Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-book

E-book

Published by ฑิตฐิตา ประพันธ์, 2022-08-08 02:06:06

Description: E-book

Search

Read the Text Version

E-book FINTECH ธุรกรรมการเงิน ดิจิทัล different operations in terms of finance or exchanging goods and services using various communication tools DIGITAL MIAADAI

ธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล ความหมายของระบบ การทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล หมายถึง กาดำเนินการต่างๆ ในเรื่องของการเงินหรือแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการ โดยใช้ เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน Mobile App หรือ E-wallet ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และทุกคนสามารถ ทำได้ถ้ามีบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์ ความสำคัญของระบบ ระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัลมีความสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม ให้การทำธุรกิจนั้นมีความมั่นคงขึ้น เพราะได้อำนวยความสะดวก ให้การทำธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และนำมา ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคม พฤติกรรมผู้บริโภค และเศรษฐกิจโลก

ประเภทของระบบธุรกรรมธุรกิจดิจิทัล 1.Digital Banking การทำธุรกรรมด้วยระบบการทำธุรกรรมของธนาคาร ในระบบดิจิทัล เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาให้มี sampling rate สูง เป็นสัญญาณที่เป็นระบบไม่ต่อเนื่อง ทำให้คุณภาพของข้อมูลดีขึ้น

ธุรกรรมที่ทำผ่าน DIGITAL BANKING 1. การโอนเงิน โดยโอนจากเจ้าของบัญชีผู้โอน ไปสู่ เจ้าของบัญชีผู้รับโอน ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น Net Banking, K Banking เป็นต้น 2.ชำระค่าสินค้าและบริการ โดยผ่านแอปพลิเคชันของ ธนาคาร อาจจะเป็นการช าระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า หรือ การผ่อนชำระ ค่างวดต่าง ๆ 3. บริการเรียกดูข้อมูลและจัดการบัญชีต่าง ๆ เช่น เพิ่ม และจัดการบัญชีของตนเอง เพิ่มและจัดการบัตร ดูรายละเอียด บัญชี ระงับบัญชี ฯลฯ 4. ซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุน และจัดการรายการซื้อขาย ต่าง ๆ เรียกดูและแก้ไขแบบประเมินความเสี่ยง (Risk Profile) 5. Talk to net officer ทำธุรกรรมผ่านระบบ VDO Call โดยเจ้าหน้าที่ net officer ที่จะทำธุรกรรมพร้อมส่งสลิป รายการให้ผ่าน E-mail 6. ตั้งค่าการใช้งานระบบ เปลี่ยน net ID, Password, ตั้งค่าวงเงินการทำรายการ, จัดการบัญชี 7. ชำระเงินกู้ของตนเอง, ชำระเงินกู้บุคคลอื่น, ขออนุมัติ สินเชื่อเบื้องต้น 8. ขอข้อมูลเครดิตบูโรกับ National Credit Bureau 9. สั่งซื้อธนบัตรต่างประเทศสกุลเงินต่าง ๆ ล่วงหน้า

ข้อดีของ DIGITAL BANKING 1.เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าผู้ใช้บริการในการดำเนิน ธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น ไม่ต้องไปติดต่อธนาคาร แต่ ท าได้ ผ่าน Internet banking หรือ Mobile banking ได้ 2. ท าให้มีเวลาเหลือไปบริหารหรือท างานอื่นๆ ที่จำเป็น มากกว่าการไปรอต่อคิวที่ธนาคารเหมือนในอดีต 3. ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อด้านธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการ เดินทางไปที่ธนาคาร หรือการชำระค่าธรรมเนียมใน การโอน ชำระค่าน้ำ ค่าไฟ อีกต่อไป 4. ลดความเสี่ยงจากการถอนเงินจำนวนมากๆ จากธนาคาร 5. ในส่วนของธนาคาร ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเปิดสาขา ใหม่แบบไม่รู้จบเพื่อให้เข้าถึงทุกพื้นที่เหมือนในอดีต ข้อดีของ DIGITAL BANKING 1.ธนาคารต้องปิดสาขาลงหลายแห่ง ในอนาคตมีแนวโน้ม อาจต้องลดจำนวนพนักงานทำให้คนต้องหางานทำใหม่ 2. พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เนื่องจากการใช้จ่าย สะดวก ง่ายขึ้น ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วมากเกินไป มีแนวโน้มการใช้จ่ายเกินตัวง่ายขึ้น 3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลลดน้อยลง ส่งผลต่อ พฤติกรรมมนุษย์ที่สื่อสารกับเทคโนโลยีมากเกินไป 4. การดำเนินชีวิตถูกผูกไว้กับอินเทอร์เน็ตสัญญาณ wi-fi หน้าจอสมาร์ทโฟน เมื่อขาอินเทอร์เน็ตแล้ว ธุรกรรมทางการเงิน มีผลชะงัก 5.ในอนาคตธนาคารอาจไม่ใช่สถาบันการเงินสำคัญสำหรับ เศรษฐกิจอีกต่อไป เพราะธุรกิจอื่นๆ สามารถพัฒนาเรื่องการเงิน อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองได้ 6. การจารกรรมเปลี่ยนรูปแบบไป จึงมีการคิดค้นหาทาง ป้องกัน เช่น การลวงลูกค้า เพื่อโกง เงินจากอินเทอร์เน็ตแบงก์ เป็นต้น

2. Mobile Banking Mobile Banking เป็นตัวช่วยสำคัญแห่งยุคดิจิทัลที่เข้า มาอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นได้ทุก ที่ทุกเวลา และนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคม พฤติกรรม ผู้บริโภค และเศรษฐกิจโลก

วิธีการทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล 1.ล็อกอิน Touch ID 2. QR Code จ่ายและรับเงิน 3. แจ้งเตือนเพื่อจ่าย 4. รายการโอนเงินล่วงหน้า 5. E-Market บริการต่าง ๆ ใน E-MARKETPLACE 1. สารบัญธุรกิจ / Business Directory 2. ประกาศความต้องการทางธุรกิจ /Trade Leads 3. E-Catalog หรือแค็ตตาล็อกออนไลน์ 4. ประกาศความต้องการซื้อ-ขายสินค้า และบริการ 5. การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย 6. บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ตัวอย่าง E-MARKET PLACE

ประเภทของธุรกรรมการเงินดิจิทัล (FINTECH) 1.Banking Technology 2. Lending Technology 3. Cryptocurrency 4. Payment Technology 5. Application Programing Interface (API Data) 6. Regulation Technology 7. Insurance Technology/ Insurtech

Banking Technology การนำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่คนมักคิดถึง เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีทางการเงิน เพราะหลายคนคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่แล้ว และเชื่อว่า ในโทรศัพท์ของคนวัยทำงานส่วนใหญ่จะต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน ธนาคาร ซึ่งฟินเทค ประเภทนี้คือ Mobile Banking ที่มีขึ้นเพื่อ ให้ลูกค้าของธนาคารสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ที่เป็นการบริหาร จัดการเงินของตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำงานในฟังก์ชันเดียวกับที่ ธนาคารแบบดั้งเดิมทำ ทั้งเช็กยอดบัญชี โอนเงิน จ่ายบิล และอื่นๆ Lending Technology กระบวนการให้กู้ยืมเงิน (รับสมัคร/ปล่อยสินเชื่อ) ที่มีการ บริหารจัดการหรือดำเนินงานผ่านช่องทางดิจิทัล ในทางปฏิบัติ ผู้ให้กู้จะนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ มาปรับใช้ในกระบวนการ ให้บริการสินเชื่อ โดยรูปแบบของ Digital Lending ในปัจจุบัน ทั่วโลกนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ตลาด และกฎระเบียบข้อบังคับในแต่ละภูมิภาค

Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัลทั้ง Cryptocurrency หรือเทคโนโลยี Blockchain เป็นการสมมติชุดข้อมูลขึ้นมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ในโลกออนไลน์ แล้วทำให้ใช้งานได้เหมือนเงินจริง สามารถ ใช้จ่ายได้ รวมถึงเก็งกำไรได้ด้วย โดยสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรก ที่ถือกำเนิดมาในโลกคือ Bitcoin และที่สั่นสะเทือนวงการการ เงินล่าสุดคือการประกาศเปิดตัว Libra สกุลเงินดิจิทัล ของ Facebook ที่จับมือกับพาร์ทเนอร์เจ้าใหญ่ทั่วโลกซึ่ง ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็น Technology Disruptive ที่ใหญ่ที่สุดในอนาคต Payment Technology ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี ประเภทนี้คือ ระบบตัวแทนการใช้จ่าย ที่ผู้ใช้ต้องเปิดบัญชีกับทางแพลตฟอร์ม จึงจะสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่นระบบ E-Wallet ต่าง ๆ เครดิตการ์ด ซึ่งระบบ Payment จะต่างจาก Mobile Banking ตรงที่เจ้าของแพลตฟอร์มไม่ใช่ธนาคาร และให้บริการ เฉพาะการใช้จ่ายเท่านั้น

Application Programing Interface (API Data) คือการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง เพื่อให้ ซอฟต์แวร์ภายนอกเข้าถึงและอัพเดทข้อมูลนั้นๆได้ แต่ยังอยู่ใน ขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ หรือจะบอกให้ง่ายขึ้นก็คือ API เป็น ตัวกลางที่จะทำให้คอยรับคำสั่งต่างๆ ประมวลผลและกระทำ ข้อมูลส่งกลับคืนไปยังคนสั่งโดยอัตโนมัติ Regulation Technology เป็นการใช้เทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์มาเพิ่มประสิทธิภาพ งานด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ หรือรายงาน ซึ่งคาดว่าจะมีการ เติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค ควบคู่ ไปกับการรักษาความมั่นคงของระบบการเงิน

Insurance Technology/ Insurtech เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมประกันภัย เนื่องด้วย การเติบโตรวดเร็วของเทคโนโลยี และธุรกิจประกันภัย เริ่มมี หลายๆ Startup หันมาทำ Insure Tech และสามารถกลาย เป็น Unicorn ในการ Provide Solution ใหม่ๆใน อุตสาหกรรมนี้ในที่สุด ประเภทของ FINTECH แบ่งตามกลุ่มด้านการเงิน 1. กลุ่มการชระเงิน/โอนเงิน (Payments/Transfers) เป็นบริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทาง Digital (e-payment) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดแนวคิด FinTech ที่มี จุดเด่นในด้านความสะดวกรวดเร็วในการช าระเงิน โดยลูกค้า ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด/บัตรเครดิต/ บัตรเดบิตหรือโอนผ่าน บัญชีธนาคารเพื่อช าระเงินค่าสินค้า/บริการแต่ละครั้งดังเช่นใน อดีต จึงช่วยให้การซื้อขาย สินค้าออนไลน์ (E-Commerce) มีความคล่องตัวมากขึ้น

2. กลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุน (Investments เป็นบริการด้านการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงินแบบ ออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่เข้าถึงบริการด้านการลงทุน ส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มที่มีสินทรัพย์สูง แต่ในปัจจุบันธุรกิจ FinTech เกี่ยว กับการลงทุนได้พัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มผู้ มีรายได้ทั่วไปสามารถ เข้าถึงการวางแผนทางการเงินและการลงทุนได้ง่ายขึ้น โดยการ นำเทคโนโลยี Robo-Advisor ที่มีการใช้ (Artificial Intelligence :AI) เข้ามาใช้เรียนรู้พฤติกรรมการ ลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผ่านข้อมูลสถิติและผลการวิเคราะห์ที่ได้ จากการตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ โดย Robo-Advisor จะทำหน้าที่เลือกการลงทุนที่เหมาะสมและช่วยบริหารเงินลงทุน ให้แบบอัตโนมัติตามระยะเวลาการลงทุน ระดับผลตอบแทนที่ ต้องการและตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีค่าธรรมเนียม การลงทุนที่ต่ ากว่า การให้ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงาน 3. กลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ และเงินทุน (Lending & Financing) มีการให้บริการในหลายรูปแบบ ได้แก่ Crowd Funding เป็นการระดมทุนจากมวลชนผ่าน เว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส าหรับผู้ที่มี แนวคิดสร้างสรรค์ หรือริเริ่มโครงการเพื่อสังคมส่วนรวมแต่ไม่มี เงินทุนในการดำเนินการ โดยการระดมทุนของ Crowd Funding มีหลายรูปแบบ โดยผู้ลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งจากการ ขายเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือเป็นรายได้ในรูปของอัตรา ดอกเบี้ย

P2P (Peer-to-Peer) Lending เป็นการให้กู้ยืมเงิน ระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม โดยไม่ต้อง ผ่านตัวกลางทางการเงิน เช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงิน แต่ ระบบจะสามารถเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ให้กู้กับผู้กู้เงินโดยตรง โดยมี แพลตฟอร์มกลางที่เป็นผู้ให้คะแนนเครดิตของแต่ละคน Marketplace Lending เป็นการสนับสนุนเงินลงทุน ระยะสั้นเพื่อปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจที่ต้องการเงินทุน หมุนเวียนโดย เฉพาะกลุ่ม SMEs ที่อยู่ใน Platform ของผู้ให้บริการ เช่น Amazon และ Alibaba โดยผู้ ให้บริการมีการคิดค้นและ พัฒนา Credit Scoring Model เป็นของตัวเอง และมีการน า ข้อมูลผู้ซื้อผู้ขายใน ตลาดของตัวเองมาใช้ประเมินความเสี่ยงใน การผิดนัดช าระหนี้ รวมทั้งน าข้อมูลความนิยมสินค้าและระดับ สินค้าคงคลังของผู้ขายมาใช้ประเมินอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้ ระยะสั้น 3-6 เดือน

ธุรกรรมการเงินดิจิทัลพร้อมเพย์ ประโยชน์ของพร้อมเพย์ จุดเด่นคือ ค่าธรรมเนียมการโอน เงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์จะถูกกว่าอัตราที่ถูก เรียกเก็บกันอยู่ โดย การโอนเงินปกติ ไม่ว่าจะเป็นการโอนผ่านช่องทางไหน ธนาคาร พาณิชย์ จะคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขตและข้ามธนาคาร อัตราค่าธรรมเนียม อยู่ที่ 25–35 บาทต่อครั้ง

Thank you


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook