ผู้จัดทำ นางสาวปรีดิพัทธ์ นำสา เลขที่ 14 ปวส. 2 กส. รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการสำนักงาน รหัสวิชา 30216-2101
คือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก กรอบความร่วมมือนี้ก่อตั้งขึ้น เมื่อปีพ.ศ.2532 เพื่อตอบสนองต่อภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกันของเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ เพิ่มมากขึ้น จาก จุดเริ่มต้นด้วยการหารืออย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรีด้วยสมาชิก เพียง 12 ราย เอเปคได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเวทีในระดับภูมิภาคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อเอเปคได้เริ่มจัดการพบปะระหว่างผู้นำเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกันประมาณ 2,500 ล้านคน (ประมาณ ร้อยละ 42 ของประชากรโลก) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันกว่า 18 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544 และการค้าระหว่างประเทศกว่า ร้อยละ 69 ของไทยเป็นการค้า กับสมาชิกเอเปค ด้วยศักยภาพข้างต้น เอเปคได้กลายมาเป็นพลังผลักดันการค้าแบบเปิด และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ วิชาการอย่างแท้จริง
ประวัติความเป็นมา กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค เป็นการรวมตัวระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค และเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ ประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจการดำเนินงานยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน ของประเทศสมาชิก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้เอเปคมีสมาชิกรวม 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม
วัตถุประสงค์ เอเปคมีเป้าหมายในการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นประชาคมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในแต่ละปี ผู้นำและรัฐมนตรีเอเปกจะมาพบกันเพื่อทบทวนความ คืบหน้าของการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ หลักของความร่วมมือในปีต่อๆ ไป เป้าหมายที่โดดเด่นที่สุดอันหนึ่งของเอเปค คือ \"เป้าหมายโบกอร์\" ที่จะส่งเสริมการเปิดเสรี ด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายใน ปี 2553 และสำหรับสมาชิก กำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 โบกอร์เป็นชื่อของเมืองชายทะเลตั้งอยู่บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสถานที่ ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2537 เอ เปคไม่เหมือนองค์กรอื่น เช่น สหประชาชาติ ที่ต้องมีการลงคะแนนเสียง ในกระบวนการ ตัดสินใจบางครั้ง หรือองค์การการค้าโลกที่ประเทศสมาชิกต่างพยายามปกป้องผลประโยชน์ด้านการค้า ของตนอย่างเต็มที่ แต่เอเปคดำเนินการบนพื้นฐานของฉันทามติ ความสมัครใจ และการดำเนินการใน กรอบเวลาที่ต่างกัน นอกจากนี้เอเปคยังเป็นองค์กรที่มีลักษณะพิเศษตรงที่สามารถคุยกันในเรื่องของ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวิชาการระหว่างสมาชิกที่พัฒนาแล้วกับสมาชิกที่กำลังพัฒนาได้
โดยเตรียมการผลักดันเป้าหมายกรุงเทพ หรือ Bangkok’s Goals อันประกอบไปด้วย 4 เป้าหมาย ร่วมกันสร้างระบบการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Trade and Investment) ร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน ร่วมกันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศอย่างเป็น รูปธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นเขตเศรษฐกิจผู้ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ร่วมกันบริหารจัดการของเสียและขยะอย่างยั่งยืน
กลไกการทำงานของเอเปค แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับนโยบาย 1.1 การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Meeting หรือ AELM) 1.2 การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting หรือ AMM) 1.3 การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting หรือ MRT) 1.4 การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปค (APEC Finance Ministerial Meeting หรือ FMM) 1.5 การประชุมรัฐมนตรีสาขาต่าง ๆ (Sectoral Ministerial Meetings)
2. ระดับปฏิบัติ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting หรือ SOM) กำกับดูแลผลการประชุมของคณะกรรมการหลัก 4 เสา คือ 2.1 คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment หรือ CTI) 2.2 คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee หรือ BMC) 2.3 คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (Economic Committee หรือ EC) 2.4 คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Steering Committee on Economic and Technical Cooperation หรือ SCE) และมีการประชุมระดับคณะทำงานอีกจำนวนมากภายใต้คณะกรรมการทั้งสี่
กาทราเตงิเบศโรตษฐกิจ 99% มีการอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการดำเนินธุรกิจ การบูรณาการระบบเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยง ในมิติต่างๆ การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยที่ทุกภาคส่วนได้รับ ประโยชน์ร่วมกัน (Inclusive) การสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาวะภูมิอากาศ การพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิตอล และการสร้างนวัตกรรม
หลักการความร่วมมือ 1. ไม่ใช่เวทีเจรจาการค้าแต่เป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ 2. เอเปคสนับสนุนแนวทางภูมิภาคนิยมแบบเปิด ที่ให้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค เช่นเดียวกับที่ให้กับสมาชิกเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดเสรีและเพื่อกระตุ้นการเปิดเสรีของประเทศนอกกลุ่มด้วย 3. การดำเนินการใดๆ ยึดหลักฉันทามติ ความสมัครใจ ความเท่าเทียมกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ของประเทศสมาชิก 4. เอเปคคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ สังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก การรวมกลุ่มของเอเปคจนถึงปัจจุบันไม่ได้มีข้อผูกพันทางกฎหมาย
เน้นความเท่าเทียมกันของการดำเนินงาน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization) 2. การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation) 3. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation: ECOTECH)
บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค APEC | ABTC เป็นเสมือนวีซ่าซึ่งผู้ถือบัตรสามารถใช้ควบคู่กับหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกเอเปคที่ร่วมโครงการนี้ (ปัจจุบันมีจำนวน 19 เขตเศรษฐกิจ) ในการติดต่อธุรกิจระยะสั้นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าอีก ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง โดยสามารถใช้ช่องทางพิเศษสำหรับสมาชิก (APEC Lane) ซึ่งตั้งอยู่ตามท่าอากาศยานนานาชาติของสมาชิกเอเปค บัตร ABTC มีอายุการใช้งาน 5 ปี กรณีที่อายุหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอมีอายุน้อยกว่า 5 ปี บัตร ABTC ที่จะได้รับจะมีอายุเท่ากับหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางที่ใช้ในการสมัคร จะต้องมีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี
คุณสมบัติผู้สมัครบัตรเดินทางนักธุรกิจเอเปค APEC CARD 1. บริษัทของผู้สมัครต้องเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สมาชิกประเภท สน. และ ทน. เท่านั้น) 2. ไม่ค้างค่าบำรุงสมาชิกฯ ในกรณีค้างค่าบำรุงสมาชิกฯในระหว่างที่ถือบัตร APEC จะตัดสิทธิ์ในการพิจารณาครั้งต่อไป 3. ดำเนินกิจการมาแล้วเกิน 3 ปีนับจากวันที่จดทะเบียนบริษัทและเป็นนิติบุคคลเท่านั้น (กรณีสมาชิกประเภทสมาคม ให้สิทธิ์เฉพาะกรรมการสมาคมเท่านั้น) 4. นักธุรกิจอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป (สัญชาติไทย) 5. เป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น กรรมการ หรือ ผู้บริหารระดับสูงเป็นนิติบุคคลเท่านั้นที่มีเงินเดือน 50,000 บาทขึ้นไป 6. เป็นธุรกิจที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและมีการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี 7. นักธุรกิจผู้ถือหนังสือเดินทางไทย (อายุหนังสือเดินทางแนะนำเหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี) 8. การเดินทาง (เพื่อติดต่อธุรกิจ) และเป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษคดีทางอาญาหรือไม่เคยถูกปฏิเสธ ในการเข้าเมืองจากประเทศที่ร่วมโครงการฯ
สามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ที่ Website https://abtc-jsccib.org/login-page.html ระหว่างดำเนินการขอบัตรนักธุรกิจ APEC ห้ามขอวีซ่าธุรกิจ 19 เขตเศรษฐกิจ และห้ามเปลี่ยนชื่อบริษัท หากมีความจำเป็นในการเดินทาง 1. เช็คสถานะการอนุมัติของประเทศที่ต้องการเดินทาง ถ้าอนุมัติแล้วดำเนินการขอออกบัตรชั่วคราว (ผ่านระบบออนไลน์) 2. กรณีที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากประเทศที่ต้องการเดินทาง กรุณาติดต่อสำนักงานคณะกรรมการร่วมฯ กกร. ก่อนไปขอวีซ่า 3. กรณีการขอออกบัตรชั่วคราว บัตรจะใช้ได้เฉพาะประเทศที่อนุมัติแล้วเท่านั้น การสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์เพื่อเข้าใช้งานระบบ : หนึ่งบริษัทสามารถมีตัวแทนสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ได้ 5 คน โดยตัวแทนแต่ละคนสามารถทำการสมัครให้กับพนักงานในบริษัทได้ไม่จำกัดจำนวนและตัวแทน 1 คน สามารถสังกัดได้เพียง 2 บริษัทเท่านั้น
ค่าธรรมเนียมการสมัคร ค่าธรรมเนียมในการสมัครรายละ 8,500 บาท ชำระค่าธรรมเนียมโดยการพิมพ์ใบ PAY-IN จากระบบ Online นำไปชำระที่ ธนาคาร หรือ Internet Banking เท่านั้น “ และนำหลักฐานการชำระเงินโหลดในเว็บไซด์อีกครั้ง ในกรณีจะขอเลขที่บัญชี ธนาคาร” กรุณาติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการร่วมฯ กกร. (ทั้งนี้ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินหากไม่ผ่านการพิจารณา) หมายเหตุ : 1. กรณีที่ผู้สมัคร ไม่ผ่านการพิจารณาของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ทางสำนักงานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ขอหักค่าดำเนินงานจำนวน 1,500 บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) จากค่าธรรมเนียมในการสมัครบัตรที่ท่านได้ชำระไว้แล้ว 2. บัตรมีอายุ 5 ปี บัตรจะหมดอายุตามพาสปอร์ตก่อนในครั้งแรก ลูกค้าต้องดำเนินการแจ้งเปลี่ยนพาสปอร์ต บัตรจึงจะมีอายุต่อเนื่องครบ 5 ปี จากบัตรเดิม
แหล่งที่มา https://www.apec2022.go.th/th/what-is-apec-th/ https://www.chula.ac.th/highlight/88490/ https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/InternationalCooperation/Pages/APEC.aspx https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content/38078-apec?cate=5d7da8d015e39c3fbc0074a5 https://www.fpo.go.th/main/getattachment/Relationship-with-foreign/International- cooperation/APEC-FINANCE/APEC-FINANCE-FACTSHEET/5539/CNT0015908-1.pdf.aspx https://fti.or.th/apecbusinesstravelcard/
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: