Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒”

เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒”

Description: เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒”

Keywords: เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒”

Search

Read the Text Version

การสมั มนาวิชาการเพื่อเตรยี มการจัดงานสัปดาหห์ อ้ งสมดุ ทว่ั ประเทศ ครงั้ ท่ี ๔๓ พุทธศักราช ๒๕๖๒   เรอ่ื ง “พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒” เพ่อื เฉลมิ พระเกยี รติในโอกาสพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดศี รีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจา้ อยหู่ วั วนั ศกุ ร์ท่ี ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ โรงแรมทเี คพาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร



การสมั มนาวิชาการ เพอ่ื เตรยี มการจัดงานสัปดาหห์ ้องสมดุ ท่ัวประเทศ คร้งั ที่ ๔๓ พุทธศักราช ๒๕๖๒ เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก พุทธศกั ราช ๒๕๖๒” เพ่อื เฉลมิ พระเกยี รติในโอกาสพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธบิ ดีศรสี ินทรมหาวชริ าลงกรณพระวชริ เกลา้ เจา้ อยู่หวั ณ โรงแรมทีเคพาเลซ ถนนแจ้งวฒั นะ กรงุ เทพมหานคร ๒๕๖๒

คาํ นํา เน่อื งในโอกาสพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก พทุ ธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นโบราณราชประเพณีสําคัญ เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศอย่างเป็น ทางการ เมื่อองค์พระประมุขพระองค์ใหม่ได้ทรงรับสมมติเป็นพระราชาธิบดี หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดินของประเทศ อย่างบริบูรณ์ โดยการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อ ทางศาสนา งานศิลปกรรม อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศที่งดงาม และเป็นการเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตรยิ ์ใหท้ รงพระเกียรตยิ ศอนั สูงสดุ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ จึงเห็นสมควรจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจําปี พุทธศักราช ๒๕๖๒ เร่ือง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยหัวข้อการสัมมนาวิชาการเพ่ือเตรียมการจัดงานสัปดาห์ ห้องสมุดท่ัวประเทศ คร้ังที่ ๔๓ พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ เรื่อง “พระราชพิธีบรม ราชาภิเษก พระบรมราชจักรีวงศ์” โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ “ความรู้ที่เก่ียวเน่ืองด้วย พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร “การจัดมหรสพสมโภช เนื่องในพระราช พิธีบรมราชาภิเษก” โดยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตลอดจนสาธิตการจัด นิทรรศการในหัวข้อ“รูปแบบวิธีการจัดนิทรรศการและการประชาสัมพันธ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” โดย นางสาววาสนา งามดวงใจ และ“แหล่งความรู้ และการออกแบบนิทรรศการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ซึ่ง ได้รับเกียรติจากวทิ ยากรผทู้ รงคุณวุฒิทีม่ ีความเชย่ี วชาญเฉพาะดา้ น สมาคมห้องสมุดฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการทุกท่าน จะได้รับความรู้และประสบการณ์ ในการนําไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การเผยแพร่ความรู้และประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาบริการและกิจกรรมของห้องสมุด เพื่อให้เกิดผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ท่ัวประเทศต่อไป ศาสตรเมธี สุวคนธ์ ศริ ิวงศว์ รวัฒน์ นายกสมาคมห้องสมดุ แห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์

สารบญั หน้า คํานาํ ๑ โครงการสัมมนาวิชาการเพือ่ เตรยี มการจดั งานสปั ดาห์ ๓ ห้องสมดุ ทว่ั ประเทศ คร้งั ท่ี ๔๓ พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๔ กาํ หนดการ ๒๐ พระบรมราชาภเิ ษกราชวงศจ์ กั รี ๒๓ บรรณานุกรม เร่ือง “พระบรมราชาภเิ ษก” ประวัตวิ ิทยากร

การสัมมนาวชิ าการเพือ่ เตรยี มการจดั งานสปั ดาห์หอ้ งสมุดทว่ั ประเทศ ครง้ั ท่ี ๔๓ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒ เร่อื ง “พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒” เพ่อื เฉลิมพระเกยี รติในโอกาสพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรรามาธิบดศี รสี ินทร มหาวชริ าลงกรณพระวชริ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั จัดโดย สมาคมหอ้ งสมุดแหง่ ประเทศไทยในพระราชปู ถมั ภ์ วนั ศกุ รท์ ่ี ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมทเี ค พาเลซ ถนนแจ้งวฒั นะ กรงุ เทพมหานคร หลกั การและเหตุผล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นโบราณราชประเพณีสําคัญด้วยพิธีการน้ีเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ อย่างเป็นทางการ เม่ือองค์พระประมุขพระองค์ใหม่ได้ทรงรับสมมติเป็นพระราชาธิบดีหรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ของประเทศอย่างบริบูรณ์ โดยการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีนี้แสดงให้เห็นถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเช่ือทางศาสนา งานศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศท่ี งดงาม และเป็นการเทดิ ทนู สถาบันพระมหากษตั ริย์ใหท้ รงพระเกยี รติยศอันสูงสุด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการจัดพระราชพิธีตามรูปแบบโบราณราชประเพณี ในแต่ละขั้นตอนของพระราชพิธี ประกอบดว้ ยพธิ กี รรม เครอ่ื งประกอบพระราชพิธี และสถานที่ตา่ ง ๆ ทีใ่ ชใ้ นการจดั พระราชพิธี ล้วนมคี วามหมายถึง ความเกยี่ วข้องสมั พนั ธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษตั รยิ ์กับคติความเชือ่ ทางศาสนาและวฒั นธรรมไทย เพอื่ เผยแพร่ความรู้เก่ียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ จึงจัดการประชุมเพื่อเตรียมงานสัปดาห์ห้องสมุดประจําปี ๒๕๖๒ เร่ือง “พระราชพิธี บรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนให้บรรณารักษ์ท่ัวประเทศ ได้รับทราบถึงพระราชพิธีอันสําคัญ และเป็นแนวทางในการจัดนิทรรศการสัปดาห์ห้องสมุดของห้องสมุดแต่ละแห่ง ทัว่ ประเทศไทย เพอื่ ร่วมเทดิ พระเกียรติและชืน่ ชมพระบารมตี ่อไป ผูร้ บั ผิดชอบ สมาคมหอ้ งสมดุ แห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ รปู แบบการจดั งาน การบรรยาย และ การจดั แสดงรูปแบบนทิ รรศการ ๑

วตั ถุประสงค์ ๑. เพ่ือเฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และแสดงความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวใน โอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒. เพ่ือเผยแพร่ความรู้และแนวทางการจัดนิทรรศการของห้องสมุดทั่วประเทศเร่ือง พระราชพิธีบรม ราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธบิ ดศี รีสินทร มหาวชริ าลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หวั ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะไดร้ ับ ผู้เขา้ สัมมนามีความรูค้ วามเขา้ ใจและได้แนวทางจดั นทิ รรศการห้องสมดุ ทวั่ ประเทศ เกยี่ วกบั พระราชพิธี บรมราชาภิเษก พระบรมราชจักรีวงศ์เพ่ือเฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดศี รีสินทร มหาวชริ าลงกรณพระวชริ เกลา้ เจ้าอยหู่ วั ระยะเวลาในการจดั ประชมุ วันศุกรท์ ่ี ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. สถานทป่ี ระชุม โรงแรมทีเค พาเลซ ถนนแจง้ วัฒนะ กรงุ เทพมหานคร กลมุ่ เปา้ หมาย ๑. ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ครบู รรณารักษ์ ผปู้ ฏบิ ัติงานและผูท้ ่เี ก่ียวข้องกับห้องสมดุ ๒. คณาจารย์ ขา้ ราชการ และบุคลากรในสถาบันการศกึ ษาและการวจิ ัยทางบรรณารกั ษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์ ๓. ผู้ปฏบิ ตั ิงานห้องสมุดและผสู้ นใจทั่วไป ค่าลงทะเบยี น คา่ ลงทะเบยี นรวมเอกสารการประชมุ อาหารว่าง และ อาหารกลางวัน ภายในวนั ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สมาชกิ สมาคมห้องสมดุ คนละ ๑,๒๕๐ บาท ไม่เปน็ สมาชกิ สมาคมหอ้ งสมดุ คนละ ๑,๔๕๐ บาท หลังวันท่ี ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สมาชกิ สมาคมห้องสมดุ คนละ ๑,๔๕๐ บาท ไมเ่ ป็นสมาชิกสมาคมหอ้ งสมดุ คนละ๑,๖๕๐ บาท ๒

กาํ หนดการ การสัมมนาวชิ าการเพอ่ื เตรยี มการจัดงานสัปดาหห์ ้องสมุดทั่วประเทศ ครงั้ ที่ ๔๓ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒ เร่อื งพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก พทุ ธศักราช ๒๕๖๒ เพือ่ เฉลมิ พระเกยี รติในโอกาสพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรรามาธิบดศี รสี ินทร มหาวชริ าลงกรณพระวชริ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั จดั โดย สมาคมหอ้ งสมุดแหง่ ประเทศไทยในพระราชปู ถมั ภ์ วันศุกรท์ ี่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ณ โรงแรมที เคพาเลซ ถนนแจง้ วัฒนะ กรงุ เทพมหานคร ๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. ****************** ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบยี น ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. พธิ ีเปิด โดย ศาสตรเมธี สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์ ๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕ น. นายกสมาคมหอ้ งสมดุ แหง่ ประเทศไทยฯ ๑๐.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. การบรรยายพเิ ศษ เร่อื ง พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก พระบรมราชจกั รีวงศ์ ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. โดย ศาสตราจารย์ (พเิ ศษ) ธงทอง จนั ทรางศุ ๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น. ผเู้ ช่ียวชาญดา้ นประวัตศิ าสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม ๑๔.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. พักรบั ประทานอาหารว่าง การบรรยาย เร่ือง “ความรทู้ ่ีเกีย่ วเน่อื งดว้ ยพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก” ๑๕.๐๐ - ๑๕.๑๕ น. (เชน่ เครอ่ื งราชกกุธภณั ฑ์ แหลง่ น้ําศักดส์ิ ทิ ธ์ิ พระปฐมบรมราชโองการ พระราชลญั จกร ฯลฯ) ๑๕.๑๕ -๑๖.๑๕ น. โดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร ๑๖.๑๕ - ๑๖.๓๐ น. คณะนิตศิ าสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย พักรับประทานอาหารกลางวัน การบรรยายพเิ ศษ เรือ่ ง “การจดั มหรสพสมโภช เนอ่ื งในงานพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก” โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงวฒั นธรรม การบรรยาย เรื่อง “รูปแบบ วธิ ีการจดั นิทรรศการ และการประชาสมั พันธ์ พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก” โดย นางสาววาสนา งามดวงใจ สํานกั หอสมุดแหง่ ชาติ พักรับประทานอาหารว่าง การบรรยาย เรือ่ ง “แหล่งความรู้ และการออกแบบนิทรรศการพระราชพธิ ีบรม ราชาภเิ ษก พทุ ธศักราช ๒๕๖๒” โดย นางสาวเพชรดา ฐติ ยิ าภรณ์ งานพิพธิ ภณั ฑ์และนิทรรศการ หอสมุดและคลังความรู้มหาวทิ ยาลยั มหิดล ถา่ ยรปู เป็นทีร่ ะลึก ๓

พระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก สจุ ติ ร สวุ ภาพ, รวบรวม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก (coronation) เป็นพระราชพิธีราชาภิเษกที่พระมหากษัตริย์ไทยได้รับ การสถาปนาอย่างเป็นทางการด้วยการถวายนํ้าอภิเษก โดยแบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีสําคัญคือ พระราชพิธี บรมราชาภเิ ษกและพระราชพิธเี ฉลมิ พระราชมณเฑียร พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมเนียมของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธซ่ึง ต้องย้อนกลับไปหลายศตวรรษโดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประกอบไปด้วย พระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษก พระราชพิธีถวายนํ้าอภิเษก พระราชพิธีถวายเคร่ืองราชกกุธภัณฑ์ และการสถาปนาพระราชินีและพระราชวงศ์ ส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นโดยเหล่าสมาชิกของราชวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากประกอบพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษกเสร็จสิ้นแล้ว พระมหากษัตริย์จะประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ไปประกาศพระองคเ์ ป็นพทุ ธมามกะและเสดจ็ ไปสักการะพระบรมอัฐขิ องสมเด็จพระบรมราชบูรพการี พระราชพิธีราชาภิเษก คือ พิธีทางการท่ีพระมหากษัตริย์และ/หรือคู่อภิเษกสมรส รับมอบพระราชอํานาจ ของพระมหากษัตริย์ ตามปกติแล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการสวมมงกุฎลงบนพระเศียรพร้อมด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ช้ินอ่ืน พิธีน้ียังอาจรวมไปถึงการกล่าวถ้อยคําปฏิญาณ การถวายความเคารพแก่ผู้ปกครองพระองค์ใหม่ของเหล่า อาณาประชาราษฎร์ และ/หรือการประกอบพิธีกรรมอันมีความสําคัญเชิงสัญลักษณ์ต่อความเป็นรัฐชาติ ตลอดช่วง ระยะเวลาท่ีผ่านมา พระราชพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ท่ัวโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยช้ีนําทางด้าน สังคม การเมือง และศาสนา จนมาถึงจุดที่พระราชพิธีราชาภิเษกของหลายประเทศถูกปรับเปล่ียนให้มีความเรียบ ง่ายมากขึ้น เหลือไว้เพียงพิธีกรรมท่ีสําคัญบางประการเช่น เช่น การเถลิงถวัลยราชสมบัติ (enthronement) การ เฉลิมพระราชอิสริยยศ (investiture) หรือการเข้ารับพร (benediction) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระราชพิธี ราชาภิเษกแบบดั่งเดิมยังคงได้รับการสืบทอดเอาไว้ในสหราชอาณาจักร ตองงา และประเทศในทวีปเอเชียอีกหลาย ประเทศ ซึ่งโดยท่ัวไปแล้ว พิธีราชาภิเษก ใช้หมายความถึงพิธีท่ีพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติอย่างเป็น ทางการ โดยไม่คํานงึ วา่ จะมีการสวมมงกุฎลงบนพระเศยี รหรือไมแ่ ต่อยา่ งใด นอกจากนี้ เพื่อเปน็ การผูกเอาสญั ลักษณข์ องรฐั เขา้ กบั พระมหากษัตริย์ บ่อยคร้ังที่พระราชพิธีราชาภิเษกจะมี พิธเี จมิ ด้วยนาํ้ มนั ศักดิ์สทิ ธิ์ หรือดว้ ยนํ้ามนต์ ซง่ึ ทใ่ี ดก็ตามทพ่ี บพธิ ีกรรมเช่นน้ี เช่นในสหราชอาณาจักรและตองงา จะ แสดงใหเ้ ห็นถึงความสําคญั อย่างยิง่ ของฝ่ายศาสนจักรโดยเปิดเผย ในขณะที่อีกหลายแห่งใช้พิธีการชําระล้าง การด่ืม เครื่องด่ืมศักดิ์สิทธิ์ หรือพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆ การนําศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีราชาภิเษกเช่นนี้ก็เพื่อ แสดงออกเชงิ สญั ลักษณถ์ ึงความเป็นเทวราชาที่พระมหากษัตริยไ์ ด้รับมอบมาจากพระเจ้า สื่อให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ ทางจิตวิญญาณท่ีมตี ่อศาสนาอันเกีย่ วขอ้ งกับความเปน็ รฐั ชาติ ๔

ประวตั ิ ตามโบราณราชประเพณีของไทย พระนามของผู้ได้รับการเลือกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ก็ยังคงใช้ ขานพระนามเดิม เป็นแต่เพ่ิมคําว่า “ซึ่งทรงสําเร็จราชการแผ่นดิน” ต่อท้ายพระนาม เคร่ืองยศบางอย่างก็ต้องลด เช่น เศวตฉัตร มีเพียง ๗ ชั้น มิใช่ ๙ ช้ัน คําสั่งของพระองค์ ก็ไม่เรียกว่าพระบรมราชโองการ จนกว่าจะได้ทรงรับ การบรมราชาภเิ ษก จึงถวายพระเกยี รติยศโดยสมบรู ณ์ พระราชพิธบี รมราชาภิเษกของไทย ปรากฏหลักฐานเป็นครั้ง แรกในประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหาย คือ พอ่ ขนุ บางกลางท่าว ให้เปน็ พอ่ ขุนศรีอินทราทติ ยค์ รองกรงุ สุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดการประกอบพระราชพิธี วา่ มขี ้นั ตอนอยา่ งใด จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เม่ือขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทํา พระราชพิธีน้ีอย่างสังเขป เม่ือ พ.ศ. ๒๓๒๕ ครั้งหนึ่งก่อนแล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถ่ีถ้วน ต้ังขึ้นเป็นตํารา แล้วทรงทํา บรมราชาภิเษกเต็มตําราอีกคร้ังหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ และได้ใช้เป็นแบบแผนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซ่ึงแต่ละรัชกาล ก็ได้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อย ให้เหมาะแก่กาลสมัย ท่ีสําคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นปราชญ์ในทางอักษรศาสตร์ และโบราณ ราชประเพณี ได้ทรงพระราชนิพนธ์คํากราบบังคมทูล ของพราหมณ์และราชบัณฑิต ขณะถวายเครื่องราชกกุธกัณฑ์ กบั พระราชดํารัสตอบเป็นภาษาบาลี และคาํ แปลเปน็ ภาษาไทย ทงั้ น้ี อาจวเิ คราะห์ไดว้ า่ พระราชพิธีนี้ มีคติที่มาจาก ลัทธิพราหมณ์ ผสมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนบทมนต์ต่างๆ ของพราหมณ์น้ัน นักวิชาการภาษาตะวันออก โบราณ วนิ จิ ฉยั วา่ เปน็ ภาษาทมฬิ โบราณ ส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ น้ัน สํานักพระราชวังได้ยึดถือการบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เป็นหลัก แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองท่ียังไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะเพ่ิงผ่านพ้น สงครามโลกคร้ังที่สอง และเพ่ือให้เหมาะสมกับการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย แบบราชาธิปไตยภายใต้ รฐั ธรรมนญู ด้วย พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (coronation of king mahavajioralongkorn A.D.2019) เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลย ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พร้อมท้ังเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้า เจา้ อยหู่ วั พระมหากษัตริยร์ ชั กาลที่ 10 แหง่ ราชวงศ์จักรีอย่างสมบรู ณต์ ามโบราณราชประเพณี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย พระราชพิธีเบ้ืองต้น ระหว่างวันที่ ๖-๒๓ เมษายน ๒๕๖๒ ต่อจากนั้นเป็นพระราชพิธีเบื้องกลาง และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซ่ึงประกอบด้ว๕ย การสกั การะสิ่งศักด์สิ ทิ ธกิ์ ่อนการพระราชพิธี และพระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีข้ันตอนคือพิธีสรงพระมุรธาภิเษก, พิธีถวายนํ้าอภิเษก ต่อด้วยพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ ๕

พระบรมวงศ์, การเสด็จพระราชดําเนินเลียบพระนครโดยร้ิวกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค และการเสด็จออก มหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล ระหว่างวันท่ี ๔-๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร และสุดท้ายคือพระราชพิธีเบื้องปลาย ซ่ึงเป็นการเสด็จพระราชดําเนินเลียบพระนครโดยริ้วกระบวน พยุหยาตราชลมารค ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีข้ึนในการพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระ กฐนิ วันท่ี ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒ ท้ังน้ีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นครั้งแรกในท่ีมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะเช่ือมสัญญาณการถา่ ยทอดสดจากโทรทศั น์รวมการเฉพาะกจิ แหง่ ประเทศไทย ริว้ ขบวน ร้ิวขบวนพระบรมราชอสิ ริยยศในพระราชพิธี ประกอบด้วย 3 ร้วิ ขบวน ดงั น้ี ริ้วขบวนท่ี ๑ อัญเชิญพระสุพรรณบัฏ พระราชลัญจกรประจํารัชกาล และดวงพระราชสมภพ จากวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ในวันท่ี ๓ พฤษภาคม โดยใช้กําลังพลท้ังหมด ๑๓๓ นาย ร้ิวขบวนที่ ๒ อญั เชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนินจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหย สรู ยพมิ าน มายงั วัดพระศรรี ัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก และถวายบังคมพระบรมอัฐิและ พระอัฐทิ ่ีปราสาทพระเทพบิดร ในวันที่ ๔ พฤษภาคม โดยใช้กําลงั พลท้ังหมด ๒๓๔ นาย ริ้วขบวนที่ ๓ เป็นร้ิวขบวนพยุหยาตราสถลมารค อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนิน เลยี บพระนคร วนั ท่ี ๕ พฤษภาคม โดยใช้กาํ ลังพลท้ังหมด ๑,๓๖๘ นาย โดยการฝึกซอ้ มร้ิวขบวนเร่ิมตั้งแตเ่ ดอื นกมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๖๒ โดยกรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกพื้นฐานลักษณะ ทหารในท่าต่างๆ ท่ีต้องใช้ในร้ิวขบวนท้ัง ๓ ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยท่ีจัดกําลังปฏิบัติในร้ิวขบวน และบวงสรวง กลองมโหระทึกทจ่ี ะใชใ้ นงานพระราชพธิ ี ในเดอื นมีนาคม เป็นการฝกึ ซอ้ มเสมอื นจรงิ รวมทุกเหลา่ ในพื้นท่กี รมทหาร มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ ๑๑ โดยพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ร่วมลงฝึกซ้อมรวม คร้ังแรกในวันท่ี ๒๘ มีนาคม และในเดือนเมษายนเป็นการฝึกซ้อมในพื้นท่ีจริง โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าร่วมการฝึกซอ้ มเป็นคร้งั แรกในวันที่ ๒๒ เมษายน และซอ้ มใหญ่ครงั้ สุดทา้ ยในวันที่ ๒๘ และ ๒๙ เมษายน ตราสญั ลักษณ์พระราชพธิ ี ในวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในคร้ังนี้ซ่ึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธี บรมราชาภเิ ษกด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานใน ครั้งนี้ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็น ตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคําว่า \"พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒\" ซึ่งสํานักงานปลัดสํานักนายก รัฐมนตรีจัดทําเข็มที่ระลึกข้ึนเพื่อจําหน่าย เพ่ือให้ประชาชนอัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๖

และรายได้จากการจําหน่ายเข็มท่ีระลึกท้ังหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราช กุศลตามพระราชอัธยาศยั ต่อไป การเตรยี มสถานท่ีและปรบั ปรุงภูมทิ ัศน์ วันท่ี ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ กิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม ถนนอัษฎางค์ และถนน บํารุงเมือง มีหน่วยพระราชทานจิตอาสา ประชาชนจิตอาสา เจ้าหน้าท่ีกรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ กรมราชทัณฑ์ สมาคมรุกขกรรมไทย และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกว่า ๔๐๐ คน ระดมอุปกรณ์ เคร่ืองมือ ไปตัดแต่งก่ิงก้าน และ ฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ ให้มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดกิ่งก้านต้นไม้ตามหลักรุกขกรรม เพ่ือให้ต้นไม้ริมคลองคูเมืองเดิมท้ัง ๒ ฝั่ง ตง้ั แต่หนา้ โรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปถึงสะพานช้างโรงสี พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษกอย่างเปน็ ทางการ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เวลาเช้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ ไปยังพระท่ีนั่ง อมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย แล้วเสด็จขึ้นพระท่ีนั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูป เทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีล จบแล้วเสด็จเข้าในหอพระสุราลัยพิมาน ทรงเศวตพัสตร์ ทรงสะพักขาวขลิบทอง พระมหาราชครูพิธี ศรีวิสุทธิคุณ กราบบังคมทูลเชิญเสด็จไปสู่มณฑปพระกระยาสนาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจาก หอพระสุราลัยพิมานเข้าไปยังพระท่ีน่ังไพศาลทักษิณ และเสด็จจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณไปยังชาลาพระที่น่ัง จักรพรรดิพมิ าน ทรงจดุ ธปู เงนิ เทียนทอง สังเวยเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือ ตั่งอทุ ุมพรราชอาสน์ แปรพระพกั ตรส์ ู่ทิศบรู พาเพอ่ื สรงพระมุรธาภเิ ษก จากนั้น เลขาธิการพระราชวัง เปิดพระครอบพระมุรธาภิเษก รัชกาลท่ี ๑ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวัก นํ้าข้ึนมาสรงพระนลาฏ เลขาธิการพระราชวัง ไขสหัสธารา เม่ือสรงสหัสธาราแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระอนุวงศ์ และพราหมณ์ ถวายน้ําพระพุทธมนต์ และนํ้าเทพมน๗ตร์ ตามลําดับ เสร็จแล้ว มหาดเล็กสอดฉลองพระบาทถวาย และถวายฉลองพระองค์คลุม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ข้ึนหอพระสรุ าลัยพิมาน จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ เสด็จออกจากหอ พระสุราลัยพิมานเข้าพระท่ีนั่งไพศาลทักษิณ ประทับเหนือพระท่ีน่ังอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้ พระบวรเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่บูรพาทิศเป็นทิศแรก พันโท สมชาย กาญจนมณี ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ ๑ สําหรับทรงรับนํ้าอภิเษกประจําทิศโดยเวียนไปทางขวามือ และมี ข้าราชการประจําทิศกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายน้ําอภิเษก แล้ว พระมหาราชครูพิธี ศรวี ิสทุ ธคิ ุณทลู เกล้าฯ ถวายน้าํ เทพมนตรด์ ้วยพระครอบเฟือง (สมั ฤทธ)์ิ เสร็จแล้ว ทลู เกล้าฯ ถวายนํา้ เทพมนตร์ด้วย พระมหาสังข์ประจําทิศที่พระหัตถ์ทุกทิศ หลังถวายน้ําอภิเษก แล้วเมื่อประทับทิศบูรพาแทนทิศกลาง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายนํ้า อภิเษก แล้วพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณน้อมเกล้าฯ ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงรับและพระราชทานผู้เชิญ รับเชญิ ไว้ ๗

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับเหนือพระท่ีนั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณกล่าวเวทสรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาส จบแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายเคร่ืองประกอบ พระบรมราชอิสริยยศ มีพระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธยว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว\" ตามด้วยเบญจราชกกุธภัณฑ์ เคร่ืองบรมขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสงราชศัตราวุธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับแล้วทรงสวมและทรงวางบางองค์ไว้บนโต๊ะ ๒ ข้างพระท่ีน่ังภัทรบิฐ เมื่อถวาย พระธํามรงค์วิเชียรจินดาแล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณสอดฉลองพระบาทเชิงงอนถวาย เจ้าพนักงานเชิญ เคร่ืองขัตติยราชูปโภคมาทอดถวาย เสร็จแล้วพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายอนุษฏุภศิวมนตร์ และถวาย พระพรชัยมงคล จากนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั มพี ระปฐมบรมราชโองการและทรงหล่ังทักษิโณทกตั้งพระราช สัตยาธิษฐานในอันที่จะปฏิบัติตามพระปฐมบรมราชโองการ ต่อจากน้ันมีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จ พระราชินีสุทิดา ข้ึนเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จากนั้นทรงเล้ียงพระ และ สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวดั บวรนิเวศวิหาร ดับเทยี นชยั กรมทหารปนื ใหญท่ ่ี ๑ รักษาพระองค์ยงิ สลตุ เฉลิมพระเกยี รติ ขณะประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก เวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่น่ังอมรินทรวินิจฉัย โดยทรงฉลอง พระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระท่ีนั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ มีมหาดเล็กเชิญราชกกุธภัณฑ์อยู่ด้านหลัง โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราช กุมารี กราบบังคมทูลในนามพระบรมวงศานุวงศ์, พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลใน นามของประชาชน ทหาร และข้าราชการฝ่ายบริหาร, ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติ บัญญัติแห่งชาติ กราบบังคมทูลในนามของรัฐสภา และชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา กราบบังคมทูลในนามของ ข้าราชการตุลาการ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดํารัสตอบ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยร้ิวขบวนราบใหญ่ไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ประกาศพระองค์เป็น ศาสนปู ถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรรี ตั นศาสดาราม ถวายบังคมพระบรมรปู สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ปราสาทพระเทพบดิ ร ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สดับปกรณ์ ณ พระท่นี ั่งดสุ ิตมหาปราสาท ในเวลาคํ่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเฉลิมพระราชมณเฑียร เถลิงพระแท่นบรรจถรณ์ และประทับแรม ณ พระทนี่ งั่ จกั รพรรดพิ ิมาน เปน็ เวลาหนง่ึ คืน วนั ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ การเฉลิมพระยศในสมัยกรงุ รตั นโกสินทร์ § รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระวชริ เกลา้ เจ้าอยหู่ วั กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในการเสดจ็ พระราชดําเนนิ เลยี บพระนคร เวลาเช้าพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู ัวทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ เฉลมิ พระปรมาภไิ ธยพระบรมอัฐิ ๘

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชข้ึนเป็น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งเฉลิมพระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักด์ิพระบรมวงศ์ เล้ียงพระ เทศน์ ณ พระทนี่ ่งั อมรนิ ทรวินจิ ฉัย เวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตรา สถลมารค จากพระท่ีนั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราช วรวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในการน้ี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ โดยเสด็จในริ้วกระบวนด้วย ในฐานะรองผู้บัญชาการและนายทหาร พเิ ศษประจําหน่วยบญั ชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองคต์ ามลําดับ วนั ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พสกนิกรขณะรอเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่ง สุทไธสวรรยปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกติ ยิ าภาฯ, สมเดจ็ พระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟา้ สริ ิวณั ณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจา้ ฟ้าทปี ังกรรัศมีโชติฯ ณ สีหบัญชร พระท่ีน่ังสุทไธสวรรยปราสาท รับการถวายพระพรชัยมงคลจากพสกนิกร ชาวไทย นําโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรี ในนามประธานกรรมการอํานวยการจัดงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒ จากนั้นเสด็จออก ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่น่ังจักรีมหาปราสาท เพ่ือให้คณะ ทูตานุต ผู้แทนฝ่ายกงสุล และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล โดยมีฉ่ัวซ่ิว ซาน เอกอคั รราชทตู วิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ คณบดีคณะทูตกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพร ชัยมงคลในนามของผู้เฝ้าฯ ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเล้ียงคณะผู้มาเข้าเฝ้าฯ ดังกล่าว ณ พระท่ีนัง่ บรมราชสถิตยมโหฬาร มหรสพสมโภช มหรสพสมโภช เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นช่วงระหว่างวันท่ี ๒๒ – ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้ง ๗๗ จังหวัดท่ัวประเทศ โดยส่วนกลางจัดท่ีมณฑล พิธีท้องสนามหลวง ภายใต้การควบคุมโดยคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเน่ืองในโอกาส มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม จัดขึ้นโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน ภาครฐั เชน่ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และภาคเอกชน เวทีแบ่งเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย เวทีกลาง ณ ท้องสนามหลวงฝ่ังทิศใต้ ติดกับพระบรมมหาราชวัง แสดง ตลอด 7 วัน มีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงโขน ชุด พระบารมีม่ิงฟ้ารามาวตาร, การละเล่นของหลวง, มหา ดุริยางค์สากลรวมใจภักดิ์ ชุดทศมราชันขวัญหล้า (ดนตรีสากล), มหาดุริยางค์ไทยแห่งรัตนโกสินทร์ (ดนตรีไทย), มหกรรมลูกทุ่งไทยเทิดไท้องค์ราชา, การแสดงละครเพลงในสวนฝัน ผสานใจภักดิ์ ถวายองค์ราชัน นําแสดงโดย สนิ จยั เปลง่ พานชิ , ธนวรรธน์ วรรธนะภูต,ิ ราณี แคมเปน และธงไชย แมคอนิ ไตย์ กาํ กับการแสดงโดย สุประวตั ิ ๙

ปทั มสตู ศิลปนิ แห่งชาติ, การแสดงนาฏศลิ ป์ร่วมสมัยรวมใจภักดิ์ มหกรรมการแสดงนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ โดย มี ๑๐ ประเทศเข้าร่วมการแสดง ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟลิ ิปปนิ ส์ ประเทศเกาหลใี ต้ ประเทศอินเดีย และประเทศจีน และขบวน อัญเชญิ เครอื่ งราชสกั การะจาก ๔ ภมู ภิ าค มหกรรมกลองม่งิ มงคลและการแสดงพื้นบา้ น ๔ ภาค เฉลมิ พระเกยี รติ ส่วนเวทีย่อยมีจัดไว้ ๒ ฝั่ง คือเวทีย่อยฝั่งศาลฎีกา และเวทีย่อยฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีจัดแสดง การแสดงของไทย มีการแสดง เช่น นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก, โขนสด, กระตั้วแทงเสือ, มหกรรมเพลงพื้นบ้าน ประกอบดว้ ย ลําตดั เพลงฉอ่ ย อีแซว เพลงทรงเครอื่ ง, ละครชาตรี, การแสดงโขนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ ประสานมิตร, สถาบันคกึ ฤทธ,์ิ โรงเรยี นอาํ นวยวทิ ย์ เป็นต้น นอกจากนยี้ ังมกี าร แสดงหนังใหญจ่ ากวดั ขนอน, หนงั ตะลุง (ภาคใต้) และหุ่นสายเสมา เปน็ ต้น นอกจากนี้ ตลอด ๗ วัน มีการจัดแสดงแสง สี เสียง ม่านนํ้า ไฟประดับ ชุด \"แสงแห่งพระมหากรุณาธิคุณ ปกหล้า\" นําเสนอเรื่องราวความงดงามของแม่น้ําเจ้าพระยา สายนํ้าแห่งชีวิต และพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่แผ่ไพศาลไปยังพสกนิกรชาวไทยท่ัวประเทศให้มีความสงบสุข ร่มเย็น เป็น ฉัตรแก้วของปวงประชา ผ่านเทคนิคม่านน้ําและน้ําพุความยาวกว่า ๔๐ เมตร อีกทั้งมีกิจกรรมตลาดวัฒนธรรม สาธิตการทําอาหารและขนมไทย งานมหรสพสมโภชในคร้ังนี้มีผู้เข้าชมท้ังชาวไทยและชาวต่างประเทศ และชาว ต่างประเทศได้ให้ความสนใจกับเวทีย่อยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการแสดงพื้นบ้านท่ีหาชมได้ยาก โดยเฉพาะความ งดงามของหนุ่ กระบอก, หุ่นละครเลก็ , หนงั ใหญ่ เปน็ ตน้ พระราชพธิ เี บอ้ื งปลาย วนั ท่ี ๒๔ ตุลาคม เวลาเย็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดําเนินเลียบพระนครโดยกระบวน พยุหยาตราชลมารค ไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เพ่ือทรงบําเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ตาม โบราณราชประเพณีที่จะกระทําหลังวันออกพรรษา ๙ วัน โดยเป็นการเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนดังกล่าว เป็นครง้ั แรกในรัชกาล พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกในสมยั กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ระยะเวลาการครองราชยส์ มบตั ิ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๕ – ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ วนั ประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก ๑๐ มถิ นุ ายน พ.ศ.๒๓๒๕ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คร้ังที่ ๒ วันที่ ๑๗ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๓๒๘ อยา่ งครบถว้ นตามโบราณราช ประเพณี, มีการรวบรวมตําราแบบแผนการประกอบพระราชพธิ จี ากการประชมุ บรรดานักปราชญร์ าชบัณฑิต, สรา้ ง เครอื่ งเบญจราชกกธุ ภณั ฑข์ ึน้ ใหมท่ ดแทนของเดิมทสี่ ูญหายจากภัยสงคราม ๑๐

พระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก พุทธศักราช ๒๓๒๕ ครงั้ ที่ ๑ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ปราบจลาจลในกรุงธนบุรีเป็นท่ีเรียบร้อย พร้อมกับย้ายเมือง หลวงมายังฝงั่ ตะวนั ออกของแม่น้ําเจา้ พระยา และปราบดาภเิ ษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ มีพระปรมาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิ บดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาว ศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ฤทธิรา เมศวรมหนั ต์ บรมธรรมกิ ราชาธริ าชเดโชไชย พงศ์เทพาดเิ ทพนฤบดนิ ทร์ ภมู นิ ทรปรมาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิ์ รัตนม กฎุ ประเทศคตามหาพทุ ธางกรู บรมบพติ รพระพุทธเจา้ อยหู่ วั ในรัชกาลท่ี 3 ได้ถวายพระนามแผ่นดินสําหรับรัชกาลท่ี ๑ ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมารัชกาลที่ ๔ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระประโมรุราชามหาจักรกรีบรมนาถ นเรศรราชวิวัฒนวงษ ประถมพงศาธิ ราชรามาธบิ ดินทรพชิ ติ นิ ทรวโรดม บรมบพติ ร พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกย์ พระราชพิธีคร้ังน้ันเรียกว่า พระราชพิธีราชาภิเษก นับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในสมัย รตั นโกสนิ ทร์ หากแต่เป็นการราชาภเิ ษกอยา่ งสงั เขป กลา่ วคือประกอบพระราชพิธีแต่เพียงย่นย่อเท่านั้น ทั้งน้ี ก็ด้วย เหตุการณ์บ้านเมอื งยังไมเ่ ปน็ ปกตดิ ี อกี ทัง้ ยงั ขาดตาํ ราราชาภิเษกสาํ หรบั ใช้เป็นค่มู ือด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงประดิษฐานพระราชวงศ์เนื่องต่อจากการพระราชพิธี ราชาภเิ ษกน้ันด้วย ทรงสถาปนาพระญาตวิ งศข์ องพระองคเ์ ป็นพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ด้วยกัน พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก คร้งั ท่ี ๒ ในพทุ ธศกั ราช ๒๓๒๘ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างสังเขปไปแล้วน้ัน ก็ ทรงโปรดให้สร้างพระนคร พระราชมณเฑียร พระมหาปราสาท และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว นอกจากนี้ ยังโปรดให้ขุนนางซ่ึงเคยเป็นข้าราชการแต่ครั้งกรุงเก่าประชุมหารือกันเก่ียวแก่การราชาภิเษก จนได้เป็น ตําราราชาภิเษกคร้ังกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี พุทธศกั ราช ๒๓๒๘ ๑๑

การพระราชพิธีราชาภิเษกคร้ังนั้นจัดขึ้นท่ีพระท่ีนั่งอมรินทราภิเษกปราสาท ซ่ึงเป็นพระมหาปราสาทสําคัญ ได้แบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในกรุงศรีอยุธยา พระท่ีนั่งหลังน้ีต่อมาเกิดไฟไหม้ใหญ่ต้องรื้อถอนออก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้สร้างพระมหาปราสาทองค์ใหม่ข้ึนตรงบริเวณเดิม เม่ือสร้างเสร็จ พระราชทานนามว่า พระทีน่ ่งั ดุสติ มหาปราสาท เมอ่ื เสรจ็ สิน้ การพระราชพิธรี าชาภเิ ษกแลว้ ทรงจดั การสมโภชพระนครต่อเนื่องกันไปพร้อมกับพระราชทาน นามพระนครใหม่นีว้ ่า กรงุ เทพมหานคร บวรรตั นโกสินทร์ มหนิ ทรายธุ ยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานบี รู รี มย์ อุดม ราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธ์ิ (ต่อมาเปล่ียนคํา บวร เป็น อมร ใน รัชกาลที่ ๔) พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั ระยะเวลาการครองราชสมบัติ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ – ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ วนั ประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก ๑๗ กนั ยายน พ.ศ.๒๓๕๒ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ทรงรับพระราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ คร้ัง น้ันไดป้ ระกอบพระราชพธิ รี าชาภิเษกขนึ้ เปน็ ครัง้ ท่ี ๓ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็น ทีต่ ัง้ พระบรมศพของรชั กาลที่ ๑ สถานทที่ ่ีใช้ประกอบพระราชพิธีจงึ อยใู่ นแตห่ มู่พระมหามณเฑียรเทา่ น้ัน ซึ่งถือเป็น แบบแผนตอ่ มาจนปัจจุบนั ครั้งน้ันมีพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏเหมือนกันกับรัชกาลก่อน ในรัชกาลที่ ๓ ได้ถวาย พระนามแผ่นดินสําหรับรัชกาลที่ ๒ ว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาไลย ต่อมารัชกาลที่ ๔ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชฐมเหศวรสุนทร ไตรเสวตคชาดิศรสวามินทร์สยามรัษฏินทรวโรดม บรม จกั รพรรดริ าช พลิ าศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพทุ ธเลิศหล้านภาไลย ๑๒

พระบาทสมเด็จพระนง่ั เกลา้ เจา้ อยู่หวั ระยะเวลาการครองราชยส์ มบัติ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ – ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๔ วนั ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก 1 สงิ หาคม พ.ศ. 2367 ทรงประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษกครบถว้ น ตามโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี ๓ ทรงรับพระราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ การ พระราชพิธีราชาภิเษกมิได้มีเปล่ียนแปลงไปจากรัชกาลก่อนแต่อย่างใด พระปรมาภิไธยตามท่ีจารึกในพระ สพุ รรณบฏั ก็เหมอื นกันกบั รัชกาลก่อน ในรชั กาลท่ี ๔ ไดเ้ ฉลมิ พระปรมาภิไธยถวายรัชกาลท่ี ๓ ว่า พระบาทสมเด็จ พระประมาทิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรสยามินทร์วโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระน่ังเกล้า เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัว ระยะเวลาการครองราชยส์ มบตั ิ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๔ – ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑ วันประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๔ ทรงประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภิเษกครบถ้วน ตามโบราณราชประเพณี โดยมีการเพิ่มเติมการใชภ้ าษามคธในบางขน้ั ตอนของพระราชพธิ ี, โปรดเกลา้ ฯ ใหช้ าว ต่างประเทศเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชยั มงคลในพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษกไดเ้ ปน็ ครงั้ แรก     ๑๓

พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวรชั กาลที่ ๔ ทรงรบั พระราชสมบัตสิ ืบตอ่ จากสมเดจ็ พระบรมเชษฐาธริ าช การ พระราชพิธคี รั้งนนั้ เรียกว่า พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก เป็นครั้งแรก เนอื่ งจากในรชั กาลที่ 4 มีการราชาภเิ ษก พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวถงึ ๒ พระองค์ พระองคใ์ หญค่ ือพระบาทสมเด็จจอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั เรยี กว่า บรมราชาภเิ ษก ส่วนพระองคร์ องคอื พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หวั เรยี กว่า บวรราชาภเิ ษก การพระราชพิธบี รมราชาภิเษกในรชั กาลที่ ๔ มคี วามเปลี่ยนแปลงสําคญั หลายประการ อาทิ การกาํ หนด เครื่องราชูปโภคท่ีใชใ้ นการประกอบพระราชพิธีหมวดตา่ งๆ ทีน่ า่ สนใจเปน็ พิเศษคือพระปรมาภิไธยตามทจ่ี ารกึ ใน พระสพุ รรณบัฏ รัชกาลที่ ๔ ไมม่ พี ระราชประสงคใ์ ชพ้ ระปรมาภิไธยตามธรรมเนยี มเกา่ ซึ่งใชพ้ ระปรมาภิไธย เหมอื นกนั ทกุ พระองค์ ทรงวางระเบียบใหแ้ ตล่ ะรัชกาลมีพระปรมาภไิ ธยตา่ งกัน สําหรบั พระองค์เองมีพระปรมาภไิ ธยในพระสพุ รรณบัฏวา่ พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหามงกฎุ สทุ ธสิ มุตเิ ทพยพงษวงศาดศิ รกระษัตริย์ วรขตั ิยราชนกิ โรดม จาตรุ นั ตบรมมหาจกั รพรรดิราชสงั กาศ อุภโตสุชาติสงั สุทธ เคราะหณี จักรบี รมนาถ อดศิ วราชรามวรังกรู สุจรติ มลู สสุ าทิตอุกฤษฐวบิ ูลย บรุ พาดูลยกฤษฎาภินหิ าร สุภาธิการ รงั สฤษดธิ ัญญลกั ษณ วจิ ิตรโสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประนต บาทบงกชยคุ ล ประสิทธสิ รรพศุภผลอุดม บรมศุขุมาลยม์ หาบุรษุ ยรตั น ศกึ ษาพพิ ฒั นสรรพโกศล สวุ สิ ทุ ธวิ มิ ลศุภศลี สมาจารยเ์ พช็ รญาณประภาไพโรจน์ อเนก โกฏิสาธุคุณวบิ ุลยสนั ดาน ทพิ ยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดลุ ยพเิ ศษ สรรพเทเวศรานุรกั ษ์เอกอรรคมหาบุรศุ ย์ สุตพุทธมหากระวี ตรปี ิฎกาทิโกศล วิมลปรชี ามหาอุดมบัณฑิตย์ สนุ ทรวจิ ิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหนั ตวรฤทธิเดช สรรพวิเสศสริ นิ ธร มหาชนนกิ รสโมสรสมมตุ ิ ประสทิ ธวิ รยศมโหดมบรม ราชสมบตั ิ นพปดลเศวตฉัตร ศริ ริ ัตโนปลกั ษณมหาบรมราชาภิเสกาภสิ ติ สรรพทศทศิ วชิ ติ วิไชย สกลมหยั ศวริยมหา สวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาตอิ าชาวไสย พทุ ธาทิไตรรตั นสรณารกั ษ์ อุกฤษฐ ศักดอิ์ ัคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสตี ลหฤทยั อโนปไมยบญุ การ สกลไพศาลมหารัษฎาธเิ บนทรป์ รเมนทรธรรมมกิ มหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพติ ร พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว หากออกพระปรมาภิไธยอย่างย่อจะเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกฎุ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะสงั เกตวา่ พระปรมาภิไธยของรชั กาลที่ 4 ประกอบด้วยพระปรมาภไิ ธยท่มี าจากพระนามเดมิ (สมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ มงกฎุ ) พระคุณวิเศษตา่ งๆ และพระนามแผ่นดนิ ลกั ษณะดงั กล่าวเป็นแบบแผนทีใ่ ช้ตอ่ มาในรชั กาลตอ่ ไปในรชั กาลท่ี ๔ น้เี องทไี่ ดท้ รงบญั ญตั ใิ หม้ พี ระราชพิธฉี ตั รมงคลข้ึนในวนั คล้ายพระวันบรมราชาภิเษก เปน็ ทม่ี าของวันฉัตรมงคล พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั ระยะเวลาการครองราชยส์ มบตั ิ ๑ ตลุ าคม พ.ศ.๒๔๑๑ – ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ วันประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๑๑ ทรงประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภิเษกครง้ั แรก โดยมสี มเดจ็ เจา้ พระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศเ์ ปน็ ผสู้ าํ เร็จราชการแผน่ ดนิ แทนพระองค์ ต่อมาทรงประกอบพระ ราชพิธบี รมราชาภิเษกคร้ังทสี่ อง วนั ที่ ๑๖ พฤศจกิ ายน พ.ศ.๒๔๑๖ เนอ่ื งจากทรงบรรลุพระราชนติ ิภาวะ, สมเด็จ เจา้ พระยาบรมมหาศรสี ุรยิ วงศ์พน้ จากหน้าทีผ่ ูส้ าํ เรจ็ ราชการแผน่ ดินแทนพระองค์ ๑๔

พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั รัชกาลท่ี ๕ ทรงรับพระราชสมบตั สิ ืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ครง้ั นน้ั ยังทรงพระเยาว์มพี ระชันษาเพยี ง ๑๕ ปี ไดท้ รงประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก และเฉลมิ พระปรมาภไิ ธยวา่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจฬุ าลงกรณเกลา้ เจ้าอยูห่ วั จะเหน็ ว่า พระปรมาภไิ ธยของ พระองค์มีพระนามจุฬาลงกรณซ์ ้อนกันอยู่ (ตงั้ แต่รัชกาลท่ี ๕ เปน็ ตน้ ไปจะลงพระปรมาภไิ ธยอยา่ งสงั เขปไว้พอเห็น รายละเอยี ดสาํ คัญเท่านัน้ ) เมื่อพระบาทสมเดจ็ พระจฬุ าลงกรณ์เกลา้ เจา้ อย่หู วั ทรงมพี ระชนมายไุ ด้ ๒๐ พรรษา มพี ระราชดาํ รใิ ห้ ประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภิเษกใหมอ่ ีกครง้ั พรอ้ มกบั เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ดว้ ยวา่ พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาจฬุ าลงกรณ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัว พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยูห่ วั ระยะเวลาการครองราชยส์ มบตั ิ ๒๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๖ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๖๘ วันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภิเษกครัง้ แรก เฉพาะพธิ กี ารสาํ คญั ตามโบราณราชประเพณี งดการร่ืนเริงตา่ งๆ เนอ่ื งจากอยรู่ ะหวา่ งงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู วั ๑๕

ต่อมาทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษกครง้ั ทีส่ อง วนั ท่ี ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ อยา่ งครบถ้วนตาม โบราณราชประเพณี เพมิ่ เตมิ การรน่ื เรงิ ตา่ งๆ และมีการเชญิ พระราชอาคันตกุ ะจากนานาประเทศเขา้ ร่วมพระราช พิธี ในหมายกาํ หนดการเรียกพระราชพธิ บี รมราชาภิเษกครั้งนีว้ า่ \"พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษกสมโภช\" พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวรัชกาลท่ี ๖ ทรงรบั พระราชสมบัติสบื ต่อจากสมเดจ็ พระบรมชนกนาถ มี พระราชดาํ ริว่าการพระราชพิธบี รมราชาภิเษกสมควรทําเปน็ ๒ งาน งานแรกคือ พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก จดั ขนึ้ เพ่ือให้ทรงเป็นสมเดจ็ พระมหากษตั ริย์โดยสมบรู ณ์ งานน้เี ป็นงานทจ่ี ดั ขึ้นระหวา่ งทตี่ ั้งพระบรมศพพระเจ้าอยู่หวั รชั กาลก่อน สมควรท่ีจะงดการรนื่ เรงิ จงึ โปรดใหอ้ ีกงานหนึง่ คือ พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษกสมโภช สําหรับเปน็ การ รื่นเรงิ ประการหนงึ่ และสามารถเชิญบรรดาแขกต่างประเทศมารว่ มงานไดโ้ ดยเรียบรอ้ ย พระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก พ.ศ. ๒๔๕๓ จึงเปน็ พระราชบรมราชาภเิ ษกครั้งแรกในรัชกาล มกี ารเฉลมิ พระ ปรมาภไิ ธยในพระสพุ รรณบัฏว่า พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาวชริ าวุธ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยู่หัว พระบาท สมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั โปรดให้มีพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษกข้ึนอีกครงั้ หน่ึงในรัชกาล เรียกว่า พระราชพธิ ี บรมราชาภเิ ษกสมโภช ข้อนา่ สนใจของพระราชพิธดี ังกลา่ วคอื ทรงโปรดใหป้ ระกอบพระราชพธิ ีทพี่ ระท่นี งั่ ดสุ ติ มหา ปราสาท และทรงโปรดให้แขกตา่ งประเทศรว่ มในพระราชพิธี พร้อมทัง้ พระราชทานเลย้ี ง อนึง่ ในปีพทุ ธศกั ราช ๒๔๕๙ มปี ระกาศเฉลมิ พระปรมาภไิ ธยสมด็จพระมหากษัตริย์กรุงสยามใหม่ ใหอ้ อก พระนามขึน้ ต้นวา่ พระบาทสมเดจ็ พระรามาธบิ ดีศรีสินทร ทกุ พระองค์ ตัวอย่าง พระบาทสมเดจ็ พระรามาธบิ ดศี รีสิ นทรมหาวชริ าวุธ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยหู่ ัว และเรยี กแตโ่ ดยยอ่ วา่ พระบาทสมเด็จพระพระรามาธบิ ดีที่ ๑ – ๖ ส่วน ภาษาอังกฤษให้ใช้วา่ Rama ตามด้วยอักษรโรมนั แตป่ รากฏวา่ ในรัชกาลตอ่ มาไม่ได้ใช้ตามแบบแผนนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ระยะเวลาการครองราชยส์ มบัติ ๒๖ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๗๗ วันประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษก ๕ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ.๒๔๖๙ (ตามปฏทิ ินสากล) ๒๕ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ (ตามปฏิทินแบบไทยและราชกิจจานุเบกษา) ทรงประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษกครบถว้ นตามโบราณราชประเพณี, โปรดเกลา้ ฯ สถาปนาหมอ่ มเจ้าราํ ไพ ๑๖

พรรณสี วสั ดวิ ัตน์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรมราชินี, มีการบันทึกภาพยนตร์ขา่ วพระราชพธิ บี รม ราชาภิเษกไว้เปน็ หลักฐานครงั้ แรกของประเทศสยาม พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู ัวรชั กาลท่ี ๗ ทรงรับพระราชสมบตั สิ บื ตอ่ จากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพียงครั้งเดียว และเฉลิมพระปรมาภิไธยวา่ พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทร มหาประชาธปิ ก พระปกเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว คร้งั น้ันมกี ารสถาปนาสมเดจ็ พระบรมราชนิ ดี ว้ ย นับเปน็ ครัง้ แรกในสมัย รตั นโกสนิ ทรท์ มี่ ีการสถาปนาพระบรมราชนิ ีในพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษก เมอื่ รชั กาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบตั ิใน พ.ศ. ๒๓๗๗ คณะรฐั บาลไดท้ ลู เชญิ พระวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ อานนั ทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์รชั กาลท่ี ๘ สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวอานนั ทมหดิ ล ครงั้ นั้นยังทรงพระเยาว์จึงยังไม่ มกี ารพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมอื่ ทรงเจรญิ พระชนมแ์ ล้วกม็ เี หตุอนั เป็นทเ่ี ศร้าเสียใจของคนไทยท้ังชาติ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั รัชกาลท่ี ๙ ไดถ้ วายพระปรมาภิไธยและเศวตฉตั ร ๙ ชนั้ เปน็ พระบาทสมเดจ็ พระ ปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ล อดลุ ยเดชวิมลรามาธิบดี จกั รนี ฤบดนิ ทรสยามินทราธิราช พระมหากษตั รยิ แ์ ห่ง ประเทศไทย เมือ่ พ.ศ. ๒๔๘๙ และถวายพระปรมาภิไธยเตม็ ท่ตี ามธรรมเนียมโบราณเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกพระ นามอย่างยอ่ ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช ระยะเวลาการครองราชย์สมบตั ิ ๙ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๑๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วนั ประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษกครบถว้ นตามโบราณราชประเพณี โดยมีการเปลย่ี นแปลงถ้อยคําและลด ขัน้ ตอนบางอย่างในพธิ ีการใหเ้ หมาะสมกับการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใตร้ ัฐธรรมนูญ, โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเดจ็ พระราชินีสิรกิ ติ ิ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสริ ิกติ ิ์ พระบรมราชนิ ี ๑๗

เม่อื พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั รชั กาลที่ ๙ เสดจ็ นวิ ตั ปิ ระเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงประกอบพระราช พิธีบรมราชาภิเษกขนึ้ มีพระปรมาภิไธยตามทจี่ ารึกในพระสพุ รรณบัฏวา่ พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอ ดุลยเดช มหติ ลาธิเบศรรามาธบิ ดี จักรนี ฤบดินทรสยามนิ ทราธริ าช บรมนาถบพิตร ครง้ั นั้นมีการสถาปนาสมเด็จพระ บรมราชนิ ดี ว้ ย นับเป็นครง้ั ท่ี 2 ในสมัยรตั นโกสนิ ทร์ทม่ี ีการสถาปนาพระบรมราชนิ ีในพระราชพิธบี รมราชาภิเษก อนึ่ง จะเหน็ วา่ พระปรมาภไิ ธยของรชั กาลที่ ๘ และรัชกาลท่ี ๙ ไมม่ พี ระนามแผ่นดินเหมอื นรชั กาลกอ่ น ๆ พระบาทสมเดจ็ พระวชิรเกลา้ เจา้ อย่หู ัว ระยะเวลาการครองราชย์สมบตั ิ ๑๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปจั จุบนั วนั ประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทรงประกอบพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษกครบถว้ นตามโบราณราชประเพณี โปรดเกลา้ ฯ สถาปนา สมเดจ็ พระราชนิ ี สุทิดา ขน้ึ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพมิ ลลักษณ พระบรมราชนิ เี ปน็ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครัง้ แรก ท่มี ีการถ่ายทอดสดทางโทรทศั น์ ๑๘

พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั รัชกาลที่ ๑๐ ทรงรับพระราชสมบัติสืบตอ่ จากสมเด็จพระบรมชนกนาถเมอ่ื พ.ศ. ๒๕๕๙ แลว้ จงึ มกี ารพระราชพิธบี รมราชาภิเษกขนึ้ ใน พ.ศ. ๒๕๖๒ นับเป็นการพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกที่ จดั ขน้ึ ภายหลงั รับราชสมบัตทิ น่ี านทส่ี ดุ ถึง ๓ ปกี ว่า ท้งั นี้ กด็ ้วยพระราชพิธีบรมราชาภเิ ษกคร้ังนี้หา่ งจากคร้งั ก่อนถงึ ๖๙ ปี จําเปน็ ต้องมีการศกึ ษาทบทวน และซอ่ มแซมเครอ่ื งราชปู โภคและสถานท่ีต่าง ๆ ให้มีความพร้อมกอ่ น พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกนี้ดาํ เนนิ ตามอย่างการพระราชพธิ ีครง้ั ก่อน พระปรมาภิไธยตามทีจ่ ารึกในพระ สุพรรณบัฏได้ทรงนาํ แบบแผนการเฉลมิ พระปรมาภไิ ธยแต่เดิมมาใช้ ไดแ้ ก่ การผนวกแบบแผนของรชั กาลที่ ๔ และ รชั กาลท่ี ๖ เขา้ ไวด้ ้วยกนั จะเหน็ วา่ พระปรมาภิไธยข้ึนตน้ วา่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธบิ ดศี รีสนิ ทร คํา ปรเมนทร เปน็ แบบแผนในรชั กาลท่ี ๔ สว่ นคาํ รามาธบิ ดีศรสี ินทร เปน็ แบบแผนในรชั กาลที่ ๖ นอกจากน้ี ยงั มกี ารนาํ ธรรมเนียมการขนานพระนามแผ่นดินกลับอกี ครั้ง โดยรชั กาลนมี้ ีพระนามแผ่นดินวา่ พระวชิรเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ส่วนการสถาปนาสมเดจ็ พระบรมราชินีในพระราชพธิ พี ระบรมราชาภเิ ษกนบั เป็นครั้งท่ี ๓ ในสมยั รัตนโกสนิ ทร์ ครัง้ นีไ้ ดเ้ ฉลิมพระนามาภไิ ธยสมเดจ็ พระบรมราชนิ ใี หม้ ีสร้อยพระนามขึ้นเปน็ ครง้ั แรกด้วย ๑๙

บรรณานกุ รม เรื่อง “พระบรมราชาภเิ ษก” แผนกวชิ าการ สมาคมห้องสมดุ แหง่ ประเทศไทยฯ, รวบรวม กรมประชาสัมพนั ธ.์ (๒๕๖๒). การเตรียมพระราชพธิ ีพระบรมราชาภเิ ษก. สามารถเข้าถงึ ได้ที่ https://www.phralan.in.th/coronation/royalcoronation.php กรมประชาสมั พันธ์. (๒๕๖๒). พระราชพธิ พี ระบรมราชาภเิ ษก พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒. [วิดีโอ]. สามารถ เข้าถึงไดท้ ี่ https://www.phralan.in.th/coronation/vdo.php กรมศิลปากร. (๒๕๖๑). ประมวลบทความเนือ่ งในพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร. สามารถเขา้ ถงึ ได้ท่ี https://www.m-culture.go.th:15005/mocbackend 2561/ewt/adminli/ebook/B0116/index.html#p=2 กระทรวงวฒั นธรรม. (๒๕๖๐). พระราชพิธีบรมราชภเิ ษก. นครปฐม: รุง่ ศิลป์การพิมพ์. สามารถเขา้ ได้ ท่ี https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/final-THAI.pdf กระทรวงวฒั นธรรม. (๒๕๖๒). ประมวลองค์ความรพู้ ระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก. กรงุ เทพฯ: สาํ นกั งาน ปลัดกระทรวงวฒั นธรรม. สามารถเข้าถึงไดท้ ี่ https://www.m- culture.go.th/mculture_th60/download/pramuan_king.pdf คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอาํ นวยการจดั งานเฉลิมพระ เกยี รตใิ นมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๐. (๒๕๕๐).ประมวล ภาพประวตั ศิ าสตรไ์ ทยพระราชพิธบี รมราชาภเิ ษกสมยั รตั นโกสนิ ทร.์ กรงุ เทพฯ: กรม ศิลปากร. ฉวงี าม มาเจรญิ . (๒๕๔๖). นามานุกรมขนมประเพณไี ทย หมวดพระราชพธิ ี และรฐั พธิ .ี กรุงเทพฯ: สาํ นักงานวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร. ชาลี เอย่ี มกระสนิ ธ.์ุ (๒๕๒๐). ราชาภเิ ษก-อภเิ ษกสมรสสามสมยั . กรงุ เทพฯ: ประพันธ์สาส์น. ณัฎฐภทั ร จนั ทวชิ . (๒๕๔๒). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรงุ เทพฯ: โครงการสบื สานวฒั นธรรมไทย ดาํ รงราชานภุ าพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๕๕). พระราชพงศาวดาร รชั กาลที่ ๕. (พมิ พ์ครั้งที่ ๔). กรงุ เทพฯ: มตชิ น. ไทยพีบเี อส. (๒๕๖๒). ๔ พ.ค. ๖๒ พระราชพิธบี รมราชาภิเษก. [วิดีโอ]. สามารถเข้าถึงไดท้ ่ี https://www.youtube.com/watch?v=cm0Mb1Y6L-g ๒๐

ธีรพันธุ์ จันทรเ์ จรญิ . (๒๕๖๒). “ผา้ เขยี นทอง : พระภษู าทรงบรมราชาภเิ ษกพระมหากษตั รยิ ส์ ยาม” กรงุ เทพฯ: มตชิ น นนทพร อยมู่ ง่ั มี และ พสั วสี ริ ิ เปรมกลุ นันท์. (๒๕๖๒). เสวยราชสมบตั ิกษตั รา. กรุงเทพฯ: มติชน นนทพร อยมู่ ่ังมี. (๒๕๕๙). ความเปน็ มาของพระราชพิธบี รมราชาภิเษกสมยั กรงุ รัตนโกสินทร์ จาก อิทธพิ ลอนิ เดียถึงไทย. ศลิ ปวัฒนธรรม (ธ.ค. ๒๕๕๙) พระบรมราชาภิเษก ฉัฐราชมหาจักรวี งศ์. (๒๕๖๑). บรรณาธกิ าร เชื้อพร รงั ควร. กรงุ เทพฯ: มูลนธิ ิ พระบรมราชานสุ รณ์พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั . พระราชพิธบี รมราชภิเษก. (๒๕๓๓). รวบรวมและจดั ทําโดย งานประชาสมั พนั ธ์และเผยแพรส่ ํานัก พระราชวงั . กรุงเทพฯ: สํานักพระราชวงั . พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก. (๒๕๔๒). ภชุ งค์ จันทวชิ , บรรณธกิ าร. ณฏั ฐภทั ร จันทวิช, บรรณาธกิ าร รว่ ม. กรุงเทพฯ: คอมแพคทพ์ ร้นิ ท์. พลาดิศยั สิทธิธญั กจิ . (๒๕๕๔). ใต้รม่ พระบารมปี กเกล้าฯ พระราชดํารเิ พ่ือแผ่นดนิ . กรุงเทพฯ: สยาม ความร.ู้ รวมเรอื่ งแปลหนงั สือและเอกสารทางประวัตศิ าสตร์ ชุดที่ ๔. (๒๕๔๑). แปลโดย สมศรี เอยี่ มธรรม... และคนอนื่ ๆ. กรงุ เทพฯ: กรมศลิ ปากร. ศกุ ลรตั น์ ธาราศักดิ์ และ ปภัชกรร ศรบี ุญเรอื ง. (๒๕๖๒). พระราชพิธบี รมราชาภิเษกในเอกสาร ต่างประเทศ กรงุ เทพฯ: สาํ นกั วรรณกรรม และประวตั ิศาสตร์ กรมศลิ ปากร. สาํ นกั วรรณกรรม และประวัติศาสตร์. (๒๕๔๖). พระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก: ประวตั ิศาสตร์จารีต ประเพณจี ากพระราชนพิ นธ์ \"ยอพระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั รัชกาลท่ี ๒\". กรุงเทพฯ: สาํ นกั หอสมดุ แห่งชาต.ิ สทุ ธพิ ันธ์ ขทุ รานนท.์ ..และคนอน่ื ๆ. (๒๕๕๕). ปกณิ กคดีประวตั ศิ าสตรไ์ ทย เลม่ ๓. กรงุ เทพฯ: กรม ศลิ ปากร. ธีรพนั ธ์ุ จันทรเ์ จริญ. (๒๕๖๒). “ผ้าเขยี นทอง:พระภูษาทรงบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริยส์ ยาม” กรงุ เทพฯ: มติชน นนทพร อยมู่ ่งั มี และพัสวสี ิริ เปรมกุลนนั ท.์ (๒๕๖๒). เสวยราชสมบตั กิ ษัตรา. กรุงเทพฯ: มติชน ๒๑

นนทพร อยมู่ ่ังม.ี (๒๕๕๙). ความเป็นมาของพระราชพธิ ีบรมราชาภเิ ษกสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ จาก อิทธิพลอนิ เดยี ถึงไทย.ศิลปวัฒนธรรม (ธ.ค. ๒๕๕๙) พระบรมราชาภิเษก ฉัฐราชมหาจักรวี งศ.์ (๒๕๖๑). บรรณาธกิ าร เชือ้ พร รงั ควร. กรุงเทพฯ: มูลนธิ ิ พระบรมราชานสุ รณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยูห่ วั . พระราชพิธบี รมราชภิเษก. (๒๕๓๓). รวบรวมและจัดทาํ โดย งานประชาสัมพนั ธแ์ ละเผยแพร่สาํ นัก พระราชวงั . กรงุ เทพฯ: สํานักพระราชวัง. พระราชพิธบี รมราชาภเิ ษก. (๒๕๔๒). ภุชงค์ จันทวิช, บรรณธกิ าร. ณฏั ฐภทั ร จนั ทวชิ , บรรณาธกิ าร ร่วม. กรงุ เทพฯ: คอมแพคท์พรน้ิ ท.์ พลาดศิ ยั สิทธิธญั กิจ. (๒๕๕๔). ใตร้ ่มพระบารมปี กเกล้าฯ พระราชดาํ รเิ พ่ือแผ่นดนิ . กรุงเทพฯ: สยาม ความร.ู้ รวมเรอ่ื งแปลหนังสือและเอกสารทางประวัตศิ าสตร์ ชุดท่ี ๔. (๒๕๔๑). แปลโดย สมศรี เอ่ียมธรรม... และคนอ่ืนๆ. กรงุ เทพฯ: กรมศิลปากร. ศุกลรัตน์ ธาราศกั ดิ์ และ ปภชั กรร ศรบี ญุ เรือง.(๒๕๖๒).พระราชพธิ บี รมราชาภิเษกในเอกสาร ตา่ งประเทศกรุงเทพฯ: สํานักวรรณกรรม และประวตั ศิ าสตร์ กรมศลิ ปากร. สาํ นักวรรณกรรม และประวตั ศิ าสตร.์ (๒๕๔๖). พระราชพธิ บี รมราชาภิเษก: ประวตั ิศาสตร์จารตี ประเพณจี ากพระราชนพิ นธ์ \"ยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั รัชกาลที่ ๒\". กรงุ เทพฯ: สาํ นกั หอสมุดแหง่ ชาต.ิ สุทธิพันธ์ ขุทรานนท.์ ..และคนอนื่ ๆ. (๒๕๕๕).ปกณิ กคดีประวตั ศิ าสตรไ์ ทย เล่ม๓. กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร. ๒๒

ประวัติวิทยากร นายวรี ะ โรจน์พจนรัตน์ วุฒกิ ารศกึ ษา ระดบั ปรญิ ญาตรี -คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั -สาขารฐั ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ ระดับปริญญาโท -สาขาบรหิ ารรฐั กิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ประวัตกิ ารทาํ งานทสี่ ําคญั - อดีตรฐั มนตรวี ่าการกระทรวงวฒั นธรรม - ประธานกรรมการสง่ เสรมิ กจิ การฮัจย์แหง่ ประเทศไทย - กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเทีย่ วแห่งชาติ ในรฐั บาลพลเอกประยทุ ธ์ จนั ทรโ์ อชา - อดีตปลัดกระทรวงวฒั นธรรม - กรรมการในคณะกรรมการยทุ ธศาสตรด์ า้ นการพัฒนาจงั หวัดชายแดนภาคใต้ - กรรมการสภามหาวิทยาลยั ผู้ทรงคุณวฒุ ิ มหาวทิ ยาลยั พะเยา - ท่ปี รึกษานายกรัฐมนตรีฝา่ ยข้าราชการประจํา ตลุ าคม ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ - ปลดั กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๙ - กนั ยายน ๒๕๕๓ - รองปลัดกระทรวงวฒั นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ - รองอธบิ ดีกรมศลิ ปากร พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๖ - เลขานุการกรมศลิ ปากร พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๔๒ - ผูเ้ ชี่ยวชาญด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ (สถาปนกิ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๕ - สถาปนิก ๓ ประจาํ โครงการอทุ ยานประวัตศิ าสตร์สุโขทยั กรมศลิ ปากร ๒๕๒๑  รางวลั สถาปนิกดเี ดน่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม จากสมาคมสถาปนกิ สยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ปี ๒๕๕๑ ทีม่ า https://th.wikipedia.org/wiki/วีระ โรจน์พจนรัตน์ ๒๓

ศาสตราจารย์ (พเิ ศษ) ธงทอง จันทรางศุ วฒุ ิการศึกษา - นิติศาสตรบัณฑติ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ปรญิ ญาโททางกฎหมาย มหาวิทยาลัยนวิ ยอร์ก - เนติบณั ฑิต จากสาํ นกั ศกึ ษาและอบรมแห่งเนตบิ ณั ฑิตยสภา - นิตศิ าสตรมหาบณั ฑิต จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั - นิเทศศาสตรบัณฑติ มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช - หลกั สตู รวทิ ยาลยั ปอ้ งกันราชอาณาจักร (วปรอ.๔๓๑๓) ประสบการณก์ ารทาํ งาน -อาจารย์ ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ คณะนติ ิศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั -ผู้อํานวยการหอประวตั ิจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย- -รองคณบดฝี ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย - คณบดคี ณะนิติศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั - รองปลัดกระทรวงยุติธรรม - ปลดั สาํ นักนายกรฐั มนตรี - คณะกรรมการพฒั นาระบบราชการ สาํ นักงานคณะกรรมการพฒั นาระบบราชการ ด้านนิตศิ าสตร์ ผลงานทางวิชาการทส่ี ําคญั หรือทเี่ กีย่ วข้องกบั หัวข้อการบรรยาย/อภิปราย ถวายงานปฏิบัติราชการถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาทิการเสด็จพระราช ดําเนินตรวจการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ในโอกาสพระราชพิธีสมโภช กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ๒๐๐ ปี พทุ ธศักราช ๒๕๒๕ เป็นต้น ถวายงานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในหลายวาระ พร้อมกับดํารง ตาํ แหนง่ เป็นกรรมการผทู้ รงคณุ วุฒิของสภาสถาบนั บณั ฑิตศกึ ษาจุฬาภรณ์ เป็นตน้ ผู้เช่ียวชาญในด้านราชสํานัก พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้รับเชิญจากรัฐบาลในสมัยต่าง ๆ เข้ามารับหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการอํานวยการจัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ ตั้งแต่งานพระราชพิธีสมโภชกรุง รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน และรวมทั้งเป็นกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ และ กรรมการพเิ ศษท่ีเก่ียวเนอื่ งราชสํานกั พระมหากษตั ริย์ และพระบรมวงศานวุ งศ์ ทงั้ หนว่ ยงานภาครัฐ องค์กร เอกชน มลู นธิ ิ และหน่วยงานสาธารณกุศลตา่ ง ๆ หลายแหง่ ปัจจุบัน ดํารงตําแหน่งกรรมการท่ีเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ประธาน กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า ประธานอนุกรรมการเครือข่าย สถาบนั การศึกษาในรัชกาลที่ ๖ กรรมการมลู นธิ ิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยู่หวั ทีม่ า https://th.wikipedia.org/wiki/ธงทอง_จันทรางศุ ๒๔

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชชั พล ไชยพร วฒุ ิการศกึ ษา -นติ ิศาสตรบัณฑิต (เกียรตนิ ิยมอันดบั สอง) จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั -ศลิ ปศาสตรบณั ฑติ (สารสนเทศศาสตร)์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช -ศลิ ปศาสตรบณั ฑติ (ไทยคดศี ึกษา) มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช -Master of Comparative Law. Indiana University - Bloomington, -Master of Law. Indiana University - Bloomington, U.S.A. -Doctoานr ทofท่ี Jาํ uงrาidนi/cสaถlาSนcทieตี่ nดิ cตeอ่. University of Wisconsin, U.S.A. ประสบการณท์ ํางานทเ่ี ก่ียวข้องกบั หัวข้อการบรรยาย ๑. รองประธานกรรมการจดั พมิ พห์ นงั สอื เป็นพระบรมราชานสุ รณแ์ หง่ พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู ิ พลอดุลยเดช เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธีทรงบาํ เพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (๑๐๐วนั ) (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ปจั จบุ นั ) ๒. รองประธานกรรมการจัดงานวันอุกฤษ มงคลนาวิน คร้ังที่ ๑ และการจัดเสวนาทางวิชาการ เร่ือง พระ ราชอัจฉริยภาพด้านกฎหมายของพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช (พ.ศ. ๒๕๖๐) ๓. รองประธานกรรมการจัดพิมพ์หนังสือประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร (พ.ศ. ๒๕๖๐) ๔. อนุกรรมการจัดทําบทความสดดุ ีบคุ คลสาํ คญั (คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาต)ิ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ๕. ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการจัดทําเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการในหอไทยนิทัศน์ (สํานักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ) (พ.ศ. ๒๕๕๒) ๖. ท่ีปรึกษาคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเน่ืองในโอกาสมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๒ (กระทรวงยตุ ธิ รรม) (พ.ศ. ๒๕๕๒) ๗. กรรมการอํานวยการจัดงานฉลองพระชนมายุ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรตั นราชสดุ า สิริโสภาพัณณวดี ๒๔ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ๘. อนกุ รรมการวชิ าการพิพิธภณั ฑ์พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยู่หวั (พ.ศ. ๒๕๕๓– ปัจจุบัน) ๙. กรรมการโครงการเฉลิมพระเกยี รตสิ มเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเน่ืองในโอกาสทรง เจรญิ พระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (สถาบันพระปกเกล้า) (พ.ศ. ๒๕๕๓) ๑๐. อนุกรรมการกําหนดแนวทางและดําเนินกิจกรรมอันเน่ืองในรัชกาลท่ี ๖ (มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยูห่ ัว ในพระบรมราชปู ถัมภ)์ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ๑๑. อนุกรรมการจัดทําสารานุกรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยหู่ วั ในพระบรมราชปู ถัมภ)์ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ๑๒. อนุกรรมการกองบรรณาธิการวารสาร วชิราวุธานุสรณ์สาร (มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ในพระบรมราชปู ถัมภ์) (พ.ศ. ๒๕๕๔– ปจั จุบัน) ๑๓. กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (คณะกรรมการอํานวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จ พระเจา้ ภคินีเธอ เจ้าฟา้ เพชรรตั นราชสดุ า สิริโสภาพณั ณวด)ี (พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕) ๒๕

๑๔. กรรมการมลู นิธิเพชรรัตน-สุวัทนา (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ปจั จบุ นั ) ๑๕. ที่ปรึกษาการจัดทําหนังสือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุป นายิกาผู้อํานวยการสภากาชาดไทย ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ (สภากาชาดไทย) (พ.ศ. ๒๕๕๘) ๑๖. ท่ปี รกึ ษาคณะทาํ งานจดั ทําต้นฉบับและจดั พิมพห์ นังสือจดหมายเหตุพระราชพธิ ีสถาปนาสมเด็จพระอริ ยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก (สํานกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาต)ิ (พ.ศ. ๒๕๖๐) ๑๗. กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดลุ ยเดช (พ.ศ. ๒๕๖๐) ๑๘. อนุกรรมการสารัตถะงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช (คําส่ังคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช) (พ.ศ. ๒๕๖๐) ๑๙. กรรมการบรู ณะและพฒั นาวัดเขาไกรลาศ (สาํ นักงานเลขานุการสมเดจ็ พระสงั ฆราช) (พ.ศ. 2560) ๒๐. กรรมการกํากับโครงการวิจัยพระปกเกล้าศึกษาด้านเศรษฐกิจสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สถาบนั พระปกเกล้า) (พ.ศ. ๒๕๖๐) ๒๑. คณะทํางานดําเนินการออกแบบและติดตั้งวัตถุจัดแสดงในนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเจา้ ภคินีเธอเจ้าฟา้ เพชรรตั นราชสุดา สริ โิ สภาพัณณวดี (สาํ นักงานลกู เสือแห่งชาติ) (พ.ศ. ๒๕๖๑) ๒๖

นางสาววาสนา งามดวงใจ ตาํ แหน่ง บรรณารกั ษช์ าํ นาญการพิเศษ ผอู้ ํานวยการกลุ่มบริการทรพั ยากรสารสนเทศ สํานักหอสมุดแหง่ ชาติ วุฒิการศกึ ษา - ครุศาสตรบัณฑิต บรรณารกั ษศาสตร์ - การศกึ ษามหาบัณฑติ บรรณารักษศาสตร์ สถานทที่ ํางาน/ติดตอ่ กลุม่ บรกิ ารทรพั ยากรสารสนเทศ สํานักหอสมดุ แห่งชาติ ถ.สามเสน แขวงวชริ พยาบาล เขตดสุ ิต กรงุ เทพฯ ประวัตกิ ารทํางาน  บรรณารักษง์ านจดั หมวดหมูแ่ ละทําบัตรรายการ  หวั หนา้ กล่มุ งานวเิ คราะห์เนอ้ื หาและทาํ รายการหนงั สอื  หวั หน้ากลุ่มงานค้นควา้ และวจิ ัย  ผูอ้ ํานวยการกลมุ่ วิจัยและพฒั นาห้องสมดุ นางสาวเพชรดา ฐติ ยิ าภรณ์ ตําแหนง่ หวั หนา้ งานพิพิธภณั ฑแ์ ละนิทรรศการ (นักเอกสารสนเทศ) ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรมู้ หาวิทยาลยั มหิดล วุฒกิ ารศึกษา - ศิลปศาสตรบณั ฑิต (สาขาภาษาและวรรณคดอี งั กฤษ) มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ - ศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑิต (สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม) จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั สถานทท่ี าํ งาน/ตดิ ต่อ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑม์ หาวทิ ยาลัยมหิดล ๓๐๑ช้ัน ๓อาคารศนู ย์การเรียนรมู้ หดิ ล มหาวิทยาลยั มหิดล ๙๙๙ ถ.พทุ ธมณฑลสาย ๔ต.ศาลายา อ.พทุ ธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๗๑๐ โทร. ๐๒-๘๔๙-๔๕๔๑-๒, ๐๘๑-๘๓๘-๘๐๐๕ โทรสาร ๐๒-๘๔๙-๔๕๔๕ อเี มล: [email protected] Mahidol Libraries KM Blog :https://km.li.mahidol.ac.th/author/petchrada/ ๒๗