุมเห็ด : การที่วิทยากรมาใหความรู เปนประโยชนตอคนในชุมชน/หมูบาน แตจะเกิดประโยชนส งู สดุ ถา ชุมชน/หมูบานไดเ ห็นถงึ ความจําและความสาํ คัญในการปอ งกันภยั อยางจริงจงั  หมูท ่ี 3 บานทุง เปลว : เปนประโยชนต อ คนในพน้ื ท่ี ทําใหมีความรูเพม่ิ ข้นึ ในการปองกันภยั สนึ ามิ  หมทู ่ี 4 บานตะเสะ : กอใหเกิดประโยชนตอคนในชุมชน/หมูบาน ท่ีจะนําความรูที่ไดรับไปปรับใช กบั การจัดการภยั สนึ ามใิ นพืน้ ที่

32  หมูที่ 5 บานนาควน : ความรูท ี่ไดรับถา นําเอาไปฝกปฏิบัติอยางจริงจัง ก็จะทําใหคนในชุมชน/ หมูบ า นมีความพรอม มีศกั ยภาพในการปองกนั ภยั สึนามไิ ดจ ริง  หมูท่ี 6 บานโคกออก : คนในชุมชน/หมูบาน ควรใหความสําคัญเกี่ยวกับความรูท่ีวิทยากรของ หนวยงานมาใหความรู เพ่อื การนําไปปรบั ใชกับการจดั การภัยสึนามิตอไป ใหเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงสุดในชมุ ชน/หมบู านของตนเอง จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศกั ยภาพชมุ ชนดานการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน ไดทําใหเกิดขอคิดเห็น/ ขอเสนอแนะ/ปญหาอุปสรรคตาง ๆ โดยผใู หสัมภาษณจํานวน 6 คน มีความเห็นโดยสวนใหญสอดคลองกันวา การฝก อบรมดังกลา วมคี วามจําเปน และสําคัญเพราะกอใหเกิดประโยชนตอการนําไปปรับใชกับการจัดการ ภยั สึนามใิ นพนื้ ท่ี และทําใหมคี วามพรอ ม มีศักยภาพในการปอ งกนั ภยั สึนามิไดจริงถาประชาชนในพ้ืนที่เส่ียงภัย ไดนําไปฝกปฏิบัติอยางจริงจัง ผูศึกษาเห็นวา ความคิดเห็นของประชาชนดังกลาวนี้จะตองเกิดจาก ความรวมมือกันระหวางวิทยากรผูใหความรูกับผูนําชุมชน/หมูบานรวมท้ังประชาชนผูเขารับการฝกอบรม ในพื้นที่เสี่ยงภัย อาจกลาวไดวา วิทยากรนอกจากจะมีความรูความเขาใจในเรื่องดังกลาวเปนอยางดีแลว ยังจะตองเปนผูท่ีมีความพรอมและความต้ังใจท่ีจะถายทอดความรูดวยจิตอาสา/บริการอยางเต็มความสามารถ ประกอบกับประชาชนในพ้ืนท่ีก็ไดใหความสําคัญและมุงมั่นที่จะเรียนรูอยางจริงจังและตั้งใจเพื่อใหเกิดความรู ความเขาใจจงึ จะนาํ ไปสกู ารพฒั นาขดี ความสามารถและศักยภาพในการจัดการภัยพิบัตภิ ายในชุมชน/หมูบาน ไดอยา งแทจ ริง

33 บทท่ี 5 สรปุ และอภิปรายผล การศกึ ษาเรอื่ ง “ประสิทธิผลของการฝก อบรมโครงการเสรมิ สรา งศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา : พ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิ จังหวัดตรัง” ในครั้งนี้ เปนการศึกษาเพ่ือ ศึกษา ถึงระดับความรูความเขาใจของประชาชนในพ้ืนที่เสี่ยงภัยสึนามิ จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพ ชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และเพื่อศึกษาถึงความต่ืนตัว และการตระหนักถึงความจําเปน และความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชนในชุมชน/หมูบาน ที่จะสามารถบริหารจัดการภัยพิบัติ ของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเองกอนที่จะไดรับการชวยเหลือจากหนวยงานอื่นหลังจากที่ไดเขารับ การฝก อบรม โดยนําเอาแนวคิดเก่ียวกับการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) พระราชบัญญัติปองกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 แนวคิดเกีย่ วกับประสิทธิผล แนวคิดเก่ียวกับประสิทธิผลขององคการ แนวคิดเกี่ยวกับสึนามิ แนวคิดเกี่ยวกับ โครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย และทฤษฎีลําดับข้ันความตองการ ของมาสโลว ในการศึกษาคร้ังนี้เปนการศึกษาเชิงคุณภาพดําเนินการจัดเก็บขอมูลโดยการสัมภาษณเจาะลึก ตามประเดน็ สัมภาษณท ผี่ ูศ กึ ษาไดกําหนดคําถามไวเ พอื่ ใหไดข อมูลกระชบั ตรงประเด็น การรวบรวมขอมูล และการวเิ คราะหข อมูล การรบั ฟงความคดิ เหน็ และขอ เสนอแนะจากกลุมบุคคลที่เกี่ยวของกับการฝกอบรม โครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยในการจัดการความเสี่ยงจาก ภยั พิบัติโดยอาศยั ชุมชนเปนฐาน จาํ นวน 6 คน สรุปผลการศกึ ษา ผลการศึกษาดานคณุ สมบัติของผตู อบแบบสัมภาษณ และผลสรุปตามวตั ถุประสงค มีดังน้ี สรุปขอ มูลคุณสมบัตขิ องผูตอบแบบสัมภาษณ ผูตอบแบบสัมภาษณม ีจาํ นวน 6 คน ประกอบดวย เพศชาย จํานวน 5 คน และเพศหญิง จํานวน 1 คน ระดับการศึกษาตั้งแตประถมศึกษาปที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปที่ 6 มีชวงอายุระหวาง 36 – 52 ป ประกอบอาชีพ ทําการประมงและทําสวนยางพาราเปนอาชีพหลัก เปนประชาชนในพื้นที่หมูที่ 1 – 6 ของตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง ซ่ึงเปนพ้ืนท่ีที่ไดประสบภัยสึนามิ และประชาชนกลุมดังกลาวไดรับการ ฝกอบรมโครงการเสริมสรา งศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยจากสํานักงานปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ในชว งระหวา งวนั ที่ 17-18 มกราคม 2556 ผูประสบภยั สึนามิในแตละชมุ ชน/หมบู า นมที ั้งเพศหญิงและเพศชาย ตา งอายุ ตางอาชีพ ตลอดจน การศึกษาก็แตกตางกัน แตท่ีทุกคนมีเหมือนกันคือการตองการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ตองการ ใหตนเองตลอดจนคนในหมูบานรอดพนจากภัยพิบัติ ทําใหทุกคนเกิดการตระหนักถึงความจําเปนและ ความสําคัญที่จะทําใหเกิดความปลอดภัยในการดําเนินชีวิต และวิธีการฝกอบรมดานการปองกันและบรรเทา สาธารณภัยเพื่อเสริมสรางศักยภาพของตนเองและชุมชน/หมูบานก็เปนวิธีการหนึ่งที่จะเปนการเตรียม ความพรอมและรับมือกับภัยที่จะเกิดขึ้น ไมวาจะเปนการเตรียมความพรอมในดานของคนและเคร่ืองมือ อุปกรณตาง ๆ สาํ หรับการปองกันภัย ทั้งนี้ เพื่อใหสามารถชวยเหลือตนเองและคนในชุมชน/หมูบาน ใหปลอดภยั และลดผลกระทบกบั ชวี ิตและทรพั ยส ินใหเ กดิ ความเสียหายนอ ยทสี่ ุด

34 สรปุ ขอมูลตามวัตถุประสงค ประเด็นท่ี 1 ระดับความรูความเขาใจของประชาชนในพ้ืนท่ีเสี่ยงภัยสึนามิ จากการฝกอบรม โครงการเสรมิ สรางศกั ยภาพชมุ ชนดา นการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยทําให ประชาชนมีความรู ความเขา ใจเกี่ยวกับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับท่ีนาพอใจ เพราะประชาชน ดังกลาวสามารถจัดทําแผนการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบานไดในรายละเอียดเก่ียวกับ การจัดทําแผนท่ีชุมชน ซ่ึงสามารถรูวาจุดใดของแผนท่ีคือพ้ืนท่ีเส่ียงภัย พ้ืนท่ีปลอดภัย หรือเสนทางอพยพ มีความรูในการจัดต้ังคณะกรรมการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชน/หมูบานได และรูถึงความจําเปน และความสําคัญเกี่ยวกับหนาท่ีความรับผิดชอบในแตละฝายวาทําหนาท่ีอะไรบาง ตลอดจนมีความรูและ สามารถจัดทําปฏิทินฤดูกาล/ปฏิทินการเกิดภัยได ซ่ึงระดับความรูความเขาใจของประชาชนในเร่ืองดังกลาว จะทําใหประชาชนในชุมชน/หมูบานรูขอมูลเกี่ยวกับพื้นที่ของชุมชน/หมูบานดีขึ้นและรูถึงอํานาจหนาที่ ของคณะกรรมการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมูบาน วามีใครบางและทําหนาที่อะไร ทาํ ใหม ีความพรอ มในการปฏบิ ัติตนใหม คี วามปลอดภัยเมอื่ เกดิ ภัยพบิ ตั ิข้นึ ไดในระดับหนึ่ง ประเด็นที่ 2 ความตนื่ ตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอม ของประชาชนในชุมชน/หมูบาน ท่ีจะสามารถบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง กอนทจ่ี ะไดร บั การชว ยเหลือจากหนวยงานอ่นื หลงั จากทไ่ี ดเ ขารบั การฝก อบรม การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยสําหรับ ประชาชนตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน เพื่อใหชุมชน/หมูบาน ในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิมีความพรอมในการบริหารจัดการสาธารณภัยในเบ้ืองตน ทําใหประชาชนมีความตื่นตัว และตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชนในชุมชน/หมูบาน ท่ีจะ สามารถบรหิ ารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง กอนท่ีจะไดรับการชวยเหลือจากหนวยงานอ่ืน หลังจากที่ไดเขารับการฝกอบรม เพราะประชาชนเห็นวาภัยจากสึนามิมีผลกระทบตอชีวิตและทรัพยสิน ไมวาจะเปนในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน และการประกอบอาชีพที่กอใหเกิดรายได ในการดาํ รงชีวิตของตนเองและคนในชุมชน/หมูบาน ทั้งนี้ ชุมชน/หมูบานจะตองมีความพรอมทั้งในเรื่อง ของคน ท่ีมีความรู ความเขาใจ และทักษะที่เกิดจากการฝกซอมแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยของ ชุมชน/หมูบานอยางสม่ําเสมอจนเกิดความชํานาญ คลองตัว และรวดเร็ว ในการจัดการกับภัยพิบัติ ตลอดจน มีเคร่ืองมือ อุปกรณต า ง ๆ ที่สําคัญและเพียงพอในชุมชน/หมูบานที่จะนําไปใชในการปองกันภัยเพื่อใหสามารถ รับมือและจัดการกับภัยพิบัติท่ีเกิดข้ึนไดอยางมีประสิทธิผล ทําใหสามารถลดการสูญเสียทั้งตอชีวิตและ ทรพั ยสนิ ใหนอ ยทีส่ ดุ ดังนั้น การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย จงึ เปนการฝก อบรมทก่ี อใหเกดิ ความรูความเขาใจ ความตื่นตัวและการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอ มของประชาชนในชมุ ชน/หมบู าน ที่กอใหเกิดศักยภาพและความสามารถในการบริหาร จัดการภัยพิบัติในเบื้องตนของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเองหรือโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน กอนที่จะไดรับ การชว ยเหลอื จากหนวยงานอ่ืน สง ผลใหชุมชน/หมูบา นมคี วามเขมแขง็ และพ่งึ พาตนเองไดใ นระดบั หนึ่ง

35 การอภิปรายผล ผลการศึกษาท่ีสรุปวา การฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทา สาธารณภัย เปนโครงการท่ีทําใหประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ หมูที่ 1-6 ตําบลตะเสะ อําเภอหาดสําราญ จังหวัดตรัง มีความรู ความเขาใจ มีความต่ืนตัว และตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจน ความพรอมในการบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง กอนที่จะไดรับการชวยเหลือ จากหนวยงานอ่ืน ผลดังกลาวมีความสอดคลองกับแนวคิดเรื่อง โครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชน ดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยท่ีหมายถึง โครงการท่ีจะชวยเพ่ิมทักษะและขีดความสามารถ ใหกับประชาชนในพื้นท่ีเส่ียงภัยใหสามารถปองกันและบรรเทาความเดือดรอนหรือความเสียหายเพื่อลด ความสูญเสียทั้งตอชีวิตและทรัพยสินจากสาธารณภัยตาง ๆ ที่เกิดขึ้นได และสอดคลองกับแนวคิดเรื่อง ประสิทธผิ ล ท่ีหมายถงึ ความสามารถขององคการที่กอใหเกิดผลการดําเนินงานซ่ึงบรรลุตามวัตถุประสงค หรือเปาหมายที่วางไว และสามารถตอบสนองความตองการของสังคม รวมท้ังมีความสอดคลองกับแนวคิด เรื่องประสิทธิผลขององคการท่ีหมายถึง สมรรถนะหรือความสามารถขององคการในการบรรลุเปาหมาย ทไ่ี ดกําหนดไว โดยใชประโยชนจากทรัพยากรอยางคุมคา รักษาไวซึ่งทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ และ ไมสรางความเครียดแกสมาชิก สมาชิกเกิดความพึงพอใจในงาน ทุกคนมีสวนรวมอยางกวางขวางในการ กําหนดวัตถุประสงคขององคการ และรับผิดชอบตอปญหาหรือขอยุงยากท่ีเกิดขึ้น และองคการสวนรวม สามารถปรบั ตวั และพฒั นาเพ่อื ดาํ รงอยูตอไปได ซ่ึงสามารถอธิบาย (ตามประเด็นสัมภาษณ) ไดวา การฝกอบรม โครงการเสรมิ สรา งศกั ยภาพชุมชนดานการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัยน้ันกอใหเกิดประสิทธิผลในการ จัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐานไดในระดับหนึ่ง เพราะทําใหประชาชนในพ้ืนท่ีเสี่ยงภัย สึนามิดงั กลา วมีความรู ความเขาใจ ความตืน่ ตวั และตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญเกี่ยวกับการ จัดการภัยพิบัติเพ่ิมมากข้ึน ทําใหเกิดความพรอมในดานศักยภาพหรือขีดความสามารถประกอบกับวัสดุ อุปกรณ เคร่ืองมือตา ง ๆ ท่มี อี ยูในชุมชน/หมูบา นจัดการกับภัยพบิ ตั ิ (สึนาม)ิ ท่เี กดิ ขนึ้ ไดดว ยตนเอง เพ่ือให ในชุมชน/หมูบานมีความปลอดภัย ทําใหเปนชุมชน/หมูบานท่ีมีความเขมแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองไดกอนที่ จะไดร บั ความชว ยเหลือจากหนวยงานอ่ืน ท้ังนี้ สอดคลองกับ นางสาวอรพิน หาญธรรม (2556 : บทคัดยอ) ท่ีกลาววาความเสียหายและผลกระทบท่ีเกิดจากภัยพิบัติ สงผลกระทบโดยตรงกับประชาชนที่อยูในพื้นท่ี เส่ียงภัย ไมวาจะเปนผลกระทบตอความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ผลกระทบตอการประกอบอาชีพ ฉะนนั้ ประชาชนจงึ จาํ เปน ตองทาํ ทกุ วธิ เี พ่อื ปกปองชวี ิตและทรพั ยสินของตนเอง ขอ เสนอแนะสําหรบั การนาํ ผลไปใช 1. ควรนําเสนอขอมูลท่ีไดจากการศึกษาในคร้ังนี้ เสนอตอประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ หมทู ี่ 1-6 ตําบลตะเสะ อาํ เภอหาดสาํ ราญ จงั หวัดตรัง เพื่อใชเปนขอมูลที่กอใหเกิดความรู ความเขาใจ เกยี่ วกับการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย และกอใหเกิดการตระหนักของการมีสวนรวมในการฝกซอมแผน ปองกนั และบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน/หมบู านใหสามารถรบั มือกับภัยพบิ ตั ทิ เี่ กิดขึ้นได 2. หนวยงานระดับจังหวัด จัดทําคูมือในการจัดทําแผนปองกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อให หนวยงานทีเ่ กย่ี วขอ งใชเ ปน มาตรฐานเดยี วกนั ขอ เสนอแนะสาํ หรับการวิจยั ครง้ั ตอไป 1. ควรมีการศึกษาในประเด็นการใหความสําคัญเก่ียวกับการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ของหนว ยงานปกครองสวนทอ งถ่ิน

36 2. ควรมกี ารเสรมิ สรางจิตสาํ นกึ และวัฒนธรรมความปลอดภัยของประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยพิบัติ กลาวไดวา สึนามิไมไดเกิดข้ึนบอยครั้งเหมือนกับภัยธรรมชาติประเภทอื่น ๆ ดังนั้น จึงทําใหประชาชนไมได ตระหนกั ถึงความจําเปนและสําคัญในการเตรียมความพรอมท่ีจะปองกันภัยหรือรบั มืออยางจริงจัง จึงละเลย ในเรอื่ งของการเตรียมความพรอมอยา งตอ เน่อื ง 3. ควรมีการติดตามและประเมินผลชุมชน/หมูบานภายหลังที่ไดรับการฝกอบรมโครงการ เสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัยไปแลวไมนอยกวา 2 คร้ัง เพื่อสามารถ ทราบถงึ ความพรอ มและความเขม แขง็ ของชุมชน/หมบู า นในการจัดการภัยพิบัติ เพ่ือการสนับสนุนในเร่ือง ของเคร่ืองมือและอปุ กรณป องกนั ภยั ตอ ไป

37 บรรณานกุ รม การเสรมิ สรา ง. [ออนไลน] . เขาถงึ ไดจาก : http://larnbuddhism.com/webboard/showthread.php? 2867-%A1%D2%C3%E0%CA%C3%D4%C1%CA%C3%E9%D2%A7%A4%C7%D2% C1%BB%C3%CD%A7%B4%CD%A7(%A4%C7%D2%C1%CA%D2%C1%D1%A4%A4% D5)%A2%CD%A7%A4%B9%E4%B7%C2 (วนั ท่คี นขอ มลู : 8 กุมภาพันธ 2557). กระทรวงมหาดไทย. คูมือการจัดการภัยพิบตั สิ าํ หรับประชาชน: ตามหลกั การจดั การความเสี่ยงจากภัยพบิ ตั ิ โดยอาศัยชุมชนเปนฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM). กรงุ เทพมหานคร : กรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย, ม.ป.ป. กระทรวงมหาดไทย. พระราชบัญญตั ปิ องกันและบรรเทาสาธารณภยั พ.ศ. 2550 และอนบุ ญั ญัต.ิ กรุงเทพมหานคร : กรมปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั , ม.ป.ป. ทฤษฎีลําดับขั้นความตองการ ของ Maslow. [ออนไลน]. เขาถึงไดจาก : http://www.bloggang.com/ mainblog.php?id=wbj&month=07-12-2007&group=29&gblog=3 (วันที่คนขอมูล : 8 กมุ ภาพันธ 2557). พรทิพย หนปู ลอด. (2552). การบริหารจดั การความเสยี่ งจากอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเปน ฐาน: กรณีศกึ ษา พื้นท่ีหมูท่ี 1 บานหนองเรียง ตาํ บลทาขาม อําเภอทาแซะ จังหวัดชุมพร. สารนิพนธ รัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑติ นโยบายสาธารณะ, มหาวทิ ยาลัยราชภัฎบานสมเด็จเจา พระยา. วาท่รี อยตรี มนตส งา ลีลาศสงางาม. (2556). การมีสว นรวมของประชาชนในการจัดการภยั พบิ ตั ิโดยอาศยั ชุมชนเปนฐาน: กรณีศึกษาชุมชนบานคูสวาง ตําบลหนองกินเพล อาํ เภอวารินชําราบ จังหวัด อบุ ลราชธานี, กรมปองกันและบรรเทาสาธารณภยั . ศกั ยภาพ. [ออนไลน] . เขาถงึ ไดจ าก : http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3937 (วนั ที่คน ขอมลู : 8 กุมภาพันธ 2557). สาธารณภัย. [ออนไลน] . เขาถึงไดจ าก : http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/B1-1-2.html (วันท่ีคน ขอมลู : 8 กมุ ภาพันธ 2557). สุเนตร ชาคระธรรม. (2550). ประสิทธผิ ลการบริหารงานการวัดและประเมนิ ผลการศึกษาโรงเรียนเอกชน ภายใตมูลนิธิแหงสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวทิ ยาลยั รามคําแหง. เสาวลกั ษณ กัณหวงศ. (2552). ประสิทธิผลในการใชจ า ยเงนิ ทดรองราชการเพ่ือชวยเหลือผูประสบภยั พบิ ตั ิ ในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะกรณีอัคคีภัย. สารนิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวทิ ยาลยั รามคาํ แหง. หรรษา สภุ าพรเหมินทร. (2548). ประสิทธผิ ลการดาํ เนินโครงการกระจายความเจรญิ ไปสภู ูมภิ าค (กจภ.): ศึกษาเฉพาะกรณีแผนงานสงเสริมศักยภาพของชุมชนในเชิงเศรษฐกิจ ปงบประมาณ 2546 อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ. อรพิน หาญธรรม. (2556). การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเปนฐาน: กรณีศึกษา หมูที่ 1 บานตาดเสรมิ ตําบลบา นมวง อาํ เภอสงั คม จงั หวัดหนองคาย, กรมปองกนั และบรรเทาสาธารณภยั .

38 ภาคผนวก

39 แบบสัมภาษณเ พอื่ การทําวิจัย เร่ือง ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดา นการปองกันและบรรเทาสาธารณภยั กรณศี ึกษา : พ้ืนท่ีเสยี่ งภยั สึนามิ จงั หวัดตรัง เรียน ผตู อบแบบสมั ภาษณ แบบสัมภาษณชุดน้ี จัดทาํ ขึ้นเพื่อใชประกอบการทําวิจัยซึ่งเปนสวนหนึ่งของแนวทางการจัดทํา เอกสารวิจัยสวนบุคคล หลักสูตรนักบริหารงานปองกันและบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.) รุนที่ 10 วิทยาลัยปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยคําตอบของทานจะไมกอใหเกิดความเสียหายใด ๆ ตอทาน จึงใครขอความกรุณาตอบแบบสัมภาษณ ตามความเปน จริง จักขอบพระคุณยิง่ คําอธบิ าย แบบสมั ภาษณแบงออกเปน 2 สวน ดงั นี้ สว นท่ี 1 ขอ มลู ทั่วไปของผูตอบแบบสัมภาษณ สวนที่ 2 ขอมูลเก่ียวกับประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภยั กรณีศกึ ษา : พน้ื ท่เี ส่ยี งภยั สนึ ามิ จังหวัดตรัง

402 สว นท่ี 1 ขอมูลท่ัวไปของผูตอบแบบสัมภาษณ 1. ช่ือ – สกลุ .....................................................................................................อายุ.............................ป 2. เพศ ( ) หญิง ( ) ชาย 3. บานเลขที่.............. หมทู .่ี ........ บา น........................... ตาํ บลตะเสะ อําเภอหาดสาํ ราญ จังหวดั ตรงั 4. ระดับการศึกษา................................................................................................................................... 5. อาชพี ................................................................................................................................................... สวนท่ี 2 ขอ มลู เกีย่ วกบั ประสิทธผิ ลของการฝก อบรมโครงการเสรมิ สรางศกั ยภาพชมุ ชนดานการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย กรณศี กึ ษา : พ้นื ทเี่ สี่ยงภยั สึนามิ จังหวดั ตรงั 1. กอนการจัดฝกอบรม : เมื่อเกิดสาธารณภัยข้ึนในพื้นท่ีชุมชน/หมูบานของทาน มีการ จัดการกับสาธารณภัยท่ีเกดิ ข้ึนอยา งไร ......................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 2. กอนการจัดฝกอบรม : ชุมชน/หมูบานของทาน มีคณะกรรมการท่ีมีหนาท่ีในการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัยหรอื ไม ( ) ไมม ี ( ) มี (ระบุ)................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 3. ทานไดรับความรู ความเขาใจ จากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพ ชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภยั มากนอยแคไหน และเร่ืองใดบาง ......................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

413 4. หลังการจัดฝกอบรม : ชุมชน/หมูบานของทานมีการจัดตั้งคณะกรรมการปองกัน และบรรเทาสาธารณภยั จํานวนก่คี ณะ อะไรบา ง ( ) ไมมี ( ) มี (ระบุ)................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 5. ทา นคดิ วา แผนการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภยั ของชุมชน/หมูบา น สามารถนาํ ไปใช ประโยชนไดจรงิ หรือไม ( ) ไมไ ด (เพราะเหตใุ ด ระบ)ุ ........................................................................................ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ( ) ได (ดา นใดบา ง ระบ)ุ ............................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 6. ชุมชน/หมูบานของทานมีการติดตามเฝาระวังสถานการณและระวังภัยในพ้ืนท่ีโดยวิธี ใดบาง ........................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 7. หากเกิดภัยขึ้นในชุมชน/หมูบานของทาน ทานมีวิธีในการแจงเตือนภัยเพื่อการเตรียม ความพรอ มในการปอ งกนั และเตรยี มการอพยพประชาชนโดยวธิ ีใด ........................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 8. ชมุ ชน/หมบู า นของทาน ไดจ ัดใหม กี ารฝกซอมแผนไปแลวบา งหรือไม เม่อื ใด ( ) ยังไมไ ดฝก ซอม ( ) ฝกซอ มแลวเมื่อ.....................................................................................................

442 9. ทา นมีความต่นื ตวั และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอม ทจี่ ะบริหารจัดการภัยพิบัติของชุมชน/หมูบานไดดวยตนเอง หลังจากที่ไดเขารับการฝกอบรมโครงการ เสริมสรางศกั ยภาพชุมชนดา นการปอ งกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือไม และเพราะสาเหตอุ ะไร ........................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 10. ทานมีขอคิดเห็น/ขอเสนอแนะ/ปญหาอุปสรรค อะไรบาง เกี่ยวกับการฝกอบรม โครงการเสริมสรา งศกั ยภาพชุมชนดานการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย ..................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

43 แบบการเสนอโครงรางการศึกษาวิจัยสว นบุคคล (Proposal) หลกั สูตร นกั บริหารงานปองกันและบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.) รนุ ที่ 10 1. ชื่อผูจ ัดทํา นางสาวเสาวลกั ษณ กัณหวงศ เลขประจําตวั 45 2. ชื่อเรื่อง ประสิทธิผลของการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกัน และบรรเทาสาธารณภัย กรณีศกึ ษา : พ้ืนทีเ่ ส่ยี งภัยสึนามิ จงั หวัดตรัง 3. ความเปน มาของเรอื่ งและสถานการณป จจบุ นั สถานการณภัยพบิ ัติคล่ืนสึนามิที่เกิดขึ้นเม่ือวันท่ี 26 ธันวาคม 2547 สงผลใหมีผูเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นบั เปนภยั ธรรมชาติท่ีมีผูเสยี ชวี ติ มากเปน อันดบั 3 ของโลกเทาที่มีการบันทึกไว โดยภัยธรรมชาติท่ีมี ผูเสยี ชวี ิตมากเปน อนั ดบั 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผานประเทศบังคลาเทศ เม่ือ พ.ศ. 2513 มีผูเสียชีวิตประมาณ 300,000 คน และภัยทางธรรมชาตทิ ่มี ผี เู สยี ชวี ิตมากเปนอันดับ 2 เกิดจากแผนดินไหวทางภาคตะวันออกเฉียงใต ของประเทศจีน เมอ่ื พ.ศ. 2519 มผี เู สยี ชีวิตประมาณ 255,000 คน คล่ืนสึนามดิ งั กลาวเริม่ ตนขนึ้ ท่ีจดุ กาํ เนดิ ของแผนดินไหวนอกชายฝงดานตะวันตกของหมูเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนเี ซยี แลวเคลอ่ื นตัวแผขยายไปทั่วทะเลอันดามันจนถึงชายฝงตะวันออกของทวีปแอฟริกาดวย รวมประเทศท่ปี ระสบภัยจากคลื่นสึนามิและมีผูเสียชีวิตในครั้งน้ัน 11 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พมา อนิ เดีย บงั คลาเทศ ศรีลงั กา มัลดีฟส โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัย จากคล่นื สึนามไิ ดก อ ใหเกดิ ความต่นื ตระหนกแกป ระชาชนทว่ั ท้ังประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยสิน ของผูคนเปน จํานวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต ที่มีพื้นที่อยูติดกับชายฝงทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบ่ี ตรงั และสตลู โดยเฉพาะท่ีจงั หวัดพงั งา กระบ่ี และภูเก็ต มีการสูญเสียมากท่ีสุด เปนพิบัติภัยทางธรรมชาติ ทเ่ี กิดขน้ึ อยา งรวดเรว็ และรุนแรง โดยไมม ผี ูใดคาดคดิ มากอน จึงไมไดม ีการระมดั ระวังและปองกนั ไวลวงหนา นกั ธรณวี ทิ ยาใหความเหน็ วา คลื่นสนึ ามทิ ี่เกิดขนึ้ ในทะเลอนั ดามนั คร้งั น้มี สี าเหตุมาจากแผน เปลือกโลก อินเดยี ขยบั ตัวเล่ือนมาทางทศิ ตะวนั ออก และมุดลงใตขอบแผน เปลอื กโลกยูเรเชีย ทาํ ใหเ กิดแผนดินไหวตามแนว รอยตอของแผนเปลือกโลก ซ่ึงมีลักษณะเปนรอยเล่ือน (fault) ขนาดใหญเปนแนวยาวต้ังแตทางตะวันออก ของพมาและตะวันตกของไทย ลงไปตามแนวของหมูเกาะอันดามันและหมูเกาะนิโคบารจนถึงทางเหนือของ เกาะสุมาตรา และเนื่องจากแผนดินไหวมีความรุนแรงมากถึงระดับ 9.0 ตามมาตราริกเตอร จึงเกิดเปน คล่ืนสึนามแิ ผขยายออกไปโดยรอบในทะเลอนั ดามนั และบางสว นของมหาสมุทรอินเดียดงั กลาวแลวตอนตน

424 หลังจากที่เกิดเหตุการณภัยพิบัติสึนามิขึ้นเม่ือปลายป พ.ศ. 2547 แลวน้ัน สถานการณภัยพิบัติคล่ืนสึนามิ ก็ยงั คงเกดิ ข้นึ อยา งตอเน่ือง เพียงแตระดบั ความรนุ แรงยังไมม ากพอที่จะสงผลกระทบเหมือนเชนเม่ือคร้ังที่ผานมา แตจ ากบทเรยี นที่ไดร บั ในคร้ังนั้น ทําใหป ระชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยมีความตื่นตัวเปนอยางมากที่จะปองกันตัวเอง และครอบครัวใหรอดพนจากภยั พบิ ัติ การฝก อบรมจึงเปนวธิ ีการหนึ่งท่จี ะทาํ ใหประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยไดเกิดความรู และความเขาใจ ตลอดจนมีความพรอมในการบรหิ ารจัดการภัยพิบัติที่อาจจะเกิดข้ึนในอนาคตขางหนาตอไปไดอยางมีประสิทธิภาพ และประสทิ ธิผล โดยคนในชมุ ชน/หมบู านของตนเอง ดงั นั้น จงึ มคี วามจาํ เปนทจี่ ะตอ งทาํ การศึกษาเก่ยี วกับระดบั ความรูความเขา ใจ ความต่ืนตัว การตระหนัก ถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิภายหลังจากท่ีไดรับ การฝกอบรมโครงการเสรมิ สรา งศักยภาพชุมชนดานการปองกันและบรรเทาสาธารณภัย อันจะนําไปสูการบริหารจัดการ ภยั พิบัติทีอ่ าจจะเกิดขนึ้ ในอนาคตไดโดยตนเองอยางมปี ระสทิ ธิผลตอไป 4. เหตุผลและความจําเปน ในการศึกษาและคาํ ถามในการวิจยั 4.1 เพอ่ื ตองการทราบวา ประชาชนในพื้นทเี่ สี่ยงภัยสึนามิดังกลาว ไดรับความรู ความเขาใจ มากนอยแคไหน และมีความตน่ื ตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมในการบริหารจัดการ ภัยพบิ ัตขิ องชมุ ชน/หมบู า นดวยตนเอง หรือไม และเพราะสาเหตุอะไร จากการฝกอบรมโครงการเสริมสราง ศักยภาพชุมชนดา นการปองกนั และบรรเทาสาธารณภัย 4.2 คําถามการวิจัย 1) ประชาชนในพ้ืนท่ีเส่ียงภัยสึนามิ ไดรับความรู ความเขาใจ จากการฝกอบรมโครงการเสริมสราง ศักยภาพชมุ ชนดานการปอ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั มากนอ ยแคไหน 2) ประชาชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยสึนามิ มีความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของการบริหารจัดการภัยพิบัติในชุมชน/หมูบานดวยตนเอง หรือไม และเพราะสาเหตุ อะไร 5. วตั ถุประสงคข องการศกึ ษา 5.1 เพ่ือศึกษาถึงประสทิ ธผิ ลจากการฝกอบรมโครงการเสริมสรางศักยภาพชุมชนดานการปองกันและ บรรเทาสาธารณภัยของประชาชนในพ้ืนท่ีเสี่ยงภัยสึนามิเก่ียวกับระดับความรูความเขาใจที่ไดรับจากการ ฝกอบรม 5.2 เพ่ือศึกษาถงึ ความตื่นตัว และการตระหนักถึงความจําเปนและความสําคัญ ตลอดจนความพรอมของ ประชาชนในชุมชน/หมูบาน ท่จี ะสามารถบรหิ ารจัดการภัยพบิ ตั ขิ องชมุ ชน/หมบู า นไดด วยตนเอง กอนที่จะ ไดรบั การชว ยเหลือจากหนวยงานอนื่ หลงั จากที่ไดเ ขารับการฝก อบรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook