วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 289 ในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบ อาชพี โดยอิสระได้ (พระราชบญั ญัตกิ ารอาชวี ศกึ ษา พ.ศ. 2551, 2551) จากสภาพการณ์ปัจจุบันทำใหส้ ง่ ผลกระทบท่ีเสยี หายต่อวิทยาลัยการอาชีพ ซึ่งการจัด การศึกษาระบบอาชีวศึกษามีการถูกปล่อยปละละเลยจนมีคุณภาพต่ำและมีปัญหาภาพลักษณ์ ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายคือ นักเรียนอาชีวศึกษาจำนวนมากขาดโอกาสใน การประกอบอาชีพที่ดีเพราะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่จบ ปริญญาตรีแล้ว ผู้จบอาชีวศึกษาจะมีความก้าวหน้าในอาชีพการงานน้อยกว่า ซึ่งส่งผลต่อ โอกาสในการเลื่อนช้ันทางสังคมของครอบครัวรายได้น้อยซ่ึงส่งลูกเรยี นอาชีวศึกษา ปัญหาด้าน ภาคธุรกิจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะ ส่งผลให้จำเป็นต้องจ้างแรงงานไร้ทักษะหรือ แรงงานที่มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการเข้ามาฝึกในสถานประกอบการเอง ซึ่งทำให้ธุรกิจมี ต้นทุนดำเนินการสูงกว่าที่ควรจะเป็น และความสามารถในการแข่งขันตกต่ำลง ด้านระบบ การศึกษามีต้นทุนสูงขึ้นและผลตอบแทนจากระบบการศึกษาลดลง เนื่องจากนักเรียนต้อง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเพราะอาชีวศึกษาไม่สามารถรับประกันการได้งานที่ดีได้ สิ่งที่เรามัก มอง ว่าเป็น “ค่านิยม” แท้ที่จริงแล้วจึงอาจเป็น “ความจำเป็น” ซึ่งได้ส่งผลทำให้เกิดปัญหา ตามมา 2 ประการคือ 1) ระบบการศึกษาโดยรวมมีต้นทุนสูงขึ้นเพราะต้นทุนต่อหน่วยของ มหาวิทยาลัยสูงกว่าของอาชีวศึกษา และ 2) การลงทุนในการศึกษาให้ผลตอบแทนท่ีลดลงใน ภาพรวม เนื่องจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยมักจะเน้นความรู้เชิงวิชาการ ซึ่งจะมีประโยชน์ น้อย หากบัณฑิตที่จบมาไม่ได้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมา (ณัฐสิฏ รักษ์ เกยี รติวงศ,์ 2561) ดังนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาถึงการบริหารจัดการเพื่อ เสรมิ สร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วทิ ยาลยั การอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสนองการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพแก่ประเทศชาติ โดยให้มีรูปแบบของสถานศึกษาที่ประหยัด มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบ (หลักสูตร ปวช. ปวส. ปวท. ฯลฯ) และหลกั สูตรวชิ าชพี ระยะส้นั ทกุ ประเภทวชิ า วตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจยั 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้าง ความเป็นผูป้ ระกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชพี กลุม่ ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ สังกัด สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา 2. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชพี กลุ่มภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการ อาชวี ศกึ ษา
290 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) วิธดี ำเนนิ การวิจยั การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยเชิง ปริมาณใช้แบบสอบถามสุ่มแบบอย่างง่าย และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ คัดเลือกแบบ เจาะจง ผ้วู จิ ยั ได้กำหนดขอบเขตการวิจยั ในแตล่ ะขั้นตอนของการวจิ ัย ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. ดา้ นขอบเขต 1.1 ด้านประชากร (Population) คือ บุคลากรมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา 2562 มีจำนวน 510 คน (วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา, 2562) 1.1.1 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) โดยแบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพ ปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชพี กลุ่มภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายโดยจับฉลาก ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร สถานศึกษา/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 88 คน และ 2) ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า แผนกสาขาวชิ า จำนวน 138 คน จำนวนท้งั หมด 226 คน (Krejcie, R. V., & Morgan, D. W., 1970) 1.1.2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) การสัมภาษณ์เชิง ลึกเพื่อการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ที่มีความเก่ียวข้องกับวิทยาลัย การอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 1) นักวิชาการ จำนวน 5 คน 2) ครู จำนวน 1 คน 3) ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และ 4) ผู้ประกอบการธุรกิจ จำนวน 1 คน จำนวนทั้งหมด 8 คน ซึ่งทั้งหมดมีวุฒิการศึกษาใน ระดบั ปริญญาตรขี ึน้ ไป และมรี ะยะการทำงาน 5 ปขี ้นึ ไป 1.2 ด้านเนือ้ หา ไดแ้ ก่ จากเอกสารช้นั ปฐมภูมิ (Primary Sources) คอื ข้อมลู ทมี่ างาน วิทยานิพนธโ์ ดยตรงเกี่ยวข้องกบั การพัฒนากลยุทธ์ และการบรหิ ารจัดการอาชีวศึกษา และเอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Sources) คือ ข้อมูลที่มาจากอินเทอร์เน็ต สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรอื บทความตามเว็บไซต์ 1.3 ด้านสถานที่ คือ วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัด สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา 2. ด้านเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โดยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งให้ผู้เชีย่ วชาญ ด้านการบริหารจัดการการศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องและ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 291 ครอบคลุมเนื้อหา แล้วนำไปหาค่าความเที่ยงตรงโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC มีค่า ระหวา่ ง 0.80 – 1.00 (บญุ ชม ศรีสะอาด, 2556) จากนั้นนำไปทดลองใช้กบั กลุ่มอน่ื ที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach, L. J., 1990) ไดค้ ่าความเชื่อม่ันเทา่ กับ 0.94 (สุชาติ ประสิทธ์ริ ัฐสนิ ธ์ุ, 2556) ของ แบบสอบถามทั้งหมด และจัดทำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การ บรหิ ารจดั การเพือ่ เสริมสรา้ งความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วทิ ยาลยั การอาชีพกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3) ความคิดเห็น เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกของการบริหารจัดการเพื่อเสริมสรา้ งความเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษา วิทยาลยั การอาชพี กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert R., 1967) และเชิงคุณภาพโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกคัดเลือกแบบเจาะจง โดยเลอื กจากคุณสมบัติผู้ท่ีต้องมีความเช่ียวชาญด้าน การบริหารจัดการการศึกษาระบบทวิภาคี โดยเป็นข้อคำถามสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และ 2) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความ เป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อยืนยันข้อมูล และนำบทสนทนาที่ได้มาวิเคราะห์ โดยการใช้วธิ ี Content Analysis จัดระบบเพื่อยืนยัน (Confirm) ผลที่ไดจ้ ากเชิงปริมาณ 3. ด้านการเก็บข้อมูล คือ ผู้วิจัยเก็บแบบสัมภาษณ์ด้วยตนเอง โดยแบ่งวิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึง ประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการ อาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศกึ ษา 4. ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล คือ เชิงปริมาณวิเคราะห์สถิติด้วยโปรแกรมประยุกต์ สำเร็จรูป เพื่อหาค่าทางสถิติของข้อมูลที่ศึกษาคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และวิเคราะหล์ ำดบั ความสำคัญของความต้องการจำเป็นดว้ ยคา่ ดชั นี PNIModified เพ่ือ ได้ผลภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็น ผู้ประกอบการของนักศึกษา และเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์ PNIModified SWOT Analysis และสรุปเป็นภาพรวม
292 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ผลการวจิ ัย การวิจัยครั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามตำแหน่งปฏิบัติงาน เป็นผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 41 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 18.14 รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คน คดิ เป็นร้อยละ 20.80 และครู จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 61.06 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ จบปริญญาโท จำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 50.88 รองลงมาปรญิ ญาตรี จำนวน 93. คน คิด เปน็ ร้อยละ 41.15 และปรญิ ญาเอก จำนวน 18 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 7.97 ตามลำดบั ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้าง ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเพื่อ เสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการพัฒนาครู 3) ด้านการบริหารจัดการ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ 4) ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ และ 5) ด้านความร่วมมือ กบั สถานประกอบการ ดงั ตารางท่ี 1 ตารางที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลยั การอาชพี กลมุ่ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื การบรหิ ารจดั การเพื่อเสริมสรา้ ง สภาพ สภาพที่พึง ความตอ้ งการจำเป็น การวิเคราะห์ ความเป็นผู้ประกอบการของ ปัจจบุ ัน ประสงค์ สภาพแวดลอ้ ม นักศึกษา PNI ลำดบั จดั ������ S.D. ������ S.D. ภายใน 1. การพฒั นาหลกั สูตร Modified กลุ่ม 2. การพัฒนาครู 4.10 .58 4.86 .52 จุดแขง็ 3. การบรหิ ารจัดการศนู ยบ์ ม่ เพาะ 3.75 .78 4.89 .60 .185 5 ต่ำ จดุ ออ่ น ผปู้ ระกอบการ 4. คณุ ลักษณะของผปู้ ระกอบการ .304 3 สงู จดุ ออ่ น 5. ความรว่ มมือกบั สถาน จดุ อ่อน ประกอบการ 3.65 .64 4.93 .34 .350 2 สูง จดุ แข็ง รวม 3.62 .75 4.90 .59 .353 1 สูง จดุ อ่อน 3.96 .76 4.95 .45 .250 4 ต่ำ 3.77 .70 4.91 .50 .302 สงู สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ������ = 3.77, S.D. = .70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้าน การพัฒนาหลักสูตร (������ = 4.10, S.D. = .58) รองลงมาได้แก่ ด้านความร่วมมือกับสถาน ประกอบการ (������ = 3.96, S.D. = .76) และ ด้านการพัฒนาครู (������= 3.75, S.D. = .78) ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ (������ = 3.62, S.D. = .75)
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 293 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด (������ = 4.91, S.D. = .50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ (������ = 4.95, S.D. = .45) รองลงมาได้แก่ ด้านการ บริหารจัดการศูนย์บม่ เพาะผู้ประกอบการ (������ = 4.93, S.D. = .34) และ ด้านคุณลักษณะของ ผู้ประกอบการ (������ = 4.90, S.D. = .59) ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการพฒั นาหลกั สตู ร (������ = 4.86, S.D. = .52) ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชพี กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา พบว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 9 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการใช้นวตั กรรมนำความคิดสร้างสรรคเ์ น้นพัฒนาทักษะมีศักยภาพเชิงพาณชิ ย์ กลยุทธ์ ที่ 2 เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สร้างฝันให้ยิ่งใหญ่ วิสัยทัศน์กว้างไกล มองให้รอบด้าน กลยุทธ์ที่ 3 มองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาสแสดงความสามารถสร้างธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ ด้วยตนเอง กลยุทธท์ ่ี 4 สง่ เสริมความเป็นผูป้ ระกอบการรุ่นใหม่ในธรุ กิจสตาร์ทอัพ กลยุทธ์ท่ี 5 พัฒนากระบวนการบ่มเพาะผู้ประกอบการต้องผ่านงานดำเนินธุรกิจในโครงการ SME. ของอาชีวศึกษา กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้อบรม ศึกษาดูงานธุรกิจ ผปู้ ระกอบการอยา่ งต่อเน่ือง กลยทุ ธท์ ี่ 7 เสรมิ สร้างทักษะบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถได้ มาตรฐานการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูอาชีวศึกษา กลยุทธ์ที่ 8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ สถานศึกษาจัดการศึกษาระบบทวิภาคี และกลยุทธ์ที่ 9 ปฏิรูปหลักสูตรวิชาชีพความเป็น ผปู้ ระกอบการแบบการศึกษาระบบทวภิ าคี ดงั ตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 การพฒั นากลยทุ ธ์การบริหารจัดการเพ่อื เสริมสรา้ งความเปน็ ผ้ปู ระกอบการของ นักศกึ ษา ความเหมาะสม ความเปน็ ไปได้ ความเป็นประโยชน์ กลยุทธ์ ������ S.D. แปล ������ S.D. แปล ������ S.D. แปล ผล ผล ผล วสิ ัยทศั น์ (VISION) 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.95 0.21 มาก “การบรหิ ารจัดการเพ่ือเสรมิ สรา้ งความเปน็ ท่สี ดุ ทีส่ ดุ ท่ีสุด ผ้ปู ระกอบการให้ไดม้ าตรฐานคณุ วุฒอิ าชวี ศกึ ษาสู่การ พฒั นาคุณภาพผเู้ รยี น” พันธกจิ (MISSION) 5.00 0.00 มาก 4.95 0.21 มาก 4.95 0.21 มาก 1. การบริหารจัดการเพื่อเสรมิ สร้างความเปน็ ท่สี ดุ ท่สี ดุ ที่สดุ ผปู้ ระกอบการอย่างเปน็ ระบบใหม้ คี ณุ ภาพตาม มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ 2. ส่งเสรมิ ผูเ้ รยี นอาชวี ศึกษามที กั ษะอาชพี มคี วามคดิ 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.95 0.21 มาก ทสี่ ดุ ทีส่ ุด ทส่ี ดุ สร้างสรรค์สามารถประกอบธรุ กจิ เชิงพาณิชยต์ าม ศกั ยภาพ
294 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ความเหมาะสม ความเปน็ ไปได้ ความเป็นประโยชน์ กลยุทธ์ ������ S.D. แปล ������ S.D. แปล ������ S.D. แปล ผล ผล ผล 3. พฒั นาครูใหม้ คี วามรู้ความสามารถและมที ักษะใน การปฏบิ ตั งิ านในหนา้ ทีไ่ ดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพตาม 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.95 0.21 มาก มาตรฐานการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชพี ครอู าชีวศึกษา ทส่ี ุด ทส่ี ุด ที่สุด 4. สง่ เสรมิ ให้สถานศกึ ษาบรหิ ารจัดการศกึ ษาระบบทวิ ภาคี 5.00 0.00 มาก 4.91 0.29 มาก 4.98 0.15 มาก เปา้ หมาย (GOAL) ทส่ี ดุ ที่สุด ทส่ี ดุ 1. บรหิ ารจดั การอาชีวศกึ ษาความเป็นผ้ปู ระกอบการ ของนกั ศกึ ษาใหม้ คี ณุ ภาพตามมาตรฐานคณุ วุฒิ 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.95 0.21 มาก อาชีวศกึ ษาแห่งชาติ ทส่ี ุด ทส่ี ุด ที่สุด 2. ผเู้ รยี นอาชีวศกึ ษามที ักษะอาชพี ความคดิ สร้างสรรค์ สามารถประกอบธรุ กจิ เชงิ พาณชิ ย์ตามศกั ยภาพ 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.98 0.15 มาก 3.ครไู ด้รบั การพัฒนาเตม็ ตามศักยภาพปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ตี าม ที่สุด ที่สดุ ที่สุด มาตรฐานการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชีพครูอาชวี ศึกษา 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.95 0.21 มาก 4. บรหิ ารจัดการศกึ ษาระบบทวภิ าคี ที่สดุ ที่สดุ ที่สุด ประเดน็ กลยทุ ธ์ 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.98 0.15 มาก กลยทุ ธท์ ี่ 1 ส่งเสริมการใชน้ วตั กรรมนำความคิด ท่สี ุด ทีส่ ดุ ที่สดุ สรา้ งสรรคเ์ นน้ พฒั นาทกั ษะมีศกั ยภาพเชิงพาณชิ ย์ กลยทุ ธท์ ่ี 2 เสรมิ สรา้ งความคดิ สร้างสรรค์ สรา้ งฝันให้ 4.94 0.15 มาก 4.96 0.15 มาก 4.94 0.25 มาก ยิ่งใหญ่ วิสยั ทัศนก์ ว้างไกล มองใหร้ อบด้าน ทส่ี ดุ ท่ีสดุ ที่สุด กลยทุ ธท์ ่ี 3 มองการเปลย่ี นแปลงคอื โอกาสแสดง ความสามารถสรา้ งธุรกจิ ให้ประสบผลสำเรจ็ ดว้ ยตนเอง 5.00 0.00 มาก 4.96 0.15 มาก 5.00 0.00 มาก กลยทุ ธท์ ่ี 4 สง่ เสรมิ ความเปน็ ผปู้ ระกอบการรุ่นใหม่ใน ที่สดุ ทส่ี ุด ท่ีสุด ธรุ กจิ สตารท์ อัพ กลยทุ ธท์ ่ี 5 พฒั นากระบวนการบม่ เพาะผปู้ ระกอบการ 4.98 0.15 มาก 4.93 0.25 มาก 5.00 0.00 มาก ตอ้ งผ่านงานดำเนนิ ธุรกจิ ในโครงการ SME.ของ ท่ีสุด ที่สุด ที่สุด อาชวี ศกึ ษา กลยทุ ธท์ ่ี 6 สง่ เสริมและสนบั สนนุ ใหค้ รไู ด้อบรม ศกึ ษา 4.98 0.15 มาก 4.95 0.21 มาก 5.00 0.00 มาก ดูงานธรุ กจิ ผู้ประกอบการอยา่ งตอ่ เนือ่ ง ทสี่ ุด ที่สุด ท่สี ุด กลยทุ ธท์ ี่ 7 เสรมิ สรา้ งทกั ษะบคุ ลากรให้มีความรู้ ความสามารถไดม้ าตรฐานการพฒั นาสมรรถนะวชิ าชพี 4.98 0.15 มาก 4.93 0.25 มาก 4.95 0.21 มาก ครูอาชวี ศกึ ษา ทส่ี ดุ ท่สี ดุ ทส่ี ดุ กลยทุ ธท์ ่ี 8 ส่งเสรมิ และสนบั สนนุ ใหส้ ถานศึกษาจดั การศกึ ษาระบบทวภิ าคี 5.00 0.00 มาก 4.98 0.15 มาก 4.98 0.15 มาก กลยทุ ธท์ ี่ 9 ปฏริ ปู หลกั สูตรวชิ าชพี ความเปน็ ทส่ี ดุ ที่สดุ ทส่ี ดุ ผู้ประกอบการแบบการศึกษาระบบทวภิ าคี 4.98 0.15 มาก 4.91 0.29 มาก 4.95 0.21 มาก รวมเฉลยี่ ท่สี ดุ ทส่ี ดุ ทส่ี ุด 4.98 0.15 มาก 4.90 0.29 มาก 4.98 0.15 มาก ทส่ี ดุ ที่สดุ ที่สุด 4.98 0.15 มาก 4.93 0.25 มาก 4.98 0.15 มาก ที่สดุ ที่สดุ ที่สุด 4.99 0.14 มาก 4.95 0.20 มาก 4.96 0.16 มาก ที่สุด ที่สุด ท่ีสดุ จากการการประเมินกลยุทธ์การบริหารจดั การเพื่อเสริมสรา้ งความเป็นผูป้ ระกอบการ ของนักศกึ ษา วทิ ยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดา้ นความเหมาะสม ดา้ นความ เป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ������ = 4.99,
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พุทธ ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 295 S.D. = 0.14) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (������ = 4.95, S.D. = 0.20) และด้าน ความเปน็ ประโยชน์ อย่ใู นระดบั มากทสี่ ดุ (������ = 4.96, S.D. = 0.16) ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั ผู้ให้ข้อมูล สำคัญว่า “การสร้างการยอมรับของระบบอาชวี ศกึ ษาของชาติใหเ้ กิดขึ้นกับประชาชนและภาคี ทุกฝ่าย รวมถึงการสร้างมาตรฐานระบบการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเป็น สากล สถานศึกษาควรเปิดโอกาสและความเสมอภาคให้กับประชาชนได้ใช้บริการระบบการ อาชีวศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง สถาบันการศึกษาควรมีเครือข่ายการสร้างความร่วมมือ กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม และสถานประกอบการ และผู้ใช้แรงงาน อย่าง เป็นระบบเพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานสมรรถนะกำลังคนของอาชีวศึกษาของชาติให้ทัดเทียม กัน” (นักวชิ าการ คนท่ี 5, 2563) อภปิ รายผล จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้าง ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชพี กลุม่ ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สรุปได้ว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านท่ีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมาได้แก่ ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ และ ด้านการพัฒนาครู ตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร จัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาค ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื โดยภาพรวมอยใู่ นระดบั มากทส่ี ดุ เมื่อพิจารณาเปน็ รายด้าน พบวา่ ด้านท่ี มคี า่ เฉล่ยี สูงสุด ไดแ้ ก่ ดา้ นความร่วมมือกบั สถานประกอบการ รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหาร จัดการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ และ ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ตามลำดับ และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการบริหารจัดการอาชีวศึกษาทั้งสภาพ ปจั จุบนั และสภาพทพ่ี ึงประสงค์ในการบรหิ ารจัดการเพอ่ื เสริมสร้างความเป็นผปู้ ระกอบการของ นักศึกษาสอดคล้องกันตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ปฏิบัติตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนให้ สถานศึกษาอาชีวศึกษา หรือสถาบันกับสถาน ประการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐในเรื่อง การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน การวัด และการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งใน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันและ เรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการ ผลิตและพัฒนากำลังคน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน สามารถจัดการศึกษา ในหลาย รูปแบบรวมกันก็ได้ ทั้งนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันนั้นต้องมุ่งเน้นการจัดการศึกษา ระบบทวิภาคีเป็นสำคัญ (ลือชัย แก้วสุข, 2554) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษา
296 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) อาชีวศึกษา ด้านการนำแผนการผลิตกำลังคนไปปฏิบัติ มีความจำเป็นพัฒนาเป็นลำดับแรกคือ การสนับสนุนห้องปฏิบัติการจากสถานประกอบการ ความร่วมมือรับนักศึกษาฝึกงาน การบริหารงบประมาณและการจัดเตรียมบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนการผลิตกำลังคน มีความจำเป็นพัฒนาการประเมินผล และการเผยแพร่ผลการ ประเมินทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้านการวางแผนการผลิตกำลังคน มีความจำเป็น พัฒนาการนำผลการประเมินไปปรับปรุง ผลการสำรวจการผลิตและการทำงาน หลังสำเร็จ การศึกษาพบว่า สถานศึกษาผลิตกำลังคนได้ปริมาณใกล้เคียงกับแผน ผู้สำเร็จการศึกษา มี การศกึ ษาต่อ มากกว่าทำงานกับสถานประกอบการ มีการทำงานกับสถานประกอบการมากกว่า ทำงานส่วนตัว และทำงานกับสถาน ประกอบการนอกเขตบริการมากกว่าในเขตบริ การ สถานศึกษา และสภาพความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการพบว่า มีความต้องการ ทักษะด้านเทคนิคการทำงาน เฉพาะสาขามากที่สุด เช่นการปฏิบัติงานได้ทันทีที่รับเข้าทำงาน การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี การมีระบบคิดท่ี สามารถแก้ปัญหาในงานได้ ส่วนทักษะด้านสติปัญญาและทักษะด้านพฤติกรรม ก็มีความ จำเปน็ ต้องพฒั นาเพ่อื ใหส้ ามารถตอบสนองความต้องการมากขน้ึ จากการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา สรุปได้ว่า วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ประเด็นกลยุทธ์ 9 กลยุทธ์ 62 มาตรการ 67 ตัวชี้วัด ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมนำความคิดสร้างสรรค์เน้นพัฒนาทักษะมีศักยภาพเชิง พาณชิ ย์ ประกอบดว้ ย 4 มาตรการ 4 ตวั ชวี้ ดั กลยุทธท์ ่ี 2 เสรมิ สรา้ งความคิดสร้างสรรค์ สร้าง ฝนั ให้ย่งิ ใหญ่ วิสัยทศั น์กว้างไกล มองใหร้ อบด้าน ประกอบด้วย 9 มาตรการ 9 ตวั ช้วี ัด กลยุทธ์ ที่ 3 มองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาสแสดงความสามารถสร้างธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จด้วย ตนเอง ประกอบด้วย 1 มาตรการ 1 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการรุ่น ใหม่ในธรุ กิจสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 9 มาตรการ 10 ตัวช้วี ัด กลยทุ ธ์ท่ี 5 พฒั นากระบวนการ บ่มเพาะผู้ประกอบการต้องผ่านงานดำเนินธุรกิจในโครงการ SME. ของอาชีวศึกษา ประกอบดว้ ย 9 มาตรการ 10 ตวั ชว้ี ัด กลยทุ ธท์ ่ี 6 ส่งเสรมิ และสนบั สนุนใหค้ รูได้อบรม ศึกษาดู งานธุรกิจผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 9 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 7 เสริมสร้างทักษะบคุ ลากรให้มคี วามรูค้ วามสามารถได้มาตรฐานการพัฒนาสมรรถนะวชิ าชพี ครู อาชีวศึกษา ประกอบด้วย 7 มาตรการ 7 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ สถานศกึ ษาจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 6 มาตรการ 7 ตัวชีว้ ดั กลยุทธท์ ี่ 9 ปฏริ ปู หลักสูตรวิชาชีพความเป็นผู้ประกอบการแบบการศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 8 มาตรการ 9 ตัวชี้วัด และการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็น ผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านความ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 297 เหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้จริงจนประสบความสำเร็จ อยู่ในระดับ มากท่ีสดุ แสดงให้เห็นวา่ กลยทุ ธ์การบรหิ ารจัดการเพ่ือเสริมสรา้ งความเป็นผู้ประกอบการของ นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมความเป็นไปได้ และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้จริง ตามแนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการจัดการศึกษาด้าน อาชีวศึกษาซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติ การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของทวนชัย อรุณโรจน์และเกรียงชัย ปึง ประวัติ ที่กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาของ สปป.ลาว สอดรับกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้ ครอบคลุมได้ครบทุกด้าน ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ในแต่กลยุทธ์ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ กลยุทธ์ที่ 1 สร้างการ ยอมรับระบบ อาชีวศึกษาของชาติให้เกิดขึ้นกับประชาชนและภาคีทุกฝ่าย กลยุทธ์ที่ 2 สร้างมาตรฐานระบบอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นสากล กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความเสมอภาคให้กับประชาชนได้ใช้บริการของอาชีวศึกษาได้อย่างทั่วถึง กลยุทธ์ที่ 4 สร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมถึงผู้ใช้แรงงานอย่างเป็ น ระบบ กลยุทธ์ที่ 5 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนานาชาติและ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ทวนชยั อรณุ โรจน์ และเกรยี งชยั ปึงประวตั ิ, 2557) สรุป/ขอ้ เสนอแนะ สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเป็น ผู้ประกอบการของนักศึกษา วิทยาลัยการอาชพี กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 1.2) ด้านการ พัฒนาครู 1.3) ด้านการบริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ 1.4) ด้านคุณลักษณะของ ผู้ประกอบการ และ 1.5) ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ เห็นได้ว่า ในการผลิตและ พัฒนากำลงั คนระดบั อาชีวศกึ ษาต้องสอดรับกบั การพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมของประเทศไทย สามารถตอบสนองต่อความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ และความต้องการพัฒนา อาชีพของประชาชนได้อย่างทันสมัย มีมาตรฐานคุณภาพเป็นสากลทัดเทียมกัน และด้านการ พัฒนากลยุทธ์การบริหารจดั การเพื่อเสรมิ สร้างความเป็นผู้ประกอบการของนกั ศึกษา วิทยาลัย การอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 9 กลยุทธ์ คือ 2.1) ใช้นวัตกรรมพัฒนาทักษะมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ 2.2) เสริมสร้างความคิด สร้างสรรค์มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมองรอบด้าน 2.3) มองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาสแสดง ความสามารถ 2.4) ผ้ปู ระกอบการรนุ่ ใหม่ในธุรกจิ สตาร์ทอัพ 2.5) พัฒนากระบวนการบ่มเพาะ ผู้ประกอบการผ่านโครงการ SME. 2.6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผ่านการอบรม
298 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 2.7) ให้มีความรู้ความสามารถได้มาตรฐานในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูอาชีวศึกษา 2.8) ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาระบบทวิภาคี และ 2.9) ปฏิรูปหลักสูตรวิชาชีพ ดังน้ัน การสร้างกลยุทธ์เป็นการสร้างแผนพัฒนามีมาตรฐานที่ชัดเจน โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อน อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเป็นสำคัญให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาสนบั สนุน ส่งเสริม สร้างความรู้ความเข้าใจและ สร้างความตระหนักใหแ้ ก่บุคลากร ของสถานศึกษา และสถานศึกษาอาชวี ศกึ ษาควรมีเครือข่ายทวิภาคีความร่วมมอื กับสถานศึกษา กับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐ ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ ควรมี การศึกษาเพิ่มเติมด้วยวิธีการวิจัย การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้บริหารระดับสูงของ ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อยืนยันผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อยืนยันผลที่ได้จาก การวิจัยเชิงปริมาณ และสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และเพื่อให้ได้ผล การศึกษาที่ชัดเจนมากขึ้น และควรศึกษาแบบจำลองคุณภาพการบริการหลังการขายกับธุรกิจ อื่น ๆ ที่มีลักษณะผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจการบริการ ธุรกิจค้าปลีกท้ังในประเทศไทย หรือต่างประเทศ ที่มีบริบททางสังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย และเศรษฐกิจ แตกต่าง กันออกไป เอกสารอ้างองิ ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2561). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบนั วจิ ยั เพ่อื การพัฒนาประเทศไทย (ทดี อี ารไ์ อ). ทวนชัย อรุณโรจน์ และเกรียงชัย ปึงประวัติ. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนระดับ อาชีวศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้สอดรับกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซยี น. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2). 16-23. นักวิชาการ คนที่ 5. (2563). กลยุทธ์การบรหิ ารจดั การเพื่อเสรมิ สร้างความเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา. (ณทั ฐศกั ด์ิ สำราญรน่ื และคณะ, ผู้สมั ภาษณ)์ บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยา การพมิ พ์. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา หน้า 1 เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก (5 มนี าคม 2551). ลือชัย แก้วสุข. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนอง ความต้องการกําลังคนของสถานประกอบการ. ใน ดุษฎีนิพนธิ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบรหิ ารการศึกษา. จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. วิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา. (2562). สถิติข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 19 มกราคม
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 299 2563 จาก http://techno.vec.go.th/th-th/บริการข้อมูล/ข้อมูลสถิติด้าน การศึกษา/สถติ ขิ ้อมูลนกั เรยี นนกั ศกึ ษาปี2562.aspx สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนัก นายกรฐั มนตร.ี สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2555). คู่มือการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธกิ าร. กรงุ เทพมหานคร: แผนกวชิ าการพิมพว์ ิทยาลัยเทคนิคมนี บุร.ี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล (พมิ พค์ ร้งั ที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สามลดา. Cronbach, L. J. ( 1 9 9 0 ) . Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins Publishers. Cummings, T. G. & Worley, C. G. (2005). Organization Development and Change (8th ed.). Ohio: Thomson South-Western. Davidsson, P. (1989). Entrepreneurship And After? A Study of Growth Willingness in Small Firms. Journal of Business Venturing, 4(3), 211-226. Evans, D. S. ( 1 9 8 7 ) . Tests of Alternative Theories of Firm Growth. Journal of Political Economy, 95(4),657-674. Ferreira, J. & Azevedo, S. (2007). Entrepreneurial Orientation as a main Resource and Capability on Small Firm’ s Growth. Retrieved March 3 , 2 0 2 0 , from https://mpra.ub.uni-muenchen.de/5682/ Kaikkonen, V. (2006). Exploring The Dilemmas Of Small Business Growth: The Case Of Rural Food-Processing Micro Firms. Journal of Enterprising Culture, 14(2), 87-104. Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
รปู แบบการทจุ ริตคอร์รัปชนั และปัจจยั ท่ีสง่ ผลตอ่ การทจุ ริต คอร์รปั ชนั ในองค์กรภาครัฐ* A MODEL OF CORRUPTION AND FACTORS LEADING TO CORRUPTION IN THE PUBLIC SECTOR กิตติ สัตรัตน์ Kitti Sattarat ฤาเดช เกดิ วชิ ยั Luedech Girdwichai ดวงสมร โสภณธาดา Duangsamorn Sophontada มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสนุ นั ทา Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand E-mail: [email protected] บทคดั ยอ่ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมของการทุจริตคอร์รัปชัน และประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ 2) ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิ ชอบในองค์กรภาครัฐ และ 3) รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและ ประพฤตมิ ิชอบในองค์กรภาครฐั เป็นการวิจยั เชิงคุณภาพและการวจิ ัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้ให้ขอ้ มูลสำคญั จำนวน 8 คน และ บุคลากรทป่ี ฏบิ ตั งิ านธนาคารรวมถงึ ประชาชนท่ีติดต่อเพื่อ รับบริการและร้องเรียน จำนวน 400 คน โดยใช้สตู รทาโร่ ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบช้ันภมู ิ อย่างเป็นสัดส่วน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ ภาครัฐ ยังคงเป็นปัญหาระดับชาติ เพราะมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการร้องเรียนจาก ประชาชนและภาคสว่ นอื่นมีจำนวนมากขึ้น จึงเป็นปัญหาท่ีควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและ เร่งด่วน 2) ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก คือ ระบบการตรวจสอบภายในมีการแทรกแซงและใช้อำนาจของนักการเมือง การบริหารงานของรัฐ การเป็นแบบอย่างของผู้นำ และกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และ ปัจจัยภายใน คือ ความซื่อสัตย์สุจริต โอกาสและแรงจูงใจ พฤติกรรมการลอกเลียนแบบ ค่านิยมส่วนบุคคล และทัศนคติต่อการทุจริตคอร์รัปชัน และ 3) รูปแบบการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชนั และประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ จำเป็นต้องประกอบด้วย * Received 9 September 2020; Revised 17 January 2021; Accepted 19 January 2021
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 301 1) การตรวจสอบภาครัฐ 2) ระเบียบวินัย 3) การบังคับใช้กฎหมาย 4) การตระหนักในหน้าที่ 5) มาตรการทางสังคม 6) ตัวแบบสังคม 7) ทัศนคติทางสังคม 8) การปลูกฝังค่านิยมและ จติ สำนึก และ 9) การสนบั สนุนจากส่อื มวลชน คำสำคญั : รูปแบบ, การทุจริตคอร์รปั ชัน, ปจั จัย, องค์กรภาครฐั Abstract The objectives of this research article were to 1) the study of the tolerance of evidence checking and rigor in the government guard, 2) the sovereignty that influences the act of chrysalis and the public sector, and 3) the defense model. Furthermore, coaching corruption and misconduct in government organizations. There are eight populace of the range of informants and personnel working the bank, together with 400 people who contacted for carrier and complaints, the use of the Taro Yamane, T. components, and a proportionate random sampling. Data collection used questionnaires and analyzed descriptive data and content material analysis. The lookup findings have been as follows: 1) Corruption and misconduct of authorities officials. Still, a national problem was more significant, including a variety of complaints both of the public official's sectors and related sectors. It was a problem that ought to be solved seriously and urgently. 2) Factors in corruption and misconduct in authority organizations, particularly the internal audit system, intervention, and exercising of politicians' electricity. State administration to be being able to an example of a leader and law enforcement processes and inside elements are honesty. Opportunity and motivation, impersonation behavior and personal values, and attitudes toward corruption and 3) Prevention and suppression of corruption and misconduct in public organizations It is critical to consist of 1) authorities audit 2) self - discipline 3) regulation enforcement 4) practical attention 5) social measures 6) social models 7) social attitudes 8) instilling values and moral sense and 9) Support from the media Keywords: Model, Corruption, Factors, The Public Sector บทนำ ประเทศไทยได้ดำเนินการให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน การทุจริต ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) ซึ่งเป็นอนุสัญญาฉบับแรกที่ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือ
302 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ระหว่างประเทศในการติดตามทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริตกลับคืน รวมทั้งการให้ความร่วมมือ ทางกฎหมายเพ่ือดำเนินคดีกบั ผู้กระทำความผิด โดยเนอ้ื หาหลักในอนุสัญญาดังกล่าว แบ่งเป็น 4 หมวดหลักได้แก่ การป้องกันการทุจริต การกำหนดความผิดทางอาญาและการบังคับใช้ กฎหมาย ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการติดตามทรัพย์สินคืน โดยประเทศไทยได้ให้ สัตยาบันเข้าเป็นรฐั ภาคอี ย่างสมบรู ณ์ เม่ือวนั ที่ 31 มีนาคม 2554 เปน็ ลำดบั ท่ี 149 แต่ปัจจุบัน พบว่าปัญหาการทุจริตของไทยยังคงปรากฏรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน การประพฤติมิชอบ การเรียกรับสินบน และการปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่โปร่งใสขององค์กรภาครัฐ จะเห็นได้จาก รายงานการวิจัยคอรร์ ัปชันในระบบราชการไทย: การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้า ครัวเรือนของ ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ พบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่มีประสบการณ์ถูกเรียก สินบน/เงินพิเศษเมื่อไปติดต่อราชการ มีจำนวนร้อยละ 4.8 ส่วนใหญ่ถูกเรียกเป็นเงินไม่เกิน 1,000 บาท แต่บางหน่วยงานที่หัวหน้าครัวเรือนตอบว่าเรียกเป็นเงินก้อนใหญ่ถึงจำนวนแสน บาท ซึ่งเป็นสดั ส่วนที่ลดลงร้อยละ 10 (ผาสุก พงษ์ไพจิตร เเละคณะ, 2557) และยังสอดคล้อง กับการสำรวจ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ได้จัดทำ ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ประจำปี 2561 เพื่อประเมิน สถานการณ์การคอร์รัปชันในภูมิภาคต่าง ๆ ในระดับโลก พบว่า ประเทศไทยตกอยู่ในอันดับท่ี 99 ด้วยคะแนนความโปร่งใส 36 คะแนน ตกลงไปจากปี 2560 ที่ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 96 ด้วยคะแนน ความโปร่งใส 37 คะแนน ประเทศไทยมีการคอร์รัปชันเพิ่มขึ้น โดยองค์กรต่อต้าน คอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ระบุสาเหตุว่าเกิดจากระบบข้าราชการไทยที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหา เรื่องการรับสินบน ประกอบกับองค์กรตรวจสอบทุจริตค่อนข้างอ่อนแอ ถึงขั้นลดการฝาก ความหวังไว้กับการเมืองและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) (ไทยรัฐฉบับพิมพ,์ 2562) ปัญหาการคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และเสียหาย ทั้งต่อระบบเศรษฐกจิ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของคนไทยอย่างรุนแรง เพราะทำให้เกิด การเร่งรัดใช้จ่ายทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณะสมบัติ งบประมาณ ฯลฯ ในระยะส้ัน เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งเกิดขึ้น ทุกองค์กร หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักการเมือง ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ข้าราชการไทยทุกองค์กร ทุกหน่วยงาน ทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งกลุ่มคนที่ทำการทุจริตคอรัปชั่นเหล่านี้ ล้วนเป็นคนกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในการอนุมัติ โครงการ และงบประมาณ เพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง มากกว่าไปสร้าง ผลประโยชน์ระยะยาวของประชาชนส่วนใหญ่ การเร่งรัดทำลายทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าและ บริการเพื่อแสวงหาผล กำไรสูงสุดขององค์กรเอกชน ทำให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อม การขาดสมดุลในระบบนิเวศ การขาดสมดุลระหว่างเมืองกับชนบท การกระจายรายได้และ ทรัพย์สินที่ไม่เป็นธรรม ปัญหา ความยากจน และปัญหาทางสังคม และวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น ค่านิยมที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่การ บริโภค และเห็นแก่ตัว เป็นต้น ซึ่งมีการพัฒนาการทั้ง
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 303 รปู แบบและวธิ ีการต่าง ๆ โดยการปลุกปัน่ ของนักการเมอื งและพรรคการเมืองทกุ พรรคที่ทุจริต คอร์รัปชันร่วมกับข้าราชการและนักธุรกิจ การเมือง (Srivithaya, S., 2015) ส่งผลต่อความ ความโปร่งใสในการปฏิบัติงานทางการบัญชี ด้านมาตรฐานและความเชื่อถือได้ ที่ส่งผลต่อ ความสัมพันธ์และผลกระทบเชงิ บวกกับคุณภาพ รายงานทางการเงนิ โดยรวม (Lasritad, K. et al, 2015) ในขณะเดียวกันด้วยรูปแบบและวิธีการทุจริตคอร์รัปชันในปัจจุบันได้พัฒนาจนยาก ต่อการตรวจสอบและจับกุม เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายสะสมเป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่สามารถ แก้ไขได้ และบั่นทอนความเจรญิ ก้าวหน้าของสงั คมไทยอยา่ งมาก จากขอ้ มูลขา้ งต้น เปน็ เหตุผลสำคญั ที่ทำให้ ผู้วิจัยจึงมคี วามสนใจศึกษาสภาพแวดล้อม บริบททั่วไปของการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐเป็นอย่างไร ปัจจัยท่ี นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐเกิดจากสาเหตุใดบ้าง และ นำเสนอรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กร ภาครัฐเพื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน (สตง.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องสามารถนำ รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบไปเป็นแนวทางเพ่ือ แก้ไขปัญหาการทุจริตของเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ตรงตามบริบทขององค์กร และสามารถถ่ายทอด ความรตู้ ่อประชาชนในพ้ืนท่ี เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามสี ่วนร่วมป้องกันปัญหาการทุจริต คอรร์ ปั ชันและประพฤตมิ ชิ อบขององค์กรภาครัฐอย่างย่ังยืนต่อไป วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย 1. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กร ภาครัฐ 2. เพ่อื ศกึ ษาปจั จยั ทีส่ ง่ ผลต่อการทุจรติ คอรร์ ปั ชันและประพฤตมิ ชิ อบในองคก์ รภาครัฐ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติ มิชอบในองคก์ รภาครฐั วธิ ีดำเนนิ การวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีขน้ั ตอนการวิจยั ดังน้ี ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจยั คร้ังนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 96 คน 2) ภาคเอกชน คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานธนาคาร จำนวน 252,084 คน และ
304 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 3) ประชาชนที่ติดต่อเพื่อรับบริการและร้องเรียนจากองค์กรภาครัฐ จำนวน 11,106 คน รวม จำนวน 263,286 คน กลมุ่ ตัวอย่าง ประชากรกลุ่มที่ 1 มีจำนวนประชากร 96 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างให้เป็นผู้ให้ข้อมูล สำคัญ (Key Informant) ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ตัวแทนผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตใน องค์กรภาครัฐ จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 2 คน ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทจุ ริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จำนวน 2 คน ผู้บริหารสำนักงานการตรวจเงนิ แผ่นดิน (สตง.) จำนวน 2 คน และผู้บริหารสำนักงานผูต้ รวจการแผน่ ดิน จำนวน 2 คน ประชากรกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 มีจำนวนประชากร 263,190 คน กำหนดกลุ่ม ตวั อย่างจากแนวคิดของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, T., 1973) กำหนดความคลาดเคลอ่ื นที่ 0.05 และดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชน้ั ภูมิอย่างเป็นสัดสว่ น (Stratified Random Sampling) ตามจำนวนประชากร 263,190 คน เมอ่ื แทนคา่ สมการจะได้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399.39 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ปรับจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็น 400 คน เพื่อสะดวกต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากนั้นผู้วิจัยดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่าง เป็นสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ตามจำนวนประชากร รายละเอยี ดดงั ตารางท่ี 1 ตารางที่ 1 จำนวนประชากรภาคเอกชนและภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาคประชาชน จำนวนประชาชน (คน) บุคลากรท่ปี ฏบิ ตั งิ านธนาคาร ประชากร (คน) กลมุ่ ตัวอย่าง(คน) ประชาชนทต่ี ิดต่อเพอื่ รับบริการและรอ้ งเรยี นจาก องคก์ รภาครัฐ 252,084 383 รวม 11,106 17 263,190 400 เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการวิจยั 1. เครอื่ งมือทใ่ี ชใ้ นการศึกษาสภาพแวดล้อมบริบททัว่ ไปของการทุจรติ คอร์รัป ชันและประพฤตมิ ชิ อบในองค์กรภาครฐั และรูปแบบการป้องกนั และปราบปรามการทจุ ริตคอร์รัป ชันและประพฤตมิ ิชอบในองคก์ รภาครฐั คือ แบบสมั ภาษณแ์ บบมีโครงสรา้ ง 2. เคร่อื งมือทใี่ ช้ในการศึกษาปัจจยั ที่นำไปสกู่ ารทจุ ริตคอร์รัปชันและประพฤติ มชิ อบในองค์กรภาครฐั แบบสอบถาม (Questionnaire) การหาคุณภาพเครือ่ งมือ ผู้วิจัยทำการหาคุณภาพเครื่องมือ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความ เที่ยงตรงโดยพิจารณาจากข้อคำถามในการสัมภาษณ์ พบวา่ ขอ้ คำถามมีความครอบคลุมเน้ือหา
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 305 ครบถ้วน มีข้อคำถามถูกต้องเหมาะสมตรงตามโครงสร้าง และมีภาษาที่ใช้เหมาะสมกับผู้ให้ ข้อมูล สำหรับแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นภาพรวมเท่ากับ 0.960 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยภายในมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.962 ปัจจัยภายนอกมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952 การป้องกันและปราบปรามจากภาครัฐมีคา่ ความเชือ่ มั่นเทา่ กับ 0.961 และการป้องกนั และปราบปรามจากภาคสังคมและประชาชนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.966 หลังจากนั้นนำ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) ไปทดลองใช้กับกลุ่ม ตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง (Try Out) จำนวน 30 คน เพื่อนำมาทดสอบค่าความเชื่อม่ัน ค่าสมั ประสิทธ์ิอัลฟา (α) โดยใช้วธิ หี าคา่ สัมประสทิ ธแิ์ อลฟา (α - Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach, L. J., 1990) การเกบ็ รวบรวมข้อมูล ผู้วิจยั ใช้วิธกี ารเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลจาก 2 กลมุ่ คือ 1) ผู้บรหิ ารองค์กรภาครัฐท่เี ก่ียวข้อง กับการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยวิธีการเลือก ตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 คน โดยการสัมภาษณ์โดยตรง และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ธนาคารและประชาชนที่ตดิ ต่อเพ่ือรับบริการและร้องเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครฐั (ป.ป.ท.) และสำนกั งานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 400 คน โดยการรับคนื ด้วยตนเองและรับคนื ทางไปรษณยี ์ โดยได้รับคนื ทั้งสิ้น 400 ชดุ คดิ เป็นรอ้ ยละ 100 การวิเคราะหข์ ้อมูล 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปเนื้อหาที่ ไดจ้ ากการสัมภาษณ์ 2. การวเิ คราะห์ข้อมูลเชิงริมาณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรปู โปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistical Package for the Social Science) โดยใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ (Frequencies) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และสว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัย 1. สภาพแวดลอ้ มของการทุจริตคอรร์ ปั ชนั และประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ การทุจริตคอรร์ ัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐมมี ากข้ึนเมื่อเปรียบเทียบกับ ในอดีตซึ่งจะเป็นส่วนใหญ่เป็นปัญหาระดับชาติที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยพิจารณาจากดัชนีช้ีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index: CPI) ที่ยัง ปรากฏตัวเลขในระดับสูง รวมถึงการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าท่ี ภาครัฐทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลางจากประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
306 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) จัดการบ้านเมือง โดยสาเหตุของการการเพิ่มขึ้นการทุจริตคอร์รัปชั่นและประพฤติมิชอบแบ่ง ออกไดเ้ ป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1) เกิดจากพฤติกรรมความโลภ 2) เกิดจาการมโี อกาสหรือช่องทางใน ระบบการทำงาน 3) เกิดจากการขาดจรยิ ธรรม และ 4) เกิดจากแรงจงู ใจและความคุ้มค่าในการ เสี่ยง โดยเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลท่ีมีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผลประโยชน์ ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีความคิดเห็นร้อยละ 37.5 ของผู้ให้ ข้อมูลสำคัญที่เห็นตรงกันว่าการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ภาครัฐมี แนวโน้มลดลง โดยเปรียบเทียบกับสถิติในการจัดซื้อจัดจ้างในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากการ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสมากขึ้นและมีการจัดตั้ง สำนกั งานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในระดับภูมภิ าค ทำให้ประชาชน สามารถติดต่อขอส่งเร่ืองร้องเรยี นได้สะดวกมากข้ึน 2. ปจั จัยท่ีส่งผลตอ่ การทจุ ริตคอร์รปั ชนั และประพฤตมิ ิชอบในองค์กรภาครฐั ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนของปัจจัยที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันและ ประพฤติมิชอบในองค์กรภาครฐั ในภาพรวม สภาพแวดล้อม ���̅��� S.D. แปลผล ลำดบั 1. ปจั จยั ภายใน 4.04 0.59 มาก 2 2. ปจั จัยภายนอก 4.09 0.64 มาก 1 รวม 4.06 .061 มาก จากตารางที่ 2 พบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบใน องค์กรภาครัฐในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (������̅ = 4.06) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยนอกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (������̅ = 4.09) รองลงมา คือ ปัจจัยภายใน (������̅ = 4.04) ตามลำดับ ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนของปัจจัยภายในที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน และประพฤตมิ ชิ อบในองคก์ รภาครฐั ปจั จยั ภายใน ̅������ S.D. แปลผล ลำดับ ความซอ่ื สตั ย์สจุ รติ 4.29 0.61 มากทสี่ ุด 1 โอกาสและแรงจงู ใจ 4.25 0.62 มากที่สดุ 2 คา่ นิยมส่วนบคุ คล 4.04 0.63 มาก 4 ทัศนคตติ ่อการทจุ รติ คอร์รปั ชัน 3.55 0.53 มาก 5 พฤตกิ รรมการลอกเลยี นแบบ 4.08 0.58 มาก 3 รวม 4.04 0.59 มาก จากตารางที่ 3 พบว่า ปัจจัยในภายใน ปัจจัยภายในที่นำไปสู่การทุจริตคอรร์ ปั ชันและ ประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (������̅ = 4.04) โดยปัจจัยด้านความ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 307 ซื่อสัตย์สุจริตมีเฉลี่ยมากที่สุดคือระดับมากที่สุด (������̅ = 4.29) และปัจจัยด้านทัศนคติต่อการ ทจุ รติ คอร์รัปชัน มีคา่ เฉลย่ี นอ้ ยทสี่ ุดคือ ระดบั มาก (������̅ =3.55) ตารางท่ี 4 คา่ เฉลย่ี และส่วนเบีย่ งเบนของปจั จัยภายนอกท่ีนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน และ ประพฤตมิ ิชอบในองค์กรภาครัฐ ปัจจัยภายนอก ̅������ S.D. แปลผล ลำดับ การแทรกแซงและใชอ้ ำนาจของ 4.15 0.66 มาก 2 นักการเมือง กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย 3.90 0.63 มาก 5 การเป็นแบบอยา่ งของผนู้ ำ 4.05 0.61 มาก 4 การบริหารงานของรฐั 4.06 0.62 มาก 3 ระบบการตรวจสอบภายใน 4.27 0.67 มากท่ีสดุ 1 รวม 4.09 0.64 มาก จากตารางท่ี 4 พบว่า ปัจจยั ภายนอกที่นำไปส่กู ารทจุ ริตคอรร์ ปั ชันและประพฤติมิชอบ ในองค์กรภาครัฐมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (������̅ = 4.09) โดยปัจจัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตมี เฉลี่ยมากที่สุดคือ ระดับมากที่สุด (������̅ = 4.27) และปัจจัยด้านกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย มีค่าเฉลีย่ น้อยท่ีสดุ คือ ระดบั มาก (������̅ = 3.55) นอกจากน้ียังพบว่า มีประเดน็ ท่นี ่าสนใจเกย่ี วกบั ปจั จยั ท่ีจะนำไปสกู่ ารทุจรติ คอร์รัปชัน และประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย 1) คน ได้แก่ ข้าราชการและเจ้าหน้าท่ี ของรัฐที่ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวก พ้องเป็นสำคัญ และมีความพยายามในใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อกระทำการที่เป็นการทุจริต คอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กร นอกจากนี้ยังมีข้าราชการระดับสูงบางคนใช้อำนาจ หน้าที่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร กำหนดนโยบายท่ีเอ้ือต่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 2) ระบบ บริหารจดั การ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ กระบวนการยุติธรรมไม่มี มาตรฐาน ระบบธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐอ่อนแอ และกระบวนการตรวจสอบไม่โปร่งใส ส่วนกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของข้าราชการพลเรือนก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งการละเว้น ละเลย และเพิกเฉยต่อการกระทำความผิด ทั้งนี้เนื่องจากมีการพิจารณา เข้าข้างประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าการคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาและความ เดือดร้อนที่ประชาชนและสังคมได้รับ และ 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการจากภาครัฐในด้านต่าง ๆ และหน่วยงานที่เป็นองค์กร ที่เป็นภาคสังคมและภาคธุรกิจ ได้มีการร่วมมือกันทุจริตคอร์รัปชันและมีความประพฤติมิชอบ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ เนื่องเกรงกลัวต่ออำนาจและการสูญเสียผลประโยชน์ที่คาดว่า จะได้รบั ในอนาคต
308 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 3. รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบใน องคก์ รภาครฐั จากการวิเคราะห์และสงั เคราะห์ทั้งการสัมภาษณแ์ ละการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่งผลให้ ผู้เขียนได้สังเคราะห์เป็นรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติ มิชอบในองค์กรภาครัฐ โดยมีองค์ประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญคือ ภาครัฐ ประกอบด้วย 1) การตรวจสอบภาครัฐ มีกระบวนการตรวจสอบการทุจริตที่ชัดเจน มีการติดตามและ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และจัดทำรายงานผลอย่างความโปร่งใส 2) ระเบียบวินัย เพิ่ม มาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนเพื่อลดพฤติกรรมการเลียนแบบ เจ้าหน้าทข่ี องรัฐปฏิบัติหน้าท่ี อย่างเคร่งครัด พิจารณากฎระเบียบวินัยเพื่อลดช่องโหว่ 3) การบังคับใช้กฎหมาย ผู้รักษา กฎหมายปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม และ 4) การตระหนักในหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมี คุณธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน ซื่อสัตย์ต่ออาชีพกล้าที่จะปฏิเสธการกระทำผิด และส่วนที่สำคัญอีก 1 ส่วนคือ ภาคประชาสังคม ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรการทางสังคม ควรมีหน่วยงานภายนอกช่วยตรวจสอบการกระทำการทุจริต ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการ ต่อต้านการทุจริต 2) ตัวแบบสังคม สถาบันครอบครัวเป็นตัวอย่างที่ดีผู้บริหารองค์กรและ ผู้บริหารประเทศเป็นแบบอย่างผู้นำการบริหารงานอย่างสุจริต 3) ทัศนคติทางสังคมเปลี่ยน ความเชื่อวา่ การกระทำการทจุ ริตไม่ใชเ่ รื่องปกติ ยกย่องผมู้ ีคุณธรรมในการปฏิบัตงิ านมากกว่าผู้ มีอำนาจ 4) การปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึก ครอบครัวปลูกฝังให้เยาวชนซื่อสัตย์สุจริตสังคม ควรใช้หลักธรรมนำทางสู่ความโปร่งใสสถาบันการศึกษาควรปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึง ความซื่อสัตย์สจุ ริต และ 5) การสนับสนุนจากสื่อมวลชน สื่อมวลชนสามารถเป็นกระบอกเสียง ใหก้ ับสังคม มีส่วนรว่ มในการตรวจสอบการทุจริตและนำเสนอยกย่องผู้กระทำดี ซงึ่ ปรากฏตาม ภาพท่ี 1
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 309 ภาพท่ี 1 รูปแบบการปอ้ งกนั และปราบปรามการทุจริตคอรร์ ปั ชันและประพฤตมิ ชิ อบ ในองค์กรภาครัฐ อภิปรายผล 1. การทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในปัจจุบันมีมากข้ึน ซึ่งเกิดจากจำนวนหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการ องค์กรแบบกระจายอำนาจซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการองค์กร สามารถเข้าถงึ และมสี ่วนรว่ มในการบริหารองค์กร โดยเฉพาะดา้ นการบรหิ ารทรัพยากรบุคคลที่ ระบบอุปถัมภ์ซง่ึ สอดคล้องกับผลการวิจยั ของ จารุวรรณ สุขมุ าลพงษ์ ไดศ้ กึ ษาเก่ียวกับแนวโน้ม
310 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ของคอรร์ ัปชนั ในประเทศไทย พบวา่ ปญั หาคอรร์ ัปชันเกิดข้ึนในสงั คมไทยมาช้านานและมแี นวโน้ม ที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ (จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์, 2556) และสังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะ ได้ศึกษาเก่ียวกับการต่อต้านการคอร์รัปชันมาตรการการควบคุมการเคล่ือนไหวของเงิน และพบปัญหาดังกล่าวเกือบทุกภาคสว่ น ไม่ไดจ้ ำกัดอยู่เพียงภาครัฐแตป่ ัจจุบันเข้าไปเก่ียวข้องกับ ภาคการเมืองและภาคธุรกิจเอกชน จนทำให้เกิดการคอร์รัปชันทางเศรษฐกิจ (Economic Corruption) การคอร์รัปชันทางการเมือง (Political Corruption) และการคอร์รัปชันในการ บริหารราชการ (Administrative) ถึงแม้รัฐบาลมีความพยายามป้องกันและแก้ไขมาโดยตลอด แต่ดูเหมือนว่าปัญหาการคอร์รัปชันก็ไม่ได้ถูกแก้ไขได้เท่าใดนัก ปัจจัยที่สง่ เสรมิ ให้เกิดการทุจรติ คอร์รปั ชันและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าทภ่ี าครัฐคือ คน ระบบบรหิ ารจัดการ และการมีส่วน ร่วม (สังศิต พิริยรังสรรค์ และคณะ, 2558) นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของ ปิยะธิดา อภัยภักดิ์ และเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ที่อธิบายสาเหตุของการทุจริตคอร์รัปชันว่าเกิดจาก ปัจจัยภายใน คือ ความอ่อนแอทางด้านจิตใจของคน ความอยากได้ในสิ่งที่เกินกำลัง ความสามารถของตน ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ไม่กล้าปฏิเสธหรือขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ไม่มีความซื่อสตั ย์ เห็นแก่ประโยชนส์ ่วนตน และเกิดจากปจั จัยภายนอก คือ การบริหารจัดการ ไม่มีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง การแทรกแซงทางการเมือง ความล่าช้าของ กระบวนการบังคับใช้กฎหมายป้องกันปราบปรามการทุจริต กฎหมายมีช่องโหว่ และการขาด จิตสำนกึ เพอ่ื สว่ นรวม เปน็ ตน้ ประเดน็ ทีน่ ่าสนใจคือ ข้าราชการระดับสงู บางคนยังคงใช้อำนาจ หน้าที่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร (ปิยะธิดา อภัยภักด์ิ, 2561); (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักด์ิ, 2547) และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ พบว่าสาเหตุสำคัญของการทุจริตคอร์รัป ชันเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐขาดคุณธรรมและไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ (เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์, 2553) เชน่ เดยี วกบั ผลการวจิ ัยของ กิตตศิ ักดิ์ รัฐประเสรฐิ และคณะ ทพี่ บวา่ สาเหตขุ องการทุจริต เกิดจากระบบอุปถัมภ์ เชิดชูคนมีเงิน และขาดจิตสำนึกของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนอุปสรรคที่เกิดจาก ระบบบริหารจัดการ คือ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ กระบวนการยุติธรรมไม่มี มาตรฐาน ระบบธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐอ่อนแอ และกระบวนการตรวจสอบไม่โปร่งใส การบงั คับใชก้ ฎหมายยังไมม่ ีประสิทธภิ าพเท่าท่ีควร (กติ ติศกั ดิ์ รัฐประเสริฐ และคณะ, 2557) 2. ปจั จัยที่นำไปสู่การทจุ ริตคอร์รัปชนั และประพฤติมชิ อบในองค์กรภาครัฐ ได้แก่ ปัจจัย ภายในของบุคคล เช่น ความโลภและไม่รู้จักพอ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ ส่วนรวม การยอมรับว่าการทุจริตเป็นเรื่องปกติ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ดิฐภัทร บวรชัย ได้ศึกษาเรื่องรูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหนา้ ที่ตำรวจกรณีศึกษา ระดับสถานีตำรวจ พบว่าการทุจริตประพฤติมิชอบเกิดจากการตอบแทนผู้มีพระคุณ ยอมรับการ ทุจริตเป็นเรื่องปกติ คิดว่าไม่มีใครจับได้ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต คุ้มค่าที่จะเสี่ยง ความโลภ ไม่รู้จักพอ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ความเคยชิน คิดว่าใคร ๆ ก็ทำกันด้านโอกาสและแรงจูงใจ ได้แก่ ผลประโยชน์ที่ได้รับสามารถจูงใจให้ประพฤติมิชอบสภาพการทำงานและหน้าที่ความ
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 311 รับผิดชอบเปิดโอกาสให้กระทำการทุจริตจติ ใจไม่เข้มแข็งต่อสิ่งยั่วยุ มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อ การครองชีพ ต้องการความร่ำรวย ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ จึงทำให้กล้าที่จะเสี่ยงกระทำการ ทุจรติ บา้ งการเหน็ ตัวอย่างจากผบู้ ังคับบัญชาและเพ่ือนร่วมอาชีพและเห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่องที่ ใคร ๆ ก็ทำกัน ส่วนปัจจัยภายนอก พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากระบบการตรวจสอบภาย ได้แก่ ความล่าช้าในการตรวจสอบการทุจริต จึงทำให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันยังไม่สามารถแก้ไขได้ ระบบการตรวจสอบภายในขององค์กรภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร และขาดการติดตาม การตรวจสอบการทุจริตในองค์กรภาครัฐ จึงทำให้เกิดการทุจริตอย่างต่อเนื่อง (ดิฐภัทร บวรชัย, 2560) สอดคล้องกับผลการวิจัยของ David Chapman ได้ศึกษาเรื่อง Corruption and the Education Sector และ Heyneman, S. P. ไดศ้ ึกษาเรื่อง Education and corruption พบว่า ภาพรวมของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตเกิดจากระบบการตรวจสอบภายในที่ยังขาด ประสิทธิภาพเท่าที่ควร การขาดการตรวจสอบหรือการควบคุมดูแลการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา ความล่าช้าในการตรวจสอบการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ทำให้ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัว ต่อการถูกจับได้และบทลงโทษที่จะได้รับ (Chapman, D., 2002); (Heyneman, S. P., 2004) ยงั สอดคล้องกับ Asiedu, K. F. & Deffor, E. W. ท่ีค้นพบว่า การควบคมุ คุณภาพของกระบวนการ ตรวจสอบภายในเป็นเรื่องสำคัญท่ีสุดสำหรบั องค์กรภาครัฐการเสริมสร้างการกำกับดูแลและการ ตรวจสอบภายในตอ้ งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติกฎหมาย และขอ้ บังคับทีเ่ กยี่ วข้อง โดยเฉพาะ ความเป็นอสิ ระของระบบการตรวจสอบภายใน (Asiedu, K. F. & Deffor, E. W., 2017) 3. รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กร ภาครัฐ รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กร ภาครัฐ โดยมีองค์ประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญคือ ภาครัฐ ประกอบด้วย 1) การตรวจสอบภาครัฐ มีกระบวนการตรวจสอบการทุจริตที่ชัดเจน มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และจัดทำรายงานผลอย่างความโปร่งใส 2) ระเบียบวนิ ัย เพมิ่ มาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจน เพื่อลดพฤติกรรมการเลียนแบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด พิจารณา กฎระเบียบวินัยเพื่อลดช่องโหว่ 3) การบังคับใช้กฎหมาย ผู้รักษากฎหมายปฏิบัติหน้าที่อย่าง เป็นธรรม และ 4) การตระหนักในหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีคุณธรรมและจรรยาบรรณ ในการปฏิบัติงาน ซื่อสัตย์ต่ออาชีพกล้าที่จะปฏิเสธการกระทำผิด และส่วนที่สำคัญอีก 1 ส่วน คือ ภาคประชาสังคม ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรการทางสังคม ควรมีหน่วยงานภายนอกช่วย ตรวจสอบการกระทำการทุจริต ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต 2) ตัวแบบ สังคม สถาบันครอบครัวเป็นตัวอย่างที่ดีผู้บริหารองค์กรและผู้บริหารประเทศเป็นแบบอย่าง ผู้นำการบริหารงานอย่างสุจริต 3) ทัศนคติทางสังคมเปลี่ยนความเชื่อว่าการกระทำการทุจริต ไม่ใช่เรื่องปกติ ยกย่องผู้มีคุณธรรมในการปฏิบัติงานมากกว่าผู้มีอำนาจ 4) การปลูกฝังค่านิยม และจิตสำนึก ครอบครัวปลูกฝังให้เยาวชนซื่อสัตย์สุจริตสังคมควรใช้หลักธรรมนำทางสู่ความ โปร่งใสสถาบันการศึกษาควรปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงความซื่อสัตย์สุจริต และ
312 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 5) การสนบั สนนุ จากส่ือมวลชน สือ่ มวลชนสามารถเปน็ กระบอกเสยี งให้กบั สังคม มีส่วนร่วมใน การตรวจสอบการทุจริตและนำเสนอยกย่องผู้กระทำดีสอดคล้องกับแนวคิดของ วิไลวัจส์ กฤษณะภตู ิ และคณะ วา่ สภาพการปอ้ งกันและแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชนั ตามทศั นะของประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการตั้งกรรมการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีมาตรการเคร่งครัด มีวิธีการป้องกันการประมูลโครงการ (การฮั้วกัน) โดยใช้ E - auction จัดตั้งกลุ่มหรือชมรม ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบลอำเภอ จังหวัด และประเทศ และสร้าง หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาการทุจริตคอร์รัปชันตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา (วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ เเละคณะ, 2560) เช่นเดียวกับแนวคดิ ของ วิทยากร เชียงกูล ที่อธิบายแนวทางและการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในต่างประเทศ เช่น ประเทศฟินแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ได้แก่ การออกกฎหมาย การบริหารจัดการ ที่ดีการสร้างค่านิยมของประชาชน ด้วยความเสมอภาค ไม่มีความความแตกต่างทางชนชั้นมี องค์กรอิสระในการปราบปรามคอร์รัปชันมีความโปร่งใสและความเปิดเผยจากภาครัฐ ให้สิทธิ ประชาชนเขา้ ถึงข้อมลู ข่าวสารและมีส่วนรว่ ม เปน็ ตน้ (วทิ ยากร เชียงกูล, 2549) สรปุ /ขอ้ เสนอแนะ การทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐไทยนั้น ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ระดับชาติที่มีมาอย่างยาวนานและต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีจำนวนของการกระทำผิด มากขึ้นและมีรูปแบบที่หลากหลายซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทางสังคม และ ทางการเมือง ในขณะเดียวกันการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ เกิดจาก ปัจจัยหลายประการทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ในองค์กรภาครัฐมีการทุจริต คอร์รัปชันและประพฤติมิชอบปรากฏให้เห็นเป็นประจำทุกวัน ซึ่งการป้องกันและปราบปราม ปัญหาดังกล่าวย่อมต้องมีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้สังคมไทยปลอดทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบใน องค์กรภาครัฐต่อไปในอนาคต ดังนั้นรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ต้อง ตระหนักและมุ่งเน้นการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างจริงจัง และทีส่ ำคญั จะต้องมีการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มข้นและไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งควรเพิ่มรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ควรพัฒนาระบบการ ตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรเพิ่มการบูรณาการการป้องกันควบคู่กับการ ปราบปรามการทุจริตควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบ การมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน ระบบการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน และประพฤติมิชอบในองค์กรภาครัฐ เพื่อจะได้นำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติและนำไปสู่องค์กร ปลอดการทุจริตในอนาคตได้ นอกจากน้ีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีท่ี 6 ฉบับท่ี 1 (มกราคม 2564) | 313 (ป.ป.ท.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นอย่าง เอาจรงิ เอาจังและกระทำอยา่ งต่อเนอ่ื ง เอกสารอา้ งองิ กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ และคณะ. (2557). การทุจริตในวงราชการไทย: การสังเคราะห์องค์ ความรู้ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาจากผู้นำและบุคคลสำคัญของประเทศไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ, 18(35), 61-74. เกรยี งศักด์ิ เจรญิ วงศ์ศักด์.ิ (2547). กลเมด็ เดด็ ปีกคอร์รัปชัน. กรงุ เทพมหานคร: ชคั เซสมเี ดยี . จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอร์รัปชันในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร. ดิฐภัทร บวรชัย. (2560). รูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าท่ี ตำรวจกรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการ วจิ ัยแหง่ ชาติ (วช.). ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2562). คอร์รัปชัน “ไทย” ติด 99 จาก 180 ประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/business/1483145 ปิยะธิดา อภัยภักดิ์. (2561). แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันใน หน่วยงานภาครัฐ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13(1), 1-12. ผาสุก พงษ์ไพจิตร เเละคณะ. (2557). คอร์รัปชันในระบบราชการไทย: การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวจิ ัย. วิทยากร เชียงกูล. (2549). แนวทางปราบคอร์รัปชั่นอย่างได้ผล: เปรียบเทียบไทยกับประเทศ อืน่ . กรุงเทพมหานคร: สายธาร. วไิ ลวจั ส์ กฤษณะภตู ิ เเละคณะ. (2560). แนวทางการปอ้ งกันและการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชัน ตามทัศนะของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารราชนครินทร์, 1(1), 43- 51. สังศิต พิริยรังสรรค์ และคณะ. (2558). การต่อต้านการคอร์รัปชันมาตรการการควบคุมการ เคลอื่ นไหวของเงิน. ใน รายงานการวจิ ยั . สำนกั งานเลขาธิการวฒุ สิ ภา. เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์. (2553). โครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย. ใน รายงานการวจิ ยั . สำนกั งานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจุ ริตแห่งชาต.ิ Asiedu, K. F. & Deffor, E. W. (2017). Fighting Corruption by Means of Effective Internal Audit Function: Evidence fromthe Ghanaian Public Sector. International Journal of Auditing, 21(1), 82-99.
314 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) Chapman, D. (2002). Corruption and the Education Sector. Retrieved December 20, 2019, from https://pdf.usaid.gov/pdf_docs/PNACT874.pdf Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers. Heyneman, S. P. ( 2 0 0 4 ) . Education and corruption. International Journal of Educational Development, 24(2004), 637-648. Lasritad, K. et al. (2015). Effects of Accounting Practice Transparency on Financial Reporting Quality of Municipality in the Northeast Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 34(4), 252-260. Srivithaya, S. (2015). The Rule of Law and the Reconciliation by Buddhist Ways in ThaiSociety. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 20-29. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
แนวทางการจดั การการทอ่ งเทีย่ วชุมชนเพอ่ื สมั ผสั ชาตพิ ันธมุ์ อญ ผ่านวิถวี ัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสงั ขละบุรี จงั หวัดกาญจนบุรี* GUIDELINES IN COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENT AIMING TO FEEL THE PRESENCE OF ETHNICITY THROUGH CULTURAL WAY OF LIFE OF MON 12-MONTH TRADITION IN SANGKHLABURI DISTRICT KANCHANABURI PROVINCE เฉลมิ พล ศรที อง Chaloempon Sritong ธรี พงษ์ เทย่ี งสมพงษ์ Teerapong Teangsompong มหาวิทยาลยั มหิดล วิทยาเขตกาญจนบรุ ี Mahidol University, Kanchanaburi Campus, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของชาติพันธุ์มอญ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่านวิถีวัฒนธรรม ประเพณี 12 เดือน อำเภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และกำหนดแนวทางการจัดการการ ทอ่ งเท่ยี วในชุมชนดังกล่าว ใชร้ ปู แบบการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ โดยเลือกพื้นท่ศี ึกษาอำเภอสังขละบุรี จากความโดดเด่นด้านประเพณีและวิถีชีวิตของชาวมอญ เลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 27 คน ด้วย วิธีเจาะจง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการด้านการ ท่องเที่ยวซึ่งเกี่ยวข้องกับชาวมอญในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไม่น้อยกว่า 3 ปี ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการสนทนาแบบไม่เป็นทางการและการสังเกต แบบมีส่วนร่วม จากนั้นทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ดำเนินการสนทนากลุ่มโดยใช้แนวคำถาม เกี่ยวกับวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม และแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวมอญอำเภอสังขละบุรี ได้อพยพเข้ามาด้วยสาเหตุการสู้รบระหว่างพม่าและชนกลุ่มนอ้ ย โดยการนำของหลวงพ่ออุตตมะ ชาวมอญได้ร่วมสร้างชุมชนและวัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจงึ เกิดประเพณี 12 เดือน 2) ประเพณีของชาวมอญหลาย ประเพณีสามารถสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ ประเพณีกวนข้าว ทิพย์ ประเพณีมหาสงกรานต์ เป็นต้น 3) ควรมีแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อ * Received 20 August 2020; Revised 17 January 2021; Accepted 19 January 2021
316 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) สัมผัสชาติพันธุ์ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวประเพณี 12 เดือน ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนให้เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก อนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีท่ี กำลังสูญหาย และปรบั วถิ กี ารท่องเทย่ี วเป็นวถิ ปี กตใิ หมห่ ลังสถานการณโ์ ควิด 19 คำสำคัญ: การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน, ชาติพันธุ์มอญ, วิถีวัฒนธรรม, ประเพณี 12 เดือน ชาวมอญ Abstract The objectives of this research were to studying the origin of Mon ethnicity, Sangkhlaburi district, Kanchanaburi province, studying the community - based tourism management aiming to feel the presence of ethnicity through cultural way of life of Mon 12 - Month tradition in Sangkhlaburi district, Kanchanaburi province, and creating guidelines in tourism management in the community. In this qualitative research, Sangkhlaburi district was selected as the target area due to the possession of outstanding traditions and ways of life of Mon people. The sample consisted of 27 key informants whose duties and more than 3 years of experiences mainly related to the way of life of Mon community in Sangkhlaburi district chosen by purposive sampling including local scholars, community leaders, and tourism entrepreneurs. Significant data were collected using an in-depth interview, informal interview, and participant observation, and all obtained data were analyzed using content analysis. Additionally, a focus group was conducted by using a set of questions related to the way of life, cultural way, and guidelines in community-based tourism management. The findings pointed out that 1) Mon migration to Sangkhlaburi district was caused by conflicts between Burmese troops and ethnic minorities, and being led by Luangpho Uttama, the faith in Buddhism among Mon people was centered and created the Mon 12 - Month tradition in 2496 BE, 2) several traditions allowed community participation as for promoting community - based tourism including Kuan Khaothip tradition and Songkran festival, and 3) some guidelines in community - based tourism aiming to feel the presence of ethnicity should be managed by creating developmental and promotional plans of Mon 12 - Month tradition, linking the community - based tourism to major tourist attractions, conserving and inheriting traditions considered to be at risk of becoming
วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 317 endangered, and implementing new normal practices after COVID-19 pandemic to tourism industry. Keywords: Community - Based Tourism Management, Mon Ethnicity, Cultural Way, Mon 12 - Month Tradition บทนำ ชาวมอญอำเภอสังขละบุรี คือชาวมอญพลัดถิ่นที่หลีกหนีจากการสู้รบในประเทศพมา่ กับชนกลุ่มน้อย โดยการตดิ ตามหลวงพ่ออุตตมะ มาร่วมสรา้ งชมุ ชนและวัดวังกว์ เิ วการาม เม่อื ปี พ.ศ. 2496 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญและกะเหรี่ยง ชาวมอญอำเภอสังขละบุรีมีวิถีชีวิตเกษตรกรรมและเก็บของป่า จวบจนมีการพัฒนาด้านการ ท่องเที่ยวโดยจังหวัดยกระดับให้อำเภอสังขละบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของ จังหวัด โดยเฉพาะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวดังกลา่ วตั้งอยู่ ใกล้กับชุมชนชาวมอญ จึงส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวมอญเปลี่ยนแปลงจากเดิมจากเกษตรกรรม และเก็บของป่ากลายเป็นการค้าขายภายในหมู่บ้านและการขายของที่ระลึกเพื่อรองรับ นักท่องเที่ยว ชาวมอญให้ความเคารพรักในหลวงพ่ออุตตมะ พระเกจิอาจารย์จากพม่าและนับ ถอื พระพุทธศาสนาเปน็ อย่างมาก (อัญชญั ตณั ฑเทศ และคณะ, 2560) จงึ มปี ระเพณีที่เก่ียวข้อง กบั พระพุทธศาสนาและสบื สานจากอดีตถงึ ปัจจบุ ัน ครบทงั้ 12 เดอื น นับตั้งแต่เดอื นมกราคม - ธันวาคมของทุกปี ที่ผ่านมามีบางประเพณีที่ชุมชนจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้นักท่องเที่ยว มสี ว่ นรว่ ม เช่น ประเพณมี หาสงกรานต์ แต่เปน็ ทน่ี า่ เสยี ดายว่ามีอีกหลายประเพณีซึง่ มีศักยภาพ แตก่ ลับไมไ่ ดส้ ืบสานและส่งเสริมให้เกดิ การทอ่ งเที่ยว จากกระแสการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ถือเป็นส่วน หนึ่งของรูปแบบการท่องเท่ียวในความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism) ที่ได้รับความ นิยมเพิ่มมากขึ้น ด้วยความเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible Cultural Heritage) และมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ภูมปิ ญั ญา ทรพั ย์สินทางปญั ญา งานชา่ งฝีมือพน้ื บา้ น ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ระบบคุณค่า ความเชื่อ พฤติกรรม และวิถีชีวิต (UNESCO, 2003) ภาครัฐให้การสนับสนุนการ ท่องเที่ยวชุมชน ภายใต้หลักการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism: CBT) ซึ่งชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการ เรยี นรแู้ ก่ผู้มาเยอื น (พจนา สวนศรี และสมภพ ยีจ่ อหอ, 2556) ท้ังน้ีการท่องเทีย่ วชมุ ชนถอื เป็น เรื่องราวของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเรยี นรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้มาเยือน เป็นอีกหนง่ึ ในการส่งเสริมและสืบสานวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมถึงการดูแลรักษาทรัพยากรด้านต่าง ๆ ของชุมชน โดยการท่องเที่ยวชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน การมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชน (เทิดชาย ช่วยบำรุง, 2552)
318 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวชุมชนนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของชุมชน พื้นท่ี เศรษฐกจิ สงั คม ประชาชนในชมุ ชนใหม้ ชี ีวิตอยู่ดกี ินดี และสิง่ แวดล้อมได้รบั การอนรุ ักษ์ รวมถงึ การดำรงไวซ้ ่ึงวฒั นธรรม ประเพณี วถิ ีชีวิตอันดงี ามของชมุ ชนสืบทอดรุ่นต่อรนุ่ สามารถบริหาร ทรพั ยากรไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพ และเกิดความย่ังยืนในชุมชนตอ่ ไป อย่างไรก็ตามอำเภอสงั ขละบุรี แมจ้ ะมปี ระเพณี 12 เดอื นทส่ี ามารถสง่ เสริมให้เกิดการ ท่องเที่ยวชุมชนได้ ตลอดจนมีแหล่งท่องเที่ยวหลักที่สำคัญซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์มอญ อาทิ สะพานมอญ วดั วังก์วิเวการาม เมืองบาดาล (วัดจมนำ้ ) แต่กลับไดร้ บั ความสนใจและมีการ รับรู้ถึงประเพณีต่าง ๆ ค่อนข้างน้อย หากให้การส่งเสริมและสนับสนุนและยกระดับให้นำไปสู่ การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่านวิถีวัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอ สังขละบรี จังหวัดกาญจนบุรีได้นั้นย่อมสืบสานวิถีชีวิตของชาวมอญให้คงอยู่แม้ยุคสมัยจะ เปลี่ยนแปลง นำไปสู่ความเข้มแข็งและยั้งยืนให้กับชุมชน จากความสำคัญข้างต้น ผู้วิจัยจึงให้ ความสนใจในการศึกษาและกำหนดแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อสัมผัสชาติ พนั ธุ์มอญดังกลา่ ว วตั ถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพอ่ื ศึกษาความเปน็ มาของชาตพิ นั ธุม์ อญ อำเภอสงั ขละบรุ ี จังหวัดกาญจนบุรี 2. เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่านวิถีวัฒนธรรมประเพณี 12 เดอื น อำเภอสังขละบรุ ี จงั หวัดกาญจนบุรี 3. เพือ่ กำหนดแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพอ่ื สัมผสั ชาตพิ ันธ์ุมอญ ผา่ นวิถี วฒั นธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสงั ขละบุรี จังหวดั กาญจนบรุ ี วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ยั บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและ การสนทนากล่มุ ซึ่งมีการดำเนินการตอ่ ไปนี้ ประชากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ กลมุ่ ที่ 1 สมั ภาษณ์เชงิ ลึก จำนวน 18 คน แบง่ เปน็ 3 กลมุ่ ได้แก่ กลมุ่ ปราชญ์ ชุมชน ผู้นำชมุ ชน และกลมุ่ ผู้ประกอบการดา้ นการท่องเที่ยว กลุ่มที่ 2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 9 คน ได้แก่ ตัวแทน ปราชญช์ ุมชน ตวั แทนผู้นำชุมชน และตัวแทนผู้ประกอบการดา้ นการทอ่ งเทีย่ ว เกณฑ์ในการคัดเลือก ปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นผู้ที่ชาวมอญ อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี ให้การยอมรบั เคารพนบั ถอื ผนู้ ำชุมชน คอื ผปู้ กครองท่ไี ด้รับการแตง่ ตง้ั จากรัฐ และ ผ้ปู ระกอบการดา้ นการท่องเที่ยว เปน็ ผู้ประกอบธรุ กิจเก่ยี วกับของทร่ี ะลึก/ท่ีพัก/ขนส่งในแหล่ง ท่องเที่ยว โดยทั้ง 3 กลุ่ม มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนชาวมอญ ดงั กล่าว และอาศัยอยูใ่ นพ้นื ท่ีมากกว่า 3 ปี
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 319 เครอื่ งมือทใ่ี ช้ในการวิจยั 1. เครือ่ งบันทึกเสียง เป็นการบนั ทึกเสยี งในขณะสัมภาษณ์ เนื่องจากบางคร้ัง การจดบนั ทึกระหว่างสัมภาษณ์อาจไม่ทัน จงึ จำเปน็ ต้องมีเคร่ืองบันทึกเสยี งเพ่ือเป็นการสำรอง ขอ้ มลู 2. แบบสังเกต เป็นแบบที่ใช้ในการสังเกตในขณะที่สัมภาษณ์ หรือเพ่ือ สังเกตการณ์ ตอบคำถามของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่าตอบตรงประเด็นและตามข้อเท็จจริง เป็นการ สังเกตกำหนดแนวทางโดยการใช้สายตา 3. แบบสัมภาษณ์ เป็นแบบที่ผู้วิจัยได้ตั้งคำถามไว้เพื่อต้องการเก็บบันทึก ข้อมูลในการวิจัย โดยมีคำถาม 5 ข้อ ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาของชุมชน เป็นอย่างไร 2) วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชน มีอะไรบ้าง มีรูปแบบอย่างไร 3) ศักยภาพ การท่องเทย่ี วชมุ ชนเพ่ือสัมผัสชาติพนั ธ์ุ เปน็ อย่างไร 4) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเพ่ือ สัมผัสชาตพิ ันธ์ุ เป็นอย่างไร 5) แนวทางการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรม ประเพณี เป็นอย่างไร ตรวจสอบเครื่องมือโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์มอญ ประกอบด้วย ปราชญ์ ชุมชน นักวิชาการด้านชาตพิ ันธ์ุ และนกั วิชาการด้านการท่องเทย่ี ว จำนวน 3 ท่าน การตรวจสอบข้อมูล นำข้อมลู ท่ไี ด้มาตรวจสอบสามเส้าดา้ นข้อมลู (Data Triangulation) (สุภางค์ จันทวานิช, 2557) โดยพิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล คือ 1) ด้านบุคคลซึ่งเมื่อบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไป ข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่ และ 2) ตรวจสอบด้านวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ วิธีการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อย โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต่างกันในเรื่องเดียวกัน ขอ้ มูลจะเปลีย่ นจากเดิมหรือไม่ การเกบ็ รวบรวมข้อมูล ประสานงานโดยใชเ้ ครื่องมือในการเกบ็ ข้อมูลรายละเอียดแบบเจาะลึกโดยนัดวัน เวลา และสถานที่ และสร้างความสัมพันธ์ โดยแนะนำตวั เบ้ืองต้น พูดคุยหาข้อมลู เกีย่ วข้องกับชมุ ชน และแนวทางการจดั การการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผสั ชาติพนั ธ์มุ อญผ่านวิถวี ัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสงั ขละบุรี จังหวัดกาญจนบรุ ี การวเิ คราะห์ขอ้ มูล วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารแนวคิด หลักการ รูปแบบ การบูรณาการ การส่งเสริม วิเคราะห์ข้อมูลจริงเชิงประจักษ์จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ สังเกต สนทนากลุ่มย่อย นำมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความรู้ กระบวนการ และ แนวทางการพัฒนา บูรณาการ ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์ มอญผ่านวิถวี ัฒนธรรมประเพณี 12 เดอื น อำเภอสงั ขละบรุ ี จงั หวดั กาญจนบุรีตอ่ ไป
320 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ผลการวจิ ยั ผลการศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่านวิถี วัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีประเด็นในการศึกษาตาม วตั ถปุ ระสงค์ ดงั นี้ 1. ความเป็นมาของชาวมอญ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่เป็น ชาวมอญพลัดถิ่นจากการสู้รบในประเทศพม่า มาตั้งรกรากตามรอยหลวงพ่ออุตตมะ (พระ เกจิอาจารย์สายมอญ) และร่วมสร้างวัดวังก์วิเวการาม เมื่อปี พ.ศ. 2496 ชาวมอญส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี มีอาชีพเกษตรกรรมและหาของป่า บ้านเรือนและการต้ังถิน่ ฐานมี การเปลี่ยนแปลงมากกว่าอดีตตามบริบทของคนเมือง แต่ยังคงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของ ทอ้ งถ่ิน เช่น อาหาร การแตง่ กาย และวัฒนธรรมประเพณีโดยเฉพาะความสำคัญท่ีเก่ยี วข้องกับ พระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับวัดวังก์วิเวการาม วิถีชีวิตจึงอยู่ร่วมกับ พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทต้ังแต่เกิดจนเสียชีวติ โดยเริ่มตั้งแตเ่ ช้าเพื่อหุงข้าวเตรยี มตักบาตร แด่พระสงฆ์ที่มาบิณฑบาต ซึ่งจะใส่เฉพาะข้าวสวยส่วนสำรับกับข้าวชาวมอญจะรวมเป็นกลุ่ม และเวียนกันทำเป็นหม้อใหญ่ผลัดกัน ทุกบ้านจะได้ทำกับข้าวถวายพระเดือนละครั้ง หลังตัก บาตรผู้สูงอายุจะถวายข้าวพระพุทธในหิ้งพระพร้อมกับสวดมนต์ ลักษณะหิ้งพระพุทธจะเป็น การสร้างให้ยื่นออกจากตัวบ้าน ชาวมอญจะให้ความเคารพกับผู้สูงอายุซึ่งถือเป็น ปูชนียบุคคลเพื่อเป็นผู้นำในพิธีกรรมต่าง ๆ และเป็นภาพที่สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้วิถี วัฒนธรรมในทุก ๆ วัน ช่วงเวลาบ่ายแม่บ้านที่ครองเรือนจะนำดอกไม้ที่ร้อยด้วยก้านมะพร้าว เป็นช่อเดินเป็นกลุ่มเพื่อไปกราบสักการะพระพุทธคยาจำลอง ส่วนผู้สูงอายุจะมาสักการะใน ช่วงเวลาเยน็ หลังจากนัน้ จะกลับไปสวดมนตบ์ นที่นอนของตนอีกครัง้ จากวิถีชีวิตดงั กล่าวทำให้ ชาวมอญได้รบั การปลกู ฝงั ในพระพุทธศาสนาต้ังแต่เด็ก โดยเฉพาะวันสำคัญ ในพระพทุ ธศาสนา และวันพระสิ้นเดือนผู้สูงอายุกับผู้ครองเรือนส่วนใหญ่ จะไปรับศีลห้าและฟังธรรมเทศนาที่วัด บางส่วนจะรับศีลแปด และนอนค้างที่วัดเพื่อถือศีล ลูกหลานจะไปส่งสำรับอาหารในช่วงเวลา เพล หากในช่วงเข้าพรรษาและช่วงวันสงกรานต์ผู้สูงอายุจะถือศีลแปดและอยู่วัดเป็นเวลาสาม วันสามคืน ส่วนลูกหลานจะเตรียมสำรับอาหารใส่ถาดอย่างสวยงามเพื่อแสดงความกตัญญู กตเวทิตาตอ่ บพุ การี ถือเป็นกุศโลบายของประเพณีมอญทใ่ี ห้ทุกคนมกี ิจกรรมและโอกาสทำบุญ ร่วมกัน ชาวมอญนิยมแต่งชุดประจำท้องถิ่นโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลประจำปี อีกทั้งยังมีการ ดำเนินชีวิตที่เชื่อในกฎแห่งกรรมโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามเมื่อจังหวัดมีการส่งเสริมด้านการ ท่องเที่ยวอำเภอสังขละบุรี ส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวมอญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากอาชีพ เกษตรกรรมและการเก็บของป่า เป็นการค้าขายโดยเฉพาะของฝากของที่ระลกึ เกิดธุรกิจที่พกั นำเทยี่ ว และมีอาชีพรับจ้างขับเรอื โดยสารเพื่อบริการนักท่องเทยี่ วเพ่มิ ขนึ้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่านวิถีวัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จากการวางรากฐานของหลวงพ่ออุตตมะในการสืบสาน
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 321 ประเพณี 12 เดือนชาวมอญ สามารถประเมินศักยภาพแต่ละประเพณีเชื่อมโยงกับ การท่องเที่ยว ในแต่ละเดือนได้ดังนี้ (มกราคม) หรือ “เดือนยี่” มี “ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว และลงแขกกวัดขา้ ว” ในชว่ งฤดูเก็บเก่ียว ชาวมอญจะร่วมกันเก่ียวและเก็บข้าวเขา้ ลาน จากนั้น จะช่วยกันนวดข้าว ฝัดข้าวโดยเอาเศษฟางและข้าวลีบออก และบรรทุกข้าวใส่เกวยี นนำไปเก็บ ในยุ้งฉาง ปัจจุบันประเพณีดังกล่าวไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก เนื่องจากไม่มีที่นาเหมือนอดีต ภายหลังจากที่ชาวมอญได้อพยพมาอยู่บริเวณวัดวังก์วิเวการามซึ่งเป็นที่ดอนและไม่สามารถ ทำนาได้จึงมีผู้สืบทอดน้อยลง ผิดกับชาวมอญในประเทศเมียนมาร์ที่มีการทำนาและยังคงสืบ ทอดประเพณีดังกล่าว (กุมภาพันธ์) “ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวยาคู (อะคากกะน้า ฮะ ปกั เปงิ ยิกุ)” เมอื่ ได้พชื ผลเกษตร อาทิ ขา้ ว ถั่ว ภายหลังเก็บเกย่ี วแลว้ ชาวมอญจะนำมากวนข้าว ทิพย์ ถวายในวันมาฆะบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) หลังทำเสร็จจะแบ่งใส่บาตร ส่วนที่เหลือ แบ่งไว้ทานในครอบครัว ซึ่งประเพณีดังกล่าวสามารถส่งเสริมให้เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยว มีส่วนรว่ มได้ (มนี าคม) มี “ประเพณีบูชาสักการะพระเจดีย์” จัดข้นึ เพอื่ การสักการะพระเจดีย์ พุทธคยาซึ่งเป็นงานบุญไม่มีการแสดงมหรสพ มีการเจริญพระพุทธมนต์ ให้ทาน สมาทานศีล รวมเวลา 7 - 9 วันขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เมื่อเสร็จสิ้นจะมีเทศกาล “งานประจำปี ของวัดวังก์วเิ วการาม” โดยจัดต่อเนื่อง และจัดตรงกับวนั เกดิ ของหลวงพ่ออตุ ตมะ (วนั ขึน้ 6 ค่ำ เดอื น 4) จงึ มีการจัดงานเฉลมิ ฉลองคลา้ ยวันเกิดของหลวงพ่อ ภายในงานจะมกี ารแสดงมหรสพ ระยะเวลา 5 วัน 5 คืน ทั้งประเพณีและเทศกาลดังกล่าวเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามา สักการะได้ (เมษายน) มีประเพณีสำคัญโดยชมุ ชนเชิญชวนให้นักท่องเทีย่ วได้เข้ามามีสว่ นร่วม 2 ประเพณี คือ “ประเพณีมหาสงกรานต์” ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวมอญ ชาวรามัญ ชาวมอญลูกหลานจะต้องกลบั มาเปล่ยี นผ้าน่งุ ท่ีนอนใหม่ให้กบั พ่อ แม่ นับเปน็ การเฉลิมฉลองท่ี ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี นอกจากนี้ยังถือเป็นวันรวมญาติ โดยผู้สูงอายุจะถือศีลแปดและจำศีลอยู่วัด ตลอดสามวันสามคืน ส่วนลูกหลานจะมีหน้าที่ส่งสำรับกับข้าวไปที่วัดพร้อมถวายพระ มีการ รดน้ำดำหัวผใู้ หญ่ มกี ารสรงนำ้ พระตลอดจนกราบไหว้บรรพชน โดยการนำธงตะขาบขนาดเล็ก และเครื่องหอม ไปไหว้สถูปบรรพชนจากนั้นจะนำทรายไปก่อเจดีย์ทรายและจะยกฉัตรใน วันรุ่งขึ้น สอดคล้องกับ “ประเพณียกฉัตรเจดีย์ทราย” วันสุดท้ายของเทศกาลมหาสงกรานต์ เป็นการยกฉัตรเจดีย์ ชาวมอญจะสวมชุดมอญประจำถิ่น ประหน้าทาแป้งดว้ ยทานาคา ตั้งแถว ร่วมแห่ฉัตรยอดเจดีย์ทรายจากวัดไปยังเจดีย์ทรายที่บริเวณลานเจดีย์พุทธคยา โดยจะใช้เชือก ผูกเชื่อมต่อจากตัวฉัตรมายังด้านหน้าของขบวนให้ชาวมอญทุกคนได้ร่วมพิธี เมื่อขบวนเคลื่อน มาถึงเจดีย์ทราย จึงอัญเชิญยอดฉัตรเดินวนขวา 3 รอบ จากนั้นประธานในพิธีพร้อมด้วยเจ้า อาวาสวัด ร่วมกันอัญเชิญฉัตรขึ้นประดิษฐานที่ยอดบนสุดของเจดีย์ทราย พระสงฆ์เจริญ พระพุทธมนต์ พร้อมโปรยฝนรัตนะ แล้วจึงกลับไปยังศาลาวัดเพือ่ สมาทานศีล ถวายภัตตาหาร เพล ถวายผ้าปา่ พรอ้ มกรวดน้ำอุทศิ สว่ นกศุ ลให้ผู้ทล่ี ่วงลบั ไปแลว้ ซ่ึงท้งั 2 ประเพณีเปิดโอกาส ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมอีกทั้งยังสอดคล้องกับประเพณีสากลและบรร จุให้เป็นกิจกรรม
322 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด (พฤษภาคม) ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) มี “ประเพณีรดนำ้ ตน้ โพธิ์” ตรงกับวนั วสิ าขบชู า โดยชาวมอญจะนำน้ำ ผสมนำ้ อบ ดอกไม้หอม ใส่ขนั มารวมกันท่ีลานโพธิ์ของวัดเวลา 16.00 น. หลงั สมาทานศลี 5 กราบขอขมาต้นโพธ์ิพร้อม รดน้ำ ทั้งนี้ต้นโพธ์ดังกล่าวหลวงพ่ออุตตมะได้รับมาจากสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศศรี ลงั กาเมื่อคร้งั ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดษิ ฐานไว้ในเจดีย์พุทธคยา พ.ศ. 2530 และ เมอ่ื วันพุธที่ 10 มถิ นุ ายน 2530 สมเดจ็ พระพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานวิ ฒั นา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ในสมัยนั้น ทรงเสดจ็ มาปลูกไวบ้ รเิ วณลานเจดีย์พุทธคยา จากนน้ั จึงเริ่มสืบสานให้ มีประเพณีดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าหากใครได้สักการะพระศรีมหาโพธิ์ก็เปรียบเสมือนได้สักการะ พระพุทธเจ้า และ “ประเพณีออกร้านตลาดนิพพาน” ชาวมอญเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรงปรินิพพาน มีการออกร้านซึ่งแตกต่างจากการออกร้านขายสินค้าโดยทั่วไป โดยช่วงเย็น ชาวมอญจะนำผลไม้ ขนม น้ำดม่ื มาตั้งรา้ น เม่อื ถงึ เวลาคำ่ หลังสมาทานศลี สวดมนต์ และเวียน เทียนแล้ว จงึ เปิดตลาดใหผ้ ู้ที่มาทำบญุ สามารถนำบุญมาแลกของแทนเงินได้ โดยหวังเปน็ การได้ บุญและการให้ทานในเวลาเดียวกัน เพื่อเป้าหมายในการสั่งสมบุญนำไปสู่ถึงนิพพานต่อไป อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ประเพณียังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ยังคงเป็นความเชื่อของชาวมอญ เทา่ นั้น (มิถุนายน) (วนั เพญ็ 15 คำ่ เดอื น 7) มี 2 ประเพณซี ง่ึ จัดในชว่ งเดียวกัน คือ “ประเพณี บรรพชาอุปสมบทและประเพณีขอขมาพระอุปัชฌาย์” โดยมีการจัดก่อนเข้าพรรษาหนึ่งเดือน ชาวมอญนยิ มบรรพชาอปุ สมบทแก่บตุ รหลานเพราะถือว่าได้อานสิ งส์มาก ส่วนประเพณีขอขมา พระอุปชั ฌาย์อาจารย์ ในช่วงดังกล่าวพระภิกษสุ งฆ์ท่ีเป็นลูกศษิ ย์หลวงพ่ออุตตมะจะมารวมกัน ที่วัดเพื่อขอขมาพระเถระผู้ใหญ่ชาวมอญจะนำสำรับอาหารมาถวายเพลแด่พระภิกษุ สามเณร จากนั้นร่วมฟังพระปาฎิโมกข์ เสร็จแล้วจึงได้มาประชุมกันที่ศาลาใหญ่ ภายหลังพระผู้ใหญ่ให้ โอวาทจึงเป็นการขอขมาพระอุปปัชฌาย์อาจารย์ และขอขมาสงฆ์ด้วยกัน ซึ่งทั้ง 2 ประเพณี ดังกล่าวยังคงเป็นความเชื่อของชาวมอญ และไม่สะดวกต่อการจัดให้นักท่องเที่ยวเข้ามา มีส่วนร่วม (กรกฎาคม) (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) มี “ประเพณีเข้าพรรษา” จัดเป็นประเพณี สากล ชาวมอญจะถือดอกไม้ ผ้าอาบน้ำฝน เทินเครื่องไทยธรรมไปวัด โดยพระภิกษุจะเดินลง โบสถ์ ผ่านวิหารคด ภายหลังจากการฟังธรรมเทศนาในช่วงเช้า จากนั้นจึงนำดอกไม้ธูปเทียน และของที่เตรียมถวายพระ ซึ่งประเพณีนี้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมทำบุญได้ (สิงหาคม) (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9) มี “ประเพณีบุญข้าวนิ” หรือบุญหม้อนิธิ (นิธิ แปลว่า ขุมทรัพย์) ชาวมอญจะบรรจุวัตถุทานลงในหม้อดินหรือกาละมังใบใหญ่ ได้แก่ ข้าว น้ำ ผ้า ยา และของกินของใช้อื่น ๆ จากนั้นนำผ้าปิดให้มิดชิด พร้อมทั้งประดับด้วยดอกไม้ กระดาษสี หลากสี นำไปถวายแดพ่ ระภกิ ษุสงฆเ์ พอื่ ทำพิธโี ดยการฝงั ขุมทรพั ย์สะสมบญุ ไว้ใช้ในสัมปรายภพ หลังเสร็จพิธีจะไปกราบสักการะองค์พระเจดีย์พุทธคยาและฟังธรรมเทศนา โดยประเพณี ดังกล่าวเป็นเพียงความเช่ือยงั ไมส่ ามารถส่งเสริมใหเ้ กดิ การทอ่ งเท่ียวได้ (กันยายน) ในวันเพญ็ เดือน 10 มี “ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์” เป็นความเชื่อแบบดั้งเดิมมีตำนานเล่าว่าเม่ือ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 323 ครั้งพระเจ้าธรรมเจดีย์ขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรมอญ เมืองหงสาวดี พระองค์ทรงเห็น พระภิกษุสามเณร มีความประพฤติย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัย จนพระพุทธศาสนาเกิดมลทิน จึงมีพระราชประสงค์จะสังคายนาพระพุทธศาสนาเสียใหม่ โดยมีพระราชโองการรับสั่งให้ พระภิกษุและสามเณรในเมืองมอญลาสิกขาทั้งหมด แล้วทรงส่งอดีตพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ทรงความรู้ ตั้งมน่ั ในศีล หลงั ลาสกิ ขาใหถ้ อื ศีล 8 เป็นปะขาวแล้วเดินทางไปยงั ประเทศศรีลังกา เพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุจากคณะสงฆใ์ นประเทศศรีลงั กาอกี คร้ัง และใหเ้ ดินทางกลับมาเป็น พระอุปชั ฌาย์อาจารย์ บวชให้แก่คนมอญใหม่ หลงั คณะของปะขาวเดินทางถึงและได้อุปสมบท จึงเดินทางกลับโดยเรือสำเภา ระหว่างทางเรือสำเภาลำหนึ่งถูกพายุพัดให้หลงทิศ ส่วนอีกลำ สามารถเดินทางกลับมาถึงโดยปลอดภัย เมื่อทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าธรรม เจดีย์ พระองค์จึงมีรับสั่งให้ทำเรือจำลอง ข้างในบรรจุด้วยของเซ่นไหว้บูชาเหล่าเทวดาทุกหมู่ เหล่า พร้อมถวายให้เหล่าเทวดาที่ดูแลพื้นดิน น้ำ อากาศ ช่วยปัดเป่าให้เรือสำเภาที่หลงทิศ เดนิ ทางกลบั มาได้ หลังทำพธิ ีเสรจ็ เรือสำเภาลำดังกลา่ วกเ็ ดินทางกลับมาถึงเมืองอย่างปลอดภัย ชาวมอญจึงถือเอาเหตุการณ์ดังกล่าวทำพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์และสื บต่อกันมาตราบจน ปัจจุบัน โดยจะพาคนในครอบครัวถือถาดเคร่ืองบูชาไปยังสถานทีซ่ ึ่งเตรียมเรือสะเดาะเคราะห์ นำเครื่องบูชาใส่ ในเรือ ปักธงตุงกระดาษสีไว้ที่ขอบเรือ พร้อมทั้งปล่อยโคมลอยขนาดใหญ่ ระหว่างพิธีดังกล่าวจะมีการประดับโคมรูปต่าง ๆ ไว้ตามบ้านเรือนและรายทางอย่างสวยงาม และมี “ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง” ที่จัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และกระทำก่อนออกพรรษา 1 เดือน โดยการถวายเภสัช 5 ชนิด ได้แก่ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยใส เนยข้น น้ำมันงา แก่พระสงฆ์ ผ้จู ำพรรษา เพ่ือใช้ปรุงยาไว้ฉันหากอาพาธ ซ่งึ เช่ือว่าหากถวายเภสัชดังกล่าวจะได้รับผลบุญคือ เป็นผู้ที่ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังเชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งแด่พระภิกษุสงฆ์เช่นเดียวกับพระสิวลี เคยกระทำในปัจฉิมชาติก่อนเป็นพระอรหันนั้น จะนำมาซึ่งโชคลาภ โดยทั้ง 2 ประเพณีน้ี มีการสืบทอดกันมาช้านาน และปัจจุบันชุมชนยังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรม ดังกล่าว (ตุลาคม) (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) มี “ประเพณีตักบาตรเทโวโลหนะ” โดยจัดขึ้นใน วันออกพรรษา ชาวมอญเตรียมของแห้งพรอ้ มแต่งกายชุดมอญมาร่วมกนั ตกั บาตร ซึ่งประเพณี ดังกลา่ วยังเปน็ แบบมอญดง้ั เดิมจากอดีตเคยกำหนดในวนั แรม 1 คำ่ เดือน 11 ซ่งึ ปรากฏวา่ ชาว มอญให้ความสำคัญน้อยดว้ ยคดิ ว่าแรม 1 คำ่ มิใช่วนั พระ ลงุ มะเกงิ กำนันเตเลอะ กบั นายคูเซ็ง จึงแนะนำหลวงพ่ออุตตมะว่าวันแรม 1 ค่ำ ชาวบ้านออกไปทำไร่ ทำนากันหมด ขอให้ เปล่ียนเป็นวันข้ึน 15 คำ่ แทน เพราะเป็นวนั ออกพรรษาพระมารวมกนั ไมต่ ้องนิมนต์พระอีกครั้ง และเป็นวันพระกลางเดือนชาวมอญมาขอสมาลาโทษต่อพระภิกษุอยแู่ ล้ว หลวงพอ่ จงึ อนุโลมให้ เปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งประเพณีดังกล่าวจะไม่เหมือนกับที่อื่นเพราะใช้ วนั เดยี วกับวันออกพรรษา ท้งั นส้ี ามารถสง่ เสรมิ ประเพณีดังกล่าวให้เป็นกิจกรรมที่นักท่องเท่ียว มีสว่ นรว่ ม ได้ (พฤศจิกายน) มี “ประเพณีทอดกฐนิ ” ซง่ึ กำหนดช่วงไว้เพียง 1 เดือน นับต้ังแต่ ครึ่งเดือนหลังของเดือน 11 จนถึงครึ่งเดือนแรกของเดือน 12 เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่นิยมจัดข้ึน
324 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ในเดือน 12 จึงเรียกประเพณีตามภาษามอญว่า “อะแลกะท่อน”(แปลว่า ทอดกฐินในเดือนสบิ สอง) โดยชาวมอญจะรวมตัวกันจัดตั้งกองผ้าป่า และร่วมกันตัดเย็บจีวร อังสะ สบงและผ้าผืน ยาว ภายในหนึ่งเดือนหลังวันปวารณาออกพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ประเพณีดังกล่าวได้รับ ความนยิ มจากนักท่องเท่ียวสายบุญเพิ่มขึ้นโดยการตั้งกองกฐินและเข้ารว่ มพธิ ี (ธันวาคม) หรือ ช่วงเดือนอ้าย มี “ประเพณีตำข้าวเม่า (มอญตำข้าวเม่า)” หลังฤดูเก็บเกี่ยว “ข้าวเม่า” หรือ ภาษามอญว่า “อะงาน” คือการนำข้าวที่มีสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล เรียกว่า “ข้าวน้ำนม” หรือข้าวเหนียว ซึ่งข้าวเม่าน้ันมีทั้งข้าวเมา่ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวดำ นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่าข้าวเหนียว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ ข้าวฮ่างหรือข้าวเม่าอ่อนทำจาก เมล็ดข้าวสเี ขยี วจัด ข้าวเมา่ แบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวหา่ มท่ีเปลือกเป็นสเี ขียวเข้ม ข้าวเม่าขาว นวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล วิธีทำคือเริ่มจากคัดเลือกข้าวที่เปน็ เมล็ดอ่อน เหมาะกับการตำ นวดขา้ วใหเ้ มลด็ ข้าวหลุดจากรวง ตอ่ มาจงึ นำเมล็ดไปค่วั ไฟ หลงั จากข้าวแตก ให้นำใส่ครกตำเพื่อให้เปลือกหลุดออก จากนั้นนำออกมาฝัดเพื่อให้แกลบออกจากข้าว แล้วจึง ตำอีกครั้งเพื่อให้เมล็ดข้าวแบน เม่ือทำเสร็จจะแบ่งส่วนแรกไว้ตักบาตร อีกส่วนจะนำไปใส่ น้ำกะทิ น้ำตาล เกลือ ปรุงรสกลมกลอ่ มรับประทานกนั เอง ประเพณีดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกดิ การ เชื่อมความสัมพันธ์ ความรักสามัคคีกันภายในครอบครัวและชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้ นักทอ่ งเทีย่ วเกดิ การมสี ่วนรว่ มได้ จากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวหลัก อำเภอ สังขละบุรีมากกว่าการเชื่อมโยงไปที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน มีเพียงบางกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับ การท่องเที่ยวชุมชนเท่านั้น อย่างไรก็ดีนอกจากประเพณี 12 เดือนของชาวมอญสังขละบุรี เมอ่ื ศกึ ษาในบริบทพ้ืนท่ียังมีความเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเท่ยี วหลักที่มโี อกาสในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยว จำแนกเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ “ด่านเจดีย์สามองค์” ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการสร้างเจดีย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจึงประกาศขึ้น ทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในปี พ.ศ. 2498 “เมืองบาดาล (วัดจมน้ำ)” เป็นวัดที่หลวง พ่ออุตตมะและชาวบ้านมอญและกะเหรี่ยงได้ร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2496 ภายหลังการ สร้างเขื่อน วชิราลงกรณ (เขื่อนเขาแหลม) ทำให้เกิดน้ำท่วมหลวงพ่ออุตตมะจึงได้ย้ายสถาน ท่ีตั้งวัดมาอยู่บนเนินเขาส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำ ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะลดจนเห็นตัวโบสถ์ หอระฆังและสิ่งก่อสร้างของวัดในอดีต โผล่พ้นน้ำทั้งหมดสามารถเดินขึ้นไปชมสถานที่ได้ ซึ่ง เป็นจุดหมายหลักของนักท่องเที่ยว “วัดสมเด็จ (เก่า)” อยู่ตรงข้ามกับเมืองบาดาล สร้างโดย พระครูวิมล กาญจนคุณ เจ้าคณะตำบลหนองลู เป็นวัดที่ไม่ได้จมน้ำ แต่ถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งย้าย อำเภอสงั ขละบรุ ี ในสมยั ท่สี ร้างเข่ือนวชิราลงกรณ อโุ บสถมีพระประธานสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ปกคลุม ทั้งนี้หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางท่องเที่ยว ทง้ั เมืองบาดาล และวัดสมเด็จต้องนั่งเรือโดยจ้างชาวมอญเป็นผนู้ ำทางเทา่ น้นั “สะพานอุตตมา นุสรณ์(สะพานมอญ)” เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยยาว 850 เมตร และยาวเป็น
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีท่ี 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 325 อันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบง็ ในประเทศเมยี นมาร์ใช้ขา้ มแม่น้ำซองกาเลีย สร้างข้นึ โดยการดำรขิ องหลวงพ่ออตุ ตมะ ในปี พ.ศ. 2529 - 2530 เพ่ือให้คนไทย กะเหร่ียงและมอญใช้ สัญจรไปมาหาสู่กัน นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเยี่ยมชมสะพานเพื่อชมแสงสีทองของ พระอาทิตย์ยามเช้ารวมถึงวิถีชีวิตของชาวไทยและชาวมอญ ซึ่งปัจจุบันชาวมอญได้ใช้สะพาน ดังกล่าวประกอบอาชีพ เช่น ขายของฝากของที่ระลึก รับจ้างร่องเรือ เป็นต้น “วัดวังก์วิเวการาม” สร้างโดยหลวงพ่ออุตตมะ ได้รวบรวมชาวมอญ กะเหรี่ยง และคนไทยร่วมกันสร้าง ภายในวัดมี สถานที่สำคัญ ได้แก่ ศาลาประดิษฐานสรีรสังขารหลวงพ่ออุตตมะ วิหารพระพุทธรูปหินอ่อน ปางมารวิชัย (หลวงพ่อขาว หรือ หลวงพ่อหยกขาว) และเจดีย์พุทธคยา หลวงพ่อสร้างเมื่อ ปีพ.ศ. 2521 โดยจำลองมาจากเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย ซึ่งมีพระบรมสารีริกธาตุ ทห่ี ลวงพอ่ อัญเชิญมาจากประเทศศรลี ังกาและฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ขนึ้ ไปประดษิ ฐานบน ยอดเจดีย์ ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวมีร้านของฝากของที่ระลึกจากชุมชน จึงเป็นที่นิยมของ นกั ท่องเท่ยี วจำนวนมาก 3. แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธ์ุมอญ ผ่านวิถีวฒั นธรรม ประเพณี 12 เดือน อำเภอสังขละบุรี จงั หวัดกาญจนบรุ ี เมื่อนำอตั ลกั ษณ์ จดุ เดน่ ของประเพณี วิถีชีวิตของชุมชน พรอ้ มทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลัก นำมาเช่อื มโยงสรา้ งการมีสว่ นรว่ มจากผูเ้ ก่ียวข้อง ไดแ้ ก่ ชุมชนชาวมอญ หนว่ ยงานภาครัฐ และ ผูป้ ระกอบการดา้ นการท่องเทีย่ วในระดับอำเภอและจังหวดั กำหนดเปน็ แนวทาง ได้ดงั น้ี 3.1 จดั ทำแผน เพอื่ พฒั นาและสง่ เสรมิ การท่องเทยี่ วโดยใช้ประเพณี 12 เดอื น โดยกำหนดผู้ดำเนินงาน ติดตาม อำนวยความสะดวก และควบคุม ให้กับชุมชน และส่วน ราชการของอำเภอ พร้อมทั้งให้การสนบั สนุนองคค์ วามรูแ้ ละงบประมาณเพือ่ กระตุ้น ให้ชุมชน เกิดการมีส่วนร่วม สร้างความเข้มแข็ง และเกิดการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์อย่าง ต่อเนื่อง 3.2 จัดโปรแกรมการท่องเที่ยว กิจกรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ ประเพณี 12 เดอื น เช่ือมโยงกบั แหล่งทอ่ งเที่ยวหลักทห่ี ลากหลาย และสอดคล้องกับพฤติกรรม ความสนใจของนักท่องเที่ยวแต่ละบุคคล เช่น ประเพณีมหาสงกรานต์ จัดให้มีการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวพร้อมนำชมสะพานมอญ วัดสมเด็จ(เก่า) และเมืองบาดาล(วัดจมน้ำ) เป็นต้น โดย โปรแกรมดงั กลา่ วเกิดขึน้ ได้จากชมุ ชนและหนว่ ยงานการทอ่ งเทีย่ วทงั้ ภาครัฐและเอกชน 3.3 มีการอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีที่กำลังสูญหาย เนื่องจากวัฒนธรรม และวถิ ชี ีวติ ของชาวมอญมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีต เปล่ยี นจากเกษตรเป็นท่องเที่ยว และส่วน ใหญ่ไม่มีพื้นที่ทำนาเหมือนอดีต อาทิ ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวและลงแขกกวัดข้าวที่มี ผู้สืบทอดน้อยลง โดยส่วนราชการจังหวัด อาทิ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสถานศึกษา ของจังหวัดดำเนินการศึกษาอนุรักษ์ และสืบสานโดยการบันทึกข้อมูล และจัดทำเป็นวิดิทัศน์ พร้อมนำขอ้ มลู ต่าง ๆ ออกเผยแพร่
326 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 3.4 ปรับวิถีการท่องเที่ยวให้เป็นวิถีปกติใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์ โควิด 19 โดยร่วมกับหน่วยงานสถานศึกษา สาธารณสุข และท่องเที่ยวของจังหวัดเพื่อสรา้ งความ มั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว พัฒนาความรู้ ทักษะการบริการและมาตรฐานความปลอดภัยด้าน สุขอนามัยให้กับบุคลากรในแหล่งท่องเที่ยว โดยยึดหลักแนวทางการดำเนินงานและมาตรการ ป้องกันความเสี่ยงเรื่องไวรัสโควิด 19 ภายใต้โครงการ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) ซ่งึ ภาครัฐให้การสนบั สนุนในปัจจุบัน อภิปรายผล จากวัตถุประสงค์แนวทางการจัดการการท่องเท่ียวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่าน วิถีวฒั นธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสงั ขละบุรี จังหวัดกาญจนบรุ ี ประกอบด้วยดงั น้ี 1. ความเป็นมาของชาวมอญในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี คือชาวมอญ พลัดถิ่นระหว่างการสู้รบของรัฐบาลทหารพม่า โดยการติดตามหลวงพ่ออุตตมะ มาร่วมสร้าง ชุมชนและวัดวังก์วิเวการาม วิถีชีวิตของชาวมอญส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและหาของป่า โดยมคี วามเช่อื และความศรัทธาอันเก่ียวข้องกบั พระพทุ ธศาสนาต้ังแต่เกดิ จนตาย สอดคล้องกับ งานวิจัยของ อินทิรา อ่อนคำ และบุญเชิด หนูอิ่ม และงานวิจัยขององค์ บรรจุน กล่าวว่าชาว มอญส่วนใหญน่ บั ถือศาสนาพุทธอยา่ งเคร่งครัดทง้ั ทางกาย วาจา และใจ (อนิ ทริ า ออ่ นคำ และ บุญเชดิ หนูอ่มิ , 2560); (องค์ บรรจุน, 2559) ชาวมอญมกี ารสืบทอดวถิ วี ฒั นธรรมและประเพณี ซง่ึ ถอื เป็นมรดกวัฒนธรรมท่จี บั ตอ้ งไมไ่ ด้ สอดคลอ้ งกับการศึกษาของ UNESCO กล่าววา่ มรดก วัฒนธรรมทจี่ ับต้องไมไ่ ด้ เปน็ เรือ่ งเกยี่ วกบั ภมู ิปัญญา ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา งานชา่ งฝีมือพ้ืนบา้ น ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม ความเช่ือ พฤติกรรม และวิถีชีวิตของชุมชน (UNESCO, 2003) 2. ประเพณี 12 เดือนชาวมอญในอำเภอสงั ขละบรุ ี เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และ ทุกประเพณีเกิดจากการดำริของหลวงพ่ออุตตมะ โดยมีหลายประเพณีที่สามารถยกระดับให้ เกิดการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์ผ่านวิถีวัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ บูชาสักการะพระเจดีย์ งานประจำปีของวัดวังก์วิเวการาม มหาสงกรานต์ ยกฉัตรเจดีย์ทราย เข้าพรรษา ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ตักบาตรเทโวโลหนะ ทอดกฐิน และตำ ข้าวเม่า ซึ่งแต่ละประเพณีสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ชาวมอญสร้างขึ้น อาทิ สะพานมอญ วัดวังก์วิเวการาม เมืองบาดาล นอกจากนี้บางประเพณียังสามารถจัดให้ นกั ท่องเทยี่ วมสี ว่ นร่วมและส่งเสริมเป็นกิจกรรมการท่องเทย่ี วเชิงสรา้ งสรรค์ พร้อมทั้งพัฒนาให้ เป็นของฝากของที่ระลึกชุมชนได้ เช่น ประเพณีตำข้าวเม่า สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล และการศึกษาของ Chen, H. & Rahman, I. ซึ่งกล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ สังคมและวัฒนธรรมผ่านการปฏิบัติหรือลงมือทำ เป็นการทอ่ งเทยี่ วแนวใหม่สามารถตอบสนอง
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 327 ความต้องการของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ในมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้ง เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวควรพัฒนา ประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีทางวัฒนธรรมให้กับนักท่องเที่ยว (ชดิ ชนก อนนั ตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พฒั นาโภคินสกุล, 2562); (Chen, H. & Rahman, I., 2018) 3. แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์ผ่านวิถีวัฒนธรรม ประเพณี 12 เดือนชาวมอญในอำเภอสงั ขละบุรี จงั หวดั กาญจนบุรี มีดงั นี้ 3.1 จัดทำแผนเพ่ือพฒั นาและส่งเสริมการท่องเท่ยี วโดยใช้ประเพณี 12 เดือน กำหนดผู้รับผิดชอบ สนับสนุนงบประมาณ และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน ภาครัฐ เอกชน และนกั ท่องเท่ียว สอดคลอ้ งกับงานวิจัยของ ศิรนิ ันทน์ พงษน์ ิรนั ดร และคณะ กล่าวว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเท่ียวโดยชุมชนเพื่อความยั่งยืน ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนควร ใหค้ วามร่วมมือกัน คอื การวางแผน การตดั สินใจ การดำเนินกิจกรรมตามแผน การตดิ ตามและ ประเมินผล การรับผลประโยชน์ การรับผิดชอบในการบำรุงรักษา การกำหนด กฎ ระเบียบ กติกาด้านส่งิ แวดล้อม รวมถงึ การใช้ประโยชนจ์ ากการท่องเทย่ี วรว่ มกนั (ศริ นิ ันทน์ พงษ์นิรันดร และคณะ, 2559) 3.2 จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นกิจกรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้ประเพณี 12 เดือน เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก สอดคล้องกับการศึกษาของ Swarbrooke, J. กล่าวว่าหากมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ให้มีการพัฒนา แหลง่ ทอ่ งเที่ยวแห่งใหม่ และการสง่ เสรมิ แหลง่ ทอ่ งเที่ยวทางเลือกอนื่ ชว่ ยกระจายนักทอ่ งเท่ยี ว ออกจากแหลง่ ท่องเท่ยี วหลัก เพ่ิมโอกาสในการสร้างรายไดม้ ากขน้ึ (Swarbrooke, J., 1998) 3.2 มีการอนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมประเพณีที่กำลังสูญหายเน่ืองจากการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สอดคล้องกับงานวิจัยของ อัฐภิญญา ศรีทัพ กล่าวว่า แนวทางในการ อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวมข้อมูลทาง วัฒนธรรมเพื่อการศึกษาค้นคว้า เป็นการเล่าเรื่องราวความเป็นมา ความเชื่อในประเพณีของ ชาวมอญ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โดยการมีระบบเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น เอกสารและหนังสือจากผู้รู้ หรือปราชญ์ชาวบ้านท้องถิน่ ตลอดจนให้สถานศึกษาในพื้นท่เี ป็นผู้ อนุรักษ์ สืบสาน และสง่ เสริมประเพณดี งั กลา่ ว (อัฐภญิ ญา ศรีทัพ, 2559) 3.3 ปรับวิถีการท่องเที่ยวให้เป็นวิถีปกติใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์ โควิด 19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว พัฒนาความรู้ ทักษะด้านบริการและมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสุขอนามัยให้บุคลากรในชุมชน ซึ่งถือเป็นนโยบายของจังหวัด สอดคล้องกับ งานวิจยั ของ Becker, G. S. กล่าววา่ ควรมกี ารพัฒนาทักษะบุคลากรเพราะบุคลากรเป็นทรัพย์สิน สามารถสร้างมูลค่าเพ่ิมให้กับธรุ กิจ โดยบคุ ลากรเหล่านี้มีสภาพเป็นทุนมนุษย์ มีความสำคัญอย่าง ยิ่งต่อการสร้างคุณค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งความสามารถขั้นพื้นฐานที่บุคลากรควรจะมี คือ
328 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ทักษะ ความรทู้ ่ีจำเป็นสำหรับการบริการซึ่งมสี ่วนช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงานได้ (Becker, G. S., 1962) องคค์ วามรใู้ หม่ บทความวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญ ผ่านวิถีวัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีข้อค้นพบองค์ ความรใู้ หม่ได้รปู แบบดงั น้ี หนว่ ยงาน การมสี ่วนรว่ มวางแผน กำหนดนโยบาย ภาครัฐ การสนับสนนุ /สง่ เสริมประเพณเี ป็นกิจกรรมการท่องเทีย่ วชมุ ชน หนว่ ยงานภาคเอกชน/ ธุรกิจทอ่ งเทีย่ ว การพัฒนาผนู้ ำและคนในชุมชน ชมุ ชน การสรา้ งเครอื ขา่ ยการทอ่ งเท่ียวภายในชุมชน เช่อื มโยงแหล่งทอ่ งเทยี่ วหลกั /ใกล้เคยี ง การประเมนิ ผลการดำเนนิ งาน ภาพที่ 1 แสดงรูปแบบการจัดการการท่องเท่ยี วชุมชนเพ่ือสัมผัสชาติพันธม์ุ อญผ่านวิถี วฒั นธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสงั ขละบรุ ี จังหวัดกาญจนบรุ ี สรุป/ข้อเสนอแนะ ประเพณีของชาวมอญมีความสอดคล้องกับพระพุทธศาสนา สามารถยกระดับ เป็นการท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก มีการวางแผนร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ สบื สาน ระหวา่ งประเพณี วถิ ชี ีวติ กบั การท่องเทยี่ วชมุ ชนและมแี นวทางในการจัดการทอ่ งเท่ียว ชุมชนเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์มอญผ่านวิถีวัฒนธรรมประเพณี 12 เดือน อำเภอสังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี ดงั นี้ 1) วางแผน กำหนดนโยบาย พรอ้ มทัง้ การสร้างความมีสว่ นร่วมในทุกภาคส่วน 2) หน่วยงานภาครัฐให้การอนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3) ชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่จัดโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน และ ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้อย่างต่อเนื่อง และ 4) พัฒนาผู้นำและคนในชุมชนให้มีความรู้ ความสามารถในการบริการ และมาตรฐานการท่องเที่ยว จากหน่วยงานภาครัฐ โดยมี ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย คือ วางแผนพัฒนาองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความ พร้อมให้กับชุมชนและส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวโดยความร่วมมือทุกภาคส่วน
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 329 ในเชิงปฏิบัติการชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องลงพื้นที่เพื่อประเมินศักยภาพ พร้อมทั้งสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน และค้นหาแนวทางในการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่และมิให้เกิดการสูญหาย ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาวิจัย ในเชิงปริมาณเพื่อสอบถามพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและผู้เกี่ยวข้องเรื่องแนวทางการจัดการ ท่องเทย่ี วชุมชนเพอ่ื สัมผัสชาตพิ นั ธุด์ ังกลา่ ว กติ ติกรรมประกาศ บทความวิจัยนี้เรียบเรยี งจากงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อสัมผสั ชาตพิ ันธ์ุและวฒั นธรรมพื้นถ่ิน กรณศี กึ ษา ขมุ มอญ พมา่ กระเหรีย่ ง และไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) จังหวัดกาญจนบุรี” ขอขอบคุณผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน อำเภอสังขละบุรี และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ในการ สนับสนนุ ขอ้ มูลพรอ้ มท้ังการอำนวยความสะดวกต่อการลงพนื้ ทีว่ จิ ยั ดงั กลา่ ว เอกสารอา้ งอิง ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการการ ทอ่ งเทีย่ วไทยนานาชาติ, 15(2), 1-20. เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคดิ เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ คณะรฐั มนตรแี ละราชกิจจานุเบกษา. พจนา สวนศรี และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเทีย่ วโดยชุมชน. เชียงใหม:่ วนดิ าการพมิ พ.์ ศิรนิ นั ทน์ พงษ์นิรันดร และคณะ. (2559). แนวทางในการพฒั นาศกั ยภาพการจัดการท่องเท่ียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 9(1), 234-259. สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. องค์ บรรจุน. (2559). “บ้านทุ่งเข็น”: ชุมชนชาติพันธุ์มอญร่วมสมัยแห่งสุพรรณบุรี. ใน ดุษฎี นิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวทิ ยาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์ อัญชัญ ตัณฑเทศ และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพวัฒนธรรมมอญกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มมอญในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการ จดั การการทอ่ งเทย่ี วชุมชนอยา่ งย่ังยนื . วารสารกระแสวฒั นธรรม, 18(34), 40-51.
330 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) อัฐภิญญา ศรีทัพ. (2559). แนวทางการอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบของ ชาติพันธุ์มอญ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร ศลิ ปกรรมศาสตร์วชิ าการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 3(1), 1-13. อินทิรา อ่อนคำ และบุญเชิด หนูอิ่ม. (2560). มอญตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี: วิถีและพลงั . วารสารวิชาการมหาวทิ ยาลัยธนบุรี, 12(28), 306-315. Becker, G. S. (1962). Investment in human capital: A theoretical analysis. Journal of political economy, 70(5, Part 2), 9-49. Chen, H. & Rahman, I. ( 2 0 1 8 ) . Cultural tourism: An analysis of engagement, cultural contact, memorable tourism experience and destination loyalty. ScienceDirect, 26(April 2018), 153-163. Swarbrooke, J. (1998). Sustainable Tourism Management Wallingford. Oxon: CABI Publishing. UNESCO. ( 2003) . Text of the convention for the safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Retrieved August 7, 2020, from http://www.unesco.org /culture/ich/en/convention
การพัฒนางานวิชาการในโรงเรยี นวัดสระแกว้ พิทยาคม เพ่ือยกระดับผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน: การวจิ ยั ปฏบิ ัติการแบบมสี ่วนร่วม* ACADEMIC DEVELOPMENT TO ENHANCING LEARNING ACHIEVEMENT AT SRA KAEW PITTAYAKHOM SCHOOL: PARTICIPATORY ACTION RESEARCH พระครสู ตุ รัตนานุกิจ Phrakhru Sutarattananukit ประยทุ ธ ชสู อน Prayuth Chusorn ชยั ยุทธ ศิรสิ ทุ ธิ์ Chaiyuth Sirisutr มหาวิทยาลยั ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ Northeastern University, Thailand E-mail: [email protected] บทคดั ยอ่ บทความวิจัยฉบับน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนางานวิชาการใน โรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน 2) ศึกษาผลการพัฒนาและ การเปลี่ยนแปลงงานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธ์ิ ทางการ เรียน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสองวงรอบ ผู้ร่วมวิจัยคือผู้บริหาร บุคลากรครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพ่ือ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยพิจารณาจากค่าความต้องการจำเป็นและ ค่า PNIModified = 0.30 ขึ้นไป 3 ด้าน คือ ด้านการนิเทศการศึกษา (PNIModified = 0.32) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNIModified = 0.31) และด้านการพัฒนาสื่อและใช้ เทคโนโลยี (PNIModified = 0.30) ตามลำดับ 2) ผลการพัฒนางานวชิ าการในโรงเรยี นวัดสระแก้ว พิทยาคมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน พบว่า ในวงรอบที่ 1 ส่วนใหญ่บรรลุผลตาม เป้าหมายทุกตัวบ่งชี้ ยกเว้นตัวบ่งชี้ร้อยละของครูที่มีการวิเคราะห์เทคนิคและวิธีการนิเทศท่ี จำเป็นและสอดคลอ้ งกับความต้องการของบุคลากรระหวา่ ง และหลังการเรียนการสอน ตัวบง่ ชี้ ระดับคุณภาพ ในการดำเนินการนิเทศและการประเมินที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เป้าหมาย * Received 24 August 2020; Revised 17 January 2021; Accepted 19 January 2021
332 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) เนื้อหาและกิจกรรม และตัวบ่งชี้ระดับคุณภาพในการดำเนินการนิเทศแบบกัลยาณมิตร การมี ส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และการร่วมรับผลประโยชน์จากการนิเทศ จึงได้กำหนดกิจกรรม เสรมิ สรา้ งชุ,ชนการเรยี นรทู้ างวชิ าชีพในวงรอบท่ี 2 พบว่า บรรลผุ ลตามเปา้ หมายที่ต้ังไว้ ทุกตัว บง่ ชี้ คำสำคญั : การพฒั นางานวิชาการ, ยกระดบั ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี น, การวจิ ยั ปฏบิ ัตกิ ารแบบมี สว่ นร่วม Abstract The objectives of this research were to 1 ) study initial academic development conditions at Sa Kaeo Pittayakhom School meant to enhance learning achievement and 2) study the results of development and changes implemented within the department to improve learning achievement. The study used two cycles of participatory action research, with participatory researchers being administrators, teachers, and other Sa Kaeo Pittayakhom School stakeholders. Research tools were meeting minutes; evaluation, observation, and interview forms; and transcriptions of lessons conducted after the two cycles of action. The research results were: 1 ) Academic development that aims to enhance learning achievement at Sa Kaeo Pittayakhom School should occur in three dimensions, according to values of need and PNIModified = 0.30 or more: education supervision (PNIModified = 0.32), learning process development (PNIModified = 0.31), and media and technology application development (PNIModified = 0.30) 2) The results of academic development to enhance learning achievement at Sa Kaeo Pittayakhom School showed that in the first cycle the set goals with each indicator were successfully met, apart from the percentage indicator for the teachers, which included an analysis of techniques and necessary and relevant means of supervision over staff needs during and after teaching. With quality level indicators used in the supervision process, evaluations conducted according to objectives, goals, content, and activities, and quality level indicators used in a friendly supervision process, participation, teamwork, and involvement in gaining benefits from the supervision increased. Activities aimed at encouraging professional learning in the community were organized for the second cycle, and it was found that every indicator was observed according to the set objectives.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 1 (มกราคม 2564) | 333 Keywords: Academic Development, Enhancing Learning Achievement, Participatory Action Research บทนำ ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์การเปลี่ยนแปลงของโลกก้าวผ่านจากศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ส่งผลกระทบทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการเมืองของทุกประเทศ โดยเฉพาะความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีและการสื่อสารทีท่ ำให้โลกเชื่อมโยงและสื่อสารถงึ กันได้อย่างรวดเร็ว เป็นโลกไร้ พรมแดน การศึกษาเป็นเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมในอนาคตถูกกำหนดโดยทักษะ และความรู้ที่ต้องการในปัจจุบัน (UNESCO, 2000) จุดมุ่งหมายพื้นฐานทางการศึกษา คือ การเรียนรู้เพื่อเป็นมนุษยท์ ีส่ มบูรณ์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกตามยุคสมัยได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อสังคมเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาเปลี่ยน นักวิชาการหลายท่านเห็นตรงกันว่า หากยังหลงติดอยู่กับสิ่งเก่าที่เคยใช้ได้ผลในยุคเก่า ย่อมส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่สอดคล้องกบั โลกท่ีเป็นจริงทัง้ ในปัจจุบันและในอนาคตทีจ่ ะยิ่งเข้มข้นขน้ึ (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2556) สอดคล้องกับ สุคนธ์ สินธุพานนท์ ที่เห็นว่า ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีใน ยุคปัจจุบันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านธรรมชาติ และวิถีการดำเนินชีวิตของ มนุษย์ ระบบข้อมูลข่าวสารที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมการเมือง การปกครอง การศึกษา วิทยาศาสตร์ การแพทย์ สังคมของมนุษย์เร่ิมมีความเป็นชมุ ชนเมืองมากขึ้น ท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงนน้ั สมาชิกในสังคมต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของโลก สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ทุกคน อยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขนั้น คือ จะต้องมีการพัฒนาทางการศึกษา จะต้อง ได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นรู้เท่าทัน ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไปรอบด้าน ซึ่งการพัฒนาผู้เรยี นใหม้ ีทักษะที่จำเปน็ ต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการเตรียมเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีทักษะสำคัญในการเผชิญชีวติ ในโลกที่มีกระแสของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้เยาวชนเป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น ตัดสนิ ใจอย่างถกู ต้องบนพื้นฐานของการเป็นผ้มู ีคุณธรรม จรยิ ธรรม และร่วมกนั สร้างสรรค์และ พัฒนาความเจริญในด้านต่าง ๆ ใหแ้ กส่ ังคมทุกระดบั (สุคนธ์ สินธพานนท์, 2558) การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนพระปริยัติ ธรรมจากการสังเคราะหแ์ นวคดิ หลักการจากนักวชิ าการต่าง ๆ ประกอบดว้ ย พระมหาธรี เพชร ธีรเวที และวิโรจน์ สารรัตนะ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตร ในสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผล ประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน 4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
334 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) ภายในและมาตรฐานการศึกษา 5) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี (พระมหาธีรเพชร ธีรเวที, 2558); (วิโรจน์ สารรตั นะ, 2556) ระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมซึ่งเป็น สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสำหรับพระภิกษุสามเณร ซึ่งสภาพการณ์ที่ผ่านมาการจัด การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษานั้นมีประเด็นที่ต้องได้รับการพัฒนาที่สำคัญอยู่ หลาย ๆ ประเด็น ด้วยความไม่ชัดเจนของการจัดการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับบริบทที่ควรจะ เป็นอย่างแท้จริง ความมีประสิทธิภาพของระบบการดำเนินการด้านการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่ยังไม่มีทิศทางการพัฒนา และขาดความชัดเจนในการสร้างเอกภาพ ทางการบริหารให้กับกลุ่มโรงเรียนและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวดั นอกจากนั้นยังพบว่า การสร้างพันธะสัญญาการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้เพือ่ การสร้างศาสนทายาททีเ่ ป็นไป ในทิศทางเดียวกันยังไม่ได้มีการกำหนดให้มีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก จะมีเพียง การดำเนินงานตามกรอบแนวปฏิบัติของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นสำคัญ อีกทั้ง โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่เด่นชัดพอที่จะเป็น แนวทางของการจัดการเรียนรู้ในบริบทพื้นที่นั้น ๆ (พระมหาธีรเพชร ธีรเวที, 2558) ดังนั้น ด้วยสภาพการณ์ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น ในการแสวงหาแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาในแต่ ละประเด็น ท่ีสอดคล้องกบั บรบิ ทของโรงเรียนที่มปี ัจจยั ส่งิ แวดล้อมแตกต่างกันได้นั้นผู้วิจัยเห็น วา่ การวิจยั เชงิ ปฏิบัติการแบบมสี ว่ นรว่ ม (Participatory Action Research: PAR) ตามทัศนะ ของวิโรจน์ สารรัตนะ (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2556) เสริมด้วยแนวคิดของนักวิชาการอื่น ๆ เช่น (Creswell, J. W., 2008); (McTaggart, R., 2010) การวิจยั ปฏิบตั ิการแบบมสี ว่ นรว่ มเก่ียวข้อง กับความร่วมมือ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการศึกษา ในการให้ข้อมูลเชิง คุณภาพ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีจุดเด่นของการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรงุ ทางการศึกษาการวจิ ยั เชิงปฏิบตั ิการนั้นเก่ยี วข้องกับการปฏบิ ัตเิ พ่ือ การเปล่ยี นแปลงของ นักเรยี น นโยบายของสถานศึกษา การวิจยั ปฏบิ ตั ิการแบบมสี ว่ นรว่ มเป็นการดำเนนิ การที่เป็นไป อย่างต่อเนื่องประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลการสะท้อนผล และการปฏิบัติ ในแต่ละ ขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการที่ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจะต้องถอดบ ทเรียนสร้างองค์ความรู้ใน ช่วงแรก ต่อจากนั้นจะนำไปสู่การตั้งคำถามใหม่ เพื่อปฏิบัติงานให้ดีที่สุดหรือเป็นเหตุเป็นผล ของปญั หาใหม่ ดงั น้ัน ผูว้ จิ ัยจงึ มีบทบาทในฐานะผ้ปู ฏิบัติการ เก็บรวบรวมขอ้ มลู การสะท้อนผล และการทดลองปฏิบตั กิ าร เพือ่ เพิ่มหรือปรับปรงุ การปฏิบตั ิในเรื่องที่จะพัฒนาให้ดยี ิ่งขน้ึ ไป (ภัท ราพร เกษสงั ข,์ 2559) ผู้วจิ ัยเห็นวา่ หากนำรปู แบบการวจิ ัยปฏบิ ตั ิการแบบมสี ว่ นรว่ มดังกล่าวข้างต้นมาพัฒนา รูปแบบการเรียนรู้ พัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนโดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในบริบทโรงเรียนมามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา เสนอความคาดหวังและ
วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564) | 335 แนวทางการพัฒนาหรือแก้ปัญหา ตลอดจนการติดตามและร่วมสะท้อนผลการวิจัย มีกระบวนการขับเคลือ่ นที่มาจากทุกฝ่ายที่เกีย่ วขอ้ งในทุกข้ันตอนการวจิ ัยเชิงปฏิบตั ิการแบบมี ส่วนร่วมในการพฒั นาหรือแกป้ ัญหาจากสะภาพจริง ที่ส่งผลให้ได้ขอ้ มูลเชงิ คุณภาพท่ีมาจากผู้มี ส่วนเกี่ยวขอ้ งอย่างแท้จริงและช่วยชีน้ ำให้เหน็ ถึงวิถีทางในการแกป้ ัญหาที่พบอย่างเหมาะสมมี ความตระหนักต่อกระบวนการพัฒนาที่มาจากความคาดหวังและแนวทางจากข้อเสนอของผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้วิจัยเกิดกระบวนการค้นคว้าและกระบวนการเรียนรู้ต่อการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือ แก้ไขปัญหาต่อไปในการพัฒนาคนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สร้างคนเพื่อไปสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวและเลือกเส้นทางแนวทางการพัฒนาที่ สอดคลอ้ งเหมาะสมกับบริบทชมุ ชนสังคมหรือสถานศึกษานัน้ ๆ อย่างชาญฉลาดต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพื่อยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงงานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้ว พทิ ยาคมเพอ่ื ยกระดบั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ยั การวิจัยเรื่อง “การพัฒนางานวิชาการ ในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคม เพื่อพัฒนา ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ผู้วิจัยได้นำ ห ล ั ก ก า ร ข อ ง ( Kemmis, S. & McTaggart, R. , 2010) ; ( Kemmis, S. et al. , 2014) เป็นกระบวนการในการดำเนินการวิจัย มีขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการตามแผน (Action) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นการสะท้อนผล (Reflection) มรี ายละเอียดของแตล่ ะข้นั ตอนดงั น้ี การศึกษาสภาพการพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพื่อยกระดับ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน 1. ขน้ั การวางแผน (Planning) 1.1 ศกึ ษาสภาพปจั จบุ ันและความต้องการจำเป็นของการพฒั นางาน วิชาการ ในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ในปีการศึกษา 2561 โดยสอบถามครูและบุคลากรทางการศึกษา 13 รูป/คน และนักเรียน โรงเรียนวดั สระแกว้ พิทยาคม 48 รปู /คน รวมทง้ั สิ้น 61 คน 1.2 เป้าหมายในการพัฒนาคือ การพัฒนางานวิชาการ ในโรงเรียน วัดสระแก้วพิทยาคม เพื่อพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีองค์ประกอบในการ
336 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) พัฒนา ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) ด้านนิเทศการศึกษา 5) ด้านการพัฒนาสื่อและใช้ เทคโนโลยี โดยการวเิ คราะหค์ วามต้องการจำเป็น PNIModified 1.3 แผนปฏิบัตกิ าร (Action Plan) ซึ่งปฏิบัติตามกจิ กรรมเปา้ หมาย ตามระยะเวลารวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดจนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมลู ศึกษาผลการพัฒนาและการเปลีย่ นแปลงงานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยา คมเพ่ือยกระดับผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน 2. ขั้นปฏิบัติตามแผน (Action) วงรอบที่ 1 เป็นการดำเนินการตามแผน ที่ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจยั ได้ร่วมกันวางไว้ ประชุมร่วมกันเพื่อระบุปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบตั ิ และข้อตกลงเบื้องต้นของแผนการทำงาน ประกอบด้วย ครู คณะกรรมการนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ในศึกษาความต้องการจำเป็น ในตอนที่ 1 และข้อมูลที่ได้ในขั้นเตรียมการเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวแปรการวิจัย เสนอ ต่อผู้ร่วมวิจัยเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับผลการประเมินความต้องการจำเป็นที่มีค่า PNImodified ต้งั แต่ 0.30 ขึ้นไป ในแต่ละองค์ประกอบ และตวั บง่ ช้ี/พฤติกรรมชวี้ ัดท่มี ีความต้องการจำเป็นในการ พัฒนางานวิชาการโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคม และผลการสำรวจข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2561 ดา้ นพุทธิพิสยั จิตพิสยั และทักษะพิสัย 3. ขั้นปฏิบัติตามแผน (Action) วงรอบที่ 2 เป็นการดำเนินการตามแผนที่ ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ ร่วมกันวางไว้ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ครู 14 คน กลุ่มที่ 2 กรรมการ นักเรยี น 12 คน และกลมุ่ ท่ี 3 กรรมการบรหิ ารกลมุ่ โรงเรยี น ผู้ปกครองและผแู้ ทนชุมชน 8 คน โดยใหแ้ ตล่ ะกล่มุ นำข้อมลู จากขัน้ สำรวจมาวิเคราะหแ์ ล้วกำหนดเปน็ โครงการ/กจิ กรรม/ตัวช้ีวัด ความสำเรจ็ และเปา้ หมายในการพัฒนา ในการประชุมสนทนากลมุ่ ไดม้ ีความเห็นรว่ มกันว่าควร นำหลักธรรมคือหลักอิทธิบาท 4 อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคม สรุปแผนการ ดำเนนิ งาน 4. ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) การสะท้อนผลในวงรอบที่ 1 ผู้วิจัยได้จัด ประชุมสะท้อนผลหลังการปฏิบัติ หรือ After Action Review: AAR โดยเชิญผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสีย และมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) ประกอบด้วย ผู้วิจัย/ครู 14 คน กรรมการนักเรียน 12 คน คณะกรรมการ บริหารกลุ่มโรงเรียน/ผู้ปกครอง และผู้แทนชุมชน 8 รูป/คน ได้ข้อสรุปว่าในส่วนของตัวชี้วัด ความสำเรจ็ ท่ีไมผ่ ่านการประเมินในวงรอบที่ 1 ไดแ้ ก่ 1) รอ้ ยละของครูที่มีการวิเคราะห์เทคนิค และวิธีการนิเทศที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรระหว่าง และหลังการ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบบั ท่ี 1 (มกราคม 2564) | 337 เรียนการสอน 2) ระดับคุณภาพในการดำเนินการนิเทศและการประเมินที่สอดคล้องกับ จุดประสงค์ เป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรมทั้งก่อน/หลัง และ 3) ระดับคุณภาพในการ ดำเนินการนิเทศแบบกัลยาณมิตร การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และการร่วมรับ ผลประโยชน์จากการนิเทศ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากในการนิเทศนั้นยังขาดรูปแบบการนิเทศที่ ชัดเจน การนิเทศไม่เป็นระบบ และขาดปฏิทินการนิเทศให้ครู ผู้บริหาร หรือผู้นิเทศจาก ภายนอกได้ปฏิบัติตามทำให้ตัวบ่งชี้ดังกล่าวไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้ข้อสรุปว่า ควรมีการนิเทศโดยเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC เพื่อให้เกิดกระบวนการ นิเทศที่เปน็ ระบบและดำเนินการอย่างตอ่ เนื่องในวงรอบท่ี 2 ต่อไป การสะท้อนผลในวงรอบที่ 2 นี้ ผู้วิจัยได้จัดประชุมสะท้อนผลหลังการปฏบิ ัติ หรือ After Action Review: AAR โดยเชิญผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีส่วนเกี่ยวข้องในการ พัฒนางานวชิ าการของโรงเรียนโดยมีผู้ให้ข้อมลู สำคัญ (Key Informant) ประกอบด้วย ผู้วิจัย/ ครู 14 คน กรรมการนักเรียน 12 คน คณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน/ผู้ปกครอง และ ผู้แทนชุมชน 8 รูป/คน ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดย ประเด็นสำคญั คอื วงจรการทบทวนตนเอง (Spiral Cycles of Self - Reflection) ผู้วจิ ัยควร เน้นบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมและเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้มีการ สะท้อนผล โดยให้มีการพบปะสนทนาหรือการเสวนาพาที (Dialogue) เพื่อนำเอาข้อมูลที่เป็น บันทึกการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมและการปฏิบตั ิ การเปลี่ยนแปลงในคำอธิบายถงึ สิ่งที่ปฏิบตั ิ การเปลี่ยนแปลงในความสัมพนั ธ์ทางสังคมและรูปแบบองค์การ และการพัฒนาตนเองจากการ ร่วมในการวิจัย ซึ่งพบว่า ประเด็นสำคัญในการพัฒนาผู้บริหารและครูให้ความสำคัญกับ หลกั การมสี ว่ นรว่ มท้ังในรว่ มวางแผน ร่วมปฏิบตั ิ ร่วมประเมินผล ร่วมปรับปรงุ แกไ้ ข และชืน่ ชม ความสำเร็จรว่ ม นอกจากนยี้ ังพบวา่ หลักธรรมทใ่ี ช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ หลกั พรหมวิหาร 4 หลักอทิ ธิบาท 4 และหลักสงั คหวัตถุ 4 ซ่งึ เป็นหวั ใจสำคัญท่ีทำใหง้ านประสบผลสำเรจ็ เคร่อื งมอื ที่ใช้ในการวจิ ยั การวิจัยเรื่อง การพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพื่อยกระดับ ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น มเี ครอ่ื งมือทใี่ ชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมูลดงั น้ี 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสมั ภาษณแ์ บบมีโครงสร้าง 3) แบบสงั เกตแบบมีสว่ นรว่ ม 4) แบบบันทึก 2. ลักษณะของเครื่องมือ 1) แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 61 รูป/คน 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และกรรมการ สถานศึกษาและผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใชส้ งั เกตพฤติกรรมการปฏิบตั ิงานของกลุ่มผรู้ ่วมวิจัย 4) แบบบันทกึ ใชส้ ำหรบั บนั ทกึ เหตุการณ์ ในการประชมุ ทุกคร้ัง
338 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.6 No.1 (January 2021) 3. วธิ ีสร้างและหาคณุ ภาพเครื่องมือ มีขั้นตอน ดงั ต่อไปน้ี 3.1 แบบสอบถาม สร้างตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสารท่ี เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) กำหนดกรอบในการสร้างแบบสอบถาม 3) จัดสร้างแบบสอบถามตามกรอบที่กำหนด 4) นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนให้ คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไข 5) ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแบบสอบถามชุดนี้มีค่า IOC ระหว่าง 0.87 - 1.00 6) นำแบบสอบถามชุดที่สร้างขึ้นและ ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากรที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวดั แจ้งสว่างนอก อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแกน่ มีค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 7) จัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้ในการเก็บ รวบรวมขอ้ มลู ต่อไป 3.2 แบบสัมภาษณ์ สร้างตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสารท่ี เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสัมภาษณ์ทั้งที่มีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง 2) กำหนดกรอบ ในการสัมภาษณ์ 3) จัดสร้างแบบสัมภาษณ์ 4) นำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไข 5) ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 6) นำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นและปรับปรุงแล้วจัดพิมพ์เพือ่ นำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 3.3 แบบสงั เกต 1) ศึกษาเอกสารทเ่ี กี่ยวข้องกับการสร้างแบบสังเกต ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม 2) กำหนดกรอบในการสังเกต 3) จัดสร้างแบบสังเกต 4) นำแบบสังเกตที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนให้นำแนะนำในการแก้ไขปรบั ปรุง 5) ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 6) นำแบบสังเกตที่สร้างขึ้นและปรับปรุงแล้วจัดพิมพ์เพื่อนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตอ่ ไป 3.4 แบบบนั ทกึ 1) ศึกษาเอกสารท่ีเก่ยี วข้องกับการสร้างแบบบันทึก 2) กำหนดกรอบในการสังเกต 3) จัดสร้างแบบบันทึก 4) นำแบบบันทึกที่สร้างขึ้นเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนให้นำแนะนำในการแก้ไข ปรับปรุง 5) ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 6) นำแบบบันทึกที่สร้างขึ้นและ ปรบั ปรุงแลว้ จดั พิมพเ์ พื่อนำไปใช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูลต่อไป การเกบ็ รวบรวมข้อมูล 1. เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินการ สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ใน การพัฒนางานวชิ าการในโรงเรียนวัดสระแก้วพิทยาคมเพ่ือยกระดบั ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน จากการสอบถามครูและบุคลากรทางการศึกษา 13 รูป/คน และนักเรียนโรงเรียนวัดสระแก้ว พิทยาคม 48 รูป/คน รวมทัง้ ส้นิ 61 คน
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 513
Pages: