ประวัติศาสตร์สากล อารยธรรม เมโสโปเตเมีย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำโดย ครูสานิยา วิทยาพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ เรื่อง อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง 2560) โดยมีเป้าหมายให้ครูใช้เป็นสื่อในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ หลักสูตรกำหนด นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และขั้นตอนการเรียนรู้ นักเรียนที่ศึกษา เอกสารประกอบการเรียน เล่มนี้จะได้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ขั้นพื้นฐานที่ได้นี้ ไปพัฒนากระบวนการเรียน รู้และใช้เป็นเครื่องมือนำทางให้นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินได้อย่างมีคุณภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ตลอด ทั้งมีความสุขในการเรียนและเป็นคนดีของสังคมสืบไป ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) เรื่อง อารยธรรมของโลกยุคโบราณ จะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียน ครูและรวมถึงผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ต่อไป นางสาวสานิยา วิทยาพันธ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเขาชัยสน
คำชี้แจง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) เรื่อง อารยธรรมของโลกยุคโบราณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สิ่งที่นักเรียนควรปฏิบัติก่อนการจัดการเรียนรู้ ขณะจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ 1.นักเรียนควรมีสมาธิและมีความตั้งใจในการเรียน ไม่รีบร้อน หากมีข้อสงสัยให้ซักถามครูผู้สอนในทันที 2.นักเรียนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อทราบความก้าวหน้าในการเรียน ของตนเอง 3.เมื่อนักเรียนได้ศึกษาและทราบผลความก้าวหน้าของตนเองแล้ว ให้เก็บเอกสารหรืออุปกรณ์การเรียน ต่างๆที่นำมาให้เรียบร้อย ขอให้นักเรียนทุกคนมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ค่ะ นางสาวสานิยา วิทยาพันธ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเขาชัยสน
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (อังกฤษ: Mesopotamia; กรีก: Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์ แปลว่า \"ที่ระหว่างแม่น้ำ\" (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) โดยมีนัยหมายถึง \"ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสกับยูเฟรทีส\" ดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ \"พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์\" (Fertile Crescent) ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดม สมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจาก กลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบน เทือกเขาในอาร์มีเนีย น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้น ของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สิน และชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่อง บั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามา ใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไปพวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณ หุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มา จากทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ หลาย กลุ่ม มิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์ คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวซูเมอร์ ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ ชาวซูเมอร์สร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจน ทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวซูเมอร์ ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่าง แม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ใน ประเทศอิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกัน แล้วไหลลง สู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็น เขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชีนา (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่ แม่น้ำพัดพามา กล่าวคือ ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอา โคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำ ทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้ว ประมาณ 1 ไมล์ครึ่งทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวัน ตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาหรับซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรด ที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย แห้งแล้งเรียกว่า บาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนอุดมสมบูรณ์เรียกว่าอัสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลาย เผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็น ชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสม ปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัย ประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้าง
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย 1. ความคิดสร้างสรรค์ในการรักษา 2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เม 3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วย ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรม โสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของ เป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอก ของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ กลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะ แม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ ขึ้น ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกัน 1.1 สุเมเรียน (Sumerians) ขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมีย 1.2 อัคคาเดียน (Akkadians) สามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดน 1.3 อะมอไรท์ (Amorites) ธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโส 1.4 คัสไซท์ (Kassites) โปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรด 1.5 อัสซีเรียน (Assyrians) เทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าว 1.6 แคลเดียน (Chaldeans) เปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนว เทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเล ทรายอารเบียน
สมัยอาณาจักรสุเมเรีย (3,200-2,300 ปีก่อนคริตส์ศักราช) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ •เดิมสร้างหมู่บ้านตามเนินเขา รู้จักเลี้ยงสัตว์เพาะปลูก และประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ •ต่อมาอพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำ เกิดสถาบันสังคมแบบใหม่ จนเกิดเป็น “อารยธรรม” •เกิดสังคมเมืองขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งเป็นนครรัฐ •ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของกษัตริย์ นักบวช และชาวเมืองที่มั่งคั่ง โดยมีชาวนาเป็น แรงงานในการเพาะปลูก
สมัยอาณาจักรสุเมเรีย (3,200-2,300 ปีก่อนคริตส์ศักราช) มรดกทางวัฒนธรรม •ชาวซูเมเรียประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม •งานวรรณกรรม ที่สำคัญได้แก่ มหากาพย์กิลกาเมช •มีการสร้างสร้างเทวสถานขนาดใหญ่ เรียกว่า ซิกกูแรต เพื่อใช้บูชาพระเจ้า และใช้ เป็นที่สอนหนังสือให้แก่นักบวชรุ่นเยาว์ •ประดิษฐ์จานหมุนเพื่อใช้ปั้นภาชนะดินเผา ถือว่าเป็นเครื่องกลชนิดแรกของโลก •การสร้างวงล้อที่ประกอบติดกับเพลา เพื่อใช้กับเกวียนและรถศึก ทำให้การรบมี ประสิทธิภาพ •มีความสามารถเชิงคณิตศาสตร์ •สนใจการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อันเป็นที่มาของวิชา โหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ในเวลาต่อมา
สมัยอาณาจักรบาบิโลนเก่า (2,000 – 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ •ชนเผ่าอะมอไรต์เข้าพิชิตดินแดนทั้งหมดของพวกซูเมเรีย และสร้างศูนย์กลางอำนาจปกครองที่ กรุงบาบิโลน จึงถูกเรียกว่า “พวกบาบิโลน” •อาณาจักรมีลักษณะเป็นรัฐสวัสดิการที่รัฐดูแลพลเมืองอย่างใกล้ชิด มรดกทางวัฒนธรรม •ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ซึ่งยึดหลัก “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่ สังคม •แนวคิดเรื่องความยุติธรรมได้กลายเป็นรากฐานของกฎหมายในประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน
สมัยจักรวรรดิอัสซีเรีย (1,300 - 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม •พวกอัสซีเรียเข้ายึดครองดินแดนทั้งหมดของเมโส •นิยมสร้างวังแทนวัดเพื่อเป็นที่ประทับและ โปเตเมีย มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองนิเนเวห์ ศูนย์กลางการปกครอง สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูกษัตริย์ใน ฐานะนักรบและนักล่า
สมัยอาณาจักรคาลเดียหรือบาบิโลนใหม่ (612-539 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ •มีการแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน วันละ 12 คาบ คาบละ 120 นาที •พวกคาลเดียนโจมตีและยึดครองเมือง •สามารถพยากรณ์สุริยุปราคา และเวลา นิเนเวห์ โดยตั้งอาณาจักรบาบิโลนใหม่ การโคจรของดวงอาทิตย์ได้ถูกต้อง •มีการก่อสร้างและขยายเมืองจนใหญ่ •ให้ความสำคัญแก่วิชาโหราศาสตร์ โต สร้างพระราชวังหลายชั้น แต่ละชั้น ปลูกต้นไม้นานาพันธุ์ จนได้ชื่อว่า “สวนลอยแห่งบาบิโลน” เป็น 1 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของฟินิเชีย สมัยแห่งอาณาจักรขนาดเล็ก (1,200 - 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของฮิบรู หรือยิว มรดกทางวัฒนธรรม
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของฟินิเชีย สมัยแห่งอาณาจักรขนาดเล็ก (1,200 - 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช) •ฟินิเชียเป็นชื่อที่ชาวกรีกใช้เรียกพวกแคนาไนต์ •มีความสามารถทางการค้า สร้างเรือเดินสมุทรและจัดตั้งอาณานิคมก่อนชาวกรีก •สร้างอาณาจักรคาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา และอาณาจักรในเกาะซิซิลี มรดกทางวัฒนธรรม •การนวัตกรรมตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง โดยปรับปรุงแก้ไขอักษรเฮียราติกและอักษร ลิ่มจนเกิดเป็นพยัญชนะ 22 ตัว •ชาติต่างๆ ได้นำไปดัดแปลงจนเป็นตัวอักษรของตนโดยเฉพาะในภาษากรีกและ ละตินจึงถือว่าเป็นต้นตระกูลของอักษรของชาติตะวันตก
สมัยแห่งอาณาจักรขนาดเล็ก (1,200 - 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของฮิบรูหรือยิว •พวกยิวถูกกวาดต้อนไปเป็นทาสในสมัยอาณาจักรบาบิโลนใหม่ ต่อมาตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของเปอร์เซีย กรีก และถูกกองทัพโรมันปราบจนกลายเป็นชนเผ่าเร่ร่อน •พวกยิวจึงแสวงหาดินแดนแห่งพันธสัญญา ดินแดนปาเลสไตน์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นบนดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งกลายเป็นปัญหาทางการ เมืองที่สำคัญในปัจจุบัน มรดกทางวัฒนธรรม •การนับถือพระเจ้าองค์เดียว •พันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นภาคแรกของพระคัมภีร์ไบเบิล สะท้อนให้ เห็นถึงแนวคิด วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของผู้คน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ พัฒนาการทางวัฒนธรรมยุโรป •ศาสนายูดาย เป็นต้นกำเนิดของคริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม
Search
Read the Text Version
- 1 - 16
Pages: