ชุมชนต้นแบบ เศ_ร_ษฐ_กิ_จ_พ_อเ_พี_ยง บ้านสระไม้แดง จัดทำโดย นางสาวภาวินี ถ่วงสูงเนิน หมู่ที่ 5 รหัสนักศึกษา 6440304122 ตำบลคู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เสนอ ผศ.ดร.กนกพร ฉิมพลี สขาพั ฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่ อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพั ฒนาตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพี ยงและพั ฒนาที่ยั่งยืนเพื่ อให้ได้ศึกษาหาความรู้ ในเรื่องชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพี ยงและได้ศึกษาอย่างเข้าใจ เพื่ อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นางสาวภาวินี ถ่วงสูงเนิน 6440304122
สารบัญ ก ข คำนำ 1-2 สารบัญ ข้อมูลทั่วไปบ้านสระไม้แดง 3 การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4 ปัจจัยความสำเร็จ 5 บรรณานุกรม
ข้อมูลทั่วไปบ้านสระไม้แดง บ้านสระไม้แดง หมู่ที่ 5 ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพี ยงต้นแบบของจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2554 และได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพี ยง “อยู่เย็น เป็นสุข” ปี 2554 ของจังหวัดด้วย โดยเข้ารับโล่พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีน บ้านสระไม้แดง มีผู้ใหญ่บ้านชื่อนายเชษฐา ภูสมที ครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง 206 ครัวเรือน ประชากร 824 คน เป็น ชาย 432 คน หญิง 392 คน อาชีพหลัก คือทำนา ทำไร่ ทำสวน อาชีพรองคือรับจ้าง อาชีพเสริมคือเพาะเห็ดฟางและปลูกพื ช ผัก แต่ก่อนหลังจากทำนา ชาวบ้านต้องไปรับจ้างนอกหมู่บ้านได้ค่าแรงวันละ 20 – 30 บาท คนส่วนใหญ่จึงมีฐานะยากจน แต่ปัจจุบันนี้มีรายได้ดีขึ้นมากจาก การทำอาชีพเสริมเพาะเห็ดฟาง ทุกครอบครัวมีรายได้ทุกวัน
การทำการเกษตรที่บ้าน ทำให้ครอบครัวอยู่พร้อมหน้ามีความอบอุ่น มีเวลาให้ ความร่วมมือกับชุมชน การดำเนินชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพี ยงคนในชุมชนให้ความสำคัญมาก กับโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพี ยง ต้นแบบของกรมการพั ฒนาชุมชน มีการคัดเลือกครอบครัวพั ฒนาต้นแบบ 30 ครัวเรือน เพื่ อเป็นแกนนำวิถีชีวิตแบบพอเพี ยง ต่อมามีการขยายผลเกือบครบ ทุกครัวเรือน กิจกรรมที่ทำ เช่น การทำสวนครัว รั้วกินได้ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ในบริเวณบ้านและรั้วบ้าน มีการทำความสะอาดและจัดบริเวณบ้านให้น่าอยู่ น่า มอง ทำป้ายชื่อบ้านที่ดูดีและสวยงาม มีการออมเงินกับกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่มีอยู่ ในหมู่บ้าน มีการอนุรักษ์ป่าชุมชน 2 แห่ง คือ ป่าอนุรักษ์ และป่าเศรษฐกิจชุมชน ป่าอนุรักษ์ ชุมชนได้ดำเนินการจัดทำแนวเขต แนวกันไฟ มีการจัดเวรยามป้องกัน ไฟป่า รักษาป่าให้คงเดิมเพื่ อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มี การปลูกต้นไม้ในชุมชน ให้เกิดความร่มรื่น สร้างจิตสำนึกในการรักษาป่าและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน สำหรับป่าเศรษฐกิจ ชุมชนได้เน้นการปลูกไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัส เพื่ อตัดขาย แล้วนำรายได้มาพั ฒนาหมู่บ้าน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและจัด กิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน มี จุดเรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน และจุดเรียนรู้ด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ยาสมุนไพร การทำบายศรี การจักสาน การทอผ้าพื้ นบ้าน ด้านความเอื้ออาทรต่อกัน ชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เหมือนเป็นญาติพี่ น้อง แม้จะนับถือศาสนาที่ต่างกัน โดยมีวัดบ้านสระไม้แดง และวัดคาทอริกเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนา ซึ่งกิจกรรมต่างๆ จะให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี
ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของบ้านสระไม้แดง คือ มีการพั ฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อันเกิดจากผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ ตรวจ สอบได้ มีความเสมอภาค เป็นแบบอย่างที่ดี เชื่อถือ และไว้วางใจได้ นอกจากนี้สมาชิกในชุมชนยังมี ความร่วมมือ ร่วมใจ มีความสามัคคี ต้องการเห็นชุมชนน่าอยู่ คนในชุมชนมีอาชีพมี รายได้สม่ำเสมอ สังคมเป็นสุข เอื้ออาทรต่อกัน สิ่งแวดล้อมดี มีความปลอดภัย ต้องการพึ่ งพาตนเองให้มาก พึ่ งพาภายนอกให้น้อยลง กิจกรรมทุกเรื่องต้อง มีการทำประชาคม รับฟังปัญหา ความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และบรรจุไว้ในแผนชุมชน โดยยึดแนวทางสายกลางแบบพอเพี ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นหลัก
บรรณานุกรม https://natdanai072.wordpress.com/ https://news.thaipbs.or.th/content/258686
Search
Read the Text Version
- 1 - 9
Pages: