Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

E-Book วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

Published by maliwan 306, 2023-07-01 11:04:57

Description: E-Book 306 มลิวัลย์ เชื้อกลางใหญ่ รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ อธิบายความหมายและความสำคัญของธุรกิจได้ บอกวัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจได้ ระบุถึงปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและความล้มเหลวได้ ระบุกระบวนการตัดสินใจส่วนบุคคลได้ ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการได้

Keywords: วิชาการ พาณิชยกรรม

Search

Read the Text Version

ธุรกิจและการเป็นผู้ ประกอบการ รหัสวิชา 20001-1003 TP13301 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสน้ทศทางการศึกษา E-BooK โดย นางสาวมลิวัลย์ เชื้อกลางใหญ่ 65370100306

คำนำ ก E-BOOK เรื่อง \"ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ\" ฉบับนี้จัดทำ ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี กลุ่มสาระการเรียนรู้ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งมีเนื้ิอหาตรงตาม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ของสำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา รายวิชานี้ทำให้เข้าใจความหมายของธุรกิจ ความ สำคัญของธุรกิจ ความหมายของผู้ประกอบการ คุณลักษณะของผู้ประกอบ การ บอกคุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ วัตถุประสงค์ของการประกอบ ธุรกิจ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และความล้มเหลว บอกความ หมายของกระบวนการตัดสินใจส่วนบุคคล ได้ปัจจัยที่สนับสนุนการตัดสิน ใจ บอกความหมายของกระบวนการ การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ การตัดสินใจเกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมคน ให้นักศึกษาทราบถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และฐานคิดการพัฒนา เพื่อความพอเพียง ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-BOOK ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ นักเรียนทุกคน ที่กำลังศึกษาในเรื่อง ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และ สามารถช่วยให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ครูบอย-มลิวัลย์ เชื้อกลางใหญ่ 18 มิถุนายน 2566 วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารสำคัญ สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้ 1 จุดประสงค์การเรียนรู้ 1 ธุรกิจ 2 ผู้ประกอบการ 3 วัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจ 5 ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ 6 และความล้มเหลว กระบวนการตัดสินใจส่วนบุคคล 7 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 9 ในธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ แบบทดสอบหลังเรียน 14 เฉลย 15 อ้างอิง 16 ประวัติผู้จัดทำ 17 วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

หน่วยที่ 2 1 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 1. สาระสำคัญ ผู้ประกอบการเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจของตนเอง เนื่องจากเป็น อาชีพอิสระสามารถวางแผนการ ดำเนินงาน สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ได้ด้วยตนเอง และยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจเพื่อมุ่งหวังผลกำไร การเป็น นักแสวงหาโอกาส มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความมุ่งมั่น รู้จักตนเอง มีภาวะผู้นำ มีความรู้ ความกล้า ศรัทธาในอาชีพ และเป็นบุคคลที่มีเครือข่าย ถือว่าเป็นคุณสมบัติ ส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการที่สามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน 2. สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้ แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการและกระบวนการของการประกอบธุรกิจ 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 สามารถอธิบายความหมายและความสำคัญของธุรกิจได้ 3.2 สามารถอธิบายความหมายและคุณลักษณะของผู้ประกอบการได้ 3.3 สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการเข้าไปประกอบธุรกิจได้ 3.4 สามารถระบุถึงปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และความล้มเหลวได้ 3.5 สามารถระบุกระบวนการตัดสินใจส่วนบุคคลได้ 3.6 สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในธุรกิจและการเป็นผู้ ประกอบการได้ ความสำเร็จเริ่มต้นจากการวางแผนที่ดี และมีเป้าหมายที่ชัดเจน วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

2 ธุรกิจ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่เหมือนกัน คือการประกอบอาชีพที่ทำให้ การดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงหรือการทำธุรกิจที่มั่นคง มี คุณภาพชีวิตที่ดีดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องศึกษารายละเอียดดังนี้ 1 ความหมายของธุรกิจ 2 ธุรกิจ (Business) หมายถึงการจัดการกิจกรรมต่างๆด้วยกระบวนการ อย่างมีความสัมพั นธ์ต่อเนื่องมีระบบที่ก่อให้เกิดการผลิตการซื้อการขายการ แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยมุ่งหวังผลกำไรและความเจริญรุ่งเรื่อง ของกิจการ ความสำคัญของธุรกิจ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่เหมือนกันอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือประเภท แรกเป็นความต้องการที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต (Needs) ได้แก่ ปัจจัย 4 คืออาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคส่วนความ ต้องการอีกประเภทหนึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์อยากมี (Wants) แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่า นี้มนุษย์ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตัวอย่างเช่น รถยนต์โทรทัศน์เป็นต้น ดังนี้ความสำคัญของธุรกิจจำแนกได้ ดังนี้ 1) ธุรกิจผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในสังคม 2) ธุรกิจช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค 3) ธุรกิจเป็นแหล่งตลาดแรงงาน ในการดำเนินการธุรกิจมีความจำเป็นต้อง ใช้แรงงาน เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการ 4) ธุรกิจเป็นแหล่งเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล เมื่อการดำเนินธุรกิจมีผลกำไร ผู้ ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐบาลตามที่กฎหมายกำหนด 5) ธุรกิจช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสนองความต้องการของ ประชาชนในท้องถิ่น จังหวัดและประเทศ และขยายตัวเติบโตขึ้นสามารถผลิต สินค้าและบริการได้มาก ส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทำให้รายได้เข้า สู่ประเทศ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการ 3 1 ความหมายของผู้ประกอบการ 2 1. ความหมายของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือ เจ้าของกิจการ (Business Owner) หรือบุคคลที่จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นเพื่อหวังผลกำไร เป็นบุคคลที่ มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และสามารถหาช่องทางที่จะสร้างธุรกิจของ ตนเองโดยยอมรับความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มุ่งหวังจะเป็นผู้ ประกอบการต้องพิจารณาถึงปัญหา ความท้าทาย ความไม่แน่นอนในการทำ ธุรกิจได้ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ควรศึกษา “คุณสมบัติส่วนตัว”ของเจ้าของกิจการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ เบื้องต้นที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้ 1) รู้จักตนเอง 2) ความเป็นผู้นำ 3) ความรู้ 4) ความกล้า 5) ความคิดสร้างสรรค์ 6) ความศรัทธาและใจรักในอาชีพ 7) การบริหารจัดการด้านการเงิน 8) ไหวพริบและปฏิภาณ 9) เงินทุน 10) การสนับสนุนจากบุคคลรอบข้าง วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

3 คุณสมบัติของผู้ประกอบการ 4 1การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเป็นไปตามความคาดหวังของบุคคลต่างๆ นั้น ผู้ประกอบการควรมีคุณสมบัติที่ดี ดังนี้ 1) ความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ (Willingness to succeed) การเป็นผู้ประกอบการที่ ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องทั้งลงทุนและลงแรง ต้องทำงานหนัก ต้องวางแผน ตัดสินใจ ดำเนินการ แก้ไขปัญหาตลอดเวลา 2) มีความมั่นใจในตนเอง (Self – confidence) คนที่เชื่อมั่นในตนเองจะเป็นคนที่มีกำลังใจ ให้ตนเองสูง ไม่กลัวที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค จึงมี โอกาสสูงที่จะบรรลุกับความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ 3) มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจน (A clear business idea) ผู้ประกอบ การจะต้องรู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในธุรกิจอะไร ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนคืออะไร ธุรกิจของ ตนเมื่อเทียบกับคู่แข่งมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้าง 4) มีแผนงานที่เป็นระบบ (The business plan) การมีเฉพาะแนวคิดทางธุรกิจที่ดีไม่ได้ ยืนยันว่าผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จ แต่ควรจะมีแผนงานที่เป็นระบบด้วย แผนงานนี้ เรียกว่า แผนธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถในการสร้างแผนธุรกิจ 5) มีความสามารถในการบริหารการเงิน (Exact control of finances) ผู้ประกอบการเป็น จำนวนมากสร้างตัวขึ้นมาได้จากการใช้ทักษะด้านการตลาด หรือการผลิต แต่จะละเลยไม่พัฒนา ทักษะในเรื่องบัญชีและการเงิน 6) มีความสามารถทางการตลาด (Targeted marketing) ในยุคของการแข่งขันแบบนี้ ความสามารถทางการตลาดเป็นทักษะที่สำคัญที่จะทำให้กิจการอยู่รอดได้ 7) มีความสามารถมองเห็นสภาพของการแข่งขันในอนาคตได้ (A step ahead of the competition) ในการทำธุรกิจนั้น แนวคิดแผนงานจะกระทำกันในวันนี้ แต่การดำเนินงานจริง มักจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอน 8) มีแหล่งสนับสนุนที่ดี (Management support) ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จ นั้นจะเป็นบุคคลที่รู้จักเครือข่าย แหล่งสนับสนุนต่างๆ ที่ที่มี ผลต่อธุรกิจของตน 9) มีทักษะในการประสานงาน (Co-operation) ผู้ประกอบการควรทราบว่าตนเองไม่สามารถ รู้ทุกเรื่อง และทำทุกเรื่องด้วยตัวคนเดียวได้ โดยเฉพาะเมื่อ กิจการเริ่มขยายตัว การมีทักษะการ ประสานงานทั้งภายในกิจการ และภายนอกกิจการจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น 10) มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม (Clear company structure) การจัดองค์กรที่เหมาะ สมการมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน เหมาะกับขนาดของกิจการ และสามารถปรับ เปลี่ยน ได้เป็นระยะๆ ตามขนาดขององค์กรที่เติบโตขึ้น วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

5 วัตถุประสงค์ของการ ประกอบกอบธุรกิจ 1. วัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจ 1) กำไรและความมั่งคั่ง (Profit and wealth) สิ่งที่จูงใจให้เจ้าของ ธุรกิจดำเนินธุรกิจต่อไป คือ กำไร ถ้าธุรกิจไม่มีกำไรกิจการนั้นก็ไม่ สามารถดำเนินต่อไปได้ 2) ความพอใจส่วนบุคคล (Personal satisfaction) การสร้างธุรกิจ เป็นความพอใจส่วนบุคคลที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง สำหรับผู้ที่คาดหวังจะ เป็นเจ้าของธุรกิจหลายๆ คน การทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เวลาขึ้นอยู่กับการประสบความสำเร็จมากน้อยเพี ยงใด 3) ความมั่นคงของกิจการ (Security of business) เมื่อธุรกิจเริ่ม ดำเนินการขึ้น เจ้าของธุรกิจก็มีความประสงค์จะผลิตสินค้า หรือบริการ เพื่ อสนองความต้องการของผู้บริโภคต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสิ้นสุด 4) เพื่อความเจริญเติบโตของธุรกิจ (Growth of business) นอกจากความมั่นคงของกิจการแล้ว ธุรกิจยังต้องการที่จะเจริญเติบโต ขึ้นเรื่อย ๆ โดยการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น มีสาขาเพิ่มขึ้น มีพนักงาน เพิ่ มขึ้น 5) ความอิสระและอำนาจ (Freedom and power) การเป็นเจ้านาย ของตนเองเป็นเรื่องที่ดึงดูดใจเป็นพิ เศษในการเข้าไปประกอบธุรกิจใน บริษัทขนาดใหญ่ 6) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) การดำเนินธุรกิจจะต้องคำนึงถึงจารีตประเพณีศีลธรรมอันดีงามของ สังคมด้วย ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงผู้บริโภค คำนึงถึงสภาพแวดล้อมต้อง ช่วยพั ฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของสังคมให้ดีขึ้น วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

6 ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความ สำเร็จ และความล้มเหลว 1. ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบ 2. ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบ ความสำเร็จ ความล้มเหลว 1) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) 1) ไม่มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ (Weak ธุรกิจขนาดเล็กสามารถปรับตัวได้ personality) รวดเร็วกว่า ในการที่จะสนองความ 2). ไม่ชอบพบปะผู้คน (The loner ต้องการเฉพาะของลูกค้าด้วยค่าใช้ syndrome) จ่ายที่ต่ำกว่า 3) ไม่มีแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน 2) สร้างนวัตกรรม (Innovation) ผู้ (Nebulous business ideas) ประกอบกิจการขนาดเล็กจำเป็นต้อง 4) ไม่มีแผนงานที่เป็นระบบ (No plan) สร้างนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ๆ ให้เกิด 5) ไม่มีแหล่งเงินทุนของตนเอง (Too ขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงของเก่าให้ดี little financial backing) ขึ้นด้วยจึงจะสามารถสร้างความได้ 6) ไม่มีความรู้ในการบริหารกระแสเงินสด เปรียบทางการแข่งขันได้ (Cash – flow troubles) 3) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า 7) ไม่มีกลยุทธ์การตลาดที่ดี (No (Close Relationship to marketing strategy) Customers) ในเมื่อธุรกิจขนาดเล็ก 8) ไม่มีระบบการควบคุม (No controlling) อยู่ใกล้ชิดกับลูกค้า จึงเป็นโอกาส 9) ไม่มีบุคลากรที่ดี (The wrong people) ของผู้ประกอบการจะสร้างความได้ 10) ไม่มีการคาดการณ์สภาพการแข่งขัน เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการสร้าง อย่างเหมาะสม (Underestimating the สัมพั นธ์อันดีกับลูกค้า competition) 4) ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ (ProductQuality) ธุรกิจขนาดเล็ก ประสบความสำเร็จได้ จะต้องผลิต สินค้าหรือบริการ ที่มีคุณภาพได้ มาตรฐานในระดับที่ลูกค้า ต้องการ ใน ราคาที่เต็มใจจะจ่ายโดยผู้ประกอบการ จะต้องรักษาคุณภาพให้มีความ สม่ำเสมอ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

7 กระบวนการตัดสินใจ ส่วนบุคคล 1 ความหมายในการตัดสินใจ การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง กระบวนการเลือกทาง เลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลายๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมิน อย่างดีแล้ว ว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ 2 ปัจจัยที่สนับสนุนการตัดสินใจ การตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตำแหน่ง และอำนาจที่เป็นทางการ คือ บทบาทการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา (Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยากร (Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator) และ การจัดการ เกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้า ทำงาน การประสานงาน และการควบคุม จากคำนิยามข้างต้นจะเห็นว่ามี ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

กระบวนการตัดสินใจ 8 ส่วนบุคคล 1 ความหมายในการตัดสินใจ1) กระบวนการ (process) นั่นหมายความว่า การตัดสินใจต้อง ผ่านกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์แล้ว ค่อยตัดสินใจ เลือก ทางที่ดีที่สุด มีหลายท่านคิดว่าการตัดสินใจไม่มีขั้นตอนอะไร มากคิดแล้วทำเลย 2) การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (solution) การตัดสินใจ เป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางเลือกที่ น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่า ได้ ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น 3) การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ (Organizational structure) จะเห็นว่าผู้บริหารในแต่ละระดับชั้นก็ มีหน้าที่ในการตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้อง ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยว กับแนวทางที่ถูกต้องเพื่ อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้ 4) การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน (Human behavior) จะเห็นว่าการตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่ม และทั้งองค์การ ซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความ เข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึง จะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

9 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง ในธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 1. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระ ทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำ วิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะ เดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้ นฐานจิตใจของคนในชาติ 2. องค์ประกอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือเรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง10 ทางสายกลาง วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง11 ทางสายกลาง 3 ห่วง 1 ความพอประมาณหมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของ ตนเอง สังคมสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น 2 ความมีเหตุผล 3 หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆ อย่างมีเหตุผลตาม หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และ วัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้ อย่างทันท่วงที วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

12 2 เงื่อนไข เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็น ไปพอเพี ยง จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรมและความรู้ ดังนี้ 1 เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบ ด้วย ด้านจิตใจ คือการตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสมในการ ดำเนินชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้ รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้ อื่นในสังคม 2 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่ จะนำความรู้ต่างๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อ ประกอบการวางแผน และในขั้นปฏิบัติ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

13 ฐานคิดการพั ฒนาเพื่ อความพอเพี ยง 1. ยึดแนวพระราชดำริในการพัฒนา “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามขั้นตอน “ทฤษฎีใหม่” 2. สร้าง “พลังทางสังคม” โดยการประสาน “พลังสร้างสรรค์” ของทุก ฝ่ายในลักษณะ “พหุภาคี” อาทิ ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อใช้ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน 3. ยึด “พื้นที่” เป็นหลัก และใช้ “องค์กรชุมชน” เป็นศูนย์กลางการ พัฒนา ส่วนภาคีอื่น ๆ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นอำนวยความสะดวก ส่งเสริม สนับสนุน 4. ใช้ “กิจกรรม” ของชุมชนเป็น “เครื่องมือ” สร้าง “การเรียนรู้” และ “การจัดการ” ร่วมกัน พร้อมทั้งพัฒนา “อาชีพที่หลากหลาย” เพื่อเป็น “ทางเลือก” ของคนในชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างทั้งด้านเพศ วัย การศึกษา ความถนัด ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ 5. ส่งเสริม “การรวมกลุ่ม” และ “การสร้างเครือข่าย” องค์กรชุมชน เพื่อสร้าง “คุณธรรมจริยธรรม” และ “การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ” อย่างรอบ ด้าน อาทิ การศึกษา สาธารณสุข การฟื้ นฟูวัฒนธรรม การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 6. วิจัยและพัฒนา “ธุรกิจชุมชนครบวงจร” (ผลิต-แปรรูป-ขาย- บริโภค) โดยให้ความสำคัญต่อ “การมีส่วนร่วม” ของคนในชุมชน และ “ฐาน ทรัพยากรของท้องถิ่น” ควรเริ่มพัฒนาจากวงจรธุรกิจขนาดเล็กในระดับท้อง ถิ่นไปสู่วงจรธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นระดับประเทศและระดับต่างประเทศ 7. พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มี “ศักยภาพสูง” ของแต่ละเครือข่ายให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจชุมชน” ที่มีข้อมูลข่าวสารธุรกิจนั้น ๆ อย่างครบวงจร พร้อมทั้งใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษา ดูงาน และฝึกอบรม วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

14 แบบทดสอบหลังเรียน วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

15 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ตอนที่ 1 จงทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดคือความหมายของผู้ประกอบการที่ถูกต้องที่สุด ค. ผู้จัดตั้งองค์กรขึ้นและยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพื่อมุ่งหวังผลกำไร 2. “สมชายเป็นผู้ที่มองเห็นโอกาสและช่องทางในการสร้างธุรกิจในสถานการณ์ ต่าง ๆ เสมอ จนธุรกิจเป็นปึกแผ่น” จากประโยคดังกล่าวถือเป็นคุณสมบัติของผู้ ประกอบการในเรื่องใด ข. มีความคิดสร้างสรรค์ 3. การเลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเองมีความหมายตรงกับข้อใด ข. รู้จักตนเอง 4. ข้อใด ไม่ใช่ คุณสมบัติที่ดีของผู้ประกอบการ ค. ชอบคิดคนเดียว อยู่คนเดียว 5. ข้อใดเป็นปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการที่ไม่ประสบความสำเร็จ ข. ไม่มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ 6. ข้อใดเป็นโอกาสของธุรกิจ ก. มีทักษะฝีมือที่ดี 7. “แชมพู กลิ่นกีวี” ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมด้านใด ค. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ 8. ข้อใด ไม่ใช่ สิ่งที่แสดงถึงกระบวนการตัดสินใจ ค. สมศักดิ์ใช้ประสบการณ์ในการทำงานมาพิจารณางาน 9. ข้อใด ไม่ใช่ วัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจ ค. เพื่อความสนุกกับงาน 10. ลักษณะซึ่งเป็นที่ต้องการของความสำเร็จในการประกอบธุรกิจคือข้อใด ข. มีแรงผลักดัน วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

16 อ้างอิง ดร.จันทรา ส่งศรี , ธุรกิจและการเป็นผู้ ประกอบบการ ,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ ; 2562 วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

ประวัติผู้จัดทำ 17 ชื่อ : นางสาวมลิวัลย์ เชื้อกลางใหญ่ ชื่อเล่น : บอย ตำแหน่ง : ครูพิเศษสอน รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สถานที่ทำงาน : วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | หน่วยที่ 2 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook