Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ธรรมะโดนใจ 2

ธรรมะโดนใจ 2

Published by Sarapee District Public Library, 2020-10-01 00:40:26

Description: ธรรมะโดนใจ 2
โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

Keywords: ธรรมะ

Search

Read the Text Version

กรรมฐานทส่ี ำ�คญั คือในชีวิตประจำ�วนั

เราตอ้ งฝกึ ตวั เอง ทกุ อยา่ งในชวี ติ เราทำ� กรรมฐานไดห้ มด เลยถา้ ทำ� เปน็ คลา้ ย ๆ วชิ านนิ จาวชิ าของหลวงพอ่ นวี่ ชิ า นินจาใช้ทุกอย่างเป็นอาวุธได้หมดเลย วิชาท่ีหลวงพ่อ สอนใหท้ กุ อยา่ งเปน็ กรรมฐาน กศุ ลกส็ อนกรรมฐานเรา ได้ อกุศล โลภ โกรธ หลง กส็ อนกรรมฐานได้ อย่างร่างกายน่ีสอนให้เห็นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็น อนัตตา นามธรรมก็สอนความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็น อนัตตา ความสขุ - ความทกุ ขก์ ็สอนกรรมฐาน ความดี - ความชว่ั กส็ อนกรรมฐาน ทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ งในตวั เรานส่ี อน กรรมฐานไดห้ มดเลย เราคอยสนใจคอยเรยี นคอยรไู้ ป นี่ คอื การเจรญิ ปญั ญาเรยี กวา่ การเจรญิ สติ เจรญิ ปญั ญาใน ชีวิตประจ�ำวัน บางคนเจริญปัญญาได้เฉพาะตอนอยู่ใน สมาธหิ รอื ทำ� ในรปู แบบ อยใู่ นชวี ติ จรงิ เจรญิ ไมไ่ ด้ เผอญิ ชวี ติ ของเราสว่ นใหญอ่ ยขู่ า้ งนอกไมไ่ ดอ้ ยใู่ นหอ้ งกรรมฐาน เราเกง่ เฉพาะในหอ้ งกรรมฐาน ออกมาขา้ งนอกทำ� ไมเ่ ปน็ วนั ๆ หน่งึ จะได้สักเท่าไร ๕๒

หลวงพ่อหลอมรวมกรรมฐานเข้ากับชีวิตจริง ๆ ตั้งแต่ต่ืนนอน ต่ืนนอนข้ึนมาจิตเป็นอย่างไร กายเป็น อยา่ งไร จะอาบนำ�้ จะกินขา้ ว จะขน้ึ รถ จะท�ำอะไรตอ่ อะไร ดกู ายดูใจไปเรื่อย ฝึกนะ ครูบาอาจารยท์ ่านบอกเลยวา่ ส�ำคญั ท่ีสดุ เลยคือการฝึกในชีวิตประจ�ำวันให้ได้ เพราะว่าชีวิตส่วน ใหญ่เราอยูต่ รงนี้ ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันที่ ๒๙ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๕๗ จากซีดีแสดงธรรม ณ วัดสวนสันตธิ รรม แผ่นที่ ๕๗ ไฟล์ ๕๗๑๑๒๙B ๕๓



จงทำ�ญาณเหน็ จิต ให้เหมอื นตาเหน็ รปู

ค�ำว่า “จงท�ำญาณเหน็ จติ ให้เหมือนตาเห็นรูป” ประโยค สนั้ นดิ เดยี วครอบคลมุ ธรรมะมหาศาล ทำ� อะไร ทำ� ญาณ “ญาณ” คือ ปัญญา ไมใ่ ช่บอกว่าจงมสี ติเหน็ จิตนะ จงมี ญาณเห็นจิต ญาณคือปัญญา ญาณเป็นตัวปัญญาเห็น ไตรลักษณ์ ถ้าสตเิ ห็นตัวสภาวะ ตัวปัญญาเห็นไตรลกั ษณ์ - สติ เห็นสภาวะ เชน่ เห็นตวั ความโกรธ เห็นตวั พอง ตัวยุบ ตวั ยก ตัวยา่ ง สตเิ ปน็ ตัวรู้ ตวั หายใจออก ตวั หายใจเขา้ - ปญั ญา เปน็ ตวั เขา้ ใจถงึ ความเปน็ ไตรลกั ษณ์ วา่ สง่ิ ทสี่ ตไิ ประลกึ นน้ั ลว้ นแตไ่ มเ่ ทย่ี ง เปน็ ทกุ ข์ เปน็ อนตั ตา เพราะฉะนน้ั การดจู ติ นไ้ี มใ่ ชใ่ ชส้ ตไิ ปดู แตใ่ ชป้ ญั ญา ไปดู คือดูให้เห็นไตรลกั ษณ์ ดูความเปน็ ไตรลักษณ์ของ จิต ไม่ใช่ดตู ัวจิต ๕๖

“จงท�ำญาณ” ญาณเอาไปท�ำอะไร เอาไปเห็น เพราะฉะน้ันไมใ่ ช่ญาณเอาไปคดิ ไม่ใช่ญาณเอาไปเพง่ มี ญาณเห็นอย่างตาเหน็ รูป ทา่ นบอก “จงทำ� ญาณเหน็ จติ ” กลวั พวกเราไมร่ เู้ รอ่ื งจงึ ขยาย ว่า “ให้เหมือนตาเหน็ รูป” เวลาที่ตาเรามองเหน็ รูป ตา สง่ั รปู ไดไ้ หม รปู มนั เปน็ อยา่ งไร ตากเ็ หน็ อยา่ งนน้ั ใชไ่ หม พวกเราลองหลับตา แล้วหันหน้าไปทางใดทาง หนงึ่ แล้วลืมตา เหน็ รูปเป็นอย่างไร ตาก็เหน็ อย่างนัน้ ละ่ เราสั่งไม่ได้ สมมุติว่าคนข้างซ้ายเราเป็นผู้ชาย เรา หลับตาหนั ไป แล้วนกึ ว่าจงเป็นผหู้ ญิง แล้วลืมตาขน้ึ มา มันไมเ่ ป็นหรอก รูปมันเป็นยงั ไงกเ็ ปน็ อยา่ งนน้ั เพราะฉะนั้นเราเห็นจิตเหมือนตาเห็นรูป หมาย ความว่า จติ เป็นอย่างไรก็เหน็ เป็นอย่างนั้น ไมใ่ ช่เขา้ ไป แทรกแซง แตเ่ หน็ ดว้ ยญาณ สภาวะจติ เปน็ อยา่ งไร ทกุ ๆ สภาวะนนั้ ล้วนแตแ่ สดงไตรลักษณ์ ดเู ข้าไปตรงน้ี ๕๗

สว่ นหน่งึ ของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโฺ ช วนั ท่ี ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จากซีดแี สดงธรรม ณ วัดสวนสนั ตธิ รรม แผ่นท่ี ๕๙ ไฟล์ ๕๘๐๔๒๕ ๕๘

มหากุศลจติ

จิตท่ีจะใช้เจริญวิปัสสนาเป็นมหากุศลจิตประกอบด้วย ปัญญา เกิดโดยไม่จงใจ มหากุศลจิตจะมีลักษณะเบา นุม่ นวล อ่อนโยน คลอ่ งแคล่ว วอ่ งไว ควรแก่การงาน ซ่ือตรงในการรู้อารมณ์ อะไรเกิดขึ้นก็รู้ได้ ไม่ได้รัก อารมณ์นี้เกลียดอารมณ์น้ี จิตท่ีเป็นมหากุศลไม่มีราคะ ไม่มโี ทสะ ไม่มีโมหะ การอยากปฏิบตั ิ จติ ไมใ่ ชม่ หากุศล เป็นจิตโลภ หรือปฏิบัติแล้วเคร่งเครียด ไม่ใช่จิตที่เป็น มหากุศล เปน็ จิตทีม่ ีโทสะ จติ ท่ีเปน็ มหากศุ ล คอื จติ ทเี่ บา ออ่ นโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ควรแก่การงาน ซ่ือตรงในการรู้ อารมณ์ ไม่โลภ ไมโ่ กรธ ไมห่ ลง ร้เู น้ือรู้ตัว ประกอบ ด้วยปัญญา ไม่ได้รู้ตัวแล้วก็รู้ตัวอยู่เฉย ๆ แต่เห็นการ เคลื่อนไหวเปล่ียนแปลงของกายของใจได้ด้วย เรียกว่า ประกอบด้วยปัญญา เปน็ การท่รี ตู้ ัวขึ้นมาแล้วเห็นโดยท่ี ไม่ได้เจตนา มันอัตโนมัติขึ้นมาเรียกว่า “อสังขาริกัง” คอื เกิดโดยไมไ่ ด้ชกั ชวนใหเ้ กิด ไมต่ ้องน้อมน�ำให้เกิด มนั เกิดเอง ๖๐

จิตท่ีเป็นมหากุศล ญาณสัมปยุต ประกอบด้วย ปัญญา อสงั ขารกิ งั ไมไ่ ด้น้อมนำ� ให้เกิด เป็นจติ ท่เี ป็น มหากศุ ลอนั ดับหนง่ึ มพี ลงั ท่สี ดุ ในฝา่ ยกศุ ล กลบั ขา้ งกัน ถ้าเป็นจติ ชวั่ ไม่ประกอบด้วยปญั ญา ไมต่ อ้ งชักชวน ช่วั อตั โนมตั ิ อนั น้ชี ัว่ อันดับหนึ่ง กลบั ขา้ งกัน แต่ถา้ ต้องบิวท์ (build) ยังไม่ให้ผลแรง เปน็ จิตที่ เปน็ กศุ ลประกอบดว้ ยปญั ญา แตต่ อ้ งชกั ชวนใหเ้ กดิ ตอ้ ง พยายามบิวทใ์ ห้เกิด ตอ้ งพยายามชว่ ย ตอ้ งพยายามทำ� อนั นเี้ ปน็ กศุ ลรองลงมา ถา้ เปน็ กศุ ลอตั โนมตั นิ สี่ �ำคญั จะ ใชเ้ ดินปญั ญาได้ดที ่ีสดุ มจี ติ อยู่ ๒ ดวงทใ่ี ชเ้ ดนิ ปญั ญา เดนิ วปิ สั สนาอยา่ ง แทจ้ รงิ คอื มหากศุ ลจติ ประกอบดว้ ยปญั ญา ไมไ่ ดช้ กั ชวน แต่จิตมีความสุข กับเป็นมหากุศลจิตมีปัญญา ไม่ได้ ชกั ชวนจิตเปน็ อุเบกขา ๖๑

ถ้าจิตมีความทุกข์ตัดทิ้งเลย จิตมีความทุกข์เป็น จติ อกศุ ลแนน่ อน แตถ่ า้ จติ ทเ่ี ปน็ กศุ ลจะมเี วทนา มคี วาม รสู้ กึ ในใจ ๒ ชนดิ เทา่ นนั้ คอื ความสขุ ในใจเรยี ก “โสมนสั เวทนา” เราได้ยนิ วา่ สุขเวทนาใชไ่ หม สุขเวทนาใช้เรียก ความรู้สึกทางร่างกาย ถ้าความสุขทางใจเขาเรียก “โสมนสั เวทนา” กับ “อเุ บกขาเวทนา” จะมีอยู่ ๒ อยา่ ง ถ้ามีโทมนัสเวทนา ทุกข์ทางใจ จิตดวงนี้เป็นอกุศล แนน่ อน อกศุ ลชนดิ ไหน อกศุ ลชนิดโทสมูลจติ จิตทีเ่ กิด มีโทสะเป็นรากฐาน ส่วนจิตที่เป็นกุศลมีโสมนัสกับ อเุ บกขา แต่จิตทีม่ โี ลภะ กม็ ีโสมนสั กับอุเบกขาด้วย อันนี้ ตอ้ งระวงั ฉะนนั้ ถา้ เมอื่ ไหรม่ คี วามสขุ ขน้ึ มา จติ ดวงนอี้ าจ จะไม่ใช่กุศลแต่เป็นจิตมีโลภะก็ได้ หรือจิตดวงน้ีเป็น อุเบกขา อาจจะเป็นจติ ทีม่ โี ลภะกไ็ ด้ อาจไม่ใช่จติ ที่เป็น กุศล จติ ทเ่ี ป็นกศุ ลมันมีเงื่อนไขหลายตัว เบา ออ่ นโยน นมุ่ นวล คลอ่ งแคลว่ ว่องไว ควรแกก่ ารงาน ซือ่ ตรงใน การรูอ้ ารมณ์ ไม่โลภ ไมโ่ กรธ ไม่หลง เดนิ ปัญญา ไมใ่ ห้ ๖๒

จติ รู้ตวั เฉย ๆ ใหเ้ ห็นความเกดิ ดบั ไม่ได้จงใจใหเ้ ห็น แต่ มนั เหน็ เอง ฝึกไปเร่อื ยนะ ส่วนหนง่ึ ของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันที่ ๗ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ จากซดี ีแสดงธรรม ณ วัดสวนสนั ตธิ รรม แผน่ ที่ ๕๘ ไฟล์ ๕๘๐๒๐๗B ๖๓



นักปฏิบตั ิอย่าหลง ตามอาการของ ความเส่ือมความเจรญิ

เราไม่ไดภ้ าวนาเอาดี เอาสุข เอาสงบ ไม่ไดภ้ าวนาเอา เจรญิ เพราะอะไร เพราะดี สขุ สงบ หรือเจริญเกิดแล้ว ดับท้งั สน้ิ แต่เราภาวนาจนเข้ามาถงึ จติ ถงึ ใจเรา เราเห็น เลยเวลาความดเี กดิ ความสขุ เกดิ ความสงบเกิด หรือ เวลามนั เจรญิ จติ พอใจ นจี่ ติ มนั หลงยนิ ดแี ลว้ ใหร้ ทู้ นั วา่ หลงยนิ ดี จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลาง ภาวนาอยา่ งน้ีได้ หรอื เวลาเกดิ ความทกุ ข์ เกดิ ฟงุ้ ซา่ น เกดิ ไมด่ ี เกดิ ชัว่ ขนึ้ มา เกดิ ชว่ งนี้สตเิ สื่อม ไมม่ สี ติเลย ฟงุ้ ทง้ั วนั หรอื สมาธิเสียหมดแลว้ ใจไมช่ อบเลย ใหร้ เู้ ข้ามาท่ใี จไม่ชอบ แค่นเี้ อง เจริญและเสื่อมไมม่ นี ัยยะอะไรกับเรา เราไม่ได้ ภาวนาเอาเจริญ มีคนพิมพม์ าใหห้ ลวงพอ่ อา่ น หลวงตา มหาบวั ทา่ นสอนเรอ่ื งนเี้ อาไว้ ทา่ นเขยี นเอาไวเ้ ปน็ จดหมาย ของท่านตั้งแต่ ๗ ธันวาคม ๒๕๐๒ พวกเราฟังดูว่า เหมอื นที่พวกเราฝึกกนั หรอื เปลา่ หลวงตาว่าอยา่ งน้ี “อาการของจิตทุกอาการท่ีเกิดขึ้นต้องดับและ แปรปรวน อยา่ ตน่ื เงาของจิต ตวั เองจะเดือดร้อน ความ ๖๖

รวู้ า่ เผลอและไม่เผลอเปน็ ทางทีถ่ กู ตอ้ งแลว้ ความเจริญ ความเส่ือมเป็นอาการของโลก ให้รู้เท่าผู้รู้ว่าเจริญและ เส่ือม (รู้ทันจิตของเรานี้เอง เจริญแล้วดีใจ เสื่อมแล้ว เสียใจ ใหร้ ูเ้ ท่าผรู้ วู้ ่าเจริญและเสื่อม) นีแ่ หละเปน็ ธรรมท่ี คงที่ ความรบั รู้ทกุ ขณะนแี้ ลเปน็ ธรรมยั่งยนื เราเป็นนัก ปฏิบัติอย่าหลงตามอาการของความเสื่อมความเจริญ จงรตู้ ามอาการ (ใหร้ ตู้ ามอาการ มอี าการเปน็ อยา่ งไรให้ รอู้ ยา่ งนน้ั ) จงึ จดั วา่ เปน็ ผฉู้ ลาดในธรรม ดวงไฟยงั มดี อก แสงควันไฟต้องแสดงความเกิดความดับจากดวงไฟเป็น ธรรมดา จติ ยงั มอี าการเกดิ ๆ ดบั ๆ ซึ่งเกิดจากดวงจิต ตอ้ งมเี ชน่ เดยี วกนั ขอ้ สำ� คญั อยา่ หลงตาม เสอื่ มจงรตู้ าม เจรญิ จงตามรู้ เผลอหรอื ไมเ่ ผลอจงร้ตู ามทุกอาการ จึง จดั ว่านกั ค้นควา้ ความร้เู ท่าในอาการเกิด ๆ ดบั ๆ ของ สงิ่ เหล่านี้ดว้ ยปญั ญาเสมอไป นัน่ แลจัดว่าเป็นผู้รู้เทา่ ทัน โลกและเรยี นโลกจบ จึงจะพบของจริง” สอนกนั ขนาดน้ี ที่จรงิ แลว้ ครบู าอาจารยส์ อนกนั มาก่อนหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อถึงพูดมานานแล้วว่า ท่ี ๖๗

หลวงพ่อสอนนี่ไม่ได้ว่าเอาเอง หลวงพ่อเรียนจากครบู า อาจารย์ ครูบาอาจารยก์ ็สอนมา แต่วา่ คำ� สอนดี ๆ มนั เลือนลางไป มนั เลยเหลอื แตเ่ ล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ให้พทุ โธ ใหพ้ จิ ารณากาย อะไรอยา่ งนี้ สว่ นธรรมชน้ั สงู อยา่ งนม้ี นั ลบเลือนไป ฉะน้ันเราไม่ได้ภาวนาเพื่อเอาเจริญนะ ไม่ได้ ภาวนาเพอ่ื เกลยี ดเสอื่ ม วนั นจี้ ติ ใจไมส่ งบเลยอยา่ ไปตกใจ จติ ไมส่ งบกร็ วู้ า่ ไมส่ งบ จติ อยากสงบรวู้ า่ อยากสงบ รทู้ นั จิตนะไม่ใช่รู้ตามอาการท่ีเกิดขึ้นมา ความเจริญความ เสื่อมเป็นแค่อาการปรากฏที่ปรุงจิตข้ึนมาเท่าน้ันเอง มี อาการอะไรเกดิ ขึ้น ใหร้ ู้ทันใจตวั เอง มอี ารมณ์ มอี าการ แล้วกม็ ีปฏิกริ ยิ าสว่ นในของ จติ อารมณ์เชน่ รูป เสยี ง กลน่ิ รส สัมผัส หรอื เรอ่ื ง ราวทค่ี ดิ นกึ เปน็ สง่ิ ทม่ี ายวั่ จติ พอจติ ถกู ยวั่ กเ็ กดิ อาการ ขนึ้ มา เกดิ ความรสู้ กึ เกดิ ความรสู้ กึ สขุ รสู้ กึ ทกุ ข์ รสู้ กึ ดี รู้สกึ ช่ัว ความรู้สกึ ทัง้ หลายเป็นกริ ยิ าอาการของจิต พอ ๖๘

เกดิ ความรู้สกึ ท้งั หลายขนึ้ มาแลว้ จิตก็เกดิ ปฏิกริ ิยาซอ้ น ขนึ้ มา ยินดบี ้าง ยินรา้ ยบ้าง ใหร้ ู้ตวั นี้ รูเ้ ขา้ มา ถ้ามนั ไมย่ นิ ดไี มย่ นิ รา้ ยทำ� อยา่ งไร กร็ วู้ า่ มนั เฉยๆ ไมต่ อ้ งไปหา วา่ ตอนนีย้ ินดหี รือยนิ รา้ ย มันอยู่ไหน น่ลี ะ่ ให้รวู้ ่ากำ� ลัง ฟุ้งซา่ นอยู่ เห็นไหมการภาวนาไม่ยากอะไร พวกเราค่อย ๆ ฝกึ ทุกวนั ๆ คอยสังเกตุไป เดีย๋ วมันก็เจริญ เด๋ียวมันก็ เสือ่ ม ข้อสำ� คญั ต้องร้วู ธิ ีเอาตัวรอด ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพอ่ ปราโมทย์ ปาโมชโฺ ช วนั ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จากซดี แี สดงธรรมนอกสถานที่ แผ่นที่ ๑๓ ไฟล์ ศาลาลุงชนิ คร้ังที่ ๗๗ (มถิ นุ ายน ๒๕๕๘) ๖๙



จติ ที่ฝกึ ดีแล้ว มันอ่มิ มันเตม็

ถ้าเราเหน็ ว่าจติ ใจเป็นอนตั ตา สุข ทกุ ข์ ดี ชว่ั ทกุ อย่าง ที่ผ่านเข้ามาในจิตใจ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ถา้ เราเหน็ ความจรงิ อยา่ งนแ้ี ลว้ ตอ่ ไปเวลาเราจะพลดั พรากจากคน ทเ่ี รารัก เราจะไมห่ วัน่ ไหว เพราะเรารวู้ ่าความสมหวังก็ เปน็ ของช่ัวคราว ถ้าคนที่เรารักอยู่ ๆ กต็ ายไป คนทัว่ ไปกเ็ ป็นทกุ ข์ แตเ่ ราภาวนาของเราดแี ลว้ เรารเู้ ลยวา่ เวลาคนทเ่ี รารกั อยดู่ ้วยกนั บางคนกเ็ ลกิ รักไปกอ่ นแลว้ กจ็ ากกันไป บาง คนจากไปทง้ั ๆ ทยี่ งั รกั กนั อยู่ รกั หรอื ไมร่ กั มนั อยทู่ ใ่ี จเรา คนเดยี ว มันไมไ่ ด้อยทู่ ี่เขาหรอก ความรักเกดิ ขนึ้ เราร้วู า่ ความรกั เกดิ ขนึ้ ความรกั กไ็ มใ่ ชต่ วั ตนทแี่ ทจ้ รงิ อยชู่ วั่ คราว แลว้ กห็ ายไป ความทกุ ขจ์ ากการพลดั พรากจากความรักก็ เป็นของชั่วคราว อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ใครเคยอกหักบ้าง เวลาอกหักจ�ำได้ไหม อกหัก ครั้งที่หนึ่งนี่ทุกข์มากเหมือนโลกจะแตกเลย โลกไม่เป็น สีชมพูแล้วโลกด�ำมืด มีความทุกข์มากเหมือนจะไม่ผ่าน ๗๒

สดุ ทา้ ยกผ็ า่ นใช่ไหม ถึงวันน้ีบางคนนกึ ย้อนหลงั ไป โห... บญุ มากเลยทไ่ี มไ่ ดแ้ ตง่ กบั ยายแกค่ นน้ี ตอนนน้ั มนั ยงั สาว เรากอ็ ยากแตง่ กับมนั มนั ไปแตง่ กบั คนอ่ืน เราก็อยขู่ อง เรามาน่ี ตอนน้ียายคนนี้ดูไม่ได้เลย คิดดูว่าถ้าเราต้อง เห็นอสุภกรรมฐานตลอดวันเราจะรู้สึกอย่างไร อาจจะ รสู้ ึกดีใจก็ได้ ถ้าเราภาวนาดี ๆ เราจะไม่หว่ันไหวกับการท่ีจะ พลัดพราก เพราะเป็นเร่ืองธรรมดา เราจะรู้สึกว่า ธรรมดา เราไมห่ วน่ั ไหวทเี่ ราเจอสง่ิ ไมด่ เี ปน็ บางครงั้ บาง คราวเพราะเปน็ เรอ่ื งธรรมดา เราจะไมห่ วนั่ ไหวกบั ความ สมหวงั ความผิดหวัง เพราะเราไมไ่ ด้มีความหวงั ไมม่ ี ความหวงั ไมใ่ ชส่ ิ้นหวัง ไมใ่ ช่ชีวิตนี้โฮปเลส (hopeless) หมดสภาพ ไม่มคี วามหวังเพราะอิ่มซะแลว้ ใจมันอ่มิ ซะ แลว้ มันไมต่ อ้ งการอะไร ใจมันเตม็ มนั มคี วามสขุ อยูใ่ นตัว เอง ๗๓

ทกุ วันน้ีท�ำไมเราตอ้ งไปหาคนอน่ื เพราะใจเราไม่ อมิ่ เราไปหาเขาแล้วเราหวังวา่ ใจเราจะมคี วามสุข ทำ� ไม เราตอ้ งไปเทยี่ วทนี่ ี่ ทำ� ไมตอ้ งกนิ อนั น้ี ทำ� ไมตอ้ งใสเ่ สอ้ื ผา้ อย่างนี้ ท�ำไมต้องใช้รถยนต์ยี่ห้อนี้ ทำ� ไมต้องใช้มือถือ อยา่ งน้ี เพราะใจเรามนั ไมอ่ มิ่ เราคดิ วา่ ถา้ ไดอ้ นั นมี้ า เรา จะอ่ิมเราจะเต็ม แต่ได้มาแป๊บเดียวเราก็หิวอันใหม่แล้ว ใจเรานี้พร่องอยูเ่ ป็นนจิ หวิ อยู่ตลอดเวลา แตใ่ จของคน ทีฝ่ ึกดีแล้ว ใจของพระอรหนั ต์นลี้ ะ่ อม่ิ เต็ม ไม่หวิ เมอ่ื ไมห่ วิ กไ็ มไ่ ดม้ คี วามอยาก เมอ่ื ไมม่ คี วามอยากกไ็ มม่ คี �ำวา่ สมอยาก ไม่มีความหมายอะไรเลย มันเต็มอยใู่ นตัวเอง เรามาฝึกเจริญปัญญา มาเห็นความจริงของ รา่ งกาย มาเหน็ ความจรงิ ของจติ ใจ วนั หนงึ่ ใจเราจะเตม็ อ่ิมอย่ใู นตัวของเราเอง อะไรจะเกิดขน้ึ ในชวี ิต จะแก่ จะ เจบ็ จะตาย จะพลดั พรากจากส่งิ ทรี่ กั จะเจอสิ่งที่ไม่รกั จะสมหวังอะไร ก็จะไม่มีความหมายอะไรกับชีวิตเลย หายใจออกหายใจเข้าก็มีแต่ความสุขของเราอยู่อย่างนั้น เอง มีเสวยวิมุตติสุข เสวยความสุขจากความหลุดพ้น ๗๔

ของเราอยู่ คอ่ ย ๆ ฝกึ ไปนะ ถงึ ดวู า่ หา่ งไกล ทจ่ี รงิ ไมไ่ กล มาก ครบู าอาจารยเ์ คยบอกหลวงพอ่ วา่ ถา้ ภาวนาจรงิ ๆ ใช้เวลาไมน่ านหรอก ไม่เกิน ๗ ชาติ กไ็ ด้แล้ว ทา่ นว่า อยา่ งน้ี ๗ ชาติ นิดเดยี วนะ พวกเรานเี่ วียนว่ายตายเกดิ มากมาย ในกปั หนึง่ ๆ เราเวยี นว่ายตายเกดิ กระดูกเรา กองมากกว่าภเู ขาท้ังภเู ขาอีก ฉะนัน้ ๗ ชาตินเี้ รอ่ื งเลก็ มาก พวกเราท่ีสนใจการภาวนาขนาดน้ีไม่ใช่ชาติแรก หรอก ดงั นนั้ อดทนนดิ หนง่ึ ขยนั นดิ หนงึ่ ใหเ้ วลากบั การ ฝึกตนเอง ฝึกกายวาจาด้วยศีล ฝึกใจให้สงบด้วยสมถ กรรมฐาน แล้วกว็ ิปสั สนาให้ปัญญา สมถะฝึกใจใหส้ งบ วิปัสสนาฝึกใจให้เกิดปัญญาให้ฉลาด สงบแล้วโง่ก็ไม่ได้ ประโยชน์อะไร แต่ก็ดีกว่าฟุ้งซ่าน สงบแล้วโง่บางทีน่า กลวั เหมอื นกนั พวกตดิ สมาธบิ างทเี พยี้ น ๆ แปลก ๆ เรา มาพฒั นาตนเอง สุดท้ายแลว้ จะดี กายวาจาใจดงี ดงาม มีความสุขอยู่ในตวั เอง เปา้ หมายสงู สุดของเราก็คอื เรา พ้นจากทุกข์ส้ินเชิง พ้นจากทุกข์สิ้นเชิงนี่ชีวิตที่เหลืออยู่ ๗๕

ช่วงตลอดเวลาท่ีขันธ์ยังเหลืออยู่ เราก็มีชีวิตแบบท่ีเป็น อิสระ โปรง่ เบา มีความสุขอยู่ในตัวเอง ไปฝึกนะ ต้งั ใจ เขา้ ส่วนหน่ึงของพระธรรมเทศนา หลวงพอ่ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันท่ี ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จากซดี ีแสดงธรรม ณ วดั สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๙ ไฟล์ ๕๘๐๕๐๙A ๗๖

ประวตั ิ หลวงพอ่ ปราโมทย์ ปาโมชโฺ ช

เกิด พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ บ้านดอกไม้ ต.บ้านบาตร อ.ปอ้ มปราบศัตรูพา่ ย จงั หวัดพระนคร การศกึ ษา ช้ันประถมศึกษาตอนตน้ ณ โรงเรียนสรุ ยิ วงศ,์ ชน้ั ประถมศกึ ษาตอนปลาย ณ โรงเรยี นวดั พลบั พลา ชัย, ช้นั มธั ยมศกึ ษา ณ โรงเรยี นโยธินบรู ณะ, ปริญญา ตรแี ละโท ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, สจว. รุน่ ท่ี ๕๗ การทำ� งาน ลกู จา้ ง กอ.รมน. (๒๕๑๘-๒๕๒๑), เจา้ หนา้ ท่ี วิเคราะห์นโยบายและแผน ๓-๗ ส�ำนักงานสภาความ มั่นคงแห่งชาติ (๒๕๒๑-๒๕๓๕), ผู้ช�ำนาญการ ๘-๑๐ องค์การโทรศพั ทแ์ หง่ ประเทศไทย (๒๕๓๕-๒๕๔๔) การศึกษาธรรม นักธรรมตร,ี ศกึ ษาอานาปานสตติ าม ค�ำสอนของท่านพ่อลี ธัมมธโร ตั้งแต่ ๒๕๐๒, ศึกษา กรรมฐานจากครูบาอาจารย์สายวัดป่าหลายรูปต้ังแต่ ๒๕๒๕ อาทิ หลวงปดู่ ูลย์ อตุโล หลวงพอ่ พุธ ฐานิโย หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี หลวงปู่สมิ พุทธาจาโร หลวงปู่ ๗๘

บุญจนั ทร์ จนั ทวโร และหลวงปสู่ วุ จั น์ สุวโจ เปน็ ตน้ , อุปสมบทคร้ังแรกในสมัยท่ียังเป็นนักศึกษา ณ วัด ชลประทานรงั สฤษด์ิ จ.นนทบุรี โดยมหี ลวงพ่อปัญญา นนั ทภกิ ขเุ ป็นพระอุปัชฌาย,์ อปุ สมบทคร้งั ท่ี ๒ ณ วดั บูรพาราม จ.สุรินทร์ (๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๔) โดยมี พระราชวรคณุ (สมศักดิ์ ปณั ฑโิ ต) เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ สถานทจ่ี ำ� พรรษา ๕ พรรษาแรกจำ� พรรษาอยู่ ณ สวน โพธญิ าณอรญั วาสี อ.ทา่ มว่ ง จ.กาญจนบรุ ี ของทา่ นพระ อาจารย์สจุ ินต์ สจุ ิณโณ และพรรษาท่ี ๖-ปจั จบุ ัน ณ วดั สวนสนั ตธิ รรม อ.ศรรี าชา จ.ชลบรุ ี โดยความเห็นชอบ ของพระอุปชั ฌาย์ งานเขยี น วมิ ตุ ตปิ ฏปิ ทา (๒๕๔๒-๒๕๔๔) กอ่ นอปุ สมบท, วถิ แี หง่ ความร้แู จง้ (๒๕๔๕), ประทีปส่องธรรม (๒๕๔๗) ทางเอก (๒๕๔๙) วมิ ตุ ตมิ รรค (๒๕๔๙) เรยี นธรรมคเู่ พอ่ื รธู้ รรมหน่ึง (๒๕๕๑) และแกน่ ธรรมค�ำสอนของหลวงปู่ ดลู ย์ อตุโล (๒๕๕๑) ๗๙

แผนที่แสดงเสน้ ทางไปวัดสวนสันติธรรม วดั สวนสนั ตธิ รรม อ.ศรรี าชา จ.ชลบรุ ี ตรวจสอบวนั และเวลาแสดงธรรม ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ไดท้ ี่ www.dhamma.com/calendar หรือโทร. ๐๘๑-๕๕๗๙๘๗๘ ๘๐


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook