Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Published by Pin Zeza, 2022-08-16 08:12:00
Search

Read the Text Version

จังหวัดอยุธยา ส่งเสริมการใช้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และแหนแดง ลดต้นทุนการผลิต

คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพ (งานเกษตร) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ใน ประเทศไทย ผู้จัดทำได้เลือก หัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึง เป็นการกระตุ้นให้ผู้คนตื่นรู้เกี่ยวกับการปกครองในประเทศสเปนขอขอบคุณ คุณครู จุฑามาส บัวแก้ว ผู้ให้ความรู้ แนวทางการศึกษา และความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัด ทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ผู้จัดทำ นางสาวพิทยาภรณ์ นิลงาม

สารบัญ 1 2 คำนำ 3 สารบัญ 4 ข้อมูลทั่วไปของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 5 ข้อมูลทั่วไปของแหนแดง การดำเนินงานการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดง 6 / ผลของการดำเนินงาน 7 ช่องทางการติดต่อสำหรับผู้ที่สนใจ บรรณานุกรม

จังหวัดอยุธยา ส่งเสริมใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดง ลดต้นทุนการผลิต นางยุรี ศศิรัตน์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ออก พื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกรแล้วพบว่า เกษตรกรในพื้นที่ในอำเภอผักไห่และอำเภอบางบาลมีการใช้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria : PSB) หรือที่เกษตรกรในพื้นที่เรียกว่า “น้ำ แดง” ในการปรับปรุงบำรุงดิน จึงทดลองผลิตขยายเพื่อทำการต่อเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวที่บ้านพัก และพบ ว่าการผลิตขยายนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนในการผลิตต่ำ ระยะเวลาที่ผลิตขยายไม่นาน จึงได้นำมา ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่นำไปทดลองใช้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria : PSB) มักพบกระจายอยู่ทั่วไปใน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบน้ำจืดและน้ำเค็ม น้ำพุร้อน หรือในบ่อปิดที่น้ำไม่มีการเคลื่อนไหว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย และดินอีกด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ ซึ่งจะช่วย ย่อยสลายของเสียในแปลงนา เช่น ก๊าซไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) ซึ่งก๊าซนี้ มักเกิดจากตอซัง ฟางข้าว หรือวัชพืชที่ถูกไถกลบแล้วยังไม่ย่อยสลาย เป็นต้น จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะ เข้าไปทำลายพันธะทางเคมีของก๊าซไข่เน่าแล้วนำมาใช้เป็นพลังงานในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ ระหว่างนั้นจุลินทรีย์ PSB จะขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปของกลุ่มโกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมนเพื่อการ เจริญเติบโต (Growth Hormone : GH) กรดอะมิโนที่จำเป็น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้ เข้าไปทำลายพันธะเคมีของกลุ่มก๊าซมีเทน (CH4) ที่มีอยู่แปลงนาให้เหลือแต่คาร์บอน (C) ซึ่งสามารถ ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เมื่อใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นประจำและต่อเนื่องจะสามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ย สูตรต่าง ๆ ลงได้ ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้เป็นแหล่งของธาตุ ไนโตรเจน (N) แทนปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) สูงสุดถึงร้อยละ 50 ช่วย กระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลงศัตรูพืช ช่วย กระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้พืชสามารถสะสมอาหารได้ มากและเพิ่มผลผลิตได้ดี เป็นต้น สำหรับคำแนะนำวิธีการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ในนาข้าวใช้อัตราส่วน 5 ลิตรต่อไร่ สาดให้ ทั่วพื้นที่ ในพืชสวนใช้อัตราส่วน 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงดินขณะเตรียมปลูกหรือฉีดพ่นทาง ลำต้นและราก ทุก ๆ 7-10 วัน ในแปลงผักและไม้ดอกใช้อัตราส่วน 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ลำต้นและราก ทุก ๆ 5-7 วัน กี่ใช้ในการประมงช่วงการเตรียมบ่อใช้อัตราส่วน 10 ลิตรต่อไร่ สาดให้ทั่ว บ่อ และช่วงระหว่างการเลี้ยง ใช้อัตราส่วน 5 ลิตรต่อไร่ สาดให้ทั่วบ่อ ทุก ๆ 7 วัน การใช้ในการเลี้ยงปลา สวยงาม

ตู้ปลาใหม่ใช้อัตราส่วน 1 มิลลิลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไปใส่ทุก ๆ 7 วัน หาก เป็นตู้ปลาเก่าใช้อัตราส่วน 2 มิลลิลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไปใส่ทุก ๆ 7 วัน หรือบ่อปลา ขนาดใหญ่ใช้อัตราส่วน 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ตัน ติดต่อกัน 5 วัน ต่อไปใส่ทุก ๆ 7 วัน ในการผลิตขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงหากเกิดแก๊ส แสดงว่ามีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ชนิดอื่น สีของจุลินทรีย์ที่ผลิตขยายได้ ควรมีสีชมพูอมม่วง หากเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีดำ แสดงว่าพบการ ปนเปื้อนหรือเสียหายแล้ว ไม่แนะนำให้เอาไปใช้ สำหรับแหนแดง (Azolla) เป็นเฟินน้ำขนาดเล็กชนิดหนึ่งลอยบนผิวน้ำ มักพบในแหล่งน้ำ ปิดที่น้ำไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น บ่อน้ำ บึง พื้นที่ชุ่มน้ำหรือแอ่งที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี เป็นต้น ลำต้นและ ใบของแหนแดงจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดงเมื่อต้นแก่ ใบบนของแหนแดงมีลักษณะ เป็นโพรงใบซึ่งเป็นที่อยู่ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่งช่วยตรึงธาตุไนโตรเจน (N) จากอากาศทำให้ แหนแดงมีปริมาณไนโตรเจนสูง มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันแสงแดด ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร แนะนำการใช้แหนแดงแบบ สดในนาข้าว โดยให้เกษตรกรหว่านแหนแดงก่อนหว่านข้าว หรือดำนาในอัตราส่วนแหนแดงประมาณ 100-300 กิโลกรัมต่อไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อให้แหนแดงเพาะขยายพันธุ์ ในพื้นแปลงนาประมาณ 20-30 วัน แหนแดงจะเจริญเติบโตเต็มที่ให้ปล่อยน้ำออกแล้วไถกลบแหน แดง ทำการตีเทือกเสร็จจึงหว่านข้าวหรือดำนาได้ หรือถ้าเป็นนาดำ ให้ดำนาไปก่อน แล้วหว่านแหนแดง ลงไปในนา แหนแดงจะไปเพาะขยายพันธุ์ในพื้นแปลงนา เพราะนาดำมีลักษณะเป็นบ่อน้ำตื้น ประโยชน์ที่ได้ตามมาก็คือแหนแดงจะช่วยบดบังแสงแดด ป้องกันไม่ให้วัชพืช ข้าววัชพืช ข้าวลีบ หรือข้าว ดีด ที่ติดมากับรถเกี่ยวข้าว ตกค้างอยู่ในนา เจริญเติบโตขึ้นมาในนาข้าว เนื่องจากแหนแดงสามารถเพิ่มปริมาณตัวเองอย่างรวดเร็ว เกษตรกรสามารถเก็บรวบรวมมาตาก แดดให้แห้ง ประมาณ 2 วัน แล้วเก็บใส่กระสอบรวบรวมไว้สำหรับใช้ปลูกพืช หากใช้แหนแดงบบแห้ง ควรใช้ในอัตราส่วนประมาณ 20 กรัมต่อดินวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม เมื่อแหนแดงย่อยสลายก็จะเริ่มปลด ปล่อยไนโตรเจนออกมา มีข้อมูลระบุว่า การใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ตามอัตราที่แนะนำสามารถเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้ประมาณร้อยละ 15 สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนโยบายลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร โดยส่ง เสริมให้ใช้ความรู้ทางด้านวิชาการ และภูมิปัญญาของเกษตรกรในพื้นที่ เน้นส่งเสริมให้มีการใช้ชีวภัณฑ์ ทางการเกษตร เช่น เชื้อราไตรโครเดอร์มาบิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม แหนแดง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอารักขาพืชในฐานะที่มีบทบาทโดยตรงในการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมในด้านนี้ จึงได้ ดำเนินการ “เปิดบ้านอารักขาพืช”

(Open House) โดยเปิดให้บริการกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ที่ต้องการทราบและเรียนรู้ ใน เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานด้านอารักขาพืช โดยเปิดให้บริการสัปดาห์ละ 1 วัน เกษตรกรและเจ้าหน้าที่จะได้ เรียนรู้และลงมือปฏิบัติในทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถนำความรู้กลับไปปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการ สำหรับการดำเนินงานในการส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและแหนแดง ได้จัดแสดง นิทรรศการให้ความรู้ในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และ จังหวัดเคลื่อนที่ งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) เป็นต้น รวมทั้งขอสนับสนุนงบประมาณจาก จังหวัดเพื่อจัดทำแปลงทดสอบ เพื่อเก็บข้อมูล และนำมาเผยแพร่ให้เกษตรกรในจังหวัดทราบต่อไป นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนด้านแหล่งพันธุ์ของแหนแดง จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร เพื่อนำมาเลี้ยงขยายไว้ที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งได้งบพัฒนาจังหวัด ปี 2561 งบประมาณ 80,000 บาท เพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้จำนวน 8 แปลง พื้นที่ 40 ไร่ เกษตรกร จำนวน 8 ราย ได้แก่ แปลงที่ 1 ตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ แปลงที่ 2 ตำบลตลาดเกรียบ อำเภอบางปะอิน แปลงที่ 3 ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา แปลงที่ 4 ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ แปลงที่ 5 ตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก แปลงที่ 6 ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน แปลงที่ 7 ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี และแปลงที่ 8 ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ยอมรับและทำการผลิตขยายจุลินทรีย์ สังเคราะห์แสงไว้ใช้ในพื้นที่เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เนื่องจากวิธีการผลิตขยายที่ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนที่ใช้ การผลิตต่ำ ระยะเวลาที่สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ได้ ใช้ระยะเวลาสั้นไม่ต้องทำการหมักนานเหมือนน้ำ หมักชีวภาพอื่น ๆ ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่จูงใจให้เกษตรกรสนใจผลิตและนำใช้ในพื้นที่ได้ เกษตรกรที่ ปลูกผักหรือทำการเกษตรอินทรีย์ สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ส่งเสริมการผลิตแหนแดง เพื่อสนับสนุนงานเกษตรอินทรีย์ โดยใช้แหนแดงผสมกับดินปลูกทดแทนการใช้สารเคมีได้ ซึ่งเกษตรกร สามารถเพาะเลี้ยงแหนแดงโดยเลี้ยงในบ่อน้ำตื้นประมาณ 4-5 เซนติเมตร จะทำให้มีแหนแดงเก็บเกี่ยว ได้ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะแหนแดงจะเจริญเติบโตและขยายตัวไปได้เรื่อย ๆ นั่นเอง การเลือกใช้ชีวภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดหรือควบคุมศัตรูพืช โรคพืช และปรับปรุงบำรุง ดินก่อนที่จะเลือกใช้หรือทดแทนการใช้สารเคมีนั้น นอกจากเป็นการลดต้นทุนในการผลิตสินค้าเกษตร แล้ว ยังเป็นการปรับระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความปลอดภัย ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม ที่สำคัญจะส่งผลให้สินค้าเกษตรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ยอมรับ ตรงต่อแนวโน้มความ ต้องการของผู้บริโภค มีศักยภาพและมีความได้เปรียบสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0 3533 6344, 0 3533 5441 หรือนายจิรวัฒน์ หาเรือนมิตร นักวิชาการ ส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ โทรศัพท์ 08 9414 8559

บรรณานุกรม 1.https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2019/06/Water_fern.pdf 2.https://www.ay-sci.go.th/aynew/640512-1/ 3.https://siamrath.co.th/n/249496 4.http://www.tcnewsstation.com/?p=135001 5.https://www.am1386.com/home/10427

จัดทำโดย นางสาว พิทยาภรณ์ นิลงาม เลขที่20 ม.4/13


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook