โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากเเก้วให้ประเทศ) TRAVEL
ไป กะ เลอ ดี ไทยพวน ปากพลี ดี เน้อ... 1
จังหวัดนครนายก จังหวัดนครนายก หนึ่งในจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวมาอย่างยาวนาน จุดเด่นคือใกล้ กรุงเทพใช้เวลาเดินทางเพียง 2 ชั่วโมง แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานคือ น้ำตกวัง ตะไคร้ น้ำตกนางรอง น้ำตกสาริกา เขื่อนขุนด่านปราการชล และ อ่างเก็บน้ำวังบอน จังหวัด นครนายกตั้งอยู่ทางทิศะวันออกของประเทศไทย มีระยะทางจากกรุงเทพมหานคร 125 กิโลเมตร การเดินทางใช้ถนนทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 305 เลียบคลอง รังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัด นครนายก ระยะทาง 105 กม. มีเนื้อที่จังหวัดประมาณ 2,122 ตร.กม. หรือประมาณ 1,326,250 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันใน เขต อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมาและปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับ เทือกเขาดงพยาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือยอดเขาเขียว มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วน ทางตอนกลาง และตอนใต้ เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาที่เรียกว่า “ที่ราบกรุงเทพ” ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การทำนา ทำสวนผลไม้และการอยู่อาศัย คำขวัญประจำจังหวัดนครนายก นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ 2
การเดินทางมา จังหวัดนครนายก... การเดินทางโดยรถยนต์ เส้นทางที่ 1 ไปตามทางหลวงหมายเลข 305 ถนนเลียบคลองรังสิต-นครนายก ผ่านอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา อำเภอเมือง นครนายก จังหวัดนครนายก ระยะทางประมาณ 105 กิ โ ล เ ม ต ร เส้นทางที่ 2 ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 เลี้ยวขวา ที่แยกหินกองไปตามถนนสุวรรณศรทางหลวงหมายเลข 33 จนถึงนครนายก ระยะทางประมาณ 137 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถตู้ประจำทาง จุดบริการรถตู้มี 2 จุด คือ อนุสาวรีย์ ชัยสมรภูมิ และฟิวเจอร์พาร์ครังสิต การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง รถประจำทางปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัดและของเอกชน สายกรุ งเทพฯ-นครนายก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยพวน 3 ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โทร.092-7579377 ID LINE: yodming 1819
ไทยพวน ปากพลี... ชุมชนไทยพวนเป็นกลุ่มไทยน้อยกลุ่มหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขง คำว่า ไทยพวน และ ไทพวน จึง ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ในพงศาวดารลาว ในพ.ศ.2322 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหากษัตริย์ศึกไปปราบกบฏที่เวียงจันทร์มีชัยชนะ จึงได้กวาดต้อนผู้คนจำนวนมาก ซึ่ง รวมถึงชาวลาวและชาวลาวพวนจากเมืองซำเหนือ ในจังหวัดนครนายก มีไทยพวนพวกหนึ่งซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ที่บ้านโค้ง บ้านเมี่ยง บ้านหนองวัว บ้านนาคา เห็นว่าบริณลุ่ม น้ำของคลองท่าแดงในปัจจุบัน เหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งทำมาหากินจึงรวมตัวกันแล้วตั้งชื่อบ้าน ว่า”บ้านท่าแดง” ในคราวที่อพยพมาครั้งนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อหลวงพ่อภาระ ซึ่งเป็นที่นับถือของ ชาวไทยพวน เป็นผู้นำขบวน อพยพและได้อัญเชิญพระศรีอาริย์ซึ่งหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์มาด้วย ชาว ไทยพวนจึงได้ช่วยกันสร้างวัดและตั้งชื่อตามหมู่บ้าน “บ้านท่าแดง” คำขวัญประจำจังหวัดนครนายก “เชิดชูวัฒนธรรม นำชี้วิถีถิ่น สืบสานงานศิลป์ แดนดินถิ่นไทย-พวน” 4
พลัง!! ความเข้มแข็งของบวร ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวน ตำบลปากพลี จังหวัดนครนายก “บวร”การนำสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนา และสร้างชุมชน ให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ตัดสินใจ แก้ปัญหาตนเองและชุมชน กำหนดแผนแม่บทชุมชน ด้วยการร่วมกันคิด สร้าง และบริหารจัดการชุมชน ของคนใน ท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ บ คือ บ้าน บ้านที่มีชาวบ้านหรือชุมชน มีคน อาศัยอยู่และผู้ที่จะสืบสานวัฒนธรรม ศาสนา และซึมซับคำสอนจากพระสงฆ์ เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนยาวนาน อย่างถึงแก่นแท้ บ “บวร” รว ร คือ โรงเรียน ในสมัยก่อนแหล่งให้ความรู้นั้น ว คือ วัด วัดที่มีพระสงฆ์ ผู้ที่อาสาจะละกิเลส คือวัด ต่อมาได้แยกออกมาเป็นโรงเรียนที่เป็น ทางโลกมาศึกษาพระธรรม เพื่อเผยแผ่หลัก สถานให้การศึกษาโดยตรงต่อทุกเพศ ทุกวัย พุทธศาสนาให้ชาวบ้านได้เข้าใจถึงการดำรง ซึ่งปัจจุบันยังมีโรงเรียนอีกหลายแห่งที่ยังมีชื่อ ชีวิตอย่างสงบ เป็นสุข วัดเป็นชื่อโรงเรียนอยู่ 5
\"เมื่อวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในชุมชน\" เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งโดยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน เช่น การจัดตั้งศูนย์ วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่ งคลองต้นแบบ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน แหล่งเรียนรู้และแหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน เป็นต้น จึงก่อให้เกิดคนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรม ต่าง ๆ เกิดสิ่งดีงามในชุมชน โดยการบูรณาการร่วมกันของ บ้าน(ชุมชน) วัด โรงเรียน/ราชการ “บ” นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะหวาย กำหนดนโยบายการบริหารงานต่อสภาเทศบาล ตำบลเกาะหวาย มีกรอบอำนาจหน้าที่ของเทศบาล และการประสานความร่วมมือกับทุกภาค ส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม เกิดความชอบ ธรรม ความโปร่งใส ความสอดคล้องกับศักยภาพ ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อ ช่วยกันขับเคลื่อนให้เทศบาลตำบลเกาะหวาย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ โดย กำหนดนโยบาย นโยบายด้านวัฒนธรรมประเพณี การส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและ พิพิธภัณฑ์ไทย-พวน เพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นได้เป็นที่รู้จัก และแพร่หลายมากยิ่งขึ้น “ว” ชุมชนคุณธรรมฯ วัดฝั่ งคลอง มีท่านพระครูวิริยานุโยค เจ้าอาวาสวัดฝั่ งคลอง เจ้าคณะอำเภอ ปากพลี เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งท่านเป็นพระนักพัฒนา โดยได้พัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้ ชุมชนมีความเข้มแข็งคนในชุมชนอยู่ดีมีสุข ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่ ง คลองต้นแบบ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทย พวน เป็นต้น จึงก่อให้เกิดคนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่าง ๆ และเชื่อมโยงเส้นทาง พื้นที่ภายในชุมชนทั้งศาสนสถานและสถานที่ต่างๆ ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ รวมถึง แสดงออกถึงวัฒนธรรมวิถีชีวิตของของคนในชุมชน “ร” กลไกการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะหวาย สถานีตำรวจภูธรปากพลี องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหวาย โรงเรียนอนุบาลอำเภอปากพลี โรงเรียนปากพลีวิทยาคาร สำนักงาน กศน. อำเภอปากพลี “สู่เจ๊ามายาม สู่เจ๊า เมือบ้าน เฮาคิดฮอด” 6
ข้อควรปฏิบัติของนักท่องเที่ยว “DO” 1. เตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง เช่น ศึกษาสภาพอากาศ เพื่อการจัดเตรียม เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น 2. การท่องเที่ยวในแหล่งชุมชนไทยพวนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหมู่บ้าน เคารพในสิทธิของเจ้าของพื้นที่ ร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่าง สร้างสรรค์ และไม่ทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อปฏิบัติของชุมชน 3. การเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตนักท่องเที่ยว จะต้องไม่ลบหลู่ ความเชื่อของผู้คนในท้องถิ่น และช่วยกันรักษา วัฒนธรรมอันดีงามของคนในท้องถิ่น 4. นักท่องเที่ยวควรเลือกรับประทานอาหาร ที่พัก และของที่ระลึกใน ชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน 5. การทำกิจกรรมปั่ นจักรยานจะต้องขี่ชิดซ้าย มีสติอยู่เสมอ สวมหมวก นิรภัยทุกครั้งที่ปั่ นจักรยาน และการปั่ นจักยานข้ามถนนให้นักท่องเที่ยว รอสัญญาณจากผู้นำเที่ยวก่อนข้ามเสมอ ในบางเส้นทางอาจจะมีผิวถนนชำรุด นักท่องเที่ยวควรเพิ่มความระมัดระวังในการปั่ นจักรยานผ่านเส้นทางขรุขระ และ เป็นหลุม เป็นบ่อ 6. การแต่งกายที่สุภาพเหมาะสมกับสถานที่ เช่น การแต่งกายมิดชิดในศาสน สถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน การสำรวมวาจา ใจ 7. รักษาความสะอาดภายในแหล่งท่องเที่ยว เช่น ทิ้งขยะในสถานที่ที่ชุมชนจัด เตรียมไว้ให้ การใช้ห้องน้ำ และการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 8. การเคารพสิทธิของนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นที่ประกอบกิจกรรมในบริเวณ เดียวกัน ไม่ส่งเสียงดังจนกระทบกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ และกระทบกับคนใน ชุมชน 7
ข้อควรปฏิบัติของนักท่องเที่ยว “DON'T” 1. ห้ามนำยาเสพย์ติดหรือของมึนเมาเข้ามาในพื้นที่ชุมชน และห้ามสูบบุหรี่ ในที่สาธารณะและที่ห้ามสูบ 2. ห้ามผู้หญิงแต่งกายด้วยกางเกงขาสั้น หรือเสื้อผ้าน้อยชิ้นเข้ายังศาสน สถาน 3. ห้ามสัมผัส ลูบคลำ แตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ และห้ามขีดเขียน หรือสลักชื่อบนวัตถุต่างๆในชุมชน ยกเว้นจะได้รับอนุญาติจากเจ้าของสถานที่ และห้ามแตะต้องวัตถุโบราณที่เป็นของชุมชน 4. ใช้ยานพาหนะหรือจักรยานวิ่งบนเส้นทางที่ไม่ได้จัดไว้ นัก ท่องเที่ยวไม่ควรปั่ นออกนอกเส้นทางอาจจะเกิดการพลัดหลงกับ กลุ่มและเกิดอันตรายได้ 5. ระหว่างประกอบกิจกรรมปั่ นจักรยานในชุมชน ไม่หยอกล้อ กับสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน ให้ระมัดระวังสัตว์เลี้ยง เช่นสุนัขหรือ แมวของชาวบ้านในชุมชน 6. ไม่ควรนำสิ่งที่จะก่อให้เกิดขยะเข้าไปในชุมชน เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟม ขวด กระป๋อง 7. ห้ามทำกิจกรรมใดๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น การ ปั่ นจักยานด้วยความเร็วสูง หารปืนป่ายก่อนหิน การหยอกล้อบริเวณริมแม่น้ำ 8. ห้ามปีนป่ายหรือเหยียบย่ำขึ้นไปบนโบราณสถานหรือโบราณวัตถุ เพราะ อาจชำรุดเสียหายได้ เนื่องจากโบราณสถานและโบราณวัตถุมีอายุมากอาจแตกหัก หรือพังทลายได้ง่าย 8
ประเพณี ฮีต 12 คอง 14 วัฒนธรรม และประเพณี 12 เดือน (ฮีต 12 คอง 14) เพื่อการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของไทย-พวน ปากพลี ที่ได้รับการสืบทอดเป็นแนว ปฏิบัติในจารีตของชาติพันธุ์พวนจากดินแดนเชียงขวางในประเทศลาวเข้ามาสู่พื้นแผ่น ดิน ก็ยังคงสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติพันธุ์ไว้สืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน ประเพณีฮีต 12 คำว่า “ฮีต” มาจากคำว่า จารีตประเพณี หรือสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติ สืบต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน คำว่า “สิบสอง” หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบ หนึ่งปี ดังนั้นความหมายโดยรวมของฮีต 12 จึงหมายถึง งานบุญประเพณีในแต่ละ เดือนของชาวไทยพวนซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณในหนึ่งรอบปี เดือนอ้าย (เดือน 1) เดือนมกราคม เดือนเจ็ด (เดือนกรกฎาคม) ประเพณี ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว บายศรีพระพุทธ บายศรีเจ้าหัว เฮานา ทำบุญทานข้าวเม่า บายศรีพระสงฆ์ เดือนยี่ (เดือน 2) เดือนกุมภาพันธ์ เดือนแปด (เดือนสิงหาคม) ประเพณี ทำบุญทานข้าวหลาม เอาฟืน ไพ เข้าพรรษา ถวายเทียน ผ้าอาบน้ำฝน หญ้าไพแวง เดือนสาม เดือนมีนาคม ทำบุญทาน เดือนเก้า (เดือนกันยาน) ประเพณี ข้าวจี่ พิธีกกำฟ้า ขึ้นสามค่ำมีพิธีเฮี้ สารทพวน หรือบุญห่อข้าวประดับดิน ยะขวัญข้าว สู่ขวัญข้าว มีการละเล่นพื้นบ้านถือแรงกวน เดือนสี่ (เดือนคู่) เดือนเมษายน นิม เดือนสิบ (เดือนตุลาคม) บุญทานข้าว ทำงานมงคล เช่น กินดอง ขึ้นเฮือน สะ ซึ่งอยู่คู่กับชาวไทยพวนมาอย่าง เหม่อ เอาะเฮือน ปลูกเฮือน ยาวนาน เดือนห้า (เดือนพฤษภาคม) ประเพณี เดือนสิบเอ็ด (เดือนพฤศจิกายน) การ กำกุดสงกรานต์ อาบน้ำก่อนกา มา ทำบุญออกพรรษา ตักบาตรเทโว ก่อนไก่ สูตรเสื้อ โรหณะ เดือนหก (เดือนมิถุนายน) ประเพณี เดือนสิบสอง (เดือน เลี้ยงปู่ตา บุญเปตะพี ส่งกะทง เลี้ยง ธันวาคม) บุญผะเวต พ่อเฒ่าแม่เฒ่า เทศมหาชาติ ลอยกระทง 9
ประเพณี ฮีต 12 คอง 14 คอง 14 ของชาวไทยพวน หมายถึง แนวทาง วิถีทาง ทำนองคลองธรรม ที่ชาวไทยพวนถือประพฤติปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองสืบต่อ ๆ กันมา ตั้งแต่ ครั้งบรรพบุรุษ เป็นเหมือนกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ให้ประชาชนต้องปฏิบัติคือ ถ้าเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง ข้าราชการ ให้ยึดหลักของ คองเจ้าคองขุน คองท้าว คองเพีย คองไพร่คองนาย เป็นตัวกำหนดหน้าที่ได้ สำหรับประชาชนทั่วไป คองที่ 1 เมื่อผลไม้ในสวนและข้าวในนา คองที่ 8 เมื่อถึงวันเต็มเดือนให้นิมนต์พระ เป็นผลเป็นรวงแล้วไม่ควรกินก่อน เอาให้ สงฆ์มาสวดมนต์ที่บ้าน เพื่อให้ทานรักษาศีล ผู้มีศีลกินก่อน แล้วตนจึงกินตามภายหลัง และฟังธรรมเทศนา คองที่ 2 อย่าโลภตาย่อยตาชิง อย่าจ่าย คองที่ 9 เมื่อใส่บาตรพระไม่ให้ใส่รองเท้า เงินแดง อย่าแบ่งเงินคว้าง อย่ากล่าวคำ ถืออาวุธและผ้าคลุมหัว กล้า อย่าว่าคำแข็งต่อกัน อย่าโกงตาชั่ง คองที่ 3 มีวัดให้กำแพงล้อม มีบ้านให้มีรั้ว คองที่ 10 เมื่อเห็นพระสงฆ์ผ่านมาให้ และปลูกหอไหว้ทั้งสี่ทิศ และมีที่ล้างเท้า ยกมือไหว้เสียก่อน แล้วจึงค่อยพูดจา คองที่ 4 ขึ้นบ้านให้ล้างเท้า คองที่ 11 เมื่อพระภิกษุเข้าปริวาสกรรม ชำระเบื้องต้นนั้นให้มีขันดอกไม้ ธูปเทียน คองที่ 5 เมื่อถึงยามวันพระ 7 ค่ำ 8 ค่ำ 14 และเครื่องอัฏฐะบริขารไปถวายท่าน ค่ำ 15 ค่ำ ให้ขอสมาก้อนเส้าแม่คิงไฟ แม่ บันไดและแม่ประตู คองที่ 12 อย่าเยียบเงาภิกษุ ผู้มีศีล บริสุทธิ์ คองที่ 6 ก่อนจะเข้านอนให้ล้างเท้าเสีย ก่อน คองที่ 13 อย่าเอาอาหารเหลือกินไป ทานให้พระภิกษุสงฆ์ สามาณร และอย่า คองที่ 7 เมื่อถึงวันศีล วันพระ ให้เอา เอาให้ผัวกิน ดอกไม้ขอขมาผัว เอาดอกไม้ไปประเคน พระสงฆ์ คองที่ 14 อย่าเสพกามคุณ ในวันศีล วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันมหา สงกรานต์และวันเกิดของตน 10
วัดปทุมวงษาวาส วัดปทุมวงษาวาส หรือ วัดบ้านใหม่เป็นวัดเก่าแก่คู่ชุมชนไทยพวนมานานนับ 200 ปี ซึ่งจุดเด่น ของวัดแห่งนี้อยู่ที่ สถูปกุสาวดี องค์ใหญ่สีขาว จำลองแบบมาจากประเทศอินเดีย ภายในเป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่ให้ชาวพุทธได้เข้ามาสักการะ นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมทอผ้าด้วยกี่กระตุก ประกอบด้วย 5 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการทอผ้า ฐานกรอด้าย ฐานย้อม ฐานมัดย้อม ฐานทอด้าย ตั้งอยู่ที่ศูนย์ภูมิปัญญามนุษย์วัดปทุมวงษาวาส สำหรับฐานกิจกรรมนี้ นักท่องเที่ยวจะได้ทำกิจกรรม 60 นาที เวลาเปิด - ปิด พิกัด (GPS) ยานพาหนะ เวลาเปิด: 08:00 ละติจูด 14.166212 รถจักรยาน เวลาปิด: 18:00 น. ลองจิจูด 101.259793 รถวิถีถิ่นชุมชน 11
ศาลปู่ตาท้าวโจรผ้าย ศาลปู่ตาเปรียบเสมือนศาลหลัก บ้านที่แต่ละชุมชนจะต้องมีศาลปู่ตา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะนับถือและเป็น ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยพวนตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจะใช้เวลาใน จุดนี้ 10 นาที เพื่อเรียนรู้ประวัติความ เป็นมาของศาลปู่ตาแห่งนี้ เวลาเปิด - ปิด เวลาเปิด: 08:00 เวลาปิด: 18:00 น. พิกัด (GPS) ละติจูด 14.163836 ลองจิจูด 101.263353 ยานพาหนะ รถจักรยาน รถวิถีถิ่นชุมชน มาเที่ยวชุชนไทยพวน นักท่องเที่ยวได้มีโอกาส แลกเปลี่ยน เรียนรู้ มีความสุขจากการได้มาสัมผัส อย่างสูงสุด 12
วัดฝั่ งคลอง เป็นชุมชนที่มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่ งคลองต้นแบบ พิพิธภัณฑ์พื้น บ้านไทยพวน แหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน โดยมีท่านพระครู วิริยานุโยค เจ้าอาวาสวัดฝั่ งคลอง เจ้าคณะอำเภอปากพลี เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งภายในวัดฝั่ ง คลอง ประกอบด้วย มิวเซียมปะพวนที่ปากพลี บ้านเรือนไทยพวนจำลอง และลาน วัฒนธรรม เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมายังวัดฝั่ งคลองก็จะได้ร่วมทำกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ เข้าชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน เรียนรู้การปะพวน เครื่องแต่งกายของชาวพวน ฟังเรื่องเล่าเจ้าจอมนางกลอย ฐานเรียนรู้การทำลูกปะคบสมุนไพรพร้อมทำสปาเท้าด้วย น้ำสมุนไพร ฐานยาดมสมุนไพรไทยพวน ฐานถุงหอมด้วยสมุนไพรดับกลิ่น และฐานทำไข่ เค็มใบเตยสูตรไทยพวน อีกทั้งนักท่องเที่ยวสามารถรับประทานอาหารพาสาย (รับประทานอาหารกลางวัน) เป็นอาหารพื้นถิ่นของชุมชนไทยพวนพร้อมรับชมการแสดง พื้นบ้าน อาทิการแสดง “ลำตัดพวน” อีกด้วย เวลาเปิด - ปิด พิกัด (GPS) ยานพาหนะ เวลาเปิด: 08:00 ละติจูด 14.16394 รถจักรยาน เวลาปิด: 17:00 น. ลองจิจูด 101.263354 รถวิถีถิ่นชุมชน 13
เจดีย์อ่าวพระธาตุ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้เป็นทางลุ่มน้ำ ในช่วงฤดูฝนน้ำหลากจะมีเรือสัญจรไป-มา จำนวนมากและมักจะล่มที่บริเวณต้นนำแห่งนี้ ต่อมาจึงมีการก่อสร้างเจดีย์แห่งนี้ไว้เพื่อเป็นจุด สังเกตุและเพื่อให้ระมัดระวังเมื่อต้องเดินทาง ผ่านเส้นน้ำแห่งนี้ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังได้ ปั่ นจักรยานชมคลอง ผ่านต้นไม้อันร่มรื่นก่อน ไปชมวิถีการยกยอ เป็นการจับปลาของคนสมัย ก่อนพร้อมสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน ชุมชน ทว่ั\"ฒอถ้งานอเพัทีธีนอ่่พรยียท่รวมารมหกาแงปเลใคลทุห้รีาณ่้วยะพนเีเคว่รตไ่พใา่าดอน้ณสใปัีไนชญปุอรกมัะนญ.า.ชส.ดร\"านีบเงวดไ่ากิาทนมาจยทรจะทณนารั์วงกลูนษกเารา เวลาเปิด - ปิด พิกัด (GPS) ยานพาหนะ เวลาเปิด: 08:00 ละติจูด 14.138263 รถจักรยาน เวลาปิด: 17:00 น. รถวิถีถิ่นชุมชน ลองจิจูด 101.259853 14
วัดเกาะหวาย เป็นวัดราษฎร์ ที่อยู่สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เป็นสถานที่สักการะรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นสถาน ที่ศักดิ์สิทธิของชุมชน ซึ่งคนในชุมชนมักจะมาทำบุญร่วม กันในวันพระ ภายในวัดเกาะหวายแห่งนี้นักท่องเที่ยวจะได้ เข้าสักการะรอยพระพุทธบาทด้วยดอกกุหลาบใบเตยที่ผลิต มาจากชุมชน อีกทั้งเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธบาทจำลอง เวลาเปิด - ปิด พิกัด (GPS) ยานพาหนะ เวลาเปิด: 08:00 ละติจูด 14.171065 รถจักรยาน เวลาปิด: 18:00 น. รถวิถีถิ่นชุมชน ลองจิจูด 101.257221 15
บ้านครูหลอด แหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพการถนอมอาหารปลาดูสมุนไพร (ปลาดูครูหลอด) เป็น อาหารพื้นบ้านของชาวไทยพวน อำเภอปากพลี ทำจากปลาดุก นำไปหมักด้วย เกลือ ข้าว คั่ว กระเทียม พริกไทย จนมีรสเปรี้ยว และเค็ม กลมกล่อม นิยมนำไป ทอด หรือย่าง นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมบ้านครูหลอด โดยใช้เวลา 60 นาที สิ่งที่ นักท่องเที่ยวจะได้ลงมือทำ คือ การทำปลาดูสมุนไพรทอด ข้าวผัดปลาดูห่อใบบัวแดงและ ยังสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลับไปเป็นของฝากอีกด้วย เวลาเปิด - ปิด พิกัด (GPS) เวลาเปิด: 08:00 ละติจูด 14.166212 เวลาปิด: 18:00 น. ลองจิจูด 101.259793 ยานพาหนะ รถจักรยาน รถวิถีถิ่นชุมชน 16
วัดท่าแดง วัดท่าแดง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของชุมชนไทยพวน สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี เป็น สถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาสักการะองค์จำลองพระศรีอริยเมตไตร สถูปหลวง พ่อภาระ และยังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชาวไทยพวนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานใกล้ กับลุ่มน้ำคลองท่าแดง หลังจากนั้นเกิดการรวมตัวกันและเรียกชื่อที่อยู่นี้ว่า “ชุมชนบ้าน ท่าแดง” เวลาเปิด - ปิด เวลาเปิด: 08:00 เวลาปิด: 18:00 น. พิกัด (GPS) ละติจูด 14.167500 ลองจิจูด 101.270964 ยานพาหนะ รถจักรยาน รถวิถีถิ่นชุมชน 17
บ้านป้าสุรีย์ ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยพวน ที่รวบรวบฐานกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ด้วยกัน 4 ฐาน ได้แก่ ฐาน เรียนรู้การแต่งกายฐานเรียนรู้ภาษาพวน ฐานเรียนรู้เครื่องมือทำมาหากินของชาวไทยพวนสมัยก่อน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ทำขนมดาดกระทะ เป็นการโม่แป้งรับประทานคู่กับน้ำตาลโรยด้วยงา ถือเป็นอีก หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มาชุมชนไทยพวนแล้วต้องลอง และฐานสุดท้ายคือ ฐานวัฒนธรรม เป็นฐานการเรียน รู้วิถีพวนประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ฮีต 12 คอง 14 เป็นจารีต ประเพณีที่ชาวไทยพวนปฏิบัติกันมาอีกทั้งสถานที่แห่งนี้ยังเป็น โฮมสเตย์ ที่พร้อมให้บริการกับ นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชนได้อย่างใกล้ชิด เวลาเปิด - ปิด พิกัด (GPS) ยานพาหนะ เวลาเปิด: 08:00 ละติจูด 14.171065 รถจักรยาน เวลาปิด: 18:30 น. ลองจิจูด 101.257221 รถวิถีถิ่นชุมชน 18
08:30 พร้อมกันที่บริเวณ วัดปทุมวงษาวาส (วัดบ้านใหม่) ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 08:40 ชุมชนต้อนรับและแนะนำชุมชนไทยพวน พร้อมเข้าสักการะพระธาตุกุสาวดี ณ วัดปทุมวงษาวาส (วัดบ้านใหม่) 09.00 เฮียนฮู้ หัตกรรม เอ็ดมือ ด้วยกี่กระตุก (ผ้าทอลายไทยพวน) ประกอบด้วย 5 ฐาน (ทอ มัดหมี่ ย้อม กรอด้าย ทอด้าย) 10.00 ปั่ นจักรยานไปนำกัน สู่ชุมชนบ้านฝั่ งคลอง ณ วัดฝั่ งคลอง 10.10 แวะไว๊ ศาลปู่ตา บ้านเหม่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยพวนตั้งแต่อดีต สุเขพืว่ัอภยสเาุกกข๋พาาภอยดายีทพุ่ไากมทลีวื่่ัดมมนีีขอเขดออ้าองกชยอกาำอวล.ั..ง ถึงปัจจุบัน 10.20 ฮอดชุมชนบ้านฝั่ งคลอง ต้อนฮับมายามชุมชน ผูกผ้าขาวม้า รำกลองยาว 19
10:50 เข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญ 11:00 เบิ่ง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่ งคลอง ฮ่วมเฮียนฮู้ การปะพวน เครื่องแต่งกาย เสื้อหมากกะแหล่ง ชีวิตความเป็นอยู่สมัยโบราณ และเรื่องเล่าเจ้าจอมนางกอย 12:00 รับประทานอาหารพาสาย พร้อมชมการแสดงพื้นบ้าน “ลำตัดพวน” 13:00 ฮ่วมทำกิจกรรมพื้นบ้าน (เลือกตามความสนใจ) เฮียนฮู้การทำลูกประคบสมุนไพร พร้อมทำสปาเท้าด้วยน้ำสมุนไพร ฮอดบ่อน เฮียนฮู้ ไข่เค็มใบเตย กลิ่นหอมด้วยสมุนไพรดับกลิ่น 13:30 ยาดมสมุนไพรไทยพวน ปั่ นจักรยาน/นั่งรถวิถีถิ่นชุมชน ลัดเลาะเที่ยวชมวิถีไทยพวน 13:50 แวะชมวิถีการยกยอของชาวไทยพวน พร้อมสักการะเจดีย์อ่าวพระธาตุ 14:20 แวะชมสาธิตการทำขนมข้าวกระยาคู พร้อมพัก กินหวาน ตื่มแฮง 14:50 ปั่ นจักรยาน/นั่งรถวิถีถิ่นชุมชน กลับมายัง วัดปทุมวงษาวาส 15:10 ชม/ชิม/ช๊อป สินค้าพื้นบ้าน 20
08:30 พร้อมกันที่บริเวณ วัดปทุมวงษาวาส (วัดบ้านใหม่) ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 08:40 ชุมชนต้อนรับและแนะนำชุมชนไทยพวน พร้อมเข้าสักการะพระธาตุกุสาวดี ณ วัดปทุมวงษาวาส (วัดบ้านใหม่) 09.00 เฮียนฮู้ หัตกรรม เอ็ดมือ ด้วยกี่กระตุก (ผ้าทอลายไทยพวน) ประกอบด้วย 5 ฐาน (ทอ มัดหมี่ ย้อม กรอด้าย ทอด้าย) 10.00 10.10 ปั่ นจักรยานไปนำกัน สู่ชุมชนบ้านฝั่ งคลอง แวะไว๊ ศาลปู่ตา บ้านเหม่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยพวนตั้งแต่ ณ วัดฝั่ งคลอง อดีตถึงปัจจุบัน ปั่ นหมจมัฮู่กาเอฮรฮด่ยาวชยาุิมนมนเไชดีฮป๋นตี้นยเอำดน้นกอัฮฮนู.ั้.บ.. 10.20 ฮอดชุมชนบ้านฝั่ งคลอง ต้อนฮับมายามชุมชน ผูกผ้าขาวม้า รำกลองยาว 10.50 เข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญ 21
10:50 เข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญ 11:00 เบิ่ง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่ งคลอง ฮ่วมเฮียนฮู้ การปะพวน เครื่องแต่งกาย เสื้อหมากกะแหล่ง ชีวิตความเป็นอยู่สมัยโบราณ และเรื่องเล่าเจ้าจอมนางกอย 12:00 รับประทานอาหารพาสาย พร้อมชมการแสดงพื้นบ้าน “ลำตัดพวน” 13:00 ฮ่วมทำกิจกรรมพื้นบ้าน (เลือกตามความสนใจ) เฮียนฮู้การทำลูกประคบสมุนไพร พร้อมทำสปาเท้าด้วยน้ำสมุนไพร ฮอดบ่อน เฮียนฮู้ ไข่เค็มใบเตย กลิ่นหอมด้วยสมุนไพรดับกลิ่น 13:30 ยาดมสมุนไพรไทยพวน ปั่ นจักรยาน/นั่งรถวิถีถิ่นชุมชน ลัดเลาะเที่ยวชมวิถีไทยพวน 13:50 แวะชมวิถีการยกยอของชาวไทยพวน พร้อมสักการะเจดีย์อ่าวพระธาตุ 14:20 แวะชมสาธิตการทำขนมข้าวกระยาคู พร้อมพัก กินหวาน ตื่มแฮง 14:50 ปั่ นจักรยาน/นั่งรถวิถีถิ่นชุมชน ไปยังเฮือนป้าสุรีย์ 15:30 บ่อนมาตุ้มมาโฮม เฮือนป้าสุรีย์ กับ 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ เฮียนฮู้ บ่อนเอ๊ตนโต (ฐานเครื่องแต่งกายโบราณ “หมากกะแหล่ง”) เฮียนฮู้ บ่อนปะพวนมั่งเจอ (ฐานเรียนรู้การพูดภาษาพวน) เฮียนฮู้ บ่อนเฮ็ดกิน (ฐานเรียนรู้วิถีข้าวและทำขนมดาดกระทะ) เฮียนฮู้ วิถีพวน (ฐานวิถีพวนประเพณีวัฒนธรรม) 17.00 พาแลง ซวนซิม สไตล์ชาวพวน กับเมนู “อาหารถิ่น วิถีพวน ชวนชม วัฒนธรรม” ณ เฮือนคุณป้าสุรีย์ 19.00 เข้าพักที่ เฮือนป้าสุรีย์ 22
08:30 เข้าสักการะรอยพระพุทธบาทจำลองด้วยดอกกุหลาบใบเตย ที่วัดเกาะหวาย 09.00 เฮียนฮู้ ฮู้จัก ปลาดูสมุนไพร เฮือนครูหลอด 10.00 แวะย้อน หม่อง ไทยพวน ปากพลี วัดท่าแดง สักการะองค์จำลอง พระศรีอริยเมตไตร สถูปหลวงพ่อภาระ และไหว๊ศาลปู่ตา 11.00 ชม/ชิม/ช๊อป สินค้าพื้นบ้าน 11.30 เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ เแยืลอ้เวนดแ้อหว.มะ.ู่.เม.ฮาาเอยีี่กยม 23
ปั่นไปไทยพวน ปากพลี เส้นทางแห่งความสุขของสุดยอดนักปั่น... 24
08.30 พร้อมกันที่ชุมชนบ้านใหม่ ชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อมแนะนำ ถึงชุมชนไทยพวน นำคณะฯ เข้าสักการะพระธาตุกุสาวดี ณ วัดปทุมวงษาวาส (วัดบ้านใหม่) 09.00 เฮียนฮู้ หัตกรรม เอ็ดมือ ด้วยกี่กระตุก (ผ้าทอลายไทยพวน) ประกอบด้วย 5 ฐาน (ทอ มัดหมี่ ย้อม กรอด้าย ทอด้าย) 10.00 ปั่ นจักรยาน ไปนำกัน สู่ชุมชนบ้านฝั่ งคลอง ณ วัดฝั่ งคลอง 10.10 คณะฯ ฮอดชุมชนบ้านฝั่ งคลอง ต้อนฮับมายามชุมชน ผูกผ้าขาวม้า รำกลองยาว 10.40 ชมการแสดงเพลงเรือ เรื่องเล่าคลองสั้นตำนานยาว ชีวิตความเป็นอยู่สมัยโบราณ เรื่องเล่าเจ้าจอมนางกลอย 11.10 เข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญ 11.20 เบิ่ง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน ปากพลี เฮียนฮู้ การปะพวน เครื่องแต่งกาย เสื้อหมากกะแหล่ง 12.00 รับประทานอาหารพาสาย (ชุมชนฝั่ งคลองจัดเตรียมไว้ให้) พร้อมชมการแสดงพื้นบ้าน “ลำตัดพวน” 13.00 เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ 25
“เยี่ยมยามบ๊านเมืองซุมซนพวน ฮุงเฮืองวัฒนธรรมสี่หมู๊บ้าน” 26
27
28
NO.1 ท่องเที่ยวไม่รู้จบ กับ..บ้านไทยพวน นครนายก 29
01 อ่างเก็บน้ำวังบอน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กของกรมชลประทาน จากสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำวัง บอนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ และผืนป่าได้อย่างชัดเจนและสวยงาม ตั้ง อยู่ในเขตตำบลนาหินลาด เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น อ่างเก็บน้ำที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้เส้นทางไปอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ ภายในอ่างเก็บน้ำ จะมีกิจกรรมโรยตัวจากหน้าผา ผ่านน้ำตก ลงสู่อ่างเก็บน้ำ และมีบริการเรือคายัคในอ่างเก็บน้ำ 02 อุทยานน้ำตกวังตะไคร้ อยู่ในอำเภอเมืองเป็นสถานที่พักผ่อน มีธารน้ำที่ ไหลมาจากซอกซอน ผ่านโขดหินน้อยใหญ่ เหมาะ ในการเล่นน้ำ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของลำธาร 2 ลำธาร ลำธารที่หนึ่งชื่อคลองมะเดื่อ จากน้ำตกเหว กระถิน กับอีกลำธารหนึ่งชื่อคลองตะเคียนจาก น้ำตกแม่ปล้อง ลำธารทั้ง 2 นี้ไหลมาบรรจบกันเป็น ธารเดียว ไหลลงสู่แม่น้ำนครนายก 03 พุทธอุทยานมาฆบูชาอนุสรณ์ เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่ อรำลึกถึงวันมาฆบูชา เหตุการณ์ที่พระสงฆ์ 1,250 รูปมาประชุมกัน สร้างพุทธอุทยานมาฆบูชาเพื่ อรำลึกถึง เหตุการณ์พุทธประวัติที่พระสงฆ์ 1,250 รูปมา ประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย อันเป็นที่น่า เลื่ อมใสและศรัทธาของพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ภายในอุทยานยังมีพื้ นที่จัดการแสดง ประติมากรรมปั้ นทรายซึ่งมีความหมาย สวยงามและน่าชื่ นชมในฝีมือมาก 30
04 เขื่อนขุนด่านปราการชล มีชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนคลองท่าด่าน เป็นเขื่อน คอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและใน โลกมีความยาว 2,658 เมตร สูง 92 เมตร ระดับ สันเขื่อน +112 เมตร จากระดับทะเลปานกลางตั้ง อยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้งอำเภอเมือง นครนายก จังหวัดนครนายก โดยจะคอยรับน้ำที่ ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเห วนนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำที่มีความจุ 224 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เขื่อนขุนด่านปราการชล สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในรัชกาลที่ 9 เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และ ควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นา และพื้ นที่การเกษตร เขื่อนขุนด่านปราการชล ยังเป็นแหล่งท่อง เที่ยวของจังหวัดนครนายก ที่สามรถชมอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน โดยจะ เห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์ เมือง นครนายกด้านหลังเขื่ อน 31
05 บ้านคลองคล้า เป็นตำบลที่ชาวไทยพวนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่มาต่ำกว่า 160 ปี ซึ่งมี ชาวไทยพวนกลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่สูง เป็นบริเวณที่มีไม้ เนื้อแข็งขึ้นอยู่หนาแน่น ซึ่งเรียกว่า ต้นแสงหรือต้นชุมแสง และตั้งชื่อ หมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหนองแสง” ต่อมานำมาตั้งเป็นชื่อตำบล “หนองแสง” ในปัจจุบันตำบลหนองแสง เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอ ปากพลี ซึ่งประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคลองคล้า บ้านโคกกระชาย บ้านหนองหัวลิงใน บ้านเนินหินแร่ บ้านหนองแสง บ้านสันป่า บ้านสันป่า ตั้ง บ้านหนองหัวลิงนอก บ้านบุ่งเข้ บ้านเหล่าเดิ่น 06 อ่างเก็บน้ำทรายทอง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ภูมิประเทศโดยรอบ เป็นภูเขาคงความสวยงามตามธรรมชาติ มีทาง คอนกรีตแคบ ๆ ที่ลัดเลาะไปด้านเหนืออ่างเก็บ น้ำ เหนืออ่างเก็บน้ำขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร มี “น้ำตกทรายทอง” เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีน้ำ เกือบตลอดปี การเดินทางไปยังน้ำตกทรายทอง ต้องเดินเท้า เข้าไปโดยเริ่มจากตัวเขื่อนอ่างเก็บ น้ำใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที 32
07 อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กแต่มีบริเวณผิวน้ำกว้าง มีน้ำตลอดปีมีถนนดิน รอบอ่างทิวทัศน์รอบอ่าง เก็บน้ำมีความสวยงามตามธรรมชาติเหมาะแก่ การดูพระอาทิตย์ขึ้น ทำให้นอกจากจะเป็น แหล่งท่องเที่ยวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจแล้ว แนะนำ ว่าหากใครชอบถ่ายรูปก็ให้รีบมาก่อน พระอาทิตย์ขึ้น จะเห็นท้องฟ้ากำลังเปลี่ยนสีไล่ สีสวยงาม 08 วัดคีรีวัน ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลองอยู่บนเนินเขา มีศิลปะสถาปัตยกรรม แบบอารยธรรมขอมที่พอเห็นได้ในภาคอีสาน อยู่ด้านล่างของวัดรวมถึง ปราสาทขอม องค์ใหญ่ซึ่งเพิ่งสร้างใหม่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อ โพธิ์ 1,000 ปีพระพุทธรูปปางนาคปรกแกะจาก ไม้ต้นโพธิ์ อันมี พุทธศาสนิกชน มอบให้กับทางวัดเมื่อปี พ.ศ.2554 โดยในบรรดาของ จำลองสถาปัตยกรรมขอมภายในวัดมีหนึ่งสิ่งที่หลายคนอาจจะสนใจคือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ 33
09 Ravin Home Cafe เป็นอีกจุดต้อง แวะเข้ามาจิบกาแฟ ชิมขนม เดินชมวิวท่ามกลางธรรมชาติ สีเขียว ณ ร้านราวินโฮมคาเฟ่ ที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดของสินค้าและ บริการ ตั้งตระหง่านรอคอยการมาเยือนของนักดื่มกาแฟที่ต้องการหลีกหนี จากความวุ่นวาย และอยากผ่อนคลายกับบรรยากาศสบายๆ ใกล้ชิด ธรรมชาติ โดยที่นี่บริการกาแฟ ขนมหวาน เครื่องดื่ม ร้อน-เย็น ไอศกรีม ฯลฯ อีกทั้งยังมีบ้านพักรับรองนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อน เพื่ อเติมเต็มช่วงเวลา 10 จุดชมวิวนกเหยี่ยวหูดำ เป็นอีกหนึ่งจุดกิจกรรมในการชมนก เหยี่ยวหูดำ “เหยี่ยวดำ” เป็นนกล่าเหยื่อ ที่อพยพหนีหนาวมาจากไซบีเรีย มาขยาย เผ่าพันธุ์ ณ ทุ่งใหญ่ หมู่ 6 ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาส่องดูเหยี่ยวดำ จำนวนมากที่มาหากินอยู่ นกเหยี่ยวเหล่า นี้จะอพยพย้ายถิ่นฐานในช่วงเดือน ตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี 34
NO.1 อาหารพื้นถิ่น “ไทยพวน ซวนซิม” กับ..บ้านไทยพวน นครนายก 35
อาหารพื้นถิ่น “ไทยพวน ซวนซิม” ข้าวผัดปลาดูสมุนไพร เป็นอาหารโบราณที่นำใบบัวแดงมาอังกับ เตาถ่าน นำมาห่อข้าวผัดปลาดูสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร กลางวันให้กับนักท่องเที่ยวได้ลองลิ้มชิมรส ปลาดูสมุนไพรทอด เป็นอาหารพื้นบ้านที่ใช้ภูมิปัญญาไทยมา ประยุกต์ จากปลาดูที่ใช้ระยะเวลาในการหมัก โดยใช้เกลือและ ข้าวคั่ว ต่อยอดด้วยการทอด โดยคลุกด้วยแป้งสาลีเอนกประสงค์ ลงทอดในน้ำมันที่ตั้งไฟจนร้อนกับสมุนไพรไทย เจี่ยว เป็นเมนูที่นำผักและสมุนไพรมาเผาและโขลกรวมกับเนื้อ ปลาที่ต้มสุกแล้ว โดยชาวไทยพวนนิยมรับประทานที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติในท้องถิ่น และมักรับประทานผักแนม แกง 123 (แกงเลียงไทยพวน) เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกัน ของคนในท้องถิ่น ชุดขันโตกชาวไทยพวน เป็นการรวมอาหารพื้นถิ่นของชุมชน ไทยพวน จัดเป็นสำรับให้กับนักท่องเที่ยว นิยมจัดเป็นอาหาร กลางวัน ไข่เค็มใบเตย เป็นสูตรไข่เค็มที่ใช้ใบเตยและพอกด้วยดินสอพอง สามารถช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้น่าลิ้มรสมากขึ้น 36QR code ผลิตภัณฑ์ชุมชนไทยพวน
อาหารพื้นถิ่น “ไทยพวน ซวนซิม” ขนมข้าวกระยาคู เป็นขนมขึ้นชื่อของชาวไทยพวนตำบล เกาะหวาย สมัยโบราณจะเป็นขนมข้าวกระยาคู โดยมี ประวัติสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้า นำข้าวอ่อนมาคั้น แต่เนื่องจากว่าถ้าใช้เมล็ดข้าวอ่อนมาทำ โดยจุดเด่นคือเป็นของหายทานยากปีหนึ่งจะทำได้แค่ 2 ครั้ง ข้าวจี่ไทยพวน การนำข้าวเหนี่ยวที่นึ่งสุกแล้วมาตำให้เป็น ก้อนเดียวกันใส่เกลือเล็กน้อย โดยการทำไส้จะต้องนำงาดา และงาขาวมาคั่วให้มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นคั่วน้ำตาลให้ เหนียวแล้วก็ห่อให้เป็นไส้ เสร็จแล้วนำมาทาโดยรอบด้วยไข่ (ไก่) จึงนำไปทอดในกระทะอีกครั้ง กระยาสารทไทยพวน เป็นกระยาสารท 9 มงคลสูตรไทย พวนโบราณ ขนมไทย ทำจากถั่วลิสง งา ข้าวตอก ข้าวคั่ว และน้ำตาลมะพร้าว มักทำกันมากในช่วงสารทไทย ด้วย วัตถุดิบสดใหม่ไม่มีกลิ่นหืน ขนมดาดกระทะ เป็นขนมโบราณของชาวลาวเวียง เป็นขนม ที่ทำง่าย ๆ แต่รสชาตอร่อย QR code ผลิตภัณฑ์ชุมชนไทยพวน 37
วิถีการยกยอของชาวไทยพวน 38
เกล็ดความรู้ “ไทยพวน ปากพลี” \"ชาวพวน\" เป็นกลุ่มไทยน้อยกลุ่มหนึ่งในลุ่มแม่น้ําโขง คําว่า ไทยพวน และ ไทพวน จึงปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ใน พงศาวดารลาว ในพ.ศ.2322 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบ กบฏที่เวียงจันทน์มีชัยชนะ จึงได้กวาดต้อนผู้คนมาจํานวนมาก ซึ่งรวมถึงชาวลาวและชาวพวนจากเมืองซําเหนือ ในจังหวัดนครนายก มีไทยพวนพวกหนึ่งซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ที่บ้านโค้ง บ้านเมี่ยง บ้านหนองวัว บ้านนาคา เห็นว่า บริเวณลุ่มน้ำของคลองท่าแดงในป๎ จจุบัน เหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งทํามาหากิน จึงรวมตัวกันแล้วตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านท่าแดง” ในคราวที่อพยพมาครั้งนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อหลวงพ่อภาระ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวไทยพวน เป็นผู้นําขบวน อพยพและได้อัญเชิญพระศรีอาริย์ซึ่งหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์มาด้วย ชาวไทยพวนจึงได้ช่วยกันสร้างวัดและ ตั้งชื่อตามหมู่บ้านว่า “วัดท่าแดง” ศาสนาและความเชื่อ: ชาวไทยพวนนับถือศาสนาพุทธ สังเกตได้จากพิธีการ งานบุญ ต่าง ๆ ของชาวไทยพวนจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระ วัด และ พุทธศาสนาเสมอ โดยพระครูวิริยานุโยคเป็นพระรูปหนึ่งที่ชาวบ้านในชุมชนให้ความเคารพนับถือ เป็น อย่างมาก ในฐานะพระนักพัฒนาที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ นอกจากนี้ชาวไทยพวน ยังมีความเชื่อใน เรื่อง “ผี” โดย “ผี” โดยผีที่ชาวบ้านไทยพวนให้ความเคารพนับถือนี้ ได้แก่ ผีปู่ตา ที่ทุกหมู่บ้านจะต้องมี “ศาลปู่ตา” หรือ “ศาลปู่” ซึ่งเชื่อกันว่า คือ ผู้รักษา หมู่บ้าน โดยชาวบ้าน จะสร้างศาลปู่ตา หรือปู่ตาไว้ทางทิศตะวันออก หรือทิศเหนือ ของหมู่บ้านและจะมีพิธีเลี้ยงปู่ตา ภาษาไทยพวน: เป็นการใช้ภาษาและอักษรในรูปแบบคล้ายและเหมือนกันกับชาวไทย ใหญ่ในส่วนเหนือและตะวันออก ต่อเนื่องไปถึงสายเวียงจันทน์ เชียงขวาง สมัยโยนก ลานนาไทย ซึ่งมีรูปแบบเป็นของตนเอง เนื่องจากการทำสงครามเป็นสาเหตุที่ทำให้ จังหวัดนครนายกประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ แต่ละกลุ่มมีเอกลักษณ์ เฉพาะกลุ่มแตกต่างกันไป ภาษาพูดของไทยพวนเป็นภาษาที่ไพเราะต่างจากภาษาพูด ของลาวเวียงที่สั้น ๆ ห้วน ๆ เช่น \"พีเลอ\" (ภาษาไทยพวนหมายถึงอะไร) \"เอ็ดพีเลอ\" (หมายถึงทำอะไร) เฮา ข้าน้อย ข้อยน้อย ข้อย กัน หมายถึง ตัวผู้พูด โต๊ว หมายถึง คำสรรพนามบุรุษที่สอง เพิ่น หมายถึง คำสรรพนามบุรุษที่สาม ฯลฯ อักษรไทยพวน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรได้ให้คำและความหมายเกี่ยวกับอักษร ไทยพวนและภาษาไทยพวนไว้ ดังนี้ 1. อักษรตัวธรรม ใช้บันทึกเรื่องราวในศาสนา หรือคัมภีร์อันศักดิ์ 2. อักษรไทยน้อย ใช้เขียนเรื่องราวทางโลก เช่น การะเกด สุริวงศ์และ ชาวไทยพวนจะนิยมนำเรื่องราวเหล่านี้ที่เขียนด้วยอักษรไทยน้อย ปัจจุบันอักษรตัวธรรมและอักษรไทยน้อยในหมู่ไทยพวน 39
โฮมสเตย์ ชุมชนไทยพวนตำบลเกาะหวาย • บ้านนางสุรีย์ สะเภาทอง รองรับได้จำนวน 10-12 คน • บ้านนางสุภาภรณ์ มั่นคง รองรับได้จำนวน 20-30 คน • บ้านนางกนกวรรณ ลออ รองรับได้จำนวน 5-10 คน • บ้านนางจันทร์เพ็ญ ยอดมิ่ง รองรับได้จำนวน 5-10 คน • บ้านนางเสน่ห์ แดงไสว รองรับได้จำนวน 5-10 คน โฮมสเตย์ ชุมชนเครือข่ายไทยพวนตำบลหนองแสง • บ้านผู้ใหญ่วิชาญ วัฒนวิเชียร รองรับได้จำนวน 15-20 คน • บ้านนายวิรัตน์ มั่นคง รองรับได้จำนวน 15-20 คน ธุรกิจโฮมสเตย์รีสอร์ทไทยพวนตำบลเกาะหวาย • ข้าวหอมรีสอร์ทไทยพวน ถนนสุวรรณศร รองรับได้จำนวน 40-50 คน • นาวารีสอร์ท ถนนสุวรรณศร รองรับได้จำนวน 40-50 คน 40
คึดฮู้ ไทยพวน คึดฮู้ ปากพลี เน้อ 41
จัดทำโดย โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณา (มหาวิทยาลัยสู่ตำ สร้างรากแก้วให้ประเทศ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภาตใต้การดูแลของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้ออกแบบและจัดทำ นางสาวกาญจนา มนตรีกร นางสาวเตชิตา ลาพินีกร นางสาวตรีชฎา เลาแก้วหนู คณะทำงาน คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีรายชื่อดังนี้ นางสาวพิริญา เย็นระยับ นายนฤดม อ๊อกซู นางสาวตรีชฎา เลาแก้วหนู นางสาวศุภากร สุรดินทร์กูร นางสาวเตชิตา ลาพินีกร นางสาวสปันงา ปิยะกาญจน์ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนไทยพวน และคณะทุกท่าน 42
ข้อมูลการติดต่อ ชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนไทยพวนจังหวัดนครนายก www.thaipuantour.com ว่าที่ ร.ต.ชาติชาย ยอดมิ่ง ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนไทยพวน โทรศัพท์: 092-7579377 ID LINE: yodming1819 หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ 037 399 600 สถานีตำรวจภูธรปากพลี โทร 037 639 763 โรงพยาบาลปากพลีจังหวัดนครนายก 037 313 573 องค์การบริหารส่วนตำบลปากพลี
Search
Read the Text Version
- 1 - 44
Pages: