41 ลักษณะสำคัญ เป็นวัยที่มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันรายจ่าย ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะต้องรับผิดชอบสมาชิกในครอบครัว และมักมี ภาระหนีท้ ตี่ ้องจ่าย การวางแผนการเงิน ตอ้ งวางแผนการเงนิ อย่างรัดกมุ ต้ังงบประมาณ สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทและพยายามใช้จ่ายไม่ให้เกินงบ เพื่อ ป้องกันปัญหาเงินไม่พอใช้ นอกจากนี้ ควรวางแผนการเงินเพื่อ วยั สรา้ งครอบครัว การศึกษาของลูก และลงมือทำตามแผนการเงินเพื่อใช้จ่ายในวัยชรา อยา่ งจริงจงั ลกั ษณะสำคญั เป็นวัยท่ีรายไดล้ ดลงหรือไม่มรี ายไดเ้ ลย ภาระหน้ีอาจ หมดไปแล้วหรือยังเหลืออยู่ แต่ยังมีรายจ่ายในชีวิตประจำวัน และ อาจมคี า่ รกั ษาพยาบาลเพิม่ ขนึ้ การวางแผนการเงิน วางแผนใช้จ่ายให้ไม่เกินเงินที่มีอยู่ จำกัด วงเงินในการใช้จ่ายแต่ละประเภท และกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็น ค่ารักษาพยาบาล แต่ทางที่ดีควรออมเงินเพื่อใช้ในยามชราและควร วยั ชรา เตรียมความพร้อมเรื่องสวัสดิการหรือการประกันสุขภาพตั้งแต่ยัง หน่มุ สาวจะได้มีชีวติ ในวยั ชราอย่างสุขสบาย ชดุ วิชาการเงนิ เพอื่ ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
42 ข้นั ตอนการวางแผนการเงิน การวางแผนการเงินแบง่ ออกเป็น 5 ขั้นตอนดังน้ี 1. ประเมินฐานะการเงิน เพื่อให้ทราบฐานะทางการเงินในปัจจุบัน แล้วใช้ ข้อมลู ดงั กลา่ วเพอื่ ตงั้ เปา้ หมายการเงนิ ในขน้ั ตอนต่อไป 2. ตั้งเป้าหมายการเงิน เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติ โดยเป้าหมายที่ดีจะต้อง ชัดเจนและสอดคล้องกับความสามารถทางการเงนิ 3. จดั ทำแผนการเงนิ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลเุ ป้าหมายการเงนิ ที่ตงั้ ไว้ 4. ปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด เพราะถึงแม้จะตั้งเป้าหมายไว้ดีอย่างไร แต่หากขาดการปฏิบตั จิ ริงจงั และตอ่ เน่ือง ก็อาจเผลอใจไปกบั สง่ิ ท่ีอยูน่ อกแผนได้ 5. ตรวจสอบและปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บางครั้งชีวิตเราเกิด ความเปล่ียนแปลงหรือไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ ก็ควรทบทวน แล้วปรับแผนเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามแผนและบรรลุเป้าหมายโดยไม่รู้สึกกดดันจนเกินไป แต่ขณะเดียวกัน หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ควร ปรับแผน โดยเพ่ิมเงินออมใหม้ ากขึน้ เพ่ือให้สามารถบรรลเุ ปา้ หมายได้เร็วข้นึ กิจกรรมทา้ ยเร่ืองท่ี 1 การวางแผนการเงนิ (ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมเรือ่ งท่ี 1 ที่สมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรยี นร้)ู ชดุ วชิ าการเงนิ เพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 การวางแผนการเงนิ
43 เรื่องท่ี 2 การประเมินฐานะการเงิน การประเมินฐานะการเงินเป็นขั้นตอนแรกในการวางแผนการเงิน โดยเริ่มจาก การพิจารณาว่าเรามีฐานะทางการเงินในปัจจุบันเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ การเงนิ ของตนเอง และสามารถวางแผนการเงนิ สำหรบั อนาคตได้ การประเมนิ ฐานะการเงิน การประเมินฐานะการเงินมีประโยชน์และวิธีการหลายแบบ ซึ่งการประเมิน ฐานะทางการเงนิ ทสี่ ำคัญมดี ังน้ี 1. รูฐ้ านะการเงนิ คำนวณหาความมั่งคง่ั สทุ ธิ ซึง่ กค็ ือ มูลคา่ ท่เี หลืออยหู่ ลังจาก ที่นำทรัพยส์ นิ ท้ังหมดลบด้วยหนสี้ ินท้ังหมด ความมั่งคั่งสุทธิจะบอกฐานะที่แท้จริงของเราว่ามีสินทรัพย์ที่เป็นของเรา จริง ๆ เท่าไร โดยสามารถคำนวณความมง่ั คงั่ สุทธไิ ด้ตามข้นั ตอนดงั น้ี 1) คำนวณมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่โดยจดรายการสินทรัพย์แยก ออกเปน็ 3 ประเภท ได้แก่ ▪ สินทรพั ยส์ ภาพคลอ่ ง คือ เงนิ สด และสนิ ทรพั ย์ทเี่ ปล่ียนเป็นเงินสด ได้งา่ ย เช่น เงินฝากออมทรพั ย์ ▪ สินทรัพย์เพื่อการลงทุน คือ สินทรัพย์ที่ถือครองเพื่อมุ่งหวัง ผลตอบแทน เช่น เงนิ ฝากประจำ สลากออมทรัพย์ พนั ธบตั รรฐั บาล หนุ้ กู้ กองทุนรวม ทองคำแท่ง โดยบนั ทกึ ในราคาตลาด (ราคาซ้ือขายในปจั จุบัน) ชุดวิชาการเงนิ เพื่อชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงิน
44 ▪ สินทรัพย์ส่วนตัว คือ สินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันหรือ เพอื่ สะสม เช่น ทอี่ ยู่อาศัย รถยนต์ เสือ้ ผ้า เครอ่ื งประดบั โดยบนั ทึกในราคาตลาด แล้วรวมมูลคา่ ของสนิ ทรัพย์ทั้ง 3 ประเภท 2) คำนวณมูลค่าหนี้สินท้ังหมดทม่ี ีอยู่ โดยแยกหนส้ี นิ ออกเปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ ▪ หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ หนี้ที่ต้องจ่ายคืนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี ซ่ึง ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้นอก ระบบ ▪ หนีส้ นิ ระยะยาว ได้แก่ หน้ีท่ีมีเวลาผอ่ นชำระนานกว่า 1 ปี เช่น หนี้ ทเ่ี กิดจากการซือ้ บา้ นและรถยนต์ แลว้ รวมมูลคา่ ของหน้ีสนิ ทัง้ 2 ประเภท โดยใช้ตัวเลขของยอดหน้ที เ่ี หลืออยู่ 3) คำนวณความมั่งคั่งสุทธิ นำมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดหักออกด้วยมูลค่า หนีส้ นิ ท้ังหมด ส่วนท่ีเหลอื อยูก่ จ็ ะเปน็ “ความมง่ั คง่ั สุทธิ” ตวั อยา่ งการคำนวณความม่งั คง่ั สทุ ธิ ชดุ วชิ าการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
45 2. รู้พฤติกรรมการใช้จ่าย จากการบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะทำให้ทราบถึง ลักษณะของรายรับและนสิ ยั การใชจ้ ่ายของผูบ้ นั ทึก 1) ขั้นตอนการจดั ทำบันทกึ รายรับ-รายจา่ ย การทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายไม่มีกฎหรือข้อบังคับตายตัว แต่เป็น ประโยชนใ์ นการวางแผนการเงนิ การบันทกึ รายรบั -รายจ่ายควรมีข้ันตอนดังน้ี (1) กำหนดระยะเวลาที่จะบันทึก เช่น 1 เดือน 1 ปี หรือตลอดไปโดย จะต้องเลือกระยะเวลาที่สามารถทำได้จริงและสามารถบันทึกได้ทุกวัน และเพื่อประโยชน์ใน การวางแผนการเงนิ ควรบนั ทึกทุกวันติดต่อกันอยา่ งน้อย 1 เดอื น ซึ่งจะทำให้ทราบพฤตกิ รรมใช้ จ่ายท่แี ท้จรงิ (2) เลอื กสมุดเพอ่ื ใชบ้ ันทกึ รายรบั -รายจ่าย เชน่ สมุดเล่มเล็กท่สี ามารถ พกพาได้สะดวก โดยจดลงในสมุดเล่มเล็กในช่วงที่ไปเรียนหรือทำงาน แล้วกลับมาเขียนลงใน สมดุ บันทึก หรอื คอมพวิ เตอร์ท่มี ีโปรแกรมบันทกึ รายรับ-รายจ่ายที่บ้าน หรือใช้แอปพลิเคชันใน สมารต์ โฟน เพ่ือบนั ทึกข้อมูลทันทที เ่ี ราไดร้ ับหรือจ่ายเงนิ (3) จดการรับและจ่ายเงินทุกครั้งลงในบนั ทกึ รายรับ-รายจ่าย ซ่ึงไม่ว่า จะเป็นเงินจำนวนมากหรือน้อยก็ไม่ควรละเลย โดยจะต้องแยกรายจ่ายออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ▪ รายจ่ายจำเป็น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่สามารถตัดออกได้ เพราะเปน็ รายจ่ายสำหรบั สิ่งที่ใช้ในการดำรงชีวิต เช่น คา่ อาหาร ค่าผ่อนหรอื เชา่ บา้ น คา่ ใชจ้ ่าย ในการเดินทางไปทำงาน ค่ารกั ษาพยาบาล คา่ เทอม ▪ รายจ่ายไม่จำเป็น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่มีบทบาทสำคัญต่อ การดำรงชีวิต เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากความต้องการหรืออยากได้ ซึ่งถ้าไม่ได้ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่าหวย ค่าอุปกรณ์แต่งรถ ค่าเสื้อผ้าที่ซื้อมาเพียงเพราะเห็นว่าสวยดีแต่ ไมไ่ ด้ใส่ ชดุ วิชาการเงินเพ่ือชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
46 (4) รวมยอดเงินแต่ละประเภท ได้แก่ รายรับ เงินออม รายจ่ายท่ี จำเป็น และรายจ่ายที่ไมจ่ ำเป็น เพอ่ื ใช้วเิ คราะหพ์ ฤติกรรมการใชจ้ ่ายของตนเอง รหู้ รอื ไมว่ า่ การพิจารณาว่ารายจ่ายใดเป็นรายจ่ายจำเป็นหรือไม่จำเป็น ส่วนหน่ึง ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลด้วย เพราะรายจ่ายจำเป็นของคนหนึ่งอาจ เป็นรายจ่ายไม่จำเป็นของอีกคนหนึ่ง หรือรายจ่ายไม่จำเป็นของคนหนึ่งอาจมีความจำเป็น สำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ เช่น ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างขนของ รถก็เป็นรายจ่ายที่จำเป็นมาก แตส่ ำหรบั อาชีพครทู ่สี อนอยูโ่ รงเรียนใกล้บ้าน รายจ่ายเก่ียวกับรถอาจเปน็ สงิ่ ไม่จำเปน็ เลยกไ็ ด้ ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
47 2) ส่วนประกอบท่ีสำคัญของบันทกึ รายรบั -รายจา่ ย การบันทึกรายรับ-รายจ่ายสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ผู้บันทึก สามารถออกแบบตารางบันทึกได้ตามความถนัดหรือตามที่ตนเองชื่นชอบ แต่การบันทึก รายรบั -รายจ่ายในแต่ละเดอื นน้ัน ควรมีส่วนประกอบดงั น้ี (1) ส่วนที่ใช้บันทึกรายรับ-รายจ่าย ควรเป็นตารางที่มีความยาว เพยี งพอตอ่ การบันทกึ ตลอดระยะเวลาอยา่ งนอ้ ย 1 เดอื น (อาจใช้กระดาษมากกวา่ 1 หน้า) โดย จะต้องประกอบด้วยหัวขอ้ ดงั น้ี ▪ วนั ท่ี – กรอกวนั ทท่ี ่มี รี ายรับหรอื รายจา่ ยเกิดขึ้น ▪ รายการ – กรอกรายการรายรับหรือรายจา่ ยทเ่ี กดิ ขึน้ และหาก มคี ำอธิบายเพ่มิ เติมกส็ ามารถกรอกลงในชอ่ งนไี้ ด้ ▪ รายรับ – กรอกจำนวนเงินสำหรบั รายการทีเ่ ป็นรายรับ ▪ เงนิ ออม – กรอกจำนวนเงนิ สำหรบั รายการท่ีเปน็ การออมเงนิ ▪ รายจ่าย – กรอกจำนวนเงินสำหรับรายการที่เป็นรายจ่าย ซงึ่ ผู้บันทึกต้องแยกระหวา่ งรายจ่ายจำเปน็ และรายจา่ ยไม่จำเปน็ ตัวอยา่ งสว่ นทีใ่ ช้บันทึกรายรบั -รายจ่าย ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
48 (2) สว่ นสรปุ รายรับ-รายจา่ ย เพื่อใหท้ ราบว่าในเดือนนนั้ ๆ เราใช้จ่าย เกินรายรับที่ได้มาหรือไม่ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการนำยอดรวมของรายรับตลอดทั้งเดือน ลบออกด้วยยอดรวมของเงินออมและยอดรวมของรายจ่ายที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 1 เดือน หากผลลัพธ์ที่ไดเ้ ปน็ บวก แสดงว่ามีการออมและการใชจ้ า่ ยนอ้ ยกว่า รายรบั ทีม่ อี ยู่ จงึ ยังมเี งินเหลอื ดงั นน้ั เราควรวางแผนว่าจะนำเงินนน้ั ไปทำอะไร เช่น นำไปเป็น เงินออมเพิ่มเติมจากที่ออมไปแล้วเมื่อมีรายได้เข้ามา นำไปบริจาค หรือตั้งเป็นเงินออมอีกก้อน หน่งึ เพ่ือนำเงินไปลงทนุ แต่หากผลลัพธต์ ดิ ลบ แสดงวา่ มีการออมและใช้จ่ายเกินรายรับที่มีอยู่ จงึ ตอ้ งหาสาเหตขุ องการใช้เงินเกิน เช่น ออมเงินมากเกนิ ไป มคี า่ ใช้จา่ ยบางประเภทมากเกินไป หรอื มากกว่าปกติ ดงั น้นั จะต้องวางแผนลดรายจ่าย โดยเริ่มพจิ ารณาจาก “รายจ่ายไม่จำเป็น” ว่ามีรายการใดที่สามารถลดได้ ในกรณีของ “รายจ่ายจำเป็น” ให้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนว่า มีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นแอบแฝงอยู่หรือไม่ สามารถลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายลงมาได้อีกหรือไม่ หรอื หากลดไมไ่ ด้ ก็ควรหารายไดเ้ พ่ิม ตัวอย่างส่วนสรปุ รายรบั -รายจา่ ย ชุดวชิ าการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงิน
49 (3) ส่วนวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย ผู้บันทึกสามารถวิเคราะห์บันทึก รายรบั -รายจา่ ยของตนเองได้ 4 ด้านดงั นี้ ▪ รายรับ ให้พิจารณาจำนวนและความถี่ของรายรับ เช่น รายวัน ทุก 2 สัปดาห์ รายเดือน ทุกครึ่งปี เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนใช้เงินว่า จะทำอย่างไรให้ พอใช้จ่ายไปจนกว่าจะได้รับเงินรอบใหม่ และหากจำเป็นต้องหารายได้เพิ่ม จะหารายได้เพ่ิม จากแหล่งใด ▪ เงินออม ให้พิจารณาถึงจำนวนและความถี่ของการออมท่ี สามารถออมได้ เชน่ ออมทุกวัน วนั ละ 20 บาท หรือออมสปั ดาห์ละครั้ง ครั้งละ 500 บาท หรือ เดือนละครั้ง ครั้งละ 2,500 บาท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชนต์ ่อการวางแผนเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย เช่น ถ้าพบว่าออมเงินอย่างเดียวแล้วยังได้เงินไม่พอสำหรับเป้าหมายที่เราต้องการ จะไดห้ าทางอน่ื เพม่ิ เชน่ หาของมาขายออนไลน์ นอกจากนี้ ยอดรวมของเงินออมสามารถนำไปใช้คำนวณ สัดส่วนเงินออมตอ่ รายได้เพื่อบอกว่า ตอนนี้เรามเี งนิ ออมเพียงพอแล้วหรือยัง ในแต่ละเดือนเรา ออมเงินได้มากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ถ้าหากพบว่าน้อยเกินไป ก็ควร วางแผนหาเงินมาออมเพิ่ม ด้วยการลดรายจา่ ยหรือหารายไดเ้ พ่มิ รหู้ รอื ไม่วา่ การออมเงินทันทีที่ได้รับเงิน จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่ายกว่า เพราะหากนำเงินไปใช้จา่ ยกอ่ น เรามักจะใช้เงินหมดจนไมเ่ หลอื เงินมาออม ▪ รายจ่ายไม่จำเป็น โดยเปรียบเทียบกับรายจ่ายจำเป็นว่า รายจ่ายไหนสูงกว่ากัน หากมี “รายจ่ายไม่จำเป็น” สูงกว่า “รายจ่ายจำเป็น” นั่นแสดงว่า ควรลดรายจ่ายไม่จำเป็นลง โดยเริ่มดูว่ามีรายจ่ายไหนในกลุ่มรายจ่ายนี้สามารถลดได้บ้าง เช่น ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 2 การวางแผนการเงิน
50 ค่าหวย ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่ากาแฟ ค่าชอปปิงออนไลน์ และลองคำนวณดูว่าหากลดรายจ่าย เหลา่ นี้แล้ว ใน 1 เดอื นจะมเี งินเหลือเท่าไร ▪ รายจ่ายจำเป็น ให้ทบทวนรายจ่ายจำเป็นอีกครั้งว่า ทุกรายการเป็นรายจ่ายจำเป็นทั้งหมดจริงหรือไม่ สำหรับรายการที่เป็นรายจ่ายจำเป็นแต่ จำนวนเงินสงู หากสามารถลดหรือซอื้ ของทถ่ี ูกกว่าได้ กค็ วรลองลดหรอื ซ้อื ของที่ถูกกวา่ มาใช้แทน ตัวอย่างส่วนวิเคราะห์รายรบั -รายจ่าย รายรับและเงินออม รายรบั 9,000 บาท เงนิ ออม 1,000 บาท รายรับมาจากค่าแรงท่ีไดร้ ับเดือนละ 1 ครงั้ มกี ารออมเงนิ มากกวา่ 10% อยใู่ นเกณฑ์พอใช้ ดังน้นั จะต้องวางแผนใชเ้ งนิ ให้พอกับรายจ่ายท่ี อยา่ งไรก็ดี หากสามารถออมเงินใหไ้ ด้อยา่ งน้อย จะเกิดข้ึนจนกวา่ จะถึงวนั รบั เงนิ คร้งั ถดั ไป 1 ใน 4 ของรายรับต่อเดือน หรอื 2,250 บาท จะทำใหม้ ีเงินออมเพิม่ ขึ้นไวใ้ ชใ้ นอนาคต โดยอาจ ลดรายจา่ ยบางรายการลงอกี 1,250 บาท รายจ่าย รายจ่ายจำเปน็ 3,500 บาท รายจ่ายไม่จำเปน็ 5,000 บาท อาจลดคา่ อาหารนอกบา้ นลง หรือเปล่ยี นไปใช้ อาจงดนำ้ สมุนไพรวันละ 20 บาท 1 เดอื น วัตถุดบิ ปรงุ อาหารทีถ่ ูกกวา่ แทน โดยลดลงอกี จะได้เงนิ 600 บาท เพื่อนำไปเป็นเงินออม 650 บาท เพ่อื นำไปเป็นเงนิ ออม 3) ประโยชน์ของการบันทึกรายรับ-รายจา่ ย บันทึกรายรบั -รายจา่ ยท่ีมขี อ้ มลู ครบถว้ น และบันทึกติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน จะมปี ระโยชน์ดังน้ี (1) ทำให้รู้พฤติกรรมการใช้จ่ายที่อาจทำให้เกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ การบันทึกรายจ่ายที่เกิดขึ้นทุกครั้ง จะทำให้ทราบว่าใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งใดบ้าง เช่น จ่ายค่า สังสรรค์หรือค่าเหล้าเดือนละ 2,000 บาท (1 ปกี เ็ ป็นเงิน 24,000 บาท) ซ้ือหวยงวดละ 1,000 บาท (แต่ในระยะเวลา 2 ปี ไม่เคยถูกรางวัลเลย) เมื่อทราบว่าเงินหายไปไหน ก็สามารถวางแผนให้มี เงนิ พอใชไ้ ด้ เช่น ลดคา่ เหลา้ เหลอื เดือนละ 1,000 บาท (กจ็ ะไดเ้ งินเกบ็ ปลี ะ 12,000 บาท) หรอื ชดุ วิชาการเงินเพื่อชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
51 เลิกดื่มเหล้าตลอดไปเลย ได้ทัง้ เงินออม ได้ท้ังสขุ ภาพแข็งแรง เลิกซื้อหวย แล้วนำเงินมาออมแทน (สนิ้ ปกี เ็ หมือนถกู รางวลั 24,000 บาท 4 ปีกม็ ีเงนิ เก็บเกอื บแสน) (2) ทำให้สามารถวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับชีวิตของตนเองได้ เพราะจะทำให้เรารู้จักลักษณะของรายรับและรายจ่ายว่ามีความถี่แค่ไหน จะเกิดขึ้นเมื่อใด จำนวนเท่าไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้เราสามารถเตรียมตัวล่วงหน้า เช่น วางแผน แบ่งรายรับเป็นส่วน ๆ ให้มีพอจ่ายเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่าย และหากพบว่ารายรับไม่เพียงพอกับ รายจา่ ย ก็มาคดิ หาทางลดรายจา่ ยหรือหารายไดเ้ พ่ิมเพื่อจะไดไ้ มต่ อ้ งไปกู้ยมื เงนิ หรือกู้ให้นอ้ ยที่สดุ (3) ทำให้เห็นสัญญาณของปัญหาทางการเงินและสามารถวางแผน ป้องกันหรือแก้ไขได้ การบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำ จะทำให้ทราบทันทีหากมีสัญญาณ ของปัญหาการเงิน เช่น มีรายจ่ายเกินรายรับติดต่อกันหลายเดือนจนต้องก่อหนี้ ต้องจ่ายหน้ี มากกว่า 1 ใน 3 ของรายรับ (อาจทำให้ไม่มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายอื่น ๆ จนต้องก่อหนี้เพิ่ม หนี้ก็มี มากอยู่แล้ว ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจนเงินไม่พอจ่าย) ไม่มีเงินออมเลย (เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก้อน ก็ต้องก่อหนี้) และเมื่อทราบสัญญาณของปัญหา ก็จะสามารถวางแผนป้องกันหรือแก้ไข ก่อนท่ีจะกลายเปน็ ปัญหาใหญโ่ ต 4) หลักการจัดลำดบั ความสำคัญของรายจา่ ย สิ่งสำคัญในการวางแผนการเงินคือ “ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้” แต่เม่ือ บันทกึ รายรับ-รายจ่ายแล้ว คนส่วนใหญ่มักพบว่าตนเองมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพ่ือแก้ปัญหานี้ เราจงึ ตอ้ งจัดลำดับความสำคัญของรายจ่าย ซ่งึ สามารถทำไดด้ ังนี้ (1) ให้จ่าย “รายจ่ายจำเป็นและไม่สามารถรอได้” ก่อน โดยพิจารณา ว่า รายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายจำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือไม่ และต้องจ่ายวันนี้หรือในเร็ววันนี้ หรือไม่ หากเป็นรายจ่ายจำเป็นและไม่สามารถรอได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร ค่าที่อยู่ อาศัย ให้จ่ายรายจ่ายนี้ก่อน และหากมีเงินไม่พอจ่าย ก็อาจต้องกู้ยมื แต่จะต้องวางแผนจ่ายเงนิ คนื อยา่ งรดั กุม เพอ่ื ปอ้ งกันไมใ่ หก้ อ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาหน้ตี ามมาภายหลัง (2) ให้ออมเงินเพื่อจ่าย “รายจ่ายจำเป็นแต่สามารถรอได้” เช่น ค่าเรียนภาษาที่สาม หรือซื้อของใหม่มาแทนของเดิมที่กำลังจะเสีย โดยออมเงินให้ครบก่อน ชุดวชิ าการเงินเพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 2 การวางแผนการเงนิ
52 แล้วจึงจะซื้อ หรืออาจนำเงินออมที่มีอยู่แล้วมาจ่ายก่อนได้และจะต้องออมเงินคืนให้เงินออมมี จำนวนเทา่ เดมิ โดยเรว็ ซึ่งหากทำได้ ก็จะไม่ต้องกอ่ หน้ีเพอื่ นำเงินมาจา่ ยค่าใชจ้ า่ ยเหลา่ น้ี (3) ให้พยายามตัดใจจาก “รายจ่ายไม่จำเป็น” ซึ่งเป็นรายจ่าย สำหรับสิ่งที่ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต คือ ถึงไม่มีสิ่งนั้นก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่หากรู้สึกไม่มี ความสุข และคิดว่าอยากได้จริง ๆ ให้ออมเงินให้ครบก่อนแลว้ จึงจะซื้อ และที่สำคัญ จะต้องไม่ ก่อหนี้เพื่อรายจ่ายประเภทนี้ เพราะเมื่อถึงคราวจำเป็นอาจกู้เงินไดย้ ากข้ึน หรือกู้ไดแ้ ต่เมื่อรวม กับภาระหนเ้ี ดิมแล้วทำให้มภี าระหน้ีมากเกินไปจนจา่ ยไมไ่ หว ลักษณะของการมีสขุ ภาพการเงินทด่ี ี การมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ก็คล้ายกับการที่เรามีสุขภาพแข็งแรง คือมีความ มั่นคงทางการเงินเพราะมีเงินออมเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิต มีภาระผ่อนหนี้ท่ีไม่หนักเกินไป และหากมีเหตุฉุกเฉินที่มากระทบการใช้ชีวิตปกตทิ ำให้ต้องใช้เงินกะทันหนั ก็จ่ายเองได้ ไม่ต้อง กยู้ ืมใคร ลดโอกาสท่ีจะเกดิ ปญั หาการเงนิ หรอื ปัญหาเงนิ ไม่พอใช้ ลกั ษณะของการมสี ขุ ภาพการเงินที่ดมี ดี งั นี้ 1. มีสัดส่วนภาระผ่อนหนี้ต่อรายได้ไม่เกิน 33% หรือไม่เกิน 1 ใน 3 ของ รายได้ตอ่ เดอื น ซง่ึ เป็นสดั สว่ นของหนีท้ คี่ นทวั่ ไปพอจะจ่ายไหว แต่หากมีอตั ราส่วนหน้ีต่อรายได้ มากกวา่ หรือน้อยกว่านี้ อาจมีความหมายดังน้ี สดั สว่ น ความหมาย สถานะ คำแนะนำ มากกวา่ 50% ภาระผ่อนหน้ีเริ่มหนกั องึ้ สแี ดง • ตอ้ งหาทางปลดหนี้ • เปิดใจคุยกบั คนใน ครอบครัวหรอื หาท่ีปรกึ ษา • อยา่ ก้เู พ่มิ ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 การวางแผนการเงนิ
53 สดั ส่วน ความหมาย สถานะ คำแนะนำ มากกว่า 33% แต่ไม่ ภาระผ่อนหนี้เริ่มเยอะ สเี หลือง • หาวธิ ีลดรายจา่ ย หารายได้ เกิน 50% แล้ว พิเศษ • ถา้ เป็นไปได้อยา่ กอ่ หนเี้ พม่ิ อกี น้อยกว่าหรือเท่ากับ ภาระผ่อนหนี้ยังอยู่ใน สเี ขยี ว • ควรเปน็ หน้ีเทา่ ทีจ่ ำเปน็ 33% เกณฑด์ ี และจ่ายไหว • จ่ายให้เต็มจำนวนและตรง เวลา • ไม่จำเปน็ อย่ากู้เพ่มิ รูห้ รอื ไมว่ า่ เราสามารถคิดง่าย ๆ ได้ว่า “ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกนิ 1 ใน 3 ของ รายได้” ของเราเปน็ เงินก่บี าท เชน่ นาง ก มรี ายไดเ้ ดอื นละ 9,000 บาท นาง ก ก็ไม่ควรมภี าระหนี้ในแตล่ ะเดอื นเกิน = รายได้ ÷ 3 = 9,000 ÷ 3 = 3,000 บาท 2. มีสัดส่วนเงินออมต่อรายได้อย่างน้อย 25% หรืออย่างน้อย 1 ใน 4 ของ รายได้ ซึ่งเป็นสดั ส่วนของเงินทค่ี นท่ัวไปควรออมไว้เพอ่ื เปา้ หมายต่าง ๆ แตห่ ากมอี ตั ราส่วนเงินออม ต่อรายได้มากกว่าหรอื นอ้ ยกว่านี้ อาจมีความหมายดังนี้ ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
54 สดั สว่ น ความหมาย สถานะ คำแนะนำ น้อยกวา่ 10% ตอ้ งพยายามอีกนดิ สแี ดง • อยา่ งน้อยควรออมให้ถงึ มากกว่า 10% แต่ไม่ มาถูกทางแลว้ 10% ของรายได้ ถึง 25% • หาวิธีลดรายจา่ ยและเพ่ิม มากกวา่ 25% ยอดเยย่ี มมาก รายได้ สเี หลอื ง • พยายามต่อไปใหถ้ งึ 1 ใน 4 ของรายได้ • หาวธิ ลี ดรายจา่ ย หารายได้ เสรมิ สเี ขียว • แบ่งเงนิ ออมเปน็ ส่วน ๆ ตามความจำเป็นและ เป้าหมายในชีวติ • หาความรู้เร่ืองการลงทนุ ท่ี ถกู ต้อง ร้หู รือไมว่ ่า เราสามารถคิดงา่ ย ๆ ได้ว่า “เราควรออมเงินเดอื นละ 1 ใน 4 ของรายได้” เป็นจำนวนเงนิ กบี่ าท เช่น นาง ก มีรายไดจ้ ากการขายของในตลาดเดอื นละ 9,000 บาท นาง ก ก็ควรออมเงนิ เดือนละ = รายได้ ÷ 4 = 9,000 ÷ 4 = 2,250 บาท ชดุ วิชาการเงนิ เพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
55 3. มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระ ผ่อนหนต้ี อ่ เดอื น เงนิ ออมเผ่ือฉุกเฉินเป็นเงนิ ที่เกบ็ ไว้ใชย้ ามจำเป็น เมือ่ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และตอ้ งใชเ้ งินจำนวนมาก เช่น เจบ็ ป่วยหรอื อุบตั ิเหตุ รายไดล้ ดกะทนั หัน หรอื ตกงาน ซ่ึงควรมี อย่างน้อย 3-6 เทา่ ของรายจ่ายจำเปน็ และภาระผ่อนหนตี้ ่อเดือน จำนวนเทา่ ความหมาย สถานะ คำแนะนำ น้อยกวา่ 3 เท่า คุณต้องออกแรงอกี นดิ สแี ดง • เกบ็ ให้ไดอ้ ย่างนอ้ ย 3–6 มากกว่า 6 เท่า คณุ เยีย่ มยอดมาก เทา่ ของค่าใชจ้ ่ายทีจ่ ำเป็น และภาระผอ่ นหนีต้ ่อเดือน เงินออมเผื่อฉุกเฉิน คณุ ทำดแี ลว้ 3-6 เทา่ • ถ้ามีเหตฉุ กุ เฉินต้องใช้เงิน จะไดไ้ ม่ตอ้ งไปยมื ใคร สีเหลอื ง • แต่อาจเสยี โอกาสท่ีจะได้ ผลตอบแทนที่สงู กว่า • ส่วนที่เกิน 6 เท่า อาจนำไป ฝากประจำหรอื ลงทนุ (อยา่ ลืมศกึ ษาขอ้ มลู กอ่ น ตดั สินใจ) สเี ขียว • ถ้ามีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็สามารถนำเงินก้อนน้ีมาใช้ จ่าย พ่ึงตัวเองได้ สบายใจ ตัวอย่าง นาง ก มีรายได้จากการขายของในตลาดเดือนละ 9,000 บาท มีค่าใช้จ่ายจำเป็น และภาระผ่อนหนี้รวมกันต่อเดือนละ 4,000 บาท นาง ก ควรมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย เทา่ ไร นาง ก ควรมีเงินออมเผ่ือฉกุ เฉนิ อย่างน้อย = ค่าใชจ้ ่ายจำเปน็ และภาระผ่อนหน้ี ตอ่ เดอื น x 3 = 4,000 x 3 = 12,000 บาท ชุดวชิ าการเงินเพอื่ ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน
56 เม่ือมีความจำเป็นตอ้ งนำเงินออมเผือ่ ฉกุ เฉินออกมาใช้ กค็ วรรบี ออมเงนิ คนื ให้ได้ 3-6 เท่าเหมือนเดิมโดยเรว็ เพราะจะได้มเี งินสำรองไว้สำหรบั เหตฉุ ุกเฉินครงั้ หน้า เงินออมเผื่อฉุกเฉินควรเก็บไว้ในที่ที่สามารถถอนออกมาใช้ได้ง่าย ทันเวลา เช่น บัญชีออมทรัพย์ ทั้งนี้ ควรมีบัญชีเงินออมเผื่อฉุกเฉินโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้บัญชีเงินเดือน หรือ บัญชีที่ให้ลูกค้าโอนเข้ามา (ในกรณีที่ค้าขายหรือประกอบอาชีพอิสระ) เพื่อเก็บเงินออมเผื่อ ฉุกเฉนิ เพื่อแบง่ เงนิ เปน็ ส่วน ๆ และปอ้ งกนั การถอนเงนิ ออกมาใช้จา่ ยฟุม่ เฟอื ย รูห้ รือไม่วา่ เราสามารถรู้จำนวนเงินรายจ่ายจำเป็นของเราจากการจดบันทึกรายรับ- รายจ่ายอยา่ งนอ้ ย 1 เดือน และแยกรายจา่ ยเปน็ “รายจ่ายจำเป็น” และ “รายจา่ ยไมจ่ ำเป็น” กจิ กรรมทา้ ยเร่อื งท่ี 2 การประเมินฐานะการเงนิ (ใหผ้ เู้ รียนไปทำกจิ กรรมเรื่องที่ 2 ทีส่ มุดบนั ทึกกิจกรรมการเรียนรู้) ชุดวิชาการเงนิ เพื่อชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน
57 เร่อื งที่ 3 การตง้ั เป้าหมายและจดั ทำแผนการเงนิ การประเมินฐานะการเงินของตนเองจะทำให้เรารู้จำนวนรายรับ รายจ่าย ภาระ ผ่อนหนี้ และจำนวนเงินที่เราแบ่งไปออม ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการตั้งเป้าหมายและ จดั ทำแผนการเงินซ่งึ เป็นสว่ นสำคัญในการวางแผนการเงิน การตง้ั เปา้ หมายการเงิน เป็นการกำหนดจุดหมายด้านการเงินทีเ่ ราต้องการไปให้ถึง โดยต้องอาศัยข้อมูล จากการประเมินฐานะการเงินเพื่อให้ได้เป้าหมายที่สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินของ เราเอง เปา้ หมายการเงนิ มีประโยชนด์ งั นี้ 1. ทำใหจ้ ัดทำแผนการเงนิ ไดง้ ่ายข้ึน เชน่ มเี ปา้ หมายที่จะออมเงินเผื่อฉุกเฉิน จำนวน 12,000 บาทภายใน 1 ปี กจ็ ะสามารถจัดทำแผนไดว้ า่ ต้องฝากเงนิ ในบญั ชอี อมทรัพย์ที่ เปดิ ไวส้ ำหรับออมเงินเผื่อฉกุ เฉินโดยเฉพาะ (แยกจากบัญชที ่ีใช้รับเงินเดอื น) เดอื นละ 1,000 บาท นาน 12 เดือน 2. ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและบรรลุสิ่งที่ต้องการง่ายขึ้น เป้าหมายและ แผนการเงินทชี่ ัดเจนเปรียบเสมอื นแผนทน่ี ำทางชีวติ เพ่ือใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายโดยไมเ่ สียเวลาไปกับ สิ่งล่อใจอื่น ๆ เช่น มีเป้าหมายเงินออมเผื่อฉุกเฉินจำนวน 12,000 บาทภายใน 1 ปี ซึ่งในช่วง ก่อนครบ 1 ปี เราอาจเจอกับสิ่งล่อใจให้ซื้อหรือก่อหนี้เพิ่ม เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ แต่เมื่อ ต้ังเป้าหมายไว้แลว้ ก็จะเกดิ การยบั ยัง้ ช่งั ใจข้นึ แทนทจี่ ะซ้อื ของเหล่านั้นทันที ก็อาจเลื่อนไปซื้อ หลังจากเก็บเงินครบตามเป้าหมายแลว้ หรือตัดใจไมซ่ ื้อเลยได้ 3. ทำให้คำนึงถึงอุปสรรคที่อาจทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น มีเปา้ หมายเก็บเงินเพื่อไปเท่ียวจำนวน 24,000 บาทภายใน 1 ปี จึงวางแผนว่าจะออมเงินเดือนละ 2,000 บาท แต่ในระหว่างทค่ี ิดวางแผนกน็ กึ ขนึ้ ไดอ้ กี ว่าในอกี 4 เดือนข้างหน้าจะต้องจ่ายค่าชุด ชุดวิชาการเงนิ เพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน
58 นกั เรียนใหมใ่ ห้ลูก จงึ อาจตอ้ งปรับเป้าหมายและแผนการเที่ยวหรือตั้งเป้าหมายออมเงินเพ่ือซื้อ ชดุ นกั เรยี นเพิ่มเตมิ ด้วย เป้าหมายการเงินทคี่ วรมใี นชวี ิต คนเราสามารถมีเป้าหมายการเงินได้มากกว่าหนึ่งเป้าหมาย เช่น มีเงินออมเผ่ือ ฉกุ เฉนิ เรยี นต่อ ซอ้ื โทรศัพทม์ ือถอื ใหม่ ปลดหน้ี หรือเพ่ืออะไรหลาย ๆ อย่าง ซึ่งรายได้หรือเงิน ออมของเราอาจยังไม่พอที่จะทำให้เราได้ทุก ๆ สิ่งในตอนนี้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกและ จัดลำดบั ความสำคัญของเป้าหมายการเงนิ ต่าง ๆ ในชวี ติ เพอื่ ใหส้ ามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ เราต้งั ใจไว้ การเลอื กและจัดลำดบั เปา้ หมายการเงินจะพิจารณาจากปจั จัยดงั ตอ่ ไปนี้ 1. ความสำคัญของเป้าหมาย พิจารณาว่า เป้าหมายนั้นมีผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตหรือไม่ หากมีผล อาจจะจัดลำดับให้เป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุเป็นอันดับแรก เช่น เป้าหมายในการเก็บเงินเพื่อจ่ายหนี้ก็ย่อมมีความสำคัญมากกว่าการออมเงินเพื่อซื้อ โทรศัพท์มือถือใหม่ เพราะหากไม่จ่ายหนี้ ก็อาจทำให้ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเพราะดอกเบี้ย และหาก เป็นเงินกูน้ อกระบบ ก็มีความเส่ียงทจี่ ะถกู ทวงหนีอ้ ย่างโหดร้าย 2. ความสามารถด้านการเงิน พจิ ารณาวา่ มีความสามารถที่จะออมเงินหรือใช้ จ่ายเงินตามเป้าหมายนั้นหรือไม่ เช่น มีเป้าหมายที่จะซื้อโทรศัพทม์ ือถือ ตู้เย็น และรถยนต์ แต่ มีรายรับเดือนละ 9,000 บาท ต้องจ่ายค่าเช่าห้อง ค่าอาหาร และส่งเงินให้พ่อแม่ รวมเดือนละ 7,000 บาท ดังนั้น อาจจะต้องเลือกเป้าหมายที่จำเป็นหรือมีความสำคัญที่สุดและอาจจะพอ เปน็ ไปได้กอ่ น เช่น เลอื กซื้อตู้เยน็ ใหมแ่ ทนเคร่ืองเดิมที่เสียแล้ว ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
59 ตัวอย่างการเลอื กและจัดลำดับเป้าหมายการเงนิ • กรณีทีม่ ีหน้.ี .. • กรณที ไ่ี ม่มหี น้ี... 1. ปลดหนไี้ ปพรอ้ ม ๆ กับออมเผือ่ 1. ออมเผอ่ื ฉุกเฉิน ฉุกเฉิน เพ่ือปอ้ งกนั การก่อหนี้เพิ่ม 2. ออมเพื่อใชจ้ ่ายในวยั ชรา ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉนิ 3. ออมเพ่อื ซอ้ื ของที่อยากได้ 2. ลดค่าใช้จ่ายเพือ่ กนั เงินไว้จา่ ยหน้ี 4. ออมเพ่ือลงทนุ 3. ออมเงินเพือ่ ใชจ้ า่ ยในวยั ชรา 4. ออมเพ่อื ซอื้ ของท่ีอยากได้ 5. ออมเพอื่ ลงทุน ทั้งนี้ หากมีความสามารถทางการเงินมาก ก็อาจมีหลายเป้าหมายพร้อม ๆ กัน ได้ แต่ควรจัดสรรเงินให้ดี เพื่อไม่ให้การออมที่มากเกินไปสร้างความกดดันในการใช้ชีวิตด้าน อ่นื ๆ เช่น ออมเงินจนไม่มเี งินซอ้ื อาหารทม่ี ปี ระโยชน์ต่อรา่ งกาย หรอื ตอ้ งไปเบียดเบียนคนอ่นื นอกจากการตั้งเป้าหมายการเงินตามความจำเป็นและความต้องการต่าง ๆ ใน ชวี ติ แล้ว เรายังตอ้ งคำนึงถงึ ระยะเวลาทจี่ ะใชใ้ นการลงมือทำตามแผนให้สำเรจ็ ด้วย ได้แก่ 1. เป้าหมายระยะสั้น เป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ในเวลา 1 ปี เช่น ออมเงนิ เผือ่ ฉุกเฉนิ ใหไ้ ด้จำนวน 30,000 บาท ออมเงินเพื่อซอ้ื โทรศพั ท์มือถอื 2. เป้าหมายระยะกลาง เป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ในระยะเวลา 1 – 3 ปี เช่น ซือ้ มอเตอรไ์ ซค์ หรือออมเงินเพอ่ื ดาวน์รถยนต์ 3. เป้าหมายระยะยาว เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 3 ปีเพื่อ บรรลุเปา้ หมาย เช่น ออมเงินเพอ่ื ดาวนบ์ า้ น ออมเงนิ ไว้ใชใ้ นยามสูงวยั การตง้ั เปา้ หมายการเงนิ ทดี่ ี เปา้ หมายการเงนิ ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความสามารถทางการเงินจะช่วยให้ เราสามารถกำหนดแผนการเงนิ ท่ีจะทำให้เราสามารถไปถึงจุดหมายท่ตี ัง้ ไว้ โดยมลี ักษณะดังน้ี 1. เป้าหมายคอื อะไร ชดุ วชิ าการเงินเพือ่ ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน
60 2. จำนวนเงินเท่าไร 3. ใชร้ ะยะเวลานานแคไ่ หนจึงจะบรรลุเป้าหมาย 4. ทำได้จรงิ หรือไม่ ตัวอย่างการต้งั เปา้ หมายการเงิน เปา้ หมาย ด/ี ไม่ดี เหตผุ ล ฉันจะเก็บเงินให้ได้ภายในปนี ี้ X ▪ ไมไ่ ดร้ ะบุชัดเจนวา่ ต้องการเก็บเงนิ เพอื่ อะไร ▪ ไม่สามารถวัดผลได้ เพราะไม่ไดร้ ะบุจำนวนเงนิ ฉนั จะเก็บเงนิ 2,500 บาท ✓ ▪ เป้าหมายชัดเจน ทกุ เดือนเปน็ ระยะเวลา 1 ปี ▪ วดั ผลได้ เพอ่ื เปน็ เงนิ ออมเผ่ือฉกุ เฉนิ ▪ มีระยะเวลาแนช่ ดั (รายไดเ้ ดือนละ 20,000 บาท) ▪ ทำได้จรงิ ข้นั ตอนการจัดทำแผนการเงนิ แผนการเงินอาจจัดทำได้หลากหลายรูปแบบ ข้ึนอยกู่ บั ความถนดั และความชอบ ของผ้วู างแผน แต่ควรมีขน้ั ตอนหลัก ๆ ดังนี้ 1. ระบุเป้าหมายการเงิน เพื่อบอกจุดมุ่งหมายของแผนทั้งหมด โดยจะต้อง เป็นไปตามหลักเป้าหมายการเงนิ ทด่ี ี 2. ระบุจำนวนเงินที่ต้องการ โดยจะต้องระบุเป็นจำนวนเงินหรือตัวเลขให้ ชดั เจนว่าต้องใชเ้ งนิ เทา่ ไรเพ่อื ใหบ้ รรลุเป้าหมาย 3. ระบุระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเงิน โดยระบุเป็นจำนวน วัน เดือน หรอื ปี 4. คำนวณจำนวนเงินที่ต้องออม เช่น คำนวณว่าต้องออมเงินเดือนละเท่าไร เพื่อให้ได้จำนวนตามที่ต้องการ สามารถคำนวณได้โดยนำจำนวนเงินที่ต้องการหารด้วย ระยะเวลา (เดือน) ก็จะทำให้ทราบว่าควรเก็บเงินเดือนละเท่าไรเพื่อให้ได้เงินตามจำนวนที่ ตอ้ งการ ชุดวิชาการเงินเพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
61 ตัวอย่าง นาง ก ตอ้ งการซ้อื โทรศัพทม์ ือถือราคา 8,400 บาทในอกี 12 เดอื น นาง ก จะตอ้ งออมเงนิ เดือนละ = จำนวนเงนิ ที่ต้องการ ÷ ระยะเวลา (เดอื น) = 8,400 ÷ 12 = 700 บาท ดังนั้น แผนการออมของนาง ก ก็คือ จะต้องออมเงินเดือนละ 700 บาทเพื่อให้ ไดซ้ อ้ื โทรศัพท์มอื ถือราคา 8,400 บาทในอีก 12 เดอื นข้างหน้า 5. จัดทำแผน โดยกำหนดแหล่งเงินที่จะใช้เป็นเงินออมในแต่ละเดือน ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการเพิ่มรายรับ (เช่น นำเงินจากค่าจ้างทำงานเสริมทั้งหมดมาเป็นเงินออม เผ่อื ฉกุ เฉนิ ) และลดรายจ่าย (เช่น ลดการด่มื เหล้าเพ่ือเก็บเงินท่ีประหยัดได้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายของ ลูกตอนเรียนมหาวิทยาลัย) โดยพิจารณารายจ่ายจากการบันทึกรายรับ-รายจ่ายว่า มีรายจ่าย ไม่จำเปน็ ใดที่สามารถลดหรือเลกิ แล้วนำมาเป็นเงินออมได้หรือไม่ เช่น ลดค่ากาแฟจากที่ด่ืมทุกวัน เป็นด่ืมวนั เวน้ วัน หากกาแฟราคา 30 บาทตอ่ แก้ว ลดคา่ กาแฟจำนวน 15 วัน จะไดเ้ งนิ 450 บาท ตัวอย่างแผนการเงนิ แผนการเงินของ........น...า..ง...ก................ จดั ทำ ณ วนั ที่....1...ม...ก..ร..า..ค..ม....2..5..X...X.... เป้าหมายการเงนิ : ซ้อื โทรศพั ท์มือถือ บาท จำนวนเงินทต่ี ้องการ: 8,400 เดือนขา้ งหน้า ระยะเวลา: 12 คำนวณจำนวนเงินท่ีตอ้ งออมตอ่ เดอื น: ……น…า…ง…ก…จ…ะ…ต…้อง…อ…อ…มเ…งนิ…เ…ด…อื น…ล…ะ……………=……จำ…น…ว…นเ…งนิ…ท…ีต่ …อ้ …งก…า…ร…÷…ร…ะ…ย…ะเ…วล…า…(…เด…ือ…น…) ….… ……………………………………………………………=……8,…40…0…÷……12……………………………………………….… ……………………………………………………………=……70…0…บ…า…ท………………………………………………….… ……ด…ัง…น้นั……น…าง…ก……จะ…ต…อ้ …งอ…อ…ม…เง…ิน…เด…อื …น…ละ……70…0…บ…า…ท…เ…ป…็นร…ะ…ย…ะเ…วล…า…1…2…เ…ด…ือน…………………….… ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 2 การวางแผนการเงิน
62 แผนการออม: 450 บาท 1. ลดคา่ กาแฟจากทกุ วันเหลอื วันเว้นวนั (กาแฟแกว้ ละ 30 บาท 200 บาท ลด 15 วนั ) ได้เงนิ 2. ลดคา่ หวยจากงวดละ 300 บาท เหลืองวดละ 200 บาท 60 บาท 710 บาท (ลดงวดละ 100 บาท จำนวน 2 งวดตอ่ เดอื น) ไดเ้ งิน 3. หารายได้เพมิ่ โดยรบั จา้ งปกั ผ้าผืนละ 15 บาท จำนวน 4 ผืน ไดเ้ งนิ ไดเ้ งนิ ออมรวมต่อเดอื นเท่ากบั กจิ กรรมท้ายเรอ่ื งที่ 3 การต้ังเป้าหมายและจดั ทำแผนการเงิน (ให้ผ้เู รียนไปทำกจิ กรรมเรอื่ งที่ 3 ที่สมดุ บันทึกกจิ กรรมการเรียนรู้) ชุดวิชาการเงินเพอื่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน
63 เรอื่ งท่ี 4 การออม การออมเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี แต่มักจะละเลยที่จะทำ เพราะต้องใช้ เวลานานกว่าจะเห็นผล บางคนก็มองว่าการออมเป็นเรื่องของเด็ก แต่แท้จริงแล้วการออมเป็น จุดเริม่ ตน้ ของความมั่นคงทางการเงนิ และเป็นเหมอื นวีรบุรษุ ทีช่ ว่ ยเหลอื เราเมื่อมีปญั หาการเงนิ ความหมายของการออม การออมเป็นการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งในปัจจุบันไปเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคต ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การเก็บสะสมด้วยตนเอง เช่น หยอดกระปุกออมสิน เก็บสะสมไว้ที่บ้าน ไปจนถึงการนำไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบที่มีความ เสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นต่ำ และได้รับผลตอบแทนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการลงทุน เช่น การ ฝากในบญั ชเี งินฝากออมทรพั ย์ บัญชีเงนิ ฝากประจำ การซอ้ื สลากออมทรัพย์ ประโยชน์ของการออม การออมอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้ออมมีเงินก้อนสะสมเก็บไว้ ซึ่งมีประโยชน์ หลายประการ เชน่ 1. ช่วยแบ่งเบาภาระเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยไม่ต้องก่อหนี้หรือขอ ความช่วยเหลอื จากบุคคลอ่ืน เพราะเราสามารถนำเงนิ ออมออกมาใช้กอ่ นได้ จึงเปน็ การช่วยลด ความเสีย่ งที่จะมปี ัญหาการเงนิ ด้วย 2. ช่วยทำให้ความฝันเป็นความจริง เงินออมที่มีอาจนำไปเป็นเงินทุนเพ่ือ ทำกิจการของตนเอง เรียนเพิ่มทักษะหรือวุฒิการศึกษา เป็นเงินดาวน์บ้าน ดาวน์รถ หรือเพื่อ ครอบครัว เชน่ จัดงานแตง่ งาน ส่งลกู เรียนสูง ๆ พาครอบครวั ไปเทีย่ ว 3. ช่วยสร้างโอกาสให้มีรายได้มากขึ้น เช่น นำเงินออมไปซื้อหุ้น พันธบัตร กองทนุ รวม หรอื นำไปลงทนุ ซ้ือหอ้ งแถวใหเ้ ชา่ ซง่ึ ทำใหม้ โี อกาสท่ีเงินท่มี อี ยู่จะงอกเงยมากข้ึน ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
64 เป้าหมายการออม การออมไมต่ ่างจากการทำเรื่องอื่นท่ีจะตอ้ งมีเป้าหมายทช่ี ดั เจน นอกจากจะเป็น ประโยชน์ในการจัดทำแผนการเงินแล้ว ยังเป็นแรงผลักดันให้ออมได้สำเร็จ ไม่นำเงินไปใช้จ่าย ในเร่อื งอืน่ เป้าหมายการออมสามารถตั้งได้หลายอย่าง และอาจมีหลาย ๆ เป้าหมายใน เวลาเดียวกัน ซง่ึ เป้าหมายการออมท่ีสำคญั มีดังน้ี 1. เงินออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เป็นเงินที่ออมไว้ใช้จ่ายหากเกิดเรื่อง ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือรายได้ลดกะทันหัน ซึ่งควรมีเงินออมก้อนนี้อย่างน้อย 3-6 เทา่ ของรายจา่ ยจำเป็นและภาระผอ่ นหน้ตี อ่ เดือน เงนิ ออมเผอ่ื ฉกุ เฉนิ = รายจา่ ยจำเปน็ และภาระผ่อนหนี้ต่อเดอื น x 3 สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินและมีภาระไม่มาก เช่น ยังไม่มี ครอบครัว อาจเริ่มตั้งเป้าหมายที่ 3 เท่าก่อน เพื่อเป็นกำลังใจในการออม แล้วค่อย ๆ ออมเพิ่ม ไปให้ถึง 6 เท่า และหากมีเหตุให้ต้องนำเงินก้อนนี้ออกไปใช้ ก็อย่าลืมเก็บเงินใหม่เพื่อชดเชย ส่วนท่ีขาดไปให้มีเงินออมเท่าเดมิ โดยเรว็ 2. เงินออมเพื่อใชจ้ ่ายในยามชรา เปน็ เงนิ ท่ีออมไว้ใช้จ่ายในยามทไ่ี ม่มีรายได้แล้ว ซึ่งหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายในยามชรานั้นค่อนข้างสูง จึงต้อง ออมเงนิ ไวเ้ พ่ือใชจ้ า่ ยในยามชราตง้ั แตต่ อนที่ยังมรี ายรบั อยู่ ขน้ั ตอนการวางแผนการเงินเพอื่ ใช้จ่ายในยามชรา 1) ประมาณการอายุที่คาดว่าจะไม่มีรายได้แล้ว เช่น จะเกษียณตอนอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี 2) ประมาณการจำนวนปีท่ีคาดว่าจะมีชีวิตหลงั จากที่ไม่มีรายไดแ้ ล้ว ซึ่ง คนไทยส่วนมากจะมีอายุยืนถงึ 80 - 90 ปี เชน่ คาดว่าจะมอี ายุถึง 80 ปี จำนวนปที ่ีคาดว่าจะมี ชีวิตหลงั จากไม่มรี ายได้แลว้ กจ็ ะเท่ากับ 20 ปี 3) ประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ต่อเดือนหลังจากที่ไม่มีรายได้แล้ว เช่น คาดวา่ จะใชเ้ ดือนละ 10,000 บาท แต่ตอ้ งไมล่ มื วา่ อาจมคี า่ รักษาพยาบาลเพ่ิมในยามชราดว้ ย ชดุ วชิ าการเงนิ เพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
65 4) คำนวณจำนวนเงนิ ที่ตอ้ งใช้หลังจากทีไ่ ม่มีรายได้แล้ว โดยนำคา่ ใชจ้ ่าย ที่ต้องใช้ต่อเดือนหลังจากที่ไม่มีรายได้แล้วคูณด้วย 12 เพื่อคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องใช้ต่อปี หลังจากนั้นนำตวั เลขท่ีได้ไปคูณกับจำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวติ หลังจากที่ไม่มีรายได้แล้ว ก็จะได้ จำนวนเงินที่ตอ้ งใช้ในยามชรา เงินทคี่ วรมี = คา่ ใช้จ่ายตอ่ เดือนในยามชรา x 12 เดือน x จำนวนปที ีค่ าดว่าจะมชี วี ิตหลังจากทีไ่ ม่มีรายได้ ตัวอย่างแผนการออมเพื่อใช้จ่ายในยามชรา นาง ก อายุ 35 ปี คาดว่าจะเลิกขายของใน ตลาดตอนอายุ 55 ปี และคาดว่าจะมอี ายถุ ึง 85 ปี ซงึ่ ปัจจุบันเธอมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 5,000 บาท และคาดว่าเมื่อไม่มีรายได้แล้ว เธอจะลดราคาใช้จ่ายเหลือเดือนละ 4,000 บาท นาง ก ควรมี เงินออมเท่าไรเพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่หาเงินไม่ได้แล้ว และจะต้อง ออมเดอื นละเท่าไร นาง ก แผนการออมเพ่ือใชจ้ ่ายในยามชราของ................................ จดั ทำ ณ วนั ท่.ี ..1...ม...ก..ร..า..ค..ม....2..5..X...X..... เปา้ หมายการเงนิ : ออมเงินเพ่อื ใช้จ่ายในยามชรา ปี อายุในปจั จุบนั 35 ปี อายุท่ีคาดวา่ จะไม่มรี ายไดแ้ ลว้ : 55 ปี อายุท่ีคาดวา่ จะมีชีวิตถงึ : 85 จำนวนเงนิ ที่คาดวา่ จะใช้ หลงั จากทไี่ มม่ รี ายไดแ้ ลว้ : บาทต่อเดือน 4,000 ชุดวิชาการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
66 คำนวณจำนวนเงนิ ทตี่ อ้ งใชห้ ลงั จากทีไ่ มม่ ีรายได:้ …เ…งนิ …ท…ีต่ …อ้ …งใ…ช…้หล…งั …จ…าก…ท…่ีไม…ม่…รี …าย…ไ…ด…้ …………………………………………………………………………….… ………………………………………=…จ…ำ…น…วน…เ…งิน…ท…ี่ค…า…ดว…่า…จ…ะใ…ช…้ x…1…2…x…จ…ำ…น…วน…ป…ที …ค่ี …าด…ว…า่ …จะ…ม…ชี …ีวิต….… ………………………………………=…4…,…00…0…x…1…2…x…3…0…………………………………………………………….… ………………………………………=…1…,4…4…0…,0…0…0 …บ…าท……………………………………………………………….… …ด…ังน…ั้น…น…า…ง…ก…จ…ะ…ต…อ้ ง…ม…ีเง…นิ …1…,4…4…0,…0…00……บา…ท…เพ…อ่ื…ใ…ช้จ…่า…ย…ใน…ย…าม…ช…ร…า………………………………….… คำนวณจำนวนเงนิ ทต่ี ้องออมต่อเดอื น: …ระ…ย…ะ…เว…ล…าใ…น…กา…ร…อ…อม…เ…งนิ ……=…(อ…า…ย…ทุ คี่…า…ด…วา่…จ…ะ…ไม…ม่ …รี า…ย…ได…้แ…ล…ว้ …–…อ…า…ยปุ…ัจ…จ…ุบ…ัน…) x……12…เ…ด…ือ…น….… ……………………………………=……(5…5…–…3…5…) …x …12……=…2…40……เด…อื …น…………………………………………….… …จ…ำน…ว…น…เง…นิ …ท…ี่ต้อ…ง…อ…อม…ต…อ่ …เด…อื …น…=……จำ…น…ว…นเ…งนิ…ท…่ตี …้อ…งก…า…ร…÷…ร…ะ…ย…ะเ…วล…า…(…เด…ือ…น…) ………………….… ……………………………………………=……1,…4…40…,0…0…0…÷…2…4…0…=…6…,0…0…0……………………………………….… …ด…ังน…นั้……น…าง…ก…จ…ะ…ต…้อ…งอ…อ…ม…เง…ิน…เด…อื …นล…ะ…6…,…00…0…บ…า…ท…เพ…อื่ …ใช…้จ…า่ …ยใ…น…ย…าม…ช…รา………………………….… แต่หาก นาง ก เริ่มออมเพื่อใช้จ่ายในยามชราตั้งแต่อายุ 25 ปี หมายความว่า นาง ก มีเวลาออมเงิน 30 ปี หรือ 360 เดือน นาง ก จะต้องออมเงนิ เดอื นละเท่าไรเพ่ือให้มีเงนิ ใช้ในยามชราตามที่คาดการณไ์ ว้ นาง ก จะตอ้ งออมเดือนละ = 1,440,000 ÷ 360 = 4,000 บาท หาก นาง ก เร่มิ ออมตอนอายุ 35 ปี เธอจะตอ้ งออมเงินถึงเดือนละ 6,000 บาท แต่หาก นาง ก เริ่มออมตั้งแต่อายุ 25 ปี จำนวนเงินที่ควรออมก็จะลดลงเหลือเพียงเดือนละ 4,000 บาท จะเห็นได้ว่า หากเริ่มออมเร็วขึ้น จำนวนเงินที่ควรออมต่อครั้งก็จะลดลง ซึ่งทำให้ สามารถออมเงนิ ได้ง่ายขน้ึ และไมส่ รา้ งความกดดันให้ผู้ออมจนเกินไป ข้อควรคำนึงในการวางแผนเพื่อใชจ้ า่ ยในยามชรา 1) ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ไม่ใช่มีเพียงแต่ค่าอาหาร หรือข้าวของ เคร่ืองใชเ้ ท่านน้ั จะต้องวางแผนถึงค่ารกั ษาพยาบาลทอี่ าจเพมิ่ สงู ขนึ้ ในช่วงวยั ชรา ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
67 2) ภาระหนี้ หากยังมีหนี้เหลืออยู่เมื่อไม่มีรายได้แล้ว จะต้องวางแผน สำหรับการจ่ายหนี้ส่วนนั้น และหากเป็นภาระหนี้ที่สำคัญ เช่น บ้าน ก็ยิ่งต้องวางแผนให้ รอบคอบ เพราะหากไม่จา่ ย ก็อาจไมม่ ีบา้ นอยูใ่ นยามชราได้ 3) ที่อยู่อาศัย บางคนอาจอาศัยอยู่กับลูกหลานหรืออยู่คนเดียว แต่หาก ต้องอยู่บ้านพักคนชราหรือที่พักเอกชนสำหรับผู้สูงวัย ก็ต้องวางแผนเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะอาจมี ค่าทพ่ี กั และคา่ อำนวยความสะดวกอ่ืน ๆ 4) ความช่วยเหลือจากลูกหลาน หลายคนอาจมีลูกหลานดูแล แต่ก็มี หลายคนที่ยังต้องคอยช่วยเหลือลูกหลานด้านการเงินอีกด้วย หรือบางคนก็อยากมีมรดกให้ ลูกหลาน จึงตอ้ งวางแผนการเงินไว้ใชจ้ ่ายในช่วงน้ันใหด้ ี 5) แหล่งเงินช่วยเหลือต่าง ๆ สำรวจดูว่ามีสวัสดิการใด ๆ ที่ช่วยแบ่งเบา ภาระค่าใช้จา่ ยได้บา้ ง เช่น บำเหนจ็ บำนาญ หรอื เบย้ี ยงั ชีพ 6) ปจั จัยทส่ี ่งผลกระทบต่อเงนิ ออม เชน่ เงินเฟ้อทอี่ าจทำให้มลู ค่าของเงิน ออมลดลง สนิ คา้ และบรกิ ารต่าง ๆ ที่แพงขึ้น หรือกลโกงของมิจฉาชีพทอ่ี าจมาหลอกเพ่อื เอาเงินไป 3. เงินออมเพื่อคา่ ใชจ้ ่ายจำเปน็ ทีเ่ ปน็ ก้อนใหญ่ การวางแผนล่วงหนา้ จะทำให้ ทราบจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายและวางแผนออมเงินได้ทันเวลา เช่น ค่าเทอมลูก ค่าดาวน์บ้าน ค่าซ่อมบ้าน ซึ่งการวางแผนออมแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เรามีเวลาพอสมควรที่จะทยอยออมและ ทำใหย้ อดออมตอ่ ครงั้ (เชน่ ต่อเดอื น) ไม่สงู เกนิ กำลัง ทำใหอ้ อมเงินได้ง่ายขึ้น ไม่รู้สกึ กดดนั หรือ เครียดจนเกินไป และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายนั้นก็จะไม่เป็นภาระและไม่ต้อง ก้เู งินมาจา่ ย ตวั อย่าง นาง ก ต้องจ่ายค่าเทอมของลกู จำนวน 6,000 บาทในอกี 6 เดอื นข้างหน้า นาง ก ก็ควรออมเงินเดอื นละ = จำนวนเงินทีต่ ้องการใช้ ÷ ระยะเวลา = 6,000 ÷ 6 = 1,000 บาท ดังนั้น นาง ก ควรออมเงินเดือนละ 1,000 บาทเพื่อให้มีเงินจ่ายค่าเทอมลูก จำนวน 6,000 บาทในอกี 6 เดือนขา้ งหนา้ ชดุ วิชาการเงินเพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
68 เปรียบเทียบกับกรณีที่นาง ก มีเวลาเหลือเพียงแค่ 2 เดือน นาง ก จะต้องออม มากถงึ 3,000 บาทตอ่ เดือน 4. เงินออมเพื่อการลงทุน เป็นการออมเงินเพื่อนำไปลงทุนให้เงินงอกเงย ทัง้ การทำกจิ การสว่ นตัว เช่น เปิดรา้ นขายของ รา้ นซกั รีด อู่ซอ่ มรถ และการลงทุนในผลิตภัณฑ์ ทางการเงินท่ีหลากหลายตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง แต่ก่อนจะเลือกผลิตภัณฑ์ ทางการเงินใด ควรศึกษาหาข้อมูล พิจารณาให้รอบคอบ เพือ่ ทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน โดยเลือกให้เหมาะสมกับความเสี่ยงทรี่ ับได้ และเป้าหมายทางการเงนิ ท่ตี ้งั ไว้ 5. เงนิ ออมเพ่อื ของทีอ่ ยากได้ เปน็ การออมเพ่ือนำเงนิ ไปใช้จา่ ยในสงิ่ ที่ต้องการ เช่น ทอ่ งเท่ยี ว ซือ้ เคร่อื งเสยี ง เครือ่ งประดบั สวย ๆ ซงึ่ สว่ นมากมกั เป็นรายจ่ายไม่จำเป็น ดังนั้น ถ้าอยากไดจ้ ริง ๆ ก็ตอ้ งตงั้ เปา้ หมายการออมเพ่ือซ้อื ของเหล่าน้แี ละลงมอื เก็บเงินจนกว่าจะครบ แลว้ คอ่ ยซ้ือ ซึ่งดีกวา่ การก้ยู ืมมาซอื้ เพราะมักเป็นส่ิงทีไ่ ม่สร้างรายไดแ้ ตส่ ร้างภาระหนี้สนิ ใหแ้ ก่เรา 6. เงินออมเพื่อปลดหน้ี เป็นการออมเพื่อนำเงินที่ได้ไปจ่ายหนี้เพิ่ม เพื่อลด จำนวนเงนิ ตน้ และดอกเบี้ย และทำให้จ่ายหนหี้ มดได้เรว็ ข้นึ หลกั การออมใหส้ ำเร็จ การออมสามารถทำได้หลายวิธี ผู้ออมอาจเลือกใช้วิธีการออมที่ตนเองถนัดและ เหมาะสมกบั รายรบั -รายจ่ายของตนเอง สำหรบั หลกั การออมให้สำเรจ็ มีดังนี้ 1. ออมก่อนใช้ เมื่อได้รบั เงินมา ควรแบง่ เงินไปออมไวท้ ันที เพราะหากใช้ก่อน ออม สุดท้ายอาจไม่เหลือเงินทจ่ี ะนำมาออมตามทตี่ ้งั ใจไว้ 2. มีวินัยในการออม คือ ออมอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เทคนิคการออมท่ี สนกุ สนาน ทำไดง้ ่าย เพ่อื สรา้ งแรงจูงใจในการออมให้ได้ตามท่ตี ัง้ ใจไว้ เช่น ▪ หยอดกระปกุ ก่อนออกจากบา้ นวันละ 10 บาท ▪ ผกู การออมกับพฤติกรรมท่ชี อบทำ เชน่ เล่นเกมชวั่ โมงละ 10 บาท ▪ ไดแ้ บงก์ 50 มาเมื่อไร กเ็ กบ็ ไว้ไปหยอดกระปุก ไมน่ ำมาใช้ ▪ ไมช่ อบพกเหรยี ญเพราะมนั หนกั พอได้เหรยี ญทอนมากห็ ยอดกระปกุ ใหห้ มด ชุดวิชาการเงินเพื่อชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2 การวางแผนการเงิน
69 ▪ ซื้อของไม่จำเป็นไปเท่าไร ก็ให้นำเงินมาออมเท่านั้น เช่น ถ้าซื้อของ ไม่จำเป็น 1,000 บาท กต็ อ้ งออมเงินใหไ้ ด้ 1,000 บาท ▪ ตั้งคำสั่งหักเงินอัตโนมัติจากบัญชเี งินเดอื นไปฝากเขา้ บญั ชีเงนิ ออม 3. แบ่งเงินเป็นส่วน ๆ ตามเป้าหมายที่ต้องการใช้ เช่น เงินออมเผื่อฉุกเฉิน เงินออมเพื่อใช้จ่ายในยามชรา เงินออมเพื่อซ้ือของที่อยากได้ และใช้เงินตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ ไมป่ ะปนกนั ทงั้ นี้ ควรเปิดบัญชีสำหรับออมเงนิ โดยเฉพาะ เพ่ือแยกเงินท่ีต้องการออมและ เงินสำหรบั ใชจ้ า่ ยออกจากกนั และอาจเพม่ิ ความยากในการถอนเงนิ เชน่ ไม่ทำบัตรเดบิต หรือ ฝากเงินไว้ในบัญชีที่จำกัดจำนวนครั้งในการถอน (ถ้าถอนเกินจำนวนครั้งที่กำหนดจะถูกปรับ) ยกเวน้ บญั ชีเงนิ ออมเผือ่ ฉุกเฉินที่จะต้องถอนงา่ ย ดอกเบยี้ ทบต้น หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ออมก่อน รวยก่อน” ความร่ำรวยดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอานุภาพของดอกเบี้ยทบต้น (compound interest rate) ซึ่งพูดให้ เข้าใจง่ายก็คือดอกเบ้ียของดอกเบ้ียน่ันเอง ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
70 สมมติว่า เรานำเงิน 100,000 บาท ไปฝากธนาคาร และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคาร เท่ากบั 4% ต่อปีทกุ ๆ ปี เมือ่ ครบ 1 ปี เงินของเราจะเพิ่มข้ึนเปน็ 104,000 บาท (เงนิ ตน้ 100,000 บาท บวกดอกเบี้ย 4,000 บาท) เงิน 104,000 บาทนี้ จะกลายเป็นเงินต้นของปีที่ 2 และเมื่อครบ 2 ปี เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 108,160 บาท (เงินต้น 104,000 บาท บวก ดอกเบี้ย 4,160 บาท) และในปถี ัด ๆ ไปดอกเบี้ยของปีนั้นจะถูกทบเขา้ กบั เงินตน้ และกลายเปน็ เงินต้นของปีถดั ไป เปน็ เชน่ นี้ไปเรือ่ ย ๆ จะเหน็ ไดว้ ่า ส่วนทีเ่ ปน็ ดอกเบ้ียไม่ไดค้ งทที่ ่ี 4,000 บาท แต่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นเพราะเงินต้นของเราก็เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีเช่นกัน เนื่องจากได้เอาดอกเบี้ย ของปกี ่อนมารวมเข้าเป็นเงนิ ต้นด้วยแล้ว นค่ี อื เหตผุ ลท่คี วรเรมิ่ ออมตง้ั แตว่ ันน้ี กจิ กรรมท้ายเร่ืองที่ 4 การออม (ใหผ้ เู้ รยี นไปทำกิจกรรมเรอ่ื งท่ี 4 ทีส่ มุดบนั ทกึ กจิ กรรมการเรยี นรู้) ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
71 เรอื่ งที่ 5 การฝากเงนิ และการประกันภยั การฝากเงนิ เมื่อมีรายได้ เช่น ได้เงินเดือน ได้เงินจากลูกค้า สิ่งแรกที่ควรทำ คือ แบ่งเงิน บางส่วนไปเก็บออมเพอื่ วัตถปุ ระสงค์ตา่ ง ๆ เชน่ ไวใ้ ชย้ ามฉกุ เฉนิ เปน็ ค่าใช้จ่ายหลงั เกษียณหรือ เลิกทำงาน การมองหาแหลง่ เก็บรกั ษาเงนิ หรือทำให้เงินงอกเงยจึงเป็นเร่ืองจำเปน็ ท่นี ิยมกันคือ การฝากเงนิ ไว้กับธนาคาร ซง่ึ นอกจากมคี วามปลอดภัยกว่าการเก็บเงินสดไว้กับตัวหรอื ไวท้ ่ีบ้านแล้ว การฝากเงินไวก้ ับธนาคารยังทำให้ได้รบั ผลตอบแทนในรปู ของดอกเบี้ยเงนิ ฝากดว้ ย อย่างไรก็ดี การจะได้รับดอกเบี้ยมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเป็นบัญชีเงินฝาก ประเภทใด มีเงอื่ นไขอย่างไร เราจึงจำเปน็ ตอ้ งรูจ้ ักบัญชีเงินฝากแตล่ ะประเภท เพ่ือเลือกบัญชีท่ี เหมาะสมและตรงกับความต้องการของเรามากท่สี ดุ 1. บญั ชีเงนิ ฝากออมทรัพย์ ลกั ษณะ • สามารถฝากหรอื ถอนเงินเมื่อไรกไ็ ด้ • กำหนดจำนวนเงนิ ฝากขั้นต่ำไว้ไมส่ ูงนกั เช่น 100 - 1,000 บาท • จา่ ยดอกเบี้ยใหป้ ลี ะ 2 คร้ัง ในเดือนมถิ ุนายนและธนั วาคมของทกุ ปี ชดุ วิชาการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
72 ประโยชน์ • ถ้าดอกเบี้ยรับไม่เกิน 20,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี 15% ของดอกเบ้ีย ท่ีได้รบั (รวมรบั จากทุกสถาบันการเงินใน 1 ป)ี ถา้ เกิน 20,000 บาท ธนาคารจะหักภาษี ณ ท่ีจ่าย ไวเ้ ลยจากบญั ชีเงินฝาก • มีบริการบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต สำหรับใช้ถอนหรือโอนเงินที่เครื่อง เอทีเอ็มได้สะดวก (บัตรเดบิตยังสามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วย) แต่หากต้องการ เปิดบัญชเี พียงอย่างเดียวกส็ ามารถทำไดโ้ ดยไมจ่ ำเป็นต้องทำบตั รใด ๆ ขอ้ จำกดั • อัตราดอกเบยี้ ค่อนขา้ งต่ำ • มีค่าธรรมเนียมกรณีบัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหวและมียอดเงินฝาก คงเหลือน้อยกวา่ ท่ีกำหนด • กรณีทำบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตมักจะต้องเสียค่าทำบัตรและ ค่าธรรมเนียมรายปี บัญชนี ี้เหมาะกบั ใคร: • ผู้ที่ใชบ้ ริการรับโอนเงนิ เดือนหรอื ค่าจ้าง หรือค่าสนิ คา้ • ผทู้ ่ีเบกิ ถอนบอ่ ยครั้ง หรอื ใช้บริการหกั บัญชีเพอ่ื ชำระคา่ ใช้จ่ายรายเดือน เชน่ คา่ น้ำ คา่ ไฟ ค่าบัตรเครดติ และคา่ ใช้จ่ายอ่นื ๆ • ผู้ที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เนื่องจากถอนได้สะดวก (ถอนได้ หลายช่องทางและถอนเม่ือไรก็ได)้ นอกจากนี้ บางธนาคารมีบญั ชีเงินฝากออมทรัพยพ์ ิเศษ ซ่ึงให้อัตราดอกเบ้ีย ท่ีสงู กว่าบญั ชเี งินฝากออมทรัพย์ แต่จะมเี ง่อื นไขทเ่ี พ่ิมขึน้ ดว้ ย เชน่ เงนิ ฝากขัน้ ต่ำ 10,000 บาท ถอนได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน หากถอนตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไปในเดือนนั้นจะถูกคิด ค่าธรรมเนียมครั้งละ 500 บาท ซึ่งบัญชีในลักษณะน้ีเหมาะกับการออมเงินมากกว่าที่จะใช้เป็น บัญชเี พอื่ ชำระค่าใช้จา่ ย ชดุ วิชาการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน
73 คำแนะนำ 1. ควรทำรายการฝาก ถอน หรือโอน อย่างนอ้ ยปีละ 1 ครง้ั เพ่ือหลีกเลี่ยง การถูกคิดค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีกรณีบัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหว และมียอดเงินฝากคงเหลือ น้อยกว่าทกี่ ำหนด 2. ปรับสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูว่ามีเงินคงเหลือในบัญชีเพียงพอ สำหรับการหักบัญชีหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดหรือไม่ เช่น ค่าใช้จ่ายที่จะถูกตัดออกจากบัญชี ยอดเงนิ ข้ันต่ำที่ธนาคารกำหนด เพ่ือไมใ่ ห้พลาดการชำระเงินหรือมีเงินไม่พอท่ีจะชำระซึ่งอาจทำให้ ต้องเสยี คา่ ใช้จ่ายเพมิ่ เตมิ 3. หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตควรแจ้งยกเลิก บัตร หรือแจ้งเจ้าหน้าทีว่ า่ ไม่ตอ้ งการทำบตั ร จะช่วยประหยดั ค่าธรรมเนยี มท่ีไมจ่ ำเป็นได้ ชดุ วิชาการเงินเพือ่ ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
74 ตัวอย่างการคำนวณดอกเบีย้ เงนิ ฝากออมทรัพย์ สำรวยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ธนาคารมุ่งมั่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 58 จำนวน 10,000 บาท ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตรา 3% ต่อปี โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในวันที่ 30 มิ.ย. และ 31 ธ.ค. ของทุกปี หากสำรวยฝากเงนิ ไวท้ ้ังปี โดยไม่ถอนเงนิ ออกหรือฝากเงินเพ่ิม และไม่ได้ถอนดอกเบี้ยออกมาใช้ในระหว่างปี หากครบ 1 ปี สำรวยจะมีเงินฝากในบัญชีรวม ดอกเบย้ี เป็นเงินเทา่ ไร วิธกี ารคำนวณ 1. ระยะเวลาในการคำนวณจำนวนวันในการฝากเงิน จะคำนวณถึงวันก่อนวันท่ี จ่ายดอกเบย้ี ดงั นี้ จ่ายดอกเบี้ย 30 มิ.ย. 58 จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 58 ถึง 29 มิ.ย. 58 = 180 วนั จ่ายดอกเบี้ย 31 ธ.ค. 58 จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 58 ถึง 30 ธ.ค. 58 = 184 วัน (สำหรับดอกเบี้ยของวันที่ 31 ธ.ค. 2558 จะถูกนำไปคำนวณจำนวนวันรวมกับการ คิดดอกเบี้ยครั้งต่อไป) 2. อัตราดอกเบี้ย 3% ในที่นี้ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไมต่ อ้ งเสียภาษี ณ ทจ่ี ่าย 15% จึงสามารถนำมาคำนวณในสูตรได้ 3. เงินฝากออมทรัพย์นใี้ หด้ อกเบ้ียทบตน้ ดังนั้น ตอ้ งนำเงินตน้ บวกดอกเบี้ยก่อน จากน้นั จึงนำผลทไี่ ดไ้ ปเป็นฐานคำนวณดอกเบี้ยสำหรบั งวดถัดไป ชดุ วิชาการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
75 คำตอบ ณ 31 ธ.ค. 58 สำรวยจะมีเงนิ ต้นบวกดอกเบี้ยท้งั สน้ิ เทา่ กับ 10,301 บาท โดยประมาณ ตวั อย่างการคำนวณเงินรวมทจี่ ะได้จากดอกเบยี้ ทบต้นอยา่ งง่าย พอใจฝากเงิน 10,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี เท่ากนั ทุกปี โดยจา่ ยดอกเบ้ียใหป้ ลี ะคร้ัง หากพอใจไม่มีการฝากเพ่ิมระหวา่ งปี และไม่ถอน เงนิ ตน้ หรอื ดอกเบย้ี ออกมาใช้ จะสามารถคำนวณเงินรวมเมือ่ ครบ 3 ปีตามสตู รไดด้ งั น้ี สตู รคำนวณเงินรวมท่ีจะไดจ้ ากดอกเบี้ยทบตน้ อยา่ งงา่ ย ดงั นั้น เมือ่ ฝากครบ 3 ปี พอใจจะมเี งนิ รวมท้ังสนิ้ 10,927 บาทโดยประมาณ 2. บญั ชเี งนิ ฝากประจำ มีหลายรูปแบบ เช่น 2.1 บัญชีเงนิ ฝากประจำท่ัวไป ลกั ษณะ • มรี ะยะเวลาการฝากหลายแบบ เช่น 3 เดือน 6 เดอื น 12 เดอื น • สว่ นใหญ่จะกำหนดจำนวนเงินฝากขัน้ ต่ำไว้ประมาณ 1,000 บาท • การจ่ายดอกเบี้ย แล้วแต่เงื่อนไขธนาคาร เช่น บัญชี 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน จ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด บัญชี 24 เดือน และ 36 เดือน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน โดยอาจจะนำดอกเบ้ียท่ีได้มาฝากเขา้ บญั ชีเงินฝากประจำ (ทบต้น) หรืออาจจะโอน ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน
76 ดอกเบี้ยเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน ซึ่งธนาคารจะแจ้งให้ทราบ ต้งั แตต่ อนเปดิ บญั ชี • กรณีถอนก่อนครบกำหนด อาจไม่ได้รับดอกเบี้ย หรือได้รับใน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ เช่น ธนาคารอาจกำหนดว่าหากเลือกฝากประจำ 6 เดือน แต่ฝากยังไม่ถึง 3 เดือนแล้วต้องการถอนออกมาจะไม่ได้รับดอกเบี้ย หรือถอนหลัง 3 เดือนไปแล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนด 6 เดือน จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ พร้อมท้ัง ถกู หักภาษี ณ ทจ่ี า่ ย นอกจากนี้ บางธนาคารมีรูปแบบการฝากประจำแบบพิเศษ เช่น ให้เลือกระยะเวลาการฝากได้ตามที่สะดวก กำหนดระยะการฝากเป็นจำนวนวัน (เช่น 99 วัน) หรือจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากตั้งแต่วันแรกที่ผู้ฝากเปิดบัญชี โดยอาจมีเงื่อนไขที่กำหนดจำนวนเงิน ฝากที่คอ่ นขา้ งสูง เช่น 100,000 บาทขนึ้ ไป บัญชีน้เี หมาะกบั ใคร • ผทู้ ตี่ ้องการเก็บออมเพ่อื เพมิ่ รายได้จากดอกเบี้ย • ผู้ที่มีเงินก้อนและไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เงินที่ออมไว้ในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ชดุ วชิ าการเงนิ เพื่อชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 2 การวางแผนการเงิน
77 ตวั อยา่ งการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากประจำ รงุ่ โรจน์เลือกเปดิ บญั ชเี งินฝากประจำ 3 เดอื น จำนวน 10,000 บาท ไดร้ บั อัตรา ดอกเบี้ย 3% ต่อปีแบบทบต้น โดยเริ่มต้นฝากวันที่ 1 ม.ค. 58 และเมื่อครบกำหนด 3 เดือน นายรุ่งโรจน์ก็ยงั คงฝากอยา่ งตอ่ เนอื่ งไปเร่ือย ๆ โดยไม่มีการถอนเงินตน้ และดอกเบยี้ ให้คำนวณ ว่าเมื่อครบกำหนดทุก 3 เดือนในช่วงเวลา 1 ปี รุ่งโรจน์จะได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเงิน เทา่ ไร วธิ ีการคำนวณ 1. ระยะเวลาในการคำนวณจำนวนวันในการฝากเงนิ จะคำนวณถึงวนั กอ่ นวนั ที่ จา่ ยดอกเบ้ียดังนี้ จา่ ยดอกเบี้ย 1 เม.ย. 58 จะเรมิ่ นบั ตง้ั แต่วันที่ 1 ม.ค. 58 ถงึ 31 มี.ค. 58 รวม 90 วนั จา่ ยดอกเบย้ี 1 ก.ค. 58 จะเร่ิมนับตัง้ แตว่ นั ที่ 1 เม.ย. 58 ถงึ 30 ม.ิ ย. 58 รวม 91 วนั จ่ายดอกเบีย้ 1 ต.ค. 58 จะเรม่ิ นับตงั้ แต่วนั ท่ี 1 ก.ค. 58 ถึง 30 ก.ย. 58 รวม 92 วัน จา่ ยดอกเบยี้ 1 ม.ค. 59 จะเร่ิมนบั ตั้งแต่วนั ท่ี 1 ต.ค. 58 ถึง 31 ธ.ค. 58 รวม 92 วัน ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงนิ
78 2. ดอกเบี้ยทีไ่ ดร้ ับจะถูกหักภาษี ณ ท่ีจา่ ย 15% ดงั นนั้ อตั ราดอกเบีย้ ทร่ี งุ่ โรจน์ จะไดร้ ับหลงั หักภาษี ณ ท่ีจ่าย เท่ากับ 2.55% (3 x (1 – 15%)) 3. เงินฝากประจำนี้ธนาคารให้ดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น ต้องนำเงินต้นบวก ดอกเบย้ี ก่อน จากน้ันจึงนำผลท่ไี ด้ไปเปน็ ฐานคำนวณดอกเบย้ี สำหรบั งวดถดั ไป คำตอบ รุง่ โรจนจ์ ะไดร้ บั เงินต้นและดอกเบยี้ เป็นเงิน 10,257 บาทโดยประมาณ 2.2 บญั ชเี งนิ ฝากประจำแบบปลอดภาษี ลักษณะ • เป็นบัญชเี งนิ ฝากประจำท่ไี ดร้ บั ยกเว้นภาษี แตเ่ ปดิ ได้เพยี งบัญชีเดยี ว • ตามเกณฑก์ รมสรรพากรไม่ไดม้ กี ารกำหนดจำนวนเงินฝากข้ันต่ำไว้ แต่มเี พดานฝากสูงสดุ อยูท่ ี่ 25,000 บาทต่อเดือน และเมอ่ื รวมจำนวนเงินท่ีฝากทกุ เดือนแลว้ ต้อง ไม่เกิน 600,000 บาท ซง่ึ ต้องฝากต่อเนื่องในจำนวนท่ีเทา่ กนั ทุก ๆ เดอื น เดอื นละ 1 คร้ัง เปน็ เวลาไม่น้อยกว่า 24 เดอื น • หากเงินฝากครบกำหนด บางธนาคารจะโอนเงินต้นและดอกเบี้ย เข้าบัญชอี อมทรัพยห์ รอื บัญชีกระแสรายวันตามทีล่ ูกค้าแจง้ ความประสงคไ์ วต้ อนเปิดบัญชี หรือ ชุดวิชาการเงินเพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 2 การวางแผนการเงิน
79 บางกรณีหากลูกคา้ ไม่ได้ถอนเงินออก ธนาคารก็อาจเปลี่ยนประเภทเป็นบัญชีเงินฝากประจำให้ อัตโนมตั โิ ดยมเี งอื่ นไขการฝากเงนิ และอัตราดอกเบยี้ ตามประกาศของธนาคารทีใ่ ชอ้ ยใู่ นขณะนั้น • ในระหว่างระยะเวลาการฝาก ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และยังคง ตอ้ งฝากให้ครบตามวงเงินทก่ี ำหนด • กรณีถอนก่อนครบกำหนด ส่วนใหญ่มักกำหนดว่าหากฝากไม่ถึง 3 เดอื น จะไม่ได้รับดอกเบีย้ หากถอนหลงั จาก 3 เดอื นไปแลว้ จะได้รับในอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ออมทรัพย์ พรอ้ มทง้ั ถกู หกั ภาษี ณ ที่จา่ ย • จ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการฝาก โดยทั่วไปจะโอน ดอกเบีย้ ไปยังบญั ชเี งนิ ฝากออมทรพั ย์หรือกระแสรายวัน ประโยชน์ • ไดร้ ับอตั ราดอกเบีย้ เงินฝากสูงกว่าบญั ชเี งนิ ฝากออมทรพั ย์ • ไดฝ้ กึ วินัยการออม (ตอ้ งนำเงินไปฝากทุกเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน) • ดอกเบย้ี ที่ไดร้ บั ไม่ตอ้ งเสยี ภาษี ข้อจำกัด มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการถอน เช่น หากมีการถอนก่อน ระยะเวลาทก่ี ำหนดไว้อาจไม่ได้รับดอกเบี้ย และไมไ่ ดร้ ับสทิ ธิยกเวน้ การหกั ภาษี ณ ที่จา่ ย 15% บญั ชนี เ้ี หมาะกบั ใคร • ผู้ที่ตอ้ งการสรา้ งวินัยการออม และเพม่ิ รายไดจ้ ากดอกเบี้ย • ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เงินที่ออมไว้ในช่วงระยะเวลาหน่ึง (อยา่ งนอ้ ย 2 ปี) ชดุ วิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 2 การวางแผนการเงิน
80 คำแนะนำ ผู้สนใจจะฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำทั้ง 2 ประเภทนี้ ควรศึกษา เงอ่ื นไขการฝากและถอนเงินให้เข้าใจ และต้องม่นั ใจวา่ ยังไมม่ คี วามจำเปน็ ต้องใช้เงินในระหว่าง ที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร เพื่อป้องกันปัญหาการไม่ปฏิบัติตามเงือ่ นไขและทำให้ไม่ได้รับดอกเบยี้ ตามที่กำหนด 3. บญั ชีเงนิ ฝากแบบข้นั บันได ลกั ษณะ • จำนวนเงินฝากขั้นต่ำ ส่วนใหญ่มักจะสูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำทั่วไป เช่น ไม่น้อยกวา่ 5,000 บาท • กำหนดการจา่ ยดอกเบ้ียขน้ึ อยกู่ ับเงือ่ นไขของธนาคาร เช่น จ่ายดอกเบี้ย ทุกเดือน โดยจะโอนดอกเบี้ยเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากออมทรพั ย์หรือกระแสรายวัน ซึ่งธนาคาร จะแจง้ ใหท้ ราบตงั้ แตต่ อนเปดิ บญั ชี ชดุ วิชาการเงินเพอื่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
81 • มักจงู ใจผ้ฝู ากด้วยการโฆษณาวา่ ให้อัตราดอกเบ้ียสงู มาก แตใ่ นความจริง แล้วมักเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ (ส่วนใหญ่จะสูงมากเฉพาะเดือนสุดท้าย) และในแต่ละช่วงเวลา การฝากดอกเบ้ียจะคอ่ ย ๆ เพ่ิมสูงขึน้ อาทิ เดือนที่ 1 - 5 อตั ราดอกเบ้ีย 1% เดือนท่ี 6 - 7 อัตราดอกเบี้ย 1.7% เดอื นที่ 8 - 9 อัตราดอกเบีย้ 1.9% เดือนท่ี 10 อัตราดอกเบี้ย 8% ดังนั้น ผู้สนใจฝากควรมองหาอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปีของทั้งโครงการ ที่ธนาคารต้องระบุไว้ในใบโฆษณา หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ธนาคารเพิ่มเติมเพื่อขอ รายละเอียดทีช่ ัดเจน • หากเงินฝากครบกำหนด แล้วไม่ได้ถอนเงินออก ธนาคารมักจะเปลี่ยน ประเภทเป็นบัญชีเงินฝากประจำให้อัตโนมัติโดยมีเงื่อนไขการฝากเงินและอัตราดอกเบี้ยตาม ประกาศของธนาคารที่ใช้อยู่ในขณะนั้น • ข้อกำหนดในเรื่องถอนก่อนครบกำหนดมีหลายรูปแบบ อาทิ อาจต้อง ปิดบัญชีเลย หรือต้องถอนทั้งจำนวนของแต่ละยอดการฝาก เช่น ฝากครั้งแรก 10,000 บาท ครั้งที่ 2 ฝาก 20,000 บาท หากต้องการถอนเงินที่ฝากไว้จะต้องถอนเงินที่ยอด 10,000 บาท หรอื 20,000 บาท เทา่ น้ัน ไม่สามารถถอนบางส่วนได้ • สำหรับเรื่องดอกเบี้ย ผู้ฝากที่ถอนก่อนครบกำหนดอาจได้ดอกเบี้ยตาม อัตราที่กำหนดไว้ในแต่ละช่วงระยะเวลาการฝาก หรืออาจไม่ได้ดอกเบี้ย หรือได้รับอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรพั ย์ ขึ้นอยู่กับเงือ่ นไขทธี่ นาคารกำหนด ข้อจำกดั • ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ แต่ส่วนใหญ่มักอยู่ ในรปู แบบของบญั ชีเงนิ ฝากประจำจึงจะถกู หกั ภาษี ณ ทีจ่ า่ ย 15% ของดอกเบย้ี ท่ีไดร้ บั • มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการถอน เช่น กรณีการถอนก่อนครบกำหนด (อย่างทีก่ ลา่ วไปแลว้ ) ชุดวชิ าการเงินเพอื่ ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงิน
82 บญั ชนี ี้เหมาะกบั ใคร • ผทู้ ี่ตอ้ งการเก็บออมเพื่อเพิ่มรายไดจ้ ากดอกเบี้ย • ผู้ที่มีเงนิ ก้อนและไม่มีความจำเปน็ ท่จี ะใชเ้ งินในชว่ งระยะเวลาหนึง่ ตัวอย่างการคำนวณดอกเบีย้ เงินฝากแบบขน้ั บนั ได เย็นใจฝากเงินในบัญชีเงินฝากแบบขั้นบันไดประเภทฝากประจำ 10,000 บาท เมื่อวันท่ี 1 ม.ค. 58 โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบ้ียทุกเดือนเข้าบัญชีเงนิ ฝากออมทรพั ย์ (ดอกเบ้ีย ไม่นำไปทบกับเงนิ ต้น) ซ่ึงธนาคารให้อตั ราดอกเบ้ียแบบข้นั บันไดระยะเวลา 5 เดือนดงั น้ี เดอื นที่ 1 – 2 อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี เดอื นท่ี 3 – 4 อตั ราดอกเบีย้ 2% ตอ่ ปี เดือนท่ี 5 อัตราดอกเบ้ีย 4% ต่อปี ท้งั นี้ ดอกเบี้ยรับจะถูกหกั ภาษี ณ ทจี่ ่าย 15% ให้คำนวณดอกเบ้ยี เงนิ ฝากที่เย็นใจจะได้รับ ชุดวชิ าการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
83 วธิ ีการคำนวณ 1. ระยะเวลาในการคำนวณจำนวนวันในการฝากเงิน จะคำนวณถึงวันก่อนวันที่ จา่ ยดอกเบย้ี ดงั นี้ จ่ายดอกเบี้ย 1 ก.พ. 58 จะเร่ิมนบั ตง้ั แตว่ ันที่ 1 ม.ค. 58 ถึง 31 ม.ค. 58 รวม 31 วัน จ่ายดอกเบย้ี 1 มี.ค. 58 จะเร่มิ นบั ต้งั แตว่ นั ที่ 1 ก.พ. 58 ถงึ 28 ก.พ. 58 รวม 28 วัน จา่ ยดอกเบย้ี 1 เม.ย. 58 จะเริ่มนบั ตั้งแตว่ ันที่ 1 ม.ี ค. 58 ถงึ 31 มี.ค. 58 รวม 31 วัน จ่ายดอกเบย้ี 1 พ.ค. 58 จะเริม่ นับตง้ั แตว่ ันท่ี 1 เม.ย. 58 ถึง 30 เม.ย. 58 รวม 30 วัน จา่ ยดอกเบีย้ 1 มิ.ย. 58 จะเรม่ิ นับตง้ั แตว่ นั ที่ 1 พ.ค. 58 ถงึ 31 พ.ค. 58 รวม 31 วนั 2. ดอกเบี้ยท่ไี ดร้ ับจะถกู หักภาษี ณ ที่จา่ ย 15% ดังนัน้ อตั ราดอกเบ้ียที่จะได้รับ ตอ้ งนำมาหักภาษี ณ ทจ่ี ่ายก่อน อัตราดอกเบีย้ ก่อนหักภาษี ณ ทจี่ า่ ย อัตราดอกเบี้ยหลงั หกั ภาษี ณ ที่จ่าย เดอื นที่ 1 – 2 อัตราดอกเบย้ี 1% ต่อปี (1 x (1 – 15%)) = 0.85% เดอื นท่ี 3 – 4 อตั ราดอกเบี้ย 2% ต่อปี (2 x (1 – 15%)) = 1.70% เดือนที่ 5 อตั ราดอกเบ้ีย 4% ต่อปี (4 x (1 – 15%)) = 3.40% ชุดวชิ าการเงินเพื่อชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
84 คำตอบ เย็นใจจะได้รับดอกเบี้ยเป็นเงินทั้งสิ้น 71 บาท ซึ่งเมื่อคำนวณอัตรา ดอกเบ้ยี ท่ีแท้จรงิ ที่เยน็ ใจไดร้ บั จะเทา่ กับ ขอ้ แนะนำการเลอื กประเภทบัญชเี งินฝาก เมื่อได้ประเภทบัญชีที่ต้องการแล้ว ให้หาข้อมูลบัญชีประเภทเดียวกันจาก ธนาคารหลาย ๆ แห่งเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของธนาคาร แต่ละแห่ง หรือแผ่นพับหรือโฆษณาที่ธนาคารเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม ควรดูประกาศอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารประกอบด้วย เนื่องจากจะมีการระบุรายละเอียดและเงื่อนไขใน การจา่ ยดอกเบ้ยี ต่าง ๆ ในข้อกำหนด โดยข้อมูลทีค่ วรนำมาเปรียบเทียบมดี งั น้ี 1. อัตราดอกเบี้ย ไม่ควรดูเฉพาะในใบโฆษณา แต่ควรดูจากประกาศอัตรา ดอกเบ้ียในเวบ็ ไซต์ของธนาคารที่เราสนใจจะนำเงินไปฝากด้วย เพื่อใหไ้ ด้ขอ้ มลู ท่ีครบถ้วน 2. ระยะเวลาการฝาก ตอ้ งม่นั ใจว่าสามารถฝากไดต้ ามระยะเวลาตามที่กำหนด 3. เงื่อนไขการใช้บริการ หากเป็นเงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง ก็มักจะ กำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำไว้สูงเช่นกัน และต้องอ่านเงื่อนไขว่าเราสามารถทำได้หรือรับได้ หรือไม่ เช่น ต้องซื้อประกนั สะสมทรัพย์ด้วย ถอนได้เพียง 2 ครั้งต่อเดือน หากถอนตั้งแต่คร้งั ท่ี 3 เป็นตน้ ไป จะเสยี ค่าธรรมเนียมการถอนครง้ั ละ 500 บาทหรอื การเรียกเกบ็ คา่ ธรรมเนยี ม เชน่ กรณบี ญั ชเี งินฝากไม่เคลื่อนไหวหรอื มียอดเงินในบัญชตี ่ำกว่าที่กำหนดจะถกู เรียกเก็บค่าธรรมเนียม รักษาบัญชี 4. วิธีการจ่ายดอกเบี้ย กรณีบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ธนาคารจะนำดอกเบี้ยเข้า บัญชีเงินฝากไปสมทบกับเงินต้นให้ แต่หากเป็นบัญชีเงินฝากประจำบางประเภท ธนาคาร อาจจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีออมทรัพย์หรือบญั ชีกระแสรายวันตามที่ไดแ้ จ้งให้ลูกค้าทราบตอน เปิดบัญชี ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ยจะมีทั้งจ่ายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการฝาก หรือจ่ายดอกเบี้ย ทกุ 3 เดือน ชุดวิชาการเงนิ เพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
85 5. เงื่อนไขเกี่ยวกับภาษี หาข้อมูลว่าดอกเบี้ยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หรือไม่ เพราะหากถกู หักภาษี อัตราดอกเบย้ี ท่ีจะไดร้ ับก็จะนอ้ ยกวา่ ที่ธนาคารประกาศไว้ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาในการเปรียบเทียบเงินฝาก คือ ความสะดวกในการใช้บริการ เช่น สาขา บริการ mobile banking ช่องทางการรับโอนเงิน บรกิ ารตดั บัญชีอัตโนมตั ิ โปรแกรมเปรยี บเทยี บผลติ ภัณฑเ์ งนิ ฝาก นอกจากการหาข้อมูลผลิตภัณฑ์เงินฝากจากเว็บไซต์ หรือแผ่นพับ หรือโฆษณาท่ี ธนาคารแต่ละแห่งเผยแพร่แล้ว เรายังสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เงินฝากของธนาคารแต่ละ แห่งได้ในที่เดียว ที่เว็บไซต์ ศคง.1213 ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการสำหรับลูกค้า รายย่อย โดยจะพบหัวข้อ “เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์” ซึ่งประกอบด้วย เงินฝาก บัตรเดบิต บัตร เครดติ และสินเชื่อ ให้กดทรี่ ูปเงนิ ฝาก เพ่อื เข้าไปเลือกดูผลติ ภัณฑ์เงินฝากของแต่ละแห่งได้ตามท่ี ต้องการ อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเพียงผู้รวบรวมข้อมูลและประมวลผลเพ่ือ แสดงข้อมูล หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ขอให้ติดต่อผู้ให้บริการของ ผลติ ภัณฑน์ ั้น ๆ แหลง่ ศกึ ษาข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ ศคง. https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/Pages การเปรียบเทียบ /productdisclosure.aspx ผลิตภณั ฑ์ การคุ้มครองเงินฝาก เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนทีฝ่ ากเงินไวก้ บั สถาบนั การเงิน ซึ่งเปน็ ระบบสากลที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้มากกว่า 100 ประเทศ โดยการกำหนดวงเงินที่รับรองว่า ผ้ฝู ากจะได้รบั คืนเป็นจำนวนทีแ่ น่นอนภายในระยะเวลาท่ีกำหนดโดยเรว็ หากสถาบันการเงิน ถกู ปิดกิจการ สำหรบั เงินฝากสว่ นท่เี กินวงเงินดงั กล่าว ผฝู้ ากมโี อกาสได้รับเพิ่มเติมหลังจากการ ขายสนิ ทรพั ย์และชำระบญั ชีสถาบนั การเงินนัน้ แลว้ ชดุ วชิ าการเงินเพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
86 การคุ้มครองเงนิ ฝากในประเทศไทย ในอดตี หากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ ผูฝ้ ากเงินจะต้องไปดำเนินการฟ้องร้อง เพ่อื ให้ได้รับเงนิ ฝากคนื เอง ซง่ึ ไม่มคี วามแนน่ อนว่าจะได้รับเงินคืนหรือไม่ จะได้รับเงินคืนเม่ือใด และจำนวนเทา่ ใด ดังน้นั ภาครฐั จึงไดจ้ ัดให้มรี ะบบค้มุ ครองเงินฝากข้ึน เพอ่ื ชว่ ยเหลือประชาชน ผู้ฝากเงินให้ได้รับเงินฝากคืนภายในเวลาที่รวดเร็วหากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ ซึ่งการมี ระบบคุ้มครองเงินฝากจะไม่ก่อให้เกิดภาระกับภาครัฐ เนื่องจากมีการเรียกเก็บเงินนำส่งจาก สถาบันการเงินตา่ ง ๆ สะสมไว้ใชใ้ นการจ่ายคืนเงนิ ใหแ้ ก่ประชาชนผูฝ้ ากเงิน ซึ่งดำเนินการโดย สถาบันค้มุ ครองเงนิ ฝาก (Deposit Protection Agency: DPA) สถาบนั คุม้ ครองเงนิ ฝาก เป็นหนว่ ยงานของรฐั จัดตงั้ ขน้ึ เมื่อวันท่ี 11 สิงหาคม 2551 เพื่อค้มุ ครองประชาชนผูฝ้ ากเงิน โดยมหี น้าท่ีหลัก คอื 1. คุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงิน โดยจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากโดยเร็ว เมือ่ สถาบันการเงินปิดกจิ การ 2. เก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครอง เพื่อสะสมไว้เป็น กองทุนคุ้มครองเงินฝาก สำหรับใช้ในการจ่ายคืนเงินให้แกผ่ ู้ฝากเงินตามวงเงินและระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนด หากสถาบนั การเงินใดถูกปดิ 3. ชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิด และนำเงินที่ได้รับจากการชำระบัญชี จ่ายคืนใหแ้ กผ่ ้ฝู ากในกรณที ่มี ีเงินฝากเกินวงเงนิ ทีก่ ำหนด คุ้มครองอะไรบา้ ง เงินบาทที่ฝากไว้กับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง (ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แต่ไม่ครอบคลุมถึงเงินที่ฝากไว้กับสถาบันการเงิน เฉพาะกจิ ของรัฐซ่ึงไดร้ ับการดูแลโดยเงอื่ นไขของรัฐบาล ท้ังนี้ สถาบนั การเงินท้ังหมดอยู่ภายใต้ การกำกับดแู ลของกระทรวงการคลัง และธนาคารแหง่ ประเทศไทย ซง่ึ จะกำกบั ดูแลความม่ันคง อย่างใกล้ชิด และจะป้องกนั หรอื แก้ไขปญั หาท่ีอาจเกดิ ขึ้นมใิ หต้ อ้ งปดิ กจิ การโดยง่าย ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ
87 เงินฝากทไี่ ดร้ บั ความค้มุ ครอง ตัวอยา่ งเงินฝากที่ไม่ไดร้ บั การคุม้ ครอง (เปน็ เงนิ สกุลบาทและเปน็ บญั ชเี งนิ ฝาก ภายในประเทศ) เงนิ ฝากกระแสรายวัน เงินฝากสกลุ เงนิ ต่างประเทศ เงนิ ฝากออมทรพั ย์ เงนิ ฝากทีม่ ีอนุพนั ธแ์ ฝง เงนิ ฝากประจำ เงินฝากระหว่างสถาบนั การเงิน บัตรเงินฝาก เงนิ ฝากในบัญชเี งนิ บาทของผู้มีถิ่นท่อี ยู่นอกประเทศ ใบรับฝากเงิน เงนิ ฝากในสหกรณ์ แคชเชียร์เชค็ เงินอิเล็กทรอนกิ ส์ (e-Money) เงินลงทนุ ในตราสารต่าง ๆ เชน่ สลากออมทรพั ย์ ต๋ัวแลกเงิน พันธบตั รรัฐบาล ห้นุ กู้ กองทุนรวม (เป็น ผลติ ภัณฑ์อ่นื ท่มี ิใช่เงนิ ฝากจงึ ไม่ได้รับการคุ้มครอง) จำนวนเงนิ ทไี่ ดร้ ับการคุ้มครอง จำนวนเงินฝากรวมดอกเบี้ยทีจ่ ะได้รับการคุ้มครองตามเกณฑท์ ก่ี ฎหมายกำหนด โดยจะคุ้มครอง 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี) ปัจจุบันวงเงินคุ้มครอง เงินฝากอยู่ที่ 1 ล้านบาท สำหรับเงินฝากส่วนที่เกินความคุ้มครอง มีโอกาสจะได้รับคืนเพิม่ เติม หลงั จากการชำระบญั ชสี ถาบันการเงินทีป่ ิดกจิ การเสรจ็ สนิ้ ทั้งนี้ วงเงินคุ้มครองข้างต้นอาจมีการปรับเปลี่ยนในอนาคต โดยสามารถ สอบถามรายละเอยี ดเพิ่มเติมไดท้ ี่สถาบันค้มุ ครองเงนิ ฝาก โทร. 1158 แหลง่ ศึกษาขอ้ มูลเพิม่ เตมิ เว็บไซตส์ ถาบันคุ้มครองเงินฝาก www.dpa.or.th ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน
88 สลากออมทรพั ย์ เป็นทางเลือกการออมอย่างหนึ่งของผู้ที่ชอบลุ้นรางวัล แม้จะให้ผลตอบแทน ไม่สูงนัก (หากไม่ถูกรางวัล) แต่จะได้เงินต้นคืนเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด ซึ่งแตกต่างจากการ ซื้อหวย หรือสลากกินแบ่งรัฐบาล สถาบันการเงินที่ออกสลากในปัจจุบันเป็นสถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ สลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สลากออมทรัพย์ของ ธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสลากออมสินของธนาคารออมสนิ ลักษณะของสลากออมทรัพย์ คือ ขายเป็นจำนวนหน่วยและมีการกำหนดอายุที่ แน่นอน (เช่น อายุ 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี) และมักมีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนหากถือจน ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ออกสลากกำหนด ผู้ซื้อสลากสามารถลุ้นรางวัลได้ทุกงวดจนกว่าสลากจะ หมดอายุ แตก่ อ็ าจมีสลากบางรนุ่ ซ่งึ หากถอนก่อนครบกำหนดอาจได้คนื เงนิ ตน้ น้อยกว่าที่จ่ายไป หรอื มีบรกิ ารพิเศษท่สี ามารถใชส้ ลากคำ้ ประกันการกูเ้ งินได้ด้วย ทั้งนี้ เมื่อซื้อสลาก สถาบันการเงินที่ออกสลากมักแนะนำให้เปิดบัญชีเงินฝาก ออมทรพั ย์คกู่ ันเพอื่ เปน็ บญั ชีเงนิ ฝากสำหรบั การรับเงินหากถูกรางวลั ข้อจำกัด 1. เงินที่นำมาซื้อสลากออมทรัพย์ควรจะเป็นเงินที่ไม่ต้องการใช้ตลอดอายุของ สลาก เพราะหากถอนสลากกอ่ นกำหนด อาจได้รบั เงนิ คนื นอ้ ยกว่าจำนวนที่ซ้อื 2. ควรศึกษาเงื่อนไขใหล้ ะเอียดก่อนซ้อื 3. เม่อื ไดส้ ลากมาควรตรวจสอบความถกู ตอ้ งทกุ คร้งั เช่น ช่อื นามสกุล จำนวน หน่วย จำนวนเงินท่ีซื้อ 4. ควรเกบ็ รกั ษาสลากใหด้ ี หากทำหายตอ้ งไปแจง้ ความ และติดต่อขอทำสลาก ใหม่ซง่ึ จะมคี า่ ธรรมเนียมในการออกสลากใหมด่ ว้ ย 5. ควรพิจารณาและเปรียบเทียบผลตอบแทนของสลากแต่ละประเภท หรือ แต่ละรนุ่ กอ่ นตัดสินใจซ้ือ ชดุ วิชาการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ
89 การประกนั ภยั ความหมายของความเสยี่ งภยั ความเส่ียงภัย คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผล ที่จะเกิดข้ึนมคี วามเปน็ ไปได้ทีจ่ ะเบีย่ งเบนไปจากผลท่ีคาดหวงั ไว้ และไม่สามารถทราบล่วงหนา้ ถึงขนาดของความสูญเสียหรือความเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่สถานะการเงิน สภาวะทางอารมณ์ หรือทัง้ 2 อย่างแกผ่ ้ปู ระสบภัย วิธีการจดั การความเส่ียงภยั 1. หลีกเลย่ี งความเสยี่ ง คอื การหลีกเลีย่ งเหตุการณ์หรือสาเหตทุ ่อี าจก่อให้เกิด ความเสียหาย 2. ลดหรือควบคุมความเสี่ยง คือ การควบคุมหรือป้องกัน เพื่อลดโอกาสที่จะ เกดิ ความเส่ียง 3. รับความเสี่ยงไว้เอง คือ การยอมรับผลกระทบท่ีอาจจะเกดิ ข้ึนจากภัยไวเ้ อง ทัง้ หมดหรือบางส่วน 4. โอนความเสี่ยง คือ การลดโอกาสที่จะเกิด ลดผลกระทบ โดยการหาผู้ร่วม รับผดิ ชอบความเส่ยี ง ความหมายและประโยชนข์ องการประกนั ภยั การทำประกันภัยเป็นการจัดการความเสี่ยงภัยวิธีหนึง่ ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัย ของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจาก เหตุการณ์ไม่คาดฝัน บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองใน กรมธรรม์ประกนั ภยั ให้แก่ผู้เอาประกนั ภัย โดยทีผ่ ู้เอาประกันภัยจะตอ้ งเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่ บริษัทประกันภยั ตามท่ีไดต้ กลงกนั ไว้ การประกันภัยจะช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยและ ครอบครัว กล่าวคือ หากเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อสิ่งที่เอาประกันจะไม่ส่งผล กระทบต่อฐานะการเงนิ ของผเู้ อาประกนั นอกจากนี้ การทำประกันภัยยังชว่ ยใหผ้ ูเ้ อาประกันภัย คลายความกังวลกับสิ่งที่เหนือการควบคุมหรือคาดเดาได้ยากว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ชุดวชิ าการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน
90 เช่น การทำประกันชีวิต โดยหากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตขึ้นมาในขณะที่ยังมีภาระดูแล ครอบครัว ผู้ทอ่ี ยขู่ า้ งหลงั จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับประโยชน์ตามทผี่ ู้เอาประกันภัยได้ ตกลงไว้กับบรษิ ทั ประกนั ภยั หลักการพิจารณาความจำเป็นในการทำประกนั ภัย ไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องทำประกันภัยเสมอไป หากตัวเราเองสามารถรับความ เสี่ยงหรือมีแผนการรองรับที่ดีก็ไม่จำเป็นต้องทำประกันภัย โดยมีหลักในการพิจารณาว่า จำเปน็ ต้องทำประกันภยั หรือไมด่ ังนี้ 1. ภาระรับผิดชอบที่มี หากเราเป็นเสาหลักทางการเงินของครอบครัว เช่น เป็นคนดูแลค่าใช้จ่ายของทุกคนในบ้าน หรือมีภาระหนี้ที่ต้องรับผิดชอบ ถ้าเกิดปัญหากับเรา จนไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ เช่น เจ็บป่วยหนัก เกิดอุบัติเหตุรุนแรงหรือเสียชีวิต จะสร้าง ภาระให้แก่คนที่อยู่เบื้องหลังมากน้อยแค่ไหน เรามีแผนการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแล้ว หรือไม่ ถ้าเรามีเงินเก็บมากพอ มีทรัพย์สินที่ปลอดภาระแล้ว เช่น เราซื้อด้วยเงินสดหรือผ่อน หมดแล้วการเสียชีวิตของเราไม่ทำให้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังเดือดร้อน ประกันภัยก็อาจไม่จำเป็น สำหรบั เรา 2. โอกาสความเป็นไปได้ทีจ่ ะเกิดความเสี่ยงหรอื ประกอบอาชีพท่ีมคี วามเสีย่ ง เช่น ต้องอยู่ในเขตก่อสร้าง ผลิตสารเคมี หรือเดินทางบ่อย ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าผูท้ ่ีทำงาน ในออฟฟิศ ในกรณีน้ีกค็ วรทำประกันภัย บคุ คลท่ีเกยี่ วข้องในการประกันภัย มี 3 ฝ่าย คอื • ผู้รับประกนั ภัย คอื บรษิ ัททป่ี ระกอบธรุ กจิ ประกนั ภัย • ผู้เอาประกันภัย คือ บุคคลที่ต้องการจะทำประกันภัยและมีหน้าที่จ่าย เบย้ี ประกันภัยใหแ้ ก่ผู้รับประกนั ภัย • ผู้รับประโยชน์ คือ คนที่จะได้รับสินไหมทดแทนตามที่ผู้เอาประกันภยั ระบุไว้ โดยผูเ้ อาประกนั ภยั กบั ผูร้ บั ประโยชน์อาจเปน็ คนคนเดียวกันได้ ชดุ วชิ าการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279