Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์

Published by Guset User, 2023-02-17 04:27:42

Description: เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง คำราชาศัพท์

Keywords: คำราชาศัพท์ ภาษาไทย

Search

Read the Text Version

ร า ช า ศั พ ท์ เรียบเรียงโดย นายระพีพัฒน์ บัวบาน สาขาวิชาภาษาไทย ๖๔๐๔๐๑๐๑๑๐๒

ก คำนำ E-BOOK เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย จัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมการอ่าน และศึกษาในเรื่องของคำราชาศัพท์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความรู้เเละความเข้าใจ ในคำราชาศัพท์มากขึ้น สามารถนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้ถูกต้อง ตามหลักราชบัณฑิตยสถาน ทั้งนี้ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-BOOK จะทำให้ผู้อ่าน สามารถเข้าใจในเรื่องคำราชาศัพท์ และสามารถใช้คำราชาศัพท์ ได้อย่างถูกต้อง ผู้จัดทำ นายระพีพัฒน์ บัวบาน

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำราชาศัพท์ 1 หมวดร่างกาย 3 หมวดเครือญาติ 4 หมวดเครื่องใช้ 5 หมวดกริยา 6 หมวดสรรพนาม 7 หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์ 8 ข้อสังเกต 9 เเบบฝึกหัด 13-15 เฉลยแบบฝึกหัด 14-16 อ้างอิง 17 ประวัติผู้เเต่ง 18

1 คำราชาศัพท์ ความหมายของคำราชาศัพท์ คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนด คำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม อันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึง ความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมาเดียวกัน และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ๒.พระบรมวงศานุวงศ์ ๓.พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ๔.ขุนนาง ข้าราชการ ๕.สุภาพชน

2 คำราชาศัพท์ แบ่งได้ ๖ หมวด คือ……

๑.หมวดร่างกาย 3 ๑. พระเศียร หมายถึง หัว ศีรษะ ๒. พระนลาฏ หมายถึง หน้าผาก ๓. พระขนง, พระภมู หมายถึง คิ้ว ๔. พระเนตร, พระนัยนะ, พระจักษุ หมายถึง ดวงตา ๕. พระกนีนิกา, พระเนตรดารา หมายถึง แก้วตา ๖. ดวงพระเนตรดำ หมายถึง ตาดำ ๗. ดวงพระเนตรขาว หมายถึง ตาขาว ๘. พระโลมจักษุ, ขนพระเนตร หมายถึง ขนตา ๙. พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก ๑๐. พระตาลุ, เพดานพระโอษฐ์ หมายถึง เพดานปาก ๑๑. พระทาฐะ, พระทาฒะ หมายถึง เขี้ยว ๑๒. พระทนต์ หมายถึง ฟัน ๑๓. พระชิวหา หมายถึง ลิ้น ๑๔. พระปราง หมายถึง แก้ม ๑๕. พระกรรณ หมายถึง หู

4 ๒. หมวดเครือญาติ ๑. พระปัยกา หมายถึง ปู่ทวด ๒. พระปัยยิกา หมายถึง ย่าทวด ๓. พระมาตามหัยกา, พระปัยกา หมายถึง ตาทวด ๔. พระมาตามหัยยิกา, พระปัยยิกา หมายถึง ยายทวด ๕. พระปิตามหะ หมายถึง ปู่ ๖. พระอัยยิกา หมายถึง ย่า ๗. พระมาตามหะ, พระอัยกา หมายถึง ตา ๘. พระมาตามหา, พระอัยยิกา หมายถึง ยาย ๙. พระบรมชนกนาถ, พระชนก, พระราชบิดา หมายถึง พ่อ ๑๐. พระราชชนนี, พระชนนี, พระราชมารดา หมายถึง แม่ ๑๑. พระราชสวามี, พระสวามี หมายถึง สามี ๑๒. พระมเหสี, พระราชินี หมายถึง ภรรยา ๑๓. พระราชโอรส หมายถึง ลูกชาย ๑๔. พระราชธิดา หมายถึง ลูกสาว

5 ๓. หมวดเครื่องใช้ ๑. พระเขนย หมายถึง หมอน ๒. พระทวาร หมายถึง ประตู ๓. พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง ๔. พระแท่น หมายถึง เตียง ๕. พระแท่นบรรทม หมายถึง เตียงนอน ๖. พระราชบรรจถรณ์ หมายถึง ที่นอน ๗. พระยี่ภู่ หมายถึง ฟูก ๘. พระราชอาสน์ หมายถึง ที่นั่ง ๙. ลาดพระบาท หมายถึง พรมทางเดิน ๑๐. ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน ๑๑. ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม ๑๒. ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ ๑๓. แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ ๑๔. ชามเครื่องต้น, ถ้วยชามเครื่องต้น หมายถึง ถ้วยชาม ๑๕. จานเครื่องต้น หมายถึง จาน

6 ๔. หมวดกริยา ๑. พระราชดำรัส หมายถึง คำพูด ๒. ตรัส หมายถึง พูดด้วย ๓. ทรงพระราชนิพนธ์ หมายถึง แต่งหนังสือ ๔. ทรงพระกาสะ หมายถึง ไอ ๕. ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ ๖. ทรงพระปรมาภิไธย หมายถึง ลงลายมือชื่อ ๗. ทรงสัมผัสมือ หมายถึง จับมือ ๘. ทรงพระเกษมสำราญ หมายถึง สุขสบาย ๙. ทรงพระปินาสะ หมายถึง จาม ๑๐. พระราชโองการ หมายถึง คำสั่ง ๑๑. พระราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอน ๑๒. พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทาย

7 ๕. หมวดสรรพนาม ๑. กระผม, ดิฉัน ๒. ข้าพระพุทธเจ้า ๓. ท่าน ๔. ฝ่าพระบาท ๕. พระคุณท่าน ๖. พระคุณเจ้า ๗. พระองค์ ๘. พระเดชพระคุณ ๙. ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท ๑๐. ใต้ฝ่าละอองพระบาท

8 ๖. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์ สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่พระภิกษุใช้ สรรพนามบุรุษที่ ๒ ที่พระภิกษุใช้ สรรพนามบุรุษที่ ๒ ที่ฆราวาสใช้ คำขานรับที่พระภิกษุใช้

ข้อสังเกต 9 เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ คำนาม ๑. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชู ให้เป็นเกียรติ ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมมหาราชวัง พระบรมวงศานุวงศ์

10 ๒. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะ พระมหากษัตริย์ ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปน กับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง พระราชลัญจกร พระราชประวัติ พระราชดำริ พระราชทรัพย์ ๓. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่าง จากสามัญชน ตัวอย่าง พระเก้าอี้ พระชะตา พระโรค พระตำหนัก

11 ๔. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ยกเว้น คำกริยา

กริยา คำว่า “ทรง” 12 คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม ทรงโค หมายถึง พระอิศวร ทรงครุฑ หมายถึง พระนารายณ์ คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์ ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร หมายถึง ใส่บาตร ทรงม้า หมายถึง ขี่ม้า ทรงกรม หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น” • ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ • ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์

13 แบบฝึกหัด คำราชาศัพท์ คำชี้เเจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง ๑ ข้อ ๑. คำราชาศัพท์ใดมีความหมายตรงกับ “ดวงตา” ก. พระเศียร ข. พระชิวหา ค. พระปราง ง. พระเนตร ๒. “พระทนต์” คือคำราชาศัพท์ใด ก. หน้าผาก ข. ขนตา ค. เเก้ม ง. ฟัน ๓. ข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ ก. พระขนง ข. พระกรรณ ค. เพดานปาก ง. พระโอษฐ์

14 เฉลย แบบฝึกหัด คำราชาศัพท์ คำชี้เเจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง ๑ ข้อ ๑. คำราชาศัพท์ใดมีความหมายตรงกับ “ดวงตา” ก. พระเศียร ข. พระชิวหา ค. พระปราง ง. พระเนตร ๒. “พระทนต์” คือคำราชาศัพท์ใด ก. หน้าผาก ข. ขนตา ค. เเก้ม ง. ฟัน ๓. ข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ ก. พระขนง ข. พระกรรณ ค. เพดานปาก ง. พระโอษฐ์

15 แบบฝึกหัด คำราชาศัพท์ คำชี้แจง: จงนำตัวอักษรมาเติมลงช่องว่างหน้าคำศัพท์ให้ถูกต้องและสัมพันธ์กัน ก. เเก้วน้ำ ข. ที่นั่ง ค. เตียง ง. ช้อน จ. ตะเกียบ ฉ. ประตู ช. ฟูก ฌ. หมอน ญ.ที่นอน ………………..๑. พระเขนย ………………..๒. พระเเท่น ………………..๓. พระทวาร ………………..๔. พระยี่ภู่ ………………..๕. เเก้วน้ำเสวย ………………..๖. พระราชอาสน์

16 เฉลย แบบฝึกหัด คำราชาศัพท์ คำชี้แจง: จงนำตัวอักษรมาเติมลงช่องว่างหน้าคำศัพท์ให้ถูกต้องและสัมพันธ์กัน ก. เเก้วน้ำ ข. ที่นั่ง ค. เตียง ง. ช้อน จ. ตะเกียบ ฉ. ประตู ช. ฟูก ฌ. หมอน ญ.ที่นอน หมอน ๑. พระเขนย เตียง ๒. พระเเท่น ประตู ๓. พระทวาร ฟูก ๔. พระยี่ภู่ เเก้วน้ำ ๕. เเก้วน้ำเสวย ที่นั่ง ๖. พระราชอาสน์

17 อ้างอิง ทรูปลูกปัญญา. (2564). คำราชาศัพท์. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566. จาก. https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1252

18 ประวัติ ผู้จัดทำ นายระพีพัฒน์ บัวบาน รหัสนักศึกษา ๖๔๐๔๐๑๐๑๑๐๒ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ ๒ สาขา วิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

19 ห นั ง สื อ อิ เ ล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ เรื่อง คำราชาศัพท์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook