GREEN BOOK Antituberculous drugs
AntitGuRbEeErcNuBloOuOsKdrugs ท่ีปรึกษา กาญจนพมิ าย อธิบดกี รมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายสุขมุ บญั ญัติ รองอธิบดกี รมวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์ นายพิเชฐ จงึ สมาน รองอธบิ ดีกรมวทิ ยาศาสตร์การแพทย์ นายสมฤกษ ์ เศวตศลิ า ผอู้ ำ� นวยการส�ำนักยาและวตั ถเุ สพติด นางสาวสุรชั นี ผ้จู ัดท�ำ นายสมศกั ดิ ์ สนุ ทรพาณชิ ย์ นางสาวจนั ทนา พฒั นเภสัช นางสาวโสมขจ ี หงษท์ อง นางสาวมาศวลยั ลิขติ ธนเศรษฐ์ เจา้ ของ ส�ำนกั ยาและวัตถเุ สพตดิ กรมวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบรุ ี เว็บไซต์ https://bdn.go.th โทร. 0 2951 0000 ต่อ 99137, 98459 โทรสาร 0 2580 5733 พิมพท์ ี่ โรงพมิ พ์ บรษิ ทั โอ-วทิ ย์ (ประเทศไทย) จำ� กัด จ�ำนวน 3,000 เล่ม ปีท่ีพมิ พ์ พ.ศ. 2561 ISBN : 978-616-11-3578-2
คำ� นิยม วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขส�ำคัญของประเทศไทย โดยองค์การ อนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรค รุนแรงระดับโลก คาดว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ๑๒๐,๐๐๐ รายต่อปี ในจ�ำนวนนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิต ๑๒,๐๐๐ ราย อีกทั้งยังมีปัญหาวัณโรคดื้อยา หลายขนาน สหประชาชาติและองค์การอนามยั โลกได้ก�ำหนดใหก้ ารควบคุม และป้องกันวัณโรคเป็นเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมถึงกำ� หนดยทุ ธศาสตรย์ ตุ ิวณั โรค (End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอัตราป่วยวัณโรครายใหมใ่ ห้ตำ�่ กว่า ๑๐ ตอ่ ประชากรแสนคนในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดท�า GREEN BOOK ฉบับยารักษาวัณโรค ซ่ึงได้รวบรวมรายช่ือยาท่ีใช้ในการ รักษาวัณโรคและผู้ผลิตที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจากโครงการประกัน คณุ ภาพยา สา� หรับใชป้ ระกอบการคัดเลอื กผลติ ภัณฑ์ยาของหน่วยงานดา้ น สาธารณสขุ เพอื่ สนบั สนุนการดูแลรักษาและควบคมุ วัณโรคในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับชาติด้าน การตอ่ ต้านวัณโรค พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ผมขอแสดงความช่นื ชมกรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย ์ ท่เี ล็งเห็นความ ส�าคัญของคุณภาพยารักษาวัณโรคที่ใช้ในประเทศ โดยได้จัดท�า GREEN BOOK ฉบับยารักษาวณั โรคฉบบั นี้ ซึ่งช่วยสนับสนุนใหป้ ระเทศไทยมคี วาม มั่นคงด้านยา ประชาชนเข้าถงึ ยาท่มี คี ุณภาพอย่างทวั่ ถึง และรฐั สามารถดูแล ดา้ นสุขภาพแก่ประชาชนไดอ้ ย่างยง่ั ยืนตามแนวปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง นายปยิ ะสกล สกลสตั ยาทร รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงสาธารณสุข III
คำ� น�ำ วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรังท่ีมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชากร ก่อให้เกิดการสูญเสียผลิตภาพ และเศรษฐกิจ แม้จะมีการให้วัคซีนบีซีจีป้องกันการติดเช้ือวัณโรคมานาน แต่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่ส�ำคัญของประเทศก�ำลังพัฒนา เนื่องจากการควบคุมรักษาและป้องกัน ยังไม่เข้มงวดและครอบคลุมเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์การอนามัย โลกจึงกำ� หนดยุทธศาสตร์ยตุ วิ ณั โรคภายในปี พ.ศ. 2578 วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขส�ำคัญของประเทศไทย โดย องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหา วัณโรครุนแรงระดับโลก กระทรวงสาธารณสุขจึงผลักดันให้การยุติปัญหา วณั โรคเป็นวาระแหง่ ชาติ ซึง่ จำ� เป็นตอ้ งอาศยั การมีส่วนร่วมจากทุกภาคสว่ น ในการด�ำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยสามารถควบคุมและลดอุบัติการณ์ วัณโรคได้ตามเป้าหมาย กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งก�ำหนดโครงการท่ีส�ำคัญหลาย โครงการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นห้อง ปฏิบัติการระดับชาติ มีบทบาทในการตรวจวิเคราะห์ยาเพื่อเฝ้าระวัง คุณภาพและคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้ “โครงการประกันคุณภาพยา” ซ่ึงด�ำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลผล การวิเคราะห์ได้สรุปภาพรวมเป็นฐานข้อมูลคุณภาพยาระดับประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ยาและผู้ผลิตที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกในแต่ละปี จะน�ำไป จดั ท�ำหนังสือ GREEN BOOK ซ่ึงปจั จบุ นั มที งั้ สิน้ 13 เล่ม IV
เน่ืองในโอกาสพิเศษ เพ่ือเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงรวบรวม รายช่ือยารักษาวัณโรค (อ้างอิงตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560) จาก GREEN BOOK ท้ัง 13 เล่ม รวมถึงผลการตรวจสอบคุณภาพยาในปี พ.ศ. 2560 เพื่อจัดท�ำ GREEN BOOK ฉบับยารักษาวัณโรคข้ึน ท้ังน้ี เพ่ือเป็นการอ�ำนวยความสะดวกต่อบุคลากรทางการแพทย์ในการสืบค้น ข้อมูล โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่าน้ีจะเป็นประโยชน์ต่อการคัดเลือก ผลิตภัณฑ์ยาของหน่วยบริการด้านสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการดูแลรักษา และควบคุมวัณโรคในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการส่งเสริม ผู้ผลิตให้ผลิตยาท่ีมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล เพื่อสนองพระราชจริยวัตร และสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านงานสาธารณสุข สืบไป นายสขุ มุ กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์ V
กิตติกรรมประกาศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอขอบคุณบุคลากรของโรงพยาบาล ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลอดจนบุคลากรของส�ำนักยาและ วัตถุเสพติด และศนู ยว์ ิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ใหค้ วามรว่ มมอื ในการด�ำเนิน โครงการประกันคุณภาพยาตลอดมา จนส�ำเร็จลุล่วงด้วยดีเป็นหนังสือ GREEN BOOK ฉบับยารักษาวัณโรค VI
สารบัญ หน้า III คำ� นยิ ม IV ค�ำน�ำ VI กติ ตกิ รรมประกาศ IX การจดั ทำ� GREEN BOOK : Antituberculous drugs XI หลกั เกณฑก์ ารคัดเลอื กยาเผยแพรใ่ น GREEN BOOK 1 รายช่ือผลติ ภัณฑ์ยาคณุ ภาพและผผู้ ลิต 2 Amikacin sulfate sterile solution 3 Cycloserine capsules 4 Ethambutol hydrochloride tablets 5 Ethionamide tablets 6 Isoniazid tablets 7 Levofloxacin sterile solution 8 Levofloxacin tablets 9 Ofloxacin tablets 12 Pyrazinamide tablets 13 Rifampicin capsules/tablets 14 Rifampicin + Isoniazid capsules/tablets 15 Rifampicin + Isoniazid + Pyrazinamide tablets 16 Rifampicin + Isoniazid + Pyrazinamide + 17 Ethambutol hydrochloride tablets Streptomycin sulfate sterile powder VII
สารบัญ หนา้ 20 ภาคผนวก 25 - หวั ขอ้ ทดสอบผลิตภณั ฑย์ า 33 - Q & A โครงการประกนั คณุ ภาพยาและ GREEN BOOK - รายช่อื ผู้รับผดิ ชอบโครงการประกันคณุ ภาพยา กรมวทิ ยาศาสตร์การแพทย์ VIII
การจดั ท�ำ GREEN BOOK : Antituberculous drugs หนังสือ GREEN BOOK : Antituberculous drugs ฉบับน้ี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รวบรวมรายช่ือผลิตภัณฑ์ยาท่ีใช้ในการรักษา วัณโรค (อ้างอิงบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560) และผู้ผลิตในหนังสือ GREEN BOOK ท้ัง 13 เล่มทีต่ พี มิ พ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 รวมถงึ ผลการตรวจ สอบคุณภาพยาจากโครงการประกันคุณภาพยาในปี พ.ศ. 2560 เพ่ือให้ หนว่ ยงานสาธารณสุขสามารถสืบคน้ ข้อมลู คุณภาพยาประกอบการพจิ ารณา คัดเลือกผลิตภัณฑ์ยาได้อย่างสะดวก ซ่ึงข้อมูลรายชื่อผู้ผลิตบางรายอาจ ไม่ตรงกับ GREEN BOOK เล่มที่เคยเผยแพร่ เน่ืองจากปัจจุบันอาจมีการ เปลี่ยนแปลงรายช่ือผู้ผลิตหรือมีการแก้ไขทะเบียนยา ส�ำหรับรายช่ือ ผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิตที่เคยเผยแพร่ใน GREEN BOOK ฉบับก่อน หน้าน้ี แต่ปัจจุบันยกเลิกทะเบียนยาแล้ว จะแสดง “*” ที่ทะเบียนยา (รายชื่อผู้ผลิตและทะเบียนยาท่ีถูกยกเลิก ข้อมูลจากส�ำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา ณ วนั ท่ี 31 ธนั วาคม 2560) โครงการประกันคุณภาพยา (หรือชื่อเดิมโครงการสร้างหลักประกัน คุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา) เป็นการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ผลิตภัณฑ์ยาที่มีใช้ในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ด�ำเนินการโดยกรม วิทยาศาสตรก์ ารแพทย์ มีขน้ั ตอนด�ำเนนิ งาน ดังนี้ 1. ก�ำหนดรายการผลิตภัณฑ์ยาที่จะตรวจวิเคราะห์ในโครงการแต่ละปี (เกณฑ์การคัดเลือกผลติ ภณั ฑ์ยามรี ายละเอียดใน “Q & A โครงการประกัน คุณภาพยาและ GREEN BOOK”) 2. สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาลภาครัฐ ทั้งในและ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ผ่านระบบโปรแกรม Single Window ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ท่ีเว็บไซต์ www.tumdee.org/ alert 3. ด�ำเนินการตรวจวิเคราะห์บนมาตรฐานเดียวกันทุกแหล่งผลิต เพ่ือเปรียบเทียบคุณภาพในหัวข้อที่เท่าเทียมกันได้ (pharmaceutical equivalence) โดยห้องปฏิบัติการของส�ำนักยาและวัตถุเสพติด และ IX
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อ้างอิงวิธีวิเคราะห์ตามต�ำรายาแผนปัจจุบัน The United States Pharmacopeia : USP หรือ British Pharmacopoeia : BP หรืออา้ งอิงตามทะเบยี นยากรณที ไี่ ม่มวี ิธีวเิ คราะห์ระบุในตำ� รายา 4. รายงานสรุปผลการตรวจทุกหัวข้อวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์ยา ทุกรายการทง้ั ทีเ่ ขา้ และผิดมาตรฐานให้โรงพยาบาลรฐั ท่ัวประเทศสำ� นักงาน สาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานสาธารณสุขที่เก่ียวข้องทราบทางเว็บไซต์ www.tumdee.org/alert โดยรายช่ือผลิตภัณฑ์ยาท่ีผิดมาตรฐาน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้ส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาเพ่ือด�ำเนินการตรวจสอบตามระบบประกัน คุณภาพยาของประเทศต่อไป 5. พิจารณารายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิตท่ีผ่านเกณฑ์การ คัดเลอื ก เผยแพร่ในหนงั สือ GREEN BOOK ส�ำนกั ยาและวตั ถเุ สพติดได้จดั ทำ� “Q & A โครงการประกันคณุ ภาพ ยาและ GREEN BOOK” ในภาคผนวกเพ่ือตอบข้อสงสัยของโรงพยาบาล และผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในการดำ� เนินโครงการประกันคุณภาพยา GREEN BOOK ทุกเล่ม สามารถดาวนโ์ หลดไดท้ ่เี วบ็ ไซตส์ ำ� นักยาและ วัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (https://bdn.go.th) หรือท่ี www.tumdee.org/alert/ นอกจากน้ี กรมวิทยาศาสตรก์ ารแพทยไ์ ดจ้ ัดท�ำ mobile application ชอื่ “GREEN BOOK DMSC” เพอ่ื ช่วยใหก้ ารสบื คน้ ข้อมูลใน GREEN BOOK สะดวกมากข้ึน สามารถใช้งานได้จากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เคล่ือนท่ี เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ทั้งระบบ android และ iOS กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ หากมีข้อสงสัยหรือพบข้อผิดพลาดในหนังสือ GREEN BOOK ฉบับนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ท่ี สำ� นักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ X
หลกั เกณฑก์ ารคดั เลือกยาเผยแพร่ใน GREEN BOOK ส�ำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกรายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ ผลติ มาเผยแพรใ่ น GREEN BOOK คือ 1. ยาชีววัตถุ (Biopharmaceutical products) และยาก�ำพร้า (Orphan drugs) (อา้ งองิ จาก ประกาศส�ำนกั งานคณะกรรมการอาหารและ ยา เรอ่ื ง บัญชีรายการยากำ� พร้า พ.ศ. 2559) ผลติ ภัณฑย์ านั้นได้รับการตรวจวิเคราะหต์ งั้ แต่ 1 ร่นุ ผลติ ขน้ึ ไปตอ่ ทะเบียนยา และเข้ามาตรฐานท้ังหมด จะได้รับคัดเลือกเผยแพร่ใน GREEN BOOK 2. ยาต้นแบบและยาสามัญ ผลติ ภัณฑ์ยานนั้ ไดร้ ับการตรวจวิเคราะหต์ ัง้ แต่ 3 รุน่ ผลติ ขึน้ ไปต่อ ทะเบียนยา และเข้ามาตรฐานทั้งหมด จะได้รับคัดเลือกเผยแพร่ใน GREEN BOOK กรณผี ลติ ภณั ฑย์ าที่ไม่ได้รบั การเผยแพรร่ ายช่ือใน GREEN BOOK อาจเน่ืองจาก Ø ผลิตภัณฑ์ยานั้นได้รับการตรวจวิเคราะห์ 3 รุ่นผลิตหรือ มากกว่าในแตล่ ะทะเบยี นยา แต่มตี วั อยา่ งบางรนุ่ ผลติ ผดิ มาตรฐาน Ø ผลิตภัณฑ์ยาเข้ามาตรฐานทุกตัวอย่าง แต่ได้รับตัวอย่างตรวจ วิเคราะห์ไมค่ รบ 3 รนุ่ ผลติ ในแตล่ ะทะเบยี นยา Ø ผลิตภัณฑ์ยานั้นไม่ถูกส่งตรวจ ซึ่งเป็นข้อจ�ำกัดในการด�ำเนิน โครงการประกันคุณภาพยา คือไม่ได้รับผลิตภัณฑ์ยาครอบคลุมทุกทะเบียน ที่มีใช้ภายในประเทศ เน่ืองจากผลิตภัณฑ์ยาของผู้ผลิตนั้นไม่มีใช้ ในโรงพยาบาลในช่วงท่ีสุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์จาก โรงพยาบาลทุกแห่ง เน่ืองจากการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีตามความสมัครใจของ โรงพยาบาลในการให้ขอ้ มูลและส่งตวั อยา่ ง XI
ดังนั้นการที่ผลิตภัณฑ์ยาใดไม่มีระบุใน GREEN BOOK มิใช่ หมายรวมว่าผลิตภัณฑ์ยาน้ันไม่มีคุณภาพ แต่เนื่องจากการจัดท�ำ GREEN BOOK มีข้อจ�ำกดั ดงั กลา่ ว ผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้รับคัดเลือกมาเผยแพร่ใน GREEN BOOK กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดท�ำข้อมูลผลวิเคราะห์ทุกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ยาท้ังท่ีเข้าและผิดมาตรฐาน เผยแพร่ให้โรงพยาบาลรัฐท่ัวประเทศและ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทราบทาง Single Window เว็บไซต์ www.tumdee.org/alert ข้อมูลคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาที่เผยแพร่ ท้ังที่เข้าหรือผิดมาตรฐาน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับรองเฉพาะตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาที่ตรวจ วิเคราะห์คุณภาพเท่านั้น ไม่ได้รับรองครอบคลุมตัวอย่างที่ไม่ได้ผ่านการ ตรวจสอบ แม้จะระบุว่าเป็นรุ่นผลิตเดียวกัน และมิใช่การรับรองคุณภาพ อย่างถาวร เน่ืองจากบางผลิตภัณฑ์ยาท่ีเคยเข้ามาตรฐานอาจมีคุณภาพท่ี ไม่สม่�ำเสมอในแต่ละรุ่นผลิต หรือผลิตภัณฑ์ยาที่เคยพบปัญหาคุณภาพ อาจมีการพัฒนาคุณภาพให้เข้ามาตรฐานแล้ว อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างยาท่ีมี การสุ่มตรวจตามระบบคุณภาพ จะเป็นตัวแทนที่สะท้อนถึงความสม่�ำเสมอ ในการผลิตได้ในระดับหนึ่ง หากผู้ผลิตมีกระบวนการผลิตที่ดี ซ่ึงรวมถึงการ คัดเลือกวัตถุดิบ สูตรต�ำรับ และบรรจุภัณฑ์ ก็สามารถคงคุณภาพไว้ได้ จงึ ตอ้ งมีการทบทวนและเฝา้ ระวงั คุณภาพผลติ ภณั ฑย์ าเป็นระยะอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง XII
GAnRtitEubEeNrculBouOs dOruKgs รายชือ่ ผลติ ภัณฑ์ยาคณุ ภาพและผู้ผลติ
ยารกั ษาวณั โรค Amikacin sulfate sterile solution รายชือ่ ผู้ผลิต ทะเบียนยา ช่อื การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK 1C 370/48* AMIKIN เล่มที่ Bristol-Myers Squibb Australia Pty Ltd. 5 (Commonwealth of Australia) 1A 352/44 AMIKACIN 5 องคก์ ารเภสชั กรรม SULFATE INJECTION (500 MG/2ML) 2
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Cycloserine capsules รายช่ือผผู้ ลิต ทะเบยี นยา ชอ่ื การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เล่มที่ Hawon Pharmaceutical 1C 386/49 HAWON 2018 Corporation CYCLOSERINE CAP (Democratic People’s Republic of Korea) Thai Meiji 1A 307/46 CYCLOSERINE 11, Pharmaceutical Co., Ltd. CAPSULES MEIJI 2018 3
ยารกั ษาวัณโรค Ethambutol hydrochloride tablets รายชื่อผ้ผู ลิต ทะเบียนยา ช่อื การค้า GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK Atlantic Laboratories 1A 30/26 เลม่ ที่ Corp., Ltd. 1A 1651/28 LAMBUTOL LAMBUTOL 500 3 General Drugs House 1A 661/27 MG 12 Co., Ltd. TOBUTOL Olic (Thailand) Ltd. 1A 1215/41* TABLETS 3 SERVAMBUTOL T.O. Pharma Co., Ltd. 1A 487/38* 400 3 องคก์ ารเภสัชกรรม 1A 318/45 TIBITAB 400 ETHAMBUTOL 3 TABLETS 400 MG 3, 12 4
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Ethionamide tablets รายชื่อผู้ผลิต ทะเบยี นยา ชอ่ื การค้า GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK Medopharm 1C 76/44* เลม่ ที่ (Republic of India) ETHIONAMIDE 1A 122/45 TABLETS U.S.P. 5 Umeda Co., Ltd. (250 MG) 5 ETON-250 5
ยารกั ษาวัณโรค Isoniazid tablets รายชือ่ ผู้ผลิต ทะเบยี นยา ชอื่ การค้า GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK Inpac Pharma Co., Ltd. 1A 1440/28 เล่มที่ Patar Lab Ltd., Part. 1A 595/29* ISONIAZID 100 MG 1 องค์การเภสชั กรรม 1A 133/43 ISONIAZID 1 TABLETS ISONIAZID 1, 2017 TABLETS (100 MG) 6
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Levofloxacin sterile solution รายชอื่ ผู้ผลติ ทะเบียนยา ชื่อการค้า GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เลม่ ท่ี Siam Bheasach Co., Ltd. 1A 8/46(NG) LEFLOXIN IV INFUSION 11 7
ยารักษาวณั โรค Levofloxacin tablets รายชื่อผผู้ ลติ ทะเบยี นยา ชอื่ การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK Interthai Pharmaceutical 1A 1/49(N) CRAVIT TAB 250 เล่มที่ Manufacturing Co., Ltd. 1A 2/45(N) CRAVIT TAB 500 2017 10, Siam Bheasach Co., Ltd. 1A 2/48(NG) LEFLOXIN 500 MG 2017 TABLET 10, Community Pharmacy 1A 18/56(NG) VEFLOX 2017 Public Co., Ltd. 2017 องคก์ ารเภสัชกรรม 1A 32/57(NG) LEVOFLOX GPO (500 MG) 10, 2017 8
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Ofloxacin tablets รายชอ่ื ผผู้ ลิต ทะเบยี นยา ชือ่ การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เล่มท่ี Bangkok Lab & Cosmetic 1A 825/41 OFLOCEE 6, 11 Co., Ltd. OFLOCEE 200 6, 11 1A 706/43 OFLOBAC MIFLOXIN 100 MG 6 Chinta Trading Co., Ltd. 1A 906/41 TABLET 6, 11 TARIVID TAB 200 Community Pharmacy 1A 1194/43 TARIVID TAB 300 6 Public Co., Ltd. OFLA 6 6 Greater Pharma 1A 301/46 Manufacturing Co., Ltd. 1A 319/43 Khandelwal Laboratories 1C 208/49 Pvt. Ltd. (Republic of India) L.B.S. Laboratory Ltd., Part. 1A 445/40 OFLOXA 6 OFLOXTIN 6 Lerd Singh 1A 490/50 TABLETS Pharmaceutical Factory OFLOXTIN-200 6 Ltd., Part. TABLETS 1A 488/50 OFLOMAC-200 6 Macleods 1C 78/51 SERACIN 6 Pharmaceuticals Ltd. SERACIN-200 6 (Republic of India) 1A 388/39* Masa Lab Co., Ltd. 1A 730/42* 9
ยารกั ษาวัณโรค รายชื่อผผู้ ลิต ทะเบียนยา ชอื่ การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เล่มท่ี Millimed Co., Ltd. 1A 309/45 FLOXY 3, 6 FLOXY-200 6, 11 1A 26/47 OFACIN 200 6 Nakorn Patana Pharm 1A 512/40* Co., Ltd. New Life Pharma Co., 1A 180/42 OFLOXAN 6 Ltd. Pharmasant Laboratories 1A 1100/40 ORIVID 6 Co., Ltd. Pond’s Chemical 1A 294/38 HYFLOX 6, 11 (Thailand) R.O.P. 1A 754/42 OFLOMET 11 OFLOX RX 6 R.X. Manufacturing Co., 1A 492/48 Ltd. Ranbaxy Laboratories 1C 159/43* OCCIDAL 3 Ltd. (Republic of India) TABLETS 100 MG OCCIDAL 200 6 1C 340/40* OFLOXVID 6 Seven Stars 1A 155/49 Pharmaceutical Co., Ltd. Siam Bheasach Co., Ltd. 1A 23/36 OFLOXIN 3, 6, 11 F.C.TABLET 100 MG 1A 340/42 OFLOXIN (200 MG 6 F.C. TABLET) 10
GREEN BOOK | Anti-TB drugs รายชอ่ื ผู้ผลติ ทะเบยี นยา ช่อื การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เลม่ ท่ี Stada-Vietnam Joint 1C 304/49* OFLOXACIN Venture Co., Ltd. STADA 200 MG 6 (Socialist Republic of Vietnam) KONOVID 6 KONOVID 200 6, 11 T.O. Pharma Co., Ltd. 1A 329/38 OFLO 200 6 1A 337/38 VIOTISONE 3 Unique Pharmaceutical 1C 215/48* Laboratories Ltd. (Republic of India) Unison Laboratories Co., 1A 193/42* Ltd. 11
ยารกั ษาวณั โรค Pyrazinamide tablets รายชื่อผู้ผลติ ทะเบียนยา ช่ือการคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เล่มท่ี Atlantic Laboratories 1A 188/27 PYRAZINAMIDE Corp., Ltd. 0.5 G 1 Olic (Thailand) Ltd. 1A 1186/41* PZA องค์การเภสชั กรรม 1A 317/45 PYRAZINAMIDE 1 TABLETS 1, 12 12
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Rifampicin capsules/tablets รายชอ่ื ผผู้ ลิต ทะเบียนยา ชือ่ การค้า GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เลม่ ท่ี Modern Manu Co., Ltd. 1A 1735/28 RIPIN Olic (Thailand) Ltd. 1A 1196/41* RIMACTANE 450 5 1A 1197/41* RIMACTANE 600 5 Pond’s Chemical 1A 296/26 RIFAMCIN-300 5 (Thailand) R.O.P. 5 Siam Bheasach Co., Ltd. 1A 1949/30* 1A 1950/30* RIFAM 5 1A 801/30 RIFAM 5 RIFAM CAPSULE 1, 5, องค์การเภสชั กรรม - 300 MG 2018 - RIFAMPICIN 5 RIFAMPICIN 300 1 - MG CAPSULE RIFAMPICIN 400 1 1A 222/54 MG CAPSULE RIFAMPICIN 2018 1A 247/53 CAPSULES RIFAMPICIN 2018 CAPSULES 450 mg 13
ยารักษาวณั โรค Rifampicin + Isoniazid capsules/tablets รายชือ่ ผผู้ ลติ ทะเบยี นยา ช่อื การคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK RIMACTAZID เลม่ ท่ี Novartis (Bangladesh) 2C 32/45* 150/75 Ltd. (People’s Republic 5 of Bangladesh) 2A 983/27 RIFINAH 150 Olic (Thailand) Ltd. 2A 909/28 RIFINAH 300 5 5, 2018 14
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Rifampicin + Isoniazid + Pyrazinamide tablets รายชื่อผ้ผู ลติ ทะเบยี นยา ชื่อการคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK Olic (Thailand) Ltd. เล่มท่ี 2A 194/34 RIFATER 5 15
ยารักษาวณั โรค Rifampicin + Isoniazid + Pyrazinamide + Ethambutol hydrochloride tablets รายชื่อผผู้ ลิต ทะเบียนยา ชื่อการค้า GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK RIFAFOUR E-275 เลม่ ท่ี Winthrop 2C 9/47 Pharmaceuticals (Pty) 2C 31/45* RIMSTAR 4-FDC 5 Ltd. (Republic of South Africa) 5 Novartis (Bangladesh) Ltd. (People’s Republic of Bangladesh) 16
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Streptomycin sulfate sterile powder รายชอ่ื ผู้ผลิต ทะเบยี นยา ช่ือการคา้ GREEN Manufacturer Reg. No. Trade Name BOOK เล่มท่ี General Drugs House 1A 1601/29 STREPTO 4, 10 Co., Ltd. M & H Manufacturing 1A 888/28 STREPTOMYCIN 4 Co., Ltd. SULFATE 17
GREEN BOOK | Anti-TB drugs ภาคผนวก 19
ยารักษาวัณโรค หัวขอ้ ทดสอบผลิตภณั ฑย์ า ผลิตภัณฑ์ยาแต่ละรูปแบบ หรือรูปแบบยาเดียวกันแต่ตัวยาส�ำคัญ ตา่ งกนั มหี ัวขอ้ การควบคุมคุณภาพ (requirements) แตกตา่ งกนั อยา่ งไร ก็ตามหัวข้อควบคุมคุณภาพหลักที่ใช้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยาทุกรูปแบบยา คอื ลักษณะภายนอก การตรวจเอกลกั ษณ์ของตวั ยา และการหาปริมาณตวั ยาส�ำคัญ ส�ำหรับเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปของแต่ละหัวข้อท่ีตรวจสอบ มีราย ละเอียดดังตอ่ ไปน้ี (ยกเว้นจะก�ำหนดเปน็ อย่างอน่ื เฉพาะบางผลติ ภัณฑ์) 1. ลกั ษณะภายนอก (Appearance) ยาเม็ดมีลักษณะไม่กร่อนแตกหักหรือเคลือบเม็ดยาหลุด สีสม่�ำเสมอ แคปซูลผิวต้องเรียบ ผงยาไม่ชื้น ยาน�้ำหรือยาฉีดต้องไม่ตกตะกอน หรือ ร่ัวซึม ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ยาน�้ำแขวนตะกอนต้องเป็นเน้ือเดียวกันหลังการ เขย่า เป็นตน้ 2. การตรวจเอกลกั ษณ์ (Identification) เป็นการตรวจพิสูจน์สารว่าตรงกับที่แจ้งไว้บนฉลากหรือไม่ โดยการ เปรียบเทยี บสารตวั อยา่ งกบั สารมาตรฐานโดยเทคนคิ infrared spectroscopy, chromatography หรือวธิ ีอืน่ ๆ ตามที่ระบไุ ว้ 3. ปริมาณตัวยาส�ำคัญ (Assay หรือ Content of active ingredient(s)) เปน็ การตรวจหาปริมาณตวั ยาสำ� คญั ตามท่ีระบใุ นฉลาก โดยสว่ นใหญ่ ก�ำหนดมาตรฐานเป็น 90.0-110.0% ของปริมาณท่ีแจ้ง บางตัวยาที่มีดัชนี การรักษาแคบ จะก�ำหนดเป็น 95.0-105.0% ของปริมาณทีแ่ จ้ง และตัวยาที่ ไม่คงสภาพ อาจก�ำหนดแตกต่างออกไปเป็น 90.0-115.0% หรือ 95.0- 110.0% ของปรมิ าณท่ีแจง้ บนฉลาก เป็นต้น 20
GREEN BOOK | Anti-TB drugs 4. ความสม่�ำเสมอของตัวยาในแต่ละหน่วย (Uniformity of dosage units, USP หรือ Uniformity of mass, BP) การทดสอบมี 2 แบบ ขนึ้ กบั ปริมาณตวั ยาในแต่ละหนว่ ยและรูปแบบยา คือ แบบท่ี 1 ความแตกต่างจากน�้ำหนักเฉลี่ย (weight variation หรือ uniformity of weight) หรือแบบที่ 2 ความสม่�ำเสมอของตัวยาในแต่ละ หนว่ ย (content uniformity หรือ uniformity of content) โดยต�ำรายา ฉบับ USP 29 เป็นตน้ ไป มกี ารเปลีย่ นแปลงเกณฑ์มาตรฐานและการคำ� นวณ เปน็ ค่า acceptance value £ 15.0% (จากเดมิ ท่กี �ำหนดเปน็ ชว่ งของน้ำ� หนักหรือช่วงของปริมาณตัวยาส�ำคัญและค่า relative standard deviation (% RSD) เป็นตน้ ) 5. การกระจายตวั (Disintegration) การทดสอบการแตกตัวของยาเม็ดหรือแคปซูล ในสภาวะและเวลาที่ ก�ำหนด ซึ่งไม่ได้แสดงถึงการละลายของเม็ดยาหรือตัวยาส�ำคัญ ปัจจุบันวิธี ทดสอบการแตกกระจายของเม็ดยาของ USP และ BP ได้ถูกปรับให้เป็น แนวทางเดยี วกัน โดยประกอบดว้ ย 2 ข้นั ตอน ข้ันตอนท่ี 1 ใช้ตัวยาจำ� นวน 6 เม็ด ข้นั ตอนท่ี 2 ใชต้ วั ยา 12 เมด็ รวม 18 เม็ด กรณีท่ีข้ันตอนที่ 1 มเี ม็ดยา หรือแคปซูลแตกตวั ไม่หมด 1-2 เม็ด ให้ทดสอบขน้ั ตอนที่ 2 ใช้ตวั ยา 12 เมด็ จะสรปุ วา่ ยาเขา้ มาตรฐานเมอื่ ยา 16 ใน 18 เมด็ แตกตัวหมด 6. การละลายของตัวยา (Dissolution) การทดสอบการละลายของตัวยา เพ่ือจ�ำแนกคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเป็นข้อบ่งช้ีท่ีดีกว่าการกระจายตัว (disintegration) ในแง่ของการเอื้อ ประโยชน์ของยา เปน็ การทดสอบ in vitro ซง่ึ จะแสดงความแตกตา่ งระหว่าง ผลิตภัณฑ์ยาของแต่ละบริษัท นอกจากน้ียังแสดงความแตกต่างของต�ำรับ ปัจจัยท่ีมีผลต่อต�ำรับ และพารามิเตอร์อ่ืน ๆ ในกระบวนการผลิต ซ่ึงการ ทดสอบการละลายของตัวยานี้ อาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการทดสอบ in vivo (bioavailability) 21
ยารกั ษาวัณโรค ถ้า in vitro dissolution สัมพันธ์กับ in vivo (bioavailability) การทำ� dissolution profile จะสามารถบ่งบอกถงึ การเออื้ ประโยชนข์ องยา ในร่างกาย ซึ่งหมายถึง อัตราเร็วและปริมาณตัวยาส�ำคัญที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ กระแสเลือด และมผี ลหรอื เอ้ือประโยชน์ได้ ณ จดุ ออกฤทธ์ิ ถา้ in vitro dissolution ไม่สัมพันธก์ บั in vivo (bioavailability) การท�ำ dissolution จะถือเป็น physical test คือ เป็นการตรวจสอบ ลักษณะของผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาการละลายของตัวยาภายใต้สภาวะ ที่กำ� หนด ซ่งึ ไม่สามารถบง่ บอกถงึ bioavailability ปัจจุบันการทดสอบการละลายของตัวยาใน USP และ BP (เฉพาะบาง monograph) ได้ถูกปรับให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยการทดสอบประกอบ ด้วย 3 ขั้นตอน ขนั้ ตอนท่ี 1 ทดสอบจำ� นวน 6 หน่วย ข้นั ตอนท่ี 2 ทดสอบ เพ่ิมอกี 6 หน่วย และข้ันตอนที่ 3 ทดสอบเพ่มิ อกี จำ� นวน 12 หน่วย รวมเปน็ 24 หน่วย การสรุปผลการทดสอบจะดำ� เนนิ การตามเกณฑ์ทีก่ �ำหนด 7. Related substances/Related compounds/Chromato- graphic purity/ Impurities เป็นการตรวจหาสารสลายตัวหรือสารปนเปื้อนอ่ืน ๆ ที่ไม่ใช่ตัวยา สำ� คัญในต�ำรับ อาจเปน็ สารซงึ่ เกดิ ขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ตวั ยาส�ำคญั หรือเป็นสารสลายตัวของตัวยาส�ำคัญ หรือเป็นสารสกัดร่วม (co-extracted) ที่ได้จากการสกัดตัวยาจากสมุนไพร ส่วนใหญ่ใช้วิธี chromatography ในการตรวจวิเคราะห์ 8. Bacterial endotoxins test เปน็ การทดสอบหาปริมาณสาร endotoxin ท่ีปนเปือ้ นในยาฉดี โดย อาศัยหลกั การท�ำปฏกิ ริ ิยาระหวา่ งสารสกัดจากเลอื ดแมงดาทะเล (Limulus Amoebocyte Lysate) กบั ปริมาณสาร bacterial endotoxin ในตวั อยา่ ง 22
GREEN BOOK | Anti-TB drugs โดยดูการเกิดวุ้นเมื่อครบเวลาที่ก�ำหนด (gel-clot method) หรือการวัด ความขุ่นท่ีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาของการท�ำปฏิกิริยา (turbidi- metric method) แล้วเปรียบเทียบความขุ่นกับเส้นกราฟของสารเอ็นโด ทอกซนิ มาตรฐาน (standard endotoxins) เพ่อื หาปริมาณของสารเอ็นโด ทอกซินในตัวอย่าง ซ่ึงปริมาณสาร bacterial endotoxin แปรผกผันกับ เวลาที่ใชใ้ นการท�ำปฏิกิริยา 9. ความปราศจากเชอื้ (Sterility test) เป็นการตรวจสอบความปราศจากเช้ือของผลิตภัณฑ์ปราศจากเช้ือ เชน่ ยาฉีด ยาหยอดตา ส�ำหรบั ผลิตภณั ฑป์ ราศจากเชื้อทเี่ ป็นสารละลายหรอื สามารถเตรียมเป็นสารละลายได้ ด�ำเนินการทดสอบโดยวิธีการกรอง ผลิตภัณฑ์ปราศจากเช้ือผ่านกระดาษกรองท่ีมีรูพรุนน้อยกวา่ 0.45 ไมครอน จากนนั้ จึงน�ำกระดาษกรองใสล่ งในอาหารเลี้ยงเช้อื ส่วนผลติ ภัณฑ์ปราศจาก เช้ือท่ีเป็นสารแขวนตะกอน ด�ำเนินการทดสอบโดยน�ำผลิตภัณฑ์ปราศจาก เช้ือใส่ลงในอาหารเล้ียงเช้ือโดยตรง จากน้ันบ่มหลอดอาหารเล้ียงเชื้อและ สงั เกตการเจริญของเชอ้ื จุลินทรีย์เปน็ เวลา 14 วนั ผลการทดสอบตอ้ งไม่พบ การเจรญิ ของเชือ้ จุลินทรีย์ 10. ปรมิ าณน้�ำ (Water) เป็นการหาปริมาณนำ้� หรอื ความช้ืนในตวั อยา่ ง โดยวธิ ี Karl Fischer 11. น�้ำหนักที่หายไปหลังอบแหง้ (Loss on drying) เปน็ การหาปรมิ าณน�ำ้ และสารทส่ี ามารถระเหยได้ โดยหาออกมาเป็น เปอร์เซน็ ต์น�้ำหนกั ทีห่ ายไปภายหลงั อบแห้งภายใตส้ ภาวะอุณหภมู ิ ความดัน และเวลาทก่ี �ำหนด 23
ยารกั ษาวณั โรค 12. ความเปน็ กรด–ดา่ ง (pH) เป็นการวัดค่าความเป็นกรด–ด่าง ของตัวอย่างท่ีอยู่ในรูปแบบ ของเหลว เช่น ยาฉดี ยาน้�ำ ยานำ�้ แขวนตะกอน ยาหยอดตา ฯลฯ ความเป็น กรด-ด่างมีผลต่อความคงสภาพของยาในภาชนะบรรจุ การวัดความเป็น กรด-ด่างของยาท�ำได้โดยใช้ pH meter ซึ่งท�ำงานโดยใช้หลักการวัด ความต่างศักย์ไฟฟ้าท่ีเกิดขึ้นระหว่างแท่งอิเล็กโทรด 2 แท่ง (glass electrode และ reference electrode) ท่ีจ่มุ ในสารละลายของตัวอย่างยา แล้วเปล่ยี นค่าความตา่ งศกั ย์ไฟฟ้าเปน็ คา่ pH 13. Particulate matter เป็นการตรวจวัดปริมาณอนุภาคชนิด subvisible ในยาฉีด (injection, parenteral infusion) ด้วยวิธี light obscuration particle count test โดยมีเกณฑม์ าตรฐานดังน้ี กรณีที่ 1 ปรมิ าตรบรรจุต่อภาชนะ นอ้ ยกว่าหรอื เทา่ กับ 100 มิลลิลติ ร ขนาดอนุภาค จำ�นวนอนภุ าค 10 µm หรือมากกว่า ไมเ่ กิน 6000 อนุภาคตอ่ ภาชนะบรรจุ 25 µm หรือมากกว่า ไมเ่ กิน 600 อนุภาคตอ่ ภาชนะบรรจุ กรณีที่ 2 ปรมิ าตรบรรจตุ อ่ ภาชนะ มากกวา่ 100 มิลลลิ ติ ร ขนาดอนุภาค จำ�นวนอนภุ าค 10 µm หรอื มากกวา่ ไมเ่ กิน 25 อนุภาคตอ่ มิลลลิ ิตร 25 µm หรอื มากกวา่ ไมเ่ กนิ 3 อนุภาคตอ่ มิลลิลิตร 24
GREEN BOOK | Anti-TB drugs Q & A โครงการประกนั คณุ ภาพยาและ GREEN BOOK 01 กรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย์มแี นวทาง การประกนั คุณภาพยาอย่างไร ตอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ด�ำเนินโครงการประกันคุณภาพยาต่อ เน่ืองทุกปีจนถึงปัจจุบัน โดยสุ่มตัวอย่างยาจากโรงพยาบาลรัฐ ทว่ั ประเทศมาตรวจสอบคณุ ภาพ เกณฑก์ ารสมุ่ ตัวอยา่ งคือ สมุ่ ตวั อย่าง 3 รุ่น ผลติ (Lot. No.) โดยไม่ซ้ำ� รนุ่ ผลิตในแต่ละทะเบียนยาให้ครอบคลมุ ทุกผู้ผลิต ท่ีได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาล โดยใช้วิธีวิเคราะห์และมาตรฐาน ตามต�ำรายาสากลฉบับปัจจุบัน ในทุกตัวอย่างไม่ว่ามาจากแหล่งผลิตใด เพ่ือเปรียบเทียบคุณภาพในหัวข้อท่ีเท่าเทียมกัน บนมาตรฐานเดียวกัน ทุกแหล่งผลิต และเพ่ือเฝ้าระวังคุณภาพยาท่มี ใี ชใ้ นประเทศวา่ หากใช้วธิ ีและ มาตรฐานท่ที ันสมยั ดงั กล่าว ผลติ ภัณฑย์ ามีปญั หาใดบ้าง เพ่อื ใหผ้ ูเ้ กีย่ วข้องได้ รับทราบข้อมูลและนำ� ไปพฒั นาคุณภาพยาตามมาตรฐานสากล 02 รายการยาทตี่ รวจวิเคราะหใ์ นโครงการประกันคณุ ภาพยา มีเกณฑ์การคัดเลอื กอย่างไร ตอบ : ผลิตภัณฑ์ยาที่ตรวจวิเคราะห์มีทั้งผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันและยา จากสมุนไพร โดยมีเกณฑก์ ารคัดเลอื กดงั นี้ - ยาในบัญชยี าหลักแห่งชาติ - รายการยาในแผนยทุ ธศาสตรข์ องกระทรวงสาธารณสุข - รายการยาช่วยชีวิตหรือยาที่มดี ชั นกี ารรกั ษาแคบ 25
ยารกั ษาวณั โรค - รายการยาทม่ี มี ูลค่าหรือปรมิ าณการใชส้ งู - รายการยาท่ีพบปญั หาคุณภาพยาหรอื มาตรฐานในต�ำรายา มีการเปล่ยี นแปลง - รายการยาท่โี รงพยาบาลสงสัยคณุ ภาพยา 03 เหตใุ ดไม่รบั ตรวจวิเคราะหร์ ายการยาที่จดั ซอ้ื รว่ ม ตอบ : รายการยาในโครงการแตล่ ะปี สว่ นใหญ่เป็นรายการยาท่ีคัดเลือกจาก รายการยาที่โรงพยาบาลสงสัยคุณภาพและเสนอมาเพื่อตรวจวิเคราะห์ ซึ่ง ส่วนหน่ึงเป็นรายการยาท่ีมีการจัดซื้อร่วม โรงพยาบาลจึงสามารถน�ำข้อมูล ผลวิเคราะห์ดังกล่าวมาใชพ้ จิ ารณาคดั เลอื กยาได้ 04 รายการยาทีเ่ คยลงใน GREEN BOOK ฉบับก่อน เหตุใด วิเคราะห์ซ้�ำกับท่ีเคยวเิ คราะห์แล้ว ตอบ : รายการยาในโครงการแต่ละปี ส่วนหน่ึงเป็นรายการยาท่ีพบปัญหา คุณภาพ จึงด�ำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพรายการยาซ้�ำกับที่เคยตรวจ วิเคราะห์ในโครงการฯ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะยาที่เคยพบว่าผิดมาตรฐาน ผู้ ผลิตอาจมีการปรับปรุงคุณภาพจนเข้ามาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ซ้�ำ หรือผู้ผลิตที่เคยเข้ามาตรฐานแต่พบความไม่สม่�ำเสมอในการผลิตและผิด มาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ซ้�ำ ดังน้ัน จึงมีการเฝ้าระวังและทบทวน คุณภาพผลติ ภณั ฑ์ยาเปน็ ระยะ ๆ 26
GREEN BOOK | Anti-TB drugs 05 ยาที่โรงพยาบาลผลิต สามารถสง่ ตรวจวเิ คราะห์ ทีห่ น่วยงานใดบ้าง ตอบ : ยาทโ่ี รงพยาบาลผลิต สามารถติดต่อขอสง่ ตวั อยา่ งตรวจวิเคราะห์ไดท้ ่ี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานท่ีผ่านการรับรอง ความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุข/คุ้มครองผู้บริโภค (ISO/IEC 17025:2005) สามารถดูรายชื่อหน่วยงานที่ได้รับการรับรองได้ท่ี เว็บไซต์ของส�ำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 06 เหตใุ ดไมม่ ีหนงั สือราชการแจ้งโรงพยาบาล เรอื่ งการส่งตัวอยา่ ง ตอบ : กรมวทิ ยาศาสตร์การแพทยม์ นี โยบายลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และ ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรในการด�ำเนินงาน จึงพัฒนาโปรแกรม Sin- gle Window สำ� หรับการส่มุ ตวั อยา่ งผลติ ภณั ฑ์ยาจากโรงพยาบาล และเปน็ ฐานข้อมูลคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา ซ่ึงสามารถลดระยะเวลาและลดการใช้ กระดาษได้เป็นจ�ำนวนมาก ดังน้ัน โรงพยาบาลจึงส่งข้อมูลยาเพื่อจองส่งตัว อย่างและติดตามการประกาศผลผู้ผลิต/ผู้แทนจ�ำหน่าย และรุ่นผลิตท่ีถูกสุ่ม ตัวอย่างเพียงช่องทางเดียว คือ โปรแกรม Single Window ของกรม วทิ ยาศาสตร์การแพทย์ ท่ีเวบ็ ไซต์ www.tumdee.org/alert 07 เหตุใดจงึ ใชต้ ัวอย่างยาจ�ำนวนมากในการส่งตรวจวเิ คราะห์ ตอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุจ�ำนวนตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาท่ี ส่งตรวจในโครงการ เพ่ือให้สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ครบทุกหัวข้อตามที่ ก�ำหนด หากก�ำหนดปริมาณตัวอย่างน้อยอาจไม่เพียงพอส�ำหรับการตรวจ วิเคราะห์ และตวั อยา่ งยาทส่ี ่งตรวจน้ันต้องเปน็ รนุ่ ผลติ เดียวกนั 27
ยารกั ษาวัณโรค 08 โรงพยาบาลจะไดร้ บั การชดเชยยากรณีใดบา้ ง ตอบ : ส�ำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ท�ำความ ตกลงกับสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical Research and Manufacturers Association : PReMA) สมาคมไทยอตุ สาหกรรมผลติ ยาแผนปัจจุบัน (Thai Pharmaceutical Manufacturers Association : TPMA) และองค์การเภสัชกรรม เพื่อขอความร่วมมือชดเชยยาคืนให้แก่โรง พยาบาลทส่ี ่งตัวอยา่ งยาตรวจวิเคราะหใ์ นโครงการประกนั คุณภาพยา ซึง่ ทาง ผู้ผลิต/ผู้น�ำเข้าตอบรับและยินดีให้ความร่วมมือ แต่อย่างไรก็ตามความร่วม มอื ดงั กล่าวไมค่ รอบคลุมผ้ผู ลิต/ผู้นำ� เข้าทั้งหมดท่ีถกู สมุ่ ยาตรวจวเิ คราะห์ของ โครงการฯ เนื่องจากมีผู้ผลิต/ผู้น�ำเข้ายาแผนปัจจุบันจ�ำนวนหน่ึงท่ีไม่ได้เป็น สมาชิกของสมาคม รวมถึงผู้ผลิตยาจากสมุนไพรท่ีไม่ได้อยู่ในข้อตกลงความ ร่วมมือนี้ อย่างไรก็ตาม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พยายามให้โรง พยาบาลได้รับการชดเชยยาได้มากท่ีสุด โดยส่งหนังสือแจ้งถึงบริษัทผู้ผลิต/ ผู้น�ำเข้ายาแผนปัจจุบันทั้งหมดทุกแห่งที่มีโรงพยาบาลส่งตัวอย่างตรวจ วิเคราะห์คุณภาพในโครงการฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ด�ำเนินการชดเชยยา คืนแก่โรงพยาบาลด้วย สามารถดูรายชื่อบริษัทที่เป็นสมาชิกของแต่ละ สมาคมท่ีอยู่ในข้อตกลงความร่วมมือการชดเชยยาได้ทเ่ี ว็บไซตด์ ังนี้ - สมาคมผูว้ ิจัยและผลติ เภสัชภณั ฑ์ (PReMA) : www.prema.or.th - สมาคมไทยอตุ สาหกรรมผลติ ยาแผนปัจจุบัน (TPMA) : www.tpma.or.th/web/th 09 เหตุใดไมใ่ ช้วธิ ีวิเคราะหแ์ ละมาตรฐานตามทะเบยี นยา ตอบ : การด�ำเนนิ โครงการประกันคณุ ภาพยาส่มุ ตัวอยา่ งมาจากหลากหลาย ผู้ผลิต ซึ่งแต่ละทะเบียนยาที่อ้างอิงต�ำรายาต่างกัน จะมีหัวข้อการควบคุม คุณภาพท่ีแตกต่างกัน เพราะต�ำรายามีการปรับปรุงมาตรฐานทุกปี แต่ทะเบียนยาท่ีได้รับอนุมัติจากส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็น ทะเบียนยาท่ีมีอายุตลอดชีพ หากอ้างอิงมาตรฐานในทะเบียนยาของแต่ละราย จะไม่สามารถเปรียบเทียบคุณภาพในหัวข้อท่ีเท่าเทียมกันได้ (pharmaceutical 28
GREEN BOOK | Anti-TB drugs equivalence) และเป็นเหตุผลหนึง่ ทที่ �ำใหโ้ รงพยาบาลตอ้ งก�ำหนด specifi- cation ในการจัดซ้ือยาโดยอ้างอิงต�ำรายาฉบับที่รัฐมนตรีประกาศหรือฉบับ ปัจจบุ นั เพือ่ ให้ได้ยาทม่ี ีคุณภาพทันสมยั เช่นกนั นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ด�ำเนินการโดยใช้ระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025:2005 ซึ่งก�ำหนดให้ใช้วิธีวิเคราะห์ที่เป็นปัจจุบัน จึงไม่ สามารถใช้วิธีวเิ คราะหแ์ ละเกณฑ์มาตรฐานในทะเบียนยาเกา่ ได้ ดงั น้ัน จึงใช้ วิธีและมาตรฐานตามต�ำรายาฉบับที่รัฐมนตรีประกาศหรือฉบับปัจจุบัน ใน ทุกตัวอย่างไม่ว่ามาจากแหล่งผลิตใด บนมาตรฐานเดียวกันทุกแหล่งผลิต ยกเว้นกรณีรายการยานั้นไม่มีในต�ำรายา หรือผลิตภัณฑ์ยาออกฤทธิ์นาน (sustained/extended release) ต้องใช้วิธีที่ผู้ผลิตระบุไว้ เพราะเป็นการ ออกแบบการละลายของแต่ละผู้ผลิต หรือกรณีท่ีส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาส่งตรวจวเิ คราะหเ์ พื่อน�ำไปดำ� เนนิ การทางกฎหมาย จึงจะใชว้ ธิ ี วิเคราะหแ์ ละมาตรฐานตามที่ผู้ผลติ ระบไุ ว้ในทะเบียนยา หรอื วธิ ตี ามต�ำรายา ฉบับทีร่ ัฐมนตรีประกาศ (British Pharmacopoeia : BP 2011 หรือ The United States Pharmacopeia : USP 34/2011) 10 เหตใุ ดรายงานผลวิเคราะหจ์ ึงล่าช้า ต้องการทราบผลวเิ คราะห์ ท่รี วดเร็วโดยเฉพาะกรณีผิดมาตรฐาน เพอื่ สามารถคืนยาได้ทนั ที ตอบ : เนอ่ื งจากการด�ำเนนิ โครงการจะรอรบั ตวั อยา่ งยาของแตล่ ะรายการยา ท่สี มุ่ ท้งั หมดกอ่ น จึงตรวจวเิ คราะหใ์ นคราวเดียวกนั บนมาตรฐานเดียวกนั ทกุ แหล่งผลิต ผลวิเคราะห์ที่ผิดมาตรฐานจะใช้เวลาตรวจสอบซ้�ำอีกหลายขั้นตอน เพ่ือยืนยันผลตามระบบประกันคุณภาพของห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงสรุปผล ในภาพรวมทุกผลิตภัณฑ์ยาในโครงการ เพื่อน�ำข้อมูลไปใช้ในเชิงบูรณาการ หรือแก้ไขอย่างเปน็ รูปธรรม เชน่ ออกค�ำส่ังกระทรวงสาธารณสขุ การพัฒนา ปรับปรุงระบบข้ึนทะเบียนยาต่าง ๆ และผู้ผลิตต่ืนตัวเรื่องคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโครงการนี้จึงมิใช่การวิเคราะห์ยาทุกรุ่นผลิตเพ่ือเรียก คืนยา แตเ่ ป้าประสงคข์ องโครงการนีค้ อื ผลกระทบจากข้อมูลดา้ นคุณภาพยา ที่เผยแพร่ โรงพยาบาลจึงควรใช้ผลวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นข้อมูลเพ่ือพิจารณา จัดซอื้ ในคราวต่อไป หรือใช้วิธกี ารอ่นื ตามที่เห็นสมควร 29
ยารักษาวัณโรค 11 กรณยี าผิดมาตรฐาน ควรแจ้งผลวเิ คราะหใ์ หบ้ ริษัททราบก่อน เพ่ือใหโ้ อกาสผู้ผลิตหรอื ผนู้ ำ� เข้าไดพ้ ิสูจน์ก่อนดำ� เนินการ ทางกฎหมายได้หรือไม่ ตอบ : กรณีท่พี บยาผิดมาตรฐาน กรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย์จะรายงานผล วิเคราะห์ไปยังส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อพิจารณาด�ำเนิน การตรวจสอบตามระบบประกันคุณภาพยา โดยอาจสุ่มตัวอย่างจาก re- tained sample ของผู้ผลติ สง่ ใหส้ �ำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวทิ ยาศาสตร์ การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ยืนยันคุณภาพ ถ้ายังพบผิดมาตรฐานจึงมีการ ดำ� เนินการตามกฎหมาย 12 เหตุใด GREEN BOOK ไมร่ ะบหุ มายเลขโทรศพั ท์ รปู ภาพ ผลติ ภณั ฑย์ าและข้อมูลราคายา เพือ่ เปน็ ขอ้ มูลสำ� หรับการจัดซ้ือ ตอบ : ส�ำนกั ยาและวตั ถุเสพตดิ กรมวิทยาศาสตรก์ ารแพทย์ มีบทบาทหน้าที่ ในการประกันคุณภาพยาและส่ือสารข้อมูลคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาให้หน่วย งานทเ่ี กย่ี วขอ้ งทราบเพอ่ื น�ำไปใช้ประโยชนต์ อ่ ไป การระบขุ ้อมลู ดังกลา่ วตาม ทโ่ี รงพยาบาลเสนอมา อาจเป็นการส่งเสริมการขายให้กับผู้ผลิตบางรายได้ 13 ท�ำไม GREEN BOOK ไม่มีข้อมูลผลติ ภัณฑ์ยาท่ีผดิ มาตรฐาน ตอบ : ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 (และฉบบั แก้ไขเพม่ิ เตมิ ) ระบุวา่ กรณีที่ ตัวอย่างยาผิดมาตรฐาน ต้องมีการตรวจติดตามเพ่ือยืนยันผลดังกล่าวและ ผ่านกระบวนการทางกฎหมายสิ้นสุดแล้วโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยาเป็นผดู้ ำ� เนนิ การ จงึ จะสามารถเผยแพร่สสู่ าธารณะได้ อย่างไร ก็ตามในส่วนท่ีเข้ามาตรฐาน สามารถเผยแพร่ได้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 ซ่ึงกรมวทิ ยาศาสตร์การแพทยไ์ ดเ้ ผยแพรใ่ นรปู แบบ หนังสือ GREEN BOOK 30
GREEN BOOK | Anti-TB drugs 14 GREEN BOOK ไม่สามารถน�ำมาอา้ งอิงได้ เพราะไม่ครอบคลมุ ทกุ บรษิ ัท ตอบ : การด�ำเนินโครงการประกันคุณภาพยายังมีข้อจ�ำกัดของการสุ่ม ตัวอย่างยาได้ไมค่ รอบคลมุ ทุกผ้ผู ลิต คอื ผลิตภณั ฑย์ าของผู้ผลติ น้นั ไมม่ ีใชใ้ น โรงพยาบาลในช่วงเวลาที่สุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ยาจาก โรงพยาบาลทุกแห่ง เน่ืองจากขอความร่วมมือตามความสมัครใจของ โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศประมาณ 1,000 แห่ง แต่ได้รับความร่วมมือจาก โรงพยาบาลในการให้ข้อมูลและส่งผลิตภัณฑ์ยาตรวจวิเคราะห์ประมาณ 100 - 200 แห่ง ท้ังน้ีจึงขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการฯ สง่ ผลติ ภณั ฑ์ยาตรวจวิเคราะห์ ซึ่งกรมวทิ ยาศาสตร์การแพทย์ไดเ้ พม่ิ ชอ่ งทาง เพื่อเพิ่มโอกาสรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาให้ครอบคลุมมากข้ึน โดยเพ่ิมระยะ เวลาในการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยา และขอสุ่มตัวอย่างยาจากโรงพยาบาล รอบสอง รวมถึงประสานงานกับสมาคมไทยอตุ สาหกรรมผลิตยาแผนปัจจบุ นั (TPMA) และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เพ่ือขอข้อมูลการ กระจายยาไปยังแหล่งต่าง ๆ และขอสุ่มตัวอย่างยาเพิ่มเติม หรือจัดท�ำ โครงการร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อได้รับตัวอย่าง ยาครอบคลมุ มากขึ้น 15 ภาพรวมคณุ ภาพผลติ ภัณฑ์ยาในโครงการแต่ละปี เป็นอยา่ งไร? ตอบ : จากการตรวจสอบคุณภาพยาทีใ่ ช้ในโรงพยาบาลตามโครงการประกัน คุณภาพยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในแต่ละปี โดยใช้มาตรฐานตาม ตำ� รายาฉบบั ปจั จุบัน พบวา่ แนวโน้มตรวจพบยาผดิ มาตรฐานลดลง ดงั กราฟ ด้านล่าง โดยในปีงบประมาณ 2553 ตรวจพบยาผิดมาตรฐานร้อยละ 12.7 และในปงี บประมาณ 2559 ตรวจพบยาผิดมาตรฐานเพียงร้อยละ 0.8 ปัญหา ทพี่ บสว่ นใหญเ่ ป็นเรอื่ งความไมค่ งสภาพ และการละลายของตวั ยา ซ่ึงผู้ผลติ ควรนำ� ไปแกไ้ ขและพฒั นาสตู รตำ� รบั ให้มคี ณุ ภาพตอ่ ไป 31
ยารักษาวณั โรค ร้อยละการตรวจพบยาผดิ มาตรฐานในโครงการประกนั คณุ ภาพยา 32
GREEN BOOK | Anti-TB drugs รายชื่อผู้รบั ผดิ ชอบโครงการประกนั คณุ ภาพยา กรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย์ ณ ปงี บประมาณ 2560 ศูนย์วทิ ยาศาสตร์การแพทยท์ ่ ี : ผูอ้ �ำนวยการ วิทยนนั ทน์ 1 เชียงใหม่ : นายสังคม ปราสาททอง 1/1 เชยี งราย : นายวิชัย รตั นเดชานาคินทร์ 2 พิษณุโลก : วา่ ทรี่ ้อยตรีณัฐพชั ร์ วอ่ งวิไลรัตน์ 3 นครสวรรค์ : นางจนิ ตนา ชยั สมบรู ณ์พันธ์ 5 สมทุ รสงคราม : นางศริ วิ รรณ ทนันขตั ิ 6 ชลบรุ ี : นายอรญั ปราสาททอง 7 ขอนแก่น : นางเลขา บญุ ยรกั ษ์โยธนิ 8 อุดรธาน ี : นางสาวเกษร กิตริ ตั น์ตระการ 9 นครราชสมี า : นายบรรจง ฝอยหริ ญั 10 อุบลราชธานี : ดร.กมล อนลุ ักขณาปกรณ์ 11 สุราษฎร์ธาน ี : นางสาวกลั ยา สุพรรณ 11/1 ภูเก็ต : นางสาวอรทัย เสาวรญั 12 สงขลา : นางสาวธาริยา อปุ พงษ์ 12/1 ตรงั : นายบลั ลงั ก์ 33
ยารักษาวัณโรค คณะวิชาการโครงการประกันคณุ ภาพยา และการจดั ทำ� หนังสอื GREEN BOOK 1. นางสาวสุรัชนี เศวตศลิ า ผอู้ ำ� นวยการส�ำนกั ยาและวตั ถุเสพติด 2. นางสาวสุภาณี ดวงธีรปรชี า เภสชั กรเช่ยี วชาญ 3. นางขวัญฤดี ลม้ิ ทองเจริญ เภสัชกรชำ� นาญการพิเศษ 4. นายสมศกั ด์ิ สนุ ทรพาณิชย ์ เภสชั กรช�ำนาญการพเิ ศษ 5. นางวิภาพรรณ ไสยสมบัต ิ เภสัชกรช�ำนาญการพิเศษ 6. นางศศิดา อยู่สุข เภสัชกรช�ำนาญการพิเศษ 7. นางสาวจิรานชุ แจ่มทวีกุล เภสชั กรช�ำนาญการพเิ ศษ 8. นางปฏมิ า มณสี ถิตย์ เภสชั กรชำ� นาญการพเิ ศษ 9. นางสาวลัดดา พูลสวัสดิ์ เภสชั กรชำ� นาญการพเิ ศษ 10. นางสาวบุญฑริกา บญุ ญาภวิ ฒั น ์ เภสัชกรชำ� นาญการพิเศษ 11. นางณปภา สิรศิ ภุ กฤตกลุ เภสชั กรชำ� นาญการพิเศษ 12. นางสาวมาศวลัย ลขิ ิตธนเศรษฐ ์ เภสัชกรชำ� นาญการพิเศษ 13. นางสาวโสมขจ ี หงษ์ทอง เภสชั กรชำ� นาญการพิเศษ 14. นางปวณี า เจริญสทิ ธ์ ิ นกั วิทยาศาสตร์การแพทย์ช�ำนาญการพเิ ศษ 15. นางสาวจนั ทนา พฒั นเภสชั เภสชั กรชำ� นาญการ 34
Search
Read the Text Version
- 1 - 47
Pages: