ฟุตบอล football
คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา พลศึกษา จัดทำเกี่ยว กับเรื่อง กีฬาฟุตบอล ปัจจุบันกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่แพร่หลาย และได้รับ ความสนใจเนื่องจากกีฬาฟุตบอลนั้นเล่นได้ง่ายเหมาะกับการสร้างความสามัคคี ซึ่งในรายงานฉบับนี้ประกอบด้วย ประวัติ กติกา อุปกรณ์ และรายละเอียด อื่นๆ เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลทั้งสิ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย จัดทำโดย สุธี สมจร
สารบัญ หน้า ประวัติกีฬาฟุตบอล 1 วิวัฒนาการของฟุตบอล 2 ประวัติกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย 3 ทักษะเบื้อวต้นการเล่นฟุตบอล 4 การทรงตัว 5 การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา 6 การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล 7 การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล กติกาฟุตบอล 10 กติกาข้อที่ 1 สนามเเข่งขัน 11 กติกาข้อที่ 2 ลูกบอล 11 กติกาข้อที่ 3 จำนวนผู้เล่น 12 กติกาข้อที่ 4 อุปกรณ์ของผู้เล่น 13 กติกาข้อที่ 5 ผู้ตัดสิน 14 กติกาข้อที่ 6 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 14 กติกาข้อที่ 7 ระยะเวลาการเเข่งขัน 15 กติกาข้อที่ 8 การเริ่มการเเข่งขันเเละการเริ่มเล่นใหม่ 16 กติกาข้อที่ 9 ลูกบอลอยู่ในการเล่นเเละนอกการเล่น 16 กติกาข้อที่ 10 การนับประตู 17 กติกาข้อที่ 11 การล้ำหน้า 18 กติกาข้อที่ 12 การเล่นที่ผิดกติกาเเละประพฤษผิด 19 กติกาข้อที่ 13 การเตะโทษ 20 กติกาข้อที่ 14 การเตะโทษ ณ จุดโทษ 20 กติกาข้อที่ 15 การทุ่ม 21 กติกาข้อที่ 16 การเตะจากประตู 21 กติกาข้อที่ 17 การเตะจากมุม 22 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล มารยาทของผู้เล่นฟุตบอลที่ดี มารยาทของผู้ชมที่ดี 23 การบำรุงรักษาอุปกรณ์
1 ประวัติกีฬาฟุตบอล ประวัติฟุตบอล (การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2562 : ออนไลน์) กีฬาฟุตบอล (Football) หรือ ซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขัน และเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริง นั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศ ของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียก ว่า “ซูเลอ”(Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะ การเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกัน ว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะ ขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้ จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศ อังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอล อาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
2 วิวัฒนาการของฟุตบอล ก่อนคริสตกาล – อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของ กรีก และโรมัน ยุคกลาง – ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 1857 – พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะ จะรบกวนการยิงธนู ปี พ.ศ. 2104 – Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาล ซิโอในเมืองฟลอเร้นท์ ปี พ.ศ. 2123 - Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ ปี พ.ศ. 2223 - ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้ชาร์ลที่ 2 ปี พ.ศ. 2391 - ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2406 - ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ปี พ.ศ. 2426 - สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการ ระหว่างชาติ ปี พ.ศ. 2429 - สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน ปี พ.ศ. 2431 - เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่ม อำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน ปี พ.ศ. 2432 - สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ ปี พ.ศ. 2447 – ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ปี พ.ศ. 2480 – 2481 - ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง
3 ประวัติกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย สำหรับกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย เริ่มเข้ามาในยุคพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ มนตรีนำเข้ามา จากการไปเรียนที่ต่างประเทศ ซึ่งใน พ.ศ. 2443 มีการ แข่งขันฟุตบอลเป็นครั้งแรกระหว่างทีมชุดบางกอก กับชุดกรม ศึกษาธิการ ที่สนามหลวง ปรากฎว่าเสมอกัน 2-2 ต่อมาในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างมาก มีทีมฟุตบอลส่วน พระองค์ คือ ทีมเสือป่า และมีการเผยแพร่ข่าวสาร การเล่น เกี่ยวกับ ฟุตบอลอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ถูกก่อตั้ง ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 อีกด้วย
4 ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล การทรงตัว การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิด เพื่อ การเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว สามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อ เนื่อง สนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัด มีดังนี้ 1. ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ 2. การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลัก เมื่อมีการครอบครองลูก เตะลูกหรือเลี้ยง ลูกฟุตบอล 3. การวิ่งตามแบบของฟุตบอล เช่น วิ่งไปที่มุมสนาม วิ่งหาช่องว่าง วิ่งตัดกัน เพื่อหลอกคู่ต่อสู้ 4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก
5 การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา มีวิธีการฝึกดังนี้ 1. ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไป ตาจับอยู่ที่ลูกบอล 2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้า อีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามไป 3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น
6 การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล วิธีการสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล 1. วางเท้าบนลูกฟุตบอลแล้วคลึงด้วยฝ่าเท้าไปมาหน้า – หลัง ซ้าย – ขวา โดยให้อยู่กับที่ ให้ทำทั้งเท้าซ้าย-ขวา 2. ทำเหมือนข้อที่ 1 แต่ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางต่าง ๆ ด้วย 3. ใช้ฝ่าเท้าตบลูกฟุตบอลให้กระดอนขึ้น-ลง โดยใช้เท้าซ้ายหรือขวาสลับกัน 4. วางเท้าด้านในติดกับข้างลูกฟุตบอล ใช้ข้างเท้าด้านในปาดเหนือลูกมาอีก ด้านหนึ่งของลูก ตอนนี้ลูกฟุตบอลจะอยู่ข้างเท้าด้านนอก แล้วใช้เท้าด้าน นอกปาดลูกกลับไปอีกด้านตามเดิม แล้วให้ฝึกสลับเท้าด้วย 5. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ หยุดลูกด้วยหลังเท้า หรือฝ่าเท้า 6. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ แล้วเดาะลูกด้วยเท้า เข่า หน้าอก ศีรษะ สลับกัน 7. ทำเหมือนข้อ 6 แต่เคลื่อนที่เป็นระยะทางไกล โดยลูกฟุตบอลไม่ตกถึงพื้น
7 การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล การหยุดลูกได้ดีนั้น ทำให้สามารถที่จะบังคับและควบคุมลูกฟุตบอลให้เคลื่อนที่ไป ในลักษณะใดก็ได้ตามต้องการ เช่น การเลี้ยง การส่งลูก การยิงประตู ทำให้ทีมเป็น ฝ่ายรุก เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม เราสามารถหยุดลูกฟุตบอลด้วยส่วนใดของร่างกายก็ได้ ยกเว้นแขนและมือทั้งสองข้าง คำจำกัดความ การหยุดลูก หมายถึง การบังคับลูกที่มาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งบนพื้นดินและในอากาศให้อยู่ใน ครอบครองของเรา เพื่อจะได้ส่งลูกต่อไปตามความต้องการ หลักในการหยุดลูกมีอยู่ 3 ประการ คือ 1. จะใช้ส่วนใดของร่างกายในการหยุดลูก 2. การเคลื่อนตัวเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อหยุดลูกที่ลอยมาหรือกลิ้งมากับพื้น 3. ใช้เทคนิคการผ่อนของร่างกาย เพื่อลดแรงปะทะของลูก การหยุดลูกด้วยฝ่าเท้า ให้พยายามหยุดลูกฟุตบอลเบา ๆ การใช้ฝ่าเท้าหยุดลูก ให้หยุดลูกที่ส่ง เรียดมากับพื้น โดยเปิดปลายเท้าขึ้นปะทะลูกไว้ในครอบครองและให้ฝ่าเท้า สัมผัสส่วนบนของลูกพร้อมที่จะเคลื่อนที่ต่อไป
8 การหยุดลูกด้วยข้างเท้าด้านใน วิธีนี้สามารถใช้หยุดลูกที่ส่งเรียดหรือต่ำ 1. ใช้ในการควบคุมลูกฟุตบอลให้ตกลงสู่พื้นอย่างประณีต ในขณะ ที่เคลื่อนไปข้างหน้า 2. วางมุมเท้าเพื่อหยุดลูก โดยการบิดลำตัวทางด้านข้างตามแนวที่ ลูกลอยมา ใช้ข้างเท้าด้านในสัมผัสตรงกลางลูก เพื่อผ่อนแรง ปะทะ 3. การหยุดลูกใช้องค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ข้างเท้าด้านใน ข้อเท้า และพื้นสนาม 4. คาดคะเนจังหวะลูกฟุตบอลกระทบกับเท้าและพื้นดินพร้อม ๆ กัน เพื่อการหยุดลูกไว้อย่างมั่นคง การหยุดลูกด้วยหลังเท้า วิธีนี้ใช้หยุดลูกฟุตบอลที่ลอยมา ให้งอเข่าและยกเท้าขึ้น เพื่อรับลูกที่กำลังจะ ตกพื้น ให้ลดขาและเท้าเพื่อผ่อนแรงปะทะ ตาจ้องมองดูลูก ใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็น หลักและทรงตัวให้มั่นคง การหยุดลูกด้วยหน้าขา ใช้ในกรณีที่ลูกลอยมาสูงกว่าระดับเอว ใช้หน้าขาหยุดลูกไว้โดยให้งอเข่า รับผ่อนแรง โดยลดต้นขาลงแล้วปล่อยลูกตกลงพื้นอยู่กับเท้าเพื่อครอบครองบอล โดยใช้แขนทั้งสองข้างและขาที่ยืนเป็นหลักช่วยในการทรงตัว
9 การหยุดลูกด้วยหน้าอก วิธีนี้ใช้รับลูกที่ลอยมา ให้แยกแขนทั้งสองออก ยืดอกรับลูกแล้ว ปล่อยลูกลงพื้นอยู่กับเท้า โดยการยืนแยกขาออกเล็กน้อย เพื่อการทรงตัว ขณะที่ลูกปะทะกับหน้าอก ให้ย่อตัวและไหล่ทั้งสองข้างเพื่อลดแรงปะทะ การหยุดลูกด้วยศีรษะ ในกรณีที่ลูกฟุตบอลลอยมาสูงเกินกว่าที่จะรับด้วยหน้าอก ให้ใช้น้า ผากรับแทน โดยยื่นศีรษะออกไปเพื่อรับลูก เมื่อรับแล้วให้ดึงศีรษะกลับ แล้วปล่อยให้ลูกลงพื้นอยู่กับเท้า
10 กติกาฟุตบอล กติกาข้อที่ 1 สนามแข่งขัน เครื่องหมายต่าง ๆ ในสนาม - สนามแข่งขันทำด้วยเครื่องหมายด้วยเส้นต่าง ๆ - เส้นจะเป็นพื้นที่ของเขตนั้น ๆ ของสนามแข่งขัน - เส้นทุกเส้นจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 12 ซม. (5 นิ้ว) ประตู - ระยะห่างเสาประตู 7.32 เมตร (8 หลา) คานสูงจากพื้น 2.44 เมตร (8 ฟุต) - เสาและคานประตูต้องเท่ากับความกว้างของเส้นประตู - ส่วนของประตูต้องเป็นสีขาวทั้งหมดเท่านั้น - ต้องติดตั้งอย่างปลอดภัย มีตาข่ายไว้ที่ประตู (หรือไม่มีตาข่ายก็ได้) เสาธง (Corner Flag) - ต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร - ต้องไม่มียอดแหลม - จะปักไว้ที่มุมสนามแต่ละมุม - อาจจะปักเสาธงไว้ที่ปลายเส้นแบ่งแดนห่างจากเส้นข้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
11 กติกาข้อที่ 2 ลูกบอล การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุดเมื่อลูกบอลอยู่ในการเล่น - เปลี่ยนลูกบอล - หยุดการเล่น - เริ่มเล่นใหม่ด้วยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ลูกบอลชำรุด - การเปลี่ยนลูกบอลต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุดเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น - เปลี่ยนลูกบอล - เริ่มเล่นใหม่ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กติกาข้อที่ 3 จำนวนผู้เล่น ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้ เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับ เปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่น ตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนาม ต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่น ตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน
12 กติกาข้อที่ 4 อุปกรณ์ของผู้เล่น ผู้เล่นฟุตบอลไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์หรือสวมใส่สิ่งที่อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องถอดเครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ ต่างหู หนังและยางรัด สร้อยคอและแหวนออก ไม่ อนุญาตให้ปิดหรือฉาบทับสิ่งของที่กระทำความผิดเท่านั้นก่อนลงสนาม ผู้เล่นต้องตรวจสอบ ก่อน กฎเดียวกันนี้ใช้กับตัวสำรองก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าสู่สนามแข่งขัน หากถือว่าผู้ เล่นสวมใส่สิ่งใด ๆ ที่ผู้ตัดสินเชื่อว่าเป็นอันตราย เขาหรือเธอจะแนะนำให้ผู้เล่นนำบทความที่ กระทำผิดออก อุปกรณ์บังคับของนักฟุตบอลประกอบด้วย เสื้อฟุตบอลแบบมีแขน (ยาวหรือสั้น) กางเกงฟุตบอลขาสั้น คู่ของถุงเท้าฟุตบอล หากผู้เล่นมีเทปหรือวัสดุอื่นใดที่สวมใส่ภายนอก จะ ต้องเป็นสีเดียวกับส่วนของถุงเท้าที่ใช้ สนับแข้งคู่ซึ่งต้องทำจากวัสดุที่เหมาะสมที่สามารถให้การป้องกันที่เหมาะสม สนับแข้งต้องสวมถุงเท้าฟุตบอลด้วย รองเท้าฟุตบอลหนึ่งคู่ที่มีหรือไม่มีปุ่มสตั๊ด ผู้รักษาประตูได้รับอนุญาตให้สวมกางเกงวอร์ม หากใส่เสื้อชั้นใน ควรเป็นสีเดียว และสีนั้นควรเป็นสีเดียวกับสีหลักของเสื้อ อนุญาตให้ผู้เล่นสวมผ้าคลุมศีรษะ แต่ถ้าสวมใส่ ควรเป็นสีดำหรือสีเดียวกับสีเด่นของเสื้อ ต้องไม่สวมที่ปิดศีรษะกับเสื้อ ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นที่สวมผ้าคลุมศีรษะหรือผู้ เล่นอื่นที่สัมผัสได้ และต้องสอดคล้องกับลักษณะโดยรวมของผู้เล่นในระดับมืออาชีพ
13 กติกาข้อที่ 5 ผู้ตัดสิน - ปฏิบัติตามกติกา - ควบคุมการแข่งขัน โดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสินคอยให้ความช่วยเหลือ - แน่ใจว่าลูกบอลถูกต้องตามกติกาข้อ 2 - ทำหน้าที่รักษาเวลา และเขียนรายงานการแข่งขัน - พิจารณาสั่งหยุดการเล่นเมื่อมีการกระทำผิดกติกา - พิจารณาสั่งหยุดการเล่นเนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอก - สั่งหยุดการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนัก - อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเล็กน้อย - แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่งขันแล้ว - ให้มีการได้เปรียบลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในเวลาเดียวกัน - ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิด (คาดโทษ,ให้ออก) - ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบ ในการควบคุมความ ประพฤติ - ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น - แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน - เริ่มเล่นใหม่เมื่อการเล่นได้หยุดลง - เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แต่งตั้งไว้
14 กติกาข้อที่ 6 ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นผู้ชี้แนะเหตุการณ์ต่างๆในสนามดังนี้ - เมื่อลูกบอลทั้งลูกออกนอกสนาม - ฝ่ายใดได้เตะจากมุม เตะจากประตู หรือทุ่ม - เมื่อผู้เล่นถูกลงโทษฐานอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า - เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น - เมื่อมีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นใกล้ผู้ช่วยผู้ตัดสินมากกว่าผู้ตัดสิน - เมื่อมีการเตะโทษ ณ จุดโทษ ต้องดูว่า ผู้รักษาประตูเคลื่อนที่ออกมาข้างหน้า ก่อนจะถูกเตะหรือไม่และต้องดูว่าลูกบอลข้ามเส้นประตูหรือไม่ กติกาข้อที่ 7 ระยะเวลาการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการ พิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2 ทีม การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของ การแข่งขันด้วย พักครึ่งเวลา (Half-Time Interval) 1. ผู้ล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา 2.การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที 3.ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด 4.เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบ ของผู้ตัดสินเท่านั้นการชดเชยเวลาที่เสียไป (Allowance for Time Lost)
15 กติกาข้อ 8 การเริ่มการแข่งขันและการเริ่มเล่นใหม่ ทำการเสี่ยงเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นฝ่ายเลือกประตูที่จะทำการรุกในครึ่งเวลาแรกของ การแข่งขัน อีกทีมจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น (Kick-off) เพื่อเริ่มต้นการแข่งขัน ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะ ทำการเตะเริ่มเล่นเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังของการแข่งขัน ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่ง เวลาหลังของการแข่งขัน และทำการรุกประตูตรงข้ามการเตะเริ่มเล่น (Kick-off) การเตะเริ่มเล่น เป็นการเริ่มเล่นและเริ่มเล่นใหม่ 1. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน 2. ภายหลังจากมีการทำประตูได้ 3. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันครึ่งเวลาหลัง 4. เมื่อเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษทีนำมาใช้สามารถ ทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่นขั้นตอนในการดำเนินการ ขั้นตอนสำหรับการเตะเริ่มเล่น 1. ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนตนเอง 2. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่กำลังเตะเริ่มเล่นต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 9.15 เมตร (10 หลา) จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น 3. ลูกบอลต้องวางนิ่งอยู่บนจุดกึ่งกลางสนาม 4. ผู้ตัดสินให้สัญญาณ 5. ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้ว 6. ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 ได้จนกว่าจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อนภายหลังที่ทีมหนึ่งทำประตูได้ อีกทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น
16 กติกาข้อ 9 ลูกบอลอยู่ในการเล่นและนอกการเล่น ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ 1. ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือใน อากาศออกไปทั้งลูก 2. ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่นลูกบอลอยู่ในการเล่น (Ball In Play) ลูกบอลอยู่ในการเล่นตลอดเวลารวมทั้งในขณะที่ 1. กระดอนจากเสาประตู คานประตู หรือธงมุมสนาม และเข้ามาในสนามแข่งขัน กติกาข้อที่ 10 การนับประตู การทำประตู - ถือว่าได้ประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูก ได้ผ่านเข้าเส้นประตูระหว่างเสาประตูและภายใต้ คานประตู โดยที่ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ได้กระทำผิดกติกา การตัดสินว่าทีมใดเป็นฝ่ายชนะ ? - ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าในการแข่งขันจะเป็นผู้ชนะ ถ้าทำประตูได้หรือไม่ได้ เท่ากัน ถือว่า \"เสมอกัน\"
17 กติกาข้อ 11 การล้ำหน้า จะไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดถ้าเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น ผู้เล่นจะอยู่ใน ตำแหน่งล้ำหน้าถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่าลูกบอลและผู้เล่นคนที่ 2 จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะไม่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้า 1. เขาอยู่ในแดนตนเองของสนามแข่งขัน 2. เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นคนที่ 2 จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม 3. เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นทั้ง 2 คน ท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม การกระทำผิด ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าจะถูกลงโทษถ้าในขณะนั้นลูกบอลได้ ถูกสัมผัสหรือเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งในทีมของเขา และผู้ตัดสิน พิจารณาเห็นว่าเขาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเล่นอย่างชัดแจ้ง 1. เกี่ยวข้องกับการเล่น 2. เกี่ยวข้องผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม 3. อาศัยความได้เปรียบจากการอยู่ในตำแหน่งล้ำ หน้าขณะนั้นการกระทำที่ไม่ผิด ผู้เล่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า จะไม่ถูกลงโทษถ้าผู้ เล่นรับลูกบอลโดยตรงจากกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. เตะจากประตู 2. เตะจากมุม 3. การทุ่ม
18 กติกาข้อ 12 การเล่นที่ผิดกติกาและประพฤตผิด โทษโดยตรง (Direct Free Kick) ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 6 ข้อต่อไปนี้ โดยผู้ ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิด หรือ ใช้ กำลังแรงเกินกว่าเหตุ จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรง ได้แก่ 1. เตะ (Kicks) หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้ 2. ขัดขา (Trips) หรือพยายามขัดขาคู่ต่อสู้ 3. กระโดด (Jumps) เข้าใส่คู่ต่อสู้ 4. ชน (Charges) คู่ต่อสู้ 5. ทำร้าย (Strikes) หรือพยายามทำร้ายคู่ต่อสู้ 6. ผลัก (Pushes) คู่ต่อสู้ ถ้าผู้เล่นกระทำผิดตามความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้จะให้ ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยตรงเช่นกัน ได้แก่ 1. สกัดกั้น (Tackles) คู่ต่อสู้เพื่อแย่งการครอบครองลูกบอล แต่ทำการปะทะถูกตัวคู่ต่อสู้ก่อนที่จะสัมผัสลูกบอล 2. ดึง (Holds) คู่ต่อสู้ 3. ถ่มน้ำลาย (Spits) รดใส่คู่ต่อสู้ 4. เล่นลูกบอลด้วยมือโดยเจตนา (ยกเว้นผู้รักษาประตูที่อยู่ใน เขตโทษของตนเองการเตะโทษโดยตรง ทำการเตะจากที่ ซึ่งมีการกระทำผิดเกิดขึ้น
19 กติกาข้อ 13 การเตะโทษ (Free Kicks) ประเภทของการเตะโทษ (Type of Free Kick) การเตะโทษมีทั้งโทษโดยตรง (Direct) และโทษโดยอ้อม (Indirect) การเตะโทษโดยตรง (Direct Free Kick) 1. ถ้าเตะโดยตรง เตะทีเดียวเข้าประตูของฝ่ายตรงข้ามโดยตรงจะถือว่าเป็นประตุ 2. ถ้าเตะโทษโดยตรง เตะทีเดียวเข้าประตูของตนเองโดยตรงจะให้ฝ่ายตรงข้าม ได้เตะจากมุม การเตะโทษโดยอ้อม (Indirect Free Kick) ผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณการเตะโทษโดยอ้อมโดยการยกแขนชูขึ้นเหนือศีรษะ เขายังต้องยกแขนค้างไว้ในตำแหน่งนั้นจนกว่าได้ทำการเตะไปแล้วและลูกบอลถูกสัมผัส โดยผู้เล่นอื่น ๆ ก่อน หรือ ได้ออกนอกการเล่นไปแล้วลูกบอลเข้าประตู (Ball Enters the Goal) จะถือว่าเป็นประตูเมื่อลูกบอลได้ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น ๆ ก่อนที่จะเข้าประตู เท่านั้น 1. ถ้าเตะโทษโดยอ้อมเตะทีเดียวเข้าประตุของฝ่ายตรงข้ามโดยตรงจะให้ เป็นการเตะจากประตู 2. ถ้าเตะโทษโดยอ้อมเตะทีเดียวเข้าประตูของตรงเองโดยตรงจะให้ฝ่ายตรงข้าม ได้เตะจากมุม
20 กติกาข้อ 14 การเตะโทษ ณ จุดโทษ การเตะโทษ ณ จุดโทษ จะลงโทษแก่ทีมที่กระทำผิด 1 ใน 10 ข้อของการกระทำผิดที่เป็นโทษ โดยตรงซึ่งกระทำผิดภายในเขตโทษของตนเองและในขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น สามารถทำ ประตูได้โดยตรงจากการเตะโทษ ณ จุดโทษ อนุญาตให้ชดเชยเวลาเพิ่มออกไปเพื่อเพื่อการเตะ โทษ ณ จุดโทษในขณะที่หมดเวลาการแข่งขันของแต่ละครึ่งและแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษ ตำแหน่งของลูกบอลและผู้เล่น 1.อยู่ในสนามแข่งขัน 2.อยู่นอกเขตโทษ 3.อยู่ด้านหลังจุดโทษ 4.อยู่ห่างจากจุดโทษ 5.อยู่ห่างจากจุดโทษอย่างน้อย 9.15 เมตร (10 หลา) ผู้ตัดสิน 1. จะไม่ให้สัญญาณเพื่อการเตะโทษ ณ จุดโทษจนกว่าผู้เล่นจะอยู่ใน ตำแหน่งตามที่กติการะบุไว้ 2. ตัดสินใจเมื่อการเตะโทษ ณ จุดโทษได้กระทำโดยสมบูรณ์แล้ว กติกาข้อ 15 การทุ่ม การทุ่มเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ ไม่สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการทุ่ม การให้ทุ่ม 1. เมื่อลูกบอลผ่านเส้นข้างนอกไปทั้งลูกไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในอากาศ 2. จากจุดที่ซึ่งลูกบอลตัดผ่านออกเส้นข้างนอก 3. ให้ฝ่ายตรงข้ามกับผู้เล่นที่สัมผัสลูกบอละครั้งสุดท้าย
21 กติกาข้อ 16 การเตะจากประตู การเตะจากประตูเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ สามารถทำ ประตูได้โดยตรงจากการเตะจากประตู แต่ต้องเป็นประตูฝ่ายตรงข้าม เท่านั้นการให้เตะจากประตู ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procedure) 1. ลูกบอลจะถูกเตะจากจุดใดก็ได้ภายในเขตโทษประตูโดยผู้เล่นฝ่ายรับ 2. ฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ในเขตโทษจนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น 3. ผู้เตะต้องไม่เล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน 4. ลูกบอลจะอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะผ่านออกนอกเขตโทษโดยตรง กติกาข้อ 17 การเตะจากมุม ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procdure) 1. ลูกบอลจะถูกวางไว้ภายในส่วนโค้งที่มุมให้ใกล้กับเสาธงสนามมากที่สุด 2. ต้องไม่เคลื่อนย้ายเสาธงมุมสนาม 3. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอลอย่างน้อย 9.15 เมตร (10 หลา) จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น 4. ลูกบอลจะถูกเตะโดยผู้เล่นคนหนึ่งเป็นฝ่ายรุก 5. ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปแล้ว 6. ผู้เตะต้องไม่เล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าจะสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน
22 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล มารยาทของผู้เล่นฟุตบอลที่ดี 1. มีความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน 2. มีน้ำใจนักกีฬา แสดงการขอโทษเมื่อรู้ว่าตนเองกระทำผิด รู้จักให้อภัยเมื่อ เพื่อนผิดพลาดรู้จักแพ้เมื่อตนเองมีความสามารถและฝีมือไม่มากนัก 3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมาย 4. ปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่นโดยเคร่งครัด 5. เชื่อฟังการตัดสินของผู้ตัดสิน โดยไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสิน ในการตัดสินไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม 6. มีความอดทน เสียสละ 7. กล้าตัดสินใจ แสดงความคิดเห็น และแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง 8. มีความสุภาพเรียบร้อย ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบประเพณีที่ดีงาม มารยาทของผู้ชมที่ดี 1. ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด 2. แสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น 3. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่าว่ากรรมการ 4. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง 5. ไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก 6. ไม่กระทำสิ่งใดๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น
23 การบำรุงรักษาอุปกรณ์ อุปกรณ์แยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. อุปกรณ์ของนักกีฬาฟุตบอล ได้แก่ 1.1 รองเท้า ต้องเลือกที่ใส่สบาย มีความยืดหยุ่นดี หลังใช้ให้ทำความสะอาดทุกครั้ง ขัดเงา และใช้หนังสือพิมพ์หรือนุ่นยัดไว้เพื่อให้รองเท้าอยู่ทรงสภาพเดิม 1.2 สนับแข้ง ป้องกันการกระแทกไม่ให้ถูกของมีคมหรือเป็นแผลถลอก 1.3 เสื้อ ให้ใช้ผ้าที่วับเหงื่อได้ดี ผู้รักษาประตูควรสวมเสื้อแขนยาวป้องกันการเกิดแผล ถลอกเวลาล้มหรือพุ่งตัวตัวรับลูกฟุตบอล 1.4 กางเกง ควรใช้ผ้าที่ทำจากฝ้ายและสวมใส่สบาย เคลื่อนไหวได้อิสระ 1.5 ถุงมือสำหรับผู้รักษาประตู ป้องกันการลื่นในสภาพสนามแฉะและมีโคลน หลังใช้ต้อง ทำความสะอาดและผึ่งให้แห้งในที่ร่ม 2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นฟุตบอล 2.1 ลูกฟุตบอล ต้องได้รับการยอมรับจาก F.I.F.A. มีน้ำหนักได้มาตรฐาน 396-453 กรัม หาก เปียกน้ำ เปื้อนโคลน ต้องทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง 2.2 ตาข่ายประตู ต้องไม่ขาด หรือมีช่องโหว่ติดตั้งอย่างมั่นคง ใช้แล้วให้เก็บในที่ห่างจากความ ร้อนและความชื้น 2.3 ป้ายคะแนน และเลขคะแนน ระวังไม่ให้เปียกน้ำ เพื่อป้องกันการผุ เก็บในที่ห่างจาก ความชื้น เช่นในที่ร่ม หรือห้องเก็บของ 2.4 เสาประตู ต้องหมั่นตรวจสอบเวลาฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องอยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง 2.5 เข็มปล่อยลมลูกบอล ต้องจัดเตรียมไว้เมื่อเติมลมลูกฟุตบอลมากเกินไปหรือไม่ได้มาตรฐาน 2.6 ธงมุมสนาม ปักไว้ที่มุมสนาม ใช้แล้วนำมาเก็บให้เรียบร้อย และนำไปปักเมื่อต้องการใช้การ บำรุงรักษาสุขภาพ
Search
Read the Text Version
- 1 - 27
Pages: