Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ถอดบทเรียน

ถอดบทเรียน

Published by KRU CHATTRA, 2021-07-31 06:49:59

Description: ถอดบทเรียน

Search

Read the Text Version

คำนำ เอกสารการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ Active Learning โดยใช้การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวงจรคุณภาพ ( PDCA ) สู่การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับ คุณภาพผเู้ รยี นในศตวรรษท่ี 21 รว่ มกบั ภาคีเครือขา่ ยทปี่ ระสบผลสำเร็จ เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่าง มีเหตุผลเป็นขั้นตอน ผ่านการสำรวจ สังเกต คาดการณ์ สืบค้นและเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับความรู้เดิมของ ผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันโดยการสืบ เสาะหาความรู้ใน 5 ขั้นตอน คือข้ันสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยาย ความรู้ และขั้นประเมิน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ 3R ได้แก่ การอ่าน การ เขียน การคำนวณ และ 8C ได้แก่ 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีทกั ษะในการแกป้ ัญหา 2) ทักษะ ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ทักษะความเข้าใจความต่างของวัฒนธรรม 4) ทักษะความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ 5) ทักษะด้านการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ และสารสนเทศ 6) ทักษะด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร 7) ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ 8) ความมีเมตตากรุณา วนิ ยั คณุ ธรรม และจรยิ ธรรม โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ ดำเนินการถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการ จัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ ( PDCA ) สู่การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ครูสามารถจัดการเรียนรูโ้ ดยใชก้ ารสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) เพือ่ พฒั นาคุณภาพผู้เรยี นในศตวรรษท่ี 21 ได้อย่างมคี ณุ ภาพ ขอขอบคณุ คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคเี ครอื ข่าย ท่ีให้ความรว่ มมอื ร่วมปฏบิ ัติ ให้คำแนะนำที่ เป็นประโยชน์ โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับโรงเรียนที่สนใจนำไปเป็น แบบอย่างในการบริหารจัดการศึกษาใหเ้ กิดประโยชน์ตอ่ ไป นางพันธ์ทิวา จางคพิเชียร ผู้อำนวยการโรงเรียนธญั ญสทิ ธศิ ลิ ป์

สารบญั หนา้ 1 ส่วนท่ี 1 ข้อมลู ทวั่ ไป 1 ส่วนที่ 2 รายละเอียดจากการถอดบทเรยี นของโรงเรียนที่คัดเลือก 1 1 2.1 ชอ่ื โครงการ 2.2 ขอ้ มูลพื้นฐานโรงเรียน 6 2.3 ประเภททีโ่ รงเรยี นดำเนนิ การและประสบผลสำเรจ็ ในการจัดการเรียนรู้ 6 7 Active Learning รว่ มกบั ภาคีเครือขา่ ย 8 2.4 ปัญหาและความจำเป็น 12 2.5 เปา้ หมาย 13 2.6 รูปแบบและวิธกี ารดำเนินงาน 15 2.7 ผลลพั ธ์/ผลสำเรจ็ 15 2.8 บทเรียนการดำเนนิ งาน Active Learning ร่วมกับภาคเี ครือข่าย 16 2.9 แนวทางพัฒนาต่อไป 2.10 ข้อคดิ ในการดำเนนิ งานให้ประสบความสำเร็จ ภาคผนวก

ส่วนท่ี 1 ขอ้ มลู ท่ัวไป 1.1 สำนกั งานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษาประถมศกึ ษาปทุมธานีเขต 2 ผู้รับผิดชอบ : นางสาวดอกลกั ษ์ วรยศ ตำแหนง่ ศึกษานเิ ทศก์ E-Mail : dokluk@ptt2.go.th เบอร์โทร 0840167805 1.2 โรงเรยี นธัญญสิทธิศลิ ป์ ชอื่ ผู้ประสานงานของโรงเรยี น นางสาวกติ ิยา มารศรี ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนธัญญ สทิ ธิศิลป์ E-Mail : kitiyamarasri@gmail.com เบอรโ์ ทร 0864015071 สว่ นที่ 2 รายละเอียดจากการถอดบทเรยี นของโรงเรยี นทค่ี ดั เลือก 2.1 ชอ่ื โครงการ/กระบวนการ การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขน้ั ตอน (5E) เพอื่ ยกระดับ คุณภาพผเู้ รยี นในศตวรรษที่ 21 2.2 ขอ้ มูลพนื้ ฐานของโรงเรียน 2.2.1 ขอ้ มูลทวั่ ไป 1) ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนธัญญสิทธศิ ลิ ป์ ตั้งอยู่เลขที่ 101/16 หมู่ 4 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12110 โทรศัพท์ 0-25771176 โทรสาร 0-25773793 เวบ็ ไซต์ : www.thanyasith.ac.th สงั กดั สำนกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษา ปทมุ ธานี เขต 2 2) เปิดสอนระดับปฐมวัยและระดบั ประถมศกึ ษา 3) มีเขตพื้นที่บริการ ได้แก่ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จงั หวดั ปทุมธานี ประวตั โิ รงเรียนโดยย่อ โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2 สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ. ศ. 2455 เดิมใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประจำจังหวัดธัญบุรี” โดยคณะข้าราชการจังหวัดธัญบุรี เป็นผู้จัดตั้งข้ึน ถอดบทเรียนการจดั การเรยี นรู้ โรงเรียนธัญญสิทธิศลิ ป์ 1

ซึ่งในขณะนั้นอำเภอธัญบุรี มีฐานะเป็นจังหวัดธัญบุรี สังกัดมณฑลกรุงเทพมหานคร การจัดการเรียนการสอนใน สมัยเริ่มแรกคล้ายโรงเรียนอนุบาล มีครู 2 คน มีนักเรียน 22 คน สถานที่เรียนใช้ศาลาฟังธรรมของจังหวัด ในปี พ.ศ. 2461 ทางราชการไดย้ บุ โรงเรยี นวดั นาบุญมารวมกนั วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 จังหวัดธัญบุรี ยุบฐานะเป็นอำเภอ สังกัดจังหวัดปทุมธานี ทำให้โรงเรียนลด ฐานะลง วันที่ 17 มิถุนายน 2475 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ในปี พ.ศ. 2476 โรงเรียนได้แยกนักเรยี นส่วนหนึง่ ไปเรยี นที่คลอง 7 โรงเรียนวัดนาบุญ ในปี พ.ศ. 2480 โรงเรียน ทำการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนประชาบาลใช้ชื่อว่า โรงเรยี นประชาบาลรงั สติ 3 และเปลีย่ นชือ่ เปน็ โรงเรยี นประชาบาล 2 ( ธญั ญสิทธศิ ลิ ป์ ) และในปี พ.ศ. 2495 ได้ เปลี่ยนช่อื เปน็ โรงเรียนธญั ญสิทธิศลิ ป์ ในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาเขตอนุบาลปทุมธานี และ ในปี พ.ศ. 2543 ได้อนุมัติให้เป็นโรงเรียนอนุบาลอำเภอธัญบุรี ปีการศึกษา 2548 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์ พัฒนาการศึกษาปฐมวัย ของสำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาปทุมธานี เขต 2 และเป็นโรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบ ของอำเภอธัญบุรี ปี 2557 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปัจจบุ ันโรงเรียนเปดิ ทำการสอนต้ังแต่ ชั้นอนุบาลปที ี่ 1 ถงึ ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6 มเี นื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา แผนท่โี รงเรียน ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนธัญญสิทธิศลิ ป์ 2

ขอ้ มูลด้านผู้บรหิ าร 1) ผอู้ ำนวยการโรงเรยี น ชอื่ -สกุล นางพนั ธท์ วิ า จางคพิเชยี ร วุฒิการศึกษาสูงสุด บริหารการศึกษา (ศษ.ม.) ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2552 จนถงึ ปัจจบุ ัน เปน็ เวลา 12 ปี 6 เดอื น โทรศพั ท์ 089 - 5221546 e-mail: p.pantiwa1011@hotmail.com 2) รองผอู้ ำนวยการโรงเรยี น ช่อื -สกลุ นางสาวกิติยา มารศรี วุฒิการศึกษาสูงสุด การบริหารการศึกษา (ศษ.ม.) ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนน้ี ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 จนถงึ ปัจจบุ ัน เวลา 8 เดือน โทรศัพท์ 086 4015071 e-mail : kitiyamarasri@gmail.com สัญลกั ษณ์ของสถานศึกษา เป็นรปู ดอกบวั ช่อื ของโรงเรียนอยู่ใตด้ อกบวั สัญลกั ษณ์โรงเรยี นอนุบาล หน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความหมาย คือ โรงเรียนเป็น หน่วยงานที่บริหารจัดการภายใต้การดูแลของโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน สีประจำโรงเรียน โรงเรยี นมสี ปี ระจำโรงเรยี น คือ สีเหลอื ง-ดำ สภาพทั่วไปของโรงเรยี น บริบทของสถานศึกษา โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ตั้งอยู่ใกล้หน่วยงานทางราชการ เช่น ที่ว่าการอำเภอธัญบุรี สำนักงานที่ดินอำเภอ ธัญบุรี สำนักงานอัยการจังหวัดปทุมธานี โรงเรียนธัญรัตน์ ธนาคารกสิกรไทย การเคหะแห่งชาติ และศูนย์การ เรียนรู้ต่างๆ มีประชากรหนาแน่นและประกอบอาชีพหลากหลาย มีท้ังรับจ้างโรงงานอตุ สาหกรรม รับราชการ ค้าขาย และเกษตรกรรม ประชากรส่วนหนงึ่ ย้ายถิ่นฐานมาจากต่างจังหวัด เพื่อมาประกอบอาชีพรับจ้างซ่ึงทำให้มี วัฒนธรรมที่หลากหลายในกลุ่มชน การศึกษาประชาชนส่วนใหญ่จบการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจเนื่องจาก ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ โรงเรยี นธญั ญสทิ ธิศลิ ป์ 3

ประชาชนมอี าชีพหลากหลายมรี ายได้ต่อครอบครวั เฉลี่ยประมาณ 50,000 บาท ต่อปี ทำให้เศรษฐกิจของชมุ ชน อยู่ในระดบั ค่อนขา้ งยากจนถงึ ระดับปานกลาง เขตตดิ ต่อ ทศิ เหนือ ติดตอ่ กับทรี่ าชพสั ดุประชาชนปลูกสรา้ งบ้านเรอื น ทิศใต้ ตดิ กบั ถนนชชู าติเสน้ ทางรังสติ – นครนายก ทศิ ตะวันออก ติดกบั บ้านเรอื นของประชาชน ทิศตะวันตก ตดิ กับหนว่ ยงานราชการ เขตบรกิ าร เขตพน้ื ที่บรกิ ารรับนักเรียนของโรงเรยี นธัญญสิทธิศิลป์ ไดแ้ ก่ หม่ทู ี่ 2 หมทู่ ่ี 3 และ หมู่ที่ 4 ตำบลรังสิต อำเภอธญั บรุ ี จงั หวดั ปทมุ ธานี และรับนกั เรียนนอกเขตบริการเขา้ เรียนตามความเหมาะสมเส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล : จากกรุงเทพ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึงตำบลรังสิต ให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 305 มงุ่ หน้า จ.นครนายก โดยตำบลรงั สติ ห่างจากทางแยกประมาณ 12 กโิ ลเมตร สภาพภูมปิ ระเทศ อำเภอธัญบุรี มีพื้นที่ 112,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 69,925 ไร่ ลักษณะของพื้นที่เป็นทีร่ าบ ลุ่มมีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ตัดผ่านกลางพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ข้างๆ ละ 40 เส้น ประมาณ 1,600 เมตร สองฝั่งคลองรังสิตประยูรศักด์ิมีคลองซอยห่างกัน 60 เส้น ประมาณ 2,400 เมตร ตั้งแต่คลองซอยที่ 1 ถึงคลอง ซอยที่ 14 ใชส้ ำหรับสง่ นำ้ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และมกี ารสร้างอาคารบา้ นเรอื น โรงงานอตุ สาหกรรม และ การอย่รู ่วมกันอยา่ งหนาแนน่ ในสว่ นทางดา้ นทิศตะวันตก ลกั ษณะภูมอิ ากาศ อากาศรอ้ นชืน้ มี 3 ฤดู คอื - ฤดรู อ้ น ตง้ั แต่เดือนกมุ ภาพันธ์ุ - เดือนพฤษภาคม อณุ หภูมิโดยเฉลย่ี 35 – 38 ºC - ฤดูฝน ตงั้ แตเ่ ดือนมถิ ุนายน - เดือนตลุ าคม อุณหภมู โิ ดยเฉล่ีย 30 – 35 ºC - ฤดูหนาว ต้ังแต่เดือนพฤศจกิ ายน - เดอื นมกราคม อณุ หภมู โิ ดยเฉลีย่ 27– 35 ºC ถอดบทเรยี นการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนธญั ญสิทธศิ ลิ ป์ 4

แหลง่ น้ำ อำเภอธัญบุรี มีคลองรังสิตประยูรศักดิ์ตัดผ่านกลางพื้นที่ แบ่งออกเป็นสองข้าง ๆ ละ 40 เส้น ประมาณ 1,600 เมตร สองฝง่ั คลองรงั สิตประยรู ศักด์ิมีคลองซอยห่างกนั 60 เส้น ประมาณ 2,400 เมตร ต้ังแต่ คลองซอยท่ี 1-14 ใช้สำหรับสง่ นำ้ เพ่ือประโยชนก์ สิกรรม เสน้ ทางการคมนาคม การคมนาคมทางบก เปน็ ทางหลักของชมุ ชนได้แก่ทางหลวงแผน่ ดนิ หมายเลข 305 (ถนนรังสิต-นครนายก) และตามคลองซอยต่างๆ จะมีถนนเลียบคลอง ส่วนถนนรังสิตนครนายก จะแบ่งเป็น 2 ฝั่งคลอง ข้ามโดยสะพาน คอนกรีตเสริมเหล็ก และมีถนนคอนกรีตต่อเข้าหมู่บ้านทุกหมู่บ้านการคมนาคมทางน้ำ เดิมมีการใช้ คลองรังสิต ประยูรศักดิใ์ นการติดตอ่ ไปหาสู่กนั แตป่ จั จบุ ันก็ยงั พอมอี ยบู่ ้างแต่ไมม่ ากนกั ข้อมลู สาธารณปู โภค 1) ประปา มีการใชน้ ำ้ ประปาทุกหมบู่ ้าน 2) ไฟฟา้ มไี ฟฟ้าใชท้ ุกหมู่บ้าน 3) โทรศัพท์ ใช้โทรศพั ทข์ ององคก์ ารโทรศัพท์แหง่ ประเทศไทย และสว่ นใหญใ่ ชโ้ ทรศพั ท์มอื ถือทุกหมู่บา้ น 4) ไปรษณีย์ ที่ไห้บริการในพื้นที่ คือ ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอธัญบุรี และที่ทำการไปรษณีย์รังสิตสภาพ ภมู ิประเทศ 2.2.2 ศักยภาพของโรงเรยี น 1. สถานศึกษามีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน บุคลากรทุกฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบ การบริหาร จัดการเป็นไปในลักษณะของคณะกรรมการบรหิ ารสถานศึกษาที่มีบุคลากรทุกฝา่ ยร่วมกันพัฒนาสถานศึกษาอย่าง เปน็ ระบบ 2. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันมีการปรับปรุงหลักสู ตร ปรับเนื้อหาสาระเพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีการบูรณาการอย่างหลากหลาย จัดทำ หลักสตู ร MEP (Mini English Program) และหลกั สตู ร IEP (Intensive English Program) ซ่งึ ท้งั สองหลักสูตรจะ มีครูต่างชาติเป็นผู้จัดกิจกรรมภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ส่งเสริมให้ครูใช้ ชุมชนแห่งการเรยี นรู้ PLC เข้ามาจัดกิจกรรมในการแก้ไขปญั หาของเด็กในทุกด้าน ถอดบทเรียนการจัดการเรยี นรู้ โรงเรียนธัญญสิทธศิ ิลป์ 5

3. สถานศึกษามีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วนทั้งสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์สะอาด สวยงาม รม่ รืน่ เปน็ ระเบียบ มกี ารสำรวจการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ การใช้งานภายในหอ้ งเรยี นและบรเิ วณโดยรอบให้ มีความปลอดภยั เอ้ือตอ่ การเรียนรู้ 4. สถานศึกษาเป็นสถานที่จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่ง ประเทศไทย ให้กับครูและบุคลากรที่เป็นโรงเรียนเครือข่าย โดยครูและบุคลากรในสถานศึกษาเข้าร่วมการเป็น วทิ ยากรให้ความรแู้ ก่ผูท้ เี่ ข้าอบรม 5. ครูและบุคลากรภายในสถานศึกษาเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญในการจัด ประสบการณใ์ ห้กับเด็กปฐมวยั โดยครูและบุคลากรทุกคนจบการศกึ ษาปฐมวยั โดยตรง 6. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจ และมีความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นอย่างดี จึงทำใหก้ ารบรหิ ารจัดการดา้ นต่างๆมีประสิทธภิ าพ เปน็ ที่พึงพอใจของทุกฝ่าย 2.2.3 ข้อจำกัดของโรงเรยี น - จำนวนอาคารสถานที่ และหอ้ งปฏิบัตกิ ารโรงเรียนไมเ่ พียงพอต่อจำนวนนกั เรยี น 2.3 ประเภทที่โรงเรียนดำเนินการและประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ Active Learning รว่ มกบั ภาคเี ครือขา่ ย  การสนบั สนุนแหล่งเรยี นรภู้ ายนอก  การสนับสนนุ บุคลากรผเู้ ชีย่ วชาญ ให้แกโ่ รงเรียน  การสนบั สนุนสื่อการเรยี นรู้ Active Learning ร่วมกบั ภาคเี ครือข่ายให้แกโ่ รงเรียน  การสนับสนนุ งบประมาณให้จดั กิจกรรม Active Learning รว่ มกับภาคเี ครือขา่ ย  การสนบั สนุนแบบผสมผสาน  อืน่ ๆ (โปรดระบ)ุ 2.4 ปัญหาและความจำเป็น นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และจุดเน้นการพัฒนาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ และทักษะวิชาชีพ รองรับการเปลี่ยนผ่านประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก้าวสู่ Thailand 4.0 การเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21 เพ่ือใหผ้ ู้เรยี นมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น 3Rx8C การที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องอาศัยครูผู้สอนที่มี ทกั ษะในการจดั การเรียนรูม้ เี จตคติตอ่ วิชาชพี ครทู ่ีดี การปฏิรูปเปล่ยี นแปลงรูปแบบการจดั การเรยี นการสอนให้เป็น ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ โรงเรยี นธัญญสทิ ธศิ ลิ ป์ 6

รปู แบบ Active Learning ผเู้ รียนทุกคนมคี วามสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถอื ว่าผู้เรียนมีความสำคัญ ที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ การปฏิรูป การเรียนรู้ระดับห้องเรียน จะเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเติมเต็มศักยภาพให้นักเรียนมีทักษะ แหง่ ศตวรรษที่ 21 จากรายงานผลการประเมิน ตนเอง (Self – Assessment Report : SAR) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม แต่ก็ยังมีผู้เรียนบางกลุ่มมีคุณภาพอยู่ในระดับ ผ่าน และปรับปรุง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรของ สถานศึกษา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบ ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่ในกลมุ่ สาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พบว่า มีคะแนนเฉลยี่ ลดลงจากปีการศึกษา ที่ผ่านมา และมีจุดควรพัฒนา ด้านการจัดการเรยี นรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาโดยผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็นตามศักยภาพ เพื่อให้ผู้เรียน นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และมีทักษะพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม โดยนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ และเผยแพร่ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เป็นวิธีการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้วิธีหนึ่ง พัฒนามาจากวงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle) ได้เสนอรูปแบบวงจรการเรยี นรู้ 5 ขน้ั ตอน คือ 1) ข้ันสร้างความ สนใจ 2) ขน้ั สำรวจและค้นหา 3) ข้นั อธิบายและลงขอ้ สรุป 4) ขน้ั ขยายความรู้ 5) ข้นั ประเมิน เปน็ รูปแบบการสอน ที่สามารถใช้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองรวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้ บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในการพัฒนา ให้ผู้เรียนมีความรู้จากการแสวงหา หรือสืบสอบ ความรู้ มีความสามารถทำโครงงาน หรือทำวิจัยเพื่อสร้าง นวัตกรรมผลงาน โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ได้ตระหนักถึงความความสำคัญของนโยบายดังกล่าว จึงดำเนินการปรับ กระบวนการเรียนการสอนของครู โดยการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การจัด การเรยี นการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เพ่ือยกระดับคุณภาพผ้เู รียนในศตวรรษที่ 21 2.5 เปา้ หมาย เชงิ ปริมาณ 1. ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาร้อยละ 100 สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การ จัดการเรยี นการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ข้ันตอน (5E) เพือ่ ยกระดบั คุณภาพผเู้ รยี นในศตวรรษที่ 21 ถอดบทเรยี นการจดั การเรยี นรู้ โรงเรยี นธัญญสทิ ธศิ ลิ ป์ 7

2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การจัดการเรียนการ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ข้ันตอน (5E) และเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เชงิ คุณภาพ 1. โรงเรียนมีแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การจัดการเรียน การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคณุ ภาพผ้เู รยี นในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นระบบ 2. ครูผู้สอนได้รับการพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่แนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจร คุณภาพ (PDCA) สูก่ ารจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) และบรู ณาการเทคนคิ การสอน แบบ Active learning ในหลากหลายรปู แบบ 3. นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้ สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง และเกิดทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษท่ี 21 โดยแบง่ เป็น - นกั เรยี นรอ้ ยละ 70 มีผลการพฒั นาทักษะดา้ นความรู้ (3R)ในระดบั ดขี ้ึนไป - นกั เรยี นรอ้ ยละ 80 มที ักษะทางอารมณ์ (8C) ในระดบั ดีขึ้นไป 2.6 รูปแบบและวิธีการดำเนินงาน โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ ( PDCA) สู่การจัดการเรียนสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใชก้ ระบวนการพัฒนาคุณภาพดว้ ย PDCA มขี นั้ ตอนการดำเนนิ งาน ดังน้ี 1. การวางแผน (Plan : P) เป็นส่วนประกอบหลักที่มีความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เนื่องจากการวางแผน เป็นจดุ เร่มิ ต้นสำคัญท่จี ะทำให้การทำงานในสว่ นอื่นเป็นไปอย่างมปี ระสทิ ธผิ ลรว่ มกนั ระหวา่ งผู้บริหาร ฝา่ ยวิชาการ ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยวิธีการระดมความคิด (SWOT) เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา รู้สภาพปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหา การกำหนดวิธีดำเนินการ การกำหนดวิธีการ ตรวจสอบ และ ประเมนิ ผล ซึ่งในข้นั ตอนการวางแผนมวี ิธกี ารดำเนนิ การ ดังน้ี 1.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และการจดั การเรยี นร้แู บบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) 1.2 วิเคราะห์ผู้เรียน โดยศึกษาข้อมูลจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O- Net) การทดสอบความสามาถพื้นฐานของผเู้ รยี นระดบั ชาติ (NT) การทดสอบเพือ่ ประเมินความสามารถในการอ่าน (RT) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมถึงข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ความสามารถ ความสนใ จและ ความถนัดของนักเรียน เพื่อออกแบบการจดั การเรียนรู้ 1.3 สำรวจความต้องการ รับฟงั ความคดิ เห็นจากผ้มู สี ว่ นเกีย่ วขอ้ งในการดำเนนิ งาน ถอดบทเรียนการจดั การเรยี นรู้ โรงเรยี นธญั ญสทิ ธศิ ิลป์ 8

1.4 ประชุมวางแผน กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางในการดำเนินการจดั เรยี นรู้ร่วมกันโดยใช้ การสอนแบบสบื เสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) ในทกุ กลมุ่ สาระการเรียนรู้ 1.5 ร่วมกันสังเคราะห์ แนวคิด และรูปแบบการจัดเรียนรู้แบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอน แบบสบื เสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) เพื่อเป็นแนวทางในการจดั การเรียนการสอน 1.6 นำกระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) มาแนะนำให้เป็นที่รู้จักของครู โดยผู้อำนวยความสะดวกและประสานการดำเนินงานการ พัฒนาการจัดการเรียนของของครูแต่ละกลุ่มสาระการ เรียนรู้ โดยให้บุคคลภายนอก เช่น นักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ การพัฒนาการจัดกานเรียนสอนของครูโดยครูใน จากนนั้ ให้ครูในโรงเรียนร่วมพัฒนากนั เอง 1.7 การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับ คุณภาพผู้เรยี นในศตวรรษท่ี 21 โดยมกี ำหนดขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ดงั น้ี ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นขั้นที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจผ่าน กิจกรรมสั้น ๆ โดยใช้สื่อของจริง รูปภาพประกอบ พร้อมกับการใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด แสดงแนวคิด ยกตวั อยา่ ง เพ่อื เช่ือมโยงสเู่ นือ้ หาทเ่ี รยี นรใู้ นขั้นต่อไป หรอื เป็นการทบทวนความรูเ้ ดิมท่ีนักเรียนเรียนผา่ นมาแล้ว ข้ันที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เปน็ ขั้นท่ีให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ ใน ประเด็นหรอื คำถามทสี่ นใจศกึ ษาอยา่ งถ่องแท้ โดยการลงมอื ปฏิบตั ิจรงิ สำรวจจากสอ่ื ของจรงิ รูปภาพประกอบ ใบ กจิ กรรม ใบความรู้ สร้างและตรวจสอบข้อความคาดการณ์ สืบคน้ เกบ็ รวบรวมขอ้ มูล และตอบคำถาม ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นขั้นที่ให้นักเรียนได้นำข้อมูลที่ได้ จาก การสำรวจมาวิเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การบรรยายสรุปหน้าชั้นเรียน การ ยกตวั อย่างประกอบการอธบิ าย การตอบคำถามประเดน็ ปญั หาข้อสงสัยและเป็นขน้ั ท่ีเปิดโอกาสให้ครผู สู้ อนอธิบาย เพม่ิ เตมิ เพ่อื ใหน้ ักเรียนมีความเขา้ ใจมากยง่ิ ข้ึน ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นขั้นในการขยายความเข้าใจเกี่ยวกับความคิด รวบยอดและทักษะที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำข้อสรุปที่ได้ไปใช้ อธิบายสถานการณอ์ ืน่ หรอื สถานการณท์ ใี่ กล้เคยี งใหเ้ ข้าใจมากยิ่งข้นึ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นขั้นที่ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ เพอ่ื ตรวจสอบว่านักเรยี นมีความร้คู วามเขา้ ใจในสาระทีเ่ รียนมากน้อยเพยี งใด โดยในการจดั เรยี นการเรยี นการสอน ครูผู้สอนสามารถนำเทคนิคการสอนแบบ Active learning ในรูปแบบตา่ ง ๆ มาบูรณการรว่ มกบั การสอนแบบสบื เสาะหาความรู้ 5 ข้นั ตอน (5E) เพ่อื ยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 เช่น การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ การสอนแบบโครงงาน กิจกรรมเกม กระบวนการ กลมุ่ เปน็ ตน้ ถอดบทเรียนการจัดการเรยี นรู้ โรงเรียนธญั ญสิทธศิ ิลป์ 9

2. การปฏิบัติตามแผน (Do : D) เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนทีก่ ำหนดไว้โดยโดยใช้การสอนแบบ สบื เสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพ่ือยกระดบั คณุ ภาพผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21 2.1 ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแผน โดยการมอบอำนาจ (Empowerment) ให้คณะการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) โดยการ พิจารณาคุณภาพของแผนการจัดการเรยี นรู้ มดี ังนี้ 2.1.1 เนอ้ื หาสาระการเรยี นรูส้ อดคล้องกบั จุดประสงค์การเรียนรู้ (จดุ ประสงค์ การเรียนร้ทู ่ดี ี ควรมีท้งั ดา้ นความรู้ ทกั ษะ และเจตคติ หรอื คุณลักษณะที่พงึ ประสงค)์ 2.1.2 กิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความสามารถของผู้เรียน โดยเน้นกระบวนการคิด การลงมือปฏิบัติ และการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง แล ะ กิจกรรมทีก่ ำหนดจะตอ้ งนําไปสูก่ ารบรรลตุ ามจดุ ประสงค์ การเรยี นรู้ทกี่ ำหนด 2.1.3 สื่อ/แหล่งการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และกิจกรรม การเรียนการ สอน และควรมีความหลากหลายสอดคล้องกับจุดประสงค์ และความสามารถของผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ เลือก จัดทำ จัดหาสือ่ หรอื แหล่ง การเรียนรู้ 2.1.4 การวัดผลและเครือ่ งมือวดั ผล สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และ กิจกรรมการ เรียนการสอน มกี ารกำหนดเกณฑ์การประเมินผลท่ชี ดั เจน และครอบคลมุ ทั้ง ด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ 2.2 ครูผู้สอนออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขัน้ ตอน (5E) เสนอคณะกรรมการตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์ตามคำแนะนำ 2.3 ครผู สู้ อนจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขน้ั ตอน (5E) แลว้ วัด และประเมินผล บันทึกข้อมูลลงในแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการจัดการเรียนรู้ โดย ผ้บู รหิ ารไดใ้ หก้ ารเสริมแรงและสนับสนนุ เชงิ บวก (Positive reinforcement) 2.5 ดำเนินการจัดทำแบบประเมินการวัดและประเมินผลนักเรียนท่มี ีความหลากหลาย 2.5 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ข้ันตอน (5E) 2.6 ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน เพื่อแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้การพูดคุย สนทนากบั นักเรยี นถึงพฤตกิ รรม วิธีการพัฒนาตนเอง 3. การตรวจสอบ (Check : C) ผบู้ รหิ ารดำเนนิ การนิเทศ กำกับ ตดิ ตาม การดำเนินงาน ถอดบทเรยี นการจัดการเรยี นรู้ โรงเรยี นธัญญสิทธศิ ิลป์ 10

3.1 ฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนจากกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน นิเทศการสอนของครูผู้สอน ระหวา่ งดำเนินการจดั การเรยี นการสอนโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ข้นั ตอน (5E) โดยผู้นิเทศมีสังเกต ในชัน้ เรยี น บนั ทกึ และเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลเกยี่ วกับผเู้ รียนและการเรยี นการสอน บันทกึ ด้วยวิธกี ารต่างๆ ตามแผน ที่ได้วางไว้โดยวิธีการต่างๆ เช่น บันทึกวีดิทัศน์ บันทึกเทปเสียง เก็บ รวบรวมผลงานผู้เรียน หรือสัมภาษณ์ผู้เรียน หลังสอน ซึ่งเน้นการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงถึงการคิดและการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้กลุ่มพัฒนาบทเรียนร่วมกันได้ทำ ความเข้าใจในกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และ เพื่อใหไ้ ดข้ ้อมูลหลกั ฐานหรอื ประเดน็ ในการพฒั นาการจดั การเรยี นการสอนตอ่ ไป 3.2 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 โดยใชก้ ระบวนการทบทวนหลงั การปฏบิ ตั ิงาน (After Action Review : AAR) เพ่อื วิเคราะหผ์ ลการ จัดการเรียนการสอนทเ่ี กดิ ขนึ้ จรงิ ถึงขัน้ ตอนท่ีทำได้ดี อปุ สรรค ข้อจำกัดและข้อขัดข้องท่ีพบในระหว่างการจัดการ เรียนการสอน ตลอดจนประเด็นที่ได้เรียนรู้ และอภิปรายถึงแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น รวมทั้งควรอภิปราย สะท้อนความคิดว่ากลุ่มได้เรียนรู้อะไรจากการการจัดการเรียนการสอนบ้าง นอกจากนี้ครูสามารถให้ผู้เรียนเป็นผู้ สะท้อนความคดิ เกยี่ วกับการเรียนการสอนได้ทัง้ ในด้านความรู้สกึ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ 4. การปรบั ปรุงแก้ไข (Action : A) 4.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยครูรวบรวมข้อมูล สรุปข้อเรียนรู้และนำเสนอผลการเรียนรู้ที่ได้สู่ บุคคลอ่ืนๆ โดยการเปดิ ชัน้ เรยี น (open class) ซงึ่ เชิญผูส้ นใจมาร่วมสังเกตการจัดการเรยี นการสอน และนำเสนอ ทง้ั ผลการเรยี นรทู้ เี่ กิดขนึ้ กบั ผูเ้ รียนและนวัตกรรมวธิ กี ารพัฒนาท่ใี ช้ในการพฒั นาผเู้ รียน ท้ังน้ี เพ่ือขยายผลและเพื่อ เติมเต็มการเรยี นรู้ต่อไป รวมทง้ั เพ่ือให้ไดจ้ ัดระบบองค์ความรู้ท่ีได้ของตนและมหี ลักฐานในการดำเนินงานท่ีชัดเจน ตลอดจนเพอ่ื ให้มีโอกาสได้ภาคภูมิใจในผลงาน 4.2 ผู้บริหาร และครูผูส้ อน นำผลการดำเนินการมาวิเคราะหห์ าปัญหา สาเหตุแล้วนำมาปรับปรุง รวมทั้งวิเคราะห์ผลความสำเร็จ โดยมีการประเมินคัดเลือกนวัตกรรมต้นแบบ เพื่อนำมาวางแผนต่อยอดในการ จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ข้นั ตอน (5E) ให้มมี าตรฐาน และนำสูก่ ารเผยแพร่ ถอดบทเรียนการจดั การเรียนรู้ โรงเรยี นธญั ญสิทธิศลิ ป์ 11

แผนภาพ การขบั เคล่ือนการจัดการเรยี นรู้ด้วยวงจรคณุ ภาพ (PDCA) สู่การจัดการเรียนสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพอ่ื ยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 2.7 ผลลัพธ/์ ผลสำเร็จ จากการดำเนินการการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การจัดการเรียนการ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนธัญญสทิ ธศิ ิลป์ พบว่า 1.1 ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถขับเคลื่อนการจัดการเรยี นรดู้ ้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รว่ มกนั อย่างเป็นระบบ ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนธญั ญสทิ ธศิ ิลป์ 12

1.2 ครูระดบั ประถมศึกษาทุกคนสามารถขบั เคลื่อนการจดั การเรียนรู้ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การ จัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อยู่ใน ระดับดขี ้นึ ไป รอ้ ยละ 100 1.3 การยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยการขบั เคลื่อนการจัดการเรียนรู้ดว้ ยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การ จัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) ในศตวรรษที่ 21 พบวา่ - การอา่ น (Reading) นกั เรยี นมผี ลการประเมินอยใู่ นระดบั ดีขึ้นไป รอ้ ยละ 88.72 - การเขยี น ((W) Riting) นกั เรยี นมผี ลการประเมนิ อยใู่ นระดบั ดีขนึ้ ไป ร้อยละ 95.22 - การคดิ เลขเปน็ ((A) Rithemetics) นักเรยี นมผี ลการประเมินอยใู่ นระดับดีขนึ้ ไป รอ้ ยละ 73.64 - ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) นักเรียนมีผลการประเมินด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดีขนึ้ ไป ร้อยละ 96.41 และทักษะในการแก้ปัญหา อยู่ในระดับดขี น้ึ ไป ร้อยละ 99.74 - ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) นักเรียนมีผลการประเมิน อยู่ในระดับดขี ้ึนไป ร้อยละ 98.56 - ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ( Cross-cultural Understanding) นักเรยี นมีผลการประเมินอยู่ในระดบั ดขี ้ึนไป ร้อยละ 99.80 - ทักษะด้านความรว่ มมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) นกั เรยี นมผี ลการประเมินอย่ใู นระดับดีข้นึ ไป ร้อยละ 99.74 - ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) นักเรยี นมีผลการประเมนิ อย่ใู นระดบั ดขี ้ึนไป รอ้ ยละ 99.61 - ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) นักเรยี นมผี ลการประเมนิ อยูใ่ นระดบั ดขี ึน้ ไป ร้อยละ 99.67 - ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ นักเรียนมีทักษะอาชีพตามระดับชั้น ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 98.95 และทักษะชีวิต ระดบั ดีขนึ้ ไป รอ้ ยละ 98.76 - ด้านความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม (Compassion) นักเรียนมีผลการ ประเมินระดบั ดขี น้ึ ไป รอ้ ยละ 99.80 2.8 บทเรียนการดำเนนิ งาน Active Learning รว่ มกับภาคีเครอื ข่าย 2.8.1 ปญั หาที่พบระหวา่ งดำเนินงาน ถอดบทเรยี นการจดั การเรียนรู้ โรงเรยี นธญั ญสิทธิศลิ ป์ 13

1) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดอยู่ใน ปัจจุบัน ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีข้อจำกัดไม่ สามารถปฏบิ ัตไิ ด้อยา่ งเต็มที่ เช่น การจดั กิจกรรมรวมกลุม่ การเว้นระยะห่างระหว่างบคุ คล 2) สถานทแ่ี ละหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารต่าง ๆ ไม่เพยี งพอกับจำนวนนกั เรียนทม่ี ีจำนวนมาก วิธแี ก้ปญั หา 1.ปรับรูปแบบการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยใช้ส่ือเทคโนโลยีเขา้ มาช่วยในการจดั การเรียนการสอน 2) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และปรับ กิจกรรมการเรียนรู้ใหส้ ามารถปฏิบตั ิไดใ้ นสถานทแ่ี ละห้องปฏบิ ัติการท่มี ีจำกัด 2.8.2 ปัจจยั ความสำเรจ็ ปัจจัยที่ทำให้กการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน (5E) เพอ่ื ยกระดับคุณภาพผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21 ประสบความสำเรจ็ คือ 1) การบริหารจัดการ ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจ และให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการ จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขัน้ ตอน (5E) เพ่ือยกระดบั คุณภาพผเู้ รียนในศตวรรษท่ี 21 โดยไดร้ ับการสนบั สนุนจากครู ผ้ปู กครอง องคก์ ร และชุมชน ในการจัดการเรยี นรโู้ ดยเนน้ ใหน้ ักเรียนหาความรู้ด้วย ตนเอง เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียน กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีความสอดประสานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อการขับเคลอ่ื นงานอยา่ งต่อเนื่อง ทง้ั ที่บา้ น และที่โรงเรยี น ตลอดปกี ารศึกษา 2) ครู จัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นกั เรียนลงมือปฏิบตั ิ ตามศักยภาพของนักเรียน เพื่อให้นักเรียน เกิดทักษะท่ีจำเป็นในการเรยี นรใู้ นศตวรรษที่ 21 การสรา้ งสงิ่ แวดล้อม ทีเ่ อื้อตอ่ การจดั การเรียนการสอนโดยใช้การ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ผู้บริหารให้การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอ้ือ ต่อการจัดการเรยี นรู้ สือ่ การสอนทม่ี คี วามหลากหลาย และมีแหลง่ เรยี นรูท้ ั้งภายในและภายนอก 2.8.3 ข้อจำกัดในการดำเนินงาน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชือ้ ไวรัส covid-19 ของจังหวัดอยู่ในพื้นที่ควบคมุ สูงสุด การ จัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2 นักเรียนต้องสลับกลุ่มในการมาเรียน เนื่องจากจำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอต่อ จำนวนนักเรียนส่งผลใหก้ ารดำเนนิ งานและการจัดการเรียนรู้ขาดความตอ่ เน่อื ง 2.8.4 ความเป็นต้นแบบ จุดแข็งและจุดเด่นของการทำงาน Active Learning ร่วมกับภาคเี ครอื ข่าย ถอดบทเรยี นการจดั การเรียนรู้ โรงเรียนธัญญสทิ ธศิ ลิ ป์ 14

การขบั เคลอ่ื นการจดั การเรยี นร้ดู ้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) สูก่ ารจดั การเรยี นการสอนแบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนธัญญ สิทธิศิลป์ มีการดำเนินงานโดยผู้บริหารท่ีมีภาวะความเปน็ ผู้นำสูง ซึ่งมีการวางแผนการดำเนินงาน จัดครูผู้สอนที่มี ความรู้เฉพาะด้านและสอนตรงกับวิชาเอกของตนเอง มีการนิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ภายนอก และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาครู ส่งผลให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการ เรียนรู้ สามารถจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้5 ขั้นตอน (5E) และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับคณุ ภาพผูเ้ รียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ ซึ่งทำผู้เรียนมที ักษะการอ่าน การ เขียน การคิดเลขเป็น สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะในการแก้ปัญหา การสร้างสรรค์และนวัตกรรม มี ความเขา้ ใจความต่างวัฒนธรรม ตา่ งกระบวนทศั น์ สามารถใหค้ วามรว่ มมือ ทำงานเปน็ ทมี และมีภาวะผนู้ ำ รวมถึง มีทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองให้เท่าทันโลกของการ เปลยี่ นแปลงได้อยา่ งเต็มศักยภาพ และเป็นพลเมอื งท่ีดีของสังคมต่อไป 2.9 แนวทางพฒั นาตอ่ ไป 2.9.1 พัฒนารูปแบบการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับเทคนิคการสอน รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอื่นๆ เช่น การสอนโครงงาน สะเต็มศึกษา เพื่อเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการ พัฒนานวตั กรรมของครู 2.9.2 พัฒนารูปแบบการการสอนกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) รว่ มกบั เทคนคิ การสอนรูปแบบการจัดการเรยี นรู้เชิงรุกหรือกิจกรรมอน่ื ๆ ที่สง่ ผลใหน้ ักเรยี นมีความสามารถในการ รวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตัวเองและการทำงานเป็นทีมเชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการ สรา้ งสรรค์สง่ิ ใหม่ ๆ 2.10 ข้อคดิ ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ 2.10.1 ผู้บริหารกำหนดเปา้ หมายความสำเร็จท่ีชัดเจน โดยกระบวนการมีส่วนรว่ ม 2.10.2 ผู้บริหารสนับสนุน สง่ เสริม ให้ครูและผมู้ ีส่วนเกยี่ วข้องปฏบิ ัติตามแผนทกี่ ำหนดไว้ 2.10.3 ผู้บริหารดำเนินการนเิ ทศ กำกับ ติดตาม การดำเนนิ งานอย่างต่อเนือ่ ง 2.10.4 ผู้บริหารร่วมกับครูผู้สอน นำผลการดำเนินการมาวิเคราะห์หาปัญหา สาเหตุแล้วนำมา ปรับปรุง เพื่อวางแผนพฒั นาต่อยอดตอ่ ไป ถอดบทเรยี นการจัดการเรียนรู้ โรงเรยี นธญั ญสิทธศิ ิลป์ 15

ภาคผนวก นวตั กรรม Active Learning รว่ มกับภาคเี ครือขา่ ย การขับเคลื่อนการจัดการเรยี นร้ดู ว้ ยวงจรคุณภาพ (PDCA) ส่กู ารจดั การเรยี นสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) เพ่อื ยกระดบั คณุ ภาพผเู้ รยี นในศตวรรษท่ี 21 คลปิ วดิ โี อนำเสนอ E-Book แผนภาพ การขับเคล่ือนการจัดการเรยี นรู้ดว้ ยวงจรคุณภาพ (PDCA) สู่การจัดการเรียนสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขน้ั ตอน (5E) เพือ่ ยกระดบั คุณภาพผเู้ รียนในศตวรรษท่ี 21 ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ โรงเรยี นธัญญสทิ ธิศลิ ป์ 16