Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 สค22019

ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 สค22019

Published by กศน.ตำบลรุ่งระวี, 2021-09-09 14:34:42

Description: ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 สค22019

Search

Read the Text Version

ชดุ วชิ า รายวิชาเลือกบังคบั การเรียนรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 รหสั วชิ า สค22019 ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น หลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศักราช 2551 สานักงานส่งเสริมการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั สานักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ ภัยพิบัติทางธรรมชาติท่ีเกิดขึ้นบนโลกนี้มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีความรุนแรง แตกต่างกันออกไป สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมากมาย ทั้งอุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย ซ่ึงมนุษย์ไม่สามารถคาดคะเนได้ ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาเหตุการณ์จากอดีตมาแล้ว ก็ตามแต่ก็ไม่สามารถระบุวัน เวลาที่จะเกิดภัยได้อย่างแม่นยา ด้วยเหตุน้ีสานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงตระหนักถึงภัยและผลกระทบท่ีเกิดจากภัย พิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อประชาชน จึงมอบหมายให้สถาบันกศน.ภาคเหนือ พัฒนาสื่อชุดวิชา การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 เพ่ือใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน สาหรับครู กศน. ตามหลักสตู รการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 รหัสวิชา สค22019 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยเนื้อหา เรื่องภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผ่นดินไหว สึนามิ และบุคลากรและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการให้ความช่วยเหลือการประสบภัยธรรมชาติ โดยเน้ือหาความรู้ต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเตรียมความพร้อม รับสถานการณ์จากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ ชุดวิชาเล่มนี้สาเร็จลุล่วงได้ ด้วยความร่วมมือจาก ผ้เู กีย่ วขอ้ ง ดังรายนามท่ีปรากฏไวใ้ นท้ายเล่ม สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศยั ขอขอบคณุ ไว้ในโอกาสนี้ สานกั งาน กศน. ตลุ าคม 2559 ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ้ภู ัยธรรมชาติ 2 - ก

คำแนะนำกำรใชช้ ุดวิชำ ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 รหัสวิชา สค22019 ใช้สาหรับผู้เรียนหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกเป็น 2 สว่ น คือ ส่วนท่ี 1 เอกสารชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 ประกอบด้วย คาแนะนาการใช้ ชุดวิชา โครงสร้างชุดวิชา เน้ือหาสาระ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และแนวตอบ กจิ กรรมท้ายหน่วยการเรยี นรู้ ส่วนท่ี 2 สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และกจิ กรรมท้ายหนว่ ยการเรียนรู้ วธิ ีกำรใชช้ ดุ วิชำ ให้ผ้เู รียนดาเนนิ การตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษารายละเอียดโครงสร้างชุดวิชา จาก ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2 เพ่ือให้ ผเู้ รียนทราบวา่ ตอ้ งเรยี นรู้เนอ้ื หาในเรอ่ื งใดบ้างในชดุ วชิ าน้ี 2. ทาแบบทดสอบก่อนเรียนของชุดวิชาตามที่กาหนด เพื่อทราบพ้ืนฐานความรู้เดิมของ ผู้เรียน โดยให้ทาในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ และตรวจสอบคาตอบจากเฉลยแบบทดสอบ กอ่ นเรียน ในชุดวชิ า 3. วางแผนเพื่อกาหนดระยะเวลาและจัดเวลาที่ผู้เรียนมีความพร้อมท่ีจะศึกษาชุดวิชา เพื่อให้สามารถศึกษารายละเอียดเน้ือหาได้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ พร้อมทากิจกรรมที่กาหนด ให้ทันกอ่ นสอบปลายภาคเรยี น 4. ศึกษาเนื้อหาในชุดวิชาในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างละเอียดให้เข้าใจ ท้ังในชุดวิชา และส่ือประกอบ และทากจิ กรรมที่กาหนดไว้ให้ครบถว้ น 5. เมื่อทากิจกรรมเสร็จแล้ว ผู้เรียนสามารถตรวจสอบคาตอบได้จากเฉลย/แนวตอบ กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนในท้ายชุดวิชา หากผู้เรียนยังทากิจกรรมไม่ถูกต้อง ให้ผู้เรียนกลับไป ทบทวนเน้อื หานัน้ ซา้ จนกว่าจะเข้าใจ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ้ภู ัยธรรมชาติ 2 - ข

6. เมื่อศึกษาเน้อื หาสาระครบทุกหน่วยการเรียนรแู้ ล้ว ให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายชุดวิชา ว่าผู้เรียนสามารถทาแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อ หรอื ไม่ หากข้อใดยังไมถ่ กู ต้อง ให้ผู้เรยี นกลบั ไปทบทวนเนอ้ื หาสาระในเรื่องนน้ั ให้เข้าใจอีกครั้งหน่ึง ผู้เรียนควรทาแบบทดสอบหลังเรียนให้ได้คะแนนมากกว่าแบบทดสอบก่อนเรียน และควรได้ คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของแบบทดสอบทั้งหมด (ข้อสอบ มี 40 ข้อ ต้องตอบให้ถูกต้อง อยา่ งน้อย 24 ขอ้ ) เพอ่ื ใหม้ น่ั ใจวา่ จะสามารถสอบปลายภาคผ่าน 7. หากผู้เรียนได้ทาการศึกษาเนื้อหาและทากิจกรรมแล้วยังไม่เข้าใจ ผู้เรียนสามารถ สอบถามและขอคาแนะนาได้จากครูหรือแหลง่ คน้ ควา้ เพ่มิ เติมอน่ื ๆ กำรศึกษำคน้ ควำ้ เพิม่ เตมิ ผู้เรียนอาจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากเหล่งเรียนรู้ ผู้รู้อ่ืน ๆ เช่น ผู้นาชุมชน ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารภัยแต่ละจังหวัด ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแต่ละภูมิภาค สานักตรวจและ เฝา้ ระวังสภาวะอากาศ การศึกษาจากอินเทอรเ์ นต็ เป็นต้น กำรวดั ผลสัมฤทธ์ิทำงกำรเรยี น ผเู้ รียนตอ้ งวดั ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ดงั นี้ 1. ระหว่างภาค วัดผลจากการทากิจกรรมหรืองานท่ีได้รับมอบหมายระหว่างเรียน รายบุคคล 2. ปลายภาค วดั ผลจากการทาข้อสอบวดั ผลสมั ฤทธ์ปิ ลายภาค ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - ค

โครงสร้ำงชุดวิชำ สำระกำรเรยี นรู้ สาระการพัฒนาสงั คม มำตรฐำนกำรเรียนรู้ มาตรฐานท่ี 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในโลก และนามาปรับใช้ในการดาเนินชีวิตเพ่ือความม่ันคง ของชาติ มำตรฐำนกำรเรยี นรู้ระดบั มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในทวีปเอเชีย นามาปรับใช้ในการดาเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคงของชาติ ผลกำรเรยี นรูท้ ค่ี ำดหวัง 1. อธิบายความหมายของภัยแล้ง ฝนแล้ง ฝนท้ิงช่วง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควนั แผน่ ดนิ ไหว และสึนามิ 2. บอกประเภทของวาตภยั 3. บอกชนิดไฟป่า และฤดูกาลการเกิดไฟป่าในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวีป เอเชยี 4. บอกสาเหตุและปจั จัยการเกดิ ภัยแลง้ วาตภยั อุทกภัย ดนิ โคลนถล่ม ไฟปา่ หมอกควัน แผ่นดินไหว และสนึ ามิ 5. บอกผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผ่นดนิ ไหว และสึนามิของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวปี เอเชยี 6. ตระหนักถึงภัยและผลกระทบท่ีเกิดจากภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า แผน่ ดินไหว และสนึ ามิ 7. บอกห้วงเวลาการเกดิ ภยั แลง้ ในประเทศไทยและประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเชยี 8. บอกพ้ืนที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว และ สนึ ามิในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - ง

9. บอกสญั ญาณบอกเหตุก่อนเกิดอทุ กภัย ดนิ โคลนถล่ม และสึนามิ 10. อธิบายสถานการณ์ภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผ่นดนิ ไหว และสึนามิ ในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวปี เอเชีย 11. บอกวิธีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การเกิดภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผน่ ดินไหว และสนึ ามิ 12. บอกวิธีการปฏิบัติขณะเกิดภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผน่ ดินไหว และสนึ ามิ 13. บอกวิธีการปฏิบัติหลังเกิดภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผ่นดนิ ไหว และสึนามิ 14. ระบุบุคลากรทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับการใหค้ วามชว่ ยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติต่าง ๆ 15. ระบหุ นว่ ยงานท่ีเก่ยี วข้องกับการให้ความชว่ ยเหลอื ผู้ประสบภยั ธรรมชาติตา่ ง ๆ สำระสำคัญ ภัยที่เกิดข้ึนบนโลกน้ีมีหลายประเภททั้งภัยแล้ง วาตภัย อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ไฟป่า หมอกควัน แผ่นดินไหว และสึนามิ แต่ละประเภทล้วนมีลักษณะการเกิด และผลกระทบ ท่ีรุนแรงแตกต่างกันออกไป การเกิดภัยทางธรรมชาติหลายเหตุการณ์ที่เกิดข้ึนในอดีต ได้สร้าง ความเสียหายและส่งผลกระทบตอ่ มนุษยชาติและโลกอย่างมากมาย ซ่ึงมนุษย์ไม่สามารถคาดคะเน การเกิดภัยธรรมชาติเหล่าน้ีล่วงหน้าได้อย่างแม่นยา ดังน้ันจึงควรตระหนักถึงภัยและผลกระทบ ท่ีเกิดจากภัยทางธรรมชาติท่ีอาจจะก่อเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทุกเมื่อ การศึกษาเก่ียวกับ ภัยธรรมชาติจึงเป็นการเตรียมความพร้อมท่ีดีในการรับสถานการณ์การเกิดภัยธรรมชาติ และ วางแผนป้องกันผลกระทบของภัยพิบตั ิ เพอ่ื ลดความเสย่ี งที่อาจเกิดข้ึนกบั ชวี ิตและทรพั ย์สิน ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - จ

ขอบขำ่ ยเน้ือหำ หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 ภัยแล้ง หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 วาตภยั หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 อุทกภยั หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 4 ดินโคลนถล่ม หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 5 ไฟปา่ หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 6 หมอกควนั หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 7 แผน่ ดินไหว หน่วยการเรยี นรู้ที่ 8 สึนามิ…ภยั รา้ ยท่ีนา่ กลัว หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 9 บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลอื ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ส่ือประกอบกำรเรียนรู้ 1. ชุดวิชาการเรยี นรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 2 รหัสวิชา สค22019 2. สมุดบนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรู้ ชุดวชิ าการเรียนรู้สู้ภยั ธรรมชาติ 2 จำนวนหน่วยกติ 3 หนว่ ยกิต (120 ช่วั โมง) กจิ กรรมกำรเรยี นรู้ 1. ทาแบบทดสอบกอ่ นเรียนในสมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรยี นรู้ แล้วตรวจคาตอบจากเฉลย ทา้ ยชดุ วชิ า 2. ศกึ ษาเนื้อหาสาระในหน่วยการเรยี นรู้ทุกหน่วย 3. ทากจิ กรรมตามที่กาหนดและตรวจคาตอบจากแนวเฉลยกจิ กรรมทา้ ยชุดวชิ า 4. ทาแบบทดสอบหลงั เรียน ตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายชดุ วชิ า กำรประเมินผล 1. แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน 2. กจิ กรรมในแต่ละหน่วยการเรยี นรู้ 3. การทดสอบปลายภาค ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ูภ้ ัยธรรมชาติ 2 - ฉ

สำรบัญ คานา ก คาแนะนาการใช้ชดุ วิชา ข โครงสร้างชุดวชิ า ง สารบัญ ช หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 ภยั แลง้ ฝนแลง้ ฝนท้งิ ชว่ ง 1 เรื่องท่ี 1 ความหมายของภัยแล้ง ฝนแลง้ ฝนทิง้ ชว่ ง 3 เรือ่ งที่ 2 ลักษณะการเกดิ ภัยแลง้ 5 เรื่องที่ 3 สถานการณก์ ารเกดิ ภยั แลง้ ในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวปี เอเซยี 11 เรื่องท่ี 4 แนวทางการป้องกันและการแกไ้ ขปัญหาผลกระทบทเ่ี กิดจากภยั แล้ง 14 หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 วาตภยั 16 เร่ืองท่ี 1 ความหมายของวาตภยั 18 เรอ่ื งที่ 2 ลักษณะการเกดิ วาตภยั 20 เรื่องที่ 3 สถานการณ์วาตภยั 23 เรอ่ื งที่ 4 แนวทางการปอ้ งกนั และการแกไ้ ขปญั หาผลกระทบท่เี กิดจากวาตภัย 29 หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 อุทกภัย 32 เร่ืองท่ี 1 ความหมายของอุทกภัย 33 เรื่องท่ี 2 สาเหตุและปจั จยั การเกิดอทุ กภัย 34 เร่ืองที่ 3 สถานการณอ์ ุทกภยั ในประเทศไทยและประเทศตา่ ง ๆ ในทวปี เอเซีย 40 เรอ่ื งท่ี 4 แนวทางการป้องกันและการแก้ไขปัญหาผลกระทบท่ีเกิดจากอทุ กภัย 44 หน่วยการเรียนรู้ท่ี 4 ดินโคลนถล่ม 48 เรื่องที่ 1 ความหมายของดินโคลนถล่ม 50 เรื่องท่ี 2 การเกิดดินโคลนถล่ม 51 เรื่องที่ 3 สถานการณด์ ินโคลนถลม่ ในประเทศไทยและประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเซยี 59 เร่อื งที่ 4 แนวทางการป้องกันและการแก้ไขปญั หาผลกระทบทเี่ กิดจากดินโคลนถล่ม 63 เรื่องท่ี 5 การปฏิบตั กิ อ่ นเกดิ เหตุ ขณะเกดิ และหลงั เกิดดนิ โคลนถลม่ 66 ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - ช

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 5 ไฟปา่ 68 เรอ่ื งที่ 1 ความหมายของไฟป่า 70 เรอ่ื งท่ี 2 ลักษณะการเกดิ ไฟป่า 71 เรื่องที่ 3 สถานการณแ์ ละสถติ กิ ารเกดิ ไฟป่า 79 เรอ่ื งท่ี 4 แนวทางการป้องกนั และการแกไ้ ขปญั หาทเี่ กิดจากไฟป่า 82 หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 6 หมอกควัน 85 เรื่องที่ 1 ความหมายของหมอกควนั 87 เรอ่ื งท่ี 2 ลักษณะการเกดิ หมอกควัน 87 เรอ่ื งท่ี 3 สถานการณ์หมอกควันในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเซีย 95 เรื่องที่ 4 แนวทางการปอ้ งกันและแกป้ ญั หาหมอกควัน 102 หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 แผน่ ดนิ ไหว 105 เรอ่ื งท่ี 1 ความหมายของแผน่ ดินไหว 107 เรอ่ื งที่ 2 ลกั ษณะการเกิดแผ่นดนิ ไหว 108 เรื่องที่ 3 สถานการณแ์ ผ่นดินไหวในประเทศไทยและประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเซีย 117 เรอ่ื งท่ี 4 แนวทางการปอ้ งกนั และการแก้ไขปัญหาผลกระทบทเี่ กดิ จากแผน่ ดนิ ไหว 125 หน่วยการเรยี นรู้ที่ 8 สนึ ามิ…ภัยร้ายท่ีน่ากลวั 130 เรือ่ งที่ 1 มารู้จกั สนึ ามกิ นั เถอะ 132 เรื่องท่ี 2 สนึ ามิ…ภยั ร้ายทตี่ ้องระวัง 134 เรื่องที่ 3 สถานการณ์การเกดิ สึนามิ 142 เรอ่ื งท่ี 4 แนวทางการป้องกันและการแกไ้ ขปัญหาผลกระทบทเี่ กิดจากสนึ ามิ 148 หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 9 บุคลากรและหน่วยงานท่ีเก่ยี วข้องกับการช่วยเหลอื ผปู้ ระสบภัยธรรมชาติ 150 เรอื่ งที่ 1 บคุ ลากรที่เก่ยี วขอ้ งกบั การใหค้ วามช่วยเหลอื ผปู้ ระสบภยั ธรรมชาติ 151 เรื่องที่ 2 หนว่ ยงานที่เกี่ยวข้องกบั การใหค้ วามช่วยเหลือผูป้ ระสบภยั ธรรมชาติ 152 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน 156 เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายหนว่ ยการเรยี นรู้ 160 บรรณานกุ รม 188 คณะผจู้ ัดทา 193 ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - ซ

หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 ภยั แลง้ สาระสาคญั ทุกวันนี้สภาวะของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็วซึ่งสังเกตได้จาก อากาศที่แปรปรวน พายุที่รุนแรงขึ้น ฝนท่ีตกหนักมากขึ้นหรือฝนท่ีจะตกน้อยลงกว่าปกติ อากาศท่ี ร้อนมากข้นึ ซ่ึงกร็ วมถงึ การท่มี คี วามแหง้ แลง้ มากข้นึ และยาวนานตอ่ เน่อื งมากขึน้ ด้วย สาหรับสภาวะแห้งแล้งที่ประเทศไทยกาลังประสบอยู่ หากเราได้ทาความรู้จักและเตรียม ความพร้อมท่ีจะรบั มอื กับความแห้งแลง้ แลว้ เราก็สามารถเอาตวั รอดจากภัยพิบตั แิ ห้งแล้งนไ้ี ด้ เมอื่ ทา่ นได้ศึกษาเน้ือหาในชุดวิชานแ้ี ลว้ ทา่ นจะไดร้ ับความรู้ท่ีเก่ียวข้องกับภยั แล้งท้งั หมด ต้ังแต่สาเหตุที่เกิดภัยแล้ง ความเสียหายและผลกระทบจากภัยแล้งห้วงเวลาท่ีจะเกิดภัยแล้งใน ประเทศไทย การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง รวมถึงการปฏิบัติตนขณะเกิดภัยแล้ง และหลังเกดิ ภัยแลง้ ตัวช้วี ัด 1. อธิบายความหมายของภยั แล้ง 2. อธิบายความหมายของฝนแลง้ ฝนทิง้ ชว่ ง 3. บอกสาเหตุ และปัจจยั การเกดิ ภยั แลง้ 4. บอกผลกระทบที่เกิดจากภัยแลง้ 5. ตระหนกั ถงึ ภยั และผลกระทบที่เกิดจากภยั แลง้ 6. บอกห้วงเวลาการเกดิ ภยั แล้ง และพ้ืนทีเ่ สีย่ งภยั ต่อการเกิดภยั แล้งในประเทศไทยและ ประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเชีย 7. อธิบายสถานการณก์ ารเกดิ ภัยแล้งในประเทศไทยและประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเชีย 8. บอกวิธีการเตรยี มความพรอ้ มรบั สถานการณก์ ารเกิดภยั แลง้ 9. บอกวธิ ีการปฏิบตั ิขณะเกดิ ภัยแลง้ 10. บอกวธิ กี ารปฏิบัติหลงั เกดิ ภัยแล้ง ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 1

ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องท่ี 1 ความหมายของภัยแล้ง ฝนแลง้ ฝนท้งิ ช่วง 1.1 ความหมายของภยั แล้ง 1.2 ความหมายของฝนแล้ง 1.3 ความหมายของฝนทิ้งชว่ ง เรอื่ งท่ี 2 ลักษณะการเกิดภัยแลง้ 2.1 สาเหตุและปจั จัยการเกดิ ภัยแลง้ 2.2 ผลกระทบทีเ่ กดิ จากภัยแล้ง 2.3 ห้วงเวลาการเกดิ ภัย และพนื้ ทเ่ี สี่ยงภัยต่อการเกิดภยั แล้งในประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเซยี เร่อื งที่ 3 สถานการณ์การเกดิ ภยั แลง้ 3.1 สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ในทวปี เอเซยี 3.2 สถติ กิ ารเกดิ ภยั แล้งของประเทศตา่ ง ๆ ในทวปี เอเซยี เรื่องที่ 4 แนวทางการป้องกนั และการแก้ไขปญั หาผลกระทบทเี่ กดิ จากภัยแลง้ 4.1 การเตรียมความพร้อม 4.2 การปฎบิ ัติขณะเกดิ ภยั แลง้ 4.3 การช่วยเหลอื และฟน้ื ฟูภายหลังการเกิดภยั แลง้ เวลาท่ใี ช้ในการศกึ ษา 15 ช่ัวโมง สื่อการเรยี นรู้ 1. ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น 2. สมดุ บนั ทึกกจิ กรรมรายวิชาการเรยี นร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 3. สื่อสงิ่ พิมพ์ เชน่ แผ่นพับ โปสเตอร์ ใบปลวิ เป็นต้น 4. ภมู ปิ ัญญาทอ้ งถ่นิ /ปราชญช์ าวบา้ น ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 - 2

เรอื่ งที่ 1 ความหมายของภยั แล้ง ฝนแลง้ และฝนทงิ้ ช่วง 1.1. ความหมายของภยั แลง้ ภัยแล้ง คือ ภัยท่ีเกิดจากการขาดแคลนน้าในพ้ืนท่ีใดพ้ืนที่หนึ่งเป็นเวลานาน ซ่ึงเกิดข้ึนในช่วงเวลาที่อากาศมีความแห้งแล้งผิดปกติ น้าในลาน้าคูคลองธรรมชาติลดลง รวมถึง ความช้ืนในดินลดลงด้วย ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ากินน้าใช้ จนก่อให้เกิดความแห้งแล้งและ อาจเกิดไฟปา่ ได้ 1.2 ความหมายของฝนแล้ง ฝนแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศอันเกิดจากการท่ีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทาให้เกิดการขาดแคลนน้าใช้ และพืชต่าง ๆ ขาดน้าหล่อเล้ียง ขาดความชุ่มชื้น ทาให้พืชผลไม่สมบูรณ์และไม่เจริญเติบโต เกิดความเสียหายและเกิดความ อดอยากขาดแคลนไปทั่ว ความรุนแรงของฝนแล้งขึ้นอยู่กับความช้ืนในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาท่ีเกิดความแห้งแล้งและความกว้างใหญ่ของพ้ืนที่ที่มีความแห้งแล้ง ฝนแล้งท่ีก่อให้เกิด ความเสยี หายอย่างมากไดแ้ ก่ฝนแลง้ ท่ีเกดิ ในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งช่วงฝนทง้ิ ช่วงท่ียาวนาน ระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเนื่องถึงเดือนกรกฎาคม ทาให้พืชไร่ต่าง ๆ ที่ทาการเพาะปลูกไปแล้ว ขาดน้าและได้รับความเสียหาย พ้ืนท่ีที่ได้รับผลกระทบจากฝนแล้งได้แก่บริเวณภาค ตะวนั ออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณทีอ่ ทิ ธพิ ลของลมมรสมุ ตะวนั ออกเฉียงใต้เข้าไปไม่ ถึง และถา้ ปใี ดไม่มีพายเุ คลอื่ นที่ผ่านในแนวดังกล่าวแล้วจะกอ่ ใหเ้ กิดฝนแล้งท่มี คี วามรนุ แรงมาก ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 - 3

1.3 ความหมายของฝนทิ้งชว่ ง ฝนท้ิงช่วง หมายถึง สภาวะฝนท้ิงช่วง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน 15 วัน ในช่วงฤดูฝน เดือนท่ีมีโอกาสเกิดฝนท้ิงช่วงสูง คือ เดือนมิถุนายนและเดือน กรกฎาคม เป็นสาเหตุสาคัญในการเกิดไฟป่า เพราะความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศทาให้ฝน มีปริมาณนอ้ ยกวา่ ปกติ และฝนไมต่ กต้องตามฤดูกาล ผลทีต่ ามมาคือการขาดแคลนนา้ ใช้ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ูภ้ ัยธรรมชาติ 2 - 4

เร่อื งที่ 2 ลกั ษณะการเกดิ ภยั แลง้ จากสภาพฝนแล้งและฝนท้ิงช่วง จะเป็นสาเหตุสาคัญให้เกิดภัยแล้ง ความแห้งแล้ง ของสภาพภมู ิอากาศ ภมู ิประเทศ จะทาให้เกดิ ไฟไหมป้ า่ ได้ หรือสภาพดินแห้ง แตกระแหง 2.1 สาเหตุและปจั จยั การเกดิ ภยั แลง้ ปัจจัยที่ทาให้เกิดภัยแล้งเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการท้ังจากการกระทา ของมนุษย์และจากธรรมชาติ 2.1.1 จากธรรมชาติ 1) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก คือ บรรยากาศของโลกเป็นส่ิงที่เคล่ือนไหว อยู่ตลอดเวลา (Dynamic) ภูมิอากาศของโลกจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงเวลาส้ันบ้างยาวบ้าง ข้ึนอยู่กับปัจจัยสาเหตุนานาประการ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟทาให้เกิดการเปล่ียนแปลงสภาพ ภูมิอากาศเพียงช่วงเดือนหรือปี การพุ่งชนของอุกาบาตทาให้เกิดการเปล่ียนแปลงหลายสิบปี การเพิ่มขึ้นของมลภาวะทางอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับศตวรรษ การเปลี่ยนแปลง ของกระแสน้าในมหาสมุทรและขนาดของแผน่ นา้ แขง็ ตลอดจนการเปลีย่ นแปลงของวงโคจรโลก 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปล่ียนแปลงการกระจายทางสถิติของรูปแบบสภาพอากาศเมื่อสภาพอากาศเฉล่ียหรือความ แปรผนั ของเวลาของสภาพอากาศเก่ียวกับภาวะเฉลย่ี ท่ีกินเวลานานหลายสิบปถี งึ หลายล้านปีอาจมี การเปลย่ี นแปลงคือมีเหตุการณส์ ภาพอากาศสดุ ข้ัวมากขึน้ หรอื นอ้ ยลง การเปลย่ี นแปลงภมู ิอากาศ มีสาเหตุจากปัจจัยอย่างกระบวนการชีวนะ ความแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์ท่ีโลกได้รับการแปร สัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ยังถูกระบุว่าเป็น สาเหตสุ าคัญของการเปลย่ี นแปลงภมู ิอากาศ มักเรียกวา่ “โลกรอ้ น” ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 - 5

3) การเปล่ียนแปลงของระดับน้าทะเล คือ ระดับน้าทะเลที่เพิ่มขึ้นบ่งช้ี การเปลี่ยนแปลงอากาศ เม่ืออุณหภูมิมหาสมุทรสูงขึ้น ได้ส่งผลให้ระดับน้าทะเลที่สูงข้ึน หรือ เรียกว่า Sea Level Rise มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ การขยายตัวของมวลน้าทะเลจากที่อุณหภูมิ สูงขึ้น (ประมาณร้อยละ 30) และการเพิ่มข้ึนของปริมาณน้าทะเล เนื่องจากการละลายของ ธารน้าแข็งบนแผ่นดินและการละลายของน้าแข็งข้วั โลก (ประมาณรอ้ ยละ 55) 4) ภยั ธรรมชาติ เช่น วาตภัย คอื ภัยจากลม หรือ พายุท่ีมีความรุนแรงจนทาให้ เกิดความเสียหายอย่างรนุ แรงในวงกว้าง 2.1.2 จากการกระทาของมนุษย์ 1) การทาลายชน้ั โอโซน ชั้นโอโซน เป็นส่วนหน่ึงของชั้นบรรยากาศของโลกที่ประกอบด้วยโอโซนใน ปริมาณมาก ชั้นโอโซนช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ประมาณร้อยละ 97-99 ของรังสีทั้งหมดทีแ่ ผ่มายังโลก โอโซน คือ รูปแบบพิเศษของออกซิเจน ที่เกิดข้ึนตามธรรมชาติ ในชั้นของ บรรยากาศชั้นบน ๆ ช้ันโอโซนน้ีมีความสาคัญและมีประโยชน์ต่อโลก ชั้นโอโซนอยู่ห่างจากผิวโลก ประมาณ 20 ไมล์ โดยอยใู่ นบรรยากาศชน้ั สตราโตสเฟยี ร์ ชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันไมใ่ ห้รงั สีอุลตรา ไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงโลกของเรา ดวงอาทิตย์ทาให้เกิดรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตด้วย ช้ันโอโซนมคี วามสาคญั อย่างยง่ิ เพราะทาหนา้ ท่เี ปน็ เกราะค้มุ กัน ปกป้องพชื และสัตว์จากรงั สีท่ีเป็น อันตรายของดวงอาทติ ย์ ดังนัน้ หากชน้ั โอโซนบางลงเราก็ไดร้ ับการปกป้องนอ้ ยลงด้วย เราเรยี กรังสี ที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ว่า อุลตราไวโอเล็ต เป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากมีปริมาณ น้อยรังสีอุลตราไวโอเล็ตจะปลอดภัยและมีประโยชน์ โดยช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินอี แต่ถ้าเราได้รับรังสีอุลตราไวโอเล็ตที่มากเกินไปจะเป็นสาเหตุท่ีทาให้ผิวหนังอักเสบเนื่องจาก แพ้แดดได้ นอกจากน้ีรังสีอุลตราไวโอเล็ตปริมาณมากยังทาลายพืชในไร่และต้นพืชเล็ก ๆ ในทะเล ซงึ่ เป็นอาหารของปลา 2) ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก ปรากฏการณ์เรอื นกระจก คอื ปรากฏการณ์ทโ่ี ลกมีอุณหภมู ิสูงขึ้นเนือ่ งจาก พลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงความยาว คลื่นอินฟาเรดท่ีสะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกลุ ของไอนา้ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ในบรรยากาศทาให้โมเลกุลเหล่าน้ีมพี ลังงานสงู ขน้ึ มีการถ่ายเทพลังงานซ่ึงกันและกันทาให้อุณหภูมิช้ันบรรยากาศสูงข้ึน การถ่ายเทพลังงานและ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ้ภู ัยธรรมชาติ 2 - 6

ความยาวคลื่นของโมเลกุลต่อ ๆ กันไปในบรรยากาศทาให้โมเลกุลเกิดการสั่นและเคล่ือนไหว ตลอดเวลาเม่ือมาสัมผสั ถูกผวิ หนังของเราทาให้เกิดความรู้สกึ ร้อน 3) การพัฒนาดา้ นอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (industrial development) เป็นการทาให้ ภาคอุตสาหกรรมเจริญเติบโต (growth) หรือขยายตัว (expand) และมีการใช้เทคโนโลยี การผลิตเพ่มิ ขน้ึ ส่งผลใหเ้ กิดมลภาวะทางอากาศ การเปลีย่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศ และอาจจะเกิด สภาวะโลกร้อนได้ 4) การตดั ไม้ทาลายปา่ การทาลายป่า คือ สภาวะของป่าตามธรรมชาติทถ่ี ูกทาลายโดยการตัดไม้และ การเผาป่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนาต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือเพื่อจาหน่าย การตัด ต้นไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจานวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ โดยพืช พื้นท่ีป่าท่ีถูกทาลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และ คณุ ภาพของดินจะลดลงกลายเป็นทด่ี ินท่ีทาประโยชนไ์ ม่ได้ ในประเทศไทย ภยั แลง้ เกิดจากสาเหตุหลกั ๆ 4 ประการ ดังนี้ 1. ปริมาณฝนตกน้อยเกินไปเกิดสภาวะฝนท้ิงช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานหรือ การกระจายน้าฝนท่ีตกไม่สม่าเสมอตลอดท้ังปี ซึ่งกรณีหลังจะทาให้การขาดแคลนน้าเป็นบางช่วง หรือบางฤดูกาลเท่าน้ัน แต่ถ้าหากฝนตกน้อยกว่าอัตราการระเหยของน้าก็จะทาให้บริเวณนั้นเกิด สภาพการขาดแคลนน้าทต่ี อ่ เนื่องอยา่ งถาวร 2. ขาดการวางแผนในการใช้น้าท่ีดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้า รองรับนา้ ฝนทีต่ กเพ่อื นาไปใชใ้ นชว่ งขาดแคลนนา้ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 7

3. ลักษณะภูมิประเทศไม่อานวยจึงทาให้บริเวณน้ันไม่มีแหล่งน้าธรรมชาติ ขนาดใหญ่และถาวรหรืออยู่ใกล้ภูมิประเทศลาดเอียงและดินไม่อุ้มน้า จึงทาให้การกักเก็บน้าไว้ใช้ ทาไดย้ าก เชน่ ในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 4. พชื พนั ธุ์ธรรมชาตถิ กู ทาลายโดยเฉพาะพ้ืนทีป่ ่าตน้ น้าลาธาร 2.2 ผลกระทบที่เกดิ จากภัยแลง้ ภัยแล้งในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้า เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผล เสียหายต่อการเกษตร เช่น พ้ืนดินขาดความชุ่มช้ืน พืชขาดน้า พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิต ที่ได้มีคุณภาพต่า รวมถึงปริมาณลดลง ส่วนใหญ่ภัยแล้งท่ีมีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนท่ีมี ฝนท้ิงช่วงเปน็ เวลานาน ผลกระทบท่ีเกดิ ขน้ึ รวมถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ดงั น้ี 2.2.1 ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจท่ัวไป เช่น ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสีย อุตสาหกรรมท่องเท่ยี ว สง่ ผลให้รายไดข้ องประเทศลดลงกอ่ ให้เกดิ ปญั หาทางเศรษฐกิจ 2.2.2 ด้านสิ่งแวดลอ้ ม ส่งผลกระทบตอ่ สตั วต์ ่าง ๆ ทาใหข้ าดแคลนน้า เกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทาให้ระดับและปริมาณน้าลดลง พ้ืนที่ชุ่มน้าลดลง ความเค็มของน้าเปลี่ยนแปลง ระดับน้าในดินเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้า เปลยี่ นแปลง เกิดการกดั เซาะของดิน ไฟป่าเพิม่ ขนึ้ ส่งผลตอ่ คณุ ภาพอากาศและสูญเสยี ทศั นียภาพ เป็นตน้ 2.2.3 ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย เกิดความขัดแย้งในการใช้น้า และการจัดการคุณภาพชีวติ ลดลง ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 8

2.3 ห้วงเวลาการเกิดภัยและพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดภัยแล้งในประเทศไทย และ ประเทศตา่ ง ๆ ในทวปี เอเซีย 2.3.1 ห้วงเวลาการเกดิ ภัยแล้งและพ้ืนท่ีเส่ียงภยั ในประเทศไทย ช่วงฤดูหนาวต่อเน่ืองถึงฤดรู ้อน ซ่ึงเร่ิมจากครึ่งหลังของเดือนตลุ าคมเปน็ ตน้ ไป บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีปริมาณฝนลดลง เป็นลาดับ จนกระท่ังเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะ เกดิ ขน้ึ เปน็ ประจาทุกปี ตารางแสดงห้วงเวลาการเกิดภยั แลง้ และพน้ื ทีเ่ สีย่ งภยั ภาค/ ใต้ เดอื น เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนอื กลาง ตะวันออก ฝง่ั ฝง่ั ตะวันออก ตะวนั ตก ม.ค. - - - - - ฝนแลง้ ก.พ. - ฝนแลง้ ฝนแล้ง - - ฝนแลง้ มี.ค. ฝนแล้ง ฝนแลง้ ฝนแลง้ ฝนแล้ง ฝนแล้ง ฝนแลง้ เม.ย. ฝนแล้ง ฝนแลง้ ฝนแล้ง ฝนแลง้ ฝนแลง้ พ.ค. - - - - - ฝนแลง้ มิ.ย. ฝนท้งิ ชว่ ง ฝนทิง้ ชว่ ง ฝนท้ิงช่วง ฝนทิ้งชว่ ง - - ก.ค. ฝนท้ิงช่วง ฝนทิง้ ชว่ ง ฝนทงิ้ ช่วง ฝนทิ้งช่วง - - พ้ืนที่เส่ียงภัยแล้งในประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เข้าไปไม่ถึง อย่างไรก็ตาม ทุกภูมิภาคของประเทศไทยมีโอกาสประสบภัยแล้งและช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมจะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้น เฉพาะท้องถ่ินหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นท่ีเป็นบริเวณกว้างเกือบทุกภูมิภาคของ ประเทศมโี อกาสประสบภยั แลง้ ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - 9

2.3.2 หว้ งเวลาการเกิดภยั แล้งและพ้นื ทเี่ สีย่ งภยั ของประเทศต่าง ๆ ในทวปี เอเชยี ประเทศ จีน ภัยแล้ง ท่ีร้ายแรงที่สุดในรอบ 300 ปีเลยทีเดียว เป็นภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อ ผลผลิตทางการเกษตรในทางตอนเหนือของจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวสาลีที่ใหญ่ของโลก ซ่ึงอาจมี ผลทาให้ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกผันพวนได้ สานักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีนประกาศว่า มณฑลยูนนาน เสฉวน กุ้ยโจว และเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีประสบภัยแล้ง ซึ่งมีบาง พ้นื ท่ปี ระสบภัยแล้งรุนแรง ตัง้ แตเ่ ดอื นพฤศจกิ ายนเป็นต้นมา ภาคตะวันตกเฉยี งใต้และภาคใต้ของ จีนมีฝนตกน้อย มณฑลยูนนานที่ประสบภัยแล้งรุนแรงที่สุดมีปริมาณฝนในช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ลดลงร้อยละ 50 จากระยะเดียวกันของปกี ่อน ๆ เปน็ ปริมาณน้อยท่ีสุดหลังจากปี 1951 เป็นตน้ มา ปัจจุบันพืชพนั ธก์ุ ารเกษตรประสบภยั แล้งอยา่ งรุนแรง ประเทศอนิ เดีย นายประนาบ มุคเคอร์จี รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินเดีย เปิดเผยว่า อินเดียจะนาเข้าอาหารเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนอันเนื่องมาจากภัยแล้งเพื่อช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง ซ่ึงส่งผลกระทบต่อประชากร 700 ล้านคน ท้ังน้ีความแห้งแล้ง ได้ส่งผลกระทบต่อพ้ืนที่เกือบคร่ึงหนึ่งของอินเดีย โดยราคาอาหารปรับตัวสูงข้ึนร้อยละ 10 หลังจากฝนไมต่ กต้องตามฤดูกาล โดยมีผลกระทบตอ่ การปลูกขา้ ว ถ่ัวเหลอื ง ออ้ ย และฝ้าย อินเดียจะนาเข้าอาหารจากต่างประเทศมากขึ้นในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามกลับ กลายเป็นการเพิม่ ความหว่นั วติ กข้ึนว่า ราคาอาหารหลายรายการจะมรี าคาท่เี พมิ่ ขน้ึ รัฐบาลอินเดีย กล่าวว่า รฐั บาลจะมมี าตรการท่ีรับประกนั วา่ ราคาอาหารจะมเี สถียรภาพ ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - 10

เรื่องที่ 3 สถานการณ์การเกดิ ภยั แล้ง ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่กาลังประสบภัยแล้งคร้ังร้ายแรงที่สุดในรอบหลาย ทศวรรษ หลายประเทศในโลกก็กาลังต่อสู้กับวิกฤตขาดแคลนน้า ส่งผลให้ประชาชนได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์การเกิดภยั แล้ง 3.1 สถานการณ์ภยั แลง้ ในประเทศไทย และประเทศตา่ ง ๆ ในทวปี เอเซีย สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันเป็นผลมาจากปริมาณน้าต้นทุนในเขื่อนหลายแห่ง ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งในเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557 มีจังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบ และประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) ท้ังหมด 44 จังหวัด 311 อาเภอ 1,927 ตาบล 18,355 หมู่บ้าน แบ่งเป็นภาคเหนือ 13 จังหวัด ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 10 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 7 จังหวัด โดยปัจจัยหลักท่ีทาให้เกิดภาวะแล้ง คือ ปริมาณฝนที่ถึงแม้ว่าปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2556 สูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 14 แต่กลับพบว่ามีฝนที่ตกบริเวณพ้ืนที่รับน้าของเข่ือนภูมิพล และเขอื่ นสริ กิ ติ ์ิคอ่ นข้างนอ้ ยท่สี ดุ ในรอบ 10 ปี สาหรับปี พ.ศ. 2558 มีพ้ืนท่ีประสบภัยกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซ่ึงส่วนใหญ่อยู่ ทางภาคเหนือและภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื เช่น จงั หวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดติ ถ์ ตาก นา่ น ลพบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร อานาจเจริญ สุรินทร์ เป็นต้น เนื่องจากภัยแล้งน้ี เกิดข้ึนในช่วงกลางฤดูฝน คือ ต้ังแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศโลก จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่า “ภัยแล้งนอกฤดูกาล” ซ่ึงภัยแล้งใน ลักษณะปัจจุปัน ทาให้ปริมาณน้าฝนเฉล่ียทั้งประเทศต่ากว่าค่าปกติราวร้อยละ 46 ปริมาณน้า ตน้ ทนุ ทั้งประเทศคอ่ นขา้ งตา่ อย่อู ยรู่ าวร้อยละ 45 ของปริมาณความจุเข่อื นทั้งประเทศ ความแห้งแล้งในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กาลังเป็นปัญหาที่ทาให้ผู้นาหลายประเทศ กลุ้มใจ ล่าสุดเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ลาว บุนยัง วอละจิด กล่าวย้าว่าจะพยายามให้เกิด ผลกระทบให้น้อยที่สดุ ต่อประเทศท่ีอยู่ด้านล่างแมน่ ้าโขงจากโครงการเขื่อนของลาวท่จี ะมกี ารสร้าง เข่ือนท้ังหมด 11 แห่งตามแนวแม่น้าโขง ประชากร 70 ล้านคนอาศัยเขตลุ่มแม่น้าโขงเป็นแหล่ง อาหารโดยตรง ซง่ึ จานวนมากเป็นชนเผา่ ตา่ ง ๆ ในเอเชยี อาคเนย์ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 - 11

สื่อ Phnom Penh Post ของกัมพูชา ระบุว่า นายบุนยังกล่าวว่าสาหรับเข่ือนดอนสะโฮง ของลาว ที่อยู่ใกล้ตอนเหนือกัมพูชา ทางรัฐบาลเวียงจันทน์ให้สัญญาว่าจะให้เกิดผลกระทบน้อย ท่สี ดุ ตอ่ เขมร และเสรมิ ว่าลาวได้ศกึ ษาโครงการนี้อย่างรอบคอบแล้ว Samin Ngach โฆษกของกลุ่มเยาวชนพ้ืนถ่ินของกัมพูชา หรือ Cambodia Indigenous Youth Association กล่าวว่าขณะนี้ปริมาณน้าสะอาดมีอย่างจากัด และอาหารหลักซึ่งก็คือข้าว ก็เกิดปัญหาผลผลิตตกต่าเพราะฝนตกลงมาน้อยในหน้าฝนปีท่ีแล้ว เขากล่าวว่าในชุมชนพื้นบ้าน ชาวบ้านไมส่ ามารถปลูกขา้ วได้ และไมม่ ีอาหารรบั ประทาน ประเด็นหน่ึงท่ีถูกพูดถึงคือสาเหตุของภัยแล้งขณะน้ี ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการตัดไม้ ทาลายป่า และการสร้างเข่ือนในบริเวณต้นน้าของแม่น้าโขงในประเทศจีน รวมถึงการเปล่ียน พ้ืนท่ีป่ามาเป็นที่ดินอุตสาหกรรมขณะเดียวกันน่าจะเป็นผลของภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ผิดธรรมชาติด้วย ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - 12

3.2 สถิติการเกดิ ภัยแล้งของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชยี จากสถานการณ์การเกิดความแห้งแล้ง ปัจจุบันความแห้งแล้งได้เกิดขึน้ ในหลายพ้นื ที่ ของโลกรวมท้ังประเทศไทยและนับวันจะทวีความรุนแรงมากข้ึนบริเวณพื้นที่ท่ีเกิดและช่วงเวลา ที่เกิดก็ยาวนานมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ภัยแล้งในประเทศจีน แม่น้าฉางเจียงและแม่น้าหวางเหอ ซงึ่ เป็นแม่น้าสายหลักของประเทศ มรี ะดบั นา้ ลดลงอย่างผดิ ปกติ ส่งผลให้ประเทศจีนหลายล้านคน ขาดแคลนนา้ ในการอปุ โภคบริโภคและยังมีอกี หลายประเทศทีไ่ ด้รบั ผลกระทบเชน่ เดยี วกัน ดงั น้ี ตารางแสดงสรปุ ผลกระทบทเ่ี กดิ จากภยั แล้งของประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเชีย 10 อันดับภัยพิบัติ สถิติภัยแล้งท่ีส่งผลต่อจานวนมนุษย์ Year Affected (ปี) (ได้รับผลกระทบ/คน) India (ประเทศอินเดีย) India (ประเทศอินเดีย) 2015 425,000,000 India (ประเทศอินเดีย) 2002 300,000,000 India (ประเทศอินเดีย) 1987 300,000,000 China (ประเทศจีน) 1982 100,000,000 China (ประเทศจีน) 1994 82,000,000 India (ประเทศอินเดีย) 2002 60,000,000 China (ประเทศจีน) 2000 50,000,000 China (ประเทศจีน) 1988 49,000,000 Iran (ประเทศอิหร่าน) 2003 48,000,000 1999 37,000,000 ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - 13

เรอื่ งที่ 4 แนวทางการป้องกนั และการแก้ไขปญั หาผลกระทบทเ่ี กดิ จากภยั แล้ง การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้งน้ัน ต้องเตรียมความพร้อมตั้งรับ สถานการณท์ ่อี าจจะเกิดขึ้น และการปฎิบัติตนขณะเกิดภัยแล้ง รวมทั้งการชว่ ยเหลือฟื้นฟูภายหลัง เกดิ ภัยแล้ง 4.1 การเตรียมความพร้อม การเตรียมตัวเพ่ือรับสถานการณ์การเกิดภัยแล้งท่ีจะเกิดขึ้น ดังนี้ 4.1.1 เตรียมกักเกบ็ นา้ เพ่ือการบรโิ ภคใหเ้ พียงพออย่ารรี อมิฉะน้ันจะไม่มีน้าใหเ้ กบ็ 4.1.2 ขดุ ลอกคู คลอง และบ่อน้าบาดาล เพือ่ เพ่ิมปริมาณกักเก็บน้า 4.1.3 วางแผนการใช้น้าอยา่ งประหยดั เพ่ือใหม้ นี ้าใช้ตลอดชว่ งภยั แลง้ 4.1.4 เตรยี มหมายเลขโทรศพั ท์ฉกุ เฉนิ เพอ่ื การขอนา้ บริโภคและการดบั ไฟป่า 4.1.5 ปลูกหญ้าแฝกรอบๆ ตน้ ไม้ผล หรอื รอบแปลงปลูกผัก ตดั ใบหญ้าแฝกในชว่ งฤดู แล้ง ลดการคายน้า ลดการใช้น้าของหญ้าแฝก และนาใบมาใชใ้ บคลมุ โคนตน้ ไมแ้ ละแปลงผกั ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 - 14

4.2 การปฎบิ ัตขิ ณะเกดิ ภัยแลง้ ขณะทเี่ กิดภัยแล้ง เราจะต้องปฏิบัติดังต่อไปน้ี 1. การใช้นา้ เพอื่ การเกษตร ควรใชช้ ่วงเช้า และเย็นเพ่ือลดอัตราการระเหยนา้ 2. การใช้น้าจากฝกั บัวเพ่ือชาระร่างกายจะประหยดั น้ามากกวา่ การตักอาบ 3. กาจดั วสั ดเุ ช้อื เพลิงรอบทพี่ กั เพอื่ ป้องกั้นการเกิดไฟป่า และการลกุ ลาม 4.3 การช่วยเหลือและฟ้ืนฟภู ายหลงั การเกิดภัยแล้ง หลงั จากการเกิดภัยแล้ง เราจะต้อง เตรยี มตัวและปฏิบตั ดิ งั ตอ่ ไปน้ี 1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคาเตอื นจากกรมอตุ นุ ิยมวิทยา 2. ไม้ผลคลุมโคนต้นด้วยฟางเปลือกถ่ัว เศษใบไม้ ใบหญ้า ปลูกพืชตระกูลถ่ัวรอบ บริเวณโคนต้น โดยเริ่มคลุมในช่วงปลายฤดฝู น หรือช่วงต้นฤดแู ล้ง พืชผัก คลุมด้วยฟางข้าว แกลบ สด พลาสติก เปน็ ตน้ ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ูภ้ ัยธรรมชาติ 2 - 15

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 วาตภัย สาระสาคญั วาตภัยเป็นภัยที่เกิดจากพายุแรงลมซึ่งสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายต่อชีวิต ส่ิงแวดล้อมและทาให้เกิดอุทกภัยตามมา ซ่ึงพื้นที่เส่ียงภัยนั้นจะอยู่ในรัศมี 50- 100 กิโลเมตรจาก แนวศูนย์กลางการเคล่ือนท่ีของพายุ สาหรับในประเทศไทยมีโอกาสเกิดพายุทั้งทางฝั่งทะเลจีนใต้ และฝั่งทะเลอันดามัน จากในอดีตถึงปัจจุบันพายุที่ก่อความเสียหายอย่างมากมายให้แก่ประเทศ ไทย ได้แก่ พายุโซนร้อน “แฮเรียต” และพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ส่วนในทวีปเอเชียพายุที่สร้างความ เสียหายมากมาย ได้แก่ พายุไซโคลน “ซิดร์” ในประเทศบังคลาเทศ และพายุไซโคลน “นาร์กีส” ในประเทศพม่า ดังน้ันจึงจาเป็นต้องเรียนรู้ลักษณะการเกิดวาตภัย สถานการณ์และความเสียหาย ต่าง ๆ รวมทัง้ วิธีเตรียมความพร้อมในการปอ้ งกนั และแก้ปญั หาก่อนทภี่ ัยนี้จะมาเยือน ตวั ชว้ี ัด 1. บอกความหมายของวาตภัย ประเภทของวาตภัย สาเหตุและปัจจัย พ้ืนท่ีเส่ียงภัยและ ผลกระทบท่เี กิดจากวาตภยั 2. ตระหนักถึงภยั และผลกระทบท่เี กดิ จากวาตภยั 3. บอกสถานการณว์ าตภัยในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชยี 4. นาเสนอผลการเปรยี บเทียบสถิตกิ ารเกดิ วาตภยั ของประเทศไทย 5. บอกวิธีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การเกิดวาตภัย วิธีการปฏิบัติขณะเกิด วาตภัย และวธิ ีปฏบิ ตั ิตนหลังเกดิ วาตภัย ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - 16

ขอบขา่ ยเน้ือหา เรื่องท่ี 1 ความหมายของวาตภยั 1.1 ความหมายของวาตภัย 1.2. ประเภทของวาตภัย เรอ่ื งที่ 2 ลกั ษณะการเกดิ วาตภยั 2.1 สาเหตุและปจั จัยการเกดิ วาตภัย 2.2 ลกั ษณะการเกิดวาตภัยประเภทต่าง ๆ 2.3 ผลกระทบจากวาตภัย 2.4 พ้นื ทีเ่ ส่ียงตอ่ การเกิดวาตภัยในประเทศไทย เร่ืองที่ 3 สถานการณว์ าตภยั 3.1 สถานการณว์ าตภยั ในประเทศไทย 3.2 สถานการณว์ าตภยั ในทวีปเอเชีย 3.3 สถติ ิการเกิดวาตภัยในประเทศไทย เรื่องท่ี 4 แนวทางการปอ้ งกนั และการแกไ้ ขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากวาตภยั 4.1 การเตรียมการกอ่ นเกิดจากวาตภัย 4.2 ขอ้ ปฏิบัตเิ ม่ือเกิดวาตภัย 4.3 การแกป้ ญั หาหลังเกดิ วาตภยั เวลาทใี่ ช้ในการศกึ ษา 15 ชัว่ โมง สื่อการเรยี นรู้ 1. ชดุ วชิ าการเรียนรูส้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 2. สมุดบันทึกกจิ กรรมรายวิชาการเรยี นร้สู ูภ้ ัยธรรมชาติ 2 3. เวบ็ ไซต์ 4. ส่ือสิง่ พิมพ์ เชน่ แผน่ พับ โปสเตอร์ ใบปลิว เปน็ ต้น ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 17

เรื่องที่ 1 ความหมายของวาตภยั 1.1 ความหมายของวาตภยั วาตภัย หมายถึง ภัยที่เกิดข้ึนจากพายุ ลมแรง จนทาให้เกิดความเสียหายและเป็น อันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือนและส่ิงก่อสร้าง รวมถึงต้นไม้ พืชผักต่าง ๆ นอกจากนี้ ยงั ทาใหเ้ กดิ อทุ กภยั ตามมาอกี ดว้ ย 1.2 ประเภทของวาตภยั ในประเทศไทยการเกิดวาตภัยหรอื พายุลมแรง ส่วนใหญ่มสี าเหตมุ าจากปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ ความแรงลมตั้งแต่ 60 กิโลเมตรต่อช่ัวโมงขึ้นไปที่ทาความเสียหายและเป็นอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน วาตภัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน และ พายทุ อร์นาโด 1.2.1 พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติท่ีเกิดข้ึนเป็นประจาเหนือ พืน้ ผิวโลกในแต่ละพน้ื ท่ีจะเปน็ ไปตามฤดูกาล บรเิ วณใกล้เส้นศนู ยส์ ูตรมสี ภาพอากาศในเขตรอ้ น จงึ มีอากาศร้อน อบอ้าว ซ่ึงเอ้ือต่อการก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนองได้ตลอดปี พายุน้ีจะเกิดขึ้นในช่วง ฤดรู ้อน มักจะเกดิ ในเดือนมีนาคมถงึ เดือนเมษายน พายุประเภทนีเ้ กิดข้นึ บ่อยในภาคเหนอื และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก จะเกิดน้อย สาหรับภาคใต้ก็อาจเกิดพายุ ประเภทน้ีได้แต่ไม่บอ่ ยนกั 1.2.2 พายุหมุนเขตร้อนหรือพายุไซโคลน เกิดในฤดูฝน ต้ังแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือน ตุลาคม พายุน้ีเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกและดา้ นใต้ หรือทะเลจีนใต้ แล้วเคลื่อนเข้าสู่ ฝั่งทวีป โดยจะมีผลกระทบต่อลม ฟ้า อากาศของประเทศไทย คือ ทาให้เกิดคล่ืนสูงใหญ่ในทะเล และน้าข้ึนสูง พายุนี้มีช่ือเรียกตามขนาดความรุนแรงของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางของพายุซ่ึงมี ลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลม เรียกว่า “ตาพายุ” ท่ีทวีกาลังแรงข้ึนเป็นลาดับจากดีเปรสช่ันเป็น พายุโซนรอ้ น และพายไุ ตฝ้ นุ่ โดยใชเ้ กณฑ์การพจิ ารณาความรนุ แรงของวาตภัย ดังนี้ ชนิดของพายุ ความเรว็ ลมสงู สุดใกล้ศนู ยก์ ลางของพายุ ดีเปรสชนั่ 33 นอต (62 กิโลเมตร/ชัว่ โมง) โซนร้อน 34-63 นอต (63-117 กโิ ลเมตร/ชั่วโมง) ไต้ฝุ่น 64-129 นอต (118-239 กิโลเมตร/ช่วั โมง) ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - 18

การตั้งช่ือพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 33 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (พายุโซนร้อน) น้ัน แต่ก่อนถูกกาหนดโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซ่งึ จดั รายชอื่ ทีใ่ ช้เรยี กพายหุ มุนเขตร้อนท่ีกอ่ ตัวในมหาสมุทรแปซฟิ กิ ไวเ้ ปน็ สากล กระทั่งปี พ.ศ. 2543 เร่ิมมีระบบการต้ังชื่อพายเุ ปน็ ภาษาพืน้ เมือง โดยคณะกรรมการ พายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ท่ีประกอบด้วยประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวม 14 แห่ง ไดแ้ ก่ กมั พูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮอ่ งกง ญปี่ นุ่ ลาว มาเก๊า มาเลเซยี ไมโครนเี ซีย (รฐั อสิ ระอยู่บรเิ วณ มหาสมุทรแปซฟิ ิกเหนอื หมเู่ กาะอินโดนเี ซยี ) ฟลิ ิปปนิ ส์ เกาหลใี ต้ ไทย สหรฐั อเมรกิ า และเวียดนาม ได้จัดระบบการเรียกชื่อพายุหมุนเขตร้อนใหม่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและ ทะเลจีนใต้ โดยให้แต่ละประเทศส่งรายชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองประเทศละ10 ชื่อ รวมทง้ั สิน้ 140 ช่ือ นามาแบง่ เปน็ 5 ชุดหลัก ชดุ ละ 28 ชอ่ื เรียงชื่อพายุตามลาดบั ตามชอ่ื ประเทศ ด้วยตวั อักษรภาษาองั กฤษเร่มิ จากกัมพชู าเรื่อยไปจนถึงเวียดนามซงึ่ เป็นลาดบั สุดท้าย ประเทศไทย อยู่ลาดับท่ี 12 เม่ือใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มท่ี 2 เรียงกันเร่ือยไป ๆ จนหมดชุดที่ 5 แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของชุดที่ 1 อีกครั้ง หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความเสียหาย มากเป็นพเิ ศษก็ปลดช่ือพายลุ กู น้นั ไป แล้วต้งั ชื่อใหมแ่ ทนช่ือทถี่ กู ปลดออก 1.2.3 พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นช่ือเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาด เน้ือที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วลมท่ีจุดศูนย์กลางสูง มากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายรุนแรงในบริเวณท่ีพัดผ่าน เกิดได้ท้ังบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเลเรียกว่า นาคเล่นน้า (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า ทห่ี มุนตัวลงมาจากท้องฟา้ แต่ไมถ่ งึ พนื้ ดนิ มรี ปู รา่ งเหมือนงวงชา้ ง จึงเรยี กกันวา่ ลมงวง ภาพ นาคเลน่ น้า ภาพ ลมงวง ท่ีมา : http://www.posttoday.com/local/ ท่มี า : http://www.cycleforjoplin.com/wpcontent/ south/327548 uploads/2015/10/5.jpg ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - 19

เรื่องที่ 2 ลักษณะการเกิดวาตภยั 2.1 สาเหตแุ ละปัจจัยการเกิดวาตภยั สภาพพื้นผิวโลกแต่ละแห่งท่ีแตกต่างกัน ทาให้การดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ของ แต่ละพ้ืนท่ีไม่เท่ากัน บริเวณป่าหนาทึบจะดูดรังสีได้ดีที่สุด รองลงมา คือ พ้ืนดินและพ้ืนน้า ตามลาดับ เป็นผลให้อากาศท่ีอยู่เหนอื พื้นทดี่ ังกล่าวมีอุณหภูมแิ ละความกดอากาศต่างกัน ส่งผลให้ เกิดการเคล่ือนท่ีของอากาศที่เรียกโดยทั่วไปว่า ลม (wind) ซ่ึงแบ่งตามลักษณะของแหล่งกาเนิด ได้ 2 สาเหตุ คอื ความแตกตา่ งของอุณหภูมิสองแหง่ และความแตกต่างของความกดอากาศ 2.1.1 ความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง เน่ืองจากอากาศเม่ือได้ความร้อนจะ ขยายตัว อากาศร้อนจะลอยตัวสูงข้ึน ทาให้อากาศในบริเวณข้างเคียงซ่ึงมีอุณหภูมิต่ากว่าเคลื่อน เขา้ แทนที่ การเคลือ่ นที่ของอากาศเนือ่ งจากความแตกต่างของอณุ หภูมใิ นสองบริเวณก่อให้เกดิ ลม 2.1.2 ความแตกต่างของความกดอากาศ อากาศเม่ือได้รับความร้อนจะขยายตัว ทาให้มีความหนาแน่นลดลง เป็นผลให้ความกดอากาศน้อยลง อากาศเย็นในบริเวณใกล้เคียงซ่ึงมี ความหนาแน่นมากกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาบริเวณท่ีมีความกดอากาศต่า การเคลื่อนท่ีของอากาศ เนอ่ื งจากบรเิ วณทมี่ คี วามกดอากาศต่างกันก่อให้เกดิ ลม 2.2 ลกั ษณะการเกดิ วาตภัยประเภทต่าง ๆ 2.2.1 ก่อนเกิดพายุฟ้าคะนองหรือพายุฤดูร้อนมักจะมีสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า ได้แก่ อากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน ลมสงบนิ่ง ความชื้นในอากาศสูง และอาจรู้สึกเหนียว ตัว การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในแต่ละคร้ัง จะกินเวลานานประมาณ 2 - 4 ช่ัวโมง ซึ่งมีลาดับ เหตุการณ์เร่ิมต้ังแต่ อากาศร้อน อบอ้าว ท้องฟ้ามืดมัว อากาศเย็น ลมกระโชกแรงและมีกล่ินดิน ฟา้ แลบ ฟา้ ผ่า ฟา้ รอ้ ง ฝนตกหนกั บางครั้งอาจมีลกู เห็บตก เกดิ รุง้ กินนา้ พายุนท้ี าความเสียหายใน บริเวณท่ีไม่กว้างนัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร หลังจากพายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รูส้ กึ สดช่ืนข้นึ และทอ้ งฟ้าแจ่มใส 2.2.2 พายุหมุนเขตร้อนหรือพายุไซโคลน ที่มีถ่ินกาเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อน นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนเกิดข้นึ ไดห้ ลายแหง่ ในโลก และมีช่ือเรียกต่างกนั ไป ตามแหล่งกาเนดิ บริเวณท่มี พี ายุหมนุ เขตร้อนเกดิ ขน้ึ เป็นประจา ไดแ้ ก่ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 - 20

- เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทร แปซิฟิกเหนือเรยี กวา่ “เฮอรร์ ิเคน” - เกดิ ข้ึนในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวนั ตก และทะเลจีนใตเ้ รียกว่า “ไตฝ้ นุ่ ” - เกิดขนึ้ ในมหาสมทุ รอนิ เดยี เรยี กว่า “ไซโคลน” - เกดิ ขึ้นในทวีปออสเตรเลยี เรยี กว่า “วิลล่ี-วิลล”ี่ - เกิดในบรเิ วณหมเู่ กาะฟิลปิ ปินส์ เรยี กว่า “บาเกียว” - เกิดในทวีปอเมรกิ า เรียกวา่ “ทอร์นาโด” 2.3 ผลกระทบจากวาตภยั พ ายุเป็ น สิ่ ง แ วด ล้ อ ม ทาง ภูมิ อาก าศ ที่ เกี่ ยวข้ อ งกั บ การด ารงชี วิตข อง ม นุ ษย์มาก แม้ว่าพายุจะเกิดข้ึนไม่บ่อยนักก็ตาม แต่เม่ือมีพายุเกิดข้ึนและเคล่ือนท่ีผ่านบริเวณใด อาจจะเกิด ความเสยี หายมากมาย ดงั น้ี 2.3.1 เกิดฝนตกหนักและเกิดน้าท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนหลายหลังพังทลาย ประชากรเสียชวี ติ เป็นจานวนมาก 2.3.2 พืชผลท่ปี ลูกไว้และทนี่ าหลายหมน่ื ไร่ไดร้ ับความเสียหาย 2.3.3 ความเสียหายตอ่ กจิ การขนสง่ ท้ังทางบก ทางอากาศ และทางเรือ ดังน้ี 1) ทางบก การเกิดน้าท่วมอย่างรุนแรงทาให้ถนนและสะพานขาดหรือชารุด กจิ การขนส่งต้องหยุดชะงกั รฐั ต้องเสยี งบประมาณในการกอ่ สร้างและซ่อมแซมเป็นจานวนมาก 2) ทางอากาศ พายุที่พัดอย่างรุนแรงจะทาให้เครื่องบินได้รับอันตรายจากฝน ทตี่ กหนกั ลกู เหบ็ และฟ้าผ่าท่ีเกดิ ข้นึ อาจทาให้เครื่องบนิ ตกได้ 3) ทางเรอื การเกิดพายุขนึ้ ในทะเลทาให้เกดิ คลื่นขนาดใหญ่ และความแรงของ พายุทาให้เรืออับปางได้ ดังน้ันเม่ือเกิดพายุรุนแรงข้ึนในท้องทะเลจะต้องหยุดการเดินเรือ และหาทางนาเรอื เขา้ ทีก่ าบังหรือจอดพกั ตามทา่ เรือท่ีอยใู่ กลเ้ คยี ง ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - 21

2.4 พน้ื ทเ่ี ส่ยี งตอ่ การเกดิ วาตภยั ในประเทศไทย 2.4.1 การกาหนดขอบเขตพ้นื ท่ีวกิ ฤตจากวาตภัย ในประเทศไทย พ้ืนที่แต่ละภูมิภาคมีโอกาสเกิดวาตภัยแตกต่างกันไป ดังน้ัน การกาหนดขอบเขตพ้ืนที่วิกฤตจากวาตภัยจงึ ตอ้ งศกึ ษาขอ้ มลู ประกอบหลายประการ ดงั นี้ 1) ศกึ ษาขอ้ มลู สถติ ิการเกิดวาตภัย และความรุนแรงของการเกิดวาตภัยในอดีต ตลอดจนระดับความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง และเส้นทางพายุหมุนเขตร้อนซ่ึงเป็นสาเหตุของ การเกดิ วาตภัย 2) ศึกษาข้อมูลความเร็วลมสูงสุดรายวัน อย่างน้อยในรอบ 30 ปี แบ่งระดับ ความเร็วลม เพ่ือแสดงระดบั ความรุนแรงของวาตภัย 3) แบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขา พื้นที่ลอนลาด พื้นท่ีราบ และพ้ืนท่ี นา้ ทว่ มถงึ 4) กาหนดนา้ หนักในแต่ละปจั จัยท่ีมีผลต่อการเกิดวาตภยั โดยมีค่าถว่ งนา้ หนกั ของปัจจัยต่าง ๆ คือ ความเร็วลม ความถ่ีท่ีพายุเข้า ความถี่ที่พายุเคลื่อนท่ีผ่าน สภาพภูมิประเทศ รศั มีความรุนแรงของพายหุ มุนเขตรอ้ นในระดับตา่ ง ๆ เพ่ือนามากาหนดขอบเขตระดับเส่ยี งวาตภัย 5) จัดทาแผนท่ีแสดงระดบั ความเสี่ยงวาตภัย โดยการใช้ระบบ GIS 6) คานวณหาบริเวณพื้นท่ีที่ได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนท่ีระดับต่าง ๆ โดยพจิ ารณาจากพนื้ ท่ีท่อี ยู่ในรัศมีที่ศนู ยก์ ลางพายุเคล่ือนที่ผ่าน ในเขต 50 และ 100 กิโลเมตร 2.4.2 ระดบั พืน้ ท่เี สยี่ งวาตภยั พื้นท่ีเส่ียงวาตภัยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ พื้นท่ีเส่ียงวาตภัยระดับสูง พ้ืนที่เส่ียง วาตภัยระดับปานกลาง และพนื้ ท่เี สยี่ งวาตภยั ระดบั ต่า 1) พื้นท่ีเส่ียงวาตภัยระดับสูง เป็นพื้นท่ีที่อยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตรจากแนว ศูนย์กลางการเคล่ือนท่ขี องพายุ สภาพพน้ื ทีเ่ ป็นท่ีราบตา่ อยูใ่ กลแ้ ถบชายฝัง่ ทะเล หรือพื้นทเ่ี กาะ 2) พ้ืนท่ีเสี่ยงวาตภัยระดับปานกลาง เป็นพ้ืนที่อยู่ในแนวรัศมี 50 - 100 กิโลเมตร จากแนวศูนย์กลางพายุ สภาพพ้ืนที่เป็นท่ีลอนลาดและที่ราบเชิงเขา สภาพการใช้ ประโยชน์มกั จะเปน็ พน้ื ทเ่ี กษตรเป็นสว่ นใหญ่ 3) พ้ืนท่ีเส่ียงวาตภัยระดับต่า เป็นพ้ืนที่อยู่นอกแนวรัศมี 100 กิโลเมตรจาก ศูนยก์ ลางการเคลื่อนทข่ี องพายุ สภาพพน้ื ท่ีทเี่ ป็นภูเขาสงู สว่ นใหญ่ ความเสยี หายจงึ เกดิ ขนึ้ ไมม่ าก ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 22

เรอ่ื งท่ี 3 สถานการณ์วาตภัย 3.1 สถานการณว์ าตภัยในประเทศไทย พายุหมุนเขตร้อนที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย และก่อความเสียหายอย่างมากมาย ต่อทรัพย์สินและชีวิตของประชาชนท่ีรู้จักกันดีมีอยู่ 2 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อน “แฮร์เรียต” และพายุ ไต้ฝุน่ “เกย”์ 3.1.1 พายุ “แฮร์เรียต” เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกท่ีเกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพายุอย่างเป็นทางการ พายุนี้เร่ิมก่อตัวจากหย่อมความกด อากาศต่ากาลังแรงในทะเลจีนใต้ ใกล้ปลายแหลมญวน ในวันท่ี 24 ตุลาคม 2505 จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่อ่าวไทย และมีกาลังแรงข้ึนเป็นพายุดีเปรสชันอยู่ทางทิศ ตะวนั ออกของจงั หวัดสงขลาประมาณ 200 กิโลเมตร ก่อนค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียง เหนือ และทวีกาลังแรงเพ่ิมข้ึนเป็นพายุโซนร้อนเมื่อขึ้นฝั่งบริเวณแหลมตะลุมพุก อาเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยความเร็วลมสูงสุดวัดได้ที่สถานีตรวจอากาศนครศรีธรรมราช สูงถึง 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากลมที่พัดแรงแล้ว พายุลูกนี้ ยังพัดคลื่นทะเลซัดเข้าฝ่ัง ทาให้น้าทะเล หนุนเข้าอ่าวปากพนังพดั พาบา้ นเรอื นราษฎรเสยี หายอยา่ งมากมาย มผี เู้ สียชวี ติ กวา่ 900 คน 3.1.2 พายุไต้ฝุ่น “เกย์” เป็นพายุหมุนเขตร้อน ท่ีเกิดขึ้นในประเทศไทยลูกแรกที่มี ความรุนแรงถงึ ระดับพายไุ ต้ฝนุ่ พายุเริ่มก่อตวั เมื่อวันท่ี 1 พฤศจิกายน 2532 ในบรเิ วณตอนใต้ของ อ่าวไทย และเคลื่อนตัวข้ึนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือ เดิมพายุลูกน้ีมีทิศทางมุ่ง เข้าหาฝั่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาพายุนี้ได้ทวีกาลังแรงข้ึนจนถึงระดับพายุไต้ฝุ่นและ เปล่ียนทิศทางไปทางเหนือ และเคล่ือนตัวผ่านฐานขุดเจาะน้ามันของบริษัทยูโนแคลในอ่าวไทย ทาให้เรือขุดเจาะช่ือ “ซีเครสต์” (Sea Crest) พลิกคว่า มีเจ้าหน้าที่ประจาเรือเสียชีวิต 91 คน พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ทวีกาลังแรงเพิ่มข้ึนด้วยอัตราความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุ 100 นอต ก่อนเคล่ือนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณรอยต่อระหว่างอาเภอปะทิวกับอาเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ทาให้มี ผู้เสียชีวิตและทาความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในพ้ืนที่ของจังหวัดชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ โดยมี น้าท่วมและดนิ ถล่มในหลายพ้ืนท่ีแลว้ พายุนี้ยังส่งผลกระทบตอ่ จังหวัดใกลเ้ คียงตามชายฝั่งอา่ วไทย รวมท้ังจังหวัดตามชายฝั่งทะเลตะวันออกด้วย มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน สูญหายกว่า 400 คน ทรพั ย์สินเสยี หายไม่ตา่ กว่า 1 หมื่นล้านบาท เรอื กสวนไรน่ าเสยี หายกว่า 9 แสนไร่ เรอื ประมงจมลง สใู่ ตท้ อ้ งทะเลประมาณ 500 ลา ศพลกู เรอื ลอยเกลื่อนทะเลและสญู หายไปเป็นจานวนมาก นับเป็น การสญู เสยี จากพายไุ ตฝ้ ุน่ ครั้งใหญ่ทส่ี ดุ ในประเทศไทย ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 23

3.2. สถานการณว์ าตภัยในทวปี เอเชยี 3.2.1 พายุไซโคลน “ซิดร์” ก่อตัวข้ึนจากหย่อมความกดอากาศต่าในทะเล บริเวณ อ่าวเบงกอลทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะอันดามันในวันท่ี 9 พฤศจิกายน 2550 และเริ่ม ก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอีก 2 วันต่อมา พายุหมุนลูกนี้มีการพัฒนาขึ้นเป็นดีเปรสชั่นที่มี ความเรว็ ลม 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้เคลอ่ื นตวั อย่างช้า ๆ ในทศิ ตะวนั ตกเฉยี งใต้ จนถงึ เช้าของวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ดีเปรสช่ันลูกน้ีมีการพัฒนาตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุไซโคลนซิดร์ ที่มีความรุนแรงมากท่ีสุดในระดับ 4 ในเช้าวันท่ี 15 พฤศจิกายน 2550 มีความเร็วลมถึง 215 กโิ ลเมตรต่อช่ัวโมง และได้ออ่ นกาลังลงเม่ือพัดเข้าสู่แผ่นดินและทาความเสียหายให้ประเทศบังคลาเทศ อยา่ งรา้ ยแรงทส่ี ุดโดยสร้างความเสียหายให้กบั พ้ืนทก่ี วา่ 25 เขตจากทง้ั หมด 64 เขตทัว่ ประเทศ 3.2.2 พายไุ ซโคลน “นาร์กีส” เป็นพายลุ กู แรกทตี่ ั้งชื่อโดยกรมอตุ นุ ยิ มวิทยา ประเทศ ปากีสถาน ก่อนเกิดพายุลูกน้ี กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ตรวจพบหย่อมความกดอากาศต่ากาลัง แรงในอ่าวเบงกอล เม่ือวันท่ี 27 เมษายน 2551 และคาดว่าจะกลายเป็นพายุไซโคลนนาร์กิส ในวันรุ่งข้ึน ต่อมาเม่ือวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 พายุไซโคลนนาร์กิสได้พัดเข้าสู่ประเทศพม่า ทาให้กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าให้ทางการพม่า ทว่าไม่มีการตอบกลับจาก ทางการพม่าแต่อย่างใด ทาให้เม่ือเวลาประมาณเท่ียงคืนของวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 (ย่างเข้า วนั ที่ 3) พายไุ ซโคลนนาร์กิส มีความรนุ แรงมากถึงระดบั 4 มีความเร็วลมสูงสุดวดั ได้ 215 กิโลเมตร ต่อช่ัวโมง พัดขึ้นฝั่งบริเวณพื้นท่ีราบลุ่มปากแม่น้าอิระวดีในประเทศพม่า คล่ืนท่ีก่อตัวในทะเลซ่ึงมี ความสูงกว่า 3.5 เมตร ซัดเข้าหมู่บ้านริมชายฝั่ง ก่อให้เกิดความเสียหายในพ้ืนที่เมือง 7 เมืองใน มณฑลอิระวดี และอีกหลายเมืองในมณฑลพะโค และมณฑลย่างกุ้ง ซ่ึงเป็นพ้ืนที่ติดต่อกัน มีผู้เสียชีวิตถึง 133,000 คน อีก 55,917 คนยังสูญหาย บาดเจ็บอีก 19,359 คน ประชาชนท่ีไดร้ ับ ผลกระทบท้ังหมดกว่า 2.5 ล้านคน นาข้าวของชาวบ้านถูกทาลายไปกว่า 650,000 เอเคอร์ทั้งใน มณฑลย่างกุ้งและในมณฑลอริ ะวดี ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 - 24

3.3 สถติ ิการเกดิ วาตภยั ในประเทศไทย ประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกาเนิดของพายุหมุนเขตร้อนท้ังสองด้าน ด้านตะวันออก คือ มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตก คือ อ่าวเบงกอล และ ทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทย ทางด้านตะวันออก มากกว่าทางตะวันตก บริเวณที่พายุมีโอกาสเคล่ือนผ่านเข้ามามากที่สุด คือ ภาคเหนอื และภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ ในชว่ งเวลาทแ่ี ตกต่างกนั ดังนี้ 3.3.1 พายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทยน้ัน เกิดในช่วงฤดูฝน ต้ังแต่เดือน พฤษภาคมถึงตุลาคม หรือพฤศจิกายน ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม มักปรากฏ ไม่มากนัก อาจมีเพียง 1-2 ลูก แต่ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน อาจมีพายุถึง 3-4 ลูก พายุที่เกิดในช่วงนี้มักจะข้ึนฝ่ังบริเวณประเทศเวียดนาม แล้วค่อย ๆ อ่อนกาลังลงตามลาดับไม่มี อนั ตรายจากลมแรง แต่พายุทเี่ กดิ ในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ส่วนใหญ่จะผา่ นมาทางตอน ใต้ของปลายแหลมญวน หากเป็นพายุใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย อาจทาให้เกิดความเสียหายได้ เช่น พายเุ ขตร้อน“แฮร์เรียต” และพายุไต้ฝ่นุ “เกย”์ เป็นต้น 3.3.2 พายุหมุนเขตร้อนในทะเลอันดามัน เกิดได้ใน 2 ช่วงเวลาของปี คือ ช่วงที่ 1 ในเดือนเมษายน ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ช่วงท่ี 2 ในกลางเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม พายุหมุน เขตร้อนท่ีเข้าส่ปู ระเทศไทยเฉล่ียปีละประมาณ 3 ลูก พายุหมุนเขตร้อนท่ีเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยโดยมีกาลังแรงถึงขั้นพายุโซนร้อน ขึ้นไป ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2495-2550 มีจานวน 14 ลูก แต่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงมีจานวน 8 ลูก ดังนี้ บริเวณทีพ่ ายุ การเคลอ่ื นเข้าสู่ประเทศไทย ช่ือพายุ เคล่ือนตัว ความเสียหาย ขึ้นฝ่ัง ชนิดพายุ พืน้ ที่ วัน/เดอื น/ปี 1. พายุ ประเทศ โซนรอ้ น จงั หวัดตราด 22 ตุลาคม ทาให้เกดิ นา้ ทว่ มหลายแห่ง ไตฝ้ ุ่น “เว้” เวยี ดนาม 2495 ในจงั หวัดชลบรุ ี จันทบรุ ี (Vae) สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังมีผู้เสยี ชีวิตเน่ืองจาก เรือใบล่มในทะเลจานวนหนึ่ง ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 - 25

บรเิ วณทีพ่ ายุ การเคลือ่ นเขา้ สู่ประเทศไทย ช่อื พายุ เคลอ่ื นตวั ชนดิ พายุ พน้ื ท่ี วนั /เดือน/ปี ความเสียหาย ขนึ้ ฝง่ั 2. พายุเขต ประเทศไทย โซนร้อน บริเวณแหลม 26 ตลุ าคม มีผูเ้ สียชีวิต 935 คน บา้ นเรือน รอ้ น “แฮรเ์ รียต” ตะลมุ พกุ 2505 พงั ทลายกว่า 50,000 หลงั ไร่นา (Harriet) จังหวดั เสียหายนบั แสนไร่ รวมคา่ เสยี หาย นครศรธี รรมราช กว่า 1,000 ล้านบาท ในภาคใต้ ต้งั แตจ่ ังหวดั ประจวบคีรีขนั ธ์ ลงไป ถึงจังหวัดนราธิวาส รวม 12 จงั หวดั 3. พายุ ประเทศไทย ไตฝ้ นุ่ จังหวัด 4 ทาความเสียหายอย่างมากต่อชีวิต ไตฝ้ นุ่ “เกย์” บรเิ วณจังหวัด ชุมพร พฤศจิกายน และทรัพย์สิน เกิดฝนตกหนัก (Gay) ชุมพร 2532 น้าท่วม โคลนถล่ม ทั้งในจังหวัด ชุ ม พ ร แ ล ะ จั ง ห วั ด ใ ก ล้ เ คี ย ง นอกจากน้ียังมีเรือล่มอับปางลงใน อ่าวไทยนับร้อยลา เน่ืองจากลม พายุท่ีมีกาลังแรง และมีผู้เสียชีวิต ในทะเลอีกหลายร้อยคน เปน็ พายุท่ี มีกาลังแรงมาก 4. พายุ ประเทศ โซนร้อน จังหวดั 30 - พายุเคล่ือนผ่านสาธารณรัฐ ไตฝ้ ุ่น เวยี ดนาม หนองคาย สงิ หาคม ประชาธิปไตยประชาชนลาว และ “เบกกี” ตอนบน 2533 อ่อนกาลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน (Becky) แล้วผ่านประเทศไทยทางจังหวัด น่าน - พายุนี้ทาใหเ้ กดิ ฝนตกหนกั และน้า ท่วมในหลายจังหวัดของภ าค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ ภาคเหนือตอนบน สร้างความ เ สี ย ห า ย ต่ อ บ้ า น เ รื อ น แ ล ะ ส่ิงสาธารณูปโภคและไร่นาจานวน มาก ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - 26

บรเิ วณท่พี ายุ การเคลือ่ นเขา้ สูป่ ระเทศไทย ช่ือพายุ เคลอ่ื นตัว ชนดิ พายุ พืน้ ที่ วนั /เดอื น/ปี ความเสียหาย ขึ้นฝง่ั 5. พายุ ไตฝ้ ุน่ ประเทศ โซนร้อน จงั หวดั 17 - พายุเคล่ือนผ่านจังหวัดสกลนคร “เฟรด” (Fred) เวียดนาม นครพนม สงิ หาคม และอุดรธานี แล้วอ่อนกาลังเป็น ตอนบน 2534 พายุดีเปรสชันท่ีบริเวณจังหวัด ขอนแกน่ - ทาให้เกิดน้าท่วมเป็นบริเวณกวา้ ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ก่อให้เกิดความเสียหาย อยา่ งมาก 6. พายุ บรเิ วณจังหวัด โซนรอ้ น จงั หวดั 15 - พ า ยุ เ ค ล่ื อ น ตั ว ผ่ า น จั ง ห วั ด เขตร้อน นครศรีธรรมราช นครศร-ี พฤศจิกายน สุราษฎร์ธานี พังงา แล้วลงสู่ทะเล “ฟอร์เรสต์” ธรรมราช (Forrest) 2535 อันดามัน ทาความเสียหายให้กับ บ้านเรือน และไร่นา ในจังหวัด นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ประเมินค่าความเสียหายมากกว่า 3,000 ล้านบาท 7. พายุ ประเทศไทย โซนรอ้ น อาเภอทบั สะแก 4 - พายนี้เคล่ือนตัวผ่านประเทศ ไต้ฝ่นุ จังหวดั พฤศจิกายน เมยี นมาร์ไปลงทะเลอนั ดามัน “ลนิ ดา” อาเภอทบั สะแก (Linda) จงั หวัด ประจวบครี ขี ันธ์ 2540 - ทาให้บริเวณอ่าวไทยมีลมและ คล่ืนแรง เรือประมงอับปางหลาย ประจวบครี ขี นั ธ์ สบิ ลา และเกดิ ฝนตกหนกั ในจงั หวัด ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และระนอง เกดิ น้าท่วมและน้าป่าไหลหลาก มูลค่า ความเสียหายมากกว่า 200 ล้าน บาท ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ้ภู ยั ธรรมชาติ 2 - 27

บริเวณทีพ่ ายุ การเคลือ่ นเขา้ ส่ปู ระเทศไทย ชือ่ พายุ เคล่ือนตวั ชนดิ พายุ พน้ื ท่ี วัน/เดือน/ปี ความเสยี หาย ข้นึ ฝ่งั 8. พายุ ประเทศ โซนรอ้ น บริเวณ 13 - พายุอ่อนกาลังเป็นพายุดีเปรสชัน ไต้ฝุ่น เวียดนาม จังหวัด มถิ ุนายน เคล่ือนผ่านจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด “จันทู” ตอนกลางและ อุบลราชธานี 2547 กาฬสินธ์ุ อุดรธานี และหนองคาย (Chanthu) ออ่ นกาลงั ลง เ ข้ า สู่ ส า ธ า ร ณ รั ฐ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย เปน็ พายโุ ซน ประชาชนลาว รอ้ นเคล่อื นตวั - ทาให้มีฝนตกชุกหนาแน่น เกิด ผ่านประเทศ นา้ ทว่ มในหลายพน้ื ท่ีของภาคเหนือ ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทา ความเสียหายให้แก่บ้านเรือน และ ไ ร่ น า เ ป็ น อั น ม า ก ป ร ะ เ มิ น ค่าความเสยี หายกวา่ 70 ล้านบาท ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 28

เร่ืองที่ 4 แนวทางการป้องกนั และการแกไ้ ขปัญหาผลกระทบท่เี กิดจากวาตภยั 4.1. การเตรยี มการกอ่ นเกิดวาตภัย 4.1.1 ติดตามข่าว ประกาศ และคาเตือนภัยเกี่ยวกับลักษณะอากาศร้ายจากกรม อุตนุ ยิ มวิทยา 4.1.2 เตรียมวิทยแุ ละอุปกรณ์สื่อสารท่ใี ชถ้ ่านแบตเตอร่ี เพอื่ ติดตามขา่ วในกรณที ี่ไฟฟ้า ขดั ขอ้ ง 4.1.3 ตัดกิ่งไม้ท่ีอาจหักลงจากแรงลมพายุ โดยเฉพาะก่ิงไม้ที่มีโอกาสหักลงมาทับ บา้ นเรือน หรือสายไฟฟ้าได้ สว่ นต้นไมท้ ี่ยนื ต้นตาย ควรโค่นลงใหเ้ รยี บรอ้ ย 4.1.4 ตรวจเสาและสายไฟฟ้า ท้ังภายในและภายนอกบริเวณบ้านเรือนให้เรียบร้อย ถา้ ไม่แข็งแรงใหย้ ดึ เสาไฟฟา้ ให้มัน่ คง 4.1.5 ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมท้ังยึดประตูและหน้าต่างให้ม่ันคงแข็งแรง ถ้าประตหู นา้ ต่างไมแ่ ขง็ แรง ใหใ้ ชไ้ มท้ าบตอกตะปูตรงึ ปิดประตู หน้าตา่ งไว้จึงจะปลอดภัยย่ิงขึ้น 4.1.6 ปดิ กนั้ ชอ่ งทางลมและช่องทางตา่ ง ๆ ท่ีลมจะเขา้ มาทาให้เกดิ ความเสยี หาย 4.1.7 เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟให้พร้อมและนามาวางไว้ใกล้ ๆ มือ เมอ่ื เกดิ ไฟฟ้าดับจะได้หยิบใช้อย่างทันทว่ งที 4.1.8 เตรยี มอาหารสารอง นา้ ดืม่ อาหารกระป๋องไว้เพอื่ ยังชีพในระยะเวลา 2-3 วนั 4.1.9 ดบั เตาไฟใหเ้ รียบร้อยและควรจะมีอุปกรณส์ าหรับดบั เพลิงไว้ภายในบา้ น 4.1.10 เตรยี มเคร่ืองเวชภัณฑ์ 4.1.11 จดั วางสิ่งของไว้ในที่ตา่ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้ 4.1.12 ลงสมอยึดตรึง เรือ แพ ให้มั่นคงแข็งแรง 4.1.13 ควรเตรียมพาหนะและเติมน้ามันไว้ให้พร้อม ภายหลังพายุสงบอาจต้องนา ผู้ป่วยส่งสถานพยาบาล 4.1.14 หากอาศัยอยู่ในท่ีราบหรือริมน้า ควรรีบท้าการอพยพผู้คน สัตว์เลี้ยง และ ทรพั ย์สินข้ึนไปอยใู่ นทสี่ งู ทีม่ นั่ คงแขง็ แรง 4.1.15 ซักซ้อมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว โดยกาหนดวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิด วาตภัย กาหนดจุดนัดพบท่ีปลอดภัย เมื่อมีการพลัดพรากหรือเตรียมการเพ่ือการอพยพเคล่ือนยา้ ย ไปอยทู่ ่ปี ลอดภยั ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ูภ้ ยั ธรรมชาติ 2 - 29

4.1.16 ตั้งสติให้ม่ัน ติดสินใจช่วยครอบครวั ใหพ้ ้นอนั ตรายในภาวะวิกฤต โดยปรกึ ษา นักพยากรณ์อากาศ ตามหมายเลขโทรศพั ท์ 398-9830, 399-4012-3 4.2 ขอ้ ปฏบิ ตั ิเมอ่ื เกิดวาตภัย ขณะเกิดวาตภัยต้องตั้งสติให้ม่ัน เพื่อตัดสินใจช่วยครอบครัวให้พ้นอันตรายในภาวะ วกิ ฤต ไม่ควรออกมานอกอาคาร และปฏบิ ตั ิ ดังน้ี 4.2.1 กรณอี ยทู่ ีน่ อกบา้ น 1) รีบหาอาคารทมี่ ั่นคงแขง็ แรงแล้วเข้าไปหลบอยภู่ ายใน 2) กรณีทเี่ ล่นน้าตอ้ งรบี ขึน้ จากนา้ และไปใหพ้ ้นชายหาด 3) ถ้าอยู่ในที่โล่ง เช่น ทุ่งนา ควรนั่งยอง ๆ ปลายเท้าชิดกันและเขย่งปลายเท้า ใหเ้ ทา้ สัมผัสพน้ื ดินนอ้ ยทีส่ ุดและโนม้ ตัวไปข้างหน้า ไมค่ วรนอนราบกับพนื้ 4) อยู่ให้ไกลจากโลหะท่ีเป็นส่ือไฟฟ้าทุกชนิด เช่น อุปกรณ์ทาสวน รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ และรางรถไฟ 5) ห้ามอยู่ใต้ตน้ ไมท้ ี่โดดเดีย่ วโล่งแจง้ 6) ห้ามใช้โทรศพั ท์มือถือ 4.2.2 กรณอี ยู่ในบา้ น อยู่ให้ไกลจากอุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะท่ีเป็นสื่อนาไฟฟ้าทุกชนิด และงดใช้ โทรศพั ท์ 4.3 การแก้ไขปัญหาหลงั จากเกดิ วาตภัย หลังจากลมสงบแล้ว ต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง หากพ้นระยะน้ีแล้วไม่มีลมแรง เกิดขนึ้ อีกจึงจะวางใจไดว้ ่า พายผุ ่านพ้นไปแล้ว เพราะเมือ่ ศนู ยก์ ลางพายุผ่านไปแล้วจากนน้ั จะต้อง มีลมแรงและฝนตกหนักตอ่ มาอีกประมาณ 2 ชว่ั โมง เม่ือแนใ่ จปลอดภัยแล้วจึงปฏบิ ตั ิ ดังนี้ 4.3.1. หากมผี ้บู าดเจ็บให้รีบช่วยเหลอื และนาส่งโรงพยาบาลหรอื สถานพยาบาลที่อยู่ ใกล้เคยี งใหเ้ ร็วทีส่ ดุ 4.3.2 ต้นไมใ้ กล้จะล้มใหร้ บี จดั การโค่นลม้ ลงเสีย มิฉะนั้นจะหกั โคน่ ล้มภายหลงั ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภยั ธรรมชาติ 2 - 30

4.3.3 ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้ หรือแตะต้องเป็นอันขาด ให้ทา เคร่ืองหมายแสดงอันตราย และแจ้งเจ้าหน้าท่ี หรือช่างไฟฟ้าโดยด่วน อย่าแตะต้องโลหะที่เป็น สื่อไฟฟา้ 4.3.4 เมือ่ ปรากฏว่าท่อประปาแตกท่ใี ด ใหร้ ีบแจง้ เจ้าหนา้ ที่มาแก้ไขโดยดว่ น 4.3.5 อย่าเพ่ิงใช้น้าประปา เพราะน้าอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้าท่วม ถา้ ใช้นา้ ประปาขณะนนั้ มาด่ืม อาจจะเกดิ โรคได้ ใหใ้ ชน้ า้ ที่สารองไวก้ ่อนเกิดวาตภยั มาดื่มแทน 4.3.6 ปัญหาทางด้านสาธารณสขุ ทีอ่ าจจะเกดิ ข้ึนได้ ดงั นี้ - การควบคมุ โรคตดิ ต่อท่ีอาจเกดิ ระบาดได้ - การทานา้ ให้สะอาด เช่น ใชส้ ารส้ม และใชค้ ลอรีน - การกาจัดอุจจาระโดยใช้ปูนขาว หรือน้ายาไลโซล 5% กาจัดกลิ่นและ ฆา่ เชือ้ โรค กาจัดพาหะนาโรค เช่น ยงุ และแมลงวัน โดยใช้ฆา่ แมลง - โรคต่าง ๆ ท่ีมักเกิดหลังวาตภัย ได้แก่ โรคระบบหายใจ (เช่น หวัด เป็นต้น) โรคติดเชือ้ และปรสติ (เชน่ การอกั เสบมีหนอง โรคฉห่ี นู เป็นตน้ ) โรคผวิ หนงั (เช่น โรคนา้ กัดน้า กลาก เป็นต้น) โรคระบบทางเดินทางอาหาร (เช่น โรคอุจจาระร่วง) ภาวะทางจิต (เช่น ความเครียด เปน็ ตน้ ) ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 - 31

หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 3 อุทกภัย สาระสาคญั การเกิดอุทกภัย หรือ น้าท่วม เป็นภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก หรือฝนตกต่อเน่ืองเป็น เวลานาน ซ่ึงมีสาเหตุหลายประการ เช่น หย่อมความกดอากาศต่า พายุหมุนเขตร้อน ร่องมรสุม หรือร่องความกดอากาศต่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และ เขื่อนพัง ซึ่งจะมีลักษณะ รูปแบบ และความรุนแรงขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ของพ้ืนทีแ่ ละประเทศนน้ั ๆ ตัวชี้วดั 1. บอกความหมาย สาเหตุ และปจั จยั ในการเกดิ อุทกภัย 2. บอกสญั ญาณก่อนเกดิ อุทกภยั 3. บอกพนื้ ทเี่ ส่ียงภยั ตอ่ การเกิดอทุ กภัยและสถานการณอ์ ทุ กภยั ในประเทศไทยและทวปี เอเชยี 4. บอกวิธกี ารเตรียมความพร้อมรบั สถานการณ์การเกดิ อทุ กภยั การปฏิบตั ิขณะเกิด อทุ กภยั และการปฏบิ ตั ิหลังเกิดอุทกภยั 5. ตระหนักถึงภัยและผลกระทบที่เกดิ จากอทุ กภัย ขอบขา่ ยเนอ้ื หา เรือ่ งที่ 1 ความหมายของอุทกภยั เรื่องท่ี 2 สาเหตุและปจั จยั การเกดิ อุทกภยั เร่ืองที่ 3 สถานการณ์อุทกภยั ในประเทศไทยและประเทศตา่ ง ๆ ในทวปี เอเชยี เร่ืองที่ 4 แนวทางการป้องกันและการแกไ้ ขปัญหาผลกระทบท่ีเกิดจากอุทกภยั เวลาท่ใี ช้ในการศกึ ษา 15 ชวั่ โมง ส่ือการเรยี นรู้ 1. ชุดวชิ าการเรียนรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 2 2. สมดุ บนั ทึกกจิ กรรมรายวิชาการเรียนร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ู้ภัยธรรมชาติ 2 - 32

เร่ืองท่ี 1 ความหมายของอทุ กภัย 1.1 ความหมายของอทุ กภัย อุทกภัย หรือน้าท่วม (flood) คือ ภัยหรืออันตราย ที่เกิดจากน้าท่วม หรืออันตรายอันเกิดจากภาวะท่ีน้าไหล เอ่อล้นฝ่ังแม่น้า ลาธาร หรือทางน้าเข้าท่วมพื้นที่ซึ่งโดยปกติ แล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้า หรือเกิดจากการสะสมน้าบนพ้ืนท่ีซึ่ง ระบายออกไมท่ ัน ทาให้พ้นื ที่นน้ั ปกคลมุ ไปด้วยนา้ 1.2 ลกั ษณะการเกดิ อทุ กภยั ลกั ษณะการเกดิ ของอุทกภยั มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.2.1 น้าล้นตล่ิง เกิดจากฝนตกหนักต่อเน่ือง ปริมาณน้าจานวนมากระบายไหลลงสู่แม่น้าลาธารออกสู่ทะเล ไม่ทัน ทาให้เกิดสภาวะน้าล้นตลิ่งเข้าท่วมสวน ไร่ นา และ บ้านเรือน ทาให้เกิดความเสียหาย ถนนและสะพานชารุด เส้นทางคมนาคมถกู ตัดขาดได้ 1.2.2 น้าท่วมฉับพลัน/น้าป่าไหลหลาก เป็นภาวะน้าท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เน่ืองจากฝนตกหนักมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจจะไม่มีฝนตกหนักในบริเวณ น้ันมาก่อนเลย แต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้าท่ีอยู่ห่างออกไป หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เข่อื นหรอื อ่างเก็บนา้ พงั ทลาย ทาให้ถนน สะพาน และชีวติ มนษุ ย์/สตั วไ์ ด้รบั ความเสยี หาย 1.2.3 คลน่ื พายุซัดฝง่ั คือ คล่ืนทเี่ กดิ พรอ้ มกับพายโุ ซนรอ้ น เมฆฝนก่อตัวฝนตกหนัก ลมพัดแรง พื้นท่ีชายฝั่งจะมีความกดอากาศต่า น้าทะเลยกตัวสูงกว่าปกติกลายเป็นโดมน้าขนาด ใหญ่ซัดจากทะเลเข้าชายฝ่ังอย่างรวดเร็ว จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคารบ้านเรือนและ ทรพั ย์สินบริเวณพื้นทชี่ ายฝงั่ 1.2.4 น้าท่วมขัง เป็นน้าท่วมท่ีเกิดจากระบบระบายนา้ ไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดขึ้น ในบริเวณท่ีราบลุ่มแม่น้า และบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ ๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซ่ึงเกิดจากฝน ตกหนกั ในบริเวณนน้ั ตดิ ตอ่ กันเป็นเวลาหลายวนั ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ูภ้ ัยธรรมชาติ 2 - 33

เรื่องที่ 2 สาเหตแุ ละปจั จยั การเกดิ อุทกภยั สาเหตุและปัจจัยสาคัญที่ทาให้เกิดอุทกภัยมี 2 ประการ คือ การเกิดภัยธรรมชาติและ การกระทาของมนษุ ย์ 2.1 การเกดิ ภยั ธรรมชาติ ได้แก่ - ฝนตกหนักจากพายุหรือพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุที่เกิดข้ึนติดต่อกันเป็น เวลานานหลายช่ัวโมง มีปริมาณฝนตกหนักมากจนไม่อาจไหลลงสแู่ ม่น้าลาธารไดท้ ันจึงท่วมพื้นทีท่ ี่ อยูใ่ นท่ีตา่ ซง่ึ มักเกิดในช่วงฤดูฝนหรือฤดรู ้อน - ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน เม่ือพายุนี้เกิดที่แห่งใดแห่งหน่ึงเป็นเวลานาน หรือแทบไม่เคลื่อนท่ีจะทาให้บริเวณน้ันมฝี นตกหนักติดต่อกันตลอดเวลาย่ิงพายุมคี วามรุนแรงมาก เช่น มีความรุนแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่น เมื่อเคลื่อนตัวไปถึงที่ใดก็ทาให้ที่น้ันเกิดพายุ ลมแรง ฝนตกหนักเป็นบริเวณกวา้ งและมนี ้าท่วมขงั - ฝนตกหนักในป่าบนภูเขา ทาให้ปริมาณน้าบนภูเขาหรือแหล่งต้นน้ามีมาก มกี ารไหลเชี่ยวอย่างรุนแรงลงส่ทู ่ีราบเชิงเขา เกดิ นา้ ทว่ มข้ึนอย่างกะทันหนั เรียกว่านา้ ทว่ มฉับพลัน เกิดขึ้นหลังจากท่ีมีฝนตกหนักในช่วงระยะเวลาส้ัน ๆ หรือเกิดก่อนท่ีฝนจะหยุดตก มักเกิดขึ้นใน ลาธารเล็ก ๆ โดยเฉพาะตอนที่อยู่ใกล้ต้นน้าของบริเวณลุ่มน้า ระดับน้าจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จังหวดั ทอี่ ยู่ใกล้เคยี งกับเทอื กเขาสงู เชน่ จงั หวัดเชยี งใหม่ เชยี งราย แมฮ่ ่องสอน เป็นต้น - ผลจากน้าทะเลหนุน ในระยะท่ีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในแนวที่ทาให้ ระดับน้าทะเลข้ึนสูงสุดน้าทะเลจะหนุนให้ระดับน้าในแม่น้าสูงข้ึนอีกมาก ประกอบกับระยะเวลาท่ี นา้ ป่าและน้าจากภูเขาไหลลงสแู่ มน่ ้า น้าในแมน่ า้ จงึ ไม่อาจไหลลงสทู่ ะเลได้ ทาให้เกิดน้าเออ่ ล้นตลิ่ง และท่วมเป็นบรเิ วณกว้างยิ่งถา้ มีฝนตกหนกั หรอื มีพายุเกิดขึน้ ในชว่ งนี้ ความเสยี หายกจ็ ะมมี ากขึน้ - ผลจากลมมรสุมมีกาลังแรง มรสุมตะวันตกเฉยี งใตเ้ ป็นมรสุมที่พัดพาความชื้นจาก มหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เม่ือมีกาลังแรงเป็น ระยะเวลาหลายวัน ทาให้เกิดคลื่นลมแรง ระดับน้าในทะเลตามขอบฝั่งจะสูงข้ึน ประกอบกับมีฝน ตกหนักทาให้เกิดน้าท่วมได้ ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศไทย ปะทะขอบฝ่งั ตะวนั ออกของภาคใต้ มรสมุ นมี้ ีกาลังแรงเปน็ ครั้งคราว เมอื่ บริเวณความกดอากาศสูง ในประเทศจีนมีกาลังแรงข้นึ จะทาให้มีคลื่นค่อนข้างใหญใ่ นอ่าวไทย และระดับน้าทะเลสูงกว่าปกติ บางครงั้ ทาใหม้ ฝี นตกหนักในภาคใต้ ตั้งแตจ่ งั หวดั ชุมพรลงไปทาใหเ้ กิดน้าท่วมเปน็ บรเิ วณกวา้ ง ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 - 34

- ผลจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟบนบก และภูเขาไฟใต้น้าระเบิดเปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื่องกัน บางส่วนของผวิ โลกจะสงู ข้นึ บางส่วนจะยบุ ลง ทาให้เกดิ คล่ืนใหญ่ในมหาสมุทรซัดขึ้นฝัง่ เกิดน้าท่วม ตามหมู่เกาะและเมอื งตามชายฝ่ังทะเลได้เกดิ ข้นึ บ่อยครง้ั ในมหาสมุทรแปซิฟกิ 2.2 การกระทาของมนษุ ย์ ไดแ้ ก่ - การตัดไม้ทาลายป่าในพ้ืนท่ีเส่ียงภัย เมื่อเกิดฝนตกหนักจะทาให้อัตราการไหล สงู สดุ เพิ่มมากขึ้นและไหลมาเร็วขึ้นเปน็ การเพ่มิ ความรนุ แรงของน้าในการทาลายและยังเป็นสาเหตุ ของดินถล่มด้วย นอกจากนี้ยงั ทาใหด้ นิ และรากไม้ขนาดใหญถ่ กู ชะลา้ งใหไ้ หลลงมาในทอ้ งนา้ ทาให้ ท้องน้าต้ืนเขินไม่สามารถระบายน้าได้ทันที ทั้งก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของ ประชาชนทางด้านท้ายน้า - การขยายเขตเมืองลุกล้าเข้าไปในพื้นท่ีลุ่มต่า ซึ่งเป็นแหล่งเก็บน้าธรรมชาติทาให้ ไม่มีท่รี บั นา้ เม่ือน้าลน้ ตลิ่งก็จะเข้าไปทว่ มบรเิ วณทเี่ ปน็ พืน้ ทลี่ ุ่มตา่ ซึง่ เป็นเขตเมืองทข่ี ยายใหมก่ ่อน - การก่อสร้างโครงสร้างขวางทางน้าธรรมชาติ ทาให้มีผลกระทบต่อการระบายน้า และกอ่ ใหเ้ กิดปัญหาน้าทว่ ม - การออกแบบทางระบายน้าของถนนไม่เพียงพอ ทาให้น้าล้นเอ่อในเมือง ทาให้ เกดิ ความเสียหายแก่ชมุ ชนเมืองใหญ่เนอ่ื งจากการระบายน้าได้ช้ามาก - การบริหารจัดการน้าท่ีไม่ดี เป็นสาเหตุหน่ึงท่ีทาให้เกิดน้าท่วมโดยเฉพาะบริเวณ ดา้ นทา้ ยเขอ่ื นหรอื อา่ งเก็บนา้ 2.3 ผลกระทบทเี่ กิดจากอทุ กภยั อุทกภัยไม่เพยี งแต่สรา้ งความเสียหายตอ่ ชีวิตผ้คู น ทรัพยส์ ิน อาคาร บา้ นเรอื นเท่านั้น แต่ยังเกิดผลกระทบตามมาอีกหลาย ๆ ดา้ น เชน่ 2.3.1 ผลกระทบทางดา้ นการศกึ ษา สถานศึกษาที่ถูกน้าท่วมเกิดความเสียหายเพื่อความปลอดภัยของนักเรียน นักศึกษา และลดปัญหาการเดินทาง ทาให้ต้องปิดการเรียนการสอน ซ่ึงจาเป็นต้องมีการสอน ชดเชย หรอื การปดิ ภาคเรยี นไมต่ รงตามเวลาท่ีกาหนด ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ้ภู ัยธรรมชาติ 2 - 35

2.3.2 ผลกระทบทางด้านการเกษตร เมื่อเกิดอุทกภัย จะทาให้ผลผลิตทางด้านการเกษตร เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน ตลอดจนพืชผลทางการเกษตรทุกชนิดที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความเสียหาย ส่วนด้านการประมง การปศุสัตว์ ก็ได้รับผลกระทบทั้งส้ิน นอกจากนี้เคร่ืองมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ จะได้รับ ความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อราคาข้าว พืชไร่ พืชสวน สัตว์น้าและผลผลิตอื่น ๆ ทาให้การผลิต การขนส่งมีตน้ ทุนสูงขน้ึ กว่าปกติ ทั้งในระดับประเทศและระดบั โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่ ไม่มีเงนิ ทุนสารองจะต้องกหู้ นย้ี ืมสินเพอื่ ลงทนุ ทาการเกษตรต่อไป 2.3.3 ผลกระทบดา้ นอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย ทาให้เกิด ความขัดข้องในการผลิตและการขาดแคลนปัจจัยเพื่อป้อนโรงงานทั่วโลก ประเทศที่มีฐานการผลิต ในประเทศไทย เช่น ญ่ีปุ่น ก็ได้รับผลกระทบ ส่งผลให้กาไรของบริษัทลดลงตามไปด้วย รายได้ของ ลูกจ้างในไทยก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการส่งออก เพราะขาดวัตถุดิบ ในการผลติ สินค้า 2.3.4 ผลกระทบดา้ นเศรษฐกจิ จากการขาดวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาจทาให้สินค้าขาดตลาด ประกอบกับ การจัดส่งท่ียากลาบากจะย่ิงทาให้ราคาสินค้าเพ่ิมขึ้นและอาจส่งผลกระทบท่ัวโลก เพราะไทยเป็น แหล่งผลิตใหญ่ของโลกในปัจจุบัน อุทกภัยยังส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากความเสียหายทางด้านทรัพย์สินและความสูญเสียจากค่าเสียโอกาส เช่น การผลิต การส่งออก เป็นต้น นอกจากน้ี ธุรกิจการท่องเท่ียวก็ได้รับความเสียหายในรูปแบบของการสูญเสีย รายไดเ้ ข้าสู่ประเทศรวมถงึ ชื่อเสียงของประเทศ เนอ่ื งจากรฐั บาลของหลายประเทศ ได้เตือนภยั ให้ นกั ท่องเท่ยี วของตนเองระมัดระวังในการเดนิ ทางเข้ามาทอ่ งเทย่ี วในประเทศไทยทาใหน้ ักท่องเท่ียว ต่างชาติลดลง 2.3.5 ผลกระทบดา้ นการสาธารณสุข เมื่อเกิดน้าท่วมติดต่อกันยาวนาน มักจะพบกับปัญหาเกิดสิ่งปนเป้ือนของ แหล่งน้า และโรคท่ีมากับน้า ทาให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคตาแดง โรคไข้ฉ่ีหนู โรคอุจจาระร่วง นา้ กดั เทา้ นา้ กดั เลบ็ ฯลฯ จงึ สง่ ผลให้ประสบปัญหาการขาดยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงสขุ ภาพจิตของ ประชาชนมเี พ่มิ ขึ้นด้วย ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - 36

2.4 สัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดอุทกภยั ก่อนการเกิดอุทกภัยครั้งใด มักจะมีสัญญาณบอกเหตุให้เราทราบล่วงหน้าอยู่เสมอ สัญญาณบอกเหตุดงั กลา่ ว ท้ังสัญญาณท่ีเกิดจากการเปล่ียนแปลงทางธรรมชาติและจากพฤตกิ รรม ของสัตว์ 2.4.1 สญั ญาณบอกเหตจุ ากการเปล่ียนแปลงทางธรรมชาติ โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อจะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หน่ึง สามารถสังเกตได้ จากสภาพของอากาศร้อนผิดปกติ เกิดฝนตก ฟ้าคะนองอย่างตอ่ เนอ่ื งและเป็นเวลานานนอกจากนี้ ยงั สามารถสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ได้ เช่น มด หรอื แมลง มกั จะเคล่ือนยา้ ยที่อยู่ไปยังท่ีสูง 2.4.2 สญั ญาณเตือนกอ่ นเกิดภยั ธรรมชาติขนาดใหญ่ (ภูมิปญั ญาชาวบา้ น) 1) ในเวลากลางวัน ถ้ามีเมฆจานวนมาก ท้องฟ้ามีแสงสีแดง ลมสงบ ผิวน้า ทะเลไมม่ รี ะลอกคลื่น เป็นสญั ญาณเตอื นว่า กาลังจะมีพายลุ มแรงและจะมฝี นตกหนักมาก 2) ในเวลากลางคืน ถ้ามองไม่เห็นดวงดาว ท้องฟ้ามีแสงสีแดง ลมสงบ เปน็ สัญญาณเตอื นวา่ ภายในคนื นี้จะมพี ายลุ มแรงและจะมฝี นตกหนักมาก 3) เวลากลางวันในฤดูร้อน ถ้าอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันสองวัน พอเข้าวันที่ สามจะมีเมฆมากตามแนวขอบฟ้า ลมสงบ ก้อนเมฆใหญ่ข้ึน สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสัญญาณเตือนว่า ตอนเยน็ จนถงึ ใกล้ค่าจะมีพายฤุ ดรู ้อน จะมฝี นฟ้าคะนองรนุ แรง มีฟา้ แลบ ฟ้าร้องฟา้ ฝา่ ลมกระโชก แรง และอาจจะมีพายุงวงลงมาจากฐานเมฆ 4) ฤดรู อ้ นในตอนบ่ายถา้ มลี มค่อนข้างแรงพัดเข้าสภู่ ูเขาจนถึงเย็นเป็นสัญญาณ เตอื นวา่ คืนน้ีจะมีฝนตกหนัก 5) ฤดรู ้อนปีใด ไม่พบรงั นกบนต้นไม้ หรือนกยา้ ยไปทารังตามถา้ ตามใตห้ น้าผา ซอกเหลือบหินบนภเู ขา เป็นสญั ญาณเตือนว่า ฤดฝู นปนี ัน้ จะมพี ายลุ มแรง ฝนตกหนกั มาก 6) ฤดูร้อนปีใด มดท่ีขุดรูอาศัยใต้ดิน ขนเอาขุยดินข้ึนมาทาเป็นแนวกันดิน กลม ๆ รอบรไู ว้ เป็นสัญญาณว่าฤดฝู นปนี จี้ ะมีฝนดี 7) ในช่วงฤดูฝน มดดาขนไข่ อพยพขึน้ ไปอยทู่ ่ีสงู เป็นสญั ญาณเตือนวา่ ภายใน สองวันจะมฝี นตกหนกั จนน้าทว่ ม ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 2 - 37

2.5 พนื้ ท่เี ส่ยี งภยั ตอ่ การเกดิ อุทกภยั ในอดีตประเทศไทยมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ แต่จากการบุกรุก แผ้วถางป่าเพ่ือทาไร่ เล่ือนลอย และการตัดไม้เพื่อการค้าของกลุ่มนายทุน ทาให้ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ลดน้อยลง และ นับเป็นสาเหตุหน่ึงที่ทาให้เกิดอุทกภัยหรือภัยจากน้าท่วมขึ้น ประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด อทุ กภยั ได้ แต่ระดับความเสย่ี งจะมากน้อยเพียงใดน้ัน ขึน้ อยกู่ บั องค์ประกอบทีแ่ ตกตา่ งกันไปในแต่ ละภมู ิภาค 2.5.1 พื้นทีล่ ุ่มน้าภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ การแบ่งระดับพ้ืนที่เส่ียงต่อการเกิดอุทกภัยสาหรับพ้ืนที่ลุ่มน้า ภาค ตะวันออกเฉยี งเหนือพิจารณาจาก 1) พ้ืนที่เส่ียงอุทกภัยระดับสูง กาหนดให้เป็นพื้นท่ีท่ีเกิดอุทกภัยรุนแรงมาก และทาความเสยี หายตอ่ ชวี ิตและทรพั ย์สนิ ตลอดจนส่งิ ก่อสร้าง 2) พ้ืนที่เสี่ยงอุทกภัยระดับปานกลาง กาหนดให้เป็นพ้ืนท่ีท่ีเกิดอุทกภัยรุนแรง ปานกลางและทาความเสียหายตอ่ ทรพั ย์สนิ ของประชาชนมากแตไ่ ม่มกี ารสญู เสยี ชวี ติ 3) พื้นท่ีเสี่ยงอุทกภัยระดับต่า กาหนดให้เป็นพ้ืนท่ีท่ีเกิดอุทกภัยรุนแรงน้อย และทาความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนไมม่ าก 4) พื้นท่ีไม่เส่ียงอุทกภัย กาหนดให้เป็นพื้นที่ท่ีเกิดอุทกภัยไม่รุนแรงและไม่ทา ใหส้ ูญเสยี ชีวติ และทรัพยส์ ินของประชาชน 2.5.2 พ้ืนทล่ี ่มุ นา้ ภาคใต้ การแบ่งระดับพ้ืนท่ีเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสาหรับพื้นท่ีลุ่มน้าในพื้นท่ีภาคใต้ พิจารณาจาก 1) พ้ืนที่เสี่ยงจากดินโคลนไหลทับถม มักเป็นพ้ืนที่บริเวณเชิงเขาท่ีน้าป่าไหล หลากพาดนิ โคลน หินตน้ ไมล้ งมาทับถม 2) พืน้ ท่เี สี่ยงจากน้าไหลหลาก เปน็ พ้นื ท่ีถดั จากเชงิ เขาทีโ่ คลนไหลมาทับถมคือ มีโคลนน้อยกว่าและค่อนข้างราบกว่าพน้ื ท่ีเชงิ เขาแตน่ ้าป่าไหลหลากผ่านไปอย่างรวดเร็วพรอ้ มทั้งมี โคลนบางส่วนตกตะกอน ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ้ภู ยั ธรรมชาติ 2 - 38

3) พื้นที่เส่ียงจากน้าท่วมขัง เป็นพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้าตาปีและคลองพุ่มดวง ซ่งึ ระบายน้าลงสู่ทะเลไม่ทัน 4) พื้นท่ีเสี่ยงจากน้าท่วมซ้าซาก เป็นพื้นที่ที่ประสบกับน้าท่วมขังเป็นประจา เกือบทุกปี แต่อาจไมท่ ่วมขังตลอดปหี รอื เกิดขน้ึ ปีเวน้ ปีโดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ชว่ งฤดฝู น 5) พ้ืนทช่ี ่มุ น้า เป็นพน้ื ท่รี าบต่ามีน้าทว่ มขงั หรือมีสภาพช้ืนแฉะตลอดเวลา 2.5.3 ลักษณะภมู ปิ ระเทศท่ีเส่ยี งตอ่ การเกิดอุทกภยั มดี ังน้ี 1) บริเวณที่ราบเนินเขา จะเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน น้าไหลบ่าอย่างรวดเร็ว และมีพลังทาลายสูง ลักษณะแบบน้ี เรียกว่า “น้าป่า” เกิดขึ้นเพราะมีน้าหลากจากภูเขา อนั เนอื่ งจากมฝี นตกหนักบริเวณตน้ น้า จึงทาให้เกิดน้าหลากท่วมฉบั พลัน 2) พื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้าและชายฝ่ัง เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นช้า ๆ จากน้าล้นตลิ่ง เมือ่ เกิดจะกินพื้นทบี่ รเิ วณกว้าง นา้ ท่วมเปน็ ระยะเวลานาน 3) บริเวณปากแม่น้า เป็นอุทกภัยท่ีเกิดจากน้าที่ไหลจากที่สูงกว่าและอาจจะมี น้าทะเลหนุน ประกอบกบั แผน่ ดินทรุดจึงทาใหเ้ กิดน้าท่วมขงั ในทีส่ ดุ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ูภ้ ัยธรรมชาติ 2 - 39

เรอื่ งท่ี 3 สถานการณ์อทุ กภยั ในประเทศไทย และประเทศตา่ ง ๆ ในทวีปเอเชีย 3.1 สถานการณ์อทุ กภยั ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยเกิดอุทกภัยที่รุนแรงที่สุด หรือท่ีเรียกกันว่า “มหาอุทกภัย” ซ่ึงเกิดจากพายุโซนร้อน “นกเตน” ท่ีขึ้นฝ่ังทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้ เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉยี งเหนือของประเทศไทย และทาให้เกิดน้าท่วม ในหลายจังหวดั ทั่วทกุ ภาคของประเทศไทย ในสว่ นของภาคเหนือเมอ่ื เกดิ ฝนตกหนกั อย่างตอ่ เน่ือง ประกอบกบั มีน้าป่าไหลหลาก ทาให้เกดิ น้าท่วมอย่างฉับพลัน เม่ือนา้ ไหลลงสู่ที่ราบภาคกลางทาให้ เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา เพราะได้รับน้าปริมาณมากจากแม่น้าสาขา เขื่อนจึงมีระดับน้าใกล้ความจุท่ีเข่ือนจะสามารถรับได้ ฝนท่ีตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องจึงต้อง ปล่อยน้าออกจากเข่ือนภายในเวลาไม่นาน อุทกภัยก็ลุกลามขยายออกไปก่อให้เกิดความเสียหาย ทกุ ภูมภิ าคของประเทศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม RADARSAT-2เมอ่ื วนั ที่ 17 ตลุ าคม 2554 แสดงพืน้ ทป่ี ระสบภัยพบิ ตั ิบรเิ วณภาคกลางของไทย ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 2 - 40


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook