สื่อการเรียนการสอนวิชาศิลปะ (นาฏศิลป์) HE L L O เครื่องแต่งกาย สำหรับการแสดง โดย ครูกัลญ์ญาฉัฏฐ์ วงศ์ฝั้ น (ครูผึ้ง)
เครื่องแต่งกาย หมายถึง เครื่องแต่งกายที่สวมใส่ ในการแสดง เพื่อความงดงาม และบ่งบอก บุคลิกลักษณะ ของตัวละคร
ประเภทของเครื่องแต่งกาย มี ๔ ประเภท ๑ ๒ ๓ ๔ เครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกาย ปกติ ประยุกต์ ประเพณี สร้างสรรค์
๑.๑ เครื่องแต่งกายปกติ คือ เครื่องแต่งกายทั่วไปที่แต่งเพื่อแสดง ให้เห็นการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งสื่อผ่านตัวละครในหลายบุคลิกลักษณะ ดังนั้นการแต่งกายปกติของตัวละคร อาจมีแนวการแต่งที่เหมือน หรือ ไม่เหมือนกันก็ได้
๑.๒ เครื่องแต่งกายประยุกต์ คือ เครื่องแต่งกายที่เลียนแบบ เครื่องแต่งกายปกติ แต่ดัดแปลง ให้เหมาะสมกับการแสดง
๑.๓ เครื่องแต่งกายประเพณี คือ เครื่องแต่งกายที่ได้รับการพัฒนา เป็นรูปแบบตายตัว เช่น ชุดยืนเครื่อง พระ นาง
การแต่งกายแบบยืนเครื่อง พระ นาง
๑.๔ เครื่องแต่งกายสร้างสรรค์ คือ เครื่องแต่งกายที่ออกแบบเฉพาะกรณี เพื่อให้เกิดความแปลกตา และสนองความคิดจินตนาการ
การออกแบบเครื่องแต่งกาย มีหลัก ๖ ประการ
๑. หน้าที่ใช้สอย จะต้องคำนึงถึงความชัดเจน ว่าจะนำไปใช้อย่างไร
๒.รูปแบบเครื่องแต่งกาย ต้องพิจารณาให้กลมกลืนกับรรยากาศการแสดง โดยรวมและต้องคำนึงถึงยุคสมัยของการแสดง
๓. บุคลิกของตัวละคร เครื่องแต่งกายจะต้องบ่งบอกถึงฐานะและ บทบาทของตัวละคร เช่น ร่ำรวย ยากจน หรือ รับบทเป็นยักษ์ มนุษย์ หรือสัตว์
๔.การสร้างเครื่องแต่งกาย สิ่งที่จะต้องคำนึงในการสร้างเครื่องแต่งกาย คือ วัสดุ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ - เครื่องนุ่งห่ม -เครื่องประดับ
โครงสร้าง เครื่องแต่งกาย มี ๓ แบบ คือ - เครื่องแต่งกายแบบสำเร็จรูป -เครื่องแต่งกายแบบกึ่งสำเร็จรูป -เครื่องแต่งกายแบบแยกชิ้นส่วน
เครื่องแต่งกายแบบสำเร็จรูป เป็นชุดสำเร็จรูป ที่สวมใส่ได้รวดเร็ว สามารถสวมใส่ได้ด้วยตนเอง
เครื่องแต่งกายแบบกึ่งสำเร็จรูป เป็นเครื่องแต่งกายที่นำชิ้นส่วนบางชิ้นมายึดติดกันเป็นสำเร็จรูป และมีบางส่วนเป็นแบบชิ้นส่วน
เครื่องแต่งกายแบบแยกชิ้นส่วน เป็นเครื่องแต่งกายที่แยกกันอย่างเด็ดขาดแล้วนำมา ตกแต่งร่างกายของผู้แสดงทีละชิ้น
๕. การถอดเปลี่ยน การแสดงนาฏศิลป์มักจะมีการถอดเปลี่ยน ชุดในแต่ละฉากเพื่อให้เป็นไปตาม สถานการณ์ในเรื่อง การออกแบบเครื่อง แต่งกาย จึงต้องคำถึงความสะดวกรวดเร็ว ในการสวมใส่และเปลี่ยนด้วย
๖. การประหยัด เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการจัดการแสดง การนำของเดิมมาปรับปรุงและตกแต่งใหม่ ก็จะเป็นการลดต้นทุนในการจัดการแสดงได้
ความสำคัญของการแต่งกาย มี ๘ ประการ คือ
๑.เป็นการแสดงบุคลิกภาพ ของตัวละคร
๒.เป็นการแสดงสถานภาพ ของตัวละคร
๓.แสดงอาชีพของตัวละคร
๔.แสดงวัฒนธรรม ของตัวละคร
๕.แสดงยุคสมัย ในการแสดง
๖.แสดงเหตุการณ์ ในท้องเรื่อง
๗.เป็นส่วนเสริมการ เคลื่อนไหวหรือฟ้อนรำ
๘.เป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในการแสดง
ทำแบบฝึกหัด หน้า ๓๙ ข้อ ๕-๘ และ หน้า ๔๐ ข้อ ๕-๘
Search
Read the Text Version
- 1 - 32
Pages: