แผนบริหารการสอนประจำบทท่ี 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรียน หวั ขอ้ เน้ือหาประจำบท 1. แนวคิดการพยาบาลอนามัยโรงเรียน 2. บทบาทพยาบาลในการพยาบาลอนามยั โรงเรียน 3. หลักการดำเนนิ งานอนามยั โรงเรยี น 4. การตรวจสขุ ภาพนกั เรียน 5. การสอนสุขศึกษาในโรงเรยี น (School health education) 6. อนามยั สงิ่ แวดลอ้ มในโรงเรียน (Healthful school living) 7. ความสัมพนั ธ์ของการพยาบาลอนามัยโรงเรียนกับระบบสขุ ภาพชุมชน 8. แนวคดิ โรงเรยี นส่งเสรมิ สุขภาพ 9. แนวคิดทัศนคติ นโยบาย ความรว่ มมือการเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียนสง่ เสรมิ สุขภาพ 10. บทบาทพยาบาลอนามยั ชมุ ชนกับโรงเรียนสง่ เสรมิ สขุ ภาพ วัตถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม เพือ่ ให้ผูเ้ รยี นสามารถ 1. อธิบายแนวคดิ การพยาบาลอนามัยโรงเรยี นได้ 2. บอกบทบาทพยาบาลในการพยาบาลอนามัยโรงเรียนได้ 3. อธิบายหลักการดำเนินงานอนามยั โรงเรียนได้ 4. อธบิ ายหลกั การตรวจสขุ ภาพนักเรียนและสามารถตรวจสขุ ภาพนักเรยี นได้ 5. อธิบายหลกั การและความสำคัญของการสอนสุขศึกษาในโรงเรยี นได้ 6. บอกหลกั การอนามยั สง่ิ แวดล้อมในโรงเรยี นได้ 7. อธิบายความสมั พันธข์ องการพยาบาลอนามยั โรงเรยี นกับระบบสุขภาพชมุ ชนได้ 8. อธิบายแนวคดิ โรงเรยี นสง่ เสริมสุขภาพได้ 9. อธิบายแนวคิดทัศนคติ นโยบาย ความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพได้ 10. บอกบทบาทพยาบาลอนามัยชมุ ชนกับโรงเรียนสง่ เสรมิ สขุ ภาพได้
2 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสรา้ งเสริมสุขภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน วธิ ีสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอนประจำบท 1. วธิ สี อน 1.1 ใหเ้ นอ้ื หาอ่านลว่ งหนา้ (self-study) 1.2 มอบหมายงานใหน้ ักศกึ ษาคน้ ควา้ หัวขอ้ เรอื่ งที่จะเรยี น 1.3 บรรยาย/อภิปราย 1.4 จับคูฝ่ กึ สมั ภาษณ์ 1.5 ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่มและอภิปรายรว่ มกนั ในห้องเรียน 1.6 ประเมินความรหู้ ลังเรยี น 2. กิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 ผูส้ อนมีการทดสอบความรู้กอ่ นและหลงั การเรียน 2.2 ผูส้ อนบรรยายเนือ้ หา 2.3 ร่วมกันอภิปรายระหวา่ งผ้เู รียนและผูส้ อน 2.4 ผู้เรยี นวเิ คราะหส์ ถานการณท์ ่กี ำหนดให้ 2.5 ผู้เรียนทำแบบฝึกหดั ทา้ ยบท 2.6 ผู้เรยี นฝึกการตรวจสุขภาพนักเรยี นแล้วถา่ ยวิดโี อมาส่ง 2.7 ประเมินความรู้ก่อนและหลังเรียน ก่อนเรียนมีการแจ้งนักศึกษาเพื่อประเมิน คะแนนสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบในโปรแกรม Quizizz สอ่ื การเรียนการสอน 1. เอกสาร หนังสือ และตำราท่ีเกี่ยวข้องเชน่ 1.1 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพในระบบสุขภาพชุมชนของ กมลภู ถนอมสตั ย์ 1.2 หนังสือเรอ่ื ง อนามยั โรงเรียน (สมศกั ดิ์ จำปาโท, 2562) 1.3 หนังสือเรื่อง การพยาบาลชุมชน: อนามัยครอบครัว อนามัยโรงเรียน อนามัย สง่ิ แวดลอ้ มและอาชวี อนามัย (ศิวพร อง้ึ วฒั นา และรังสยิ า นารินทร์, 2561) 2. เวบ็ ไซต์ต่าง ๆ ท่ีเกยี่ วข้องเช่น 2.1 กระทรวงสาธารณสขุ URL:www.moph.go.th 2.2 โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย Thai Library Integrated system (ThaiLIS) URL: http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php 2.3 ฐานข้อมูลของ CINAHL ของคณะพยาบาลศาสตร์ https://search.ebscohost.com 2.4 ฐานข้อมูลของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม Springerlink (E-journals) (E-book) CRCnetBase
บทที่ 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น3 2.5 กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสุข URL: http://www.anamai.moph.go.th/ main.php?filename=index2012_1 2.6 สำนกั งานกองทนุ สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ http://www.thaihealth.or.th 2.7 สถาบนั วิจยั ระบบสาธารณสขุ (สวรส) https://www.hsri.or.th/ 2.8 สำนักงานหลกั ประกนั สขุ ภาพแหง่ ชาติ (สปสช.) https://www.nhso.go.th 3. แบบฝึกหัดทา้ ยบทเรียน 4. สื่อการเรียนออนไลน์ได้แก่ Learning Management System (LMS), Application การวัดผลและการประเมินผล 1. ประเมินเนื้อหาการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมจากรายงาน ตรวจสอบการส่งงานตามเวลา ทก่ี ำหนด การไมค่ ัดลอกผลงานผู้อ่ืน การอ้างอิงเอกสารโดยใช้ แบบประเมนิ ผลงาน/รายงาน 2. สังเกตการแสดงออกถึงการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยการ แสดงออกตอ่ อาจารย์และเพ่ือนร่วมชนั้ เรียน 3. การทดสอบกลางภาคเรียน 4. ประเมินการวิเคราะห์จากการอภิปราย และมีส่วนร่วมในการอภิปรายกรณศี ึกษาด้วยแบบ ประเมินการทำรายงานและการนำเสนอ 5. ประเมินการแสดงออกของการตระหนักถงึ ความรับผิดชอบในการเรียนรูต้ ามประสบการณ์ การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม โดยใช้แบบประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผดิ ชอบ 6. สังเกตและประเมินทักษะการสื่อสาร การนำเสนอและรายงานผลงานทางเทคโนโลยีท่ี เกี่ยวข้องโดย แบบประเมินการนำเสนอผลงาน/รายงาน
บทที่ 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น5 บทที่ 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น 1. แนวคิดการพยาบาลอนามยั โรงเรยี น โรงเรียนจดั เป็นสถาบันทางสงั คมพืน้ ฐานท่มี ีความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็น กำลังสำคัญของประเทศชาติ โดยมีหน้าที่พัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถ ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข การบริการพยาบาลอนามัยโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ อนามัยโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพของประชากรวัยเรียน โดยมีโรงเรียนเป็น ศูนย์กลางในการจดั ประสบการณ์การเรียนร้แู ละการปฏบิ ัติทางด้านสุขภาพให้กับนักเรยี น การจัดบริการ อนามัยโรงเรียนมีลักษณะเป็นบริการสาธารณสุข ผสมผสานซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การ ควบคุมปอ้ งกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟ้นื ฟูสุขภาพ เพื่อสง่ เสรมิ พัฒนาการเด็กวัยเรียนให้มีการ เจริญเติบโตตามวัย รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับสุขภาพ และสามารถนำ ความรู้ไปปฏิบัติในการดูแลตนเองและครอบครัวให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป (ศิวพร อึ้งวัฒนา และรังสิยา นารินทร์, 2561) นอกจากนี้การบริการอนามัยโรงเรียนยงั รวมไปถึงการดแู ลสุขภาพของบุคลากรทุกคน ในโรงเรียนอีกด้วย โดยการพยาบาลอนามัยโรงเรียนเป็นหน้าที่ของบุคคลหลายฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบ ได้แก่ ครูพยาบาล พยาบาลอนามัยโรงเรียน หรือพยาบาลอนามัยชุมชน ในกรณีที่ไม่มีพยาบาลอนามัย โรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ปกครองนักเรียน นอกจากนี้ ยังรวมบริการทันตสุขภาพไวด้ ้วย ซึ่งการ ดำเนนิ งานอนามัยโรงเรียนต้องอาศยั ความสมั พันธแ์ ละการประสานงานระหว่างโรงเรียน บ้านและชมุ ชน (จรยิ าวัตร คมพยคั ฆ์ และวนิดา ดุรงค์ฤทธชิ ัย, 2551) ทง้ั นีเ้ พื่อให้เด็กมสี ุขภาพท่ีดี ปราศจากโรคอันเกิด จากโรคติดต่อ และไม่ติดต่อท่ีมสี าเหตุจากพฤติกรรม และสิ่งแวดลอ้ ม อันเป็นอุปสรรคตอ่ การศึกษาเลา่ เรียน เนื่องด้วยหากเด็กเกิดความเจ็บป่วยจะส่งผลให้ศักยภาพในการศึกษาลดลงและอาจก่อให้เกิดการ แพร่กระจายของโรคไปสู่เพื่อนนักเรียน คนในครอบครัวและชมุ ชนตามมา ซ่ึงการบรกิ ารอนามัยโรงเรียน นั้นประกอบด้วยบริการสุขภาพแบบผสมผสานครอบคลุมใน 4 มิติ คือ การป้องกันโรค การส่งเสริม สุขภาพการรักษาโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพ วัตถุประสงค์ของการบริการอนามัยโรงเรียนการ บรกิ ารอนามยั โรงเรยี นมีวัตถปุ ระสงค์ ดังนี้ 1. เพอ่ื สง่ เสรมิ สุขภาพใหแ้ ก่นกั เรียน ครู ตลอดจนบุคลากรทุกคนในโรงเรียน 2. เพื่อเสริมสรา้ งทัศนคติท่ีดแี ละทักษะในการดูแลด้านสขุ ภาพแก่นักเรียนและบุคลากรทุกคน ใน โรงเรยี น
6 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพในระบบสุขภาพชุมชน 3. เพื่อจัดและดำเนินงานโครงการอนามัยโรงเรียนที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ แผนงานของโรงเรยี น และความตอ้ งการของชมุ ชน 4. เพ่อื ปอ้ งกันและควบคุมโรคตดิ ตอ่ ภายในโรงเรยี นได้อยา่ งถูกต้องเหมาะสม 5. เพื่อให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาล และป้องกันอุบัติเหตุภายในโรงเรยี น ถงึ การแก้ไขเบ้อื งตน้ เพือ่ ป้องกนั ความพกิ ารต่าง ๆ 6. เพื่อประเมินภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนตลอดจน ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดการส่งต้องเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ตอ่ ไป 7. เพ่ือพัฒนางานด้านวิชาการในการรวบรวมข้อมูลสุขภาพ ให้ความรู้ เผยแพร่ความรู้ด้าน สุขภาพ พัฒนางานวิจัยและนวตั กรรมดา้ นสขุ ภาพในโรงเรยี น 2. บทบาทพยาบาลในการพยาบาลอนามัยโรงเรียน บทบาทพยาบาลในการพยาบาลอนามยั โรงเรยี นมีบทบาทหน้าทีใ่ นการบริการอนามยั โรงเรียน ดังน้ี 2.1 บทบาทการใหบ้ ริการสุขภาพ 2.1.1 การสร้างเสรมิ สุขภาพ ประกอบดว้ ย 2.1.1.1 การตรวจสขุ ภาพนกั เรียน เป็นการค้นหานักเรียนทีม่ ีโรคหรือมขี ้อบกพร่อง ทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือในระยะเริ่มแรก ป้องกันมิให้เป็นโรครุนแรงหรือป้องกัน ความพกิ ารรวมถึงเป็นการจูงใจใหน้ กั เรียนมคี วามสนใจปรบั ปรงุ สุขภาพตนเอง 2.1.1.2การให้ความรเู้ รื่องการประเมินสุขภาพเบ้ืองต้นแก่ครูหรือนักเรียน เช่น การ ชงั่ นำ้ หนัก วดั ส่วนสงู โดยนำมาเทยี บกับเกณฑ์มาตรฐาน ทำใหเ้ ด็กนักเรยี นทราบถงึ การเปลีย่ นแปลงหรือ การเจริญเติบโตทผี่ ิดปกตขิ องร่างกาย 2.1.1.3 การลงบันทึกบัตรสุขภาพ นักเรียนทุกคนต้องมีบัตรบันทึกสุขภาพ ประจำตัวเพื่อตดิ ตามภาวะสุขภาพของนักเรียนแต่ละคนเป็นระยะ ๆ การส่งเสริมในนักเรียนด้านต่าง ๆ ไดแ้ กก่ ารออกกำลังกาย การรบั ประทานอาหารที่มีประโยชนก์ ารสง่ เสริมพฒั นาการ ฯลฯ 2.1.2 การป้องกันโรค ประกอบดว้ ย 2.1.2.1 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยจัดทำแผนในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จดั ทำแผนในการสรา้ งเสริมภูมคิ ุม้ กันโรคแก่นักเรียนให้ครอบคลุมตามระดบั อายขุ องนกั เรยี น 2.1.2.2 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพอนามัยและ ปลอดภัยแก่นักเรียนตลอดจนเป็นตวั อย่างที่ดีแก่ชุมชน
บทที่ 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น7 2.1.2.3 โรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับเด็กได้แก่ โรคที่เกิดจากสุขอนามัย โรคติดต่อ โรคจากพฤติกรรม 2.1.3 การรักษาพยาบาลเบื้องต้นโดยมือตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหา สุขภาพเช่น หวัด หิด เหา กลาก เกลื้อน มีบาดแผลเป็นต้น พยาบาลจะต้องให้การรักษาพยาบาล เบื้องต้นในปัญหา สุขภาพที่สามารถรักษาได้ หรือทำการส่งต่อนักเรียนเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมต่อไป 2.1.4 การฟื้นฟูสุขภาพพยาบาลทีร่ บั ผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนมหี น้าท่ีดูแลไม่ให้โรค สายตาหรือการได้ยินผิดปกติพยาบาลควรจะทดสอบสายและการได้ยินของนักเรียนปีละครั้ง หากพบ ความผิดปกติจะต้องให้การช่วยเหลือ เช่น ให้นักเรียนวัดสายตาประกอบแว่นหรือให้คำแนะนำแก่ ผ้ปู กครองเพื่อปอ้ งกนั ไมใ่ ห้นักเรียนมสี ายตาเละการไดย้ ินผิดปกติมากขึน้ 2.2 บทบาทในการสนับสนนุ โรงเรียนเพ่อื พฒั นาเป็นโรงเรยี นส่งเสริมสุขภาพ ไดแ้ ก่ การ ร่วมจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ ประสานงานให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน วิชาการ สื่อ จัดอบรมแกนนำนักเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินการ นอกจากนี้ พยาบาลยังมี บทบาทในดำเนินการศึกษาวิจัยเพือ่ พฒั นงานอนามัยโรงเรียนให้เหมาะ สมตอ่ ไป 3. หลกั การดำเนินงานอนามยั โรงเรียน โดยทั่วไป การจัดกิจกรรมอนามัยโรงเรยี นจะต้องดำเนินงานใน 4 ดา้ น คือ 3.1 บริการอนามัยในโรงเรียน (School health service) หมายถึง การที่โรงเรียนจัด ให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานทีจ่ ำเปน็ สำหรับนักเรียนทุกคนเพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพและ เฝ้าระวังภาวะสุขภาพการป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลเบื้องต้นจากครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญ คือ การตรวจสุขภาพและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้แก่ จัดให้มีบตั ร บันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน การตรวจสุขภาพนักเรียน การรักษาพยาบาลนักเรียนที่เจ็บป่วย การ ติดตามผลการรักษานักเรียนที่เจ็บป่วยทั้งที่บ้านและโรงเรียน การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการ สง่ เสริมโภชนาการในโรงเรียน 3.2 สขุ ศึกษาในโรงเรียน (School health education) 3.3 อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (Healthful school giving) เป็นการจัดสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน ใหถ้ ูกสุขลักษณะ 3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรยี น เพื่อให้นักเรียนได้รับการดแู ลอย่างต่อเนื่อง และเปน็ การเสรมิ สรา้ งความเข้าใจอนั ดีระหว่างเจา้ หนา้ ที่ ครู และผปู้ กครอง
8 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสร้างเสรมิ สขุ ภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน 4. การตรวจสขุ ภาพนกั เรียน สำหรับการตรวจสุขภาพนักเรียน สามารถจำแนกได้ 5 กลุ่ม (ศิวพร อึ้งวัฒนา และรังสิยา นารนิ ทร์ 2561) ดงั น้ี 4.1 การตรวจสุขภาพโดยแพทย์ นักเรียนควรได้รับบริการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เป็น ประจำทุกปี แต่เนื่องจากประเทศไทยยังมีบุคลากรแพทย์ไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการ ตรวจสุขภาพโดยบุคลากรระดับอืน่ ก่อน เช่น พยาบาลชุมชน หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งเมื่อ พบปัญหาที่ต้องการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือไม่สามารถแก้ไขได้จึงจะส่งไปรับการตรวจสุขภาพจาก แพทย์อย่างละเอียดอีกครั้ง โดยหลักการแล้วนักเรียนที่ควรมีโอกาสเข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ ได้แก่ นักเรียนที่เข้าใหม่ทุกคน นักเรียนที่เรียนอยู่ชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เนื่องจากเป็นนักเรียนที่จะจบ การศึกษาในแต่ละระดับและอาจมีการโยกย้ายโรงเรียน นักเรียนที่เป็นนักกีฬาของโรงเรียน เพ่ือ พิจารณาความเหมาะสมของการเล่นกีฬาประเภทนั้น ๆ นักเรียนที่ป่วยหรือประสบอุบัติเหตุในโรงเรยี น และไดร้ บั การส่งต่อจากครหู รอื พยาบาล และนกั เรียนท่ีจะออกคา่ ยพักแรม 4.2 การตรวจสุขภาพของช่องปากโดยทันตแพทย์หรือทันตภิบาล เป็นการส่งเสรมิ สุขภาพ ปาก ฟัน และรักษาโรคในช่องปากให้แก่นักเรียน ซึ่งอาจทำได้หลายลักษณะตามความเหมาะสมและ ความพร้อมด้านบุคลากรในชุมชน ทั้งนี้หากเป็นไปได้นกั เรียนควรได้รับการตรวจสภาพของปากและฟัน โดยทันตแพทย์หรอื ทนั ตภิบาลอยา่ งน้อยปลี ะครัง้ หากไมส่ ามารถติดต่อกับทนั ตแพทย์หรือทันตภิบาลได้ พยาบาลสามารถใหบ้ ริการตรวจสขุ ภาพในชอ่ งปากได้ เมื่อพบปญั หาจงึ สง่ ตอ่ ไปรับการดูแลตอ่ ไป 4.3 การตรวจสุขภาพโดยครู เป็นการตรวจสุขภาพนักเรียนในตอนเช้า (Morning inspection) เพื่อสำรวจความสะอาดของเสื้อผ้า ร่างกาย และความผิดปกติหรืออาการของโรคติดต่อ บางอย่างซึ่งครูสามารถตรวจสุขภาพในเด็กนักเรียนชั้นประถมอย่างสม่ำเสมอทุกวันก่อนเข้าชั้นเรียน และเม่อื พบความผิดปกตกิ ็จะรายงานใหเ้ จ้าหน้าท่ีสาธารณสขุ ผู้รับผิดชอบทราบเพื่อหาทางชว่ ยเหลือ 4.4 การตรวจสุขภาพโดยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ที่สาธารณสุข การตรวจสุขภาพนักเรียน โดยพยาบาลสาธารณะสุขหรือเจา้ หน้าที่ท่ีไมใ่ ช่แพทย์เปน็ การคัดกรองนักเรียนท่ีมีความผิดปกติทางด้าน สุขภาพอนามัยเพื่อให้การรักษาหรือส่งต่อไปรับการรักษาจากแพทย์ได้แก่การใช้น้ำหนักและการวัด สว่ นสูงการวัดสายตาการตรวจสุขภาพช่องปากการทดสอบการไดย้ ินการตรวจร่างกายการบันทกึ สุขภาพ นักเรียนการรักษาพยาบาลใหศ้ ึกษาและติดตามผลการรักษา 4.5 การตรวจสุขภาพของนักเรียนด้วยตนเอง การตรวจสุขภาพของนักเรียนด้วยตนเอง การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพตนเองให้มากขึ้นจึงได้ให้ นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้น ป.5 และ ป.6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีการบันทึก การตรวจสขุ ภาพด้วยตนเองในหัวข้อต่อไปน้ี
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น9 4.5.1 การตรวจหาความผดิ ปกตขิ องร่างกาย 4.5.2 การตรวจดคู วามเจริญเติบโตของร่างกาย 4.5.3 การตรวจความสะอาดของร่างกายและเส้อื ผา้ 4.5.4 การสำรวจภาวะสายตา 4.5.5 การไดย้ นิ 4.5.6 การประเมินความเครยี ด 4.5.7 ความรู้เรอื่ งพัฒนาการทางเพศของวัยรุน่ โดยนักเรียนจะต้องตรวจสุขภาพตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อพบความผิดปกติให้ แจ้งแก่ครูประจำชั้นเพื่อให้การชว่ ยเหลอื หรอื สง่ ต่อเพื่อรับการดูแลรกั ษาที่เหมาะสมต่อไป ครูประจำชั้น หรือครูพยาบาลจะนำข้อมลู ความผิดปกติบันทึกลงในบัตรบนั ทึกสขุ ภาพ ครูประจำชั้นจะเป็นผู้เก็บแบบ บันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองและส่งต่อครูประจำชั้นคนใหม่เมื่อนักเรียนเลื่อนชั้น ให้นักเรียนเมื่อ ย้ายโรงเรียนอยา่ งไรก็ตามการตรวจสุขภาพในโรงเรยี น บันทึกผลลงในบัตรสุขภาพ และทั้งนี้การตรวจสุขภาพเพื่อให้เห็นส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายอยา่ งชัดเจนและรวดเรว็ ควรใหน้ ักเรียนทำท่า 10 ทา่ ตรวจ ดังต่อไปน้ี ท่าที่ 1 ยื่นมือออกไปข้างหน้าให้สุดแขนทัง้ สองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว เพื่อสังเกตความ สะอาด ความพกิ าร ความผดิ ปกติ รวมทง้ั รอยโรคตา่ ง ๆ บริเวณ แขน มือ นิว้ งามมอื และเลบ็ ภาพท่ี 9.1 การตรวจสขุ ภาพนักเรยี นทา่ ท่ี 1 ทา่ ที่ 2 ย่นื มอื ออกไปขา้ งหนหงายมือกางน้ิวออกทกุ นวิ้ เพ่อื สังเกตสขี องฝา่ มือวา่ ซีดหรือไม่ ปกติฝ่ามอื ควรมีสีชมพู สังเกตความสะอาด ความพิการ ความผิดปกติและรอยโรค ภาพที่ 9.2 การตรวจสุขภาพนกั เรียนทา่ ท่ี 2
10 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสร้างเสรมิ สุขภาพในระบบสุขภาพชุมชน ทา่ ท่ี 3 งอข้อศอกทงั้ สองข้างใช้นวิ้ แตะเปลือกตาล่างดงึ ลงเบาๆ กลอกตาข้นึ บนและลงล่าง แล้วกลอกไปทางซ้ายและขวา เพื่อสังเกตลักษณะขอบตา เยื่อบุเปลือกตา ขนตา ลูกตา แก้วตา ม่านตา ลกั ษณะของขต้ี า รวมท้ังสงั เกตบริเวณหลังแขนและขอ้ ศอก ภาพที่ 9.3 การตรวจสุขภาพนักเรยี นทา่ ที่ 3 ทา่ ท่ี 4 ปลดกระดมุ หนา้ อกเส้อื ออก 1-2 เม็ด ใช้มอื ทง้ั สองข้างดึงคอเสื้อใหก้ ว้างหันหน้าไป ข้างซ้ายและขวาเล็กน้อยให้เห็นรอบรอบบริเวณคอด้านข้างด้านหน้าและด้านหลังเพื่อสังเกตความ สะอาดและความผิดปกติของผิวหนังบริเวณคอและหน้าอกเช่นแผลตุ่มผื่นกลากเลื่อนแล ะสังเกตต่อม น้ำเหลอื งท่คี อและต่อมไทรอยด์วา่ โตหรอื ไม่ ภาพท่ี 9.4 การตรวจสขุ ภาพนักเรียนทา่ ที่ 4 ท่าที่ 5 ให้นักเรียนหันหน้าไปทางซ้าย นักเรียนหญิงใช้มือขวาเปิดผมให้สูงขึ้นเหนือ ด้านหลังหูขวา นกั เรียนชายหนั หน้าไปทางซา้ ยไมต่ ้องปดั ผม ภาพท่ี 9.5 การตรวจสขุ ภาพนกั เรยี นท่าที่ 5
บทที่ 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น11 ท่าที่ 6 ให้นักเรียนหันหน้าไปทางขวา นักเรียนหญิงใช้มือซ้ายเปิดผมให้สูงขึ้นเหนือ ด้านหลังหูช้ายนักเรียนชายทันหน้าไปทางขวาไมต่ ้องปดั ผม วัตถุประสงค์ของท่าที่ 5 และ 6 เพื่อสังเกต ความสะอาดบริเวณใบหู รอยโรคต่าง ๆ เส้นผม และไข่เหา ภาพท่ี 9.6 การตรวจสุขภาพนกั เรยี นทา่ ท่ี 6 ท่าที่ 7 กัดฟันและยิ้มกว้างใหเ้ ห็นเหงือกเตม็ ทีเ่ พื่อสังเกต สีริมฝีปาก ซีด แห้ง แตก มีแผล แผลที่มุมปากตรวจหาฟันผุบริเวณฟันหน้า เหงือกและรอยต่อระวังเหงือกกับฟัน สังเกตผิวหนังท่ัว บริเวณใบหน้า ภาพที่ 9.7 การตรวจสุขภาพนกั เรยี นท่าท่ี 7 ทา่ ท่ี 8 อา้ ปากกว้าง แลบลน้ิ ออกมาใหย้ าวทีส่ ดุ พรอ้ มท้งั เงยหนา้ เล็กน้อยและรอ้ ง \"อ\" เพ่ือ สังเกตฟันผุและจำนวนซี่ที่ผุ และสังเกตพื้นผิของลิ้นเพื่อดูความผิดปกติ เช่น ชืด เป็นฝ้าขาว แตก หรือ อักเสบ ดูจมูก ภายนอกและในรูจมูกว่ามีแผล น้ำมูก ความพิการ เยื่อบุปาก เหงือก ฟันส่วนใน เพดาน ชอ่ งคอ ต่อมทอนซลิ หลังจากน้นั ให้หบุ ปากกลืนนำ้ ลายเพ่ือดวู า่ ตอ่ มไทรอยด์มขี นาดปกตหิ รือโตผดิ ปกติ ภาพท่ี 9.8 การตรวจสุขภาพนกั เรยี นท่าท่ี 8
12 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพในระบบสขุ ภาพชุมชน ทา่ ท่ี 9 ใหน้ ักเรยี นยืนแยกเท้าหา่ งกนั 1 ฟุต นักเรียนหญิงจับกระโปรงดงึ ข้นึ เหนอื เข่า ภาพที่ 9.9 การตรวจสขุ ภาพนกั เรยี นท่าที่ 9 ทา่ ที่ 10 ให้นักเรยี นหนั หลังและเดินช้า ๆ ไปขา้ งหนา้ 4-5 กา้ ว แล้วเดนิ กลับมาหาผู้ตรวจ วัตถุประสงค์ท่าที่ 9 และ 10 เพื่อสังเกตบริเวณข่า หน้าแข้ง น่อง ลักษณะของกระดูก ผิวหนัง ท่าทาง การเดนิ ภาพท่ี 9.10 การตรวจสขุ ภาพนักเรียนท่าท่ี 10 การตรวจร่างกายในนกั เรยี นมรี ายละเอียด ดังตอ่ ไปนี้ 1. การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เป็นการประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียนช่วยให้ ทราบวา่ รา่ งกายของนักเรียนมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัยหรือไมโ่ ดยการนำผลทไ่ี ด้ไปเปรียบเทียบ กับมาตรฐานน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งกองอนามัยโรงเรียนได้จัดทำไว้การชั่งน้ำหนักควรทำทุกเดือนหรือ อย่างน้อยเทอมละครั้ง การวัดส่วนสูงควรทำเทอมละครั้ง การชั่งน้ำหนักคนทำตามมาตราเดียวกันและ ใช้เครื่องชง่ั เดยี วกันทกุ คร้งั การประเมนิ ภาวะโภชนาการด้วยน้ำหนกั และสว่ นสูงมี 3 วิธีคือ 1.1 น้ำหนักตามเกณฑ์อายุแสดงถึงภาวะพร่องโภชนาการคือ น้ำหนักต่ำกวา่ เกณฑ์หรือ มีการพร่องด้านความสูง (ความสูงต่างกัน 1 เซนติเมตรอาจทำให้น้ำหนักต่างกันเกือบ 1 กิโลกรัม) หรือ อาจมีภาวะพร่องทางน้ำหนักและส่วนสูงกราฟเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์อายุมีข้อด้อยหรือไม่อาจแยกว่า เด็กมีภาวะพร่องด้านน้ำหนักหรือส่วนสูงรวมทั้งไม่สามารถระบุปัญหาโภชนาการเกินได้เพราะเด็กที่มี ปญั หาโภชนาการเกนิ อาจมนี ำ้ หนักตามเกณฑ์อายอุ ยู่ในเกณฑป์ กติ 1.2 ส่วนสงู ตามเกณฑ์อายุแสดงระดบั การเจรญิ เติบโตของเด็กไดช้ ัดเจนกวา่ กราฟแสดง น้ำหนักเกณฑ์อายุเพราะเด็กจะต้องไม่สูงเกินปกตินอกจากคนที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน จึงควรใช้
บทที่ 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น13 เป็นตัวบ่งช้ีเพื่อประเมินการเจรญิ เติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตามความสูงมีการเปล่ียนแปลงอย่างชา้ ๆ จึง จำเป็นต้องตดิ ตามและประเมินผลในระยะยาว 1.3 น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ใช้ประเมินภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และภาวะผอม ควรใชค้ วบค่กู บั การเทียบส่วนสูงตามเกณฑอ์ ายุ เพราะการท่เี ด็กเต้ียอาจมนี ำ้ หนักทสี่ มสว่ นกับความสงู 2. ผวิ หนงั การตรวจผิวหนงั ใชว้ ธิ ีการดูต้ังแต่ศีรษะถึงปลายเท้า โดยใช้ท่าตรวจสุขภาพทำ ให้ 1, 2, 3, 5, 6 ร่วมกับการชกั ถามอาการ ดงั นี้ 2.1 ศีรษะ และเส้นผม : ดูเชื้อราบนศีรษะ ดูตัวเหา และไข่เหาบนเส้นผม และดูผื่น แผลผมรว่ ง และผมหายเปน็ หย่อมๆ 2.2 เล็บ : เล็บปกตมิ สี ีชมพู ผวิ เรยี บ ไม่ขรขุ ระ ถา้ ตวั เลบ็ หรือเน้ือใต้เลบ็ ผดิ ปกติ จะทำ ให้สีเปลี่ยน เช่น เชื้อรา ที่เล็บทำให้เล็บเป็นสีขาวขุ่น เล็บสีเหลืองเป็นอาการของโรคตับอักเสบหรือ ร่างกายสะสมวิตามินเอมากเกินไป เล็บซีด แสดงภาวะโลหิตจาง เล็บเขียวคล้ำเป็นอาการของโรคหัวใจ หรอื โรคปอดเรือ้ รัง 2.3 สีของผิวหนัง: อาการตัวเหลืองตาเหลือง (ดูที่ตาขาว) เป็นอาการของโรคตับ มาลาเรียและโรคเลือดอาการตัวเหลืองจากการสะสมแคโรทีนมากเกินไปทำให้ผิวหนังมีสีเหลืองส่วนตา ขาวและเหงือกไม่เหลืองซ่ึงอาการเหลืองจะหายไปเมื่อหยุดรับประทานอาหารท่ีมีแคโรทีนเช่น มะละกอ ฟกั ทอง อาการซีด ดูท่เี ลบ็ และฝา่ มอื เปลือกตา รมิ ฝีปาก เหงอื ก และลิ้นซึ่งแสดงภาวะโลหิตจาง 3. ตา และการวดั สายตา ใช้ถ้าตรวจสขุ ภาพท่าที่ 3 โดยตรวจไม่เปิดเปลือกตามีขนตาร่วง เป็นยอมยอมของเปลือกตาทั้งบนและล่าง มีตุ่ม เม็ด บวม แดงสังเกต ลักษณะหนังตาตกดูจากด้านข้าง ว่ามีลักษณะตาโปนซ่ึงเปน็ อาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ดูการเคลื่อนไหวของลูกตาทั้งสองข้างตาขาว คนปกติ ตาขาวมีสีขาวอมฟ้าอ่อนๆ ตาขาวมีสีเหลืองเป็นอาการของโรคตับถ้ามีเส้นเลือดแดงเรื่อ เป็น อาการอกั เสบของเยอ่ื บุหรือถูกกระแทกหากพบแผน่ เนอ้ื บาง ๆ งอกจากหวั ตา เปน็ อาการของก้อนเนอ้ื 3.1 ตาดำ: คนปกติตาดำที่อยู่ตรงกลางนัยน์ตาเพื่อมองตรงไม่ควรเอียงไปด้านใด ด้านหน่งึ 3.2 เยื่อบุตา : ปกติมีสีชมพูอ่อนเยื่อบุตาสีชมพูเข้มหรือแดงแสดงว่ามีตาอักเสบเยื่อบุ ตาซีดแสดงวา่ มีภาวะโรคโลหิตจาง 3.3 การวดั สายตา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรทราบเรื่องการวัดสายตาของนักเรียนที่ถูกต้อง เพ่ือ แนะนำครู และนักเรยี นใหส้ ามารถวัดสายตาได้ การวัดสายตาเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการจัดที่นั่งในห้องเรียน และช่วยเหลือนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติให้ได้รับการตรวจแก้ไขอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักเรียนควรได้รับการ ตรวจสายตาทุกปีหรือในรายที่ครูรายงานว่ามีอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ หรี่ตาขมวดคิ้ว หรือต้องเพ่งเมื่อ
14 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสร้างเสรมิ สุขภาพในระบบสขุ ภาพชุมชน อ่านหนังสือ ทั้งนี้ผู้ที่สามารถให้บริการวัดสายตาได้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาลประจำโรงเรียน และครหู รือนักเรยี นซ่ึงผ่านการอบรมเกยี่ วกับวิธีการวัดสายตาอย่างไรก็ตามนักเรียนต้งั แต่ช้นั ป.1 ขึ้นไป จะต้องไดร้ ับการตรวจวัดสายตาปีละคร้ัง โดยมีขัน้ ตอนและวิธีการตรวจวัดสายตาในเด็กวัยเรียนดังน้ี ขนั้ ตอนและวธิ ีการตรวจวัดสายตาในเด็กวยั เรียน 1. การเตรียมอปุ กรณ์ 1.1 แผ่นวัดสายตารูปตัวอี (E-CHART) เป็นเครื่องมือวัดความสามารถในการมองเห็น ว่าปกติหรอื ผดิ ปกติ 1.2 แว่นรูเข็ม เป็นเครื่องมือแยกความสามารถในการมองเห็นทีผ่ ิดปกตินั้นวา่ มีสาเหตุ เกิดจากโรคตาหรอื แยกความสามารถในการมองเหน็ ทผ่ี ิดปกติ 1.3 เทปวัดระยะทาง 1.4 กระดาษแข็ง หรืออปุ กรณ์อ่นื ท่ีตดั เปน็ รปู ตัว E 2. การเตรียมสถานท่ี 2.1 สถานที่มีความยาวไมน่ อ้ ยกว่า 6 เมตร 2.2 มพี ืน้ ท่ีและแผน่ ฝาที่เรียบทบึ 2.3 มแี สงสวา่ งในบริเวณนน้ั อยา่ งเพียงพอ 3. การตดิ แผน่ วัดสายตาและเตรียมตัวผ้ทู วี่ ดั สายตา 3.1 ชแี้ จงให้นักเรียนเข้าใจวธิ วี ดั สายตา และจดุ ประสงคใ์ นการวดั สายตา 3.2 ตดิ แผน่ วดั สายตาที่ฝาผนงั ในแถวสดุ ทา้ ยอยใู่ นระดบั สายตานักเรยี นโดยเฉล่ีย 3.3 ใช้เทปวัดระยะทางจากฝาผนงั ท่ีติดแผ่นวัดสายตา โดยลากเส้นดิ่งถึงพ้ืนแลว้ วัดต่อ อีก 6เมตร แต่ละเมตรเขียนเลขกำกบั แต่ละเมตรวา่ 1,2,3,4,5,6 ตามลำดับ 3.4 ทร่ี ะยะทางทย่ี ืน ณ จุด 6 เมตร ควรทำกรอบส่เี หล่ียมไวใ้ ห้นกั เรยี นยืน 3.5 ถ้านักเรียนสวมแว่นสายตา ให้ถอดแว่นสายตา วัดก่อน 1 ครั้ง แล้วบันทึกผลใน ชอ่ ง \"วัดสายตา ไมส่ วมแวน่ \" ต่อมา ใหน้ กั เรยี นสวมแวน่ แลว้ วดั อีก 1 ครง้ั เพ่ือจะได้ทราบว่าแว่นสายตา ของนกั เรียนเหมาะสมกบั สายตาหรือไม่ แลว้ บนั ทึกวดั สายตาในช่อง \"วดั สายตาสวมแว่น\" การบนั ทึกผลการตรวจวดั สายตา การบันทึกผลความสามารถในการมองเห็น (Visual Acuity = VA) เป็นเศษส่วนโดย เศษ = ระยะทางที่ นักเรียนยืน (6,5,4.3.2,1) ส่วนบน=ระยะตัวอักษรที่อ่านได้บนแผ่นวัดสายตา (6, 12, 18, 24, 36, 60) ซึ่งสามารถ สรุปได้ดังนี้ VA = Visual Acuity คือความสามารถในการมองเห็นวัตถไุ ดช้ ดั
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น15 1. ความสามารถในการมองเหน็ = ระยะทางที่นักเรียนยืน (ผู้ถูกตรวจ) ระยะตัวอักษร ที่อ่านได้บนแผ่นวัดสายุตา (คือระยะทางการเห็นวัตถุได้ชัดเจนของผู้ที่สายตาปกติ) ซึ่งคนปกติมี ความสามารถในการมองเหน็ 6/6 2. ระยะตัวอักษรต่าง ๆ ที่อ่านได้บน E-CHART หมายถึง ระยะทางการเห็นวัตถุได้ชัด ของผ้ทู ่ี สายตาปกติ เช่น - คนทสี่ ายตาปกตจิ ะเหน็ ตัวอักษรแถวล่างสดุ เมอื่ ยนื หา่ งแผน่ ภาพ 6 เมตร - คนท่สี ายตาปกตจิ ะเหน็ ตวั อกั ษรแถวท่ี 2 เมอ่ื ยืนหา่ งแผน่ ภาพ 9 เมตร - คนท่ีสายตาปกตจิ ะเห็นตวั อักษรแถวท่ี 3 เมอ่ื ยืนหา่ งแผน่ ภาพ 12 เมตร - คนทส่ี ายตาปกติจะเหน็ ตวั อกั ษรแถวที่ 4 เมอ่ื ยนื หา่ งแผน่ ภาพ 18 เมตร - คนที่สายตาปกตจิ ะเห็นตวั อักษรแถวที่ 5 เมื่อยนื หา่ งแผ่นภาพ 24 เมตร - คนที่สายตาปกติจะเห็นตวั อักษรแถวที่ 6 เมอ่ื ยนื ห่างแผน่ ภาพ 36 เมตร - คนที่สายตาปกตจิ ะเห็นตวั อกั ษรแถวบนสดุ เม่ือยนื ห่างแผน่ ภาพ 60 เมตร ภาพท่ี 9.11 ตัวอยา่ งแผ่นทดสอบสายตาแบบ E-chart
16 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสรา้ งเสริมสุขภาพในระบบสขุ ภาพชุมชน 3. กรณีที่นักเรียนยืนอยู่ที่ระยะ 6 เมตร มองเห็นบรรทัดบนสุดได้บรรทัดเดียว ให้ บนั ทกึ ผลวา่ 6/60 หมายถงึ สายตาของนกั เรยี นทีย่ ืนในระยะทาง 6 เมตร มองเหน็ เทา่ กับสายตาคนปกติ ท่ยี นื ในระยะทาง 60 เมตร 4. กรณีนักเรียนยืนที่ระยะ 6 เมตร มองไม่เห็นบรรทัดบนสุดให้นักเรียนเดินมายืนเส้น เท้าชิดกัน ให้บันทึกว่า 5/60 ซึ่งหมายถึงระยะ 5 เมตร แล้วให้อ่านเฉพาะบรรทัดบนสุดเท่าน้ัน ถ้ามองเห็นให้ในระยะทาง 5 เมตร มองเห็นเท่ากับสายตาคนปกติที่ยืนในระยะ 60 เมตร สายตาของ นกั เรยี นท่ยี ืนในระยะท่ี 5 เมตร 5. กรณีนักเรียนยืนที่ระยะ 5 เมตร มองไม่เห็นบรรทัดบนสุดให้นักเรียนเดินมายืนท่ี ระยะ 5 เมตรมองไม่เห็นบรรทัดบนสุดให้นักเรียนเดินมายืนเท้าชิดเส้นที่ระยะ 4 เมตร 3 เมตร 2 เมตร และ 1 เมตรตามลำดับ จนกว่านักเรียนจะมองเห็น อักษรบรรทัดบนสุด โดยบันทึกว่า 4/60 หรือ 3/60 หรือ 2/60 หรอื 1/60 ตามลำดับ 6. การบันทึกกรณีที่อ่านผิดไม่เกินกึ่งหนึ่งของตัวเลขในบรรทัดนั้น ๆ ให้เขียน เครื่องหมาย - (ลบ) ตามด้วยจำนวนตัวเลขที่อ่านผิด เคยบันทึกที่ส่วน เช่น กรณีนักเรียนยืนที่ระยะ 6 เมตรอ่านผิด 1 ตวั ให้ บันทกึ เปน็ 6/6-1 (พิมพเ์ ปน็ ยกกำลังท่ีส่วน) วิธกี ารวัดสายตา 1. วัดสายตาทลี ะขา้ ง โดยวดั ข้างขวาก่อนเสมอ 2. ใหน้ ักเรยี นยนื ในกรอบ 3. นักเรียนปิดตาข้างซ้ายด้วยมือซ้ายเบา ๆ มือขวาถือตัว E แล้วหันไปทางทิศเดียว เดียวกับตัว E ที่ผู้วัดชี้บนแผ่น E-CHART โดยให้นักเรียนอ่านตั้งแต่บรรทัดบนสุดลงมา จนถึงบรรทัด สดุ ทา้ ยที่นกั เรียนสามารถอ่านได้เกนิ ครง่ึ ของบรรทดั น้นั แล้วบนั ทึกในช่อง \"ขวา\" 4. ใหน้ ักเรยี นทำเช่นเดียวกันเม่ือวดั ตาข้างซ้าย 5. ถา้ นักเรียนมีความสามารถในการมองเห็นปกติ คา่ V.A.= 6/6 6. ถา้ นกั เรียนมีความสามารถในการมองเห็นทผ่ี ิดปกติ ถือวา่ เป็นค่า VA. ซึ่งผดิ ปกติค่า V.A จะต่ำกว่า 6/6 ได้แค่ 6/9 6/12 6/18 6/24 6/36 6/60 5/60 4/60 3/60 2/60 1/60 ค่า VA. ที่ผิดปกติต้องมองผ่านแว่นรูเข็ม(PIN-HOLE) ค่าที่ได้คือ ค่า (PIN-HOLE) ค่าที่ได้ คือคา่ V.A. ������̅ PIN-HOLE สาเหตทุ ี่ทำให้เกิดการมองเห็นทีผ่ ดิ ปกติ 1. การมองเห็นที่ผิดปกติซึ่งเกิดจาก สายตาผิดปกติ ต้องมองผ่านแว่นรูเข็ม ค่า VA ������̅ PIN.HOLE จะดีขึน้ ต้องสง่ จักษุแพทยเ์ พื่อ วดั สายตาประกอบแว่น เช่น คา่ V.A. ตาขวา = 6/18 ตาซ้าย = 6/36 คา่ V.A. ������̅ PIN-HOLE ตาขวา = 6/9ตาซา้ ย = 6/9
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น17 ตารางที่ 9.1 การบันทึกผลการวดั สายตาลงในบันทกึ สุขภาพนกั เรียน วนั เดือน ปี ตา 21 มิ.ย. 21 มิ.ย. 21 มิ.ย. 21 ม.ิ ย. 21 ม.ิ ย. 21 ม.ิ ย. 2558 2558 2558 2558 2558 2558 วัดสายตาไม่ ขวา 6/6 6/9 6/12 6/18 6/18 สวมแวน่ ซา้ ย 6/6 6/9 6/9 6/18 6/18 วัดสายตาสวม ขวา 6/6 แว่น ซา้ ย 6/6 วัดสายโดยใช้ ขวา 6/6 Pin-Hole ซา้ ย 6/6 การได้ยิน ขวา ซา้ ย 2. การมองเห็นที่ผิดปกติซึ่งเกิดจากโรคตา ต้องมองผ่านแว่นรูเข็มต้องส่งจักษุแพทย์เพื่อ ตรวจหาสาเหตแุ ละให้การรกั ษา ค่า VA PIN-HOLE จะเปน็ ได้ 2 กรณี 2.1 ค่า V.A. ������̅ PIN-HOLE เท่าเดิม เช่น คา่ V.A. ตาขวา = 6/18 ตาซ้าย = 6/36 ค่า V.A. ������̅ PIN-HOLE ตาขวา = 6/18 ตาซา้ ย = 6/36 2.2 ค่า V.A. ������̅ PIN-HOLE เลวลง เชน่ คา่ V.A. ตาขวา = 6/18 ตาซา้ ย = 6/36 คา่ V.A. ������̅ PIN-HOLE ตาขวา = 6/24 ตาซ้าย = 6/60 การวนิ ิจฉัยภาวะสายตาผดิ ปกติ พจิ ารณาดังน้ี 1. ความสามารถในการมองเหน็ 6/9-6/12 ตอ้ งทำการเฝา้ ระวงั โดยการวัดสายตาปีละหน่ึง ครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีอาการปวดศีรษะปวดกระบอกตาสายตามัวลงเป็นต้นภายหลังการใช้ สายตาตอ้ งส่งพบจกั ษุแพทย์ 2. ความสามารถในการมองเหน็ น้อยกวา่ 6/12 ต้องส่งพบจกั ษแุ พทย์ 3. ความสามารถในการมองเหน็ ของตา 2 ข้าง ตา่ งกนั เกนิ 2 แถว เชน่ ขวา6/6 ซา้ ย 6/24 หรอื ขวา 6/6 ซา้ ย 6/18 ตอ้ งรบี ส่งจักษุแพทย์เพอื่ วัดสายตาประกอบแว่น อาการเตอื นทแี่ สดงให้ทราบวา่ สายตาน่าจะผดิ ปกติ ไดแ้ ก่ อาการดงั ตอ่ ไปนี้ 1.เวลามองมกั ต้องเอามือเช็ดตา ขย้ตี า เพราะเหน็ ภาพไมช่ ัด 2 หยีตาเวลามอง เพราะเห็นภาพไมช่ ัด เอยี งคอ หันขา้ ง เขียนหนังสือไมต่ รง 3.ตอ้ งจ้อง หรือเพ่งตาเวลามองดขู องเลก็ ๆ
18 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสร้างเสรมิ สุขภาพในระบบสขุ ภาพชุมชน 4. เป็นตากุ้งยงิ เสมอ หนงั ตาอักเสบบ่อย ๆ 5. น้ำตาไหล 6. ตาเหล่ เมอื่ มองดขู องใกล้ ของไกล ชอบเดินไปดูหน้ากระดานดำ 7. ตาแดง หนังตาบวม 8. ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา หลังใชส้ ายตาเปน็ ประจำ 9. งว่ งนอนเวลาเรยี น 10. เรยี นหนังสอื ไมไ่ ด้ดี ผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากไม่แก้ไขเมื่อสายตาผิดปกติหากสายตาผิดปกติและไม่ได้รับการแก้ไขจะ ส่งผลใหเ้ กิดอาการต่าง ๆ ดงั นี้ 1. มองไม่ชัด 2. ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดตา 3. เพลยี ตา และใช้สายตาไมท่ น 4. น้ำตาไหล 5. บุคคลที่สายตาผิดปกติไม่เท่ากันมาก ๆ แล้วไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้เกิดตาเหล่หรือ ตาบอดแบบไม่ใช้งานหรอื ตาขเี้ กยี จ (amblyopia) 4. หู และการทดสอบการไดย้ นิ ใชถ้ า้ ตรวจสขุ ภาพตาท่ี 5, 6 ดูผวิ หนงั และบริเวณใบหดู ้านหน้าและด้านหลงั เพ่ือค้นหาแผล เบ่อื นำ้ เหลืองหรอื หนองในรหู ูซง่ึ เป็นอาการของหูน้ำหนวก ส่วนการทดสอบการไดย้ ินในเด็กนักเรียนที่ครู รายงานว่าขณะฟังจะหันหรือตะแคงศีรษะ ฟัง ตอบไม่ตรงคำถาม พูดเสียงดัง มีสีหน้าสงสัยเมื่อมีผู้พูด ด้วย นักเรียนที่อยู่ในข่ายสงสัยว่าอาจจะมีอาการหูตึงหรือกลุ่มที่ฟื้นจากโรคบางอย่าง เช่น หัด ไข้ หรือ เป็นหวัดบ่อย ๆ การทดสอบการได้ยินอย่างง่ายทำได้โดยให้ผู้ถูกตรวจหันหลังให้ผู้ตรวจผู้ตรวจใช้ นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ถูกันห่างจากหูประมาณ 1 นิ้ว แล้วถามผู้ถูกตรวจได้ยินหรือไม่ซึ่งในคนปกติจะ สามารถได้ยินเสยี ง หรือทดสอบโดยใหผ้ ู้ถูกตรวจยนื หนั หลังห่างจากผู้ตรวจ 5 ฟุตให้ผตู้ รวจเรียกช่ือหรือ ให้ผู้ถกู ตรวจทำตามคำส่ังด้วยเสยี งดังปกติถ้าผู้ถูกตรวจขานตอบหรือทำตามคำส่ังได้แสดงว่ามีการได้ยิน ปกติ การทดสอบการได้ยินอย่างง่ายต้องกระทำในห้องทเี่ งียบและใหน้ ักเรยี นเข้ามาทดสอบทีละคน การ ทดสอบดังกล่าวยังไม่เปน็ ทีร่ ับรองว่าจะคัดเลือกนักเรียนที่มีความผิดปกติของการได้ยินไดอ้ ย่างแน่นอน นอกจากน้ันยงั มีวิธกี ารตรวจง่าย ๆ ได้แก่ 4.1 การตรวจการได้ยินด้วยตนเอง ใชน้ ้วิ แม่มอื และนิ้วถกู ันเบาเบาหา่ งจากรหู ูประมาณ 1 นิ้วตรวจดูทลี ะข้างทางขา้ งไหนไมไ่ ดย้ ินเสียงโทนว้ิ ใหส้ งสัยวา่ มีความผดิ ปกติของการได้ยินของหูขา้ งนนั้
บทที่ 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น19 4.2 การตรวจการได้ยินของผู้อื่น ให้รับการทดสอบยืนหันหลังให้ทำประมาณ 3 ก้าว จากผู้ทดสอบแล้วผูท้ ดสอบเรียกชื่อเพื่อนด้วยเสยี งดัง ๆ ซ้ำ ๆ กัน 2-3 ครั้ง ถ้าไม่ได้ยินเสียงเรียกชื่อให้ สงสัยว่าผู้รับการทดสอบมคี วามผิดปกติของการไดย้ ินของหูข้างนนั้ 4.3 การตรวจการได้ยินโดยการใช้เครื่องมือง่าย ๆ ใช้กระป๋องนมที่หมดแล้ว ล้างให้ สะอาดผูกที่ฝากระป๋องด้วยเชือกเล็ก ๆ ห้อยห่างจากหูประมาณ 1 ฟุต เคาะด้วยไม้ไผ่ขนาดนิ้วก้อย ผู้ใหญ่ยาว 1 คืบ 2-3 ครั้ง ถ้าหูข้างใดไม่ได้ยินให้สงสัยว่ามีความผิดปกติของการได้ยินของหูข้างนั้นใช้ กระดิ่งเล็ก ๆ สั่นห่างจากหูเด็ก 1 ฟุต ทำทีละข้าง ถ้าข้างใดไม่ได้ยิน ให้สงสัยว่ามคี วามผิดปกติของการ ได้ยินของหูข้างนั้น นักเรียนที่ตรวจแล้วสงสัยว่ามีความผิดปติของการได้ยิน ควรส่งพบแพทย์เพื่อหา สาเหตตุ ่อไป สำหรับเครื่องตรวจหูที่สามารถตรวจการได้ยินที่ได้ผลแน่นอนกว่า คือ Audiometer ซ่ึง จะต้องไปรับการตรวจทสี่ ำนกั งานสาธารณสขุ จังหวดั หรอื ทโ่ี รงพยาบาล ผลของการตรวจหูทำให้สามารถ ใหแ้ นะนำแก่ครใู นการจดั ทนี่ งั่ แก่นกั เรียนที่มีปัญหา 5. จมูก ใช้ทา่ ตรวจสขุ ภาพท่ี 7 เพอ่ื ดจู มูกภายนอก ขนาด รปู รา่ งปกี จมกู เคลื่อนไหวแรงขณะ หายใจแสดงถึงภาวะหายใจลำบากมีน้ำมูกสีเขียวหรือน้ำใสตรวจในโพรงจมูกและผนังกั้นเพื่อค้นหา จุดเลอื ดออก บวมแดง และอักเสบ 6. การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ใชท้ า่ ตรวจสุขภาพท่าท่ี 7, 8 เพอื่ ตรวจดูบรเิ วณคอ ให้ นักเรียนที่อ้าปาก ร้อง “อ้า” หรือใช้ไม้กดลิ้น และไฟฉายส่องดูภายในทอลซิลที่โต บวม แดง หรือเป็น หนอง ถือว่าผิดปกติทอนซิลที่โตอย่างเดียวไม่ได้แสดงถึงการอักเสบเหลืองหลังต้องดูอย่างอื่น ประกอบดว้ ยเชน่ ขรุขระเหมือนลกู น้อยหนา่ หรือมีหนองปกคลมุ การตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคในช่องปากและฟันตั้งแต่ระยะ เริ่มต้นเพื่อให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไปโรคที่พบบ่อยในช่องปากและฟันของเด็กนักเรียนได้แก่ โรคฟนั ผแุ ละสภาพเหงือกอกั เสบมีรายละเอียดดังนี้ 1. โรคฟันผุ เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างแร่ธาตุในน้ำลายและแร่ธาตุบนตัวฟันโดยมี เชือ้ จลุ นิ ทรยี เ์ ป็นต้นเหตสุ ำคัญที่ทำให้เกดิ สภาวะเปน็ กรดทำใหฟ้ ันเป็นรูและสามารถลุกลามจนทำให้เสีย ฟันท้งั ซี่ได้ ซงึ่ แบ่งเปน็ 2 ระยะ คอื 1.1 ระยะที่ยังไม่เห็นรูผุบนฟัน ฟันจะมีลักษณะเป็นรอยขาวขุ่นหรือเปน็ จุดสีน้ำตาลยัง ไม่มีอาการใด ๆ การใช้ฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอร่วมกับการแปรงฟันให้สะอาดจะช่วยหยุด การลุกลาม ของโรคได้ 1.2 ระยะท่ีเห็นรูผบุ นฟนั ระยะนี้การรักษาแบง่ ตามการลุกลามของโรค ถา้ ฟันผุไม่ทะลุ โพรงประสาทฟันจะใช้การรักษาโดยการอุดฟัน แต่ถ้าผุทะลุโพรงประสาทฟันต้องรักษารากฟันก่อนทำ การอุดหรอื ครอบฟนั ตอ่ ไป แต่หากปลอ่ ยให้ฟนั ผลุ ุกลามจนไมอ่ าจรกั ษาได้ก็ต้อง ถอนฟนั ทีผ่ อุ อกไป
20 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสร้างเสริมสขุ ภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน 2. สภาวะเหงือกอักเสบ สังเกตเห็นเหงือกมีลักษณะบวมแดง มีเลือดออกง่ายขณะแปรง ฟันหรือถูกกระทบกระเทือน การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกายช่วงวัยรุ่นและการละเลยต่อการ รักษา อนามัยในช่องปากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเหงือกอักเสบได้ง่ายในการตรวจฟนั เพ่ือให้งา่ ยจะแบง่ ช่องปากออกเป็น 6 ส่วน โดยใช้ฟันเขี้ยวเป็นหลักในการแบ่ง เพื่อตรวจเหงือกทั้งด้านในและด้านนอก ดังนี้ ส่วนท่ี 1หนั หลงั บนขวา ส่วนที่2ฟนั หน้าบน สว่ นที่3ฟันหลังบนซ้าย สว่ นที่ 6 ฟนั หลังลา่ งขวา ส่วนท่ี5ฟนั หน้าล่าง ส่วนที่ 4 ฟนั หลังล่างซ้าย วธิ ตี รวจสุขภาพชอ่ งปาก ทำได้โดยจัดให้นักเรียนนั่งหันหน้าเข้าหาแสงสว่าง ผู้ตรวจยืนหรือนั่งหันหน้าเข้าหา นักเรียน โดยให้หันคนท่ีถูกตรวจอยู่ในระดบั สายตา การตรวจฟันบน ให้นักเรียนเงยหน้าอ้าปาก ถ้าเหน็ ไม่ชัด ผู้ตรวจใช้นิ้วมือช่วยดันริมฝีปากบนขึ้น การตรวจฟันล่างให้นักเรียนก้มหน้าอ้าปากถ้าเห็นไม่ชัด ผตู้ รวจใชน้ ิว้ มอื ช่วยดึงริมฝีปากล่างลง นกั เรียน ชน้ั ป.1 ถึง ป.6 ควรไดร้ บั การตรวจสุขภาพช่องปากโดย เจา้ หน้า ทีส่ าธารณสุขหรือครูอย่างนอ้ ยปีละคร้งั 5. การตรวจรา่ งกาย ก่อนทำการตรวจร่างกาย ผู้ตรวจควรอา่ นประวตั ิสขุ ภาพของนกั เรียนในบัตรบนั ทึกสุขภาพ ว่าที่ผ่านมานักเรียนมีการเจ็บป่วยและได้รับภูมิคุ้มกันชนิดใดบ้าง ผลการชั่งน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือไม่โดยการเทียบกับตารางมาตรฐานของกรมอนามัยและผลการวัดสายตาเป็นอย่างไรการตรวจ ร่างกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาใช้ถ้า 10 ท่าเพื่อความสะดวกและป้องกันการหลงลืมตรวจบ้างระบบ ของร่างกายพร้อมกับวิธีคลำบางระบบและใชเ้ ครื่องมือบางชนดิ ตรวจเพิม่ เติมภายหลังเช่นการคลำตอ่ ม น้ำเหลืองบริเวณคอการใช้หูฟังตรวจปอดและหัวใจสำหรับนักเรียนชั้น ป.5-6 และนักเรียนระดับ มัธยมศกึ ษาให้ตรวจสุขภาพดว้ ยตนเองและบนั ทึกตามแบบฟอร์มของกรมอนามัย 6. การบันทึกสขุ ภาพนกั เรียน โรงเรียนจะต้องจัดให้มีบัตรบันทึกประจำตัวนักเรียนที่เรียกว่า สศ.3 (สามัญศึกษา 3) ไว้ ประจำตัวนักเรียนทุกคนตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนชั้น ป.1 และใช้ได้ตลอดระยะเวลาการศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้บันทึกประวัติทั่วไปประวัติการเจ็บปว่ ยการเจรญิ เติบโต การบริการที่นักเรยี นได้รับจากเจา้ หนา้ ที่ สาธารณสุข เช่น การตรวจสุขภาพ ความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพ การรักษาพยาบาล การติดตาม ผลการรักษา และการสร้างเสรมิ ภมู คิ ุ้มกันโรค ทั้งน้ีบัตรบนั ทกึ สขุ ภาพประจำตวั นักเรียนมปี ระโยชน์ ดังน้ี 6.1 เพื่อทราบประวัตสิ ขุ ภาพของนกั เรียนทง้ั ในอดีตและปัจจบุ นั 6.2 เพ่อื ให้ข้อคดิ เห็นและเป็นแนวทางสำหรบั เจ้าหนา้ ทส่ี าธารณสุขและครูในการรักษา หรือแกไ้ ขภาวะสุขภาพทางรา่ งกายและจติ ใจของนักเรียนไดถ้ กู ตอ้ ง
บทที่ 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น21 6.3 เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ทราบภาวะสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย รวมถงึ บริการสขุ ภาพทไี่ ด้รับ 6.4 เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ ครูอย่างต่อเนื่องในการบนั ทึกบัตรสุขภาพครูจะต้องบันทึกประวัติท่ัวไปของนักเรยี นได้แก่ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัวประวัติสุขภาพในอดตี และการไดร้ บั ภมู ิคุม้ กันโรคตั้งแต่วันแรกที่ผู้ปกครองนำนักเรยี น มารายงานตวั ทีโ่ รงเรียนและบันทกึ การเจริญเติบโตผลการตรวจสายตาและบันทึกย่อเก่ียวกับพฤติกรรม ทีผ่ ิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพ บนั ทึกการรักษาและการติดตามผลการรักษา สว่ นบุคลากรสาธารณสุข เป็นผู้ ลงบันทึกทุกคร้ังท่ีใหบ้ ริการตรวจสุขภาพนักเรยี น โดยบันทกึ ใหช้ ัดเจนถูกต้องตามเคร่ืองหมายที่กำหนด สรุปผลตรวจ การรกั ษา และกรให้คำแนะนำลงในแบบบันทกึ พร้อมทง้ั ลงชื่อผ้ตู รวจทกุ ครัง้ 7. การให้การรักษาพยาบาล ให้สุขศึกษา และติดตามผลภายหลังการตรวจสุขภาพ เมื่อพบปัญหาที่สามารถให้การช่วยเหลือได้ ควรจัดยามอบไว้ให้ที่ครูประจำชั้น และเขียนคำแนะนำถึง ผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาที่พบและการปฏิบัติตัว ในกรณีที่เป็นโรคติดต่อซึ่งอาจเกิดการแพร่ระบาดได้ ง่ายอาจแนะนำให้หยุดเรียน ในกรณีที่เป็นนักเรียนชั้นสูงๆ สามารถให้คำแนะนำบางอย่างแก่นักเรียน. ได้เลย เช่น สุขวิทยาส่วนบุคคล สำหรับในรายที่ไม่สามารถให้การช่วยเหลือรักษาได้ควรส่งต่อให้แพทย์ รักษาหรือแนะนำใหผ้ ู้ปกครองพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาท่ีเหมาะสมต่อไปหลงั จากน้ันควรติดตาม ผลการรักษาทั้งที่โรงเรียนและติดตามไปเยี่ยมบ้าน หรือนัดผู้ปกครองมารับคำแนะนำร่วมกับครูและ เจ้าหน้าที่ที่โรงเรียนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กจำนวนมากและมาจาก ครอบครัวที่ต่างกัน ทั้งสภาพความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ เมื่อเด็กนักเรียนคนใดคนหนึ่งป่วยด้วยโ รคติด เชื้อบางอย่างก็อาจเกิดการแพร่กระจายสู่เด็กนักเรียนคนอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วจนเกิดการระบาดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันการเกิดโรคติดต่อท่ีสามารถป้องกันได้ดว้ ยวคั ซนี ในเด็กวยั เรียน ซึ่งเป็นการให้ วดั ซีนต่อเน่อื งจากท่เี คยได้รับมาตั้งแต่แรก เกิดและวยั ก่อนเรยี นโรคติดต่อทีป่ ้องกันไดด้ ว้ ยวคั ซนี หมายถึง กลุ่มโรคติดต่อที่มีวัดซีนใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคลักษณะการติดต่อของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัดซีนอาจ แบง่ ได้ดงั น้ี 1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรควัณโรค คอตีบ ไอกรน หัด หัดเยอรมัน และ คางทมู 2. โรคติดตอ่ ทางเพศสมั พนั ธห์ รือทางเลอื ด ไดแ้ ก่ โรคไวรสั ตับอักเสบชนิดบี 3. โรคตดิ ต่อโดยการไดร้ บั เชอ้ื ทางอุจจาระเขา้ สปู่ าก ไดแ้ กโ่ รคโปลิโอ 4. โรคตดิ ตอ่ โดยการไดร้ บั เชื้อเข้าทางบาดแผล ไดแ้ ก่บาดทะยกั 5. โรคตดิ ตอ่ นำโดยยงุ ได้แก่ โรคไข้สมองอกั เสบ
22 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสรา้ งเสริมสุขภาพในระบบสขุ ภาพชุมชน กำหนดการใหว้ คั ซีนในนักเรียนชัน้ ประถมศึกษา การให้วัคซีนแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จะต้องตรวจสอบประวัติการได้รับ วัคซีนของเดก็ ในอดีตจากผูป้ กครอง หรอื จากสมดุ บนั ทึกสุขภาพแมแ่ ละเด็ก เพอ่ื ใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการให้วัคซีน ถ้าไม่มีประวัติหรือประวัติไม่แน่ชัด ให้ถือว่า เด็กไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยมีเกณฑ์ ในการให้วคั ซีน ดงั นี้ ตารางที่ 9.2 วัคซนี ทต่ี อ้ งพิจารณา วัคซีน ขอ้ แนะนำ ชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 1 - MMR (วัคซนี รวมปอ้ งกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน) - เฉพาะผู้ที่ได้รับไม่ครบตาม - HB (วคั ซนี ปอ้ งกนั โรคตับอกั เสบบี) เกณฑ์ - LAJE (วคั ซีนป้องกันโรคไข้สมองอกั เสบเจอีชนดิ เชอ้ื เป็นอ่อนฤทธ์)ิ - dT (วัคซนี ปอ้ งกนั โรคคอตบี -บาดทะยัก) - IPV (วคั ซีนปอ้ งกนั โรคโปลโิ อชนดิ ฉดี ) - ให้ในกรณที ่ีไมม่ ีหลักฐานว่า - OPV (วคั ซนี ปอ้ งกนั โรคโปลิโอชนดิ รบั ประทาน) เคยได้รับเมื่อแรกเกิดและไม่ - BCG (วัคซีนป้องกันวณั โรค) มแี ผลเป็น - ไม่ให้ในเด็กตดิ เช้ือ HIV ที่มี ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 5 (นักเรียนหญิง) อาการของโรคเอดส์ HPV1 และ HPV2 (วัคซีนป้องกนั มะเรง็ ปากมดลกู จากเชอ้ื เอชพีวี) ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 dT (วคั ซีนปอ้ งกันโรคคอตบี -บาดทะยัก) ตารางที่ 9.2 กำหนดการให้วคั ซีนแก่เดก็ ชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 กรณีทไี่ ดร้ ับวัคซีนล่าช้า เดอื นท่ี วัคซีน ขอ้ แนะนำ 0 dT1 (เมื่อพบเด็กครั้ง OPV1 แรก) IPV ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)เก็บตกเฉพาะเด็กอายุต่ำ กวา่ 7 ปี และเดก็ นกั เรยี นชัน้ ป.1
บทที่ 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น23 เดือนที่ วัคซนี ขอ้ แนะนำ MMR BCG ให้ในกรณีที่ไม่มหี ลักฐานว่าเคยได้รบั เมอื่ แรกเกิดและไมม่ แี ผลเป็น - ไมใ่ ห้ในเดก็ ตดิ เชื้อเอชไอวที ีม่ ีอาการของโรคเอดส์ 1 HB1 LAJE1 2 dT2 OPV2 HB2 7 HB3 12 dT3 OPV3 LAJE2 หมายเหตุ 1. วคั ซนี ทกุ ชนิดถา้ ไม่สามารถเร่มิ ไดต้ ามกำหนกได้ ก็เรมิ่ ให้ทันทีทพ่ี บครัง้ แรก 2. สำหรบั วัคซีนทต่ี อ้ งให้มากกว่า 1 ครง้ั หากเดก็ มารับวัคซีนครั้งต่อไปล่าชา้ สามารถใหว้ ัคซีนคร้ังต่อไป ได้โดยไมต่ ้องเรม่ิ ตน้ คร้ังท่ี 1 ใหม่ 3. กรณีการให้วัคซีนแก่ผู้ท่ีได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า เด็กจะได้รับวัคซีนตามกำหนดครบภายใน ระยะวลา 1 ปี จากนน้ั ให้วัคซนี ต่อเนื่องตามทีก่ ำหนดในกำหนดการใหว้ คั ซนี ปกติ ทม่ี า: แผนงานสร้างเสรมิ ภูมิคุ้มกันโรค กองโรคปอ้ งกนั ดว้ ยวัคซนี กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข (2563) 5. การสอนสขุ ศึกษาในโรงเรียน (School health education) สุขศึกษาในโรงเรียนหมายถึง การท่โี รงเรยี นจัดกจิ กรรมสขุ ศึกษาท้ังในหลักสูตรการศึกษาและ ผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีกา รฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมี พฤตกิ รรมสขุ ภาพทีเ่ หมาะสมตอ่ การมีสุขภาพดี วตั ถุประสงคข์ องการสอนสุขศึกษาในโรงเรียน 1. เพื่อให้เด็กวัยเรียนและเยาวชนมีทักษะสุขภาพ (Health Skills) และ ทักษะชีวิต (Life skills)
24 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสรา้ งเสริมสขุ ภาพในระบบสุขภาพชุมชน 2. เพือ่ ใหเ้ ดก็ วัยเรียนและเยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพทเี่ หมาะสมตดิ ตัวไปสู่วัยผู้ใหญ่ การจัดสขุ ศึกษาในโรงเรยี นควรใชแ้ นวทางดังนี้ 1. จัดสุขศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจสังคม ครอบครัว และชุมชนของเด็ก นักเรยี น 2. จัดอนามยั สิง่ แวดล้อมในโรงเรียนใหส้ อดคลอ้ งกับการสอนสุขศึกษา 3. ควรประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงเรียนและเจ้าหน้าท่ี สาธารณสุขและเป็นประโยชน์ตอ่ เด็กนกั เรยี น 4. การจัดกิจกรรมระหว่างบ้านและโรงเรียนควรสอดคล้องกันเพื่อเป็นประโยชน์ในการ สอนสขุ ศึกษา วิธีการสอนสุขศกึ ษาในโรงเรียน การสอนสุขศกึ ษามี 3 วิธหี ลัก คือ 1. การจัดสอนโดยตรง โดยจัดสอนตามหลักสูตรหรือโครงการสอนวิชาสุขศึกษาตาม กำหนด เวลาหรอื ชัว่ โมงตามตารางสอน 2. การสอนแบบสหสัมพันธ์ โดยสอนสัมพันธ์กับวิชาอื่นในหลักสูตรเช่น วิชาพละศึกษา วิชาลูกเสือและเนตรนารี หรือผบู้ ำเพญ็ ประโยชน์ 3. การสอนตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการสอนให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ทีเ่ กิดข้นึ ไปช่วง เวลาน้ัน ๆ เช่น การเกดิ โรคระบาดในชุมชน เรื่องที่ควรสอนสุขศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาควรสอนเรื่องที่สอดคล้องกับสุข บัญญัตแิ ห่งชาติ 10 ประการดงั นี้ 1. ดแู ลรกั ษารา่ งกายและของใช้ใหส้ ะอาด 2. รกั ษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวนั อย่างถูกตอ้ ง 3. ล้างมอื ใหส้ ะอาดกอ่ นกนิ อาหารและหลงั การขบั ถ่าย 4. กินอาหารทีส่ กุ สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลกี เลี่ยงอาหารสจัด สีฉดู ฉาด 5. งดบุหร่ี สุราสารเสพตดิ การพนนั และการสำสอ่ นทางเพศ 6. สร้างความสัมพันธใ์ นครอบครัวให้อบอุน่ 7. ป้องกันอุบตั ภิ ยั ดว้ ยการไมป่ ระมาท 8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและตรวจสขุ ภาพประจำปี 9. ทำจิตใจใหร้ า่ เริงแจ่มใสอย่เู สมอ 10. มสี ำนึกต่อสว่ นรวม รว่ มสรา้ งสรรคส์ งั คม นอกจากนี้นักเรียนควรได้รับการฝึกทักษะเกี่ยวกับการสระผมการล้างมือการเลือกซื้อ อาหารการไม่กินอาหารที่มีสารอันตรายการหลีกเลี่ยงสารเสพติดการป้องกันอุบัติเหตุอุบัติภัยการ
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น25 หลีกเลี่ยงการพนันและการเที่ยวกลางคืนการจัดการกับความเครียดความปลอดภัยในชีวิตและการถูก ลว่ งละเมดิ ทางเพศ ระดบั มัธยมศกึ ษาควรเน้นการฝึกทกั ษะในเรื่องต่อไปนี้ 1. การเลอื กซอื้ อาหาร 2. การไม่กนิ อาหารท่มี สี ารอันตราย 3. การหลีกเลย่ี งสารเสพตดิ 4. การป้องกนั อุบัติเหตอุ บุ ัติภยั 5. การหลกี เลย่ี งการพนนั เท่ียวกลางคนื 6. การจดั การกับความเครียด 7. การหลีกเลยี่ งการมีเพศสัมพันธ์กอ่ นวยั อันควร 6. อนามัยสิง่ แวดล้อมในโรงเรียน (Healthful school living) โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาคน โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียนที่จะต้องได้รับการพัฒนา ในทกุ ๆ ด้านเพอ่ื เปน็ การเตรยี มพ้ืนฐานท่ีดใี หเ้ ด็กได้เจริญเติบโตเป็นทรัพยากรกรบคุ คลที่มีคุณภาพของ ประเทศ การจัดการใหเ้ อื้อต่อสุขภาพ ตลอดจนมคี วามปลอดภยั ในชวี ิตและดำรงชีวติ อยู่อย่างมีความสุข (สมศักดิ์ จำปาโท, 2562) การจดั การส่ิงแวดล้อมในโรงเรียน หมายถงึ การจดั การควบคุมดูแลปรับปรุงภาวะต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพกายจิตและ สังคมรวมถึงการป้องกันโรคและอันตรายที่อาจเกิดข้ึ นทั้งต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรีย นโดย คำนึงถึงหลัก 4 ประการ คอื 1. ใหป้ ลอดภัยจากอบุ ตั เิ หตุ 2. ใหป้ ลอดภยั จากโรคตดิ ต่อ 3. ให้เป็นสถานที่ที่นักเรียนจะได้รับความสุขสบายเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพกายและ จติ ใจ 4. ให้เหมาะสมกับสภาพสรีรวิทยาของนักเรียนท่ีอยู่ในวัยกำลงั เจริญเตบิ โต หลักการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนควรดำเนินการควบคุม ดูแล และปรบั ปรงุ สภาวะตา่ ง ๆ ของโรงเรยี นและสง่ิ แวดล้อมให้ถกู สุขลกั ษณะใน 9 องคป์ ระกอบ ตอ่ ไปนี้ 1. สถานทต่ี ้งั พื้นท่ีสร้างโรงเรยี นหรือสถานทีต่ ้ัง มีหลักพิจารณาดังน้ี 1.1 ไม่ควรห่างจากยา่ นชุมชนเกนิ กว่า 2 กิโลเมตร และมกี ารคมนาคมสะดวก
26 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสร้างเสริมสขุ ภาพในระบบสขุ ภาพชุมชน 1.2 เน้นที่มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนเด็ก และไม่เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น สถานที่ ขนถ่ายแก๊ส ปั๊มน้ำมัน บริเวณที่มีสารพิษมีมลภาวะอากาศ แสง และเสียง เช่น โรงงาน อุตสาหกรรม ตลาดสด หากไมส่ ามารถหลกี เลีย่ งไดต้ ้องมีมาตรการป้องกันหรือบรรเทาอุบตั ภิ ยั ตามความ จำเป็น 1.3 บรเิ วณพน้ื ท่ีไมส่ งู ชนั หรอื ลาดเอียง 1.4 ไม่ควรอยู่ใกล้ทางรถไฟ หรือถนนสายใหญ่ๆ ที่มีการจราจรคับคั่ง เพราะจะเกิด อุบัติเหตุได้ง่าย และเกิดเหตุรำคาญเนื่องจากเสียง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องสร้าง ควรห่างจากแนวถนน ไมน่ อ้ ยกวา่ 20 เมตร มีร้ัวป้องกันอันตราย และปลูกต้นไม้ชว่ ยดูดซบั มลพิษ 1.5 พื้นดินควรเงนิ ดนิ ที่สำมารถรับนำ้ หนักอาคารได้เหมาะสมและควรเป็นพื้นท่ีน้ำท่วม ไม่ถงึ 2. อาคารเรียน การก่อสร้างอาคารเรียนจะต้องคำนึงถึงทิศทางลมการระบายอากาศ ทางเข้าของแสงสว่างขนาดของอาคารควรเหมาะสมกับจำนวนเด็กนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รูปแบบของอาคารเรียนควรเป็นรูปตัวอักษร E,L,T,UและI เพื่อสะดวกในการขยายและบริหารงานต้อง คำนึงถึงความคงทนแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักนักเรียนบุคลากรและอุปกรณ์จำนวนมากอีกทั้งทนทาน ตอ่ ภัยธรรมชาติทอี่ าจเกิดขนึ้ ได้ 2.1 เนื้อที่ เนื้อที่ของอาคารเรียนไม่น้อยกวา่ 1.5 ตารางเมตรต่อเด็กนักเรยี น 1 คนละ มีเนอ้ื ท่ีสำหรับใชป้ ระโยชนอ์ นื่ ๆ เช่น ระเบียง บนั ได อีก 30% สว่ นหอ้ งนำ้ ต่าง ๆ ควรมีเนื้อที่ ดังนี้ 2.1.1 ห้องประชุม ควรมีพื้นที่ 1 ตารางเมตรตอ่ เด็ก 1 คน และเพิ่มพ้ืนท่ใี ชส้ อยตาม ความจำเปน็ 2.1.2 หอ้ งพกั ครู ควรมีพน้ื ที่ 4-5 ตารางเมตรต่อครู 1 คน 2.1.3 ห้องสมุด ควรมีพื้นที่ 1 ตารางเมตรต่อเมตรต่อเด็ก 1 คน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ อ่านหนังสือและเพิ่มพื้นที่อีก 4-50 เปอร์เซ็นต์เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับวางหนังสือและที่ทำงานของ บรรณารกั ษ์ 2.1.4 ห้องพยาบาล ควรอยู่ชั้นล่างของอาคารเรียน อยู่ใกล้ห้องทำงานของครูใหญ่ ใกล้โทรศัพท์และทางเดินทำ สำหรบั โรงเรียนที่มจี ำนวนนกั เรยี นเกินกวา่ 1,000 คน ควรมีเรือนพยาบาล แยกตา่ งหาก 2.2 ตัวอาคารเรียน ควรหันหนา้ รับลมได้สะดวกไม่ควรหันหน้าไปทางทิศตะวนั ตกหรือ ตะวันออกเพราะจะทำให้รบั แสงแดดทง้ั วนั 2.3 พื้น กรณีที่เป็นพื้นดินต้องบดให้เรียบแน่น และควรยกสูงกว่าระดับพื้นดินอย่าง น้อย 1 เซนตเิ มตร หากเป็นพน้ื ไมค้ วรยกระดบั กว่าพ้ืนดนิ ไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตรสำหรับอาคารท่ีเป็น คอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ ปาร์เก้ ควรยกสูงกว่าระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 10 เชนติเมตร วัสดุที่ใช้ปู
บทที่ 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น27 พื้นควรใช้สตูที่ทำความสะอาดง่าย ถ้าเป็นพื้นไม้ควรเรียบไม่มีรูหรือรอยแตก ใช้พื้นกระดานชนิดที่ทำ ความสะอาดได้ง่าย ไมค่ วรลงน้ำมันขดั งาเพราะทำใหล้ ื่นและฝุ่นจับไดง้ า่ ย 2.4 ฝาผนัง ควรทำด้วยวสั ดุเรยี บ ทาสีอ่อนจะช่วยใหห้ ้องสว่าง ไม่ควรขัดเงาเพราะจะ ทำให้เกิดแสงสะท้อนและเคืองตาได้ ผนังที่อยู่ต่ำกว่าขอบหนา้ ต่างควรทาสเี ข้มเพือ่ ป้องกันความสกปรก และผนงั ควรหนาไมน่ อ้ ยกวา่ 3 เซนตเิ มตรเพ่ือปอ้ งกันเสยี งรบกวนระหว่างห้อง 2.5 ประตูหรือหน้าต่างที่เป็นบานเปิด ควรมีตะขอเกี่ยวหรือติดตั้งอุปกรณ์ยึดเกาะ ในขณะเปดิ เพอ่ื ปอ้ งกันการถกู หนีบ 2.6 เพดาน ควรสูงจากพน้ื ทีอ่ ยา่ งน้อย 35 เมตร ควรทาสีอ่อนๆเพ่ือชว่ ยเพมิ่ แสงสว่าง 2.7 หลังคา มีความลาดเอียงประมาณ 30 องศา ควรมุงกระเบื้อง ไม่ควรใช้สังกะสี เพราะจะ ทำใหร้ อ้ นและเมื่อฝนตกจะทำให้มเี สียงดังรบกวน 2.8 ชายคาและกันสาด ควรทำให้ยื่นออกไปห่างจากฝาประมาณ 1.5-2.0 เมตร หรือ กันฝนสาดได้ 2.9 บันได ไม่ลาดหรือชันกินไป ควรมีวัสดุกันลื่นพื้นบันไดต้องเรียบและสม่ำเสมอ ขั้นบันไดควรกว้างไม่ต่ำกว่า 25 เซนติเมตรระยะสูงระหว่างขั้นบันไดไม่ควรเกิน 18 เซนติเมตรความ กว้างของตัวบันไดไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตรถ้าบันไดสูงเกินกว่า 3 เมตรหรือเกินกว่า 14 ขั้นควรทำชานพัก บันไดทางหนไี ฟควรทำด้วยเหลก็ มีเรากวา้ งอยา่ งนอ้ ย 3 ฟตุ 3. พื้นที่ใช้สอยและอปุ กรณเ์ ครือ่ งใช้ 3.1 ห้องเรียน ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด6x8หรือ7x9 เมตร จุนักเรียนได้ไม่เกิน 30-40 คน พื้นท่หี ้องเรยี นในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ควรมีขนาด 1.5-2.0 ตารางเมตร ตอ่ เด็ก 1คน ห้องเรียนสำหรับนักเรียนอนุบาลควรมีพื้นที่มากกว่าห้องเรียนสำหรับนักเรียนธรรมดา 50% และควรมหี อ้ งนำ้ หอ้ งสว้ ม อา่ งลา้ งมอื อย่ใู นหอ้ งเรียนหรอื บริเวณใกลเ้ คียง 3.2 โตะ๊ เรยี นและเกา้ อ้ี โตะ๊ ตอ้ งจดั ขนาดให้เหมาะสมกับตวั เด็ก ความยาวของโต๊ะเรียน ไม่ควรน้อยกว่า 70 เซนติเมตร หรือยาวเท่ากับ 2 ศอก มีความกว้างประมาณ 35 เซนติเมตรพื้นโต๊ะ เรียนควรมีความลาดประมาณ 15 องศา เก้าอี้ ควรมีความสูงขนาดที่นั่งแล้วสามารถวางเท้ากับพื้น เข่า งอเป็นมุมฉากได้ ความกว้างของเก้าอี้จะต้องพอดีกับเด็ก ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป พื้นเก้าอี้ควรเป็น แอง่ พนกั พิงควรมชี อ่ งว่างและสงู ไมเ่ กนิ ระดับกระดูกสะบัก โต๊ะเรยี นและเก้าอค้ี วรมีความสูงสัมพนั ธก์ นั 3.3 การจัดวางโต๊ะเรียนและเก้าอี้ ทางเดินระหว่างแถวของโต๊ะควรกว้างไม่น้อยกว่า 45 เซนตเิ มตร แถวรมิ สุดจดั ให้ห่างจากผนงั ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร แถวหนา้ ควรห่างจากกระดานไม่ เกนิ 2 เมตร โต๊ะเรียนหลังสุดไมค่ วรห่างจากกระดานเกนิ 9 เมตร 3.4 กระดานชอล์กหรือกระดานไวท์บอร์ด ควรทำด้วยวัสดุกนทาน ไม่มีรอยแตกร้าว กระดานไม้ทาสีด้วยสีเขียวแก่หรือดำ ติดไว้กับผนังห้อง เด็กในโรงเรียนประถมศึกษา ควรใช้กระดาน
28 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน ชอล์กสูงกว่าพื้นเรียนอย่างน้อย 24 นิ้วในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายให้มีความสูง 28 นิ้วและ 32 นิ้วตามลำดับการติดตั้งกระดานต้องมาให้มีแสงสว่างเข้ามาทางด้านหลังของขอบกระดาน ใช้ชอล์คทไี่ มเ่ ปน็ ผงฝุ่นการทำความสะอาดกระดานใช้แปลงที่ไม่ทำให้ฝนุ่ ชอลค์ ฟุ้งกระจายเช่นแต่ฟองน้ำ ผ้าลกั หลาด กระดานชอลค์ ควรมรี างเพ่ือรองรบั ผงชอล์ก 3.5 ห้องส้วมและที่ปัสสาวะ โรงเรียนต้องจัดให้มีส้วมที่ปัสสาวะให้เพียงพอสะอาดถูก หลักสุขาภิบาลไม่อยู่ในที่ลับตา โรงเรียนสหศึกษาควรแยกส้วมสำหรับนักเรียนหญิง-ชายไว้มีสัญลักษณ์ หญิงชายอย่างชัดเจนในห้องส้วมหญิงทุกห้องต้องมีถังรองรับขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะจำนวนที่ขอ สว้ มและทป่ี สั สาวะที่เหมาะสมกับเด็กดังตาราง 3.6 ห้องครัวและโรงอาหาร การจัดการโรงอาหารหรือโรงครัวให้ถูกสุขลักษณะ ควร ปฏบิ ตั ิตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารสำหรบั โรงอาหารโดยสามารถสืบค้นได้ใน คมู่ อื การดำเนินงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558) โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสขุ 4. การระบายอากาศ แสงสว่างและเสียง 4.1 การระบายอากาศห้องเรียนควรจัดให้มีช่องลม ประตูหน้าต่างให้เพียงพอ เพื่อให้เกิด การถ่ายเทอากาศตามธรรมชาติให้มากทีส่ ดุ การจัดการระบายอากาศภายในห้องเรยี นด้วยวธิ ีธรรมชาติ ควรพิจารณาถึงสง่ิ ตอ่ ไปน้ี 4.1.1 ความสูงของหอ้ งเรียน จากพน้ื ถงึ เพดานห้องควรสงู ไม่น้อยกวา่ 3.5 เมตร เพ่อื ให้ แต่ละคนในห้องได้อากาศคนละ 3.7 ลูกบาศก์เมตรเป็นอย่างน้อย และทำให้เกิดอากาศหมุนเวียน ชว่ ยระบายกล่ินอบั ได้ 4.1.2 พื้นที่ของประตูและหนต่าง ควรมีพื้นที่ประตูหน้าต่าง 1 ใน4 หรือ 1 ใน 5 ของ พื้นที่ห้องเรียน ประตูหน้าต่างควรมีสิ่งปิดกั้น ความกว้างและความสูงของหน้าต่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ขอบลา่ งของหน้าตา่ งควรสูงจากพื้นที่ห้องเรยี นไม่เกนิ 80-90 เชนตเิ มตร ความกวา้ งของประตูควรกว้าง ความกวา้ งของประตูไม่นอ้ ยกว่า 1 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร 4.2 แสงสว่าง หอ้ งเรียนควรมีแสงที่พอเหมาะเพ่ือให้เด็กอา่ นหนังสืออยา่ งสบายตา ควรใช้ แสงสว่างจากธรรมชาตโิ ดยให้เข้าทางซ้ายมือของเด็ก แสงสว่างภายในห้องเรียนจะตอ้ งไม่เปน็ แสงจ้าหาก ใช้แสงสว่างจากไฟฟ้าควรติดตั้งดวงไฟไว้ที่ผนังห้องเรียนตดิ ตามจากเพดาน 3 ฟุตและมีโคมไฟซึ่งจะทำ ให้แสงสว่างสะท้อนกลับไปยังโต๊ะเรียนในหนึ่งห้องควรติดตั้งโคมไฟ 6-8 ดวงหรือจำนวนมากพอที่แสง สว่างสองถึงทุกจุด ถ้าห้องเรียนใช้หลอดไฟชนิดฟลูออเรสเซนท์ต้องมีกำลังทำด้วยพลาสติกขาวและ หลอดไฟควรเปน็ สีขาวซึ่งมีประสิทธภิ าพในการสองสว่างดีกว่าหลอดไฟธรรมดาและยังให้ความร้อนน้อย กว่าหลอดไฟธรรมดาและยังให้ความร้อนน้อยกว่าหลอดไฟทำธรรมดาความถี่ของการสองสว่างต้อง สมำ่ เสมอไม่มไี ฟกระพรบิ ระดบั ความเข้มของแสงสวา่ งในอาคารเรียน ควรมีค่าดงั นี้
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น29 ตารางที่ 9.2 มาตรฐานระดับความเข้มของแสงสว่างจำแนกตามชนิดของห้อง (สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ , 2560) ชนิดของหอ้ ง ระดบั ความเข้มของแสงสว่าง (ลกั ซ)์ 1. ห้องเรียน 300 2. ห้องสมดุ หอ้ งทดลองวิทยาศาสตร์ 300 3. หอ้ งพมิ พ์ดีด ห้องการฝมี อื 500 4. หอ้ งประชาสมั พันธ์ หอ้ งพลศกึ ษา 200 5. ห้องประชุม ห้องรับประทานอาหาร 100 6. หอ้ งพยาบาล 300 7.หอ้ งนำ้ หอ้ งสว้ ม ทางบันได และหอ้ งเก็บของ 100 4.3 เสียง ห้องเรียนที่ดีต้องออกแบบให้มีความสามารถป้องกันเสียงรบกวนได้ ภายใน ห้องเรียนไม่ควรมีระดับความดังของเสียงรบกวนเกินกว่า 35-40 เดซิเบล ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ กำหนดเกณฑ์ ความดังของเสยี งทีย่ อมรบั ดงั น้ี เสยี งในห้องเรียน 35-40 เดซิเบล โรงอาหาร 50-55 เดซิ เบล บรเิ วณภายนอกอาคารเรียน ไมก่ ิน 70 เดซเิ บล ห้องพยาบาล ไม่เกิน 45 เดซเิ บล และหอ้ งดนตรีไม่ เกิน 40 เดซเิ บล 5. น้ำดื่มน้ำใช้ น้ำดื่มน้ำใช้ในโรงเรียนจะต้องสะอาดถูกสุขลักษณะและจัดให้เพียงพอกับ จำนวนเดก็ นกั เรียน และบคุ ลากรทุกคนในโรงเรียน ส่วนใหญ่เปน็ นำ้ ประปานำ้ จากบ่อบาดาลน้ำดื่มแบบ น้ำพุและน้ำดื่มจากเครื่องทำความเย็น น้ำดื่มแบบน้ำพุ (Diking fountains) เป็นวิธีบริการน้ำดื่มที่ เหมาะสมในโรงเรยี น ชว่ ยให้เดก็ มีน้ำดื่มท่ีสะอาด น้ำดมื่ แบบนำ้ พุอาศยั แรงตันน้ำในฬ่อดันใหน้ ้ำพุ่งขึ้นใน ลักษณะมุมฉากหรือมุมเฉยี งกับพ้ืน โรงเรียนควรมบี ริการน้ำด่ืมอย่างน้อย 1 จุดตอ่ นกั เรยี น 75 คน ส่วน ระดับความสูงในการติดตั้งควรมีขนาดดังนี้ คือน้ำดื่มจากเครื่องทำความเย็นจะต้องได้รับการตรวจสอบ สายไฟและปลัก๊ ไฟและต้องติดสายดนิ เพอ่ื ปอ้ งกันไฟดูดทำความสะอาดภายในภายนอกตู้รางน้ำและก๊อก น้ำให้สะอาดอยู่เสมอนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสารตะกั่วที่อาจปนเปื้อนในน้ำดื่มโดยเลือกซื้อเครื่องทำ ความเยน็ ท่ีทำดว้ ยเหล็กไร้สนมิ ชนิดหนาท่ีใช้กับอาหารไมม่ สี ว่ นผสมของสารตะกัว่ 6. การจัดการขยะ ขยะจากโรงเรยี นแบง่ เปน็ 3 ประเภทใหญๆ่ คอื 6.1 ขยะเปียกเช่นเศษอาหารพืชผักต่าง ๆ ขยะประเภทนี้มีความชื้นสูงประมาณ 40 ถึง 70% หากทิ้งไว้นานจะเกิดการเน่าเสียส่งกินเหม็นรบกวนและเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงและสัตว์ พาหะนำโรค 6.2 ขยะแห้ง เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระดาษ กระป๋อง โลหะ ขยะประเภทนี้ส่วน ใหญ่สามารถนำกลับมาใชใ้ หม่ได้
30 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสร้างเสริมสุขภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน 6.3 ขยะอันตราย เชน่ หลอดไฟ แบตเตอร่ี ถา่ นไฟฉาย กระปอ้ งสเปรย์ ขยะประเภทนีค้ วร แยกทิ้งจากขยะประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้ในโรงเรียนจะต้องภาชนะสำหรับรองรับขยะมูลฝอยซึ่งแยกระหว่าง ขยะเปียกและขยะแห้งทุกห้องในโรงเรียนควรมีถังรองรับขยะมูลฝอยไว้ประจำ การกำจัดขยะของ โรงเรียนในเขตเทศบาลจะเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไวใ้ นที่พักขยะและให้เทศบาลนำไปกำจัดต่อไป ส่วน โรงเรียนในชนบทที่ไมม่ บี รกิ ารดา้ นน้ีมกั ใช้วธิ ฝี ังหรือนำไปทำปยุ๋ หมกั 7. การจัดการนำ้ เสยี นำ้ เสียในโรงเรียนเป็นน้ำเสียท่ผี ่านการใช้งานจากกจิ กรรมต่าง ๆ ทำให้ มีคุณสมบตั เิ ปล่ียนแปลงไปทงั้ ทางกายภาพ เคมี และชีววทิ ยา วิธีบำบดั นำ้ เสียในโรงเรยี นทำได้ ดงั นี้ 7.1 มีรางระบายน้ำเสียจากอาคารตา่ ง ๆ ควรมีการบำบัดน้ำเสยี เบื้องต้น หรือติดตั้งระบบ บำบัดชนดิ ตดิ กับท่ี (Onsite treatment system) ก่อนระบายลงสู่แหลง่ น้ำสาธารณะ 7.2 ระบายน้ำเสียลงบ่อรับน้ำเสยี และจัดทำเป็นบ่อซึม โดยให้น้ำเสียซึมลงดินตามรอยตอ่ ของท่อทีว่ างไว้ การวางท่อตอ้ งลาดเอียงใหน้ ำ้ ไหลได้สะดวกหรอื ใชถ้ ังเกรอะขนาดใหญ่ 7.3 น้ำเสียจากโรงครัว โรงอาหาร จะมีคราบไขมันปนด้วย จึงควรทำบ่อดักไขมันเพื่อ ป้องกันไขมันปนด้วย จึงควรทำบ่อดักไขมันเพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันติดค้างอยู่ตามท่อหรือตามพื้นดิน ซึ่ง จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันและสัตว์พาหะนำโรค บ่อดักไขมันใช้หลักการ ลอยตวั ของไขมันมี 2 แบบ คอื แบบฝังในพ้ืนท่ีซงึ่ สามารถทำได้ท้ังขนาดใหญ่และขนาดเล็กแบบบ่อเดียว หรือหลายบ่อและแบบลอยซง่ึ เป็นชนดิ ที่ต้ังบนพน้ื แยกใชใ้ นแตล่ ะร้านทัง้ 2 แบบควรมตี ะแกรงกรองเศษ อาหารก่อนปล่อยน้ำลงสู่บ่อดักไขมันบริเวณที่ติดตั้งต้องรองรับน้ำเสียได้ดีและสามารถเปิดฝาเพื่อตัก ไขมนั ทำความสะอาดไดส้ ะดวก 8. การควบคุมและกำจัดแมลงสัตว์พาหะนำโรคภายในโรงเรียน จะต้องควบคุมและกำจัด แมลงและสตั ว์พาหะนำโรค เช่น ยงุ หนู แมลงวนั แมลงสาบ 9. สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงเรียน ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้ เอื้อต่อสุขภาพเด็กบุคลากรและผู้มาติดต่อนอกจากนี้ควรเน้นประสบการณ์การปฏิบัติการเรียนรูแ้ ละให้ การศึกษาเรื่องความปลอดภัยแก่นักเรียนเพื่อนำไปเผยแพร่ในบ้านและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ ส่ิง สำคัญท่ตี อ้ งคำนึงถึงในการจดั สภาพแวดลอ้ มในโรงเรยี น 9.1 การจัดระเบียบการใช้สอยภายในอาคารเช่นคนมีการขึ้นลงบันไดได้อย่างเปน็ ระเบียบ โดยการจัดเดินชิดขวาเสมอการจัดตัวยาให้เป็นหมวดหมู่เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ใช้ในอาคารเรียนจะต้อง ไดร้ บั การตรวจสภาพอยา่ งสมำ่ เสมอทุก 6 เดือน ตดิ ต้ังปล๊กั ไฟสงู จากพ้นื 1.5 เมตร 9.2 การจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ภายนอกอาคาร เช่น ประตูโรงเรียนกรณีที่ทำด้วย เหล็กหรือ อัลลอยด์ที่มีน้ำหนักมาก ควรได้รับการตรวจสภาพให้ดีอยู่เสมอมีให้ชำรุด ควรปลูกต้นไม้ ไมด้ อก เพ่ือความสดช่ืนและให้ร่มเงาควรมีสนามใหญบ่ ริเวณโรงเรยี นด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการสอน พลศึกษา กรณีมีบ่อน้ำหรือสระน้ำจะต้องทำอาณาเขตกั้นเพื่อป้องกันมิให้เด็กพลัดตกน้ำ จัดเส้นทาง
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น31 จราจรภายในโรงเรยี นให้ชัดจนสนามเด็กเลน่ สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษาควรปูพ้นื ดว้ ยทรายหนา 30 เซนติเมตร หรอื ปูพ้นื ดว้ ยยางสังเคราะหเ์ พือ่ ปอ้ งกนั การบาดเจบ็ จากการพลัดตก การตดิ ตัง้ เครอื่ งเล่น จะต้องสร้างฐานเคร่อื งเล่นหรือยึดเครือ่ งเล่นติดกบั พ้นื มกี ารตรวจสอบบำรงุ รกั ษาสนามและเครือ่ งเล่น 9.3 มีระบบป้องกนั อัคคภี ัยและสาธารณภยั ตา่ ง ๆ เชน่ ตดิ ตง้ั ระบบสญั ญาณเตอื นกรณีเกิด เพลิงไหม้ ตดิ ต้ังเคร่ืองดับเพลงิ ในที่ทีม่ องเห็นได้ง่าย โดยให้ส่วนบนสุดของตัวเคร่ืองสูงจากพ้ืนไม่เกิน 15 เมตรมีคำแนะนำการใช้สะดวกต่อการใช้งานและพร้อมใช้อยู่เสมอสำหรับอาคารที่สูงไม่เกิน 2ชั้น ควร ตดิ ต้ังเครอ่ื งดบั เพลงิ อย่างน้อย อาคารละ 1 เคร่ืองในบริเวณโรงเรียนควรติดป้ายแสดงสญั ลักษณ์หรือคำ เตือนต่าง ๆ เชน่ ป้ายบอกทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน และควรเตรยี มแผนฉุกเฉนิ รองรบั อบุ ัตภิ ยั เช่น ไฟ ไหม้ แผ่นดินไหวความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน (School and Home Relationship) จาก แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสขุ ภาพ มงุ่ เน้นการทำงานร่วมกับระหว่างโรงเรียน บา้ น และชมุ ชน ปัจจุบันอาจ ใชค้ ำว่า โครงการร่วมระหว่างโรงเรยี นและชมุ ชน เพอื่ ให้โรงเรียนไดม้ กี ารดำเนินโครงการร่วมระหว่าง 1. 7. ความสมั พนั ธ์ของการพยาบาลอนามยั โรงเรียนกับระบบสุขภาพชมุ ชน โรงเรียนและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนได้มีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขร่วมกับ ภาคตี ่าง ๆ ในชุมชนดงั รายละเอยี ด 7.1 ร่วมวิเคราะห์สภาพและสาเหตุของปัญหา โดยศึกษาในรายละเอียดว่าโครงการ/ กิจกรรมที่จะดำเนินการนั้นมีสภาพและสาเหตุของปัญหาเป็นเช่นไรอาจต้องสำรวจข้อมูลหรือ ปัจจัยพื้นฐานของโรงเรียนและชุมชนเปน็ ฐานในการวิเคราะหเ์ พ่ือให้ได้มาซึ่งสภาพและสาเหตุของปัญหา ทีแ่ ท้จริงเช่นกรณมี ีการระบาดของไข้เลือดออกอาจต้องศึกษาวา่ สภาพท้องถิน่ เพื่อต่อการเป็นแหล่งเพาะ พันธย์ ุงลาย หรือไม่ใน 2-3 ปที ีผ่ า่ นมาอตั ราการระบาดของโรครุนแรงมากน้อยเพยี งใดสมาชิกในชุมชนมี ความรู้หรือความตระหนักในการป้องกันการระบาดของโรคหรือไม่เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินงานข้ัน ต่อ ๆ ไป 7.2 รว่ มวางแผน โรงเรยี นควรกระตุ้นจงู ใจให้ครอบครวั และชุมชนมีส่วนรว่ มในการแสดง ความคิดเห็นเพื่อกำหนดเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการวัตถุประสงค์ของโครงการกลุ่มเป้าหมายทีต่ อ้ งดำเนนิ กิจกรรมที่พึงกระทำบุคคลหน่วยงานท่ีรับผดิ ชอบและผลสัมฤทธ์ิของโครงการเพื่อให้เกิดความชัดเจนใน การปฏบิ ตั ิ 7.3 รว่ มดำเนินการ โรงเรยี น ครอบครัว และชมุ ชนควรมีสว่ นร่วมดำเนินการตามบทบาท หน้าที่ในแผนพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการให้ชุมชน ได้รบั ทราบ
32 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน 7.4 ร่วมตรวจสอบทบทวนพัฒนาและปรับปรุง โดยประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา อาจประเมนิ ผลโดยการจดั เสวนาประชาคมหมู่บา้ น สัมภาษณ์หรอื สำรวจความพงึ พอใจของนักเรียนและ ชุมชนเพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกลวิธีการดำเนินงานให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การที่นักเรียนครูบุคลากรในโรงเรยี นและชุมชนมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ จะ ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน เกิดความร่วมมือ และการ ประชาสัมพันธ์ให้รับรู้การทำงานต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ จะสร้างความรู้สึกพึงพอใจให้แก่ทุกคนที่เกี่ยวขอ้ ง โครงการรว่ มระหวา่ งโรงเรียนและชุมชนก่อใหเ้ กดิ ผลลัพธ์ในทางทีพ่ งึ ประสงค์ ดงั นี้ 7.4.1 การที่ผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ของการ ดำเนนิ งานกอ่ ให้เกดิ การเรยี นรเู้ รื่องสขุ ภาพนำไปสเู่ จตคตแิ ละการปฏบิ ัติทีถ่ ูกต้องเหมาะสม 7.4.2 โรงเรียนและชุมชนได้เอื้อประโยชน์ต่อกันในด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิด ประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูล ข่าวสารและการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่ สรา้ งสรรค์ 7.4.3 ปัญหาสุขภาพได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาของ แต่ละท้องถน่ิ 7.4.4 ผู้ปกครองและชุมชนเห็นระโยชน์และเกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ ก่อให้เกิดความร่วมมือกับโรงเรียนในด้านต่าง ๆ นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาที่ ยั่งยืน สรปุ งาน อนามัยโรงเรียนและโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมาจากแนวคิดเดยี วกนั ที่ว่า \"สุขภาพกับ การศึกษามีความสัมพันธ์กันที่แยกจากกันไม่ได้\"การที่เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีจะส่งผลให้สามารถศึกษา เล่าเรยี นได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ ส่วนการศึกษาเปน็ โอกาสให้เด็กนักเรียนไดม้ คี วามรู้เร่ืองสุขภาพ อนามยั ทัศนคติ ทักษะและการปฏิบตั ิท่ถี ูกตอ้ งเหมาะสม การท่โี รงเรยี นจะเปน็ โรงเรียนสง่ เสรมิ สุขภาพได้จะต้อง อาศัยงานอนามัยโรงเรียนเป็นตัวขับเคลื่อน การบริการอนามัยโรงเรียนเป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาล ชุมชนที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียน ครู และบุคลากรทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี โดยใช้หลักการส่งเสริม สขุ ภาพและการป้องกันโรคครอบคลุมกิจกรรมด้านต่าง ๆ เชน่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการสร้าง ทัศนคตทิ ่ดี ีด้านสขุ ภาพแก่เด็กนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรยี น ป้องกนั ควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน ประเมินสุภาพของเด็กนักเรียน โดยหากพบปัญหาสุขภาพจะต้องให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสม การ บริการอนามัยโรงเรียนประกอบด้วยงานหลัก 4 ด้าน คือ การบริการอนามัยโรงเรียนการสอนสุขศึกษา การอนามัยสิ่งแวดล้อม และโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน การบริการอนามัยโรงเรียนที่มี ประสทิ ธภิ าพจะเชือ่ มโยงไปสู่การมีสขุ ภาพอนามยั ทดี่ ีของเด็กวยั 8. แนวคดิ โรงเรียนส่งเสริมสขุ ภาพ
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น33 โรงเรียนส่งเสรมิ สภุ าพมาจากแนวคิดที่ว่า \"สขุ ภาพและการศึกษามีความสัมพนั ธท์ ่ีแยกจากกัน ไม่ได้\" สุขภาพดีจะเกิดผลดีตอ่ การศกึ ษานั่นคือ การที่เด็กมีสุขภาพดีทำให้เด็กไม่ขาดเรียน เรียนหนังสือ ได้ดีรู้จักใช้โอกาสทั้งหมดเพื่อการศึกษาเรียนรู้อันจะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา รวมทั้งมี สมั พันธภาพท่ีดกี ับเพื่อนและผูอ้ ื่นท้ังในและนอกโรงเรยี น แนวคิดโรงเรียนสง่ เสรมิ สุขภาพนั้น ครอบคลุม ด้านสุขภาพอนามัยในทุกแง่มุมของชีวิตทั้งในโรงเรียนและชุมชน นั่นคือความร่วมมือกันผลักดันให้ โรงเรยี นใชศ้ กั ยภาพท้งั หมดทีม่ อี ยูเ่ พ่ือพฒั นาสุขภาพของนักเรียนบคุ ลากรในโรงเรียนตลอดจนครอบครัว และชมุ ชนใหส้ ามารถนำความร้มู าประยุกต์ใช้ในชวี ิตประจำวัน ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและผู้อื่น ตัดสนิ ใจและควบคุมสภาวการณแ์ ละส่ิงแวดล้อมท่มี ีผลกระทบต่อสุขภาพได้ซงึ่ แนวคดิ ดังกล่าวก่อให้เกิด โอกาสในการพัฒนานโยบายระเบียบและโครงสร้างการส่งเสริมสุขภาพทุกเรื่องในโรงเรียนและชุมชน สามารถดำเนินการร่วมกันมีการทำงานเป็นทีมโดยมีผู้นำที่เข้มแข็งโดยทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความ คิดเห็นและตกลงกันในเป้าหมายต่าง ๆ ภายใต้การผสมผสานแนวคิดของการพัฒนาด้านการศึกษาและ ด้านสขุ ภาพ (วราภรณ์ บญุ เชยี ง, 2558) ความหมายของโรงเรยี นส่งเสรมิ สขุ ภาพ องค์การอนามัยโลกได้ใหค้ ำจำกดั ความของ\"โรงเรยี นสง่ เสริมสุขภาพ\" ว่าหมายถึงโรงเรียน ที่มีขีดความสามารถ แข็งแกร่งมั่นคงที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัยศึกษา และ ทำงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2560) ให้ความหมายของ \"โรงเรียน สง่ เสรมิ สขุ ภาพ\" วา่ หมายถงึ โรงเรยี นทมี่ ีความร่วมมือรว่ มใจกันพัฒนาพฤติกรรมและส่ิงแวดล้อมให้เอื้อ ต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมีสุขภาพดีของทุกคนในโรงเรียนซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 12 พศ. 2560-2564 ท่ีหลักการพัฒนาประเทศที่สำคัญในระยะแผนพัฒนา \"ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง\" \"การพัฒนาที่ยังยืน\" และ\"คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา\" ที่ต่อเนื่องจาก 2 แผน พัฒนาฯ ฉบับท่ี 9-11 ประโยชน์ของการมีโรงเรียนส่งเสรมิ สขุ ภาพ โรงเรยี นทีเ่ ข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสรมิ สขุ ภาพจะไดร้ บั ประโยชน์หลายประการดงั นี้ 1. นักเรียนได้เรยี นรู้ถชี ีวิตในการสร้างพฤตกิ รรมสุขภาพซึง่ จะปลกู ฝังให้เกดิ การปฏิบตั ิ ตนทีจ่ ะนำไปสู่การมีสขุ ภาพดีต้ังแต่เดก็ ควบคู่ไปกบั การศึกษาเพื่อให้เดก็ \"เก่ง ดี มีสุข\" 2. ครผู ูป้ กครองและสมาชิกของชุมชนจะไดร้ ับความรู้เกย่ี วกับสุขภาพอนามัยเพ่ือนำไป ปฏิบัติใหเ้ กดิ ทกั ษะการดแู ลสุขภาพท่ีเหมาะสม 3.ตัวช้วี ดั ของโรงเรียนสง่ เสรมิ สุขภาพมีความสอดคล้องกับตัวช้ีวัดการประเมินคุณภาพ การศึกษาทั้งด้านผลผลิตและด้านกระบวนการ ก่อให้เกิดผลดีต่อโรงเรียนในการรับการประเมินจาก ภายนอก
34 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสรา้ งเสริมสขุ ภาพในระบบสุขภาพชมุ ชน 4. โรงเรียนมีโอกาสได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นถือเป็นความท้าทายภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดของทรัพยากร คน เวลาและ งบประมาณของฝ่ายการศึกษาสาธารณสุขและท้องถิ่น ทางเลือกที่เหมาะสมคือ\"การบูรณาการความ ร่วมมือในเรื่องการศึกษาควบคู่ไปกับการมีสุขภาพดี\" โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือภาพลักษณ์ของเด็กวัย เรียนและเยาวชนไทยที่ดีเก่งและมีความสุขอันเป็นความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูป ระบบสุขภาพซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุถึงปรัชญาการพัฒนา\"คน\"อย่างแท้จริงองค์ประกอบของโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ โรงเรยี นส่งเสริมสขุ ภาพนั้นจะตอ้ งมีองคป์ ระกอบ 10 ประการดังน้ี 1. นโยบายของโรงเรียน หมายถึง ข้อความที่กำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านการ ส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนซงึ่ จะสง่ ผลตอ่ กิจกรรมและการจดั สรรทรัพยากรเพื่อการสง่ เสริมสขุ ภาพ 2. การบริหารจัดการในโรงเรียน หมายถึง การจัดองค์กรและระบบบริหารงานเพื่อให้ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนเปน็ ไปอย่างมีประสิทธภิ าพและมีความต่อเน่ือง 3. โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชนหมายถึง โครงการหรือกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพที่ดำเนินการร่วมกนั ระหวา่ งโรงเรยี นผูป้ กครองและสมาชิกของชุมชน 4.การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพหมายถึง การจัดการควบคุมดูแล ปรับปรุงภาวะต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพกายจิตและสังคม รวมถึงการป้องกันโรคและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อนักเรียนและ บคุ ลากรในโรงเรยี น 5. บริการอนามัยโรงเรียนหมายถึงการที่โรงเรียนจัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานท่ี จำเป็นสำหรับนักเรีนทุกคนได้แก่การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพการตรวจสุขภาวะและการรักษาพยาบาล เบ้ืองตน้ ในโรงเรียน 6. สุขศึกษาในโรงเรียนหมายถึงการที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษาทั้งในหลักสูตร การศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีการฝึกปฏิบตั ิท่ี นำไปสู่การมพี ฤตกิ รรมสุขภาพทเี่ หมาะสมต่อการมสี ุขภาพดี 7. โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยหมายถึงการส่งเสริมให้นักเรียนมีภาวะการ เจริญเติบโตสมวัยโดยจัดให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสะอาดและปลอดภัยให้แก่นักเรียนและ บุคลากรในโรงเรียน 8. การออกกำลังกายกีฬาและนันทนาการหมายถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน และบคุ ลากรในโรงเรียนมีการออกกำลังกายเพ่ือสุขภาพโดยการจดั สถานที่อุปกรณ์และกจิ กรรมการออก กำลังกายกีฬาและนันทนาการพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้สถานที่และอุปกรณ์ หรือเข้า ร่วมกิจกรรมทโี่ รงเรยี นจัดข้ึนตามความเหมาะสม
บทที่ 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น35 9. การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมหมายถึงระบบบริการให้คำปรึกษาแนะ แนวและช่วยเหลือนักเรยี นที่มปี ัญหาสุขภาพกายสุขภาพจิตหรือมีภาวะเสี่ยงรวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงของ นกั เรยี น 10. การสง่ เสรมิ สุขภาพบุคลากรในโรงเรียนหมายถึงการจัดกจิ กรรมตา่ ง ๆ เพ่ือกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของตนเองและ เป็นแบบ อย่างที่ดีแก่นักเรียนในโรงเรยี น บริการของโรงเรียน การสอนสุขศึกษา(หลักสูตร) สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาพ องค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐาน การติดตามประเมินผล แหล่งทรัพยากร และบุคลากร โครงการและบรกิ าร 9. แนวคดิ ทศั นคติ นโยบาย ความร่วมมอื การเปน็ หนุ้ สว่ นของโรงเรียนส่งเสรมิ สขุ ภาพ โรงเรียนที่สามารถเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพคือ โรงเรียนระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาในทุกสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชนโดยต้องได้รับการประเมินเพื่อรับรองโรงเรียน 10 องค์ประกอบข้างต้น ซึ่งโรงเรียนที่ผ่านการรับรองจะได้รับประกาศเกียรติคณุ ซ่ึงมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ ทอง ระดับเงนิ และระดับทองแดง ประโยชน์ทีเ่ กิดขนึ้ จากการเป็นโรงเรียนส่งเสรมิ สุขภาพ 1. โรงเรียนได้รับรู้แนวทางการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและขยายผลสู่ ชมุ ชน 2. นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรม ซึ่งจะปลูกฝังให้เกิดการปฏิบัติตนที่จะ นำไปสู่ การมีสขุ ภาพดตี ง้ั แต่เดก็ ควบคู่ไปกับการศึกษา 3. เพือ่ ใหเ้ ดก็ \"ดเี ก่งมีสุข\" ครผู ู้ปกครอง และสมาชกิ ของชุมชนจะได้รับความรูเ้ กี่ยวกับสุขภาพ อนามยั เพ่ือนำไปปฏิบตั ใิ ห้เกดิ ทักษะการดูแลสขุ ภาพทเ่ี หมาะสม 4. ตัวชี้วัดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพ การศกึ ษา ก่อให้เกิดผลดีต่อโรงเรยี นในการรับการประเมินจากภายนอกโรงเรยี นมีโอกาสไดร้ ับความร่วม มือและการชว่ ยเหลือจากชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพม่ิ ขนาด 10. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนกบั โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พยาบาลอนามัยชุมชนในงานอนามยั โรงเรียน มบี ทบาทที่เกย่ี วข้องกับงานด้านโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ (ปราลีณา ทองศรี และนางสาวอารยา เชยี งของ, 2561) ดงั น้ี 1. การประสานโรงเรยี น เพือ่ การยอมรบั แนวคดิ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
36 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสร้างเสริมสขุ ภาพในระบบสขุ ภาพชมุ ชน 2. สนับสนุนใหโ้ รงเรียนแสดงเจตจำนงร่วมเปน็ โรงเรยี นส่งเสรมิ สุขภาพ 3. สนับสนนุ ให้โรงเรยี นจดั ตั้งคณะกรรมการสง่ เสรมิ สุขภาพของโรงเรยี น 4. สนับสนนุ โรงเรียนกำหนดนโยบาย และมกี ารบริหารจัดการใหเ้ กดิ แผนงานโครงการ โรงเรยี นสง่ เสริมสขุ ภาพ 5. สนบั สนนุ ดา้ นบรหิ าร และวชิ าการให้กบั โรงเรยี น ตามแผนงานโครงการท่ีโรงเรียน กำหนดและมีการตดิ ตามผลเพือ่ ให้กำลงั ใจแกโ่ รงเรยี นอย่างสม่ำเสมอ 6. สนบั สนุนใหโ้ รงเรียนประเมนิ ตนเองโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการประเมนิ โรงเรยี นสง่ เสรมิ สุขภาพ 10 องคป์ ระกอบ 7. เมื่อโรงเรียนดำเนินการได้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของโครงการโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ และเห็นว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแล้ว บทบาทของพยาบาล ต้องกระตุ้นและสนับสนุนให้โรงเรียนขอรับการประเมินจากคณะกรรมการภายนอกเพื่อรับรองการเป็น โรงเรยี นส่งเสรมิ สุขภาพ การพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ย่อมเกิดจากความตระหนักร่วมกันของทุก ฝ่าย ถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี และความจำเป็นในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตั้งแต่ เดก็ (Holmes et al., 2016) รวมทั้งมงุ่ มั่นสรา้ งโรงเรยี นเปน็ ศูนย์กลางของการพฒั นาความเป็นอยู่อย่าง มีสุขภาพดีของทุกคนในชุมชน ซึ่งเป็นความท้าทายภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดของทรัพยากร คน เวลา และ งบประมาณของฝ่ายการศึกษา สาธารณสุข และท้องถิ่น ทางเลือกที่เหมาะสมคือ การบูรณาการรว่ มมือ ในเรื่องการศึกษาควบคู่ไปกับการมีสุขภาพดี โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ภาพลักษณ์ของเด็กนักเรียนและ เยาวชนไทยที่ดี เก่ง และมีความสุข อันเป็นความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูประบบ สุขภาพซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุถึงปรัชญาการพัฒนา “คน” อย่างแท้จริงปัญหาและอุปสรรคในการ ดำเนินงานอนามัยโรงเรียนของประเทศไทยที่ผ่านมา คืองบประมาณที่ไม่เพียงพอ ครูโรงเรียน และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีภาระงานมาก ขาดความร่วมมือและการประสานงาน และขาดการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานไม่ครบตาม บทบาทที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังขาดการริเริ่มโครงการสร้างสุขภาพ และการติดตามข่าวสาร สถานการณ์เกี่ยวกับสุขภาพอย่างเท่าทันทำให้การด าเนินงานอนามัยโรงเรียนของประเทศไทยยังไม่ ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นพยาบาลอนามัยโรงเรียนในอนาคต จะต้องพัฒนาตนเองในด้าน ความรู้และทักษะให้มีความชำนาญในงานอนามยั โรงเรยี นมกี ารติดตามสถานการณ์ดา้ นสุขภาพ แสวงหา แนวทางใหม่ๆ ในการริเริ่มโครงการในการสนับสนุนกิจกรรมภายในโรงเรียน พยาบาลอนามัยโรงเรียน ต้องมีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะการเจรจาต่อรอง เพื่อให้การประสานงานกับโรงเรียน และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สถานการณ์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการเคลื่อนย้าย แรงงานจำนวนมาก ทำให้ลูกหลานแรงงานต่างด้าวเข้ามาเรียนในโรงเรียนของประเทศไทยมากขึ้น
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามยั โรงเรยี น37 ดังนั้นพยาบาลอนามัยโรงเรียน ต้องมีความรู้ทักษะการสื่อสารทางภาษาประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ของ ตนเองและต้องมคี วามเข้าใจในสภาวะสขุ ภาพของประเทศเพ่ือนบ้านดว้ ย ปัจจัยที่ส่งผลให้งานอนามัยโรงเรียนไม่ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ การไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำห้อง พยาบาล ครูอนามัยโรงเรียนได้จบพยาบาล โดยตรง สื่อสุขศึกษามีน้อยท าให้ขาดแหล่งการเรียนรู้ เกีย่ วกบั การดแู ลสขุ ภาพของตนเอง โรงเรียนไม่มนี โยบายเรอ่ื งสง่ เสริมอนามยั สิ่งแวดลอ้ มภายในโรงเรียน อาทิเช่น ยังมีการจำหน่ายน้ำอัดลม อาหารทอด ขนมขบเคี้ยวภายในโรงเรียน ไม่มีการจัดการเรื่องสัตว์ เลี้ยง และขยะโดยตรง เป็นต้น ดังนั้น บทบาทของพยาบาลอนามยั ชุมชนควรเน้นสู่ความร่วมมอื ของทุก ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยใช้แนวคิดการสร้างเสริมพลัง (Empowerment) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อ สุขภาพที่ดีโดยนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนสามารถเป็นผู้น าในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในบริบท ของโรงเรียนและชุมชนซึ่งนอกจากจะพัฒนาบทบาทนักเรียนให้เกิดผู้น ำการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ ของตนเองและเพื่อนนักเรียนแล้วนักเรียน ยังสามารถเป็นผู้นำสุขภาพสู่ครอบครัวและขยายผลสู่ชุมชน ในการสรา้ งสขุ ภาวะไดอ้ ยา่ งยัง่ ยืน บทสรุป โรงเรียนจัดเป็นสถาบันหล่อหลอมนักเรียนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ โดยมีหน้าท่ี พัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข การบริการ พยาบาลอนามัยโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการบริการอนามัยโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา คุณภาพของประชากรวัยเรียน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการ ปฏิบัติทางด้านสุขภาพให้กับนักเรียน พยาบาลอนามัยชุมชนมีหน้าที่ในการจัดบริการอนามัยโรงเรียนมี ลักษณะเป็นบริการสาธารณสุข ผสมผสานซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียนให้มีการเจริญเติบโตตามวยั รวมถึงการเสรมิ สร้างความรู้ ทัศนคติทเ่ี หมาะสมเกี่ยวกับสุขภาพ และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในการ ดูแลตนเองและครอบครัวให้มีสุขภาพท่ีดีตอ่ ไป คำถามทา้ ยบท 1. จงอธบิ ายแนวคดิ การพยาบาลอนามัยโรงเรียน 2. พยาบาลมบี ทบาทในการพยาบาลอนามยั โรงเรียนอยา่ งไร 3. จงอธิบายหลกั การดำเนนิ งานอนามัยโรงเรยี น 4. จงอธบิ ายหลกั การตรวจสุขภาพนักเรยี น 5. จงอธบิ ายหลักการและความสำคญั ของการสอนสขุ ศึกษาในโรงเรียนได้ 6. จงบอกหลักการอนามยั สง่ิ แวดลอ้ มในโรงเรยี น
38 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพในระบบสขุ ภาพชมุ ชน 7. จงอธบิ ายความสัมพนั ธ์ของการพยาบาลอนามัยโรงเรียนกบั ระบบสขุ ภาพชมุ ชน 8. จงอธบิ ายแนวคดิ โรงเรยี นสง่ เสริมสุขภาพ 9. จงอธิบายแนวคิดทัศนคติ นโยบาย ความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียนส่งเสริม สขุ ภาพ 10. พยาบาลอนามัยชุมชนมีบทบาทในงานโรงเรยี นสง่ เสริมสุขภาพอย่างไร บรรณานุกรม ปราลณี า ทองศรี และนางสาวอารยา เชียงของ. (2561). บทบาทพยาบาลอนามยั ชมุ ชนในงานอนามยั โรงเรียน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(2), 203-221. แผนงานสร้างเสรมิ ภูมคิ มุ้ กันโรค กองโรคป้องกันดว้ ยวัคซนี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ . (2563). กำหนดการให้วคั ซีนตามแผนงานสร้างเสริมภมู ิคุ้มกันโรคของกระทรวง สาธารณสุขปี 2563. คน้ เม่ือ เมษายน 20, 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1048320191202064105.pdf วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัยและจริยาวัตร คมพยัคฆ์. (บรรณาธิการ). (2553). การพยาบาลอนามัยชุมชน: แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการพยาบาล. สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์ มหาวทิ ยาลยั หัวเฉียวเฉลิมพระเกยี รติ. วราภรณ์ บญุ เชยี ง. (2558). อนามัยโรงเรยี น. พมิ พค์ ร้งั ท่ี 2. เชยี งใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม.่ ศิวพร องึ้ วฒั นา และรังสยิ า นารนิ ทร์. (2561). การพยาบาลชมุ ชน: อนามยั ครอบครัว อนามัย โรงเรียน อนามัยส่ิงแวดล้อมและอาชวี อนามัย. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตติง้ แอนด์ เซอรว์ ิส. สมศกั ดิ์ จำปาโท. (2562). อนามัยโรงเรียน. พิษณุโลก: สำนกั พิมพม์ หาวทิ ยาลัยนเรศวร. สำนักสง่ เสริมสขุ ภาพ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ . (2557). คมู่ อื การตรวจคดั กรองระดบั การ มองเหน็ ในเดก็ ชนั้ อนบุ าลและประถมศึกษา (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2557) (พิมพค์ ร้งั ที่ 3). กรงุ เทพ: โรงพมิ พ์พระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ. สำนกั สง่ เสริมสุขภาพ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนสง่ เสริม สขุ ภาพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558) (พมิ พ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: สำนักบรกิ ารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บทท่ี 9 การพยาบาลอนามัยโรงเรยี น39 Allender, J. A., & Spradley, B. W. (2001). Community health nursing: Concepts and practice. Lippincott Williams & Wilkins. Grand M. (1987). Handbook of community health. 4 th ed. Philadelphia: Lea & Febiger. Holmes, B. W., Allison, M., Ancona, R., Attisha, E., Beers, N., De Pinto, C., . . . Weiss-Harrison, A. (2016). Role of the school nurse in providing school health services. Pediatrics, 137(6), e20160852. Patrick LD, Erickson P. (1993). Health status and health policy. Oxford: Oxford university press.
Search
Read the Text Version
- 1 - 40
Pages: