Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โวหารการเขียน

โวหารการเขียน

Published by Guset User, 2023-02-20 02:18:11

Description: เอกสารการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยเรื่อง โวหารการเขียน

Keywords: โวหารการเขียน

Search

Read the Text Version

โ ว ห า ร ก า ร เ ขี ย น เรียบเรียงโดย บรรยายโวหาร นางสาวอินทิรา เพ็งกระโจม รหัสนักศึกษา 64040101226 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ พรรณนาโวหาร อุ ป ม า โ ว ห า ร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร

โ ว ห า ร ก า ร เ ขี ย น บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุ ป ม า โ ว ห า ร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร

ก คำนำ E-Book เรื่อง \"การใช้โวหารการเขียน\" ฉบับนี้เป็นส่วน หนึ่งของรายวิชาภาษาไทยจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่านและ ทักษะการใช้โวหารการเขียน ประกอบด้วย บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร ดังนั้นจึงได้มาเป็นหนังสือส่งเสริมทักษะการใช้โวหารการเขียน ทั้งนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-Book ฉบับนี้จะทำให้ผู้ อ่านเข้าใจในเรื่องการใช้โวหารการเขียน และสามารถนำหลัก การเขียนดังกล่าวมาใช้ได้อย่างถูกต้อง จัดทำโดย อินทิรา เพ็งกระโจม

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความหมายของโวหาร ๑ ประเภทของโวหารการเขียน ๒ ๓ บรรยายโวหาร ๕ ๗ พรรณนาโวหาร ๙ เทศนาโวหาร ๑๑ ๑๔ อุปมาโวหาร ๑๘ สาธกโวหาร ๒๑ แบบฝึกหัด ๒๒ เฉลยแบบฝึกหัด บรรณานุกรม ประวัติผู้จัดทำ

๑ โวหาร หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียง เป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและศิลปะ เพื่อสื่อให้ ผู้รับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน และรับสารได้ตาม วัตถุประสงคของผู้เขียน

๒ ประเภทของโวหาร การเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ แล้วแต่ละชนิดของ ข้อความโวหาร อาจจำแนก ตามลักษณะ ของข้อความหรืเนื้อหา เป็นประเภทต่าง มีโวหารการเขียน ๕ ประเภท ได้แก่ ๑.บรรยายโวหาร ๒.พรรณนาโวหาร ๓.เทศนาโวหาร ๔.อุปมาโวหาร ๕.สาธกโวหาร

๓ บรรยายโวหาร การเขียนอธิบายหรือบรรยายเหตุการณ์ที่เป็น ข้อเท็จจริง ตามลำดับเหตุการณ์ เป็นการเขียนตรงไปตรงมา ไม่เยิ่นเย้อ มุ่งความชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจ เช่น การเขียนเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ การเขียน รายงาน เขียนตำา ราและเขียนบทความ ลักษณะสำคัญ ๑. เป็นสำนวนความแบบเล่าเรื่อง อธิบายเรื่องราวตามที่ได้ พบเห็น อาจมีการแสดงความรู้ ความพอใจของผู้ส่งสาร แทรกไว้ ๒. เป็นโวหารหลักใช้มากในการเขียนทั่วไปทั้งบันเทิงคดี สารคดี การพูด และการเขียนในชีวิตประจำวัน ๓. มุ่งให้เรื่องราวหรือเหตุการณ์มากกว่าความรู้สึกและ อารมณ์

๔ ลักษณะการเขียนบรรยาย การบรรยายบุคคล : บอกเพศ วัย รูปล่างลักษณะที่เด่น การบรรยายสถานที่ : ชื่อ สถานที่ตั้ง ลักษณะพิเศษ ลักษณะย่อยที่สำคัญ บรรยายเวลา บรรยายในขณะที่ กล่าวถึง การบรรยายสิ่งของ : ชื่อ ลักษณะเด่น ลักษณะย่อย ประโยชน์ใช้สอย บอกว่าสิ่งนั้นอยู่ที่ไหน อยู่ในลักษณะ ใด ตัวอย่างบรรยายโวหาร ...สิ่งที่เรียกว่าบายศรีนั้น มีอยู่ ๒ ชนิด คือบายศรีใหญ่ชนิดหนึ่ง และบายศรีปากชามอีก ชนิดหนึ่ง บายศรีใหญ่นั้นมีไม้ตั้งเป็น แกนกลาง แล้วเอาใบตองเย็บกระทงอย่างสวยงามเรียงกับแกน กลางนั้นเป็นลำดับขึ้นไป ๗ ชั้น ชั้นยอดหรือชั้นที่ ๗ นั้น มีโถ ซึ่งเป็นโถเคลือบแบบที่เรียกกันว่า ลายน้ำทอง ใส่ข้าวตั้งไว้ด้วย ในกระทงแต่ละชั้นก็มีของกินใส่ไว้สิ่งละอันพรรณละน้อย เช่น กล้วย อ้อย และขนมนมเนยต่างๆ สิ่งที่ต้องประกอบบายศรีก็ คือ มะพร้าวอ่อนอีก ๑ ลูก

๕ พรรณนาโวหาร คือ การเรียบเรียงข้อความโดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ บุคคล สิ่งของ ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ตลอดจนความรู้สึก ต่างๆของผู้เขียน โดยเน้น ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม กับผู้เขียน ลักษณะสำคัญ ๑. เป็นสำนวนความที่เรียบเรียงขึ้น ๒. เลือกสรรถ้อยคำประณีต ความหมายชัดเจนและกระทบ อ๓า.รผมู้รณับ์ สมีากราตร้อใงช้เสกิำด นจิวนนตคภวาาพมเ(ปIรnียmบเaพืg่อeใ)ห้เเสกิมดือภนาตพนพเจอนง์ได้ ไปอยู่ ในสถานที่นั้น

๖ ตัวอย่างพรรณนาโวหาร สมใจเป็นสาวงามที่มีลำแขนขาวผ่องทั้งกลมเรียวและ อ่อนหยัดผิวขาวละเอียดเช่นเดียวกับแขน ประกอบด้วยหลัง มืออวบนูน นิ้วเล็กเรียว หลังเล็บมีสีดังกลีบดอกบัวแรกแย้ม

๗ เทศนาโวหาร คือ การเขียนอธิบาย ชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจ ชี้ให้เห็น ประโยชน์หรือโทษของเรื่องที่กล่าวถึง เป็นการชักจูงให้ผู้อื่น คล้อยตาม เห็นด้วยหรือเพื่อแนะนำสั่งสอนปลุกใจหรือเพื่อให้ ข้อคิดคติเตือนใจผู้อ่าน ลักษณะสำคัญ ๑. เป็นสำนวนความที่เน้นการใช้กระบวนการเหตุผลหรือหลักฐาน เ๒พื.่อข้ใอหค้ผ้วูราับมทสี่าพรบเขเ้ทาใศจนชาัดโ วเจหนารแอลาจะเเปชื็่อนถปืัอญตหาามความเห็น วิชาความรู้ สิ่งที่ควรประพฤติ คำสั่งสอนต่างๆ

๘ ตัวอย่างเทศนาโวหาร ...คนทุกคนในโลกต้องทำงาน ผู้ใดไม่ทำงานผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะ เป็นมนุษย์อยู่ในโลก แม้ผู้ที่มั่งมีศรีสุขหากจะไม่ทำอะไรก็มีกินมี อยู่ก็ดี การทำงานย่อมเป็นเครื่องแสดงศีลธรรมและสภาพของ มนุษย์อันดี สิ่งที่เรากินเข้าไปวันหนึ่งๆ เป็นความหมดเปลืองโลก ในชีวิตมนุษย์ของคนหนึ่งๆ ตามปกติ อายุยืนยาวประมาณ ๖๐ ปี ย่อมทำความหมดเปลืองให้แก่โลก คิดเป็นราคาเงินไม่น้อยสิ่งที่ มนุษย์เอามาใช้กินได้ ไม่ใช่ของสำเร็จจากต้นกัลปพฤกษ์ แต่เป็น สิ่งที่มนุษย์ประกอบทำ ถ้าคนไหนไม่ทำอีกคนต้องทำแทน คนไม่ ทำงานคนหนึ่งเป็นผู้เอาเปรียบแก่เพื่อนมนุษย์อยู่ในโลก

๙ อุปมาโวหาร คือ การเขียนเป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยการเปรียบ เทียบสิ่งของที่เหมือนกัน เปรียบเทียบโดยโยงความคิดไปสู่อีก สิ่งหนึ่ง หรือเปรียบเทียบข้อความตรงกันข้ามหรือ ข้อความที่ ขัดแย้งกัน ลักษณะสำคัญ ๑. เป็นสำนวนความที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อใช้เปรียบเทียบข้อความ ห๒ร.ือกเานรื้อเปหราียใบห้เชัทดียเบจนที่ขดึี้นจ ะต้องเหมาะสม และเข้าใจง่าย ๓. เป็นโวหารที่มักใช้ประกอบกับโวหารอื่นๆ คือ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร

๑๐ ตัวอย่างอุปมาโวหาร โลกนี้เป็นโรงละครและท่านเป็นผู้เล่น จงออกแบบ ฉากด้วยความกล้า การประหม่าและความลังเลจะไม่ทำให้ท่าน แสดงบทบาทได้ถูกเลย จงหมายเป็นตัวเอกเสมอ ถ้าท่านจะทำ ผิดก็ขอให้ผิดด้วยความกล้าเถิด

๑๑ สาธกโวหาร คือ การหยิบตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบายเพื่อ สนับสนุนข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้อ่านเข้าใจ และเกิดความเชื่อถือ ลักษณะสำคัญ ๑. เป็นสำนวนความที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้รับสาร เข้าใจเนื้อเรื่องที่กำลังกล่าวชัดเจนขึ้น ๒. เรื่องราวที่ยกมาเป็นตัวอย่างอาจเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ข่าว นิทาน เป็นต้น ๓. เป็นโวหารประกอบโวหารอื่นๆ คือ บรรยายโวหาร พรรณนา โวหาร และเทศนาโวหาร

๑๒ ตัวอย่างสาธกโวหาร ในชีวิตคนไทยทั่วไป การดำรงชีพอาศัยประเพณีและการ ปรองดองกันในหมู่ญาติมิตร บทบาทของหญิงกับชายจึงไม่ แตกต่างกัน ในการประกอบอาชีพหรือในการแสดงฝีมือใน ด้านใดแม้ในการทหารหญิงไทยก็แสดงความสามารถดัง ปรากฏในประวัติศาสตร์ เช่น พระศรีสุริโยทัยเสด็จทับออกไป รบพม่าด้วยกันกับพระสวามี ท้าวสุรนารีในรัชกาลที่ ๓ และ ท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทรในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ก็สามารถ ขับไล่พม่าข้าศึกมิให้ตีเมืองถลางได้ ซึ่งก็ได้รับความยกย่อง ตลอดมา

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดที่ ๑ ๑๔ คำชี้แจง : ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าข้อความที่กำหนดให้ คือโวหารการเขียนชนิดใด ๑. โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างอธิบายให้ ตอบ............................................................... ๒. โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่างๆตามลำดับ เหตุการณ์ ตอบ................................................................ ๓. โวหารที่มุ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วมกับ ผู้เขียน ตอบ................................................................ ๔. โวหารที่แสดงอาการสั่งสอนชี้ให้เห็นประโยชน์หรือโทษ ของเรื่องที่กล่าวถึง เป็นการชักจูงให้ผู้อื่นคล้อยตาม ตอบ................................................................. ๕. โวหารที่ใช้เปรียบเทียบ โดยการนำสิ่งที่คล้ายคลึงกันมา เปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจน ตอบ..................................................................

แบบฝึกหัดที่ ๒ ๑๕ คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบว่าข้อความต่อไปนี้เป็นโวหาร ชนิดใด ๑. มังกุเป็นชื่อเรือพายชนิดหนึ่งที่แสดงถึงความ มีหน้ามีตาของผู้ใช้ เพราะเป็นเรือที่แข็งแรงมีกระดูก งู ใหญ่เป็นพิษและเป็นเรือยาวแบบเรือกัญญาของผู้มีบุญ หนักศักดิ์ใหญ่ หัวและท้ายของเรือมังกุนั้นงอนขึ้นเช่นเดียว กับหัวและห้ายของเรือโขมดยาต่างตรงกันตรงโขนหรือหัว ของเรือมังกุนั้นเป็นสามเส้า ในสมัยโบราณการไปไหนมาไหนที่สะดวกที่สุดมีแต่ ทางเรือ เจ้าของเรือจึงเอาใจใส่ดูแลตกแต่งเป็นพิเศษ เช่น แกะสลักหัวเรื อท้ายเรือเป็นหัวและหางของสัตว์ต่างๆ ตอบ................................................

๑๖ ๒. ระเบียงด้านหลังนั้นทำเป็นเฉลียงลอย ปกคลุม ด้วยเถาองุ่นหนาทึบยื่นออกไปเหนือสวนญี่ปุ่น ซึ่งจัดไว้ อย่างประณีต ทางเดินซึ่งปูด้วยหินกลมๆ ห่างๆกัน มีหญ้า ขึ้นเขียวชอุ่ม ทอดวกวนไปจนจดธารน้ำลำลอง ซึ่งจัดเป็น เกาะแก่ง คดเคี้ยว ริมน้ำปลูกต้นหลิวใหญ่ทอดกิ่งก้านสา ขาลู่ลมอยู่เหนือพุทธรักษาสีเหลืองแดงออกดอกสะพรั่งบน ก้อนหินกลางริมธารตั้งตะเกียงหินสีขาวโพลนเด่นตระหง่าน ชิดกำแพงบ้านเป็นพงอ้อหนาทึบดอกไสว ตอบ................................................

เฉลย แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด ๑๘ แบบฝึกหัดที่ ๑ คำชี้แจง : ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าข้อความที่กำหนดให้ คือโวหารการเขียนชนิดใด ต๑อ. บโว..ห...า.ร..ท.ีส.่ม.า่.ุ.ธง..ใก..หโ.้.วค..หว..าา..รม..ช.ั.ด...เ.จ..น....โ..ด..ย..ก..า..ร..ย..ก..ต.ั.ว..อ...ย.่างอธิบายให้ ๒. โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่างๆตามลำดับ ตเหอตบุก..า.ร..ณ..บ์..ร..ร..ย..า..ย..โ..ว..ห..า..ร..................................... ๓. โวหารที่มุ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ ธตผู้รอเรขบีมย..ชน..า.ต.พ.ิ..รส..รภ.ณ..า.พน...าแ.โ..วว.ด. ห..ล.า้.อร..ม....เ.พ.ื.่.อ..ใ..ห.้..ผ้.ู.อ.่.า..น..เ..ก.ิ.ด..ค..ว..า..มรู้สึกร่วมกับ ๔. โวหารที่แสดงอาก ารสั่งสอนชี้ให้เห็นประโยชน์หรือโทษ ขตอองบเ.ร.ื่.อ..ง..ทเ.ี.ท่ก..ศ.ล.่น.า.ว.า.โถ.ึ.วง..ห..เา.ป.ร็..น..ก..า..ร..ช.ั.ก..จ.ู.ง..ใ..ห.้.ผ.ู.้.อ.ื่.น..ค...ล.้.อ..ย..ต..าม ๕. โวหารที่ใช้เปรียบเทียบ โดยการนำสิ่งที่คล้ายคลึงกันมา เตปอรบีย.บ...เ.พ.ื.่.ออ.ุ.ปใ..หม.้..เา.กโ.ิ.ดว..หค...าว.ร.า.ม...ช.ั.ด..เ.จ...น.............................

เฉลยแบบฝึกหัด ๑๙ แบบฝึกหัดที่ ๒ คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบว่าข้อความต่อไปนี้เป็นโวหาร ชนิดใด ๑. มังกุเป็นชื่อเรือพายชนิดหนึ่งที่แสดงถึงความ มีหน้ามีตาของผู้ใช้ เพราะเป็นเรือที่แข็งแรงมีกระดูก งู ใหญ่เป็นพิษและเป็นเรือยาวแบบเรือกัญญาของผู้มีบุญ หนักศักดิ์ใหญ่ หัวและท้ายของเรือมังกุนั้นงอนขึ้นเช่นเดียว กับหัวและห้ายของเรือโขมดยาต่างตรงกันตรงโขนหรือหัว ของเรือมังกุนั้นเป็นสามเส้า ในสมัยโบราณการไปไหนมาไหนที่สะดวกที่สุดมีแต่ ทางเรือ เจ้าของเรือจึง เอาใจใส่ดูแลตกแต่งเป็นพิเศษ เช่น แกะสลักหัวเรือท้ายเรือเป็นหัวและหางของสัตว์ต่างๆ ตอบ.......บ...ร..ร..ย..า.ย..โ..ว..ห...า.ร.....................

๒๐ ๒. ระเบียงด้านหลังนั้นทำเป็นเฉลียงลอย ปกคลุม ด้วยเถาองุ่นหนาทึบยื่นออกไปเหนือสวนญี่ปุ่น ซึ่งจัดไว้ อย่างประณีต ทางเดินซึ่งปูด้วยหินกลมๆ ห่างๆกัน มีหญ้า ขึ้นเขียวชอุ่ม ทอดวกวนไปจนจดธารน้ำลำลอง ซึ่งจัดเป็น เกาะแก่ง คดเคี้ยว ริมน้ำปลูกต้นหลิวใหญ่ทอดกิ่งก้านสา ขาลู่ลมอยู่เหนือพุทธรักษาสีเหลืองแดงออกดอกสะพรั่งบน ก้อนหินกลางริมธารตั้งตะเกียงหินสีขาวโพลนเด่นตระหง่าน ชิดกำแพงบ้านเป็นพงอ้อหนาทึบดอกไสว ตอบ......พ...ร..ร..ณ..น...า.โ..ว..ห...า.ร.....................

บรรณานุกรม ๒๑ โวหารการเขียน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://docs.google.com การใช้โวหาร. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://np.thai.ac/ โวหาร. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://elfhs.ssru.ac.th/

๒๒ ประวัติผู้จัดทำ นางสาวอินทิรา เพ็งกระโจม รหัสนักศึกษา ๖๔๐๔๐๑๐๑๒๒๖ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

โวหาร การเขียน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook