Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือแรงงานไทยในไต้หวัน_ปรับปรุง 22 ก.พ. 66

คู่มือแรงงานไทยในไต้หวัน_ปรับปรุง 22 ก.พ. 66

Published by yoyoings, 2021-01-13 09:07:14

Description: คู่มือแรงงานไทยในไต้หวัน_ปรับปรุง 22 ก.พ. 66

Search

Read the Text Version

ค่มู ือแรงงานไทย ในไตห้ วนั จดั ทำ โดย สำนักงานแรงงานไทย ไทเป มกราคม 2564

2 สำนักงานแรงงานไทย ไทเป 泰國貿易經濟辦事處 〈勞工處〉 Thailand Trade and Economic Office (Labour Affairs Division) เลขท่ี 151 ชั้น 10 ถ.ซิ่นอ้ี ตอนที่ 3 กรุงไทเป (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าต้าอนั – Daan ทางออก 1) 10658 台北市信義路 3 段 151 號 10 F. 10 F., No. 151, Hsin-Yi Rd, Sec. 3, Taipei โทรศพั ท์ (02) 2701-1413 โทรสาร (02) 2701-1433 เวลาทำการ จนั ทร์ – ศกุ ร์ 09.00 – 17.00 น. (พักเทย่ี ง 12.00 – 13.30 น.) เฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/labourtaipei หรือพมิ พค์ ำวา่ “สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป” เวบ็ ไซต์ : https://taipei.mol.go.th/ กรณีที่ท่านไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ ขอให้เขียนข้อความส่งทางโทรสาร หรือเฟซบุ๊ก ซึ่งเปิดรับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยขอให้ระบุชื่อนามสกุล ข้อร้องเรียน ช่วงเวลาและ หมายเลขโทรศพั ท์ทจ่ี ะใหต้ ิดตอ่ กลับไป

3 สรปุ กฎระเบียบข้อบงั คับของทางการไตห้ วนั ท่ีสำคัญ 1) การตรวจโรค แรงงานต่างชาติที่เดินทางมาทำงานไต้หวัน ต้องเข้ารับการตรวจโรค ภายใน 3 วันนับแต่วันที่เดินทางถึง (ช่วงสถานการณ์โควิด-19 แรงงานต่างชาติที่เดินทางมาใหม่ ต้องเข้ารับการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ให้เข้ารับการตรวจโรคภายใน 3 วันหลังจากครบกำหนด กักตัว 14 วันแล้ว) จากนั้นต้องรับการตรวจโรคก่อนหรือหลัง 30 วันเม่ือทำงานครบ เดอื นที่ 6 เดือนท่ี 18 และเดือนที่ 30 ในโรงพยาบาลทก่ี ระทรวงสาธารณสขุ ไต้หวันระบุ (แรงงาน ต่างชาติที่จะเดินทางกลับมาทำงานในรอบใหม่ หากมีใบรับรองผ่านการตรวจโรคในไต้หวันและ ยังไม่หมดอายุ (มีอายุ 3 เดือน) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับการตรวจโรคที่ประเทศต้นทางและ คร้งั แรกในทไี่ ตห้ วนั ) 2) ขอใบถิ่นที่อยู่ นายจ้างต้องยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ให้แรงงานต่างชาติภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเดินทางเขา้ สูไ่ ตห้ วัน 3) ต่อสัญญาจ้าง แรงงานต่างชาติท่ีประสงค์จะต่อสัญญาจ้างในไต้หวัน นายจ้างต้อง ยืน่ เรื่องต่อกระทรวงแรงงานกอ่ นแรงงานตา่ งชาตทิ ำงานครบกำหนด 2 – 4 เดอื น โดยไม่ตอ้ งเดนิ ทาง กลบั ประเทศตน้ ทาง 4) เปลี่ยนนายจ้าง แรงงานต่างชาติต้องทำงานกับนายจ้างตามที่ระบุในสัญญาจ้าง เทา่ นนั้ จะเปล่ียนนายจา้ งและสถานทท่ี ำงานโดยไม่ไดร้ บั อนุญาตไม่ได้ 5) เสียชีวิต แรงงานต่างชาติที่ทำงานในตำแหน่งผู้อนุบาล หากผู้ป่วยเสียชีวิตนายจ้าง ตอ้ งทำเร่ืองขอโอนยา้ ยนายจ้างใหม่ภายใน 60 วัน 6) การเก็บเอกสารสำคัญ นายจ้างไม่มีสิทธ์ิยึด หรือครอบครองใบถิ่นที่อยู่ (ARC) หนงั สอื เดนิ ทาง หรอื ทรัพยส์ นิ ของแรงงานตา่ งชาติ 7) ขาดงาน หากแรงงานต่างชาติขาดงานต่อเนื่องกัน 3 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตและ นายจ้างไม่สามารถติดต่อได้ และ/หรือไปทำงานผดิ กฎหมายกับนายจ้างรายอื่น หากถูกตรวจพบ จะถูกลงโทษปรับเป็นเงินตั้งแต่ 30,000 – 150,000 TWD. และจะถูกเนรเทศออกนอกประเทศ โดยไม่มสี ิทธกิ์ ลบั มาทำงานท่ีไตห้ วันไดอ้ กี เปน็ ระยะเวลา 3 ปีข้ึนไป

4 8) คา่ บรกิ าร กฎหมายไต้หวนั อนญุ าตให้บรษิ ัทจัดหางานไต้หวันเรยี กเก็บเงินค่าบริการ ดูแลรายเดอื นจากแรงงานต่างชาตไิ ด้ ดังน้ี • ปที ่ี 1 เดอื นละไม่เกิน 1,800 TWD. • ปที ี่ 2 เดอื นละไม่เกิน 1,700 TWD. • ปีที่ 3 เดือนละไมเ่ กนิ 1,500 TWD. กรณีที่แรงงานต่างชาติได้รับการต่อสัญญาจ้างในไต้หวัน หรือกลับมาทำงานกับ นายจ้างรายเดิมในรอบที่ 2 ขึ้นไป จะเสียค่าบริการดูแลฯ เดือนละไม่เกิน 1,500 TWD. ตลอดระยะเวลาการจ้าง 9) เงนิ ภาษี 9.1) แรงงานต่างชาติท่ีพำนักในไตห้ วนั ไมค่ รบ 183 วนั ใน 1 ปีภาษี • มีรายไดต้ ลอดเดือนไมเ่ กนิ 1.5 เทา่ ของอตั ราค่าจา้ งขัน้ ตำ่ ต้องเสียภาษี ณ ท่จี า่ ย ในอัตรา 6% • มีรายได้ตลอดเดือนเกิน1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องเสียภาษี ณ ท่ีจา่ ย ในอตั รา 18% ตามกฎหมายในแต่ละเดือนจะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับชั่วโมงทำงาน ล่วงเวลา (โอที) 46 ชั่วโมง ส่วนที่เกินจาก 46 ชั่วโมง จึงจะนำไปรวมกับเงินเดือนพื้นฐานและ รายได้อน่ื ๆ ก่อน เพอ่ื คำนวณภาษเี งินได้ 9.2) สำหรับแรงงานต่างชาติที่พำนักครบ 183 วันใน 1 ปีภาษี รายได้ตลอดทั้งปี จะไดร้ บั การลดหย่อน 408,000 TWD. (อัตราค่าลดหย่อนประจำปี 2563) สว่ นทเี่ หลือหากไมเ่ กนิ 540,000 TWD. ตอ้ งเสยี ภาษใี นอตั รา 5%

5 สทิ ธิประโยชน์ทคี่ วรทราบ ค่าจา้ ง ปัจจุบันไต้หวันกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เดือนละ 24,000 TWD. หรือเท่ากับวันละ 800 TWD. หรือชั่วโมงละ 100 TWD. โดยนายจ้างสามารถนำเงินค่าจ้าง (ยกเว้นค่าโอที) แบ่งเป็น รายการตา่ งๆ ได้ เช่น เงนิ เดอื นพืน้ ฐาน เบย้ี ขยนั จำนวนช่ัวโมงทำงาน จำนวนชั่วโมงทำงานในวันปกติ จะต้องไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 40 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ หากมีการทำงานล่วงเวลาต้องไม่เกิน 54 ชั่วโมงใน 1 เดือน รวมสะสมใน 3 เดือน ไม่เกนิ 138 ชว่ั โมง วันหยดุ ประจำสปั ดาห์ ทำงานทุก 7 วัน จะมีวันหยุดประจะสัปดาห์ 2 วัน (ในจำนวนนี้ มี 1 วัน เป็นวันหยุด ประจำสัปดาห์ท่ที ำงานล่วงเวลาไม่ได้ อีก 1 วัน เปน็ วันหยดุ ประจำสปั ดาหท์ ี่ทำงานลว่ งเวลาได้) โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาใน 2 ชั่วโมงแรก ชั่วโมงละ 133 TWD. ชั่วโมงที่ 3 เปน็ ตน้ ไป ชั่วโมงละ 167 TWD. คา่ ทำงานลว่ งเวลาในวันปกติและวันหยุดราชการ ค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ ชั่วโมงที่ 1 – 2 จะได้รับชั่วโมงละ 133 TWD. (100 x 1.33) ชวั่ โมงที่ 3 – 4 จะไดร้ ับชั่วโมงละ 167 TWD. (100 x 1.67) ในวันหยุดราชการและวันหยดุ นักขตั ฤกษ์ จะไดร้ บั ค่าจา้ งเทา่ กับชั่วโมงทำงานปกติเพ่มิ ขึ้นอีก 1 เท่า หากทำงานทั้งวัน 8 ชั่วโมง จะได้รับค่าจ้าง 800 TWD. (100 x 8) การลางาน เง่ือนไข วันหยดุ พเิ ศษ การลาพกั ผอ่ นประจำปี (วนั หยดุ พิเศษ) ทำงานครบ 6 เดือน แตไ่ ม่ครบ 1 ปี ไดร้ ับวนั หยุดพกั พิเศษโดยมีค่าจ้าง 3 วนั ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 2 ปี ได้รับวันหยุดพักพิเศษ 7 วัน ทำงานครบ 2 ปี แตไ่ ม่ถงึ 3 ปี ไดร้ บั วนั หยุดพกั พิเศษ 10 วัน

6 เงื่อนไข วันหยดุ พิเศษ ทำงานครบ 3 ปี แตไ่ มถ่ งึ 5 ปี ไดร้ บั วันหยดุ พเิ ศษปลี ะ 14 วนั ทำงานครบ 5 ปขี ึน้ ไป ไมถ่ ึง 10 ปี ไดร้ บั วนั หยดุ พกั พิเศษปลี ะ 15 วัน ทำงานครบ 10 ปี ไดร้ บั วันหยดุ พักพิเศษปีละ 16 วนั ** หากอายกุ ารทำงานเพ่ิมข้นึ ทุก 1 ปี จะได้รบั วันหยดุ พิเศษเพิม่ ขึน้ อีก 1 วนั สงู สดุ ไม่เกิน 30 วนั การลากิจ มีสิทธิลาได้ไม่เกิน 30 วัน แต่ไม่ได้รับค่าจ้าง (ใน 1 ปี ใน 1 ปี รวมสะสมแลว้ ตอ้ งไม่เกนิ 14 วนั ) การลาปว่ ย มีสิทธิลาได้ไม่เกิน 30 วัน โดยได้รับค่าจ้างครึ่งหนึ่ง ใน 1 ปี (ใน 1 ปีรวมสะสมแล้วต้องไมเ่ กิน 14 วัน) คา่ เบย้ี ประกนั ภัยแรงงานและประกนั สขุ ภาพของแรงงานตา่ งชาติ (คำนวณจากอัตราคา่ จ้าง 24,000 TWD./เดือน) • เบีย้ ประกันภัยแรงงาน แรงงานรับผดิ ชอบ 504 TWD. นายจ้างรบั ผดิ ชอบ 1,764 TWD. • เบ้ยี ประกนั สุขภาพ แรงงานรบั ผดิ ชอบ 372 TWD. นายจา้ งรับผดิ ชอบ 1,176 TWD. การประกนั สขุ ภาพ ลูกจ้างทุกคนต้องเข้าเป็นสมาชิกและได้รับการคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลภายใต้ กฎหมายกองทุนประกันสขุ ภาพ (เจีย้ นเป่า) โดยมีเงอ่ื นไขดังน้ี กรณีผ้ปู ่วยนอก จะได้รับความคุม้ ครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากกองทนุ ฯ ในอัตรา 90% ส่วนที่เหลือ 10% ลูกจา้ งต้องรบั ผิดชอบจา่ ยเอง กรณีผูป้ ่วยใน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่ารักษาพยาบาลในอัตราเดียวกับ ผู้ป่วยนอก และหากผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาลคืนท่ี 4 เป็นต้นไป จะได้รบั เงนิ ช่วยเหลอื ชดเชยคา่ จ้างเพ่มิ อีกจำนวนหนึ่ง ผู้ป่วยต้องเป็นผู้จ่ายค่าลงทะเบียนด้วยตนเองทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา เป็นเงินครั้งละ 100 – 500 TWD. ไม่วา่ จะเป็นผ้ปู ่วยนอกหรือผปู้ ่วยใน นอกจากนี้กองทุนฯ จะไมค่ ุ้มครองค่ารักษา โรคบางประเภท เชน่ การติดยาเสพตดิ การแทง้ ลกู ทำฟันปลอม ตาเทยี ม เป็นตน้

7 การประกันภยั แรงงาน ลูกจ้างทุกคน (ยกเว้นลูกจ้างตำแหน่งผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน) จะต้องเข้าเป็นสมาชิก กองทนุ ประกันภัยแรงงานไต้หวัน (เหลาเปา่ ) โดยกองทนุ ฯ มเี งื่อนไขการจ่ายเงนิ ดงั น้ี กรณีเจ็บป่วย/ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างจะได้รับเงินค่าจ้างตามปกติ ในชว่ งระหว่างหยดุ งานรกั ษาตัว ส่วนเงนิ ทดแทนกรณีทพุ พลภาพจะข้นึ อยกู่ ับระเบียบการจา่ ยเงนิ ของกองทุนประกนั ภัยแรงงาน กรณเี จบ็ ปว่ ย/ประสบอนั ตรายนอกงาน ลกู จา้ งจะได้รับเงินค่าจา้ งคร่งึ หนึ่งของค่าจ้างราย เดือนในช่วงระหวา่ งหยดุ งานรักษาตัว ท้งั น้ีรวมท้ังปีตอ้ งไม่เกิน 30 วัน กรณเี สยี ชีวิต (ยกเว้นผูอ้ นบุ าลและผู้ช่วยงานบ้าน) 1) ลูกจ้างที่เสียชีวิตไม่ว่าจากการทำงานหรือนอกเวลาทำงาน ทายาทมีสิทธิได้รับเงินค่า จดั การศพเท่าทจ่ี ่ายจรงิ หรือไมเ่ กินจำนวน 5 เท่า ของเงนิ เดอื นทเ่ี อาประกัน 2) ลูกจ้างท่ีเข้าประกันก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 เสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงิน ทดแทนเป็นกอ้ นครั้งเดียว โดยมเี งื่อนไขการจ่ายเงิน ดงั นี้ • เสียชีวติ นอกเวลาทำงาน ทายาทจะได้รบั เงนิ ทดแทนตามอายุงานของลกู จ้าง ดังน้ี อายุงานไม่ถงึ 1 ปี ได้รบั จำนวน 10 เทา่ ของเงนิ เดอื นที่เอาประกนั อายงุ านเกิน 1 ปี แตไ่ มถ่ งึ 2 ปี ไดร้ บั 20 เทา่ ของเงนิ เดือนท่ีเอาประกนั อายุงานเกนิ 2 ปี ขน้ึ ไป ไดร้ บั จำนวน 30 เท่าของเงนิ เดอื นทเ่ี อาประกนั • เสียชีวิตจากการทำงาน ทายาทจะได้รับเงินทดแทนจำนวน 40 เท่าของเงินเดือน ทเ่ี อาประกนั ไมว่ ่าลูกจา้ งจะมอี ายงุ านนานเท่าใดกต็ าม 3) ลูกจ้างที่เข้าประกันหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เสียชีวิต กองทุนฯ จะจ่ายเงิน ทดแทนใหท้ ายาทเป็นรายเดือน ดังน้ี • เงินทดแทนรายเดือนในอัตรา 1.55% ของเงินเดือนท่ีเอาประกันโดยเฉลี่ย 1 ปี ตามอายุงานของลกู จา้ ง หากจำนวนเงินไมถ่ ึง 3,000 TWD. กองทุนฯ จะจา่ ยให้ 3,000 TWD. • หากลูกจ้างเสียชีวิตอันเนื่องจากการทำงาน นอกเหนือจากเงินทดแทนรายเดือน ทายาทจะได้รับเงินทดแทนเพิ่มอีก 10 เท่าของเงินเดือนที่เอาประกัน โดยกองทุนฯ จะจ่าย เป็นกอ้ นครงั้ เดยี ว

8 • หากทายาทที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรายเดือนในลำดับเดียวกันมีมากกว่า 1 คน กองทุนฯ จะจา่ ยเงนิ ทดแทนรายเดอื นเพ่มิ ขน้ึ ในอตั ราคนละ 25% สูงสดุ ไม่เกิน 50% • ทายาทจะได้รับเงินทดแทนรายเดือนไปจนตลอดชีพ (ยกเว้นกรณีท่ีทายาทเป็น คู่สมรสไปสมรสใหม่) ทั้งนี้กองทุนฯ จะหักค่าโอนเงินจากเงินท่ีจะโอนในแต่ละครั้งเป็นเงิน ประมาณ 300 TWD. การขอรับเงินสงเคราะห์กรณีทายาทสายเลือดตรงเสียชีวิต (บิดามารดา คู่สมรส และ บตุ ร) กองทุนฯ มเี งือ่ นไขการจ่ายเงิน ดงั นี้ บดิ ามารดาหรอื คู่สมรสเสียชีวติ ได้รบั 3 เดือนของเงินเดอื น บตุ รอายุ 12 ปีขึน้ ไปเสยี ชวี ติ ได้รบั 2 เดอื นของเงนิ เดือน บตุ รอายุไม่ถึง 12 ปีเสยี ชวี ติ ไดร้ ับ 1.5 เดอื นของเงนิ เดอื น โดยตอ้ งจดั เตรียมเอกสาร ดงั น้ี • แบบคำร้องขอรบั เงินของลูกจา้ งผู้ยน่ื ขอ • สำเนาหนังสอื เดนิ ทาง / ใบถน่ิ ที่อยู่ • ใบมรณะบัตร/ทะเบียนบ้าน/หลักฐานเอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ทางสายเลือด ของลูกจ้างผู้ยืน่ ขอและผู้เสียชีวิต (เช่น ทะเบยี นสมรส สตู บิ ตั ร เปน็ ตน้ ) ทัง้ นีเ้ อกสารจะต้องแปล เป็นภาษาอังกฤษและผา่ นการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงาน เศรษฐกจิ และวัฒนธรรม ไทเป ประจำประเทศไทย การร้องเรยี นกรณเี กิดข้อพิพาทหรือปัญหาแรงงาน ระหว่างทำงานในไต้หวัน หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างหรือสิทธิประโยชน์ด้าน แรงงาน แรงงานไทยสามารถร้องเรยี นต่อกองแรงงานท้องที่ / ศูนย์ให้คำปรึกษาแรงงาน ต่างชาติ / องค์กรไกลเ่ กลี่ยภาคเอกชนในทอ้ งท่ี / สายดว่ นรอ้ งทกุ ข์ 1955 (ของกระทรวง แรงงานไต้หวัน ซึ่งมีล่ามภาษาไทย โทรฟรี และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ) หรือ สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป (โทร. 02-27011413)

9 เงินบำเหน็จชราภาพจากกองทุนประกนั ภยั แรงงานไตห้ วัน แรงงานไทยที่อายุครบ 60 ปีขึ้นไปมีสิทธิขอรับเงินบำเหน็จชราภาพจากกองทุนประกันภัย แรงงานไต้หวัน เงื่อนไขและคุณสมบตั ิการขอรบั เงนิ บำเหนจ็ ชราภาพ 1) ต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน คือแรงงานไทยที่เดินทางมาทำงานใน ไต้หวันในภาคการผลิต ก่อสร้างและผู้อนุบาลในองค์กร (ยกเว้นผู้อนุบาลในครัวเรือนและ ผชู้ ว่ ยงานบ้าน ซึง่ ไม่ไดอ้ ยใู่ นความคมุ้ ครองของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน) 2) เกณฑอ์ ายุที่มสี ิทธ์ย่นื ขอรับเงินบำเหน็จชราภาพ ปเี กิด (พ.ศ.) อายยุ ่นื ขอรับเงนิ บำเหน็จชราภาพ 2500 อายคุ รบ 60 ปี 2501 อายุครบ 61 ปี 2502 อายคุ รบ 62 ปี 2503 อายุครบ 63 ปี 2504 อายคุ รบ 64 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นตน้ ไป อายุครบ 65 ปขี ึ้นไป 3) อตั ราเงินบำเหน็จชราภาพท่ีมีสทิ ธไ์ิ ด้รับ จะเทา่ กบั อายกุ ารเข้ากองทนุ ฯ ปลี ะ 1 เดอื นของ อัตราค่าจ้างที่แจ้งเอาประกันโดยเฉลี่ยใน 60 เดือนก่อนจะลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯ ส่วนผู้ที่เข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ไม่ถึง 5 ปี ให้คำนวณตามอัตราค่าจ้างที่แจ้งเอาประกันโดยเฉลี่ย ตามระยะเวลาการเขา้ เป็นสมาชิกกองทุนฯ จริง (สามารถรวมสะสมได้) 4) วิธีและขั้นตอนในการขอรับเงินบำเหน็จชราภาพ ให้ผู้ยื่นขอรับบำเหน็จชราภาพพร้อม ลงนามในใบคำรอ้ งไดท้ ่ีสำนกั งานแรงงานจังหวัด หรอื ท่ีกระทรวงแรงงาน ประเทศไทย 5) เอกสารประกอบการขอรบั เงนิ บำเหนจ็ ชราภาพ • สำเนาหนังสอื เดินทาง หรือ สำเนาใบถน่ิ ทอ่ี ยู่ (บตั ร ARC) • หนังสือรบั รองบัญชีเงนิ ฝากจากธนาคารท่ีเปดิ บัญชีในประเทศไทย • สำเนาทะเบียนบา้ น

10 • ประวัติการทำหนังสือเดินทางจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (สำหรบั ผู้ท่ีทำหนังสือเดนิ ทางหาย หรือเคยเปลีย่ นชอื่ สกลุ ระหวา่ งท่ีทำงานในไต้หวนั ) • ใบเปลี่ยนชื่อ (เฉพาะผู้ที่เปลี่ยนชื่อนามสกุลหลังกลับจากการทำงานที่ไต้หวัน และ ไม่ได้กลบั ไปทำงานท่ีไตห้ วันอีก) การแปลและรบั รองเอกสาร เอกสารที่กล่าวมาทั้งหมดต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ/ภาษาจีน การสะกดชื่อ-นามสกุล ต้องตรงตามในหนังสือเดินทาง โดยผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานเศรษฐกจิ และวฒั นธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ยกเว้น สำเนาใบถิ่นที่อยู่ หรือบัตร ARC และประวัติการทำหนังสือเดินทางที่ออกโดย กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (สำนกั งานแรงงานจะแปลประวัตกิ ารทำหนังสอื เดินทาง เปน็ ภาษาจนี ใหโ้ ดยไม่เสยี คา่ ใชจ้ า่ ย) ข้อแนะนำ ควรเก็บใบถิ่นที่อยู่ หรือบัตร ARC ฉบับจริง (หรือสำเนา) ให้ครบทุกใบ เพอื่ ความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลของกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน กรณมี ีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิม่ เตมิ ได้ที่ - สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป โทร. (02) 2701-1413 หรอื - สำนกั ประสานความรว่ มมือระหว่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กรงุ เทพฯ โทร. 0-22321242

11

12 สทิ ธิประโยชน์กองทุนเพอื่ ชว่ ยเหลือคนหางานไปทำงานในตา่ งประเทศ

13 ที่อยู่และหมายเลขโทรศพั ท์ของหนว่ ยงานทเี่ กยี่ วขอ้ ง สำนักงานแรงงานไทย ไทเป ที่ต้ัง ถนนซ่นิ อตี้ อนที่ 3 กรุงไทเป (ใกลส้ ถานีรถไฟฟ้าต้าอัน)10658 台北市信義路 3 段 151 號 10 F. 10 F., No. 151, Hsin-Yi Rd, Sec. 3, Taipei 10658 โทร. (02) 2701-1413 โทรสาร (02) 2701-1433 เวลาทำการ จันทร์ – ศกุ ร์ เวลา 09.00 – 17.00 น. (พักเที่ยง เวลา 12.00 – 13.30 น.) ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ ที่ตงั้ อาคารสำนกั งานประกันสังคม เขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ โทร. 0 2245 6712 ~ 5 สำนกั งานเศรษฐกิจและวฒั นธรรม ไทเป ประจำประเทศไทย ที่ตงั้ เลขที่ 40/64 ซอยวิภาวดรี งั สิต 66 ถนนวภิ าวดีรังสติ แขวงบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทร. 0 2119 3555 “เงนิ ทองไมไ่ ดต้ กจากฟา้ ไดม้ าเพราะเราหา หมดไปเพราะเราใช้ เหลอื อยไู่ ด้ เพราะเราแบง่ เกบ็ เมอื่ ยามเราเจบ็ ปว่ ย จะไดใ้ ชเ้ ยยี วยา”

14 ข้อควรและไมค่ วรปฏิบตั กิ อ่ นการเดนิ ทางไปทำงานตา่ งประเทศ 1)ข้อกค่อวนรปสฏมิบัคัตริ งาน • สอบถามตำแหน่งงานจากกรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดโดยตรง โดยไมต่ ้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ • สอบถามตำแหน่งงานจากบริษัทจัดหางานไปทำงานต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจาก กรมการจัดหางานเท่านั้น โดยขอดูรายชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทดังกล่าว ได้จากกรมการจดั หางาน หรอื สำนักงานจัดหางานจังหวัด • สอบถามตำแหน่งงานจากเพื่อน ญาติ พี่น้อง หรือผู้ที่เคยไปทำงานในประเทศนั้นๆ เพ่ือ ประกอบการตดั สนิ ใจ • สอบถามค่าใช้จา่ ยจากกรมการจัดหางาน หรือสำนกั งานจัดหางานจังหวัด ว่าแต่ละประเทศ มีกฎหมายกำหนดให้บริษัทจัดหางานเรียกเก็บได้ในอัตราเท่าใด เช่น การไปทำงาน ในไตห้ วันเรียกเก็บค่าใช้จา่ ยได้เทา่ กับอตั ราค่าจ้างไมเ่ กนิ 4 เดือน • สอบถามตำแหน่งงาน/ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียให้บริษัทจัดหางานหลายๆแห่งก่อนจะตัดสินใจ สมัครงาน เพอ่ื ใหไ้ ด้ตำแหน่งงานทดี่ แี ละเสียคา่ ใชจ้ ่ายนอ้ ยท่ีสุด • สอบถามอัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะได้รับในการไปทำงานต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทีย บกับค่า ใช้จ่าย ต่างๆท ี่จะต้องถู กนาย จ้า งหรือร ัฐบาล ประเทศนั ้นๆ หักออกจากรายรับทไี่ ด้ เพอื่ ประกอบการตัดสนิ ใจก่อนสมคั รงาน • ลงชื่อสมัครงานไว้ที่ กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อรอรับ การเรียกตวั กรณที น่ี ายจ้างตอ้ งการจ้างตรง ไมต่ อ้ งเสยี ค่าใชจ้ า่ ยให้กบั บรษิ ทั จดั หางาน 2) ขณะทำงานในตา่ งประเทศ • ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบและตรงต่อเวลา ตั้งใจทำงาน ในหน้าทท่ี ่ีได้รับมอบหมาย • รกั ษาความสะอาดในบริเวณหอพัก เพือ่ สขุ อนามัยทีด่ ี และชว่ ยนายจา้ งประหยัดค่าใช้จ่าย ในการใช้ไฟฟา้ หรอื น้ำประปา รวมท้ังทรัพยากรอื่นๆ • ควรมีวนิ ัยในการใชเ้ งิน รู้จักเก็บออมและประหยัดคา่ ใช้จา่ ยในทุกๆทาง

15 • ควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หาความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น เรียนภาษา เรียนการประกอบ อาหาร การเกษตร รวมทั้งศึกษาเพ่ิมเติมเพื่อยกวิทยฐานะผ่านระบบทางไกล (การเรียน กศน. / มสธ.) • หากเกิดปัญหาในการทำงาน ก่อนตัดสินใจกระทำการใดๆ ควรติดต่อล่ามที่ใหบ้ ริการดูแล หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานต่างๆ เช่น หน่วยงานไต้หวัน ติดต่อสายด่วน 1955 ของ กระทรวงแรงงานไต้หวัน (โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีล่ามภาษาไทย) หรือติดต่อ สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป โทร. 02-27011413 โทรสาร 02-27011433 หรอื ทางเฟซบกุ๊ โดยพิมพ์คำวา่ “สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป” • ควรขอโอนย้ายหรือเปลี่ยนนายจ้าง หากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำงาน โดยขอคำปรกึ ษาจากหนว่ ยราชการตา่ งๆทร่ี ับผิดชอบดา้ นแรงงาน • กรณีบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรเสียชีวิต ควรติดต่อล่ามหรือสำนักงานแรงงานไทยเพื่อ ขอรับเงินชดเชยสิทธปิ ระโยชน์จากกองทนุ ประกันภยั แรงงาน • เมื่อเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานหรือนอกงานก็ตาม ควรแจ้งล่าม และเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานทราบเพื่อช่วยเหลือดูแลให้ได้รับการคุ้มครองจากการ รักษาพยาบาลและรับสิทธิประโยชนต์ า่ งๆตามกฎหมาย • กรณีถูกเลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนด เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรติดต่อบริษัทจัดหางานไทยเพื่อขอให้จ่ายเงินชดเชยตามความเหมาะสมและเป็นธรรม หากไมไ่ ด้รบั คนื ควรตดิ ต่อกรมการจัดหางานเพอ่ื ขอความช่วยเหลือ • กรณีถูกเลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญาจ้างกลับก่อนกำหนด ควรระบุสาเหตุที่แท้จริง ต่อเจ้าหน้าที่กองแรงงานเขตพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือ ในกรณที ่ีไมไ่ ด้รบั ความเป็นธรรมจากการทำงาน • ควรทำงานอย่างขยันขันแข็ง เต็มความสามารถในหน้าที่ท่ีได้รับผิดชอบ สร้างภาพลักษณ์ ที่ดี เพื่อรักษาศักดิ์ศรีและเกียรตภิ ูมิของแรงงานไทยใหค้ งอยู่ตลอดไป มิให้ชาติอื่นรังเกียจ เหยียดหยามดหู มนิ่

16 ขอ้ ควรหลกี เลย่ี งในการเดนิ ทางไปทำงานตา่ งประเทศ 1) กอ่ นสมคั รงาน • ไม่ควรสมัครงานผ่านสาย/นายหน้าที่เรียกเก็บค่าบริการสูง ซึ่งอาจถูกหลอกไปทำงาน ท้งั ๆท่ีไมม่ ตี ำแหน่งงานจรงิ หรอื ไมต่ รงกบั เงอ่ื นไขท่แี อบอ้าง • ไม่ควรสมัครงานกับบริษัทจัดหางานที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะ เป็นการให้ความร่วมมือในการกระทำที่ผดิ กฎหมาย • ไมค่ วรเสียคา่ ใชจ้ า่ ยใดๆกอ่ นตัดสนิ ใจสมัครงานและลงนามในสญั ญาจา้ งงาน • ไม่ควรเชื่อถอ้ ยคำเชิญชวนเกีย่ วกับการทำงานในต่างประเทศ เช่น รับประกันว่ามีเงินเดือนสงู มีงานลว่ งเวลา (โอท)ี ทำมาก ท่พี ักและสวสั ดิการดี เนื่องจากอาจไม่เป็นความจริง • ไม่ควรกู้เงินที่ต้องเสียดอกเบ้ียในอัตราสูงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศ เน่อื งจากไม่คุ้มกับรายไดท้ ่ีไดร้ ับ • ไม่ควรไปทำงานต่างประเทศหากสถานะครอบครัวไม่พร้อม หรือมีสุขภาพร่างกาย ไมแ่ ข็งแรง เช่น มีโรคประจำตวั ที่อาจมีผลกระทบต่อการทำงาน • ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม หรือมีเงื่อนไขที่เป็นข้อห้ามในการไปทำงานต่างประเทศ เช่น เคยทำงานในไต้หวันครบ หรือใกล้ครบ 12 ปี (ภาคการผลิต/ก่อสร้าง) หรือ 14 ปี (ภาค สวัสดกิ ารสงั คม) แลว้ ไมค่ วรสมัครไปทำงานอกี เพราะจะถูกตรวจสอบข้อมูลดำเนนิ คดีและ ส่งตวั กลบั ประเทศ • ไม่ควรเปลี่ยนชือ่ หรือเปลี่ยนทัง้ ช่ือและนามสกุล หรือใช้บัตรประจำตวั ของบคุ คลอืน่ เพื่อไป ทำงานในต่างประเทศ อันเป็นการละเมิดข้อห้ามของประเทศนั้นๆ เพราะจะถูกตรวจสอบ และดำเนินคดี • ไม่ควรลงนามในเอกสารใดๆก่อนอ่านข้อความให้เข้าใจ เพื่อป้องกันถูกหลอกลวงในเรื่อง ต่างๆ เช่น แบบฟอร์มขอเปิดใชซ้ มิ โทรศัพท์มอื ถือในต่างประเทศ 2) ขอ้ ควรหลกี เล่ยี งในการเตรยี มตวั ไปทำงานตา่ งประเทศ • ไม่ควรลงนามในข้อตกลงยินยอมอื่นๆ นอกเหนือจากสัญญาจ้างที่ลงนามและรับรอง โดยกรมการจัดหางาน เช่น หนังสือยินยอมจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเที่ยวกลับเมื่อครบสัญญา จา้ งงาน เปน็ ตน้ หากถกู บังคับให้ขอความช่วยเหลือจากกรมการจัดหางานทนั ที

17 • ไม่ควรเสยี คา่ ใชจ้ า่ ยใดๆเพิม่ เติมกอ่ นการเดนิ ทาง เชน่ คา่ เสอื้ ฟอร์ม ค่าภาษสี นามบิน (หรอื ที่แรงงานไทยเรยี กกันว่า ค่าเหยียบแผ่นดนิ ) ฯลฯ หากถูกบังคบั ให้แจ้งกรมการจดั หางานทันที • ห้ามนำสิ่งของผิดกฎหมายหรือของต้องห้ามของประเทศนั้นๆติดตัวไปขณะเดินทาง ไปทำงานในต่างประเทศ เช่น อาวุธ ยาเสพติด พืชผัก เนื้อสัตว์ ยารักษาโรคประเภทต่างๆ ทไ่ี ม่ได้รบั อนุญาต • ก่อนเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ควรศึกษาเกี่ยวกับประเทศนั้นให้รอบคอบ ว่ามีกฎหมายห้ามนำส่งิ ของใดเขา้ ประเทศ • ไม่ควรรับฝากสิ่งของจากผู้อื่น เว้นแต่ว่าจะได้รับการตรวจสอบให้แน่ใจแล้วว่า สิ่งของนั้น ไม่เป็นสิ่งของผิดกฎหมาย เพราะอาจถูกเจ้าหน้าที่ปลายทางตรวจพบ จะยุ่งยากในการ แก้ข้อกลา่ วหาว่ากระทำผดิ กฎหมาย • ไม่ควรฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติในการทำงานและระเบียบของหอพัก เพราะอาจถูกตัด เงินเดอื นหรอื ถกู เลิกจา้ ง • ไม่ไปพักค้างแรมที่อืน่ หรือกลับหอพักเกินเวลาที่กำหนดเนือ่ งจากอาจถูกตัดเงินเดือนหรอื ถูกเลกิ จ้าง • ไม่ดื่มสุรา เล่นการพนัน เสพยาเสพติดทั้งในหอพักหรือบริเวณภายนอกเนื่องจาก ผดิ กฎหมาย หากถกู จบั ไดจ้ ะถูกสง่ ดำเนินคดแี ละรับโทษอย่างหนัก • ไม่ควรดื่มสุราหลังเลิกงานเป็นประจำ เนื่องจากเสียทรัพย์สิน เสียสุขภาพและอาจนำไปสู่ ปัญหาอื่นๆ เช่น ไม่สามารถทำงานได้ เกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน ก่อเหตุทะเลาะวิวาท กอ่ อาชญากรรมอน่ื ๆ เกิดอุบัติเหตุในการขบั ขี่ ยานพาหนะเนอื่ งจากการขาดสติ ฯลฯ • ไม่ควรกู้ยืมเงินจากบุคคลหรือสถาบันการเงินที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากต้องเสีย ดอกเบี้ยในอัตราสูง และอาจถูกข่มขู่คุกคามหรือทำร้ายร่างกายจากเจ้าหนี้หากไม่สามารถ ผอ่ นชำระเงินคืนได้ • ไมค่ วรยินยอมทำงานผิดประเภทหรอื ทำงานนอกเหนอื จากตำแหน่งงานที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง รวมท้ังไม่ควรยนิ ยอมให้นายจ้างพาไปทำงานนอกสถานท่ี ซึ่งเปน็ การผิดกฎหมาย • ไม่ควรขอเปิดใช้ซิมโทรศัพท์หลายเบอร์ ไม่ยกเบอร์โทรศัพท์ให้บุคคลอื่น เมื่อไม่ต้องการ ใช้ให้ทำลายซิม หรือแจ้งยกเลิกการใช้ซิม เพื่อป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพนำซิมโทรศัพท์ไปใช้ ในทางอาชญากรรม

18 • ไม่ควรจับกลุ่มตามริมถนนหรือทางเดิน เกี้ยวพาราสี (แซว) ผู้หญิงที่เดินผ่านไปมา เพราะ อาจถูกฟ้องร้องในคดีลวนลามทางวาจา • ไม่ควรตกปลา จับสัตว์ เด็ดผลไม้หรือพืชผักในแหล่งน้ำหรือสถานที่ต่างๆเนื่องจาก ผดิ กฎหมายและจะถูกดำเนนิ คดี • ไม่ควรหยิบหรือลักขโมยสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในโรงงานหรือที่สาธารณะโดยเข้าใ จว่า เปน็ ส่ิงของที่ไม่ใชแ้ ล้วเนื่องจากผิดกฎหมายและจะถกู ดำเนนิ คดี • ไม่ควรหลบหนีนายจ้างไปทำงานกับนายจ้างอื่นเนื่องจากผิดกฎหมาย เพราะจะหมดสิทธิ ได้รับการคุ้มครองจากกองทุนต่างๆที่เป็นสมาชิกอยู่ อาจตกเป็นเหยื่อหรือกลายเป็น เครื่องมือของกลุ่มนอกกฎหมายได้ง่าย และหากถูกจับได้จะถูกปรับและเนรเทศออกจาก ไต้หวนั โดยไม่สามารถกลบั มาทำงานไดอ้ กี • เมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ แต่มิถึงขั้นทำงานไม่ได้ ไม่ควรขอยกเลิกสัญญาจ้าง เพราะอาจ เสยี สทิ ธใิ นการรักษาพยาบาลและการรับเงินทดแทนจากกองทนุ ประกนั ภัยแรงงาน ถา้ ไมส่ แู้ ล้วจะรูห้ รือวา่ แพ้ ไม่อ่อนแอคงไมร่ คู้ วามเข้มแข็ง ไมย่ นื หยัดคงไมร่ ้วู า่ มแี รง ไมถ่ กู แซงคงไมร่ ู้วา่ ชา้ ไป

19 ภัยเงยี บต่อสุขภาพ รู้จักโรคไหลตาย คนไทยเสียชีวิตจากโรคไหลตายสูงที่สุดในโลก พบมากใน หมู่คนไทยที่เดินทาง ไปทำงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสงิ คโปร์และไต้หวนั ทมี่ ีภูมลิ ำเนาในเขตภาคเหนอื และ อีสาน โรคไหลตายเป็นโรคทีเ่ กิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ผู้เสียชีวิตไม่มีอาการเจบ็ ป่วยใดๆ มักจะ ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนหรือหาสาเหตุไม่พบ มักจะเกิดขึ้นกับคนปกติที่มีสุขภาพแข็งแรง ผู้เสียชีวิต ส่วนใหญก่ อ่ นเข้านอน สภาพรา่ งกายจะปกติดี แตเ่ ชา้ วันรงุ่ ข้ึนกลับพบวา่ เสยี ชีวิตแล้ว โดยมีน้ำลาย ฟมู ปาก บางรายที่พบเห็น จะเกิดอาการผิดปกติขณะนอนหลบั ชักเกร็งกระตกุ แล้วเสยี ชีวิตในเวลา ต่อมา การปอ้ งกัน 1) ควรรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ผักเกือบทุกชนิด และผลไม้ เช่น กล้วย มะพร้าว มะละกอ ส้ม สับปะรด แตงโม มะม่วงสุก ส่วนเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นตน้ 2) ไมค่ วรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะกระตนุ้ หวั ใจใหเ้ ตน้ ผิดปกติ 3) ควรเข้านอนเมื่อทอ้ งวา่ ง หรือหลงั รบั ประทานอาหารแลว้ 4 ช่วั โมง 4) ไม่ควรเครียด ควรพักผ่อนและออกกำลังกายให้เพียงพอ ได้แต่คิด แต่ไมท่ ำ ไมส่ ำเรจ็ ได้แต่จะ กไ็ มเ่ สร็จ ตามท่หี มาย ได้แต่รอ กย็ ิง่ ชา้ เนนิ่ นานไป ถา้ ขี้เกยี จ แล้วย่งิ ไซ้ ไมเ่ สรจ็ เลย

20

21 ทมี่ า ภาควิชาเวชศาสตรค์ รอบครวั คณะแพทยศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่

22 มาตรการสำคญั เก่ียวกบั โรคโควดิ -19 ทีแ่ รงงานควรรู้ กอ่ นเดนิ ทาง • นายจ้างต้องยืน่ ขออนุมัติแผนการกักตัวแรงงานตา่ งชาติ ซง่ึ รวมถงึ สถานที่ และการบรหิ ารดูแล แรงงานต่อกระทรวงแรงงานไต้หวัน กรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม แรงงานต่างชาติจะไม่ได้รับ อนุญาตใหเ้ ขา้ ไตห้ วนั • ผู้เดินทางทกุ คนต้องแสดงผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 (ภาษาองั กฤษ) แบบ PCR, RT-PCR, NAA, NAT ที่มีผลเป็นลบต่อภายใน 3 วันทำการก่อนเดินทาง หากพบว่าผลตรวจไม่ถูกต้อง หรือผู้ เดินทางปฏิเสธ หลีกเลี่ยง หรือขัดขวางมาตรการในการกักตัว มีโทษปรับเป็นเงิน 10,000 - 150,000 TWDD เมื่อเดินทางถงึ ไต้หวนั การให้ข้อมูล และการใชโ้ ทรศพั ทม์ อื ถือในการตดิ ตามตวั ทสี่ นามบิน • กรอกเอกสารรับรองสุขภาพและการกักตัว ก่อนผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อยืนยันประวัติ การเดนิ ทาง และอาการปว่ ยท่ีนา่ สงสยั หากไม่ปฏิบตั ติ ามมโี ทษปรบั สูงสดุ 150,000 TWDD • ผู้ที่ยังไม่มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือในไต้หวัน ให้ยื่นขอได้ที่พื้นที่ควบคุมในสนามบิน เพื่อติดตามผลการกกั ตัวหลังเดนิ ทางเข้ามาในไตห้ วันแลว้ • แรงงานตา่ งชาตทิ ่เี ดนิ ทางมาใหม่ต้องรายงานตวั ต่อศูนยบ์ ริการแรงงานตา่ งชาติประจำสนามบนิ • การเดินทางจากสนามบิน-ที่พัก นายจ้าง/บริษัทจัดหางานเป็นผู้รับผิดชอบจัดพาหนะรับ แรงงานจากสนามบนิ ไปยังสถานทีก่ ักตวั ทจี่ ดั เตรยี มไว้ มาตรการกักตวั 14 วัน • แรงงานต่างชาติทุกคนต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ในสถานที่ที่นายจ้างจัดให้ตามแผนกักตัว ทยี่ ืน่ ต่อกระทรวงแรงงานไต้หวนั หา้ มออกนอกสถานท่ีกักตวั ห้ามใช้ขนสง่ สาธารณะ และห้าม เข้าทำงาน ผู้ฝา่ ฝืนตอ้ งโทษปรับ 200,000-1,000,000 เหรียญไตห้ วัน • หลังเข้ารับการกักตัวครบ 14 วันแล้ว ต้องสังเกตอาการตนเองต่อเป็นเวลา 7 วัน ณ สถานท่ี ทำงาน หรือสถานที่อื่นที่นายจ้าง/บริษัทจัดหางานจัดให้ ระหว่างนี้ห้ามเดินทางเข้าไปบริเวณ ชมุ ชน นายจา้ ง/บริษัทจัดหางานตอ้ งจดั หารถรบั สง่ แรงงานตา่ งชาติ เดินทางไปรบั การตรวจหา โควิด-19 ณ โรงพยาบาล โดยศูนย์บัญชาการควบคุมโรคไต้หวันเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน การตรวจโรค

23 คา่ จา้ งระหว่างการกักตวั • นายจ้างและแรงงานต้องตกลงกันเอง กรณีที่นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าจ้าง สามารถยื่นขอรับเงิน ชดเชยขาดรายจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการได้ (โดยความช่วยเหลือจากนายจ้าง) ในอัตราวันละ 1,000 TWDD ทั้งน้ี เงินชดเชยดังกล่าวจะรับได้เฉพาะวันทำงานตามปกติ สำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งตามกฎหมายนายจ้างต้องรับผิดชอบ จ่ายให้แรงงาน ไม่สามารถจะขอรับเงินชดเชยได้ ทั้งนี้ ให้ยื่นขอรับได้หลังสิ้นสุดการกักตัว 14 วัน ภายใน 2 ปี (เปิดใหย้ ่ืนขอไดต้ ้ังแต่ 23 มีนาคม 2563 เป็นตน้ ไป) • แรงงานในภาคการผลิต/ก่อสร้าง ต้องยื่นใบลาพักผ่อน และหลักฐานการไม่จา่ ยค่าจ้างซึ่งออก โดยนายจ้าง ประกอบการขอรับเงินชดเชย กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาต้องยื่นหนังสือ รับรองการไม่มรี ายไดเ้ ป็นหลักฐานประกอบ การเดินทางกลับประเทศไทย • ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไต้หวันจะไม่ ออกวีซ่าการกลับเข้ามาไต้หวันใหม่ให้ (Re-eTWDry permit) สำหรับผู้ที่ขอลาพักผ่อนกลับ ประเทศจนกว่าจะมีประกาศเปล่ียนแปลง • ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการลงทะเบียนกลับประเทศไทย เงื่อนไขการเดินทางกลับประเทศ การ จัดเที่ยวบินพิเศษในสถานการณ์โควิด และข่าวสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ทางเฟสบุ๊คสำนักงาน การค้าและเศรษฐกจิ ไทย ไทเป ที่ https://www.facebook.com/TTEOTAIPEI สามารถศกึ ษามาตรการป้องกันโรคโควดิ -19 เพม่ิ เติม สำหรับแรงงานตา่ งชาติ (ภาษาไทย) ไดท้ ี่ https://covid19.wda.gov.tw/wda-employer/home/covid?locale=th

24

25

26 หนว่ ยงานราชการไทยในไตห้ วัน สำนักงานแรงงานไทย ไทเป โทร. (02) 2701-1413 โทรสาร (02) 2701-1433 เฟซบกุ๊ : https://www.facebook.com/labourtaipei (ดูแลพื้นท่ีเขตไทเป นิวไทเป จีหลง เถาหยวน อีหลัน ซินจู๋ เหมียวลี่ ไถจง ฮัวเหลียน หนันโถว เหลียนเจียง และจนิ เหมนิ ) สำนกั งานแรงงานไทย เกาสง โทร. (07) 392-7620 โทรสาร (07) 392-5914 เฟซบกุ๊ : https://www.facebook.com/molkaohsiung (ดูแลพ้นื ท่ีเขตเกาสง ไถหนัน เจี้ยอ้ี ผิงตง ไถตง เกาะเผงิ หู จางฮั่ว และหยุนหลนิ ) สำนกั งานการคา้ และเศรษฐกจิ ไทย ไทเป โทร. (02) 2581-1979 โทรสาร (02) 2581-8707 (ให้บรกิ ารงานกงสลุ และคนไทยทตี่ กทกุ ขไ์ ด้ยากในไตห้ วัน) เฟซบุก๊ : https://www.facebook.com/TTEOTAIPEI สำนักงานสง่ เสรมิ การคา้ ในต่างประเทศ ไทเป โทร. (02) 2723-1800 โทรสาร (02) 2723-1821 สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ ไทเป โทร. (02) 2345-6663 โทรสาร (02) 2345-9223 การทอ่ งเทยี่ วแหง่ ประเทศไทย สำนกั งานไทเป โทร. (02) 2502-1600 โทรสาร (02) 2502-1603

27 หนว่ ยงานเอกชนไทยในไตห้ วัน ธนาคารไทยในไตห้ วัน โทร. (02) 2508-4683 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาไทเป โทร. (04) 2326-9623 โทร. (07) 271-0000 ธนาคารกรุงเทพ จำกดั (มหาชน) สาขาไถจง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาเกาสง บรษิ ทั การบินไทย จำกดั (มหาชน) ไทเป โทร. (02) 8772-5222

28 ช่องทางการติดตามขอ้ มลู ขา่ วสารในไต้หวนั กรมพฒั นากำลังแรงงาน กระทรวงแรงงานไตห้ วัน (ภาษาไทย) เวบ็ ไซต์ https://fw.wda.gov.tw/wda-employer/home/index?locale=th สายดว่ นคุ้มครองแรงงาน 1955 ศนู ยบ์ ัญชาการควบคมุ โรคไต้หวัน (ภาษาอังกฤษ) เว็บไซต์ https://www.cdc.gov.tw/En สายด่วน 1922 มาตรการปอ้ งกันโรคโควิด-19 สำหรับแรงงานต่างชาติ (ภาษาไทย) เวบ็ ไซต์ https://covid19.wda.gov.tw/wda-employer/home/covid?locale=th สถานีวิทยทุ อ้ งถิ่น Radio Taiwan International (Rti) (ภาษาไทย) เว็บไซต์ https://th.rti.org.tw/ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/RtiFanpage

29 กฎหมายปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพติดใหโ้ ทษของไต้หวัน ไต้หวันแบ่งยาเสพติดให้โทษตามระดับความร้ายแรงและส่งผลคุกคามต่อสังคมออกเป็น 3 ประเภท รวมท้ังบทลงโทษ (ประกาศใชต้ งั้ แต่วนั ท่ี 20 พฤษภาคม 2541) ประเภท ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 3 เฮโรอนี มอรฟ์ นี เมลด็ ฝน่ิ กัญชา Nalorphine, Amytal, พฤติกรรม ฝิ่น โคเคน ฯลฯ แอมเฟตทามนี ผ้ผู ลติ ลำเลยี ง นำเข้า ประหารชีวิต หรอื จำคุกตลอด จำคุกตลอดชวี ติ หรือจำคุก 7 ปี secobarbital ส่งออก จำคุก 5 ปขี ึ้นไป หรอื จำหนา่ ย ชวี ิต (ปรบั ไม่เกิน 10 ลา้ น ขนึ้ ไป (ปรบั ไมเ่ กิน 7 ล้าน (ปรับไม่เกนิ 5 ล้าน TWD.) TWD.) TWD.) ผคู้ รอบครองเพ่ือการ จำคกุ ตลอดชีวติ หรือจำคุก 10 ปี จำคุก 5 ปขี น้ึ ไป จำคกุ 3 ปขี ึ้นไป จำหนา่ ย ไมเ่ กิน 10 ปี (ปรบั ไม่เกิน 3 ข้นึ ไป (ปรับไมเ่ กนิ 7 ลา้ น (ปรับไม่เกนิ 5 ล้าน TWD.) ลา้ น TWD.) TWD.) บังคบั หลอกหลวง หรือ ประหารชวี ติ หรือจำคุกตลอด จำคุกตลอดชวี ติ หรือจำคุก 7 ปี จำคกุ 5 ปขี ึ้นไป ข้นึ ไป (ปรับไมเ่ กนิ 7 ล้าน (ปรบั ไม่เกนิ 5 ลา้ น TWD.) ใช้วิธีอยา่ งผดิ กฎหมาย ชวี ิต หรอื จำคกุ 10 ปีขน้ึ ไป TWD.) เพือ่ ให้คนอื่นเสพยาเสพ ติดใหโ้ ทษ (ปรบั ไมเ่ กนิ 10 ล้าน TWD.) ชกั จงู หรือหลอกล่อให้ จำคกุ 3 ปขี ้ึนไป ไมเ่ กนิ 10 ปี จำคกุ 1 ปขี ึน้ ไป ไม่เกิน 7 ปี จำคกุ 6 เดอื นข้นึ ไป ไมเ่ กนิ 5 ปี คนอื่นเสพยาเสพติดให้ (ปรบั ไม่เกนิ 3 ลา้ น TWD.) (ปรบั ไม่เกนิ 1 ลา้ น TWD.) (ปรบั ไม่เกนิ 7 แสน TWD.) โทษ ถา่ ยโอน หรือส่งมอบให้ จำคุก 1 ปขี ้นึ ไป ไมเ่ กนิ 7 ปี จำคกุ 6 เดือนขึน้ ไป ไมเ่ กนิ 5 ปี จำคุกไม่เกนิ 3 ปี ผู้อ่นื (ปรับไมเ่ กิน 1 ล้าน TWD.) (ปรับไมเ่ กิน 7 แสน TWD.) (ปรับไมเ่ กนิ 3 แสน TWD.) เสพยาเสพตดิ ใหโ้ ทษ จำคุก 6 เดือนขน้ึ ไป ไม่เกนิ 5 ปี จำคุกไม่เกนิ 3 ปี มไี วใ้ นครอบครอง จำคกุ ไมเ่ กิน 3 ปี จำคุกไม่เกนิ 3 ปี (ปรบั ไมเ่ กนิ 5 หม่นื TWD.) (ปรับไมเ่ กนิ 3 หมื่นTWD.)

30 เตอื นมาด้วยความห่วงใย ด้วยสำนักงานแรงงานไทย ไทเป ได้รับการร้องเรียนจากนายจ้างและล่ามว่ามีแรงงาน ไทยจำนวนมากประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา เสพยาเสพติด เล่นการพนัน เล่นหวย ใต้ดิน ฝ่าฝืนกฎระเบียบของโรงงานและกฎหมายไต้หวัน หลบหนีนายจ้าง ลักขโมย ตลอดจน ทะเลาะวิวาทและปัญหาอื่นๆ อันนำมาซึ่งผลเสียต่อตัวพ่ีน้องแรงงานไทยเองและชื่อเสียงของ ประเทศไทยในภาพรวม สำนักงานแรงงานไทย ไทเป และกระทรวงแรงงานของไทย มคี วามห่วงใยพน่ี อ้ งแรงงาน ไทยทุกท่าน และให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้างต้นเป็นอย่างมาก จึงขอแจ้ง เตือนมายังพ่นี อ้ งแรงงานไทยทกุ ทา่ น ใหล้ ะเวน้ พฤตกิ รรมท่ไี ม่เหมาะสมตา่ งๆดังกลา่ วโดยเด็ดขาด เน่อื งจากในกรณที ม่ี ีการกระทำผิดรา้ ยแรง เสอื่ มเสยี และละเมิดกฎหมายแลว้ นอกจากสำนกั งาน แรงงานไทย ไทเป จะไมส่ ามารถชว่ ยปกปอ้ งคมุ้ ครองได้แล้ว ยงั อาจจำเป็นต้องใหค้ วามรว่ มมอื กบั นายจ้างและเจ้าหน้าที่ตำรวจในการส่งตัวกลับก่อนครบสัญญาจ้าง การปรับเงินหรือดำเนินคดี ถึงขน้ั จำคุก และอาจถกู จำกดั สิทธไิ มใ่ ห้เดนิ มาทำงานในไต้หวนั หรือประเทศอ่นื ๆไดอ้ กี ต่อไป ดังนั้นจึงขอให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อครอบครัวและ ชื่อเสียงของความเป็นคนไทย โดยตั้งใจทำงานเก็บเงิน ปลดเปลื้องหนี้สินเพื่อสร้างฐานะ นำ ความรแู้ ละประสบการณ์การทำงานทไ่ี ด้รับไปต่อยอดหรอื ประกอบอาชพี เม่อื กลับไปประเทศไทย ทั้งนี้ความขยันอดทน ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ และรับผิดชอบ เป็นคุณสมบัติของแรงงานไทยที่นายจ้าง ไต้หวันให้ความช่นื ชมและยกย่องตลอดมา ปัจจุบันจำนวนแรงงานไทยในไต้หวนั อยู่ในลำดับสุดท้ายในแรงงานต่างชาติจากประเทศ อื่นทั้งหมด กระทรวงแรงงานไทยไดพ้ ยายามอย่างเต็มทีใ่ นการรักษาและขยายตลาดแรงงานไทย ในไตห้ วัน เพอ่ื ใหพ้ นี่ ้องแรงงานไทยในปัจจุบันสามารถทำงานอย่างมคี วามสุข เสียค่าใช้จ่ายท่ีเป็น ธรรม และได้รับการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น เหมือนในอดีตที่แรงงานไทยเคยครองสัดส่วนเป็นลำดับ ท่ี 1 ในบรรดาแรงงานต่างชาตทิ ้งั หมดในไตห้ วนั

31 หากพี่น้องแรงงานไทยมีข้อเสนอแนะ หรือปัญหาทั้งในเรื่องของการทำงานและปัญหา ส่วนตัว สามารถขอรับคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือได้จาก สำนักงานแรงงานไทย ไทเป หรือ สายด่วนแรงงานต่างชาติไต้หวัน โทรศัพท์ 1955 และขอย้ำเตือนให้พี่น้องแรงงานไทยทุกท่าน มีสติ มีความสำนึกและความรับผิดชอบ ห่างไกลจากอบายมุขอันนำไปสู่ความตกต่ำทั้งปวง รวมท้งั อยา่ แกป้ ัญหาดว้ ยการหลบหนีนายจ้างเปน็ อนั ขาด จาก สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป สำนักงานแรงงานไทย ไทเป ทอี่ ยู่ ชั้น 10 เลขที่ 151 ถนนซนิ่ อ้ี ตอนที่ 3 กรงุ ไทเป (ใกลส้ ถานีรถไฟฟ้าต้าอัน) โทร. 02-27011413 / โทรสาร 02–27011433 (ตลอด 24 ชว่ั โมง) เฟซบุ๊ก : “สำนกั งานแรงงานไทย ไทเป” https://www.facebook.com/labourtaipei) เว็บไซต์ : https://taipei.mol.go.th


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook