Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ก้าวย่างอย่างพุทธะ

ก้าวย่างอย่างพุทธะ

Published by librarytl49, 2020-11-03 09:32:19

Description: เปิดธรรมที่ถูกปิด : ก้าวย่างอย่างพุทธะ

Search

Read the Text Version

พุทธวจน

วักกลิ ! ผ้ ูใดเหน็ ธรรม ผ้ ูน้นั เหน็ เรา ผ้ ูใดเห็นเรา ผ้ ูนน้ั เหน็ ธรรม. -บาลี ขนธฺ . สํ. ๑๗/๑๔๖/๒๑๖.

พุทธวจน กา้ วยา่ ง อยา่ งพทุ ธะ อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ทเ่ี ราแสดงแลว้ บัญญัติแลว้ แกพ่ วกเธอทัง้ หลาย ธรรมวนิ ัยนน้ั จกั เปน็ ศาสดาของพวกเธอทง้ั หลาย โดยกาลล่วงไปแหง่ เรา. -บาลี มหา. ท.ี ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.



พทุ ธวจน -หมวดธรรม เปิดธรรมทีถ่ ูกปดิ ๓ฉบับ กา้ วย่างอย่างพุทธะ พุทธวจนสถาบัน รว่ มกนั มงุ่ มน่ั ศกึ ษา ปฏบิ ตั ิ เผยแผค่ �ำ ของตถาคต

พุทธวจน ฉบับ ๓ กา้ วยา่ งอย่างพทุ ธะ ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสู่สาธารณชน เป็นธรรมทาน ลขิ สิทธใ์ิ นต้นฉบับนไ้ี ดร้ บั การสงวนไว้ ในการจะจัดทำ�หรอื เผยแผ่ โปรดใชค้ วามละเอยี ดรอบคอบ เพ่อื รกั ษาความถูกตอ้ งของขอ้ มลู ให้ขออนุญาตเปน็ ลายลักษณอ์ ักษร และปรกึ ษาดา้ นขอ้ มูลในการจดั ทำ�เพอ่ื ความสะดวกและประหยัด ตดิ ตอ่ ได้ที่ มลู นิธพิ ทุ ธโฆษณ์ โทรศพั ท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔ มลู นิธิพทุ ธวจน โทรศัพท์ ๐๘ ๑๔๕๗ ๒๓๕๒ คุณศรชา โทรศัพท ์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คณุ อารวี รรณ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ ปที พี่ มิ พ์ ๒๕๖๓ ศิลปกรรม ปรญิ ญา ปฐวนิ ทรานนท,์ วิชชุ เสรมิ สวัสดิ์ศร,ี ณรงค์เดช เจรญิ ปาละ จดั ทำ�โดย มลู นิธิพุทธโฆษณ์ (เว็บไซต์ www.buddhakos.org)

มลู นธิ ิพทุ ธโฆษณ์ เลขท่ี ๒๙/๓ หมูท่ ี่ ๗ ต�ำ บลบงึ ทองหลาง อ�ำ เภอลำ�ลกู กา จังหวัดปทมุ ธานี ๑๒๑๕๐ โทรศพั ท์ /โทรสาร ๐ ๒๕๔๙ ๒๑๗๕ เวบ็ ไซต์ : www.buddhakos.org



ค�ำ อนโุ มทนา ขออนุโมทนากับคณะญาติโยมทุกท่าน ที่ได้ร่วมกัน สืบทอด  “พุทธวจน”  ธรรมะจากพุทธโอษฐ์  และเป็น มัคคานุคา  (ผู้เดินตามมรรค)  ตามพระบัญญัติของพุทธ องคส์ มดั่งพุทธประสงค์  เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติตามแล้ว หวังเป็นยิ่งว่าทุกคนจะประพฤติตนเป็นปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา  โน  อุกกาจิตวินีตา  คือมีการสอบถาม  ทวนถาม ซึ่งกันและกัน  ในอรรถะและพยัญชนะ  ของค�ำตถาคต มีประการต่างๆ  เพื่อเปิดเผยให้แจ่มแจ้งในธรรมท้ังหลาย ที่ยังไม่ถูกเปิดเผย  และบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อนั เป็นทีต่ ้งั แหง่ ความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได.้ ด้วยการกระท�ำอันเป็นกุศลน้ี  ขอให้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  ให้ผู้มีส่วนร่วมในการท�ำหนังสือเล่มนี้  และ ผู้ท่ีได้อ่าน  ได้ศึกษา  พึงเกิดปัญญา  ได้ดวงตาเห็นธรรม พน้ ทกุ ขใ์ นชาตนิ ี้ เทอญ. ภกิ ขคุ กึ ฤทธ์ิ โสตถฺ ผิ โล



ค�ำน�ำ หนังสือ “พุทธวจน ฉบับ ก้าวย่างอย่างพุทธะ” ได้จัดท�ำข้ึน ด้วยปรารภเหตุท่ีว่า หลายคนยังเห็นค�ำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นสิ่งท่ียาก หรือเป็นสิ่งท่ี ไกลตัวเกินไป ท�ำใหม้ ีนอ้ ยคนนักท่จี ะหนั มาใสใ่ จศึกษาค�ำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างจริงจัง  ทั้งๆ  ท่ีพระองค์ได้ตรัส ไว้แล้วว่า ค�ำสอนท่ีพระองค์ตรัสสอนท้ังหมดน้ัน บริสุทธิ์ บรบิ ูรณ์แล้วสิ้นเชิง อีกทั้งค�ำสอนนั้น ยังเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อกาลิโก” คือใช้ได้ไปตลอด ไม่มีค�ำว่าเก่าหรือล้าสมัย และใชไ้ ด้กบั บุคคลทุกคน อันจะเหน็ ได้จากในสมยั พทุ ธกาล ทพ่ี ทุ ธบรษิ ทั   ๔  ทงั้ หลายนนั้   มคี นจากหลายชาตแิ ละวรรณะ นอกจากน้ีพระองค์ยังได้ตรัสอีกว่า บุคคลท่ีท่านตรัสสอนนั้น มีต้งั แต่ พรหม เทวดา ภิกษุ ภกิ ษณุ ี อบุ าสก อุบาสิกา ไปจนถึงปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป  และทุกคนน้ัน  เมื่อน�ำ ค�ำสอนของพระองค์ไปปฏิบัติแล้ว ก็สามารถแก้ทุกข์หรือ ดบั ทุกขใ์ หก้ ับตนเองไดท้ ้ังส้นิ . คณะงานธมั มะ วัดนาป่าพง กนั ยายน ๒๕๕๔

อกั ษรย่อ เพ่อื ความสะดวกแก่ผู้ท่ียงั ไมเ่ ข้าใจเรื่องอกั ษรย่อ ทใี่ ชห้ มายแทนชอื่ คมั ภรี ์ ซึ่งมอี ย่โู ดยมาก มหาวิ. ว.ิ มหาวภิ ังค ์ วนิ ัยปิฎก. ภิกฺขนุ .ี ว.ิ ภกิ ขนุ ีวภิ ังค์ วินยั ปิฎก. มหา. วิ. มหาวรรค วินยั ปฎิ ก. จุลฺล. วิ. จุลวรรค วินัยปิฎก. ปรวิ าร. ว.ิ ปรวิ ารวรรค วินัยปฎิ ก. สี. ที. สลี ขันธวรรค ทฆี นิกาย. มหา. ท.ี มหาวรรค ทฆี นิกาย. ปา. ท.ี ปาฏิกวรรค ทฆี นิกาย. มู. ม. มลู ปณั ณาสก์ มัชฌิมนิกาย. ม. ม. มัชฌิมปัณณาสก์ มชั ฌิมนิกาย. อปุ ริ. ม. อปุ รปิ ัณณาสก์ มัชฌมิ นิกาย. สคาถ. ส.ํ สคาถวรรค สงั ยุตตนิกาย. นิทาน. สํ. นทิ านวรรค สังยุตตนกิ าย. ขนธฺ . สํ. ขนั ธวารวรรค สงั ยตุ ตนกิ าย. สฬา. สํ. สฬายตนวรรค สงั ยุตตนกิ าย. มหาวาร. สํ. มหาวารวรรค สงั ยุตตนิกาย. เอก. อ.ํ เอกนิบาต องั คุตตรนิกาย. ทุก. อ.ํ ทกุ นบิ าต องั คุตตรนกิ าย. ติก. อ.ํ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย. จตกุ ฺก. อํ. จตุกกนบิ าต องั คุตตรนิกาย.

ปญฺจก. อํ. ปญั จกนิบาต อังคตุ ตรนกิ าย. ฉกกฺ . อํ. ฉักกนบิ าต องั คตุ ตรนิกาย. สตฺตก. อํ. สัตตกนบิ าต อังคุตตรนกิ าย อฏฺ ก. อ.ํ อัฏฐกนิบาต องั คตุ ตรนกิ าย. นวก. อํ. นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย. ทสก. อ.ํ ทสกนิบาต องั คตุ ตรนิกาย. เอกาทสก. อํ. เอกาทสกนบิ าต อังคุตตรนิกาย. ข.ุ ขุ. ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย. ธ. ข.ุ ธรรมบท ขทุ ทกนกิ าย. อ.ุ ข.ุ อทุ าน ขทุ ทกนกิ าย. อติ วิ .ุ ขุ. อิตวิ ุตตกะ ขทุ ทกนิกาย. สุตฺต. ขุ. สตุ ตนิบาต ขทุ ทกนิกาย. วิมาน. ข.ุ วมิ านวตั ถุ ขุททกนกิ าย. เปต. ขุ. เปตวตั ถุ ขทุ ทกนิกาย. เถร. ข.ุ เถรคาถา ขทุ ทกนิกาย. เถรี. ข.ุ เถรีคาถา ขุททกนิกาย. ชา. ข.ุ ชาดก ขุททกนกิ าย. มหานิ. ข.ุ มหานิทเทส ขุททกนกิ าย. จฬู น.ิ ขุ. จูฬนทิ เทส ขุททกนิกาย. ปฏสิ มฺ. ขุ. ปฏสิ ัมภิทามรรค ขุททกนิกาย. อปท. ข.ุ อปทาน ขุททกนกิ าย. พุทธฺ ว. ขุ. พุทธวงส์ ขทุ ทกนิกาย. จริยา. ขุ. จริยาปฎิ ก ขุททกนกิ าย ตวั อย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ใหอ้ ่านว่า ไตรปิฎกฉบบั สยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๑ ขอ้ ที่ ๒๔๕



วิธีตรวจสอบวา่ เป็นค�ำ ของพระผู้มีพระภาคเจา้ หรอื ไม่ ภิกษุทงั้ หลาย !   ถา้ ภกิ ษใุ นธรรมวนิ ยั นี้ จะพึงกล่าวอยา่ งนว้ี า่ ขา้ พเจ้าฟังมาแลว้ ไดร้ บั มาแลว้ เฉพาะพระพักตร์ พระผมู้ ีพระภาคเจา้ วา่ นี้เปน็ ธรรม น้เี ปน็ วนิ ัยน้ี เป็นคำ�สอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธออยา่ พงึ รับรอง อย่าพงึ คัดคา้ น. เธอกำ�หนดเนอื้ ความน้ันใหด้ ี แล้วนำ�ไปสอบสวนในสตู ร นำ�ไปเทียบเคยี งในวินัย ถา้ ลงกนั ไมไ่ ด้ เทยี บเคียงกนั ไมไ่ ด้ พึงแน่ใจว่าน้นั ไม่ใชค่ �ำ ของพระผูม้ พี ระภาคแนน่ อน ภกิ ษุรูปนนั้ จ�ำ มาผดิ พวกเธอพงึ ทง้ิ คำ�เหล่านั้นเสยี ถ้าลงกันได้ เทียบเคยี งกันได้ พงึ แน่ใจวา่ นน่ั เปน็ คำ�ของพระผ้มู พี ระภาคเจา้ แนแ่ ล้ว ภิกษุรปู นั้นจำ�มาอย่างดแี ลว้ พวกเธอพึงรบั เอาไว้... ตรัสทีอ่ านนั ทเจดยี , โภคนคร : มหาปรนิ พิ พานสตู ร -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๒.

สารบญั 1. มนุษยเ์ ป็นอนั มาก ได้ยดึ ถอื เอาทพี่ ง่ึ ผิดๆ 1 2. สัตว์เกดิ กลบั มาเป็นมนุษย์มนี อ้ ย เพราะไม่รูอ้ รยิ สัจ 3 3. การร้อู ริยสัจเป็นของไมเ่ หลอื วสิ ัย 5 พระอรยิ บคุ คล จงึ มีปรมิ าณมาก 4. ให้พึง่ ตน พง่ึ ธรรม 8 5. ผู้ไมห่ ลงเอาสง่ิ อ่นื มาเปน็ แก่น 11 6. จะเกิดในตระกูลสงู หรอื ตำ่� ก็สามารถท�ำ นพิ พานใหแ้ จ้งได้ 13 7. รายช่อื แหง่ ธรรมเปน็ ทีต่ ง้ั แหง่ การขูดเกลา 18 8. ความทกุ ข์ของเทวดาและมนษุ ยต์ ามธรรมชาติ 24 9. เปน็ ทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ 25 10. ความรสู้ ึก ท่ีถึงกับท�ำ ให้ออกผนวช 26 11. การทำ�ความเพียรแขง่ กับอนาคตภัย 31 12. บทอธษิ ฐานจติ เพ่ือท�ำ ความเพียร 37 13. ล�ำ ดบั การปฏบิ ัติเพ่อื รู้ตามซงึ่ สจั จธรรม 39 14. หลกั เกณฑ์การเลอื กสถานท่ีและ 41 บุคคลทคี่ วรเสพ และไมค่ วรเสพ 15. ความเพลนิ เปน็ แดนเกดิ แหง่ ทุกข์ 44 16. อาการเกดิ แห่งทกุ ขโ์ ดยสังเขป 45

17. ความดบั ทกุ ข์มี เพราะความดับแหง่ นนั ทิ 46 18. ลกั ษณะแหง่ จิตทีห่ ลดุ พ้นด้วยการละนันทิ (อีกนยั หน่ึง) 47 19. วธิ ที สี่ ะดวกสบายเพอื่ การดบั ของกเิ ลส 48 20. ทิ้งเสยี นัน่ แหละ กลับจะเป็นประโยชน์ 53 21. อาการเกดิ ดับแห่งเวทนา 56 22. ลกั ษณะหนทางแห่งความหมดจด 58 23. ขยายความแห่งอริยมรรคมอี งค์แปด 60 24. สมาธทิ กุ ขน้ั ตอนใชเ้ ปน็ บาทฐาน ในการเขา้ วมิ ตุ ตไิ ดท้ ง้ั หมด 65 25. อริยสจั สี่โดยสังเขป (ทรงแสดงดว้ ยความยึดในขันธ์ ๕) 71 26. อริยสจั -ปฏิจจสมปุ บาท 75 27. ความเปน็ โสดาบนั ประเสริฐกวา่ เป็นพระเจ้าจกั รพรรดิ 79 28. คณุ สมบัติของโสดาบัน 82 29. ปาฏหิ ารยิ ์ สาม 91 30. ผู้อยใู่ กลน้ พิ พาน 98 31. ลักษณะแหง่ อนิ ทรยี ภาวนาชั้นเลศิ  103 32. สน้ิ กิเลสก็แลว้ กัน ไม่ต้องรวู้ ่าสนิ้ ไปเท่าไร 105 33. ตถาคตเป็นเพยี งผู้บอก จะถงึ ทห่ี มายต้องเดนิ เอาเอง 106 34. เหตุใหไ้ มป่ รินพิ พานในปจั จุบนั  109 35. หมด “อาหาร” กน็ พิ พาน 111 36. กฎอทิ ปั ปจั จยตา หรอื หัวใจปฏจิ จสมปุ บาท 114

37. ปฏิจจสมปุ บาท คือ ธรรมอันเปน็ 115 ธรรมชาติ อาศยั กนั แลว้ เกดิ ขน้ึ  118 38. ปญั ญา สติ กับนามรปู ดับ เพราะวญิ ญาณดบั  119 39. นพิ พานเพราะ ไมย่ ดึ ถอื ธรรมทไี่ ด้บรรลุ 120 40. การปรนิ ิพพาน 121 41. ผู้หลดุ พ้นได้เพราะไมย่ ดึ ม่ันถือมน่ั  122 42. ธรรมเป็นสว่ นแหง่ วชิ ชา 123 43. คำ�ช้ชี วนวิงวอน

กา้ วยา่ งอยา่ งพทุ ธะ



พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถ่ี ูกปดิ : กา้ วยา่ งอยา่ งพุทธะ มนษุ ย์เปน็ อนั มาก 01 ไดย้ ดึ ถือเอาที่พึ่งผิดๆ -บาลี ธ. ข.ุ ๒๕/๔๐/๒๔. มนุษย์ทั้งหลายเปน็ อันมาก ถูกความกลวั คกุ คาม เอาแล้ว ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศกั ดส์ิ ิทธ์บิ า้ ง รกุ ขเจดยี ์บา้ ง วา่ เป็นทีพ่ ึ่งของตนๆ  นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำ�ความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่ง อนั สงู สดุ ผใู้ ดถอื เอาสง่ิ นน้ั ๆ เปน็ ทพ่ี ง่ึ แลว้ ยอ่ มไมห่ ลดุ พน้ ไปจากทกุ ขท์ งั้ ปวงได้. 1

พุทธวจน - หมวดธรรม สว่ นผู้ใด ทถ่ี ึงพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พ่ึงแล้ว เหน็ อรยิ สจั ทง้ั ส่ี ดว้ ยปัญญาอนั ถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เหน็ ความกา้ วลว่ งเสยี ไดซ้ ง่ึ ทกุ ข์ และเหน็ มรรคประกอบ ดว้ ยองคแ์ ปดอนั ประเสรฐิ ซง่ึ เปน็ เครอ่ื งใหถ้ งึ ความเขา้ ไป สงบร�ำ งบั แหง่ ทกุ ข์ นน่ั แหละคอื ทพ่ี ง่ึ อนั เกษม นน่ั คอื ท่ี พงึ่ อนั สูงสดุ ผูใ้ ดถือเอาที่พึ่งนน้ั แลว้ ย่อมหลดุ พน้ ไป จากทกุ ข์ท้งั ปวง ไดแ้ ท.้ 2

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถ่ี ูกปดิ : กา้ วยา่ งอย่างพุทธะ สตั ว์เกดิ กลับมาเป็นมนษุ ยม์ ีนอ้ ย 02 เพราะไมร่ ู้อรยิ สัจ -บาลี มหาวาร. ส.ํ ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗. ภิกษุท้ังหลาย !   เธอทง้ั หลายจะส�ำ คญั ความขอ้ นี้ ว่าอย่างไร ฝุน่ นิดหน่งึ ทเี่ ราช้อนขน้ึ ดว้ ยปลายเลบ็ นกี้ ับ มหาปฐพนี ้ี ขา้ งไหนจะมากกว่ากัน ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !   มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน ท่ีมากกว่า.  ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย.  ฝุ่นนั้นเม่ือนำ�เข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำ�นวณได้  เปรียบเทียบได้  ไม่เข้าถึงแม้ซ่ึง กะละภาค (สว่ นเสย้ี ว)”. ภิกษุทั้งหลาย !   อปุ มานฉ้ี นั ใด  อปุ ไมยกฉ็ นั นน้ั สตั วท์ เ่ี กดิ กลบั มาสหู่ มมู่ นษุ ย์ มนี อ้ ย สตั วท์ เ่ี กดิ กลบั มา เป็นอย่างอ่ืนจากหมู่มนุษย์  มีมากกว่าโดยแท้.  ข้อนั้น เพราะเหตไุ รเลา่  ? ภกิ ษทุ ง้ั หลาย !   ขอ้ นน้ั เพราะความที่ สตั ว์เหลา่ น้นั ไมเ่ หน็ อรยิ สัจทงั้ ส.ี่ 3

พุทธวจน - หมวดธรรม อริยสจั ส่ี อย่างไรเล่า ? ส่ีอย่าง คอื อรยิ สจั คอื ทกุ ข์ อริยสจั คือเหตุใหเ้ กิดขึ้นแหง่ ทกุ ข์ อรยิ สจั คอื ความดับไม่เหลอื แห่งทุกข์ อรยิ สจั คอื ทางด�ำ เนนิ ใหถ้ งึ ความดบั ไมเ่ หลอื แหง่ ทกุ ข.์ ภิกษทุ ัง้ หลาย !   เพราะเหตนุ ั้น ในเร่อื งนี้ เธอ พึงประกอบโยคกรรม1  อันเป็นเคร่ืองกระทำ�ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดบั ไม่เหลือแห่งทกุ ข์ เป็นอยา่ งนี้ ทางดำ�เนนิ ให้ถึง ความดบั ไมเ่ หลอื แหง่ ทุกข์ เปน็ อย่างน”้ี ดงั น้.ี 1. โยคกรรม คือ การกระท�ำอยา่ งเปน็ ระบบ. 4

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมท่ีถกู ปดิ : ก้าวย่างอยา่ งพุทธะ การรอู้ ริยสัจเป็นของไมเ่ หลือวสิ ยั 03 พระอรยิ บุคคล จึงมปี ริมาณมาก -บาลี ม. ม. ๑๓/๒๕๑-๒๕๔/๒๕๕-๒๕๖. วัจฉะ !   ภกิ ษุ ผสู้ าวกของเรา บรรลเุ จโตวมิ ตุ ติ ปญั ญาวมิ ตุ ติ อนั ไมม่ อี าสวะ เพราะความสน้ิ ไปแหง่ อาสวะ ทง้ั หลาย ไดก้ ระทำ�ใหแ้ จง้ แลว้ ดว้ ยปญั ญาอันยงิ่ เอง ใน ทิฏฐธรรมน้ี มีอยูไ่ ม่ใชร่ ้อยเดยี ว ไม่ใช่สองร้อย ไมใ่ ช่ สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท.้ วัจฉะ !   ภกิ ษณุ  ี ผสู้ าวกิ าของเรา  บรรลเุ จโตวมิ ตุ ติ ปญั ญาวมิ ตุ ติ อนั ไมม่ อี าสวะ เพราะความสน้ิ ไปแหง่ อาสวะ ท้ังหลาย ไดก้ ระท�ำใหแ้ จง้ แล้ว ด้วยปัญญาอนั ยงิ่ เอง ใน ทฏิ ฐธรรมน้ี มอี ยู่ไม่ใชร่ ้อยเดยี ว ไม่ใช่สองรอ้ ย ไมใ่ ช่ สามร้อย ไมใ่ ชส่ ี่ร้อย ไมใ่ ชห่ า้ รอ้ ย มีอยมู่ ากกว่ามาก โดยแท.้ 5

พุทธวจน - หมวดธรรม วัจฉะ !   อุบาสก  ผู้สาวกของเรา  พวกเป็น คฤหัสถ์นุ่งขาว  อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็น โอปปาติกะ มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกิดนั้น ไมเ่ วยี นกลบั จากภพนน้ั เปน็ ธรรมดาเพราะความสน้ิ ไปแหง่ สญั โญชน์มีสว่ นในเบอื้ งต�่ำ หา้ อย่างก็มอี ยู่ไมใ่ ชร่ ้อยเดยี ว ฯลฯ ไมใ่ ช่ห้ารอ้ ย มีอยู่มากกวา่ มาก โดยแท.้ วัจฉะ !   อุบาสก  ผู้สาวกของเรา  พวกเป็น คฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำ�ตามคำ�สอน เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสยั อนั ข้ามได้แล้ว ไม่ตอ้ ง กล่าวด้วยความสงสยั วา่ นอี่ ะไรๆ เป็นผปู้ ราศจากความ คร่ันคร้าม ไม่ใช่ผ้ตู ้องเช่ือตามค�ำ ของผ้อู นื่ อยู่ประพฤติ พรหมจรรยใ์ นศาสนาของพระศาสดา กม็ อี ยไู่ มใ่ ชร่ อ้ ยเดยี ว ฯลฯ ไม่ใช่หา้ รอ้ ย มีอยมู่ ากกว่ามากโดยแท้. 6

เปิดธรรมที่ถกู ปดิ : ก้าวย่างอยา่ งพุทธะ วัจฉะ !   อบุ าสกิ า ผสู้ าวกิ าของเรา พวกเปน็ หญงิ คฤหัสถ์นุ่งขาว  อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็น โอปปาติกะ มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกดิ น้ัน  ไม่เวียนกลับจากภพน้นั เป็นธรรมดา  เพราะความส้นิ ไป แหง่ สญั โญชน ์ มสี ว่ นในเบอ้ื งต�ำ่ หา้ อยา่ ง กม็ อี ยไู่ มใ่ ชร่ อ้ ย เดยี ว ฯลฯ ไมใ่ ชห่ ้าร้อย มีอยมู่ ากกว่ามากโดยแท.้ วัจฉะ !   อบุ าสกิ า ผสู้ าวกิ าของเรา พวกเปน็ หญงิ คฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำ�ตามคำ�สอน เปน็ ผู้ สนองโอวาท มคี วามสงสยั อนั ขา้ มไดแ้ ลว้ ไมต่ อ้ ง กล่าวดว้ ยความสงสยั ว่า น่อี ะไรๆ เปน็ ผ้ปู ราศจากความ ครน่ั คร้าม ไม่ใช่ผูต้ อ้ งเชอื่ ตามคำ�ของผู้อน่ื อยู่ประพฤติ พรหมจรรยใ์ นศาสนาของพระศาสดา กม็ อี ยไู่ มใ่ ชร่ อ้ ยเดยี ว ฯลฯ  ไม่ใช่ห้ารอ้ ย  มอี ยู่มากกวา่ มากโดยแท.้ 7

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมที่ถูกปิด : ก้าวยา่ งอย่างพทุ ธะ ให้พึง่ ตน พึ่งธรรม 04 -บาลี มหาวาร. .สํ. ๑๙/๒๑๖-๒๑๗/๗๓๗-๗๔๐. อานนท์ !   เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือ ว่า “ความเปน็ ตา่ งๆ ความพลัดพราก ความเปน็ อย่างอื่น จากของรกั ของชอบใจทงั้ ส้ิน ย่อมมี อานนท ์ !   ข้อน้นั จกั ไดม้ าแตไ่ หนเลา่ สง่ิ ใดเกดิ ขน้ึ แลว้ เปน็ แลว้ อนั ปจั จยั ปรงุ แลว้ มคี วามช�ำ รดุ ไปเปน็ ธรรมดา สง่ิ นน้ั อยา่ ช�ำ รดุ ไปเลย ดงั น้ี ขอ้ นั้น ยอ่ มเป็นฐานะทีม่ ีไมไ่ ด”้ . อานนท์ !   เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่  มี แก่นเหลืออยู่  ส่วนใดเก่าครำ่�กว่าส่วนอ่ืน  ส่วนน้ันพึง ยอ่ ยยบั ไปกอ่ น ขอ้ นี้ฉนั ใด อานนท ์ !   เมอ่ื ภกิ ษสุ งฆ์ หมู่ใหญ่มีธรรมเป็นแก่นสารเหลืออยู่  สารีบุตร ปรนิ พิ พานไปแลว้ ฉนั น้ันเหมอื นกัน. อานนท ์ !   ข้อน้นั จกั ไดม้ าแตไ่ หนเลา่ สง่ิ ใดเกดิ ขน้ึ แลว้ เปน็ แลว้ อนั ปจั จยั ปรงุ แลว้ มคี วามช�ำ รดุ ไปเปน็ ธรรมดา สง่ิ นน้ั อยา่ ช�ำ รดุ ไปเลย ดังน้ี ข้อนัน้ ยอ่ มเปน็ ฐานะที่มไี ม่ได้. 8

เปิดธรรมทถี่ กู ปิด : กา้ วย่างอย่างพุทธะ อานนท์ !   เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอา สิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็น สรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ. อานนท์ !   ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็น สรณะ  ไม่เอาส่ิงอื่นเป็นสรณะ  มีธรรมเป็นประทีป มธี รรมเปน็ สรณะ ไมเ่ อาสง่ิ อน่ื เปน็ สรณะนน้ั เปน็ อยา่ งไรเลา่  ? อานนท์ !   ภิกษใุ นธรรมวนิ ัยน้ี พจิ ารณาเหน็ กายในกายเนอื งๆ อยู่ พจิ ารณาเหน็ เวทนาในเวทนาท้งั หลายเนืองๆ อยู่ พจิ ารณาเห็นจติ ในจิตเนืองๆ อยู่ พิจารณาเหน็ ธรรมในธรรมทงั้ หลายเนืองๆ อยู่ มีความเพยี รเผากิเลส มคี วามรูส้ ึกตวั ท่วั พร้อม มีสติ พึงก�ำ จดั อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได.้ 9

พทุ ธวจน - หมวดธรรม อานนท์ !   ภิกษุอย่างน้ีแล  ช่ือว่ามีตนเป็น ประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสง่ิ อนื่ เป็นสรณะ มธี รรม เป็นประทีป  มีธรรมเป็นสรณะ  ไม่เอาส่ิงอ่ืนเป็นสรณะ เปน็ อยู.่ อานนท ์ !   ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่ง เราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเปน็ สรณะ ไมเ่ อาสง่ิ อน่ื เปน็ สรณะ มธี รรมเปน็ ประทปี มธี รรม เปน็ สรณะ ไมเ่ อาส่งิ อน่ื เป็นสรณะ เปน็ อย.ู่ อานนท์ !   ภกิ ษพุ วกใด  เปน็ ผ้ใู คร่ในสกิ ขา ภกิ ษพุ วกนน้ั   จกั เปน็ ผอู้ ยใู่ นสถานะอนั เลศิ ทส่ี ดุ . ตรสั แกท่ า่ นพระอานนท์ ผเู้ ศรา้ สลดในขา่ วการปรนิ พิ พานของทา่ นพระสารบี ตุ ร ซ่ึงจุนทสามเณรนำ� มาบอกเล่า ที่พระอารามเชตวนั ใกล้นครสาวตั ถ.ี 10

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมท่ีถูกปิด : กา้ วย่างอย่างพทุ ธะ ผู้ไมห่ ลงเอาส่ิงอื่นมาเปน็ แกน่ 05 -บาลี ม.ู ม. ๑๒/๓๗๑-๓๗๓/๓๕๑-๓๕๒. ภิกษุท้ังหลาย !   พรหมจรรย์น้ี  มิใช่มีลาภ สักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์  พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมดว้ ยศีลเป็นอานสิ งส์ พรหมจรรย์นี้ มใิ ชม่ คี วามถงึ พรอ้ มดว้ ยสมาธเิ ปน็ อานสิ งส์ พรหมจรรยน์ ี้ มิใช่มีความถงึ พรอ้ มด้วยญาณทัสสนะเป็นอานสิ งส์. ภิกษุทั้งหลาย !   กเ็ จโตวมิ ตุ ต1ิ   ทไ่ี มก่ �ำ เรบิ อนั ใด มอี ย ู่ พรหมจรรยน์ ม้ี  ี ส่ิงน้ัน  นั่นแหละเป็นประโยชน์ที่ มงุ่ หมาย เปน็ แกน่ สาร เปน็ ผลสดุ ทา้ ยของพรหมจรรยแ์ ล. 1. เจโตวิมุตติ คือ การบรรลุอรหัตตผลโดยมีน�้ำหนักของการท�ำสมาธิ มากกว่าการกระท�ำด้านอ่นื ๆ. แบบของการหลุดพน้ ยังมีอยา่ งอน่ื อีก เช่น สัทธาวมิ ุตติ ปญั ญาวมิ ุตติ เป็นตน้ . 11

พทุ ธวจน - หมวดธรรม ภิกษุท้ังหลาย !   เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการ ดว้ ยแกน่ ไม้ เสาะหาแก่นไม้ เท่ียวค้นหาแกน่ ไม้ จนถงึ ต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นเ่ี ปน็ แก่นแท้’ ดังน้.ี บรุ ษุ มตี าดี เหน็ คนนั้นเข้าแล้ว ก็ กลา่ ววา่ “ผู้เจรญิ คนนี้ ชา่ งรู้จักแกน่ รูจ้ กั กระพ้ี รู้จัก เปลอื กสด รจู้ กั สะเกด็ แหง้ ตามผวิ เปลอื ก รจู้ กั ใบออ่ นท่ี ปลายกง่ิ . จรงิ ดงั วา่ ผเู้ จรญิ คนน้ี ตอ้ งการแกน่ ไม้ เสาะหา แก่นไม้ เท่ยี วค้นหาแก่นไม้ จนถงึ ต้นไมใ้ หญ่มแี ก่นแลว้ กต็ ดั เอาแกน่ แทถ้ อื ไปดว้ ยมน่ั ใจวา่ ‘น่ี เปน็ แกน่ แท’้ ดงั น.้ี สง่ิ ทเ่ี ขาจะตอ้ งท�ำ ดว้ ยแกน่ ไม้ จกั ส�ำ เรจ็ ประโยชนเ์ ปน็ แท”้ ดังน้ี. 12

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถี่ ูกปดิ : กา้ วยา่ งอยา่ งพทุ ธะ จะเกิดในตระกลู สูงหรอื ต่ำ� 06 ก็สามารถท�ำนพิ พานใหแ้ จง้ ได้ -บาลี ฉกกฺ . อ.ํ ๒๒/๔๒๙-๔๓๓/๓๒๘. อานนท์ !   ในกรณแี ห่ง อภชิ าติ ๖ นี้ คอื (๑)  คนบางคนมชี าตดิ ำ� ก่อใหเ้ กดิ ธรรมดำ� (๒)  บางคนมีชาตดิ �ำ ก่อใหเ้ กิดธรรมขาว (๓)  บางคนมีชาตดิ ำ� กอ่ ให้เกิดนพิ พาน อันเปน็ ธรรมไม่ด�ำ ไมข่ าว (๔)  บางคนมีชาตขิ าว กอ่ ใหเ้ กดิ ธรรมดำ� (๕)  บางคนมีชาตขิ าว กอ่ ใหเ้ กดิ ธรรมขาว (๖)  บางคนมีชาตขิ าว กอ่ ให้เกิดนิพพาน อนั เป็นธรรมไมด่ �ำ ไม่ขาว. อานนท์ !   คนมีชาติดำ�  ก่อให้เกิดธรรมดำ� เปน็ อยา่ งไรเล่า ? อานนท์ !   คนบางคนในกรณนี ้ี เกดิ ในตระกลู ต�ำ่ คอื ตระกลู จณั ฑาล ตระกลู พราน ตระกลู จกั สาน ตระกลู ท�ำ รถ หรอื ตระกลู เทหยากเยอ่ื ซง่ึ เปน็ คนยากจน มขี า้ วและน�ำ้ นอ้ ย เป็นอย่ฝู ดื เคอื ง มอี าหารและเครอื่ งน่งุ ห่มหาได้โดยยาก 13

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เขาเป็นผ้มู ีผวิ พรรณทราม ไม่นา่ ดู เตี้ยคอ่ ม ขีโ้ รค ตาบอด งอ่ ย กระจอก มตี วั ตะแคงขา้ ง ไมค่ อ่ ยจะมขี า้ ว น�้ำ เครื่อง นุ่งหม่ ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครอ่ื งลบู ไล้ ท่นี อน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ เขาก็ยัง  ประพฤติกายทจุ รติ วจที จุ รติ มโนทจุ รติ ครน้ั ประพฤตทิ จุ รติ แลว้ เบอ้ื งหนา้ แต่ การตายเพราะการท�ำ ลายแหง่ กาย ยอ่ มเขา้ ถงึ อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต นรก. อยา่ งนแ้ี ล อานนท ์ !   เรยี กวา่ คนมชี าตดิ �ำ ก่อใหเ้ กดิ ธรรมดำ�. อานนท์ !   คนมีชาติดำ�  ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเลา่  ? อานนท์ !   คนบางคนในกรณนี ้ี เกดิ ในตระกลู ต�ำ่ คอื ตระกูลจณั ฑาล ตระกลู พราน ... ฯลฯ ... มีอาหาร และเคร่อื งนุ่งห่มหาไดโ้ ดยยาก มผี วิ พรรณทราม ไม่น่าดู ...ฯลฯ ... ไมค่ อ่ ยจะมีข้าว น้ำ� ...ฯลฯ ... ประทปี โคมไฟ เขา  ประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  มโนสุจริต  ครั้นประพฤติสุจริตแล้ว  เบ้ืองหน้าแต่การตายเพราะ การท�ำ ลายแหง่ กาย ยอ่ มเขา้ ถงึ สคุ ตโิ ลกสวรรค.์ อยา่ งนแ้ี ล อานนท์ !   เรียกว่า คนมีชาติด�ำ ก่อใหเ้ กดิ ธรรมขาว. 14

เปดิ ธรรมทถี่ กู ปิด : กา้ วย่างอยา่ งพุทธะ อานนท์ !   คนมีชาติดำ�  ก่อให้เกิดนิพพาน อนั เปน็ ธรรมไม่ดำ�ไมข่ าว เป็นอยา่ งไรเลา่  ? อานนท ์ !   คนบางคนในกรณนี ้ี เกดิ ในตระกลู ต�ำ่ คอื  ตระกลู จณั ฑาล ตระกลู พราน ... ฯลฯ ... มผี วิ พรรณทราม ไมน่ า่ ดู เตย้ี คอ่ ม. เขาปลงผมและหนวด ครองผา้ ยอ้ มฝาด ออกจากเรอื น บวชเปน็ ผไู้ มม่ ปี ระโยชนเ์ กย่ี วขอ้ งดว้ ยเรอื น. เขานั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็น เคร่อื งเศรา้ หมองจติ ทำ�ปัญญาให้ถอยกำ�ลงั ไดแ้ ล้ว มีจติ ตง้ั มน่ั ดใี นสตปิ ฏั ฐานทง้ั ส่ี ยงั โพชฌงคเ์ จด็ ใหเ้ จรญิ แลว้ ตามทเี่ ป็นจรงิ ชื่อว่าย่อมก่อใหเ้ กดิ นพิ พานอันเป็นธรรม ไม่ดำ�ไม่ขาว. อย่างนแี้ ล อานนท์ !   เรียกวา่ คนมชี าติดำ� กอ่ ใหเ้ กดิ นพิ พานอนั เป็นธรรมไม่ดำ�ไมข่ าว. อานนท์ !   คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ� เปน็ อยา่ งไรเลา่  ? อานนท ์ !   คนบางคนในกรณีน้ี เกดิ ในสกลุ สูง คือ  สกุลกษัตริย์มหาศาล  สกุลพราหมณ์มหาศาล  หรือ สกลุ คหบดีมหาศาล อนั ม่ังคั่ง มที รัพยม์ าก มโี ภคะมาก มที องและเงนิ พอตัว มีอปุ กรณแ์ ห่งทรพั ย์พอตวั มีทรัพย์ 15

พทุ ธวจน - หมวดธรรม และขา้ วเปลือกพอตวั เขามรี ูปงาม นา่ ดู น่าเล่ือมใส ประกอบด้วยความเกล้ียงเกลาแห่งผิวพรรณอย่างย่ิง ร�ำ่ รวยดว้ ยขา้ ว ดว้ ยน�ำ้ เครอ่ื งนงุ่ หม่ ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครอ่ื งลบู ไล้ ทน่ี อน ทอ่ี ยู่ และประทปี โคมไฟ เขา  ประพฤติกายทุจริต  วจีทุจริต  มโนทุจริต  ครั้น ประพฤตทิ จุ รติ แลว้ เบอ้ื งหนา้ แตก่ ารตายเพราะการท�ำ ลาย แหง่ กาย ยอ่ มเขา้ ถงึ อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต นรก. อยา่ งนแ้ี ล อานนท์ !   เรยี กว่า คนมชี าตขิ าว กอ่ ใหเ้ กดิ ธรรมด�ำ . อานนท์ !   คนมีชาติขาว กอ่ ให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า? อานนท ์ !   คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสงู   คอื   สกลุ กษตั รยิ ม์ หาศาล  สกลุ พราหมณม์ หาศาล ... ฯลฯ ... มที รัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มรี ูปงาม ... ฯลฯ ... ร่�ำ รวย ด้วยข้าวด้วยน้ำ� ... ฯลฯ ... ประทปี โคมไฟ เขา  ประพฤติ กายสุจริต วจีสจุ รติ มโนสจุ ริต คร้นั ประพฤตสิ จุ ริตแลว้ เบอ้ื งหน้าแต่การตายเพราะการท�ำ ลายแหง่ กาย ย่อมเข้า ถงึ สคุ ติโลกสวรรค์. อย่างน้แี ล อานนท ์ !   เรียกวา่ คนมี ชาตขิ าว ก่อให้เกิดธรรมขาว. 16

เปดิ ธรรมที่ถูกปิด : กา้ วย่างอย่างพุทธะ อานนท ์ !   คนชาตขิ าว ก่อใหเ้ กิดนพิ พานอัน เปน็ ธรรมไม่ดำ�ไมข่ าว เปน็ อย่างไรเล่า ? อานนท ์ !   คนบางคนในกรณีน้ี เกดิ ในสกุลสงู คอื   สกลุ กษตั รยิ ม์ หาศาล  สกลุ พราหมณม์ หาศาล ... ฯลฯ ... มีทรัพย์และขา้ วเปลือกพอตัว มีรูปงาม ... ฯลฯ ... ร�ำ่ รวย ดว้ ยขา้ วดว้ ยน�ำ้ ... ฯลฯ ... ประทปี โคมไฟ เขาปลงผมและ หนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผ้ไู มม่ ี ประโยชน์เก่ยี วข้องด้วยเรือน.เขานนั้ ครั้นบวชแลว้ อยา่ งน้ี ละนวิ รณท์ ง้ั ห้า อันเป็นเคร่อื งเศรา้ หมองจติ ท�ำ ปัญญา ให้ถอยกำ�ลังได้แล้ว  มีจิตต้ังมั่นดีในสติปัฏฐานท้ังสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ดให้เจริญแล้วตามที่เป็นจริง  ชื่อว่าย่อม ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำ�ไม่ขาว.  อย่างน้ีแล อานนท์ !   เรียกวา่ คนมีชาตขิ าว ก่อใหเ้ กิดนิพพาน อันเปน็ ธรรมไมด่ ำ�ไมข่ าว. อานนท ์ !   เหล่าน้แี ล อภชิ าติ ๖ ชนิด. 17

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมทถี่ ูกปดิ : ก้าวย่างอยา่ งพุทธะ รายช่ือแหง่ ธรรม 07 เป็นทต่ี ัง้ แห่งการขดู เกลา -บาลี มู. ม. ๑๒/๗๕-๗๘/๑๐๔. จุนทะ !   สัลเลขธรรม (ความขดู เกลา) เปน็ สงิ่ ท่ี เธอทง้ั หลายพงึ กระท�ำ ในธรรมทง้ั หลายเหลา่ น้ี กลา่ วคอื ท�ำ สัลเลขะว่า เมอ่ื ผอู้ น่ื เป็นผู้ เบียดเบยี น เราจักเปน็ ผู้ ไม่เบยี ดเบยี น ท�ำ สลั เลขะว่า เมอ่ื ผู้อื่น กระทำ�ปาณาตบิ าต เราจัก เว้นขาดจากปาณาติบาต ทำ�สลั เลขะว่า เมอ่ื ผอู้ น่ื กระท�ำ อทนิ นาทาน เราจกั เว้นขาดจากอทนิ นาทาน ท�ำ สลั เลขะว่า เมอื่ ผู้อ่นื ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เราจักเป็นผู้ ประพฤตพิ รหมจรรย์ ท�ำ สัลเลขะว่า เมื่อผอู้ น่ื พูดเท็จ เราจกั เวน้ ขาดจากการพดู เทจ็ ทำ�สัลเลขะวา่ เม่ือผอู้ ่ืน พดู สอ่ เสียด เราจัก เว้นขาดจากการพูดสอ่ เสยี ด 18

เปดิ ธรรมทถ่ี ูกปิด : ก้าวย่างอย่างพุทธะ ทำ�สัลเลขะว่า เมื่อผู้อน่ื พูดค�ำ หยาบ เราจัก เว้นขาดจากการพดู ค�ำ หยาบ ทำ�สลั เลขะว่า เม่อื ผู้อื่น พูดเพ้อเจ้อ เราจัก เวน้ ขาดจากการพูดเพ้อเจอ้ ทำ�สลั เลขะวา่ เม่อื ผอู้ ืน่ มากด้วยอภิชฌา เราจกั เป็นผู้ ไม่มากด้วยอภชิ ฌา ท�ำ สัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มจี ิตพยาบาท เราจักเปน็ ผู้ ไมม่ จี ิตพยาบาท ท�ำ สลั เลขะว่า เม่อื ผอู้ น่ื มีมจิ ฉาทฏิ ฐิ เราจกั เป็นผู้ มสี ัมมาทฏิ ฐิ ทำ�สัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่น มมี ิจฉาสังกปั ปะ เราจกั เป็นผู้ มสี มั มาสังกัปปะ ทำ�สัลเลขะว่า เมอ่ื ผ้อู ื่น มีมจิ ฉาวาจา เราจกั เป็นผู้ มสี ัมมาวาจา ทำ�สลั เลขะว่า เมอ่ื ผู้อื่น มมี จิ ฉากมั มันตะ เราจกั เปน็ ผู้ มสี มั มากัมมนั ตะ ท�ำ สัลเลขะวา่ เม่ือผ้อู ่ืน มมี ิจฉาอาชวี ะ เราจกั เปน็ ผู้ มีสัมมาอาชีวะ 19

พทุ ธวจน - หมวดธรรม ทำ�สัลเลขะว่า เม่ือผอู้ น่ื มมี ิจฉาวายามะ เราจกั เป็นผู้ มีสัมมาวายามะ ท�ำ สัลเลขะว่า เมอ่ื ผ้อู น่ื มมี จิ ฉาสติ เราจกั เปน็ ผู้ มีสมั มาสติ ทำ�สลั เลขะวา่ เมอ่ื ผู้อนื่ มมี ิจฉาสมาธิ เราจกั เปน็ ผู้ มีสัมมาสมาธิ ท�ำ สลั เลขะว่า เมอ่ื ผู้อนื่ มีมจิ ฉาญาณะ เราจักเป็นผู้ มสี มั มาญาณะ ทำ�สลั เลขะวา่ เมื่อผอู้ น่ื มมี จิ ฉาวิมุตติ เราจักเปน็ ผู้ มีสมั มาวิมตุ ติ ทำ�สัลเลขะวา่ เมอื่ ผู้อน่ื มถี ีนมทิ ธะกลุ้มรุม เราจกั เป็นผู้ ปราศจากถนี มทิ ธะ ท�ำ สลั เลขะวา่ เมอ่ื ผอู้ ื่นเปน็ ผู้ ฟ้งุ ซ่าน เราจักเปน็ ผู้ ไม่ฟงุ้ ซ่าน ทำ�สัลเลขะว่า เมอ่ื ผอู้ ื่น มวี ิจกิ จิ ฉา เราจกั เป็นผู้ ข้ามพน้ วิจกิ ิจฉา ทำ�สัลเลขะวา่ เมอ่ื ผู้อนื่ เปน็ ผู้ มักโกรธ เราจักเปน็ ผู้ ไมม่ กั โกรธ 20

เปิดธรรมท่ีถกู ปดิ : ก้าวยา่ งอยา่ งพทุ ธะ ท�ำ สลั เลขะว่า เมื่อผู้อน่ื เปน็ ผู้ ผกู โกรธ เราจักเป็นผู้ ไม่ผูกโกรธ ทำ�สัลเลขะว่า เมื่อผู้อื่นเปน็ ผู้ ลบหลู่คุณ เราจักเป็นผู้ ไม่ลบหล่คู ุณ ท�ำ สัลเลขะวา่ เมื่อผอู้ น่ื เป็นผู้ แขง่ ดี เราจกั เป็นผู้ ไม่แข่งดี ทำ�สลั เลขะว่า เมื่อผู้อ่ืนเปน็ ผู้ รษิ ยา เราจักเปน็ ผู้ ไมร่ ษิ ยา ท�ำ สัลเลขะว่า เมอื่ ผู้อน่ื เป็นผู้ ตระหนี่ เราจักเปน็ ผู้ ไม่ตระหน่ี ทำ�สลั เลขะว่า เมอ่ื ผอู้ ่ืนเปน็ ผู้ โออ้ วด เราจักเป็นผู้ ไม่โออ้ วด ทำ�สัลเลขะวา่ เมอ่ื ผอู้ ่ืนเปน็ ผู้ มีมารยา เราจกั เปน็ ผู้ ไมม่ ีมารยา ท�ำ สัลเลขะว่า เมอ่ื ผู้อน่ื เป็นผู้ กระด้าง เราจักเป็นผู้ ไม่กระด้าง ท�ำ สัลเลขะว่า เมอ่ื ผู้อื่นเป็นผู้ ดูหมนิ่ ทา่ น เราจักเป็นผู้ ไม่ดูหมน่ิ ท่าน 21

พทุ ธวจน - หมวดธรรม ทำ�สลั เลขะว่า เมื่อผ้อู ื่นเปน็ ผู้ วา่ ยาก เราจักเปน็ ผู้ วา่ งา่ ย ทำ�สัลเลขะว่า เมื่อผู้อ่นื เปน็ ผู้ มมี ติ รชั่ว เราจักเป็นผู้ มมี ิตรดี ทำ�สัลเลขะวา่ เมื่อผอู้ ื่นเปน็ ผู้ ประมาท เราจักเป็นผู้ ไม่ประมาท ทำ�สลั เลขะวา่ เมื่อผู้อน่ื เปน็ ผู้ ไม่มศี รทั ธา เราจักเปน็ ผู้ มศี รทั ธา ทำ�สลั เลขะว่า เมอื่ ผู้อื่นเป็นผู้ ไมม่ ีหริ ิ เราจักเปน็ ผู้ มีหริ ิ ทำ�สัลเลขะวา่ เมอ่ื ผู้อื่นเป็นผู้ ไมม่ โี อตตัปปะ เราจกั เป็นผู้ มโี อตตัปปะ ท�ำ สัลเลขะว่า เมื่อผอู้ ืน่ เป็นผู้ มีสตุ ะนอ้ ย เราจกั เปน็ ผู้ มสี ุตะมาก ทำ�สัลเลขะว่า เมือ่ ผู้อ่นื เป็นผู้ ขี้เกยี จ เราจักเปน็ ผู้ ปรารภความเพียร ทำ�สัลเลขะวา่ เมอ่ื ผู้อนื่ เป็นผู้ มีสตหิ ลงลืม เราจักเป็นผู้ มสี ติตง้ั มน่ั 22

เปดิ ธรรมท่ีถูกปดิ : กา้ วย่างอย่างพทุ ธะ ทำ�สลั เลขะวา่ เมื่อผู้อืน่ เป็นผู้ มปี ญั ญาทราม เราจักเปน็ ผู้ ถึงพรอ้ มดว้ ยปัญญา ท�ำ สัลเลขะวา่ เม่ือผู้อนื่ เปน็ ผู้ ลูบคล�ำ ดว้ ยทฏิ ฐิของตน เปน็ ผูย้ ึดถอื อยา่ งเหนียวแนน่ และเปน็ ผูย้ ากทจ่ี ะสลัดคนื ซง่ึ อุปาทาน เราจกั เปน็ ผู้ ไม่ลบู คล�ำ ดว้ ยทิฏฐขิ องตน เป็นผู้ไม่ยดึ ถอื อยา่ งเหนียวแน่น  และเปน็ ผงู้ า่ ยทีจ่ ะสลดั คืนซง่ึ อุปาทาน. 23

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมท่ีถกู ปดิ : กา้ วยา่ งอย่างพทุ ธะ ความทกุ ข์ของเทวดา 08 และมนุษย์ตามธรรมชาติ -บาลี สฬา. ส.ํ ๑๘/๑๕๙/๒๑๖. ภิกษุทั้งหลาย !   เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป บันเทิงแล้วในรูป ยอ่ ม อยเู่ ปน็ ทกุ ข์ เพราะความแปรปรวน จางคลาย ดบั ไป แห่งรปู . (ในกรณีแห่ง  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  และ ธรรมารมณ์ กต็ รสั อย่างเดียวกนั ). ภิกษุท้ังหลาย !   ส่วนตถาคตอรหันตสัมมา- สัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษและอบุ ายเครอ่ื งสลัดออกแห่งรปู ตามเป็นจริง ไม่มี รูปเปน็ ท่ีมายินดี ไม่ยนิ ดีในรปู ไมบ่ นั เทิงในรปู ยงั คงอยู่ เปน็ สขุ แมเ้ พราะความแปรปรวน จางคลาย ดบั ไปแหง่ รปู . (ในกรณีแห่ง  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  และ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน). 24

พุทธวจน - หมวดธรรม เปดิ ธรรมท่ถี ูกปิด : ก้าวย่างอยา่ งพทุ ธะ เปน็ ทุกขเ์ พราะตดิ อยู่ในอายตนะ 09 -บาลี สฬา. ส.ํ ๑๘/๑๖๑/๒๑๘. ภิกษทุ ั้งหลาย !   เทวดาและมนุษยท์ ง้ั หลาย มีรปู เสยี ง กล่นิ รส โผฏฐพั พะ ธรรมารมณ์ เป็นท่ี ร่นื รมย์ใจ ยนิ ดีแลว้ ในรปู เสยี ง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ บนั เทงิ ดว้ ยรปู เสยี ง กลนิ่ รส โผฏฐพั พะ ธรรมารมณ.์ ภิกษุท้ังหลาย !   เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เปน็ ทกุ ข์ เพราะความเปลีย่ นแปลง เสอ่ื มสลาย และความดับไปของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ.์ 25

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทีถ่ กู ปดิ : กา้ วยา่ งอยา่ งพทุ ธะ ความรู้สึก ทถี่ งึ กับทำ�ให้ออกผนวช 10 -บาลี ม.ู ม. ๑๒/๓๑๔-๓๑๕/๓๑๖., -บาลี ม. ม. ๑๓/๖๖๙-๖๗๒/๗๓๘. ภิกษทุ ้ังหลาย !   ในโลกน้ี ครง้ั กอ่ นแตก่ ารตรสั รู้ เมือ่ เรายงั ไมไ่ ด้ตรัสรู้ ยงั เป็นโพธิสัตวอ์ ยู่ ตนเองมี ความเกดิ เปน็ ธรรมดาอยแู่ ลว้  กย็ งั มวั หลง แสวงหาสง่ิ ทม่ี คี วามเกดิ เปน็ ธรรมดาอยนู่ น่ั เอง ตนเองมี ความแก ่ เปน็ ธรรมดาอยแู่ ลว้  กย็ งั มวั หลง แสวงหาสง่ิ ทม่ี คี วามแก ่ เปน็ ธรรมดาอยนู่ น่ั เอง ตนเองมี ความเจบ็ ไข้ เปน็ ธรรมดาอยแู่ ลว้  กย็ งั มวั หลง แสวงหาสง่ิ ทม่ี คี วามเจบ็ ไข ้ เปน็ ธรรมดาอยนู่ น่ั เอง ตนเองมี ความตาย เปน็ ธรรมดาอยแู่ ลว้  กย็ งั มวั หลง แสวงหาสง่ิ ทม่ี คี วามตาย เปน็ ธรรมดาอยนู่ น่ั เอง ตนเองมี ความโศก เปน็ ธรรมดาอยแู่ ลว้  กย็ งั มวั หลง แสวงหาสง่ิ ทม่ี คี วามโศก เปน็ ธรรมดาอยนู่ น่ั เอง ตนเองมี ความเศร้าหมอง โดยรอบดา้ น เปน็ ธรรมดา อยู่แล้ว  ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งท่ีมีความเศร้าหมอง โดยรอบด้าน เปน็ ธรรมดาอยู่นนั่ เอง อกี . 26

เปิดธรรมทถี่ กู ปิด : กา้ วยา่ งอยา่ งพุทธะ ภิกษุท้ังหลาย !   กอ็ ะไรเลา่   เปน็ สง่ิ ทม่ี คี วามเกดิ (เปน็ ตน้ ) ฯลฯ มคี วามเศร้าหมองโดยรอบดา้ น (เป็นทส่ี ดุ ) เป็นธรรมดา ? ภิกษุทั้งหลาย !   บุตรและภรรยา  มีความเกิด เป็นธรรมดา  ฯลฯ  มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็น ธรรมดา.  ทาสหญงิ ทาสชาย  มีความเกดิ เป็นธรรมดา ฯลฯ มคี วามเศร้าหมองโดยรอบดา้ นเป็นธรรมดา. แพะ แกะ มีความเกดิ เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศรา้ หมอง โดยรอบด้านเป็นธรรมดา.  ไก่  สุกร  มีความเกิดเป็น ธรรมดา ฯลฯ มคี วามเศรา้ หมองโดยรอบดา้ นเปน็ ธรรมดา. ชา้ ง โค มา้ ลา มคี วามเกดิ เปน็ ธรรมดา ฯลฯ มีความ เศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. ทองและเงนิ เปน็ ส่ิงที่มคี วามเกดิ เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศรา้ หมองโดย รอบด้านเป็นธรรมดา.  ส่ิงที่มนุษย์เข้าไปเทิดทูนเอาไว้ เหล่าน้ีแลท่ีชื่อว่า  สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา  ฯลฯ  มคี วามเศรา้ หมองโดยรอบดา้ นเป็นธรรมดา ซึง่ คนในโลกน้ี พากนั จมตดิ อยู่ พากนั มัวเมาอยู่ พากนั สยบอยู่ ใน ส่งิ เหลา่ นี้ จงึ ทำ�ให้ตนทง้ั ท่มี คี วามเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว 27

พทุ ธวจน - หมวดธรรม ก็ยังมัวหลงแสวงหา สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ท่มี คี วามเศร้าหมองโดยรอบดา้ นเป็นธรรมดา อยอู่ ีก. ภิกษุทั้งหลาย !   ความคดิ อนั น ้ี ไดเ้ กดิ ขน้ึ แกเ่ รา ว่า “ทำ�ไมหนอ เราซ่งึ มคี วามเกดิ ฯลฯ ความเศร้าหมอง โดยรอบดา้ น เปน็ ธรรมดาอยเู่ องแลว้ จะตอ้ งไปมวั แสวงหา สง่ิ ท่ีมีความเกดิ ฯลฯ ความเศรา้ หมองโดยรอบดา้ นเป็น ธรรมดาอยู่อกี . ไฉนหนอ เราผู้มีความเกดิ ฯลฯ ความ เศร้าหมองโดยรอบด้าน  เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว  คร้ัน ได้รู้สึกถึงโทษอันตำ่�ทรามของการมีความเกิด  ฯลฯ ความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาน้ีแล้ว  เราพงึ แสวงหานพิ พาน  อนั ไมม่ คี วามเกดิ   อนั เปน็ ธรรมทเ่ี กษม จากเคร่อื งรอ้ ยรัด  ไม่มธี รรมอน่ื ย่งิ กว่าเถดิ ”. ภิกษุทั้งหลาย !   เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก  ยัง หนุม่ เทยี ว เกสายงั ดำ�จดั บรบิ รู ณ์ดว้ ยความหนุ่มทก่ี ำ�ลัง เจริญ ยังอยู่ในปฐมวยั เมอื่ มารดาบิดาไมป่ รารถนาดว้ ย ก�ำ ลงั พากนั รอ้ งไหน้ �ำ้ ตานองหนา้ อย ู่ เราไดป้ ลงผมและหนวด ครองผา้ ยอ้ มฝาด ออกจากเรอื น บวชเปน็ ผไู้ มม่ เี รอื นแลว้ . ...ภารทว๎ าชะ !   ในโลกน้ี ครง้ั กอ่ นแตก่ ารตรสั รู้ เมอ่ื เรายงั ไมไ่ ดต้ รสั ร ู้ ยงั เปน็ โพธสิ ตั วอ์ ย ู่ความคดิ นเ้ี กดิ มแี กเ่ ราวา่   28

เปดิ ธรรมที่ถูกปิด : ก้าวยา่ งอย่างพุทธะ “ฆราวาส คบั แคบ เปน็ ทางมาแหง่ ธลุ ี ส่วน บรรพชา เป็นโอกาสว่าง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้ บรสิ ทุ ธ์บิ ริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสงั ขท์ เ่ี ขาขดั ดแี ลว้ โดยง่ายน้ันไม่ได้. ถา้ ไฉนเราพงึ ปลงผมและหนวด  ครองผา้ ยอ้ มฝาด ออกจากเรอื น  บวชเปน็ ผไู้ มม่ ปี ระโยชนเ์ กย่ี วขอ้ งดว้ ยเรอื น เถดิ ” ดงั นี.้ ... 29

พทุ ธวจน - หมวดธรรม เปิดธรรมทถ่ี ูกปิด : กา้ วยา่ งอยา่ งพทุ ธะ 30


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook