Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 6338Worksheet5

6338Worksheet5

Published by paraneewangchaowna, 2021-09-16 04:42:42

Description: 6338Worksheet5

Search

Read the Text Version

ผลกระทบของเทคโนโลยสารสนเทศ ต่อการดําเนินชีวิต

1. อธิบายเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบทางบวกของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินชีวิตมาโดยละเอียด 1.1เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1. ด้านคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศทําให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ได้แก่ • มนุษย์นําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความ เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอ็กซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถ ตรวจดู อวัยวะต่าง ๆของร่างกายได้อย่างละเอียด เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทําให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง การผลิตยา และ วัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขึ้นสูงเข้าช่วยด้วย 2. ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านบวกต่อสังคม ดังนี้ •เทคโนโลยีสารสนเทศทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็น สังคมสารสนเทศ กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้สารสนเทศใน การตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทุกหน แห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม •เทคโนโลยีสารสนเทศทําให้เกิดชุมชนเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกัน และกันได้และความรู้เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบ คอมพิวเตอร์และสามารถเรียกใช้ได้ตามต้องการ 3. ด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศทําให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ • การสร้างโปรแกรมจําลองสถานการณ์ต่าง ๆทําให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้ อย่างชัดเจน เช่น การจําลองสภาวะสิ่งแวดล้อม การจําลองระบบมลภาวะ การจําลองการไหลของของเหลว หรือแม้แต่การนําเอาคอมพิวเตอร์มาจําลองให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพที่เสมือน จริง เช่น จําลองการเดินเรือ จําลองการขับเครื่องบิน จําลองการขับรถยนต์เป็นต้น ซึ่งลดความผิดพลาดจากความเสียหายและความเสี่ยง จากการได้รับอันตรายของผู้เรียนลงได้ •เทคโนโลยีสารสนเทศทําให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของ สังคม การเมือง เศรษฐกิจโลก รวมทั้งเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทําให้ มนุษย์ต้องขวนขวายพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยการเรียนรู้ด้วย ตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลก แหล่งที่มา:ใบงานknowledgesheet5หน้าที่1

2.1เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ได้แก่ - มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มนุษย์ใช้หุ่นยนต์ช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องเสี่ยงกับอันตราย หรือในงานที่ต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิต เช่น หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ เป็นต้น - มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจ ที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้ คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย 2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านบวกต่อสังคม ดังนี้ - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้ สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม กันในสังคม - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชนเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความ รู้ซึ่งกันและกันได้ และความรู้เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกใช้ได้ตามต้องการ 3) ด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ - การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน เช่น การจำลองสภาวะสิ่ง แวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพ ที่เสมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน จำลองการขับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งลดความผิดพลาดจากความเสียหายและ ความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายของผู้เรียนลงได้ แหล่งที่มา: https://1th.me/SazdQ

2.2เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพ ในการทำงาน ทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ในขณะเดินทางไปยังที่ต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มี อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 2) ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพดีและปริมาณพอ เพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีผลต่อการผลิตมาก 3) ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่าย คอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัยมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่นงาน สำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยารักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงานค้นคว้า วิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูป แบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้แล้ว และที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยด้านต่างๆ มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ อย่างมาก

4) ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้กิจการทางด้านการแพทย์ เจริญก้าวหน้าขึ้นอีกมาก ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล เรามีเครื่องมือตรวจหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด มีเครื่องมือ ที่ใช้ในการตรวจค้นหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มี เครื่องมือที่วัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้อยู่ที่ จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่งคำถามมาปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มี การรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญการจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา เครื่องมือช่วยคนพิการต่างๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนา เทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่างๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย 5) ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆ รวดเร็ว มีความแม่นยำ และสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้มาก การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอด ชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์หาทาง ศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เช่นการจำลองสภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว การควบคุม ระบบจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับ รถยนต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์ และให้เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาสมัยใหม่ เชื่อมโยงติดต่อกันทาง อินเทอร์เน็ต สามารถเรียกค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ คอมพิวเตอร์ จึงมีบทบาทที่ทำให้มนุษย์ได้รับข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิม และเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง

6) เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง การใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้าขาย ธุรกิจต่างๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแสเงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมจะ ผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ธุรกิจอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน เกิดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า อีดีไอ (Electronic Data Interchang : EDI) 7) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่อโลกให้เล็กลง สังคมโลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียน รู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี ทำให้ลดปัญหาในเรื่องความขัดแย้ง 8) ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบบประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุแจ้งผล การนับคะแนนที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว แหล่งที่มา: https://1th.me/zUamH

2.3เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1)ด้านคุณภาพชีวิต มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมนุษย์ใช้ระบบ โทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก 2)ด้านสังคม สังคมใช้สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิด ชุมชมเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดี่ยวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ 3)ด้านการเรียนการสอน การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) แหล่งที่มา: https://1th.me/jnqtZ

2.4เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพชีวิต o มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน o มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ o มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก 2)ด้านสังคม o สังคมใช้สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร o เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชมเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดี่ยวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่ง กันและกันได้ 3)ด้านการเรียนการสอน o การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน o เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) แหล่งที่มา: https://1th.me/dXzWb

2.5เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1. ช่วยส่งเสริมงานค้นคว้าด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มีส่วนสำคัญในการช่วยให้งานค้นคว้าด้านเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมาก เพราะสามารถช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อนซึ่งไม่ สามารถทำได้มาก่อน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การควบคุมการส่งดาวเทียม การส่งยานอวกาศ การคำนวณออกแบบอาคารหรือโครงสร้าง ใหญ่ๆ จะทำได้ยากถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ อนึ่ง นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักเทคโนโลยีปัจจุบันยังสามารถใช้ข้อมูลจากธนาคารข้อมูล (Data Bank) สำหรับอ้างอิงและคิดค้นสร้างงานวิจัยหรืองานค้นคว้าใหม่ๆ ในสาขาของตนเพิ่มได้อีกด้วย งานค้นคว้าวิจัยเหล่านี้ในที่สุดก็ กลับมามีผลต่อประชาชนในด้านต่างๆ 2. ช่วยส่งเสริมด้านความสะดวกสบายของมนุษย์ คอมพิวเตอร์สามารถช่วยให้มนุษย์ทำงานต่างๆ ได้อย่างสะดวยสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะในสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิต กระแสไฟฟ้า โรงพยาบาล เครื่องบิน รถยนต์ ฯลฯ คอมพิวเตอร์ช่วยจัดลำดับงาน ช่วยพิมพ์ช่วยควบคุมการขึ้นและลงของเครื่องบิน ช่วย ควบคุมเครื่องมือต่างๆให้ทำงาน อย่างเที่ยงตรง และมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยให้เรามีเวลาพักผ่อนและคลายความเครียดจากการทำงานได้มาก 3. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ท้าทายปัญญา ความคิดของมนุษย์กล่าวคือ มนุษย์จะเป็นผู้เขียนคำสั่งบงการให้เครื่องทำงานตามที่ต้องการ แม้คอมพิวเตอร์จะทำให้เราคิดคำนวณน้อยลง แต่เราจะต้องใช้ความคิดในการสั่งงาน ในการแก้ปัญหามากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ความ ก้าวหน้าของระบบคอมพิวเตอร์ด้านการศึกษาช่วยให้มนุษย์ได้ศึกษาและเข้าใจวิชาการต่างๆ มากขึ้น ทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติและเข้าใจ ตัวเองมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

4. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย เมื่อใดที่ครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถมีคอมพิวเตอร์ใช้รัฐบาลอาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย เช่น ใช้ส่ง ข่าวสารของรัฐไปสู่ทุกครอบครัวโดยตรง ใช้รับข้อมูลความคิดเห็นจากประชาชน ประมวลผลข้อมูลที่ได้รับเพื่อให้ได้ข้อสนเทศที่เกิด ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของรัฐบาล และจัดทำสถิติข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็วเพื่อดำเนินงานตามความต้องการของประชาชนได้ทัน ใน ขณะนี้แม้จะยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ในทุกครัวเรือน แต่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ทำให้ผู้ออกเสียงลงคะแนน ทราบผลการลงคะแนนอย่างรวดเร็ว 5. ช่วยส่งเสริมสุขภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้นคว้าทางด้านการแพทย์เจริญรุดหน้าไปมาก ดังจะเห็นว่ามีเครื่องตรวจหัวใจ เครื่องตรวจสมอง เครื่องตรวจ สายตาที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม เป็นต้น นอกจากงานด้านเครื่องมือแพทย์แล้ว ยังนำมาใช้ช่วยศึกษาสถิติประวัติการรักษาคนไข้ด้วยยา ประเภทต่างๆ ว่าได้ผลเสียงเพียงใด ช่วยในด้านการวินิจฉัยโรค และช่วยในการสกัดและป้องกันโรคระบาดด้วย ผลก็คือ ประชาชนจะมี สุขภาพดีและมีชีวิตยืนยาวยิ่งขึ้น 6. ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง การใช้คอมพิวเตอร์ ได้ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆ อีกมากทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยทางอ้อม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ เช่น การผลิตการบำรุงรักษาและซ่อมคอมพิวเตอร์เป็นงานที่เกิดขึ้นใหม่ นอกจากนั้นยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อีกมากมาย เช่น พนักงานคุมคอมพิวเตอร์ นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบ เป็นต้น ในด้านการพาณิชย์และธนาคาร การใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของต่างๆ ทำให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีฐานะและสภาวะ ความเป็นอยู่ดีขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่คอมพิวเตอร์มีในทางดีไม่ใช่มีเพียงเท่านั้นเราอาจคิดปลีกย่อยไปได้อีกมากมายเช่น การใช้ คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อช่วยค้นหาทรัพยากรธรรมชาติ ค้นหาแหล่งน้ำ ป้องกันการบุกรุกป่า เป็นต้น แหล่งที่มา: https://1th.me/kUGDx

3.เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางบวกต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้น ได้แก่ - มนุษย์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมออฟฟิศช่วยให้เกิดความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - มนุษย์ใช้ระบบโทรคมนาคมในการสื่อสารที่รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารในขณะเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มนุษย์ใช้หุ่นยนต์ช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องเสี่ยงกับอันตราย หรือในงานที่ต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิต เช่น หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ เป็นต้น - มนุษย์นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น เครื่องมือตรวจคลื่นหัวใจ ที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด เครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้ คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย 2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านบวกต่อสังคม ดังนี้ - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ กล่าวคือเป็นสังคมที่ใช้ สารสนเทศในการตัดสินใจและการกระจายข้อมูลข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม กันในสังคม - เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดชุมชนเสมือน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความ รู้ซึ่งกันและกันได้ และความรู้เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกใช้ได้ตามต้องการ 3) ด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้ - การสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างชัดเจน เช่น การจำลองสภาวะสิ่ง แวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพ ที่เสมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน จำลองการขับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งลดความผิดพลาดจากความเสียหายและ ความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายของผู้เรียนลงได้

2. อธิบายเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินชีวิตมาโดยละเอียด 1.1เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มัก เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและ สุขภาพจิต ดังนี้ •โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการบาดเจ็บของ กล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์หรือใช้ แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน อาการปวดคอ ไหล่และหลัง การเกิด ปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ติดต่อกัน เป็นต้น • โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งทําให้ผู้ใช้เป็นคนขี้ เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความ อดทนลดลง ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆไม่ได้จะกระวนกระวาย ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปใช้ในการดําเนินกิจกรรมในชีวิตประจําวัน ด้วยหากมีอาการมาก ๆ อาจจะเข้าข่าย โรคประสาทได้ •มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายรวมถึง ความเครียดจากความวิตกกังวลว่าจะมีการนํา คอมพิวเตอร์มาทดแทนแรงงานของคน 2. ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม ดังนี้ • การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทําให้ เกิดการสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องพบ เจอกัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนในสังคมจะนิยมใช้บริการเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social network มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ Hi 5 และเว็บไซต์ Face book ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมน้อยลง ทักษะทาง สังคมต่าง ๆที่ใช้ในการ ปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกันได้ได้แก่ทักษะการพูด การฟัง การทํางานร่วมกัน รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่ หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม และการคิดคํานึงถึง คนรอบข้างอย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นสํา หรับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการ ขาดทักษะทางสังคมจะทําให้คนขาดการทําความเข้าใจผู้อื่น ไม่มีการทํางานร่วมกัน จนกระทั้งอาจก่อให้เกิด ความขัดแย้งกันในสังคมขึ้นได้

•การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น เครื่องมือหนึ่งในการก่ออาชญากรรมได้ง่าย ผู้ไม่ หวังดีอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด เช่น การขโมย ข้อมูลของบริษัทและนําไปเปิดเผยกับบริษัทคู่แข่ง การเจาะระบบของ ธนาคารและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินใน บัญชีธนาคารให้สูงขึ้น การล่อลวงผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพส การเผยแพร่ ข้อมูลที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์การจําหน่ายของผิดกฎหมาย หรือ เผยแพร่ข้อมูลที่ มีเนื้อหาแอบแฝงแนวคิดก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทําลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น 3. ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกับการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการ สอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้ อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้สอนจําเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน รวมทั้งให้ คําแนะนํา อบรม สั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แหล่งที่มา:ใบงานknowledgesheet5หน้าที่1-2

2.1เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) คุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้ - โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ หรือใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน อาการปวดคอ ไหล่ และหลัง การเกิดปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลา นานติดต่อกัน เป็นต้น - โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง ทนรอเครื่องดาวน์โหลด นาน ๆ ไม่ได้ จะกระวนกระวาย ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย หากมีอาการมาก ๆ อาจจะเข้า ข่ายโรคประสาทได้ - มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายรวมถึงความเครียดจากความวิตกกังวลว่าจะมี การนำคอมพิวเตอร์มาทดแทนแรงงานของคน2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม ดังนี้ - การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารพันได้โดยไม่ต้องพบเจอกัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนในสังคมจะ นิยมใช้บริการเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social network มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ Hi5 และเว็บไซต์ Facebook ทำให้ความสัมพันธ์ระ หว่าบุคคลในสังคมน้อยลง ทักษะทางสังคมต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง การ ทำงานร่วมกัน รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม และการคิดคำนึงถึงคนรอบข้าง อย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการขาดทักษะทางสังคมจะทำให้คนขาดการ ทำความเข้าใจผู้อื่น ไม่มีการทำงานร่วมกัน จนกระทั่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคมขึ้นได้

- การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหนึ่งในการก่ออาชญากรรมได้ง่าย ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบริษัทและนำไปเปิดเผยกับบริษัทคู่แข่ง การเจาะระบบของ ธนาคารและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินในบัญชีธนาคารให้สูงขึ้น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจ การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย หรือเผยแพร่ข้อมูลที่มี เนื้อหาแอบแฝงแนวคิด ก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น 3) ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกับการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการ สอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้ อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน รวมทั้งให้ คำแนะนำ อบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แหล่งที่มา: https://1th.me/SazdQ

2.2เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ วางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไป แก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษา พยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์ 2) ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมมีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มี ความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก อย่างไรก็ดีได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดง ความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและความสัมพันธ์ดีขึ้น 3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่า คอมพิวเตอร์อาจ ทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้ เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

4) ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของ ธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากเหตุ อุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายหมด ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง 5) ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพ การทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น 6) ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่อง สำคัญ ดังเช่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่ง จดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังอย่างมาก 7) ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามาก ข้อมูลก็มีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีทำให้ข้อมูลถูกทำลายได้ง่าย อาจจะถูกทำลายด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถทำ สำเนาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ สามารถแพร่ไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไวรัส คอมพิวเตอร์บางชนิดทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ บางชนิดทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง ผลกระทบต่อการทำงานของ คอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์และจุดประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น ว่าต้องการให้โปรแกรมทำงาน อย่างไร ทั้งนี้เราก็ควรจะปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกที่ดี ไม่ให้ทำลายข้อมูลผู้อื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ แหล่งที่มา: https://1th.me/zUamH

2.3เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1)ด้านคุณภาพชีวิต โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานา ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ การเกิด ปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นต้น โรดทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื้อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย 2)ด้านสังคม การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารกันโดยไม่ต้องพบเจอกัน การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น 3)ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกันการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้ เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง แหล่งที่มา: https://1th.me/jnqtZ

2.4เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพชีวิต oโรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานา ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ การเกิด ปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นต้น o โรดทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื้อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความ อดทนลดลง o มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย 2)ด้านสังคม o การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารกันโดยไม่ต้องพบเจอกัน o การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น 3)ด้านการเรียนการสอน o ผลกระทบในทางลบกันการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด และปล่อยให้ ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง แหล่งที่มา: https://1th.me/dXzWb

2.5เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1. ทำให้เกิดการวิตกกังวล ผลกระทบนี้เกิดจากการขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นความวิตกกังวลหรือความกลัวว่า เมื่อนำ คอมพิวเตอร์ไปใช้ในสำนักงานและโรงงานอุตสาหกรรมแล้วจะทำให้โรงงานปลดคนงานเก่าออกและไม่จ้างคนงานใหม่เข้าทำงานอีกแต่ใน ความเป็นจริง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้นั้นมักจะเน้นในงานที่ซ้ำซาก หรือซับซ้อนและต้องใช้แรงงานคนมาก ไม่ถึงกับต้องการให้ทำแทน คนโดยเด็ดขาด โดยปกติเรามักจะให้ผู้ที่ทำงานอยู่เดิมบางคนเปลี่ยนตำแหน่งไปทำงานหน้าที่ใหม่ หรือฝึกให้ทำงานกับคอมพิวเตอร์แทน เป็นการทำให้คนงานเหล่านั้นมีความรับผิดชอบมากขั้นและสะดวกสบายมากขึ้น จึงไม่เรียกกว่าเป็นการทำให้คนตกงาน เพราะแม้การใช้ คอมพิวเตอร์จะช่วยทุ่นแรงงานคนไปได้มากก็จริง ในขณะเดียวกันก็สร้างงานทางคอมพิวเตอร์ขึ้นจากความต้องการใช้คนที่มีความรู้ด้าน คอมพิวเตอร์อีกมากเป็นการทดแทน ดังนั้นจึงเท่ากับเปลี่ยนลักษณะงานจากการใช้แรงงานเป็นการใช้สมอง การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมมี ผลกระทบต่อคนที่มีการศึกษาน้อยอยู่บ้าง แต่ถ้าคนงานสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ก็จะไม่ประสบปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามผลกระ ทบนี้คงจะเกิดขึ้นไม่นาน เมื่อการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ ขยายตัว หรือถ้าหากหน่วยงานต่างๆ ได้วางแผนการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้โดยรอบคอบแล้ว ผลกระทบนี้ก็คงจะน้อยลง 2. ทำให้เกิดการเสี่ยงทางด้านธุรกิจ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจอย่างเต็มที่เท่ากับเป็นการฝากลมหายใจไว้กับคอมพิวเตอร์ ถ้าหากไม่เก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ที่เป็น หัวใจของธุรกิจให้มั่นคงแล้ว บังเอิญข้อมูลนั้นสูญเสียไปด้วยประการใดก็ตาม จะทำให้ธุรกิจนั้นถึงกับหายนะได้ แต่ถ้าหากมีการป้องกัน ข้อมูลต่างๆโดยรอบคอบ เช่น ถ้ามีการทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ต่างหากแล้ว แม้ข้อมูลที่ใช้จะสูญเสียไปก็อาจนำข้อมูลสำรองมาใช้งานได้ อนึ่ง การออกแบบการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่รอบคอมอาจทำให้ธุรกิจไม่คล่องตัวและเสียเปรียบคู่แข่งขันได้ด้วย

3. ทำให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทำให้เกิดอาชญากรรมประเภทใหม่ขึ้น คือการขโมยโปรแกรมและข้อมูลไปขายให้คู่แข่งขัน ทำให้คู่แข่งขันได้เปรียบเพราะล่วง รู้ข้อมูลและแผนการทำงานของเราได้ นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างก็เป็นความลับส่วนบุคคลซึ่งถ้าหากถูกขโมยออกไปเปิดเผยอาจทำให้ เสื่อมเสียได้ อนึ่งยังอาจมีการแอบใช้คอมพิวเตอร์ลับลอบแก้ไขดัดแปลงตัวเลขในบัญชีของธนาคารโดยไม่ถูกต้อง เป็นผลให้กิจการเสีย หายได้ อาชญากรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากตามการขยายตัวของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในอนาคตและจำเป็นต้องมีการศึกษาหาทาง ป้องกัน 4. ทำให้มนุษยสัมพันธ์เสื่อมถอย การที่คนเราต้องใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ใช้เวลาสั่งงานและโต้ตอบกับเครื่องมากขึ้น จะทำให้ความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเราลดน้อยลง เพราะการใช้งานคอมพิวเตอร์มีลักษณะของการสั่งงานข้างเดียวโดยไม่ต้องสนใจว่าเครื่องจะคิดอย่างไร ต่อไปนาน ๆ เข้าคนอาจติดนิสัย ในการคิดและการทำงานโดยไม่สนใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น และอาจทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางด้านมนุษยสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบนี้เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้นยังไม่แน่ใจว่าจะเกิดจริงหรือไม่ 5. ทำให้เกิดอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่ ๆ คอมพิวเตอร์ไม่ใช่แต่จะช่วยในด้านการค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังอาจช่วยให้คนบางกลุ่มนำไปใช้ค้นคว้าหาทาง สร้างอาวุธใหม่ ๆ ที่มีอันตรายร้ายแรงมาก ได้ด้วยเช่นกัน 6. ทำให้เสียสุขภาพ การใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกมเป็นเวลานานอาจทำให้เสียสายตา และเกิดปัญหาในเรื่องการเรียนกล่าวโดยสรุปแล้ว คอมพิวเตอร์ก็เปรียบ เสมือนเครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษแล้วแต่เราจะเลือกใช้ในทางใด ถ้านำไปใช้ในทางที่เป็นภัย เช่นในการทำสงคราม ผลกา ระทบในทางลบก็มีมาก อย่างไรก็ตามเมื่อมองดูผลกระทบโดยส่วนรวมแล้ว จะเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีคุณประโยชน์มากกว่ามีโทษ โลกของ เรานี้จะไม่มีทางพัฒนาก้าวหน้ามาสู่ระดับนี้ได้เลยถ้าหากปราศจากคอมพิวเตอร์เสียแล้ว ในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนี้ ตัวเราเองก็จะไม่ ประสบความสำเร็จในอาชีพถ้าหากไม่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ แหล่งที่มา: https://1th.me/kUGDx

3.เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ดังนี้ 1) คุณภาพชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้ - โรคอันเกิดจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือเนื่องจากจับเมาส์ หรือใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน อาการปวดคอ ไหล่ และหลัง การเกิดปัญหาด้านสายตาเนื่องจากเพ่งมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลา นานติดต่อกัน เป็นต้น - โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เกิดกับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้เป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย ความอดทนลดลง ทนรอเครื่องดาวน์โหลด นาน ๆ ไม่ได้ จะกระวนกระวาย ซึ่งจะเป็นพฤติกรรมติดตัวไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย หากมีอาการมาก ๆ อาจจะเข้า ข่ายโรคประสาทได้ - มนุษย์เกิดความเครียดจากการเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายรวมถึงความเครียดจากความวิตกกังวลว่าจะมี การนำคอมพิวเตอร์มาทดแทนแรงงานของคน2) ด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบทางด้านลบต่อสังคม ดังนี้ - การขาดทักษะทางสังคม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการสื่อสารพันได้โดยไม่ต้องพบเจอกัน ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนในสังคมจะ นิยมใช้บริการเครือข่ายสังคม หรือที่เรียกว่า social network มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ Hi5 และเว็บไซต์ Facebook ทำให้ความสัมพันธ์ระ หว่าบุคคลในสังคมน้อยลง ทักษะทางสังคมต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง การ ทำงานร่วมกัน รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม และการคิดคำนึงถึงคนรอบข้าง อย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการขาดทักษะทางสังคมจะทำให้คนขาดการ ทำความเข้าใจผู้อื่น ไม่มีการทำงานร่วมกัน จนกระทั่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในสังคมขึ้นได้

- การเกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหนึ่งในการก่ออาชญากรรมได้ง่าย ผู้ไม่หวังดีอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบริษัทและนำไปเปิดเผยกับบริษัทคู่แข่ง การเจาะระบบของ ธนาคารและเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินในบัญชีธนาคารให้สูงขึ้น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งภาพลามกอนาจ การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย หรือเผยแพร่ข้อมูลที่มี เนื้อหาแอบแฝงแนวคิด ก้าวร้าว รุนแรง การส่งไวรัสเข้าไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น 3) ด้านการเรียนการสอน ผลกระทบในทางลบกับการเรียนการสอนจะเกิดขึ้นหากผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการ สอนทั้งหมด และปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยอาจตีความได้ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้ อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ดังนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน รวมทั้งให้ คำแนะนำ อบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3. เลือกใช้โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งที่สนใจ (ไม่ซ้ำกับที่ใช้ในใบงานที่ 1 - 4) นำเสนอคำตอบที่ได้จากข้อ 1 ถึง 3 Prezi


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook