Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อริยสัจ ๔ ในชึวิตจริง

อริยสัจ ๔ ในชึวิตจริง

Published by Dhammanava, 2021-03-16 10:46:59

Description: อริยสัจ ๔ ในชึวิตจริง พิมพ์ครั้งที่ 3 โดย จารุวณฺโณ ภิกฺขุ

Keywords: อริยสัจ ๔,อาจารย์ต้น

Search

Read the Text Version

๔๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง พอมันท่องเอง มากเข้า มากเข้า มากเข้า ตอนท่ี นอนหลับ จะมีอีกตัวหนึ่งลุกขึ้นมาท่อง คนละตัว แยกกัน โดยอัตโนมัติ เป็นอย่างนั้น ก็เลยเห็นว่า “เอ...เราชักจะเพ้ียน หรือเปล่า ทาไมมันเป็นอยา่ งนี้ ทาไมเขาบอกคนปฏบิ ัติธรรม ทาจิตให้สงบ มันต้องสงบมิใช่หรือ” ความคิดมันหมุนท่อง อยู่กับธาตุ ๔ ท้ังวันท้ังคืน “ทาไมมันไม่หยุดสักที” ตอนนั้น ไม่เข้าใจอะไรเลยสักอย่าง มาแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เราก็ไม่ทิ้งนะ แต่ทาไม...เราจะทาจิตให้สงบได้อย่างไร ก็เลยได้ไปอ่านวิธี ของหลวงปูุเทสก์ เทสฺรสี วิธีทาจิตให้สงบโดยการทาสมาธิ กจ็ ับประเด็นได้เพยี งแคว่ า่ “การจะทาจิตให้เป็นสมาธไิ ด้นัน้ ตอ้ งจับจิตให้ได้ การที่จะ จบั ใหไ้ ด้เป็นของยากมาก ไม่ใชข่ องง่าย หากอยากจะจับจิต ใหไ้ ด้ ให้จบั ทค่ี วามคดิ ” ความคิดเราคิดในธาตุอยู่แล้ว ก็จับมันเลย แต่ก่อน ปล่อยให้มันคิด แล้วไม่ได้จับดูการคิดของมัน ทีนี้เราจะไป จับดูการคิดของมัน ซึ่งมันเกิดขั้นตอนท่ีเรียกว่ามันคิดเอง เป็นเองแบบอตั โนมตั ิแล้ว กไ็ ปจบั ดวู ่า “อ๋อ...มันคิดไปถึงขั้นนี้ ระดับน้ี” พิจารณา ๖ ข้ันตอนก็พิจารณาแบบอัตโนมัติ จับได้ประมาณสัก ๑๐ นาที ก็เห็นภาพตัวเองผุดขึ้นมา หนา้ อกแหวกออก จิตก็ด่ิงลงไปท่ีท่ามกลางอกตรงที่หทัยวัตถุ

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๔๗ ตรงท่ีหัวใจ ตรงกลาง ๆ เลย พุ่งไปเหมือนคนตกเหว วูบ... ล่ิว ๆ ๆ แต่ไม่ตกใจ พอถึงท่สี ุดมันจะวาบ...จ้าขน้ึ มา จากน้ัน ก็หายเงียบกริบ ป๊ึบ ตัดขาดการรับรู้ทางกาย ไม่รับรู้เรื่อง ของกายอีก นั่งอยู่ตรงน้ันตั้งแต่ประมาณ ๒ ทุ่ม จนถึง ประมาณเกือบตี ๑ ตี ๒ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะไปรู้เรื่อง ก็ตอนท่ีว่า “เอ๊ะ ท่ีเป็นอยู่น่ีหรือคือสมาธิ” เพราะมันตัด อารมณ์ทุกอย่างหมดเรียบร้อยแล้ว เกิดความคิดอันหนึ่ง ขึ้นมา สมมุติว่าจิตเราอยู่ตรงนี้นะ แต่ความคิดจะอยู่ข้าง ๆ ตรงนี้ว่า น่ีหรือท่ีเรียกว่าสมาธิ ป๊๎บ พอความคิดน้ีเกิดพ๊ึบ เท่าน้ันแหละ ไอ้ตัวน้ีว่ิงจับความคิดน้ี พอว่ิงจับความคิดปฺุบ ความรู้สึกกลับคืนมา ทันทีเลย แล้วไปดูนาฬิกาจะตี ๒ แล้ว ทาไมน่ังไปเม่ือก้เี หมอื นน่ังแคไ่ ม่นานเองนะ ปจุ ฉา : แสดงวา่ มันแยกกันอยู่ วสิ ัชนา : แยกกันอยู่ ปุจฉา : เปน็ วปิ ๎สสนูปกิเลสใชไ่ หมเจ้าคะ วิสัชนา : อันนั้นไม่รู้เรียกว่าอะไร ไม่เคยมีคาเรียก อะไรของมันเลย อาตมาก็เร่ิมทาความเข้าใจอยู่ว่า “เอ๊ะ มันเป็นอะไร มันเป็นอย่างไร ถ้าอันน้ีเขาเรียกว่าสมาธิ เวลา เข้าสมาธิเขาเข้ากันอย่างน้ีหรือ” ก็เร่ิมรู้แล้ว แต่ก่อนไม่รู้ว่า

๔๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง เข้าสมาธิเข้าอย่างไร พอรู้ว่ามันเข้าสมาธิอย่างน้ี ก็เร่ิม จบั ความคิดอีกเหมอื นเดิม แต่จุดหน่ึงที่เป็นเสมอก็คือ เวลาจิตพิจารณากายอยู่ ส่ิงท่ีจะเกิดข้ึนเสมอก่อนท่ีจิตจะลงคือ จะเห็นลมเข้า-ออก ชัด ทั้ง ๆ ท่ีเราไม่เคยดูลม ไม่เคยดูอานาปานัสสติมาก่อน ลมเข้า-ออกชัดอัตโนมัติ ไม่อยากจะรู้ มันก็รู้ ไม่อยาก จะรับทราบ มันก็รับทราบ รับทราบหมดทุกเร่ืองทุกราวไป จนอยากจะมาดูลมดกี ว่า ไม่ต้องพิจารณาธาตุแล้ว แต่จิตหน่ึง ก็บอกว่า “มันคือความเบ่ียงเบนความสนใจของจิต จิตเคย เข้าแบบไหนกต็ ้องเปน็ แบบนั้น ถา้ ไปเปลยี่ นวิธีการ มันจะไม่ เป็นรูปรอยเดิมแล้ว” ก็เลยกลับมาสู่การจับดูจิตเหมือนเดิม มันกล็ งอกี อานาปานัสสติน่ีเป็นเรื่องท่ีเข้ามาสอดคล้องเอง แม้ ไม่เคยฝึกมาก่อน หรอื อาจจะเคยฝึกมาแต่ปางกอ่ นกไ็ ม่แนใ่ จ มันจึงเกิดข้ึนมารองรับ ก็ทาอย่างนี้ทุกคราว แล้วก็เข้าใจว่า การทาอย่างนี้บ่อย ๆ อาสวะกิเลสจะหมดไปเอง ปรากฏว่า ไม่หมด นอกจากจะไม่หมดแล้วยังพอกพูนข้ึนมาอีก พอกพูน อย่างไรรู้ไหม เข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษ จนจะเหาะให้คนดู

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๔๙ มันพอกพูนมาแบบไม่รู้ตัวนะ อัตตามันออกมาแบบ...เราน่ี แจว๋ ท่ีสดุ ถงึ ขนาดนนั้ เลย นั่นคอื มจิ ฉาสมาธโิ ดยท่ไี มร่ ้ตู ัว ปุจฉา : ขออนุญาตย้อนกลับไปท่ีท่องธาตุ ท่อง จนกระทั่งเห็นว่าจิตโน้มไป เอนไปว่า นี้เป็นธาตุดิน ไม่ต้อง เพ่งมอง วิสัชนา : สร้างความเข้าในในการท่องธาตุว่า แต่ละ ธ า ตุ ที่ เ ร า ท่ อ ง ม า น้ี มั น เ ป็ น ค ว า ม รู้ ท่ี จ ะ ใ ห้ จิ ต ไ ด้ รู้ ว่ า องค์ประกอบของกายคืออะไร เมื่อจิตทราบว่าองค์ประกอบ ของกายคืออะไร น่นั คือกายถูกประกอบขึ้น น่ันคือกายไม่ได้ มีอยู่จริงโดยตัวของมัน เพราะถูกประกอบขึ้น ผม ขน เล็บ ฯลฯ อาการ ๓๒ ท่ีเราเรียนรู้กันมานั่นแหละ แล้วส่วนแห่ง อาการ ๓๒ นั้น อะไรเป็นดิน อะไรเป็นน้า อะไรเป็นไฟ อะไรเป็นลม แล้วค่อยไปคิดพิจารณาแยกแยะในส่วนของ ธาตตุ ามความเป็นจรงิ ตอนนั้นเกิดความสงสัยข้ึนมาว่า ธาตุ ๔ ดิน น้า ไฟ ลม ท่เี ราท่องมาน้ี ทาไมพระพุทธเจ้าทรงชี้เข้ามาหาร่างกาย เรา ไล่ไปตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฯลฯ แต่ก่อนก็ไม่ได้ใส่ใจหรอก ท่องไปอย่างนั้นแหละเพื่อกากับจิต แต่เกิดความสงสัยว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงชี้เข้ามาหาร่างกายเราว่า อะไรคือดิน อะไรคือน้า อะไรคือไฟ อะไรคือลม แต่เราไม่เคยมองเห็น

๕๐ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง รา่ งกายเราตามความเป็นจริงในสง่ิ ที่พระองค์ทรงชี้ให้เราไปเห็น เพราะในบทท่องธาตุฯ ตอนท้ายกาหนดไว้ว่า ความกาหนด พิจารณากายน้ีใหเ้ หน็ ว่าเป็นแตเ่ พยี งธาตุ ๔ “ให้เห็นว่า...” ทีน้ี แต่เราไม่เห็น เรายังเห็นเป็นตัว เป็นตน เป็นร่างกายของเราอยู่ ก็เลยคิดว่า “เอ...มันก็ผิด จากสัจจะที่พระองค์ตรัส เมื่อผิดจากสัจจะ เพราะเราไม่ได้ เห็นกายว่าเป็นธาตุ ก็คือไม่ได้เห็นกายตามความเป็นจริง แล้วประโยชน์จากการท่องเฉย ๆ มันจะได้ประโยชน์อะไร” ทีนี้ก็เลยเร่ิมพิจารณา จึงได้ประมวลออกมาเป็น ๖ ขั้นตอน เพ่ือเป็นความคิดท่ีจะนาจิตเราไปสู่การรู้ การพิจารณา เหล่าน้ัน ถ้าคิดรอบสองรอบ เขาเรียกว่าคิด แต่คิดแล้ว คิดอีก ๆ เขาเรียกว่าพิจารณาจริง ๆ แต่คนไม่ค่อยอยากจะ คิดแลว้ คดิ อีก ต้องคิดแลว้ คิดอีก ปจุ ฉา : คดิ แลว้ คิดอีก คดิ พิจารณาจนจิตยอมรับ วสิ ัชนา : ใช่ คิดพิจารณาจนจติ ยอมรับ พอจติ ยอมรบั แล้ว คาว่า ยอมรบั จรงิ ๆ มนั ยอมรบั เรอื่ งทเ่ี ราคิดเข้าไปสู่ตัว ของมนั จิตรับเข้าไป แล้วจะเห็นทุกอย่างเป็นดิน น้า ไฟ ลม หมดเลยตามที่กาลังของการพิจารณาในจิต จะเห็นทุกอย่าง ลงสู่ดิน น้า ไฟ ลม หมดเลย อาตมาทาถึงขั้นนั้นนะ แต่ใคร ทาไม่ถึงขน้ั นน้ั ก็ไม่เป็นไร แต่เป็นช้ันของการรู้ว่ามันเป็นธาตุ

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๕๑ แน่นอน แล้วยอมรับในความเป็นธาตุนั้นก็ได้ เป็นเพียงแค่ บาทฐาน ซึ่งตอนนั้นอาตมายังไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติมาก แต่ทาด้วยความคิดว่า ต้องไปเห็นชัด ต้องไปรู้ชัด ต้องไป เข้าใจชัด แล้วเห็นการยอมรับออกมาจากตัวจิตชัดเจน ไม่ปฏิเสธ นิดหนึ่งก็ไม่ปฏิเสธ เห็นชัดว่าทุกสรรพส่ิงคือดิน น้า ไฟ ลม ท้ังมีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง เหมือนกันหมดเลย เป็นธรรมชาติอันเดียวกัน จึงเป็น สามญั ญะทเี่ รยี กว่าเปน็ เสมอกันหมด เป็นลกั ษณะที่เสมอกัน ไม่มีการแบ่งแยก มองสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ หญิง ชาย ทุกสรรพสิ่ง เห็นความเป็นดิน น้า ไฟ ลม เรียกว่าทิฏฐินั้น มันจะราบเรียบ คือเปน็ ทฏิ ฐทิ ่ีตรงต่อความเป็นจริง หมายถึง เราจะต้องสร้างทิฏฐิให้เท่ียงตรงต่อความจริงก่อน เม่ือมัน เท่ียงตรงต่อความจรงิ แล้วค่อยเอามารกู้ ารเกิดการดับ แต่ทีนี้อาตมาจะเอาตามอุปนิสัยของคน อุปนิสัยของ คนทุกวนั น้ไี ม่ได้เร่มิ มาจากการปฏบิ ัตอิ ย่างถูกต้องมาแต่แรก เราก็จับพลัดจับผลูกันมาน่ันแหละ ก็หวังความพ้นทุกข์กัน ไม่รู้จะว่าอย่างไร อย่างน้อยก็ต้องรีบแก้ไขความทุกข์ในจิต ตัวเองก่อน มักจะไปใช้หลักการเดิม ๆ อาตมาก็เลยต้องใช้ หลักวิธีการประมวล เรียกว่าประยุกต์ในตัวของพวกเรา มารู้ได้ทั้งสองอย่างไปในคราวเดียวกนั ได้

๕๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ในคราวทร่ี ู้ จติ ก็ต้องรใู้ นสภาพการเกดิ -ดบั ในคราวท่ี กลับมารู้กายคือ เมื่ออารมณ์ท่ีกระทบนั้นสงบลงไป อย่าปล่อยให้จิตอยู่กับความสงบ ต้องรีบให้จิตกลับมารู้กาย โดยการพิจารณากายเป็นธาตุ ๔ ดิน น้า ไฟ ลม พอมี อารมณ์มากระทบแล้วก่อความวุ่นวายนั้น ก็พลิกกลับไปดู การเกิด-ดับ พอมันสงบลงไปไดแ้ ล้วป๎บ๊ กอ็ ย่าอยกู่ บั ความสงบ อันน้ัน อย่าไปให้จิตไปเสวยอารมณ์ความสงบ กลับมา พิจารณากาย เพราะถ้าเราไปเสวยอารมณ์ของความสงบ ในช้นั นจี้ ะเกดิ อวชิ ชานสุ ัยแทรก ปุจฉา : ทั้งหมดน้ีมันอยภู่ ายในใจ วิสัชนา : ใช่ มนั อย่ภู ายในใจ ปุจฉา : การท่ีเห็นธาตุ ๔ ให้ โน้มอยู่ในใจ เห็นอยู่ ในใจทั้งตวั เราท้งั คนอนื่ ว่าเปน็ ดนิ นา้ ไฟ ลม วิสัชนา : เราจะไม่ไปพยายามมองเห็นคนอ่ืนให้เป็น อย่างน้ัน แต่ส่ิงที่เราพิจารณามันไปมองเอง จากสิ่งท่ี พิจารณานั้นจิตจะเกิดการมองเอง ไม่ใช่ว่าไปเท่ียวจับคนนั้น มาพิจารณาลงดิน น้า ไฟ ลม เราพิจารณาในภายในของเรา จนเพียงพอแล้ว พอมองออกไปป๊๎บ มันพรึ๊บ ๆ ๆ ไปเองเลย ทกุ คนนรี่ ว่ งเปน็ ดินไปหมด

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๕๓ ปุจฉา : เห็นกระดูกนอนขาว เพ่งเห็นหัวกะโหลก กระดกู แขน กระดกู ขา วิสัชนา : ต้องให้ผ่านชั้นโครงกระดูกไปสู่ความเป็น ดิน น้า ไฟ ลม ให้ได้ เพราะกระดูกยังเป็นธาตุผสมอยู่ ยังมี ความเป็นรูปร่าง อวิชชายังตั้งอยู่ในนั้นอยู่ จิตบางดวงยังติดใน โครงกระดูกก็ยังมี ไม่ยอมทิ้งโครงกระดูกตัวเอง คิดว่า กระดูกน้นั เป็นตน ถกู เผาแล้วจิตยังเกาะตดิ อยู่ มี ไม่ใช่ไมม่ ี ปุจฉา : ท่านอาจารย์คะ พูดถึงธาตุรูปกายเราน้ี ถา้ เรายงั ไม่ไดเ้ ห็นธาตจุ รงิ ๆ ของรปู กายท่มี ันเป็นก้อนน้ีแล้ว มันสลายตวั ออกไปเป็นธาตุทั้ง ๔ แบบนี้ ใครยังไม่เห็นตรงนี้ ได้อย่างแท้จริงนี่ ไตรลักษณ์จะไม่เกิด ถูกไหมคะ เพราะว่า การที่รูปกายมันสลายลงไปเป็นธาตุหมดแล้ว หลังจากน้ัน เราก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้ชัดเจน ถูกไหมคะ มันเกิดข้ึน ตง้ั อยู่ ดับไป วิสัชนา : อาตมาว่าเราเห็นไตรลักษณ์ยังไม่ชัดเจน เท่าไหร่ เพราะว่าในชั้นน้ีเราอย่าเพิ่งพูดถึงไตรลักษณ์ ในความหมายของอาตมาไม่ใช่ว่าไตรลักษณ์ไม่เป็นสิ่งสาคัญ ไตรลักษณเ์ ปน็ สง่ิ สาคัญ แต่ในไตรลักษณ์น้ี เราจะไปกาหนด ไตรลักษณข์ ึ้นมาเพ่ือสรา้ งไตรลกั ษณ์ในชน้ั ทฏิ ฐิของเรา แต่เรา

๕๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ตามท่ีเป็นจริงของไตรลักษณ์ เราไปเอา ไตรลักษณ์เข้ามากาหนดว่า ไม่เที่ยงเป็นอย่างน้ี เป็นทุกข์ เป็นอยา่ งนี้ เป็นอนัตตาเป็นอย่างน้ี เราเห็นไตรลักษณ์ในช้ัน ความคดิ ของเรา ในชน้ั ความเห็นที่เราตั้งข้ึนเอง แต่ไตรลักษณ์ ตามความเปน็ จริงมันคืออะไร น่ีคือส่ิงที่อาตมากาลังจะบอก หมายความว่าให้เราทาไปอย่างนี้แหละ มันคือไตรลักษณ์ ไปในตัวอยู่แล้วโดยปกติ โดยธรรมชาติ ก็มีคนมาบอก เหมือนกัน “ท่านอาจารย์แล้วไตรลักษณ์อยู่ตรงไหน ที่ท่าน อาจารย์อธิบายมายังไม่เห็นไตรลักษณ์” ก็ที่เกิดที่ดับ น่นั แหละคือไตรลกั ษณ์ ปุจฉา : คือเขาก็แสดงลกั ษณะของเขาอย่ตู ลอด วิสัชนา : ใช่ เป็นลักษณะของไตรลักษณ์ นั่นคือ อาการจริงของไตรลักษณ์อยู่ท่ีน่ัน การเกิดการดับนั่นแหละ คือไตรลักษณ์ เพราะฉะน้นั เราจะใช้กระบวนการไตรลักษณ์ หรือว่าดึงสภาพของไตรลักษณ์ข้ึนมาปรากฏในคลองแห่ง จกั ษชุ นั้ วิป๎สสนาชั้นของความเห็นน่ี ไม่ได้ไปสร้างไตรลักษณ์ ไว้ก่อน แต่เห็นสภาพจริงลักษณะของสังขารนั้นจนเกิด ไตรลักษณ์ข้ึนมา แล้วไตรลักษณ์ก็จะเป็นองค์ธรรมท่ี ประกอบร่วมเพื่อให้ทัสสนะทางจิตเกิดความชัดเจนในการ ตัดสินในสังขารนั้นว่า “มันก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดเป็นธรรมดา

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๕๕ แล้วก็ดบั ไปเปน็ ธรรมดา” มันคือกระบวนการของไตรลักษณ์ อยู่แล้วในสภาพอันน้ัน แล้วไตรลักษณ์ท่ีเกิดท่ีดับ คือ เป็น ลกั ษณะของอนิจจลกั ขณะ ชดั เจนอันนน้ั เพราะฉะนั้น ในชัน้ เบ้อื งต้นจะมีอนจิ จลกั ขณะเป็นตัว ลักษณญาณ ในไตรลักษณญาณ ซึ่งอนิจจลักขณะจะเด่น (ในชน้ั โสดาบนั ) ระดบั ที่ ๒ ทุกขลักขณะจะเด่น แบบเบาบางในชั้นสกทาคามี ระดับท่ี ๓ ทุกขลกั ขณะกจ็ ะเดน่ แบบชดั เจนในชัน้ อนาคามี ระดบั ที่ ๔ อนัตตลกั ขณะจึงจะเดน่ แตใ่ นอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ และอนัตตลักขณะน้ี ก็คือลักษณะ ๓ น่ันแหละ เป็นเพียงแต่ว่ามันจะแสดง ลักษณะไหนเด่นออกมา ซ่ึงมี ๓ ลักษณะในของความเป็น สังขาร ฉะน้ันการเกิดการดับคือเป็นอนิจจลักขณะที่ชัดเจน แตก่ ็มที กุ ขลักขณะและอนตั ตลักขณะอยู่ในน้ันด้วย เพียงแต่ ว่าไม่แสดงตัวชัด แต่พอขยับเข้าไปสู่ในอริยมรรคระดับที่ ๒ ทกุ ขลกั ขณะจะเร่ิมเด่นชัดข้ึนมา แต่ทุกขลักขณะจะเด่นชัดได้ ก็ต้องเอาอนิจจลกั ขณะไปอธบิ าย หรือไปสร้างขึ้น ไมใ่ ช่สรา้ ง ทุกขลักขณะข้ึนมาเองเลย ตัวที่รู้ความเป็นอนิจจลักขณะ จะไปสร้างทุกขลักขณะขึ้นมาให้เห็นชัดเอง ฉะนั้น จึงต้องดู การเกดิ -ดบั อยใู่ นชั้นน้ี

๕๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง เพราะการดูการเกดิ -ดับของสังขารจะไปดงึ ทุกขลักขณะ ในไตรลักษณ์ออกมาปรากฏสู่ญาณในภายใน คือจิตของเรา จะไปเห็นด้วยลักษณะของญาณ ท่ีเป็นไตรลักษณะญาณ จะต้องเกิดข้ึนมาแสดงอาการของลักษณะนั้น ๆ ของสังขาร เพ่อื ท่ีจะไม่ให้จิตหลงสภาพสงั ขาร แลว้ จะไม่ให้จิตไปหลงยึด เกาะในสังขาร แต่จิตของพระอริยบุคคลอย่างไรท่านก็จะมี ความรู้เป็นญาณกาหนดรู้อยู่แล้ว อย่างไรก็ไม่สามารถท่ีจะ ยึดจับได้ เป็นเพียงแต่ว่ายังละอนุสัยสังโยชน์ไม่ได้เท่าน้ันใน เวลาน้ัน แต่จะใหย้ ดึ เกาะก็รูอ้ ย่แู ล้วว่าไม่ยึดเกาะ เหมือนกับ การเอาเส้นผมเราน้ีย่ืนเข้าไปท่ีกองเปลวไฟ มันก็จะหดกลับ จิตไม่มีทางท่ีจะยึดเข้าไปในตัวตนใด ๆ มันจะหดกลับ เพียงแต่รู้อยู่ว่ายังละไม่ได้ ก็เลยต้องเจริญความเพียร เพื่อที่จะเข้าไปละ ความเพียรที่กาหนดขึ้นก็ไม่ต่างจากเดิม แต่ว่าจะพิเศษกว่าตรงท่ีว่ามีอริยมรรคเบ้ืองต้นรองรับ จะรู้ ทุกข์ ละสมุทัย ทานิโรธให้แจ้ง โดยอาศัยสังโยชน์นั้นเป็น ท่ีตั้งแห่งการกาหนด จึงจะรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทานิโรธให้แจ้ง เจริญมรรค เวียนรอบอยู่อย่างนั้น เพราะหลักปฏิบัติทาลาย วิจิกิจฉาได้แล้วว่าจะปฏิบัติอย่างไร จึงไม่สงสัยว่าจะปฏิบัติ ตอ่ ไปในวธิ กี ารนน้ั อยา่ งไร จะชัดเจน จะฉลาด และจะรอบรู้ มากย่งิ ขนึ้

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๕๗ ฉะนั้น อาตมาจึงไม่ได้พูดถึงไตรลักษณ์ตัวที่เป็น ไตรลักษณ์มาก ๆ เพราะเราจะไปสร้างภาพไตรลักษณ์ขึ้น เพื่ออะไร เพราะในภาวการณ์ปฏิบัติจริงของอาตมา เวลาไป เจอตัวไตรลักษณ์แท้นี่ มันคนละเร่ืองกับที่เราต้ังกาหนดไว้ ไม่ใช่ตัวเดียวกันเลย ท่ีเราคิดไว้ในใจนั้นเป็นเพียงแค่ตรรกะ หรือว่าจินตนาการที่เราถูกบอกมา ถูกสอนเข้าไปสร้าง จินตนาการขึ้นในความคิด แล้วเอาความคิดน้ีไปกาหนดใน ความเป็นของสังขาร ซ่ึงความเป็นของสังขารท่ีแท้จริงน้ัน จะไม่ใช่อย่างนี้ อย่างที่เราคิดว่าอย่างน้ี แต่ไม่ได้หมายถึงว่า การคิดอย่างน้ันจะไม่มีประโยชน์นะ มันก็มี อย่างน้อย ก็ยงั อยู่ในชัน้ เปน็ การอธิบาย แตเ่ ป็นการอธิบายท่ยี งั ไมถ่ ูกตัว เทา่ น้ันเอง เร่ืองของความคดิ การพิจารณา การไตรต่ รอง ทุกคน ก็ต้องมีผิดมีถูกไปอย่างน้ีแหละ ในขณะที่ปฏิบัติจะเอาถูก โดยส่วนเดียวก็เป็นไปไม่ได้หรอก จะว่าไม่ผิดเลยก็ไม่ได้ ก็ต้องมีผิดมีถูกอย่างนี้สลับกันไป แต่การท่ีถูก-ผิดแต่ละคร้ัง ความรู้เราจะข้ึนมาบอกเสมอว่า ผิดตรงน้ี ที่ถูกเป็นแบบนี้ มันกจ็ ะยึดอันทถี่ ูกไปเรื่อย ๆ ผิดแบบน้ี ก็ผิดไป อันท่ีถูกเป็น แบบนี้ ก็จะยึดไปเรื่อย ๆ แต่ก็ต้องผิดอีกแต่ก็หาถูก ผิดเพื่อ หาจุดถูกไปเร่ือย ๆ แล้วไต่ไปกับความผิดเพ่ือหาจุดที่มัน ถกู ต้องของจิต จิตก็จะทาอยา่ งนีแ้ หละไปเรอ่ื ย ๆ

๕๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ฉะน้ัน เวลาเราไปเจอไตรลักษณ์แท้ อาตมาไปเจอ ไตรลักษณ์แท้ ตอนแรกไม่เคยเข้าใจเลยว่าไตรลักษณ์มีอยู่ โดยตัวของมันโดยหลักธรรมชาติ มีตัวให้เห็น มีตัว ใหร้ บั ทราบ รับสมั ผสั แล้วกร็ ับรู้ โดยไม่ต้องใช้ความคิด โดย ไม่ต้องใช้จินตนาการ เห็นเหมือนกับแก้วใบท่ีวางอยู่อย่างน้ี เห็นสภาพแห่งไตรลักษณ์แสดงอาการภาวะของมันอย่างน้ัน เลย เห็นชัดเหมือนกับตาเห็นอย่างนี้ พอจิตเราถอนออกมา ในภาวะปกติ ก็เห็นทุกสรรพส่ิงเป็นแบบท่ีเราไปเห็นอันนั้น เหน็ ด้วยตาเปล่านี่แหละ เหน็ ทุกสรรพสิ่งเปน็ แบบไตรลักษณ์ ในชั้นลักษณะญาณน้ัน เป็นญาณรองรับ เป็นญาณท่ีทาให้ เรามองอะไรก็ตาม จะเป็นไตรลักษณ์หมดเลย ทุกขณะแห่งจิต ที่รับรู้รับทราบ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามันแนบอยู่กับจิตตลอด ๒๔ ช่ัวโมง เมื่อเห็นอยู่ตลอด มันก็คลายอยู่ตลอด จะไม่มี ความเห็นหรือทฏิ ฐิใด ๆ เข้าไปยึดจับในสังขารท้ังหลายท้ังปวง ไม่ว่าจะเป็นชั้นของรูปหรือนามก็เห็นเป็นลักษณะของความ เปน็ ไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์น่ีคือไตรลักษณ์ล้วน ๆ เลย ล้วน ๆ เป็นไตรลกั ษณไ์ ม่มีอะไรปน ลว้ น ๆ ในตัวของมนั เลย เพราะฉะน้ัน อาตมาจึงบอกว่าในช้ันความเห็นน้ี มันเป็นอกี ช้ันหน่ึง นัน่ หมายถึงว่าเราจะตอ้ งพากเพียรในการ กาหนดรู้ตามหลักอรยิ สัจอย่างนไี้ ปเรือ่ ย ๆ มันจะสง่ ผลไปให้ เราเห็นสภาพธรรมอันน้ัน มันมีอยู่แล้วในหลักธรรมชาติ

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๕๙ ทีจ่ ะต้องเหน็ เมอ่ื ความจริงมอี ย่ใู นหลกั ธรรมชาติ แน่นอนว่า เม่ือเราปฏิบัติถูก จะต้องไปเห็นความจริงที่อยู่ในหลัก ธรรมชาติน้ัน ๆ แม้พระนิพพานเองก็ตาม ก็อยู่ในหลัก ธรรมชาตใิ นสว่ นที่เป็นอสังขตะ การปฏิบัติของเราจะไปเห็น เอง เพราะเราเรียกร้องให้พระนิพพานปรากฏข้ึนเลยไม่ได้ มันก็ต้องค่อย ๆ ปฏิบัติไปอย่างนั้น ไตรลักษณ์เหมือนกัน เราจะไปบอกใหเ้ ห็นไตรลักษณ์เลยกไ็ ม่ได้ การท่ีพระองค์ตรัสว่า รูปเที่ยงหรือไม่เท่ียง เวทนา เท่ียงหรือไม่เท่ียง แม้ส่ิงนั้นพระองค์จะพูดถึงไตรลักษณ์ ก็จริง แต่ไม่ได้พูดถึงตัวไตรลักษณ์แท้ แต่พูดเพ่ือให้จิตเกิด การเทียบเคียง พูดง่าย ๆ เป็นคาอธิบายให้กับจิตเพ่ือ เทียบเคียงให้ทราบในช้ันของการเกิดอนุโลมญาณ พระองค์ จึงบอกว่า ธรรมท้ังหมดท่ีพระองค์ทรงสอนเพ่ือให้เกิด อนุโลมญาณ คือคล้อยตามหลักแห่งความจริง คล้อยตาม ธรรมชาตทิ ่ีเป็นจริง ทีเ่ ป็นจริงในหลกั ธรรมชาติ คอื ต้องไปเห็น ธรรมชาติที่เป็นจริงอันนั้น เพราะฉะน้ันในพุทธพจน์ทุกคา จึงยังไมใ่ ชส่ ัจจะ ยงั ไม่ใชค่ วามจรงิ แต่พุทธพจนเ์ ปน็ เครอ่ื งบอก ให้เราไปเห็นความจรงิ คอื สัจจะในหลักธรรมชาติ การไปเห็น สัจจะในหลักธรรมชาติน้ันน่ันแหละคือพุทธประสงค์ ไม่ใช่ มาตดิ อยกู่ บั ภาษา

๖๐ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ภาษาเปน็ เครอื่ งช้ีบอกให้เห็น เหมอื นพระองคบ์ อกว่า ร่างกายเป็นธาตุ ๔ ดิน น้า ไฟ ลม ก็ช้ีให้เห็นธาตุจริง ๆ ใน หลักธรรมชาติท่ีมันเป็นจริง เป็นจริงแน่ ๆ เราไม่เห็นจริง ตอนนี้แต่มันเป็นจริงแน่ ๆ มันต้องเป็น เราก็เห็นอยู่แล้ว บรรพบุรุษเรา สุดท้ายแล้วคืออะไร ใช่ไหมล่ะ เป็นอย่างอ่ืน ไปไม่ได้ น่ีคือหลักธรรมชาติ น่ีคือกฎตายตัว เป็นกฎเกณฑ์ ของสภาพสงั ขารท่ีมันประกอบรวมตัวกันมา จะต้องแสดงออก ในลักษณะอย่างนี้ ลักษณะของรูปคือธาตุ ลักษณะของนาม ก็เกิด-ดับ เป็นอนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ และอนัตตลักขณะ แล้วเราจะไปจับเอาตัวไหนมาเป็นตัวตนของเรา ตอนเป็น เด็ก ชีวิตเราตอนเป็นเด็กหายไปไหนแล้วตอนน้ี ไปหามาสิ เราเคยเปน็ ใชไ่ หม แลว้ ไอ้ทเี่ คยเป็นมนั ไปไหนแล้วตอนน้ี ปุจฉา : ดบั ไปแล้ว วสิ ชั นา : เห็นไหม มันดับไปแล้ว เกิดความสะดุ้งไหม วา่ ชีวิตตอนเป็นเดก็ ดบั ไปแล้ว ดับไปได้ด้วย ใครทาให้มันดับ มันดับด้วยตัวของมันเอง เราอยากให้ดับไหม บางทีก็อยาก เหมือนกัน “เมื่อไหร่เราจะโตสักที” บางคร้ังพอมาเป็น ตอนนี้แล้ว “อยากจะกลับเป็นเด็กจัง” เห็นไหม ธรรมชาติ มันแสดงออกตรงตามความเป็นจริงของมันอยู่แล้ว แต่เรา

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๖๑ ไม่ตรงตามความเป็นจรงิ ความเหน็ ของเรานั่นแหละไปเก่ียงกับ ธรรมชาตอิ ยู่เสมอ ความจริงมันตรงของมัน ไม่ว่าจะเป็นช้ันทุกขสัจจะ มนั ก็เกิดมาตรงตามลักษณะของมัน ไม่ผดิ เพี้ยน สมุทยสัจจะ กเ็ กิดขนึ้ มาเพื่อสร้างทกุ ขใ์ ห้กบั ตัวขนั ธน์ ้ีโดยธรรมชาติตรง ๆ อยู่แล้ว สมุทัยมันไม่ผิดที่เป็นตัวเหตุนามาซึ่งทุกข์ ไม่ผิด ที่ผิดก็คือเราไม่รู้ว่าทุกข์ควรรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทา ใหแ้ จง้ มรรคควรเจรญิ น่คี อื ที่ผิด คอื ตรงนี้ ทุกข์คือธรรมชาติเป็นสัจจะอันหนึ่ง สมุทัยก็เป็น สัจจะอันหนึ่ง สัจจะของสมุทัยคือสัจจะในช้ันที่เป็นเหตุ เพราะฉะน้ัน เม่ือชีวิตเรามีสัจจะ ๒ ประการ ได้แก่ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ คือมีทุกข์กับมีเหตุให้เกิดทุกข์ แล้วเราจะหนี ทุกข์ไปไหนได้ล่ะ เพราะมันมีเหตุอยู่ตลอดเวลา แล้วเราก็ สร้างเหตุอยู่ตลอดเวลา ชีวิตของเราถ้ามีสัจจะอยู่ ๒ ประการนี้ ต้องเป็นความจริงแน่ว่า ชีวิตของเรานั้นต้องถูก ความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบ้ืองหน้าแล้ว เกิด ชาตปิ ิ ทกุ ขา แน่นอน เกิดอีกต้องทกุ ขอ์ กี แนน่ อน เพราะเรามีทุกขสัจจะกับสมุทยสัจจะ เป็นความจริง ที่กาหนดชีวิตเราต้องเป็นไปตามน้ัน แต่พระพุทธเจ้าทรงมาชี้ นโิ รธสจั จะวา่ ดูให้ดี ๆ นะ ไอ้ทุกขก์ ับสมุทัยนี่ แม้จะสร้างทุกข์

๖๒ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง ให้เราแต่มันก็ดับได้ ดูการดับไปของมันให้ดี ๆ สมุทัยดับได้ อวชิ ชามนั ก็ดบั ได้ แมเ้ ราไมอ่ ยากจะดบั มนั ก็ดับโดยตวั ของมนั แต่การท่ีเราไม่เห็นการดับนี่แหละจึงเป็นอวิชชาสังโยชน์ มันไปสร้างความเห็นผิด เพราะเราไม่เห็นการเกิดการดับ ในธรรมชาติที่มนั เปน็ จริง ตรงน้ี พอเรารู้ปฺุบ วิธีปฏิบัติต่อทุกข์อย่างไรล่ะทีนี้...รู้ ปฏิบัติต่อตัณหาอย่างไร รู้ว่าจะต้องละ โดยที่ตัณหานี้เกิด แล้วแต่เราไม่ละตัณหาที่เกิด แต่เราจะละตัณหาใหม่ที่จะ อาศัยตัณหาน้ีเกิด คือเราไม่สืบต่อตัณหาใหม่น่ันเอง ตัวน้ัน กจ็ ะดับ กเ็ ป็นนโิ รธทาให้แจ้งได้ เพราะถา้ เราไปสบื ต่อตัณหา ใหม่ จะทานโิ รธให้แจง้ ไมไ่ ด้ กจ็ ะเหน็ ตัณหาใหมอ่ ยู่ตลอด แล้วมรรคก็ปฏิบัติอย่างน้ีไปเสมอ ๆ เร่ือย ๆ ๆ ๆ แล้วที่น้ีก็เป็นสัจจะแน่นอนว่าถ้าเราปฏิบัติมรรคอยู่เรื่อย ๆ มรรคก็กาหนดว่า ที่สุดแห่งทุกข์ของเราย่อมมี มีความหวัง แลว้ ทีนี้ ถ้าเราทามรรคใหถ้ ูก กจ็ ะมีความหวงั ว่า เม่ือสัจจะในช้ันของมรรคบอกว่าการปฏิบัติอย่างนี้ คือที่สุดแห่งทุกข์ จะเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ จะเป็นไป เพื่อความหมดทุกข์ ก็จะเจริญขึ้นแหละทีน้ี มันก็จะไป กาหนดตายตัวว่า ทิศทางชีวิตของเราต่อไปน้ี เป็นทิศทาง ของการดาเนินไปเพื่อความส้ินทุกข์และดับทุกข์ เพราะเรามี

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๖๓ อริยสัจครบ ๔ ในชีวิต ซึ่งแต่ก่อนมีแค่ ๒ ใช่ไหมล่ะ ดับทุกข์ ไดไ้ หม อา้ วยนื ยนั ใชไ่ หม ดับได้ ทาไมจะดับไม่ได้ ปุจฉา : ทุกขห์ ายไปเยอะเลย วสิ ชั นา : หายไปไหน ปุจฉา : แลว้ ก.็ ..ไปหาอกี กไ็ มม่ ี วิสัชนา : น่ัน เห็นไหม เรียกให้มันมา ก็ไม่มา เพราะ มนั ละได้แลว้ ปุจฉา : คือจริง ๆ แล้ว ที่ท่านอาจารย์พูดว่าอวิชชา ไม่มีที่ต้ังนี่ ก็คือเป็นสัจจะจริง ๆ เพราะมันกระจายออก จนไมม่ ที อี่ ยู่ ก็เป็นลาดบั ๆ ไป วิสชั นา : ใช่ ถูก ปจุ ฉา : จรงิ ๆ เขาไมม่ ีท่อี ยแู่ ล้วจะยอ้ นกลับมาหารูป หานาม ก็กระจายกนั ไปหมดแลว้ วิสัชนา : มันก็ไม่มี ไม่รู้จะมีอะไร มันจะไปตั้งอยู่กับ อะไร ปุจฉา : มนั ไมม่ ที ีต่ ง้ั

๖๔ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง วิสัชนา : มันตั้งที่ความเห็นผิดนะ สักกายะมันถูก ทาลายไปแล้ว มันกไ็ มม่ าตง้ั อย่ใู นนีอ้ ีก มันก็ไปนอนเน่ืองอยกู่ ับ ตัวสังโยชน์ชนิดทม่ี นั ยังละไมไ่ ด้ อาตมาจึงบอกเสมอวา่ เราไม่ ต้องไปละอะไรให้มากมาย เราเพียงแค่ละสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ตวั แรกจะตอ้ งละคอื สักกายะ เรอ่ื งโลภ โกรธ หลง ไม่ต้องไปสนใจหรอก เอาออกไปก่อน ละมาแค่ไหน ไม่เห็น ละได้สักที ยังโลภกันอยู่ ใช่ไหม ก็ยังโกรธกันอยู่ ใช่ไหม โกรธกันอยู่ได้เร่ือย ๆ นั่นแหละ ก็หลงยึดตัวเองอยู่ไปตลอด ไม่หมดไปสักที แต่ทาลายสักกายะนี่ เริ่มเห็นแล้วว่าอะไร เป็นอะไร โอ๊ะ...ละกันอย่างน้ี ไปกันอย่างนี้ จิตจะฉลาดข้ึน จติ จะแยบคายข้นึ จิตจะเขา้ ใจอะไรไดม้ ากมายขึน้ ปุจฉา : ท้ายที่สุดแล้วที่ว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือว่าธรรมหมวดต่าง ๆ ก็มีแค่ ๑๐ อย่างท่ีต้องละ แค่น้นั เอง วิสัชนา : ใช่ ในพระพุทธศาสนาให้ละ ๑๐ อย่างนี้ อย่าไปละเกินน้ี เพราะเป็นคาตรัสไว้ตายตัวชัดอยู่แล้วว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เรียกว่าโสดาบัน คือเวลามันเกิด ไม่มีคาว่าโสดาบันข้ึนมาให้เราได้เห็นหรอก เห็นแต่ว่าสักกายทิฏฐิถูกละไป พอสักกายทิฏฐิถูกละไปแล้ว คาวา่ โสดาบนั ผดุ เกดิ ขึน้ ไม่มี จงึ ไมม่ ีความรู้สึกว่าเป็น แต่รู้ชัดว่า

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๖๕ สักกายทิฏฐิหายไป ทีนี้ คนปฏิบัติแล้วรู้สึกว่าตัวเองเป็น โสดาบันน้ัน แสดงว่ามีโดยความเป็นอัตตา ไปสร้างความ เปน็ โสดาบันข้ึนเพ่ือใหต้ ัวเองเป็น มีเยอะด้วยนะ จริง ๆ โดย ธรรมชาติท่ีแท้แล้วไม่มีหรอก พระพุทธเจ้าตรัสเรียกบุคคล ผู้ละสกั กายทิฏฐิ วจิ ิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ว่าโสดาบัน ไม่ได้ ตรสั วา่ เป็นโสดาบนั ทรงเรยี กว่า “ผู้ตกกระแส” โสตะ+สมั ปน๎ นะ คือ โสตะ-กระแส สัมปน๎ นะ-ถงึ พรอ้ ม เพราะฉะนนั้ แลว้ จงมคี วามพากเพียรในการปฏิบัตไิ ป เรื่อย ๆ ว่าสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็ชัดเจน แล้วตรงนี้ ละขาดปบ๊๎ แล้วคนนั้นก็จะรู้ชัดด้วย ไม่กลับมาอีก เอามันอีกก็ไม่มี จะกลับไปพิจารณาเพื่อแก้มัน มันก็ไม่ไป จะแก้ทาไม ไม่มีทแี่ ก้แล้ว กร็ ูช้ ัดภายในตวั เอง เหมือนกับคนที่ ตัดแขนตัวเองขาด ก็รู้ชัดว่ามันขาดแน่นอน ชัดเจนอย่างนั้น ตลอด ๒๔ ชั่วโมง จะรู้เลยว่าขาด ไม่ใช่ว่า “เอ... ตอนน้ันขาด ตอนนท้ี าไมมันมาต่อกันอกี ” ไม่มี มนั ชดั เจนตลอด แจ่มแจ้ง ตลอด ไม่ได้สงสัย เป็นอย่างน้ัน ทีนี้ก็รู้ว่า ละกามราคะ ปฏิฆะให้เบาบาง เรียกว่าสกทาคามี บางคนก็มาถามว่า จะช้ีชัดได้อย่างไรว่าเบาบางแบบไหน อันแรกก็รู้ว่าขาด แต่อันที่ ๒ บอกเบาบาง บางทีไม่แน่ใจว่า เบาบางแบบไหน ใช่ไหมล่ะ เรียกว่ามันชี้ชัดไม่ได้ในความ

๖๖ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง เบาบาง แล้วอันที่ ๓ คือขาด ก็รู้ว่าขาด ขาดก็คือต้องไม่มี แต่เบาบางแสดงว่าต้องมีบ้างไม่มีบ้าง แต่จะเทียบเคียง อย่างไร เพราะบางคนในชั้นของปุถุชนเองก็ตาม บางทีผู้ที่ บาเพ็ญฌานมาก ๆ พวกน้ีก็จะไม่มี ก็เลยเทียบเคียงไม่ออก ว่าเบาบางแบบไหน แล้วอีกอย่างหนึ่ง เวลาจิตเข้าสู่การละ สักกายทิฏฐิเบื้องต้นใหม่ ๆ ก็จะไม่มีเลยเร่ืองพวกน้ี มันหายไปไหนก็ไม่รู้ ก็เลยเทียบไม่ได้ว่าเบาบางแบบไหน ฉะน้ันแล้ว มันก็มีเทียบตรงที่ว่า เวลาจิตเข้าสู่กระแสแล้ว จะต้องรู้เลยว่ากามราคะ ปฏิฆะ เป็นสังโยชน์ตัวต่อไป ท่ีจะต้องแก้และต้องละ พอรู้ว่าจะต้องละ มันก็จะทาความ เพียรละ ป๎ญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าจะชี้ขาดได้ไหมว่าเบาบางหรือไม่ เบาบางอย่างไร ไม่ได้เป็นป๎ญหาเลย แต่เม่ือผู้ปฏิบัติได้ ปฏิบัติไปนั่นแหละ สิ่งหน่ึงที่จะเกิดขึ้นก็คือจะมีกระแส พระนิพพานรองรับ ครั้งแรกน่ีกระแสพระนิพพานรองรับ โดยในช้ันของการละสักกายะ ครั้งที่ ๒ ก็จะมีกระแส พระนิพพานรองรบั ไปชขี้ าดตรงน้นั ว่า เห็นกระแสพระนิพพาน หรือไม่ ต้องเห็น นั่นหมายถึงว่า คร้ังแรกท่ีเห็นกระแสแรก ของพระนิพพานเป็นอย่างไร ต้องเห็นกระแสที่ ๒ ของ พระนพิ พานในชั้นท่ี ๒ นนั่ คอื ตัวช้ีขาดว่าทาให้เบาบางได้แล้ว ช้ันที่ ๓ ก็ต้องเห็นกระแสของพระนิพพานอีก เพ่ือทาให้

อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง | ๖๗ เด็ดขาด น่ีคือการละได้โดยแท้ ต้องเห็นกระแสพระนิพพาน ดว้ ย แตก่ ็อีกนั่นแหละ นิพพานกไ็ มไ่ ดม้ ชี อื่ บอกวา่ นพิ พาน ทีนี้ บางคนบอก แล้วจะจับได้อย่างไรว่ากระแสแรก พระนิพพานเป็นอย่างไร มันรู้ วิจิกิจฉาจะหาย ความสงสัย วา่ นพิ พานเป็นอย่างไร มันจะหายออกไปจากจิต จะไม่มีการ ตัง้ จินตนาการ ต้ังการคาดคะเน มันจะไม่ตั้งอีกแล้ว แต่ก่อน จะต้ังไว้ว่า นิพพานเป็นแบบนั้น แบบนี้ มันจะมี แต่ตอนนี้ มันไม่ต้ังไว้แล้ว แม้จะตั้งไว้ก็รู้ชัดเจนแล้วว่ามันไม่ตรงตาม หลักของพระนิพพานที่แท้ จะรู้ในใจเองเลยว่าไม่สงสัย พระนิพพานอีกแล้วในชีวิตน้ี ตลอดท้ังชาติ ไม่มีความสงสัย เป็นอนันตกาล ทุกอย่างมันชัดเจน แจ่มแจ้งอยู่ในตัวเอง มนั จะรู้ รอู้ ย่างท่ีไมเ่ คยรู้มาก่อน เป็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เข้าใจธรรมชาติหลาย ๆ อย่าง อย่างที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน มีความเป็นอยู่อีกแบบหนึ่งในภายใน ตัวนี้จะเป็นป๎จจัตตัง เขา้ ใจหรอื ยัง ปจุ ฉา : เข้าใจแลว้ วสิ ัชนา : เข้าใจแล้วกจ็ บ

๖๘ | อ ริ ย สั จ ๔ ใ น ชี วิ ต จ ริ ง กกาารรดดับับไไปปโดโดยยไมไม่เห่เหลอื ลขืออขงอองวิชอชวาิชชา โโดดยยปปรราศาศจาจการการคาะคะ กกรระะบบจววงึนนเกปกา็นารรอแแนั หหยง่ งุ่ตคคิวไาวมมา่สทมบื กุ ทตขุกอ่ท์ ขัง้ ท์ปว้งั งปวง จงึ เปน็ อันยตุ ิ ไมส่ ืบต่อ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook