ประวัติและความเป็นมาของ มโนราห์ ศิ ลปะการแสดงของทางภาคใต้
คำนำ หนังสือฉบับนี้เป็นส่วนหนึ ่งของวิชา ว21246 การนำ เสนอสื่อผสม จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของมโนราห์อย่างถูกต้อง เพื่อให้คนรุ่นใหม่ อนุรักษ์และสานต่อศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ ของภาคใต้ไม่ให้สูญหายและยังคงอยู่สืบไป ผู้จัดทำ ด.ญ.กานต์พิชชา อานนท์
สารบัญ •ประวัติของมโนราห์ •ความเชื่อเกี่ยวกับมโนราห์ •ท่ารำที่ใช้ประกอบการรำมโนราห์ •เครื่องแต่งกายของมโนราห์ •เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง มโนราห์
1 ประวัติของมโนราห์ \"มโนราห์\"คือ ศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ โดยคำเรียก\"มโนห์ รา\"เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการนำเอาเรื่อง ‘พระสุธน-มโนราห์’ มาแสดงเป็นละครชาตรี ส่วนประวัติความ เป็นมาของจุดกำเนิดของโนรานั้น นักโบราณคดีไทย ได้คาดการณ์ กันว่า การร่ายรำประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาศิลปะการแสดง ประเทศอินเดียโบราณ เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัย เสียอีก โดยมา จากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับประเทศไทย โดย วิเคราะห์จากเครื่องดนตรี เรียกว่า ‘เบญจสังคีต’ อันประกอบด้วย โหม่ง , ฉิ่ง , ทับ , กลอง ,ปี่ และใน รวมทั้งท่าร่ายรำอันมีความ ละม้ายคล้ายคลึงกับ ท่าร่ายรำของ อินเดีย เชื่อกันว่ามโนราห์ เกิด ขึ้นครั้งแรก ณ หัวเมืองพัทลุง ก่อนที่จะเริ่มคืบคลายแผ่ขยายไป ยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จวบไปจนถึงภาคกลาง และกลายเป็น ละครชาตรีในที่สุด
เรื่องเล่า ตำนานเกี่ยวกับมโนราห์ 2 พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองพัทลุง มีลูกสาว 1 คน ชื่อ นางนวลทองสำลี นางชื่นชอบการร่ายรำเป็นชีวิตจิตใจ จนในคืนหนึ่ง นาง ฝัน ว่า มีเทพ เทวดามาร่ายรำให้ดู การร่ายรำนั้นรำทั้งหมด 12 ท่า เป็นท่า รำที่สวยงาม มีเครื่องประโคมดนตรี คือ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และ แตร การประโคมดนตรีลงกับท่ารำเป็นจังหวะ และนางก็ยังจำท่าเหล่านั้นได้ เป็นอย่างดี อยู่มาวันหนึ่งนางเกิดอยากเสวยเกสรดอกบัวในสระหน้า พระราชวัง เมื่อนางได้เสวยเกสรดอกบัวจนหมด หลังจากนั้นนางก็ได้ตั้ง ท้องโดยที่มีรู้ว่าชายใดเป็นพ่อของลูกในท้องนาง เรื่องรู้ถึงหู พระยาสายฟ้า ฟาด จึงทำให้พระยาสายฟ้าฟาดโกรธหนักมากถึงกับคิดที่จะฆ่านางนวล ทองสำลีแต่ทำไม่ได้เพราะนางเป็นลูก จึงสั่งลอยแพนางนวลทองสำลีลมได้ พัดแพไปติดที่เกาะกะชัง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของเกาะใหญ่ใน ทะเลสาบสงขลาในปัจจุบัน นางนวลทองสำลีได้อาศัยอยู่ในเกาะศรีกระชัง จนคลอดบุตรและได้ตั้งชื่อบุตรว่า\"เทพสิงขร\"
นางนวลทองสำลีได้สอนให้พระโอรสร่ายรำในท่าเดียวกันกับเทพ 3 เทวดาที่เคยมาเข้าฝัน เทพสิงขรฝึกการร่ายรำจนเติบโตและมีผู้กล่าว ถึงกันมากมาย ว่ามีท่าร่ายรำที่สวยสดงดงามกว่าใครในแผ่นดิน จน กระทั่งทราบไปถึงพระกันฑ์ของพระยาสายฟ้าฟาด จึงได้ส่งคนมารับไป รำให้ดูในพระราชวัง และเมื่อได้เห็นร่ายรำที่สวยสดงดงาม หน้าตาที่มี ความคล้ายกับพระธิดานวลทองสำลี ทำให้พระยาสายฟ้าฟาดรู้ทันที่ว่า เทพสิงขรเป็นพระโอรสของนางนวลทองสำลีที่ถูกลอยแพไปในหลายปี ก่อน พระยาสายฟ้าฟาดจึงได้ถอดมงกุฎจากพระเศียร ทรงพระราชทาน เทริดให้เทพสิงขรและแต่งตั้งให้เป็น “มโนราห์” ในวังหลวง ทรง พระราชทานชื่อใหม่เป็น “พ่อขุนศรีศรัทธา” ท่านจึงเป็นองค์ประถม โนรา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
4 ความเชื่อเกี่ยวกับมโนราห์ โนราโรงครู หมายถึง โนราที่แสดงเพื่อประกอบพิธีเชิญ ครูหรือบรรพบุรุษโนรามายังโรงพิธีเพื่อรับ การเซ่นสังเวย เพื่อรับของ แก้บน และเพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ ด้วยเหตุที่ ต้องทำการ เชื้อเชิญครูมาเข้าทรงหรือมา \"ลง\" ยังโรงพิธี จึงเรียกพิธีกรรมนี้ อีกชื่อหนึ่งว่า \"โนราลงครู\"โนราโรงครู จึงเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ มีบทบาทต่อวิถีชีวิต และสังคมของชาวบ้านภาคใต้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโนรา และ ผู้มีเชื้อสายโนรา ส่วนชาวบ้านทั่วไปก็ได้อาศัย บนบานขอความช่วย เหลือในเรื่องต่างๆ หรือจะมาขอรับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างจากครู หมอโนรา เมื่อได้รับผลสำเร็จตามความต้องการแล้ว จึงได้ทำพิธีโนราโรง ครู เพื่อการเซ่นไหว้แก้บนและประกอบพิธีกรรมอื่นๆ
ท่ารำที่ใช้ประกอบการรำ 5 มโนราห์ ท่ารำของโนราที่เป็นท่าแบบหรือท่าหลัก สืบได้ไม่ลงรอยกัน เพราะต่างครูต่างตำรากัน และเนื่องจากสมัยก่อนมีผู้ประดิษฐ์ท่าเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ ท่ารำของโนราที่ต่างสายตระกูลและต่างสมัยจึงผิด แปลกแตกต่างกัน แม้บางทีที่ชื่ออย่างเดียวกัน บางครูบางตำราก็ กำหนดท่ารำต่างกันไป ท่ารำที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรวบรวมไว้จากคำ ชี้แจงของนายจงภักดี (ขาว) ผู้เคยเล่นละครชาตรีอยู่ที่เมืองตรัง ใน บทพระราชนิพนธ์ตำนานละครอิเหนาว่ามี ๑๒ ท่าดังนี้
6 1.ท่าแม่ลาย หรือท่าแม่ลายกนก 2.ท่าราหูจับจันทร์ หรือท่าเขาควา 3.ท่ากินนร หรือกินนรรำ (ท่าขี้หนอน)
7 4.ท่าจับระบำ 5.ท่าลงฉาก 6.ท่าฉากน้อย
8 7.ท่าผาลา (ผาหลา) 8.ท่าบัวตูม 9.ท่าบัวบาน
9 10.ท่าบัวคลี่ 11.ท่าบัวแย้ม 12.ท่าแมงมุมชักใย
เครื่องแต่งกายของ 10 มโนราห์ เครื่องแต่งกายของโนราประกอบด้วยสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้ 1.เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนาย โรงหรือโนรา ใหญ่หรือตัวยืนเครื่องของ โนรา (โบราณไม่นิยมให้นางราใช้ ทําเป็น รูปมงกุฎยอดแหลมอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ ประดับตกแต่งด้วยกระจกให้เกิด ความสวยงาม
11 2.บ่า สำหรับสวมทับบนบ่าซ้าย-ขวา รวม ๒ ชิ้น 3.ปิ้ งคอ เป็นเครื่องลูกปัดที่มีการร้อยด้วย ลูกปัดเป็นชิ้น เล็ก ใช้สำหรับสวมเพื่อปิด ลําคอ หน้า-หลัง มีทั้งหมด 2 ชิ้น มีลักษณ คล้ายกรองคอ
12 4.พานอก เป็นเครื่องลูกปัดที่มีการร้อยด้วย ลูกปัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบ ตัวตรงระดับอก บางกินเรียกว่า \"พาน โครง\" บางถิ่นเรียกว่า\"รอบอก\" เป็นเครื่องลูกปัดที่มีลักษณะยาว 5.สร้อยคอ เป็นเครื่องลูกปัดที่มีการร้อยด้วย ลูกปัด เป็นลักษณะสร้อยคอยาวระดับ อก มีชิ้นเดียวใช้สวมบริเวณลําคอ
13 6.สังวาล เป็นเครื่องลูกปัดที่มีการร้อยด้วย ลูกปัด เป็นรูปในลักษณะยาวกว่าสร้อย คอ มี ๒ ชิ้น สวมทับกันเป็น สังวาล ชาย-ขวา นิยมใช้สาหรับโบราใหญ่ 7.ปิ้ งโพก เป็นเครื่องลูกปัดที่มีการร้อยด้วย ลูกปัดเป็น รูปในลักษณะสามเหลี่ยม มี ชั้นเดียว ใช้สําหรับสวมปิดสะโพก
14 8.หางหงส์ นิยมทําด้วยเขาควายหรือโลหะเป็น รูป คล้ายปีกนก ๑ คู่ มีทั้ง ชาย-ขวา ประกอบกัน ปลายปีกเปิดงอนขึ้น และ ผูกรวมกันไว้มีพู่ทําด้วยด้ายสีติดไว้ เหนือปลายปีก ใช้ลูกปัด ร้อยห้อย เป็นดอกดวงช าหรับสวมคาด ทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว 9.กำไล กําไลของโนรามักทําด้วยทองเหลือง ทําเป็น วงแหวน ใช้สวมมือและเท้าข้าง ละหลายๆ วง เช่นแขนแต่ละข้าง อาจ สวม ๔-๑๐ วงซ้อนกัน เพื่อเวลา ปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดัง เป็น จังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น
15 10.เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร/ กินรี นิยมทำเล็บด้วย ทองเหลืองหรือเงิน ต่อปลายด้วยให้ ยาวด้วย หวายที่มีลูกปัดร้อยสอดส ไว้พองาม นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว (ยกเว้น หัวแม่มือ) 11.กําไลต้นแขนปลายแขน กําไลต้นแขนกำไลปลายแขน ใช้เพื่อ ขนรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมง และ เพิ่มให้สง่าแลดูสวยงามยิ่งขึ้น นิยมทํามาจากแผ่นเงิน
16 12.ทับทรวง สําหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยมทำ ด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนม เปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจ ฝั่ งเพชรพลอยเป็นดอกลวง นิยม ใช้เฉพาะตัวโบราใหญ่ 13.ประจำยาม ประจํายาม ใช้สาหรับทาบติดกับสาย สังวาลด้านหลัง นิยมทำด้วยแผ่นเงิน เพื่อให้สังวาลไขว้กันอย่าง สวยงาม
17 14.ปั้ นเหน่ง ใช้สาหรับสวมร้ดบริเวณสะเอวเพื่อ ให้ปิด ร้ดบริเวณด้านบนของหน้าผ้า ลักษณะคล้ายเข็มขัดมักนิยมทำด้วย แผ่นเงินสลักลวดลายสวยงาม 15.ปีกนกแอ่น มักทําด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนก นางแอ่นกําลังกางปีก ใช้สาหรับโนรา ใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ร่วมรัด ติดกับ สังวาลอยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้าน ซ้ายและขวา
18 16.ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งกับ ชายแล้วรั้งไป เหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อย ปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหาง กระเบน เรียกปลายชายที่พับแล้ว ห้อยลงนี้ว่า \"หางหงส์ การนุ่งผ้า ของโนรา จะรั้งสูงและรัดรูปแน่น กว่านุ่งโจมกระเบน 17.ผ้าห้อย ผ้าห้อย คือ ผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อย คล้ายชาย แครงแต่อาจมีมากกว่า โดย ปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งผ้าบางสีสดแต่ละ ผืน จะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้าย และ ด้านขวาของหน้าผ้า
19 18.สนับเพลา คือสนับเพลา หรือกางเกง สาหรับ สวม แล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัด ร้อยทับหรือร้อยทาน ทําเป็นลวด ลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิง รักร้อย เป็นต้น 19.หน้าผ้า มีลักษณะเดียวกับชายไหว ทําด้วยผ้าแล้ว ร้อยลูกปัดทาบเป็นลวด ลายสวยงาม ที่ทําเป็นผ้า ๓ แถบ คล้าย ชายไหวล้อมด้วยช่ายแครง
20 เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ การรำมโนราห์ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำมโนราห์ ได้แก่ 1.กลอง กลองโนราจะมี เสียงแหลมหรือ เสียงจะทุ่ม กลอง โนรานิยมทำด้วยไม้ ขนุนเพราะเชื่อว่าทำให้เสียงที่ดี หนังที่ใช้หุ้มกลองใช้ หนังวัวหรือ หนังควายตัวกลองจะมีหมุดไม้หรือ ที่ภาษาภาคใต้เรียกว่า “คือ ลูกสัก ตอก ดูหนังที่หุ้มให้ตึงติดแน่น มีขาตั้ง ๒ ขา ทําด้วยไม้ไผ่มี เชือกตรง ให้ติดกับกลอง
21 2.ทับ ทับเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้มือดีมี ความสําคัญในการให้ จังหวะ ควบคุม การเปลี่ยนจังหวะและเสริมท่ารให้ดี นิยมทําด้วยไม้แก่น ขนุนเช่นเดียวกับ กลอง หนังที่นิยมใช้ เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงร้อยหนัง กันด้วย เชือกด้ายและหวายกับใบหนึ่งมี เสียงทุ้ม “ลูกเทิง” อีกใบจะ มีเสียง แหลม “ลูกลับ”
22 3.ปี่ ปี่ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสําคัญ ในการดำเนินทํานองใน การเสริมเสียง ดนตรีสะกดใจผู้ชมให้เกิดความรู้สึก เคลิบเคลิ้ม ปีของ โนราเป็นปี่ ยอดหรือ ปีกลาง ตัวปี่ ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ขาวลํา ไม้ หลุมพอ ไม้บางชนิด เช่น ไม้กระดาน ไม้มะม่วง ส่วนพวด ทําด้วยแผ่น ทอง แดงและลิ้นปี่ ทําด้วยใบตาล
23 4.ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ต่อการขับบทของโนรา มาก ฉะนั้นผู้ ที่ตีฉิ่งจะต้องพยายามให้ลงจังหวะที่ โนราขับบท โนรายคร่น เก่านิยมใช้ยิ่ง ขนาดใหญ่ส่วนในปัจจุบันนิยมใช้นิ่ง ขนาดเล็ก เป็นฉ่งทอง เหลือง ชนิดหนา
24 5.โหม่ง เป็นเครื่องดนตรีมีส่วนสําคัญใน การสร้างเสียงให้ เสนาะและให้จังหวะ เพราะโนราจะต้องร้องบทให้กลมกลืน ระหว่างเสียง ของโนรากับเสียงของ โหม่งลูกที่มีเสียงแหลม โหม่งของ โนรามีรูปร่าง และขนาดแบบเดียว กับม้องวง ทําด้วยทองเหลือง มีเสียงทุ้มและมีเสียง แหลม ไม้ตีโหม่งพันหุ้มด้วยด้ายดิบ
25 6.แตระหรือกรับ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ให้จังหวะ มี ๒ ประเภท คือ แตระพวง ทําจาก ไม้เนื้อแข็งนํามาเจาะรูหัวท้ายร้อย ด้วย เชือกชอบกันประมาณ ๑๐ อันที่แกน กลางแตระร้อยด้วยโลหะหรือ เหล็ก แตระคู่ ทําด้วยไม้ไผ่ที่แก่จัดตัด จากส่วนโคนและนํามาผ่า และ ตกแต่งให้มีขนาดพอเหมาะกับ มือจับขนาด
เอกสารอ้างอิง ค้นหา จากhttp://krunora.blogspot.com/p /blog-page_5844.html?m=1 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
ประวัติส่วนตัว ชื่อ:ด.ญ.กานต์พิชชา อานนท์ ชื่อเล่น:กุ๊งกิ๊ง วันเกิด:11 มกราคม 2551 สัญชาติ:ไทย บิดา:นายสุชาติ อานนท์ มารดา:นางจิราภรณ์ อานนท์ มีพี่ชาย1คน ชื่อ:นายณัฐวุฒิ อานนท์ ปัจจุบันอาศัยอยู่:บ้านเลขที่8/1 หมู่7 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ความสามารถพิเศษ:รำมโนราห์ ความใฝ่ฝัน:อยากเป็นครู งานอดิเรก:ฟังเพลง ดูซีรีย์ คติประจำใจ:จงเป็นตัวเองในแบบที่ดีที่สุด
ขอบคุณค่ะ������������
Search
Read the Text Version
- 1 - 31
Pages: