Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษาจีนในภาษาไทย

ภาษาจีนในภาษาไทย

Published by supaluck298, 2023-02-19 14:32:18

Description: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง ภาษาจีนในภาษาไทย เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ED๑๓๒๐๑ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน, ลักษณะคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย, การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย, การกลายความหมายของคำยืมภาษาจีน

Search

Read the Text Version

ภาษาจีน ในภาษาไทย ศุภลักษณ์ สาวาโย

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง ภาษาจีนในภาษาไทย เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ED๑๓๒๐๑ นวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน, ลักษณะคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย, การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย, การกลายความหมายของคำยืม ภาษาจีน ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง ภาษาจีนในภาษาไทย ศุภลักษณ์ สาวาโย ผู้จัดทำ ก

สารบัญ หน้า เรื่อง ก ข คำนำ ๑ สารบัญ ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ๕ ลักษณะคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย ๙ การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย ๑๓ การกลายความหมายของคำยืมภาษาจีน ๑๔ แบบฝึกหัดภาษาจีนในภาษาไทย ๑๕ เฉลยแบบฝึกหัดภาษาจีนในภาษาไทย ๑๖ บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน ข

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ไทยและจีนมีความสัมพันธ์ติดต่อกันมาช้านาน ทั้งเชื้อชาติและถิ่นที่อยู่ของไทยกับ จีนก็มีความสัมพันธ์ เกี่ยวโยงกัน ซึ่งเมื่ออยู่ใกล้ชิดกันย่อมใช้ภาษาสื่อสาร ทำความเข้าใจกันเพื่อการดำรงชีวิตบ้าง เพราะ เหตุการณ์ทางการเมืองบ้าง ๑

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ผลของการที่ชาวจีนอพยพเข้ามา ตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในเมืองไทย มีการประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้แต่งงานกับคนไทย ภาษาจีนจึงปะปนอยู่ในภาษาไทย ค่อนข้างมาก คำยืมจากภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นสำเนียง ภาษาแต้จิ๋ว และลักษณะภาษาไทยกับภาษาจีน คล้ายคลึงกันมาก การยืมคำมาใช้ย่อมสะดวกและเป็น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการยืมคำใช้กันมากกว่าภาษาอื่น บางภาษา ๒

ลักษณะคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย คำยืมภาษาจีนที่ปรากฏใช้อยู่ในภาษาไทยมีลักษณะที่พอจะ สังเกตได้ ดังนี้ ๑. เป็นคำที่มักมีเสียงวรรณยุกต์ตรีหรือจัตวาซึ่งมีพยัญชนะต้น เป็นอักษรกลาง เช่น เจ๊, ตุ๊ย, บ๊วย, ก๋ง, ตี๋ เป็นต้น จำนวนเสียง วรรณยุกต์ของภาษาจีนแต้จิ๋วมีมากกว่าของไทย คือ มีถึง ๘ หน่วยเสียง เมื่อเราได้ยินคำที่มีเสียงวรรณยุกต์อยู่ในระดับสูง ๆ คล้ายเสียงตรีหรือจัตวา ก็เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์นั้นให้ตรงกับ เสียงตรีหรือจัตวาของไทย เช่น คำจีน คำไทย เจ้ เจ๊ ชู้ บู๊ อั้ว อั๊ว กก ก๊ก ๓

ลักษณะคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย ๒. คำยืมภาษาจีนส่วนมากเป็นคำที่มีพยัญชนะต้นเป็น อักษรกลาง คือ ก, จ, ต, บ, ป, อ มากกว่าพยัญชนะต้นอื่น ๆ ซึ่งพบเพียงประปราย เมื่อคำยืมเป็นเสียงตรีและจัตวา มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางก็จำเป็นต้องเพิ่มรูปวรรณยุกต์ตรีหรือ จัตวาลงในคำนั้น ๆ ด้วย เช่น คำจีน คำที่ไทยใช้ เก็ง เก๋ง ก๋วยจับ กวยจั๊บ เจ้ง เจ๊ง ตัว ตั๋ว โป้ว โป๊ ปุ๊ย ปุ๋ย อั้ว อั๊ว ๔

การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย คำใช้เรียกชื่ออาหาร อาหารที่คนจีนนิยมรับประทานย่อมเป็นที่นิยมของพลเมืองไทย เชื้อสายจีนด้วย คำยืมภาษาจีนที่เป็นชื่อเรียกอาหารทั้งคาวและหวาน จึงปรากฏเป็นคำยืมในภาษาไทย เช่น คำ ความหมาย ก๋วยเตี๋ยว ของกินชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเข้าเจ้าเป็นเส้นเส้นปรุงเป็นอาหารทั้ง แห้งและน้ำ เต้าหู้ ถั่วที่โม่เป็นแป้งแล้วทำเป็นแผ่น ๆ พะโล้ ชื่ออาหารรสเค็มหวาน มีไข่ต้มปลอกเปลือก เต้าหู้ หมู ใส่เครื่องปรุงที่เรียกว่าเครื่องพะโล้ บะช่อ เนื้อหมูสับละเอียด มักใส่ในแกงจืด เฉาก๊วย ชื่อขนมชนิดหนึ่งคล้ายวุ้นทำจากเมือกของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งมีสีดำ ซาลาเปา ขนมชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลมมีทั้งไส้หวานและ เค็ม ไส้หวานทำด้วยถั่วหรือฟัก ไส้เค็มทำด้วยหมูสับหรือหมูแดง หมี่ แป้งซึ่งทำเป็นแป้งซึ่งทำเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วตากแห้ง ๕

การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย คำเรียกชื่อ พืช ผัก ผลไม้ พืช ผักและผลไม้จีนมีรสชาติถูกปากคนไทยและเป็นที่นิยมในหมู่ คนไทยเชื้อสายจีน ทั้งพืชผักผลไม้เหล่านี้ยังปลูกได้งอกงามดีในเมือง ไทย คำเรียกชื่อพืช ผัก ผลไม้ที่เป็นคำยืมจากภาษาจีนจึงมีอยู่ไม่น้อย ในภาษาไทย เช่น คำ ความหมาย กุยช่าย ผักชนิดหนึ่งคล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน ๆ มีกลิ่นหอมฉุน เก๊กฮวย ดอกเบญจมาศหนูใช้เป็นยารักษาโรคได้หลายอย่าง ตั้งโอ๋ ผักจีนชนิดหนึ่ง ใบเล็กหนามีกลิ่นหอม ฉำฉา ไม้เนื้ออ่อนที่ใช้ทำหีบบรรจุของมาจากประเทศหนาว แป๊ะก๊วย เมล็ดของต้นแป๊ะก๊วย ใช้ต้มน้ำตาลรับประทาน ๖

การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย คำเรียกสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องแต่งกาย เมื่อคนไทยกับคนจีนติดต่อคบค้ากัน ย่อมต้องรู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ของอีกฝ่าย ของบางอย่างให้ไม่เคยมีมาก่อนก็ต้องเรียกตามคำจีน เช่น คำ ความหมาย เก๊ะ ลิ้นชัก กอเอี๊ยะ แผ่นยาจีนมีขี้ผึ้งใช้สำหรับปิดฝีหรือปิดแก้ฟกช้ำปวดเมื่อย เข่ง ภาชนะสานอย่างหนึ่งอยู่ในจำพวกตะกร้า อับ ภาชนะขนาดเล็กรูปแบนคล้ายกล่องมีฝา ตั๋ว บัตรแสดงสิทธิ์ผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถเมล์ ตั๋วหนัง โผ บัญชีหรือบันทึก เกี๊ยะ รองเท้าไม้แบบจีน ขาก๊วย ชื่อกางเกงผ้า ขาสั้นปิดเข่า กุยเฮง เสื้อชั้นนอกแบบจีนมีกระดุมตรงอก ๗

การใช้คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย คำเรียกญาติ ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์มาหลายศตวรรษ ทั้งคนไทยเชื้อสายจีน ก็มีเป็นจำนวนมาก คนเหล่านี้นิยมเรียกญาติด้วยคำจีน คำเรียกญาติ ภาษาจีนจึงแพร่หลายอยู่ในภาษาไทย คนไทยเมื่อต้องสื่อสารกับชาวจีน ก็นิยมใช้คำยืมเหล่านี้ด้วย เช่น คำ ความหมาย ก๋ง ปู่, ตา เจ๊ พี่สาว, คำเรียกผู้หญิงเพื่อยกย่อง ซ้อ พี่สะใภ้, คำเรียกผู้หญิงเพื่อยกย่อง ตี๋ เด็กผู้ชายจีน เตี่ย พ่อ แป๊ะ สรรพนามใช้เรียกคนแก่ชายชาวจีน มีความหมายว่า ลุง เฮีย พี่ชาย, คำที่ใช้เรียกผู้ชายเพื่อยกย่อง ๘

การกลายความหมายของคำยืมภาษาจีน คำที่ไทยยืมจากภาษาจีน บางคำใช้ในความหมายคงเดิม บางคำมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านความหมาย ได้แก่ ความหมายแคบเข้า ความหมายกว้างออก หรือความหมาย ย้ายที่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ความหมายคงเดิม คำจีน คำที่ไทยใช้ ความหมาย กอเอี๊ยะ กอเอี๊ยะ แผ่นยาจีนมีขี้ผึ้งสำหรับปิดฝีหรือปิดแก้ ฟกช้ำปวดเมื่อย อั๊บ อับ ภาชนะขนาดเล็กรูปแบนคล้ายกล่อง มีฝา กาน่า กาน้า ผลไม้จีนชนิดหนึ่งลูกคล้ายสมอบางชนิด กู๋ฉ่าย กุยช่าย ผักชนิดหนึ่งคล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน ๆ มีกลิ่นหอมฉุน เก๊กฮวย เก๊กฮวย ดอกเบญจมาศหนู โอวเลี้ยง โอเลี้ยง กาแฟเย็นไม่ใส่นม ๙

การกลายความหมายของคำยืมภาษาจีน ความหมายแคบเข้า คำยืมภาษาจีนที่มีความหมายแคบเข้านั้นมีความหมายน้อยคำที่ใช้ อยู่เดิมในภาษาจีน ดังนี้ คำที่ไทยใช้ ความหมายเดิม ความหมายที่ไทยใช้ กุ๊ย ภูติ, ผี, ปีศาจ, ชั่วร้าย, คนเลวทราม คนเลวทราม โละ ร่วง, หล่น, ทิ้งเสีย, ไม่ใช้ ทิ้งเสีย, ใส่ลง บ๊วย หาง, สุดท้าย, ปลาย คนสุดท้ายในวงแชร์, สุดท้าย แมะ ชีพจร, จับชีพจรเพื่อตรวจโรค จับชีพจรเพื่อตรวจโรค ฮั้ว สามัคคี, รวมหัวกันในการ รวมหัวกันในการประมูล ประมูล สี่กั๊ก สี่แยก, สี่มุม, สี่เหลี่ยม สี่แยก ซินแส หมอ, ครู, คุณ, นาย, ท่าน หมอ, ครู เซ็งลี้ การค้า, การค้าขาย ค้าขายในทางเก็ง ๑๐

การกลายความหมายของคำยืมภาษาจีน ความหมายกว้างออก การที่คำคำหนึ่งเดิมมีความหมายจำกัดแต่ต่อมาใช้ในความหมาย ทั่วไปเรียกว่า ความหมายกว้างออก เมื่อไทยยืมคำจีนมาใช้ก็มีลักษณะ ของความหมายกว้างออกด้วย เช่น คำที่ไทยใช้ ความหมายเดิม ความหมายที่ไทยใช้ ฉำฉา ไม้สนชนิดหนึ่ง ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อนที่ใช้ทำหีบ บรรจุของมาจากประเทศหนาว ซาลาเปา ซาลาเปาสีเหลืองไม่มีไส้ ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งสาลีปั้น เป็นรูปกลมมีไส้ทั้งหวานและเค็ม โผ บัญชี บัญชีหรือบันทึก พะบู๊ ชกต่อยกัน, ตีรันฟันแทงกัน ต่อสู้กัน กงสี บริษัทการค้า บริษัทการค้า, กองกลางที่ใช้ร่วมกัน เก้าอี้ เก้าอี้ที่มีพนักพิง เก้าอี้ทั่วไป ยัวะ ร้อน ร้อน, อารมณ์ร้อน, โกรธ ๑๑

การกลายความหมายของคำยืมภาษาจีน ความหมายย้ายที่ การยืมคำจีนมาใช้แล้วความหมายของคำย้ายที่ไปนั้น อาจเป็น การย้ายที่แบบไม่เห็นเค้าความหมายเดิมเลย หรือเป็นการย้ายที่แบบ ยังพอเห็นเค้าความหมายเดิมอยู่ก็ได้ เช่น คำที่ไทยใช้ ความหมายเดิม ความหมายที่ไทยใช้ ก๊วน สำนัก, โรง, สถาน, ร้าน ซ่อง, แหล่งนักเลงเหล้า, กลุ่มที่สนิทกันมาก เกาเหลา ตึกสูง แกง มีลักษณะอย่างแกงจืด ก๊ก ประเทศ พวก, หมู่, เหล่า เบ๊ ม้า คนรับใช้ ตังเก นายจ้าง ชื่อเรือจับปลาชนิดหนึ่ง ซี้ซั้ว กระจัดกระจาย, เกลื่อนกลาด ส่งเดช, ชุ่ย หยำฉ่า ดื่มน้ำชา หญิงโสเภณี ๑๒

แบบฝึกหัด ภาษาจีนในภาษาไทย คำชี้แจง จับคู่ตัวอักษรทางด้านขวามือใ้ห้ความหมายตรงกับคำในภาษาจีน ที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง ๑๓

เฉลย แบบฝึกหัด ภาษาจีนในภาษาไทย คำชี้แจง จับคู่ตัวอักษรทางด้านขวามือใ้ห้ความหมายตรงกับคำในภาษาจีน ที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง ๑๔

บรรณานุกรม ๑๕

๑๖

ภาษาจีน ในภาษาไทย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook