Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 5.เครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างลำโพงบลูทูธจิ๋ว

5.เครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างลำโพงบลูทูธจิ๋ว

Published by pond_moku, 2022-11-10 15:50:54

Description: 5.เครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างลำโพงบลูทูธจิ๋ว

Search

Read the Text Version

เครื่องมือที่จำเป็น ในการสร้างลำโพงบลูทูธจิ๋ว ครูปัทมาพร อุทาจันทร์

เครื่องมือช่าง และวัสดุอุปกรณ์งานช่างที่จำเป็น ในการสร้างตู้ลำโพงจิ๋ว เครื่องมือช่าง ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้วเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เครื่องมือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานช่าง เพราะเครื่องมือ เป็นสิ่งที่ช่วยผ่อนแรงในการทำงาน และช่วยให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผล งานที่ออกมาดี สวยงาม เป็นที่ต้องการของผู้ใช้ โดยเราต้องรู้จักการใช้เครื่อง มืออย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับชนิดของงาน

ไขควงปากแบน ไขควง (Screwdrivers) ไขควงปากแฉก เป็นเครื่องมือสำหรับใช้คลายและขัน นอตสกรูต่างๆ ไขควงที่มีคุณภาพจะทำ จากเหล็กกล้า หรือเหล็กเครื่องมือใช้วิธีตี ขึ้นรูปและชุบเพื่อให้ผิวของไขควงแข็งใช้ งานได้ดี ก า ร บำ รุ ง รั ก ษ า 1. ใช้ไขควงให้เหมาะสมกับกับลักษณะงานและร่องของนอตสกรู 2. หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บใส่กล่องเครื่องมือ

ค้อน (Hammers) ใช้ในการตอกหรือทุบบนวัตถุ

คีม (Pliers) ใช้สำหรับการจับชิ้นงานเพื่อ ทำงานต่างๆ ให้ติดกันหรือดึง ชิ้นงาน นอกจากนั้นยังใช้จับ บีบ ดัด ตัด

ตลับเมตร (Measurement Tape) การตัดที่ทำในวัสดุเกือบทุกชนิดจำเป็น ต้องทำเพื่อการวัดที่แม่นยำ ก า ร บำ รุ ง รั ก ษ า 1. ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม่ให้หัก 2. เมื่อจะปล่อยเส้นเทปกลับมี่เดิมต้องค่อยๆ ผ่อน ถ้า ปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายของเกี่ยวอาจชำรุดเสียหายได้

เลื่อยมือ (Hand Saw) เลื่อยเป็นเครื่องมือ ที่มีใบมีดโลหะ หยัก การใช้เลื่อยจะถูกกำหนดโดย ขนาดและจำนวนฟันของมันมากกว่า ปัจจัยอื่ นๆ

ตะไบ (Rasp) ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการขัดแต่ง ผิวหรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการ ขจัดเนื้อโลหะทิ้งไปไม่มากนัก ก า ร บำ รุ ง รั ก ษ า 1. ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่ 2. ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก

ปากกาจับชิ้นงาน (Vise) ใช้สำหรับยึดจับชิ้นงานให้แน่นเพื่อ ทำการ ขัด เจาะ ตัด ตอก ตะไบชิ้นงาน จำพวก โลหะ พลาสติก ไม้ มีลักษณะ เป็นขากรรไกรคู่ขนานสองข้าง

ฉากตาย ฉาก ฉากเป็น เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรง หรือตั้งได้ฉากของงาน รวมทั้งวัดมุมต่างๆ ฉากมี 2 ชนิด คือ 1) ฉากตาย ยึดติดกันตายตัวใช้วัดมุม 90 องศา และ 45 องศา 2) ฉากเป็น ใช้วัดมุมต่างๆ สามารถถอด แยกออกจากกันได้

สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือเจาะที่นิยมใช้กันมากใน ปัจจุบัน ใช้เจาะวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ปูน โลหะ ไม้ และพลาสติก ใช้งานได้สะดวก และรวดเร็ว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการ ทำงาน

เครื่องเลื่อยวงเดือน (Circular Saw) เป็นเครื่องที่ใช้ในงานตัด (Cross-Cut) และงาน ซอย (โกรก) (Rip-Cut) และนอกจากนั้นยังสามารถ ใช้ทำงานอื่นๆ ได้อีก เช่น การทำบังใบวงกบประตู หน้าต่าง การะเซาะร่องไม้ การตัดเอียง การซอยเอียง ฯลฯ และยังสามารถตัดและซอยวัสดุอื่นๆ นอกจากไม้ ได้ด้วย เช่น ไม้อัด วัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดต่างๆ แผ่น พลาสติก

เลื่อยจิ๊กซอว์ หรือเลื่อยฉลุ เป็นเครื่องมือที่ใช้งานตัดเป็นหลักสามารถตัดวัสดุ ได้หลากหลาย ทั้งไม้ เหล็ก พลาสติก อลูมิเนียมและ อื่นๆ โดยสามารถเปลี่ยนใบเลี่อยให้เหมาะสมกับชิ้น งาน จิ๊กซอว์สามารถตัดชิ้นงานได้ทั้งแนวตรงและโค้ง ได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความปลอดภัย เพราะหากเกิดอันตรายจากการปฏิบัติงาน ผล เสียที่เกิดขึ้นอาจจะนำความเดือนร้อนทั้งต่อตนเองหรือต่อผู้ อื่นบางครั้งหากเกิดความรุนแรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจ ถึงทุพพลภาพ หรือ ถึงแก่ชีวิตฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรให้ความ สำคัญและคำนึงถึง ดังคำที่ว่า “ปลอดภัยไว้ก่อน”

สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตราย จากการทำงาน - เกิดจากผู้ปฏิบัติเอง เช่น การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงาน ไม่รัดกุม ชายเสื้อรุ่มร่าม สวมใส่เครื่องประดับ ร่างกายของ ผู้ปฏิบัติงานไม่ปกติ มีความเครียด อ่อนเพลีย เจ็บป่วย - เกิดจากเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เช่น เครื่องมือ หรือ เครื่องจักรที่ใช้มีสภาพไม่พร้อมจะใช้งาน ชำรุด หรืออุปกรณ์ บางอย่างหมดอายุ - เกิดจากการจัดระบบงาน เช่น ระบบงานอาจวางแผนไว้ ไม่ดี - เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น พื้นที่บริเวณปฏิบัติงานไม่ เหมาะสม มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

แนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย - ในการปฏิบัติงานต้องมีสติระลึกไว้เสมอว่า คิดก่อนทำและ ปลอดภัยไว้ก่อน - โต๊ะบริเวณที่ปฏิบัติงานจะต้องสะอาด - เก็บเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกในการ หยิบใช้งาน - หากปฏิบัติงานไฟฟ้า ควรตัดกระแสไฟฟ้าให้เรียบร้อยเพื่อป้องกัน อันตราย - อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องมีการต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟรั่ว

แนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย (ต่อ) - อย่านำเครื่องมือที่มีคมใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกงขณะปฏิบัติ งาน - อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด - อย่าใช้ค้อนหรือตะไบที่มีด้ามหลวมหรือแตก และ อย่าใช้ตะไบ แทนค้อน - ก่อนหลัง ปฏิบัติงานควรตรวจสภาพเครื่องมืออุปกรณ์และ ทำความสะอาดทุกครั้ง

การป้องกันอุบัติเหตุ - ตรวจสอบเครื่องมือเครื่องใช้และบำรุงรักษาให้อยู่ใน สภาพพร้อมใช้งาน - มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ของร่างกายขณะปฏิบัติ งาน - จัดบริเวณปฏิบัติงานให้เรียบร้อย ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือ บดบังแสงสว่าง - ขณะปฏิบัติงานในที่สูง ต้องมีเครื่องป้องกัน เช่น เข็มขัดนิรภัย - หากปฏิบัติงานใกล้ วัตถุไวไฟ ควรมีอุปกรณ์ เช่น ถัง ดับเพลิงวางไว้ใกล้ ๆ

หลักความปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในงานช่าง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บ ณ สถาน ที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ ก่อนที่จะนำ ส่งโรงพยาบาล

การช่วยเหลือผู้ได้รับเศษวัสดุหรือ สารแปลกปลอมเข้าตา - ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ นาน ๆ - ให้ผู้บาดเจ็บนอนตะแคง เอาตาข้างที่ถูกสาร พิษลงข้างล่าง - เปิดเปลือกตาแล้วเทน้ำจากหัวตามาด้านหาง ตา (อย่าให้น้ำกระเด็นเข้าอีกข้างหนึ่ง) - ห้ามขยี้ตา ปิดตาด้วยผ้าสะอาดแล้วรีบนำส่ง โรงพยาบาล

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก - ทำลายเฉพาะหนังกำพร้าผิวหนังจะแดงไม่พองและหายเองได้ภายใน 2 – 3 วัน - ทำลายหนังกำพร้าหนังแท้เกิดบวมแดงปวดแสบปวดร้อน มีตุ่มพอง มี น้ำเหลือง - ทำลายเนื้อถึงกระดูก เกิดการทำลายเนื้อแผลอย่างรุนแรง ต้อง ปฐมพยาบาล ดังนี้ 1. ใช้น้ำแข็งหรือความเย็นประคบ ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด 2. ห้ามเจาะตุ่มพองและห้ามใส่ยาลงในแผล 3. ถ้าเป็นแผลบริเวณแขนหรือขาให้ยกอวัยวะนั้นให้สูงเพื่อลด อาการบวม 4. ถ้าแผลพุพองแดงให้ทำความสะอาดบาดแผลเหมือนวิธีการ ทำแผล

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้า 1. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดให้รีบตัดกระแสไฟฟ้าทันที เช่น คัทเอาท์ หรือเต้าเสียบ 2. ใช้ไม้แห้งหรือฉนวนไฟฟ้าเขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกกระแส ไฟฟ้าดูด หรือใช้ผ้าแห้งเชือก ดึงผู้ป่วยออกจากจุดที่เกิดเหตุโดย เร็ว เพื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3. ปฐมพยาบาลขั้นต้นโดยการวางผู้ป่วยให้นอนหงาย แล้วช้อนคอผู้ ป่วยให้แหงนขึ้น 4. ตรวจดูว่ามีสิ่งอุดตันในช่องปากหรือไม่ หากพบให้นำออกและช่วย เป่าปาก โดยใช้นิ้วง้างปากและบีบจมูกของผู้ป่วย

Thank You PRESENTATION


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook