Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ศูนย์การเรียนรู้ระบบย่อยอาหาร

ศูนย์การเรียนรู้ระบบย่อยอาหาร

Published by James Thanakrit, 2023-06-12 10:49:27

Description: ศูนย์การเรียนรู้ระบบย่อยอาหาร (สุขศึกษา ม.4)

อาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ
อาจารย์นิสิตธนกฤต นวลขลิบ

Search

Read the Text Version

ระบบย่อยอาหาร Digestive system อาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ และอาจารย์นิสิตธนกฤต นวลขลิบ

ระบบย่อยอาหาร 1 Digestive system ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) อาหารที่คนเรานำเข้าสู่ร่างกายจะผ่านไปตามทาง เดินอาหารซึ่งยาวประมาณ 9 เมตร ทางเดินอาหารนี้ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมี โครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้ องค์ประกอบของระบบย่อยอาหาร ทั้งหมดนี้ใช้เวลา ประมาณ 16-24 ชั่วโมง อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร 1. ปากและโพรงปาก (Mouth and Mouth Cavity) ประกอบด้วย ขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง เพดานแข็ง เพดานแข็ง เพดานอ่อน ฟัน ลิ้น และต่อมน้ำลาย 1.1 ปาก (Mouth) เป็นอวัยวะส่วนแรกของระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่เป็นทางเข้าอาหาร ช่วยให้อาหารมีขนาดเล็กลง และสามารถเข้าสู่ทางเดินอาหารได้ง่าย 1.2 ฟัน (Teeth) แบ่งเป็น ฟันน้ำนมและฟันแท้ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร 1.3 ลิ้น (Tongue) บอกตำแหน่งอาหาร กลืนอาหาร เปล่งเสียง รับรสอาหาร และคลุกเคล้า อาหาร การรับรส ทำงานร่วมกับประสาทรับกลิ่น ปัจจุบันแผนที่รับรู้รสไม่ได้แยกกันตามความเชื่อแต่เดิมแล้ว บริเวณลิ้นสามารถรับรู้ รส ได้ 5 รสชาติ ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และอูมามิ ซึ่งเป็นรสของสารกลูตาเมต

ระบบย่อยอาหาร 2 Digestive system 1.4 ต่อมน้ำลาย (Salivary) ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์อะไมเลส น้ำ และเมือก ประกอบด้วย 3 คู่ คือ ใต้ลิ้น ใต้ขากรรไกร และข้างกกหู 2. คอหอย (Pharynx) อาหารถูกกลืนโดยลิ้นดันอาหารไปทางด้านหลังลงสู่ช่องคอ เมื่อ เริ่มกลืน เพดานอ่อน ยกขึ้นปิดช่องจมูก ฝาปิดกล่องเสียงจะปิดหลอดลม กล้ามเนื้อบริเวณ คอหอย หดตัวดันก้อนอาหาร เคลื่อนเข้าสู่หลอดอาหาร 3. หลอดอาหาร (Esophagus) ไม่มีต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย เมื่ออาหารผ่านลงสู่ หลอดอาหาร จะทำให้เกิดการหดตัวติดต่อกันเป็นลูกคลื่นของผนังกล้ามเนื้อหลอดอาหารซึ่ง เรียกว่า เพอริสทัลซิส ไล่ให้อาหารตกลงสู่กระเพาะอาหาร 4. กระเพาะอาหาร (Stomach) เป็นถุงกล้ามเนื้อที่ยืดขยายได้ดี แข็งแรงสามารถขยาย ความจุได้ 500-2,000 ลบซม. ผนังของกระเพาะมีลักษณะเป็นคลื่น เรียก รูกี (Rugae) มีต่อมสร้างน้ำย่อย 35 ล้านต่อม ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร เรียกว่า Gastic Juice มีกล้ามเนื้อหูรูดอยู่ 2 แห่ง คือ กล้ามเนื้อหูรูดที่ต่อกับหลอดอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูด ที่ต่อกับลำไส้เล็ก โดยกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ คาร์เดีย (Cardia) ฟันดัส (Fundus) ตัวกระเพาะ (Body) และไพลอรัส (Pylorus) เมื่อน้ำย่อยรวมตัวกับอาหารจน เหลวและเข้ากันดีคล้ายซุปข้น ๆ เรียกว่า ไคม์ (Chyme) จะถูกส่งเข้าสู่ลำไส้เล็กต่อไป องค์ประกอบของกระเพาะอาหาร หลักการทำงานของกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนแกสตริน กระตุ้นการหลั่ง -> เพปซิโนเจน และโพรเรนนิน กระเพาะอาหาร จะหลั่งกรดเกลือ ได้ เพปซิน และเรนนิน เพื่อไปย่อยโมเลกุลของโปรตีนให้มี ขนาดเล็กลง เพื่อส่งไปยังดูโอดีนัม 5. ลำไส้เล็ก (Small Intestine) มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 6-7 เมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ขดอยู่ในช่องท้อง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน 5.1 ดูโอดีนัม (Duodenum) ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีสารเคมีหลายชนิด เช่น Pancreatic Juice เป็นน้ำย่อยที่สร้างจากตับอ่อน น้ำดี สร้างจากตับ ช่วยให้ไขมันแตกตัวเป็นหยดไขมันขนาดเล็ก Intestinal Juice เป็นน้ำย่อยที่สร้างจากผนังลำไส้เล็ก มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นมากที่สุด 5.2 เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 2.5 เมตร เป็นส่วนที่ดูดซึมอาหารมากที่สุด 5.3 ไอเลียม (Ileum) ยาวประมาณ 4 เมตร ต่อกับลำไส้ใหญ่ มีขนาดเล็กและยาวที่สุด

ระบบย่อยอาหาร 3 Digestive system 6. ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) อาหารที่ย่อยไม่ได้หรือย่อยไม่หมดเรียก กากอาหาร รวมทั้งน้ำ วิตามิน และแร่ธาตุบางส่วนไม่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็ก จะเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ระหว่าง หูรูดที่กั้นระหว่าง ไอเลียมและลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ของคนยาวประมาณ 1.5 เมตร ประกอบด้วย ซีกัม (Caecum) โคลอน (Colon) และไส้ตรง (Rectum) ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ ดูดซึมน้ำและวิตามินบี 12 ที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่สร้างขึ้นและส่ง กากอาหารออกทางไส้ตรงต่อไป ส่วนซีกัม จะมีไส้ติ่ง (Appendix) ยื่นออกจากซีกัม ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร องค์ประกอบของลำไส้ใหญ่ Colon Caecum Appendix Rectum 7. ไส้ตรง (Rectum) เมื่อกากอาหารถูกส่งเข้าสู่ไส้ตรงซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของทางเดิน อาหาร ปฏิกิริยารีเฟ็กซ์กระตุ้นให้ขับอุจจาระออกจากร่างกาย อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหารแต่ไม่ใช่ทางเดินอาหาร ตับ (Liver) และถุงน้ำดี (Gallbladder) ตับ (Liver) ทำหน้าที่สร้างน้ำดีส่งให้ถุงเก็บน้ำดี ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นที่เก็บน้ำดีที่สร้างจากตับ น้ำดีมีสีเหลืองปนเขียวรสขม มีฤทธิ์ เป็นเบส ถุงน้ำดีทำหน้าที่สะสมน้ำดี ทำให้น้ำดีเข้มข้น และขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อน (Pancreas) ตับอ่อนมีรูปร่างคล้ายใบไม้ อยู่บริเวณส่วนใต้ของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ ดังนี้ อะไมเลส ย่อยคาร์โบไฮเดรต ทริปซิโนเจน ไคโมทริปซิโนเจน คาร์บอกซิเพปทิเดส ย่อยโปรตีน ไลเพส และน้ำดีที่ไม่ใช่น้ำย่อย ย่อยไขมัน สร้างโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบส เพื่อลดความเป็นกรดจาก กระเพาะอาหาร สารที่มีโมเลกุลใหญ่ถูกทำให้เป็น โมเลกุลเล็กสุดและถูกดูดซึมต่อไปดังนี้ คาร์โบไฮเดรต -> กลูโคส โปรตีน -> กรดอะมิโน ไขมัน -> กรดไขมันและกลีเซอรอล

ระบบย่อยอาหาร 4 Digestive system อวัยวะที่ดูดซึมอาหาร หมายถึง การที่สารอาหารถูกย่อยสลายจนมีโมเลกุลมีขนาดเล็กลง เช่น กลูโคส กรดอะ มิโน แล้วถูกส่งจากผนังทางเดินอาหารเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด เพื่อนำอาหารเหล่าน้ำ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนกรดไขมันและกลีเซอรอล จะดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ำ เหลืองฝอย การดูดซึมแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ตามอวัยวะทางเดินอาหารดังนี้ -> ปาก คอหอย หลอดอาหาร มีการดูดซึมน้อยมากจนไม่ถือว่ามีการดูดซึม ->กระเพาะอาหาร มีการดูดซึมน้อยมากเช่นกัน กระเพาะอาหารจะมีการดูดซึมสารที่ละลาย ใน ลิพิดได้ดี เช่น แอลกอฮอล์ และยาบางชนิด -> ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่มีการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ มากที่สุด ลำไส้เล็กมีการเพิ่ม พื้นที่ผิวโดยมีส่วนที่ยื่นขึ้นมาในท่อของลำไส้มีลักษณะคล้ายนิ้วมือประมาณ 4 – 5 ล้านอัน เรียกว่าวิลไล (Villi) ผิวด้านนอกของวิลไลยื่นออกไปเรียกว่า ไมโครวิลไล (Microvilli) เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมของลำไส้เล็กสูงมาก ลำไล้เล็ก ส่วนดูโอดีนัมดูดซึมสารอาหารและวิตามินเกือบทุกชนิด ส่วนเจจูนัมดูดซึมสารอาหารพวกไขมัน ส่วนไอเลียมดูดซึมวิตามินบี 12 และเกลือน้ำดี -> ลำไส้ใหญ่ ส่วนที่เหลือจากการย่อยและการดูดซึมของลำไส้เล็ก กากอาหารนี้จะถูก ลำไส้ ใหญ่ดูดน้ำ เกลือแร่ น้ำดี และสารอาหารจากกากอาหาร ถ้ามีเชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะ ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับสู่เลือด ไม่ได้ ทำให้เกิดโรคท้องเดิน/ อุจจาระร่วง ถ้ากากอาหารอยู่ในลำไส้ใหญ่นาน เกินไปจะถูกลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออก มามาก ทำให้เกิดโรคท้องผูก ที่มา : หนังสือแบบเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยอาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ

ระบบย่อยอาหาร 5 Digestive system ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร 1. ฟันผุ (Caries) สาเหตุมาจากเศษอาหารที่อุดค้างอยู่ตามซี่ฟัน โดยเฉพาะอาหารประเภท หวานจัด จะทำให้แบคทีเรียเจริญอย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาคือ จะผลิตกรดออกมาไปทำลาย ส่วนของ เคลือบฟัน (enamel) และ เนื้อฟัน (dentin) ทำให้รู้สึกปวดฟันได้ 2. โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) เกิดจากการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากไม่ดีพอ ทำให้ฟันโยกคลอนและหลุดร่วงได้ในที่สุด การแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เป็นวิธีที่สามารถป้องกัน การอักเสบของเหงือกได้ 3. การเกิดกรดไหลย้อน เมื่อรับประทานอาหารอิ่มมากเกินไป หรืออาจรับประทานอาหาร จำพวกไขมันมากเกินแล้วนอนในทันที ทำให้รู้สึกอึดอัด เรอ และรู้สึกร้อนวูบๆ อยู่ในช่องอก เป็นอาการเรียกว่า \"Heartburn\" สาเหตุเกิดจากกรดและน้ำย่อยของกระเพาะอาหารไหล ย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยๆ อาจนำไปสู่การเกิดแผล และเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งหลอดอาหารตามมาได้ 4. แผลในกระเพาะอาหาร การหลั่งเอนไซม์ pepsin และกรดเกลือ ในขณะที่ไม่มีอาหารอยู่ ในกระเพาะจะไปทำลายเนื้อเยื่อในกระเพาะ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้การมีกรดใน กระเพาะอาหารมากเกินปกติ มักมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับ ประทานอาหารเผ็ดจัด การทานยาแก้ปวดเมื่อท้องว่าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือ คาเฟอีน นอกจากนี้ สุขภาพจิตมีความสำคัญมาก เช่น การมีความเครียด วิตกกังวล ขาดการ พักผ่อน เป็นต้น ถือเป็นปัจจัยสำคัยเช่นเดียวกัน 5. โรคไส้เลื่อน (Hernia) หมายถึง ภาวะที่ลำไส้ (เล็ก) เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่อง ท้องที่ขาดความแข็งแรงหรือหย่อนผิดปกติ พบได้ที่บริวณต่างๆ เช่น ขาหนีบ ผนังหน้าท้อง สะดือ และส่วนน้อยที่จะพบที่บริเวณรอยแผลผ่าตัด เป็นต้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือ การเบ่งอุจจาระบ่อย ยกของหนัก ไอ เรื้อรัง เป็นต้น ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีต่อมลูกหมากโต ส่งผลให้มีแรงดันภายในช่องท้องมากขึ้น ทำให้เห็น เป็นก้อนตุงแบบเป็น ๆ หาย ๆ และก้อนจะมีลักษณะนุ่ม หยุ่น และไม่เจ็บ บางครั้งอาจ มีอาการอักเสบของลำไส้ และช่องท้องร่วมด้วย โดยทั่วไปแพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้อง และเย็บ ซ่อมตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา ที่มา : หนังสือแบบเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยอาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ

ระบบย่อยอาหาร 6 Digestive system ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร 6. โรคริดสีดวงทวาร (Hemorhoids) เกิดจากกลุ่มของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงใน บริเวณ ทวารหนัก ซึ่งปกติจะช่วยควบคุมการขับถ่าย โดยทำหน้าที่ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดการกระแทกขณะที่มีการเคลื่อนผ่านของกากอาหาร เมื่อมีการขยายตัวหรือการอักเสบจะ ทำให้เข้าสู่ภาวะที่เป็นโรคได้ เมื่อกลุ่มเลือดนี้โป่งดัน (หลอดเลือดบริเวณทวารหนัก) เข้าไปเป็นก้อนอยู่ภายในท่อ ทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงภายใน ผู้ที่เป็นริดสีดวงภายใน จะไม่รู้สึกเจ็บปวด แม้ว่าจะ มีเลือดไหลออกมาตรงส่วนไส้ตรงก็ตาม แต่หากก้อนของกลุ่มหลอดเลือดโป่งต่ำ และย้อนหลุดออกภายนอกทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงภายนอก ผู้ที่เป็นจะรู้สึกเจ็บมาก หากหลอดเลือดฉีกขาดอาจมีเลือดไหลตามมา กับอุจจาระขณะขับถ่ายได้ สาเหตุเกิดจากความดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้นจากภาวะต่าง ๆ เช่น ท้องผูกเป็นประจำ ต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระมากและบ่อย การตั้งครรภ์ การคลอดลูก หรือไอเรื้อรัง เป็นต้น คำแนะนำที่สามารถปฏิบัติได้ คือ การรับประทานอาหาร ประเภทผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้ เพียงพอ ทำให้ร่างกายมีปริมาณของเส้นใยอาหารเพิ่มขึ้นและไม่แข็งตัว มีการขับถ่าย เป็นประจำทุกวัน 7. ไส้ติ่งอักเสบ (Appendectomy) ไส้ติ่งเป็นถุงยื่นออกจากลำไส้ส่วนล่างของ Caecum ใกล้รอยต่อกับ ileum มีความยาวประมาณ 2-20 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 มม. อยู่บริเวณด้านล่างของผนังท้องด้านขวา หากมีการอักเสบเฉียบพลันแพทย์มักจะตัดทิ้ง เดิมเชื่อว่าใส้ติ่งไม่มีหน้าที่ที่สำคัญต่อร่างกาย และเมื่อมีอาหารหล่นเข้าไปทำให้เกิด การหมักหมมและเกิดการอักเสบได้ แต่ปัจจุบันเชื่อว่า ไส้ติ่ง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อลิมพอยด์ จึงมีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกายด้วย นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถนำส่วนไส้ติ่งไปแทนท่อปัสสาวะที่ถูกตัดทิ้งไปเพื่อเป็นทาง ผ่านของน้ำปัสสาวะได้ 8. ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เกิดจากน้ำย่อยภายในเซลล์ได้รับการกระตุ้นให้ย่อย ทำลายเซลล์ของตับอ่อนเอง มักเกิดขึ้นเมื่อดื่มเหล้าอย่างหนัก ทำให้มีอาการปวดท้องอย่าง รุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างรวดเร็ว สาเหตุอื่นเช่นเกิดจากก้อนนิ่วในถุงน้ำดีหลุดออกไปอุดตันท่อทางเดินน้ำดี ทำให้เกิด การล้นกลับของน้ำย่อยจากตับอ่อนไปทำลายเนื้อเยื่อของตับอ่อนเอง ที่มา : หนังสือแบบเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยอาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ

ระบบย่อยอาหาร 7 Digestive system การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญต่อร่างกาย เราจึงควรบำรุงรักษาให้สามารถทำงานได้ตามปกติ ดังนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ย่อยง่าย รสไม่จัด สะอาด ปรุงสดใหม่ เหมาะสมกับวัย 2. รับประทานอาหารให้เป็นเวลาทั้งเช้า กลางวัน เย็น เพื่อน้ำย่อยในระบบย่อยอาหาร ได้ทำงานตรงตามเวลาของมื้ออาหาร 3. รักษาความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันฟันผุและเป็นแผลในช่องปาก ดังนี้ 3.1 แปรงฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน หรือหาก เป็นไปได้ควรแปรงทุกครั้งหลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อย่างน้อย 30 นาที 3.2 รับประทานผักและผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือกและช่วยทำความสะอาดฟัน เช่น ฝรั่ง ชมพู่ เป็นต้น 3.3 หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่ผิดวิธี เช่น ใช้ฟันฉีกหรือกัดของแข็ง อาจทำให้ฟันบิ่นหรือ หักได้ 3.4 ควรไปพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพฟันและ ช่องปาก 4.ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ 5. พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป 6. ฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง อย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะจะ ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของโรคริดสีดวงทวารตามมาได้ 7. เมื่อเกิดปัญหากับระบบย่อยอาหารในร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดย ทันที ที่มา : หนังสือแบบเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยอาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ

ระบบย่อยอาหาร Digestive system อาจารย์นวรัตน์ ธัญญศิริ และอาจารย์นิสิตธนกฤต นวลขลิบ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook