วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การเขียน บรรยายและ พรรณนา คุณครูภทรพร มินาริน
การเขียน บรรยาย คือ การเล่าเรื่องหรืออธิบาย เรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนจะมีความชัดเจน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่ สาระสำคัญ ไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม
หลักการเขียน บรรยาย 1. เลือกเรื่องที่จะเขียนตามที่ตนเองถนั ด หรือมีความรู้ในเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี หรือค้นคว้าให้ละเอียดเพื่อนำมาเขียน 2. เขียนเฉพาะสาระสำคัญ รายละเอียด ไม่จำเป็นต้องเน้ น นำเสนอแบบตรงไป ตรงมา
หลักการเขียน บรรยาย 3. ใช้ภาษาให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย บางครั้ง ถ้าอธิบายได้ยาก อาจใช้อุปมาโวหาร และ สาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง 4. การเรียบเรียงความต้องสละสลวย ต่อเนื่ อง สัมพันธ์กัน
ตัวอย่าง การเขียนบรรยาย “ช้างยกขาหน้ าให้ควาญเหยียบขึ้นนั่ ง บนคอ ตัวมันสูงใหญ่ ใบหูไหวพะเยิบ หญิงบนเรือนลงบันไดมาข้างล่าง เธอชูแขนยื่นผ้าขาวม้าและข้าวห่อใบตอง ขึ้นมาให้เขา”
ตัวอย่าง การเขียนบรรยาย “ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศั กดิ์สิ ทธิ์ที่สุด ในประเทศญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษแล้ว แต่แรกภูเขานี้ เป็นที่เคารพบูชาของ ชนพื้นเมืองเผ่าไอนุ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ตาม หมู่เกาะฮอกไกโด”
การเขียน พรรณนา คือ กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด สอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไป เพื่อโน้ มน้ าวใจ ให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม
หลักการเขียน พรรณนา 1. ต้องเลือกสรรถ้อยคำที่ไพเราะ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์ได้ 2. ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้ อหา ที่กำลังพรรณนา
ตัวอย่าง การเขียนพรรณนา “ สมใจเป็นสาวงามที่มีลำแขนขาวผ่อง ทั้งกลมเรียวและอ่อนหยัด ผิวขาวละเอียด เช่นเดียวกับแขน ประกอบด้วยหลังมือ อวบนูน นิ้ วเล็กเรียว หลังเล็บมีสีดังกลีบ ดอกบัวแรกแย้ม”
ตัวอย่าง การเขียนพรรณนา “ หมอกมัวซัวทั่วทุกแห่งหน ลมหนาว กรู เกรียวมาจนร่างเขาสั่ นสะท้าน ต้นไม้ใบหญ้าที่พอมีอยู่บ้างตามริมทาง สั มผัสละอองหมอกที่พราวพร่าง จนใบกลายเป็นสีขาวหม่น ”
วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การเขียน บรรยายและ พรรณนา คุณครูภทรพร มินาริน
Search
Read the Text Version
- 1 - 11
Pages: