Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการใช้งานมิกเซอร์ (MIXER) "ให้เป็นมือโปร"

คู่มือการใช้งานมิกเซอร์ (MIXER) "ให้เป็นมือโปร"

Published by rock.ladchid, 2021-09-16 07:42:23

Description: หนังสือคู่มือการใช้งานมิกเซอร์ (MIXER)
"ให้เป็นมือโปร" เล่มนี้จัดทำเพื่อช้เป็นสื่อในการเรียนในรายวิชา 468-205 operation and maintenance of
audio-visual equipment (การใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีการศึกษา)

Search

Read the Text Version

วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร คู่มือการใช้งานมิกเซอร์ (MIXER) \"ให้เป็นมือโปร\" ณัฐดนัย สำราญใ จ 630610503

สารบัญ 3 บทนำ 4 ทำความรู้จักกับมิกเซอร์ (mixer) ส่วนประกอบของมิกเซอร์ (mixer) 5 การใช้งานเบื้องต้นมิกเซอร์ (mixer) 6 ภาคการใช้งานช่องสัญญาณขาเข้า (input) Mic / Line 7 ภาคการปรับปุ่มต่างๆ 8 phantom+48 Gain Phase Pad 9 การตั้งค่า Gain 10 Equalizing การปรับแต่งเสียง EQ bypass 11 การควบคุมเสียง 12 Auxiliary (Aux) Auxiliary send Masters High Pass-Filter(HPF) 13 Solo-Mute 14 15 ภาคการใช้งานช่องสัญญาณขาออก 16 (output) 18 19 Direct Output Master Fader Output Fader Pre-Post แจ็คที่ใช้งานประเภทต่างๆ แบบบาล๊านซ์ แบบอันบาล๊านซ์ ปลั๊กแจ็ค (Connector) ที่นิยมใช้งานในระบบเสียงในปัจจุบัน ข้อควรระวังในการใช้งานและคำแนะนำความปลอดภัย แหล่งอ้างอิง

บทนำ ทำความรู้จักกับมิกเซอร์ (mixer) ก่อนจะไปถึง วิธีใช้มิกเซอร์ ตั้งค่ามิกเซอร์ เครื่องผสมสัญญาณเสียง สอนวิธีใช้มิกเซอร์ ขอเกริ่นก่อนว่า มิกเซอร์ หรืออุปกรณ์ผสมเสียง ท่านที่ทำงานด้านระบบเสียงอาจจะรู้จัก และคุ้นหน้า คุ้นตา เจ้าตัวอุปกรณ์ที่เรียกว่า “มิกเซอร์” นี้ดีอยู่แล้ว แต่บางท่านที่ไม่คุ้นหน้า หรือเป็นมือใหม่ทางด้านเครื่องเสียง อาจจะยังสงสัยว่า ไอ้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้มันมีหน้าที่อะไร ทำไมปุ่มกด ปุ่มหมุน มันเต็มไปหมดเลย ชวนให้เราสงสัยว่าแต่ละปุ่มแต่ละตำแหน่งมันทำหน้าที่ อะไรบ้าง ดังนั้น จึงขอพาท่านให้รู้จักกับมิกเซอร์ และการทำงานของปุ่มต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น มิกเซอร์คืออะไร? มิกเซอร์ก็คืออุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเสียงจาก ไมโครโฟน เครื่องดนตรีต่างๆหรือ ซอสเสียงจากแหล่งกำเหนิดเสียงเช่น เครื่องเล่น CD MP3 NOTEBOOK เป็นต้น ก็สามารถมาอินพุ ทเข้ามาในมิกเซอร์เพื่อทำการปรับแต่งเสียงผสม สัญญาณเสียงให้มีความเหมาะสม และส่งสัญญาณเสียงออกไปหาอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่อง ขยายเสียงเป็นต้น

ส่วนประกอบของมิกเซอร์ (MIXER) 1.XLR Jack 9.Master faders 2.PAD Switch 10.Group Switch 3.GAIN Knobs 11.Monitor Knobs 4. Equalizer 12.Level Meter 5. AUX 13.Effect Program 6.Chanel Switch on/off 14.Monitor Out Jack 7.Chanel Faders 15.Stereo Output XLR Jacks 8.Group Faders 16.Group Output phones jack เครดิต:คณะทํางานโครงการการศึกษาทางไกลแบบส่ือสารสองทาง สทร. สพฐ.

ภาคการใช้งานช่องสัญญาณขาเข้า (Input) Mic / Line Mic/Line Input เป็นช่องที่รับสัญญาณอินพุ ท (Input) จากแหล่งต้นเกิดเสียงชนิดต่างๆ (Source) เช่น ไมโครโฟน อุปกรณ์เครื่องดนตรี เครื่องเล่นเพลเยอร์ชนิดต่างๆ มาเสียบอินพุ ทเข้าส่วน แจ็คมีทั้งแบบ XLR, Phone TRS /TS, RCA, Mini Jack 3.5 MM. และในแบบ Combo Jack ซึ่ง สามารถเสียบใช้งานได้ทั้งในแบบ XLR และ Phone TRS /TS ในช่องเดียวกัน การใช้งานก็ขึ้นอยู่กับ ระดับความแรงสัญญาณที่ป้อนเข้าสู่มิกเซอร์ เช่น ช่องสัญญาณไมโครโฟนมีความแรงอยู่ที่ +4 dB u และสัญญาณแบบไลน์มีความแรงอยู่ที่ -10 dB v และ ไม่ควรเสียบใช้งานไมโครโฟน ที่ช่อง Line Input(เพราะจะทำให้เสียงไมค์เบามาก) ควรเสียบใช้งานที่ช่อง Mic Input เป็นต้น การใช้งานช่องสัญญาณด้านขาเข้า (Input) ไมโครโฟนแบบมีสาย Dynamic Microphone ในที่นี้ ใช้ได้ Chanel 5-6 ซึ่งสามารถใช้ได้กับเเจ๊คแบบ XLR และ Phone แนะนําให้ใช้แบบ XLR ความแรง ของสัญญาณและความไวในการรับสญณาณจะดีกว่าเนืองจากสัญญาณไมโครโฟนไม่มีภาคขยายมา ก่อน (ควรตั้งค่า Gain ก่อน การใช้งาน) ไมโครโฟนแบบไร้สาย Wireless Microphone ในที่นี้ให้ใช้ใน Chanel 7-8 แบบสเตอร์ริโอ Phone Jack ซึ่งช่องสัญญาณมีสถานะแบบ LINE หมายถึงช่องสัญญาณที่รับสัญญาณที่ ผ่านการ ขยายมาระดบหนึ่งแล้ว (เครื่อง Wireless receiver มีภาคขยาย) สัญญาณ Line OUT จากคอมพิวเตอร์ ในที่นี้ยกตัวอย่างเข้าที่ Chanel 9-10 มีสถานการณ์รับ สัญญาณเป็นแบบ Line ใช้ได้ทั้งแบบ Phone jack และ RCA jack Mic Xlr Line Out Phone Jack Wireless receiver RCA jack เครดิต:คณะทํางานโครงการการศึกษาทางไกลแบบส่ือสารสองทาง สทร. สพฐ.

ภาคการปรับในปุ่มต่างๆ (Knobs /Switch) Phantom +48V (แฟนทอม) ปุ่มนี้ทำหน้าที่จ่ายไฟให้ กับไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser) เช่นไมค์จ่อไฮแฮดกลอง และอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ ไฟเลี้ยง เช่น กล่องดีไอบ๊อกซ์ (DI Box) ชนิดแอคทีฟ (Active) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ DC ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 V (โวลต์) ในดิจิตอลมิกเซอร์ และในอนาล็อกมิกเซอร์บางรุ่นจะแยกปล่อยไฟ ได้อิสระในแต่ละช่องสัญญาณ หรือบางรุ่นอาจจะเป็นปุ่มเดียวแล้ว ปล่อยไฟ 48 โวลต์ ไปให้ทุกช่องสัญญาณแล้วแต่การออกแบบ และดีไซน์ครับ Gain ทำหน้าที่ปรับระดับอัตราการขยาย ความแรงของสัญญาณขาเข้าของมิก เซอร์ ว่าต้องการให้มีระดับ ความแรงที่ เท่าไหร่ ซึ่งในมิกเซอร์บางรุ่น จะใช้ชื่อ เรียกว่าปุ่มทริม (Trim) และ มิกเซอร์ บางตัวจะมีปุ่มเกน (Gain)การปรับเกน บนมิกเซอร์ถือว่าสำคัญมาก เราควรปรับให้อยู่ในระดับความแรงของสัญญาณที่เหมาะสมอย่างที่สุด เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงทีดี และมีคุณภาพ Phase ทำหน้าที่ในการปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้อง ที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายสัญญาณผิดพลาดหรือสลับ ขั้ว หรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟสกัน (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืน สัญญาณอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งในบางครั้งเราสามารถสังเกตุได้จากการฟังเสียงว่ามีเสียงในบางย่าน ความถี่หายไป หรือ เบาลงหรือไม่ ซึ่งเราสามารถลองกดปุ่มนี้ได้เลย โดยไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ใดๆ Pad ปุ่มนี้สามารถลดทอน ความแรงของสัญญาณที่ เข้ามา โดยส่วนมากจะลดระดับความแรงลงอีก –20dB (หรือตามที่มิกเซอร์ระบุ) โดยปกติแล้วปุ่มนี้เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ สัญญาณที่เข้ามานั้นมีความแรงจนเกินกว่าที่ช่องสัญญาณ ขาเข้าจะรับได้ เพื่อรักษาระดับ ก่อนสัญญาณเข้าสู่ขาเข้า (Gain) ในระบบ มิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (Microphone Attenuation) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกัน

การตั้งค่า (Gain) การตั้งค่า (Gain) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สดุ ในการใช้งานเครื่องมิกเซอร์ หากตั้ง เกณฑ์ไม่ ถูกต้องจะทําให้เสียงที่ออกมาเกิดการสะท้อนเกิดการหอนฟีดแบ็ค (Feedback)หรือเสียงแตกทําให้มี ผลต่อการรับฟังซึ่งมีวิธีและขั้นตอนการตั้งค่าดั้งนี้ 1 เสียบไมโครโฟน หรือต่อสญัญาณเข้าที่ช่องอินพุ ทของมิกเซอร์ XLR Jack จากแหล่งภายนอก 2 เลือนตัว ChanelFaders ขึ้น ไปให้อยู่ ตำแหน่ง 0ที่สเกล 3 กดปุ่ม Chanel Switch ให้ไฟติด และกดป่มุ PFL ให้อยู่ตำแหน่ง on (กดลง) 4 ปรับ Volume Gain Knobs ลงมาที่ ตําแหน่ง 0 5 พู ดที่ไมโครโฟน หรือเปิดแหล่ง เสียงจากภายนอก พร้อมกับค่อยๆปรับเร่ง Volume Gain Knobs ขึ้น 6 ขณะปรับให้สังเกตไฟ ที่ Level Meterต้องวิ่งขึ้นไปที่ ไม่เกิน +3 เป็นช่วงที่ดีที่สุด ถือว่าการตั้ง ค่าเสร็จ 7 จากนั้นเลื่อนChanelFaders ลง เพื่อควบคุมความแรงของสัญญาณช่องนี้ตามความ เหมาะสม 8 กดปุ่ม STสีแดงon(กดลง) เพื่อให้เสียงเฉพาะChanelนี้ผ่านออกไปยัง Masterfaders(9) ออกไปยังช่อง Stereo Output XLR Jacks ส่งไปยัง power amp/ลําโพงภายในห้องเรียน 9 โดยทั่วไปการปรับตั้งค่าเกณฑ์นี้ตําแหน่ง Volume Gain Knobs จะอยู่ที่10-11นาฬิ กาแต่ไม่เกิน 12นาฬิ กายกเว้นสญัญาณไมโครโฟนที่ออ่นมากจึงปรับเร่ง Gain ขึ้นตามความเหมาะสม 10 ถ้าสัญญาณจากภายนอกแรงเกินไป ปรับลดเกณฑ์ไม่ลงให้กดปุ่ม PAD Switch เพื่อช่วยลด ความแรงสัญญาณจากภายนอกลงอีกระดับหนึ่ง ก่อนจึงปรับตั้ง Gain 11 กดปุ่ม PFL ให้อยู่ตำแหน่ง off(กดขึ้น) เพื่อปิดการใช้ LevelMeter ของช่องนี้ 12 การตั้งระดับ GAIN ของช่องสญัญาณ ต้องทําขั้นตอน ที่ 1-11 ทกุๆ ช่องที่ใช้งาน 1 4 และ 5 6 3 8 3 2

Equalizing อีควอไลเซอร์ หรือบางท่านเรียกว่า อีคิว จะมีหน้าที่ในการปรับแต่งแต่งเสียง ปรับโทนเสียงของ แต่ละช่องสัญญาณ ที่เราต้องการปรับบนมิกเซอร์ โดยส่วนมากบน อนาล็อกมิกเซอร์จะมีให้เลือกปรับ 3 Band สามารถปรับเสียง (ทุ้ม-กลาง-แหลม) แต่ก็มีมิกเซอร์รุ่นขนาดใหญ่ๆ ที่สามารถเลือกย่าน ความถี่เสียงในการปรับได้เช่นกัน ส่วนดิจิตอลมิกเซอร์ จะมีให้เลือกปรับทั้งในแบบพาราเมติกอีคิว และ กราฟฟิกอีคิว ภายในตัว ซึ่งสามารถปรับได้โดยละเอียด ทั้งการปรับค่าความถี่ (Frequency) การปรับความกว้างของช่วงความถี่เสียง Bandwidth (Q) และการปรับเกน (Gain) ดัง-เบาของ แต่ละความถี่เสียง ซึ่งเราสามารถเลือกปรับได้อย่างอิสระ และหลากหลายเพิ่มความสะดวกสบายในการ ปรับแต่งเสียงเป็นอย่างยิ่ง การปรับแต่งเสียง 1 ใช้Volume Equalizer เป็นตัวปรับแต่ง โดยทั่วไปจะตั้ง ความถี่ไว้ที่12นาฬิ กาที่ลูกศรชี้แต่อาจจะมีการปรับลดหรือเพิ่มได้ บ้างตาม สภาพเสียงของครูผู้สอน 2 HIGH หมายถึงเพิ่มลดเสียงแหลม ในกรณีเปิดเพลง หรือ เสียงประกอบ 3 MID หมายถงึ เพิ่มลด เสยี งกลาง เสียงคนพู ดหรือเสียง นักร้อง 4 LOW หมายถึง เพิ่มลดเสียงทุ้ม เสียงกลอง เสียงเบส EQ Bypass ปุ่มปิดหรือเปิด ในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ เพื่อเปรียบเทียบ การใช้อีคิวและไม่ใช้ว่าสัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิว และหลังใช้จะ เป็นอย่างไร เพื่อให้ง่ายต่อการปรับแต่ง และเปรียบเทียบให้เห็น ความแตกต่างของคุณภาพของเสียง ทั้งก่อนและหลังใช้อีคิว นั่นเอง โดยปุ่มคำสั่งใช้งานนี้ มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการ ปรับแต่งเสียง การควบคุมเสียง Sound Control การควบคุมเสียงแต่ละช่องสญัญาณสามารถปิด-เปิด ได้อิสระในแต่ละช่องโดยใช้ปุ่ม Chanel Switch ของแต่ละช่องสถานะOn คือไฟจะติดที่ปุ่มถ้า Off ไฟดับ เมื่อตั้งระดับเสียงไว้คงที่แล้วควรหลีกเลี่ยงการใช้ Volume Chanel Faders ปรับขึ้นลงเพราะ ระดับเสียงจะเปลี่ยนไปใช้ Chanel Switch ควบคุมแทนเช่นปิดไมค์เสียงเพลงหรือเสียงจากแหล่ง ภายนอกอื่นๆ เป็นต้น หรือตอนปิดเครื่องเลิกงานปิดสวิทช์ที่ Master Faders และ Group Faders เพียง2ตัว ไม่ต้องไปปิดหรือปรับลดค่าตัวอื่นๆ

การเพิ่มลดระดับเสียงของแต่ละช่องให้ใช้ Volume Chanel Faders แทนการปรับGain เพราะจะทําให้คณุภาพเสียงที่ตั้งไว้ เสียไปต้องกลับไปตั้งค่าใหม่ ถ้าต้องการเพิ่ มลดเสียงในห้องเรียนพร้อมกันทุกช่องเท่าๆกัน ให้ใช้Master faders ในการปรับ เพิ่มลดเสียงความดังภายใน ห้องเรียนให้เหมาะสมกับจํานวนผู้เรียนถ้าเร่งดังเกินไปอาจจะ เกิดการหอน ฟีดแบ็ค(Feedback)ขึ้นในระบบ ถ้าต้องการเพิ่มลดเสียงที่ส่งไปปลายทาง (On Air) ให้ใช้ Volume Group Faders ซึ่งจะทําหน้าที่ควบคุมความแรงของ สัญญาณ Group ที่ได้กดป่มุ Group Switch (กดลง) ของแต่ล่ะช่องสัญญาณให้มาเข้า Group Faders ส่งออกที่ช่อง Group Output phones jack เชื่อมต่อไปยังช่อง Line in ของคอมพิวเตอร์ ระบบ Scopia Desktop หลีกเลี่ยงการใช้ Effect Program (ปุ่มสีขาว) ควรปรับให้อยู่ที่ตำแหน่ง 0 การปรับระดับสัญญาณของ Group Faders ต้องมีความ สัมพันธ์กับ Volume line in ของ คอมพิวเตอร์หากเร่ง Group Faders มากไปเสียงจะแตกแต่ถ้าน้อยไปปลายทางจะเสียงเบา Auxiliary (Aux) Auxiliary เรียกย่อๆว่า อ๊อกเซนด์ (Aux send) ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณที่เข้ามาใน แต่ล่ะช่องเสียง เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่างๆ หรือแหล่งรับสัญญาณอื่นๆ ตามที่เราต้องการ โดยส่วนมากจะส่งสัญญาณช่องนี้ไปยังมอนิเตอร์หน้าเวที และส่งออกไปเพื่อต่อ ใช้งานกับเอฟเฟคภายนอก เช่นเอฟเฟคเสียงร้องเป็นต้น อ๊อกเซนด์ (Aux send) จะมีมาสเตอร์อ๊ อก (Master Aux) ซึ่งควบคุมความแรงของสัญญาณอ๊อกทั้งหมด ในทุกช่องเสียงบนมิกเซอร์ อีกต่อหนึ่ง Auxiliary Send Masters auxiliary send masters ทำหน้าที่ควบคุมความดัง-เบาของสัญญาณทั้งหมด ที่มาจาก aux จากแต่ล่ะช่องเสียงในมิกเซอร์ หากเราปิด Aux Send Master ถึงแม้เราจะส่งสัญญาณจาก Aux ในแต่ละ Channel ก็จะไม่มีผล ในทางตรงกันข้ามหากเราเพิ่มระดับความแรงของ Aux Send Master ความแรงของสัญญาณจาก Aux ในแต่ล่ะช่องเสียงบนมิกเซอร์ก็จะดังทั้งหมด โดยส่วนมากจะใช้เป็นตัวควบคุมระดับเสียงดัง-เบา ที่ส่งสัญญาณออกไปยังมอนิเตอร์ทั้งหมด

High Pass-Filter(HPF) high pass-filter มีความสามารถในการกรอง ย่านความถี่ต่ำ ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อไม่ให้ผ่านไป ได้ แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ เช่น เราตั้งความถี่ ไว้ที่ 100 Hz สัญญาณที่มากกว่า 100 Hz จะ สามารถผ่านไปได้โดยสะดวก แต่สัญญาณที่ต่ำกว่า 100 Hz จะไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งในมิกเซอร์บางรุ่นจะ ใช้คำว่า “Low Cut” (คัดเสียงต่ำทิ้ง) โดยส่วนมากจะ ใช้กับไมโครโฟนในงานร้อง และพู ด เป็นต้น Solo Mute ปุ่มนี้สามารถกดเพื่ อเช็คสัญญาณเสียงที่ ปุ่ม Mute เมื่อกดปุ่มนี้ลงก็จะทำหน้าที่หยุด เข้ามาได้อย่างอิสระเราสามารถรู้ด้วยว่า การทำงานของแต่ละชาแนลชั่วคราว สัญญาณที่เข้ามาน้อยหรือแรงเพียงใด ซึ่งเรา สามารถตรวจสอบความผิดปกติของสัญญาณ ขาเข้า เช่น เสียงจี่ เสียงฮัม Noise ที่เข้ามาร บกวนของแต่ละช่องได้ ด้วยเฮดหรือหูฟัง Mute Group Insert เป็นปุ่มสำหรับปิด-และเปิดการทำงานหลายๆ เป็นช่องที่เป็น อินและเอาท์ในช่องเดียว ช่องนี้ ช่องสัญญาณพร้อมกันเป็นกลุ่มการใช้งาน มีไว้สำหรับสำหรับต่อการใช้งานกับอุปกรณ์เครื่อง จะต้องตั้งค่าให้แต่ละช่องสัญญาณที่เราต้องการ เสียงต่างๆเช่น EQ, Compressor, effect และ Mute ให้อยู่ใน Group เดียวกันเสียก่อน เช่น Processer ต่างๆ เป็นต้น เพื่อปรับแต่งเสียงเฉ การตั้งค่า Mute Group ของกลุ่มกลองชุด พาะชาแนลนั่นเองซึ่งแจ็คที่ใช้งานในช่องนี้จะเป็น เราสามารถกดปุ่มเดียวแล้วทำให้ช่องสัญญาณ แจ็ค TRS Phone ¼’’ ของกลุ่มกลองชุดที่ตั้งค่าไว้ทั้งหมดปิด (Mute) พร้อมกัน และสามารถเปิดใช้งานพร้อมกันได้ ทั้งหมดนั่นเอง ซึ่งทำให้สะดวกโดยไม่ต้องคอย กดปุ่ม (Mute) ทีละช่องให้เสียเวลานั่นเอง

ภาคการใช้งานช่องสัญญาณขาออก (output) สัญญาณด้านขาออกจากช่อง Monitor Out ของมิกเซอร์ส่งไปยังเครื่องบันทึกหรือลำโพง (Media station) เพื่อใช้ในการบันทึกหรือกระจายเสียงเสียงโดยมี Volume Monitor out ควบคุมความแรงของสัญญาณส่งไปเครื่องบันทึกต้องปรับค่าอัตราส่วนอย่างเหมาะสมถ้าเร่งมาก ไปเสียงจะแตกแต่ถ้าเร่งสัญญาณน้อยไปเสียงในคลิบหรือลำโพงจะเบา สัญญาณ Stereo Output ส่งไปยัง Power amp/ลําโพง เสียงภายในห้อง ควบคุมด้วย Master Fader สัญญาณด้านขาออกจาก Group OUT ส่ง ไปยัง line inของคอมพิวเตอร์เข้า ระบบ Scopia Desk top ส่งไปยังสถานีปลายทางควบคุม ด้วย Group Faders Direct Output Direct output ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่าน ปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสดๆ นี้ไปพ่วง กับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง (Effects) หรือเครื่องบันทึกเสียงได้ โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์ที่ต้องการ

Master Fader Stereo master fader (สเตอริมาสเตอร์โอเฟดเดอร์) มีอยู่สองลักษณะ คือแบบ สไลด์โวลุ่ม (Slide Volume) และแบบหมุน (โรตาลี่) ทำหน้าที่เป็นตัว ปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ ก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือ ชนิดต่างๆ Group Output Faders Group or buss output faders บางที่เรียกว่า กรุ๊ปเฟดเดอร์ (Subgroup Faders) ทำหน้าที่ควบคุมการ ส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ป หรือบัสอินพุ ตเฟดเดอร์ (Buss Input Fader) โดยจะแยกเป็น สเตอริโอ ซึ่งมีแพน (Pan) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้าย หรือขวาเพื่อผลของ การมิกซ์เสียง (Mix down) หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ Pre (ปรี) หมายถึงก่อนเฟดเดอร์ สัญญาณที่เข้ามา ในแต่ละช่องเสียงของมิกเซอร์สามารถปรับลด หรือเพิ่ มความดังเสียงได้โดยไม่ผ่านเฟดเดอร์ ของมิกเซอร์ Post โพสต์ หมายถึงหลังเฟดเดอร์ สัญญาณที่เข้ามาใน แต่ละช่องเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดัง-เบาตาม เฟดเดอร์หลัก เมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณ ที่เข้ามาก็จะลดลงตามไปด้วย

แจ๊คที่ใช้งานประเภทต่างๆ ภายในระบบเสียงของเรา นอกจากจะมีอุปกรณ์ด้านระบบเสียงประเภทต่างๆ ที่ต้องการใช้งานร่วม กันภายในระบบแล้ว สายสัญญาณประเภทต่างๆ เช่น สายนำสัญญาณ และสายลำโพงก็มีความสำคัญ ไม่แพ้กัน หากขาดอุปกรณ์ชนิดนี้ นั่นหมายความว่าคุณจะไม่สามารถใช้งานชุดเครื่องเสียง และทำการ แสดง หรือเริ่มงานได้เลยนั่นเพราะสายนำสัญญาณ และสายลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำ สัญญาณ ในการต่อพ่วงกันของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้นั่นเอง สายสัญญาณในแบบต่างๆ สายสัญญาณแบบอนาล็อก สายแบบบาล๊านซ์ (Balanced) แบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced) ปลั๊กแจ็คชนิด XLR ปลั๊กแจ็คหัวแบบ PHONE 6.3 MM TRS/TS ปลั๊กแจ็คแบบ RCA ปลั๊กแจ็คในแบบ MINI JACK 3.5 MM. TS/TRS มารู้จัก…สายลำโพง หัวแบบ Speakon หัวแบบ BANANA PLUG หัวแบบเปลือย (Bare-Wire) หัวแบบ PHONE 6.3 MM. TS สายสัญญาณแบบดิจิตอล สาย MIDI สาย USB สาย Optical สายสัญญาณที่ใช้ในระบบเสียง PA นั้น มีทั้งสายไมโครโฟน, สายแจ็คเครื่อง ดนตรี (กีตาร์,คีย์บอร์ด), สาย Line สำหรับงานติดตั้ง, และสายลำโพงด้วย งานของระบบ PA ที่ดี จึงต้องการคุณภาพเสียงที่ดี มีความชัดเจนของเสียง มี ความสะอาดของเสียง และเสียงรบกวนน้อยที่สุด เครดิต:https://www.sounddd.shop/สายสัญญาณประเภทต่างๆ/

ประเภทของสายสัญญาณในระบบเสียง ในปัจจุบัน “สายสัญญาณ” ในระบบเสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือแบบบาล๊านซ์ (Balanced) และแบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced) สายสัญญาณแบบอนาล็อก 1.แบบบาล๊านซ์ (Balanced) มีการใช้สายสัญญาณในการนำทางสัญญาณถึงสามเส้นด้วยกัน ได้แก่ ขั้วบวก ขั้วลบ และ ขั้วดิน (Sleeve) ด้วยระดับความแรงสัญญาณอยู่ที่ +4dBu ทำให้ได้กระแสสัญญาณในการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถใช้สายสัญญาณในระยะทาง ที่เพิ่มขึ้น โดยลดการสูญเสียสัญญาณที่มาจากความต้านทาน (Impedanced) ที่อยู่ในเครื่อง มือ หรือสายสัญญาณลงไปได้มาก \"จึงมีผลทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ชัดเจน เสียง รบกวนต่างๆ ตํ่าลง มีมิติชัดเจน แม่นยำขึ้น ย่านความถี่สมบูรณ์มากขึ้น\" ด้วยคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้ ส่งผลให้การทำงานของระบบเสียง PA ที่มีการใช้สายสัญญาณที่ ยาวหลายสิบเมตร และต้องมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องมือจำนวนมากนั้น สามารถลดปัญหาใน เรื่องของความต้านทาน (Impedanced) ออกไปได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ คุณภาพเสียงที่ดี มีความชัดเจนของเสียง มีความสะอาดของ เสียง และเสียงรบกวนต่างๆ น้อยที่สุด.. ถึงแม้ระยะทางในการเชื่อมต่อจะไกลมากก็ตาม หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณแบบบาล๊านซ์ (Balanced) ได้แก่ Phone Jack หรือ 1/4″ แบบ stereo เรียกว่า TRS (Tip-Ring-Sleeve) และ หัวขั้วแบบ XLR เป็นต้น

2.แบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced) เป็นการเชื่อมต่อสัญญาณในยุคแรกๆ ที่นิยมอย่างมาก และนิยมในหมู่ผู้ใช้เครื่องเสียงบ้าน หรือระบบ Hi-Fi นั่นเอง โดยมีการใช้สายสัญญาณแบบสองเส้นเท่านั้น ได้แก่ ขั้วบวก (Tip) และ ขั้วดิน(Sleeve) ด้วยระดับความแรงของสัญญาณอยู่ที่ -10dBv \"จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานเดินสาย สัญญาณที่มีความยาวหลายสิบเมตร\" ความยาวเพี ยงสามสี่เมตรก็ส่งผลต่อความสูญเสียที่เกิดจากความต้านทาน (Impedanced) จากความยาวของสายสัญญาณไปแล้ว จึงเหมาะสำหรับงานที่ต่อสายสั้นๆ ไม่ ยาว อย่างเช่นเครื่องเสียงภายในบ้าน หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณแบบอันบาล๊านซ์ (unbalanced) ได้แก่ Phone Jack หรือ 1/4″ แบบ mono เรียกว่า TS (Tip-sleeve) และ หัวขั้วแบบ RCA เป็นต้น และนอกจากสายนำสัญญาณ ประเภทต่างๆ ที่มีผลต่อระบบเสียงโดยตรงแล้ว ปลั๊กแจ็ค (Connector) ชนิดต่างๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ปลั๊กแจ็ค (Connector) ที่นิยมใช้งาน ในระบบเสียงในปัจจุบัน 1. ปลั๊กแจ็คชนิด XLR ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ จะเป็นปลั๊กแจ็คชนิดสามขา ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย โดยจะมีลักษณะ มีขานำ สัญญาณทั้งหมด 3 ขั้ว (ขาที่ 2 + และ ขาที่ 3 -) และอีก 1 ขา (นั่นคือขาที่ 1 ) จะเป็นขั้วดิน (Sleeve) สัญญาณจึงอยู่ในรูปแบบของ Balanced นั่นเอง นิยมใช้งานกันในระดับมืออาชีพ และงานที่ต้องการคุณภาพสูง และต้องการเดินสายสัญญาณในระยะที่ยาว 2. ปลั๊กแจ็คหัวแบบ PHONE 6.3 MM TRS/TS ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ จะมีทั้งในแบบ Balanced นั่นคือ มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 3 ขั้ว นั่นคือ TIP + กับ ขั้ว RING – และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 2 ขีดนั่นเอง) และในแบบ Unbalanced มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 2 ขั้ว นั่นคือ มีขั้ว TIP + 1 ขั้ว และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 1 ขีดนั่นเอง) ปลั๊กชนิดนี้จะนิยมใช้ในงานแทบทุกประเภท ทั้งเดินสายภายใน ระบบเสียง และสายประเภทอุปกรณ์เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เช่น กีต้าร์, เบส, คีย์บอร์ดเป็นต้น

3.ปลั๊กแจ็คแบบ RCA ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ เป็นสัญญาณในรูปแบบ Unbalanced มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 2 ขั้ว นำ สัญญาณขั้วบวก (Tip) 1 ขั้ว และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว เป็นปลั๊กแจ็คที่นิยมพบเห็นได้ทั่วไป และพบได้ง่ายที่สุด โดยส่วนมากจะพบเห็นในรูปแบบสีขาว และสีแดง ซึ่งส่งสัญญาณข้างซ้าย และ ข้างขวาในแบบสเตอริโอ (Stereo) พบเห็นได้กับการใช้งานกับเครื่องเล่น ซีดี ดีวีดี เครื่อง เสียงบ้านทั่วไป เป็นต้น 4.ปลั๊กแจ็คในแบบ MINI JACK 3.5 MM. TS/TRS ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ บางท่านเรียก “แจ็คหูฟัง” มีขนาด 3.5 MM. หัวแจ็คที่นิยมใช้ในระบบเสียง มีทั้งในแบบ Balanced และ Unbalanced ซึ่งหลักการทำงานจะเหมือนปลั๊กแจ๊คชนิด PHONE 6.3 MM TRS/TS Balanced แต่มีขนาดที่เล็กลงมา มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 3 ขั้ว นั่นคือ TIP + กับ ขั้ว RING – และมีขั้ว (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 2 ขีดนั่นเอง)และในแบบ Unbalanced มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 2 ขั้ว นั่นคือ มีขั้ว TIP + 1 ขั้ว และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 1 ขีดนั่นเอง) โดยส่วนมากจะใช้กับอุปกรณ์ Audio Source ที่ต้องการต่อ เข้ากับมิกเซอร์ เช่น โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้งาน Mixer 1.ผลิตภัณฑ์นี้ควรเชื่อมต่อกับเต้าเสียบไฟฟ้าชนิดมีขั้วต่อสายดิน 2.อย่าดัดแปลงแก้ไขระบบหรืออุปกรณ์เสริมโดยไม่ใช่ช่างที่ผ่านการอบรมจากบริษัท 3.อย่าวางแหล่งกำเนิดเปลวไฟใดๆ (เช่นเทียนไข) ในหรือใกล้กับอุปกรณ์ความร้อนอื่นๆ . 4.ผลิตภัณฑ์นี้ออกแบบเพื่อใช้ในที่ร่มหรือกลางแจ้งที่ไม่โดนละอองน้ำ คำแนะนำด้านความปลอดภัย 1.โปรดอ่านและทําตามคําแนะนําในคู่มือ 2.ทําตามคําแนะนําของผู้ผลิตสําหรับการติดตั้ง 3.ใช้เฉพาะอุปกรณ์/ อุปกรณ์เสริมที่ระบุโดยผู้ผลิต 4.เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองหรือไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานโปรดตัดแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์นี้ 5.อย่าใหว้ตัถุหรือของเหลวเข้าไปในผลิตภัณฑ์อาจเกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรทําให้เกิดไฟ ไหม้หรือไฟฟ้าช็อต 6.อย่าปิดกั้นช่องระบายอากาศและควรติดต้งัตามคาแนะนําของผู้ผลิต 7.อย่าติดตั้งอุปกรณ์ใกล้แหล่งความร้อน เช่นเตาไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สร้างความร้อน 8.ควรมีระบบสายดินที่ขั้วไฟฟ้าและควรตรวจสอบสายดิน 9.ส่งเครื่องให้ศูนย์บริการหากเกิดอาการผิดปกติของเครื่องอย่าดําเนินการซ่อมเอง

อ้างอิง ขอมูลและเนื้อหาภายใน E-Book นี้ขอขอบคุณขอมูลจาก เพจ:https://www.sounddd.shop/how-to-use-mixer/ และ สํานักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน http://www.sea12.go.th/ict/images/stories/dl2way/Yamaha%20MG-12XU- TH.pdf

วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชา 468 205 OPERATION AND MAINTENANCE OF AUDIO-VISUAL EQUIPMENT ก า ร ใ ช้ แ ล ะ ก า ร บำ รุ ง รั ก ษ า อุ ป ก ร ณ์ ท า ง เ ท ค โ น โ ล ยี ก า ร ศึ ก ษ า ณัฐดนัย สำราญใ จ 630610503


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook