Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore eknowledge-103-tamma

eknowledge-103-tamma

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-29 04:19:39

Description: eknowledge-103-tamma

Search

Read the Text Version

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ๒. วดั สามารถ วดั ความสามารถของสมภารเจา้ วดั น้นั ๆ ว่า ท่านมีความสามารถ พัฒนาวัดวาอารามให้เป็นที่เจริญศรัทธาของญาติโยมทั้งหลายได้เพียงใด แล้ววัดสามารถ ของญาตโิ ยมว่า จะมีก�าลังอุปถมั ภบ์ า� รงุ ไดม้ ากเพยี งใด ๓. วดั บารมี วัดบารมีของพระเจ้าพระสงฆ์ในวัดนน้ั ๆ วา่ มคี ุณงามความดีพอท่ีจะ ใหญ้ าตโิ ยมเล่ือมใสศรทั ธาหรอื เป็นเน้ือนาบญุ มากนอ้ ยเพยี งใด ๔. วัดศักดิ์ศรี ศักดิ์ศรีของวัด ศักด์ิศรีของความเป็นพุทธบริษัท ศักดิ์ศรีของ ความเป็นพระอารามหลวง วดั อนื่ คนเขา้ วัดกันลน้ หลาม แต่วดั เราเหงาแสดงวา่ คนวัดคนวา ไม่มีศักด์ิศรสี ทู้ อี่ ื่นเขาไม่ได้ ๕. วดั ศักด์สิ ทิ ธ์ิ วัดเป็นปูชนียสถานหรอื มสี ่ิงศกั ด์ิสิทธิใ์ ด ๆ เปน็ แรงดึงดูดใจเราบ้าง บางวัดมีพระพุทธรูปศักด์ิสิทธ์ิ เช่น วัดสระเกศ วัดหลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพอ่ บ้านแหลม หลวงพ่อพระพุทธชนิ ราช อยา่ งนีเ้ รยี กว่า วัดมีส่งิ ศักดส์ิ ิทธ์ิหรอื พระพทุ ธรูป ศกั ดิส์ ิทธ์ิ บางวดั พระพุทธรูปไม่มีชือ่ เสียง ไมศ่ กั ด์สิ ทิ ธิ์ แต่สมภารศกั ด์ิสทิ ธ์ิ หรอื พดู ศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ ท�าศักดิ์สิทธ์ิ คิดอะไรก็ศักด์ิสิทธ์ิ คิดแล้วพูดแล้วคนเช่ือ เห็นชอบด้วย ท�าแล้วคนท้ังหลาย ยอมรบั นเ้ี รยี กวา่ ศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ ญาตโิ ยมทกุ ทา่ น จงึ ใหค้ วามเลอ่ื มใสศรทั ธามาประพฤตปิ ฏบิ ตั ธิ รรม นา� กลุ บตุ รมาบรรพชาอปุ สมบท สบื ทอดอายพุ ระบวรพทุ ธศาสนา ตอ่ เนอ่ื งกนั มาเปน็ เวลานาน ทส่ี า� คญั ทสี่ ดุ “พทุ ธศาสนาแปลวา่ ศาสนาแหง่ ผรู้ ู้ผตู้ น่ื ผเู้ บกิ บาน”ศาสนาแหง่ ปญั ญา ไม่ใช่ศาสนาแห่งความเขลา เบาปัญญา “รู้ ก็คือ ฉลาด” คนฉลาดย่อมจะท�าวันเวลานั้น ให้มีคุณมีค่า ไม่ปล่อยวันเวลาให้ล่วงไปเปล่าปราศจากประโยชน์ วันเวลาผ่านแล้วผ่านเลย ไมย่ อ้ นกลบั ทา� อยา่ งไรวนั เวลาทล่ี ว่ งไป เราจะไดป้ ระโยชนจ์ ากมนั กต็ อ้ งรจู้ กั ฉกฉวยเอาสาระ จากวนั เวลานน้ั ใหไ้ ด้ เชน่ วนั นว้ี นั พระหรอื แมแ้ ตว่ นั พระกอ่ น ๆ และวนั พระถดั ๆ ไป ญาตโิ ยม ทั้งหลายได้ท�าวันพระให้เป็นวันพระ ท�าวันพระให้เป็นวันเพาะ ท�าวันพระให้เป็นวันเพชร น่เี ปน็ วสิ ยั คนฉลาด ท�าวันพระให้เปนวันพระ คือ เปนวันประเสริฐ พระหรือวระ แปลว่า ประเสริฐ เป็นวันที่ว่างเว้นจากเวรภัย ไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย ไม่ท�าร้าย คิดแต่ดี พูดแต่ดี ท�าแต่ดี วนั พระจึงเปน็ วันประเสรฐิ เจ็ดวันเรามาทบทวนกันครง้ั หนึ่ง เพม่ิ เติมความดีงามกนั ครง้ั หน่ึง อะไรท่ีผิดพลาดเรากแ็ กไ้ ข ทา� วนั พระใหเ้ ปน วนั เพาะ ไดแ้ ก่ เพาะกศุ ลธรรมความดใี หง้ อกงามขน้ึ ในจรติ อธั ยาศยั 45

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ทา� วนั พระใหเ้ ปน วนั เพชรวนั ทเ่ี พม่ิ พนู สตปิ ญ ญาเพราะสตปิ ญ ญานนั้ มคี า่ ประดจุ เพชร การฟงั ธรรมเหมอื นสรา้ งถา้� ใหแ้ กใ่ จ เพราะใจของเราเปรยี บเสมอื นเสอื ธรรมะเปรยี บเสมอื น ถ้�าคอยก�าบัง หูเราฟัง ใจเราคิด จิตจะได้สบาย เป็นเหตุให้ท่านทั้งหลาย มาเสริมธรรม เสรมิ ปญั ญากนั คา� ว่า “เสริมธรรม คอื เสรมิ ความดี เสรมิ ปญญา คือ เสริมความร้”ู นเ้ี ปน็ วิสัยของคนฉลาด วิสัยคนฉลาดย่อมจะไม่ท�าในสิ่งตรงข้าม เช่น ท�าวันพระให้เป็นวันพิษ ท�าวนั พระใหเ้ ปน็ วันแพ้ ทา� วนั พระให้เป็นวันเพอ้ ท�าวันพระให้เปนวันพิษ คือ เปนวันแห่งการเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบ ประหตั ประหารท�าลายล้างซง่ึ กนั และกัน วนั เวลาก็มพี ิษภัย ใหท้ ุกขโ์ ทษ ท�าวันพระให้เปนวันแพ้ คือ แพ้ต่ออ�านาจของกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท�าใหเ้ สียผเู้ สียคน ท�าวันพระให้เปนวันเพ้อ เปนวันแห่งการโกหกหลอกลวง เพ้อเจ้อเหลวไหล ทา� ใหผ้ ูอ้ ืน่ เสยี ทรัพย์ เสียศกั ด์ศิ รี เสยี ช่อื เสียหาย เรียกวา่ สารพดั เสยี เพราะฉะน้ัน วันพระ จึงเป็นวันแห่งการอธิษฐานและสมาทานศีล วันช�าระกาย วาจาใจใหบ้ รสิ ทุ ธิ์ดงั ทที่ า่ นบอกวา่ “สะอาดกายเจรญิ วยั สะอาดใจเจรญิ สขุ ”การมาประพฤติ ปฏิบัติธรรมเชน่ น้ี จงึ เป็นการขูดขดั จริตอัธยาศัย ให้ผอ่ งแผว้ สดใสดงี ามข้ึน ท่านทั้งหลาย คนท่ีฉลาดและเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติท่ีดีงามเช่นนี้ ไม่ใช่เพิ่งมีในปัจจุบัน แม้ในอดีตครั้งพุทธกาลก็มีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างย่ิง มีสตรี ท่านหน่ึง ซ่ึงมีช่ือเสียงโด่งดังในวงการพระพุทธศาสนา สตรีท่านน้ี ได้รับการยกย่องจาก สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสมั พทุ ธเจ้าวา่ เปน็ ผมู้ ีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ คุณสมบตั ิ พิเศษน้ีคือ เป็นผู้มีความงามชนิดที่คนอื่นไม่มี เป็นอุปัฏฐายิกาส�าคัญ เป็นก�าลังส�าคัญ ในวงการพระพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างท่ีดีงามของนักบ�าเพ็ญบุญ ต้ังแต่อดีตจนกระทั่ง ถงึ ปจั จบุ นั อนั ไดแ้ ก่ นางวสิ าขามหาอบุ าสกิ า นางวสิ าขา เปน็ ผทู้ ม่ี คี ณุ สมบตั พิ เิ ศษ คอื รปู สวย รวยสมบตั ิ ชาตติ ระกลู ดี มคี นรกั ใครแ่ ละจติ ใจเปน็ บญุ เปน็ กศุ ล นคี้ อื คณุ สมบตั พิ เิ ศษเฉพาะตวั นางวิสาขา เป็นธิดาของ ท่านธนัญชัยเศรษฐี มารดาของนาง คือ นางสุมนาเทวี นางวิสาขา ท่ีว่า มีคณุ สมบัตพิ เิ ศษท่านเรียกวา่ มีเบญจกลั ยาณี “เบญจะ แปลวา่ ห้า” “กลั ยาณี แปลวา่ งาม” “เบญจกลั ยาณี” แปลว่า “ผมู้ คี วามงามพเิ ศษ ๕ ประการ คือ ผมงาม ผวิ งาม เน้ืองาม กระดูกงาม และวัยงาม” ผมงาม คนท่ีผมงามนั้น สีผมจะด�าสนิทเป็นเงางาม เรียกว่า เงางามด�าสนิท แล้วผมนน้ั สยายเป็นระเบียบยาวประบา่ ปลายผมนน้ั งอนขน้ึ 46

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ผวิ งาม ทเ่ี รยี กวา่ ผดุ ผอ่ งดง่ั ยองใย ขาวนวลไมม่ กี ระ วรรณะผอ่ งใส งามตามธรรมชาติ เนอื้ งาม ทีเ่ รยี กว่า เน้อื นวล เนือ้ เนยี น เนอื้ น่ิม ได้แก่ เนอ้ื ไมห่ ยาบ ริมฝีปากสวย สชี มพู เวลายมิ้ เหน็ เหงอื กแดง เหงอื กไม่ดา� ริมฝีปากไมด่ �า แดงออกสชี มพู กระดูกงาม ค�าว่า กระดกู งาม หมายถึง ฟันของ นางวิสาขา นน้ั เปน็ ฟนั เรยี บเรียง เป็นระเบียบ สีขาวเหมือนไข่มุก ฟันเรียงสม�่าเสมอเป็นระเบียบไม่เก เรียกว่า ไม่มีเข้ียว เรยี บรอ้ ยสวยงาม วยั งาม นางวสิ าขา ได้ช่ือว่า เปน็ ผู้มวี ัยงาม ทา่ นอปุ มาวา่ เหมือนกบั บุคคลบางคน ท่ีผ่านการอุ้มครรภ์คลอดบุตรมาแล้ว ๑๐ คร้ัง ก็ยังเหมือนคนที่เพ่ิงผ่านการคลอดบุตร เพยี งครง้ั เดยี ว ทรวดทรวงองค์เอวไมเ่ สีย ไมแ่ ก่ ไมโ่ ทรม แต่ท่งี ามยิ่งกวา่ นนั้ คอื นางวสิ าขา งามทั้งภายนอกและภายใน อุดมด้วยทรัพย์สมบัติและคุณสมบัติ เป็นคนที่มีจิตใจงาม และมารยาทงาม ทจ่ี ติ ใจงามเพราะใจบญุ ไดช้ อื่ วา่ เปน็ ผทู้ ไ่ี มเ่ คยมมี อื เปลา่ เขา้ วดั คอื เวลาเขา้ วดั ก็จะมีวัตถุสิ่งของติดไม้ติดมือมาถวายพระเป็นประจ�า แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้มีใจบุญ ใจกุศล เล่ือมใสศรัทธาต่อพระเจ้าพระสงฆ์และพระรัตนตรัยเป็นอันมาก มีมารยาทงาม เป็นกุลสตรีท่ีเป็นแม่แบบของสตรีทั้งหลาย จะเดินก็งาม จะน่ังก็งาม เวลาฟาฝนตกคนอื่น กลวั เปยี กกจ็ ะพากนั วง่ิ แต่ นางวสิ าขา คอ่ ย ๆ เดนิ ละเมยี ดละไม ทเ่ี รยี กวา่ ละไมพรอ้ มละมอ่ มพรง้ิ กริ ยิ ามารยาทงดงาม สมเปน็ กลุ สตรี เพราะฉะนน้ั นางวสิ าขา จงึ ไดร้ บั “เอตทคั คะ แปลวา่ ไดร้ บั การยกยอ่ งวา่ เปน เลศิ กวา่ ผคู้ นทงั้ หลาย จากพระพทุ ธเจา้ วา่ เปน มหาอบุ าสกิ า คอื อบุ าสกิ า ผู้ยิง่ ใหญ่ ผ้ใู จบญุ เปน ยอดของอุปฏ ฐายิกาในทางพระศาสนา” บทบาทของ นางวสิ าขา ไดร้ บั การจารกึ บนั ทกึ ไวเ้ ปน็ แบบแผน แบบฉบบั แบบอยา่ ง ในวงการของพทุ ธศาสนกิ ชนจนถงึ ทกุ วนั นน้ี นั้ กค็ อื “นางเปน คนแรกทไ่ี ดถ้ วายผา้ อาบนา�้ ฝน เปน คนแรกทไ่ี ดร้ บั บรมพทุ ธานญุ าต ให้ถวายผา้ พระกฐนิ ” เป็นเหตุให้พวกเราได้ทอดกฐิน ถวายผ้าครอง ใหแ้ กพ่ ระสงฆ์ ผดู้ �ารง พระศาสนามาจนกระท่ังถึงปัจจุบัน และ วิสาขา น่ีแหละ เป็นผู้มีศรัทธาอันย่ิงใหญ่ สร้างวัดบุพพาราม ถวายแด่พระพุทธเจ้า ถวายเป็นสมบัติแก่พระศาสนา เป็นเครื่องบูชา พระพทุ ธเจ้า นี่คือ ความดี ความงาม ความเปน็ เลศิ ของ นางวสิ าขา บดั นี้ อาตมาไดก้ ะเทาะสาระขอ้ คิดคติธรรมจาก นางวิสาขามหาอบุ าสิกา เป็นการ เสริมธรรม เสริมปัญญา แด่พุทธบริษัท ก็หวังว่า เร่ืองน้ีจะเป็นเคร่ืองประเทืองปัญญา ตอ่ ทา่ นท้งั หลายตามสมควร บัดน้ี เหมาะควรแก่โอกาสและเวลา ขอยุตกิ ารแสดงพระธรรม เทศนาไว้แตเ่ พยี งเท่านี้ เอวงั กม็ ดี ว้ ยประการฉะน้ี 47

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจดั กิจกรรมปฏิบัติธรรมวนั ธรรมสวนะวัดสระเกศ พระสงฆ์ใหศ้ ลี พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนา ประธานฝา ยฆราวาสและผู้เข้าร่วมรบั ศีล ประธานฝายฆราวาสถวายกัณฑเ์ ทศน์ ประธานฝา ยฆราวาสและตวั แทนหนว่ ยงานถวายสงั ฆทาน ถา่ ยภาพร่วมกัน 48

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ทาลทิ ทกถา แสดงโดย พระเทพสทิ ธิมุนี วดั ดุสิดาราม เขตบางกอกนอย กรุงเทพฯ วันพุธที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสัมพทุ ธสั สะ (๓ จบ) ทาลิทฺทิยํ ภิกฺขเว ทุกฺขํ โลกสฺมึ กามโภคโิ นติ. บัดนี้ จักได้แสดงศาสนธรรม ค�าส่ังสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา สมั มาสมั พทุ ธเจา้ อนั เรยี กวา่ พระพทุ ธศาสนาพรรณนาเรอ่ื ง“ความจนภายในคอื ความจนใจ” เพื่อเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี เพ่ิมพูนกุศลบุญราศี แกท่ ่านสาธชุ นพทุ ธบรษิ ทั ทัง้ หลาย วนั นเ้ี ปน็ วนั พระ ขนึ้ ๘ คา�่ เดอื น ๖ ญาตโิ ยมพทุ ธบรษิ ทั ทง้ั หลายไดเ้ ขา้ วดั เพอ่ื บา� เพญ็ กศุ ล เปน็ ประจา� ทกุ วนั พระ การปฏบิ ตั เิ ชน่ น้ี เปน็ การรกั ษาดเี ดมิ และเพม่ิ เตมิ ดใี หม่ การรกั ษาดเี ดมิ หมายถงึ ความดีซง่ึ เป็นพ้ืนฐานน้นั มีอย่แู ลว้ ในจริตอัธยาศัยเรารกั ษาไว้ และในขณะเดียวกนั ก็เพ่ิมเติมดีใหม่ ๆ ให้แก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา อันเป็นบันไดไต่ไปสวรรค์ หรือ ศีล สมาธิ ปญั ญา อันเป็นบันไดไต่ไปถงึ นพิ พาน จะได้ดา� เนินการจากพระพุทธภาษิต ที่ได้ยกข้ึนไว้เป็นหัวข้อ ณ เบื้องต้นนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงความจนว่า เป็นทุกข์ ความจนว่า เป็นความล�าบาก เพราะจนทรัพย์สิน จนทรัพย์สมบัติเป็นทุกข์ เมื่อเป็นทุกข์ ตอ้ งเที่ยวกหู้ น้ี ยืมสินผอู้ ืน่ การกู้หนี้ยืมสนิ ผ้อู ื่นน้นั ก็เปน็ ทกุ ข์ประการหน่ึง เมื่อกู้หนีม้ าแลว้ จะต้องส่งดอกเบี้ย การท่ีต้องส่งดอกเบ้ียก็เป็นทุกข์อีกประการหน่ึง เม่ือผิดนัดไม่ได้ จ่ายดอกเบ้ียตามที่นัด ก็ถูกเจ้าหนี้ทวง การที่ถูกทวงก็เป็นทุกข์ซ้�าไปอีกประการหน่ึง เมอื่ ถกู ทวงแล้วไมไ่ ด้ส่งกห็ ลบหนีเจ้าหนี้ เจา้ หน้ีก็ตอ้ งตามหาตวั การถกู ตามหาตวั นน้ั แหละ ก็เป็นทุกข์อีกประการหน่ึง เม่ือตามหาตัวพบแล้ว เขาก็แจ้งเจ้าหน้าท่ีให้จับกุมจนถูกกักขัง การถูกกักขงั นี้ ก็เป็นทกุ ขไ์ มเ่ ปน็ สขุ เลย การถกู เขาตามหาตัวก็เปน็ ทกุ ข์ เขาตามหาตวั จนพบ แจง้ จบั กมุ กกั ขงั ยง่ิ เปน็ ทกุ ขใ์ หญเ่ ลย นว้ี า่ ดว้ ยความจนทรพั ยภ์ ายนอก และเปน็ ทกุ ขเ์ นอ่ื งดว้ ย ความจนทรัพย์สมบตั ิน่ันเอง 49

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ เมอื่ พระพทุ ธองคต์ รสั ดงั นแ้ี ลว้ กท็ รงนอ้ มเรอ่ื งความจนทรพั ยส์ นิ เขา้ หาธรรมอนั เปน็ คนจนภายในว่า “คนเราเมื่อยากจนทรัพย์สมบัติภายใน คือ ธรรม ไม่มีธรรมประจ�าใจ ก็เปนทกุ ข์” เช่นเดียวกนั เพราะใจจะอยู่เฉย ๆ ไมไ่ ด้ ใจจะอยวู่ ่าง ๆ ไมไ่ ด้ จะตอ้ งมีที่เกาะ ทีย่ ึดเหนย่ี ว คือ ตอ้ งมีอารมณ์ เพราะฉะนน้ั เมอื่ อารมณไ์ มแ่ นน่ อน จติ ใจกไ็ มแ่ นน่ อน จงึ ตอ้ งมธี รรมหรอื เขา้ หาธรรม คนทไี่ มม่ ธี รรมเรยี กวา่ “คนจนใจ” อนั ธรรมทจี่ ะตอ้ งมใี นทน่ี ี้ ตามทที่ รงแสดง กค็ อื ศรทั ธา หริ ิ โอตตปั ปะ วริ ิยะ และปญญา ถา้ จติ ใจไม่มีธรรมทง้ั ๕ นี้อย่ปู ระจ�าใจ ก็ไมต่ ่างอะไรกับ คนท่ีไม่มีทรัพย์สมบัติ ไม่มีทรัพย์สินเงินทอง เขาจะต้องประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ การประพฤตทิ ุจริตด้วยกาย วาจา ใจ นก้ี ็คือ การกหู้ นี้ยมื สิน เมือ่ ประพฤติทจุ รติ ดว้ ยกาย วาจา และใจ กาย วาจา ใจ ก็ไม่สจุ รติ คนท่ไี มส่ ุจริตนั้น ย่อมคิด ย่อมท�า ย่อมหาทางออก แต่ในทางไม่ดี ย่อมปรารถนา ย่อมแสดงเล่ห์กล เพ่ือปกปิดความช่ัว ความเลวร้ายของตน ทต่ี นไดก้ ระทา� ไวน้ น้ั ดว้ ยหวงั ไมใ่ หผ้ อู้ น่ื รวู้ า่ ตนเปน็ คนอยา่ งนนั้ การปกปดิ ความชวั่ ทที่ า� ไวน้ แี้ หละ ก็คือ การต้องส่งใช้ดอกเบ้ีย มิฉะน้ันจะอยู่ในสังคมในหมู่คณะไม่ได้ ไม่ว่าหมู่คณะไหน จะเป็นหมู่คณะพระภิกษุสามเณร หรือหมู่คณะอุบาสกอุบาสิกา โดยเฉพาะในหมู่พระภิกษุ สามเณร ถูกเพ่ือนภิกษุสามเณรผู้ประพฤติเรียบร้อย มีศีลหนักแน่นในพระธรรมวินัย ตักเตือนโจษท้วงข้ึน อาการท่ีถูกตักเตือนโจษท้วงขึ้นน้ี ก็คือ การถูกทวงหนี้น่ันเอง เขาผู้มีความประพฤตเิ ชน่ นี้จะอยู่ในท่ใี ด ๆ ไม่วา่ อยู่ปา อยโู่ คนไม้ หรอื อย่ทู ส่ี งบสงดั อยา่ งไร กถ็ ูกอกุศลวติ ก คอื ความตรึกท่เี ปน็ อกศุ ล ๓ อยา่ งครอบง�าอย่เู สมอ คอื ๑. กามวิตก ตรึกนึกคดิ ในเรือ่ งกาม คอื เหน็ แก่ตวั ๒. พยาบาทวิตก ตรกึ นึกคดิ แต่ในเร่อื งพยาบาท ปองร้ายผ้อู ่นื ทา่ นอืน่ ๓. วิหงิ สาวติ ก ตรึกนกึ คิดแตใ่ นการทีจ่ ะเบียดเบียนผู้อน่ื ใสร่ า้ ยปายสีผู้อ่ืน อาการที่เขานึกแต่ในเรือ่ งของอกุศลวติ ก คอื นกึ ชว่ั นกึ ไมส่ บายใจ อยา่ งนี้ ก็เปรียบ เหมือนกับการถกู ตามหาตัว ผูเ้ ปน็ เชน่ น้ี จะร่า� รวย จะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เปน็ คฤหบดี มหาศาล มฐี านะชอื่ เสยี งอยา่ งไรกต็ ามที แตเ่ มอ่ื จบชวี ติ แลว้ ยอ่ มเขา้ ถงึ ทคุ ติ คอื ตกอบายภมู ิ อาการท่เี ขา้ ถงึ ทคุ ติ คือ จติ ตกอบายภมู เิ ช่นน้ี ก็เหมือนการท่ีถกู จองจ�ากักขงั น่นั เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เรื่องของความจนในทางโลกว่า เป็นทุกข์แล้ว ก็ทรงแสดงความจนในทางธรรม คือ ความจนทางใจ โดยนัยดังท่ีเปรียบเทียบช้ีให้เห็น ดงั ทกี่ ลา่ วมาแลว้ นนั้ คอื ผู้ไมม่ ีธรรม หรือไมม่ ีหลกั ธรรมในพระพทุ ธศาสนาไวป้ ระจา� ใจแลว้ 50

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ไดช้ ่ือวา่ คนจนภายใน คอื จนใจ คนไม่มหี ลักธรรม ก็ไม่มหี ลักความประพฤติ ไมร่ ู้ดี รชู้ อบ ตามหลกั ธรรมในพระพทุ ธศาสนา ยอ่ มทา� ทจุ รติ ดว้ ยกาย วาจา และดว้ ยใจ คา� วา่ ทจุ รติ ในทน่ี ี้ มิได้หมายความว่า ท�าช่ัวชนิดที่เสียหายเล่ืองลือ หรือเสียช่ือเสียงท่ัวโลกอย่างเดียว ค�าว่า ทุจริตในท่ีนี้ ในทางโลกอาจจะมองเห็นว่า ดีก็ได้ แต่ในทางธรรม เรียกว่า ทุจริตอยู่น่ันเอง เช่น แสวงหาทรพั ย์ใหไ้ ดม้ าดว้ ยความไมบ่ รสิ ทุ ธ์ิ เมือ่ ไดม้ าแลว้ กม็ ่ังมศี รีสุข สมบรู ณ์บรบิ ูรณ์ ในทางโลกเขามองเหน็ วา่ คนทม่ี ง่ั มศี รสี ขุ แบบนน้ั เปน็ คนดี แตใ่ นทางธรรมยงั เรยี กวา่ ทา� ทจุ รติ อยนู่ นั่ เอง คอื คนประพฤตชิ วั่ คนทปี่ ระพฤตชิ วั่ เชน่ นน้ั จะตอ้ งปกปดิ ความชว่ั ของตวั ไว้ ตอ้ งคดิ ตอ้ งหวงั ต้องปรารถนาไมใ่ ห้คนท้งั หลายรู้วา่ ตนมคี วามประพฤติเสยี หาย อาการทท่ี �าความ ปกปดิ แบบน้ี เปน็ การทสี่ ง่ ดอกเบย้ี คอื ทา� จติ ใจนนั้ มคี วามเศรา้ หมองอยตู่ ลอดเวลา คนอนื่ ไมร่ ู้ แตต่ ัวเราเองร้อู ยแู่ ก่ใจ จติ ใจก็ไมส่ บาย เพอื่ น ๆ ผู้ท่รี กั สจุ รติ ก็รงั เกยี จเกลยี ดชัง น้แี หละคอื การทถ่ี กู ทวงหนี้ จติ ใจชอบคดิ อยเู่ สมอ ในเรอ่ื งของความไมด่ ี อนั นแ้ี หละ คอื การทถ่ี กู ตามหาตวั เมอื่ จบชวี ติ แลว้ ยอ่ มเขา้ ถงึ ทคุ ติ คอื จติ ตกอบายภมู ิ กค็ อื การทถี่ กู จองจา� กกั ขงั อยใู่ นคกุ นนั้ เอง ดงั นน้ั ทว่ี า่ ความจนภายนอกเปน็ ทกุ ข์ แตม่ นั เปน็ ทกุ ขด์ ว้ ยเรอื่ งภายนอก มใิ ชภ่ ายใน ไม่รนุ แรงอะไรเท่ากับความจนภายใน ทพี่ ระพทุ ธเจา้ ทรงแสดง ความจนภายในเมือ่ มขี น้ึ แล้ว จิตใจกเ็ ดอื ดรอ้ น กระสับสระส่าย ทรุ นทุราย หาความสุขไมไ่ ด้ มองไมเ่ หน็ อรรถ ไมเ่ ห็นธรรม ไมเ่ หน็ ดี ไมเ่ หน็ ชวั่ ไมม่ เี หตผุ ลใด ๆ ทงั้ นน้ั เพราะฉะนนั้ ทา่ นสาธชุ นผนู้ บั ถอื พระพทุ ธศาสนา ซ่ึงเปน็ พุทธศาสนิกชน จงึ ควรบา� เพ็ญธรรมใหป้ รากฏขนึ้ ให้มขี นึ้ ในใจ ธรรมทมี่ งุ่ กลา่ วในบท พระบาลนี ั้น ก็คือ ศรทั ธา ความเชื่อ ๑ หริ ิ ความละอายแก่ใจ ไม่กลา้ ทจี่ ะประพฤตชิ วั่ ท�าช่วั เปน็ อันขาด ๑ โอตตปั ปะ ความเกรงกลวั ตอ่ ผลของความชวั่ เกรงวา่ ความชวั่ จะสง่ ถงึ ตนแนน่ อน ๑ วริ ยิ ะ ความเพยี รบากบนั่ มงุ่ มน่ั ในการทจ่ี ะทา� ความดี โดยรบี ทา� ไมผ่ ดั วนั ประกนั พรงุ่ ๑ ปญ ญา ความรอบรู้ ในเหตุ ในผล ใช้เหตุผลเข้าแกป้ ญั หา ๑ ธรรมทงั้ ๕ ประการน้ี เปน็ อรยิ ทรพั ย์ คอื ทรพั ยอ์ นั ประเสรฐิ สงู สดุ เปน็ ทรพั ยภ์ ายใน ธรรมขอ้ อน่ื กเ็ ปน็ ทรพั ยเ์ หมอื นกนั แตท่ ต่ี รสั ไวด้ งั ทก่ี ลา่ วมาน้ี กพ็ อแกค่ วามประสงค์ พอแกก่ า� ลงั ในการปฏบิ ตั ิ เพราะฉะนน้ั พทุ ธบรษิ ทั จงึ ควรกา� หนดพจิ ารณาวา่ ในทางพระพทุ ธศาสนานนั้ ธรรม คอื คา� สง่ั สอนของพระพทุ ธเจา้ เปน็ ทรพั ยภ์ ายใน คอื ทรพั ยข์ องใจ เทยี บไดก้ บั ทรพั ยส์ นิ แกว้ แหวน เงนิ ทอง ขา้ วของ ทเี่ ปน็ ทรพั ยภ์ ายนอก อนั เปน็ ทรพั ยข์ องกาย สว่ นธรรมะเปน็ ทรพั ย์ 51

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ของใจ การทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ทกุ ทา่ นจะตอ้ งมศี รทั ธา มหี ริ ิ โอตตปั ปะ วริ ยิ ะ และปญั ญา นน้ั เพราะธรรมทง้ั ๕ ประการน้ี มปี รากฏขน้ึ ในใจมอี ยปู่ ระจา� ใจแลว้ ยอ่ มเปน็ แรงกระตนุ้ ชกั ชวน ชกั น�าให้บ�าเพญ็ ให้มธี รรมอน่ื ๆ ให้ได้ยิ่ง ๆ ข้ึนไป ในธรรมะท้งั ๕ ประการนนั้ คอื ประการที่ ๑ ศรทั ธา ความเชอ่ื คอื เชอ่ื วา่ พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั รจู้ รงิ และพระพทุ ธเจา้ ก็มีพระองค์จริงคือมีตัวตนจริง ไม่ใช่แบบพระเจ้าบนสวรรค์ พระพุทธเจ้า ก็คือ ผู้เป็นคน อย่างเรา ๆ ทา่ น ๆ นีแ่ หละประสูตใิ นประเทศอินเดยี ที่เรียกวา่ มัชฌมิ ประเทศ และท่าน กป็ รนิ พิ พานมา ๒๕๖๐ ปแี ลว้ เปน็ คนจรงิ ๆ ความตรสั รขู้ องพระองคท์ เี่ ปน็ ธรรมกน็ า่ อศั จรรย์ จริง ๆ อย่างนี้เป็นเหตุให้ท�าอะไรแล้วก็นึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ ถ้าจะผิดจากค�าส่ังสอน ของพระพุทธเจ้าแล้วจะไม่ยอมท�า เราเชื่อกรรมอย่างหนักแน่น ว่าส่ิงที่เราท�าน้ีเป็นกรรม กรรมทเ่ี ราทา� นย้ี อ่ มไดร้ บั ผลเปน็ ของเรา เปน็ “อตตฺ ช� อตตฺ สมภฺ ว”� เกดิ จากตนสมภพเปน็ พรอ้ ม มพี ร้อมทต่ี นเท่าน้นั ทา� แลว้ แบ่งให้คนอื่นไม่ได้ เงนิ ทองขา้ วของทรพั ย์สมบัติ ท�าพินยั กรรม ให้ลูกให้หลานได้ ลูกหลานอยู่ข้างหลังรับมรดกนั้นได้ แต่กรรมน้ีท�าพินัยกรรมให้ใครก็ไม่ ได้ของใครก็เป็นของเขาผู้น้ัน คือของใครของมัน และกรรมน้ีต้องให้ผลหรือมีผลแน่นอน เราท�ากรรมดีให้ผลดี เราท�ากรรมชั่วให้ผลชั่ว ผลดีผลชั่วก็ของเราเท่าน้ัน ให้คนอ่ืนไม่ได้ จะแบ่งให้คนอื่นช่วยรับเสียบ้างก็แบ่งไม่ได้ ทั้งฝายดีฝายชั่วนั้นแหละ เราเช่ืออย่างนี้ กเ็ ปน็ เหตุยบั ยงั้ ไม่ใหเ้ ราทา� กรรมชว่ั กระทา� แตก่ รรมดีแน่นอน ประการที่ ๒ หิริ ความละอายแก่ใจ เกลียดชังขยะแขยงต่อความช่ัวทุจริต เหมือนบุคคลผู้รักความสะอาดรักสวยรักงาม ไม่ยอมจับต้องแตะต้องของสกปรกโสโครก เม่ือเราไม่ประพฤติทุจริตหรือท�าทุจริตด้วยกาย วาจา และใจ ใจคอก็โล่งปลอดโปร่งสบาย ดงั คา� พระบาลที ว่ี า่ “สุจารี สขุ ิโต โหติ คนทีส่ ุจริตย่อมมคี วามสุขอย่เู สมอ” เพราะฉะน้ัน ธรรมะแต่ละประการจึงเรียกว่า ทรัพย์ภายใน ศรัทธาก็เป็นเหตุให้บ�าเพ็ญกุศลอย่างอ่ืน พอกพูนเพ่ิมข้นึ ไดน้ ่ันเอง ประการท่ี ๓ โอตตัปปะ ก็เป็นเคร่ืองเตือนใจไม่ให้ท�าชั่ว และท�าใจให้ขะมักเขม้น ในการท่ีจะไดบ้ า� เพญ็ ธรรมชั้นสูงย่งิ ๆ ข้นึ ไป ประการที่ ๔ วิริยะ ความเพียร ก็เป็นเหตุให้ขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจ อนั จะเปน็ คณุ เปน็ ประโยชนท์ ง้ั แกต่ นและผอู้ น่ื โดยรวมกค็ อื ทงั้ ประโยชนใ์ นชาตนิ ี้ ประโยชน์ ในชาติหนา้ เมอื่ จบชวี ติ ไปแล้ว และประโยชนส์ ูงสดุ คือพระนิพพาน 52

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ประการท่ี ๕ ปญญา กเ็ ปน็ เครอื่ งส่งเสริมให้รดู้ ีรู้ชอบ เห็นดีเห็นชอบ ร้จู ักบาปบญุ คณุ โทษประโยชน์มใิ ช่ประโยชน์นนั่ เอง เพราะฉะนนั้ ธรรมทง้ั ๕ ประการนี้ ซงึ่ เปน็ ธรรมะอนั เปน็ ตน้ เหตเุ มอื่ มอี ยคู่ รบถว้ นแลว้ ก็สามารถท่ีจะท�าให้เกิดดอกออกผลงอกงามยิ่ง ๆ ข้ึนไป เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ธมฺมจารี สุข� เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ผู้ประพฤติธรรมตั้งอยู่ ในธรรมะ ยอ่ มอยเู่ ปนสุขสบายท้ังในบัดนี้ และต่อไปภายภาคหนา้ ” ทา่ นสาธุชนท้ังหลาย ได้ทราบชัดพระพุทธภาษิต อันว่าด้วย “ความจนใจ” เพราะไม่มีธรรมะ คือ อริยทรัพย์ ในพระพทุ ธศาสนาแลว้ ควรปลกู อรยิ ทรพั ยใ์ หม้ ขี นึ้ ทใ่ี จ สา� หรบั เรอ่ื งของความจนภายนอกหรอื ความมงั่ มภี ายนอกนน้ั เราไม่สนใจ เมื่อมีเรากอ็ าศยั มนั เพียงแตว่ า่ อาศยั บา� เพ็ญประโยชน์ เท่าน้นั ไมต่ ิด ไมข่ อ้ ง ไม่วนุ่ ดว้ ยทรพั ยส์ มบัติน้นั ท่านผ้ฉู ลาดทั้งหลาย เม่ือมที รัพยภ์ ายนอก ก็เพยี งแตว่ า่ อาศยั มนั บ�าเพญ็ ธรรมอนั เป็นทรพั ยภ์ ายใน ใหม้ ปี รากฏขน้ึ ทใี่ จ แต่นนั้ กไ็ ดช้ อ่ื วา่ เปน็ ผไู้ มย่ ากจนขดั สน ดงั พระพทุ ธนพิ นธท์ ต่ี รสั ไวว้ า่ “อทลทิ โฺ ทติ ต� อาหุ อโมฆนตฺ สสฺ ชวี ติ ”� “นกั ปราชญร์ าชบณั ฑติ กลา่ วเรยี กเขาผนู้ นั้ วา่ เปน คนไมจ่ นใจ และชวี ติ ของเขากย็ อ่ มไมเ่ ปน โมฆะ คอื วา่ งเปลา่ จากประโยชนเ์ ลย” ดงั มอี รรถาธบิ ายตามแนว ทาลทิ ทยิ สตู ร ในฉกั กนบิ าต องั คตุ ตรนกิ าย ทไ่ี ดบ้ รรยายมา “รตนตตฺ ยานภุ าเวน รตนตตฺ ยเตชสา สทิ ธฺ มตถฺ ุ สทิ ธฺ มตถฺ ุ อทิ � ผล� เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส” ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย ด้วยเดช แห่งพระรัตนตรัย ขอผลส�าเร็จตามที่ทุกท่านผู้มีความเล่ือมใสหนักแน่นในพระรัตนตรัย จงส�าเรจ็ ตามมโนปณิธานแหง่ ความปรารถนาทกุ ประการ ดงั ทไ่ี ดใ้ หอ้ รรถาธิบายบรรยายมา กพ็ อสมควรแกเ่ วลา จงึ ขอยุติลงคงไว้แต่เพียงนี้ เอวัง กม็ ดี ว้ ยประการฉะนี้ 53

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจัดกิจกรรมปฏบิ ตั ิธรรมวนั ธรรมสวนะวดั ดุสดิ าราม ประธานฝายสงฆ์นา� พุทธศาสนกิ ชนทา� วตั รเช้า พระสงฆ์ใหศ้ ีล พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนา ประธานในพธิ ีและผ้เู ขา้ ร่วม ฟังพระธรรมเทศนา ประธานในพธิ แี ละผเู้ ขา้ ร่วม กรวดน้�า รับพร ถา่ ยภาพร่วมกนั 54

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ นายกคุณธรรมกถา แสดงโดย พระเทพปรยิ ตั ิโมลี วดั โมลโี ลกยาราม เขตบางกอกใหญ กรุงเทพฯ วนั พฤหัสบดที ี่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) ขมา ชาครยิ ุฏานํ สํวิภาโค ทยกิ ขฺ นา นายกสฺส คุณา เอเต อจิ ฺฉติ พพฺ า หเิ ตสโิ นติ. บัดนี้ จักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนาในนายกคุณธรรมกถา กถาว่าเรื่อง คุณธรรมของผู้น�า เพื่อประดับสติปัญญาบารมี เพิ่มพูนกุศลบุญราศีสัมมาปฏิบัติแก่ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต วันนี้โดยอภิลักขิตกาลเป็นวันธัมมัสสวนะแรม ๘ ค่�า เดอื น ๖ เปน็ วนั ทา� บญุ พเิ ศษของชาวพทุ ธวนั หนงึ่ เรยี กกนั วา่ “วนั อฏั ฐมบี ชู า” มคี วามสา� คญั เนื่องจากเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ ปรินพิ พานได้ ๘ วัน กล่าวคอื หลังจากวนั วิสาขบชู าแลว้ ๘ วนั เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในวันเพ็ญ เดือน ๖ ขณะมี พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบ�าเพ็ญพุทธกิจ จวบจนเสด็จ ดับขันธปรินิพพานเม่ือพระชนมายุ ๘๐ พรรษาน้ัน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทั้งหลายได้ทรงบ�าเพ็ญพุทธกิจไม่เห็นแก่ความเหน่ือยยาก ชาวโลกยกย่องพระองค์ว่าเป็น ยอดแห่งผู้น�า นา� แสงสว่างแกช่ าวโลก นา� ชาวโลกใหพ้ ้นทกุ ข์ พ้นกองกเิ ลสาสวะท้ังปวง ผนู้ �า ทงั้ หลายตอ้ งมคี ณุ สมบตั อิ นั สา� คญั ดงั บาลอี เุ ทศบทเบอ้ื งตน้ วา่ “ขมา ชาครยิ ฏุ  าน� สว� ภิ าโค ทยกิ ขฺ นา” เป็นอาทิ แปลความว่า บุคคลผูเ้ ปน ผนู้ �าหวงั ประโยชนเ์ ก้ือกูลและความสขุ แก่ สว่ นรวม จา� ตอ้ งมีคุณธรรมเหลา่ น้ี คือ ความอดทน ๑ ความตนื่ ตวั ๑ ความขยนั หมน่ั เพียร ๑ ความเออ้ื อารแี บง่ ปน ๑ ความเมตตาเอน็ ดู ๑ ความเหน็ กวา้ งไกล ๑ ในคณุ ธรรม ๖ ประการนั้น คุณธรรมประการที่ ๑ คือ ขมา แปลว่า ความอดทน เป็นคุณธรรมข้อต้นท่ีจะ พึงอบรมให้เกิดเป็นอัธยาศัย ด้วยว่า ในการท�าหน้าท่ีต่าง ๆ ท้ังทางคดีโลกและคดีธรรม ผู้ปรารถนาความส�าเร็จทุกอย่างต้องมีความอดทนเป็นท่ีต้ัง ความอดทนน้ันจ�าแนกได้ ๔ ประเภท คอื 55

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ๑. อดทนตรากตร�า ความอดทนท�างาน ไม่พร่ันพรึงต่อสภาพธรรมชาติ หนาว ร้อน อดทนท�างานด้วยความมุ่งม่ัน งานก็จะสัมฤทธ์ิผลคนจะเป็นสุข ต่างจากคน ไมอ่ ดทนท�างาน เบ่ือหน่ายงาน งานก็ไม่สา� เรจ็ ชีวิตกล็ ้มเหลวได้ ความเกียจคร้านมกั อา้ งวา่ หนาวนัก ร้อนนกั ยังเช้าอยู่ เป็นตน้ แลว้ ไม่ทา� งาน ไม่มุ่งมน่ั งาน ไม่อดทนงาน เป็นอบายมุข ทางแหง่ ความเส่อื มของชีวิต อยา่ งหนึง่ ๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ปวย ความไม่สบายกาย ของเราเอง ความปวดเมือ่ ย ไม่แสดงอาการทุรนทรุ ายจนเกินไป เรียกวา่ มใี จเข้มแข็งอดทน สง่ ผลใหร้ า่ งกายเราแขง็ แรงตอ่ สโู้ รคภยั ได้ คนบางคนอาจมสี ขุ ภาพรา่ งกายไมแ่ ขง็ แรงสมบรู ณ์ เพราะมีโรคประจ�าตัวมาต้ังแต่เกิด เช่น โรคภูมิแพ้ เป็นต้น โรคภัยท่ีเกิดจากอุบัติเหตุหรือ สาเหตุอื่นก็ตาม ถ้ามีความอดทนต่อทุกขเวทนา เขาก็จะมีจิตใจทรหดพร้อมที่จะฝาฟัน อุปสรรคต่าง ๆ อยเู่ สมอ ย่อมสามารถประกอบคณุ งามความดตี า่ ง ๆ ได้ ไมแ่ พผ้ ู้ท่ีมีสุขภาพ แข็งแรงสมบูรณ์ ตรงกันข้าม บุคคลท่ีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่เม่ือเจ็บไข้ได้ ปวยเลก็ ๆ นอ้ ย ๆ อดทนไม่ไหวทุรนทุราย มีก�าลังถดถอยหรอื ทอ้ แท้ ขาดกา� ลังท่จี ะท�างาน ใหส้ �าเรจ็ ลลุ ่วงไปได้กม็ ี อย่างหน่งึ ๓. อดทนตอ่ ความเจ็บใจ เปน็ การอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขดั ใจ อันเกิดจากค�าพูดหรือการกระท�าที่ไม่ชอบใจของผู้อื่น ซ่ึงอาจจะมีการกระทบกระทั่งด้วย ค�าพูดเยาะเย้ยถากถาง ด้วยกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนความไม่ยุติธรรมท้ังจาก ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานทุกฝาย ความเจ็บใจเกิดจากกิเลสตระกูลโทสะ ซ่ึงแฝงอยู่ในใจ ของทุกคนต้ังแต่เกิด ถ้าคนเราสามารถข่มกิเลส คือ โทสะให้สงบลงได้ แม้ใครจะแสดง พฤตกิ รรมชว่ั รา้ ยกระทบกระทง่ั กา้ วรา้ วตอ่ เรา เรากส็ ามารถวางเฉยไดด้ ว้ ยใจสงบ ความเจบ็ ใจ ย่อมไม่เกิดขึ้นตามธรรมดานั้น เราไม่สามารถห้ามผู้อื่นมิให้แสดงพฤติกรรมกระทบกระท่ัง เราได้ แต่เราสามารถข่มใจของเราเองให้สงบได้ ด้วยการไม่ถือโทษโกรธผู้อ่ืนหรือด้วยการ ใหอ้ ภยั ทาน ถา้ เราสามารถทา� ไดค้ วามรา้ วฉานความอาฆาตบาดหมางระหวา่ งตวั เราและผอู้ นื่ ยอ่ มไมเ่ กดิ ขนึ้ ตรงกนั ขา้ ม ผไู้ มอ่ ดทนกจ็ ะแสดงอาการเกรย้ี วกราดโมโห แสดงอาการโกรธขง้ึ หรือพยาบาทต่อผู้อ่ืน ความโกรธพยาบาทนี้แลบดบังสติปัญญาของตนเสีย มองไม่เห็น ความดีของผ้อู นื่ อย่างหนึ่ง ๔. อดทนตอ่ อา� นาจกเิ ลส เปน็ การอดทนตอ่ โลภะความโลภอยากไดข้ องผอู้ น่ื โทสะ ความโกรธ และโมหะความหลง อารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจดึงใจของเราให้ตกต่�า ถ้าไม่รู้จักอดทนระงับ เพราะเคร่ืองยั่วยวนชวนให้หลงนั้นมีมาก บุคคลผู้มีความอยาก เป็นเจ้าหัวใจไม่อดไม่ทนปล่อยไปตามใจ ผู้ตามใจความอยาก จึงตกยากไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัว 56

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ก็หมดตัวเสียแล้ว ผู้ประกอบด้วยขันติ คือ ความอดทนน้ี พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า เปน็ ผงู้ ดงามในโลก คณุ ธรรมขอ้ นีเ้ ป็นคุณสมบัตขิ องผู้น�าประการท่ี ๑ คุณธรรมประการที่ ๒ คอื ชาครยิ ะ แปลวา่ ความเปนผู้ตน่ื บุคคลผู้มีตา� แหน่ง เป็นผู้น�า จ�าต้องมีความต่ืนตัว กระตือรือร้น กระฉับกระเฉง เป็นผู้ไม่มัวเมา เป็นผู้ไม่หลับ มสี ตกิ �ากับ มคี วามพรอ้ มสรรพท้งั ทางกาย วาจา ใจ ในการปฏิบตั ิหนา้ ที่ ต่ืนตวั ตน่ื รอู้ ยเู่ สมอ ถ้าเป็นผ้หู ลบั แมจ้ ะนบั จา� นวนเปน็ รอ้ ย ก็มากเพียงปริมาณ แต่ด้อยคุณภาพ เพราะคนหลับ เป็นเหมือนคนตาย คนตายหามีก�าลังกายก�าลังทรัพย์ก�าลังความคิดสติปัญญาไม่ บุคคล ผู้ต่ืนแม้เพียงคนเดียว ย่อมมีความพร้อมมากกว่าคนหลับนับจ�านวนร้อย ชาคริยะหรือ ชาครยิ านโุ ยค เปน็ คณุ ธรรมของนกั ปฏบิ ตั ธิ รรมดว้ ย หมายถงึ ประกอบความเพยี รเปน็ เครอ่ื ง ตื่นอยู่เสมอ ไมห่ ลงในนิวรณธรรมอนั เปน็ เครือ่ งกนั้ ใจไม่ใหบ้ รรลคุ ณุ ความดี ผูน้ �าต้องตืน่ ตวั รทู้ นั สถานการณภ์ ายนอก เพอ่ื ปรบั กลยทุ ธใ์ นการบรหิ าร ทงั้ ตง้ั รบั และรกุ จงึ จะไมเ่ พลย่ี งพลา�้ เรยี กว่า รเู้ ท่าเอาไวก้ ัน รูท้ ันเอาไว้แก้ ข้อนีเ้ ปน็ คุณธรรมของผูน้ �าประการท่ี ๒ คณุ ธรรมประการที่ ๓ คอื อฏุ ฐานะ หมายถึง การลกุ ขึน้ เพ่อื ทา� งานตามหนา้ ท่ี คา� โบราณว่า “หน้านอกบอกความงาม หนา้ ในบอกความดี หนา้ ที่บอกความสามารถ” หนา้ นอกแตง่ ใหพ้ อดี หนา้ ในกบั หนา้ ทแ่ี ตง่ ใหม้ าก ในทนี่ ห้ี มายถงึ ความหมนั่ ขยนั ในการปฏบิ ตั ิ หน้าที่ ทั้งหน้าท่ีโดยตรง ทั้งหน้าท่ีโดยได้รับมอบหมาย ให้ด�าเนินไปด้วยความเรียบร้อย ถกู ต้องเหมาะสม เพอื่ ประโยชน์สุขแกส่ ว่ นรวม โดยไมเ่ หน็ แกค่ วามเหน็ดเหน่ือย มสี ตปิ ญั ญา แกก่ ลา้ ความคิดแหลมคม รา่ งกายแข็งแรง จิตใจเขม้ แข็ง มุ่งม่นั เพอ่ื งาน รักงาน การลุกขนึ้ ตรงกันข้ามกับการนอน ความขยันตรงกันข้ามกับความเกียจคร้าน คนเกียจคร้าน ก็คือ คนเอาแตน่ อน อา้ งความหนาว ร้อน หิว กระหาย เช้า สาย บ่าย เยน็ แลว้ ไม่ท�าการงาน คนเกยี จครา้ นชอบความสบาย คอยเลย่ี งท่ียากบากไปหาทง่ี ่าย หลบงานหนักไปหางานเบา หวงั แตส่ นกุ ไมน่ กึ ถงึ ความทกุ ขข์ า้ งหนา้ ฟนั ฝา ความทกุ ขไ์ ปสสู่ ขุ ขา้ งหนา้ ผมู้ คี วามหมน่ั ขยนั ยอ่ มสามารถน�าตน น�าคน นา� งาน ใหผ้ ่านไปโดยไม่ไร้ประโยชน์ แม้จะล�าบากกรากกร�ากจ็ า� ตอ้ ง สเู้ อาชนะอปุ สรรคข้อขัดขอ้ งนานาประการ เหมือนวา่ วตา้ นลม ฉะนัน้ ตรงกนั ขา้ ม ผู้น�าบาง ท่านไม่เอาไหน ด้อยพฒั นา มปี กติลาปวยเปน็ นิจ ลากจิ เป็นประจา� แถมหนา้ ฉา�่ คอยประจบ เอาแต่จะหลบเลย่ี งงาน เช่ียวชาญในการคุย ไมล่ ุยท�างานเสมอ พอเผลอคอยหลบั โทรศพั ท์ ทง้ั วนั นง่ั กไ็ มต่ ดิ ท่ี งานมกี ไ็ มค่ อ่ ยทา� เปน็ ผนู้ า� แตม่ าชา้ ตลอดปี แถมจรลกี ลบั กอ่ นกาล บรหิ าร ก็ไม่ดี กลับไปโทษท่ผี ู้รว่ มงาน หน้าด้านเอาเงินเดือน อีกเล่ือนข้นั เม่อื ส้ินปี คนเชน่ นี้เป็นผนู้ า� ไมไ่ ด้ คณุ ธรรมขอ้ นีเ้ ปน็ คุณสมบัตปิ ระการท่ี ๓ 57

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ คุณธรรมประการที่ ๔ คือ สังวิภาคะ หมายถึง ความจ�าแนกแจกจ่าย บุคคล ผเู้ ปน็ ผนู้ า� จา� ตอ้ งจา� แนกแจกจา่ ยนโยบาย กศุ โลบาย คา� สง่ั คา� สอน โดยชแ้ี จงแนะนา� พรา�่ สอน พร่�าแนะให้รแู้ ละเข้าใจในเร่ืองบาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์มิใชป่ ระโยชน์ ตลอดจนมีความฉลาด สามารถจัดสรรแบ่งปันหน้าที่การงานและหลักการวิธีการต่าง ๆ ให้แพร่หลาย กระจาย ไปในเพ่ือนร่วมงาน ผู้น�าที่ดีต้องไม่รวบอ�านาจผูกขาดแต่ผู้เดียว ต้องส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาได้ท�างานเต็มตามศักยภาพของตน เพ่ือสร้างงานหรือสร้างองค์กรให้เจริญรุ่งเรือง แต่ผู้นา� ต้องประคับประคอง เรยี กว่า พดู ใหเ้ ขารู้ ท�าใหเ้ ขาดู อยใู่ ห้เขาเห็น เปนนกั เสียสละ เสียสละก�าลังกาย ทรัพย์ สติปัญญา ตลอดถึงเสียสละประโยชน์ตนเพ่ือประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ส่วนน้อยเพ่ือประโยชน์ส่วนใหญ่ ผู้น�าต้องมีความเอื้อเฟอ รู้จักแบ่งงาน กระจาย ต�าแหน่งงาน เข้าต�าราว่า ไม่ยึดเอาไว้คนเดียว ไม่เก็บงานเอาไว้คนเดียว ต้องรู้จักแบ่งงาน กระจายงาน ถอื คตวิ า่ “กระจกุ ตาย กระจายรอด” คณุ ธรรมนเี้ ปน็ คณุ สมบตั ผิ นู้ า� ประการที่ ๔ คุณธรรมประการท่ี ๕ คือ ทยา แปลว่า ความเอน็ ดู มาคูก่ บั เมตตาความรกั และ กรุณาความสงสาร บุคคลผู้เป็นผู้น�าจ�าต้องอบรมเมตตากรุณาให้เกิดมีในอัธยาศัย เพราะ เมตตากรณุ าเปน็ คณุ ธรรมนา� ใหเ้ หน็ อกเขาอกเรา ใหม้ ไี มตรจี ติ มติ รภาพตอ่ กนั ใหร้ รู้ กั สามคั คี ในสังคม เมื่อคนในสังคมนิยมความรักความเอ็นดูเป็นเรือนใจ จะไม่เอารัดเอาเปรียบ เบียดเบียนรังแกข่มเหงใคร ผู้ใหญ่ท่ีมีอ�านาจวาสนา จะไม่เหยียบย�่าท�าลายผู้น้อยท่ี ด้อยอ�านาจวาสนา รับเป็นท่ีปรึกษาพึ่งพิงในยามขัดข้อง คอยประคับประคองปลอบใจ ในยามผดิ หวงั เศรา้ สรอ้ ยหงอยเหงา คอยเอาใจใสใ่ หส้ ตใิ นยามพลง้ั เผลอผดิ พลาด ไมค่ อยหา โอกาสจับผิดคิดลงโทษถา่ ยเดียว ถา้ ผนู้ �าเบย้ี ว ผู้ตามก็เอน ผู้น�าจึงจ�าต้องมพี รหมวิหารธรรม คอื เมตตา กรณุ า มทุ ติ า และอเุ บกขาเปน็ หลกั ถอยหา่ งจากอคตคิ วามลา� เอยี ง เทยี่ งตรงตอ่ คน เท่ียงตรงต่องาน เพราะความต้องการของคนท่ัวไปคือ “ความยุติธรรม” นั่นเอง เรียกว่า ผนู้ า� เมตตากรุณาต่อผู้อื่น ไม่โหดร้ายใจอา� มหติ ยามผดิ พลาดรู้จักให้โอกาสใหอ้ ภัย คุณธรรม ข้อนี้เปน็ คุณสมบัติประการที่ ๕ คณุ ธรรมประการที่ ๖ คอื อกิ ขนะ แปลวา่ การเหน็ การดู การเหน็ เปน็ อาการของตานอก การดเู ปน็ อาการของตาใน ตานอก คือ ตาเน้อื ตาใน คือ ตัวปัญญา ผู้นา� ต้องมีหูกว้างตายาว เขา้ กบั คา� ในภาษาบาลวี า่ “ทฆี ทสสฺ ”ี แปลวา่ “เหน็ ไกลเหน็ ยาวหรอื คนมตี าหรอื หกู วา้ งตาไกล” ดังค�าสมัยใหม่ว่า “มีวิสัยทัศน์กว้างไกล” บุคคลผู้เป็นผู้น�า จ�าต้องนึกถึงค�าโบราณว่า “ผู้อยู่สูงให้นอนคว่�า ผู้อยู่ต�่าให้นอนหงาย” ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ กับผู้น้อย ให้คอยสอดส่องมองดูกัน โดยเฉพาะผู้ใหญ่ไม่เป็นคนหูเบาใจเบาผู้บังคับบัญชา 58

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ตอ้ งดแู ลสงเคราะหผ์ ใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชา ผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชาตอ่ ดแู ลชว่ ยเหลอื งานผบู้ งั คบั บญั ชาดว้ ย ความอดทนแข็งขันและซ่อื สตั ยค์ ณุ ธรรมขอ้ นเ้ี ปน็ คุณสมบัตผิ นู้ �าประการที่ ๖ จึงสรุปได้ว่า ผู้น�าที่ดีมุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ส่วนรวม ผู้น�าที่ดีต้องเปนผู้มี วิสัยทัศน์ ต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคตท่ีคนอื่นมองไม่เห็น มองเห็นโอกาส ในอนาคตได้ และเม่ือมองเห็นภาพอนาคตแล้ว ก็ต้องสามารถก�าหนดเปาหมาย และ แผนงานในการไปสู่เปาหมายน้ันได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ฝันเฟองเพียงอย่างเดียว ผู้น�า ท่ีดีจะต้องกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม เป็นการน�าแผนงานท่ีก�าหนดไว้น้ัน มากระจายสคู่ ณะทา� งาน โดยพจิ ารณาความเหมาะสมของผทู้ า� งานแตล่ ะคนใหเ้ หมาะกบั งาน แตล่ ะอยา่ ง เพ่อื ให้เขาสามารถที่จะท�างานได้ตามทถ่ี นดั รวมทง้ั ใหโ้ อกาสคนอืน่ ๆ ได้ท�างาน ผนู้ า� ทดี่ จี ะตอ้ งสรา้ งทมี งานได้ ตอ้ งเปน็ คนทม่ี งุ่ มน่ั ทา� งานใหส้ า� เรจ็ โดยเนน้ ทง้ั งาน เนน้ ทงั้ คน เพื่อสร้างทีมงานท่ีดี ผู้น�าก็ต้องมีทักษะในการส่ือความท่ีดี มีความเป็นธรรมกับพนักงาน ทุกคนในทีม ไม่เลือกที่รักมักท่ีชัง เวลาท�างานก็จะเน้นให้ทุกคนร่วมกันท�างาน ไม่มีการ ท�าตัวเด่นเพียงคนเดียว หรือรับแต่ชอบ ไม่ยอมรับผิด ผู้น�าที่ดีจะต้องสร้างแรงบันดาลใจ ใหผ้ รู้ ว่ มงานได้ มพี ลงั ในการสรา้ งกา� ลงั ใจใหก้ บั ทมี งาน และกระตนุ้ ใหผ้ ใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชามคี วาม ตอ้ งการทจี่ ะประสบความสา� เรจ็ ได้ ผนู้ า� ทดี่ จี ะตอ้ งเปน ผพู้ ฒั นาคนอนื่ อยเู่ สมอ มคี วามเขา้ ใจ คณะท�างานที่มีผลงานไม่ดี และพยายามที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการท�างานมากขึ้น แต่จะพยายามพัฒนาให้พนักงานท�างานให้ได้ ผู้น�าที่ดี จึงเปรียบเสมือนครู ท่ีสอนพนักงานท้ังด้านความรู้ในการท�างาน และเป็นตัวอย่างส�าหรับ พฤตกิ รรมทเ่ี หมาะสมด้วย ดังนั้น คณุ ธรรม ๖ ประการ คอื ความอดทน ๑ ความตนื่ ตัว ๑ ความขยันหมั่นเพยี ร ๑ ความเอื้ออารีแบ่งปน ๑ ความเมตตาเอน็ ดู ๑ ความเหน็ กว้าง ไกล ๑ เปน็ คุณธรรมของผู้น�าทุกระดบั ชั้น ผ้นู �าผู้สมบรู ณด์ ้วยคณุ ธรรมเหลา่ นจ้ี ะทา� งานที่ใด องค์กรใดกต็ าม องค์กรน้ันกจ็ ะเจรญิ รุง่ เรอื งโดยไม่ยาก เทศนาปริโยสาเน ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ขออ้างเอาคุณพระศรีรัตนตรัย และดว้ ยอา� นาจบญุ กศุ ลคณุ งามความดที ที่ า่ นพทุ ธศาสนกิ ชนทงั้ หลาย ทมี่ สี มานฉนั ทม์ ารว่ มกนั ฟงั เทศนใ์ นวนั อฏั ฐมบี ชู าน้ี ขอจงมารวมกนั เปน็ ตบะเดชะ เปน็ พลวปจั จยั ชว่ ยปกปอ งคมุ้ ครอง ท่านท้ังหลาย ให้ปราศจากความเจ็บไข้ได้ปวย มีสุขภาพพลามัยสมบูรณ์ จงเจริญด้วยสิริ สวสั ดพิ์ ิพัฒนมงคล สมบรู ณพ์ ูนผลด้วยส่งิ อนั พงึ ปรารถนาจงทุกประการ รับประทานวสิ ชั นา พระธรรมเทศนา ในนายกคุณธรรมกถา กส็ มสมัยไดเ้ วลา ขอสมมติยตุ ิลงคงไว้แต่เพียงเท่าน้ี เอวัง กม็ ดี ้วยประการฉะนี้ 59

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจัดกิจกรรมปฏบิ ตั ิธรรมวันธรรมสวนะวัดโมลีโลกยาราม ประธานฝา ยฆราวาส จดุ ธปู เทียนบชู าพระรตั นตรยั ประธานฝา ยสงฆ์นา� พุทธศาสนิกชนท�าวัตรเช้า พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนา ประธานฝายฆราวาสและตัวแทนหนว่ ยงานถวายสังฆทาน ประธานในพธิ ีและผ้เู ข้ารว่ ม กรวดน�้า รับพร ถ่ายภาพร่วมกัน 60

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ปริจจาคกถา แสดงโดย พระศรรี ัตนวมิ ล วัดชัยชนะสงคราม เขตสมั พนั ธวงศ กรงุ เทพฯ วันพฤหัสบดที ่ี ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสัมพทุ ธสั สะ (๓ จบ) มตฺตาสขุ ปริจฺจาคา ปสเฺ ส เจ วปิ ลุ ํ สขุ ํ จเช มตตฺ าสขุ ํ ธีโร สมปฺ สสฺ ํ วปิ ลุ ํ สุขนฺต.ิ ณ บัดนี้ จักได้แสดงพระธรรมเทศนาในปริจจาคกถา ว่าด้วยความเสียสละ เพ่ือเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี ส่งเสริมกุศลบุญราศีของ พทุ ธศาสนกิ ชนทง้ั หลาย ผู้มาประชุมพร้อมกัน ณ พระอโุ บสถวัดชยั ชนะสงครามพระอาราม หลวงแห่งนี้ การท�าความดีจะต้องมีความตั้งใจจริงมีก�าลังกายก�าลังใจอย่างสูง จึงจะสามารถ ท�าภาระหน้าที่ ที่เป็นไปเพ่ือประโยชน์สุขของส่วนรวมได้ เพราะคนท่ีจะท�าภาระหน้าท่ี ที่ยิ่งใหญ่ได้ดีจะต้องยอมเสียสละความสุขส่วนตัวลงบ้าง กล่าวคือ คนที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ จะตอ้ งลดความเหน็ แกต่ วั สละความสขุ สว่ นตวั เพอื่ ความสขุ ของสว่ นรวม การทา� ความดไี มใ่ ช่ ท�าง่าย ๆ บางครั้งบางทีก็พบอุปสรรคเข้ามาขัดขวาง คนท�าความดีนั้นมักจะหลีกเลี่ยง การผจญมารไม่พ้น มารจะไม่มาขวางทางคนท�าไม่ดี “มาร แปลว่า สิ่งท่ีมาขัดขวาง” ใครทท่ี า� ความดมี ารจะเขา้ มายว่ั ทา� ใหเ้ กดิ อปุ สรรค เหมอื นพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ กอ่ นจะตรสั รู้ ไดต้ ดั สนิ พระทยั แนว่ แนว่ า่ “แมว้ า่ เลอื ดและเนอ้ื ในพระวรกายของพระองคจ์ ะเหอื ดแหง้ ไป จนเหลือแต่เอ็น หนัง และกระดูกก็ตามที หากพระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณกจ็ กั ไมล่ กุ ขน้ึ จากอาสนะ” พระยามารกลวั ว่า พระองค์จะไดเ้ ป็นพระพุทธเจ้า จึงมาขดั ขวางในการบ�าเพญ็ เพียรของพระองค์ สุดท้ายพระองค์ไดม้ ีชัยชนะเหนือพระยามาร ได้ส�าเร็จเป็นพระพุทธเจ้า อย่างไรก็ตาม มารเป็นเคร่ืองทดสอบการท�าความดีของคน มารไม่มีบารมีไม่เกิด เพราะมารมีบารมีจึงเกิด ความเข้มแข็งอดทนของคนเราน้ัน เกิดมา ได้เพราะมีอุปสรรค เหมือนกับว่าวท่ีข้ึนที่สูงได้เพราะมีลมต้าน ส่วนคนเราน้ันจะข้ึนที่สูงได้ กเ็ พราะมอี ปุ สรรคตา้ น เพราะเหตใุ ดการทา� ความดแี ตล่ ะครง้ั มกั จะมอี ปุ สรรคมาตา้ นอยเู่ สมอ 61

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ เพราะการทา� ความดนี นั้ อาจจะทา� ใหโ้ ดดเดน่ เกนิ หนา้ เกนิ ตาคนอน่ื เขา ดงั ทห่ี ลวงวจิ ติ รวาทการ ประพันธ์ไว้ว่า “อนั ที่จรงิ คนเขาอยากใหเ้ ราได้ดี แต่ถา้ เด่นขน้ึ ทุกทีเขาหม่นั ไส้ จงท�าดีแตอ่ ยา่ เดน่ จะเปนภัย ไม่มใี ครเขาอยากเหน็ เราเด่นเกนิ ” การท�าความดีบางคร้ังไม่สามารถหลีกเล่ียงความเด่นได้ เพราะต้องกล้าท�าในสิ่งที่ คนอน่ื ไมเ่ คยหรอื ไมก่ ลา้ ทา� ดงั นน้ั ในการทา� ความดี จงึ ตอ้ งกลา้ เผชญิ กบั อปุ สรรคปญั หาตา่ ง ๆ ต้องมีความเสียสละสู้อุปสรรค เสียสละสุขส่วนตัว เพ่ือประโยชน์สุขที่ไพบูลย์กว่า สมดงั พระบาลี ทไ่ี ดย้ กขน้ึ ไว้ ณ เบอื้ งตน้ นน้ั วา่ “มตตฺ าสขุ ปรจิ จฺ าคา” เปน็ ตน้ ซง่ึ แปลความวา่ “ถา้ เหน็ แกป่ ระโยชนส์ ขุ ทยี่ งิ่ ใหญก่ วา่ เพราะสละสขุ เลก็ นอ้ ย นกั ปราชญค์ วรสละสขุ เลก็ นอ้ ย เพือ่ เห็นแก่ความสุขทย่ี ง่ิ ใหญก่ ล่าวในทางธรรม” สุขทีย่ ่งิ ใหญ่กว่าไดแ้ ก่ “พระนพิ พาน คอื การดบั กเิ ลสอยา่ งสน้ิ เชงิ ” หากเราตอ้ งการความสขุ คอื พระนพิ พานกต็ อ้ งสละความสขุ ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในชีวติ ประจา� วนั ซง่ึ เปน็ ความสขุ เลก็ นอ้ ยเสยี ดังเชน่ เจา้ ชายสิทธตั ถะได้เสยี สละความสุข ในราชสมบตั ิ เสดจ็ ออกผนวชเพอ่ื แสวงหาความสขุ ทยี่ งิ่ ใหญก่ วา่ นนั่ คอื ความเปน็ พระพทุ ธเจา้ และหากเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงเห็นแก่พระองค์ไม่ยอมสละความสุขในการครองราชสมบัติ เช่ือแน่ว่า เราท่านท้ังหลาย คงจะไม่ได้พบแสงสว่างจากพระธรรมค�าสอนอย่างเช่นทุกวันน้ี อยา่ งแนน่ อน น่แี หละ คอื ผลแหง่ การเสยี สละความสขุ เล็กน้อยของพระองค์ หากจะกลา่ ว ในทางโลกความสุขของคนส่วนรวมส�าคัญกว่าความสุขส่วนตัว เนื่องจากคนเรา จะอยู่ ตามล�าพังตัวคนเดียวไม่ได้ จ�าต้องพ่ึงพาอาศัยกันและกัน เร่ิมตั้งแต่เกิดจนกระท่ังตาย แตก่ ารทจ่ี ะพง่ึ พาอาศยั กนั ได้ กเ็ พราะอกี ฝา ยหนงึ่ ยอมเสยี สละให้ เชน่ ลกู ๆ ทเี่ จรญิ เตบิ โตมาได้ ก็เพราะการเสียสละของพ่อแม่ ลูกศิษย์ท่ีประสบความส�าเร็จได้ก็เพราะความเสียสละ ของครูบาอาจารย์ ประเทศชาตทิ ่ีมนั่ คงยง่ั ยืนมาถงึ ทุกวนั นีไ้ ด้ ก็เพราะการเสียสละเลือดเนอื้ แรงกายแรงใจของบรรพบุรุษร่วมกันสร้างมา คนที่เห็นแก่ประโยชน์ของคนอ่ืนมากกว่า ความสุขส่วนตัว สามารถทนต่อความล�าบากเพื่อสร้างสรรค์คุณงามความดีให้เกิดข้ึนได้ ในเรื่องน้ี ขอกล่าวถึงท่านมหาตมคานธี ซึ่งเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพ่ือประโยชน์สุข ของประเทศอนิ เดยี ทา่ นมหาตมคานธี เปน็ ลกู เศรษฐเี กดิ ในตระกลู มที รพั ยส์ นิ เงนิ ทองมากมาย จบการศึกษานิติศาสตร์จากประเทศอังกฤษแล้วเดินทางกลับมาประเทศอินเดีย ตอนน้ัน อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ ท�าให้เกิดความรู้สึกว่า ในขณะท่ีคนท้ังประเทศ 62

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ อยู่ภายใต้การกดขี่มีความทุกข์ยากแสนสาหัส เราจะมีความสุขเพียงคนเดียวได้อย่างไร จึงคิดสละความสุขส่วนตัวเพ่ือความสุขของคนส่วนรวม เพื่อจะได้ช่วยให้คนทั้งหลาย ได้พ้นจากความทุกข์น้ัน คิดได้ดังน้ัน จึงสละทรัพย์สมบัติอุทิศตนเพ่ือประเทศชาติ เพอื่ ประชาชน เดมิ ทที ่านมหาตมคานธีเป็นคนชื่นชอบอ่านวรรณคดีภาษาองั กฤษ อ่านแล้ว มีความเข้าใจลึกซ้ึง จนกระท่ังวันหน่ึงเห็นว่า ตนเองไม่ควรท่ีจะไปชื่นชอบวรรณคดีของ ชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นประเทศมหาอ�านาจกดขี่ประชาชนในประเทศของตน จึงหันมาศึกษา วรรณคดีประเทศของตนอย่างละเอียด อ่านเพื่อจะได้น�ามาเขียนเป็นภาษาของตนเอง แต่การจะท�าอย่างน้ันได้ก็ต้องเสียสละความรื่นรมย์ในการอ่านวรรณคดี ภาษาอังกฤษ เป็นการเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยเพ่ือประโยชน์ส่วนรวม และท่านยังได้เสียสละ ความสุขของตนเอง ด้วยการมาเป็นผู้น�าทางการเมือง ที่ต่อสู้เพ่ือเอกราชของชาวอินเดีย จากอังกฤษโดยใช้หลักสันติวิธีหรือแบบอหิงสา เช่น อดอาหารประท้วงและการไม่นิยมใช้ ความรุนแรง จนท�าใหอ้ งั กฤษยอมคนื เอกราชให้ เร่อื งราวของท่านมหาตมคานธนี ี้ แสดงให้ เห็นถึงการเสยี สละประโยชนส์ ุขสว่ นน้อยของตนเพ่ือประโยชนส์ ุขของส่วนรวม ดังพระบาลี บทหนง่ึ วา่ “จเชธน�องคฺ วรสสฺ เหต”ุ เปน็ ตน้ ซง่ึ แปลความวา่ “พงึ สละทรพั ยเ์ พอ่ื เหน็ แกอ่ วยั วะ พึงสละอวัยวะเพื่อเห็นแก่ชีวิต พึงสละทรัพย์อวัยวะและชีวิตเพื่อเห็นแก่ธรรม” คนเรา เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ปวยอวัยวะอาจจะช�ารุดเสียหาย จ�าต้องสละทรัพย์เพ่ือการรักษา แต่หากว่าอวัยวะส่วนใดส่วนหน่ึงกลายเป็นพิษ จ�าเป็นต้องตัดแขนตัดขาเพ่ือรักษาชีวิต เอาไว้ เราก็จา� เปน็ ตอ้ งตัดอวยั วะนน้ั ๆ เพ่ือรกั ษาชีวติ แต่เม่อื หวนระลึกไดว้ ่า เม่ือต้องการ รักษาอุดมการณ์ท่ีส�าคัญสูงสุดท่ีเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมจ�าเป็นต้องรักษาธรรม สามารถจะสละได้ทั้งทรัพย์ อวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาธรรม จึงจ�าเป็นต้องมีความเสียสละ อย่างยงิ่ ใหญ่ แตค่ นเราในปัจจุบนั น้ี บางครัง้ บางทีมกั จะมองเหน็ ความสขุ สว่ นตวั สา� คัญกว่า ประโยชน์สุขของส่วนรวม เมื่อเป็นเช่นน้ี สังคม ประเทศชาติ และพระศาสนา ก็จะเจริญ รงุ่ เรอื งไดโ้ ดยยาก เพราะฉะนนั้ ทา่ นทงั้ หลายผมู้ ปี ญั ญา เมอ่ื เลง็ เหน็ ประโยชนส์ ขุ ของสว่ นรวม ท่ีย่ิงใหญ่กว่า จึงควรยอมเสียสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียบ้าง เพ่ือความเจริญรุ่งเรือง เพอื่ ความสุขของสงั คม ประเทศชาติ และพระศาสนาต่อไป 63

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ เทสนาวะสาเน ในท้ายที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ ขออนุโมทนาบุญกับ พุทธศาสนิกชนทุกท่าน ที่มาประชุมพร้อมกัน ณ สถานท่ีแห่งนี้ ขอให้อานุภาพแห่ง คุณพระศรรี ัตนตรยั อานภุ าพของพระพทุ ธชยั สิงหมุนนิ ทรธรรมบดินทรโลกนาถเทวนรชาติ อภปิ ชู นีย์ พระประธานประจ�าพระอุโบสถวดั ชยั ชนะสงคราม และบุญกุศลที่เกิดขึน้ ในคร้งั นี้ ทง้ั หมด จงมารวมกนั เปน็ ตบะ เดชะ พลวปจั จยั ปกปอ งคมุ้ ครองทกุ ทา่ น ใหป้ ราศจากทกุ ขโ์ ศก โรคภยั ขอให้ทุกท่าน เจรญิ ดว้ ยอายุ วรรณะ สขุ ะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัตติ ลอดกาล เป็นนิตย์ ปรารถนาสงิ่ ใดท่ีชอบประกอบด้วยธรรม ขอความปรารถนานนั้ ๆ จงพลนั สา� เรจ็ จงพลันส�าเร็จ สมดังมโนรถ มุ่งมาดปรารถนาทุกประการเทอญ แสดงพระธรรมเทศนา มาก็พอสมควรแกเ่ วลา ขอสมมุติยุตลิ งคงไวแ้ ต่เพียงเท่าน้ี เอวัง ก็มดี ้วยประการฉะน้ี 64

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจดั กิจกรรมปฏบิ ตั ธิ รรมวนั ธรรมสวนะวดั ชัยชนะสงคราม ผู้เข้าร่วมลงทะเบียนและรบั หนังสือสวดมนต์ ผูเ้ ขา้ รว่ มรับประทานอาหารว่าง พุทธศาสนกิ ชนรว่ มท�าวัตรเชา้ สวดมนต์ เจริญภาวนา พุทธศาสนกิ ชนรว่ มทา� วตั รเชา้ สวดมนต์ เจรญิ ภาวนา ประธานในพธิ แี ละผ้เู ข้าร่วม กรวดน�า้ รบั พร ถ่ายภาพร่วมกนั 65

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ฆราวาสธรรมกถา แสดงโดย พระศรวี นิ ัยโสภณ วัดราชาธิวาสวหิ าร เขตดุสติ กรงุ เทพฯ วันเสารท ่ี ๑๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสัมพทุ ธัสสะ (๓ จบ) ยสเฺ สเต จตุโร ธมมฺ า, สทฺธสฺส ฆรเมสิโน, สจจฺ ํ ทโม ธติ ิ จโค, ส เว เปจจฺ น โสจตีติ. วันนี้เป็นวันพระธัมมัสสวนะอุโบสถ ถึงกาลก�าหนดแสดงธรรมแลสดับตรับฟัง พระธรรมเทศนาของท่านสาธุชนท้ังหลาย จึงจักได้แสดงพระธรรมเทศนาใน “ฆราวาส ธรรมกถา” พรรณนาธรรมของฆราวาสผูค้ รองเรอื นจะพึงมี ๔ ประการ ตามกระแสพระบาลี พุทธภาษิตบรรหารที่ได้สาธกยกเป็นนิเขปบท กระทู้ความในเบื้องต้นน้ัน ด�าเนินความว่า สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท้ังหลาย พระองค์ทรงประกอบด้วย พระมหากรุณาแสวงหาประโยชน์แก่สรรพสัตว์อยู่เป็นนิตย์ ทรงบ�าเพ็ญพุทธกิจประทาน พระธรรมเทศนาโปรดเวไนยชนใหไ้ ดป้ ระสบผลดงี ามทงั้ ในปจั จบุ นั และสมั ปรายภพ ทรงชกั นา� ในความสงบระงบั ดบั โทษทุกข์ เวรภัย ตามอุปนสิ ัยของเวไนยนั้น ๆ ทง้ั คฤหสั ถ์แลบรรพชิต พระพุทธภาษิตเฉพาะคฤหัสถ์ตรัสสอนไว้ เช่น ในอาฬวกสูตรซ่ึงได้ทรงเทศนาพยากรณ์ แก้ปัญหา ยกศรัทธาข้ึนเป็นเบ้ืองต้นนั้นว่า “ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา” เป็นอาทิมีความว่า “ธรรม ๔ ประการ คอื ความสตั ย์ ความขม่ ใจ ความอดทน และการสละใหข้ องบุคคลใด เปนคฤหัสถ์ประกอบด้วยศรัทธามีอยู่ บุคคลนั้นแลละโลกน้ีไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศกเลย ดังน้”ี ในคาถาพุทธภาษติ นี้ ทรงยกศรทั ธาข้นึ เปน็ วหิ ารธรรมทัว่ ไป ไม่จ�ากัดของคฤหสั ถชน เพราะบุคคลผู้ครองเรือน สมควรมีศรัทธาเชื่อกรรม เช่ือผลเป็นพ้ืนอัธยาศัย จึงจะต้ังตนไว้ ในทางที่ชอบ ประกอบกิจการงานที่ปราศจากโทษ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนถ่ายเดียว รู้จักแลเหลียวถึงประโยชน์ของผู้อ่ืน ด�ารงตนอยู่ในสัมมาอาชีวะ เล้ียงชีวิตด้วยอาชีพท่ีชอบ ประกอบด้วยสจุ รติ ไมผ่ ิดศลี ธรรม ยอ่ มสามารถจะครองฆราวาสวิสยั ให้เจริญร่งุ เรอื งไพบูลย์ เปน็ ประโยชนเ์ กอื้ กลู การประพฤตธิ รรมสมั มาปฏบิ ตั ยิ ง่ิ ๆ ขนึ้ ไปดว้ ยดี คฤหสั ถชนคนครองเรอื น เมื่อมีศรัทธาอยู่ประจ�าเป็นวิหารธรรมแล้วเช่นน้ี มีธรรมโดยตรงท่ีจะพึงปฏิบัติเป็นหน้าที่ 66

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ๔ ประการ มีความสัตย์เป็นข้อต้น ซึ่งจะได้พรรณนาอรรถาธิบายเป็นข้อ ๆ พอสมควร แก่กาลสมัย สัจจะข้อที่ ๑ ความประพฤติอะไรด้วยน้�าใจจริง เรียกว่า ความสัตย์โดยอรรถ ก็คือ ความประพฤติเท่ียงธรรมในหน้าที่กิจการงาน ความซ่ือตรงต่อวงศ์วาน ญาติสนิท มิตรสหาย ความสวามิภักด์ิไม่คืนคลายในเจ้านายของตน ความเป็นคนกตัญูในผู้ที่มี อุปการะแก่ตนมา จัดเข้าในกิริยาที่ซ่ือสัตย์ต่อกัน เป็นคุณที่ส�าคัญในการสมาคมคบหา ของประชาชน เพราะเมื่อต่างคนก็ต่างประพฤติซื่อตรงตามหน้าที่ของตน ย่อมเป็นเหตุ อ�านวยผล คือ ความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้�าหนึ่งใจเดียวกลมเกลียวกัน ช่วยประกอบ กิจการงานน้ัน ๆ ท่ีเกิดขึ้นให้ส�าเร็จผลเป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ท่านทั้ง ๒ สถาน ปลูกความช่ืนบานจับจิตจับใจของกันแลกัน นับว่าเป็นรสส�าคัญย่ิงกว่ารสทั้งหลาย รสอาหารอืน่ แมจ้ ะดีเลศิ ประเสริฐสักปานใด ก็ยังไมเ่ ปน็ ที่ตอ้ งใจของบคุ คลทั่วไปทกุ หมูเ่ หล่า แม้ผู้นั้นจะสิ้นชีพท�าลายขันธ์ล่วงลับดับไปตามธรรมดาของสังขารก็ยังคงอยู่เชิดชู เกียรติคุณไม่สูญหาย ยังติดปากจับใจของบุคคลผู้อยู่ในภายหลัง พุทธาทิบัณฑิตพิจารณา เห็นอ�านาจประโยชนเ์ ชน่ นี้ จึงสอนให้มีสจั จะต่อกนั ต้ังตน้ แตใ่ ห้พูดค�าจรงิ ให้รกั ษาปฏิญญา คือ ค�ามั่นสัญญาอันชอบธรรม ให้ประพฤติเท่ียงตรงในบุคคล แลในหน้าที่กิจการงาน และสรรเสริญความสัตย์ไว้ในพระบาลีประเทศหลายสถาน เป็นต้นว่า “สจฺจ� หเว สาธุตร� รสาน”� “ความสตั ย์เปนรสอนั ล�้าเลศิ กวา่ รสท้ังหลาย” “สจจฺ � เว อมตา วาจา” “ค�าสตั ย์ แลเปนวาจาไมต่ าย” “สจฺเจน กติ ฺตึ ปปโฺ ปติ” “บุคคลย่อมไดเ้ กียรตยิ ศชอ่ื เสยี งก็เพราะ ความสัตย์” จงึ ไดท้ รงจัดว่าเป็นธรรมสา� หรบั ผู้ครองเรอื นประการต้น ความข่มใจข้อท่ี ๒ รองลงมาเรียกตามภาษาบาลีว่า “ทมะ” เป็นคุณที่ส�าคัญ อีกประการหน่ึงอันชนผู้อยู่ร่วมกัน เช่น ในตระกูล ในหมู่ ในถิ่นฐาน ย่อมมีกิจการ เกี่ยวเน่ืองถึงกันและกิจการนั้น ๆ จะด�าเนินไปได้ด้วยดีก็เพราะอาศัยความสามัคคี พร้อมเพรียงกัน ถ้าเกิดความแก่งแย่งไม่ลงรอยร่วมกัน กิจการนั้น ๆ ย่อมไม่ส�าเร็จผล เสียประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนผู้นับเนื่องในหมู่ การท่ีจะอยู่ร่วมสามัคคีรสกันได้ ก็เพราะ อาศัยท่ีต่างคนต่างรักษาน�้าใจของกันและกัน เป็นข้อใหญ่ไม่ถือเอาแต่ใจของตนเอง เปน็ ประมาณรจู้ กั ผอ่ นผนั สนั้ ยาวเขา้ หาความสงบเปน็ ทตี่ งั้ แตท่ วา่ คนทงั้ หลายยอ่ มมอี ธั ยาศยั จติ ใจตา่ งกัน บางคนมักหนุ หันมุทะลดุ ว้ ยอา� นาจโทสะ บางคนใจเย็นมีเรอ่ื งมากระทบกระทง่ั ก็นิ่งได้ ส�าหรับคนที่มีอัธยาศัยร้าย ถ้าไม่มีสติคอยเหนี่ยวรั้ง ก็จะประพฤติไปตาม 67

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ สังกิเลสธรรมที่เกิดข้ึน เม่ือเป็นเช่นน้ีสามัคคีก็มีแต่จะอันตรธานเส่ือมส้ินไปเป็นเบ้ืองหน้า เพราะฉะน้นั พทุ ธาทบิ ัณฑิตจึงสอนให้มอี ุบายข่มใจ ยบั ยงั้ ใจ มใิ หห้ นุ หนั พูดหรอื ท�าตาม อา� นาจของโทสะอบุ ายเครอ่ื งขม่ ใจนนั้ สา� เรจ็ ดว้ ยคณุ ธรรม คอื สตสิ มั ปชญั ญะ ความระลกึ นกึ ไดเ้ รยี กวา่ “สต”ิ , ความรตู้ วั เรยี กวา่ “สมั ปชญั ญะ” สตนิ นั้ เปน็ ไปในกริ ยิ าทที่ า� ทพ่ี ดู ทค่ี ดิ เมื่อจะท�ากจิ การสงิ่ หนง่ึ ส่งิ ใดกด็ ี เมื่อจะพูดจาอยา่ งหน่งึ อยา่ งใดกด็ ี เม่อื จะคิดอา่ นอยา่ งหนึ่ง อยา่ งใดกด็ ี ให้ระลกึ นึกกอ่ นแลว้ จงึ ทา� จึงพดู จงึ คดิ ท�าพลาด พดู พลาด คิดพลาด กเ็ พราะ ขาดสตสิ มั ปชญั ญะ สตินน้ั เปนไปในกจิ ทง้ั ๓ กาล คอื อดตี ปจจุบนั และอนาคตกา� หนดได้ ทว่ั ถงึ สว่ นสมั ปชญั ญะใหร้ ตู้ วั ในขณะกา� ลงั ทา� กา� ลงั พดู กา� ลงั คดิ เปน ไปในกจิ สว่ นปจ จบุ นั แต่ประการเดียว คุณธรรมขอ้ นีม้ ีอุปการะมากในกรณียกจิ ทกุ สิง่ สรรพ์ เป็นประโยชนส์ า� คญั แก่คนทุกชั้น ทั้งทางคดีโลกและทางคดีธรรมท่ัวไป ท�าให้เป็นผู้รอบคอบระมัดระวังรู้จัก ยบั ยง้ั ไมพ่ ลาดพลงั้ เสยี หาย ใจอนั หาสตสิ มั ปชญั ญะควบคมุ มไิ ดย้ อ่ มแลน่ ไปในอารมณต์ า่ ง ๆ สดุ แตจ่ ะใคร่ ถา้ ไดอ้ าศยั สตสิ มั ปชญั ญะเขา้ ควบคมุ กา� กบั ยอมรจู้ กั ยบั ยง้ั และเลอื กสรรแตส่ ว่ น ทคี่ วรทีด่ ี ธรรมดาว่ารถทีเ่ ทียมด้วยม้า ถา้ ปราศจากสารถผี ูก้ �ากับขับขีพ่ าชี กจ็ ะพาลากวง่ิ ไป ตามล�าพังยังความเสียหายให้เกิดแก่ตนแลคนอ่ืน ส่วนรถท่ีมีสารถีผู้ฉลาดขี่ขับก�ากับไว้ย่อม แล่นไปโดยเรียบร้อยไม่เป็นอันตรายไม่ท�าความเสียหายให้เกิดแก่ผู้ใด ยังประโยชน์แก่การ ใชร้ ถให้ส�าเรจ็ ผลเป็นอนั ดี อปุ มาขอ้ นฉ้ี ันใดความเป็นไปแหง่ บุคคลกม็ ีอุปไมยฉันนัน้ ผู้ทมี่ ใี จ อันหาสตสิ มั ปชญั ญะควบคมุ มไิ ด้ ยอ่ มประพฤติกาย วาจา ผิด ๆ พลาด ๆ ทา� ความพินาศ เสยี หายใหแ้ ก่ตนแลคนอนื่ สว่ นผู้ท่มี ีใจอันสตสิ มั ปชัญญะเข้าควบคมุ ก�ากบั ไว้ ยอ่ มประพฤติ ในทางท่ีถูกที่ชอบประกอบแต่ความดีความงามเป็นผล จัดว่าเป็นนายสารถีแห่งอตั ภาพกาย ใจตน ประสบผลดีที่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว คนที่มีอุบายเคร่ืองข่มใจกล่าวคือ อาศัย สติสัมปชัญญะ เป็นเคร่ืองย้ังใจอยู่ย่อมเป็นผู้ห่างจากความผิดความพล้ังพลาดเหตุดังนี้ สมเดจ็ พระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ จงึ ทรงจดั ความขม่ ใจไวใ้ นฆราวาสธรรมเปน็ ประการท่ี ๒ ความอดทนขอ้ ท่ี๓เรยี กตามภาษาบาลใี นทท่ี วั่ ไปวา่ “ขนั ต”ิ แตใ่ นคาถาพทุ ธภาษติ นี้ ตรสั เรยี กว่า “ธิติ” แปลวา่ “ความหนกั แน่น” แทนคา� ว่า ขันติ นน้ั เป็นคณุ ท่สี �าคญั อีก ประการหนึ่ง ของคนผู้นับเนื่องในหมู่อยู่กันเป็นชุมนุมชนต้ังต้นแต่ในตระกูลเดียวกันขึ้นไป ก็แล “ทมะ” ความข่มใจประการท่ี ๒ ดังพรรณนามาแล้วนั้น ย่อมเป็นคุณส�าคัญส�าหรับ ก�าราบปราบปรามใจตน แต่มิใช่ทุกคนจะท�าได้ง่าย เพราะสังกิเลสธรรม อันเป็นอนุสัย ในจติ สนั ดานยอ่ มเกดิ ขนึ้ ไว เมอ่ื มปี จั จยั คอื อารมณเ์ ครอ่ื งกระทบกระทงั่ หรอื ยวั่ ยวนมาปรากฏ 68

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ในทวารน้ัน ๆ ย่อมเกิดขึ้นทันที ยากที่สติจะเหนี่ยวรั้งไว้ได้ทัน ท้ังสามัญชนทั้งหลายเล่า ยอ่ มตา่ งกนั โดยจรติ อธั ยาศยั ดบี า้ ง ชวั่ บา้ ง หยาบบา้ ง ละเอยี ดบา้ ง ไมเ่ สมอกนั เมอ่ื เปน็ เชน่ นนั้ เมื่อฝายหน่ึงแสดงกิริยาท่าที่กายวาจาอันไม่เป็นที่พอใจของอีกฝายหน่ึง ถ้าฝายที่ถูกว่า ถูกท�าน้ัน จะบันดาลโทสะข้ึนบ้าง ก็จะเกิดวิวาทบาดหมางผิดใจกันขึ้น โดยมิต้องสงสัย ความผิดใจกันนี้ ย่อมเป็นไปเพ่ือแตกสามัคคีธรรม ซึ่งจะน�าผลที่เป็นโทษมิได้เป็นประโยชน์ มาใหแ้ กก่ นั และกนั ทงั้ สองฝา ย ถา้ มสี ตเิ ลง็ เหน็ โทษอนั จะเกดิ ขน้ึ เพราะผอู้ นื่ เปน็ เหตแุ ลว้ นอ้ มใจ ไปในขันติอดทนความล่วงเกินน้ันเสียได้ ข้อน้ีแลเป็นอุบายวิธีท่ีจะตัดต้นเหตุแห่งผลร้ายนั้น ให้สงบลง เหตุดังนั้นพุทธาทิบัณฑิตผู้ยินดีในความสงบระงับดับเวรภัย จึงส่ังสอนให้ตั้งอยู่ ในขนั ติ ความอดทน เพอ่ื รักษาประโยชนต์ นแลคนอน่ื ทง้ั ๒ สถาน ขนั ตินั้น เมอ่ื จะกลา่ ว โดยลกั ษณาการมี ๓ สถาน คอื ทนตรากตรา� ทนลา� บาก ทนเจบ็ ใจ ความอดทนตอ่ หนาว รอ้ น ลมแดดสมั ผสั เหลอื บยงุ แลสตั วเ์ ลอ้ื ยคลานมงุ่ หนา้ ประกอบกจิ การงานเปน ใหญไ่ มพ่ รนั่ พรงึ หวน่ั ไหวตอ่ หนาวรอ้ นเปน ต้น ช่อื ว่า “ทนตรากตรา� ” ความอดทนตอ่ ทกุ ขเวทนาในเวลา ปวยไข้ ไม่ท�าใจให้อาดูรกระสับกระส่ายไปตาม ชื่อว่า “ทนล�าบาก” ความอดทนต่อ การหมิ่นประมาทที่ผู้อื่นกระท�า มีกล่าวค�านินทาว่าร้ายเปนต้น ช่ือว่า “ทนเจ็บใจ” ขนั ตทิ งั้ ๓ นี้ ใหผ้ ลดงี ามตามหนา้ ทข่ี องแตล่ ะอยา่ ง “ความทนตรากตรา� ” ยอ่ มเปน ปจ จยั ให้ กระท�าการงานส�าเรจ็ ลุลว่ งไป “ความทนล�าบาก” ยอ่ มเปนปจ จัยมิให้เสียสติสมั ปชญั ญะ ซึ่งเปนคุณท่ีต้องประสงค์ในมรณสมัย “ความทนเจ็บใจ” ย่อมเปนปจจัยมิให้ประพฤติ ผิดพล้งั พลาดดว้ ยอา� นาจโทสะเข้าครอบงา� ความทนตรากตรา� แลทนลา� บาก ๒ ประการ ไดช้ อ่ื วา่ “ขนั ต”ิ แตโ่ ดยปรยิ าย สว่ น “ความทนเจบ็ ใจ” ไดช้ อ่ื วา่ “ขนั ตโิ ดยตรง” เรยี กวา่ “อธิวาสนขันติ” แปลว่า “ความอดกลั้นไว้” แต่ต้องอดกล้ันได้ด้วยน�้าใจท่ีประกอบ ด้วยธรรม จึงจะเป็นการชอบ ผู้ใดถูกเขาดูหมิ่นด้วยการแสดงกิริยาอาการทางกายหรือ กล่าววาจาหยาบคาย ได้ความเจ็บใจแต่ไม่อาจท�าตอบเขาได้จ�าต้องทนนิ่งอยู่ ผู้นั้นไม่ช่ือว่า ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ แต่ก็ยังเป็นคุณความดีเครื่องรักษาตนให้พ้นภัย ฝายผู้ใด ถกู เขาดหู มนิ่ เชน่ นน้ั แมส้ ามารถจะทา� ตอบไดแ้ ตก่ อ็ ดกลนั้ ไวด้ ว้ ยโยนโิ สมนสกิ าร คอื พจิ ารณา เห็นในใจโดยอุบายท่ีชอบ ผู้น้ันได้ช่ือว่า ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ เป็นท่ีสรรเสริญของ พุทธาทิบัณฑิต ต้องด้วยพจนสุภาษิตของสรภังคดาบสซึ่งปรากฏว่า เป็นพระโพธิสัตว์เม่ือ ท้าวสกั กเทวราช มเี ทพด�ารัสตรัสถามถงึ ขนั ติ มปี ระการต่าง ๆ ไดถ้ วายพระพรทูลพยากรณ์ แกป้ ัญหา เปน็ ตน้ วา่ “ภยา หิ เสฏสฺส วโจ ขเมถ” “พงึ อดทนถอ้ ยค�าของบุคคลทส่ี ูงกว่า 69

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ เพราะความกลวั ” โดยอธบิ ายวา่ แม้จะถูกกดข่ีขมขจู่ ากผทู้ ่ีสูงกว่าโดยอา� นาจวาสนา ซ่งึ ตน ไมส่ ามารถอาจต่อส้ไู ด้ กค็ วรอดทนไว้เพ่อื รกั ษาตนใหพ้ ้นภัยท่ีหากจะเกิดมีและท่านที่สูงกวา่ โดยฐานทเ่ี คารพนบั ถอื ตกั เตอื น วา่ กลา่ ว สงั่ สอน แมจ้ ะเปน็ ถอ้ ยคา� หยาบคาย ไมส่ ภุ าพกอ็ ดทน เพราะถอ้ ยคา� เชน่ นัน้ ประกอบด้วยผล กล่าวคอื จะทา� ตนให้ละความช่วั แล้วประพฤตคิ วามดี เจริญทวดี ว้ ยความรู้ ความสามารถ ทัง้ ยังเป็นบุญ โกฏฐาส สว่ นอปั จายนมยั กุศล เกดิ แต่ตน ท่ีเคารพนบนอบย�าเกรง สมตามบาลีคาถาว่า “โย จีธ หีนสฺส วโจ ขเมถ, เอต� ขนฺติ อุตฺตม มาหุ สนโฺ ต”ความวา่ “สว่ นวา่ ถา้ ผใู้ ดอดทนถอ้ ยคา� ของคนทต่ี า่� กวา่ ได้สตั บรุ ษุ ทงั้ หลายกลา่ ว ความอดกล้ันของผู้นั้นว่า เปนขันติธรรมอย่างสูงสุด” ขันติความอดทนมีอานิสงส์ ผลดงั พรรณนามา สมเดจ็ พระบรมศาสดาจงึ ทรงจดั เป็นฆราวาสธรรมประการท่ี ๓ การใหข้ อ้ ท่ี ๔ เรยี กตามภาษาบาลโี ดยมากวา่ “ทานะ” แตใ่ นทนี่ เ้ี รยี กวา่ “จาคะ” เสียสละแผ่เผ่อื เจอื จาน ฐานผ้คู รองเรือนจะพงึ บา� เพ็ญ เพราะเปน็ กิจจ�าเปน็ ประการหนึ่ง ของบุคคลผู้อยู่เป็นหมู่เหล่า ข้อนี้จักพึงเห็น เช่น ในตระกูลหน่ึงมารดาบิดากับบุตรธิดา สามีกับภรรยา ญาติกับญาติ มิตรกับมิตร ยังต้องแผ่เผ่ือเจือจานกันด้วยการให้ปันพัสดุ ข้าวของตามโอกาสคราวสมัย เพราะการให้อยา่ งนน้ี บั ว่า เปน็ การสงั เคราะหย์ ดึ เหน่ยี วน้�าใจ ของกันและกนั ได้ ในพจนประพันธพุทธภาษติ ว่า “ทท� มติ ตฺ านิ คนถฺ ติ” “ผูใ้ ห้ย่อมผกู มติ ร ไมตรีไว้ได้” คนผมู้ ีอัธยาศัยไมต่ ระหน่ี โอบออ้ มอารี มีใจประกอบด้วยเมตตาแก่คนยากจน ขดั สน สละทรพั ยข์ องตนใหเ้ พอื่ อปุ ถมั ภโ์ ดยฐานทเ่ี ปน็ เพอ่ื นมนษุ ยด์ ว้ ยกนั กด็ ี เกอื้ กลู อดุ หนนุ การศึกษาเพ่ือให้วิทยาความรู้ ความสามารถ ทะนุบ�ารุงพระศาสนาอันสั่งสอนประชานิกร ให้ละชั่ว ประพฤติชอบก็ดี การเสียสละที่ประกอบด้วยประโยชน์เห็นปานนี้ จัดว่าเป็น “จาคะ” เป็นการเสียสละไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตนถ่ายเดียว แลเหลียวถึงผู้อื่นท่ีตนจะพึง สละความสุขให้โดยทั่วถึง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความชื่นบานด้วยกันท้ัง ๒ ฝาย คือ ผู้ให้และ ผู้รับท้ังหลาย ยังประโยชน์ให้ส�าเร็จท่ัวไปไม่จ�ากัดเฉพาะบุคคล เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ของชนท่ัวไป ตรงข้ามกับผู้ขอย่อมเป็นท่ีเบื่อหน่ายเกลียดชังของชนทั่วไป เหตุนั้น สมเดจ็ พระทศพลบรมศาสดาจารย์ จงึ ตรสั วา่ เปน็ ฆราวาสธรรมประการสดุ ทา้ ยเปน็ คา� รบ ๔ สรุปความว่า “ธรรม คือ ความสัตย์ ความข่มใจ ความอดทน และการเสียสละ” ท้ัง ๔ ประการน้ี ของบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนมีอยู่พร้อมมูล บุคคลน้ันช่ือว่า “ยดึ คณุ อนั เปน สาระแกน่ สารแหง่ ชวี ติ และโภคทรพั ยข์ องตนไวไ้ ด”้ เปน็ ผมู้ จี ติ ใจแจม่ ใส แชม่ ชนื่ เบิกบานว่า ได้กระท�าการที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและแก่คนทั้งหลาย ถ้ายังมิได้ 70

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ บรรลคุ ณุ พเิ ศษอยา่ งอน่ื ทสี่ งู ยง่ิ ขนึ้ ไปกวา่ เมอื่ ถงึ เวลาจะทา� ลายขนั ธส์ นิ้ ชวี ติ ยอ่ มไดค้ วามอนุ่ จติ ไมห่ วนั่ หวาดใจ ครน้ั จากโลกนไี้ ปยอ่ มมสี คุ ตภิ มู ภิ พอนั ดเี ปน็ ทถ่ี งึ ในเบอื้ งหนา้ สมเดจ็ พระบรมศาสดา จงึ ตรสั วา่ “ส เว เปจจฺ น โสจต”ิ “บคุ คลนนั้ แล ละโลกนไี้ ปแลว้ ยอ่ มไมเ่ ศรา้ โศกเลยดงั น”้ี “ฆราวาสธรรมกถา” พรรณนาธรรมของคฤหัสถ์ คนครองเรือนจะพึงมีธรรม ๔ ประการ คือ ความสัตย์ ความข่มใจ ความอดทน และการเสียสละ ประจ�าใจแล้ว ประพฤตปิ ฏบิ ัติตามหลักธรรมทั้ง ๔ ประการ ดงั กลา่ วมา ก็จะประสบผลดงี าม ทัง้ ในปจั จุบัน และสัมปรายภพ มีบรรหารเทศนาอรรถาธิบายด่ังได้บรรยายสมควรแก่กาลเวลายุติลง ดว้ ยประการฉะน้ี 71

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจดั กจิ กรรมปฏบิ ตั ธิ รรมวันธรรมสวนะวัดราชาธิวาสวิหาร ประธานฝา ยสงฆน์ า� พทุ ธศาสนิกชนทา� วตั รเช้า พุทธศาสนกิ ชนรว่ มกนั ท�าวตั รเช้า พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา ประธานฝา ยฆราวาสและตวั แทนหนว่ ยงานถวายสงั ฆทาน ประธานในพธิ ีและผเู้ ข้ารว่ ม กรวดน�้า รบั พร ถ่ายภาพร่วมกัน 72

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ สจุ รติ ธรรมกถา แสดงโดย พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ วดั ฉิมทายกาวาส เขตบางกอกนอย กรงุ เทพฯ วนั อาทติ ยท ี่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) ธมมฺ ํ จเร สุจรติ ํ น ตํ ทจุ ฺจรติ ํ จเร ธมมฺ จารี สขุ ํ เสติ อสมฺ ึ โลเก ปรมฺหิ จาติ. ณ บัดนี้อาตมภาพจกั รับประทานแสดงพระธรรมเทศนาใน สจุ ริตธรรมกถา วา่ ด้วย การปฏบิ ัติหน้าท่ีให้สุจรติ เพอื่ เป็นเครอ่ื งประคบั ประคองฉลองศรัทธา ประดบั ปัญญาบารมี อนุโมทนากุศลบุญราศีของท่านพุทธศาสนิกชนท้ังหลาย ผู้ขวนขวายมาบ�าเพ็ญบุญ ธัมมัสสวนมัย คือ บุญท่ีได้จากการฟงพระธรรมเทศนา เพื่อน้อมน�าพระธรรมค�าส่ังสอน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ ไปเป็นเครอื่ งน�าทางในการพฒั นาชวี ิตและสงั คมต่อไป การพัฒนาทุกอย่างเร่ิมต้นที่การพัฒนามนุษย์ เพราะว่า มนุษย์เป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนา ดังค�ากล่าวที่ว่า “พัฒนาชาติให้เริ่มท่ีประชาชน พัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ จะพัฒนาอะไรให้เริ่มท่ีตัวเราเองก่อน” น่ันคือ การพัฒนาประเทศชาติเริ่มจากการพัฒนา ประชาชนใหเ้ ปน็ คนดคี นเกง่ และมคี วามสขุ ทง้ั น้ี เพราะประชาชนที่พฒั นาดแี ล้วยอ่ มกลาย เป็นพลังขับเคล่ือนสังคมทุกภาคส่วนให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน ส่ิงส�าคัญในการพัฒนา สังคมอยู่ท่ีการพัฒนาคนให้เป็นสัปบุรุษ คือ เป็นคนดี คนดี คือ คนเช่นไร พระพุทธเจ้า ตรัสว่า คนดี คือ คนที่เกิดมาบ�าเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก ดังพระบาลีท่ีว่า “เสยยะถาปภิกขะเว มะหาเมโฆ สัพพะสัสสานิ สัมปาเทนโต” เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมฆฝนตกลงมาท�าให้ข้าวกล้าเจริญงอกงาม ย่อมตกเพ่ือประโยชน์ เกอื้ กลู เพอื่ ความสขุ แกช่ นเปน อนั มาก ฉนั ใด คนดเี มอ่ื เกดิ ในตระกลู ยอ่ มเกดิ เพอื่ ประโยชน์ เกอ้ื กูล เพ่อื ความสุขแก่คนเปน อนั มาก ฉันนนั้ ” น่ันคอื คนดีเกดิ มาแลว้ ย่อมทา� ประโยชน์ ๓ ประการ ให้บริบูรณ์ คือ ๑) อัตตัตถะ ประโยชน์ตน ๒) ปรัตถะ ประโยชน์คนอ่ืน ๓) อุภยตั ถะ ประโยชนส์ ว่ นรวม 73

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ คนดสี ามารถบา� เพญ็ ประโยชนท์ งั้ สามประการแกค่ นเปน็ อนั มาก เพราะเขาทา� หนา้ ที่ ไดอ้ ยา่ งไมข่ าดตกบกพรอ่ ง ถา้ สมาชกิ ในสงั คมใด พรอ้ มใจกนั ทา� หนา้ ทไ่ี ดอ้ ยา่ งครบถว้ นสมบรู ณ์ สงั คมน้นั กจ็ ะมีความมนั่ คง ม่ังค่ัง ยง่ั ยนื ดังน้นั การปฏิบัตหิ นา้ ท่ีใหส้ มบรู ณ์ จงึ เป็นสง่ิ สา� คัญ ส�าหรับการพฒั นาสังคมและประเทศชาติ แท้ทีจ่ ริง การปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ ก็คือ การปฏบิ ัติธรรม สมดังบาลีนิกเขปบทท่ีอาตมภาพยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า “ธัมมัง จะเร สุจะริตัง” เป็นต้น แปลความวา่ “บคุ คลควรประพฤตธิ รรมใหส้ จุ รติ ไมค่ วรประพฤตธิ รรมนน้ั ใหท้ จุ รติ ผปู้ ระพฤติ ธรรมยอ่ มอยเู่ ปน สขุ ทง้ั ในโลกนแ้ี ละในโลกหนา้ ” พระพทุ ธเจา้ ทรงประทานพทุ ธภาษติ นแ้ี ก่ พระเจ้าสุทโธทนะ ในโอกาสท่ีเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์คร้ังแรกภายหลังจากการตรัสรู้ ในพทุ ธภาษติ นี้ คา� วา่ “ธรรม หมายถงึ หนา้ ที่ กลา่ วคอื พระเจา้ สทุ โธทนะทรงมหี นา้ ทใ่ี นการ ปกครองซง่ึ จดั เปน วรรณธรรม คอื หนา้ ทป่ี ระจา� วรรณะกษตั รยิ ์ พระพทุ ธเจา้ ทรงมพี ทุ ธธรรม คือ หน้าท่ีประจ�าของพระพุทธเจ้าทั้งหลายท่ีจะต้องออกบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์ ใครมีธรรม คือ หน้าท่ีอะไรควรท�าหน้าท่ีนั้นให้สุจริตด้วยลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) ไม่บกพร่องตอ่ หนา้ ท่ี ๒) ไมล่ ะเวน้ หน้าท่ี และ ๓) ไม่ทุจริตตอ่ หน้าที”่ ประการแรก บุคคลช่ือว่า “ไม่บกพร่องต่อหน้าที่” เพราะเขาทุ่มเทอุทิศตน ในการปฏิบัติหนา้ ที่อย่างเต็มก�าลังความสามารถ เมอ่ื ไดร้ ับมอบหมายให้ทา� หน้าทใี่ ด เขาจะ ทา� หนา้ ทน่ี นั้ อยา่ งดที ส่ี ดุ เพอื่ ไมใ่ หเ้ กดิ ความบกพรอ่ งเสยี หายแกง่ านในหนา้ ที่ เขา้ ทา� นองทว่ี า่ “ร้องให้สุดค�า ร�าให้สุดแขน แพนให้สุดปีก” ดังที่นักปราชญ์จีนชื่อว่า ขงจื้อ กล่าวไว้ว่า “เมอื่ ไดร้ บั มอบหมายใหท้ า� หนา้ ทใี่ ด จงทา� หนา้ ทน่ี น้ั ใหด้ ที ส่ี ดุ ถา้ เขาใหเ้ ลยี้ งมา้ มา้ จะตอ้ ง อว้ น ถ้าเขาใหเ้ ปน เสนาบดกี ระทรวงการคลงั เงินจะตอ้ งเต็มคลัง” ประการทสี่ อง บคุ คลชอ่ื วา่ “ไมล่ ะเวน้ หนา้ ท”ี่ เพราะเปน็ ผมู้ คี วามรบั ผดิ ชอบตอ่ หนา้ ท่ี เขาจึงไมล่ ะทิ้งหนา้ ท่หี รอื ผลกั ภาระหน้าที่ของตนไปให้คนอืน่ เช่น ผูเ้ ป็นทหารยอ่ มไมห่ นีทัพ ผู้เป็นบิดามารดาย่อมไม่ละท้ิงหน้าที่ในการอบรมส่ังสอนบุตรธิดา ในนิทานอีสปมีเร่ืองเล่า เก่ียวกับมารดาท่ีไม่ท�าหน้าท่ีว่ากล่าวตักเตือนบุตรของตน เมื่อพบว่า เขาชอบลักขโมย ในวยั เด็ก พอบตุ รเตบิ ใหญก่ ็กลายเป็นโจร อสี ปสรุปวา่ “เมอ่ื บุตรเปนโจร บดิ ามารดาย่อมมี ส่วนในการสรา้ งความเปน โจรให้กบั บตุ ร เหตุเพราะละเวน้ การปฏิบตั หิ น้าทใ่ี นการอบรม สง่ั สอนบุตรของตน” ประการสดุ ทา้ ย บคุ คลชอ่ื วา่ “ไมท่ จุ รติ ตอ่ หนา้ ท”่ี เพราะเขาไมป่ ฏบิ ตั หิ นา้ ทไ่ี ปในทาง ท่ีมิชอบด้วยกฎหมายและหลักศีลธรรม หมายถึง เขาไม่ใช้อ�านาจหน้าที่ไปในการแสวงหา 74

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ประโยชน์ให้กับตนเองหรือคนอ่ืนในทางที่ผิดกฎหมายและผิดท�านองคลองธรรม ประโยชน์ ในท่ีนี้ หมายรวมท้ัง ทรัพย์สินเงินทอง ต�าแหน่งหน้าท่ี ชื่อเสียง เกียรติยศหรือสิทธิอ่ืนใด ท่ไี มส่ มควรได้มา แต่ก็ใชอ้ า� นาจหน้าทใ่ี นทางมชิ อบจนกระทง่ั ได้มาตามทต่ี อ้ งการ นี่เรียกว่า การทจุ รติ ต่อหน้าท่ี พระพทุ ธเจ้าตรสั สอนต่อไปว่า “นะ ตัง ทุจจะรติ งั จะเร” แปลความว่า “บคุ คล ไมค่ วรประพฤตธิ รรม คอื หนา้ ทน่ี นั้ ใหท้ จุ รติ ” ทงั้ นี้ เพราะการทจุ รติ ตอ่ หนา้ ทเ่ี ปน็ เหมอื นสนมิ ที่กัดกร่อนชีวิตและสังคมให้พังพินาศไปในที่สุด ชีวิตของบุคคลผู้บกพร่องต่อหน้าท่ี ละเว้น หน้าที่และทุจริตต่อหน้าท่ี ย่อมมีแต่ความอ่อนแอเส่ือมโทรม อาณาจักรท่ีย่ิงใหญ่ในอดีต ไม่ได้ล่มสลาย เพราะภัยจากภายนอกเพียงอย่างเดียว หากแต่บาปทุจริตของประชาชน อนั เปน็ สนมิ ภายในกม็ สี ว่ นสรา้ งความออ่ นแอใหก้ บั อาณาจกั รนนั้ ๆ จนตอ้ งลม่ สลายเมอื่ ภยั จาก ภายนอกมารกุ รานขอ้ นส้ี มดงั พทุ ธพจนใ์ นธรรมบททวี่ า่ “อะยะสาวะมะลงั สะมฏุ ฐติ งั ”เปน็ ตน้ แปลความว่า “สนิมเกิดแต่เหล็กย่อมกัดกินเหล็กฉันใด กรรมท่ีตนท�าไว้ ย่อมน�าเขา ผ้ไู รป้ ญญาไปสทู่ คุ ติ ฉนั น้ัน” สมดว้ ยโคลงโลกนิตทิ ่วี า่ สนิมเหล็กเกิดแตเ่ นือ้ ในตน กินกัดเนือ้ เหล็กจน กรอ่ นขร้า� บาปเกดิ แต่ตนคน เปนบาป บาปยอ่ มท�าโทษซ�้า ใสผ่ ู้บาปเอง สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน มีการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในและนอก วงราชการอยทู่ ว่ั ไป จนเปน็ ทห่ี ว่ งใยกนั วา่ การทจุ รติ ตอ่ หนา้ ทกี่ า� ลงั กลายเปน็ สนมิ รา้ ยทบ่ี อ่ น ท�าลายประเทศชาติอยู่ในขณะน้ี ทั้งนี้ เพราะการทุจริตต่อหน้าท่ีเม่ือผนวกเข้ากับคติท่ีว่า “มอื ใครยาวสาวไดส้ าวเอา” ยอ่ มนา� สงั คมไปสกู่ ารแกง่ แยง่ แขง่ ขนั ในลกั ษณะทวี่ า่ “แยง่ อาหาร กันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอ�านาจกันเปนใหญ่” การแตกความสามัคคี กลายเป็นสนิมที่กัดกร่อนโครงสร้างสังคมจากภายใน ท่ีรอวันล่มสลายถ้าถูกกระทบด้วยภัย จากภายนอกในอนาคต สภาพสงั คมทด่ี าษดน่ื ไปดว้ ยการทจุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบทงั้ ในและนอกวงราชการนี้ แสดงใหเ้ หน็ ถึงความย่อหยอ่ นในการรักษาศีล ๕ เพราะว่า ประโยชน์ เช่น ทรัพยส์ นิ เงินทอง ทบี่ คุ คลประพฤตทิ จุ รติ แลว้ ไดม้ านนั้ จดั เปน็ อทนิ นาทาน คอื การถอื เอาสงิ่ ของทเ่ี จา้ ของมไิ ดใ้ ห้ ซง่ึ นบั เปน็ การละเมดิ ศลี หา้ ขอ้ ที่ ๒ ทม่ี คี า� สมาทานวา่ “อทนิ นาทานา เวระมะณี สกิ ขาปะทงั 75

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ สะมาทิยามิ ขา้ พเจา้ ขอสมาทานสกิ ขาบทคอื งดเวน้ การถือเอาสงิ่ ของทีเ่ จ้าของมไิ ด้ให”้ การงดเว้นจากการทจุ ริตท่านเรียกว่า วริ ตั ิ มี ๓ ประการ คือ ๑) สัมปตตวิรัติ เว้นสิ่งประจวบเฉพาะหน้า คือ เว้นเมื่อประสบเหตุจูงใจให้ท�า การทจุ รติ แลว้ งดเวน้ เสยี ได้ไม่ท�าผิดศีล เพราะมีหิริ ความอายชัว่ โอตตัปปะ ความกลวั บาป ๒) สมาทานวิรตั ิ เวน้ ด้วยการสมาทาน คือ ไดส้ มาทานศลี ไวแ้ ลว้ เมอื่ ประสบเหตุ จงู ใจให้ท�าการทุจรติ ก็งดเว้นไดต้ ามท่ีสมาทานไว้ก่อนแล้ว ๓) สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้เด็ดขาด เว้นได้เด็ดขาด คือ การงดเว้นการทุจริตของ พระอรยิ ะท้ังหลาย ผูไ้ ม่มแี ม้แต่ความคดิ ท่ีจะประกอบการทุจรติ นน้ั ดังนั้น การรณรงค์ให้คนไทยรักษาศีล ๕ โดยเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จงึ เป็นวธิ ีการตอ่ ต้านการทุจริตและประพฤติมชิ อบที่มีประสทิ ธภิ าพมากที่สุดวิธหี น่งึ การทุจริตและประพฤติมิชอบมิได้มีแต่ในสมัยน้ีเท่านั้น แม้แต่ในสมัยพุทธกาล กว่าสองพันปีมาแล้ว ก็มีการทุจริตและประพฤติมิชอบเช่นเดียวกัน ดังที่มีการเล่าไว้ใน ธนัญชานสิ ตู ร ดังต่อไปน้ี ญาติคนหนง่ึ ของ พระสารีบตุ ร มีชอ่ื ว่า ธนญั ชานพิ ราหมณ์ เขาเปน็ ขา้ ราชการช้ันผู้ใหญ่ ในการรบั ราชการชว่ งแรก เขาปฏบิ ตั หิ นา้ ทดี่ ว้ ยความสจุ รติ เพราะไดภ้ รรยาทเ่ี ปน็ สมั มาทฏิ ฐิ คอยตกั เตอื นเขา แตต่ อนหลงั เขาไดภ้ รรยาใหมท่ เี่ ปน็ มจิ ฉาทฏิ ฐเิ หน็ ผดิ จากทา� นองคลองธรรม ธนญั ชานพิ ราหมณ์ จึงหันมาประพฤติทจุ รติ ตอ่ หนา้ ท่ดี ้วยวิธีการ ๒ อยา่ ง ดงั นี้ วิธีการแรก เขาอาศยั พระราชาปล้นประชาชน คือ อ้างกฎหมายหรอื ใชอ้ �านาจรัฐ เพอื่ แสวงหาประโยชน์จากประชาชน วธิ กี ารน้ีเรียกวา่ “การฉ้อราษฎร์” วิธีการที่สอง เขาอาศัยประชาชนปล้นพระราชา คือ เบิกเงินจากคลังหลวงโดย อา้ งวา่ จะนา� ไปชว่ ยประชาชนผปู้ ระสบภยั แตเ่ งนิ นน้ั ไมถ่ งึ มอื ประชาชน เพราะเขานา� เงนิ ไปใช้ เพือ่ ประโยชน์ส่วนตน วิธีการน้ีเรียกว่า “การบังหลวง” ตอ่ มาเมอื่ พระสารบี ตุ ร ไดพ้ บกบั ธนญั ชานพิ ราหมณ์ พระเถระไดถ้ ามเขาวา่ เขาทา� การ ฉอ้ ราษฎรบ์ งั หลวงตามทมี่ ผี รู้ ายงานใหท้ า่ นทราบจรงิ หรอื ธนญั ชานพิ ราหมณ์ รบั สารภาพวา่ “เขาไดท้ า� เชน่ นนั้ จรงิ ” พระสารบี ตุ ร ถามวา่ “ทา� ไมจงึ ทา� เชน่ นน้ั ” ธนญั ชานพิ ราหมณ์ ตอบวา่ “เหตทุ เี่ ขาทา� การฉอ้ ราษฎรบ์ งั หลวง เพราะเขาตอ้ งนา� เงนิ ทไี่ ดจ้ ากการทจุ รติ ประพฤตมิ ชิ อบ ไปเลยี้ งดูบดิ ามารดา บุตร ภรรยา ทาสและกรรมกร” พระสารบี ตุ รไดต้ กั เตอื น ธนญั ชานิ พราหมณ์ ว่า “ผู้ท�าการทุจริตประพฤติมิชอบตายไปแล้วต้องตกนรก ค�าแก้ตัวที่ว่า 76

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ เขาจา� เปนตอ้ งทา� การทจุ รติ ประพฤติมชิ อบเพื่อน�าเงินไปเลย้ี งดบู ดิ ามารดา บตุ ร ภรรยา ทาสและกรรมกรนีฟ้ ง ไม่ขน้ึ ” เร่ืองเล่าใน ธนัญชานิสูตร น้ี แสดงให้เห็นถึงวิธีการหน่ึงที่ ธนัญชานิพราหมณ์ ใชฉ้ อ้ ราษฎรบ์ งั หลวง กค็ อื การอาศยั พระราชาปลน้ ประชาชน นนั่ คอื บคุ คลอยา่ ง ธนญั ชานพิ ราหมณ์ อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายบ้าง ความหละหลวมในการก�ากับดูแลของผู้บังคับบัญชาบ้าง เป็นโอกาสในการแสวงหาประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ บุคคลเช่นนี้ มีปรากฏอยู่ ทุกยุคทุกสมัย ดังมีเร่ืองเล่าเก่ียวกับการทุจริตของคนไทยในอดีตว่า สวนสัตว์แห่งหนึ่ง ไดเ้ สอื โครง่ ใหมม่ าตวั หนง่ึ ผอู้ า� นวยการสวนสตั วแ์ หง่ นน้ั ตง้ั งบประมาณเปน็ คา่ อาหารเสอื ตวั นี้ วนั ละ ๑ บาท ซงึ่ เปน็ เงนิ จา� นวนมากในสมยั นน้ั ผคู้ มุ เบกิ เงนิ วนั ละ ๑ บาท ไปซอ้ื เนอ้ื มาเลยี้ งเสอื แตเ่ ขาทา� การทจุ รติ ตอ่ หนา้ ทดี่ ว้ ยการเบยี ดบงั เงนิ ๑ สลงึ ไปเปน็ ของตน เขาใชเ้ งนิ เพยี ง ๓ สลงึ ไปซ้ือเน้ือมาเล้ียงเสือทุกวัน ผลปรากฏว่า เสือไม่อ้วนสักที คนท่ีมาชมสวนสัตว์จึงฟอง ไปท่ีผูอ้ า� นวยการสวนสัตว์วา่ “งบประมาณค่าอาหารเสอื คงไม่พอขอใหต้ งั้ งบประมาณเพิม่ ” ผอู้ �านวยการสวนสตั ว์เปน็ คนรอบคอบสขุ ุม เขาสง่ ผตู้ รวจการคนหนึง่ ไปตรวจดูว่า ท�าไมเสอื จงึ ไมอ่ ว้ น ผตู้ รวจการคนน้ี ไปตรวจดอู ยสู่ ามวนั กร็ คู้ วามจรงิ วา่ เงนิ คา่ อาหารเสอื ถกู เบยี ดบงั ไป ๑ สลึง เขาจึงขอส่วนแบ่งเป็นค่าปิดปากอีก ๑ สลึง เสือได้ค่าอาหารแค่วันละ ๒ สลึง เสือจึงผอมลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ชมสวนสัตว์เห็นว่า เสือผอม จึงร้องเรียนไปยังผู้อ�านวยการ สวนสัตว์ให้ตั้งงบประมาณค่าอาหารเพิ่ม ผู้อ�านวยการสวนสัตว์ก็ส่งผู้ตรวจการระดับสูง ไปตรวจดวู า่ ทา� ไมเสอื จงึ ผอม ผตู้ รวจการคนนไี้ ปตรวจดอู ยสู่ ามวนั กร็ คู้ วามจรงิ วา่ เงนิ คา่ อาหารเสอื ถกู เบยี ดบงั ไป ๒ สลงึ เขาจงึ ขอสว่ นแบง่ เปน็ คา่ ปดิ ปากอกี ๑ สลงึ ตกลงวา่ คนสามคนเบยี ดบงั ค่าอาหารเสอื ไปถงึ ๓ สลึง เสือไดค้ า่ อาหารแคว่ นั ละ ๑ สลึง เสอื จงึ ผอมมากเหลือแต่หนัง หุ้มกระดกู ผู้ชมสวนสัตว์เห็นว่า เสือผอมมาก จึงร้องเรียนไปยังผู้อ�านวยการสวนสัตว์ให้ต้ัง งบประมาณค่าอาหารเพิ่มโดยด่วน แต่ผู้อ�านวยการสวนสัตว์กลับส่งผู้ตรวจการระดับสูงสุด ไปตรวจดูวา่ ท�าไมเสอื จงึ ผอมมาก ผ้ตู รวจการคนนี้ไปตรวจดอู ยู่สามวันเสือกต็ าย เพราะเขา ขอสลงึ สดุ ทา้ ยเปน็ คา่ ปิดปาก นัน่ คือ คน ๔ คน เบียดบงั ค่าอาหารเสือไปจนหมด เสือจงึ ตาย โคลงโลกนติ ไิ ดส้ รปุ เหตุการณน์ ้ีไวว้ ่า เบกิ ทรพั ยว์ ันละบาทซ้อื มงั สา นายหนง่ึ เล้ยี งพยคั ฆา ไปอ้วน 77

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ สองสามส่นี ายมา กา� กับ กันแฮ บังทรัพยส์ ส่ี ว่ นถว้ น บาทสน้ิ เสือตาย ในเรอื่ งน้ี เสอื กค็ อื ประเทศชาตแิ ละประชาชน ทถี่ กู เอารดั เอาเปรยี บโดยผใู้ ชอ้ า� นาจ รัฐในทางมิชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรม การปองกันไม่ให้ปัญหาเช่นนี้เกิดข้ึน ต้องอาศัย การที่ พระราชาหรือผู้น�ารัฐต้องประพฤติสุจริตธรรม และคอยก�ากับดูแลให้คนใต้ปกครอง ปฏบิ ตั หิ นา้ ทดี่ ว้ ยความสจุ รติ ตามไปดว้ ย ทงั้ นเี้ พราะอาศยั ระบบการใหร้ างวลั และการลงโทษ ที่เคร่งครัดและเป็นธรรม สมดังพระบาลีท่ีว่า “นิคคัณเห นิคคะหาระหัง ข่มคนที่ควรข่ม ปค คณั เห ปค คะหาระหงั ยกยอ่ งคนทค่ี วรยกยอ่ ง” และพระบาลใี น ธรรมกิ สตู ร ทว่ี า่ “คนุ นญั เจตะระมานานัง อชุ ุง คจั ฉะติ ปุงคะโว” เป็นตน้ แปลความว่า “เม่ือฝูงโคข้ามแมน่ า้� ไปอยู่ ถ้าโคจา่ ฝูงไปตรง โคลูกฝงู เหลา่ น้ันทั้งหมดยอ่ มไปตรงตาม ในเม่อื โคจา่ ฝงู ไปตรง ในหมู่ มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เปนผู้น�า ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรมประชาชนนอกน้ี ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน” ธนัญชานิสูตร ยังได้แสดงให้เห็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่บุคคลอย่าง ธนัญชานิพราหมณ์ ใช้ใน การฉ้อราษฎร์บังหลวง นั่นคือ เขาอาศัยประชาชนปล้นพระราชา ซึ่งในสมัยปัจจุบัน ท�ากันได้หลายรูปแบบ เช่น การร่วมกับประชาชนบุกรุกปาสงวนหรือตัดไม้ท�าลายปา การฮ้ัวการประมูล การท�าสัญญาชนิดท่ีท�าให้รัฐเสียเปรียบคู่สัญญา รวมทั้งการซ้ือสิทธิ์ ขายเสียงในการเลือกตั้งทุกระดับ ปัญหาเหล่าน้ี เกิดจากการที่ประชาชนให้ความร่วมมือ ในการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพราะหวังผลประโยชน์ตอบแทน ดังน้ัน องค์การ สหประชาชาติ จึงก�าหนดให้วันท่ี ๙ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านการทุจริตคอรัปช่ัน ของโลกโดยรณรงคใ์ ห้ประชาชนท่วั โลกพร้อมใจกันทจี่ ะไมจ่ ่ายและไม่รับสินบน การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบท้ังในและนอกวงราชการ จะประสบ ความสา� เรจ็ กต็ อ่ เมอื่ ประชาชนไดร้ บั การปลกู ฝงั ใหม้ ี โลกปาลธรรม คอื ธรรมเครอื่ งคมุ้ ครองโลก ๒ ประการ ไดแ้ ก่ ๑) หริ ิ ความอายช่วั และ ๒) โอตตัปปะ ความกลวั บาป สมดงั พระบาลี ทวี่ า่ “เทวฺ เม ภิกขะเวสกุ กา ธมั มา โลกัง ปาเลนต”ิ เปน็ ตน้ แปลความวา่ “ธรรมฝา ยขาว ๒ ประการนี้ ยอ่ มค้มุ ครองโลก ธรรม ๒ ประการเปนไฉน คอื หิริ ๑ โอตตปั ปะ ๑” ธรรมทัง้ สองประการนี้ เรยี กวา่ ธรรมเครอื่ งคมุ้ ครองโลก เพราะชว่ ยประคบั ประคองใหร้ ะบบศลี ธรรม ของโลกดา� รงอยู่ได้ ถ้าไม่มธี รรมเครอื่ งคุ้มครองโลกทั้งสองประการนี้ มนุษย์ย่อมไม่ต่างจาก สัตวเ์ ดรัจฉาน สมดังภาษิตหโิ ตปเทศท่ีว่า “การกนิ การนอน การกลวั ภัย และการสบื พนั ธุ์ 78

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ทง้ั สอ่ี ยา่ งนี้ มเี สมอกนั ในมนษุ ยแ์ ละสตั วเ์ ดรจั ฉาน ธรรมเทา่ นนั้ ทที่ า� ใหม้ นษุ ยต์ า่ งจากสตั ว์ เดรจั ฉานเมอ่ื ปราศจากธรรม มนษุ ยก์ เ็ สมอกบั สตั วเ์ ดรจั ฉาน” ธรรมทท่ี า� ใหม้ นษุ ยป์ ระเสรฐิ กวา่ สตั วเ์ ดรจั ฉาน กค็ อื โลกปาลธรรม หรอื ธรรมฝา ยขาว ๒ ประการ ไดแ้ ก่ หริ แิ ละโอตตปั ปะ สม ดงั ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ตรสั ไวใ้ น ธรรมสตู ร วา่ “ถา้ ธรรมฝา ยขาว ๒ ประการนจี้ ะไมพ่ งึ คมุ้ ครองโลก ไซรใ้ นโลกนกี้ ไ็ มพ่ งึ เหลอื คา� วา่ แม่นา้ ปา ภรรยาของอาจารย์หรอื วา่ ภรรยาของครูปรากฏอยู่ ชาวโลกจักถึงการผสมปะปนกันไป เหมือนอย่างแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก ฉะน้ัน ภิกษทุ ัง้ หลายก็เพราะเหตทุ ีธ่ รรมฝา ยขาว ๒ ประการน้ี ยงั คุ้มครองโลกอยู่ ดงั นน้ั จึงยงั เหลือคา� วา่ แม่ นา้ ปา ภรรยาของอาจารย์ หรือวา่ ภรรยาของครูปรากฏอย”ู่ ในบรรดาธรรมเครื่องคุ้มครองโลกท้ังสองอย่างนั้น หิริ ความอายช่ัว หมายถึง ความละอายต่อการท�าบาปกรรม หรือความชั่วทั้งปวง เปนการมองเห็นความช่ัว หรือบาปกรรมว่าเปนส่ิงสกปรกท่ีไม่ควรจะข้องแวะด้วย ท้ังนี้ เพราะเช่ือมั่นในความดี และศักด์ิศรีของตนจนไม่ประสงค์จะลดตัวลงไปเกลือกกล้ัวกับความช่ัวทั้งหลาย ทา่ นเปรยี บ หริ ิ เหมอื นความรสู้ กึ ของคนทอ่ี าบนา�้ ชา� ระลา้ งรา่ งกายจนสะอาดหมดจดแลว้ ย่อมไม่ประสงคจ์ ะให้รา่ งกายไปแปดเปอนกบั สงิ่ สกปรกอีก โอตตปั ปะ ความกลวั บาป หมายถงึ ความกลวั วบิ าก หรอื ผลของความชว่ั ทจี่ ะตาม มาสร้างความทุกขใ์ หก้ ับชวี ติ ความกลวั ผลรา้ ยที่จะตามมานี้ สามารถหา้ มมิใหค้ นทา� ชัว่ ได้ ผลร้ายน้ัน เป็นได้ท้ังความทุกข์ในชาติน้ีและในชาติหน้า ท่านเปรียบ โอตตัปปะ เหมือน ความรสู้ กึ ของคนทเ่ี หน็ ถา่ นเพลงิ ตดิ ไฟลกุ โชนแลว้ ไมก่ ลา้ จบั เพราะกลวั ความรอ้ นเผามอื ของตน สมดังบทกลอนทีว่ า่ ถ้ารักตัว กลัวกรรม อยา่ ทา� ช่วั จะหมองมวั หม่นไหม้ ไปเมืองผี จงเลือกทา� แตก่ รรม ทดี่ ีดี จะได้มี ความสุข พน้ ทกุ ข์ภัย ใน สตสิ ูตร พระพทุ ธเจ้าตรสั วา่ “หริ ิและโอตตปั ปะนี้ เปนเหตใุ หเ้ กิดการส�ารวม อนิ ทรยี ์ คือ ตา หู จมกู ล้ิน กาย ใจ และการส�ารวมอนิ ทรยี ก์ เ็ ปน พ้ืนฐานของการรักษาศีล ดังพระบาลีท่ีว่า “หิโรตตัปเปสะติ หิโรตตัปปะสัมปนนัสสะ อุปะนิสะสัมปนโน โหติ อินทริยะสังวะโร” เป็นต้น แปลความว่า “เม่ือหิริและโอตตัปปะมีอยู่อินทรีย์สังวรชื่อว่า มเี หตุสมบรู ณ์ ส�าหรับผทู้ ีส่ มบูรณด์ ว้ ยหิรแิ ละโอตตัปปะ เม่ืออินทรยี ส์ ังวรมีอยู่ ศีลชือ่ วา่ มีเหตสุ มบรู ณ์ ส�าหรบั ผ้ทู ่สี มบรู ณด์ ้วยอนิ ทรียส์ ังวร” 79

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ดังได้พรรณนามาแล้วว่า “การงดเว้นจากการทุจริตและประพฤติมิชอบถือว่า เปน การรกั ษาศลี หา้ ขอ้ ท่ี ๒ คอื การงดเวน้ จาก อทนิ นาทาน หรอื การถอื เอาสง่ิ ของทเ่ี จา้ ของ มไิ ดใ้ ห”้ การงดเวน้ จากการทจุ รติ จะคงอยอู่ ยา่ งยง่ั ยนื กต็ อ่ เมอ่ื มี หริ แิ ละโอตตปั ปะ เปน็ พน้ื ฐาน ถ้าปราศจากธรรมท้ังสองประการนแ้ี ล้ว คนเราย่อมสามารถทจ่ี ะทา� การทุจริตและประพฤติ มิชอบได้ตลอดเวลา ดังนั้น การปลูกฝังธรรมท้ังสองประการให้เป็นธรรมประจ�าใจจึงเป็น ส่งิ ส�าคญั นน่ั คือ “มี หิริ ความละอาย ท่จี ะท�าการทุจรติ และประพฤตมิ ชิ อบ มี โอตตปั ปะ ความกลวั ผลรา้ ยของการทุจรติ และประพฤตมิ ิชอบน้ัน” หริ ิ ความอายชว่ั เกดิ จากการนกึ ถงึ ความเปน็ คนดแี ละศกั ดศ์ิ รขี องวงศต์ ระกลู เปน็ ตน้ แล้วเกิดความละอายใจท่ีจะท�าการทุจริตและประพฤติมิชอบ ความทะนงในศักดิ์ศรีท�าให้ คนบางคนไมค่ ดิ โกงใครหรือขอใครกนิ ดงั ที่พรรณนาไวใ้ นโคลงโลกนิติวา่ ถงึ จนทนสู้กดั กนิ เกลือ อยา่ เที่ยวแลเ่ นือ้ เถอื พวกพอ้ ง อดอยากเยี่ยงอย่างเสอื สงวนศกั ดิ์ โซก็เสาะใสท่ ้อง จบั เนอ้ื กนิ เอง เรื่องของ นางขุชชุตตรา เป็นตัวอย่างหน่ึงของบุคคลท่ีงดเว้นจากการทุจริตและ ประพฤตมิ ิชอบ เพราะเกดิ หริ ิ ความอายช่ัว ข้นึ ในใจเรือ่ งมีอยู่ว่า นางขชุ ชุตตรา เปน็ สาวใช้ของ พระนางสามาวดี ผเู้ ป็นมเหสขี อง พระเจา้ อุเทน แหง่ กรุงโกสัมพี เธอเบกิ เงินจากคลงั หลวงเปน็ เหรียญกษาปณว์ นั ละ ๘ อนั เพ่ือน�าไปซื้อดอกไม้ มาถวาย พระนางสามาวดี เมอ่ื เบิกเงินไปแล้ว นางขชุ ชตุ ตรา จ่ายค่าดอกไมเ้ พียง ๔ เหรียญ กษาปณ์ และได้ดอกไมว้ ันละคร่งึ กระเช้า เงนิ ทีเ่ หลือเธอได้เบียดบังไปเปน็ ของตนเอง นีค่ ือ การทุจริตต่อหน้าท่ี นางขุชชุตรา ท�าอย่างน้ีทุกวัน วันหน่ึงช่างดอกไม้นิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมพระสงฆ์หมู่ใหญ่มารับภัตตาหารท่ีร้าน จึงไม่มีเวลาจัดดอกไม้ให้นางขุชชุตตรา ขณะท่ีรอรับดอกไม้อยู่น้ัน นางขุชชุตตรา ได้ช่วยจัดอาหารถวายพระสงฆ์ และได้มีโอกาส ฟังค�าเทศนาและค�าอนุโมทนาของพระพุทธเจ้าจนจบแล้ว เธอได้ดวงตาเห็นธรรม เธอได้จ่ายเงินเป็นเหรียญกษาปณ์ ๘ อัน ซ้ือดอกไม้เต็มกระเช้าไปถวาย พระนางสามาวดี เม่ือ พระนางสามาวดี ทอดพระเนตรเห็นดอกไม้ท่ีมากกว่าทุกวัน พระนางจึงตรัสถามว่า “พระเจ้าอุเทนพระราชทานเงินค่าดอกไม้เพม่ิ ข้นึ หรอื อยา่ งไร” นางขชุ ชตุ ตรา สารภาพความจริง ท่ีตนเคยเบียดบงั เงินค่าดอกไมว้ นั ละ ๔ เหรียญกษาปณ์ หริ ิ ความละอายใจ ท�าใหเ้ ธองดเว้น 80

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ การเบียดบังทรัพย์นั้น ยิ่งไปกว่าน้ันเธอเห็นเองว่า “อริยทรัพย์ภายในที่เธอได้รับจากการ ฟง ธรรมของพระพทุ ธเจา้ มคี า่ ยงิ่ กวา่ ทรพั ยภ์ ายนอก เธอมคี วามสนั โดษ คอื ความรจู้ กั พอ ขน้ึ ในใจ จงึ ไมป่ รารถนาทจี่ ะเบยี ดบงั เงนิ คา่ ดอกไมอ้ กี เลย” ทงั้ นี้ เพราะสนั โดษ คอื ความพอใจ ตามมี ยนิ ดีตามได้ ทา� ใหเ้ กิดความพอเพยี งดงั พระบาลีที่ว่า “สนั ตุฏฐี ปะระมังธะนัง ความ รูจ้ กั พอเปนยอดทรัพย”์ สมด้วยภาษิตอุทานธรรมท่ีวา่ “ความไม่พอใจจนเปนคนเขญ็ พอแลว้ เปนเศรษฐมี หาศาล จนทัง้ นอกทงั้ ในไม่ได้การ จงคิดอา่ นแก้จนเปน คนม”ี ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั รชั กาลท่ี ๙ ไดพ้ ระราชทานแก่ พสกนิกรชาวไทยและชาวโลก ยอ่ มเปน็ หลกั การดา� เนนิ ชวี ติ ทป่ี อ งกนั การทจุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพยงิ่ โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกิดจากการนึกถึงภัยหรือความทุกข์ที่เป็นผลจาก การทา� บาป ความกลวั บาปที่ควรนึกถึงมี ๔ ประการ คือ ๑) อตั ตานวุ าทภยั ความกลวั ถกู ตนเองตา� หนติ เิ ตยี น หมายถงึ กลวั การมวี ปิ ปฏสิ าร หรอื ความส�านึกผิดท่จี ะคอยตดิ ตามเผาลนจิตใจ ๒) ปรานุวาทภยั ความกลัวผู้อืน่ ตเิ ตียน หมายถงึ กลวั การถกู สังคมประณามหรอื กลวั การถกู ส่อื มวลชนประจาน เป็นตน้ ๓) ทณั ฑภยั ความกลวั ถกู ลงอาญา หมายถงึ กลวั โทษปรบั จองจา� หรอื ประหารชวี ติ รวมทั้งการถูกยึดทรัพย์ตามทกี่ ฎหมายกา� หนด ๔) ทคุ ติภัย ความกลวั ทุคติ หมายถงึ กลัวการรบั โทษในนรก เปน็ ตน้ ภายหลังจาก สิน้ ชีวติ ไปแลว้ โอตตปั ปะ ความกลวั บาป ชนดิ ที่ ๔ คอื ทคุ ตภิ ยั นี้ เปน็ เรอ่ื งท่ี พระสารบี ตุ ร ไดพ้ ยายาม ปลกู ฝงั ในใจของ ธนญั ชานพิ ราหมณ์ แมพ้ ระราชนพิ นธใ์ น พระมหาธรรมราชาลไิ ท เรอื่ งไตรภมู ิ พระร่วง กส็ อนให้คนไทย กลวั บาปกรรม กลวั การตกนรกหมกไหม้ วรรณกรรมเรือ่ งไตรภมู ิ พระรว่ งน้ี จงึ ไดท้ า� หนา้ ทค่ี มุ้ ครองปอ งกนั ระบบศลี ธรรมของสงั คมไทยในอดตี มาอยา่ งยาวนาน คนไทยสมยั โบราณ งดเวน้ การประพฤตทิ จุ รติ เพราะกลวั ผลแหง่ บาปกรรม ตามกฎแหง่ กรรม ท่ีวา่ “ท�าดีไดด้ ี ท�าช่วั ไดช้ ัว่ ” 81

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ส�าหรบั สังคมไทยปจั จบุ ัน โอตตปั ปะ ความกลัวผลบาป ในชาตปิ ัจจุบนั ควรได้รับ การเนน้ ยา�้ เปน็ พเิ ศษ โดยเฉพาะเรอ่ื ง ทณั ฑภยั คอื กระบวนการใชก้ ฎหมายลงโทษผกู้ ระทา� การทจุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบ ตอ้ งเปน็ ไปอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ จงึ จะมผี ลเปน็ เครอื่ งกระตนุ้ โอตตปั ปะ ให้ทา� หนา้ ทเ่ี ป็นภูมคิ มุ้ กนั มใิ หท้ า� การทุจริต ธรรมทั้งสองประการ คอื หิริและโอตตัปปะ ดงั ท่พี รรณนามาเป็นธรรมข้นั พ้นื ฐาน ของการปฏิบัติหน้าท่ีให้สุจริต ผู้ประพฤติสุจริตย่อมมีชีวิตที่เป็นสุข ดังพระบาลีที่ยกไว้ ณ เบ้ืองตน้ ว่า “ธัมมะจารี สุขงั เสติ อสั มงิ โลเก ปะรมั หิ จะ” แปลความวา่ “ผปู้ ระพฤติ ธรรมยอ่ มอยเู่ ปน สขุ ทง้ั ในโลกนแ้ี ละในโลกหนา้ ” ตรงกนั ขา้ ม ผปู้ ระพฤตทิ จุ รติ ตอ่ หนา้ ทย่ี อ่ ม อยูเ่ ป็นทุกข์ ดังทพี่ ราหณค์ นหนง่ึ ได้พยายามพิสูจน์เรอ่ื งน้ีในสมัยพุทธกาล พราหมณ์คนดังกล่าวนั้น รับราชการอยู่ในราชส�านักของ พระเจ้าโกศล เขาเป็น พราหมณ์ผู้รอบรู้ในไตรเพทและเป็นชาวพุทธผู้รักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด เขาได้รับการ ยกยอ่ งเปน็ อยา่ งดจี ากราชสา� นกั เขาตอ้ งการทดลองดวู า่ จะเกดิ อะไรขนึ้ ถา้ เขาประพฤตทิ จุ รติ ผิดศลี ธรรม วนั หน่ึง เมอื่ จะกลับบา้ น เขาไดห้ ยบิ เหรียญกษาปณ์ ๑ อนั ไปจากแผงของเหรญั ญกิ คนหนง่ึ โดยมไิ ดบ้ อกกลา่ วเลย เหรญั ญกิ คนนน้ั มไิ ดพ้ ดู อะไรกบั เขา เพราะความเคารพ รงุ่ ขนึ้ พราหมณ์หยบิ ไปสองเหรียญกษาปณ์ เหรญั ญิกคงน่ิงเฉยเหมอื นเดมิ ในวนั ทส่ี าม พราหมณ์ ควา้ เหรยี ญกษาปณไ์ ปเต็มกา� มอื เหรัญญกิ คนเดมิ น้ัน ได้ร้องตะโกนวา่ จับโจร ๆ คนท่ีอย่ใู น เหตุการณ์ ต่างรมุ ประณามพราหมณน์ นั้ ว่า แสรง้ ทา� ตัวเหมอื นผ้มู ีศลี มานาน ท่แี ทก้ ็เป็นโจร จากนั้น เขาถูกจบั มัดส่งตัวไปใหพ้ ระราชาลงโทษ พระราชาตรสั ถามพราหมณว์ า่ “เหตใุ ดจงึ ทา� เชน่ น”ี้ เมอ่ื อยกู่ นั ตามลา� พงั พราหมณ์ กราบทลู วา่ “ทเี่ ขาทา� ลงไปเพอื่ ทดลองดวู า่ จะเกดิ อะไรขน้ึ ถา้ เขาประพฤตทิ จุ รติ ผดิ ศลี ธรรม จากการทดลองคร้ังน้ี เขาได้เห็นภัยของการประพฤติทุจริตและอานิสงส์ของการประพฤติ สจุ รติ คอื การรกั ษาศลี ใหบ้ รสิ ทุ ธิ์ การเปน็ คฤหสั ถผ์ คู้ รองเรอื นไมอ่ าจชว่ ยใหเ้ ขาสามารถรกั ษา ศลี ไดบ้ รสิ ทุ ธิ์ เขาจงึ ทลู ขอพระราชานญุ าตไปบวชเปน็ พระภกิ ษใุ นสา� นกั ของพระบรมศาสดา” พระพทุ ธองคต์ รสั สรปุ เรอ่ื งนไ้ี วว้ า่ “สลี งั กเิ รวะ กลั ยาณงั สลี งั โลเก อะนตุ ตะรงั ” แปลความวา่ “ไดย้ ินว่าศีลนัน่ แหละงดงาม ศลี ยอดเยีย่ มในโลก” 82

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ คา� วา่ “ศลี แปลวา่ ปกต”ิ บคุ คลผมู้ ี หริ แิ ละโอตตปั ปะ ประจา� ใจยอ่ มรกั ษาศลี ไดเ้ ปน็ ปกติ และสามารถประพฤติ สุจริตธรรม ได้จนเป็นลักษณะนิสัย บุคคลผู้ปรารถนาจะเห็นความ เจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติอันเป็นท่ีรัก ต้องพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าท่ีให้สุจริต ถ้าคนไทย ทงั้ ปวงปฏบิ ตั หิ น้าท่ดี ว้ ยความสุจริต ประเทศชาติจะมคี วามม่ันคง ม่ังค่ัง และสนั ติสุข ท้งั ผู้ ประพฤตสิ จุ รติ ธรรมกจ็ ะมแี ตค่ วามสขุ ความเจรญิ สมดว้ ยพระบาลที วี่ า่ “ธมั มะจารี สขุ งั เสติ ผู้ประพฤตธิ รรมย่อมอย่เู ปน สขุ ” ดงั รับประทานวสิ ชั นามา พอสมควรแกเ่ วลา เทสนาปริโยสาเน ในอวสานเป็นท่ีสุดแห่งพระธรรมเทศนาน้ี ขออ�านาจแห่ง คุณพระศรีรัตนตรัย และอานุภาพแห่งกุศลบุญราศีที่ได้บ�าเพ็ญให้เป็นไป จงมารวมกัน เปน็ ตบะ เปน็ เดชะ เปน็ พลวปจั จยั อา� นวยพรใหส้ าธชุ นทกุ ทา่ นสามารถปฏบิ ตั หิ นา้ ทใี่ หส้ จุ รติ และมีชีวิตท่ีประสบความสุขความเจริญยิ่งข้ึนไป ในร่มธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สมั พทุ ธเจ้า โดยปราศจากทกุ ข์ โศก โรค ภยั อุปทั วนั ตรายทงั้ ปวง เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธรรมสารสมบัติ ธนสารสมบัติ ปรารถนาส่ิงหนึ่งประการใด ท่ีเป็นไป โดยชอบประกอบด้วยธรรม ก็ขอให้ความปรารถนาน้ัน ๆ จงพลันส�าเร็จสมมโนรถมุ่งมาด ปรารถนาทกุ ประการ รับประทานแสดงพระธรรมเทศนาใน สจุ รติ ธรรมกถา พอสมควรแกเ่ วลา ขอสมมุติ ยตุ ิลงคงไว้แตเ่ พยี งเทา่ น้ี เอวัง ก็มดี ว้ ยประการฉะนี้ 83

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจัดกจิ กรรมปฏิบัติธรรมวนั ธรรมสวนะวดั ฉมิ ทายกาวาส ประธานฝายสงฆน์ า� พทุ ธศาสนกิ ชนท�าวัตรเชา้ พระสงฆใ์ หศ้ ลี พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนา ประธานฝา ยฆราวาสและตวั แทนหนว่ ยงานถวายสงั ฆทาน ประธานในพธิ แี ละผ้เู ข้ารว่ ม กรวดน�้า รบั พร ถา่ ยภาพรว่ มกนั 84

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ วริ ยิ กถา แสดงโดย พระศรศี าสนโมลี วดั เทวราชกุญชร เขตดุสติ กรุงเทพฯ วนั อังคารที่ ๑๕ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสมั พุทธสั สะ (๓ จบ) เอกาหํ ชีวติ ํ เสยฺโย วริ ยิ ํ อารภโต ทฬฺหนฺต.ิ บดั นี้ จะไดแ้ สดงพระธรรมวา่ ดว้ ยเรอ่ื ง ความเพยี ร เพอ่ื เปน็ เครอื่ งประดบั สตปิ ญั ญา เจริญศรัทธาความเชื่อ ปสาทะความเล่ือมใส แก่สาธุชนผู้สนใจในพระธรรมค�าสอน ของพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ และนอ้ มนา� ไปประพฤตปิ ฏบิ ตั พิ อสมควรแกเ่ วลา ทา่ นสาธชุ นทงั้ หลาย “บุญ หมายถึง ความดี เปนช่ือของความสุข” ผู้ที่ปรารถนาจ�าต้องรู้ว่าอะไรเป็น บุญ จะได้ท�าให้ส�าเร็จผล สมความมุ่งหมาย ผู้ที่ท�าตาม ๆ กันมา ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญ จะท�าให้ ถูกต้องไมไ่ ด้ แม้จะท�าดว้ ยความงมงาย ก็ไมน่ า� ให้สา� เรจ็ ประโยชน์ เพราะฉะนัน้ ผ้ปู รารถนาจะทา� บญุ จึงต้องรู้วา่ บญุ มีลักษณะเป็นอยา่ งไร ถ้าทา� แล้ว ไมอ่ าจชา� ระจติ ใหผ้ อ่ งใส หรอื ไมน่ า� ใหเ้ กดิ ความฉลาดวา่ สงิ่ นดี้ ี สงิ่ นไี้ มด่ ี กไ็ มจ่ ดั วา่ เปน บญุ แต่เม่ือสามารถจะช�าระจิตให้บริสุทธิ์และน�าให้เกิดความฉลาด รู้จักผิดชอบ จึงจัดว่า เปนบุญ ส่ิงที่จะช�าระจิตของคนให้บริสุทธิ์ อันเสมอด้วยความดีย่อมไม่มี สิ่งอ่ืนช�าระได้ เพียงภายนอกเท่าน้ัน แต่ความดีเป็นส่ิงช�าระใจ เม่ือใจบริสุทธ์ิแล้ว อาการภายนอก คือ กริ ยิ าวาจากบ็ รสิ ทุ ธต์ิ ามไปดว้ ย เม่อื ไดพ้ จิ ารณาแล้วรู้วา่ บญุ เป็นสิ่งท่ชี �าระจิตใจใหบ้ รสิ ุทธ์ิ พงึ สรา้ งความดตี ามความรคู้ วามสามารถทตี่ นเองจะกระทา� ได้ จงึ จะชอื่ วา่ ไดบ้ ญุ อยา่ งแทจ้ รงิ การทา� บญุ ในทางพระพทุ ธศาสนาอยา่ งยอ่ มอี ยู่ ๓ อยา่ ง คอื ทาน ไดแ้ ก่ การบรจิ าค แบง่ ปนเสียสละ เมื่อไดท้ �าใหเ้ ตม็ ทแ่ี ล้ว สามารถก�าจัดความโลภใหเ้ บาบาง หรอื ให้หมดสนิ้ ท�าให้เกิดความสุขใจได้ ศีล ได้แก่ การปฏิบัติกายวาจาให้ต้ังอยู่ในความสงบเรียบร้อย ตามกฎระเบียบ ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม เม่ือได้ท�าให้เต็มที่แล้ว สามารถก�าจัด ความโกรธใหเ้ บาบางหรือให้หมดส้ิน ทา� ให้เกดิ ความสขุ ใจได้ ภาวนา ไดแ้ ก่ การทา� ใจให้ตั้ง ม่ันอยู่ในธรรม เปนการเจริญปญญา พัฒนาจิตให้รู้จักการด�าเนินชีวิต ตลอดถึงปฏิบัติต่อ ตนและคนอ่ืนด้วยความถูกต้อง เมื่อได้ท�าให้เต็มท่ีแล้ว สามารถก�าจัดความหลงให้เบาบาง หรอื ใหห้ มดสิน้ ท�าใหเ้ กิดความสุขได้ 85

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ การฟงธรรม นอกจากจะเปนการส่งเสริมคุณธรรมในส่วนแห่งทานและศีล อนั เปน บญุ ขน้ั พนื้ ฐานและขน้ั กลางทไี่ ดท้ า� มาแลว้ ยงั เปน การเพมิ่ พนู บญุ ในสว่ นแหง่ ภาวนา อันเปนบุญข้ันสูง ท�าให้มีผลไพบูลย์ยิ่งข้ึน เพราะการฟังธรรมน้ัน เป็นการพัฒนาปัญญา เปน็ สว่ นทส่ี า� คญั ทสี่ ดุ ในชวี ติ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ทรงแสดง อานสิ งสแ์ หง่ การฟง ธรรมไว้ คอื ไดฟ้ ง สงิ่ ทย่ี งั ไมเ่ คยไดฟ้ ง ไดค้ วามรแู้ ปลกใหม่ บรรเทาความสงสยั มจี ติ ใจมน่ั คง ไมห่ ลงผดิ ในการดา� เนินชีวติ ดงั นนั้ การฟง ธรรม จึงมอี ปุ การะแก่ผทู้ ี่มุง่ ท�าบญุ เปนอยา่ งมาก เพราะ เปน็ ประโยชนใ์ นการพฒั นาความเปน็ อยขู่ องตน ครอบครวั ตลอดถงึ สงั คม ไมใ่ หห้ ลงทาง แตใ่ ห้ ดา� เนนิ ไปถกู ทางอยา่ งมคี ณุ ภาพ มปี ระสทิ ธภิ าพและทรงไวซ้ ง่ึ คณุ ธรรม ทา่ นสาธชุ นทงั้ หลาย ตามพระบาลที ไ่ี ดย้ กขนึ้ ไวเ้ ปน็ เบอื้ งตน้ แปลความวา่ “คนทเี่ กยี จครา้ น มคี วามเพยี รยอ่ หยอ่ น มชี วี ติ อยู่ตัง้ ร้อยปี ไม่ประเสรฐิ เลย ส่วนชีวติ ของคนท่ีปรารภความเพียรอยา่ งมั่นคง แม้ จะเปน อยูไ่ ด้เพยี งวนั เดียว ก็ยงั ประเสริฐกว่า” ความเพยี ร เปน คณุ ธรรมพยุงจติ ไม่ใหค้ ดิ ย่อทอ้ ในการประกอบการงาน มีหนา้ ที่ เปน็ กลาง ไมด่ แี ละไมช่ วั่ แตเ่ มอ่ื เขา้ ไปสนบั สนนุ ในกจิ การใด ๆ ยอ่ มทา� กจิ การนนั้ ๆ ใหแ้ รงขน้ึ ท้ังทางถูกและทางผิด เหตุนั้น พึงพิจารณาใช้ความเพียรแต่ในทางท่ีชอบ เพราะเหตุว่า ความเพียรน้ี ถ้าคนไม่ดีน�าไปใช้ในทางที่ผิด ไม่ชอบไม่ควรแล้ว ก็จะก่อให้เกิดโทษภัย อย่างใหญ่หลวง เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนท้ังแก่ตนและคนอื่นเป็นอันมาก พระสัมมา สัมพทุ ธเจ้าตรัส ความเพยี รไว้ ๔ ประการ คือ ๑. เพียรระวังไม่ให้ความช่ัวเกิดข้ึนในใจ หมายความว่า ตามปกติ ใจของคนเรา บรสิ ทุ ธิ์ สะอาด ไมม่ บี ญุ ไมม่ บี าป สงิ่ ทตี่ อ้ งเพยี รระวงั ปอ งกนั ไมใ่ หเ้ กดิ มขี น้ึ แกใ่ จเปน็ อนั ดบั แรก คือ ความชั่ว ได้แก่ การทา� การพูด การคิด ดว้ ยอ�านาจความโลภ โกรธ หลง เปน็ ไปเพ่ือ เบียดเบียนตนและคนอื่น ให้เกิดความเดือดร้อน ความชั่วนี้ ต้องเพียรระวังไม่ให้ เกิดขึ้นเลยเป็นการดี เพราะถ้าปล่อยให้เกิดข้ึนแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะก่อให้เกิดทุกข์ภัย อย่างใหญ่หลวงในภายหลัง จะเห็นได้ดังไฟที่เกิดจากต้นไฟเพียงเล็กน้อย หรือจากไม้ขีดไฟ เพียงก้านเดียว ก็จะลุกลามใหญ่โต สามารถเผาผลาญบ้านเรือนได้ ความชั่วก็เช่นเดียวกัน ไมค่ วรดหู มน่ิ วา่ มปี ระมาณเพยี งเลก็ นอ้ ยเทา่ นน้ั จะไมใ่ หผ้ ล ความชวั่ เพยี งเลก็ นอ้ ยนน่ั แหละ จะพอกพนู มากขน้ึ ทกุ ที แลว้ จะทา� ความพนิ าศใหแ้ กต่ นและคนอน่ื อยา่ งประมาณมไิ ด้ เหตนุ นั้ จึงตอ้ งเพยี รระวงั ปอ งกนั ไม่ใหค้ วามช่วั เกดิ ขึน้ ไดใ้ นใจ ๒. เพยี รละความชว่ั ทเี่ กดิ ขน้ึ แลว้ หมายความวา่ เมอื่ รตู้ วั อยวู่ า่ ตนไดก้ ระทา� ความชวั่ ขนึ้ แลว้ ดว้ ยความพลงั้ เผลอหรอื ดว้ ยความเขา้ ใจผดิ เชน่ นแี้ ลว้ กต็ อ้ งเพยี รละความชว่ั นน้ั เสยี 86

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ตง้ั ใจวา่ จะไมก่ ระทา� ความชวั่ นนั้ อกี อยา่ งเดด็ ขาด โดยพจิ ารณาในเวลากอ่ นนอนวา่ “วนั นตี้ ง้ั แต่ เชา้ จนถงึ กอ่ นนอนน้ี เรามคี วามผดิ ไดก้ ระทา� ความชวั่ ความเสยี หายอยา่ งไรบา้ ง ถา้ ระลกึ วา่ ได้ท�าความเสียหายไว้ ก็ให้พิจารณาว่า ทั้ง ๆ ที่เราเพียรระวังจะไม่ท�าความช่ัวอยู่แล้ว แต่เหตุไฉนจึงเผลอกระท�าความชั่วข้ึนมาอีก ก็ได้ทราบว่า เปนเพราะเหตุไร เมื่อได้ ทราบเหตแุ ลว้ กต็ ง้ั ใจไมก่ ระทา� ความผดิ เชน่ นน้ั ตอ่ ไป ดงั นแี้ ลว้ จงึ นอน เมอื่ นอนหลบั แลว้ ต่ืนในวันรุ่งข้ึน ก็ให้นึกถึงข้อก�าหนดที่ได้กระท�าไว้ก่อนนอน และไม่กระท�าความชั่ว อย่างท่ีตนไดเ้ คยกระทา� มาแล้วอกี ” น้ีชอ่ื ว่า “เพยี รละความช่ัวที่เกดิ ข้นึ แล้ว” ๓. เพยี รใหค้ วามดเี กดิ ขน้ึ ในใจ หมายความวา่ เมอ่ื เพยี รระวงั ไมใ่ หค้ วามชว่ั เกดิ ขน้ึ และ เพียรละความช่ัวทเ่ี กิดขนึ้ ดว้ ยความพลง้ั เผลอไดแ้ ลว้ ก็ตอ้ งรบี ทา� ความดแี ทนที่ความชัว่ ด้วย เพราะถา้ ไมร่ บี ทา� ความดแี ทนทค่ี วามชว่ั แลว้ กจ็ ะเกดิ ชอ่ งวา่ ง เปดิ โอกาสใหท้ า� ความชว่ั ไดอ้ กี เหตุนั้นจึงต้องรีบท�าความดี ปิดโอกาสไม่ให้ท�าความชั่ว เพราะจิตใจมีลักษณะเหมือน ภาชนะใส่ของ คอยรองรับอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ เม่ือใดคิดดี เมื่อนั้นความคิดชั่วก็ไม่มี แตเ่ มอ่ื ใดคดิ ชว่ั เมอื่ นน้ั ความคดิ ดกี ไ็ มม่ ี ดงั นนั้ ความดแี ละความชว่ั จงึ คอยโอกาสทจี่ ะแยง่ กนั เขา้ ครอบครองใจอยเู่ ปน็ นิตย์ ฉะนน้ั จึงตอ้ งเพียรใหค้ วามดเี กดิ ขึน้ ในใจ ๔. เพยี รรกั ษาความดที ี่เกิดข้นึ แลว้ ไมใ่ ห้เสอ่ื มไป หมายความว่า เมอ่ื ได้สรา้ งสม คณุ งามความดีให้เกดิ มีขนึ้ ในใจแล้ว ก็ตอ้ งเพยี รรักษาคุณงามความดนี ั้นไว้ ไม่ให้เส่อื มสนิ้ ไป ให้มีอยู่ตลอดไป เพราะว่าความดีกับความช่ัวคอยฉวยโอกาสท่ีจะเข้าครอบครองจิต กนั อยเู่ สมอ ฝา ยใดเผลอ เปน็ ถกู อกี ฝา ยหนง่ึ ซงึ่ คอยฉวยโอกาสอยแู่ ลว้ เขา้ ครอบครองจติ ทนั ที เหตนุ ้ัน ความดี ท่ีได้ทา� ให้เกิดขึน้ แลว้ จึงต้องพยายามรกั ษาไว้ เปรียบเหมือนคนทีแ่ สวงหา ทรพั ยไ์ วไ้ ดแ้ ลว้ ถ้าใชห้ มดสิ้นไป ก็เปน็ คนไมม่ ที รัพย์ ตอ่ เม่อื แสวงหาไดแ้ ลว้ เก็บรกั ษาให้ดี ก็ได้ช่ือว่า เป็นคนมีทรัพย์ ไม่ยากจน คุณงามความดีก็เหมือนกัน เมื่อท�าให้เกิดมีข้ึนแล้ว ก็ต้องพยายามรกั ษาไว้ให้ดี มีมากเทา่ ใด กเ็ ป็นปจั จัยเก้อื กลู ให้เกดิ ความสุขใจเท่าน้นั ดงั นน้ั จึงต้องเพียรรกั ษาความดที ่เี กิดขึน้ แล้วไมใ่ ห้เสอื่ มไป ความเกียจคร้านมีความเพยี รยอ่ หยอ่ น มักอา้ งเหตตุ ่าง ๆ แล้วไม่ทา� งาน เปน็ ต้นวา่ เมือ่ เราทา� งานกต็ อ้ งเหน็ดเหน่ือย ก็เลยนอนเสีย แล้วไมท่ �างาน เมอื่ เราท�างานเสร็จแลว้ ถา้ ท�าอกี กต็ ้องเหนือ่ ยอีก เลยนอนเสยี ไม่ยอมทา� งาน และอ้างว่า เวลาน้ียังเช้าอยู่แล้วไม่ท�างาน เวลาน้ีหนาวนักแล้วไม่ท�างาน เวลาน้ีร้อนนัก แล้วไม่ท�างาน ปล่อยให้งานค่ังค้างจนท�าไม่ไหว ท�าไม่ส�าเร็จ เม่ือท�างานอะไร ๆ ไม่ส�าเร็จ ก็ไม่มีคณุ งามความดีอะไร ทจ่ี ะเป็นทพี่ ่ึงของตนและคนอ่นื ได้เลย 87

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ มีคา� สภุ าษติ กล่าวเตือนใจไว้ว่า “คนเกียจครา้ นจะมีความรูไ้ ดอ้ ยา่ งไร คนท่ีไมม่ ีความรู้ จะมที รพั ยไ์ ดอ้ ยา่ งไร คนทไี่ มม่ ที รพั ยจ์ ะมเี พอื่ นไดอ้ ยา่ งไร และคนทไี่ มม่ เี พอ่ื นจะมคี วามสขุ ไดอ้ ย่างไร” เพราะเหตุน้ี พระสัมมาสมั พทุ ธเจ้าจงึ ตรสั วา่ “คนท่ีเกียจคร้าน มคี วามเพียร ย่อหย่อน มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ไม่ประเสริฐเลย” เพราะคนที่เกียจคร้าน ไร้คุณงามความดี อันจะเป็นที่พ่ึงของตนและคนอ่ืน ส่วนคนที่ไม่ยอมอ้างเหตุแห่งความเกียจคร้าน ปรารภ ความเพยี รอยเู่ ปน็ นติ ย์ เปน็ ตน้ วา่ เราตอ้ งทา� งาน และตอ้ งทา� งานนน้ั ใหด้ ถี งึ ทสี่ ดุ ทา� ใหส้ า� เรจ็ ไมย่ อมอา้ งเหตขุ ดั ขอ้ งวา่ หนาวนกั รอ้ นนกั หวิ นกั กระหายนกั แลว้ ไมท่ า� งาน มแี ตค่ วามเพยี ร ไมเ่ กรงกลวั ตอ่ เหตขุ ดั ขอ้ ง เมอื่ เปน็ เชน่ นจ้ี งึ กา้ วลว่ งความทกุ ขย์ ากนานาประการได้ เพราะเหตนุ นั้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ชีวิตของคนท่ีปรารภความเพียรอย่างม่ันคง แม้จะเปน อยไู่ ดเ้ พยี งวนั เดยี ว กย็ งั ประเสรฐิ กวา่ ” เพราะวา่ ชวี ติ ของคนทปี่ รารภความเพยี ร มคี ณุ งาม ความดเี ป็นทีพ่ ง่ึ ของตนและคนอืน่ มากมาย ทา่ นสาธชุ นทงั้ หลาย ควรพจิ ารณาวา่ ธรรมดาคนทเี่ กดิ มาดว้ ยอา� นาจกเิ ลส ยงั ไมพ่ น้ จากวฏั ฏสงสาร จะต้องเดินทางกนั ดาร ผ่านพบชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ถา้ เลกิ ละ ไมส่ รา้ งสม คณุ งามความดี กจ็ ะทวคี ณู พอกพนู ไปดว้ ยความชว่ั อนั จะทา� ใหต้ วั เราตกตา่� ทกุ ขย์ ากลา� บากใจ แต่ถ้าหากได้สร้างสมคุณงามความดี ด้วยความเพียรพยายาม คุณงามความดีก็จะติดตาม คมุ้ ครองรกั ษาใหว้ ฒั นาสถาพร ไมต่ อ้ งเดอื ดรอ้ น ทกุ ขย์ ากลา� บากกายใจ เมอื่ ไดพ้ จิ ารณาเหน็ เชน่ นแี้ ลว้ “พงึ เพยี รระวงั ไมใ่ หค้ วามชวั่ เกดิ มขี น้ึ เพยี รละความชวั่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ แลว้ ใหห้ มดไป เพียรสร้างความดีให้เกิดมีข้ึน และเพียรรักษาความดีท่ีเกิดมีข้ึนแล้วไม่ให้สูญสิ้นไป ให้มีคงอยู่ จนกวา่ จะถึงที่สุดแหง่ ทกุ ข์ด้วยกันทุกคน” รตนตฺตยานุภาเวน รตนตฺตยเตชสา ด้วยอานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และ คุณงามความดีท่ีทุกท่านได้กระท�าบ�าเพ็ญมาแล้วทั้งในอดีต และก�าลังกระท�าอยู่ในปัจจุบัน จงมารวมกันเป็นพลานุภาพอ�านวยอวยพรให้ท่านท้ังหลาย ประสบแต่ความสุขความเจริญ โดยทว่ั หนา้ กนั สมดังพระธรรมเทศนาท่ีได้วสิ ชั นามา เอวงั กม็ ีดว้ ยประการฉะน้ี 88

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ภาพการจัดกิจกรรมปฏบิ ัติธรรมวันธรรมสวนะวัดเทวราชกุญชร ประธานฝายสงฆน์ �าพุทธศาสนกิ ชนทา� วตั รเช้า พระสงฆแ์ สดงพระธรรมเทศนา ประธานในพธิ แี ละผเู้ ข้าร่วม ฟังพระธรรมเทศนา ประธานฝา ยฆราวาสและตวั แทนหน่วยงานถวายสงั ฆทาน ประธานในพธิ ีและผู้เขา้ รว่ ม กรวดน้�า รบั พร ถ่ายภาพร่วมกนั 89

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ พาลปณฑติ กถา แสดงโดย พระธรรมธรี ราชมหามนุ ี วดั ระฆงั โฆสติ าราม เขตบางกอกนอย กรุงเทพฯ วนั อังคารที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) โย พาโล มฺ ตี พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปเตน โส พาโล จ ปณฺฑติ มานี ส เว พาโลติ วุจฺจตตี .ิ ตามบาลีคาถาที่ได้ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทแห่งเทศนาน้ีว่า โย พาโล มฺตี พาลฺย� ปณฑฺ ิโต วาปเตน โส พาโล จ ปณฑฺ ติ มานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ แปลวา่ “บคุ คลใดโง่ ยอ่ มรตู้ วั วา่ เปน คนโง่ เขายอ่ มฉลาดไดเ้ พราะการรตู้ วั นนั้ แตบ่ คุ คลโง่ ทนงตนวา่ ตวั ฉลาด บุคคลนัน้ แล เรา (ตถาคต) เรยี กวา่ คนโง่” คนโง่ กบั คนฉลาด เปนของค่กู ัน คนฉลาด รวยได้ คนโง่ ก็รวยได้ คนฉลาดศกึ ษา เลา่ เรยี นได้ คนโง่ กศ็ กึ ษาเลา่ เรยี นได้ คนฉลาด มโี อกาสไดป้ รญิ ญา คนโง่ กม็ โี อกาสไดป้ รญิ ญา คนฉลาด เปน็ ผใู้ หญบ่ า้ น เปน็ กา� นนั เปน็ ครู เปน็ อาจารย์ เปน็ พอ่ คา้ ประชาชน เปน็ นายอา� เภอ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นส.ส. เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นพระภิกษุ สามเณร เปน็ พระครู เปน็ เจา้ คณุ เปน็ สมเดจ็ ไดฉ้ นั ใด คนโง่ กเ็ ปน็ ได้ เชน่ คนฉลาด ทกุ อยา่ ง แตม่ ี ความตา่ งกนั ตรงทวี่ า่ “คนฉลาด ทา� อะไร พดู อะไร คดิ อะไร ลว้ นทา� ใหต้ นและคนอน่ื ฉลาดยงิ่ ขน้ึ ” ดา� รงตา� แหนง่ การงานใหญโ่ ต ปกครองลกู นอ้ ง บรวิ ารมากเทา่ ไร กพ็ าใหค้ นอน่ื ฉลาดมากขนึ้ เทา่ นั้น “ส่วน คนโง่ ยง่ิ มียศต�าแหน่งสงู ขึ้นเทา่ ไร ก็ยง่ิ ทา� ให้คนอ่ืน โง่ตามมากขึ้นเท่านัน้ ” พดู อกี อยา่ งหนง่ึ เพอื่ การเขา้ ใจงา่ ย กค็ อื วา่ อะไรทค่ี นฉลาด ทา� ได้ คนโง่ กท็ า� ได้ แตม่ นั ตา่ งกนั ตรงทีว่ ่า คนโง่ ท�าพูดคดิ แบบ คนโง่ คนฉลาด ท�าพูดคิดแบบ คนฉลาด เทา่ นนั้ เอง การแสดงออกซ่ึงความคิดเห็นของตนโดยสุจริตบริสุทธิ์ใจ การแสดงออกซ่ึงความ สามารถของตนโดยสุจริตบริสุทธิ์ใจ มิใช่เป็นการหลงลืมตน มิใช่เป็นการอวดเก่ง มิใช่เป็น การหย่งิ ผยอง แต่เป็นการประกาศศกั ดาของมนษุ ยชาตวิ า่ “มนษุ ยฉ์ ลาดยอ่ มอย่เู หนอื โลก ทุกกรณี” แต่คนโง่กลับมีความเห็นทวนกระแสธรรมชาติว่า “คนพวกนี้มันอวดเก่ง” ขอให้ข้อคดิ เห็นวา่ “คนโง่ อวดเกง่ น้นั มมี าก คนฉลาด อวดเก่งน้ันมนี อ้ ย” คนฉลาด ย่ิงพดู 90

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ยงิ่ ทา� ยง่ิ คดิ ปญั ญากย็ ง่ิ แหลมคม เหมอื นหนามยงิ่ แกก่ ย็ งิ่ แหลมคมและแขง็ สว่ น คนโง่ ยงิ่ พดู ยงิ่ ทา� ยง่ิ คดิ กย็ งิ่ โง่ เหมอื นหางลกู อง่ึ ลกู กบ ยง่ิ โต หางกย็ งิ่ หมดไป โงก่ บั ฉลาด ถงึ จะเปน ของ คกู่ นั อยใู่ กลก้ นั แตเ่ รอื่ งสตปิ ญ ญาและการแสดงออกซงึ่ พฤตกิ รรม แยกกนั เปน คนละสว่ น เหมือน น�้ากบั นา้� มนั ฉะนน้ั บนเวทขี องการทา� มาหากนิ ประกอบอาชพี การงาน ทตี่ อ้ งตอ่ สแู้ ขง่ ขนั กนั คนโง่ มกั ใช้ อ�านาจและก�าลังเข้าห�้าหั่นแข่งขันและต่อสู้ เพื่อให้รู้แพ้รู้ชนะกันในเร็ววัน แต่การใช้อ�านาจ และกา� ลงั เพอื่ ใหไ้ ดช้ ยั ชนะตอ่ คตู่ อ่ สอู้ ยา่ งเดยี วนน้ั คนฉลาด ไมน่ ยิ มทา� แตน่ ยิ มใชป้ ญั ญาตอ่ สู้ กบั อปุ สรรค อนั ตรายและศตั รู เพอื่ ยบั ยงั้ การใชอ้ า� นาจและกา� ลงั ในบางโอกาส แตจ่ ะใชอ้ า� นาจ และก�าลังควบคู่กับปัญญาเสมอ การได้ร่วมท�างานกับคนฉลาด ความพลั้งพลาด จึงมีน้อย หรอื อาจไมม่ เี ลย รว่ มทา� งานกบั คนโง่ อวดฉลาด มโี อกาสพลัง้ พลาดมากทีส่ ดุ การพัฒนาภาควิชาการความรู้และการงานอย่างต่อเน่ือง เป็นการสืบต่อ ฝกฝน ความแหลมคมแห่งสติปัญญาของ คนฉลาด ดังน้ัน คนฉลาด อยู่ท่ีไหน กับใครหรือจะอยู่ ตามล�าพัง กด็ �ารงตนคงความเป็นคนมีสติปัญญาได้ตลอด การทา� พดู คดิ ผดิ พลาดประมาท พลัง้ เผลออยา่ งตอ่ เนอ่ื ง เปน็ ความสืบตอ่ ความโง่ของ คนโง่ ดังนัน้ คนโง่ อยู่กับใคร ทไี่ หน หรือจะอยู่ตามล�าพัง ก็คงความเป็น คนโง่ ของตนไว้ตลอด “ทุกส่ิงทุกอย่างท่ีเกิดข้ึน เพราะความฉลาดมักลงเอยด้วย ความร่มเย็น เปนสุขและความพอใจของทุกฝาย” ในทางตรงกนั ข้าม “ทุกส่งิ ทกุ อยา่ งท่เี กดิ ข้นึ เพราะความโง่ ยอ่ มจบลงดว้ ย ความผิดหวัง เสียใจและความล�าบากเดือดร้อนเสมอ” ลักษณะของคนฉลาด น้นั พอมขี อ้ สงั เกตไดด้ ังน้ี:- ๑. ไมม่ ักมากเหน็ แกต่ ัวจนคนอื่นขาดความเคารพนับถอื ๒. แม้ด�ารงอยู่ในต�าแหน่งใหญ่โต ก็ไม่นิยมใช้แต่พระเดช จนเปนเหตุให้คนอ่ืน เห็นวา่ “คน ๆ นมี้ ันบา้ อา� นาจ” ๓. ไมใ่ ชแ้ ต่พระคุณอย่างเดียว จนดคู ลา้ ยกับคนออ่ นแอไม่เอาไหน ๔. ไมส่ รา้ งปมปญ หายงุ่ ยากซบั ซอ้ นขน้ึ มาผกู มดั ตน จนทา� ใหล้ า่ ชา้ เสยี การเสยี งาน ๕. ไม่ละเมิดศลี ธรรม ประเพณี กฎหมายของบา้ นเมอื ง จนผ้อู นื่ สิ้นศรัทธา ๖. เสียสละมากรับน้อย แม้ตนจะต้องอดอยากล�าบากเดือดร้อน แต่ญาติมิตร บริวาร มกี นิ มีใช้ กส็ บายใจ ๗. ไมถ่ อื สากับคา� พูดจว้ งจาบ หยาบคาย จากคนอ่นื 91

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ๘. ไม่ผูกขาดการสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์สาธารณกุศลเพื่อท้ังฝายตน และฝายผู้อื่น แต่สนับสนุนส่งเสริมการสร้างสรรค์สาธารณกุศลและ สาธารณประโยชนแ์ กท่ ั้งฝายตนและฝา ยผอู้ ่ืนโดยไม่รังเกียจ ๙. ไม่สอดรู้สอดเห็นในทุกรูปทุกเรื่องอย่างหยุมหยิมตลอดเวลา จนคนอ่ืน ๆ ลงความเหน็ วา่ “คน ๆ นเี้ ปน ตวั มหาภยั หรอื เปน ตวั อนั ตรายทไ่ี วว้ างใจอะไรไมไ่ ด”้ การด้ินรนต่อสู้กับอุปสรรคอันตราย และอาชีพการงานเพ่ือความอยู่รอด ข้อน้ี เป็นธรรมดาของมนษุ ย์ ซ่ึง คนฉลาด ต่อสู้ด้ินรนเพ่ือ ความวฒั นาถาวร ความเจริญรงุ่ เรอื ง ของสงั คม สว่ น คนโง่ ดนิ้ รนตอ่ สเู้ พอื่ ความหายนะของสงั คม คนโง่ อจิ ฉารษิ ยาคนอน่ื เพราะกลวั คนอนื่ จะไดด้ มี คี วามสขุ คนฉลาด อยใู่ นศลี สตั ย์ มเี มตตาตอ่ คนอน่ื และสตั วอ์ นื่ เพราะกลวั คนอนื่ และสัตว์อื่นจะเดือดร้อน ส่วน คนโง่ เป็นทกุ ขใ์ จ เพราะกลัวความเหนด็ เหนือ่ ย ความลา� บาก อนั เกดิ จากการท�างาน คนฉลาด เปน็ ทกุ ข์ใจ เพราะกลวั จะไม่มงี านทา� คนโง่ กับ คนฉลาด ถึงจะเสมอกันโดยยศต�าแหน่งหน้าท่ีการงาน แต่ก็ต่างกันโดยความเส่ือมและความเจริญ ในหน้าที่การงาน ขอ้ คิดสา� หรบั ทา่ นสาธชุ นในข้อนี้ ก็คอื เม่ือพบ คนโง่ กบั คนฉลาด ท่ีมียศ ต�าแหน่งเสมอกัน ก็จงคบกับ คนฉลาด น้ันเถิด แล้วชีวิตของท่านจะพ้นจากความหายนะ แน่นอน “คนโง่ ถงึ ขน้ั สดุ ยอดนน้ั ทา่ นสาธชุ น อาจมที างสงั เกตไดด้ งั น้ี ลทั ธริ ะดบั สดุ ยอดของ คนโง่ ก็คือ ลัทธิเส้ียมสอนให้คนเนรคุณ ความรู้ระดับสุดยอดของ คนโง่ ก็คือ ความรู้ ท่สี รา้ งพษิ ภัยตอ่ สงั คม การหลอกระดบั สุดยอดของ คนโง่ ก็คือ การหลอกตัวเอง มายา ระดับสุดยอดของ คนโง่ ก็คือ มายามุ่งปดความช่ัวของตนเอง ความหลงระดับสุดยอด ของ คนโง่ กค็ อื ความหลงตนเอง ยอดเกง่ ของ คนโง่ ก็คือ เกง่ ในทางพูดทบั ถมคนอนื่ ยอดชว่ั ของ คนโง่ กค็ อื การเหน็ ตนเองเปน คนดี เหน็ คนอนื่ ชวั่ ทง้ั หมด และเหน็ พวกของตนเอง เปน คนดี เหน็ พวกของคนอนื่ ชวั่ ทงั้ หมด ยอดถอ่ ยของ คนโง่ กค็ อื การสอนญาตมิ ติ ร ศษิ ย์ บริวารผู้อยูใ่ ต้บัญชา ให้เกลียดชังคนอ่ืนแลว้ โน้มนา้ วจติ ใจให้เขาเหล่านน้ั หนั มารกั ตน” ขอ้ สงั เกตอกี ประการหนงึ่ กค็ อื “คนโง่ ทร่ี ตู้ วั วา่ ตนเองโงน่ นั้ ยอ่ มไมใ่ ช่ คนโง่ แต่ คนโง่ ทไี่ มร่ ู้ ตัวเองว่า โง่ เปน อนั ตรายอยา่ งใหญ่หลวงตอ่ สังคม” ดังน้ัน “การคบหาสมาคมกบั คนโง่ ที่รู้ตวั เองดกี วา่ อยกู่ บั คนโง่ ท่ไี ม่รู้ตวั เอง หรอื อย่คู นเดียวดีกวา่ อยูก่ ับ คนโง่” คนโง่ มกั จะยดึ ถอื อะไรผดิ ๆ อนั ไมเ่ ปน็ ผลดตี อ่ ตนเองและผอู้ น่ื ซงึ่ สรา้ งความเดอื ดรอ้ น แก่ตนเองและคนอื่นตลอดเวลา ดังน้ัน อ�านาจท่ีอยู่ในมือของ คนโง่ น้ัน ย่อมแปรเปลี่ยน 92

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ไปตามจริตของเขา ดังนั้น คนโง่ ท่ีชอบโกหกหลอกลวง อ�านาจท่ีอยู่ในมือของเขาก็โกหก หลอกลวงไปตาม, คนโง่ ท่ีมีความอ่อนแอ อ�านาจที่อยู่ในมือของเขาก็อ่อนแอตาม, คนโง่ ทเ่ี กยี จครา้ น อา� นาจทอี่ ยใู่ นมอื ของเขากเ็ กยี จครา้ นตาม, คนโง่ ทชี่ อบทา� เหลาะแหละเหลวไหล อา� นาจทอ่ี ยใู่ นมอื ของเขากเ็ หลาะแหละเหลวไหลตาม, คนโง่ ทอ่ี คตอิ ยตุ ธิ รรม อา� นาจทอ่ี ยใู่ นมอื ของเขาก็อคติ อยุติธรรมตาม. ส�าหรับ คนฉลาด เมื่อมีอ�านาจ ย่อมแสดงอ�านาจของตนให้เป็นประโยชน์ ตอ่ เพื่อนมนษุ ย์ เชน่ คนฉลาด เปน็ คนมสี ตปิ ญั ญา อา� นาจทแ่ี สดงออกก็เปน็ ไปตามสติปัญญา ของเขา, คนฉลาด มีเมตตากรุณา อ�านาจที่อยู่ในมือของเขาก็เป็นไปตามเมตตากรุณา ของเขา, คนฉลาด ทม่ี นี ิสยั หนกั แนน่ มัน่ คง อ�านาจทแ่ี สดงออกกเ็ ปน็ ไปตามความหนกั แน่น มน่ั คงของเขา, คนฉลาด ทมี่ นี สิ ยั เขม้ แขง็ จรงิ จงั อา� นาจทแี่ สดงออกกเ็ ปน็ ไปตามความเขม้ แขง็ จริงจังของเขา, คนฉลาด ท่ีมีนิสัยซื่อตรงคงเส้นคงวา อ�านาจที่แสดงออกก็เป็นไปตาม ความซ่ือตรงคงเส้นคงวาของเขา คนโง่ เม่อื ประกอบการงานอะไรตา่ ง ๆ เปน็ เหตใุ ห้เกิดความผดิ พลาดล้มเหลวแลว้ มักโทษเทวดาฟาดิน สิ่งโน้นสิ่งนี้ว่า ไม่เข้าข้างตน หรือไม่ช่วยเหลือตน การงานของตน จงึ ตอ้ งประสบกบั ความพบิ ตั ลิ ม้ เหลวอยา่ งแกไ้ ขไมไ่ ด้ และ คนโง่ กไ็ มค่ ดิ แกไ้ ขปรบั ปรงุ งานของตน ด้วยตนเอง เพราะคิดว่า ความเส่ือม ความเจรญิ เกดิ ขึ้นไดจ้ ากปัจจัยภายนอก ส่วน คนฉลาด เมอ่ื ประกอบการงานอะไรสกั อยา่ ง เกดิ การผดิ พลาดล้มเหลว มักต�าหนติ นเองโทษตนเองว่า เราเผอเรอท�าไม่ดีเอง การงานจึงพบความพิบัติเสียหาย แล้วน�าความผิดพลาดมาเพ่ือพินิจ พเิ คราะหป์ รบั ปรงุ แกไ้ ขการงานตา่ ง ๆ ใหพ้ น้ จากความหายนะโดยลา� ดบั คนฉลาด พลาดแลว้ หาโอกาสกลบั ตวั ได้ ส่วน คนโง่ พลาดแล้วหาโอกาสกลับตวั ยาก ดังน้นั “การใช้ คนฉลาด ท�าการงาน จงึ ดกี ว่าการใช้ คนโง่ ใหท้ �าการงาน” การละเมดิ กฎหมายขอ้ บงั คบั การละเมดิ แบบแผนประเพณี การละเมดิ กตกิ าสญั ญา ต่าง ๆ การขัดขวางการท�าประโยชนข์ องคนอน่ื สงิ่ ชั่วเหล่านี้ เปน็ ปกติวิสยั ของ คนโง่ และ คนโง่ ถือว่า การกระทา� ในสงิ่ เหล่าน้ีได้ ลว้ นเปน็ ผลงาน อันแสดงถึงความสามารถ เกง่ กลา้ ของตน คนโง่ ส่วนใหญ่ จงึ มนี ิสยั ชอบความช่ัว กลัวความดี คนโง่ น้นั กระหายในเร่อื งการ ทะเลาะววิ าท ยุแหย่ ใหค้ นแตกแยกสามคั คีกันมาก ๆ เพื่อตนจะไดต้ กั ตวง เก็บเกี่ยวเอาผล ประโยชนจ์ ากการทะเลาะววิ าท แตกแยก ของคนอน่ื นน้ั โดยสะดวก และยงั เปน็ การสรา้ งเสรมิ ฐานอา� นาจอทิ ธิพลของตนใหม้ ัน่ คงด้วย 93

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓ ดังน้นั “เมอ่ื ความสามคั คีเกดิ ขึ้นทไ่ี หน กจ็ ะมีการแตกแยกสามคั คีขึ้นท่นี นั้ เมอ่ื มี การบ�าเพญ็ ประโยชน์ขน้ึ ทไี่ หน ก็จะมคี นทา� ลายประโยชน์ขึ้นทนี่ ัน้ ” ท่านสาธชุ นทัง้ หลาย ควรปลงเสยี วา่ “ไมม่ คี นโง่ คนฉลาดกไ็ มเ่ ดน่ ไมม่ ขี องใหม่ ของเกา่ กไ็ มเ่ ดน่ ไมม่ คี วามชว่ั ความดี กไ็ ม่เดน่ ไมม่ ีคนขี้ขลาด คนกลา้ ก็ไมเ่ ดน่ ไม่มอี ปุ สรรคอนั ตรายขดั ขวาง ขนั ติกไ็ มเ่ ดน่ ” คนโง่ ถูกจูงใจให้เกิดความลุ่มหลงเพลิดเพลิน ในกามารมณ์ ในอบายมุข เป็นการ น�าตวั เองให้เปน็ เหยือ่ ของมาร ทหี่ ลอกให้ คนโง่ ติดกับ แลว้ มารกบ็ ังคบั ให้ คนโง่ เหล่าน้นั ทา� ลายลา้ งความดที กุ อยา่ ง เพราะมารไมต่ อ้ งการความดี แตต่ อ้ งการความชว่ั มารจงึ สนบั สนนุ ให้โลกนีม้ ี คนโง่ มาก ๆ ความโง่ จึงเป็นอาวธุ ท่ีมารตอ้ งการ ถ้าไม่มคี วามโง่ มารก็ท�าหนา้ ท่ี ของตนไมไ่ ด้ โทษและพษิ ภยั ของคนโงผ่ ตู้ กอยใู่ ตอ้ ทิ ธพิ ลของมารนนั้ พอประมวลมาแสดง ไดด้ งั น้ี ๑. ความโง่ สรา้ งความปนปว นข้นึ ในใจ ๒. ความโง่ ปดบงั ปญญาท�าใหเ้ ห็นถกู เปนผิด เหน็ ชัว่ เปนดี ๓. ความโง่ ทา� ใหค้ นคดิ ส้ัน คิดตืน้ คิดคับแคบ คิดมักงา่ ย ๔. ความโง่ ท�าให้ใจมืดมัว ลุ่มหลง ไรส้ า� นกึ ขาดการยับย้งั หนั เหพลุกพลา่ น ๕. ความโง่ ท�าลายสตสิ ัมปชัญญะ ทา� ใหก้ ารท�า การพดู การคดิ วปิ รติ ความโง่ นบั วา่ เปน บรวิ ารของพญามาร แตม่ ารไมอ่ าจลา้ งหวั สมองของ คนฉลาด ได้ ลา้ งไดแ้ ตห่ ัวสมองของ คนโง่ เท่านนั้ ดังนั้น มาร จึงต้องการให้โลกน้มี ีแต่ คนโง่ ไม่ตอ้ งการ ใหม้ ี คนฉลาด ตามทกี่ ลา่ วแลว้ มารอาจเบยี ดเบยี นไดท้ งั้ คนโง่ และ คนฉลาด กจ็ รงิ แต่ คนโง่ เดือดรอ้ นมากกวา่ คนฉลาด เดอื ดรอ้ นเพียงเลก็ นอ้ ย หรืออาจไมเ่ ดอื ดร้อนเลย เพราะ คนฉลาด ย่อมเข้าใจท่าทีและทิศทางของมารได้ดี คนโง่ ถึงจะตลบตะแลงเก่งร้อยเหลี่ยมพันคม กแ็ พ้กเิ ลสมาร คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหา ราคะ อุปาทาน ในใจ ของตน และ คนโง่ ก็ไมค่ ิดจะเอาชนะคะคานกับพญามารพวกน้ี เพราะตนได้ตกเปน็ บรวิ าร ของพญามารเสียแล้ว จึงถอนตัวจากแรงถ่วงของมารไม่ข้ึน ต้องก้มหน้าก้มตาท�าในส่ิงท่ี มารตอ้ งการให้ท�าตอ่ ไป คนโง่ ถงึ จะมคี วามฉลาดอยู่แตก่ เ็ ปน็ ความฉลาดผสมโง่ หรอื จะเรยี กวา่ ฉลาดครง่ึ โงค่ รง่ึ คอื ฉลาดทจ่ี ะยกั ยอก หลอกลวง คดโกง เอาเปรียบ พอ่ แม่ พนี่ ้อง ญาติสนิท มติ รสหายและ ครบู าอาจารย์ ผมู้ ีพระคณุ แกต่ น ซึ่งท่านเหลา่ นน้ั ไม่ตอ้ งการมีเรื่องกบั ตนอยแู่ ล้ว ไม่ถอื สา กับตนอย่แู ลว้ หรอื ฉลาดทจ่ี ะทรยศต่อประเทศชาติ ศาสนา เพือ่ ให้ได้มาซึ่งทรพั ย์สินเงนิ ทอง 94


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook