Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2021-02-23 07:45:09

Description: วันมาฆบูชา

Search

Read the Text Version

1 วนั มาฆบชู า (บาล:ี มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) วนั มาฆบูชาเป็นวนั สำคญั ของชาวพุทธเถรวาทและวนั หยุดราชการในประเทศไทย\"มาฆบชู า\" ย่อมาจาก \"มาฆปูรณมี บูชา\" หมายถึง การบูชาในวนั เพญ็ กลางเดอื นมาฆะตามปฏทิ ินอินเดยี หรอื เดือน ๓ ตามปฏิทนิ จันทรคติของไทย (ตกชว่ งเดือน กมุ ภาพนั ธห์ รือมีนาคม) ถา้ ปใี ดเดือนอธกิ มาส คอื มีเดือน ๘ สองหน (ปีอธิกมาส) กเ็ ลอ่ื นไปทำในวันเพ็ญเดอื น ๓ หลัง (วันเพ็ญ เดือน ๔) เหมือนอย่างปนี ้ี๒๕๖๔ วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพทุ ธ เนื่องจากเหตุการณส์ ำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี กอ่ น คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาตโิ มกข์ทา่ มกลางท่ีประชุมมหาสงั ฆสันนบิ าตคร้ังใหญใ่ นพระพุทธศาสนา คัมภีร์ ปปัญจสทู นีระบวุ ่าครงั้ นั้นมีเหตุการณ์เกิดขนึ้ พร้อมกนั ๔ ประการ คือ พระภกิ ษุ ๑,๒๕๐รูป ไดม้ าประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุ วันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น \"เอหิภิกขุอุปสัมปทา\" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภกิ ษุทงั้ หมดน้ันล้วนเปน็ พระอรหันต์ผ้ทู รงอภิญญา ๖, และวันดังกลา่ วตรงกบั วันเพ็ญเดือน ๓ ดงั นั้น จึงเรียกวนั น้ีอกี อยา่ ง หนึง่ วา่ \"วันจาตุรงคสนั นบิ าต\" หรือ วนั ท่มี ีการประชุมพร้อมดว้ ยองค์ ๔ เดิมนั้นไม่มพี ธิ มี าฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลท่ี ๔) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน ๓ ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควร ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ต้ังแห่งความศรัทธาเล่ือมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระ

2 ราชกุศลมาฆบูชาขึ้น การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ และมีการ พระราชทานจดุ เทียนตามประทีปเป็นพทุ ธบชู าในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปท่ัว ราชอาณาจักร ปจั จบุ นั วนั มาฆบชู าไดร้ บั การประกาศใหเ้ ปน็ วันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนกิ ชนทง้ั พระบรมวงศานุ วงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีตา่ ง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทยี น เป็นต้น เพื่อบูชา รำลกึ ถึงพระรัตนตรัยและเหตกุ ารณ์สำคญั ดงั กลา่ วทีถ่ ือไดว้ ่า เป็นวันทีพ่ ระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลัก คำสอนอันเป็นหวั ใจของพระพทุ ธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชัว่ ท้ังปวง การบำเพ็ญความดีให้ถงึ พร้อม และการทำจิตของ ตนให้ผ่องใส เพื่อเปน็ หลักปฏบิ ตั ิของพุทธศาสนิกชนทัง้ มวล นอกจากน้ี ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ รฐั บาลไทยได้ประกาศให้วนั มาฆบูชาเปน็ \"วนั กตัญญูแห่งชาติ\" เนื่องจากในสังคมไทย ปัจจุบัน หญิงสาวมักเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อัน บรสิ ุทธิ)์ แทน เหตุการณ์สำคญั ทเี่ กดิ ในวนั มาฆบูชาตามพุทธประวัติ จาตุรงคสันนิบาต (อ่านว่า จาตุรงคะ-) แปลว่า การประชมุ พร้อมกนั แหง่ องคส์ ี่ จาตรุ งคสันนบิ าต หมายถึงเหตกุ ารณ์สำคญั ทเี่ กดิ ขึน้ พร้อมกนั ๔ อยา่ งในวนั เดียวกนั คอื เกิดในสมัยพุทธกาลในวัน ข้นึ ๑๕ คำ่ เดือน ๓ ตอนทพี่ ระพทุ ธเจ้าตรสั รู้ใหม่ ๆ ซ่งึ ต่อมาถอื กันว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกวา่ วันมาฆบูชา เหตุการณ์ ๔ อยา่ ง คือ พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้า พระพทุ ธเจ้าอยา่ งพรอ้ มเพรียงกนั โดยมิได้นดั หมาย พระสงฆท์ ั้งหมดล้วนเปน็ เอหภิ ิกขุที่พระพุทธเจา้ ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทง้ั สิน้ ซึง่ เรียกวา่ เอหิภิกขอุ ปุ สัมปทา พระสงฆ์ท้งั หมดลว้ นเป็นพระอรหนั ต์ คอื ผ้ไู ดอ้ ภิญญา ๖ ขอ้ วนั ทพี่ ระสงฆท์ ง้ั หมดมาชุมนุมกนั น้ตี รงกบั วนั เพ็ญเดอื นมาฆะ (วันขน้ึ ๑๕ คำ่ เดือน ๓) ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของ พระพทุ ธศาสนาอกี ดว้ ย คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถามหาปทานสูตร ระบุว่าหลังจากพระพุทธเจ้าเทศนา \"เวทนาปริคคหสูตร\" (หรือที ฆนขสตู ร) ณ ถำ้ สูกรขาตา เขาคิชฌกฎู จบแลว้ ทำใหพ้ ระสารบี ุตรได้บรรลอุ รหัตตผล จากนนั้ พระองค์ได้เสด็จทางอากาศไป

3 ปรากฏ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ แล้วทรงประกาศโอวาทปาตโิ มกข์แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป โดยจำนวนน้เี ปน็ บริวารของชฏลิ สามพี่น้อง ๑,๐๐๐ รูป และบริวารของพระอคั รสาวก ๒๕๐ รปู คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่า การประชุมสาวกครั้งนั้นประกอบด้วย \"องค์ประกอบอัศจรรย์ ๔ ประการ\" คือ วันดงั กล่าวตรงกับวันเพญ็ เดอื น ๓ พระภกิ ษทุ ัง้ ๑,๒๕๐ องค์นัน้ ไดม้ าประชมุ กนั โดยมไิ ด้นัดหมาย พระภกิ ษุเหล่านัน้ เป็นพระอรหนั ต์ทรงอภญิ ญา ๖ พระภกิ ษุเหลา่ นน้ั ไม่ได้ปลงผมด้วยมดี โกน เพราะพระพุทธเจ้าประทาน \"เอหภิ ิกขุอปุ สัมปทา\" ด้วยพระองค์เอง ดงั นน้ั จงึ มคี ำเรยี กวันน้ีอีกคำหนึง่ วา่ \"วนั จาตรุ งคสันนิบาต\" หรอื วนั ทม่ี กี ารประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตกุ ารณป์ ระจวบกับ ๔ อยา่ ง จงึ มีชอื่ เรียกอกี ชอ่ื หนงึ่ ว่า จาตุรงคสันนิบาต (มาจากศพั ทบ์ าลี จาตรุ +องฺค+สนฺ นปิ าต แปลวา่ การประชมุ อนั ประกอบด้วยองค์ประกอบทงั้ สี่ประการ) หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดอื น (๔๕ ปี ก่อน พทุ ธศกั ราช) มผี ูเ้ ขา้ ใจผดิ วา่ เหตุท่พี ระสาวกทง้ั ๑,๒๕๐รปู มาประชมุ พร้อมกันโดยมไิ ด้นัดหมายนัน้ เพราะวันเพ็ญเดือน ๓ ตาม คติพราหมณ์เปน็ วันพิธีมหาศิวาราตรีเพื่อบูชาพระศวิ ะ พระสาวกเหล่าน้ันซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มากอ่ นจึงได้เปลี่ยน จากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทนแต่ความคิดนี้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะพระศวิ ะเป็นเทพทช่ี าวฮินดูเรม่ิ บชู ากันในยคุ หลังพุทธกาล คือตง้ั แต่ พ.ศ. ๘๐๐ เปน็ ตน้ มา

4 ประทานโอวาทปาตโิ มกข์ พระพุทธเจ้าเมื่อทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็น โอกาสอันสมควรท่จี ะแสดง \"โอวาทปาตโิ มกข\"์ อันเปน็ หลักคำสอนสำคัญท่ีเป็นหวั ใจของพระพทุ ธศาสนาแกท่ ่ปี ระชุมพระสงฆ์ เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหนั ตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพทุ ธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เปน็ พระพทุ ธพจน์ ๓ คาถาก่งึ ท่ามกลางมหาสงั ฆสนั นบิ าตนน้ั มีใจความดงั นี้ พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกลา่ วถงึ พระนิพพาน วา่ เป็นจดุ มุ่งหมายหรอื อดุ มการณอ์ ันสูงสุดของบรรพชติ และพุทธ บริษทั อันมีลกั ษณะที่แตกตา่ งจากศาสนาอนื่ ดงั พระบาลวี ่า \"นพิ ฺพานํ ปรมํ วทนตฺ ิ พทุ ฺธา\" พระพทุ ธพจน์คาถาที่สองทรงกลา่ วถงึ \"วธิ กี ารอนั เปน็ หัวใจสำคัญเพือ่ เข้าถึงจดุ มุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธ บริษัททัง้ ปวงโดยย่อ\" คือ การไม่ทำความชวั่ ทง้ั ปวง การบำเพญ็ แต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเปน็ อิสระจากกิเลส ทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของ โอวาทปาฏิโมกขเ์ ท่านั้น ส่วนพระพทุ ธพจนค์ าถาสุดท้าย ทรงกลา่ วถึงหลักการปฏบิ ัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผพ่ ระศาสนา ๖ ประการ คือ การไม่กล่าวรา้ ยใคร, การไมท่ ำร้ายใคร , การมคี วามสำรวมในปาติโมกข์ทง้ั หลาย, การเป็นผรู้ ้จู ักประมาณในอาหาร ,การ รู้จักทีน่ ั่งนอนอันสงัด และบำเพ็ญเพียรในอธจิ ติ โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพทุ ธศาสนา เป็น \"ปาติโมกข์\" ที่พระพุทธองคท์ รงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ ๒๐ พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวนั เพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓) หลังจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ ประกอบดว้ ยองค์ ๔ เรียกวา่ จาตรุ งคสันนบิ าต ซึง่ มีเพียงครง้ั เดียวในพระศาสนาของพระพทุ ธเจา้ องคห์ นง่ึ ๆ โอวาทปาฏิโมกข์ นั้นถ้าเปรียบในสมัยนี้คงเปรียบได้กับการกำหนดพันธกิจขององค์กรต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการกำหนดพันธกิจให้กับ พระสงฆ์สาวกทั้งปวงหรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนาก็ได้ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง \"โอวาทปาติโมกข์\" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด ๒๐ พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ แสดง \"อาณาปาตโิ มกข\"์ แทน) สถานท่สี ำคัญเนื่องดว้ ยวนั มาฆบูชา (พทุ ธสังเวชนียสถาน) เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชา เกิดภายในบริเวณที่ตั้งของ \"กลุ่มพุทธสถานโบราณวัดเวฬุวันมหาวิหาร\" ภายในอาณาบรเิ วณของวัดเวฬุวนั มหาวิหาร ซึง่ ลานจาตรุ งคสันนิบาตอันเป็นจดุ ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวนั มาฆบูชานั้น ยังคง เปน็ ทถี่ กเถียงและหาขอ้ สรุปทางโบราณคดไี ม่ไดม้ าจนถงึ ปัจจุบัน

5 วัดเวฬวุ นั มหาวหิ าร \"วดั เวฬวุ นั มหาวิหาร\" เป็นอาราม (วัด) แหง่ แรกในพระพทุ ธศาสนา ตัง้ อยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนรมิ ฝัง่ แมน่ ้ำสรัสวดีซ่งึ มีตโปธาราม (บอ่ น้ำรอ้ นโบราณ) ค่นั อยรู่ ะหวา่ งกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเกา่ ราชคฤห์ (อดีตเมอื งหลวงของแควน้ มคธ) รัฐ พิหาร ประเทศอินเดียในปัจจบุ นั (หรอื แคว้นมคธในสมัยพทุ ธกาล) วัดเวฬวุ ันในสมัยพทุ ธกาล เดมิ วัดเวฬุวนั เป็นพระราชอทุ ยานสำหรบั เสด็จประพาสของพระเจา้ พมิ พิสาร เป็นสวนป่าไผร่ ่มรืน่ มรี ั้วรอบและกำแพงเขา้ ออก เวฬวุ นั มอี กี ชื่อหนงึ่ ปรากฏในพระสตู รว่า \"พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานหรอื \"เวฬวุ ัน กลนั ทกนวิ าป\" (สวนปา่ ไผ่สถานทส่ี ำหรับใหเ้ หยือ่ แกก่ ระแต) พระเจา้ พมิ พสิ ารได้ถวายพระราชอทุ ยานแหง่ น้เี ปน็ วดั ใน พระพทุ ธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปพุ พกิ ถาและจตุรารยิ สจั จณ์ พระราชอุทยานลัฏฐวิ ัน (พระราชอุทยาน สวนตาลหนุ่ม) โดยในครัง้ น้นั พระองคไ์ ด้บรรลุพระโสดาบนั เป็นพระอริยบคุ คลในพระพทุ ธศาสนา และหลงั จากการถวาย กลนั ทกนวิ าปสถานไม่นาน อารามแหง่ น้ีกไ็ ด้ใช้เป็นสถานท่ีสำหรับพระสงฆ์ประชมุ จาตุรงคสันนิบาตคร้งั ใหญ่ใน พระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคญั ในวันมาฆบูชา วัดเวฬุวนั หลงั การปรินพิ พาน หลงั พระพทุ ธเจา้ เสด็จปรินพิ พาน วัดเวฬุวนั ไดร้ ับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีทม่ี ี พระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏบิ ัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทกุ ๆ แหง่ เหมือน สมัยทีพ่ ระพทุ ธองคท์ รงพระชนม์ชพี อยูม่ ไิ ดข้ าด โดยมีการปฏบิ ัติเช่นน้ีติดต่อกันกวา่ พันปี

6 แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ.๗๐ ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอด กษตั ริยน์ าคทัสสกแ์ ห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพมิ พิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสสุ นู าคอำมาตย์ซ่ึงมีเชือ้ สายเจ้าลิจฉวีใน กรงุ เวสาลีแหง่ แควน้ วชั ชเี ก่า ใหเ้ ปน็ กษตั รยิ ต์ ั้งราชวงศ์ใหม่แลว้ พระเจา้ สสุ นู าคจงึ ไดท้ ำการยา้ ยเมืองหลวงของแควน้ มคธไปยัง เมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสู นาค ได้ย้ายเมอื งหลวงของแคว้นมคธอกี จากเมอื งเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมอื งราชคฤหถ์ กู ลดความสำคญั ลงและถูก ท้งิ ร้าง ซ่ึงเป็นสาเหตสุ ำคญั ทท่ี ำใหว้ ัดเวฬุวนั ขาดผู้อปุ ถัมภแ์ ละถกู ทิ้งร้างอยา่ งสิ้นเชงิ ในช่วงพนั ปีถัดมา โดยปรากฏหลกั ฐานบนั ทึกของหลวงจนี ฟาเหียน (Fa-hsien) ท่ไี ด้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. ๙๔๒- ๙๔๗ ในช่วงรชั สมยั ของพระเจ้าจนั ทรคปุ ต์ท่ี ๒ (พระเจา้ วิกรมาทิตย)์ แห่งราชวงศ์คปุ ตะ ซ่ึงท่านได้บนั ทกึ ไว้ว่า เมืองราชคฤห์ อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัด กวาดอย่เู ป็นประจำ แตไ่ ม่ปรากฏวา่ มกี ารบันทกึ ถงึ สถานท่ีเกิดเหตกุ ารณจ์ าตุรงคสนั นิบาตแตป่ ระการใด แต่หลงั จากนัน้ ประมาณ ๒๐๐ ปี วดั เวฬุวันกถ็ กู ท้ิงร้างไป ตามบันทึกของพระถงั ซำจ๋ัง (Hiuen-Tsang) ซึ่งได้จาริก มาเมอื งราชคฤห์ราวปี พ.ศ.๑๓๐๐ ซง่ึ ท่านบันทกึ ไว้แตเ่ พียงว่า ทา่ นได้เหน็ แตเ่ พยี งซากมูลคันธกุฎีซงึ่ มีกำแพงและอิฐล้อมรอบ อยู่เท่านนั้ (ในสมยั นัน้ เมืองราชคฤหโ์ รยราถงึ ท่ีสุดแล้ว พระถังซำจง๋ั ไดแ้ ตเ่ พยี งจดตำแหน่งท่ีตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและ โบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหา โบราณสถานตา่ ง ๆ ในเมืองราชคฤหใ์ นปจั จบุ ัน) จดุ แสวงบญุ และสภาพของวัดเวฬุวันในปจั จบุ นั ปัจจุบันหลังถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่าพันปี และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็น อาณานิคมของอังกฤษ วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานทีย่ ังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก สถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนใน ปจั จบุ ันนยิ มไปนมสั การคือ \"พระมูลคนั ธกุฎี\" ทีป่ ัจจบุ ันยงั ไม่ได้ทำการขดุ ค้น เนอ่ื งจากมกี ุโบรข์ องชาวมสุ ลิมสรา้ งทบั ไว้ข้างบน เนินดิน, \"สระกลันทกนวิ าป\" ซง่ึ ปัจจุบันรัฐบาลอนิ เดยี ได้ทำการบูรณะใหมอ่ ย่างสวยงาม, และ \"ลานจาตรุ งคสันนบิ าต\" อันเปน็ ลานเล็ก ๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุม้ ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียน เทียนสกั การะ (ลานนี้เป็นลานทกี่ องโบราณคดอี นิ เดียสนั นิษฐานวา่ พระพทุ ธองคท์ รงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในจุดน้ี) จุดท่เี กิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา (ลานจาตรุ งคสนั นิบาต) ถงึ แมว้ ่าเหตกุ ารณ์จาตุรงคสันนบิ าตจะเปน็ เหตุการณ์สำคญั ยง่ิ ท่ีเกิดในบริเวณวัดเวฬุวันมหาวหิ าร แต่ทว่าไมป่ รากฏ รายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและในพระไตรปิฎกแต่อย่างใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย (เสาหิน) หรือสถูประบุสถานทีป่ ระชุมจาตุ รงคสนั นิบาตไว้แตอ่ ย่างใด (ตามปกตแิ ลว้ บริเวณท่ีเกิดเหตุการณ์สำคญั ทางพระพุทธศาสนา มักจะพบสถปู โบราณหรือเสาหิน

7 พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างหรือปกั ไว้เพื่อเป็นเครือ่ งหมายสำคญั สำหรบั ผูแ้ สวงบญุ ) ทำให้ในปัจจบุ ันไมส่ ามารถทราบโดยแน่ ชัดวา่ เหตุการณ์จาตุรงคสนั นบิ าตเกิดข้ึนในจุดใดของวัด ในปจั จุบนั กองโบราณคดอี ินเดยี ไดแ้ ต่เพียงสนั นษิ ฐานวา่ \"เหตกุ ารณด์ งั กลา่ วเกดิ ในบรเิ วณลานดา้ นทิศตะวันตกของ สระกลันทกนิวาป\" (โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดงั กล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกันมากถึงสองพันกวา่ รูป และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พ่ึงได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้ การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่ เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญย่ ังคงไมไ่ ด้สรา้ งขึ้น และโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในปัจจบุ นั ลานดา้ นทิศตะวนั ตกของ สระกลันทกนิวาป เปน็ ลานกว้างลานเดยี วในบริเวณวัดที่ไม่มโี บราณสถานอื่นตั้งอยู่) โดยได้นำพระพทุ ธรูปยนื ปางประทานพร ไปประดิษฐานไวบ้ ริเวณซมุ้ เลก็ ๆ กลางลาน และเรียกวา่ \"ลานจาตุรงคสันนบิ าต\" ซง่ึ ในปจั จุบนั กย็ ังไมม่ ีข้อสรุปแน่ชัดว่าลาน จาตรุ งคสนั นบิ าตทแี่ ท้จรงิ อยู่ในจดุ ใด และยังคงมชี าวพุทธบางกลุ่มสรา้ งซ้มุ พระพุทธรูปไว้ในบริเวณอ่ืนของวัดโดยเชื่อว่าจุดท่ี ตนสรา้ งนัน้ เปน็ ลานจาตุรงคสนั นบิ าตท่ีแทจ้ ริง แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เช่ือตามขอ้ สันนิษฐานของกองโบราณคดี อินเดียดังกล่าว โดยนิยมนับถือกันว่าซุม้ พระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มาแสวงบญุ จุดสำคัญ ๑ ใน ๒ แหง่ ของเมืองราชคฤห์ (อีกจุดหน่ึงคือพระมูลคนั ธกุฎบี นยอดเขาคชิ ฌกูฏ) กิจกรรมทพี่ ทุ ธศาสนิกชนพึงปฏบิ ตั ใิ นวันมาฆบูชา วันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตกั บาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกศุ ลความดี อ่นื ๆ เชน่ ไปวดั รบั ศลี งดเวน้ การทำบาปทงั้ ปวง ถวายสงั ฆทาน ใหอ้ ิสระทาน (ปลอ่ ยนกปลอ่ ยปลา) ฟงั พระธรรมเทศนา และ ไปเวียนเทียนรอบโบสถใ์ นเวลาเยน็ โดยก่อนทำการเวยี นเทยี นพุทธศาสนกิ ชนควรรว่ มกนั ปฏบิ ัติภาวนา ใน วนั พระอุโบสถ ซ่ึง เป็น หน้าท่ี ตามปกตขิ องชาวพุทธ กลา่ วคำสวดมนต์และคำบูชาในวนั มาฆบูชา โดยปกตติ ามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตร สวดมนต์กอ่ นทำการเวยี นเทยี น ซึ่งส่วนใหญ่นยิ มทำการเวียนเทยี นอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษสุ งฆน์ ำเวียนเทียน) ใน เวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ทพี่ ระสงฆน์ ยิ มสวดในวนั มาฆบชู าก่อนทำการเวียนเทยี นนิยมสวด (ทัง้ บาลีและคำ แปล) ตามลำดับดังน้ี บทบชู าพระรัตนตรยั (บทสวดบาลีที่ข้นึ ต้นด้วย:อรหัง สมั มา ฯลฯ) บทนมัสการนอบน้อมบชู าพระพุทธเจา้ (นะโม ฯลฯ ๓ จบ) บทสรรเสริญพระพทุ ธคณุ (บทสวดบาลีทขี่ นึ้ ตน้ ด้วย:อติ ิปโิ ส ฯลฯ) บทสรรเสริญพระพทุ ธคุณ สวดทำนองสรภญั ญะ (บทสวดสรภญั ญะทีข่ น้ึ ตน้ ด้วย:องค์ใดพระสัมพทุ ธ ฯลฯ) บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลที ่ขี ึน้ ตน้ ด้วย:สวากขาโต ฯลฯ) บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภญั ญะ (บทสวดสรภัญญะทีข่ ึ้นตน้ ด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ) บทสรรเสรญิ พระสังฆคุณ (บทสวดบาลที ี่ขึน้ ตน้ ด้วย:สปุ ฏิปันโน ฯลฯ)

8 บทสรรเสริญพระสังฆคณุ สวดทำนองสรภญั ญะ (บทสวดสรภัญญะท่ขี ้นึ ต้นด้วย:สงฆใ์ ดสาวกศาสดา ฯลฯ) บทสวดบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา (บทสวดบาลีที่ข้ึนตน้ ด้วย:อัชชายงั ฯลฯ) จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน ๓ รอบ โดยขณะที่ เดินนนั้ พงึ ตัง้ จติ ใหส้ งบ พร้อมสวดระลึกถงึ พระพุทธคุณ ดว้ ยการสวดบทอิติปิโส (รอบท่ีหน่งึ ) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการ สวดสวากขาโต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ ๓ รอบ จากนนั้ นำธปู เทียนดอกไมไ้ ปบชู าตามปชู นียสถานจึงเป็นอันเสรจ็ พิธี การกำหนดให้วันมาฆบูชาเป็นวันสำคญั ทางพทุ ธศาสนาในประเทศไทย การประกอบพิธีในวันมาฆบูชาได้เริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรง เล็งเหน็ วา่ วันนีเ้ ป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา คอื เปน็ วนั ท่ีพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ฯลฯ ควรจะได้มีการประกอบพธิ ีบำเพญ็ กศุ ลต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบชู า โดยในคร้ังแรกนนั้ ได้ทรงกำหนดเป็นเพยี งการพระ ราชพิธีบำเพ็ญกศุ ลเป็นการภายใน แต่ต่อมาประชาชนก็ได้นิยมนำพธิ ีนี้ไปปฏบิ ัติสืบต่อมาจนกลายเป็นวันประกอบพิธีสำคญั ทางพระพทุ ธศาสนาวันหนง่ึ ไป เน่อื งจากในประเทศไทย พทุ ธศาสนกิ ชนได้มีการประกอบพิธีในวนั มาฆบูชาสืบเนอื่ งมาต้งั แต่สมยั รัชกาลที่ ๔ และ นับถือกันโดยพฤตินัยว่าวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยมาตั้งแต่นั้น โดยเมื่อถึงวันน้ี พุทธศาสนิกชนจะรว่ มใจกนั ประกอบพธิ ีบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ กันเป็นงานใหญ่ ดังนั้นเมื่อถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจา้ อย่หู ัว พระองค์จงึ ทรงประกาศให้วนั มาฆบูชาเป็นวนั หยุดนกั ขัตฤกษ์สำหรับชาวไทยจะไดร้ ว่ มใจกันบำเพ็ญกุศลในวัน

9 มาฆบูชาโดยพร้อมเพรยี ง ในปจั จบุ ันยังคงปรากฏการประกอบพิธีมาฆบูชาอยู่ในประเทศไทยและประเทศทเี่ คยเป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศไทย เช่น ลาว และกัมพูชา (ซึ่งเป็นส่วนที่ไทยได้เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๕) โดยไม่ปรากฏว่ามีการ ประกอบพิธีนี้ในประเทศพุทธมหายานอ่ืนหรือประเทศพุทธเถรวาทนอกนี้ เช่น พม่า และศรีลังกา ซึ่งคงสันนิษฐานได้ว่า พิธี มาฆบชู าน้ีเรม่ิ ตน้ จากการเป็นพระราชพธิ ีของราชสำนกั ไทยและได้ขยายไปเฉพาะในเขตราชอาณาจักรสยามในเวลานัน้ ตอ่ มา ดินแดนไทยในส่วนที่เป็นประเทศลาวและกัมพูชาได้ตกเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในเวลาต่อมา พุทธศาสนกิ ชนในประเทศทง้ั สองทไ่ี ดร้ ับคตนิ ยิ มการปฏบิ ตั ิพิธีมาฆบูชาตั้งแต่ยงั เป็นส่วนหนงึ่ ของราชอาณาจกั รสยาม คงไดถ้ ือ ปฏิบตั พิ ิธีมาฆบูชาอยา่ งตอ่ เนือ่ งโดยไม่ได้มีการยกเลกิ จงึ ทำให้คงปรากฏพธิ ีมาฆบูชาในประเทศดังกล่าวจนถึงปจั จบุ นั การประกอบพิธีทางศาสนาในวันมาฆบูชา พระราชพิธี การ พระาชกุศลมาฆบชู าเริ่มขึ้นในรชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฎรายละเอียดเกีย่ วกับพระราชพิธี นี้ในหนังสือพระราชพิธี ๑๒ เดือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ในสมัยนั้นมีการบำเพ็ญพระราชกุศล เวลาเชา้ ณ วดั พระศรีรตั นศาสดาราม เวลาคำ่ ทรงจุดธูปเทยี น เครื่องนมัสการ พระสงฆ์ทำวตั รเยน็ และสวดมนต์ต่อแล้วสวด คาถาโอวาทปาติโมกข์ มีการจุดเทียนตามราวรอบพระอุโบสถ จำนวน ๑๒๕๐ เล่ม ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นครอบบัว ทำด้วย กระเบื้องแก้วขาวสลับสี ตั้งรอบบนสันกำแพงระหว่างช่องเสาพระอุโบสถ มีประโคม สังข์ แตร ดุริยางค์ แล้วจึงเทศนา โอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ ๑ เป็นภาษาบาลีและภาษาไทย เครื่องไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์มีจวี ร ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนม ตา่ ง ๆ เมอื่ เทศน์จบพระสงฆ์สวดมนต์รับสัพพี ตอ่ มาในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้า เจา้ อยหู่ ัว จนถึงปัจจบุ นั การพระราชพธิ ีจะปฏิบัติดังน้ี คือ ก่อนถึง วันมาฆบูชา เจา้ หนา้ ทกี่ องพระราชพธิ ี สำนกั พระราชวังจะมีหน้าท่ีนำเทียนรุง่ คือเทียนจดุ บูชาตลอดคนื ขนาดขี้ผ้ึงหนัก ๓๓ บาท สูง ๔๕ เซนติเมตร ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงเจิมและพระราชทานอุทิศไปจุดบูชาพระรัตนตรัย ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์ วัดราชบพิธ และวัดนิเวศธรรม ประวตั ิ ส่วนการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล นั้น พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวเสดจ็ พระราชดำเนินไปยงั พระอโุ บสถวัดพระ ศรรี ตั น ศาสดาราม ทรงจุดธปู เทียนเคร่ืองนมัสการบูชาพระรตั นตรัย ประทับพระราชอาสน์ ทรงจดุ เทียนชนวนพระราชทาน หัวหน้ากองพระราชพธิ ี เพื่อเชิญไปถวายเจ้าอาวาสจุดเทียนรุ่ง ที่ได้ทรงพระราชอุทิศบูชาพระรตั นตรัยตามพระอารามหลวง พระสงฆ์ 30 รูปเจริญพระพุทธมนต์ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรยดอกมะลิ ๑,๒๕๐ ดอก เท่าจำนวนพระ อรหันต์ทธ่ี รรมาสน์ศิลาสำหรบพระราชาคณะนง่ั ถวายพระธรรมเทศนา ๑ กณั ฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคน จตุปัจจยั ไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนโุ มทนา ถวายอดเิ รก เปน็ เสรจ็ พิธี

10 พิธสี ามัญ การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวนั มาฆบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย โดยทั่วไปนิยมทำบุญตักบาตร ปฏิบัติ ภาวนา ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดยี ์พทุ ธสถานต่าง ๆ ภายในวดั เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้าย วนั ที่เกดิ เหตกุ ารณ์สำคญั ของพระพุทธศาสนาในวนั ข้นึ ๑๕ คำ่ เดือน ๓ พทุ ธศาสนิกชนชาวไทยนิยมนบั ถอื เอาวนั นเี้ ป็นวันสำคัญในการละเวน้ ความชัว่ บำเพ็ญความดี ทำใจใหผ้ อ่ งใส ตาม แนวทางพระบรมพุทโธวาท โดยมแี นวปฏบิ ตั ใิ นการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาคล้ายกบั การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา คือมี การตั้งใจบำเพ็ญกุศลทำบญุ ตกั บาตร ฟงั พระธรรมเทศนาและเจรญิ จิตตภาวนาในวนั นี้ เมือ่ ตกกลางคืนก็มีการเวียนเทยี นถวาย เป็นพุทธบชู าตามอารามตา่ ง ๆ และอาจมีการบำเพ็ญปกณิ ณกะกุศลตา่ ง ๆ ตลอดคืนตามแต่จะเหน็ สมควร การประกอบพธิ ีวันมาฆบชู าในปัจจุบนั นี้นอกจากการเวียนเทียน ทำบุญตักบาตร ในวันสำคัญแลว้ ยังมีหน่วยงาน ภาครฐั องคก์ รทางศาสนา และภาคประชาชน รว่ มกันจดั กจิ กรรมตา่ ง ๆ ข้นึ มากมาย เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและ ประชาสมั พนั ธก์ จิ กรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ใหแ้ ก่ประชาชน เชน่ กิจกรรมสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวันมาฆบูชา ณ ทอ้ งสนามหลวง หรือตามวดั ในจงั หวัดตา่ ง ๆ เป็นตน้ วันสำคัญอนื่ ทเ่ี ก่ียวเนื่องกบั วันมาฆบชู า วนั คล้ายวันปลงพระชนมายุสงั ขาร การปลงพระชนมายุสังขาร หรือ การปลงอายุสังขาร ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขึ้นในวันมาฆบูชา ณ กูฏ คารศาลา ป่ามหาวัน เมือ่ มีพระชมมายุได้ ๘๐ พรรษา ซ่งึ ณ เวลาน้นั ทรงได้ตรัสรูแ้ ล้วเผยแพรพ่ ระธรรมคำส่งั สอนมานานถึง ๔๕ ปีแล้ว ก็ได้ทรงตั้งพระทัยว่า \"นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน ตถาคตจักดับขันธปรินิพพาน\" การปลงอายุสังขารจึงมี ความหมายในภาษาสามัญว่า การกำหนดวันตายไวล้ ่วงหน้านั่นเองการปลงอายุสังขารมีขึ้น ณ ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาล เจดีย์ แขวงเมืองไพศาลี หลังจากที่ทรงทำนมิ ติ รโอภาสแก่พระอานนทถ์ งึ สามคร้ัง ว่า \"อานนท์ ถ้าบุคคลใดเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ปรารถนาจะดำรงอยู่ประมาณกัปป์หนึ่ง หรือมากกว่านั้นก็สามารถจะอยู่ได้\" โอภาสนิมิตรนี้ หมายถึงบอกใบ้ว่า พระองค์จะเสด็จดบั ขนั ธ์ปรนิ ิพพานในปีท่ีกล่าวนี้ หากพระอานนท์อาราธนาขอให้อยู่ต่อ และทรงรับก็ทรงสามารถดำรงพระ ชนม์ชีพต่อไปได้อีก แต่พระอานนท์ไมร่ ู้เท่าทันเพราะมารได้ดลใจไม่ให้รู้เท่าทัน เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่ามารดลใจพระ อานนท์จึงทรงขับพระอานนท์ออกไปเสียทำให้พระพทุ ธองค์เสด็จอยู่ตามลำพัง มารจึงมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วกราบทลู อาราธนาขอใหเ้ สด็จดบั ขนั ธป์ รินพิ พานเพราะพระพทุ ธศาสนาไดอ้ ยดู่ ำรงอยูอ่ ย่างมั่นคงแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงรับ หลังจาก ที่ทรงปลงอายสุ งั ขารแลว้ เกิดแผน่ ดนิ ไหวใหญ่ พระอานนทจ์ งึ ทราบว่าทรงปลงอายุสังขารแลว้ เพิง่ มาทูลออ้ นวอนให้ดำรงอยู่ ตอ่ อีก จงึ ทรงหา้ มเสีย

11 ปาวาลเจดยี ์ เมืองเวสาลี สถานที่ ๆ พระพุทธองค์ทรงทำการปลงพระชนมายุสงั ขารในวนั เพญ็ เดือนสามแหง่ พรรษาสุดท้าย ของพระชนมชีพ นอกจากเหตกุ ารณจ์ าตรุ งคสันนบิ าตในวนั เพญ็ เดือน ๓ ในพรรษาแรกของพระพทุ ธเจ้าแล้ว ในวนั เพ็ญเดือน ๓ แหง่ พรรษาสุดทา้ ยของพระพทุ ธเจา้ (คราวทท่ี รงพระชนมายุ ๘๐ พรรษา) กไ็ ดเ้ กิดเหตกุ ารณส์ ำคัญข้นึ อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ พระพทุ ธองค์ไดท้ รง ปลงพระชนมายุสงั ขาร พระศาสดาเสด็จพักผ่อนกลางวนั ณ ปาวาลเจดีย์ ทรงแสดงนิมิตโอภาสแก่พระ อานนท์ว่า ผใู้ ดเจริญอทิ ธบิ าท ๔ ประการ อาจมอี ายยุ นื ได้ถึงกัป แตพ่ ระอานนทม์ ไิ ดท้ ูลอาราธนา เมอื่ พระอานนทอ์ อกไป มาร จงึ ได้มาอาราธนาใหน้ ิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายสุ ังขาร ณ ปาวาลเจดียว์ า่ อกี ๓ เดอื นจะเสด็จปรินิพพาน เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อพระอานนท์ทราบ จึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงพระชนม์ชีพอยู่อีก แต่พระศาสดาตรัสว่า มิใช่กาล เพราะได้ทรงแสดงนิมติ แลว้ ถึง ๑๖ ครั้ง ทรงทำนายว่าในวันเพญ็ เดือน ๖ ทีจ่ ะมาถึง พระองค์จะเขา้ สู่มหาปรินพิ พาน จงึ ถือได้ ว่าวันมาฆบูชาเป็น วันคล้ายวันสำคัญของพระพุทธศาสนาสองเหตุการณ์สำคัญ คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิ โมกข์ และวนั ทท่ี รงทำการปลงพระชนมายุสงั ขาร หมายเหต:ุ โดยทวั่ ไปจะทราบแต่เพียงว่าวันน้เี ป็นวนั ทพี่ ระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏโิ มกขเ์ ทา่ นัน้ วนั กตัญญแู หง่ ชาติ (ประเทศไทย) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา (ที่อาจถือได้ว่าเป็นวันแห่งความรักของ พระพุทธศาสนา) โดยถือว่าเหตุการณ์สำคัญที่เหล่าพระสาวกทัง้ ๑,๒๕๐ รูป ได้กลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยความรกั ใน พระองคห์ ลงั จากได้ออกไปเผยแพร่พระศาสนาโดยมไิ ด้นดั หมายดังกล่าวเปน็ ส่งิ ทแี่ สดงถึงความกตัญญูกตเวทอี นั บริสุทธิ์ และ โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงช่วงเวลาในปฏิทนิ จนั ทรคติในวนั เพญ็ เดือนสาม มักจะตกใกลก้ ับชว่ ง\"เทศกาลวาเลนไทน์\" อันเป็นเทศกาล วันแห่งความรักของคริสต์ศาสนา ซึ่งวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมักยึดถือคติค่านิยมวันแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ผิด ๆ โดยนิยม ยึดถือกันวา่ เป็นวนั แห่งความรกั ของคนหนุ่มสาว หรือแมก้ ระท่ังถอื วา่ เป็น \"วันเสียตวั แหง่ ชาติ\"ซ่งึ ส่งผลกระทบต่อค่านิยมทาง จริยธรรมและศีลธรรมของวยั รุ่นไทย รัฐบาลไทยในสมยั น้ันจึงได้ประกาศให้วนั มาฆบูชาเป็นวันกตญั ญูแห่งชาติ \"เพื่อส่งเสริม ค่านยิ มทเ่ี หมาะสมแกว่ ยั ร่นุ ไทย ใหห้ ันมาสนใจกับความรักอนั บริสทุ ธทิ์ ีไ่ ม่หวงั สงิ่ ตอบแทน\" แทนท่จี ะไปมวั เมากบั ความรักใคร่ ชสู้ าวหรือเร่อื งฉาบฉวยทางเพศของหนุ่มสาว อันจะกอ่ ให้เกิดปัญหาแก่สงั คมตามมา การผลกั ดันให้มีวนั กตัญญูแหง่ ชาติมีมาตัง้ แต่ พ.ศ.๒๕๔๖ เคยมกี ารตง้ั กระทถู้ ามในสภาผู้แทนราษฎรใหพ้ ิจารณากำหนดให้มี วันกตัญญูแห่งชาติ แต่ถูกปฏิเสธจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างว่า ในประเทศไทยมีวันสำคัญแห่งชาติที่เกี่ยวกับการแสดงความ กตญั ญมู ากพอแลว้ ตอ่ มาในปี พ.ศ.๒๕๔๙นักพูดชอ่ื ดังหลายคน เชน่ ดร.ผาณิต กันตามระ นายสุรวงศ์ วฒั นกลุ ดร.อภิชาติ ดำ ดี นายเฉลิมชัย จารุไพบูลย์ ดร.โอภาส กิจกำแหง และนายถาวร โชติชื่น ได้ร่วมกันทำหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคง แหง่ ชาติขอให้ส่งเสริมใหว้ นั มาฆบชู าเปน็ วนั กตัญญูแหง่ ชาติอีกวนั หน่ึงดว้ ย และไดร้ บั การตอบรบั จากผเู้ กี่ยวขอ้ ง

12 วนั กตัญญแู หง่ ชาตินี้ นอกจากเพอ่ื แสดงออกถงึ วนั แห่งความรกั อนั บริสุทธิ์ของชาวพุทธแลว้ ยังเพ่ือส่งเสริมค่านิยม ให้คนไทยยดึ ถือความกตัญญู โดยอาจมีการพดู คุย ส่งบัตรอวยพร มอบของขวัญหรอื ช่อดอกไม้แก่ผูม้ พี ระคุณ เป็นการแสดง ความระลึกถึงพระคณุ ดว้ ยความหวังดีของผใู้ ห้ ไม่ว่าจะเปน็ สิ่งของ การแสดงออกซ่งึ น้ำใจหรอื คำพูดกต็ าม https://th.wikipedia.org/wiki/มาฆบูชา https://www.dra.go.th/th/cmsdetail-4-26-1-81.html https://www.sanook.com/campus/910849/


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook