รายงานโครงการยกระดบั คุณภาพชวี ติ ชมุ ชนและท้องถน่ิ (โครงการระยะที่ 1) ตำบลบา้ นงิว้ อำเภอสามโคก จงั หวัดปทมุ ธานี อาจารย์ศริ ิขวญั บุญธรรม และคณะ คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปงี บประมาณ 2563
รายงานโครงการยกระดบั คณุ ภาพชีวติ ชมุ ชนและท้องถ่นิ (โครงการระยะท่ี 1) ตำบลบา้ นงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อาจารย์ศิริขวญั บุญธรรม ผูช้ ่วยศาสตราจารยจ์ ิระศักด์ิ สงั เมฆ อาจารยร์ วิธร ฐานัสสกุล คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถัมภ์ ประจำปงี บประมาณ 2563
ก กิตติกรรมประกาศ รายงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและท้องถิ่น (โครงการระยะที่ 1) ในพื้นที่ ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีได้ดำเนินกิจกรรมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง ศึกษาชุมชนและจัดทำฐานข้อมูลตำบล และจัดทำแนวทางการพัฒนายกระดับ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ของตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้คนในชุมชนสามารถดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริม ภูมปิ ญั ญาท้องถ่นิ ใหช้ ุมชนหมู่บา้ นมีคณุ ภาพชีวิตและรายได้ทเ่ี พ่ิมขน้ึ อยา่ งย่ังยืนต่อไป คณะผู้ดำเนินโครงการขอกราบขอบพระคุณ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนิน โครงการ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนา ชุมชนจังหวัดปทุมธานี นายอำเภอสามโคก สำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอ และหน่วยงานราชการระดับอำเภอสามโคก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว กำนันตำบลบ้านง้ิว ผนู้ ำชุมชนหมู่ที่ 1 – 5 และประชาชนตำบลบ้านงว้ิ ท่ีใหค้ วามรว่ มมอื ในการทำกิจกรรม ไดส้ ำเรจ็ ลลุ ่วงไปดว้ ยดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ ที่ให้คำแนะนำ และสนับสนุนการดำเนิน โครงการเปน็ อย่างดี อาจารย์ศริ ิขวญั บุญธรรม และคณะ คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีพทุ ธศักราช 2563
ข สารบญั หนา้ หน้า กิตติกรรมประกาศ ก สารบัญ ข สารบญั ตาราง ค สารบัญภาพ ง สว่ นที่ 1 บทนำ 1 สว่ นที่ 2 ผลการศกึ ษาชุมชนเบ้ืองตน้ ในระดับตำบล 4 สว่ นที่ 3 ผลการวเิ คราะห์ศักยภาพ ปัญหา/ความต้องการ และประเดน็ การพฒั นาเชงิ พ้นื ที่ 29 3.1 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาตำบล 29 3.2 แฑผนทีแ่ สดงศักยภาพด้านตา่ งๆ ของแตล่ ะหมบู่ า้ นในตำบล 35 3.3 ปัญหาและความตอ้ งการในพื้นทต่ี ำบล 36 3.4 ประเดน็ การพัฒนาเชิงพ้ืนท่ีตำบล 46 สว่ นท่ี 4 รปู แบบการพฒั นาชมุ ชนนวัตกรรม 53
ง สารบัญตาราง ตารางท่ี หน้า 1. สถติ แิ ละขอ้ มูลเก่ยี วกบั การเลือกตั้งทอ้ งถิ่นตำบลบ้านงว้ิ .............................................. 10 2 จำนวนประชากรตำบลบ้านงิว้ .................................................................................... 11 3 ช่วงอายุและจำนวนประชากรตำบลบ้านง้ิว.................................................................. 11 4 ตารางแสดงจำนวนเดก็ นักเรยี น ประจำปี 2562........................................................... 12 5 จำนวนผสู้ งู อายุ ผู้พิการ ผปู้ ่วยเอดส์ ที่ไดร้ บั สวสั ดกิ ารเบ้ียยงั ชีพ................................... 13 6 หน่วยงานประกอบธุรกจิ ในเขตองคก์ ารบริหารสว่ นตำบลบา้ นงิว้ ................................... 17 7 รายไดเ้ ฉลย่ี ครัวเรอื น..................................................................................................... 19 8 รายจ่ายเฉล่ียครัวเรือน................................................................................................... 19 9 สรุปสภาพปญั หาจากการวเิ คราะห์ข้อมลู ...................................................................... 38 10 สรุปประเดน็ การพัฒนาในเชิงพ้นื ที่ ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวดั ปทุมธานี............ .......... 47
จ สารบญั ภาพ ภาพท่ี หน้า 1 วดั ปา่ ง้ิว......................................................................................................................... 4 2 วดั นางหยาด................................................................................................................. 6 3 แผนท่ีตำบลบ้านงว้ิ ...................................................................................................... 8 4 แผนทต่ี ำบลบา้ นงิว้ ...................................................................................................... 8 5 แสดงท่ีต้ังของชุมชน .................................................................................................... 9 6 โรงพยาบาลส่งเสริมสขุ ภาพตำบลบา้ นง้วิ ...................................................................... 12 7 แสดงการคมนาคมขนสง่ ................................................................................................ 14 8 ท่าเรือโรงเรียนวดั ป่างิ้ว (หรอื วัดนางหยาด)................................................................... 15 9 หลวงพอ่ เพชร วัดสองพี่นอ้ ง.......................................................................................... 20 10 บรเิ วณวัดสองพี่น้อง.................................................................................................... 21 11 วดั ปา่ งิ้ว....................................................................................................................... 22 12 วัดสวนมะมว่ ง............................................................................................................. 22 13 บรเิ วณวัดสวนมะม่วง................................................................................................... 23 14 พระประธานในโบสถ์ และพระพุทธรปู วดั อมั พุวราราม............................................... 24 15 พระพทุ ธรปู บริเวณวัดอมั พุวราราม............................................................................... 25 16 รปู ป้ันเจา้ แมก่ วนอิม และพญาเจ่ง ในบรเิ วณ วดั อัมพวุ ราราม........................................ 25 17 พระประธานในวหิ าร และ สมเด็จพระเจา้ ตากสินมหาราช ณ วัดไผ่ล้อม ...................... 26 18 เขตห้ามล่าสัตว์ปา่ วัดไผ่ล้อมและวัดอมั พุวราราม ณ หมู่ที่ 5 บา้ นสวนมะม่วงใต้............. 27 19 แสดงเครือข่ายในพ้นื ทตี่ ำบลบ้านงิว้ ................................................................................ 31 20 ทุนทางสงั คมและวัฒนธรรม และสถานทสี่ ำคญั ในตำบลบา้ นงวิ้ ..................................... 32 21 ทนุ ทางทรพั ยากรธรรมชาติ........................................................................................... 34 22 ศกั ยภาพในการพัฒนา ตำบลบ้านงวิ้ อำเภอสามโคก จังหวดั ปทุมธานี........................ 35 23 รูปแบบการพัฒนาชุมชนนวตั กรรมตำบลบ้านงวิ้ ......................................................... 53 24 รูปแบบกิจกรรมการพฒั นาชุมชนนวตั กรรมตำบลบ้านงิ้ว ............................................ 54
1 ส่วนท่ี 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ระหว่าง ปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตรมาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพอ่ื พฒั นาคุณภาพชีวิต และยกระดับ รายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเสริมสร้างความมั่นคงทาง อาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของ ประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่ว ยเหลือ ประชาชนให้มีคณุ ภาพชวี ติ ทด่ี ีขน้ึ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชา ประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลัง ปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎ สู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและย่ังยืน พร้อมทั้งสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมี กลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอก เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหา ของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญใน การพัฒนาชมุ ชน และท้องถิน่ ดังน้ันสำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดทำโครงการยกระดับ คณุ ภาพชีวติ ชมุ ชนและท้องถน่ิ ในพ้นื ที่ ตำบลบ้านงว้ิ อำเภอสามโคก จังหวดั ปทุมธานี โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถ ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่า
2 และมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและ ชว่ ยเหลือเกื้อกลู กนั ในชุมชนไดอ้ ย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชมุ ชนหมู่บ้านมคี ณุ ภาพชีวติ และรายได้ท่เี พมิ่ ขนึ้ 1.2 วัตถปุ ระสงค์ของการสำรวจลงพ้ืนทชี่ ุมชนในระดบั ตำบล และกลมุ่ เป้าหมาย 1) เพ่อื สร้างความรว่ มมือกบั เครือข่ายหน่วยงานทเ่ี กีย่ วข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ในตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อาทิเช่น นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ นายก เทศบาล กำนนั ผูน้ ำชุมชน และหนว่ ยงานเอกชนในพนื้ ที่ 2) เพื่อสำรวจบริบทชุมชน ครัวเรือนเป้าหมาย และจัดทำฐานข้อมูลตำบลบ้านงิ้ว อำเภอ สามโคก จังหวดั ปทมุ ธานี 3) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนตำบลบ้านงว้ิ อำเภอสามโคก จังหวดั ปทมุ ธานี 1.3 ขอบเขตการสำรวจลงพนื้ ทีช่ ุมชนในระดับตำบล และกล่มุ เปา้ หมาย กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในพ้ืนที่ชุมชนหมูท่ ี่ 1-5 ตำบลบ้านงิว้ อำเภอสามโคก จงั หวัด ปทุมธานี ผเู้ ข้าร่วมโครงการ จำนวนไม่น้อยกวา่ 50 คน ระยะเวลาดำเนนิ โครงการ เดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนมกราคม 2563 1.4 วิธีการดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชนในระดบั ตำบล และกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินโครงการคณะผู้ดำเนินการมุ่งเน้นการสร้างกรอบปัญหาและความต้องการของชุมชน ระดับตำบล เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแนวทางลดปัญหา ความยากจนของประชาชนและยกระดับขีดความสามารถของเศรษฐกิจรากฐาน การจัดการ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี วิธีการการดำเนิน แผนงานเน้นไปที่การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ซึ่งเป็น การบูรณาการการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) เพื่อให้ได้มาซึ่งแผนพัฒนาชุมชนที่จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำ ในการยกระดบั รายได้ของประชาชนนวตั กรรมและกระบวนการทางความคิดสรา้ งสรรคท์ จ่ี ะเพิ่มมูลค่า ทรัพยากรที่ไม่ก่อประโยชน์ในชุมชนให้เกิดประโยชน์อันส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ที่เพิ่มสูงข้ึน กระบวนการลดปัญหาความยากจนที่เหมาะกับการเข้าถึงของประชาชนทุกวัยได้อย่างท่ัวถึงและย่ังยืน และเผยแพร่องค์ความรู้สปู่ ระชาชนกล่มุ อนื่ ๆ ได้โดยมีขั้นตอนดังตอ่ ไปนี้
3 1. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำปฏิทินการลงพื้นที่ ศึกษาข้อมูลและยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและท้องถิ่นเข้าพบและแสวงหาความร่วมมือ จากหน่วยงานภาครฐั และข้อปรึกษาหารือทิศทางการพัฒนาคุณภาพชวี ติ ของประชาชนตำบล บ้านงิ้ว ได้แก่ นายอำเภอ ส่วนงานปกครองอำเภอ พัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ สามโคก จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งเข้าพบผู้นำชุมชนบ้านงิ้ว เพื่อขอปรึกษาหารือ เกี่ยวกับทิศทาง การดำเนนิ โครงการ ขอฐานขอ้ มูลตำบลเบ้อื งต้น และสร้างความร่วมมอื ร่วมกัน 2. ศึกษาชุมชนและจัดทำฐานข้อมูลตำบล ดำเนินการประมวลผลรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องของตำบลตำบลบ้านงิว้ มีการจัดประชมุ ผู้นำชุมชนทั้งตำบลบ้านงิ้ว ได้แก่ อบต. บ้านงิ้ว ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนเพื่อวางกรอบในการพัฒนาร่วมกันรวมทั้งคัดเลือกเป้าหมายใน การพัฒนา ศึกษาพื้นที่ เยี่ยมชมรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากพื้นที่ของตำบลร่วมกับเครือข่าย ประชารัฐ ในการเก็บข้อมูล OP3 รวมทั้งศึกษาบริบทชุมชนในภาพรวม ศึกษา ประเมินศักยภาพ ปัญหา ทุนของชุมชนประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อกำหนดแผนการพัฒนาชุมชน ร่วมกับคนในชุมชน และครัวเรอื นเป้าหมายในตำบลบ้านงิ้ว ผ้จู ัดการพนื้ ท่ี จัดทำรายงานผลการศึกษา ชุมชน และครวั เรือนเป้าหมาย จดั ทำฐานขอ้ มูลตำบล (OP2 และ OP3) ผูจ้ ัดการพื้นท่ี จัดเวทีประชุม เสวนาคืนข้อมูลให้กับชุมชนและหน่วยงานภาคีและการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของพื้นที่ (ฉบบั ร่าง) 3. จัดทำแผนปฏบิ ัติการเพิม่ รายได้ยกระดับคุณภาพชวี ิตของคนในชมุ ชน ดำเนนิ การประมวลผลและจดั ทำแผนปฏิบตั กิ ารเพม่ิ รายได้ยกระดับคุณภาพชวี ิตของคนในชุมชน 1.5 เครอื่ งมอื ท่ีใชก้ ารสำรวจความตอ้ งการของชุมชนในระดบั ตำบล และกลมุ่ เป้าหมาย การดำเนินโครงการ เก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชนจากหน่วยงานราชการระดับจังหวัด อำเภอ และ ตำบล ซ่งึ เปน็ ข้อมลู ทตุ ิยภูมิ นำข้อมลู ทไ่ี ดว้ างแผนลงพนื้ ที่เพ่ือเก็บข้อมลู ปฐมภูมิ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เจาะลึกแบบมีโครงสร้าง (OP3-2)แบบสอบถาม (OP3-1) การสนทนากลุ่ม การสังเกต แบบสำรวจ ข้อมูล แผนผังชุมชน โอ่งชีวิต เส้นประวัติศาสตร์ ปฏิทินวัฒนธรรม ผังทรัพยากร แผนภูมิฤดูการผลิต ทางการเกษตร และแผนผังเครือญาติ เปน็ ต้น
4 ส่วนที่ 2 ผลการศกึ ษาชมุ ชนเบอ้ื งตน้ ในระดบั ตำบล 2.1 ขอ้ มูลพืน้ ฐานตำบลบา้ นงิว้ อำเภอสามโคก จังหวดั ปทุมธานี 2.1.1 ประวตั ชิ ุมชนตำบลบ้านง้วิ อำเภอสามโคก จังหวดั ปทุมธานี ตำบลบ้านงิ้ว เป็นชื่อตำบลหนึ่งในเขตพื้นที่ อำเภอ สามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ฝ่ัง ตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในตำบลนี้ มีเรื่องน่าศึกษามาทั้งในด้าน ประวัติศาสตร์ ศาสนา และ วรรณคดี ซึ่งตามทางสันนิษฐานแล้ว ในทุ่งนี้น่าจะเป็นเมืองที่มีความเจริญ มาก่อน เพราะอยู่ใกล้ กรุงศรีอยุธยา ซ่งึ เป็นเมอื ง หลวงของไทยในสมยั นนั้ คำว่า \"บ้าน \" หมายถึงที่อยู่อาศัย ส่วนคำว่า \"งิ้ว \" หมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้น ประเภทไม้เนื้ออ่อน ใช้ปุยในผลเช่นเดียวกันนุ่น ดอกไม้แกงส้มได้ ตามลำต้นมีหนามแหลมคม ตลอดทั้งต้น ในหมู่บ้านนี้ มีสภาพเป็นที่ดอน มีต้นงิ้วขึ้นเต็มไปหมด เขาจึงเรียกกันว่า \"บ้านงิ้ว\" ด้วยความเป็นป่าของต้นงิ้วนี้เอง ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาได้มีศรัทธา อย่างแรงกล้าช่วยกัน สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาลึกเข้าไปในป่าของต้น งิ้ว และให้ชื่อว่า \"วัดป่างิ้ว\" เพื่อเป็นการเตือนสติของคนทีจ่ ะประพฤติชัว่ ผิดลูกผิดเมยี ผู้อื่น ทางศาสนาพุทธถือว่าผู้ใดก็ตามท่ีลว่ ง ละเมิด กระทำช้กู ับเมียหรือผวั ของคนอื่นถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรงเป็นบาปหนัก เมื่อตายไปจะ ตกนรกอเวจี และต้องปีนต้นงิ้วในเมืองนรกที่มีหนามแหลมคมอย่างทรมานมาก กว่าจะขึ้นถึงยอดง้ิว ก็มีกาปากเหล็กแร้งปากเหล็กคอย จิกอีกด้วย คนโบราณจึงกลัวกันนักหนา ไม่ยอมเป็นชู้กับสามี ภรรยาคนอ่นื อย่างเดด็ ขาดเพราะกลวั บาปกรรม ภาพท่ี 1 วัดป่าง้ิว
5 นอกจากนี้ ชุมชนบ้านงิ้วได้ปรากฎในกลอนนิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่ เมื่อครั้นสุนทรภู่ นั่งเรือ ขึ้นไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อจะไปนมัสการภูเขาทอง เมื่อไปถึงหมู่บ้านงิ้วเห็นต้นงิ้วขึ้น เป็นป่า ก็ตกใจเพราะแลขึ้นไปมีแต่ต้นงิ้วทั้งนั้นทำให้เกิดจินตนาการแล้วบันทึกไว้เป็นกลอนในนิราศ ภูเขาทองตอนหนงึ่ วา่ \"ถึงบ้านงิว้ เหน็ แตง่ ว้ิ ละ ลิ่วสงู ไม่เห็นฝงู สัตว์สิงก่ิงพฤกษา อันหนามดกรกระดาตา นกึ กน็ า่ กลวั หนามขามขามใจ งว้ิ นรกสบิ หกองคลุ ีแหลม ดัง่ ขวากแซมเสีย้ ม แซกแตกไสว ใครทำชูค้ ูท่ ่านครัน้ บรรลยั ก็ตอ้ งไปปนี ตน้ นา่ ขนพอง \" บริเวณวัดป่างิ้ว ทางด้านทิศหน้าติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยามีวัดอยู่ 2 วัด ด้านทิศเหนือ ชื่อ วัดนางหยาด และด้านทิศใต้ชื่อ วัดพญาเมือง วัดทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า แก่มาก คงจะสร้างสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราช ธานีหรือก่อนหน้านั้นก็เป็นได้ เพราะตามที่ คนเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่า ตรงวัด พญา เมืองน้ี แตเ่ ดมิ เป็นที่ต้ังเมอื งสามโคกมี ความเจรญิ รุ่งเรอื งมาช้านาน เป็นด่านซอื้ ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าก่อนเข้ากรุงศรีอยุธยา ในทุ่งนี้ แต่ก่อนก็เรียกทุ่งพญาเมือง มีอาณาเขต กว้างขวางไปจนถึงพระ ยาบรรลือแถบทิศตะวันตก หลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ คือ คำโคลง กำสรวลของศรีปราชญ์ ตอนที่ศรี ปราชญ์ถูกเนรเทศ โดย ฝากไปกับกองทัพเรือพระยาสุรสงครามกับ พระยาราชบังสันผู้รับพระบรม ราชโองการ ให้ไปปราบพระยารามราชเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ผู้ไม่ยอมคุกเข่าให้กับพระเพท ราชา เมื่อปี พุทธศักราช 2235 ศรีปราชญ์นั่งเรือมาถึงวัดพญา เมือง ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองร้างไปเสีย แลว้ ศรี ปราชญ์จงึ ได้เขยี นโคลงกล่าวถงึ ไวบ้ นหนึง่ ว่า \"จากเมอื งร่อนทุ้ง พญาเมือง เมอื งเปลา่ เปล่ยี วใจหาย นา่ น้อง จาก มาเยียมาเปลือง อกเปล่า อกเปล่า วา่ ยฟ้าร้อง ร่ำหารนหา\"
6 วดั พญาเมืองเปน็ วัดเกา่ ทเ่ี กีย่ วข้องกับประวัติ ศาสตร์ เม่อื ครง้ั เสียกรงุ ศรอี ยธุ ยา แก่พมา่ ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้กอบกู้อิสระภาพคืนจากพม่าได้แล้ว พระองค์ ได้นำบรรดาทหารลงเรือล่องมาจาก กรุงศรีอยุธยา และได้มาถึงวัดพญาเมืองจึง ได้หยุดจอดเรือให้ บรรดาทหารหุงหาอาหารเย็น รับประทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ออกเดินทาง ต่อไปจนรุ่งสว่าง ที่ธนบุรี เวลานี้ วัดพญาเมืองกับวัดนางหยาด กลายเป็นวัดร้าง ไปนานาแล้ว คงเหลือแต่วัดป่างิ้ววัด เดียว อาณาเขตของวัดพญาเมืองกับวัดนางหยาด จึง มารวมกับวัดป่างิ้ว ทำให้บริเวณของวัดป่าง้ิว กว้างขวางยิ่งข้ึนเม่ือความเจรญิ เข้ามา ความเป็นป่ากห็ มดไป ตำบลบ้านงิ้วจงึ ไม่ มีงิ้วหลงเหลือให้เห็น เชน่ แตก่ อ่ นความกลวั หนามง้ิวจึงหมดไปดว้ ย ภาพท่ี 2 วดั นางหยาด ปจั จุบันเป็นวัดร้าง อย่ใู นบริเวณโรงเรยี นวดั ปา่ ง้ิว ประวัติวัดนางหยาด วัดนางหยาด(ร้าง) ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ําเจ้าพระยาในบริเวณ บา้ นงิว้ หมู่ท่ี 3 ตําบลบา้ นง้ิว อาํ เภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มเี นอ้ื ทต่ี าม โฉนดทดี่ นิ ประมาณ 13 ไร่ 35.5 ตารางวา วัดนางหยาด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยธุ ยาเป็นราชธานี หรือก่อนนั้นก็อาจเปน็ ได้ ปัจจุบันคงเหลือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ มีพระพุทธรูป ศิลาทราย ศิลปะอู่ทอง ปางมารวิชัย ทําด้วยหินทรายแกะสลัก ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 56 นิ้ว 2 นิ้ว สันนิษฐานว่าคงจะเป็น พระประธานประจําพระอุโบสถของวัด และพระพุทธรูปประกอบพระประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง
7 ประมาณ 33 น้ิว สูง 437 นิ้ว อีกสี่องค์ แต่เดิมประดิษฐานอยู่ด้านข้าง ทั้งสองข้างของพระประธาน ด้านละสององค์ หันหน้าออกด้านข้างทั้งสี่องค์ มีศาลาเสาไม้เนื้อแข็งมุงหลังคาด้วยสังกะสีคลุมไว้ ป้องกันแดดฝน บริเวณพื้นพระอุโบสถประกอบด้วยอิฐดินเผาโบราณ ขนาดกว้างประมาณ 5 นิ้วครึ่ง ยาว 11 นิ้ว หนา 7 นิ้ว และพบอิฐดินเผาโบราณขนาดใหญ่ มีรูเล็กๆหลายรู ทะลุจากด้านบนแผ่นอิฐ ถึงด้านล่าง กว้างประมาณ 4 นิ้ว ยาว 14 นิ้ว หนา 5 นิ้วครึ่ง ในบริเวณเขตพื้นที่ของวัดนางหยาด ต่อมาพระครูวิมล กิจจานุกูล เจ้าอาวาสวัดป่างิ้ว และผู้มีจิตศรัทธา ได้ปฏิสังขรณ์สร้างวิหารทรงไทย ทาํ ด้วยศิลาแลงประดับลายปูนป้ันสวยงามมากขน้ึ มา ทดแทน ดงั ปรากฏอยใู่ นปัจจบุ นั จากข้อมูลที่ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พุทธศักราช 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังจากเข้าตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้แล้ว ได้ยกทัพเรือ ผา่ นมาถึงวัดนางหยาด เวลาบ่ายคล้อยเย็นมากแลว้ จงึ นาํ ไพร่พลแวะพกั หุงหาอาหาร เม่อื รบั ประทาน อาหารจนอ่มิ หนําสาํ ราญแลว้ กล็ งเรือตอ่ ไปถึงธนบุรีรุ่งสางพอดี 2.2 ดา้ นกายภาพ 2.2.1 ท่ีตงั้ ของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว ตั้งอยู่ท่ี หมู่ที่ 3 ถนนวัดเสด็จ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามโคก ประมาณ 18 กโิ ลเมตร เนอื้ ที่ประมาณ 3.39 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,118.75 ไร่ โดยมีอาณาเขต ดงั นี้ ทิศเหนอื ตดิ ตอ่ กับแม่น้ำเจ้าพระยา ทศิ ตะวันออก ตดิ ตอ่ กับตำบลเชยี งรากน้อย ทิศใต้ ตดิ ต่อกับตำบลบ้านปทุม ทศิ ตะวนั ตก ตดิ ตอ่ กบั แมน่ ำ้ เจ้าพระยา มีชุมชนในพ้ืนท่รี วม 5 หมบู่ า้ น ดังนี้ หม่ทู ี่ 1 บ้านสมัคร หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หม่ทู ี่ 3 บา้ นงิว้ หมู่ที่ 4 บา้ นสวนมะมว่ งบน หมู่ท่ี 5 บา้ นสวนมะมว่ งใต้
8 ภาพท่ี 3 แผนทต่ี ำบลบ้านงิว้ ภาพที่ 4 แผนที่ตำบลบ้านงวิ้
9 2.2.2 ด้านลักษณะภมู ปิ ระเทศ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีคลองต่าง ๆ แยกจากแม่น้ำ เจา้ พระยา แผ่ครอบคลุมพนื้ ที่ จงึ ทำให้มีน้ำอดุ มสมบูรณเ์ หมาะแก่การเพาะปลูก แตบ่ างปีก็ประสบกับอุทกภัย อณุ หภูมปิ กติ ฝนตกตามฤดูกาลทำใหม้ ีปรมิ าณน้ำฝนเพียงพอแก่การเกษตรกรรม 2.2.3 ลักษณะภมู ิอากาศ ฤดฝู น จากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฤดหู นาว จากเดอื นพฤศจิกายน ถงึ เดอื นมกราคม ฤดูร้อน จากเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดอื นเมษายน อุณหภมู ปิ กติ ฝนตกตอ้ งตามฤดูกาลทำใหเ้ หมาะต่อการเกษตร 2.2.4 ลักษณะของดิน พน้ื ที่สว่ นใหญ่ของตำบลบา้ นง้ิวเปน็ ดินร่วนเหมาะแก่การทำการเกษตร เชน่ ทำนา ทำสวน ภาพที่ 5 แสดงที่ต้งั ของชุมชน
10 2.3 ด้านการเมอื ง/การปกครอง 2.3.1 เขตการปกครอง ตำบลบ้านงิ้วประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน เนื้อที่ประมาณ 3.39 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,118.75 ไร่ การจดั การปกครอง มกี ำนนั คนแรกชือ่ กำนนั เกี๊ยะ ไม่มนี ามสกุล คนที่ 2 คอื กำนันสน พวงศิลป์ คนที่ 3 คือ กำนันแกน่ แสงน้ำ เป็นคุณปู่ ของอาจารย์อดุ ม แสงน้ำ คนที่ 4 คอื กำนันสทิ ธ์ิ แสงแดง คนที่ 5 คอื กำนันเกษม ตน้ สาย คนท่ี 6 คอื กำนนั ชาญ พวงเพช็ ร์ คนท่ี 7 คือ กำนันลำจวน พวงเพ็ชร์ คนที่ 8 คนปัจจุบนั คือ กำนันสมพร เรอื งเพ็ชร์ 2.3.2 การเลอื กตงั้ ตารางท่ี 1 สถติ ิและขอ้ มูลเกี่ยวกบั การเลือกตง้ั ท้องถ่ินตำบลบา้ นงวิ้ จำนวนผู้ จำนวนผูม้ ี จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ประเภท มีสทิ ธิ สิทธฯิ ทมี่ า บัตร บัตร บตั รดี บัตร บัตร การเลือกตงั้ เลือกต้ัง แสดงตน เลือกต้งั เลอื กตง้ั ที่ เสีย ไม่ประสงค์ วัน/เดอื น/ปี ในบัญชี ขอรบั บตั รฯ ที่ไดร้ ับ ใช้ จะ รายชอ่ื มา ลงคะแนน ลงคะแนน ผู้บรหิ าร 1,724 1,381 1,825 1,381 1,284 61 36 13/10/2556 ทอ้ งถน่ิ 1,724 1,381 1,825 1,381 1,335 30 16 สมาชิกสภา ท้องถนิ่ (ท่ีมา : สำนกั ปลดั องค์การบริหารสว่ นตำบลบา้ นง้ิว 2562 )
11 2.4. ประชากร 2.4.1 ขอ้ มลู เก่ียวกับจำนวนประชากร ประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน 5 หมบู่ า้ น คอื ตารางที่ 2 จำนวนประชากรตำบลบ้านง้วิ หมู่ ช่ือหมบู่ า้ น จำนวนประชากร จำนวน ช่ือผู้นำ ที่ ชาย หญิง รวม ครวั เรอื น 1 บา้ นสมัคร 69 67 136 47 ผญ.จำลอง กระจ่างแก้ว 2 บา้ นกลาง 381 376 757 243 ผญ.นอ้ งนชุ ภสู่ วา่ ง 3 บา้ นงิ้ว 319 343 662 216 ผญ.สมปอง หมุดเงิน 4 บา้ นสวนมะม่วงบน 103 120 223 79 กำนนั สมพร เรืองเพช็ ร์ 5 บา้ นสวนมะม่วงใต้ 264 288 552 162 ผญ.สมหมาย ไทรย้อย รวม 1,136 1,194 2,330 747 (ข้อมลู สถิตปิ ระชากรตำบลบ้านง้วิ จากงานทะเบยี นและบัตรอำเภอสามโคก เดอื นเมษายน พ.ศ.2562) 2.4.2 ชว่ งอายแุ ละจำนวนประชากร ตารางที่ 3 ช่วงอายุและจำนวนประชากรตำบลบ้านงิ้ว ชว่ งอายุ หญิง ชาย รวม อายุตำ่ กวา่ 20 ปี 187 คน 207 คน 394 คน อายุ 21-60 ปี 567 คน 557 คน 1,124 คน อายมุ ากกวา่ 60 ปี 241 คน 158 คน 399 คน รวมทั้งส้ิน 995 คน 922 คน 1,917 คน (ข้อมลู จำนวนประชากร จำแนกตามช่วงอายุ ระดับตำบล ปี 2562 จากงานพฒั นาชมุ ชนอำเภอสามโคก)
12 2.5 สภาพทางสงั คม 2.5.1 การศึกษา การศกึ ษาในตำบลบา้ นง้วิ ไดแ้ ก่ - ศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงวิ้ - โรงเรียนวดั สองพีน่ อ้ ง - โรงเรยี นวัดป่างิว้ - โรงเรียนสามโคก - ท่ีอา่ นหนังสือพมิ พ์ประจำหมบู่ า้ น (วัดป่าง้ิว) จำนวน 1 แห่ง ตารางท่ี 4 ตารางแสดงจำนวนเด็กนักเรยี น ประจำปี 2562 ลำดับ สถานศกึ ษา ระดับชัน้ จำนวนนกั เรยี น ท่ี 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงว้ิ เด็กก่อนวัยเรยี น 33 คน 2. โรงเรยี นวดั สองพนี่ ้อง อนุบาล ถงึ ป.6 87 คน 3. โรงเรียนวัดป่าง้วิ อนบุ าล ถงึ ป.6 871 คน 4. โรงเรียนสามโคก มัธยมต้น ถึง มัธยมปลาย 4,282 คน (ทม่ี า : กองการศึกษาฯ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลบ้านงิว้ ) 2.5.2 สาธารณสขุ โรงพยาบาลสง่ เสรมิ สขุ ภาพตำบลบา้ นง้ิว จำนวน 1 แห่ง ต้ังอยูเ่ ลขท่ี 1/22 หม่ทู ี่ 3 ตำบลบ้านงิว้ ภาพที่ 6 โรงพยาบาลส่งเสริมสขุ ภาพตำบลบ้านง้ิว
13 2.5.3 อาชญากรรม ประชาชนในพืน้ ที่ตำบลบา้ นงิ้วไม่มีการก่อเหตุอาชญากรรม แต่มเี หตุการณล์ ักขโมยทรัพย์สิน ของประชาชนบ้างเพยี งเลก็ นอ้ ย ด้วยในพื้นท่ีตำบลบ้านงว้ิ ไม่มีสถานตี ำรวจ องคก์ ารบริหารส่วนตำบล บ้านงิ้ว จึงได้จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านง้ิว มจี ำนวนสมาชกิ อปพร. 38 คน (ขอ้ มลู ณ เดอื นพฤษภาคม 2562) 2.5.4 ยาเสพติด จากการสุ่มตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลบ้านงิ้ว ตามโครงการ ผู้นำประชาธิปไตยร่วมใจแก้ไขปัญหายาเสพติดและปกป้องสถาบันสำคัญของชาติ อำเภอสามโคก จงั หวดั ปทุมธานี ทำให้มปี ระชาชนทย่ี ุ่งเกี่ยวกบั ยาเสพตดิ ลดลง 2.5.5 การสังคมสงเคราะห์ ตารางที่ 5 จำนวนผสู้ ูงอายุ ผ้พู กิ าร ผปู้ ่วยเอดส์ ท่ีได้รบั สวสั ดิการเบ้ยี ยังชีพ ลำดบั รายการ ขอ้ มูล ณ เดือนพฤษภาคม 2562 ข้นึ ทะเบยี นรับเบ้ียยังชีพ ขึน้ ทะเบยี นรบั เบ้ียยังชีพ 1 ผูส้ งู อายุ ประจำปีงบประมาณ 2561 ประจำปีงบประมาณ 2562 2 ผ้พู ิการ 3 ผู้ปว่ ยเอดส์ 386 416 117 120 รวม -- 503 536 (ท่ีมา: สำนกั ปลัดฯ องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลบ้านงวิ้ )
14 2.6 ระบบบรกิ ารพน้ื ฐาน 2.6.1 การคมนาคมขนส่ง ทางบก 1) ถนนแอสฟลั ท์ติกคอนกรตี สายวัดเสด็จ-ศูนยศ์ ิลปาชีพบางไทร (หมายเลข 3309) 2) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของกรมทางหลวงหมายเลข 347 ตอนแยกบางพูน-ธรรมศาสตร์ ศนู ยร์ ังสติ -บางปะหัน 3) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในตำบล จำนวน 18 สาย(บ้านงว้ิ ซอย 1 ถงึ บา้ นง้วิ ซอย 18) ภาพที่ 7 แสดงการคมนาคมขนสง่ ทางน้ำ หรอื ถ้าน่ังเรือขา้ มฟากจากท่าวดั สรุ าษฎรร์ งั สรรค์ (วดั ดอน) อำเภอสามโคก ขึ้นท่าโรงเรียน วดั ปา่ ง้วิ (หรอื วัดนางหยาด) ใช้เวลาเดนิ ทางเพียง 5 นาที มีแหล่งน้ำธรรมชาติ รวม 6 สาย ดังน้ี - คลองวัดใหม่ - คลองง้ิว - คลองวัดสองพ่ีน้อง - คลองวดั ป่าง้ิว - คลองคลองคู - แมน่ ้ำเจา้ พระยา การคมนาคมทางนำ้ ท่ียงั คงมกี ารใชค้ มนาคมอย่มู เี พียงทางแม่นำ้ เจ้าพระยาเท่านนั้ แตส่ ำหรับ ลำคลองในพื้นที่ตำบลบ้านงิ้ว ไม่มีการใช้เป็นทางคมนาคมแล้ว ใช้ประโยชน์เพียงในการเกษตรกรรม เทา่ น้นั
15 ภาพที่ 8 ท่าเรอื โรงเรียนวัดปา่ งิว้ (หรือวัดนางหยาด) 2.6.2 การไฟฟ้า ราษฎรมไี ฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 แตไ่ ฟฟา้ สอ่ งสว่างสาธารณะตามถนนและ ซอยตา่ ง ๆ ยังไม่เพียงพอ ด้วยติดปญั หาเร่อื งงบประมาณท่ี อบต.บา้ นงิ้ว มจี ำนวนจำกัด 2.6.3 การประปา พืน้ ทีต่ ำบลบ้านง้วิ ใชน้ ำ้ ประปาบาดาลและนำ้ ประปาส่วนภูมภิ าค ครบท้ัง 5 หมบู่ ้าน 2.6.4 โทรศพั ท์ - มีครัวเรอื นท่ตี ิดตง้ั โทรศัพท์บ้าน ประมาณ 90% - ประชาชนส่วนใหญใ่ ช้โทรศัพท์เคล่อื นที่ คิดเป็นร้อยละ 100 - เสยี งตามสายหรือหอกระจายข่าวมี 1 จดุ (อบต.บา้ นงว้ิ ) สำหรับการประชาสมั พนั ธ์ ข้อมูลขา่ วสารต่าง ๆ ให้ประชาชนไดร้ บั ทราบและทนั ต่อสถานการณป์ ัจจุบัน 2.6.5 ไปรษณียห์ รือการสอื่ สารหรอื การขนสง่ และวสั ดุ ครภุ ัณฑ์ ทที่ ำการไปรษณียท์ ี่ใกล้ทีส่ ดุ คือ ท่ีทำการไปรษณียอ์ ำเภอสามโคก จังหวัดปทมุ ธานี เส้นทางการจราจรทางบก คือ รถสองแถว ปทุม-วัดเสด็จ-เชียงราก และ ปทุม-บ้านพร้าว-เชียงราก ว่ิงเส้นทางถนน 3309
16 2.7 ระบบเศรษฐกิจ 2.7.1 การเกษตร การเกษตรกรรมประกอบด้วยการทำนาข้าวเปน็ สว่ นใหญ่ รองลงมาคอื ทำสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น และเลี้ยงสัตวน์ ำ้ ผลผลิตทางการเกษตรท่ีสำคัญคือ ข้าว มะม่วง ขนุน กล้วยน้ำว้า มะพร้าว และสัตว์นำ้ 2.7.2 การปศุสตั ว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเล้ยี งในครวั เรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลย้ี งไก่ เป็ด ปลาและกบ 2.7.3 การท่องเทยี่ ว - ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีชาวพุทธ (วัด) เนื่องจากพื้นที่ตำบลบ้านงิ้วมีวัด ที่เป็นที่ รู้จักและประชาชนทั่วไปเลื่อมใสศรัทธาเช่น วัดสองพี่น้อง วัดป่างิ้ว วัดนางหยาด วัดสวนมะม่วง และวัดไผล่ ้อม ทำใหม้ ปี ระชาชนทง้ั ในและนอกพน้ื ท่ีตา่ งก็มาเทีย่ ว ไหวพ้ ระขอพรส่ิงศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ และเป็น การสืบสานให้คงอยแู่ ละเป็นทีร่ ูจ้ กั มากขึ้น 2.7.4 อตุ สาหกรรม หนว่ ยงานประกอบธรุ กจิ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบา้ นงว้ิ จำนวน 45 แหง่ ตารางท่ี 6 หนว่ ยงานประกอบธรุ กิจในเขตองค์การบรหิ ารส่วนตำบลบา้ นงว้ิ รายการ ข้อมูลประกอบการ ปี 2561 ปี 2562 1.บรษิ ัทเอเดค อนิ ทเี รียส์ จำกดั (เฟอรน์ ิเจอร์ไม้) หมทู่ ่ี 2 2.นางธีราพร คุย้ เขยี่ (ร้านเสรมิ สวย) หมทู่ ี่ 1 √√ 3.บรษิ ทั นวนคร จำกัด มหาชน (สถานสี บู น้ำดิบ) หมทู่ ่ี 2 √√ 4.นางลัดดา รฐั ถานาวนิ (หอพัก) หมู่ที่ 2 √√ 5.น.ส.วไิ ลวรรณ แม้นทอง (หอพัก) หมู่ที่ 2 √√ 6.นายรวยรินทร์ โคมน้อย (ท่าทรายโพธิ์ทอง) หมทู่ ่ี 2 √√ √√
รายการ 17 7.น.ส.สมหมาย บัวสด (ร้านเสริมสวย) หมู่ท่ี 2 ข้อมูลประกอบการ 8.บรษิ ทั ทรมู ูฟ (เสาโทรศัพท์มอื ถือ) หมู่ท่ี 2 ปี 2561 ปี 2562 9.บริษทั ดีเทคไตรเนต็ จำกดั (เสาโทรศพั ท์มือถอื ) หมทู่ ี่ 2 10.นายชชู ีพ พวงเงนิ (เกบ็ ของเกา่ ) หมทู่ ี่ 2 √√ 11.นายแสงสยาม แสงเขยี ว (ผลติ -จำหนา่ ยน้ำดมื่ ) หมู่ท่ี 2 √√ 12.นายฆนาคม เรอื งสว่าง (ผลิต-จำหนา่ ยแคบหมู) หมู่ที่ 2 √√ 13.บริษัทแอนตลี้ คี จำกัด (อู่ซอ่ มรถ) หมู่ท่ี 2 √√ 14.นายมารวย จำปาทอง (โกดังเกบ็ ของ) หมูท่ ่ี 2 √√ 15.นายสุรสิทธ์ิ แซ่โง้ว (อตู่ อ่ เรอื ) หมทู่ ี่ 2 √√ 16.หจก.ทวีนสุ รณ์ (แปรรปู ประเภทเหล็ก) หมทู่ ่ี 3 √√ 17.นางพทิ ยา ล้ำบรสิ ทุ ธิ์ (โรงเกบ็ ของ) หมู่ที่ 3 √√ 18.หจก.ซ.ี เค.แอล บรกิ าร (โกดงั เกบ็ กระดาษ) หมู่ที่ 3 √√ 19.หจก.เอส.ที.07 (คานเรือ) หมู่ท่ี 3 √√ 20.นางประภาวดี ยอดจนั ทร์ (บา้ นเชา่ ) หมู่ท่ี 3 √√ 21.บรษิ ัทไทยสมบูรณ์อนิ ดัสเรียล จำกดั (โกดงั เก็บไม้) หม่ทู ี่ 4 √√ 22.ร้านคา้ ของชำ (14 รา้ น) √√ 23.รา้ นอาหารตามส่ังและก๋วยเตี๋ยว (10 รา้ น) √√ รวมทงั้ สิน้ √√ √√ (ทม่ี า: กองคลงั องค์การบรหิ ารส่วนตำบลบ้านง้วิ ) √√ 45 45 2.7.5 การพาณิชยแ์ ละกลุ่มอาชีพ จำนวน กองทุนหมู่บา้ น จำนวน 5 กองทุน 1. กองทนุ หมู่บ้าน 1 ลา้ นบาท จำนวน 3 กลุ่ม 2. กลมุ่ ออมทรพั ยเ์ พ่ือการผลิต จำนวน 1 กองทนุ 3. กองทนุ สวัสดกิ ารชุมชน 1 กองทนุ 4. กองทุน กข.คจ.
18 5. กองทนุ แม่ของแผน่ ดนิ จำนวน 2 กองทนุ 6. กลุ่มฌาปนกจิ จำนวน 1 กองทุน กล่มุ กจิ กรรม/อาชพี จำนวน 5 กลุ่ม 1. คณะกรรมการพัฒนาสตรี (กพสม.) จำนวน 5 กล่มุ 2. อาสาสมัครสาธารณสขุ ประจำหม่บู ้าน (อสม.) จำนวน 2 กลมุ่ 3. กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรี จำนวน 1 กลุ่ม 4. กลุ่มน้ำดม่ื จำนวน 1 กลุม่ 5. กลมุ่ ผใู้ ช้น้ำ/กองทนุ ปุ๋ย
19 2.7.6 แรงงาน อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพรับจ้างทั่วไป พนักงานบริษัทและอื่นๆ เช่น ค้าขาย, รบั ราชการ,ประกอบธุรกิจส่วนตัว ตารางท่ี 7 รายได้เฉลย่ี ครัวเรอื น ประจำปี 2562 พืน้ ท่ี รายได้ครัวเรือนเฉลย่ี รายไดบ้ ุคคลเฉลยี่ (บาท/ปี) (บาท/ป)ี หมทู่ ่ี 1 บา้ นสมคั ร 394,410.26 143,757.01 หมูท่ ี่ 2 บ้านกลาง 264,127.84 75,354.12 หมูท่ ี่ 3 บ้านงว้ิ 280,429.44 90,623.52 หมทู่ ่ี 4 บ้านสวนมะมว่ งบน 229,055.96 81,161.56 หมู่ที่ 5 บ้านสวนมะมว่ งใต้ 318,780.52 82,911.52 รวม 286,387.03 85,751.78 (ที่มา: ขอ้ มูล จปฐ. จากงานพฒั นาชุมชนอำเภอสามโคก ประจำปี 2562) ตารางที่ 8 รายจ่ายเฉลี่ยครวั เรอื น ประจำปี 2562 พื้นที่ รายจ่ายครวั เรอื นรวม รายจ่ายบุคคลรวม เฉล่ยี (บาท/ป)ี เฉลย่ี (บาท/ป)ี หมทู่ ่ี 1 บ้านสมัคร 192,615.05 70,205.49 หมู่ที่ 2 บา้ นกลาง 235,158.76 67,089.41 หมู่ท่ี 3 บา้ นงว้ิ 249,162.33 80,519.25 หมู่ท่ี 4 บา้ นสวนมะม่วงบน 155,251.11 55,010.24 หมู่ที่ 5 บ้านสวนมะม่วงใต้ 225,314.22 58,601.91 รวม 228,405.50 68,390.59 (ทีม่ า: ข้อมลู จปฐ. จากงานพฒั นาชมุ ชนอำเภอสามโคก ประจำปี 2562)
20 2.8 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 2.8.1 การนับถือศาสนา ประชากรในตำบลบ้านงวิ้ สว่ นใหญน่ บั ถอื ศาสนาพทุ ธ จำนวนวัด 5 วัดได้แก่ 1) วดั สองพีน่ ้อง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านกลาง ริมฝั่งแม่น้ําเจ้าพระยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410 เป็นวัดที่สร้างขน้ึ ใหม่โดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) โปรดให้ตั้งบ้านเรือนเป็นหมู่เป็นแหล่ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ําชื่อว่า “บ้านกลาง” และให้สร้างวัดขึ้นในชุมชน เพอื่ ใหเ้ ปน็ ศูนย์รวมทางศาสนาช่อื ว่า “วัดสองพนี่ ้อง \" ท่ามกลางวัดรา้ งในสมยั อยุธยาอกี หลายวัดในบริเวณนั้น วัดสองพี่น้อง มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 2 องค์ ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ํา คือ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปศลิ า ศิลปะอู่ทองปางมารวิชัย และหลวงพ่อ พลอย เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง จําหลักด้วยศิลาแต่ถูกขโมย ไปทางวดั ไดจ้ ัดสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นทเ่ี คารพนับถือของชาวเรอื และประชาชนทั่วไป ปชู นยี สถาน และปูชนยี วตั ถทุ ี่สําคญั คอื 1. หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัย พระพุทธรูป ศิลปะสมัยสุโขทัย เป็นท่ี เคารพกราบไหว้ เปน็ อนั มาก 2. หลวงพอ่ พลอย พระพทุ ธรปู ศกั ดิส์ ทิ ธิ์สมัยอยธุ ยาทเี่ คล่ือนย้ายมา จากวดั พญาเมืองเป็นพระพุทธรูป ท่ผี คู้ นมากราบ ไหว้อยูเ่ สมอ 3. หอสวดมนต์ เป็นอาคารไม้ทรงไทยที่งดงาม ตกแต่งด้วยลวดลาย ไม้ฉลุสวยงาม ประกอบดว้ ยช่อฟา้ ใบระกาหางหงส์ 4. ใบเสมาศิลาทราย ใบเสมาศิลาทรายสมัยอยุธยา และลูกนิมิตของวัดร้าง ที่มีมาก่อนมอญ อพยพเข้ามาต้งั บ้านเรือนในสยาม ภาพที่ 9 หลวงพอ่ เพชร วัดสองพ่ีน้อง
21 ภาพที่ 10 บรเิ วณวัดสองพ่นี ้อง 2) วัดปา่ ง้ิว ต้งั อยหู่ มู่ที่ 3 บา้ นง้วิ วดั ป่างิ้ว มีทพ่ี ่ึงทางใจ คือ 1. หลวงพ่อเกตุสมุทร มีประวัติความเป็นมา คือ มีชาวประมงคนไทยและอิสลามไปหาปลา ด้วยกันโดยการลงเบ็ดตามลำน้ำเจ้าพระยา และชาวประมงอิสลามได้เกี่ยวฐานพระขึ้นมาชาวประมงอิสลาม พยายามสลัดพระให้หลุดจากเบ็ด แต่คนไทยชื่อโทนเห็นว่าเป็นพระพุทธรูป จึงให้เกี่ยวขึ้นมาแล้วนำมาถวาย ให้กับวัดป่างิ้ว เมื่อ พ.ศ.2496 ซึ่งตอนแรกนำไปวัดที่อำเภอสามโคก ประมาณครึ่งเดือน แต่เกิดอภินิหาร ตล่ิงพงั ต้นก้ามปูล้ม จึงมคี วามเช่อื ว่พระไม่ชอบอยอู่ ำเภอสามโคก จึงเอาไปคนื ไว้ที่วัดป่างิ้ว 2. พระศรอี าสน์ มีชาวตำบลบา้ นงิ้วซ่งึ เป็นคนไทย ไปหาปลา กับชาวบ้านอำเภอบางไทร ไป เจอหลวงพ่อศรีอาสน์ พร้อมกันก็ตกลงว่าจะขอนำไปบูชาไว้ที่วัดบางไทร สามปี แล้วให้นำมาไว้วัดป่างิ้ว 3 ปี ทำแบบนี้อยู่หลายปี ชาวตำบลบ้านงิ้ว อธิฐานถ้าหลวงพ่อมีความประสงค์ที่จะอยู่ที่วัดป่างิ้วขอให้ยกขึ้น คนไทยก็แบกหลวงพอ่ กลบั วัดป่างว้ิ ไมย่ อมคืนจนทุกวันนี้ 3. หลวงปู่ชม สิ่งศักดิ์ที่พึ่งทางใจ อดีตเจ้าอาวาทวัดป่างิ้ว ปัจจุบันศพไม่เน่าไม่เปื่อยนอนอยู่ ในโลงแกว้ ทีว่ ัดป่างว้ิ
22 ภาพที่ 11 วัดปา่ งิ้ว 3) วดั สวนมะมว่ ง ตั้งอยู่ในหมูท่ ี่ 4 บ้านสวนมะม่วงบน เขตพื้นที่ตําบลบ้านงิ้ว อําเภอสามโคก จังหวัดปทมุ ธานี พื้นที่ตั้งวัดเดิมมีวัดร้างสมัยอยุธยาอยูแ่ ล้ว มีชื่อว่า “วัดราชบูรณะ” ชาวมอญได้อพยพ หลบภัยสงครามเข้ามา พงึ่ พระบรมโพธสิ มภารพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลยั (ร.2) ทางการไดก้ าํ หนดเขตให้ตัง้ บ้านเรือนอยู่ รมิ ฝงั่ แมน่ ํา้ เจ้าพระยา ไดก้ ่อตัง้ วดั ขน้ึ เปน็ ศนู ย์รวมพระศาสนา ให้ชอ่ื วา่ “วัดสวนมะมว่ ง ” ปูชนยี สถาน และปูชนียวตั ถทุ สี่ าํ คญั คอื 1. เจดยี ม์ อญ รูปทรงแบบอยา่ งเจดยี ์ชะเวดากอง 2. กุฏิทรงไทยสองชั้น อาคารแบบขนมปังขิง (Gingerbread) ตกแต่งด้วยลวดลายฉลุสร้างปี พ.ศ. 2466 3. หอสวดมนต์ อาการไมท้ รงไทยมีซุ้มทางเข้าสองทางงดงาม 4. โบสถ์เก่า แบบประเพณีนิยมที่สร้างรูปแบบสมัยอยุธยา และก่อเจดียย์ ่อมุมไม้สิบสองไว้ 1 คู่หน้าโบสถ์ ความงามของโบสถ์หลังนี้ยังปรากฏอยู่ที่ลวดลาย ปูนปั้นซุ้มบันได ทางขึ้นโบสถ์งานศิลปะ ผสมผสาน ระหว่างฝรงั่ จีน ไทย ไดง้ ดงามลงตวั ภาพที่ 12 วัดสวนมะม่วง
23 ภาพที่ 13 บรเิ วณวัดสวนมะมว่ ง 4) วดั อัมพุวราราม ตั้งอยหู่ ม่ทู ่ี 5 บ้านสวนมะมว่ งใต้ สถานทแี่ ห่งนี้ เม่ือประมาณ 250 ปีทแี่ ลว้ เคยเป็นสถานที่พัก ทพั เรือของ “คณะเจา้ ตากสินฯ” ทน่ี าํ เรอื สําเภาจากตราด จันทบุรี ผา่ นระยอง ชลบุรี เขา้ ปากอา่ วสมทุ รปราการ ผ่านกรุงธนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ถึงสามโคกฯ เพื่อรวบรวมเสบียง ตลอดไพร่พล ซักซ้อมแผนยุทธวิธีฯ ก่อนที่จะเคลื่อนทัพเรือ ไปตีค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา จนได้รับชัยชนะ กอบกู้อิสระภาพคืน จนเป็น “ไทย” มาถึงวันนี้ เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ํา จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับ วันศุกรท์ ี่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใชเ้ วลา 7 เดอื นหลงั จากคราวเสียกรงุ ศรีอยุธยาฯ พญาเจ่ง เป็นหลานลุง (พระนัดดา) ของกษัตริย์มอญ องค์สุดท้าย หลังจากที่มอญได้เสีย อำนาจให้กบั พม่าในยุคนั้น พญาเจ่ง ไดอ้ พยพครอบครวั ไพร่พล เขา้ มาพง่ึ พระบารมโี พธิสมภาร สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดรับไว้ และให้พักอยู่อาศัย เขตเมืองสามโคก เมืองปทุม
24 และปากเกร็ด พญาเจง่ ได้นาํ ทหาร 3,000 นาย ไดอ้ อกชว่ ยราชการสงครามกบั สมเด็จพระเจา้ ตากสินมหาราช ในการรวมแผน่ ดนิ ภายหลงั ท่ีทรงกอบกู้เอกราชได้แล้ว จนได้รวบรวมแผน่ ดินไทยกวา้ งใหญไ่ พศาลเปน็ ปกึ แผ่น ต่อมาในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ออกช่วยราชการสงครามในการป้องกันประเทศ ด้วยความ ห้าวหาญเด็ดเดี่ยว ในสงครามเก้าทัพรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พญาเจ่ง เป็นขุนศึกของ กรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) ได้รับชัยชนะทุกสมรภูมิเป็นเหตุให้ได้รับพระราชทานฯ เป็น เจ้าพระยามหาโยธา นราธบิ ดี ศรพี ิชยั ณรงค์ กอ่ นจะเปน็ วัดอัมพวุ ราราม เมื่อสมัยที่ครอบครัวชาวมอญที่ติดตาม “พญาเจ่ง” เข้ามาที่ สามโคกนี้ บริเวณน้ีเปน็ พื้นราบ ลมุ่ ประกอบกบั เคยเป็นที่พักทพั เรือของ “พระเจ้าตากสินมหาราช” หลงั จากทพี่ ระองคไ์ ด้กอบกูช้ าตแิ ล้วท่ีตรง น้ีก็ว่าง ชาวมอญท่ีตดิ ตามพญาเจ่งมา ได้สร้างหมู่บ้านขึ้นดว้ ยกัน พื้นท่บี ริเวณนีป้ ระมาณ 10 ไร่ ให้เป็นสถานที่ ที่พักสงฆ์ อยแู่ บบสมถะ เรยี บงา่ ย อยูต่ ดิ กบั วัดไผ่ลอ้ ม ซ่งึ เป็น วัดเกา่ ให้เป็นเพ่อื นกัน พ่งึ พาอาศยั กนั ฯ ในสมยั รชั กาล ท่ี 1 กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ เกดิ ศึกสงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 พอชนะสงครามเก้า ทัพครั้งนั้นแล้ว มีทหาร ที่กลับได้บวชเป็นพระภิกษุมากขึ้น ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีอดีตเจ้าอาวาสปกครองวัดมาถึง 6 รูปด้วยกัน ปัจจุบันมี พระครูวิสุทธิกิตติคุณ (สมชาย พวงดี) ท.ผจล.ชอ. (เทียบ ผูช้ ่วยเจา้ อาวาสพระอารามหลวงช้นั เอก) ดํารงตาํ แหนง่ เจา้ อาวาส ภาพท่ี 14 พระประธานในโบสถ์ และพระพทุ ธรูป วดั อัมพวุ ราราม
25 ภาพที่ 15 พระพทธรูปบริเวณวดั อัมพวุ ราราม ภาพที่ 16 รูปปนั้ เจ้าแม่กวนอิม และพญาเจง่ ในบริเวณ วดั อัมพุวราราม 5) วดั ไผ่ล้อม วัดไผ่ล้อมตั้งอยู่ที่หมู่ท่ี 5 บ้านสวนมะม่วงใต้ ตําบลบ้านนิ้ว เป็นวัดสมัยอยุธยา เดิมมีกอไผ่ ล้อมวัด มีต้นไม้เบญจพรรณขึ้นอยู่มากมาย มีสัตว์ป่านานาชนิดจนมีคนมาบุกรุก ล่าจนหมดไป ต่อมาได้มีนก ปากห่านเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจํานวนมากนับหมื่นตัว จนวัดไผ่ล้อมมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ เป็นวัดท่ีมี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ มาดูนก ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2503 พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงป่าพระราชอะคันตุกะ พระเจ้าเลโอโบลด์แห่ง ราชอาณาจักรเบลเยยี มมาชมนกปากหา่ งที่วดั
26 ปชู นียสถาน และปูชนียวตั ถทุ ่ีสาํ คัญคอื 1. โบสถ์ และพระประธานในโบสถ์ 2. หลวงพ่อโต พระประธานในวหิ าร 3. กุฏิเรอื นไทย ภาพท่ี 17 พระประธานในวิหาร และ สมเดจ็ พระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดไผ่ล้อม 2.8.2 ประเพณแี ละงานประจำปี * ประเพณีแหเ่ ทียนเขา้ พรรษา ปฏบิ ัติกอ่ นถึงวันเข้าพรรษา แรม 1 คำ่ เดือน 8 ของทุกปี * ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ปฏบิ ัติชว่ งหลังวันออกพรรษา แรม 1 ค่ำ เดอื น 11 ของทกุ ปี * ประเพณีสงกรานต์ ปฏบิ ัติช่วงเทศกาลสงกรานตว์ ันท่ี 13 – 15 เดือน เมษายน ของทุกปี * ประเพณีสง่ ขา้ วแช่ ปฏบิ ตั ิในชว่ งเทศกาลสงกรานต์ * ประเพณีแหห่ างหงส์ธงตะขาบ ปฏิบัตใิ นช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2.8.3 ภมู ปิ ัญญาท้องถิ่น ภาษาถ่ิน ภาษาทอ้ งถนิ่ สว่ นใหญ่ในตำบลบา้ นงิ้วใชภ้ าษาไทย และมชี มุ ชนไทยรามญั ทยี่ ังคงส่ือสารด้วยภาษามอญ 2.9 ทรัพยากรธรรมชาติ 2.9.1 นำ้ แม่นำ้ เจา้ พระยาและคลองวดั ใหม่, คลองวัดสองพนี่ อ้ ง, คลองวัดป่างิ้ว, คลองงวิ้ และคลองคู สภาพแหล่งนำ้ ใช้ไดเ้ ฉพาะเพ่ือการเกษตรเทา่ นัน้ ไมส่ ามารถใชเ้ พ่ือการอปุ โภคบริโภคได้
27 2.9.2 ป่าไม้ ในตำบลบ้านงิ้วไม่มีป่าไม้ มีแต่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม สังกัดกรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีเนื้อที่ประมาณ 74 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ในราชกจิ จานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 89 ลงวันท่ี 29 สงิ หาคม พ.ศ. 2521 เขตหา้ มล่าสัตวป์ ่าวัดไผ่ลอ้ มและวดั อมั พวุ ราราม อาํ เภอสามโคก จงั หวัด ปทุมธานี กว่า 100 ปมี าแล้ว ที่วัดไผ่ล้อม กลายเป็นแหล่งอพยพที่สําคัญของ นกปากห่างมาอย่างต่อเนื่องและมีจํานวนมากขึ้นทุกปี เมื่อถึง ช่วงปลายฝนต้น หนาวประเทศไทยจะได้ต้อนรับฤดูกาลแห่งการอพยพของนกปากห่าง นกอพยพ ที่เปลี่ยน สถานที่หากินและขยายพันธ์ุอยู่ในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุม ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน พม่า ลาว เขมร เวียตนาม ไทย กัมพูชา และคาบสมุทรอินโดจีน วัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวรารามได้ ถกู ประกาศให้เป็น “เขตห้ามล่าสตั ว์ป่า” ต้ังแตว่ ันท่ี 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ครอบคลมุ พน้ื ที่ วัดไผ่ล้อมและ วัดอมั พุวราราม รวมเนอื้ ที่ประมาณ 74 ไร่ เพอ่ื ควบคมุ และ สงวนพนื้ ทไ่ี ดใ้ ห้นกปากห่างไดอ้ าศัยอยา่ งปลอดภัย รวมถึงสตั วอ์ นื่ ๆ ท่อี ย่ใู นพืน้ ท่ี ภาพท่ี 18 เขตห้ามลา่ สัตว์ป่าวดั ไผ่ลอ้ มและวัดอมั พวุ ราราม ณ หมู่ท่ี 5 บ้านสวนมะม่วงใต้ 2.9.3 ภูเขา -ในตำบลบา้ นง้ิวไม่มภี ูเขา- 2.9.4 ทรพั ยากรธรรมชาติท่ีสำคญั ขององค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่ิน พื้นที่ตำบลบ้านงิ้ว เป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึงในฤดูน้ำลาก บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านสวนมะม่วงเหนือ และหมู่ที่ 5 บ้านสวนมะม่วงใต้และคลองคู พื้นที่ส่วนใหญ่เปน็ ดินร่วนเหมาะแก่การทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน และการเล้ยี งสัตว์ เช่น ปลา กบ และไก่ เป็นต้น ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ และคลองวัดใหม่, คลองวัดสองพ่ี น้อง, คลองวัดป่างิ้ว, คลองง้ิว และคลองคู สภาพแหลง่ น้ำใชไ้ ด้เฉพาะเพื่อการเกษตรเท่าน้ัน ไม่สามารถใช้เพ่ือ
28 การอุปโภคบริโภคได้ น้ำในคลองส่วนใหญเ่ น่าเสยี เนื่องจากผกั ตบชวา และวัชพืช บางส่วนเน่าเสียและดินตื้น นำ้ ไหลไม่สะดวก และมบี ่อบาดาล จำนวน 2 แหง่ ตง้ั อย่หู ม่ทู ี่ 3 และหมูท่ ี่ 5 คุณภาพนำ้ บาดาลไม่ได้มาตรฐาน มสี ีแดง เนือ่ งจากบอ่ บาดาลมีสภาพใชง้ านมานานแลว้
29 สว่ นท่ี 3 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพ ปญั หา ความต้องการ และประเดน็ การพฒั นาเชิงพนื้ ท่ี การวิเคราะห์ชุมชนดำเนินการโดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมจากฐานข้อมูลแผนพัฒนา ยุทธศาสตร์จังหวัดปทุมธานี แผนพัฒนาอำเภอสามโคก แผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านง้ิว ฐานข้อมูลสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคก และการสืบค้นจากสื่อออนไลน์ต่างๆ และดำเนินการเก็บ ข้อมูลปฐมภมู จิ ากการจัดเวทปี ระชุมผนู้ ำชุมชน การสัมภาษณร์ ายคนและกลมุ่ ในพนื้ ท่ีตำบลบ้านงว้ิ และผู้มีส่วน ได้เสีย นำข้อมลู ทไ่ี ดป้ ระมวลผล สงั เคราะห์ผล แบ่งเป็นด้านดังน้ี 3.1 ศักยภาพในการพัฒนา ตำบลบา้ นงิ้ว อำเภอสามโคก จงั หวดั ปทุมธานี 1) ดา้ นทรพั ยากรมนษุ ย์ ตำบลบา้ นงิ้ว ไดแ้ ก่ หมู่ท่ี 1,2,3,4 และ 5 ผู้นำชมุ ชนท่เี ขม้ แขง็ ได้แก่ กำนัน/ผใู้ หญบ่ ้านทั้ง 5 หมู่ นาย องค์การบริหารส่วนจังหวัด ชาญ พวงเพ็ชร์ และอดีตกำนันลำจวน พวงเพ็ชร์ แกนนำชุมชนที่มีความตั้งใจใน การพัฒนาหม่บู า้ น สามารถนำประชาชนในความรับผิดชอบของตนเองไดด้ ี ชาวบ้านใหเ้ คารพและเชื่อถือในตัว ผนู้ ำของตน สามารถนำไปส่กู ารส่งเสรมิ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการดา้ นการพัฒนา หมูท่ ี่ 2,4,5 มีปราชญ์ชมุ ชนด้านประวตั ิศาสตรแ์ ละวัฒนธรรมมอญ สามารถนำไปส่กู ารพฒั นาด้านการ เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นอัตลกั ษณ์และความภาคภูมิใจในชุมชน และกระตุ้นจิตสำนึกของคนในชุมชนให้ เกิดความรักตอ่ ชมุ ชนและสรา้ งความสัมพันธ์และสรา้ งความร่วมมือในการพัฒนาชมุ ชน หมู่ที่ 5 มีปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดภัย การปลูกเมล่อน สามารถนำไปสู่ การพัฒนาเปน็ ศนู ย์เรยี นรดู้ า้ นการเกษตร และรวมกลุ่มในชมุ ชน ดำเนนิ การด้านทอ่ งเทีย่ วเชงิ เกษตรกรรม ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจของชาวบ้าน สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับชาวชุมชนเห็น ด้วยคล้อยตามนโยบายในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความสร้างสรรค์ ปราชญ์ชุมชน เป็นบุคคลที่ได้สะสม ประสบการณ์เชย่ี วชาญ เชน่ เจา้ อาวาสวัดในชุมชนท่ีไดส้ ะสมเรยี นรวู้ ิถชี ีวิตของชุมชนมายาวนาน และปราชญ์ ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน ตลอดถึง การฝึกอบรมเชิงปฏิบตั ิการ เพื่อเป็นการสืบสานตอ่ ยอดวฒั นธรรมท้องถิ่น โดยการยกย่องเชดิ ชูเกียรตปิ ราชญ์ ชุมชนดังกล่าวให้ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ได้สั่งสมเรียนรู้ม าและพร้อมที่จะถ่ายทอดให้แก่บุคคล ที่สนใจเรียนรู้ (ศูนย์การเรียนรวู้ ัฒนธรรมท้องถ่ิน) 2) ด้านเครือขา่ ย ภาพรวมของตำบลบ้านง้ิว หมู่ที่ 1,2,3,4,5 พบหนว่ ยงานเข้ามาขับเคลอื่ นพ้นื ที่ ได้แก่ - องคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลบ้านงิว้ สามารถนำไปสูก่ ารพฒั นาคุณภาพชีวิตของคนในชมุ ชนบา้ นง้วิ
30 - องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สามารถนำไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของคนใน ชุมชน - กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจงั หวดั ปทุมธานี 1 มีการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 150,000 บาท ในการจัด งานสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย-รามัญ ณ วัดป่างิ้ว ต่อเนื่องในทุกๆปี สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านแหลง่ ทนุ สนบั สนุนในชมุ ชน และการสง่ เสริมดา้ นการสบื สานภูมิปัญญาและวฒั นธรรมรามญั - สถานศึกษาในพื้นที่ตำบล ได้แก่ โรงเรียนวัดป่างิ้ว (ระดับประถมศึกษา) โรงเรียนวัดสองพี่น้อง (ระดับประถมศึกษา) โรงเรียนสามโคก (ระดับมัธยม) เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชน การมีส่วน ร่วมในการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย-รามัญ เช่น การปักสไบมอญ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมรามัญ สามารถนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ การถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา วฒั นธรรม ให้กับเยาวชน นักเรยี น เพ่ือการสบื สานภมู ิปัญญาและวัฒนธรรมของชมุ ชน - โรงพยาบาลสง่ เสริมสขุ ภาพตำบล สามารถนำไปสกู่ ารมสี ่วนร่วมในการดแู ลสขุ ภาพของคนในชมุ ชน - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และคนในชุมชน หมู่ที่ 1 พบหน่วยงานที่เข้ามาขับเคลื่อนพื้นที่ ได้แก่ พัฒนาชุมชน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยการส่งเสรมิ สัมมาชีพชุมชน กลุ่มน้ำยาลา้ งจาน หมูท่ ่ี 3 พบหนว่ ยงานท่ีเข้ามาขบั เคล่ือนพื้นท่ี ไดแ้ ก่ - พัฒนาชุมชน,เกษตรอำเภอ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยการส่งเสริมอาชีพชุมชน และจัดตง้ั เปน็ วิสาหกจิ ชมุ ชนกลมุ่ อาชพี สตรีบา้ นง้ิว รหสั ทะเบยี น 1-13-07-08/1-0001 โดย มีกิจกรรมในกลุ่ม คอื ทำพรกิ แกง นำ้ พริก - แรงงานจังหวัดปทุมธานี ได้เข้ามาส่งเสริมส่งเสริมอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระเป๋าจาก ผักตบชวา หมู่ที่ 5 พบหน่วยงานทีเ่ ข้ามาขับเคลือ่ นพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า และพรรณพืชวัดไผ่ล้อม-วัด อัมพุวราราม ดูแลพื้นที่ป่าของชุมชน มีศูนย์ข้อมูลศึกษานกปากห่าง นำไปสู่การพัฒนาธรรมชาติและพื้นที่ป่า ของชุมชนให้มคี วามอุดมสมบูรณ์ และเป็นสถานท่ที อ่ งเทีย่ ว เครือขา่ ยในพื้นทเ่ี ป็นปัจจัยสำคัญท่ีช่วยส่งเสริมสนับสนุนกจิ กรรมทเ่ี กิดข้นึ ภายในชุมชนให้ดำเนินการ ไปได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ
31 ภาคีเครือข่ายภาพรวมในพื้นท่ีตำบลบา้ นงิ้ว ได้แก่ เกษตรอำเภอ ,พัฒนาชุมชน อำเภอสามโคก จังหวัด ปทุมธานี อบต. บ้านงิ้ว , อบจ.ปทุมธานี, สถานศึกษาใน พื้นที่, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , อสม., กองทุน พัฒนาไฟฟ้าจังหวัดปทุมธานี 1,ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า และ พรรณพชื วัดไผล่ อ้ ม-วดั อัมพุวราราม ภาพท่ี 19 แสดงเครือขา่ ยในพน้ื ท่ีตำบลบ้านง้ิว 3) ทุนทางสังคมและวฒั นธรรม หมู่ที่ 2 วัดสองพี่น้อง ซึ่งมีหลวงพ่อเพชร และหลวงพ่อพลอย ที่ผู้คนนับถือ และเดินทางมา ทำบุญที่วัดอยู่เสมอ และมีศาลาประชาคม ซึ่งเป็นสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน สามารถ นำไปส่กู ารเป็นสถานที่ท่องเทีย่ ว หมู่ที่ 2,4,5 มีวัฒนธรรมไทย-รามัญ ที่โดดเด่น ได้แก่การสวดภาษารามัญ การสื่อสาร ภาษารามัญในกลุ่มผู้สูงอายุ การแห่หางหงส์ธงตะขาบ การแต่งกายไทย – รามัญ ช่วงเทศกาล สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา และ การตักบาตรประจำตรอก (ใส่ข้าว+กับในบาตรพระ) 1 อาทิตย์ ช่วงวันเข้าพรรษา ไหว้พระสวดมนต์เป็นระยะเวลา 3 เดือน ทุกๆวัน สามารถนำไปสู่ การพัฒนาด้านการจัดการความรู้ พัฒนาศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยรามัญ และการท่องเที่ยว เชงิ วฒั นธรรม หมู่ที่ 3 ทนุ ทางสงั คมและวัฒนธรรม ท่ีโดดเด่น ดงั ต่อไปนี้ - วัดปา่ ง้ิว มหี ลวงพอ่ เกตุสมุทร พระศรอี าสน์ หลวงปู่ชม สง่ิ สกั ศักดิ์ท่พี ่งึ ทางใจ โบราณสถาน วัดนางหยาด ทุ่งพญาเมือง สามารถนำไปสู่การพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การพัฒนาด้านการท่องเท่ยี วชมุ ชน หมู่ที่ 4 มีวัดสวนมะม่วง เป็นวัดไทยรามัญ โดยชาวมอญอพยพมาจากเมาะลำเริง หงสาวดี ไดม้ าสรา้ งวัดน้ี มเี จดยี ท์ รงรามัญ ต้นตะเคยี นใหญ่ 1 ตน้ ปัจจุบนั ตาย ต่อมาเกดิ ตน้ ตะเคยี นอีก 4 ต้น รอบๆ ต้นตะเคียนที่ตาย จึงได้ตั้งศาลแม่ย่าตะเคียนทอง และมีศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดสวนมะม่วง สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านการพัฒนาศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยรามัญ และการท่องเที่ยวเชิง วฒั นธรรม
32 หมทู่ ่ี 5 ทุนทางสังคมและวฒั นธรรม ที่โดดเดน่ ดงั ต่อไปนี้ - ประเพณที ำบญุ กลางบ้าน ปี 1 ทำ 1ครั้ง (20-21 เมษายน) - ศาลเจา้ พอ่ หนู ความเชอื่ และเปน็ กจิ กรรมยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน สามารถนำไปสู่แหลง่ เรยี นร้ปู ระเพณขี องชมุ ชน และเป็นกจิ กรรมยึดเหนย่ี วจติ ใจของชุมชน - วัดไผ่ล้อม เป็นวัดไทย สร้างในสมัยสุโขทัย ประมาณ 500 ปี มีรอยพระพุทธบาทในโบสถ์ สามารถนำไปสู่การพัฒนาเปน็ แหล่งท่องเทยี่ วชมุ ชน - วัดอัมพุวราราม เป็นวัดไทยรามัญ มีเจดีย์เหลี่ยมย่อสิบสองมุม มีหลวงพ่อโต สิ่งศักดิ์ที่ ประชาชนให้การเคารพบูชา และมีประเพณีลอยเรือไหว้พระ สามารถนำไปสู่การพัฒนา การพัฒนา เป็นศนู ย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยรามัญ และกจิ กรรมการทอ่ งเท่ียวเชงิ วัฒนธรรม ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นจุดเด่นสำคัญของชุมชนที่สามารถประชาสัมพันธ์ให้เป็นท่ี รู้จักแก่บุคคลภายในเข้ามาท่องเท่ียวภายในชุมชนไม่ว่าจะเป็นวัดหรอื โบราณสถาน กิจกรรมประเพณี สถานที่เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน ตลอดถึงกลุ่มอาชีพที่สามารถผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของ นกั ท่องเท่ยี ว ภาพท่ี 20 ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม และสถานทีส่ ำคัญในตำบลบา้ นง้วิ
33 4) ทนุ ทางเศรษฐกิจและการค้าขาย หมทู่ ่ี 1,2,3,4,5 มกี องทุนหมู่บา้ น 1 ล้านบาท หมู่ท่ี 2 และหมู่ท่ี 3 มีกลมุ่ ออมทรพั ยเ์ พ่อื การผลติ หม่ทู ี่ 2 และหมู่ท่ี 3 มกี องทุนแม่ของแผ่นดนิ สามารถนำไปสกู่ ารพฒั นาเปน็ แหลง่ ทนุ งบประมาณ ในการจัดทำกจิ กรรมต่างๆของชมุ ชน หมู่ท่ี 3 มที นุ ทางเศรษฐกิจและการคา้ ขายท่โี ดดเดน่ ดงั น้ี - ตลาดนัดวัดป่างิ้ว ทุกวัน อังคาร ศุกร์ อาทิตย์ สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านการจัดการ การจดั จำหน่ายสินค้าชมุ ชน - สหกรณ์ร้านค้าชุมชน ตั้งอยู่ ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 3 สามารถนำไปสู่การพัฒนา สามารถนำไปสกู่ ารพัฒนาแหลง่ ทนุ ของชมุ ชน และเปน็ สถานทใ่ี นการจำหนา่ ยสนิ คา้ ชุมชน - กองทุนสวสั ดกิ ารชุมชน สามารถนำไปส่กู ารพฒั นาเป็นแหล่งทุนของชุมชน - กลุม่ ฌาปณกจิ สามารถนำไปสู่การพฒั นาด้านทุนของชมุ ชน และคุณภาพชีวติ ในชุมชน - กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านการดำเนินการเศรษฐกิจพอเพียงใน ชมุ ชน - กลมุ่ กขคจ. สามารถนำไปสู่การพัฒนาเปน็ แหลง่ ทุนของชุมชน หมู่ที่ 5 มี ตลาดน้ำชมุ ชน (กำลังกอ่ สรา้ งบรเิ วณริมแมน่ ำ้ เจ้าพระยาวดั อมั พวุ ราราม) สามารถ นำไปสกู่ ารพัฒนาเปน็ แหลง่ จำหน่ายสนิ ค้าและแหลง่ ท่องเที่ยวชุมชน ทุนทางเศรษฐกจิ ในหมู่บ้านถือเปน็ ปัจจัยสำคญั ในการสง่ เสริมสนบั สนุนกจิ กรรมการฝึกอบรม อาชพี เพื่อพฒั นาสนิ คา้ ใหม้ ีมาตรฐานเปน็ ท่ีต้องการของตลาด/นักท่องเท่ยี ว 5) ทนุ ทางทรัพยากรธรรมชาติ หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 5 เป็นชุมชนติดแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยว ชมุ ชน ชุมชนบ้านงิ้วเป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งด้านเหนือและทิศตะวันตก เป็น ยุทธศาสตร์เด่นที่สำคัญทางแหล่งท่องเที่ยวและเป็นที่นิยมโดยทั่วไป ที่สามารถส่งเสริมกิจกรรมได้ หลากหลาย เชน่ วังปลา ล่องเรอื ชมฝัง่ แมน่ ้ำ หรอื ทำตลาดน้ำชมุ ชน เปน็ ต้น
34 ภาพที่ 21 ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ 6) ด้านจดั การสง่ิ แวดล้อม - 7) ดา้ นองค์ความรู้ หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 4 มีความรู้การทำอาหารมอญ ได้แก่ ขนมกระยาสารท หมี่กรอบ และ ข้าวแช่ (รามัญ) และมีความรู้ในภมู ปิ ญั ญาการปักสไบมอญ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 และ หมู่ท่ี 5 คนในชมุ ชนมคี วามรูภ้ าษามอญ (รามัญ) รวบรวมองค์ความรู้มาเผยแพร่ ให้คนในชุมชนและบุคคลภายนอกชุมชน ได้เรียนรู้ และ สืบทอดองค์ความรู้ดังกล่าว สามารถพฒั นาเป็นศูนยเ์ รียนร้วู ฒั นธรรมมอญ 8) ดา้ นวัตถดุ ิบ หมู่ที่ 5 กลุ่มเพาะเห็ด สามารถต่อยอดและขยายไปสู่ชุมชนใกล้เคียงท่ีจะเข้ามาเรียนรู้และทดลอง นำไปใชจ้ ริง เพ่ือเสริมอาชพี หรือทำเปน็ รายไดเ้ สรมิ 9) ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน หมูท่ ่ี 3 ผลิตภณั ฑ์นำ้ พริก พริกแกง กระเป๋าจากผกั ตบชวา ตะกร้าสาน สามารถนำไปสกู่ ารพัฒนาเป็น สนิ ค้าชุมชนที่มีคณุ ภาพ มมี าตรฐานรองรับ จัดทำรปู แบบท่ที ันสมัย หลากหลาย ตามความตอ้ งการของตลาด หมทู่ ่ี 2 และ หมูท่ ี่ 4 หม่ีกรอบ สามารถนำไปสู่การพฒั นาเปน็ สินคา้ ชมุ ชนทม่ี ีคณภาพ จดั ทำรปู แบบที่ ทนั สมยั หลากหลาย ตามความตอ้ งการของตลาด หมู่ท่ี 5 กล้วยอบน้ำผึ้ง หม่ีกรอบ น้ำพริกเผา ไขเ่ คม็ สามารถนำไปส่กู ารพัฒนาเป็นสนิ ค้าของชุมชนที่ มคี ณุ ภาพมาตรฐานสามารถนำไปสู่การพฒั นาเป็นสนิ ค้าชมุ ชน สามารถนำไปสู่การพฒั นาตอ่ ยอดผลิตภัณฑใ์ ห้ไดม้ าตรฐาน การพฒั นาบรรจภุ ณั ฑ์ ออกแบบตราสินคา้ ทีเ่ ปน็ เอกลักษณ์ของชมุ ชน และการส่งเสรมิ ด้านการตลาด
35 สินค้าที่มีอยู่เป็นหลักในชุมชนสามารถพัฒนาให้มีความหลากหลายมีรสชาติเป็นที่นิยมของตลาด/ นักท่องเที่ยว ตลอดถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาในชุมชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยส่งเสริมให้มีตลาด ชมุ ชนที่ถาวรท่นี กั ท่องเท่ียวสามารถมาเย่ยี มชมซอ้ื หาได้ทุกวันและต้ังอยู่ในจดุ เดน่ ๆ ของชมุ ชน 10) ด้านสถานทีอ่ ่ืนๆ หมู่ที่ 3 หอชมเมืองสามโคก บริเวณโรงเรียนสามโคก งบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วน จังหวัดปทุมธานี สามารถนำไปสู่พิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน ทีจ่ ัดจำหนา่ ยสินค้าชุมชน และการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ชมุ ชน หมู่ที่ 5 อาคารดูแลผู้สูงอายุ วัดอัมพุวราราม (กำลังก่อสร้าง) สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านการ จดั การและดแู ลผู้สูงอายุ รองรบั สังคมผู้สงู อายุในอนาคต หมู่ที่ 5 สวนลูกจันทร์ สถานที่เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน และการปลูกเมล่อน สามารถนำไปสู่ ศนู ยเ์ รยี นรู้ทางด้านการเกษตร และการทอ่ งเที่ยวเชงิ เกษตรกรรม 3.2 แผนท่แี สดงศักยภาพด้านตา่ งๆของแตล่ ะหมู่บ้านในตำบลบา้ นงวิ้ จากการวเิ คราะหจ์ ากศักยภาพชุมชนตำบลบ้านงว้ิ ทงั้ 5 หมบู่ า้ น สามารถสรปุ ศักยภาพชุมชน ดงั ภาพที่ 22 ภาพที่ 22 ศกั ยภาพในการพัฒนา ตำบลบา้ นงิ้ว อำเภอสามโคก จงั หวดั ปทุมธานี
36 3.3 ปัญหาและความตอ้ งการในพื้นท่ีตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จงั หวัดปทมุ ธานี 1) ดา้ นทรพั ยากรมนษุ ย์ หมทู่ ่ี 1 ถงึ หมู่ที่ 5 การมีส่วนร่วมกจิ กรรมต่างๆ ในชมุ ชน สว่ นมากจะเปน็ แกนนำชุมชน และ ผสู้ ูงอายุ คนวยั หนมุ่ สาวอยู่ในชว่ งวัยทำงาน ส่วนมากมกั ไปทำงานนอกชุมชน มสี ว่ นร่วมกิจกรรมน้อย ตอ้ งสรา้ งการรบั รู้ ความตระหนักในการมสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาชุมชนใหก้ บั ชาวบา้ น หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 5 มีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รายได้มาจากลูกหลานและสวัสดิการของรัฐ ผู้สูงอายุส่วนมากไม่มีคนดูแล เนื่องจากคนวัยทำงาน ส่วนมากมักไปทำงานนอกชุมชน ชุมชนมีความ ต้องการสง่ เสรมิ อาชีพในกลุ่มผู้สงู อายุตอ้ งมีการจัดการดูแลผูส้ งู อายุ สถานท่ใี นการดผู ู้สงู อายใุ นชุมชน หมู่ที่ 2 และหมู่ 4 มีปราชญ์ชุมชนในการทำสไบมอญปักมือ (ปราชญ์ชุมชน หมู่ที่ 2 นางสุด สายใจ สงนาค ,ปราชญ์ชุมชน หมู่ที่ 4 น.ส.อุบล นิกะตานนท์) ผู้สืบทอดมีน้อย ต้องมีการสร้างความ ตระหนักเรื่องความสำคัญในการสืบสาน จัดเก็บองค์ความรู้ ถ่ายทอด และการต่อยอดให้เป็นสินค้า ชมุ ชน หมู่ที่ 4 มีปราชญ์ชุมชนในการทำหางหงส์ธงตะขาบ (ธงของชาวมอญ ใช้ในงานบุญ งานสงกรานต์มอญ) (นางดอกไม้ นิกะตานนท์) และปราชญ์ชุมชนการผลิตดินปั้นจิ๋ว (น.ส.อุบล นิกะ ตานนท)์ ซึ่งอายมุ ากแล้ว ไมม่ ีผู้สบื ทอด ตอ้ งมีการสร้างความตระหนักเรื่องความสำคัญในการสืบสาน จัดเก็บองค์ความรู้ ถา่ ยทอด และการต่อยอดใหเ้ ป็นสินคา้ ชุมชน 2) ดา้ นภาคีเครอื ข่ายในพ้ืนที่ หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 5 การสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชนยังมีน้อยในชุมชน ต้องมีการทำ ความร่วมมือกับหน่วยงานภาคธรุ กจิ ในชมุ ชน และบรเิ วณพ้ืนที่ใกล้เคียง 3) ดา้ นทุนทางสังคมและทนุ ทางวัฒนธรรม หมู่ท่ี 2 หมทู่ ่ี 4 และ หมู่ที่ 5 วัฒนธรรม ประเพณชี าวรามญั การสวดภาษารามญั การส่ือสาร ภาษารามัญ การแห่หางหงส์ธงตะขาบ การแต่งกายไทย – รามัญ อาจเลือนหายไป หากเยาวชนและ คนรุ่นใหม่ไม่เห็นถึงความสำคัญ และสืบต่อภูมิปัญญา วัฒนธรรมอันดีงามดังกล่าว ต้องมีการส่งเสริม การสืบทอดภาษาในเยาวชน จัดเก็บองค์ความรู้ถ่ายทอด สรา้ งความตะหนกั ให้เห็นถึงความสำคัญของ ประเพณแี ละวัฒนธรรม การตอ่ ยอดให้มีมูลคา่ จากการทอ่ งเที่ยว หมทู่ ี่ 1 หมทู่ ่ี 2 หมทู่ ี่ 4 และหมู่ท่ี 5 มีกลมุ่ สตรีในชมุ ชน แต่กจิ กรรมไมต่ อ่ เนื่อง รวมกลุ่มเป็น เฉพาะกิจ ต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มอาชีพ พัฒนาสินค้าของชุมชนและ สรา้ งรายไดจ้ ากการจำหนา่ ยสินค้าอยา่ งต่อเน่ือง หมู่ท่ี 2 ถึงหมู่ท่ี 5 มีวดั ทม่ี ีศกั ยภาพเชิงท่องเทย่ี วแต่ไมค่ ่อยเปน็ ทร่ี ู้จกั ของประชาชนทวั่ ไปต้อง พัฒนาสื่อและช่องทางในการประชาสัมพนั ธ์ให้เป็นที่รู้จักแกบ่ ุคคลภายนอกเพือ่ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในพ้ืนที่ชุมชน หมูท่ ่ี 1,2,3,4,5 ตอ้ งการการพฒั นาชุมชนให้เป็นแหลง่ ทอ่ งเท่ียวเชงิ วฒั นธรรม
37 4) ดา้ นทนุ ทางเศรษฐกจิ และการค้าขาย หมทู่ ่ี 1 ถงึ หมู่ที่ 5 ต้องการได้รับการส่งเสริมดา้ นการตลาดในการจัดจำหน่ายสินค้าชมุ ชน หมูท่ ่ี 3 กลุม่ วสิ าหกิจชุมชนบา้ นงว้ิ มกี ารแปรรปู นำ้ พรกิ พรกิ แกง ปัจจุบัน ผลติ ภณั ฑ์ยังไม่ได้ ถูกยกระดับให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กลุ่มมีความต้องการในอบรมความรู้การทำน้ำพริกให้ หลากหลาย และเพิ่มช่องทางการตลาดในการจำหนา่ ยสินค้า และในกลุ่มเคยทำเบเกอรี่ ซึ่งมีอุปกรณ์ ครบ แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำเนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอ รวมถึงไม่มีตลาดในการขายสินค้า ทางกลุ่ม อยากให้มีการสนบั สนนุ ทางดา้ นการตลาด 5) ด้านทุนทางทรพั ยากรธรรมชาติ คลองวัดใหม่ (หมู่ที่ 1) , คลองวัดสองพี่น้อง (หมู่ที่ 2) , คลองวัดป่างิ้ว, คลองงิ้ว (หมู่ที่ 3) และ คลองคู (หมู่ที่ 4) สภาพแหล่งน้ำใช้ได้เฉพาะเพื่อการเกษตรเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ น้ำในคลองส่วนใหญ่เน่าเสียเนื่องจากผักตบชวา และวัชพืช บางส่วนเน่าเสียและดินตื้นน้ำไหลไม่สะดวก ตอ้ งขดุ ลอกคูคลอง และ สง่ เสริมการแปรรปู ผักตบชวาเป็นผลิตภัณฑท์ ่สี ามารถนำมาจำหน่ายในชมุ ชนได้ 6) ดา้ นจัดการสง่ิ แวดล้อม หมู่ท่ี 1 มปี ญั หาน้ำเสีย ต้องมีการจดั การระบบนำ้ เสียในชุมชน ตอ้ งสง่ เสริมองคค์ วามรูเ้ รื่อง การจดั การป้องกันและบำบัดนำ้ เสยี เชิงธรรมชาตติ ามแนวพระราชดำริ ร. 9 หมทู่ ี่ 1 มีการใชส้ ารเคมใี นการทำเกษตรกรรม ต้องมีการส่งเสรมิ การทำเกษตรอินทรยี ์ สง่ เสรมิ องค์ความรกู้ ารทำปยุ๋ ชวี ภาพ หมู่ท่ี 1 ถงึ หมูท่ ี่ 5 มกี ารทิ้งขยะลงแม่นำ้ ลำคลองและทส่ี าธารณะ ต้องรณรงค์ปลูกจติ สำนกึ หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 5 คลองริมน้ำพงั ทลาย ต้องทำเขื่อนปอ้ งกันการพังทลายของดนิ หมู่ที่ 1 ถึง หม่ทู ี่ 5 มีปญั หาน้ำทว่ มทุกปี ต้องปลูกตน้ ไม้ ขดุ ลอกคูคลอง กำจัดวัชพืชในคลอง ส่งเสรมิ องค์ความรดู้ ้านการบริหารจัดการรับมือนำ้ ทว่ ม(สง่ เสริมองค์ความรเู้ รื่องพชื ทางเกษตรท่ีทนต่อ สภาพน้ำทว่ มขัง สขุ อนามยั ฯลฯ ) และภัยแลง้ (สง่ เสริมองค์ความรเู้ รอื่ งพืชฤดูแล้ง และองค์ความรู้ เรื่องการบรหิ ารจดั การนำ้ ใหเ้ พยี งพอต่อการอุปโภคบรโิ ภคและการเกษตร) หมู่ที่ 3 และหมู่ 5 มปี ัญหาเรอ่ื งขยะ ไมม่ พี ้นื ทท่ี ง้ิ ขยะ บริการจดั เก็บไมเ่ พยี งพอ ปัญหาหมอก ควัน ฝุ่นละออง ส่งเสริมหลักการคัดแยกขยะเพื่อการพาณิชย์ ทำธนาคารขยะ ในชุมชน การบริหาร จัดการสงิ่ แวดล้อมชุมชน และสง่ เสริมองคค์ วามรู้การรบั มือกับหมอกควนั และฝ่นุ ละออง หม่ทู ่ี 4 ถนนทางโคง้ ไมป่ ลอดภัย ทำให้เกดิ อุบัติเหตไุ ด้ง่าย ต้องทำสญั ลักษณเ์ ตือน 7) ด้านผลิตภณั ฑ์ชุมชน หมู่ 2 ถึง หมู่ที่ 5 รูปแบบสินค้ามีแบบให้เลือกน้อย และยังไม่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ สินค้า เช่น อย. มผช. ต้องพัฒนาส่งเสริม/ยกระดับสินค้าชมุ ชน อบรมการสร้างความหลากหลายของ สนิ ค้า/ตอ้ งส่งเสรมิ เครือข่ายสนิ คา้ ระหว่างชมุ ชน ตอ้ งพัฒนาสินค้าให้ไดม้ าตรฐานสากล
38 8) ดา้ นสงั คม หมู่ที่ 2 และ หมี่ท 3 มีปัญหาดา้ นยาเสพตดิ ต้องทำให้ชมุ ชนต้องคอยเฝา้ ระวงั จุดตรวจเวรยามใน หมู่บา้ น/ตำบลจัดการแขง่ ขันกีฬาตา้ นยาเสพตดิ เฝ้าระวัง/สอดส่องดูแลบุตรหลานในชุมชน หมู่ที่ 2 และ 3 มปี ัญหาการลักขโมย ต้องคอยเฝา้ ระวงั จัดเวรยามในชุมชนเพอ่ื ตรวจตรา ตารางท่ี 9 สรุปสภาพปญั หาจากการวิเคราะห์ขอ้ มูล ประเดน็ ปัญหา หมูท่ ่ี รายละเอียด วเิ คราะหแ์ นวทางแกไ้ ขปัญหา 1) ด้าน ทรพั ยากรมนุษย์ หมู่ท1ี่ - 5 การมสี ว่ นร่วมกจิ กรรม - การสง่ เสรมิ การมีสว่ นร่วมของ ตา่ งๆ ในชุมชน สว่ นมาก ประชาชน จะเป็นแกนนำชุมชน - ตอ้ งสรา้ งการรบั รู้ ความตระหนักใน และผู้สูงอายุ คนวยั หนุ่ม การมีสว่ นรว่ มในการพัฒนาชุมชนใหก้ ับ สาวอยใู่ นช่วงวยั ทำงาน ชาวบ้าน สว่ นมากมกั ไปทำงาน - จัดกิจกรรมท่ีหลากหลายและมคี วาม นอกชมุ ชน มสี ่วนรว่ ม ตอ่ เนื่อง โดยใชศ้ นู ยก์ ลางชุมชนเป็น กิจกรรมน้อย สถานทด่ี ำเนนิ การ - สรา้ งเครอื ขา่ ยภาคประชาชนในทกุ ช่วงวยั โดยการคัดเลอื กตัวแทนระดบั หมู่บา้ นทม่ี ีศกั ยภาพและมีความสมคั รใจ หมู่ท1ี่ - 5 มีประชากรผูส้ งู อายุ - สถานทใี่ นการดูแลผู้สงู อายใุ นชุมชน เพิ่มขนึ้ รายได้มาจาก - ระบบการจดั การดแู ลผู้สงู อายุ ลกู หลานและสวสั ดกิ าร - ส่งเสรมิ อาชีพตามความสนใจในกล่มุ ของรฐั ผู้สูงอายุ ผู้สงู อายุ สว่ นมากไม่มีคนดูแล เน่ืองจากคนวยั ทำงาน ส่วนมากมักไปทำงาน นอกชมุ ชน
39 ประเดน็ ปญั หา หม่ทู ่ี รายละเอยี ด วเิ คราะห์แนวทางแกไ้ ขปญั หา หมู่ที่ 2 , 4 มีปราชญ์ชมุ ชนในการทำ - ต้องมีการการปลกู จิตสำนึก หมู่ที่ 4 สไบมอญปกั มือ ผ้สู ืบ สร้างความตระหนักเรอ่ื งความสำคญั ใน ทอดมีน้อย การอนรุ ักษ์ - ปราชญช์ ุมชน หมทู่ ่ี 2 สืบสานภมู ปิ ัญญา นางสุดสายใจ สงนาค - การจัดเกบ็ องคค์ วามรู้ ถา่ ยทอด และ - ปราชญ์ชมุ ชน หมทู่ ่ี 4 การต่อยอดให้เป็นสนิ คา้ ชุมชน น.ส.อบุ ล นกิ ะตานนท์ - ร่วมมอื กบั สถานศึกษาท่ีมีอยใู่ นพืน้ ท่ี ได้แก่ โรงเรยี นสามโคก โรงเรียนวดั ป่า งว้ิ และ โรงเรียนสองพี่น้อง ในการ ถา่ ยทอดองคค์ วามรู้จากปราชญช์ ุมชนสู่ โรงเรียน - จดั ทำระบบเครือขา่ ยสารสนเทศ ทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนยก์ ลาง เผยแพร่ประชาสมั พันธผ์ ลิตภณั ฑข์ อง ชุมชน - เสริมสรา้ งปราชญ์ทอ้ งถิน่ โดยการ สง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การพฒั นา ศกั ยภาพของชาวบา้ นรุ่นหลงั โดยมกี าร ยกย่องประกาศเกยี รตคิ ณุ ในดา้ นต่างๆ - มปี ราชญ์ชมุ ชนในการ - ตอ้ งมีการปลูกจิตสำนกึ ทำหางหงสธ์ งตะขาบ(ธง สร้างความตระหนักเรื่องความสำคญั ใน ของชาวมอญ ใช้ในงาน การอนรุ ักษ์ สบื สานภมู ปิ ัญญา บุญ งานสงกรานตม์ อญ) - การจัดเก็บองคค์ วามรู้ ถ่ายทอด และ (นางดอกไม้ นกิ ะตา การตอ่ ยอดใหเ้ ปน็ สนิ ค้าชุมชน นนท์) - รว่ มมือกบั สถานศึกษาทม่ี ีอยูใ่ นพื้นที่ - มีปราชญ์ชมุ ชนการ ไดแ้ ก่ โรงเรยี นสามโคก โรงเรยี นวัดปา่ ผลติ ดินปนั้ จว๋ิ (น.ส.อุบล งิว้ และ โรงเรียนสองพนี่ ้อง ในการ
40 ประเดน็ ปญั หา หมู่ท่ี รายละเอียด วิเคราะหแ์ นวทางแกไ้ ขปัญหา 2) ดา้ นภาคี หมู่ท1ี่ - 5 นกิ ะตานนท)์ ซ่งึ อายมุ าก ถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชมุ ชนสู่ เครือข่ายในพื้นที่ 3) ดา้ นทนุ ทาง หมู่ที่ 2,3,4,5 แล้ว ไม่มผี ู้สืบทอด ต้องมี โรงเรียน สงั คมและทุนทาง วฒั นธรรม การสร้างความตระหนัก - จดั ทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ เรอ่ื งความสำคญั ทางด้านวฒั นธรรมเพ่ือเป็นศูนย์กลาง เผยแพรป่ ระชาสัมพันธผ์ ลติ ภณั ฑข์ อง ชมุ ชน - เสรมิ สรา้ งปราชญ์ทอ้ งถนิ่ โดยการ สง่ เสรมิ และสนบั สนนุ การพัฒนาศักยภาพของชาวบา้ นรนุ่ หลัง โดยมกี ารยกย่องประกาศเกยี รติคณุ ใน ดา้ นตา่ งๆ การสนับสนนุ ต้องมีการทำความร่วมมือกับหน่วยงาน งบประมาณจาก ภาคธุรกิจในชุมชน และบริเวณพื้นท่ี ภาคเอกชนยงั มีน้อยใน ใกล้เคียง ชมุ ชน วฒั นธรรม ประเพณชี าว - จัดเกบ็ องคค์ วามรู้และถา่ ยทอด รามญั การสวดภาษา - ส่งเสริมการสืบทอดภาษามอญในกลุ่ม รามัญ การสื่อสารภาษา เยาวชน นักเรยี น รามัญ การแห่หางหงส์ธง - สร้างความตะหนักให้เห็นถึความสำคัญ ตะขาบ การแตง่ กายไทย ของประเพณแี ละวัฒนธรรม – รามญั อาจเลอื น - มีการต่อยอดให้มีมูลค่าจากการ หายไป หากเยาวชนและ ทอ่ งเทีย่ วเชิงวฒั นธรรม คนรนุ่ ใหมไ่ มเ่ หน็ ถึง ความสำคญั และสืบตอ่ ภมู ปิ ัญญา วัฒนธรรมอนั ดีงามดงั กลา่ ว
41 ประเด็นปัญหา หมู่ที่ รายละเอียด วิเคราะห์แนวทางแก้ไขปญั หา หมู่ที่ 1,3,4,5 มีกล่มุ สตรีในชมุ ชน แต่ - ต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนไปสู่การ หมู่ที่ 2,3,4,5 หมู่ท1ี่ - 5 กจิ กรรมไม่ต่อเน่ือง พฒั นาการรวมกลุ่มอาชพี รวมกลมุ่ เป็นเฉพาะกจิ - พัฒนาสินค้าของชุมชนและสร้าง รายได้จากการจำหน่ายสินค้าอย่าง ตอ่ เน่อื ง - ส่งเสริมให้เกิดการจัดทำทะเบียนของ กลุ่มชีพ สร้างกระบวนการอยู่ร่วมกัน ของกล่มุ ท่ีย่ังยืน - ต้องมีการพาไปศึกษาดูงาน สร้างแรง บันดาลใจในการสร้างกลุ่มอาชีพ และ พัฒนาศักยภาพกลุ่มให้สามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของ ลูกค้า เพิ่มช่องทางการตลาด และเพ่ิม ยอดจำหนา่ ยใหก้ บั ลูกค้า มีวดั ทมี่ ีศักยภาพเชงิ - พัฒนาสื่อและช่องทางในการ ทอ่ งเที่ยวแตไ่ ม่ค่อยเป็น ประชาสัมพนั ธ์ใหเ้ ป็นทีร่ ู้จกั แก่ ท่รี ู้จกั ของประชาชน บคุ คลภายนอกเพ่ือส่งเสรมิ การ ทั่วไป ทอ่ งเที่ยวในพ้ืนท่ชี มุ ชน - สร้างความรว่ มมือกบั หนว่ ยงานที่ เกี่ยวข้องเพ่ือพัฒนา วัดในตำบลบ้านงิ้วใหเ้ ป็นแหล่ง ทอ่ งเทย่ี วในชุมชน ตอ้ งการการพัฒนาชุมชน - พฒั นาสอ่ื และช่องทางในการ ให้เปน็ แหลง่ ท่องเท่ียว ประชาสัมพนั ธ์ชุมชน และแหลง่ เชงิ วฒั นธรรม ท่องเที่ยวของชุมชน ใหเ้ ปน็ ที่ร้จู กั แก่ บุคคลภายนอก
42 ประเด็นปญั หา หมูท่ ี่ รายละเอยี ด วิเคราะหแ์ นวทางแกไ้ ขปัญหา - จดั ทำแผนท่ีและเส้นทางการทอ่ งเทย่ี ว ในชมุ ชน - พฒั นา ปรบั ปรงุ และบำรุงรักษา สถานท่ีท่องเทยี่ วตำบลบ้านง้ิวให้มีความ พรอ้ มในการรองรับนักทอ่ งเที่ยว - พฒั นารปู แบบกิจกรรมการท่องเทย่ี ว ตำบลบ้านง้วิ รูปแบบใหมเ่ พื่อให้เกิด ความหลากหลายและต่อเนื่องตลอดทงั้ ปี 4) ด้านทนุ ทาง หมู่ท1่ี - 5 ต้องการไดร้ ับการ สนบั สนนุ จัดหาช่องทางการตลาดใน เศรษฐกิจและ การค้าขาย สง่ เสริมด้านการตลาดใน การจัดจำหน่ายสินคา้ ชุมชน การจัดจำหน่ายสินค้า ชุมชน หมู่ท่ี 3 กล่มุ วสิ าหกจิ ชุมชนบ้าน - พฒั นาผลิตภัณฑพ์ ริกแกง ให้ได้ ง้ิว มีการแปรรปู นำ้ พรกิ มาตรฐาน พรกิ แกง ปัจจบุ ัน - สร้างแบรนดต์ ำบลบ้านง้วิ ผลิตภณั ฑย์ ังไม่ได้ถูก - ออกแบบและพฒั นาบรรจภุ ัณฑ์ ยกระดับให้ได้รบั น้ำพริกใหส้ วยงาม มาตรฐานผลติ ภณั ฑ์ - อบรมการแปรรปู น้ำพริกให้มคี วาม กลมุ่ มคี วามต้องการใน หลากหลาย อบรมความรู้การทำ - ฟืน้ ฟู และสนบั สนุนการทำเบเกอร่ี น้ำพริกให้หลากหลาย ของกลุ่ม และเพ่ิมชอ่ งทาง - สง่ เสริม สนบั สนนุ ทางดา้ นการตลาด การตลาดในการจำหนา่ ย สินคา้ และในกลุ่มเคย ทำเบเกอรี่ ซึง่ มีอปุ กรณ์ ครบ แต่ปัจจบุ นั ไมไ่ ด้ทำ
43 ประเดน็ ปญั หา หม่ทู ี่ รายละเอยี ด วเิ คราะหแ์ นวทางแก้ไขปัญหา 5) ด้านทุนทาง หมู่ท่ี 1,2,3,4 เนื่องจากบุคลากรไม่ ทรัพยากรธรรมช าติ เพียงพอ รวมถึงไม่มี 6) ด้านจดั การ หมู่ที่ 1 ตลาดในการขายสินค้า สง่ิ แวดล้อม ทางกลุ่มอยากให้มีการ หมทู่ ี่ 1 สนบั สนนุ ทางด้าน การตลาด คลองวดั ใหม่(หมทู่ ่ี 1) , ต้องขดุ ลอกคคู ลอง และ สง่ เสรมิ การ คลองวดั สองพน่ี ้อง (หมู่ท่ี แปรรูปผกั ตบชวาเป็นผลติ ภณั ฑท์ ี่ 2) , คลองวัดป่าง้ิว, สามารถนำมาจำหน่ายในชมุ ชนได้ คลองงว้ิ (หมู่ที3่ ) และ คลองคู (หมูท่ ่ี 4) สภาพ แหล่งนำ้ ใชไ้ ดเ้ ฉพาะเพ่ือ การเกษตรเทา่ น้นั ไม่ สามารถใช้เพื่อการ อปุ โภคบรโิ ภคได้ น้ำใน คลองส่วนใหญ่เนา่ เสีย เน่ืองจากผักตบชวา และ วชั พชื บางสว่ นเน่าเสีย และดินต้ืนน้ำไหลไม่ สะดวก มปี ัญหาน้ำเสีย การจดั การระบบน้ำเสียในชมุ ชน ต้อง ส่งเสรมิ องค์ความรูเ้ รอ่ื งการจัดการ ป้องกนั และบำบดั น้ำเสยี เชิงธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริ ร.9 มีการใช้สารเคมีในการ ตอ้ งมีการสง่ เสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ทำเกษตรกรรม สง่ เสริมองค์ความรู้การทำปุ๋ยชวี ภาพ
44 ประเดน็ ปญั หา หมู่ที่ รายละเอียด วเิ คราะหแ์ นวทางแกไ้ ขปัญหา หมู่ท1่ี - 5 มกี ารท้ิงขยะลงแมน่ ำ้ ลำ รณรงค์ปลกู จติ สำนึก หมู่ท1่ี - 5 คลองและท่สี าธารณะ หมู่ท1่ี - 5 คลองริมน้ำพงั ทลาย ทำเขื่อนปอ้ งกันการพังทลายของดนิ มีปัญหาน้ำทว่ มทุกปี - การขุดลอกคคู ลอง กำจัดวชั พชื ใน หมู่ท3่ี - 5 โดยเฉพาะเดอื นตลุ าคม คลอง - ส่งเสริมองคค์ วามรดู้ ้านการบริหาร มปี ัญหาเร่ืองขยะ ไม่มี จดั การรบั มือนำ้ ท่วม(สง่ เสริมองค์ความรู้ พื้นท่ีท้ิงขยะ การบรกิ าร เรอ่ื งพืชทางเกษตรทที่ นต่อสภาพนำ้ จัดเกบ็ ไมเ่ พยี งพอ ท่วมขงั สขุ อนามยั ฯลฯ ) และภยั แล้ง ปญั หาหมอกควัน และ (ส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องพชื ถดูแล้ง และ ฝุ่นละออง องค์ความรูเ้ รอื่ งการบริหารจดั การน้ำให้ เพยี งพอต่อการอุปโภคบริโภคและ การเกษตร) สง่ เสรมิ หลักการคัดแยกขยะเพอื่ การ พาณิชย์ ทำธนาคารขยะในชุมชน การ บรหิ ารจดั การสงิ่ แวดล้อมชมุ ชน และ ส่งเสรมิ องค์ความร้กู ารรับมือกบั หมอก ควนั และฝุน่ ละออง หมู่ 4 ถนนทางโคง้ ไม่ปลอดภัย จัดทำปา้ ยสญั ลกั ษณ์เตือนถนนทางโค้ง ทำให้เกดิ อุบตั เิ หตุไดง้ ่าย 7) ดา้ น หมู่ท่ี 2,3,4,5 รปู แบบของสนิ ค้า - ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑช์ ุมชน ผลิตภณั ฑ์ชมุ ชน ไมม่ ี เดมิ ทม่ี ีอยู่ในแตล่ ะหม่บู ้าน ผลติ ภัณฑช์ ุมชน ความหลากหลาย และ - ยกระดับสินคา้ ชมุ ชนให้ได้มาตรฐาน ผลิตภณั ฑย์ ังไม่ไดร้ ับรอง - อบรมสรา้ งความหลากหลายของ มาตรฐานคณุ ภาพสนิ ค้า สินคา้ /ต้องสง่ เสรมิ เครือขา่ ยสินค้า เชน่ อย. มผช. เปน็ ต้น
Search