INTERNET OF THINGS อินเทอร์เน็ตเพื่ อ ส ร ร พ สิ่ ง จัดทำโดย นาย สมมิตร สุวรรณนอก
สารบัญ เรื่อง หน้า Smart home Smart city 3 Smart grids 4 Smart farmmingm 5 Connected car 8 Smart retail 10 13
Smart home Smart Home หรือ บ้านอัจฉริยะ คือ บ้านที่เต็มไปด้วยข้าวของเครื่อง ใช้ที่มีระบบการควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผ่านเครือข่ายการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายหรือไร้สายก็ได้ และสามารถควบคุม ทั้งจากระยะใกล้และระยะไกล ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของ บ้านยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยในการประหยัดพลังงานและ เรื่องของความปลอดภัยได้ด้วยวิธีที่ง่าย ๆ เช่น -การสั่งให้ปิด - เปิดไฟ ในขณะที่เราไม่อยู่บ้าน -การสั่งปรับอุณภูมิเครื่องปรับอากาศ เช่น เมื่อตัววัดอุณหภูมิภายใน ห้องแจ้งว่าตอนนี้อุณหภูมิภายในห้องร้อนเกินไป สามารถสั่งให้เครื่อง ปรับอากาศเปิดทันทีภายใต้อุณหภูมิที่ต้องการ หรือ สามารถสั่งให้เครื่อง ปรับอากาศทำงานรอไว้ในขณะระหว่างทางการกลับบ้าน เพื่อที่ห้องจะ ได้เย็นคอยต้อนรับการกลับมาได้พอดี -แจ้งเตือนเมื่อผู้มาหา -แจ้งเตือนระบบน้ำ, ระบบไฟ -แจ้งเตือนอันตรายต่าง ๆ เมื่อลืมปิดแก๊ส หรือน้ำล้นจากอ่างล้างจาน เป็ นต้น -ตู้เย็นที่คอยเตือนว่าอาหารที่เหลือในตู้ใกล้หมดแล้ว ต่อไปนี้ถ้าเราต้องออกไปธุระข้างนอก ต่างจังหวัด ต่างประเทศ ก็คงไม่ ตั้งกังวลอีกแล้ว
Smart city เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยี ดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและ คุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภค ของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัย ได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Smart City เป็นโครงการที่หลาย ๆ เมืองทั่ว โลก พยายามพัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาผสาน กับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนในฝัน เกิด ขึ้นได้จริง ทั้งยังทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขกันด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นรากฐานในการเชื่อมโยงอุปกรณ์หรือ สิ่งของรอบ ๆ ตัวเข้ากับโครงข่ายการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต รวมไป ถึงการวางผังเมืองที่ชาญฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายรูปแบบ การบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City เป็นการสร้างเมืองที่จะมีการ เติบโตอย่างยั่งยืน เน้ นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด จึงช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริม สภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลด ปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect) แม้ว่าประเทศไทย จะยังไม่มี Smart City ที่สมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่าง
แต่ก็กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เป้ าหมายที่คัดเลือกเป็นเมือง อัจฉริยะต้นเเบบด้วยกัน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมือง อัจฉริยะซึ่งมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เน้ น 5 เสา หลักสำคัญ ดังนี้ -เสาหลักที่ 1 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้ าหมายในการเลือก เมืองที่มีศักยภาพ ที่จะใช้สำหรับการดำเนินงานนำร่อง เพื่อสนับสนุน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ -เสาหลักที่ 2 การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีเป้ าหมายที่จะบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ -เสาหลักที่ 3 สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง อัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ มีเป้ าหมายให้มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการ พื้นที่ จัดเตรียมองค์กร ระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริม การให้บริการสาธารณะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน -เสาหลักที่ 4 ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีเป้ าหมายในการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สามารถ นำไปปรับใช้สำหรับเมืองอัจฉริยะในอนาคต -เสาหลักที่ 5 ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเข้าถึงการเชื่อมโยง และการใช้งานข้อมูล โดยมีเป้ าหมายเพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างการเรียน รู้ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผน ตลอดจนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่าง เป็ นรูปธรรม
Smart grids สมาร์ทกริด (Smart Grid) คือระบบโครงข่ายไฟฟ้ าอัจฉริยะ ที่นำ เทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยครอบคลุม ตั้งแต่การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นตลอดทั้งห่วงโซ่ของระบบ ไฟฟ้ าตั้งแต่การผลิตไฟฟ้ า การส่งไฟฟ้ า การจำหน่ายไฟฟ้ า ไปจนถึง ภาคส่วนของผู้บริโภค ได้อย่างชาญฉลาด การสื่อสารในการเก็บข้อมูล และทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้ าโดยใช้ข้อมูลดังกล่าวในการ ตัดสินใจ เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ าจากผู้ใช้งานและการ ผลิตไฟฟ้ าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้ าเพื่อ ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์ และความยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้ าในระบบโครง ข่ายไฟฟ้ า นั่นคือผู้ใช้ไฟฟ้ าทั่วไปตั้งแต่ภาคบ้านเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและการพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึงการ เชื่อมต่อพลังงานไฟฟ้ าหมุนเวียนเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้ าและเตรียม พร้อมรองรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ าเข้ามาใช้งานในอนาคต เป็นต้น ประโยชน์ของ Smart Grid ด้านระบบไฟฟ้ า - ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ ามีความมั่นคง เชื่อถือได้และมีคุณภาพสูงขึ้นมาก - ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ าจะสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง ทําให้เพิ่มประสิทธิภาพ สูงขึ้น
- ในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้ าดับขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้ าจะสามารถกลับมาใช้ไฟฟ้ าได้ ใหม่ภายในระยะเวลาอันสั้น ด้านบริการ - ผู้ใช้ไฟฟ้ าตรวจสอบลักษณะการใช้ไฟฟ้ าและลดค่าไฟฟ้ าในแต่ละเดือน ได้ - มีระบบแจ้งเตือนไฟฟ้ าขัดข้องแบบอัตโนมัติ - มีบริการใหม่ ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม - สนับสนุนให้ผู้ใช้ไฟฟ้ าประหยัดการใช้พลังงาน และผลิตพลังงานที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม - สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของ ประเทศ - สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน
Smart farmmingm เทคโนโลยีเป็ นส่วนหนึ่ งที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประวันในทุก วันนี้ จนมีคนกล่าวไว้ว่า ยุคนี้ Technology is everything โดยไม่ว่าจะ มองไปทางด้านไหน ก็มีแต่คนที่ใช้เทคโนโลยีกันตลอดเวลา แม้แต่การ ทำการเกษตรเอง ในยุคปัจจุบันนี้ก็มีแนวคิดใหม่ในการทำการเกษตร ขึ้นมา เรียกว่า Smart Farming ซึ่งกำเนิดจากวิถีของเกษตรกรในยุค ใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการกลับไปพัฒนาบ้านเกิด ทำให้หลายคน เริ่มหันมาสนใจวิธีการทำการเกษตรแบบไฮเทค ที่จะเข้าไปเปลี่ยนวิถี แบบเดิมๆ แต่การใช้เทคโนโลยีจำนวนมากก็มีข้อเสียที่ทำให้การทำ Smart Farming ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นกัน เราสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ว่า Smart Farming คือการทำการเกษตร อัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการระบบการเพาะปลูกในทุก ๆ ขั้นตอน และสามารถควบคุมทุกอย่างได้ด้วย เทคโนโลยี เพื่อทำการ ตรวจสอบ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเพาะปลูกได้แบบ Real-Time พร้อมกับสามารถแสดงผลข้อมูลการเจริญเติบโตและคาด การณ์ผลผลิตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทย ของเรายังคงอยู่ในจุดเริ่มต้นของการทำเท่านั้น เนื่องจากการทำ
Smart Farming จำเป็นต้องมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ และได้รับการ สนับสนุนจากหลายภาคส่วน อีกทั้งตัวเกษตรกรเองก็จำเป็นต้องมีการ เรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงจากวิถีเดิมที่เคยทำมา
Connected car Connected Car เป็นการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่งของ Internet of Things (IoT) โดยเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับยาน ยนต์และการคมนาคมขนส่ง ทำให้รถยนต์สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆ หรือเป็นเหมือน “สมาร์ทโฟนติดล้อ (Smartphone on wheels)” ตาม คำกล่าวของ Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota Motor Corporation Connected Car จะทำให้เกิดบริการแอพพลิเคชันและรูปแบบธุรกิจ ใหม่ๆ ที่ช่วยให้การคมนาคมขนส่งมีความปลอดภัยมากขึ้น มี ประสิทธิภาพคล่องตัวมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ เดินทาง ดังนี้ 1) บริการด้านข่าวสารและความบันเทิง (Infotainment) โดยผู้ โดยสารรถยนต์สามารถดูหนังฟังเพลงจากในรถที่ sync ข้อมูลกับ โทรศัพท์มือถือ ทำให้ประสบการณ์ในการใช้งานระหว่างอุปกรณ์เป็นไป อย่างลื่นไหล ตัวอย่างเช่น Apple Carplay 2) บริการประกันภัยที่คิดเงินตามการขับจริง (Usage-based Insurance) โดยจากข้อมูลลักษณะการขับขี่จะทำให้บริษัทประกันภัย สามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ขับขี่ได้ดีขึ้น และนำมาคิดค่าเบี้ย ประกันตามพฤติกรรมในการขับรถได้ เช่น ผู้ขับขี่เป็นระยะทางสั้นๆ และใช้ความเร็วต่ำ
ก็จะจ่ายค่าเบี้ยประกันต่ำกว่าผู้ขับขี่ระยะทางไกลๆ และใช้ความเร็วสูง 3) บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ในกรณีที่ผู้ขับขี่ประสบอุบัติเหตุ หน่วย งานให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทัน ท่วงที ตัวอย่างเช่น ในยุโรปได้มีบริการที่เรียกว่า eCall กำหนดให้ รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่จะโทรเรียกหมายเลขฉุกเฉิน 112 โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชนรุนแรง และส่งข้อมูลการ ทำงานของถุงลมนิรภัย และพิกัดของรถยนต์ให้หน่วยงานให้ความช่วย เหลือฉุกเฉินทราบ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ ประสบเหตุได้ถึง 40-50% 4) บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล (Remote Diagnostic and Maintenance) โดยเซนเซอร์ที่อยู่บนรถยนต์จะตรวจวัดสภาพรถ และส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการโดยอัตโนมัติ ทำให้ศูนย์บริการสามารถ วิเคราะห์สภาพรถและพยากรณ์การเสียของรถได้ล่วงหน้ าแล้วแจ้งให้ผู้ ขับขี่นำรถมาซ่อมได้ก่อนที่จะเกิดการเสียจริง 5) การสื่อสารของรถยนต์กับสิ่งรอบตัว (Vehicle-to-Everything Communications: V2X) โดยมีทั้งการสื่อสารระหว่างรถยนต์ (Vehicle-to-vehicle: V2V) เช่น รถยนต์คันหน้ าแจ้งเตือนรถยนต์ที่ ตามมาเมื่อมีการเบรกเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารระหว่างรถและ โครงสร้างพื้นฐาน (Vehicle-to-infrastructure: V2I) เช่น สัญญาณไฟ จราจรอาจแจ้งให้รถหลีกเลี่ยงเส้นทางรถติด ช่วยให้การคมนาคมคล่อง ตัวขึ้น ซึ่งการสื่อสารของรถยนต์ในลักษณะนี้จะเป็นโอกาสของ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในการเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมยาน ยนต์ ตัวอย่างเช่น การจัดตั้งสมาคม 5G Automotive Association ซึ่ง เป็ นความร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกับ อุตสาหกรรมยานยนต์ 6) การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยสามารถนำข้อมูล จากเซนเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งในรถยนต์มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง ระบบการคมนาคมขนส่งและการพัฒนาเมือง
ตามแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้ เช่น หากเซนเซอร์ ตรวจพบการเบรกของรถยนต์บนถนนเส้นหนึ่งอย่างผิดปกติ อาจเป็น ไปได้ว่าผู้ใช้ทางเบรกเนื่องจากถนนดังกล่าวเกิดการทรุดตัว ข้อมูลดัง กล่าวสามารถนำมาใช้ในการแจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อซ่อมแซมถนนได้ 7) การขับขี่โดยอัตโนมัติ (Automated Driving) โดยนำการสื่อสาร มาใช้ร่วมกับเซนเซอร์ต่างๆ ซึ่งใช้ในการตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบตัว และนำข้อมูลมาประมวลผลโดย Artificial Intelligence (AI) เกิดเป็น รถยนต์ไร้คนขับหรือรถยนต์ขับอัตโนมัติ (Automated Vehicles) ซึ่ง จะทำให้การเดินทางมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน 90% ของอุบัติเหตุทางถนนเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ (human error) และช่วยให้เกิดรูปแบบธุรกิจ Mobility as a service ซึ่งทำให้เรา สามารถใช้บริการรถยนต์ที่ใช้งานร่วมกันกับผู้อื่นเมื่อเราไม่ได้ใช้งานได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) การให้ บริการ Connected Car จะทำให้ผู้เล่นใน Ecosystem ที่หลากหลาย เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ให้บริการ Content ผู้ให้ บริการระบบโทรคมนาคม ผู้ให้บริการประกันภัยรถยนต์ และหน่วยงาน ภาครัฐ จะต้องมีการร่วมมือกัน (Collaboration) เพื่อให้เกิดการพัฒนา บริการแอพพลิเคชันใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม การพัฒนา Connected Car ให้ใช้งานได้จริงก็มีความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการร่วมมือกัน ของอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างกัน การปรับปรุงกฎหมายและกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎจราจรเพื่อรองรับการใช้งานของรถยนต์ไร้ คนขับ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของ ข้อมูลบุคคล เป็นต้น ซึ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนใน Ecosystem จะต้อง ร่วมมือกันหาทางออกในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ร่วมกันต่อไป
Smart retail โซลูชัน Smart Retail ของ Jarltech เป็นชุดผลิตภัณฑ์วิเคราะห์วิดีโอ แบบ AI ที่สมบูรณ์สำหรับสภาพแวดล้อมการค้าปลีก สถานที่ตั้งจริงเป็น ช่องทางหลักสำหรับผู้ค้าปลีกหลายราย แต่จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ สถานที่ตั้งจริงอาศัยวิธีการสร้างข้อมูลแบบโบราณที่พลาดองค์ประกอบ สำคัญของประสบการณ์ของลูกค้าในร้าน การจัดการผลิตภัณฑ์ บริการ และพนักงานในวงกว้างพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการ ของผู้บริโภคอาจเป็ นเรื่ องยากหากไม่มีข้อมูลที่ทันท่วงทีและเป็ น ปัจจุบัน โซลูชัน Smart Retail ของ Jarltech ให้บริการหลายอย่างที่ สามารถส่งข้อมูลที่จำเป็ นเพื่ อปรับปรุงการตัดสินใจและสร้างมูลค่าให้กับ ลูกค้ามากขึ้น โซลูชัน Jarltech Smart Retail ใช้ประโยชน์จากป้ าย ดิจิทัลร่วมกับซอฟต์แวร์วิเคราะห์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนิน งานของร้านค้าและแนวโน้ มของลูกค้า ลดความซับซ้อนและเร็วขึ้นในการทำการตลาดโครงการ POS และ Kiosk ของคุณด้วย Jarltech Smart Retail Solutions! เราให้บริการโซลูชันการคำนวณที่มุ่งเน้ นลูกค้าและปรับแต่งได้สำหรับ เครื่อง POS และ Kiosk ระดับเริ่มต้นถึงขั้นสูง เพื่อตอบสนองความ ต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดค้าปลีกอัจฉริยะนี้
เราจึงพัฒนาเครื่อง POS, ตู้บริการตนเอง, โซลูชันเครื่องพิมพ์เพื่อให้ ลูกค้าของเรานำหน้ าคู่แข่ง ประโยชน์ที่คุ้มค่า : 1) การตัดสินใจของร้านค้าที่มีความชำนาญทำได้ง่าย Jarltech Smart Retail Solutions เป็นเครื่องมือวิเคราะห์แบบพกพาที่ ครอบคลุมและเรียลไทม์สำหรับผู้จัดการการปฏิบัติงานร้านเดียวและ หลายร้านและนักการตลาดค้าปลีก โดยผสมผสานข้อมูลการวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ของกล้องและ IoT เพื่อจัดเก็บภาพรวมการดำเนินงานของ การรับส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นักช้อป จำนวนรายได้ และ อัตรา Conversion เพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อกลยุทธ์การโฆษณาที่ดีขึ้น การจัดการพนักงาน และขับเคลื่อน ผลลัพธ์ทางธุรกิจ 2) ข้อมูลประชากรของนักช้อป Jarltech Smart Retail Solutions เครื่องมือวิเคราะห์ที่หลากหลายให้ ภาพรวมแบบภาพร้านค้าเดียวและหลายร้านของการเข้าชมที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด จำนวนคน เพศ และอายุ ผสมผสานกับข้อมูล POS อัตราการแปลง และการวิเคราะห์ความชอบของนักช้อปเพื่อกำหนดเป้ า หมายกลยุทธ์การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น ผลักดันยอด ขายโดยการเปรียบเทียบข้อมูลการวิเคราะห์ตามกรอบเวลาและแหล่ง ข้อมูลต่างๆ เพื่อปรับปรุงรูปแบบร้านค้า การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ทางการตลาด/การโฆษณา Smart Retail ยังมอบโซลูชัน การจัดการการจัดส่งเนื้อหาแบบกำหนดเองและป้ ายอัจฉริยะสำหรับการ ตลาดแบบกำหนดเป้ าหมาย 3) เห็นภาพพฤติกรรมของนักช้อป ทำความเข้าใจประสิทธิภาพของรูปแบบร้านค้า กลยุทธ์การโฆษณา และการใช้งานของพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิภาพการ ทำงานต่อไป กำหนดกล้องที่จัดกลุ่มในร้านค้าสำหรับข้อมูลแบบเรียล ไทม์และในอดีตของแบรนด์และพื้นที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อติดตาม ตำแหน่งของนักช้อป และวิเคราะห์เวลาอยู่นิ่ง เพื่อแสดงภาพพฤติกรรม ของผู้ซื้ อและความน่าดึงดูดใจของผลิตภัณฑ์อย่างเป็ นระบบ
ผู้จัดการร้านค้าสามารถนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ซื้อเป้ าหมาย และจัดสรรพนักงาน เพื่อเพิ่มยอดขายต่อไป 4) การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง Jarltech Smart Retail Solutions ช่วยให้ทีมผู้บริหารตัดสินใจและ ดำเนินการทันทีเพื่อจับโมเมนตัมของตลาด และป้ องกันการขาดทุนที่ อาจเกิดขึ้น การตั้งค่าวิดเจ็ตที่กำหนดเองช่วยให้ผู้จัดการร้านตรวจสอบ ลำดับความสำคัญที่สูงขึ้น ข้อมูลร้านค้าแต่ละแห่งที่เกี่ยวข้อง และการ วิเคราะห์สหสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์/พฤติกรรมเพื่อกำหนดเป้ าหมาย แคมเปญการตลาดได้อย่างแม่นยำ แพลตฟอร์มสดของแดชบอร์ดตัวชี้ วัดสามารถรวมเข้ากับฐานข้อมูลภายนอก เช่น POS, CRM เพื่อสร้าง ข้อมูลเชิงลึกการวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงลึกในชุดข้อมูลต่างๆ
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: