Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่6การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

หน่วยที่6การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

Published by 5915712009, 2021-03-08 06:33:47

Description: หน่วยที่6การคิดแบบโยนิโสมนสิการ

Search

Read the Text Version

เปน็ กระบวนการคดิ ทาใหเ้ กดิ ปัญญา ทีเ่ รียกวา่ จนิ ตามายปญั ญาซ่งึ มาจากการประกอบคา 2 คา โยนโิ ส มาจากคาวา่ โยนิ แปลว่า เหตุ ตน้ เคา้ แหลง่ เกดิ วิธี ทาง มนสกิ าร หมายถึง การทาในใจ การคิด คานึง พิจารณาโดยแยบคาย คอื รู้จักใช้ความคดิ อย่างถกู วธิ ี คดิ เป็น มองสิง่ ตา่ ง ๆ ท้งั หลายด้วยความคดิ พจิ ารณาสบื ไปจนถงึ ต้นเหตทุ ี่ทาใหเ้ กดิ ข้นึ ตลอดจนสามารถสรปุ ไดว้ ่า สิ่งนนั้ ควรหรือไมค่ วร ดหี รือไมด่ ี เป็นวถิ ีทางแหง่ ปัญญา เป็นธรรมสาหรับกล่นั กรองแยกแยะข้อมลู ซง่ึ เปน็ หนทางทที่ าใหเ้ กิดสัมมาทิิทิ าใหเ้ ป็นคนมเี หตุผลไม่หลงงมงาย วิธคี ิดแบบโยนโิ สมนสิการนี้ ประกอบด้วยวธิ คี ดิ ๑๐ แบบ ➢ วิธคี ิดแบบคณุ ค่าแท้และคุณคา่ เทยี ม ➢ วธิ ีคดิ แบบสบื สาวหาเหตปุ ัจจยั ➢ วิธคี ดิ แบบคุณโทษและทางออก ➢ วิธีคดิ แบบสามญั ลกั ษณะ ➢ วธิ ีคดิ แบบอบุ ายปลุกเร้าคุณธรรม ➢ วิธคี ิดแบบเปน็ อยูใ่ นปจั จบุ ัน ➢ วธิ ีคดิ แบบแยกแยะองคป์ ระกอบ ➢ วธิ คี ิดแบบอรรถธรรมสมั พันธ์ ➢ วิธีคดิ แบบวิภชั ชวาท ➢ วิธคี ิดแบบอริยสัจ

พจิ ารณาสงิ่ ต่าง ๆ ใหร้ ้จู ักสภาวะทเ่ี ป็นจรงิ หรือพิจารณาปญั หา ค้นหาหนทางแก้ไข ดว้ ยการสืบสาวหาสาเหตแุ ละ ปัจจัยต่าง ๆ ทีส่ ัมพนั ธ์สง่ ผลสืบทอดกันมา คอื สืบคน้ หาว่าสง่ิ ต่างๆ เกดิ ข้ึนมาจากเหตุอะไร ปัจจัยอะไรบา้ ง จะเรียกว่า วิธีคดิ แบบอิทัปปจั จยตา (อ-ิ ทบั -ปดั -จะ-ยะ-ตา) หรือวธิ ีคดิ แบบปจั จยาการ (ปัด-จะ-ยา-กาน) ในทางปฏบิ ตั ิวิธีคิดนีแ้ ยกได้ ๒ อยา่ ง คอื ๑) คิดแบบปจั จยั สมั พนั ธ์ คือ การทีส่ งิ่ ทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดขึน้ คือ เมอ่ื พบเหตุการณ์ อย่างใดอย่างหนึง่ กม็ องย้อนไปสืบ สาวถงึ สาเหตหุ รอื ปัจจัยท่ีเกี่ยวขอ้ งทาใหเ้ กดิ เหตุการณ์นัน้ ๆ (เพราะมตี าจงึ มองเหน็ เพราะมหี จู งึ ได้ยนิ เพราะมีจมกู จงึ ได้กลนิ่ ) “เม่อื ส่งิ นีม้ ี ส่ิงนจ้ี ึงมี เพราะสิ่งนเ้ี กดิ ขึ้น สงิ่ นจ้ี งึ เกิดข้ึน เมือ่ สง่ิ น้ไี มม่ ี สง่ิ น้ีจงึ ไมม่ ี เพราะสง่ิ นดี้ ับ สง่ิ นี้จงึ ดับ” ๒) คิดแบบสอบสวนหรอื ตงั้ คาถาม คอื ตั้งคาถามว่า ทาไม เพราะอะไร เพอ่ื สืบสาวไปถงึ สาเหตุของส่งิ นน้ั การคิดแบบสบื สาวเหตุปจั จยั จะทาใหเ้ ข้าใจสิ่งต่าง ๆ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี เข้าใจวา่ สง่ิ น้ีมที ี่มา หรอื เกิดจากอะไร รู้จักคิดหาเหตผุ ลทาใหม้ วี ิสยั ทศั นท์ ่ีกว้างไกล

➢ วิธีคิดแบบแยกแยะสว่ นประกอบ เป็นวิธคี ิดแบบแยกแยะสงิ่ ตา่ งๆ ท่เี ปน็ องค์รวมออกเป็นสว่ นประกอบปลีกยอ่ ย (แยกแยะโดยละเอยี ด) โดยมุ่งให้เรามองเหน็ สภาพของส่ิงต่างๆตามความเปน็ จริง เชน่ หู ตา จมูก ปาก มอื แขน เทา้ ขา ตบั ไต เป็นส่วนประกอบปลีกยอ่ ยของร่างกายของ คนเรา ซง่ึ เมื่อพิจารณาก็จะเหน็ วา่ อวยั วะแต่ละส่วนตา่ งมีหนา้ ทแ่ี ตกตา่ งกัน แตท่ ุกสว่ นกต็ อ้ งทางานประสานสมั พันธ์กันจงึ ทาใหเ้ กดิ เปน็ รปู รา่ ง ของคนเราทสี่ มบรู ณ์



วิธคี ิดแบบสามัญลกั ษณะ หรือวธิ คี ดิ แบบร้เู ทา่ ทนั ธรรมดา คอื รู้และเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆทั้งหลาย เข้าใจว่าส่ิงทั้งหลาย คือ อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทุกขัง (สภาวะที่ถูกบีบคั้น) และอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) เกิดข้ึนแล้วก็มีการดับสลายในที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ธรรมดาของโลก มี ๘ ประการ หรือที่เรียกว่า โลกธรรม ๘ อันได้แก่ ลาภยศ สรรเสริญ สุข และเสอื่ มลาภ เส่อื มยศ นนิ ทา ทกุ ข์ วธิ คี ิดแบบสามญั ลักษณะ แบ่งเปน็ ๒ ข้ันตอน คอื ๑) รูเ้ ท่าทนั และยอมรับความจริงคอื วางใจเป็นกลางเมือ่ ประสบกบั เหตกุ ารณห์ รือสิง่ อันใด ๒) แก้ไขและดาเนินไปตามเหตปุ จั จัย คอื เมื่อรวู้ า่ ส่ิงท้งั หลายเกดิ ขน้ึ ด้วยเหตปุ จั จัยใดแลว้ ก็แกไ้ ขหรอื จัดการท่ีตัวเหตขุ องส่ิงนน้ั เมื่อทาไดด้ ังน้แี ล้ว ถึง เราจะอยากหรอื ไมอ่ ยากมนั กต็ ้องเป็นไป

วิธีคิดที่ต่อเน่ืองมาจากการคิดแบบสามัญลักษณะ คือ รู้เท่าทันธรรมดา ของสิ่งท้ังหลาย เม่ือเป็นดังนั้นก็คิดหาทางแก้ไขที่ตัวเหตุปัจจัยโดย ดาเนินการตาม หลักอริยสัจ ๔ คือ ข้ันที่ ๑ กาหนดรู้ (ทุกข)์ คอื แจกแจงว่าปัญหาหรือทุกข์ที่กาลังเผชิญนัน้ คืออะไร ทาความเข้าใจสภาพปัญหาให้ชัดเจน เปรียบเหมือนข้ันตอนท่ีแพทย์กาลัง วนิ ิจฉยั โรคหรอื ความผดิ ปกติ ขน้ั ท่ี ๒ สอบสวนเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) คือ ค้นหาวิเคราะห์สาเหตุหรือ ต้นตอท่ีทาให้เกิดทุกข์ เปรียบเหมือนขั้นตอนท่ีแพทย์กาลังต้ังสมมุติิานเกี่ยวกับโรค หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุ เกิดจากอะไรซ่ึงจะนาไปสู่การรักษาท่ีถูกต้อง ตรงจุด เช่นเดียวกันกับการหาสาเหตุแห่งทุกข์เพื่อท่ีจะสามารถหาทางแก้ไขหรือขจัด ความทกุ ขน์ ้ันให้สิ้นไปหรอื ลดนอ้ ยลง

ขน้ั ที่ ๓ เลง็ เห็นความดบั ทุกข์ (นโิ รธ) คือ การทม่ี องเห็นภาพวา่ ปญั หา หรอื ความทกุ ขน์ น้ั สามารถแก้ไขได้ เปรยี บเหมือนขน้ั ตอนที่แพทย์สามารถรู้ไดว้ า่ โรคหรือความผิดปกตนิ น้ั สามารถรกั ษาใหห้ ายได้ ขัน้ ท่ี ๔ กาหนดวิธกี ารดับทกุ ข์ (มรรค) คอื เม่ือทราบวา่ ความทุกขน์ ั้น จะสามารถแกไ้ ขได้ อย่างไรก็กาหนดวธิ กี ารแกไ้ ขโดยการวางแผนแกไ้ ขทต่ี ้นเหตุแหง่ ปญั หา เปรยี บเหมอื นขัน้ ตอนท่แี พทย์ดาเนนิ การรักษาด้วยวธิ ีการตา่ ง ๆ เพือ่ ใหโ้ รคหรอื ความผดิ ปกตนิ นั้ หมดไป หรอื บรรเทาเบาบางลง

➢ การคดิ แบบเชอื่ มโยงหลกั การและความมงุ่ หมาย เป็นวิธคี ิดในระดับปฏิบตั ิการ หรอื ลงมือทา คอื การท่จี ะกระทาการต่างๆ ต้องรู้และเข้าใจถงึ หลักการและ ความมุ่งหมายของเรื่องน้นั ๆ เพอ่ื ท่ีจะไดด้ าเนนิ การหรอื ลงมือปฏบิ ตั สิ ิ่งนัน้ หากกระทาโดยท่ีหลักการและความม่งุ หมายไม่สอดคลอ้ งกันการกระทานนั้ กไ็ มป่ ระสบผลสาเร็จ เช่น นกั เรียนต้องการไดผ้ ลการเรียนเกรด ๔ แตไ่ มข่ ยนั เรียน หรอื เรียนบา้ งเล่นบา้ ง นักเรียนกจ็ ะไม่ประสบผลสาเร็จ แตถ่ า้ หากนักเรียนตั้งใจเรียนนกั เรียน ก็จะประสบผลสาเร็จในผลการเรยี น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook