ชีวิตใeนnvสiิr่oงn เmเวenดtล้อม นางสาวธัญชนก อินทร์สมบุญ เลขที่37 ม.4/5 เสนอ คุณครูวันดี สุพงษ์
5.1ระบบนิเวศ (ecosystem) ระบบนิเวศ (ecosystem) คือ ระบบที่ ประกอบด้วย กลุ่มสิ่งมีชีวิตและ สิ่งไม่มีชีวิตใน บริเวณใด บริเวณหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน มีการถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสาร ในระบบ ในบริเวณต่าง ๆ ของโลก มีสภาพภูมิ อากาศและสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ทำให้ เกิดเป็นระบบนิเวศ ที่หลากหลาย ทั้ง ระบบ นิเวศบนบกและระบบนิเวศแหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิต ในแต่ละระบบนิเวศที่แตกต่างกันจึงมีลักษณะที่ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตแตกต่างกันออกไป
5.1.1ไบโอม(biome) ระบบนิเว ศขนาดใหญ่ ที่มีองค์ประกอบ ทาง กายภาพและองค์ประกอบทางชีวภาพที่เป็นลักษณะ เฉพาะ ของตนเอง อยู่ในแต่ละบริเวณของโลกซึ่งมี ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่หลากหลาย มีสภาพภูมิ อากาศและภูมิประเทศที่แตกต่างกัน 20 ไบโอมบนบก ไบโอมบนบก มีหลายแบบ กระจายอยู่ตาม บริเวณต่างๆ บนโลก โดยอุณหภูมิและปริมาณ หยาดน้ำฟ้า เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดชนิดของ พืชและสัตว์ที่สามารถดำรงชีวิตในบริเวณนั้น ซึ่ง ชนิดของพืชเด่น (dominant vegetation) และ ลักษณะทางกายภาพในบริเวณนั้นใช้ในการระบุชนิด ของไบโอม เช่น ทุนดรา
ทุนดรา (tundra) ทุนดรา พบในบริเวณแถบขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ยังสามารถพบบริเวณที่ ลักษณะแบบ ไบโอมทุนดราได้บนบริเวณภูเขาสูงหลายแห่ง เช่น บริเวณยอดเขาคีรีมันจาโร ทวีปแอฟริกา ป่าสน (coniferous forest) พบได้ในบริเวณใต้ทุนดราลงมาทางตอน เหนือของทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีเอเชีย ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ส่วนมากพบได้เป็นบริเวณกว้างในบริเวณ เขตภูมิอากาศแบบเขตอบบอุ่นของซีกโลกเหนือ เเละบางส่วนของซีกโลกใต้
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น พบได้หลายเเห่งในบริเวณเขตภูมิอากกาศแบบ เขตอบอุ่น เช่นทุ่งหญ้าเเพรรี(prairie)ในตอนกลาง ของทวืปอเมริกาเหนือ ทุ่งหญ้าสเตป (steppe) ใน สหพันธรัฐรัสเซีย ทุ่งหญ้าเเพมพัส(pampas)ใน สาธารณรัฐอาร์เจนตินา ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นหลาย เเห่งถูกเปลี่ยนเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือเป็นพื้นที่ เพราะปลูก ป่าเขตร้อน(tropical forest พบในบริเวณเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความหลาก หลายของสิ่งมีชีวิตสูงป่าเขตร้อนมีหลายประเภท เช่น ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรร ซึ่งอยู่ในประเทศไทยโอมป่าเขตร้อน
สะวันนา(savana) พบในบริเวณเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร มีฤดูแล้ง ยาวนานและมักเกิดไฟป่า ทะเลทราย(desert) สามารถพบได้ทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่นและ เขตหนาว
ระบบนิเวศแล่งน้ำ ระบบนิเวศเเหล่งน้ำมักจะจัดจำแนกโดยใช้ค่าความเข้มข้นของ เกลือเป็นปัจจัยหลักซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทเป็นหลัก 1.ระบบนิเวศน้ำจืด มีค่าความเขกลือน้อยกว่าน้อยละ 0.1 เช่น สระน้ำ แม่น้ำ 2.ระบบนิเวศน้ำเข็ม มีค่าความเข้มข้นของเกลือประมาณ 3 เช่นแนวประการัง โดยรอยต่อระหว่างระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดและระบบนิเวศแหล่งน้ำเค็ม เป็น ระบบนิเวศแหล่งน้ำกร่อยซึ่งค่าความเข้มข้นของเกลือจะมีความแปรผันในรอบวัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นน้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น
5.2มนุษ๋ย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและยังคงเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ ของประชากรมนุษย์ตั้งแต่หลังปฏิวัติ อุตสาหกรรม หรือช่วงประมาณปี ค.ศ. 1700 จนถึงปัจจุบัน (รูป 5.17 โดยมีสาเหตุมาจาก การที่อัตราการตายของ ประชากรลดลงมาก เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การก้าวหน้า ทางการแพทย์ การเพิ่มความสามารถ ในการ ผลิตอาหาร การที่ประชากรมนุษย์มีจำนวนเพิ่ม ขึ้นทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทรัพยากรจึงลดลงหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจน ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก ส่งผลกระทบ ต่อ องค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบนิเวศมากขึ้น
ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) คือ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน ซึ่งอาจแบ่งตาม ความยาวนานในแง่ของ การใช้ประโยชน์ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น เช่น น้ำ อากาศ แสงอาทิตย์ ซึ่งบางชนิดมนุษย์ไม่สามารถขาดได้ แม้จะเป็นในระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ถึงแม้ทรัพยากร กลุ่มนี้จะมีมากจน ไม่หมดสั้นไป แต่ในบางบริเวณอาจมีปริมาณน้อยจนไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ของมนุษย์ หรืออาจอยู่ในสภาพที่มนุษย์ไม่สามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้ 2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า ดิน ซึ่งแม้มนุษย์จะนำมาใช้ประโยชน์ ก็ยังสามารถเกิดทดแทนขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่ การทดแทนนั้นมีทั้งที่ช้ ระยะเวลาสั้นและยาวนาน การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่า และ การอนุรักษ์ อาจทำให้การเกิดทดแทนนั้นไม่ทัน และไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของมนุษย์
3. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้น เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ แร่ ซึ่งบางชนิดเป็นทรัพยากรที่ใช้เพื่อ ความสะดวกสบายของมนุษย์ หรือช่วยให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น 5.2.1 ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มนุษย์มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งที่จำเป็นต่อการดำรง ชีวิตและเพื่ออำนวย ความสะดวก ประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อความ ต้องการทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เมื่อผ่าน การใช้งานแล้ว บางชนิดจะหมดสิ้นไป เช่น ทรัพยากรน้ำมัน ทำให้ชื้อ เพลิงและแก๊สธรรมชาติลดลงและมีราคาแพงขึ้น บางชนิดใช้ระยะเวลาใน การเกิดทดแทนนาน เช่น ทรัพยากรป่าไม้ ส่งผลให้ป่าไม้ลดลง เกิดการ สูญพันธุ์ของสัตว์ป่าบางชนิดบางชนิดใช้ไปแล้วเสื่อมสภาพ เช่น ทรัพยากร ดิน จนเกิดปัญหาดินเสื่อมโทรม ไม่สามารถทำการเกษตรได้
1.ทรัพยากรน้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ ทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตร รวมถึง การคมนาคม น้ำที่ผ่านการใช้ในกิจกรรมของมนุษย์ อาจจะมีสิ่งปนเปื้อนเรียกว่าน้ำเสีย ประชากรมนุษย์ ที่มากขึ้นทำให้มีการใช้ ทรัพยากรน้ำที่มากขึ้นและ อาจส่งผลให้น้ำเสียเพิ่มมากขึ้น เมื่อน้ำเสียถูก ปล่อย สู่แหล่งน้ำในธรรมชาติจะทำให้เกิดการปนเปื้อน จนเกิดเป็นมลพิษ ทางน้ำ ทรัพยากรน้ำเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น แต่ ปัญหา การขาดแคลนน้ำในปัจจุบันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ นอกจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรที่กล่าว ถึงแล้ว การดำรงชีวิตของมนุษย์ยังส่งผลกระทบกับ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบในระดับที่ แตกต่างกัน ดังนี้ ปัญหาระดับท้องถิ่น เช่น ปัญหาน้ำเน่าเสียในแหล่งชุมชน การใช้สารเคมีทางการเกษตรซึ่ง ส่งผลต่อแหล่งน้ำและการปนเปื้อนในดิน ในแหล่งชุมชน ปัญหาระดับประเทศ เช่น ปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือ ของประเทศไทย ปัญหาการตัดไม้ ทำลายป่า ปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหา ฝนกรด (acid rain)
2.ทรัพยากรเชื้อเพลิง เป็นแหล่งพลังงานซึ่งมนุษย์นำมาใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและใน อุตสาหกรรมมีกระบวนการในการผลิตหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตามการใช้งานความต้องการในการใช้ทรัพยากร เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนประชากรและการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ จึงอาจขาดแคลนเนื่องจากเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้ว หมดสิ้นไม่สามารถกิดทดแทนได้ นอกจาก นี้ยังมีปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น จากกระบวนการผลิตและการนำมาใช้ซี่งส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ 3.ทรัพยากรป่าไม้ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้หลายด้าน ทั้งจากผลิตผล ของป่า เช่น การตัดไม้ การล่าสัตว์ และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ เช่น ใช้ทำการเกษตร ที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำสำหรับ การเกษตรและการผลิต ไฟฟ้า แหล่งท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ป่ไม้ลดลง แม้ว่าทรัพยากรป่า ไม้ จะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้แต่ต้องใช้ระยะ เวลายาวนานในการฟื้นฟู เช่น การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และในบาง ด้านนั้นอาจไม่สามารถทดแทนได้ เช่น ความหลากหลายของ สิ่งมีชีวิต
5.2.2 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการ พัฒนาเทศโนโลยีเพื่ออำนวย ความสะดวกแก่มนุษย์ ส่งผลให้เกิดการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากขึ้นทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติและมลพิษในสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การที่มนุษย์จะมี ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับ ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงต่อไป ในอนาคต มนุษย์จะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยมีความรู้ การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติการกำจัดของเสียที่เป็น สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงการวางแผ่นและจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมเป็นแนวทางที่ช่วยในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม และเนืองจากทรัพยากรธรรมชาติ แต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กัน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจึงอาจส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติหลาย ประเภท เช่น ฝน กรด ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของทรัพยากรอากาศ แต่ส่ง ผลกระทบ ต่อทรัพยากรน้ำและองค์ประกอบอื่น ๆ ในระบบนิเวศ
อนุรักษ์คุณภาพของอากาศไม่ให้เกิดมลพิษเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ของน้ำระหว่างที่ตกลงสู่ อนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและ แหล่งเก็บกักน้ำ อนุรักษ์ดินไม่ให้เกิดมลพิษซึ่งอาจปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ อนุรักษ์น้ำไมให้เกิดมลพิษ เช่น เก็บกักของเสียหรือน้ำเสียที่ยังไม่ได้ บำบัดไม่ให้ปนเปื้อนลงสู่ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมีใน กิจกรรมทางการเกษตรหรือขั้นตอนของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ปริมาณ ฝนและช่วงเวลาที่ฝนตกในแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ ปริมาณน้ำ ในแหล่งน้ำผิวดินแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจึงรวมถึง การบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อ ความต้องการ และการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ทางรัฐบาลของแต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ให้ความสนใจกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งปัญหาที่เกิด ขึ้นกับแต่ละประเทศและปัญหาระดับโลก ทั้งยัง มีการดำเนินการเพื่อ แก้ไขและลดผลกระทบปัญหาต่าง ๆ เช่น
การเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP21) ที่ป่ารีส สาธารณรัฐ ฝรั่งเศส เมือปลายปี พ.ศ. 2558 ซึ่งว่าด้วยการลด การปล่อยแก๊ส เรือนกระจกของประเทศในกลุ่มภาคี การออกมาตรการทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม แห่งชาติ ซึ่งระบุให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของ โครงการขนาดใหญ่ ต่าง ๆ การส่งเสริมให้ทางเอกชนผู้เป็นเจ้าของ กิจการผลิตสินค้าที่ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) และ มีการติดเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลาก ลดโลกร้อน ซึ่งแสดง ถึงการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ตั้งแต่การ ผลิต การใช้งาน รวมถึงการกำจัดขยะที่เกิดจาก ผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็น ข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคและเพิ่มอำนาจในการออกสู่ ตลาดโลก การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เช่น การส่งเสริม ให้มีการจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน รณรงค์การทิ้งขยะในบริเวณที่กำหนด สนับสนุนการดำเนินงานโครงการขยะเหลือศูนย์
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: