ประสบการณ์สนองพระราชดำริ เรียนรู้หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ตลอดระยะเวลาการถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของผม กว่า ๓๐ ปี ทผี่ า่ นมา นบั เป็นสงิ่ ทีเ่ ปน็ มงคลสูงสุดในชวี ิตทีไ่ ดม้ ีโอกาสถวายงาน รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท และจากประสบการณ์สนองพระราชดำริดังกล่าว ทำให้ได้มีโอกาสซึมซับประสบการณ์และเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเก่ียวกับ หลักการทรงงานของพระองค์ ซึ่งได้น้อมนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติ หน้าที่ตลอดมา เรียนรู้หลักการทรงงาน ผมเริ่มถวายงานอย่างเป็นทางการ โดยรับผิดชอบงานในส่วนของ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่เป็นเลขานุการ ของคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เลขาธิการ กปร. จวบจนลาออกจากสำนกั งาน กปร. และในปจั จุบนั ยังคงถวายงานในฐานะ กรรมการและเลขาธิการมลู นิธิชยั พัฒนา กว่า ๓๐ ปีที่ผมได้มีโอกาสถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตามเสด็จฯ ไปยังพื้นที่ต่างๆ นั้น ทำให้ผมได้เรียนรู้หลักการทรงงาน ของพระองค์ ซึ่งหากทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติแล้ว ผมเชื่อว่าจะช่วยให้ทุกคน และประเทศชาตพิ ฒั นาและเจรญิ รงุ่ เรอื งอยา่ งมน่ั คงสบื ไป การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 49
ทรงศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญกับภูมิสังคม ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานโครงการใด โครงการหนึง่ จะทรง “ศึกษาขอ้ มลู อยา่ งเป็นระบบ” ให้ไดร้ ายละเอยี ดที่ถกู ตอ้ ง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง ตรงความต้องการของ ประชาชน และทรงเตือนว่าการวางโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนา ประเทศน้นั ตอ้ งใหค้ วามเคารพและสอดคล้องกับ “ภูมิสงั คม” โดย “ภูมิ” คอื ให้ความเคารพภมู ศิ าสตร์ และทรัพยากรธรรมชาตทิ อี่ ยูร่ อบๆ ตัวเรา หรือภาษา ชาวบ้านคอื ดนิ นำ้ ลม ไฟ ทีอ่ ยู่รอบๆ ตัวเรา เนือ่ งจากแตล่ ะแหง่ แต่ละภมู ภิ าค แต่ละมมุ เมอื งนัน้ ลกั ษณะแตกตา่ งกันโดยส้ินเชงิ สำหรับ “สังคม” นั้น คือ คน โดยจะเห็นว่าความหลากหลาย ทางดา้ นวัฒนธรรม หลกั ปฏิบัติ ค่านิยมของคนทีอ่ ยใู่ นทอ้ งถิ่นตา่ งๆ แทบจะ ไม่เหมือนกันเลย จึงทรงกำชับว่าต้องให้ความเคารพต่อสองสิ่งนี้ รวมถึงต้องมี วิธีคดิ อย่าง “องค์รวม” หรือมองอย่างครบวงจร ซึ่งไม่จำเป็นต้องผกู มดั ตดิ ตำรา หรือวิชาการและเทคโนโลยีที่อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ แท้จรงิ ของคนไทย ทรงใช้ธรรมชาติในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา พระองคท์ รงยึดธรรมะเป็นทีต่ ง้ั “ธรรมะ” ในทีน่ ี้ คอื ธรรมชาติ วิธกี าร แกป้ ัญหาหรอื แมก้ ระทั่งการพัฒนา ไม่ว่าจะเปน็ เรื่องดิน นำ้ อาชีพ และสง่ิ แวดล้อม จะทรงใช้ธรรมชาติในการแก้ไขปัญหา อาทิ การแก้ไขน้ำเน่าเสีย แทนที่จะเพ่ง พิจารณาถึงโรงงานบำบดั น้ำเสีย กลับทรงมองว่าในธรรมชาตจิ ะมขี บวนการอะไร ที่สามารถแก้ไขปญั หาน้ไี ด้ เชน่ การใช้บอ่ ตกตะกอน เพอ่ื ใหเ้ กดิ การตกตะกอนขึ้น โดยกระบวนการทางธรรมชาติ หรือพิจารณาหาพืชบางชนิดที่สามารถกรอง 50 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
น้ำเน่าเสีย จนกระทั่งถึงเรื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา ทรงเลียนแบบ “หลุบ” เครอื่ งมือท่ีชาวบ้านใชก้ ันในภาคเหนือ หรอื การแก้ไขปญั หาดนิ ถล่ม แทนทจี่ ะใช้ เครื่องจักรกล กลับทรงใช้ “หญ้าแฝก” ปลูกเป็นแนวรักษาตามระดับไม่ให้ดิน พงั ทลายลงมา ตลอดจน “การใช้อธรรมปราบอธรรม” เชน่ การนำน้ำดี ขับไล่ นำ้ เสีย เพอ่ื เจือจางน้ำเสียใหก้ ลับเป็นนำ้ ดี เป็นตน้ ต้องรอบรู้ รอบคอบ ประหยัด เรียบง่าย และได้ประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ต้องใช้ “ความรอบรู้ รอบคอบ” ในการแก้ไขปัญหา เช่น จะแก้ไขปัญหาเรื่องดิน ต้องรู้เรื่องดิน จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ต้องรู้เรื่องน้ำ จะเห็นวา่ กอ่ นเสดจ็ ฯ ประพาสแต่ละแห่งจะทรงรวบรวมขอ้ มูลและศึกษาอย่างลกึ ซึ้ง เพ่อื หาหนทางที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแตล่ ะพืน้ ทแ่ี ละแตล่ ะกลุม่ คน โดยคำนงึ ถงึ “ความประหยดั เรยี บงา่ ย ไดป้ ระโยชนส์ ูงสดุ ” น่ันคอื มีความคมุ้ คา่ และคุม้ ทุน แต่ไม่ใช่เป็นการขาดทุน กำไร อย่างที่วิชาการสมัยใหม่ยึดถือ ลงทุนเท่านั้น ตอ้ งไดก้ ำไรเท่านี้ สำหรับพระองค์ จะเป็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ตำ่ ทสี่ ุด แต่หากเปน็ ปัญหาท่ีเกีย่ วขอ้ งกบั มนษุ ย์น้นั บางครงั้ แพงแสนแพงกต็ อ้ งทำ เพราะชีวิตของมนษุ ย์เราจะไปตีราคาแบบวัตถุสงิ่ ของไม่ได้ ซ่งึ พระองคต์ รสั วา่ “...ขาดทุน คือ กำไร Our loss is our gain... การเสียคือ การได้ ประเทศชาตกิ จ็ ะกา้ วหนา้ และการทีค่ นอยดู่ มี ีสขุ น้นั เปน็ การนับท่เี ปน็ มลู คา่ เงินไม่ได้...” การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 51
รวมถึงทรงโปรดที่จะ “ทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย” หรือทำสิ่งที่ สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นหลักคิดที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศ ในรูปแบบของโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ ทรงยึดหลัก “รู้ รัก สามัคคี” ในการบริหารจัดการ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวทรงเน้นเร่ืองการบรหิ ารจดั การ ซึง่ ดเู สมอื น จะเป็นปัญหาและเป็นจุดอ่อนของบ้านเมืองเรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของ การประสานงาน ประสานกิจกรรม การแบง่ หนา้ ทก่ี ันทำ การใชห้ ลกั สามัคคธี รรม ในการดำเนินการรวมพลังกันแก้ไขปัญหา จึงทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาขึ้น ๖ แห่ง เน้นให้มี “การบริการรวม” ที่จุดเดียว เป็นรูปแบบการบริการ แบบเบ็ดเสร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงานร่วมกันที่ตั้งอยู่บนหลัก “รู้ รัก สามัคค”ี ซ่ึงถือเปน็ หลักการทำงานอกี ประการหน่งึ พระองค์ทรงยึดหลักว่า ต้องมีพลังผลักดันให้เราปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา และพลังผลักดันที่สำคัญที่สุด คือความรัก ความเมตตา ที่จะมีต่อครอบครัว เพ่ือนร่วมชมุ ชน ประชาชน และประเทศชาตโิ ดยส่วนรวม อยา่ ทำอะไรคนเดียว หรือเก่งคนเดียว ต้องตั้งอยู่บนหลักของความสามัคคี และ “การมีส่วนร่วม” ในการร่วมกันทำ ร่วมแก้ไข โดยใช้การ “ประชาพิจารณ์” ในการเปิดโอกาส ใหท้ ุกคนได้แสดงความคดิ เหน็ ต้อง “ระเบิดจากข้างใน” และ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิด จากข้างใน” นั่นคือต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มี สภาพพรอ้ มท่จี ะรับการพัฒนาเสยี กอ่ น มิใช่การนำความเจริญหรือบุคคลจากสังคม 52 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภายนอกเข้าไปหาชมุ ชนหมู่บา้ นทย่ี งั ไม่ทันได้มีโอกาสเตรยี มตัว หรอื อย่างการฟน้ื ฟู ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พระองคต์ รสั ว่า “...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...” และทรงใช้หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” นั่นคือก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น และระหว่าง การดำเนนิ การนนั้ จะตอ้ งทำใหผ้ ู้ท่เี ราจะไปทำงานกบั เขาหรือทำงานให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียว โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชนค์ งจะไม่เกดิ ข้นึ ตามทีเ่ รามงุ่ หวังไว้ “เข้าถึง” ก็เช่นกัน เมื่อรู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ต้องเข้าถึง เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ และเมื่อเข้าถึงแล้วจะต้องทำอย่างไรก็ตามให้เขา อยากเข้าถึงเราด้วย ดังนั้น จะเห็นว่าเป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งไปและกลับ ถา้ สามารถทำสองประการแรกได้สำเร็จ เร่อื ง “การพัฒนา” จะลงเอยไดอ้ ยา่ งดี เพราะเมือ่ ต่างฝา่ ยตา่ งเขา้ ใจกนั ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถงึ กันแลว้ การพัฒนาจะเป็น การตกลงรว่ มกนั ท้ังสองฝา่ ย ท้ังผ้ใู ห้และผู้รบั การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 53
❝ ทรงสอนให้เรายึด “ความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน” เป็นหลักในการทำงาน... เวลาเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรนั้น จะเห็นความอ่อนน้อมถ่อมพระองค์ตลอดเวลา ❞ ซือ่ สัตย์สุจรติ อ่อนน้อมถ่อมตน... คณุ สมบัติสำคัญของนักพัฒนา หลักการดำเนินการสำคัญที่พระองค์ทรงกำชับอยู่ตลอดเวลา คือ ตวั เราเองตอ้ ง“ซือ่ สตั ย์สจุ ริต”อนั นส้ี ำคัญมากการทุจรติ การแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบนั้น เป็นสิ่งที่ต้องห้าม พระองค์ห้ามไปถึงการฉวยโอกาส ซึ่งแม้จะ ไม่ผดิ กฎหมาย เนือ่ งจากในกลุ่มพวกเราท่ีถวายงานจะรูก้ ่อนใครว่า แตล่ ะแหง่ นัน้ จะเกดิ อะไรข้นึ ภายใน ๗-๘ เดือนถดั มา จากสภาพความแหง้ แล้งจะเกดิ ความ สมบูรณ์ขึ้น ถ้าเพียงแต่กว้านซื้อที่ดินไว้ก่อน มูลค่าของที่ดินจะเพิ่มขึ้นมาอีก หลายเทา่ ตวั บางคร้งั ถึง ๑๐ เท่า ซงึ่ เราสามารถแสวงหากำไรได้ แต่สิง่ นีต้ ้องหา้ ม เชน่ กัน รวมท้ังทรงสอนใหเ้ รายดึ “ความสภุ าพ ออ่ นนอ้ ม ถอ่ มตน” เป็นหลัก ในการทำงานในขอ้ นี้เห็นจะตรงกบั ทศพิธราชธรรมท่เี รียกว่า“มทั ธวะ”พระองค์ ทรงเปน็ พระประมขุ ของประเทศทอี่ ยสู่ งู สดุ แต่เวลาเสด็จฯ เยยี่ มราษฎรนั้นจะเห็น ความอ่อนน้อมถ่อมพระองค์ตลอดเวลา ทรงรับสั่งกับประชาชนและเจ้าหน้าที่ ด้วยความเมตตา ทรงคุกเข่า หรือนั่งประทับพับเพียบอยู่กับพื้นดิน สนทนากับ ประชาชนโดยไม่ถือพระองค์เลยแม้แต่น้อย พระองค์ทรงปฏิบัติให้เราเห็นอยู่ ตลอดเวลา 54 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ สำหรับการแก้ปัญหา พระองค์จะ “เริ่มจากจุดเล็กๆ” แก้ไขปัญหาที่คนมักจะมองข้าม และทุกๆ สิ่ง ต้องค่อยๆ ทำไป ค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวไปเรื่อยๆ และทำตามลำดับขั้น ❞ ทรงแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ค่อยเป็นค่อยไป เพอื่ ความม่ันคงอยา่ งยง่ั ยนื สำหรบั การแก้ปัญหา พระองคจ์ ะ “เร่ิมจากจดุ เล็กๆ” แกไ้ ขปัญหา ท่คี นมกั จะมองข้าม และทกุ ๆ ส่งิ ตอ้ งคอ่ ยๆ ทำไป คอ่ ยๆ กอ่ ร่างสร้างตวั ไปเรื่อยๆ และทำตามลำดับข้ัน เรม่ิ จากส่ิงทจี่ ำเป็นของประชาชนทส่ี ุดกอ่ น คอื สุขภาพ รา่ งกาย การมอี ยูม่ ีกิน จากนน้ั จึงเป็นเรือ่ งสาธารณปู โภคขั้นพ้นื ฐานและสิง่ จำเปน็ ในการประกอบอาชพี ตลอดจนตอ้ งมี “ความพอเพียง” เหมือนการสร้างบา้ น สิ่งแรกที่เราต้องทำนั้น คือ จะต้องวางฐานรากให้มั่นคง จะต้องวางเสาเข็มให้ พรอ้ มเพรียงทจี่ ะแบกน้ำหนักบา้ นให้ได้ และตอ่ จากนนั้ จะทำการต่อเตมิ รุดหน้า ไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน ทำอะไรเกินตัว ถ้าเกินตัวเมื่อไหร่นั้น ภูมิคุ้มกันจะไม่มี ความเสีย่ งก็จะเกดิ ข้นึ หรอื ถา้ ทำนอ้ ยไปก็ขาดประสทิ ธิภาพ ฉันใดฉนั นั้น ตอ้ งยึด ความพอเพยี ง ความพอดี อยา่ งเตม็ ศักยภาพ ชวี ติ ทั้งชีวติ กจ็ ะนำไปสคู่ วามมั่นคง สมดลุ และย่ังยนื การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 55
❝ พระองค์จะทรงสอนให้พวกเรา “อดทน มีความเพียร และมีขันติ” เนื่องจากการทำงานไม่เรียบง่ายเสมอไป และจะต้อง “ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ” ❞ อดทนและมีความเพียรทำในสิ่งที่ถูกต้อง... เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม บางคร้งั หากเกดิ ความรสู้ ึกทอ้ ถอยในการทำงาน พระองค์จะทรงสอน ให้พวกเรา “อดทน มีความเพยี ร และมีขนั ติ” เน่อื งจากการทำงานไม่เรยี บง่าย เสมอไป และจะตอ้ ง “ทำแต่ในสงิ่ ทถ่ี ูกต้องเสมอ” ไม่ยอมทำผดิ แมแ้ ต่น้อย และ คำวา่ ผดิ หรอื ถูกนัน้ ไม่ใชผ่ ดิ หรือถูกในแงก่ ฎหมาย และทำนองคลองธรรมเทา่ น้ัน แตจ่ ะไมฝ่ ืนประเพณีทอ้ งถ่นิ หรอื ประเพณปี ระจำชาติตา่ งๆ ต้องปฏบิ ัตใิ หไ้ ด้ ถ้าเราน้อมนำหลักการทรงงานต่างๆ ของพระองค์ดังกล่าวมาใช้ใน การปฏบิ ตั ิงาน จะนำไปสจู่ ดุ หมายปลายทางท่พี ระองคท์ รงมงุ่ หวังไว้ ดงั ท่ีพระองค์ ไดม้ พี ระราชดำรสั ไวว้ า่ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” ซง่ึ พระองค์ทรงกำหนด เป้าหมายของการปกครองแผ่นดินของพระองค์ คือ “เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชนชาวสยาม” คำว่า “ประโยชน์สุข” คือ จะทำอย่างไรที่จะสร้างบ้านเมืองให้เกิด ความมั่นคงและมั่งคั่ง โดยบนฐานของประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นต้องนำชีวิตของ พวกเราไปสู่ความสุข เพราะฉะนั้น คำว่า “ประโยชน์สุข” ควรเป็นเป้าหมาย ในการพัฒนาประเทศ พัฒนาองค์กร พัฒนาชุมชน พัฒนาครอบครัว รวมถึง ตนเอง 56 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ ทรงรับสั่งกำชับอยู่เสมอว่าการพูดจาอะไรก็ตาม หรือการกระทำใดๆ ก็ตามต้องทำด้วยความพอดี พองาม หรือพอเพียง... โดยทำอะไรให้พอเหมาะพอควร ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม แม้กระทั่งเรื่องการเมือง โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้ในชีวิตของเรา ❞ หลัก “บวร” ๓ ประสานเพื่อประโยชน์เกิดแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้ พระองค์ยงั มแี นวพระราชดำริ “บวร” คือ บา้ น วัด ราชการ ทำอย่างไรให้มีการประสานงานระหว่าง “บ้าน” คอื ชาวบ้าน วัด คอื พระสงฆ์ และหน่วยราชการรวมทง้ั โรงเรียน ตอ้ งดำเนนิ งานประสานกันอยา่ งกลมกลนื กัน และเอ้ือประโยชน์ใหก้ บั ทุกฝ่าย โดยมพี ระเป็นศนู ย์กลางในการประสานระหวา่ ง ขา้ ราชการกับประชาชน นอกจากนี้ ให้ยึดหลักของ “ความพอเพียง” ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดยใหด้ ำเนินชีวิตบนทางสายกลาง พระองคท์ รงรับสงั่ กำชับ อยู่เสมอว่าการพูดจาอะไรกต็ าม หรอื การกระทำใดๆ กต็ ามต้องทำด้วยความพอดี พองาม หรือพอเพยี ง โดยทำอะไรใหพ้ อเหมาะพอควร ทั้งเรือ่ งเศรษฐกจิ สังคม แม้กระท่ังเรอ่ื งการเมือง โดยเฉพาะสิง่ แวดล้อม ซงึ่ เราจำเป็นตอ้ งใช้ในชีวิตของเรา ถ้าเราใช้อะไรทฟ่ี มุ่ เฟอื ยเกนิ ไป ความสูญหายหรือความไมพ่ อเพยี งกจ็ ะเกิดข้นึ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 57
รวดเร็ว ไม่ยึดติด ทำงานด้วยความสนุก และเสียสละเพื่อส่วนรวม สรุปแล้ว หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ผม ได้มีโอกาสเรียนร้ตู ามรอยพระยคุ ลบาทนั้น การดำเนนิ งานจะสำเร็จตามเปา้ หมาย ที่วางไว้ จะต้องมุ่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว ไม่ยึดความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง ต้องมีการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง เสร็จแล้วประมวลข้อยุติที่ยอมรับกันได้ แลว้ ให้ดำเนินการทนั ที หากมีอะไรผดิ พลาดบกพร่องก็ตอ้ งแก้ไข และทำงานโดย มุ่งประโยชน์ของคนส่วนรวมเป็นหลัก ทำงานด้วยใจรัก ด้วยความสนุกและ ความสุข ต้องเสยี สละทกุ อยา่ งท่เี ปน็ ประโยชน์สว่ นตนเพือ่ สว่ นรวมตลอดเวลา การจะทำอะไรก็ขอให้เรม่ิ จากเลก็ ไปหาใหญ่ อยา่ ไดเ้ กิดความโลภหรอื “ตาโต” ใจร้อนหวงั ผลรวดเรว็ ผลสุดทา้ ยจะพังพินาศ และประการสำคญั ทำอะไร พูดอะไร คดิ อะไร ปฏิบัตอิ ะไร กข็ อใหย้ ดึ ความพอดี พอควร เป็นที่ตั้ง อะไรที่เกินพอดีเป็นสิ่งทำลาย เป็นพิษเป็นภัย ทั้งสิ้น ครองสติอยู่ตลอดเวลาเพื่อสามารถ “หยุดก่อนชน” ได้ และสุดท้าย ยึดธรรมะเป็นพื้นฐานและรากฐานของการปฏิบัติกาย ปฏิบัติใจ อยู่ทุกขณะ และยึดจุดมงุ่ หมายสำคญั ว่า ผลทจี่ ะเกิดขึน้ จะต้องเป็นประโยชน์ที่ให้ความสุข จึงขอให้ยึดทั้งหมดนี้เป็นหลักในการดำเนินตามรอยเบ้ืองพระยุคลบาท เพือ่ จักได้พบกับ “ประโยชนส์ ขุ ” อย่างจริงแทแ้ ละแน่นอนทส่ี ุด 58 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เศรษฐกิจพอเพียง... นำสู่ความสุขของชีวิตอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
เศรษฐกิจพอเพียง... นำสู่ความสุขของชีวิตอย่างยั่งยืน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ปัจจุบันสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาจกล่าวไดว้ า่ เวลาน้ี โลกเหลอื เพยี งขวั้ เดยี ว คอื ข้ัวเสรนี ิยม หรือทนุ นิยม หรอื บริโภคนยิ ม แลว้ แต่จะเรียกชอ่ื กัน ซง่ึ ในโลกทุนนิยมนีป้ ระเทศต่างๆ มุ่งแสวงหา ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง และลักษณะสำคัญ คือ แสวงหา ความร่ำรวยจากการลงทนุ การผลติ และการบริโภค ซึ่งจากประสบการณ์ท่ีผ่านมาได้ให้ข้อคิดแก่เราว่าการเข้าสู่วัฏจักร ของเสรนี ิยมนัน้ ได้นำประเทศไทยไปสู่การพฒั นาที่ “เศรษฐกจิ ดี สังคมมปี ญั หา และการพฒั นาไมย่ ั่งยนื ” พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวจงึ พระราชทาน “ปรัชญา ของเศรษฐกจิ พอเพียง” เพ่อื นำทางไปสกู่ ารพฒั นาท่ยี ั่งยืน โลกแห่งเสรีนิยม หรือบริโภคนิยม การบริโภคถือเป็นทฤษฎีหลักของระบบทุนนิยม ถ้าปราศจากจุดนี้ แล้วถือว่าเจริญไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเกิดภาวะของการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และมีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอยู่ตลอดเวลา โดยการกระตุ้นให้เกิดกิเลส ทำให้เกดิ ความอยาก ซึง่ จะทำให้ระบบน้คี งอยู่ได้ ของบางอย่างไมจ่ ำเปน็ ต่อการ บริโภค ก็ถูกกระตุ้นเกิดความต้องการบริโภค เช่น การทำหีบห่อให้สวยงาม เปน็ ต้น การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 61
อย่างไรก็ตาม สินค้าที่นำมาบริโภคทุกอย่างต้องผลิตมาจากวัตถุดิบ ที่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติ ขณะเดียวกัน เมื่อมีการบริโภคก็ก่อให้เกิด ของเสียออกมาในปริมาณเกือบจะเท่ากัน ฉะนั้นโลกจะต้องรับภาระอย่างมาก คือ จะต้องปอ้ นวัตถดุ ิบเพื่อการบริโภค และหลงั จากน้ันตอ้ งแบกรบั ภาระขยะ ของเสียที่มาจากการบริโภค โดยที่การจัดการเรื่องกำจัดขยะของเสียยังทำได้ น้อยมาก การ Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มีแค่ ๑๙ เปอร์เซ็นต์ ยิ่งเวลานี้ มีการอำนวยความสะดวกใหก้ ับผบู้ รโิ ภค จะเห็นว่าสินคา้ ประเภทใช้ครัง้ เดียวแลว้ ทง้ิ มีจำนวนมาก ปัญหาคือทรัพยากรธรรมชาติจะแบกรับไหวหรือไม่ คำตอบก็คือ ไมไ่ หว เพราะเวลานีท้ ่วั โลกมีการบริโภคในอตั รา ๓ : ๑ คอื ทรัพยากรธรรมชาติ ถูกบรโิ ภคไป ๓ ส่วน แตส่ ามารถชดเชยกลบั มาไดเ้ พียง ๑ สว่ น ซงึ่ ถ้ายงั คง มีการบริโภคกนั ในอัตรานีต้ ่อไป กจ็ ะต้องพบกบั ปญั หาในที่สุด อย่างไรกต็ าม ไดเ้ ริม่ มีกระแสของกลุ่มคนท่ีมีปัญญาเกดิ ขนึ้ ที่เรียกว่ากระแสอนรุ ักษส์ ิ่งแวดลอ้ ม (Green) เพราะเริม่ มองเห็นถึงภยั อันตรายทจี่ ะเกดิ ข้ึนตอ่ สภาวะโลกปจั จุบนั เสรีนิยมเคลื่อนสู่ไทย สำหรับในประเทศไทย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบบั แรก ในปี ๒๕๐๔ ไดม้ ีการพัฒนาตามรปู แบบของทนุ นิยมเชน่ กัน เพราะตอน ที่คิดจะทำแผนพัฒนาฯ ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาสอนวิชาการ วางแผนให้ โดยมีการนำเอาปรัชญาการวางแผนแบบตะวันตกเข้ามาด้วย คือ มุง่ สร้างความร่ำรวยทางด้านเศรษฐกจิ อยา่ งเดียว ซงึ่ ประเทศไทยกไ็ ด้มีการพัฒนา ให้เจริญเติบโตขึ้นจริง แต่เป็นความเจริญเติบโตที่ต้องแลกกับการต้องสูญเสีย ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ป่าไม้เหลืออยู่เพียง ๑๘ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดินทลายเพราะป่าไม้ถูกตัด น้ำเน่าเสียอยู่รอบตัว จะเห็นว่าความเจริญเติบโตไดก้ อ่ ใหเ้ กดิ วิกฤตตอ่ เศรษฐกิจของประเทศ คือ โตแลว้ 62 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ว่าการพัฒนาบ้านเมือง เหมือนการสร้างบ้าน เวลาที่มีการสร้างบ้านสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ต้องวางฐานรากฝังเสาเข็ม ❞ แตกมาแล้วหลายครัง้ เปน็ สจั ธรรมอย่างหน่ึงคอื เม่อื เศรษฐกจิ โตมากข้นึ ในที่สดุ ก็จะแตกออก และก็จะมาเริม่ ต้นกันใหม่ การพัฒนาประเทศต้องวางรากฐานที่มั่นคง เม่ือมีการมองหาว่าอะไรคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ฟองสบู่แตก จะพบว่าเป็นเพราะการเจริญเติบโตของไทยอยู่บนฐานท่ียังไม่มีความพร้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ว่า การพฒั นาบา้ นเมืองเหมือนการสร้างบา้ น เวลาทมี่ กี ารสร้างบ้านสงิ่ แรกทีต่ อ้ งทำ คือ ต้องวางฐานรากฝังเสาเขม็ และเสาเขม็ แต่ละตน้ จะถูกคำนวณมาแล้ว ว่าตอ้ ง แบกรับน้ำหนักเท่าใด แล้วจึงสร้างบ้าน แน่นอนว่าถ้าเสาเข็มวางไว้สำหรับ บา้ นสองชั้นกจ็ ะแบกรบั ได้แคบ่ ้านสองช้ันเทา่ นน้ั การพัฒนาประเทศก็เช่นกัน แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยเหมือนการ ย่างก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงฐานรากของประเทศ ซึ่งมีฐานในภาค การเกษตรแต่กลับมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC : Newly Industrialized Country) ที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ หนง่ึ เงิน ซ่งึ ประเทศไทยอาจมีไม่พอ กต็ ้องไปกูม้ าเพิม่ เสาแรกก็ไม่ใช่ของเราแลว้ สอง เทคโนโลยี ในปัจจุบันเรายังใช้การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 63
(Transfer of Technology) ก็ต้องนำเข้าอีกเช่นกัน และ สาม คือกำลังคน ซึ่งระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำ จึงต้องให้ชาวต่างชาติ เข้ามาบรหิ ารเงินและเทคโนโลยีของเขา ดังนั้น จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่ บนฐานของประเทศอ่นื ท้งั ส้นิ และเมื่อมีการย้ายฐานการลงทุนออกไปเศรษฐกิจ กล็ ม้ ในท่สี ดุ เหมอื นบ้านถกู ถอนเสาเรอื น บา้ นก็ตอ้ งพังอยา่ งแน่นอน สถานการณ์น้ี เป็นวฏั จักรของการพัฒนา เหมอื นกับวัฏจักรเชิงพทุ ธ คือ เกดิ แก่ เจ็บ ตาย เพราะไมม่ ีฐานรองรับท่ีมน่ั คง เรียนรู้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามรอยพระยุคลบาท ต่อไป เรามาเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทในเรื่อง “ดี เก่ง และ มีความสุข” คงไม่มีใครไม่อยากเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข โดยเฉพาะ ความสุขนส้ี ำคญั คนสว่ นมากไมค่ ่อยนึกถงึ ความสขุ นกึ ถงึ แตค่ วามสนุกเปน็ ท่ีต้งั ความจริงความสุขเป็นความรู้สึกของเรา ไม่จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่ฟุ้งเฟ้อ เราก็มคี วามสขุ ได้ แต่ส่วนใหญค่ วามสุขมักจะปนกบั ความสนกุ ซึ่งตอ้ งระวังให้ดี เพราะฉะนั้น ในชีวิตของเราต้องเสริมสร้างจิตใจในการทำงาน ให้นึกถงึ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม พอเพียง อดออม ประหยดั โดยดูต้นแบบของ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ทท่ี รงปฏิบัตใิ ห้เห็นมาโดยตลอด ทรงใชข้ องธรรมดา เมือ่ ปี ๒๕๒๔ ท่ีได้รับแตง่ ต้งั จากรัฐบาลให้ไปถวายงาน ผมตืน่ เตน้ มาก สงั เกต รายละเอียดรอบๆ ตัวไปเสียทุกอย่าง มองไปทีข่ อ้ พระหตั ถ์วา่ ทรงใช้นาฬิกาอะไร มองจนพระองค์ทรงยื่นข้อพระหัตถ์มาให้ดู ทรงตรัสอย่างมีพระอารมณ์ขันว่า “ยีห่ ้อใส่แล้วโก”้ ผมจำแบบไว้ เพราะอยากรู้วา่ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ทรงใช้นาฬิกาเรือนละเท่าไร พอวันหยุดก็รีบไปที่ร้าน ก็ทราบว่ามีราคาเพียงแค่ 64 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ “เศรษฐกิจพอเพียง” คือการทำให้พอเพียง ทำให้เต็มที่ เป็นเรื่องธรรมะ คือธรรมชาติ ธรรมดา ถ้าทำพอเพียง ก็สามารถนำประเทศไปได้ดี การยึดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ต้องทำจิตใจให้สะอาด สว่าง สงบ แจ่มใส ทำดีตลอดเวลา จะทำให้เกิดประโยชน์สุข ❞ ๗๕๐ บาท แต่หลายท่านเงินเดือนนิดเดียว กลับใส่นาฬิกาเรือนละเป็นแสน ซึ่งเกินฐานะ ถ้าเราใช้สติปัญญาพิจารณา จะเห็นว่านาฬิการาคาเท่าไรก็ชี้เวลา เดยี วกัน โดยไมต่ ้องตกเปน็ ทาสของวตั ถุนยิ ม ในวันแรกท่พี ระองค์เสดจ็ ขึ้นครองราชย์ ทรงมพี ระปฐมบรมราชโองการวา่ “เราจะครองแผน่ ดินโดยธรรม เพอ่ื ประโยชนส์ ุขแหง่ มหาชนชาวสยาม” ทรงช้ี ใหเ้ ห็น“ประโยชน์สขุ ”และทรงใช้“ธรรม” หรอื อีกนัยหนง่ึ กค็ อื “ธรรมาภบิ าล” พระองค์ทรงมรี ับสัง่ มาหลายสบิ ปีแลว้ แตค่ นไทยชอบคดิ และทำตามฝร่ัง เพราะ ไม่มีความภูมิใจในความเป็นไทย เรามีความรู้ความคิดลึกซึ้งกว่าฝรั่งหลายเท่า แต่อยา่ ไปปฏเิ สธความรจู้ ากเขา จะตอ้ งรู้เขา รเู้ รา เพราะเราจะตอ้ งทง้ั แขง่ ขนั และรว่ มมอื กับเขา แต่อย่าตกเป็นทาสความคดิ ใคร เราเปน็ ไทย ชื่อก็บอกแลว้ “ไท” เป็นอสิ ระเสรีจากความคิดและการปฏบิ ตั ิทงั้ ปวง “เศรษฐกจิ พอเพียง” คอื การทำใหพ้ อเพยี ง ทำให้เต็มที่ เปน็ เร่ือง ธรรมะ คอื ธรรมชาติ ธรรมดา ถ้าทำพอเพยี งก็สามารถนำประเทศไปไดด้ ี การยดึ เศรษฐกจิ พอเพียงน้นั ต้องทำจิตใจใหส้ ะอาด สว่าง สงบ แจ่มใส ทำดตี ลอดเวลา จะทำใหเ้ กดิ ประโยชน์สขุ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 65
การพัฒนาต้องทำตามลำดับขั้นตอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้มีการพัฒนาไปตาม ขน้ั ตอนเป็นระยะๆ อย่าใจร้อน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร จงึ ค่อยสรา้ งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจทีส่ งู ขน้ึ ดังทรงมีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมอื่ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ เกี่ยวกบั การพัฒนาประเทศ โดยทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนสว่ นใหญ่ในเบอื้ งตน้ ก่อน เมือ่ มี พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทาง เศรษฐกิจให้สงู ขนึ้ ซงึ่ ขออญั เชญิ มา ณ ท่ีน้ี ดังน้ี “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็ว แต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุล ในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...” 66 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความสำคญั ของพระบรมราโชวาทน้ี อยู่ทีว่ ่าแนวทางการพฒั นาท่ีเนน้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มี พื้นฐานของความสามารถพึ่งพาตนเองได้ของประชาชน อาจจะเกิดปัญหาได้ จงึ ทรงเน้นการมพี อกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นกอ่ น เม่อื มพี ้ืนฐาน ความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้ สูงขึ้น ถ้าจะใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์อธิบายตามความหมายนี้ก็คือ แทนที่จะเน้น การขยายตวั ของภาคอุตสาหกรรมนำการพฒั นาประเทศควรทจ่ี ะสรา้ งความมน่ั คง ทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานก่อน นั่นคือทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมี พอกินก่อน หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจาย รายได้เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กอ่ นเนน้ การพฒั นาในระดบั สูงขนึ้ ไป ตอ่ มาเมื่อวันท่ี ๔ ธนั วาคม ๒๕๑๗ เน่ืองในโอกาสวนั เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเน้นในเร่ืองพอมีพอกินดังกล่าว อกี ครัง้ ซง่ึ ขออัญเชญิ มา ณ ท่นี ้ี ดังน้ี “...คนอน่ื จะว่าอย่างไรก็ชา่ งเขา จะวา่ เมอื งไทยลา้ สมยั ว่าเมอื งไทยเชย วา่ เมืองไทยไมม่ สี ิ่งท่ีสมัยใหม่ แตเ่ ราพออย่พู อกนิ และขอให้ทกุ คน มคี วามปรารถนาที่จะใหเ้ มืองไทยพออยูพ่ อกนิ มีความสงบ และทำงานต้ังจติ อธษิ ฐาน ปณธิ าน จดุ มุง่ หมายในแง่นี้ ในทางนี้ ทจ่ี ะให้เมอื งไทยอยแู่ บบพออยพู่ อกิน ไม่ใช่ร่งุ เรืองอย่างยอด แต่วา่ การพออย่พู อกนิ มคี วามสงบนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบกบั ประเทศอน่ื ๆ ถา้ รกั ษาความพออยพู่ อกินนน้ั ได้ เราจะยอดยิง่ ยวด...” การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 67
❝ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัส... เกี่ยวกับการบริหารว่า ต้องมีการบริหารที่เรียกว่า แบบคนจน แบบที่ไม่ติดตัวเรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคี ก็จะอยู่ได้ตลอดไป ❞ การบริหารแบบคนจน สามัคคี และเมตตากัน นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ เกี่ยวกับ การบรหิ ารว่า ต้องมกี ารบริหารท่ีเรียกวา่ แบบคนจน แบบทีไ่ มต่ ิดตัวเรามากเกินไป ทำอย่างมสี ามคั คี ก็จะอยูไ่ ดต้ ลอดไป ซงึ่ ขออัญเชญิ มา ณ ทนี่ ี้ ดังน้ี “...ต้องทำแบบ “คนจน”. เราไม่เปน็ ประเทศรำ่ รวย เรามีพอสมควร พออยูไ่ ด.้ แตไ่ ม่เป็นประเทศที่กา้ วหนา้ อยา่ งมาก. เราไมอ่ ยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก. เพราะถ้าเราเป็นประเทศ ก้าวหน้าอย่างมาก ก็จะมีแต่ถอยหลัง. ประเทศเหล่านัน้ ท่ีเป็นประเทศที่มอี ุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแตถ่ อยหลัง และถอยหลังอย่างน่ากลัว. แต่ถ้าเริ่มมีการบริหาร แบบที่เรียกว่าแบบ “คนจน” แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละ คอื เมตตากนั กจ็ ะอยู่ได้ตลอดไป...” 68 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“พอมีพอกิน” แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเน่ืองในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ว่า “พอมีพอกิน” แปลวา่ เศรษฐกิจพอเพยี งนั่นเอง และ “พอเพยี ง” หมายความว่าพอประมาณ ซงึ่ ขออัญเชิญมา ณ ท่นี ้ี ดังนี้ “...เมื่อปี ๒๕๑๗... วันนั้นได้พูดว่า เราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง. ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้. ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น ก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน. บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” “...คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง. คนเราถ้าพอ ในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง... ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล...” การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 69
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งเศรษฐกิจ หรือความประพฤติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเน่ืองในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา เม่ือวันที่ ๔ ธนั วาคม ๒๕๔๓ วา่ เศรษฐกจิ พอเพียง เปน็ ทั้งเศรษฐกิจหรอื ความประพฤติ ซงึ่ ขออญั เชญิ มา ณ ที่นี้ ดังน้ี “...เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ขอย้ำว่า เป็นการทั้งเศรษฐกิจ หรือความประพฤติ ที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดผลโดยมีเหตุและผล คือ เกิดผลมันมาจากเหตุ ถ้าทำเหตุที่ดี ถ้าคิดให้ดีให้ผลที่ออกมา คือสิ่งที่ติดตามเหตุ การกระทำ ก็จะเป็นการกระทำที่ดี และผลของการกระทำนั้น ก็จะเป็นการกระทำที่ดี ดีแปลว่ามีประสิทธิผล ดีแปลว่ามีประโยชน์ ดีแปลว่าทำให้มีความสุข…” หลักสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงที่พระราชทาน เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกิจ เพอื่ ให้ก้าวทนั ตอ่ โลกยคุ โลกาภิวตั น์ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับคนยากจน ไม่ใช่เศรษฐกิจ ทจ่ี ะต้องมารดั เข็มขดั ตระหนถ่ี ีเ่ หนียว พระองค์ทรงสอนใหร้ ำ่ รวย แต่ร่ำรวยแล้ว 70 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ พระองค์ทรงมีรับสั่งให้หลักไว้ ๓ สามประการ และเงื่อนไขประกอบ ๒ ประการ เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กรใดๆ ก็ได้ ❞ ต้องรักษาให้คงอยู่ ร่ำรวยแล้วต้องยั่งยืน และต้องกระจายรายได้อย่างทั่วถึง พระองค์ทรงมีรับส่ังใหห้ ลักไว้ ๓ สามประการ และเงื่อนไขประกอบ ๒ ประการ เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหารงานใน องคก์ รใดๆ ก็ได้ ดงั นี้ ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง อย่าใช้กิเลสตัณหา เป็นเครื่องนำทาง อย่าทำตามกระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเลือก หนทางว่าประเทศไทยตอ้ งการจะพัฒนาไปทางไหน ไมจ่ ำเป็นต้องทำตามกระแส ของโลก เพราะเหตผุ ลคอื แตล่ ะประเทศไมเ่ หมือนกนั ดงั นนั้ ตอ้ งรกั ษาสตแิ ละ ปัญญาให้มั่นคง รู้จักใช้เหตใุ ช้ผลในการเลอื กใชช้ ีวิตของตัวเอง เช่น ในการทำงาน อย่าไปรบั ตำแหนง่ ทีไ่ ม่ถนัด จะไปไมร่ อด และจะมีความทกุ ขใ์ นชวี ิต ถ้าเรารู้ว่า เราถนัด ก็ควรรับมาทำ เพราะเราแบกรับได้ และทำแล้วมคี วามสขุ ประการทีส่ อง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณ คอื ตรวจสอบ ศกั ยภาพของตนเองกอ่ นว่ามจี ดุ แข็งตรงไหนฐานของตนเองอยตู่ รงไหน การจะ พัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพแต่ละเรื่องว่าอยู่ที่ไหน เรามีขีดความสามารถ ควบคุมได้หรอื ไม่ และยดึ เส้นทางสายกลาง ความพอดี สมดลุ ขอยกตัวอย่างความพอประมาณ เช่น บางคนบอกว่ามวยไทยเป็น แชมป์โลก แต่ต้องมีเงื่อนไขด้วยว่ารุ่นไหน ความพอประมาณของเรา คือรุ่น แบนต้มั เวทลงมา ไม่ใชเ่ ฮฟว่เี วท ทั้งที่เรามคี นท่ีน้ำหนกั เท่ากบั ไมค์ ไทสนั แต่ส่งไป ก็คงจะสเู้ ขาไม่ได้แน่นอน เพราะวา่ เกินศักยภาพของเรา การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71
❝ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งเรื่องไบโอดีเซล มานานแล้ว ถ้าเราเตรียมการตั้งแต่ตอนนั้น ก็คงจะรับมือได้ดีกว่านี้ ❞ คนที่รวยก็ไม่ควรปล่อยตัวกินมากเกินไปจนกระทั่งล้น ทำให้อึดอัด ฟังอะไรก็ง่วง แต่ถ้ากินน้อยเกินไป หิวโหยขึ้นมาก็เป็นทุกข์ ให้ยึดความพอดีไว้ กนิ เกนิ ประมาณมกั จะเป็นโรคความดันโลหิตสงู หรือคลอเลสเตอรอลสงู ซ่งึ ไมไ่ ด้ เกิดจากเชื้อโรค แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน ใน ๑๐๐ คนมักจะเป็น โรคพวกนี้ ๕๗ คน เพราะฉะนนั้ ไมว่ า่ จะทำอะไรตอ้ ง “พอประมาณ” ประการที่สาม ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้ จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนาทำได้ยาก มีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมี วิสัยทัศน์แล้วเดินไปสู่จุดนั้น ตัวอย่างเช่น เรื่องราคาน้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้หรือไม่ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งเรื่องไบโอดีเซลมานานแล้ว ถ้าเรา เตรียมการตั้งแต่ตอนนั้น ก็คงจะรับมือได้ดีกว่านี้ เพราะฉะนั้น การจะสร้าง ภมู คิ ุ้มกนั ตอ้ งมวี ิสยั ทัศน์ (Vision) ผกู โยงไปดว้ ย แม้กระทั่งระดบั ปัจเจกบุคคล ก็ต้องวางแผนเผื่อมีส่งิ ท่ไี มค่ าดฝนั เกดิ ขึ้น เช่น การเจบ็ ปว่ ย หรืออุบัติเหตุ ดงั นัน้ จึงตอ้ งมเี งินออมสำรองไวใ้ ช้ สง่ิ ทที่ ุกคน ทำได้ คืออยา่ ประมาท ดงั นนั้ ทำอะไรตอ้ งมภี มู คิ ุ้มกันด้วย อกี นัยหน่ึงภมู ิคมุ้ กนั ก็คือการบริหารความเสย่ี งนนั่ เอง 72 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระองค์ยังทรงใหม้ ีเง่อื นไขรองรบั ท่สี ำคัญ ๒ ประการ คอื คนต้อง ดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล และดำเนินชีวิตด้วย ความรอบรู้ รอบคอบ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสังคมแต่ละระดับ เศรษฐกจิ พอเพียงสามารถนำมาประยกุ ต์ใชไ้ ด้กบั สงั คมทกุ ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคลและครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวนั้น คือความสามารถ ในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน กำหนดความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอตั ภาพ และท่ีสำคญั ไมห่ ลงไหลไปตามกระแสวัตถนุ ิยม มอี สิ รภาพ เสรีภาพ ไม่มีพันธนาการอยู่กับสิ่งใด สามารถให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนใน ๕ ด้าน คือ พ่ึงตนเองได้ทางจิตใจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม เทคโนโลยี และทางเศรษฐกิจ รู้จักคำว่า “พอ” และไม่เบียดเบียนผู้อื่น พยายามพัฒนาตนเอง เพอื่ เสริมสรา้ งความเข้มแข็งและความชำนาญ และมีความสุขและความพอใจ กบั ชีวติ ทพี่ อเพยี ง ยดึ เส้นทางสายกลางในการดำรงชวี ติ เช่น ไมซ่ อื้ ของมากมาย เกินความจำเป็น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าของหลายอย่างที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ กลายเป็นขยะรกบ้าน ระดับชุมชน ประกอบด้วย บุคคลและครอบครัว ที่มีความพอเพียงแล้ว คนในชมุ ชนรวมกลมุ่ ทำประโยชนเ์ พอ่ื สว่ นรวม โดยอาศัยภูมิปัญญา และความสามารถของบุคคลและชุมชน ซึ่งในการดำเนินงานของชุมชนให้ ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินงาน การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 73
ดว้ ยความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ ดำเนนิ งานด้วยความพอประมาณ อย่างมีเหตุผล ไม่สนับสนุนการลงทุนจนเกินตัว ดำเนินงานอย่างรอบคอบ มีสติปญั ญา อีกทงั้ ตอ้ งมีความรอบรทู้ ีเ่ หมาะสม เพื่อนำมาปรบั ปรงุ การดำเนินงาน ของชุมชนให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำมาสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับ การเปล่ียนแปลงตา่ งๆ ที่อาจเกิดขนึ้ จากทง้ั ภายในและภายนอก และมีการพัฒนา ไปสเู่ ครอื ขา่ ยระหวา่ งชมุ ชนต่างๆ นอกจากน้ี การอย่รู ว่ มกนั ในครอบครัวและชุมชนตอ้ งถนอมนำ้ ใจและ อยรู่ ว่ มกันใหไ้ ด้ อาศัยภมู ปิ ญั ญาความสามารถของตนและชมุ ชน มีความเอื้ออาทร ต่อกันระหว่างสมาชิกชุมชน จะช่วยให้มีเครือข่ายเกิดพลังขึ้น ช่วยเหลือ ซง่ึ กันและกัน ปจั จบุ นั คนในเมืองมักจะไมร่ ู้จกั คนข้างบ้าน เพราะตน่ื เชา้ ก็ต้องรีบ ออกจากบ้านไปทำงาน ไมเ่ หมือนสงั คมสมยั กอ่ นทม่ี กั จะรจู้ กั กนั หมด จึงเหน็ ได้ว่า สังคมของเรากำลังอ่อนแอลงไปทกุ ที ระดับรัฐหรือระดับประเทศ ประกอบดว้ ย สังคมต่างๆ ท่เี ข้มแขง็ เป็นการบรหิ ารจัดการประเทศ โดยเรม่ิ จากการวางรากฐานใหป้ ระชาชน ส่วนใหญ่อยู่อย่างพอมีพอกิน และพึ่งตนเองได้ มีความรู้และคุณธรรมในการ ดำเนินชีวิต มีการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆ แห่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างรู้ รัก สามัคคี เสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนให้เกิดเป็นสังคมแห่ง ความพอเพียง การพัฒนาระดับประเทศ เป็นการวางรากฐานของประเทศว่าควร เดนิ ไปขา้ งหนา้ อยา่ งไร แค่ไหน ต้องดูสมรรถนะหรือจุดแข็งของเราเสียก่อน พอประมาณของเราอยแู่ คไ่ หน ศกั ยภาพของเราอยู่ที่ไหน ก็ควรไปทางนน้ั เช่น เร่อื งอาหารมนี โยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เรานา่ จะทำได้ เพราะอาหารของเรา 74 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ นักธุรกิจสามารถกู้เงินมาลงทุนเพื่อสร้างรายได้ และต้องสามารถใช้หนี้ได้ ไม่ทำอะไรเกินตัว ต้องมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความเพียร อดทน และรับผิดชอบต่อสังคม ❞ อร่อยและมีคุณภาพมากกว่าของหลายๆ ประเทศ และเราเป็นประเทศเกษตร มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพมากมาย ถ้าได้รับการส่งเสริมจะได้ประโยชน์ตั้งแต่คนผลิต วัตถุดิบจนถึงนักธุรกิจ เพียงแค่ผลิตอาหารฮาลาล ส่งบรูไน มาเลเซีย และ ตะวันออกกลาง ก็น่าจะมีรายได้มากเพียงพอแล้ว ถ้าเลือกให้เหมาะสมเราจะ สามารถไปสทู่ ี่ ๑ ของโลกได้ เปน็ ตน้ ระดับนักธรุ กิจ เร่ิมจากความมุ่งม่ันในการดำเนินธุรกิจท่ีหวังผลประโยชน์หรือกำไร ในระยะยาวมากกวา่ ระยะส้นั ยอมรบั การมกี ำไรในระดับพอประมาณ (Normal Profit) มีเหตุมีผลที่พอเพียงต่อนักธุรกิจที่ลงทุนหรือผู้ถือหุ้น และต้องไม่เป็น การแสวงหากำไรโดยการเอาเปรยี บผู้บรโิ ภคหรือผดิ กฎหมาย หลักของเศรษฐกจิ พอเพียงไม่ปฏิเสธการส่งออก แต่ต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อให้ พร้อมรับต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยระลึกเสมอว่าการจะก้าวให้ทันต่อ กระแสโลกาภิวัตนต์ ้องอาศยั ความรอบรู้ รอบคอบ และระมดั ระวังอยา่ งย่งิ ทั้งนี้ นักธุรกิจสามารถกู้เงินมาลงทุนเพ่อื สรา้ งรายได้ และต้องสามารถ ใช้หนี้ได้ ไมท่ ำอะไรเกนิ ตวั ตอ้ งมคี ุณธรรม ซื่อสตั ย์สุจรติ มคี วามเพียร อดทน และรับผดิ ชอบตอ่ สังคม โดยมกี ารพัฒนาประสทิ ธิภาพการผลิต ปรับปรุงสินค้า และคุณภาพให้ทันกับความต้องการของตลาดและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 75
มีจริยธรรม คุณธรรม รักษาความสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจ ในระหว่างผ้มู ีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ได้แก่ พนกั งาน บรษิ ทั ผบู้ รโิ ภค และสังคม โดยรวม จะอยูไ่ ดอ้ ยา่ งย่งั ยืน ระดับนักการเมือง การกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย และข้อบัญญัติต่างๆ หรือ ดำเนินวิถีทางการเมืองให้ยึดมั่นอยู่บนพ้ืนฐานของความพอเพียงและผลประโยชน์ ของส่วนรวม ต้องใช้ความเสมอภาค มที ศั นคตแิ ละความคิดท่ดี ี บนพน้ื ฐานของ ความพอเพยี งซ่ือสัตย์ สุจริต มีความเพียร และมสี ตใิ นการทำกิจการต่างๆ ระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ระดับองค์กรหรือผู้บริหาร ต้องบริหารความเสี่ยง ไม่ทำโครงการ ทเ่ี กินตวั หรอื เสี่ยงเกนิ ไป ปรบั ขนาดองค์กรใหเ้ หมาะสม จัดกำลงั คนตามความรู้ ความสามารถ บรหิ ารงานตามหลกั ธรรมาภิบาลด้วยความโปรง่ ใสและมีคุณธรรม บริหารจัดการทรัพยากรด้วยความประหยัดและคุ้มค่า และถ่ายทอดความรู้ ในการปฏบิ ัตงิ าน การจดั เตรยี มนโยบาย แผนงานหรอื โครงการตา่ งๆ ตอ้ งสอดคลอ้ ง กับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจและ จติ ใจควบคกู่ นั ไป ระดบั เจ้าหนา้ ท่ี ควรปรับวถิ ีและใชช้ ีวิตแบบพอเพียง รู้จักพอประมาณ และพึ่งตนเองเป็นหลัก ซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ระมดั ระวงั ใช้จา่ ยอยา่ งเหมาะสมกบั รายได้ พฒั นาตนเองและความรู้ อยู่เสมอ หลกี เลีย่ งอบายมขุ รักษาวฒั นธรรมไทย ยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกวา่ ส่วนตน สามัคคี แบ่งปัน ให้บริการและช่วยเหลือประชาชนด้วยน้ำใจไมตรี อยา่ งรวดเร็วและเสมอภาค 76 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการประกาศนโยบายด้านต่างๆ ต้องมเี หตุมผี ล คล่องตัว ทำอยา่ ง ค่อยเป็นค่อยไป ป้องกนั การเกดิ ปัญหาในภายภาคหนา้ โดยการสร้างภมู คิ ุ้มกัน ซึง่ ภาษาสมยั ใหมเ่ รยี กว่า การบรหิ ารความเสย่ี ง (Risk Management) ระดับครูอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา เลง็ เหน็ ความสำคัญและนอ้ มนำปรัชญาฯ มาปฏิบัติใหเ้ ปน็ ตวั อยา่ ง เป็นแม่พิมพ์และพ่อพิมพ์ที่ดีทั้งในด้านการดำเนินชีวิต อาทิ ขยัน อดทน ไม่ยุ่งเกยี่ วกบั การพนันและอบายมขุ ไม่ฟุ้งเฟอ้ ฯลฯ และพัฒนาระบบการเรยี น การสอนตามหลักปรชั ญาฯ อาทิ ตัง้ ใจสอน หมน่ั หาความรูเ้ พ่ิมเติม เปดิ โอกาส ให้เดก็ แสดงความคิดเหน็ เพื่อแลกเปลีย่ นเรยี นรรู้ ะหวา่ งครกู บั นกั เรียน กระตนุ้ ใหเ้ ดก็ รกั การเรยี น คิดเปน็ ทำเปน็ และปลกู ฝงั คุณธรรม เพื่อเป็นการสรา้ งคนดี คนเกง่ ใหแ้ ก่สังคม ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องรู้จักแบ่งเวลาเรียน เล่น และดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและ พอประมาณกบั ตนเอง ใฝห่ าความรู้ ใช้หลกั วชิ าและความรจู้ รงิ ในการตัดสินใจ ลงมอื ทำสิง่ ต่างๆ ปฏบิ ตั ิตนและคบเพือ่ นเป็นกลั ยาณมติ ร ขยันหมน่ั เพียร ซื่อสตั ย์ แบ่งปัน กตัญญู รูจ้ ักใช้จ่ายเงนิ อยา่ งมเี หตุผลและรอบคอบ รวมท้งั สรา้ งภูมคิ มุ้ กนั ทางศลี ธรรมใหแ้ กต่ นเอง อาทิ ไม่ลักขโมย ไม่พดู ปด ไมส่ บู บหุ รี่ และไมด่ ่ืมสรุ า ประชาชนทุกคน ดำรงชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง การคิดพ่งึ พาตนเอง และ พ่งึ พาอาศยั ซง่ึ กันและกนั อยา่ งเอื้อเฟอ้ื เผ่อื แผ่ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงสอดคล้อง กับหลักคำสอนของทกุ ศาสนาทใี่ ห้ดำเนินชีวติ ตามกรอบคุณธรรม ไม่ทำการใดๆ ท่เี บยี ดเบียนตนเองหรอื ผอู้ ่นื ไม่ฟงุ้ เฟอ้ หรอื ทำอะไรทีเ่ กนิ ตน รจู้ ักแบ่งปันและ ช่วยเหลือผู้อื่นตามความเหมาะสมและกำลังความสามารถของตน ดำเนินชีวิต บนทางสายกลาง คือ คำนงึ ถงึ ความพอดีไม่มากเกนิ ไป หรอื นอ้ ยเกินไป การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 77
❝ พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับการทำการเกษตร เพื่อพออยู่พอกินก่อน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน ๓๐ : ๓๐ : ๓๐ : ๑๐ โดย ๓๐ เปอร์เซ็นต์แรก ให้ขุดสระน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้โดยไม่หวังพึ่งน้ำจากธรรมชาติ เพียงอย่างเดียว ❞ “ทฤษฎีใหม่” เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเกษตรกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานทฤษฎีใหม่สำหรับ เกษตรกร เพื่อเดินทางไปสู่ความพอเพียง ระบบทุนนิยมกระตุ้นให้เกษตรกร ปลูกพชื เชงิ เดีย่ ว เชน่ ปลกู ขา้ ว อ้อย ยางพารา ปอ หรือสับปะรดเพยี งอย่างเดียว เพราะขณะนัน้ มีรายไดด้ ี แทนท่ีจะปลกู หลายๆ อย่างไวก้ ินและใชเ้ องในครอบครัว และไว้ขายด้วย หากพืชนั้นมปี ัญหาก็ไม่สามารถมรี ายไดจ้ ากทางอืน่ และยังต้อง ซื้อพชื อน่ื ๆ มาทำอาหารบรโิ ภคอีกดว้ ย ยกตัวอย่างเช่น ชาวนาที่ปลูกข้าวอย่างเดียว พอขายข้าวเปลือกแล้ว ก็ต้องซื้อข้าวสาร และผักอื่นๆ สำหรับบริโภค จึงช่วยตัวเองไม่ได้ หากปีไหน ฝนไมแ่ ล้งและพืชนนั้ ราคาสูง กไ็ มม่ ปี ญั หา แตถ่ า้ ปไี หนแหง้ แล้งก็จะทำใหเ้ สยี หายได้ พระองคจ์ ึงทรงให้ความสำคญั กบั การทำการเกษตรเพ่ือพออยพู่ อกินกอ่ น โดย แบง่ พ้ืนท่อี อกเปน็ สดั ส่วน ๓๐ : ๓๐ : ๓๐ : ๑๐ โดย ๓๐ เปอร์เซ็นต์แรก ให้ขดุ สระน้ำ เพ่อื กกั เก็บน้ำไวใ้ ช้ โดยไม่หวงั พง่ึ น้ำจากธรรมชาตเิ พยี งอย่างเดยี ว สระน้ำนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาได้อีกดว้ ย เปน็ อาหารโปรตีนราคาถูกด้วย และหาก มมี ากยังขายเพิม่ รายไดอ้ กี ทางหนง่ึ 78 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ กินอย่างไรก็ไม่หมด ที่เหลือนำไปขายได้ รวมกลุ่มกันขึ้นมา และนำไปขายที่เดียวกัน ❞ อีก ๓๐ เปอร์เซน็ ต์ทสี่ อง ปลกู ข้าว เพอ่ื ไว้กนิ รำข้าวใชเ้ ลีย้ งหมูได้อีก พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ วั ทรงสอนว่าข้าวกล้องมคี ณุ คา่ ทางอาหารสูง เพราะ ที่สีออกไปเพื่อให้ได้ข้าวขาวนั้นเป็นการเอาสิ่งที่มีประโยชน์ออกไปหมด ได้ความ สวยงามและความอร่อยแต่ประโยชน์น้อย ทำให้คนไทยหันมานิยมกินข้าวกล้อง ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมและราคาแพงกว่าข้าวขาวเสียอีก เพราะฉะนั้นหมูที่กิน รำขา้ วกลบั ไดก้ ินของดีทีส่ ุด สว่ นอีก ๓๐ เปอร์เซ็นตท์ ่ีสาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน และผักสวนครัว สำหรับบริโภคและขายได้ด้วย อาทิ พริก หอม ตะไคร้ กระเทียม มะพร้าว ผักและผลไมต้ ่างๆ เม่อื ทำครบถ้วนหมดแลว้ จะสามารถมอี าหารบริโภคโดยไมต่ อ้ ง ซ้ืออะไรเลย ไม่มสี ารพษิ ด้วย สำหรบั ๑๐ เปอร์เซ็นต์ท่ีเหลอื เปน็ ที่อยู่อาศยั พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวตรสั วา่ เศรษฐกิจพอเพียงนีก้ นิ อยา่ งไร กไ็ ม่หมด ที่เหลอื นำไปขายได้ รวมกลุ่มกันข้นึ มาและนำไปขายทเ่ี ดยี วกัน หรือ จะแปรสภาพเปน็ เครอ่ื งแกง หรืออ่นื ๆ ตามวัตถดุ ิบไดม้ ากมาย และเมอ่ื มีทุนมากขน้ึ ก็สามารถซื้อเครื่องปั่นมาทำเครื่องแกงได้ จากนั้นก็รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์หรือ ร้านค้าชุมชนขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งขายสินค้าภายในชุมชน จากอุตสาหกรรมนี้ นำไปส่ธู รุ กิจได้ เป็นการทำตามลำดบั ข้นั และรวยแบบยงั่ ยืน การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 79
❝ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย ได้จัดทำรายงานการพัฒนาคน ของประเทศไทยปี ๒๕๕๐ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาคน” และเผยแพร่ไปทั่วโลก ❞ ตัวอย่างความพอเพียง ตัวอย่างของการน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัตินั้น ระดับ เกษตรกรมีอยู่มากมาย เขาอยู่อย่างมีความสุขและร่ำรวยอย่างไม่น่าเชื่อ ในพื้นที่เล็กๆ สำหรับระดับธุรกิจนั้น มีหลายบริษัททั้งธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง และเลก็ ได้นอ้ มนำไปใชแ้ ล้วประสบความสำเรจ็ ซง่ึ ขณะนี้มหาวทิ ยาลยั หลายแห่ง มีหลักสูตรสอนเรอ่ื งเศรษฐกจิ พอเพยี งในการบรหิ ารธุรกิจ ขอแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือเล่มหนึ่งคือ The Millionaires Next Door ซึ่งนำเศรษฐีอเมริกันประมาณ ๑๐๐ คนมาศึกษาพฤติกรรม โดยเชิญ เศรษฐมี างานเลย้ี ง จดั ไขป่ ลาคาร์เวียร์ แชมเปญ และอาหารแพงๆ หลายอยา่ ง ปรากฏว่าเศรษฐีเกินครึ่งไม่แตะเลย ถามว่าทำไม เศรษฐีบอกว่าเขาไม่เคยกิน เขาใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง ไม่มีความจำเป็นจะต้องกิน ไม่เคยตามตลาด ก่อนทจี่ ะขยายธรุ กิจ เขาดตู ัวเขาเองก่อน เขากู้น้อยท่สี ุด พอเกิดวิกฤตจงึ ได้รับ ผลกระทบนอ้ ยทส่ี ดุ นน่ั เปน็ เพราะเขายึดหลักเศรษฐกิจพอเพยี ง 80 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแนะเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชนชาวไทยเท่านั้น หากทรงแนะทางออก สำหรับชาวโลกด้วย เพื่อโลกาภิวัตน์ (Globalization) เดินไปในหนทางที่ถูกต้อง ❞ เศรษฐกิจพอเพียง... ทางออกของโลกาภิวัตน์ นานาประเทศต่างยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราว่า ทรงเป็น King of the King เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ประชาชนชาวโลกยอมรับ เมื่อปี ๒๕๔๙ องค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้าน การพัฒนามนุษย์” และกราบบังคมทูลว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ เปน็ ประโยชน์เฉพาะกับประเทศไทย แตเ่ ปน็ ประโยชน์กับทุกประเทศท่ีตอ้ งการ สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย ได้จดั ทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี ๒๕๕๐ เรอ่ื ง “เศรษฐกจิ พอเพยี งกับการพฒั นาคน” และเผยแพร่ไปทว่ั โลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแนะเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชนชาวไทยเท่านั้น หากทรงแนะทางออกสำหรับชาวโลกด้วย เพื่อโลกาภิวัตน์ (Globalization) เดินไปในหนทางที่ถูกต้อง เหมาะสม พอเพียง และนำไปสู่ความสมดุล ยั่งยืน บนฐานของคุณธรรม จริยธรรม และของความดี การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 81
❝ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย เป็นแนวทางที่เน้นการปูรากฐานในการดำเนินชีวิต ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและความเป็นไทย ❞ เศรษฐกิจพอเพียง... นำสู่ความสุขของชีวิตอย่างยั่งยืน “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี พระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย เป็นแนวทางที่เน้นการ ปูรากฐานในการดำเนินชีวิต ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและความเป็นไทย เน้ือแท้ของเศรษฐกิจพอเพยี งตามแนวพระราชดำริ คือ ความพอประมาณทีต่ ัง้ อยู่บนความซื่อสัตย์ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความมีปัญญา มีเหตุผล ซึ่งทำให้ ไม่ขาดสติ มีความรอบรู้ รอบคอบ และรู้ รัก สามัคคี ซึ่งเกิดจาก ความรัก ความเมตตา ความเออ้ื อาทรต่อกัน อันเกดิ ผลในทางสร้างสรรค์ต่อสังคม ดังนั้น จึงควรมีการนำเนื้อแท้ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ กับสังคมทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคลและครอบครัว ระดับชุมชน และระดับรัฐ หรือระดับประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดคล้องกับสภาพ ความเปน็ จรงิ สตปิ ัญญา และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย เพ่อื นำประโยชน์สขุ มาสปู่ ระชาชนชาวไทยและประเทศชาตติ ลอดไป 82 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“ฉลาดรู้” ตามแนวพระราชดำริ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
“ฉลาดรู้” ตามแนวพระราชดำริ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล การเรยี นรู้ “ฉลาดรู”้ ตามแนวพระราชดำริ หมายถงึ อะไร ควรจะได้ เขา้ ใจกอ่ นว่า ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ “ฉลาด” หมายถงึ เฉยี บแหลม ไหวพรบิ ดี หรือปญั ญาดี “รู้” หมายถึง แจง้ เขา้ ใจ ทราบ ดังนั้น “ฉลาดรู้” ตามแนวพระราชดำริ ควรจะหมายถึง การทำ ความเข้าใจแนวพระราชดำริและมีไหวพริบท่ีจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซง่ึ ควรจะไดจ้ ากการเรียนรแู้ นวพระราชดำรใิ นด้านตา่ งๆ ทท่ี รงงานเพ่อื ประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยความพอมี พอกิน และสร้างความเจริญก้าวหน้า ในระดับสงู ตอ่ ไป แล้วได้ใช้ความเขา้ ใจอย่างมีไหวพรบิ มาปรับใช้ในการทำงานและ ชีวิตประจำวันของตนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและกาลเทศะของตน ซึ่งควรจะประกอบด้วยหลักการตามแนวพระราชดำริ ดงั น้ี ๑. ฉลาดรู้ที่จะมองอย่างองค์รวม นั่นคือ การจะทำอะไรก็ตาม จะตอ้ งมองใหค้ รบวงจรกอ่ นวา่ ในภาพรวมของปัญหาทเ่ี กดิ ขนึ้ คืออะไร ควรจะได้ ดำเนินการอย่างไร มวี ธิ ไี หนบ้างทจ่ี ะดำเนินการใหเ้ กดิ ประโยชน์ เมอ่ื ดำเนนิ การแลว้ จะมีผลกระทบกับใครบ้าง จะจัดการอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร ต้องมี การเตรยี มการไวท้ ุกขัน้ ตอน การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 85
๒. ฉลาดรู้ที่จะทำอะไรอย่างผู้รู้จริง นั่นคือจะทำอะไรต้องศึกษา หาความรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยการตั้งใจศึกษาหาข้อมูลจากหลายๆ ทาง ให้ทราบแน่ชัด ละเอียด รอบคอบ เม่ือปฏบิ ตั กิ จ็ ะต้องมคี วามเขา้ ใจจริง ถกู ตอ้ ง ๓. ฉลาดรู้ในการรับฟังความคิดเหน็ ของผู้อืน่ การกระทำสงิ่ ใดก็ตาม หากไดร้ บั ฟังความคิดเห็นจากบคุ คลอนื่ ๆ หลายๆ ฝา่ ย ยอ่ มเป็นข้อมูลทด่ี ีในการ ตดั สนิ ใจท่ีจะทำอะไร เพราะความคดิ ของผู้อนื่ จะเพ่ิมความฉลาด ให้ไดม้ คี วามคดิ ที่กว้างขวางสามารถสรุปผลได้ถูกต้อง และสอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อ คนสว่ นใหญ่ ๔. ฉลาดรู้ที่จะทำอะไรเป็นขั้นตอน นั่นคือการทำงานอะไรก็ตาม ควรจะรู้วา่ มีข้ันตอนอย่างไร ควรจะทำอะไรก่อน อะไรหลัง เพ่อื ใหง้ านในภาพรวม เป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกัน โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในภาพรวมน้นั ต้องการใหค้ นอยูไ่ ด้ด้วยการพึ่งตนเอง แต่ก็ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนไป ดงั พระราชดำรัสเก่ยี วกับการพัฒนาประชากรท่ีพระราชทานเมื่อวนั ท่ี ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ท่ขี ออญั เชญิ มาดังนี้ “...ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” 86 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ การที่จะทำอะไรก็ตามควรที่จะมอง สภาพสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวมาเป็นประโยชน์ ❞ ๕. ฉลาดรทู้ ีจ่ ะใชส้ ง่ิ ใกล้ตวั และรอบตวั ให้เป็นประโยชน์ การที่จะทำ อะไรกต็ ามควรทีจ่ ะมองสภาพสิง่ แวดลอ้ มที่ใกลต้ ัวมาเปน็ ประโยชน์ ย่อมสอดคลอ้ ง มากกว่า ทั้งเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติหรือสังคม ดังโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริที่จะมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์สังคม คือสภาพ แวดล้อมและคน ซึ่งมี “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่มีอยู่ ๖ ศูนย์ เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาคที่มีสภาพภูมิศาสตร์ในสังคม ที่แตกต่างกัน ให้เป็นสถานบริการเบ็ดเสร็จสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป องค์ความร้มู ีอย่รู อบตัว ตอ้ งมสี ติ มีสมาธิ เพยี งพอทีจ่ ะใชป้ ญั ญาแสวงหาความรู้ และปฏสิ มั พันธ์ของสรรพสง่ิ ใหก้ อ่ ประโยชน์ ๖. ฉลาดรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ อยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป เช่นใช้น้ำทุกหยดอย่างมีคุณค่า และรักษาไว้ให้มีความ สมบูรณต์ ลอดไป และนำทรัพยากรตา่ งๆ มาใชอ้ ยา่ งค้มุ คา่ มกี ารดูแลรกั ษาอย่างดี ที่ใดเสื่อมโทรมไปก็ควรดำเนินการซ่อมเสริม หรือทำการใดให้มีดังเดิมหรือ มากย่งิ ๆ ขน้ึ และแนวพระราชดำรเิ รื่องไม้ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง เป็นแนวคดิ ของการผสมผสานการอนุรักษ์ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับ ความตอ้ งการดา้ นเศรษฐกิจ ดว้ ยการปลกู ป่า ๓ อยา่ ง แต่ใหป้ ระโยชน์ ๔ อย่าง ซึ่งได้แก่ ไม้ผล ไมส้ ร้างบา้ น และไม้ฟืน รวมท้ังสามารถใหป้ ระโยชน์ได้ ๔ อย่าง นอกจากประโยชนต์ ามช่ือแลว้ ยงั สามารถให้ประโยชนอ์ ยา่ งท่ี ๔ คอื สามารถ ช่วยอนรุ กั ษ์ดินและตน้ นำ้ ลำธารด้วย ๗. ฉลาดรู้ที่จะนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตไทย มาปรับใช้ ใหส้ อดคลอ้ งกับชวี ิตในปจั จบุ ัน การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 87
❝ ฉลาดรู้จักใช้อะไรก็ตามอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในชีวิตประจำวันส่วนตัวของแต่ละคน และในการทำงาน หรือประกอบธุรกิจ หากใช้สิ่งใดอย่างประหยัดและรู้คุณค่า ก็จะเกิดประโยชน์กับตัวเองและสังคม ❞ ๘. ฉลาดรู้ที่จะทำอะไรด้วยความเรียบง่าย สิ่งใดที่เป็นเรื่อง สลับซับซ้อนก็คิดทำให้ง่ายๆ อย่างโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสีย บึงมักกะสันด้วยการใช้ผักตบชวา ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติมาดูดซึมเอาโลหะหนัก ซ่งึ เป็นต้นตอของนำ้ เนา่ เหม็น หรือการแกป้ ญั หาการพงั ทลายของหนา้ ดินด้วยการ ปลกู หญ้าแฝก ซึ่งเป็นการอนุรกั ษ์ดินและนำ้ ไปพร้อมๆ กันดว้ ย ๙. ฉลาดรู้จักใช้อะไรก็ตามอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์ สงู สดุ ท้งั ในชีวติ ประจำวนั ส่วนตวั ของแตล่ ะคน และในการทำงานหรอื ประกอบ ธุรกิจ หากใช้สง่ิ ใดอยา่ งประหยัดและรูค้ ุณคา่ กจ็ ะเกิดประโยชน์กับตวั เองและสังคม ตลอดจนประหยัดในการใชท้ รัพยากรธรรมชาติ ดว้ ยการใชใ้ ห้เกดิ ประโยชนส์ ูงสุด และอยา่ งยัง่ ยืน นำไปสู่วถิ ีชวี ติ ทีพ่ อเพยี ง ๑๐. ฉลาดรู้ที่จะ “ขาดทุนคือกำไร” นั่นคือรู้ว่าการกระทำอะไร ในเบื้องต้นจะต้องลงทุนมาก ซึ่งระยะแรกๆ ก็จะขาดทุน แต่กำไรที่จะเกิดขึ้น ในระยะยาวนั้นจะมากมาย ๑๑. ฉลาดรู้จากการปฏิบัติ ทดสอบ ทดลอง จากของจริง อาทิ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่ง ศึกษา ทดลอง และวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตร รวมถึงอุตสาหกรรม การเกษตรต่างๆ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิล และอื่นๆ สอง โครงการศึกษาทดลองดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจสามารถ 88 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ ฉลาดรู้ที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการ ดำรงชีวิตและการปฏิบัติงาน นั่นคือ เดินสายกลาง มีความพอประมาณ ควรมีเหตุผล รวมถึง มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ❞ เข้ามาศกึ ษา และนำไปประยุกตใ์ ชไ้ ด้ และสาม การดำเนินการตา่ งๆ ดังกลา่ ว ไมม่ ุ่งหวังผลตอบแทนในเชิงธุรกิจ แต่เปน็ การดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดอื ดร้อน ของราษฎร ๑๒. ฉลาดรู้ รู้ รกั สามัคคี ร้ ู อะไรอย่างแท้จรงิ ละเอียดลว่ งหน้า รู้จกั แยกแยะอะไรดี อะไรไม่ดี รกั ที่จะทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด มีความเมตตาช่วยเหลือ สังคม และแก้ปัญหาตา่ งๆ ดว้ ยความเข้าใจ สามัคค ี ในการทำงานให้เกดิ ประโยชน์ เพ่ือให้เกดิ พลังในสงั คม ๑๓. ฉลาดรู้ที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการ ดำรงชีวิตและการปฏิบัติงาน นั่นคือ เดินสายกลาง มีความพอประมาณ ควรมีเหตผุ ล รวมถึงมีระบบภูมคิ มุ้ กันในตวั ท่ีดพี อสมควร ต่อการมผี ลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ ในการวางแผนและการดำเนนิ งานทกุ ขนั้ ตอน พรอ้ มทง้ั มพี นื้ ฐานจิตใจที่มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพยี ร มีสติ ปญั ญา และความรอบคอบ ๑๔. ฉลาดรู้ในการใช้ธรรมะในการดำรงชีวิตและการทำงาน โดย การมีธรรมและวนิ ยั ดังนี้ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 89
ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ไดแ้ ก่ ๑) ทาน การใหท้ าน แบง่ เป็น ธรรมทาน คือการใหธ้ รรมะ ถอื เปน็ การใหท้ านอันสูงเลศิ และอามิสทาน คอื การใหว้ ตั ถุ สิง่ ของ ๒) ศีล การรกั ษาศลี การมีศลี คือมีเจตนางดเว้นจาก การทำชวั่ ความทจุ รติ และเบียดเบยี นท้งั ทางกายและทางวาจา ๓) ปริจาคะ การบริจาคหรือเสียสละความสุขสำราญของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบสุขของ บ้านเมอื ง เสยี สละความเห็นแก่ตัว นับว่าเป็นการเสียสละ อยา่ งสูงยิง่ ๔) อาชชวะ ความซอ่ื ตรง ปฏิบตั ิภารกจิ โดยสจุ ริตมคี วามจรงิ ใจ ซอ่ื ตรงต่อตนเอง หน้าท่ี และประเทศชาติ ๕) มัททวะ ความเป็นผู้มีอัธยาศัยและกริยามารยาทสุภาพ ออ่ นโยนทงั้ ทางกาย วาจา และใจ ๖) ตบะ คือการบำเพ็ญตบะ ได้แก่ การทำความเพียรเพื่อเผา กิเลสและความชั่วทั้งปวงที่มีอยู่ให้เบาบางลง และหมดไป ตามลำดับ ๗) อักโกธะ ความไมโ่ กรธและไม่อาฆาตพยาบาท เป็นคณุ ธรรม ทส่ี ำคญั สำหรบั พระราชาและข้าราชการ ๘) อวหิ ิงสา ความไมเ่ บยี ดเบยี น การมอี วหิ ิงสา คือการงดเวน้ จากการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ทำตนให้ เป็นคนสงบเสงี่ยม และสำรวมกาย วาจา ใจ ตลอดทั้ง เป็นคนสันโดษ สะอาด ประหยัด เรียบง่าย ไม่ทำตน เป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ชอบโอ้อวด ชอบความหรูหรา ฟ่มุ เฟือย 90 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๙) ขนั ติ คือ ความอดทนต่อปญั หาอุปสรรคและความทกุ ข์ยาก ลำบากทั้งปวง อดทนต่อแดดฝน ความร้อน ความหนาว อดทนต่อความหิวกระหาย ต่อความเจ็บไข้ และคำเสียดสี ดุดา่ วา่ รา้ ย เปน็ ตน้ ๑๐) อวิโรธนะ คือ การวางตนเป็นหลักหนกั แน่นในธรรม ไมม่ ี ความเอนเอยี งหว่ันไหวเพราะถ้อยคำ ดี ร้าย หรอื การปฏบิ ตั ิ ไม่ให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากธรรม หรือการปฏิบัติ ไมผ่ ดิ พลาดคลาดเคลอ่ื นจากความถกู ต้องดงี าม ความสจุ รติ และยตุ ิธรรม หรือความเที่ยงธรรมนน่ั เอง สังคหวตั ถธุ รรม ๔ ประการ ได้แก่ ๑) ทาน การให้ความเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบง่ ปนั ๒) ปยิ ะวาจา การกล่าววาจาไพเราะออ่ นหวาน มสี าระประโยชน์ ๓) อตั ถจรยิ า การบำเพ็ญประโยชน์ ๔) สมานัตตา การประพฤติตน วางตนเสมอต้นเสมอปลาย จักรวรรดวิ ัตร ๑๒ คือ ธรรมะ อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิพระราชาเอกในโลก ทั้งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ ผปู้ กครองประชาชนทรงถอื และอาศยั ธรรมะขอ้ นเ้ี ป็นธงชัยอนั มี ๑๒ ประการ คือ ๑) ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มี ความสุข ไมป่ ล่อยปละละเลย ๒) ควรผกู ไมตรีกบั ประเทศอน่ื ๓) ควรอนเุ คราะหพ์ ระราชวงศ์ ๔) ควรเกื้อกูลพราหมณ์และคฤหบดีชน คือ เกื้อกูล พราหมณแ์ ละผทู้ ี่อยู่ในเมือง การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 91
๕) ควรอนเุ คราะห์ประชาชนในชนบท ๖) ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศลี ๗) ควรจกั รักษาฝงู เนอ้ื นก และสัตวท์ ง้ั หลายมิให้สญู พนั ธุ์ ๘) ควรห้ามชนทัง้ หลายมิใหป้ ระพฤติผดิ ธรรม และชกั นำด้วย ตัวอยา่ งใหอ้ ยู่ในกศุ ลสุจรติ ๙) ควรเลยี้ งดูคนจน เพอ่ื มใิ ห้ประกอบการทจุ ริตกศุ ลและอกุศล ใหแ้ จง้ ชดั ๑๐) ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ้งชดั ๑๑) ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ท่ีพระมหากษัตริย์ไม่ควร เสด็จฯ ๑๒) ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภท่ีพระมหากษัตริย์ มคิ วรจะได้ หลักการดังกล่าวมาทั้ง ๑๔ ข้อ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติงานพัฒนา ตามแนวพระราชดำริ และเป็นพระราชจริยวัตร หากได้เรยี นรดู้ ้วยความเขา้ ใจ แลว้ ใช้ความฉลาดหรือไหวพรบิ มาปรบั ใชใ้ นการดำรงชีวติ หรอื การปฏบิ ตั ิงานใดๆ ยอ่ มทำใหบ้ คุ คลนนั้ พบแตค่ วามเจริญ และจะเปน็ รากฐานที่ดีของประเทศ ซึง่ เป็น การสนองพระราชดำริแนวทางหน่ึง 92 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระมหากรุณาธิคุณ ด้านการพัฒนาการศึกษา โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
พระมหากรุณาธิคุณ ด้านการพัฒนาการศึกษา โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ตลอดระยะเวลากว่า ๖๕ ปี ของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ วั ทรงสนพระราชหฤทัย ในการศึกษาของพสกนกิ รเป็นอยา่ งยง่ิ ทรงมี พระราชปณิธานที่จะให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ทรงเห็นว่าการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และต่อการพัฒนาประเทศ ดังกระแสพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ซึ่งได้พระราชทานไว้ ณ โอกาสต่างๆ ซง่ึ ขออัญเชญิ มาบางตอนดังนี้ “...การพัฒนาให้ประชาชนทั่วไป มีความอยู่ดีกินดี มีความมั่นคงด้วยการให้การศึกษา การศึกษาเป็นเครื่องมือ สำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ ให้เป็นทรัพยากร ทางปัญญาที่มีค่าของชาติ...” “...งานด้านการศึกษา เป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ของชาติเพราะความเจริญและความเสอ่ื มของชาตินนั้ ขน้ึ อยู่กบั การศึกษาของพลเมือง เป็นข้อใหญ่...” การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 95
ทรงสนับสนุนให้สร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารและด้อยโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณส่งเสริม เกื้อหนุนการศึกษาทกุ ระดบั ท้ังในระบบโรงเรยี น และการศกึ ษานอกระบบ ให้มี มาตรฐานสูงขึ้น พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการจัดตั้งโรงเรียนต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ ปี ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ได้พระราชทานทรพั ย์สว่ นพระองค์ แกก่ องกำกบั การตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๕ จังหวดั เชยี งใหม่ เพือ่ สนบั สนุน การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนชาวเขาและเยาวชนในชนบทห่างไกล และ พระราชทานนามโรงเรยี นวา่ “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอปุ ถมั ภ์” ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง มีพระมหากรุณาธิคุณสนับสนุนโครงการจัดตั้ง “โรงเรียนร่มเกล้า” สำหรับ เยาวชนไทยในท้องถิ่นชนบทห่างไกลที่จังหวัดนครพนม ภายหลังได้มีโรงเรียน ร่มเกล้าอีกเป็นจำนวนมากท้ังในภาคเหนอื ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และทรงสนับสนนุ ให้จัดตง้ั “โรงเรียนราชประชาสมาสัย” เพ่ือเปน็ สถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนที่เป็นบุตรธิดาของคนไข้โรคเรื้อน ซึ่งมิได้ ตดิ โรคจากบิดามารดา พระราชทานทุนการศึกษาในทุกระดับ รวมถึงทุนอานันทมหิดล เพื่อวิทยาการระดับสูงในสาขาต่างๆ นอกจากนี้พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าพระราชทาน ทนุ การศกึ ษาและรางวัลต่างๆ ทุกระดับการศกึ ษา เช่น ทุนการศึกษาในมูลนิธิ ช่วยนักเรียนขาดแคลน ทุนการศึกษาแก่นักเรียนชาวเขา รางวัลแก่นักเรียนและ โรงเรียนดีเด่น ระดับประถมและมธั ยมศกึ ษาท้งั ประเทศ ทนุ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ประสบสาธารณภัย ทรงส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนิน 96 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
❝ ทรงมีพระราชดำริด้วยว่าราษฎรในชนบทโดยเฉพาะ ในท้องที่ทุรกันดารควรได้รับการศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนา คุณภาพชีวิตและยกระดับความเป็นอยู่ ให้สามารถอยู่ได้ โดยการ “พึ่งตนเอง” ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน ❞ กจิ การโรงเรยี นสำหรับเดก็ พิการทกุ ประเภท ทรงพระกรณุ าฟ้ืนฟูทนุ เลา่ เรียนหลวง และทรงก่อตั้งทุนภูมิพล และทุนอานันทมหิดล ส่งเยาวชนไปศึกษาวิทยาการ ระดับสูงสาขาต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น สาขาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และ โบราณคดี เปน็ ตน้ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู ัว ไดพ้ ระราชทานโครงการอนั เนอื่ งมาจาก พระราชดำริที่สำคัญแก่เยาวชน ได้แก่ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยทรงมีวัตถปุ ระสงค์ใหเ้ ปน็ หนังสอื ความรู้ทีเ่ หมาะแกเ่ ดก็ ในวยั ต่างๆ รวมทง้ั ผูใ้ หญก่ ส็ ามารถใชป้ ระโยชนไ์ ด้ พระราชทานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ นอกจากจะทรงพระกรุณาสนับสนุนการศึกษาในระบบโรงเรียนและ มหาวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมพี ระราชดำริ ด้วยว่าราษฎรในชนบทโดยเฉพาะในท้องที่ทุรกันดารควรได้รับการศึกษา เพ่ือให้สามารถพฒั นาคุณภาพชีวติ และยกระดับความเปน็ อยู่ ใหส้ ามารถอยไู่ ด้ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 97
❝ ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี “ตัวอย่างของความสำเร็จ” ในเรื่องการพึ่งตนเอง มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบท ได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้ และนำไปปฏิบัติได้เอง ❞ โดยการ“พงึ่ ตนเอง” ซง่ึ เป็นการพัฒนาแบบย่ังยนื โดยพระราชทานโครงการต่างๆ เพ่ือให้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถ่ิน ชนบทใหช้ ่วยตัวเองได้ เชน่ โครงการหลวงพัฒนาตน้ น้ำลำธาร โครงการพัฒนา ชาวเขา โครงการทดลองปลูกพืชผลไม้เมืองหนาว โครงการพัฒนาพื้นที่ดินพรุ ในภาคใต้ โครงการประมงพระราชทาน โครงการโรงเรยี นพระดาบส เป็นตน้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา... ตัวอย่างความสำเร็จ นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเนน้ ถงึ ความจำเป็น ทจ่ี ะต้องมี“ตัวอย่างของความสำเร็จ”ในเรอ่ื งการพงึ่ ตนเอง มพี ระราชประสงค์ ท่ีจะให้ราษฎรในชนบทได้มีโอกาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่างของความสำเร็จนี้และ นำไปปฏบิ ัตไิ ดเ้ อง ดังนั้น พระองค์จงึ พระราชทานศนู ยศ์ ึกษาการพัฒนาจำนวน ๖ ศนู ย์ กระจายอยใู่ นภาคต่างๆ ทงั้ ๔ ภาค ตามสภาพภมู ิศาสตรท์ ี่แตกตา่ งกนั เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาสรรพวิชา ค้นคว้า ทดลอง สาธิตและดูงานทั้งของ ส่วนราชการและประชาชน โดยทรงมุ่งหวังให้มาร่วมมือประสานกันช่วยเหลือ เกษตรกรทั้งหลายได้เพิ่มพูนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และได้รับบริการจากทาง ราชการ โดยประชาชนจะไดร้ บั บริการแบบเบ็ดเสร็จท่จี ุดเดียว โดยไม่ตอ้ งตดิ ต่อ ราชการแบบซับซ้อนดังที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างจัดไว้ให้ผู้เข้ามา ศึกษาดไู ด้ในลกั ษณะของ “พพิ ธิ ภณั ฑ์ธรรมชาติที่มีชวี ิต” แลว้ นำไปเป็นแนวทาง ประกอบอาชีพทเี่ หมาะสม 98 การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150