อรวิชดา กาวิล
การบริหารจิตและเจริญปัญญา การบริหารจิต หมายถึง การฝึกฝน จิตให้สงบ เข้มแข็ง มีพลัง ทำให้มี ประสิทธิภาพ เพราะปกติจิตของ มนุษย์จะส่ายไปมาตามสิ่งเร้าที่ กระทบตลอดเวลา การบริหารจิตให้ สงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียง เรื่องเดียว เรียกว่า จิตเป็นสมาธิ ทำให้เกิดปัญญาตามมา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา การเจริญปัญญา หมายถึง การ ฝึกฝนอบรม หรือการพัฒนา ตนให้เกิดปัญญา ปัญญาจะเกิด ได้ดี สมบูรณ์ และมี ประสิทธิภาพ ต้องอาศัยที่จิตที่ มีสมาธิเป็นพื้นฐาน
จิตสงบ คลายความเครียดและความวิตกกังวล เกิดศรัทธาที่มั่นคง มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว ควรมีการแผ่เมตตา เพื่อเผื่อแผ่ความดีแก่ผู้อื่น การสวดมนต์แปลและแผ่เมตตา พระบฏ: ภาพเขียนบนแผ่นผ้าสำหรับแขวนบูชา เป็นภาพพระพุทธรูป รอยพระบาท หรือเวสสันดรชาดก
การสวดมนต์แปลเป็นการนำบทสวด (หลักธรรมคำสอน) ที่แปลจากภาษา บาลีเป็นภาษาไทย ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน เป็นวิธี การหนึ่งในการเรียนรู้หลักธรรมทาง พุทธศาสนา การสวดมนต์แปลและแผ่เมตตา
บทสวดสรรเสริญพุทธคุณ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชา จะ ระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไป ดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใคร ยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความ จำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
บทสวดสรรเสริญธรรมคุณ สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ พระธรรมคุณ พระธรรมอันเป็นพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึง เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาล ควร เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
บทสวดสรรเสริญสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุค คะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
พระสังฆคุณ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง เป็นผู้ปฏิบัติสมควร เป็นผู้ควรแก่การของคำนับ เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแกของทำบุญ เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกราบไหว้ เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก บทสวดสรรเสริญสังฆคุณ
การแผ่เมตตา เป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิต การบริหารจิตให้มีความเมตตาต่อ ตนเองและผู้อื่น การแผ่เมตตามี ผลดีหลายประการ เช่น ทำให้จิต เป็นสมาธิ สามารถพิจารณาสวาะ ของการรัก โลภ โกรธ หลง ได้ง่าย จิตรกรรมฝาผนัง ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลง จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
คำแผ่เมตตา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาตาม หลักพุทธศาสนามีหลายวิธี แต่ในชั้นนี้ จะได้ศึกษาและฝึกบริหารจิตตามหลัก สติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ (ระลึกรู้ตัว ในลมหายใจเข้าออก)
สติปัฏฐาน คือ การมีสติกำหนด พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้รู้และเข้าใจ ตามที่เป็นจริง มี ๔ ประการ ได้แก่ การมีสติกำหนดพิจารณากาย การมีสติกำหนดพิจารณา เวทนา การมีสติกำหนดพิจารณาจิต การมีสติกำหนดพิจารณาธรรม
กายานุปัสสนา หรือ การ พิจารณากาย มีหลักการ ดังนี้
การมีสติกำหนดพิจารณากาย กำหนดว่า ยืนหนอ... 5 ครั้ง หรือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ หมายถึง การมีสติกำหนดรู้เท่าทันใน แต่ละครั้งแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ เรื่องของกายและอิริยาบถของกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ช่วงแรก : กำหนดว่า ยืน โดยวาด มโนภาพถึงร่างกายจากศีรษะลง 1.การมีสติกำหนดอิริยาบถยืน : มาหยุดที่สะดือ และกำหนดว่า สามารถทำได้โดยการยืนสำรวม หนอ คิดถึงร่างกายจากสะดือไป ตัวตรง มือไพ่หลัง มือขวาจับมือ ปลายเท้า นับเป็น 1 ครั้ง ซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บหรือ ตรงสะดือ หลับตา สำรวมจิต ให้ สติจับอยู่ที่กาย
การมีสติกำหนดพิจารณากาย กำหนดขึ้น-ลงจนครบ 5 ครั้ง แล้ว ลืมตาขึ้น ค่อย ๆ ก้มหน้ามองดูปลาย กำหนดว่า ยืนหนอ... 5 ครั้ง เท้าให้สติจับอยู่ที่เท้าหรือที่พื้นใน ระยะไม่เกิน 3 ก้าว เพื่อเตรียม เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กำหนดอิริยาบถต่อไป แต่ละครั้งแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่สอง : กำหนดว่า ยืน โดย สำรวมจิตคิดถึงร่างกายจาก ปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ และ กำหนดว่า หนอ คิดถึงร่างกาย จากสะดือไปกลางกระหม่อม นับ เป็น 2 ครั้ง
การมีสติกำหนดพิจารณากาย การมีสติกำหนดอิริยาบถเดิน : กำหนดพิจารณา เฉพาะอิริยาบถเดินอย่างเดียว (เดินจงกรม) มี 6 ระยะ
การมีสติกำหนดพิจารณากาย \"เมื่อเดินอยู่ก็ให้รู้ตัวว่าเดินอยู่\" คือมีสติสัมปชัญญะระลึกได้ก่อนทำและขณะที่ยกเท้าไปแต่ละก้าว และรู้ตัวว่า การที่เท้าก้าวไปและหยุดได้ เพราะมีธาตุทั้ง 4 เกื้อกูลกัน การเดินจงกรมจึงช่วยปรับ อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติวิปัสนา
การมีสติกำหนดพิจารณากาย 2. การมีสติกำหนดอิริยาบถนั่ง : คือการนั่งสมาธิ โดยนั่งตัวตรง เท้าขวาทับเท้า ซ้าย ให้นิ้วชี้และหัวแม่เท้าขวาวางบนขาซ้ายตามรอยพับขา ส่วนอีก 3 นิ้วจะอยู่ใน ช่องขาซ้ายที่งอพับอยู่ไว้ก่อนแล้ว จากนั้นเริ่มกำหนดว่า \"นั่งหนอ\" กำหนดรู้อาการพอง-ยุบของหน้าท้อง มีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้การกระทำ ของร่างกาย รู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน (สติปัฏฐาน)
การมีสติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ เมื่อเกิดความสุขหรือทุกข์ เฉย ๆ ให้รู้ทันในความรู้สึกที่เป็นอยู่ การมีสติกำหนดพิจารณาจิต คือ จิตของตนขณะนั้นเป็นอย่างไร มีราคะ (ความยินดีในกาม) มี โทสะ (ความโกรธ) มีโมหะ (ความหลง ความโง่) ฯลฯ ให้รู้ชัดตามที่ เป็นอยู่
การมีสติกำหนดพิจารณาธรรม วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย นิวรณ์ (กิเลสที่ทำให้ปัญญาถอยหลัง) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม กามฉันทะ ความพอใจในกาม พยาบาท ความ อุจธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน คิดปองร้ายผู้อื่น รำคาญใจ
การนั่งสมาธิและการเกิดนิวรณ์ การนั่งสมาธิอย่างเดียวอาจทำให้เกิด นิวรณ์ข้อถีนมิทธะ (การง่วงเหงาหาวนอน) จึงต้องมีการเปลี่ยนอริยาบถเป็นเดิน ทำให้ วิริยาพอดีกันกับสมาธิ ทำให้สมาธิมีกำลัง มากขึ้น เมื่ออำนาจของวิริยะ สมาธิ สติสัมปชัญญะ และศรัทธา เกิดขึ้นรวมกัน ผู้ปฏิบัติจะเกิดปัญญาเห็นแจ้งใน ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
การมีสติกำหนดพิจารณาธรรม ขันธ์ (5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมา) กำหนดรู้ขันธ์ 5 แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร รูป (สิ่งที่เป็นวัตถุ มองเห็นได้ จับต้องได้) เวทนา (ความ รู้สึก) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (สัมผัสทั้ง ๖ รับรู้)
การมีสติกำหนดพิจารณาธรรม โพชฌงค์ 7 (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
การบริห ารจิตเพื่อการเรียนรู้ คุณภาพชีวิต แ ละสังคม
เป็นการฝึกจิตด้วยสติปัฏฐานเกื้อกูลแก่การเรียนรู้ เพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม ช่วยให้ความจำดี มีจิตที่เป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน การบริห ารจิตเพื่อการเรียนรู้ คุณภาพชีวิต แ ช่วยให้มีคุณภาพในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้้ดี ละสังคม มีความสุขได้ง่าย พอใจในตนเอง มั่นคง หนักแน่นทางอารมณ์
คือ การคิดเป็นและคิดถูกต้องตาม การคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 วิธี ดังนี้ ความเป็นจริง โดยอาศัยการเก็บข้อมูล เป็นระบบและคิดเชื่อมโยง ตีความ และ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย วิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ได้อย่าง วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ เหมาะสม วิธีแบบสามัญลักษณะ (ไตรลักษณ์) วิธีคิดแบบอริยสัจ วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (คิดตามหลักการและ ความมุ่งหมาย รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน) วิธีคิดแบบเห็นคุณเห็นโทษและเห็นทางออก การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ คิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (คิดแบบรอบด้าน)
การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ หรือแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองเหตุการณ์ สถานการณ์ ความ เป็นไปของสิ่งทั้งหลาย อย่างรู้ เข้าใจธรรมดาธรรมชาติ ทุกสิ่งเป็น ไปตามเหตุปัจจัย กล่าวคือ การมี การเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีการดับไป ไม่เที่ยง เป็นไปตามกฎแห่ง ธรรมชาติ วิธีคิดแบบนี้ที่ถูกต้อง ดำเนินไปให้ครบ 2 ขั้นตอน
1.รู้เท่าทันและยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจวางท่าที ต่อสิ่งทั้งหลาย โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของ ธรรมชาติ 2.แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่ง ทั้งหลาย โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ขึ้นต่อความอยาก ความปรารถนาของเราหรือใคร ๆ เมื่อเราต้องการให้มัน เป็นอย่างนั้น การแก้ไขควรแก้ที่เหตุปัจจัยนั้น ไม่แก้ด้วย ความอยาก เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ จึงดำรงตนอยู่เป็น อิสระไม่ทุกข์มาก
การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ วิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมดาเป็นอารมณ์ความจริง ลักษณะความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดที่อยู่ใน แนวทางของความรู้หรือคิดด้วย อำนาจปัญญา เป็นการคิดที่ สามารถรวมเอาเรื่องที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ เรื่องที่ล่วงผ่าน มาแล้ว และเรื่องของกาลภายหน้าเข้าในการเป็นอยู่ใน ปัจจุบัน เช่น การคิดพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องในอดีต ถือเป็น การคิดที่นำมาใช้เป็นบทเรียน ก่อให้เกิดความไม่ประมาท ระมัดระวังป้องกันภัยในอนาคต เป็นต้น คำว่าปัจจุบันในทาง ธรรม มิใช่เพ่งที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่หมายถึงสิ่งที่ เกี่ยวข้องในขณะนั้น ๆ เป็นสำคัญ เป็นการสนับสนุน ให้มี การตระเตรียมและวางแผนในกิจการล่วงหน้า SOC KRU AM
Search
Read the Text Version
- 1 - 30
Pages: