Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ทฤษฎีโครงสร้างนิยมของฝรั่งเศส

ทฤษฎีโครงสร้างนิยมของฝรั่งเศส

Published by pop_poypop, 2022-03-10 09:52:40

Description: ทฤษฎีโครงสร้างนิยมของฝรั่งเศส

Search

Read the Text Version

การวิจารณ์วรรณกรรม แนวโครงสร้างนิยมของ ฝรั่งเศส French Structuralism

สมาชิกกลุ่ม 1.นางชลิสา พลไพโรจน์ รหัสนักศึกษา 614101014 2. นางสาวอาริษา มีทรัพย์ รหัสนักศึกษา 614101031

ทฤษฎีโครงสร้างนิยมของโซซูร์ วิจารณ์วรรณกรรมโดยนำ วิชาภาษาศาสตร์และ แนวคิดโครงสร้างนิยมภาษา ของ แฟร์ดิน็องด์ เดอ โซซูร์ มาเป็นเกณฑ์ แ ฟ ร์ ดิ น็ อ ง ด์ เ ด อ โ ซ ซู ร์ ภาษาศาสตร์ คือ ศึกษาเข้าใจธรรมชาติของ ภาษาจากระบบและหน้าที่ของภาษาในกิจกรรม ของมนุษย์ด้วยวิธีของวิทยาศาสตร์

ปรากฎการณ์ของภาษาของโซซูร์ การพูด (Parole) คือ ภาษาพูดทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น คำสนทนา คำโฆษณาโทรทัศน์ ข้อความในสื่อสิ่ง พิมพ์ ภาษา (code) คือ กติกาที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ สื่อสาร เช่น คำศัพท์ โครงสร้างประโยค ซึ่งเป็นความ หมายและข้อตกลงที่เข้าใจกันในกลุ่มคนนั้น ๆ

ปรากฎการณ์ของภาษาของโซซูร์ (ต่อ) โซซูร์ เชื่อว่า ภาษามีการสื่อความหมายที่ประกอบด้วย หน่วยสื่อ ความหมายหรือ สัญญะ (Sign) ที่สัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายโดย ความหมายของสัญญะแต่ละตัวเกิดขึ้นจากตัวมันเองสัมพันธ์กัน กับสัญญะตัวอื่น ๆ ในภาษาเดียวกัน ประกอบด้วย - คำในกลุ่มเดียวกัน เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น - คำที่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันแต่ปรากฏต่อเนื่องกันได้ เช่น ใจกับ เย็น อาหารกับเช้า

ปรากฎการณ์ของภาษาของโซซูร์ (ต่อ) ภาษาไม่ได้ใช้สะท้อนความจริงของโลก แม้ว่าใช้อธิบายโลก ภายนอก ภาษาที่อิงความสัมพันธ์ในระบบเครือข่ายของสัญญะ เรียกว่า ระบบปิด (Close system) และเรียก ระบบปิด นี้ว่า โครงสร้าง (Structure) ทฤษฎีโครงสร้างนิยมมองความสัมพันธ์ ของภาษาและความหมายในระบบปิด ภายในตัวบทเท่านั้น

การวิจารณ์วรรณกรรมแนว โครงสร้างนิยมของฝรั่งเศส (French structuralism)

การวิจารณ์วรรณกรรมแนวโครงสร้างนิยมของฝรั่งเศส (French structuralism) โรล็องด์ บาร์ธส์ วางรากฐานโดย โรล็องด์ บาร์ธส์ โดยศึกษาตาม ทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างของโซซูร์ที่เห็นว่า ความหมายของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อิงอยู่กับความแตกต่าง ของตัวมันเองกับคำอื่น ๆ เมื่อนำมาศึกษากับวรรณกรรม ทำให้เห็นถึง คติความเชื่อ ความหมาย วัฒนธรรม ดังนั้นการวิจารณ์แนวโครงสร้างของฝรั่งเศสคือการนำ ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างหรือสัญศาสตร์ (Semiotics) มาตีความวรรณกรรมโดยไม่สนใจข้อมูลภายนอก

นักวิจารณ์วรรณกรรม ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ โดยใช้ทฤษฎีแนว โครงสร้างนิยม นพพร ประชากุล เขียนบทวิจารณ์เผยแพร่ในนิตยสาร “ สารคดี” และหนังสือ “วรรณวินิจ” ของ วัลยา วิวัฒน์ศร

ตัวอย่างการวิจารณ์แนว โครงสร้างนิยม แหล่งที่มา https://www.sriburapha.net

จุดอ่อนของโครงสร้างนิยม นักวรรณกรรมแนวโครงสร้างหลาย ๆ ท่าน ได้พยายามสร้างทฤษฎี วรรณกรรมที่สกัดเอา “ไวยากรณ์”วรรณกรรมที่มีอยู่มากมาย เหมือนนักภาษาศาสตร์ ที่สร้างไวยกรณ์มาวิเคราะห์ประโยค ทำให้เกิด ศาสตร์แห่งนิยายหรือศาสตร์แห่งการ เล่าเรื่อง (Narratology) ที่ศึกษาถึงลักษณะร่วมของ เรื่องเล่าประเภทเดียวกัน ซึ่งเป็นเหมือน “กฎ” ของงานเขียนประเภทนั้น ๆ แต่เมื่อศึกษาแล้วก็พบว่า โครงสร้างเรื่องเล่าไม่ได้มั่นคงลงตัวทั้งหมด แต่โครงสร้างของเรื่องเล่ามีหลายมิติทับ ซ้อนกันอยู่ ต่อมาบาร์ธส์พบว่า เรื่องเล่านั้นมีการใช้รหัสเพื่อสื่อความหมายที่หลายหลาย จนไม่สามารถกำหนดตายตัวตัว ตัวบทวรรณกรรมกลายเป็นแบบเปิด เรียกว่า แนวหลังโครงสร้างนิยม (Post structuralism)

สรุป โ ซ ซู ร์ โ ร ล็ อ ง ด์ บ า ร์ ธ ส์ นั ก ว ร ร ณ ก ร ร ม แ น ว โ ร ล็ อ ง ด์ บ า ร์ ธ ส์ ความสัมพั นธ์ของภาษา ความหมายของค ำในภาษาหนึ่ง ๆ โ ค ร ง ส ร้ า ง และความหมายอยู่ใน ระบบปิด ภายในตัวบท อิงอยู่กับความแตกต่างของตัว ศาสตร์แห่งนิยายหรือศาสตร์ ไม่สามารถกำหนดตาย ตัวบท เท่านั้น มันเองกับคำอื่น ๆ ตีความ แห่งการเล่าเรื่อง วรรณกรรมกลายเป็นแบบเปิด เรียกว่า แนวหลังโครงสร้าง วรรณกรรมโดยไม่สนใจข้อมูล (Narratology) โครงสร้าง นิยม (Post structuralism) ภายนอก เรื่องเล่าไม่ได้มั่นคงลงตัว ทั้งหมด โรล็องด์ บาร์ธส์ (Roland Barthes) ไม่ได้มุ่งความสนใจว่าวรรณกรรมสื่อความหมาย \"อะไร\" แต่สนใจกลวิธีการนำเสนอว่าดีหรือไม่และประเมินค่ากลวิธีการแต่งว่า \"ดีอย่างไร\" หรือที่เรียกว่า \"วาทกรรมของวรรณกรรม\" (Literary Discourse)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook