HE L L O ประวัติศาสตร์สากล อารยธรรมจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำโดย ครูสานิยา วิทยาพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ เรื่อง อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง 2560) โดยมีเป้าหมายให้ครูใช้เป็นสื่อในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ หลักสูตรกำหนด นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และขั้นตอนการเรียนรู้ นักเรียนที่ศึกษา เอกสารประกอบการเรียน เล่มนี้จะได้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ขั้นพื้นฐานที่ได้นี้ ไปพัฒนากระบวนการเรียน รู้และใช้เป็นเครื่องมือนำทางให้นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินได้อย่างมีคุณภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ตลอด ทั้งมีความสุขในการเรียนและเป็นคนดีของสังคมสืบไป ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) เรื่อง อารยธรรมของโลกยุคโบราณ จะเป็นประโยชน์ ต่อนักเรียน ครูและรวมถึงผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ต่อไป นางสาวสานิยา วิทยาพันธ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเขาชัยสน
คำชี้แจง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) เรื่อง อารยธรรมของโลกยุคโบราณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สิ่งที่ นักเรียนควรปฏิบัติก่อนการจัดการเรียนรู้ ขณะจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ 1.นักเรียนควรมีสมาธิและมีความตั้งใจในการเรียน ไม่รีบร้อน หากมีข้อสงสัยให้ซักถามครูผู้สอนในทันที 2.นักเรียนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อทราบความก้าวหน้าในการเรียนของ ตนเอง 3.เมื่อนักเรียนได้ศึกษาและทราบผลความก้าวหน้าของตนเองแล้ว ให้เก็บเอกสารหรืออุปกรณ์การเรียนต่างๆที่ นำมาให้เรียบร้อย ขอให้นักเรียนทุกคนมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ค่ะ นางสาวสานิยา วิทยาพันธ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเขาชัยสน
อารยธรรมจีน อารยธรรมจีนโบราณเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในเขตลุ่มแม่น้ำฮวงโห จากนั้น ได้ขยายเข้าไปในเขตแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นอารยธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และมีอิทธิพลต่อการหล่อ หลอมอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ อารยธรรมจีนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห คือที่ราบตอนปลายของแม่น้ำ ฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียง อารยธรรมจีนเจริญโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อย เพราะทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกและทิศเหนือเป็นทุ่งหญ้า ทะเล ทราย และเทือกเขา จีนถือว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก เป็นแหล่งกำเนิดความเจริญ แหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่พบมีอายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลที่ตำบล ยาง เชา เรียกวัฒนธรรมยางเชา มณฑลเฮอหนาน และวัฒนธรรมลุงชาน ที่เมือง ลุงชาน มณฑลชานตุง พบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา กระดูก วัว กระดองเต่าเสี่ยงทาย
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ -ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลัก ฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลาย เรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมี การพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ -ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่ม ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่ม ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลาย ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเริ่มตั้งแต่ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัย ตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลาย ราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการ ราชวงศ์โจว ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง ระบอบสังคมนิยม ปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน
วัฏจักรของราชวงศ์ (Dynastic Circle) วัฏจักรของราชวงศ์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการหล่อหลอมอารยธรรมจีน เพราะทำให้เกิดการ ยอมรับอำนาจของผู้นำใหม่เพราะชาวจีนเชื่อว่าผู้นำของตนนั้นได้รับอาณัติจากสวรรค์ จึงยกย่องว่าเป็น โอรสแห่งสวรรค์ ทำให้จักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองสามารถเกณฑ์แรงงานและจัดเก็บภาษี เพื่อพัฒนาความเจริญและป้องกันอาณาจักร
ความเจริญรุ่งเรืองของ อารยธรรมจีนโบราณ 1. อักษรจีน จีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมีภาษาถิ่นจำนวนมาก ทำให้ไม่อาจติดต่อสื่อสารกันได้ จีนจึงประดิษฐ์อักษรจีนเป็นอักษร ภาพ ไม่มีพยัญชนะ อักษรแต่ละตัวมีความหมายชัดเจน ดังนั้น ชาวจีน ที่พูดภาษาต่างกันก็สามารถสื่อสารตรงกันด้วยอักษรภาพ 2. ความก้าวหน้าด้านดาราศาสตร์ ชาวจีนโบราณได้คิดทำปฏิทิน แบบจันทรคติ เมื่อ 3,000 กว่าปีมาแล้ว โดยการสังเกตฤดูกาล ได้แก่ ฤดูผลิต ฤดูเก็บเกี่ยว และฤดูหนาว ซึ่งหมุนเวียนเป็นวัฏจักรแต่ละรอบ นับเป็น 1 ปี มี 365 วัน รวมทั้งยังประดิษฐ์กล้องดูดาว
ความเจริญรุ่งเรืองของ อารยธรรมจีนโบราณ 3. ปรัชญา ปรัชญาของจีนไม่ได้พัฒนาจากความเชื่อเกี่ยวกับชีวิต หลังความตายแต่เป็นการค้นพบหลักธรรมเพื่อการดำรงชีวิตในโลก ปัจจุบัน ปรัชญาเหล่านั้น ได้แก่ - ลัทธิขงจื๊อหรือขงจื่อ ลัทธินี้เชื่อว่าการศึกษาสอนให้คนมี คุณธรรมและจริยธรรมการศึกษาจึงแพร่หลายในสังคมจีนและเป็น อารยธรรมสำคัญของสังคมจีน - ลัทธิเต๋า เชื่อว่า การมีชีวิตที่สงบสุข คือ การมีชีวิตอยู่กับ ธรรมชาติ และหลีกหนีความวุ่นวายจากสังคมเมือง
ความเจริญรุ่งเรืองของ อารยธรรมจีนโบราณ - กลุ่มนิติธรรมนิยม (ฟาเจี่ย) แนวคิดของกลุ่มนี้เน้นการใช้กฎ ระเบียบควบคุมสังคม เพราะเชื่อว่ามนุษย์เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบ ผู้อื่น จึงต้องมีกฎหมายไว้จัดระเบียบสังคม -ลัทธิธรรมชาตินิยม สำนักนี้เชื่อว่าทุกอย่างในจักรวาลต้องมีความ สมดุลทั้งในสังคมมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้น สิ่งใดที่ขาดความ สมดุลก็จะไม่ยั่งยืน
ความเจริญรุ่งเรืองของ อารยธรรมจีนโบราณ 4. การก่อสร้าง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาวจีนโบราณที่ โดดเด่นและยั่งยืนถึงปัจจุบัน คือ กำแพงเมืองจีนสร้างตามแนว สันเขามีความยาว 2,400 กิโลเมตร นอกจากนี้ชาวจีนโบราณ สามารถสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่อื่น ๆ อีก เช่น พระราชวังและ สุสานขนาดใหญ่ของราชวงศ์ฉิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ -พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ -วัฒนธรรมแรก คือ วัฒนธรรมหยางเซ่า อยู่ทางตอนเหนือของจีน -มีการเพาะปลูก ทำเครื่องมือจับปลา เครื่องปั้นดินเผา แบบลายเขียนสี -ในยุคโลหะ-สำริด มีวัฒนธรรมหลงซาน อยู่เป็นชุมชนใหญ่ มีถนน มีการจัดระเบียบการ ปกครอง การทำเครื่องปั้นดินเผาแบบรมดำ นำหยกมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
สมัยประวัติศาสตร์ 1. ราชวงศ์ชาง -มีการประดิษฐ์ตัวอักษรแบบรูปภาพบนกระดูกสัตว์และบนกระดองเต่า -มีการทำเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยสำริด -นับถือเทพเจ้าแห่งการเพาะปลูก เรียกว่าชางตี้ ทำปฏิทินบอกฤดูกาลต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพาะปลูก 2. ราชวงศ์โจว -เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจีนนานที่สุด ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ของจีน -มีความเชื่อว่ากษัตริย์คือโอรสแห่งสวรรค์ -มีความรุ่งเรืองทางปรัชญา เกิดลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า -มีการประดิษฐ์เข็มทิศการประดิษฐ์ตะเกียบเพื่อใช้หยิบอาหารซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจีน
สมัยประวัติศาสตร์ 3. ราชวงศ์ฉิน -ปฐมจักรพรรดิ คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ -สามารถรวมจีนให้เป็นปึกแผ่น และมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองมณฑลต่างๆ -ปรดให้สร้างถนน ขุดคลอง เพื่อเชื่อมโยงราชธานีกับมณฑลต่างๆ -ทรงให้สร้างกำแพงเมืองจีน โดยต่อเติมและเชื่อมโยงจากกำแพงที่มีอยู่เดิม -สัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ พระราชวังขนาดใหญ่ และสุสานที่มีทรัพย์สินและรูปปั้นขนาด เท่าตัวจริงของนักรบและม้า
สมัยประวัติศาสตร์ 4. ราชวงศ์ฮั่น -เป็นสมัยที่จีนมีความเจริญรุ่งเรือง -เริ่มมีการสอบจอหงวน -พระพุทธศาสนาจากอินเดียเริ่มเผยแผ่สู่จีน มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมจีนมาก -มีการสำรวจเส้นทางสายไหมเพื่อใช้ติดต่อกับอินเดีย และยุโรป -ซือหม่า เชียน ได้ปรับปรุงปฏิทินจันทรคติ และเขียนหนังสือ สื่อจี้ -มีการประดิษฐ์กระดาษ และเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว -เมื่อสิ้นสุดสมัยราชวงศ์ฮั่น จีนเกิดการแตกแยกภายใน หรือสมัยสามก๊ก แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว พระพุทธศาสนา มีความ เจริญรุ่งเรืองมาก
สมัยประวัติศาสตร์ 5. ราชวงศ์ถัง -จีนกลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และนับเป็นยุคทองของจีน -มีเขตแดนกว้างใหญ่ อารยธรรมรุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะด้านบทกวี และจิตรกรรม -มีการเผยแผ่ศาสนามากมาย และพระถังซำจั๋ง เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่อินเดีย ทำให้เกิดการแปล พระไตรปิฎก เป็นภาษาจีนจำนวนมาก 6. ราชวงศ์ซ้อง -จีนถูกชนเผ่าทางเหนือรุกรานจนต้องย้ายเมืองหลวงลงมาทางใต้ -มีการประดิษฐ์ดินปืน เพื่อใช้ในการทำดอกไม้ไฟ -งานศิลปะที่โดดเด่น ได้แก่ ภาพวาด และเครื่องกระเบื้อง
สมัยประวัติศาสตร์ 7. ราชวงศ์หยวน -อำนาจและชื่อเสียงของจีนขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีอาณาเขตไปจนถึงยุโรป -ชาวยุโรปเดินทางเข้าสู่ราชสำนักจีน ที่สำคัญ คือมาร์โค โปโล ได้เขียนบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับจีนในยุคนั้นไว้ 8. ราชวงศ์หมิง -ระยะแรก เมืองหลวงอยู่ที่เมืองหนานจิง ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เป่ย์จิง(หรือปักกิ่งในปัจจุบัน) -มีการส่งกองเรือขนาดใหญ่ออกสำรวจทางทะเลไปจนถึงแอฟริกาตะวันออก -มีการแต่งวรรณกรรมสำคัญ เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว
สมัยประวัติศาสตร์ 9. ราชวงศ์ชิง -ในระยะแรกขยายอำนาจออกไปได้กว้างใหญ่ แต่ต่อมาเสื่อมอำนาจเพราะจักรพรรดิไม่มีความสามารถ และเกิด การฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมาก -มีการทำสงครามฝิ่นระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งจีนเป็นฝ่ายแพ้ -การเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปกครองแบบจักรพรรดิสิ้นสุดลง
Search
Read the Text Version
- 1 - 19
Pages: