หมดยคุ พระคุณทีส่ าม พ่อแมค่ นทีส่ อง จกั รกฤษณ์ โพดาพล มหาวทิ ยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตศรีลา้ นชา้ ง Chakgrit Podapol Mahamakut Buddhist University, Srilanchang Campus. บทนำ ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของการสื่อสารจากเทคโนโลยีดิจิทัล เรามักจะได้ยินข่าวครูตีเด็ก ออกสื่อสังคมออนไลน์บ่อยครั้งมากขึ้น ถามว่าในอดีตมีครูตีเด็กนักเรียนหรือไม่? คำตอบที่ได้ยินคุ้นหู คือ “มี” และเมื่อถามว่าทำไมครูต้องตีเด็กนักเรียน? และเราจะอ้างเสมอว่า อยากให้เด็กเป็นคนดี นั่นเอง คำตอบที่ได้รับจะมพี ร้อมกับสำนวนที่วา่ “รักวัวให้ผู้ รักลูกให้ต”ี เป็นคำตอบทีถ่ ือว่าเบ็ดเสร็จ และเป็นประวัติศาสตรข์ องชาติไทยว่า “ไม้เรียวสร้างชาต”ิ คำถามที่ตามมาคือ ครูตีเด็กนักเรียนดว้ ย ความรักจรงิ หรอื ? ปัจจุบันข่าวที่นักเรียนทำร้ายเด็ก ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง ได้มีการนำมาเผยแพร่อย่าง ต่อเนื่อง และบ่อยขึ้น โดยผู้ที่นำมาเผยแพร่ก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็นนักเรียนในห้องนั่นเอง หรือแม้กระทั่ง พ่อแม่ผู้ปกครองเอง ก็ตามที่เด็กที่ถูกลงโทษ อาจมีการ “ไลฟ์สด” หรืออัดวิดีโอ ประจานการกระทำ รนุ แรงนั้น ๆ บ่งชี้ไดว้ ่า เดก็ ทกุ วันนีไ้ มย่ อมรับกับกฎเกณฑ์ หรือสงิ่ ทผี่ ู้ใหญ่ได้กระทำต่อพวกเขา อย่าง ไรเ้ หตผุ ล หรอื เกินต่อการยอมรับของพวกเขาได้ แสดงให้เห็นวา่ ในปัจจุบันสงั คมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเปน็ อย่างมาก ในสังคมการศึกษาไทย เริ่มมีความยุ่งยากตั้งแต่มีกลุ่มนักเรียนเรียกร้องการไว้ผมยาว ต่อมีเริ่มมีการเรียกร้องให้ยกเลิก กิจกรรมหนา้ เสาธง คือ ยกเลิกการเคารพธงชาติ ยกเลิกการสวดมนต์ไหว้พระ และยกเลกิ การปฏญิ าณ ตน ตลอดจนการยกเลิกการใสช่ ดุ นักเรียน แตก่ เ็ ป็นเพยี งข้อเรยี กรอ้ งท่ีไม่ไดร้ ับการตอบรับมากเท่าไหร่ จากผู้คนในสังคมส่วนมากและก็เงียบไป จนเกิดปรากฏการณ์ “กลุ่มนักเรียนเลว” นัดดีเบต กับ นาย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2563 ที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนมองวา่ “เด็กก้าวร้าว” อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการลอกเลียนแบบตาม ๆ กันมาของกลุ่มวัยรุ่นจาก ประเทศต่าง ๆ ตง้ั แตย่ โุ รป จนถึงเอเชยี กลุ่มคนรนุ่ ใหมเ่ ริม่ มีคน “ไม่ทน” ต่อสภาพกฎหมาย การเมอื ง รัฐบาลของตนเอง และในปัจจุบันในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีการส่งข้อมูลข่าวสารกันในแบบ ทันทีทันใด (real time) จากความทันสมัยของทั้งอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้การ เผยแพรข่ อ้ มลู ข่าวสารใหค้ นท่วั ไปไดเ้ หน็ มากขนึ้ กว่ายุคก่อน บทความน้ีมจี ุดมุ่งหมายเพื่อทำความเขา้ ใจแนวคดิ และทัศนคตขิ องเด็กนกั เรียน นักศึกษาท่ีมี ต่อการสอนและการลงโทษของครผู ูส้ อน ในขณะเดียวกันกม็ จี ุดมงุ่ หมายเพ่ือให้ครผู ู้สอนทำความเข้าใจ แนวคิดและทัศนคติของเด็กเช่นกัน และจะได้ลองปรับบทบาทตัวเองจากการคิดว่าครูเปรียบเสมือน พ่อแม่คนที่สองของเด็กนักเรียน แต่หันกลับมาลองคิดพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพของตนเอง เพ่ือ พัฒนาการเรยี นการสอน เน้นทีก่ ารจัดการเรียนรู้ และกระตุน้ เด็กใหค้ ิดเอง
ความเชื่อในการลงโทษด้วยความรุนแรง พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (2563) ได้เขียนบทความ “ไม้เรียวสร้างคน? ทำไมครูต้องลงโทษเด็ก มองผ่านประวัติศาสตร์ของยุโรปยุคกลาง” โดยอ้างงานของ ดร.เบน พาร์สันส์ (Ben Parson) แห่ง มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ท่ีได้วิจัยเรื่องวินัยและความรุนแรงในห้องเรียนยุคกลาง ว่าทำไมครูถึงต้อง ลงโทษเดก็ ด้วยการตี (Beating) ซึ่งพบวา่ การลงโทษเด็กด้วยการตสี ะท้อนถึงความใส่ใจของครูท่ีมีต่อ นักเรยี นอย่างสูง ยอ้ นกลับไปในยุคกลาง (Medieval Ages) ของยโุ รป หรือบางคนก็เรียกว่ายุคมืดน้ัน เป็นช่วงท่ีศาสนจกั รครอบงำความคิดและชีวิตของผู้คน มีประชากรจำนวนน้อยเท่านั้นที่สามารถอ่าน ออกเขียนได้ บางแหล่งว่ามีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เด็กนักเรียนจึงต้องเป็นเด็กที่รวยและมีฐานะ เท่านั้น โดยแบ่งโรงเรียนออกเป็น 3 ประเภทคือ โรงเรียนประถมศึกษาสอนร้องเพลงศาสนา (Elementary-song School) โรงเรียนสงฆ์หรือโรงเรียนสอนศาสนา (Monastic School) และ โรงเรียนศึกษาไวยากรณ์ละติน (Grammar School) ทั้งหมดมีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือ และในขั้นตอนของการสอนหนังสือของโรงเรียนทั้งสามแบบนี้ การลงโทษ เช่น การตี การดุด่า ครูใน ยุคนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องทำ ในความคิดของครูยุคกลางต่างเชื่อว่าการ ลงโทษจะช่วยทำให้เด็กนั้นจดจำสิ่งที่ทำผิดพลาด, บ้างเชื่อว่าการลงโทษทางร่างกายจะช่วยยกระดับ และพัฒนาจิตใจ บ้างเชื่อว่าการลงโทษจะช่วยพัฒนาความฉลาดทางปัญญาได้, การลงโทษจะช่วย ยกระดับทางศีลธรรมให้กับเด็ก และบ้างเชื่อว่าเป็นวิธีการควบคุมเด็กให้เชื่อฟังครูอีกด้วย ดังนั้นการ ลงโทษเด็กดว้ ยการตีจึงสะท้อนถงึ ความใสใ่ จของครทู ีม่ ีตอ่ นักเรยี นอย่างสูง ขณะที่ Mary Carruthers (1998) ได้ให้ข้อมูลว่า ครูในยุคกลางนั้นมีความเชื่อว่าการลงโทษ ประมาณหนงึ่ ด้วยการใช้ไม้เรียวอย่างถูกตอ้ ง (The Rule of the Rod) จะชว่ ยเพ่มิ ความสามารถด้าน ความทรงจำของนักเรยี น จนนำไปส่กู ารมีความฉลาดอย่างแทจ้ ริง (True Wisdom) เพราะเมื่อเด็กถูก ลงโทษในความผิดพลาดต่าง ๆ ก็จะจดจำและเรียนรู้ว่าอะไรเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ความเชื่อเช่นนี้พบวา่ ตกทอดลงมาจนถึงยุคโมเดิร์นสมัยต้นๆ ที่มองว่า การลงโทษให้ได้รับความเจ็บปวดนั้นจะช่วยพัฒนา เรื่องความทรงจำให้กับเด็ก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเชื่อว่า การลงโทษเด็กเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนการสอนทดี่ ี เพราะถา้ อยากปรับปรงุ สมอง วนิ ัย และศลี ธรรม กต็ อ้ งสร้างสิง่ เหลา่ นั้น ให้ถูกต้องผ่านร่างกาย (Physical Correction) ในช่วงยุคกลาง โรงเรียนสอนศาสนาหลายแห่งมี วธิ กี ารลงโทษแบบแปลกๆ เชน่ การใชไ้ ม้กางเขนประทบั ลงไปบนลิ้นของนักเรียน เพ่ือหวังให้นักเรียน พูดจาดี บ้างเชื่อว่าการตีเด็กจะช่วยทำให้พวกเขาระมัดระวังต่อการทำบาป ซึ่งการลงโทษด้วยการตี ดังกล่าวนั้นก็ผ่านสายตาของพระเจ้า ครูจึงเป็นตัวแทนของพระเจ้า และการลงโทษเด็กนักเรียนนั้นก็ เป็นการกระทำในนามของพระเจ้าไปดว้ ย ซง่ึ การลงโทษในนามของพระเจ้านีเ้ องท่ีเช่ือว่าจะช่วยทำให้ เด็กเกิดการพัฒนาทางดา้ นศีลธรรม (Moral Development) ในทางตรงข้ามหากไม่ได้รับการลงโทษ ก็จะทำให้จิตวิญญาณอ่อนแอ และยังอาจตกไปสู่อวิชชาได้อีกด้วย อีกทั้งความชอบธรรมของการ ลงโทษนัน้ ยงั เปน็ ผลมาจากความคิดว่า ธรรมชาตขิ องมนษุ ย์นั้นโนม้ เอยี งไปในทางช่วั ร้ายมากกว่าจะไป ในทางที่ดี ดังนั้นการลงโทษจะช่วยสร้างสำนึกที่ดีให้กับนักเรียน และช่วยกระตุ้นเตือนความจำถึงคำ สอนของพระเจ้าทมี่ ุง่ ให้คนเป็นคนดี สำหรับประเทศไทย ยศวีร์ ศิริผลธันยกร ได้ค้นคว้าเรื่องการลงโทษนักเรียนในไทย ซึ่งได้พบ ข้อความในหนังสือ สยามและลาวในสายตาของมิชชันนารีอเมริกัน โดย เอส. จี. แมคฟาแลนด์ ที่เข้า
มาในสมยั รชั กาลท่ี 5 โดยไดบ้ ันทึกไว้ว่า “คณุ ครมู กั จะเฆีย่ นตี (นกั เรียน) และเปน็ สงิ่ ทีเ่ รยี กว่า สอนให้ จำ (Son Hi Chum) สำหรับความผิดชั่วร้ายเนื่องจากการไม่เชื่อฟังและขาดความเคารพครูของเขา นกั เรยี นมกั ถูกมดั ไว้กบั เสาแลว้ ถกู โบย ซึ่งไมใ่ ชเ่ พยี ง 4-5 ครัง้ เทา่ นนั้ แตจ่ ะถูกโบย 1 โหล 2 โหล หรือ 3 เท่าที่ครูต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นความเอาใจใส่ครูต่อเด็ก” แมคแฟร์แลนด์ยัง อธิบายอำนาจของครูในสังคมสยามว่า “ครูแต่ละคนมีอิสระในการทำตามความต้องการของตนทุก อย่าง” รวมทั้ง “การเรียนการสอนทั้งหมดเป็นไปตามอำเภอใจของครูผู้สอนโดยปราศจากการกำกับ ของครใู หญ่และกฎเกณฑ์ใด ๆ ทง้ั สิ้น” และเธอลงท้ายด้วยการสรปุ ว่า “แมว้ า่ บรรดาครูใหญ่โรงเรียน แห่งศาสนาพทุ ธจะล้มเหลวในการสอนบทเรียนใดก็ตาม แต่มีอย่บู ทเรียนหนง่ึ ท่ีเขาประสบความสำเร็จ ในการถ่ายทอดได้ดีกวา่ ประเทศอน่ื นัน่ คอื ความรู้สึกเคารพนับถอื ของนักเรยี นทม่ี ีต่อครูของพวกเขา” พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (2563) ได้สรุปไว้ว่า ด้วยการที่ครูมนุษย์เป็นผู้รับและส่งผ่านความรู้ จากผีหรือเทพ (ความรู้จากอดีต) มาให้กับลูกศิษย์นี้เอง จึงทำให้สถานะของครูนั้นมีสถานะสูงขึ้นมา เพราะเปน็ ตวั แทนของความรทู้ ่ีแนบไปพรอ้ มกับความศักด์สิ ทิ ธิ์ ถา้ ถามวา่ แล้วความศักด์ิสิทธ์ิของครูใน ปจั จบุ ันนนั้ มาจากไหน คำตอบง่าย ๆ เลยกค็ อื พธิ ีไหว้ครูในโรงเรียน ซงึ่ ความจริงแลว้ ก็เปน็ พิธีกรรมท่ี เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 มานี้เอง ที่ มล.ป่ิน มาลากุล ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีแรกของเดือน มิถุนายนเป็นวันไหว้ครู ดังนั้นการลงโทษนักเรียนจึงเป็นการกระทำในนามของอำนาจอันศกั ดิส์ ทิ ธ์ทิ ้ัง ในด้านความเชื่อและชาติ ซึ่งเป็นเหตผุ ลที่ทำให้ผู้ปกครองเชือ่ ว่าการลงโทษของครูนั้นมีความยุติธรรม และเป็นสิทธิอันพึงชอบธรรมอยู่แลว้ แต่นอกเหนอื ไปจากอำนาจอนั ศกั ดิส์ ทิ ธ์บิ างอยา่ งของครูที่เช่ือว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้มีเหตผุ ลมากกว่าคนทั่วไปแล้ว ปัญหาเรือ่ งอำนาจนยิ มนั้นผมวา่ ก็เป็นเรื่องสำคญั ของครไู ทยเชน่ กนั ซง่ึ มันฝังอยใู่ นวฒั นธรรมที่ให้ความสำคญั กับความสงู -ตำ่ ผู้ใหญ่-ผู้น้อย การลงโทษ นักเรียนจึงกระทำการผ่าน ‘อำนาจ’ หลายๆ อย่างไปพร้อมกัน แต่การลงโทษดังกล่าว (ในกรณีที่ รุนแรงเกินกว่าเหต)ุ นั้นก็สามารถอธิบายผ่านถ้อยคำต่าง ๆ เช่น ‘ไม้เรียวสร้างคน’ หรือ ‘รักวัวให้ผูก รักลกู ให้ตี’ การปั้นเด็กผา่ นไมเ้ รยี วน้ีเองทท่ี ำใหค้ รมู สี ถานะเปน็ เหมือนกับแม่พิมพข์ องชาติไปด้วย ความเปน็ ครูในสงั คมไทย สำหรับส่วนตัวของผู้เขียน ไมเ่ ห็นด้วยท่จี ะนำเอาแนวคิดของต่างชาตมิ ามองความเป็นครูของ สังคมไทย และสรุปเหตุผลของการใช้ไม้เรียวของครูในสังคมไทยไว้เช่นนั้น แต่เห็นด้วยที่ว่า ครูนั้นมี สถานะสูงเพราะเป็นตัวแทนของความรู้ที่แนบไปพร้อมกับความศักดิ์สิทธ์ิ แต่ไม่ใช่สาเหตุของการ ลงโทษ แต่ด้วยความที่เด็กเป็นผู้ใต้ปกครองของครู เปรียบดังเช่นที่เป็นพ่อเปน็ แม่ของเด็ก จึงสามารถ มอี ำนาจ หรอื มีสทิ ธใิ์ นการปกครอง อบรมเลย้ี งดูน่นั เอง ในอดตี สังคมไทยหรือสังคมตะวนั ออก การท่ีฝากตัวเป็นศิษย์เพ่ือเรียนวชิ ากับอาจารย์หรือครู สักคน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความรู้เป็นของมีค่า ขั้นตอนการรับเป็นศิษย์เรียกว่าการฝากเนื้อฝากตัว ถ้านึกถึงหนังกำลังภายในก็ต้องคุกเข่ากัน 7 วัน 7 คืนก่อนจะได้เป็นศิษย์ ถ้าในสังคมไทยนึกถึงสำนัก ดาบสมัยก่อน หรือสำนักมวยในปัจจุบัน ที่มาของฝากตัวเป็นศิษย์เพ่ือเรยี นวิชา หรือนึกถึง “เด็กวัด” ที่มาพ่อแม่ไปฝากหลวงตามให้เป็น “ศิษย์วัด” หรือ “เด็กวัด” โดยส่วนมากจะรับไว้ก่อนด้วยความ เมตตา เพราะสาเหตุคือ ความขัดสนยากจนจงึ มาฝากไว้ที่วัด และเมื่อรับแล้วก็หมายถึงการอยู่ในการ ปกครองของอาจารย์คนนั้น ๆ เปรียบเสมือนเป็นพ่ออีกคน และก็เกิดคำว่า “ลูกศิษย์” คนโดยทั่วไป
จะได้รับการเรียนรูแ้ บบ “ครูพักรักจำ” เด็กต้องขนขวายเรียนรู้เอง ดังนั้นเด็กตอ้ งมีความสนใจใฝ่รูจ้ ึง จะประสบความสำเร็จ ถ้าเด็กคนไหนมีแววก็จะได้รบั ความรัก ความเมตตาเปน็ พเิ ศษ กระบวนการเหลา่ นีท้ ำใหเ้ กิดความผกู พันของคนท่ีเคารพ นับถือกนั ดังพอ่ กับลูก เม่อื มคี วามผู้ พันธ์ก็เกิดความคาดหวัง เมื่อเด็กกระทำผิดขึ้นมาจึงลงโทษดังพ่อลงโทษลูก และในสังคมไทยการ ลงโทษด้วยการเฆีย่ นตีก็เป็นวิธีการลงโทษที่ถือว่าเบากว่า การกักขังด้วยการล่ามโซ่ตรวน หรือการขัง ในคุกคอกววั ใต้ถนุ บา้ น จาก “รกั ววั ให้ผูก รักลกู ให้ต”ี ถึง “ไมเ้ รยี วสร้างชาติ” มีเร่ืองเลา่ ท่ีเป็นความจริงอันโหดร้ายเก่ียวกับพ่อแม่ไม่มเี วลาให้ลูก เนือ้ หาประมาณว่า “หลัง เลิกงาน ชายหนุ่มได้กลับเข้าบ้านล่าช้าเหมือนทกุ วันที่ผ่านมา เขารู้สึกเหนด็ เหนื่อยอ่อนล้าและพบว่า ลูกชายวยั 5 ขวบ รอคณุ พอ่ อย่ทู ่ีหน้าประตู” ลูก . “พอ่ ครับ ผมมคี ำถามถามพอ่ ขอ้ นงึ ” พ่อ . “ว่ามาสิลูก, อะไรเหรอ” ลูก . “พอ่ ทำงานไดเ้ งนิ ชัว่ โมงละเท่าไหร่” พอ่ . “อยากรู้ทำไมครับ” ลกู . “ผมอยากร้จู รงิ ๆ โปรดบอกผมเถอะ พ่อทำงานไดเ้ งินชว่ั โมงละเทา่ ไหร่” พ่อ . “พอ่ ได้ชวั่ โมงละ 500 บาท” ลกู . “พ่อครบั ผมอยากขอยืมเงนิ 200 บาท ” พ่อ . “ลูกจะเอาไปทำไม” ลูก . “ผมมเี งิน 300 บาท ผมอยากจะเลน่ กับพ่อสัก 1 ช่ัวโมงครบั ” ปัจจุบันเด็กแต่ละคนเริ่มใช้ชีวิตในโรงเรียนเร็วขึ้น ตั้งแต่ 2 ขวบ เริ่มจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งนี้เพราะปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยาย เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เปลี่ยนจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม กลายเป็นคำทำงานมีรายได้เป็นรายเดือน กลายเป็นชนช้ัน กลางมากขึ้น เกดิ จากการขยายตวั ของเมืองและตำแหน่งงานต่าง ๆ พ่อแมจ่ ึงไดฝ้ ากลูก ๆ ของตนไว้ที่ ครู คาดหวงั ว่าครูจะทำหนา้ ทแ่ี ทนตน ในแต่ละวันผู้ปกครองบางคนในสังคมเมืองไม่ได้เจอลูกเลย เพราะต้องออกนอกบ้านแต่เช้า กลับดึก และสำหรับนักเรียนบางคนที่ย้ายมาจากต่างจังหวัด ต้องมาอยู่หอพักกับเพื่อนตั้งแต่ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วงเด็กกำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น ที่ต้องการที่ปรึกษา แต่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ สิ่งเหล่าน้ี เป็นรอยต่อของชีวติ ของเด็กท่ีไม่ได้ถูกเติมเต็มโดยครอบครัว เมื่อเกิดปัญหาวัยรุ่นต่าง ๆ ที่อาจไม่เป็นไปตามความคาดหวังของพ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลา ก็ ด้วยการลงโทษเด็กเกิดความรุนแรงในครอบครัว เช่นเดียวกันกับครูที่แก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่ต่างกัน ความต้องการใหผ้ อู้ ย่ใู นปกครองไดด้ ี เม่อื เปน็ เชน่ น้ัน พอ่ แมต่ ลี กู ไดฉ้ นั ใด ครกู ็ตลี ูกไดฉ้ ันน้ัน ตอ่ คำถามวา่ ครูตเี ดก็ นกั เรยี นดว้ ยความรัก ความหวังดี จริงหรอื ไม่? กต็ อ้ งกลับมาย้อนถามว่า พ่อแม่ตีลูกด้วยความรัก ความหวังดีจริงหรือไม่? คำตอบที่ได้ คือ “จริง” ตราบใดที่วันนั้น ๆ พ่อแม่ ผปู้ กครองมสี ตสิ ัมปชัญญะ และอารมณค์ งท่ีไม่แปรปรวนจากปัญหาอ่นื ๆ เช่น ปญั หากับคู่สามีภรรยา ปญั หาจากท่ีทำงาน ปัญหาเศรษฐกจิ ปญั หาสว่ นตวั ฯลฯ และอีกมากมาย ทำให้เกิดอารมณแ์ ล้วนำมา
ระบายกบั ลูกหลาย ครผู ้สู อนก็เช่นกัน ปญั หาต่าง ๆ ทีท่ ำใหอ้ ารมณ์แปรปรวนอาจนำมาเป็นอารมณ์ท่ี ลงสตู่ ัวนักเรียน นกั ศึกษาไดเ้ ชน่ กนั สังคมเปลีย่ น ครูต้องเปลยี่ น ปัจจุบันได้มีการคำนึงถึงสิทธิของเด็ก (Children Rights) มากขึ้น อีกทั้งยังตระหนักว่าการ ลงโทษเด็กนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบมากกว่าเชิงบวก บางกรณีทำให้เด็กเป็นคนก้าวร้าว โกหกเพื่อเอาตัวรอดจากการลงโทษ และเป็นปัญหาต่อกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เพราะเด็กจะกลัว และไมก่ ล้าที่จะคิดอะไรนอกจากที่ครสู อน เพราะกลัวความผิด กล่าวได้ว่าการลงโทษน้ันส่งผลกระทบ กับเด็กมากกว่าผลทางบวก ก่อนหน้าปี 2542 กระทรวงศึกษาธิการมีระเบียบลงโทษนักเรียน ท่ี อนุญาตให้ครูใช้ไม้เรียวตีนักเรียนได้ หลังจากปี 2542 มีระเบียบลงโทษนักเรียน ห้ามลงโทษนักเรียน โดยการตี และล่าสุดจากระเบียบข้างต้นโดยปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย เรื่องการ ลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 กำหนดบทลงโทษไว้อย่าง ชัดเจน (โรงเรยี นสามหมอวิทยา, 2563: 22 – 24) ตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ได้ กำหนดไว้ในข้อ 6 ว่า “ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือ ลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และ ความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศกึ ษาให้เป็นไปเพือ่ เจตนาที่จะแก้นิสัยและความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และ กลบั มาประพฤตติ นในทางทีด่ ตี ่อไปให้ผูบ้ ริหารโรงเรียนหรือสถานศกึ ษา หรือผทู้ ผี่ บู้ รหิ ารโรงเรียนหรือ สถานศกึ ษามอบหมายเปน็ ผู้มีอำนาจในการลงโทษ นกั เรยี น นักศึกษา และไดก้ ำหนดวธิ ีการลงโทษไว้ ในข้อ 5 มสี าระสำคัญดังน้ี ข้อ 5 โทษท่จี ะลงโทษแก่นักเรยี นหรือนักศึกษาที่กระทำความผดิ มี 4 สถาน ดังนี้ (1) ว่ากล่าวตักเตือน โดยการว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษา กระทำความผิดไมร่ า้ ยแรง (ขอ้ 7) (2) ทำทัณฑ์บน โดยการทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสมกับสภาพ นักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและ นักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของ สถานศึกษา หรือได้รบั โทษว่ากลา่ วตักเตือนแล้ว แต่ยงั ไม่เข็ดหลาบ การทำทณั ฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชญิ บดิ ามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทกึ รบั ทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑบ์ น ไว้ด้วย (ข้อ 8) (3) ตัดคะแนนความประพฤติ โดยการตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตาม ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและ นักศึกษาของแต่ละสถานศึกษา กำหนด และให้ทำบนั ทึกขอ้ มลู ไวเ้ ปน็ หลักฐาน (ขอ้ 9) (4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปล่ียนพฤติกรรม โดยการทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปล่ยี น พฤตกิ รรม ใช้ในกรณที น่ี กั เรยี นและนักศึกษากระทำความผดิ ที่สมควรต้องปรับเปลยี่ น พฤตกิ รรม การ จดั กจิ กรรมใหเ้ ป็นไปตามแนวทางทก่ี ระทรวงศึกษาธกิ ารกำหนด (ข้อ 10)
ความจรงิ ของนักเรียน นกั ศึกษา ปัทมา จอมศริ ิวัฒนา ผอู้ ำนวยการฝ่ายงานวจิ ัยประจำ สตามนิ ่า เอเชีย เผยว่า เจนแซด ก็คือ ผ้ทู ีเ่ กดิ ระหวา่ งปี 2538-2553 เปน็ คนรุ่นใหม่ทมี่ ลี กั ษณะเหมือนกันไม่ว่ามมุ ไหนของโลก ใช้ชีวิตอยู่กับ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดียแต่เด็ก เป็นคนยุคดิจิทัลแท้จริงรุ่นแรก คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ การสื่อสารผ่านออนไลน์ หรือการเชื่อมต่อกันแบบทันที นอกจากจะใช้ เทคโนโลยไี มต่ ดิ ขัดแลว้ ยังเปน็ ส่วนหนง่ึ ของการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ปกตแิ ล้วคนจะมองว่า เจนแซด มีความยึดมัน่ ในอุดมการณ์มากกว่า กล้าจะเผชญิ หนา้ มากกว่า และมีหลักการมากกว่า พวก เขาเหล่านี้คือผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องศีลธรรม รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลวิจัยยังพิสูจน์ให้เห็นว่า เจนแซดไทย คล้ายคลึงกันกับเจนแซดซีกโลกตะวันตก คือ มีความต้องการที่จะท้าทายกับ สถานะปัจจุบันในแง่คุณค่า ธรรมชาติ เทคโนโลยี รวมถึงความสัมพันธ์กับแบรนด์ต่าง ๆ 35% ของผู้ ร่วมวิจัยชาวไทยระบุว่า “ความยั่งยืน” เป็นสิ่งท่ีควรคา่ และพร้อมจะสู้เพื่อสิง่ นี้ มุมมองนี้อธิบายไดว้ ่า เจนแซดไทย เป็น ทรูเจน คือก้าวไปข้างหน้าดว้ ยการเสาะหาสิ่งทีเ่ ปน็ แกน่ แท้ อย่างไรก็ตาม เจนแซด ไทย ออกไปในแนวของผู้มจี ิตวญิ ญาณของการเป็นผ้ปู ระกอบการมากกว่า มคี วามสนใจในความสำเร็จ ทางการเงินมากกว่า หัวรั้นน้อยกว่า เปิดรับความคิดเห็นที่หลากหลายกว่าตะวันตก นอกจากนี้ เจน แซดไทยยังมีความเป็นปัจเจกมากกวา่ โดย 36% ของไทยนั้นเลือกคำกล่าวที่ว่า “เป็นตัวของตัวเอง” ใหเ้ ป็นสุดยอดคติประจำใจ (มตชิ น ออนไลน์, 2562) จากคุณลักษณะของเด็กนักเรียน นักศึกษาซึ่งเป็นของเจน Z ซึ่งในทัศนคติของพวกเขานั้น ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ ว่าเขาเป็น “ผู้ใหญ่” เช่นกัน เพราะเขาได้รับการเรียนรู้ ได้รับข้อมูล จากโลกอินเตอร์เน็ต มามาก และพร้อมที่จะเรียนรู้ และรับสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ในการ เรยี นรขู้ องพวกเขา ก้าวขา้ มด้วยพทุ ธธรรมการสอน: ความเปน็ ครูตามแนวพทุ ธ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน เด็กนักเรียนเปลี่ยนรุ่น ความคิดที่มีต่อโลกและต่อการเรียนการสอนได้ เปลี่ยนไป ครูผู้สอน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการกเรียนรู้ ต้องใช้จิตวิทยาในการสอนท่ี หลากหลาย และเขา้ ใจในตัวเดก็ แตล่ ะคนมากข้ึน ปัจจุบนั มกี ารพัฒนา “ครูมอื อาชพี ” นรรชั ต์ ฝนั เชียร (2561) ไดก้ ลา่ ววา่ สิง่ ทท่ี ำใหค้ รูมืออาชีพ แตกต่างจากผู้ประกอบอาชีพครู โดยทั่วไปนั้น คือการสามารถปฏิบัติตนให้ดำรงไว้ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นครูที่ดี ดังนั้น ครูมือ อาชีพ จึงหมายถึงครูที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู คือ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะใน การให้การศึกษาอบรมศิษย์ในทุก ๆ ด้าน มีความประพฤติดี วางตัวดี เอาใจใส่ดูแลศิษย์ดี มีวิญญาณ ของความเป็นครู และปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณ (กรมวิชาการ, 2544) ในการพัฒนาครูผู้สอน ใน หลักคำสอนของพระสมั มาสัมพทุ ธเจ้า ไดม้ ีหลักธรรมท่ีสามารถนำมาเป็นหลกั การการพฒั นา ดงั นี้ 1. ฉันทะ โดยปกติ ฉันทะ หมายถงึ “ความรกั ” “ความพึงพอใจ” ในทีน่ ้ี คือ “ความรัก” “ความพึง พอใจ” ตอ่ อาชพี ของผู้สอน หรือ อาชพี ครนู นั่ เอง เมือ่ เรามคี วามรักความพึงพอใจในอาชีพแล้ว เราจะ พัฒนาตนเองเพื่อให้ก้าวหน้าในอาชีพ ที่เป็นแรงจูงใจภายนอก หรือการเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเองเพื่อ ตอบสนองความต้องการภายในก็เป็นได้ ตามทฤษฎแี รงจูงใจของตะวันตก ไดแ้ บ่งแรงจูงใจออกเป็น 2
ประเภทคือ แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motives) หมายถึง สิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคลซึ่งอาจจะ เปน็ เจตคติ ความคิด ความสนใจ ความต้ังใจ การมองเห็นคณุ คา่ ความพอใจ ความต้องการฯลฯสง่ิ ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวรเช่นคนงานที่เห็นองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขา และครอบครัวเขาก็จะจงรักภกั ดีต่อองค์การ และองค์การบางแห่งขาดทนุ ในการดำเนินการก็ไม่ได้จ่าย ค่าตอบแทนที่ดีแต่ดว้ ยความผูกพันพนักงานก็รว่ มกันลดค่าใช้จ่ายและชว่ ยกันทำงานอยา่ งเต็มที่ และ แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motives) หมายถึง สิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิด พฤติกรรมอาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศชื่อเสียง คำชม หรือยกย่อง แรงจูงใจนี้ไมค่ งทนถาวร บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ต้องการสิ่งตอบแทนเท่านั้น องคป์ ระกอบของฉันทะ ประกอบด้วย (จกั รกฤษณ์ โพดาพล, 2561: 6 – 7) 1. ความใส่ใจใฝ่เรียนรู้ หมายถึง การแสดงออกว่ามีความรู้สึกกระตือรือร้นที่จะ เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยการริเริ่มหรือเลือกทำโดยอิสระ ได้ค้นคว้าหาเหตุผล แสวงหาความรูด้ ว้ ยตนเองตามความสนใจ ซึ่งจะนำไปสู่การคิดคน้ และพฒั นาตน 2. ความสนใจในการเรียน หมายถึง การแสดงออกว่ามีความรู้สึกพอใจ ความรัก ความยินดีในสิ่งที่ทำ ชื่นชม มีความภาคภูมิใจ หรือเห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ หรือเห็นคุณค่า โดยไมห่ วงั ให้บคุ คลอืน่ แสดงความยอมรับหรือชนื่ ชมงานของตน ไมห่ วังรางวลั 3. ความมุ่งมั่นให้สิ่งที่ทำนั้นบรรลุเป้าหมาย หมายถึง การแสดงออกว่ามีความตั้งใจ ความพยามยาม ความต้องการให้สิ่งที่ทำนั้นประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และเมื่อมี อุปสรรคหรือปัญหาเกดิ ข้นึ ก็ไม่ย่อทอ้ เบอ่ื หนา่ ย ทอ้ แท้ หรอื มคี วามพยายามและตัง้ ใจลดลง 4. การใช้วิธีที่ถูกต้องในการบรรลุเป้าหมาย หมายถึง การแสดงออกว่ามีการ พิจารณา วิเคราะห์ ไตร่ตรองวธิ ีการตา่ ง ๆ เพื่อบรรลเุ ป้าหมาย โดยคำนึงถึงผลของการกระทำเพือ่ ให้ ไดว้ ธิ ีการที่ถูกต้อง ซอื่ สตั ยต์ ่อตนเองและผู้อน่ื ไม่ทจุ รติ ไม่คดโกง หรอื สรา้ งความเดือดร้อนให้กับผู้อ่ืน รวมทงั้ การคิดหาวิธีปรบั ปรุงแผนเพอ่ื ให้บรรลเุ ป้าหมาย 2. กัลยาณมิตร ความเป็นกัลยาณมิตรของครู ช่วยสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน ครูที่ ประสบผลสำเรจ็ ในการสอน มีพ้ืนฐานแหง่ วัตรปฏิบัติที่เป็นกลั ยาณมิตรต่อผู้เรียน ครูต้องปรับบทบาท จากผู้ปกครอง ให้เป็นเพื่อนที่ดี จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันแม้ในครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองยังปรับ บทบาทการเลี้ยงดูลูกแบบเพื่อนกัน เพื่อลูกจะเปิดใจคุยได้ทุกเรื่อง เรียกได้ว่าเติมเต็มความรักพ่อ แม่แบบเพื่อนนั่นเอง กัลยาณมิตรธรรมสำหรับครูเป็นไปหลักธรรมความเป็นกัลยาณมิตร 7 ประการ (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ , 2528 อ้างถงึ ในสุมน อมรววิ ฒั น์ , 2547) มีดังน้ี 1. ปโิ ย มีความน่ารักดว้ ยการเปิดเผย เดก็ รู้สกึ สบายใจอบอนุ่ สนทิ สนม ชวนให้เข้าไป ถามไปปรึกษา เปน็ ทีไ่ วว้ างใจ 2. ครุ มคี วามน่าเคารพดว้ ยการประพฤติ สมควรแก่ฐานะเด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เปน็ ทีพ่ ง่ึ ไดป้ ลอดภยั 3. ภาวนีโยมีความน่ายกย่องด้วยความเป็นผู้รอบรู้ ทรงภูมิปัญญาที่แท้จริง รวมท้ัง ปรับปรงุ ตนเอง เป็นท่ีเอาอย่าง ทำให้เด็กได้ระลกึ ถึง ได้เอย่ อ้างถึงดว้ ยความภูมิใจ
4.วัตตาจะ รู้จักพูดให้เหตุผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจให้คำแนะนำ ว่ากล่าวตักเตือนเป็น ผ้ใู ห้คำปรกึ ษาทีด่ ี 5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ซักถามคำเสนอแนะข้อ วพิ ากษ์วิจารณอ์ ดทนฟงั ได้ไมเ่ บอื่ ไมฉ่ นุ เฉียว เป็นผใู้ จกวา้ งเปดิ ใจยอมรบั ความคดิ เห็น 6. คมั ภรี ัญจะกถังกัตตา แถลงเรอื่ งลำ้ ลึกได้สามารถอธิบาย เรือ่ งที่ยุ่งยากซับซ้อนให้ เข้าใจใหเ้ รยี นรูเ้ รื่องราวท่ีลึกซงึ้ ย่งิ ขน้ึ ไป สามารถอธบิ ายใหค้ วามกระจา่ งได้ 7. โนจัฏฐาเนนิโยชเย ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหลชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย เป็น แบบอยา่ งทด่ี เี ป็นตัวแบบท่ีดี ในการประพฤติปฏิบตั คิ วามเปน็ กัลยาณมิตรของครู สนองธรรมชาติ ความตอ้ งการของเด็กได้ ตามทฤษฎีมนุษยนิยม ของมาสโลว์ (Maslow,1987: อ้างถึงในสุรางค์ โค้วตระกูล, 2541) ช่วยให้เด็ก จะไดร้ ับการตอบสนองในสิ่งท่ตี นเองต้องการ 1. เด็กมีความสุข สะดวกสบายในการเรียน ครูใจดี บรรยากาศการเรียนมีความสุข ไมอ่ ึดอัด 2. เดก็ ร้สู กึ ปลอดภัย อบอนุ่ ครูให้ความม่ันใจ เอาใจใสด่ แู ล ใหค้ วามรกั ความเมตตา 3. เด็กได้ความรัก ความเอาใจใส่จากครู ครูใช้คำพูดเสริมแรง ให้กำลังใจ ชื่มชมยก ยอ่ งเมื่อทำงานสำเรจ็ เปดิ ใจกวา้ งยอมรบั ฟงั เหตุผลของนักเรียนทุกคน 4. เด็กได้รับความภาคภูมิใจ ชื่นชมในตนเอง ครูจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพเปิด โอกาสใหผ้ ูเ้ รียนทุกคนได้พบกับความสำเร็จตามความสามารถของตนเอง หาวธิ กี ารนำส่วนท่ีดีของแต่ ละคนมาใช้ประโยชน์ ในการทำงานกลมุ่ 5. เด็กได้ทำในสิ่งที่ตนเองปรารณาสูงสุด ครูให้อิสระในการเรียนรู้การสร้างสรรค์ ผลงานในระบบกลุ่มร่วมมือทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทุกคนมีความสำคัญ ได้รับการยอมรับใน คณุ คา่ ของตนเอง 3. ศรัทธา บทบาทสำคัญในการสอนของครูในปัจจุบัน คือการสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เด็ก นักเรียนอยากเรียนรู้ อยากศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ศรัทธา ถือเป็นหลกั ธรรมทีค่ วรสร้างให้เกดิ กับผเู้ รียน สุมน อมรวิวัฒน์ (2533: 55 – 56) ได้กลา่ วว่า การสร้าง ศรทั ธาในการเรยี นการสอน ประกอบดว้ ย 1. การจัดบรรยากาศของชนั้ เรียนให้เหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมในช้ัน เรยี นใหเ้ อ้ืออำนวยต่อการเรียนการสอน เพ่อื ชว่ ยสง่ เสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัย ให้แก่ผู้เรยี น 2. บุคลิกของครูและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ความสัมพันธท์ ี่ดีระหวา่ งครูและเด็กถือว่าเปน็ หัวใจสำคัญของการศึกษาเลยกว็ า่ ได้ เพราะเมื่อระหว่าง ทั้งคู่หากเกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีแล้ว จะกลายเป็นผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาแน่นอน ฉะนั้น แล้ว ครูจะมองข้ามเรื่องความสัมพันธ์กับเด็กไปไม่ได้ อีกทั้งครูยังตอ้ งสรา้ งความสัมพนั ธ์ที่ดีกับเดก็ อยู่
เสมอ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนครูจำเป็นต้องมีบุคลิกที่ดี ไม่ได้หมายถึงต้องหน้าตาดี บุคลกิ หมายถงึ คุณลักษณะท่เี ป็นเอกลักษณข์ องแต่ละบุคคลแสดงออกโดยพฤติกรรมท่ีบุคคลนั้นมีต่อ ส่งิ แวดล้อมทตี่ นกำลังเผชิญอยู่ และพฤตกิ รรมน้จี ะคงเส้นคงวาพอสมควร (สุรางค์ โควต์ ระกลู , 2545: 31) 3. การเสนอสง่ิ เร้าและสร้างแรงจูงใจใฝร่ ู้ การเรยี นการสอนจะเกดิ ผลสมบูรณ์ต่อเมื่อ ผเู้ รียนมคี วามตั้งใจและสนใจ ทำงานที่ผู้สอนกำหนดอย่างกระตือรือร้น พฤติกรรมเหล่านี้ควรจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา การสอนที่ดำเนินอยู่ แต่เท่าที่ปรากฏอยู่เสมอก็คือ ผู้เรียนไม่ต้องการที่จะเรียน ขาดความพยายามใน การทำงานด้วยตนเองอย่างจริงจัง ซึ่งผู้สอนจะต้องใช้เวลาไม่น้อย ในการตรวจสอบการทำงานของ ผู้เรียนตลอดเวลา เมือ่ เป็นเชน่ นี้ แม้ผสู้ อนจะมีความรแู้ ละความสามารถในการถ่ายทอดเพียงไรก็ตาม ก็ยากที่จะเอาชนะอุปสรรค ที่เกิดจากสภาพการณ์ที่ผู้เรียนไม่สนใจ นอกจากนี้ยังมีผลที่ทำให้ผู้สอน ต้องเหนื่อยและหน่ายต่อการทำงานที่ดำเนินไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผู้สอนจึงมีความจำเป็นจะต้องหาเทคนิค ที่จะทำให้ผู้เรียนสนใจการเรียนสม่ำเสมอ นั่นก็คือเทคนิค การจูงใจผูเ้ รยี นสนใจการเรยี น หลกั และวิธกี ารเพิม่ แรงจงู ใจใหเ้ กิดขนึ้ ในการจดั การเรียนการสอน 4. ธรรมาธิปไตย ในปัจจุบัน เรื่องสิทธิของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา เด็กทุกคนควรถูกมองในฐานะที่เท่า เทียมกับครูในด้านวุฒิภาะ อย่าไปมองว่าเป็นแค่เด็กไม่ประสีประสา เด็กนักเรียนควรได้รับการให้ เกียรติ และยอมรบั ในตัวตน และความแตกตา่ งระหว่างครู และเพอ่ื นักเรยี นดว้ ยกัน ฟงั ดอู าจคล้าย ๆ หลักประชาธิปไตย แต่ในทางพระพทุ ธศาสนาเรานิยมใช้ “ธรรมาธปิ ไตย” การใชธ้ รรมาธิปไตย ถือว่ายกระดับเหนือขนึ้ ไปจากประชาธปิ ไตยอีกข้ัน เพราะธรรมาธิปไตย เป็นการยึดถือหลักการ หลักเหตุผล หลักความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมเป็นประมาณในการ บรหิ ารจดั การต่าง ๆ คอื จะทำอะไรก็ยึดถือธรรมเปน็ หลกั ละเว้นการยึดถอื ตนและกระแสเสียงคนส่วน ใหญท่ ไี่ มถ่ ูกธรรมไม่เปน็ ธรรม ในทางปฏิบตั ิการให้เกียรติและการยอมรับความเทา่ เทยี มระหว่างครูกบั นักเรียน ถือเป็นเรื่อง ยาก แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพยายามพัฒนาให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อครูให้เกียรตินักเรียน จะเกิ ด ประโยชนต์ อ่ การเรียนการสอนดงั น้ี 1. ครตู อ้ งมีการเตรียมการสอนมาเปน็ อย่างดี 2. ครูจะมกี ารเคารพและรับฟงั การแสดงความคดิ เห็นของนักเรียน 3. บรรยากาศการเรียนการสอนจะเป็นกนั เอง 4. การเรยี นจะมกี ารมสี ว่ นรว่ มระหวา่ งการเรยี นการสอน 5. ครูจะมกี ารประเมินนักเรยี นตามความเปน็ จริงมากข้ึน
สรุป นักศึกษาในปัจจุบันเรียกได้ว่าคนยุคเจน Z ในทัศนคติของพวกเขานั้น ต้องการการยอมรับ จากผู้ใหญ่ ว่าเขาเป็น “ผู้ใหญ่” เช่นกัน เพราะเขาได้รับการเรียนรู้ ได้รับข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ต มามาก และพร้อมท่จี ะเรยี นรู้ และรับส่ิงที่มีคณุ ค่าและเปน็ ประโยชน์ในการเรียนรู้ของพวกเขา เม่ือยุค สมัยเปลีย่ น เด็กนักเรยี นเปล่ียนรุน่ ความคดิ ที่มีต่อโลกและตอ่ การเรยี นการสอนไดเ้ ปลี่ยนไป ครผู ู้สอน ซึ่งเป็นผู้มบี ทบาทสำคัญในการจัดการกเรียนรู้ ต้องใช้จิตวิทยาในการสอนที่หลากหลาย และเข้าใจใน ตัวเด็กแต่ละคนมากขึ้น ในการพัฒนาครูผู้สอน ในหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มี หลกั ธรรมท่สี ามารถนำมาเปน็ หลกั การการพัฒนาครผู ู้สอนได้ เพอ่ื เป็นผู้สอนทีเ่ ปน็ ครูมืออาชพี
เอกกสารอ้างองิ กรมวิชาการ. (2544). หลกั สูตรการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน. พมิ พค์ รง้ั ท่ี 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พองค การรับสงสนิ คาและพัสดุภัณฑ. จกั รกฤษณ์ โพดาพล. (2561). รูปแบบการใชฉ้ นั ทะจากหลักธรรมอิทธิบาท 4 เพ่ือสง่ เสรมิ การเรียนรู้ ในศตวรรษท่ี 21 ของนักเรยี นโรงเรียนพระปริยตั ธิ รรม แผนกสามัญศึกษา จงั หวัด เลย. รายงานการวิจยั . นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. เดชา การรัมย์. (2551). คมคิด 12 ประการ สคู่ วามเป็นครู สควค. มืออาชีพ. วารสาร สควค. ปีที่ 2 ฉบบั ท่ี 7 เมษายน-มิถนุ ายน 2551. นรรชั ต์ ฝันเชยี ร. (2561). แนวทางการพัฒนาตนเองสูค่ รูมอื อาชพี . [ออนไลน์] สืบคน้ ที่ https://www.trueplookpanya.com/education/content/68689/- teaartedu-teaart-teaarttea- สบื คน้ เม่อื 19 เมษายน 2564. พพิ ัฒน์ กระแจะจนั ทร์. (2563). ไม้เรียวสร้างคน? ทำไมครูตอ้ งลงโทษเด็ก มองผา่ นประวตั ิศาสตรข์ อง ยุโรปยุคกลาง. [ออนไลน์] สบื คน้ ท่ี https://thestandard.co/why-teacher- must-give-student-detention/ สบื คน้ เมอ่ื 18 เมษายน 2564. มติชน ออนไลน์. (2563). เปดิ ผลวิจัย กะเทาะความคิด ‘เด็กเจนแซด’ วัยท่เี ห็นคุณค่า ความยงั่ ยนื . [ออนไลน]์ สบื ค้นท่ี https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_2087033 สบื ค้นเมอ่ื 23 เมษายน 2564. โรงเรียนสามหมอวิทยา. (2563). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและ นักศกึ ษา พ.ศ. 2548. ชัยภมู ิ: โรงเรยี นสามหมอวิทยา. สุมน อมรวิวัฒน์. (2547). กัลยาณมิตรนิเทศ. เอกสารสกศ. อันดับที่ 06/2547 สำนักงาน มาตรฐาน การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธิการ. สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . Ben Parsons. “The Way of the Rod: the Functions of Beating in Late Medieval pedagogy”. Leicester: University of Leicester.
Search
Read the Text Version
- 1 - 11
Pages: