น า ง ส า ว ปิ ย ฉั ต ร ก า ร บ ร ร จ ง 6140308110 รายงาน ข้อสอบ Take Home การจัดการความรู้เพื่ อการ พั ฒนาสังคม เสนอ ผศ.ดร. กรกพร ฉิมพลี การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาสังคม (219331) สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ก คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาสังคมโดยมี จุดประสงค์เพื่ อศึกษาความรู้ที่ได้จากการเรียนการ สอนใรายวิชา การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาสังคม ทั้งนี้รายงานนี้มีเนื้อหาประกอบไปด้วย กระบวนการเกิดความรู้ กระบวนการสร้างความรู้ ความแตกต่างการจัดการความรู้ระหว่าง กระบวนการการจัดการความรู้ที่ประยุกต์ใช้ในภาคองค์กรและกระบวนการการจัดการความรู้ใน ชุมชน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในสาขาการพัฒนาสังคม ผู้จัดทำได้ทำรายงานเรื่องนี้ เนื่องจาก ผศ.ดร. กรกพร ฉิมพลี ได้ให้นักศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ และเป็นผลคะแนนสอบ หวังว่ารายงานเล่ม นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ไม่มากก็น้อย หากมีข้อเสนอแนะประการใดผู้จัดทำขอรับด้วยความ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง นางสาว ปิยฉัตร การบรรจง ผู้จัดทำ
ข สารบัญ ก คำนำ ข สารบัญ 01. กระบวนการเกิดความรู้ 1.1 ยกตัวอย่าง การจัดการความรู้สู่การสร้าง นวัตกรรมของร้าน PP Bakery 0 3 . กระบวนการสร้างความรู้ 2.1 การสร้างความรู้จาก SECI Model ของ กลุ่มเด็กเยาวชนบ้านดอน 05. ความแตกต่างการจัดการความรู้ระหว่าง กระบวนการการจัดการความรู้ที่ประยุกต์ใช้ใน ภาคองค์กรและกระบวนการการจัดการความรู้ใน ชุมชน 06. ในฐานะที่ท่านเป็นนักพั ฒนาสังคม จงอธิบาย 07. แนวทางการจัดการความรู้เพื่ อการพั ฒนาบัณฑิต สาขาการพั ฒนาสังคมในอนาคต ว่าควรมีรูปแบบ แนวทางเป็นอย่างไรที่จะส่งผลให้บัณฑิตสาขาการ พั ฒนาสังคม เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ อ้างอิง
1 กระบวนการเกิดความรู้ กระบวนการเกิดความรู้ ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ได้มีนักวิชาการ KM ชาวญี่ปุ่น นามว่า Hideo Yamazaki ได้ให้นิยามความรู้ในรูปแบบของ ปิรามิด ซึ่งถูกเรียกว่า “ปิรามิดแห่ง ความรู้” จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ความรู้มี ภาพที่ 1 ปิรามิดแห่งความรู้ 4 ประเภท และมีพั ฒนาการตามลำดับ ที่มา : บุญดี บุญญากิจ และคณะ (2547:14) เป็น 4 ขั้น เรียงจากต่ำไปสูง คือ ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และภูมิปัญญา ซึ่ง แต่ละระดับมีความแตกต่างกัน แต่มีความ สัมพั นธ์เกี่ยวเนื่องเป็นฐานของกันและกัน ดังนี้ 1.ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้จากการ สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น โดยยังไม่ผ่าน กระบวนการวิเคราะห์ หรือทีเรียกว่า ข้อมูลดิบ 2.สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์แล้ว เพื่ อนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อใดเรื่อง หนึ่ง 3.ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกรบวนการการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกันกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ 4.ภูมิปัญญา (Wisdom) คือ การ ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่ อการแก้ปัญหาหรือ พั ฒนาการทำงาน หรือบางคนจะเรียกว่า ปัญญาปฏิบัติ จากภูมิปัญญา (Wisdom) เมื่อนำไปใช้แก้ปัญหาหรือ พั ฒนางานจะทำให้เกิดการยกระดับของ Wisdom ให้กลายเป็น Innovation หรือนวัตกรรมในการทำงานให้สำเร็จ
2 1.1 ยกตัวอย่าง การจัดการความรู้สู่การ สร้างนวัตกรรมของร้าน PP Bakery การจัดการความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมของร้าน PP Bakery ข้อมูล ร้าน PP Bakery ขายเค้กวันเกิดและเค้กทานเล่น เปิดร้านตั้งแต่ 9.00 – 16.00 น. มีพนักงานดูแลร้าน 2 คน จำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อเค้กต่อวัน ประมาณวันละ 10 คน ทางร้านมี การสำรวจการมาซื้อเค้กของลูกค้า 1 เดือนที่ผ่านมา สารสนเทศ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อเค้กช็อกโกแลตลาวา และ ตามด้วยเค้กสตอเบอร์รี่ และส่วนน้อยจะสั่งเค้กส้มและอื่นๆ ทำให้เค้กเหลือขายไม่หมด และลูกค้า มักสอบถามเสมอว่ามีโปรโมชั่นอะไรมั้ย บางท่านก็ติว่ารอนาน และเวลาที่ลูกค้าเข้ามาซื้อเค้กจะเป็น ช่วงเย็นๆ เมื่อข้อมูลนี้ผ่านการวิเคราะห์เป็นสารสนเทศได้กลายเป็นความรู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อ การพั ฒนาร้านต่อไป ความรู้ หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสารสนเทศแล้วทำให้เกิดความรู้และภูมิปัญญา เพื่ อ คิดสร้างสรรค์นวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพั ฒนาร้าน เจ้าของร้านได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบ ของร้าน มีการทำเค้กช็อกโกแลตลาวาเพิ่ มขึ้น จากวันละ 10 ชิ้น เป็นวันละ 20 ชิ้น เค้กสตอเบอร์รี่ 15 ชิ้น และเค้กส้ม 10 ชิ้น เค้กรสชาติอื่นๆ อย่างละ 10 ชิ้น และมีการจัดโปรโมชั่นวันเกิด ลด 50% มีโปรโมชั่น 1แถม 1 จัดเดือนละ2 ครั้ง และเซ็ตจับคู่ คละรสชาติที่ราคาถูกลง 20% การจัด โปโมชั่นทำให้ลูกค้าพึ่ งพอใจมากและร้านก็เริ่มมีลูกค้าประจำเพิ่ มขึ้น และเค้กทุกรสชาติก็ขายออกไม่ เหลือทิ้ง เจ้าของร้านมีการจ้างพนักงานเพิ่ มอีก 1 คน เพื่ อให้บริการเร็วขึ้น จนมีลูกค้ามาชื่นชมใน การให้บริการที่รวดเร็วไม่รอนาน มีการขยายเวลาปิดร้าน จาก 16.00 น. เป็น 18.00 น. ทำให้ร้าน PP Bakery เป็นที่รู้จักมากขึ้นลูกค้าเพิ่ มขึ้นจากการบอกเล่าปากต่อปากของลูกค้าประจำที่ช่วย โปรโมทร้าน และการที่เจ้าของร้านปรับเปลี่ยนระบบของร้าน ถือว่าเป็นความรู้ที่ได้จากการนำ สารสนเทศมาใช้ ภูมิปัญญา หลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดร้าน Bakery แล้ว เจ้าของร้านได้ วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าประจำและลูกค้ากลุ่มใหม่ๆที่มาซื้อเค้กที่ร้าน พบว่า การที่ร้านมีการ ปรับเปลี่ยนตามคำติชมและมีการจัดโปโมชั่นเรื่อยๆ ทำให้ลูกค้าที่เป็นลูกค้าประจำพึ่ งพอใจและยังมา ซื้อเค้กที่ร้านประจำ สำหรับลูกค้าประจำเจ้าของร้านก็จะมีสิทธิพิ เศษให้เสมอเพื่ อสร้างความประทับ ใจให้กับลูกค้าและเป็นการดึงลูกค้าประจำไว้ ส่วนลูกค้ากลุ่มใหม่ๆจะเป็นลูกค้าที่มาจากรีวิว อาจจะ มาจากต่างจังหวัด เพื่ อมาเที่ยวและมาชิมเค้กตามรีวิว เจ้าของร้านจึงมีการต่อเติม ขยายร้านให้ ใหญ่ขึ้นเพื่ อลองรับลูกค้าที่มามากขึ้น รับพนักงานเพิ่ มอีก 2 คน และทำเค้กเพิ่ มขึ้นเพื่ อให้เพี ยงพอ ต่อลูกค้าที่มาซื้อเค้กที่ร้าน และยังคงมีโปรโมชั่นต่างๆ เพื่ อเอาใจลูกค้า และมีกระดานความคิดเห็น เพื่ อให้ลูกค้าได้ติชมร้าน และบอกเล่าความประทับใจ สร้างเพจของร้านขึ้นมาเพื่ ออัพเดตข้อมูล ต่างๆ และเป็นช่องทางโปรโมทร้านอีกด้วย และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างมากเนื่องจากร้าน PP Bakery มีลูกค้าเยอะและบริการดีเค้กอร่อย จนทำให้ร้าน PP Bakery ติดอันดับ1 ใน 10 ร้านเค้ก ที่น่าไปลองชิมมากที่สุด การที่เจ้าของร้าน นำความรู้เรื่องพฤติกรรมลูกค้าที่มาซื้อเค้กที่ร้าน จน ทำให้ประสบความสำเร็จนั้น ทำให้เจ้าของร้านเกิดภูมิปัญญาหรือภูมิปฏิบัติว่า พฤติกรรมของลูกค้า ที่มาซื้อเค้กที่ร้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาวิเคราะห์และใช้ เช่น การจัดโปโมชั่นที่โดนใจลูกค้า และการ ให้บริการที่รวดเร็วและดี เป็นต้น
3 สรุป ตัวอย่างนี้แสดงถึงการจัดการความรู้ที่นำข้อมูล สารสนเทศ และความรู้มาใช้ ทำให้เกิด ภูมิปัญญา ในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งสามรถนำมาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในปัจจุบันการมีข้อมูลเพี ยงอย่างเดียว ไม่ใช่จุดแข็งอีกต่อไป สิ่งที่เหนือกว่าข้อมูล คือ การจัดการ ความรู้ ด้วยการแปลงข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและความรู้ เพื่ อใช้ความรู้ที่ได้ทำให้เกิดภูมิปัญญาและ สร้างนวัตกรรม กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการสร้างความรู้หรือโมเดลเซกิ (SECI Model) ภาพที่ 2 โมเดลเซกิ (SECI Model) โนนากะ เสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi, 1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพั นธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กร ที่มา : Nonaka’s SECI Model (1995) ระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่ อยกระดับความรู้ ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การรวบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่ อพั ฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Socialization)S:Tacit to Tacit อธิบายความสัมพั นธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจาก ความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ที่มิใช่เป็นเพี ยงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา 2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน(Externalization)E:Tacit to Explicit อธิบายความสัมพั นธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก กับความรู้ชัดแจ้ง อาจเป็นการ นำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิ มพ์ เป็นการพั ฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้ สื่อสารออกไปภายนอกเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้ เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพั ฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การ แบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่ 3. การรวบรวมความรู้(Combination)C:Explicit to Explicit อธิบายความสัมพั นธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge)ที่ผ่านการจัดระบบ และ บูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ สร้างสรรค์งานใหม่ ได้ ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร 4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit อธิบายความสัมพั นธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร
4 2.1 การสร้างความรู้จาก SECI Model ของกลุ่มเด็กเยาวชนบ้านดอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Socialization) S : Tacit to Tacit กลุ่มเด็กเยาวชนในบ้าน ดอนได้รับการบอกเล่าประวัติ วิธีการทำ ขนมหูช้างที่เป็นขนมประจำบ้านดอน จากคนเฒ่าคน แก่ในหมู่บ้าน และยังได้ฝึกทำขนมหูช้างแบบดั้งเดิมจากแม่ๆในชุมชน การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit กลุ่มเด็ก เยาวชนมีความสนใจจึงได้ จดบันทึกประวัติของขนมหูช้าง และวิธีการทำขนมหูช้าง และได้นำ ข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาและจากที่ได้ฟังจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านพร้อมได้ลงมือทำ มาออกแบบเป็น โปสเตอร์สื่อสาร ประวัติขนมหูช้าง และวิธีการทำขนมหูช้าง พร้อมโพสต์ลงเพจของกลุ่มเพื่ อ แชร์เรื่องราวดีๆ และมีการเขียนลง Blog ด้วย การรวบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit หลังจากที่ได้แชร์ เรื่องราวขนมหูช้างไปแล้ว จึงจัดตั้งกลุ่มชื่อว่า แก๊งหูช้าง ขึ้นมา ขนมหูช้างที่เดิมทีมีแต่รสชาติ ดั้งเดิม ทำจากแป้งข้าวเหนียว มีสีขาว แก๊งหูช้างเกิดไอเดียใหม่เนื่องจากได้ไปดูการทำขนมปัง เลอค่าจากกลุ่มเพื่ อน ที่ได้นำเผือก ฟังทอง มาแปรรูปทำเป็นขนมปัง กลุ่มหูช้างจึงอยากทำ ขนมหูช้างในรูปแบบใหม่ มีรสชาติ และมีสีสัน ในดูน่ากินมากขึ้น จึงมีการทดลองทำขนมหูช้าง แบบใหม่ ว่าสามารถใช้วัตถุดิบใดมาทำได้บ้าง มีการดูวิธีการทำขนมต่างๆเพื่ อเป็นแนวทาง ค่อยๆปรับให้เข้ากับสูตรเดิมที่เคยฝึกมา จนทำสำเร็จขนมหูช้างรูปแบบใหม่ ที่มีรสชาติมันม่วง สีม่วง และฟังทอง สีเหลือง จากนั้นแก๊งหูช้างได้นำขนมหูช้างแบบใหม่นี้ไปให้แม่ๆที่ช่วยฝึกการ ทำขนมหูช้างให้กับเด็กเยาวชนบ้านดอนได้ชิม และได้นำสูตรการทำแบบใหม่มาให้กับแม่ๆ เพื่ อที่ จะได้สอนให้กับเด็กเยาวชนบ้านดอนต่อไป การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit แก๊งหูช้างและแม่ๆ ใน บ้านดอนได้จัดตั้งศูนย์ ขนมหูช้าง ขึ้นในชุมชนเปิดเป็นห้องเรียนชุมชุน เพื่ อสอนการทำขนม หูช้างให้กับเด็กเยาวชนในหมู่บ้านและพื้ นที่อื่นที่สนใจมาเรียนรู้การทำขนมหูช้าง โดยมี แก๊ง หูช้าง เป็นคนสอนการทำขนมหูช้างแบบใหม่ และได้มีการจัดทำเป็นคู่มือห้องเรียนขนมหูช้าง และมีการถ่ายถอดความรู้เป็นรุ่นต่อไป
5 ความแตกต่างการจัดการความรู้ระหว่าง กระบวนการการจัดการความรู้ที่ประยุกต์ ใช้ในภาคองค์กรและกระบวนการการ จัดการความรู้ในชุมชน การจัดการความรู้ภาคองค์กรการจัดการความรู้ของภาคองค์กรจะมีความเป็นระบบ เพื่อ ส่งเสริม ให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมี การจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้าง บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน อย่างไร ก็ตามการบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะ เป็นกระบวนการที่ต้องดําเนินการต่อ ภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ ความชํานาญแล้ว องค์กรจะทํา อย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กร อย่างมีระบบ เพื่อที่จะนําออกมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการความรู้ของชุมชน ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนมองปัญหาของชุมชนตนเอง และ ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข หมั่นศึกษาหาข้อมูล เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและนำความรู้ที่ได้ ไปปรับใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนสามารถจัดการความรู้ ร่วมกันนั่นคือ การเอา ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติ และความรู้จากผู้อื่นมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การถอดบทเรียนและการ จัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคนและชุมนุม อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญในการจัดการ ความรู้ในชุมชน นั่นคือ เรามักปกปิดปัญหา เพราะมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรก้าวก่าย หรือมัก บิดเบือน เพื่อสร้างภาพว่าชุมชน หรือตัวเราไม่มีปัญหาสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ไม่มีกระบวนการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และขาดวงจรยกระดับความรู้ สรุป การจัดการในภาคองค์กรจะมีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ มุ่งเน้นพัฒนาตัวบุคคลให้มี ประสิทธิภาพในการทำงานเพื่ อพั ฒนาองค์กรและมีเครื่องมือต่างๆในการพั ฒนาและมีการจัดเก็บข้อมูล ที่เป็นระบบ ทำให้สามารถนำมาสื่อสารและพัฒนาต่อได้ง่าย ส่วนการจัดกรความรู้ของชุมชนจะไม่ได้ เป็นระบบเหมือนองค์กรเน้นการมีส่วนร่วมและใช้ความรู้จากการปฏิบัติและเรียนรู้มาเรื่อยๆ และมีปัญหา เนื่องจากชุมชนไม่ได้เข้าใจในหลักการ หรือคุ่นชิดกับการทำกระบวนการ
6 ในฐานะที่ท่านเป็นนักพั ฒนาสังคม จง อธิบายแนวทางการจัดการความรู้เพื่ อ การพั ฒนาบัณฑิตสาขาการพั ฒนาสังคม ในอนาคต ว่าควรมีรูปแบบ แนวทางเป็น อย่างไรที่จะส่งผลให้บัณฑิตสาขาการ พั ฒนาสังคม เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ สาขาการพั ฒนาสังคม มีการจัดการความรู้อยู่แล้วซึ่งมักถูกสอดแทรกลงไปในรายวิชาต่างๆ ที่เห็น ได้ชัดสาขาเรามีการจัดสัมนาแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่ทุกปี แต่ก็คงยังไม่ถึงขั้นการนำพามาสู่การ สร้างนวัตกรรมได้ จึงมีความคิดเห็นว่า ทุนเดิมของสาขาที่มีการจัดโครงการ มีการแลกเปลี่ยนกัน อยู่แล้ว เพี ยงแต่เรายังคงขาดความระเอียดอ่อนในการออกแบบเครื่องมือเพื่ อนำมาใช้ในการจัดการ ความรู้ให้มันเกิดผลลัพธ์ที่จะส่งผลทำให้เกิดนวัตกรรม สร้างองค์ความรู้เพื่ อพั ฒนานักศึกษาใน สาขาการพั ฒนาสังคมถึงจะได้เรียนรู้เครื่องมือต่างๆในรายวิชาที่อาจารย์สอนนักศึกษามักนำเครื่อง มือต่างๆในการจัดการความรู้ไปใช้กับผู้อื่น แต่น้อยมากที่จะนำเครื่องมือมาใช้กับตัวนักศึกษาเอง เครื่องมือต่างๆ ในการจัดการความรู้ เช่น การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (AAR) การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect) เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling) บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning) ถ้าในอนาคต ก็อยากจะเพิ่ มเติมแนวทางในการ พั ฒนานักศึกษาสาขาการพั ฒนาสังคม ในเรื่องของการจัดการความรู้เครื่องมือต่างๆ มาปรับใช้กับ ตัวนักศึกษามากขึ้น เพื่ อที่ตัวนักศึกษาจะได้พั ฒนาตัวเองแลละสามารถสร้างนวัตกรรมให้เกิดแก่ สาขาการพั ฒนาสังคม
7 อ้างอิง http://welcome2km.blogspot.com/p/seci-model-nonaka-takeuchi1995-tacit.html https://chumchon.cdd.go.th/wp- content/uploads/sites/106/2017/04/170420161504_KM_Book_final-16-05-2559.pdf bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_07/pdf/Excutive_121-124.pdf
Search
Read the Text Version
- 1 - 11
Pages: